กระทิงต้นไม้คล้ายกับสารภีมากมีประโยชน์ต่อสุขภาพ


กระทิง ดอกบำรุงหัวใจ ใบรักษาโรคตา

ได้เข้าใจผิดมานานจากผลไม้แห้งที่เก็บมาจากวัดกลาง อ.พร้าวจ.เชียงใหม่ ที่ร่วงหล่นอยู่ใต้ต้นเมื่อหลายปีมาแล้วโดยเข้าใจว่าเป็นผลของสารภีเพราะต้นและใบเหมือนต้นสารภี ได้นำมาเพาะก็ไม่ขึ้นต้นซึ่งอาจจะเพาะไม่ถูกวิธี ภาพยังเก็บไว้และเคยได้นำภาพฝากให้ชมเขียนใต้ภาพว่าลูกสารภีและได้ถามไว้ว่าใช่ลูกสารภีหรือไม่ก็ไม่มีใครตอบให้ทราบ จนครั้งหนึ่งได้พบต้นสารภีที่กำลังมีลูกสุกหล่นโคนต้น ลักษณะลูกยาวรีไม่กลม จึงทำให้ทราบว่าเข้าใจผิดกับลูกแห้งที่เก็บมานั้นไม่ใช้ลูกสารภี ภาพที่ยังเก็บไว้ก็ผ่านตาเสมอเวลาค้นหาภาพเพื่อเขียนบันทึก อย่างเช่นเช้าวันนี้ได้ค้นหาข้อมูลดู รวมทั้งว่ามีผู้เขียนบันทึกใน gotoknow บ้างหรือยังก็ได้พบบันทึกของท่านอาจารย์หมอ Prof. Vicharn Panich ซึ่งมีกระรอกที่สวยงามน่ารักมากด้วย  และค้นหาภาพเพิ่มพร้อมนำสรรพคุณมาฝากดังนี้นะคะ



สรรพคุณประโยชน์ของต้นกระทิง


กระทิง   สารภีแนน(เหนือ,) นาวกาน(น่าน) ,กระทึง, กาทึง, ทึง(ใต้),

              สารภีทะเล (ประจวบ) Borneo Mahogan


ใบ       รสเมาเย็น    แก้ตาแดง ตาฝ้า ตามัว ใช้ใบตำกับน้ำสะอาดล้างตา

เมล็ด  รสเมาร้อน   หุงเป็นน้ำมัน แก้ปวดข้อ เคล็ดขัดยอก บวม

ดอก  รสหอมเย็น  บำรุงหัวใจ

เปลือกต้น รสฝาดเมา  ใช้ทำปลาสเตอร์ปิดแผล แก้คัน สมานแผล

ทั้งต้น   รสเมา  ใช้เบื่อปลา

( ขอบคุณสรรพคุณของกระทิงจากหนังสือเภสัชกรรมไทยฯ โดย วุฒิ วุฒิธรรมเวช)

กระทิง

ฤทธิ์ทางชีวภาพ สารสกัดชั้นน้ำและชั้นเมทานอลยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อ HIV-1 และยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ HIV-1 reverse transcriptase (Kashman et al., 1992) ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย สารสกัดจากเปลือกรากของกระทิงมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ฤทธิ์ต้านการอักเสบ สาร Calophyllolide ซึ่งเป็นสารจำพวก lactone ที่แยกได้จากต้นกระทิงมีฤทธิ์ในการลดการอักเสบ ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและไวรัส สารสกัดและสารที่แยกได้จากเปลือกรากของกระทิง มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียจำพวกแกรมบวก และสารจำพวก coumarin ที่ได้จากต้นกระทิงมีฤทธิ์ในการยับยั้งretrovirus หลายชนิด ฤทธิ์ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน สารจากต้นกระทิงมีฤทธิ์ในการกระตุ้นการทำงานของ phagocyte ฤทธิ์ในการต้านเชื้อ HIV สารคูมารินส์ 2 ชนิด ที่พบในใบและกิ่งของต้นกระทิง คือ inophyllum B และ P มีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ reverse transcriptase ของ HIV-1 

  - ขอบคุณฤทธิ์ทางชีวภาพจาก  http://aidsstithai.org/herbs/view/5

ต้้นกระทิง

(ขอบคุณภาพ ต้น ดอก ผลสด กระทิงจากอินเทอร์เน็ต)

ได้ปลูกสารภีไว้ต้นหนึ่งในกระถางนานหลายปีแล้ว สาเหตุที่อยากปลูกสารภีไว้สักต้นถึงแม้จะไม่โตเพราะอยู่ในกระถาง บ้านอยู่ในเมืองไม่มีพื้นดินที่จะปลูกลงดินได้ เพราะสารภีเป็นต้นไม้ไทยแท้ถิ่นกำเนิดคือ ประเทศไทย จึงมีความรู้สึกดีๆกับสารภีมาก กระทิงบางท้องถิ่น เรียก สารภีแนน สารภีทะเล  ปลูกกันไว้บ้างไหมค่ะ ต้นไม้ไทยและมีสรรพคุณประโยชน์ต่อสุขภาพด้วย ถ้าออกดอกอย่าลืมนำมาชงชาดื่มนะคะหรือต้มเป็นน้ำเพิ่มความหวานยามอากาศร้อนๆแช่เย็นๆชื่นใจบำรุงหัวใจให้สดชื่นได้ เคยได้นำดอกสารภีชงชามาฝากแล้ว   http://www.gotoknow.org/posts/512264 ไม่ว่าดอกใบของกระทิงเหมือนสารภีมากจริงๆ แล้วจะนำลูกสารภีมาฝากอีกนะคะ

ขอบคุณบันทึกของท่านอาจารย์หมอ Prof. Vicharn Panich  มากค่ะ

http://www.gotoknow.org/posts/502772

ด้วยความปรารถนาดี  กานดา แสนมณี

วันจัทร์ที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ ๒๕๕๗

หมายเลขบันทึก: 567386เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 09:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 10:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันค่ะ

น้องดาคะ พี่ถามซื้อ "สารภี" แล้วคนขายก็ขายให้บอกว่าเป็นสารภี ปลูกนานจนออกดอกแต่ดอกหน้าตาเป็นแบบในภาพล่างนะคะ ซึ่งดูแล้วก็เหมือนกับดอกในบันทึกนี้ที่น้องบอกว่าคือ "กระทิง"  พี่ก็งงๆ ถ้าน้องมีภาพลูกดอก-ผลสารภี ช่วยลงให้ดูด้วยนะคะ ว่า แตกต่างกันอย่างไร ขอบคุณมากค่ะ

สรุป..ได้หรือไม่ว่า..เป็นไม้ตระกูลเดียวกัน..คงต้องไปค้นในทางพฤกษศาตร์..อีก..นะ..(สมเด็จ..พระเทพ..ทรงเตือนไว้ว่า..ตำรายา..ลอกกันมา..หนที่ห้า..กินแล้ว..อาจตายได้..)..ระวังๆกันไว้หน่อยก็ดี..เพราะเราเรียนเป็นพระ..คัมภีร์..กันมานานแสนนาน..อิอิ..(..ตรงนี้คิดเอาเอง..ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด..)...ขอบพระคุณ...มีดอกไม้มาฝากมีรักมามอบให้..

สวัสดีค่ะ

คุณครูทิพย์ ยินดีมากค่ะ

คุณพี่อาจารย์ไอดิน

คนขายก็บอกถูกนะคะแต่ไม่ทั้งหมด เพราะบางท้องถิ่นเรียกต้นกระทิงว่าสารภีทะเล และสารภีแนน แต่โดยมากก็จะเรียกสารภี ซึ่งบางคนไม่ทราบว่ามีต้นกระทิงที่เหมือนกันมาก ณ วันนี้ดามั่นใจว่าดูได้ออกแล้วค่ะ ภาพที่นำมาให้ดาชม เป็นดอกของต้นกระทิงหรือสารภีแนน/สารภีทะเลค่ะ

กระทิง ออกดอกที่ยอดและดอกเป็นช่อแยกดอกที่ช่อ ผลกลม

ส่วนดอกของสารภี ออกดอกที่กิ่งและลำต้น ผลรี

เดี๋ยวดาจะเขียนบันทึกสารภีต่อจากบันทึกนี้เลยค่ะ

คุณยายธี

ค่ะสำคัญมากในการใช้สมุนไพรมาเป็นอาหารเป็นยาและรักษาโรค ต้องทราบให้ถูกต้นถูกส่วนที่จะใช้

ขอบคุณมากค่ะดอกไม้สีม่วงสวยงาม

และขอบคุณมากนะคะทุกๆดอกไม้และกำลังใจที่มอบให้บันทึกกระทิง ฯ


ขอบคุณน้องดามากนะคะ ที่กรุณาลงภาพและคำอธิบายข้อแตกต่างระหว่าง "กระทิง" กับ "สารภี" อย่างรวดเร็วตามคำร้องขอ ตอนนี้พี่เข้าใจข้อแตกต่างของไม้ทั้งสองชนิดอย่างชัดเจนแล้ว ตามที่น้องช่วยไขข้อสงสัยว่า สารภีออกดอกที่กิ่งและลำต้นส่วนกระทิงออกดอกที่ยอด และกระทิงผลรีส่วนสารภีผลกลม 

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท