Hospital Wide Safety Goal (HWSG)


HWSG หามาได้อย่างไร จึงจะสื่อความเสี่ยงที่สำคัญระดับที่โรงพยาบาลต้องกำหนดให้ทุกหน่วยงานเฝ้าระวัง

Hospital Wide Safety Goal (HWSG)

Hospital Wide Safety Goalเป้าหมายความเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังระดับโรงพยาบาล             ทีแรกยังสับสนกับความหมายนี้  ไม่รู้ว่าจะหาที่มาของ HWSG มากำหนดเป็นความเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังระดับโรงพยาบาลได้อย่างไร            ครั้งแรกทีมบริหารความเสี่ยงและทีมนำนั่งเทียน?   (ระดมสมองว่าอะไรที่ยังเสี่ยง ๆ ในโรงพยาบาลอยู่อีก) กำหนด HWSG  Version แรก กันมาได้ 7 ตัว เมื่อต้นปี 2547 ได้แก่ 1. ความถูกต้องของการระบุตัวผู้ป่วย  2. ความปลอดภัยจากการใช้ยา   3. ความปลอดภัยจากการพลัดตกหกล้ม  4. ความปลอดภัยจากการเคลื่อนย้าย  5. ความปลอดภัยจากใช้เครื่องมือ   6. ของเสียจากโรงพยาบาลไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม   7. ความปลอดภัยจากการก่อวินาศกรรม แล้วก็ Implement ให้ทุกหน่วยงานกำหนดแนวทาง (Action Plan) ให้ครอบคลุม แต่ผลลัพธ์ที่ได้มาก็ยังไม่เป็นที่พอใจ เพราะ หลายเรื่องเป็นเรื่องที่ไม่ใช่ปัญหาที่สำคัญของหน่วยงาน และอีก 2 เรื่องหลังก็เป็นเรื่องที่ระดับโรงพยาบาลต้องดำเนินการเองซะเป็นส่วนใหญ่          ต่อมาได้เห็นตัวอย่างคู่มือ HWSG ที่ดีจากโรงพยาบาลเอกชนบางที่ ทีมบริหารความเสี่ยงจึงเห็นควรว่าต้องปรับ HWSG ให้เหมาะสมกับบริบทของโรงพยาบาลมากขึ้น โดยพิจารณาจากปัญหาที่มีการรายงานอุบัติการณ์ของหน่วยงานต่าง ๆ และใช้กรอบ Sentinel Event ของ JCAHO (9 ตัว) ร่วมกับ HA Thailand Patient Safety Goal 2006 (อีก 8 ตัว) ซึ่งพิจารณาแล้วทั้งหมดเป็น Common Clinical Risk นำมากำหนดเป็น HWSG ของโรงพยาบาล Version2 ได้แก่   1. Medication safety 2. Identification 3.Delayed  rescue 4. Healthcare associated infection 5. Acute coronary syndrome  ประกาศใช้อยู่ 7-8 เดือน ก็เกิดความคิดขึ้นมาว่าแล้วข้อมูล Risk Profile ในระดับหน่วยงานและ PCT ทำไมเราไม่นำมาใช้ประโยชน์บ้าง ทั้ง Common Clinical Risk และ Specific Clinical Risk เพราะถ้าเอาแต่ข้อมูลอุบัติการณ์อย่างเดียวบางทีอาจ  เชื่อไม่ Sensitive พอ , อาจเป็นเรื่องอ่อนเกินไปเช่น Near miss หรือความรุนแรงระดับ A-C ซะเป็นส่วนใหญ่ แล้วเรื่องสำคัญกว่าที่หน่วยงาน / PCT เฝ้าระวังกำหนดเป็นความเสี่ยง (Risk Profile) โดยเฉพาะ Specific Clinical Risk ทำอย่างไรจึงจะถูกนำมาเป็นประเด็นในการกำหนด HWSG ด้วยล่ะ          ดังนั้นจึงมีการหาแนวทางกำหนด HWSG version.3  ขึ้นใหม่ให้ตรงกับปัญหาความเสี่ยงทางคลินิกทั้ง Common Clinical Risk และ Specific Clinical Risk โดยกำหนดให้หน่วยงานทางคลินิกทุกหน่วยงาน ส่ง Profile ของ  Common Clinical Risk และ Specific Clinical Risk อย่างละ 3-5 เรื่อง ตามความสำคัญและบริบทของหน่วยงานหลังจากได้มาก็นำมาคลุกกันแล้วนำมานับคะแนน ในส่วนของ Specific Clinical Risk จะนำมาแต่ภาวะความเสี่ยงมาคิดโดยไม่คำนึงถึงกลุ่มโรคอะไร (แปลง Specific Clinical Risk ให้ออกมาเป็น Common Clinical Risk) เช่น ศัลยกรรมมีเรื่อง Hypovolemic Shock ในผู้ป่วย Upper GI Bleeding , สูติ-นารีเวช มีภาวะHypovolemic Shock ในผู้ป่วย PPH  แผนกเด็กก็มีภาวะ Hypovolemic Shock ในผู้ป่วย Acute Diarrhea แบบนี้ก็จะนับเป็น ภาวะ Hypovolemic Shock  ได้ไปเรื่องละคะแนน ภาวะอื่น ๆ ที่ซับซ้อนกันหลาย PCT ตัวอย่างเช่น Hypoglycemic Shock , Sepsis , Pneumonia  เป็นต้น คะแนนที่ได้ น่าสนใจมากเพราะได้ทั้ง Common Clinical Risk และ Specific Clinical Risk ดังนี้1.การติดเชื้อจากการรักษา  (HCAI ) จำนวน 22 Items :2.Medication Error จำนาน 17 Items: 3.การระบุตัวผู้ป่วยผิดพลาดจำนวน 12 Items :4.Hypovolemic Shock จำนวน11 Items : 5.Hypo/Hyperglycemia จำนวน 10 Items : 6.Cardiogenic Shock / Cardiac Arrythmia จำนวน  9 Items :7.ET หลุด จำนวน 9 Items : 8.Delayed Recuedจำนวน 7 Items : 9.IICP จำนวน 6 Items : 10. ส่งผ่าตัดไม่ถูกต้องจำนวน6 Items : 11.BedSore จำนวน 6 Items : 13.Aspiration จำนวน  5 Items : 14.ผู้รับบริการไม่พึงพอใจการรักษาจำนวน  5 Items : 15.Hypothermia จำนวน 4 Items เรื่องอื่น ๆ เช่น ชัก ,Compartment Syndrome ,Re-admition , CPR Failure , Pneumothorax , Hypoxia,Anaphylactic Shock,ตกเตียง/ ลื่นล้ม,Communication Failure  ,.Upper Airway Obstruction  ,Missed   Diagnosis,Post Op Bleeding ,Midiastinitis  ,Electrolyte ,ความผิดพลาดในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย , Fat embolism ,Pulmonary Edema    รวม    123   Items           

หลังจากนั้นจึงนำความเสี่ยงชุก7เรื่องแรกมากำหนดเป็น HWSG Version3               

 ลองแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะครับเพราะเป็นเรื่องที่เป็น Tacit Knowledge ไม่มีใครถูก ไม่มีใครผิด แต่วิธีไหน น่าจะเป็นวิธีที่ ดี ถูกต้อง ครอบคลุม บริบทความเสี่ยงที่สำคัญระดับโรงพยาบาลที่ต้องเฝ้าระวัง ลองพิจารณากันดูครับ 

เฉลิมพงษ์ สุคนธผล 

 ศูนย์พัฒนาคุณภาพ

โรงพยาบาลสงขลา

 

คำสำคัญ (Tags): #hwsg
หมายเลขบันทึก: 56600เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2006 16:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

แล้วไม่เฝ้าระวังแบบ target บ้างหรือคะ อิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท