เครื่องมือ KM สุดโปรด


เฉกเช่นที่ท่านเคยรู้สึกว่า รู้จักใครบางคนมากขึ้นจนแทบเห็นชีวิตของเขาได้ใน Blog AHS in NU Planet ก็เช่นกัน ถ้าหากติดตามดู ท่านก็จะได้รู้จักบุคลากรของคณะสหเวชฯ ความเป็นไปและพัฒนาการของคณะสหเวชฯ ฉันใดก็ฉันนั้น

          ความจริง  นอกจาก AAR  ดิฉันอยากจะขอเพิ่มเติมในที่นี้ว่า  เครื่องมือของการจัดการความรู้ที่ดิฉันประทับใจ  ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า AAR คือ Blog  แรกๆ  ก็ยังไม่ประจักษ์ชัดนัก  จะชัดก็เฉพาะประโยชน์ส่วนตน  แต่มาระยะหลังนี้  พอดิฉันเริ่มเชี่ยวชาญเครื่องมือ KM มากขึ้น  ดิฉันสามารถใช้ Blog  กระตุ้นการพัฒนาคน  พัฒนางาน  และพัฒนาองค์กรได้ด้วย

          สมรรถนะของ Blog สัญชาติไทยแท้  อย่าง GotoKnow  ที่พัฒนาก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้งเป็น KnowledgeVolution   ทำให้อยู่มาวันหนึ่ง ดิฉันเกิด idea  ปิ๊ง! ปั๊ง!   e-mail ไปหาบุคลากรของคณะทุกท่าน  ใจความว่า.........

เรียนบุคลากรคณะสหเวชศาสตร์ ทุกท่าน

          ในปีงบประมาณ 2550  คณะมีนโยบายที่จะพัฒนาระบบ e-SAR ขึ้น  ด้วยวิธีการที่ง่ายที่สุด คือ การใช้โครงสร้าง  และระบบ Blog ของ Gotoknow  ซึ่งหัวใจสำคัญในการจัดระบบเก็บเอกสารหลักฐานต่างๆ คือ การติดป้าย (Tag) ในการบันทึกแต่ละครั้ง

          จึงอยากเชิญชวนบุคลากรทุกท่าน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคลากรสายสนับสนุน ได้โปรดสร้าง Blog ของประจำตัว   หากท่านไม่ทราบวิธีการ  โปรดแจ้งคุณอนุวัทย์ ได้ทุกเมื่อ คุณอนุวัทย์จะสอนให้

          การบันทึกใน Blog ของท่าน เปรียบเสมือนการกรอกแบบประเมินภาระงาน  เพื่อการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี โดยที่ในปีงบประมาณนี้  ท่านสามารถให้คณะประเมินผลงานของท่านจาก Blog ของท่านได้เลย   โดยไม่จำเป็นต้องเขียนรายงานให้ยุ่งยาก

          เพียงแต่ท่านต้องทยอยบันทึกสั้นๆ / หรือเก็บภาพ / เก็บ File ที่เป็นเอกสารหลักฐานที่ท่านเห็นว่าเกี่ยวข้อง หรือ สัมพันธ์ กับดัชนี / ตัวบ่งชี้ คุณภาพ ของการประกันคุณภาพไม่ว่าจะน้อยหรือมากเพียงใดก็ได้  โดยกระทำอย่างสม่ำเสมอ  เหมือนกับเก็บเอกสารอย่างเป็นระบบ

          ระบบการติดป้าย หรือ Tag ที่เป็นรหัสเฉพาะของคณะของเราเอง คือคำต่อไปนี้ (แต่ละคำต้องเขียนติดกันหมด)  ดัชนีที่1.1-50  ดัชนีที่1.2-50  ดัชนีที่1.3-50  ดัชนีที่2.1-50  ดัชนีที่2.2-50  ดัชนีที่2.3-50  ดัชนีที่2.4-50.........จนถึง   ดัชนีที่9.3-50  และ ตัวบ่งชี้ที่1.1-50............ถึง ตังบ่งชี้ที่7.2-50  กรณีของงานในสำนักงานเลขาฯ ก็จะมีดัชนีที่10.1......ถึง 10.5  อีกด้วย

          ดัชนีที่ หรือ ตัวบ่งชี้ที่ เท่าไหร่ เกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร  เป็นหน้าที่ที่ท่านต้องขวนขวายศึกษาในเอกสาร  SAR/CAR/YAR ปี 2549 (ปีการศึกษา 2548) ที่คณะเพิ่งแจกให้ทุกท่านเอาเอง

          การทีมี -50  ต่อท้าย หมายถึง ข้อมูลทั้งหมดนี้ จะใช้ประเมินคุณภาพการศึกษาในปี 2550  ซึ่งเป็นข้อมูลที่รวบรวมในปีการศึกษา 2549 ทั้งหมด ( 1 มิ.ย. 2549 ถึง 31 พ.ค. 2550)

          เมื่อท่านบันทึกข้อมูลของท่านในแต่ละครั้ง  หากเห็นว่าเกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพ ก็ให้ติดป้ายชื่อซึ่งเกี่ยวข้องดังกล่าวข้างต้น ไว้ในบันทึกนั้นๆ ด้วย

          ดังนั้น  เมื่อถึงคราวประเมินคุณภาพ  เราก็ไม่ต้องจัดเอกสารให้แก่กรรมการอีก  แต่เราจะให้กรรมการตรวจเอกสารเหล่านั้นด้วยการค้นหา ชื่อป้ายแต่ละชื่อ  ซึ่งก็คือ แต่ละดัชนี และแต่ละตัวบ่งชี้นั่นเอง

          ทั้งนี้  ผู้ประเมิน สามารถตรวจเอกสารได้ก่อนถึงวันประเมินด้วยซ้ำ โดยไม่ต้องมาตรวจเอกสารถึงที่

          อนึ่ง  ด้วยเหตุที่การประเมินปริมาณภาระงานของบุคลากรสายสนับสนุนที่ผ่านมาด้วยการเขียนรายงาน  ไม่สามารถนับวัดปริมาณงานได้แน่นอน  ไม่เหมือนบุคลากรสายวิชาการ  ดังนั้น การทำ e-SAR ระบบนี้  จึงผูกกับการประเมินผลการปฏิบัติงานของท่านด้วย

          ไม่ว่าจะเป็นผลงานของท่านที่ทำเป็นประจำ  / การพัฒนาตัวท่านโดยการไปฝึกอบรม ดูงาน / การAAR  / การวิจัยสถาบัน  ฯลฯ  มีความเกี่ยวข้องกับ QA ได้ทั้งหมด

          แต่ถ้าท่านคิดว่าเรื่องที่ท่านบันทึกไม่เกี่ยวกับ QA ท่านจะติดป้ายอย่างอื่น  ย่อมเป็นสิทธิที่ท่านจะกระทำได้เสมอ

          กล่าวอย่าง่ายๆ ก็คือ ถ้าท่านไม่เขียน Blog คณะจะไม่สามารถประเมินปริมาณภาระงานของท่านได้  โดยทั่วไป  บุคลากรสายสนับสนุนทุกท่านจึงควรเขียน Blog อาจยกเว้นได้เฉพาะบุคลากรที่มีวุฒิต่ำกว่า ป.ตรี (กรณีที่ต่ำกว่า ป.ตรี แต่บันทึก Blog ได้  จะได้รับการพิจารณาผลการปฏิบัติงานเป็นพิเศษ)

          สำหรับบุคลากรสายวิชาการ  ซึ่งมีความสามารถที่จะกระทำได้อยู่แล้ว  คณะก็อยากจะสนับสนุนให้ท่านทำอย่างเต็มที่ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี

          วิธีการเข้า Gotoknow  แบบตรงดิ่งมายังโลกส่วนตัวของคณะสหเวชฯ  คือ  การไปที่หน้าแรก Website ของคณะ  แล้วคลิ๊กที่ปุ่ม AHS Planet ทางด้านขวามือ   (งาน IT ของคณะได้จัดทำไว้ให้ท่านแล้ว)

จึงแจ้งเพื่อทราบโดยทั่วกัน

          ถัดมาอีก 2 -3 วัน  คุณอนุวัทย์ ก็จัดเวทีถ่ายทอดเรื่อง Blog แก่บุคลากรทุกท่านอย่างไม่รีรอ

          และนับแต่นั้น  โลกใบน้อยๆ AHS in NU  Planet  ก็ครึกครื้นและคึกคัก  อย่างอัตโนมัติ  โดยไม่ต้องอาศัยการบังคับขืนใจผู้ใดเลย

          เฉกเช่นที่ท่านเคยรู้สึกว่า รู้จักใครบางคนมากขึ้นจนแทบเห็นชีวิตของเขาได้ใน Blog

          AHS in NU  Planet ก็เช่นกัน  ถ้าหากติดตามดู ท่านก็จะได้รู้จักบุคลากรของคณะสหเวชฯ  ความเป็นไป  และพัฒนาการของคณะสหเวชฯ ฉันใดก็ฉันนั้น

หมายเลขบันทึก: 56635เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2006 22:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 13:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)
อาจารย์คะ อ่านแล้วตื่นเต้นมากเลยค่ะ เพราะคิดฝันถึงวิธีการนี้มาได้สักระยะนึงแล้ว พยายามจะขายให้ผู้บริหารสถาบันตัวเองแล้ว ก็ยังขายไม่ค่อยออก ถ้ามีตัวอย่างให้เห็นแบบนี้ รับรองศักยภาพของบุคคลที่เราจะค้นพบและตัวผู้บันทึกเองจะได้รับรู้ด้วยวิธีนี้ จะเป็น"แรงส่ง"ที่ดีเมื่อบวกกับระบบเยี่ยมๆอย่างที่อาจารย์นำมาเผยแพร่ ขอบคุณจริงๆค่ะ
          คุณโอ๋ ช่างเป็นผู้ที่มีทั้ง High Energy  และเป็ผู้นำทางด้าน Technology  น่านับถือจริงๆ 
  • อาจารย์เป็นผู้บริหารหญิงที่ยอดเยี่ยมมากๆ ค่ะดูอ่อนหวาน  แต่ก็ทันสมัย แถมยังใส่ใจคนรอบข้างอย่างจริงใจ
  • แบบนี้ลูกน้องคงให้ใจร่วมด้วยช่วยกันให้เกิดการพัฒนาต่อไปอย่างดีแน่เลยค่ะ

แก้มแหม่ม

 

 

 

อาจารย์คะ

     ท่านอาจารย์วิบูลย์ฝากเรียนว่าอาจารย์เตรียมมารับรางวัลอีกรางวัลจากบันทึกนี้ได้เลยค่ะ  คราวนี้จะเป็นหนังสือเกี่ยวกับ Competency based learning ค่ะ

ขอขอบคุณอาจารย์มาลินี

  • อ่านแล้วทึ่งกับการพัฒนา + ประเมินผลรูปแบบใหม่
  • ก้าวไปไม่หยุดยั้งจริงๆ  สาธุ สาธุ สาธุ

ที่ มอ. กำลังจะติดตั้ง KnowledgeVolution เป็น Intranet ในอีกไม่นานค่ะ

ได้ข่าวแว่วๆ มาว่า คุณเมตตาขออนุมัติงบประมาณแล้วค่ะ เจ้าของโปรเจ็คนี้รู้สึกว่าจะเป็น กองการเจ้าหน้าที่ค่ะ

โดยจะมีคุณเมตตาและคุณแป้นเป็นผู้ดูแลชุมชนกระมังค่ะ ส่วนทางด้านเทคนิคก็จะมี ดร.ธวัชชัย คุณวิภัทร และ ดิฉันช่วยเหลืออยู่ในระยะแรกๆ ค่ะ

ส่วนไอเดียการนำเรื่อง ป้ายคำ ไปใช้นี่ขอยกประโยชน์ความคิดสร้างสรรค์แก่ อ.พิชิต พี่โอ๋อโณ อ.อิ่มจิต อ.เนาวนิตย์ อ.วิบุลย์ (มน.) และ อ.มาลินี (มน.) ด้้วยค่ะ

ส่วนด้านการปรับปรุงระบบไม่ต้องห่วงค่ะ จะมีมาเรื่อยๆ ค่ะ อีกหน่อยจะแสดง  ป้ายล่าสุด และ ป้ายที่ติดกันมากที่สุด ไว้ให้ด้วยค่ะ 

ท่าน อ.วิบูลย์ แหล่งกำเนิด idea ของดิฉัน อยากทำในระดับมหาวิทยาลัย ใจจะขาดอยู่แล้ว  รอ อ.จันทวรรณ และ อ.ธวัชชัย อยู่ทุกวี่ทุกวันค่ะ

ดิฉันเองเป็นคนใจร้อน  ก็เลยขอลองทำต้นแบบดูก่อน  จะได้เรียนรู้ไปพลางๆ ค่ะ

 

อาจารย์ลองทำต้นแบบไปก่อนนะค่ะ รอได้ best practice ของการลงที่ มอ. แล้ว จะจัดอบรมการติดตั้ง KnowledgeVolution ขึ้นที่ กทม. หลังจากงานมหกรรมค่ะ

อาจารย์ค่ะ ขอแนะนำให้ทาง มน. เตรียมจัดหาผู้ดูแลระบบได้เลยค่ะ และให้ลองศึกษาการติดตั้ง KnowledgeVolution ได้เลยค่ะที่ http://KnowledgeVolution.org ค่ะ

ฮัลโหล!  ฮัลโหล! น้องตูน น้องโอ แห่ง NUQA

ได้ยินแล้วตอบด้วย   ได้ยินแล้วตอบด้วย    

อ.จันทวรรณ  มีข่าวดีมาฝาก 

ขอขอบคุณในความกรุณาของอาจารย์ แทนท่านอาจารย์วิบูลย์ ด้วยนะคะ  ขอบคุณมากค่ะ

น่ายินดีกับคณะสหเวชฯ มาก ๆ ที่มีผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล และเป็นแบบอย่างที่ดี 

โดยส่วนตัวคิดว่าคณะสหเวชฯ จิ๋วแต่แจ๋วจริง ๆ ค่ะ .....

  • อาจารย์มาลินีคะ  ทราบแล้วพร้อมปฏิบัติค่ะ
  • มีรายละเอียดเพิ่มเติมนิดหน่อยใน comment จากบันทึกอาจารย์หมอวิจารณ์ค่ะ http://gotoknow.org/blog/thaikm/56533
  • ขอบพระคุณอาจารย์จันทวรรณอีกคนด้วยค่ะ

ดิฉันอ่านบันทึกนี้ หลังจากอาจารย์เขียนไปนานถึง 9 ปีแล้ว! อนาจใจตนเองนะคะที่ยัง (เพิ่งจะ) ตื่นเต้นไปด้วย

ดิฉันกำลังรวบรวมบันทึกประสบการณ์การใช้เครื่องมือ KM เพื่อเรียบเรียงไปบอกเล่าต่อ/ปรับพื้นฐาน KM ให้กรรมการ KM ของหน่วยงาน หลังจากประเมินตนเองแล้วพบว่า 'ไม่รู้จัก KM' ทั้งที่เป็นกนรมการกัยมาคนละหลายปีแล้วค่ะ (ฮา) ก็ยังมีข้อดี ที่ดีมากด้วย คือการเปิดใจยอมรับตนเอง ยอมแรับ และ ยอมเปลี่ยน

ขอบคุณบันทึกดีๆ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท