"เด็กไทยเรียนหนักที่สุดในโลก"


จากข่าวเดลิินิวส์ออนไลน์ ...

วันนี้ (23 เม.ย.) ดร.ปรีชา เมธาวัสรภาคย์ ผอ.สำนักวิจัยเอแบคโพล สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยว่า เอแบคโพล ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ทำการสำรวจเรื่อง เด็กและเยาวชนไทยอยากเห็นอะไรที่เปลี่ยนแปลงจากการศึกษาไทย โดยสำรวจเด็กและเยาวชนอายุ 14-18 ปี ใน 17 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวน 4,255 คน ระหว่างวันที่ 1-15 เม.ย.2557 ผลปรากฏว่า ...

ร้อยละ 58.9 เห็นว่า โอกาสและมาตรฐานทางการศึกษาของไทยไม่เท่าเทียมกัน 

ร้อยละ 58.7 เห็นว่า เด็กไทยเรียนหนักมากที่สุดในโลก แต่ไม่สามารถนำความรู้ในห้องเรียนไปประยุกต์ใช้ได้ 

ร้อยละ 54.8 เด็กไทยไม่ได้เรียนในสิ่งที่อยากเรียน 

ร้อยละ 53.1 เห็นว่า การเรียนการสอนเริ่มต้นจากความรู้ในหนังสือและจบลงที่ข้อสอบ 

ร้อยละ 30.7 ระบุว่า ความรู้ที่ใช้สอบได้จากการเรียนกวดวิชา 

ร้อยละ 25.0 อยากถามครูเกี่ยวกับวิธีการสอนของครู เช่น ทำไมครูไม่หาวิธีการสอนที่สนุก และไม่น่าเบื่อ, ทำไมสอนต้องอ่านตามหนังสือ ทำไมสอนในห้องเรียนไม่รู้เรื่อง แต่สอนพิเศษรู้เรื่อง เป็นต้น

ผอ.สำนักวิจัยเอแบคโพล กล่าวต่อไปว่า ...

สำหรับวิชาที่เด็กที่เรียนสายสามัญไม่ชอบเรียนมากที่สุดคือ คณิตศาสตร์ ร้อยละ 27.7 รองลงมาคือ ภาษาอังกฤษ ร้อยละ 27.4 

ขณะที่เด็กที่เรียนสายอาชีพ ร้อยละ 33.3 ไม่ชอบวิชาภาษาอังกฤษ รองลงมาคือ คณิตศาสตร์ ร้อยละ 32.2 

สำหรับแรงบันดาลใจในการไปเรียนมากที่สุด คือ พ่อแม่ ร้อยละ 71.4 

และยังพบว่า พ่อแม่เสียเงินค่าเรียนพิเศษมากกว่าค่าเทอมที่โรงเรียนถึง ร้อยละ 25.2 

นอกจากนี้พบว่า ร้อยละ 65.1 เห็นว่า การเรียนพิเศษเป็นสิ่งจำเป็น 

ร้อยละ 69.4 อยากให้เปลี่ยนแปลงการเรียนการสอน และเปิดโอกาสให้คนได้เรียนอุดมศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน 

ส่วนเรื่องการเรียนต่อ พบว่า ร้อยละ 66.7 ตั้งใจเรียนต่อระดับอุดมศึกษา ร้อยละ 14.4 เรียนสายอาชีพ 

ขณะที่อาชีพที่ต้องการที่สุดในอนาคต คือ แพทย์ ร้อยละ 20.4 รองลงมาคือ ธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย ร้อยละ 16.3 และ ครู/อาจารย์ ร้อยละ 12.5

ด้าน ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร รองประธานคณะกรรมการ สสค.คนที่ 2 กล่าวว่า

ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า พฤติกรรมของเด็กไทยเปลี่ยนไป ดังนั้น ครูต้องเปลี่ยนวิธีการสอน จะสอนแบบยืนหน้าห้อง และพูดตามหนังสือต่อไปไม่ได้แล้ว

อีกทั้ง ต้องรู้จักใช้สื่อสังคมออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊ก หรือ ไลน์ มาสื่อสารเพื่อดึงเด็กไว้

ส่วนที่ผลวิจัยระบุว่าเด็กไม่ชอบวิชาภาษาอังกฤษมากที่สุดนั้น เป็นสิ่งที่น่าห่วงมาก เราจึงต้องเปลี่ยนทัศนคติว่า ภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาต่างประเทศ แต่เป็นเครื่องมือในการดำรงชีวิต เหมือนการใช้เทคโนโลยี หรือไอทีในชีวิตประจำวัน โดยสาเหตุที่เด็กไทยเรียนภาษาอังกฤษไม่ได้ผล เพราะเราเรียนเพื่อสอบได้หรือสอบตก ซึ่งตนเห็นว่าต้องยกเลิกวิธีการประเมินดังกล่าว เพื่อให้เด็กได้เรียนภาษาอังกฤษ และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างได้ผลจริงๆ

อ้างอิง  : http://www.dailynews.co.th/Content/education/23246...

ลองอ่านผลสะท้อน (Reflection) ที่ออกมาจากโพลจะทำให้มองเห็นแนวโน้มอะไรบางอย่างในวงการการศึกษาไทย
ที่ครู พ่อแม่ ผู้ปกครอง ควรพึงจะต้องนำไปคิดและปรับปรุงอะไรหลาย  ๆ อย่างให้ดีขึ้นกว่านี้

ก็แค่หวังไว้ว่า ทุกอย่างจะดีขึ้นตามบริบทของโลก

บุญรักษา ทุกท่าน ;)...

หมายเลขบันทึก: 566674เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2014 19:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 เมษายน 2014 11:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

_สวัสดีครับ...

_สถิติ...ข้อมูล...น่าสนใจมากๆครับ...

_ด.ช.บุญส่ง จอมดวง..ก็ไม่ชอบเรียนคณิตและeng ครับ..

_น่าเสียดาย...น่าจะชอบเรียน..จะได้เก่งๆๆ55

_สบายดีนะครับ?

_มาซ้อมมือ..กันดีกว่าครับครู...

คณิตศาสตร์สำรวจเมื่อไรก็จะพบว่าเป็นวิชาที่เด็กไม่ชอบที่สุด (ในทุกประเทศ) และคงเป็นอีกนานในภาพรวม แต่ในความเป็นจริงมีเด็กเก่งเข้าสู่วงการคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้น

สถานการณ์ดีขึ้นในปัจจุบันที่มีเด็กเลือกเรียนเป็นวิชาเอกเพิ่มขึ้น และมีคนต้องการเป็นครูคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้น รวมทั้งมีผู้เข้าเรียนระดับ ป โท และเอกเพิ่มขึ้น มีนักคณิตศาสตร์เกิดใหม่ทุกปี  (ผู้ที่เรียนปริญญาเอก และทำวิจัยต่อเนื่องและสามารถมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารระดับโลก ศาสตราจารย์สาขาคณิตศาสตร์) มีการประชุมวิชาการระดับนานาชาติเฉพาะสาขาคณิตศาสตร์ทุกปี มีกลุ่มวิจัยและนักวิจัยที่เป็นที่ยอมรับในนานาชาติเกิดขึ้น สถานการณ์นี้เริ่มมาประมาณ 10-15 ปีย้อนหลัง ก่อนหน้านั้นเราไม่มีนักคณิตศาสตร์เลยนอกจากครูคณิตศาสตร์ ในขณะที่เวียตนามมีนับร้อยคน

การเรียนการสอนของครูเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เด็กไม่ชอบคณิตศาสตร์ แต่โอกาสในการประกอบอาชีพก็เป็นสาเหตุที่สำคัญไม่น้อย   ถ้าสังคมต้องการใช้คณิตศาสตร์มากขึ้น โดยรับสมัครผู้ที่จบสาขานี้โดยตรงบ้าง  นอกเหนือจากภาคการศึกษาที่ต้องการครูคณิตศาสตร์แล้ว ก็จะทำให้เด็กเห็นโอกาสในการประกอบอาชีพเพิ่มขึ้น เด็กและเยาวชนอาจเปลี่ยนความรู้สึกที่มีต่อคณิตศาสตร์ไปในทางที่ดีขึ้นในภาพรวม 

หนัก หมายถึง น้ำหนักใช่ไหมครับ พี่ kanchana muangyai 555

ขอบคุณมากครับ ท่านอาจารย์ GD ;)...

อยากบอกว่า ได้ความรู้มากเลยครับอาจารย์

ชอบ ๆ ;)...

"การศึกษไทยยุคผู้ใหญ่เขาบ้าตัวเลข" ก็งี้แหละครับ "ผลกรรมเลยทำให้เด็กเบื่อการเรียนเอียนการศึกษา เบื่อหน้าคุณครู เบื่อโรงเรียนตำรับตำรา หนังสอกหนังสือนานา เขาเลยไม่อ่าน หันไปเล่นไลน์" นี่เป็นความตอนหนึ่งจากเพลง "เพลงนี้ไม่มีชื่อ" ที่ครูวุฒิเขียนครับ

ขอเอาไปให้คุณครูอ่านนะครับ

อยากให้เด็กๆมีความสุขกับการเรียนภาษาอังกฤษ

ขอบคุณอาจารย์มากๆครับ

ยินดีครับ ท่านอาจารย์ ขจิต ฝอยทอง ;)...

ช่วยกันเผยแพร่ ;)...

น่าแปลกค่ะ เด็กๆ แบกหนังสือหนักขึ้น แต่ไม่ค่อยรักเรียน ปัญหาที่ครูก็กลุ้มใจค่ะ 

เขาแบกตามที่สิ่งที่โรงเรียนสั่งไว้ไงครับ แต่ไม่รู้ว่าแบกไปเพื่ออะไร ;)...

...ตอนวัยเด็ก เป็นรุ่นที่ไม่นิยมเรียนหนังสือมาก(หนัก)ค่ะ...ถือกระเป๋าต้องแบนที่สุดเท่าที่จะแบนได้...วรรณคดีก็เรียนเป็นตอนๆไม่เรียนหมดเรื่อง...ใครอยากรู้เรื่องอะไร?ไปหาอ่านเอาเองค่ะ...

 ..น่าสงสารเด็ก ๆ สมัยนี้จริง ๆ คะ...><

: โชคดีที่น้องนีโอ..มีความถนัดในการเรียนคณิตศาสตร์  ส่วนภาษาอังกฤษก็พอเอาตัวรอด สื่อสารได้ในยามคับขัน 

:  ที่สำคัญ..น่าจะเรียนเบา ไม่หนักคะ เพราะเรียนเฉพาะเวลาเรียนในเวลาเท่านั้น ไม่เน้นเรียนพิเศษ

^___^

การไม่เรียนพิเศษ ถือเป็น สุดยอด ครับ ท่านอาจารย์นีโอฯ นีโอ..เบเกอรี่ ;)....

แวะมารดต้นไม้แห่งความคิดถึง ครับ

เราจักได้พบกันครับ คุณ แผ่นดิน ;)...

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท