ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

สมัชชาสุขภาพกับความภาคภูมิใจของเพื่อน


การพัฒนาที่ไม่หยุดยั้ง

ความภาคภูมิใจ การได้มีโอกาสได้ถูกบันทึกการทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมในรูปของ VCD แล้วได้ถูกนำแพร่ภาพและจ่ายแจกไปทั่วประเทศ เป็นความภาค4ภูมิใจที่ไม่อาจอดกลั้นได้ ของคนที่ชื่อ บงการ   สายเนตร ครูบ้านนอกอีกคนหนึ่งที่มักจะถูกลืมจากเจ้านายเวลาพิจารณาความดีความชอบ อาจารย์บงการเป็นครูนักพัฒนา (ถ้าท่านเคยได้ดู VCD เสียงกู่จากครูใหญ่ ของ สคส. ยังไงยังงั้นเลยครับ)  

การเริ่มต้นการพัฒนา การเริ่มต้นการพัฒนาของอาจารย์ บงการ   สายเนตร เริ่มต้นจากจุดเล็กๆ ค่อยเป็นค่อยไป โดยเริ่มจากพัฒนาโรงเรียนของตนเองก่อน โดยไม่มุ่งหวังในด้านของชื่อเสียงแต่อย่างใด เพียงขอแค่ว่าให้มีโอกาสได้ทำงานตามเจตนารมณ์ที่ได้ตั้งใจไว้ก็เพียงพอแล้ว "ขอให้ได้สร้างคุณงามความดีให้กับสังคม ถึงตายก็ไม่เสียดายชีวิต" ตามที่เคยให้คำมั่นสัญญาไว้กับ Advisor ที่แสนดีอย่างท่าน ผศ.ดร.แตงอ่อน   มั่นใจตน แห่งพัฒนาสังคม NIDA เมื่อคราวเป็นนักศึกษา 

มุ่งมั่นต้องสำเร็จ อาจารย์บงการ มุ่งมั่นในการพัฒนาองค์ความรู้มาโดยตลอด และได้น้อมนำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปประยุกต์ใช้กับนักเรียนในโรงเรียนบ้านเปือย ต.บุเปือย อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี โดยอาจารย์บงการได้ดำเนินการดังนี้

1.       ได้นำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนของนักเรียน โดยส่งเสริมให้นักเรียนได้มีกิจกรรมและวิชาเรียนในการปลูกผัก เพาะเห็ด เลี้ยงปลา เป็นต้น

2.       ได้จัดกระบวนการเรียนรู้จากของจริง โดยให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง (Learning by Doing) เพื่อให้นักเรียนได้เกิดทักษะ (Skill)

3.       ได้ฝึกให้นักเรียนได้ฝึกกระบวนคิด โดยในชั่วโมงกิจกรรมก็จะตั้งประเด็นขึ้นมาเพื่อให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้

4.       ไม่ให้นักเรียนเอาเงินมาโรงเรียน เนื่องจากโรงเรียนบ้านบุเปือยอยู่ในเขตทุละกันดาร ชุมชนค่อนข้างยากจน บางคนมีเงินให้ลูกไปโรงเรียน บางคนไม่มีเงินให้ลูกไปโรงเรียน  จึงทำให้เกิดช่องว่างขึ้นในสังคมของเด็กนักเรียน เพราะคนไม่มีกินก็ได้แต่มองคนที่เขามีเงินซื้อขนมกิน ซึ่งทำให้เด็กเกิดการเปรียบเทียบ แบ่งพักแบ่งพวก อาจารย์บงการจึงสั่งห้ามไม่ให้นักเรียนทุกคนเอาเงินมาโรงเรียน และสั่งห้ามคนมาขายของในโรงเรียน โดยจัดสวัสดิการให้นักเรียนได้อยู่ได้กินเหมือนๆ กันทุกคน โดยเอาพืชผัก เห็ด และสัตว์เลี้ยงที่นักเรียนปลูกมาทำเป็นอาหารกลางวันเพื่อให้นักเรียนได้กินกันอย่างทั่วถึง บางส่วนที่ขายได้ก็แบ่งเป็นรายได้ให้นักเรียน และจัดสวัสดิการเกี่ยวกับสหกรณ์ร้านค้า และออมทรัพย์ให้กับนักเรียนได้ฝากเงินสำหรับคนที่ผู้ปกครองให้เงินมาฝาก หรือสำหรับคนที่ขายผลิตภัณฑ์ของตนเองได้ 

ขยายผลสู่ชุมชน  หลังจากกิจกรรมภายในโรงเรียนเริ่มได้ผลดี อาจารย์บงการจึงได้ขยายผลออกไปสู่ชุมชน โดยในครั้งแรกก็ได้มีการอบรมให้ความรู้ และเชิญชวน ผู้ปกครองของนักเรียนที่สนใจเข้าร่วมทำกิจกรรมตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และตอนนี้กำลังดำเนินการไปได้ด้วยดี ชุมชนเริ่มมีอยู่มีกิน และจะพยายามขยายผลออกไปให้เพิ่มมากขึ้น

การสร้างชุมชนแนวปฏิบัติ (community of Practice)  จากแนวทางการจัดการความรู้ของอาจารย์บงการ จึงทำให้ผมสำนึกขึ้นมาได้ว่าเราก็เป็นอีกคนหนึ่งนี่นาที่พอมีศักยภาพที่จะสร้างคุณงามความดีให้กับประเทศชาติ และคืนกำไรให้กับสังคมเนื่องจากที่ผ่านมามีแต่กินเงินภาษีของประชาชน อย่างเดียว หรืออาจจะทำบ้างแต่ก็คงยังไม่ถึงเสี้ยวของอาจารย์บงการ หรือคนอื่นอีกหลายๆ คนทำ และต่อจากนี้ไปผมจะพยายามขับเคลื่อนกระบวนการเพื่อก่อให้เกิดชุมชนแนวปฏิบัติต่อไป

ขอบคุณครับ

อุทัย   อันพิมพ์

1 พ.ย. 2549

หมายเลขบันทึก: 56759เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2006 14:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผมอ่านมาถึง  CoP   แต่ยังไม่เข้าใจที่คุณอุทัย จั่วหัวว่า  "การสร้างชุมชนแนวปฏิบัติ"

ชุมชนแนวปฏิบัติ  หรือ CoP  ตามที่ผมเข้าใจตอนนี้ คือ  กลุ่มคนที่ทำเรื่องใด  เรื่องหนึ่งคล้ายๆกัน  และนำวิธีการปฏิบติที่ตัวเองทำอยู่นั้นมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน   แล้นำไปปรับวิธีการของตัวเองใหม่   แล้วกลับมาคุยใหม่อย่างเดิม   ทำอย่างนี้อยู่เรื่อยๆเป็นกิจวัตรประจำ

ที่เห็นเป็นรูปธรรม  เช่น CoP  ที่พิจิตร  ซึ่งหลายชุมชน  เช่น  โรงสีชุมชน   ชุมชนชาวนา  ชุมชนยุวเกษตร  ชุมชนผู้ปลูกผักปลอดสารฯ  เป็นต้น

สิ่งที่ผมจะสื่อ  คือ ชุมชนแนวปฏิบัติ  ไม่ได้หมายความว่าเพียงชุมชนเดียว   หรือหมู่บ้านเดียว   คือไม่ได้เอา  พื้นที่ทางกายภาพเป็นตัวตั้ง  แต่เอา  ประเด็น content   หรือ domain  เป็นตัวตั้งเนาะ

ขอบคุณมากครับพี่ธวัช สำหรับข้อเสนอแนะดีๆ

ทำให้ผมได้เข้าใจ CoP มากขึ้นครับ และในส่วนที่ผมมีความตั้งใจก็คล้ายๆ ที่พี่พี่ธวัช ได้เสนอแนะมาครับ กล่าวคือ จะได้ขยายเครือข่ายให้มากขึ้นครับ

ขอบคุณอีกครั้งครับ

อุทัย  อันพิมพ์

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท