เล่มที่ ๑ ก้าวทันวิจัยกับ ศจย. วิธีจับ "ผู้ร้ายควันบุหรี่มือ 2"


       วันนี้ทาง ศจย. มหาวิทยาลัยมหิดล และ สสส. รวบรวมงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่อง "วิธีจับผู้ร้ายควันบุหรี่ มือ 2" มาอยู่ในหนังสือ

ก้าวทันวิจัยกับศจย. ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 พ.ศ.2556 จึงนำมาเผยแพร่องค์ความรู้ต่อไป

 

 ในหนังสือ มีการตรวจวัดควันบุหรี่มือสอง ตรวจวัดอย่างไร งานวิจัยต่างประเทศเกี่ยวกับควันบุหรี่มือสอง มีงานวิจัยในประเทศที่น่าสนใจ จึงนำมารวบรวมอยู่ใน TRC research update ฉบับนี้ค่ะ

ท่านใดสนใจหรือผู้เกี่ยวข้อง สามารถแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับควันบุหรี่มือสองให้เราฟังบ้างนะคะยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 

(หากท่านใดสนใจสามารถขอรับหนังสือได้ฟรีค่ะ พร้อมเขียนแชร์องค์ความรู้เพื่อเล่าสูกันฟังได้ค่ะ)

ขอบคุณค่ะ

รติกร เพมบริดจ์ [email protected]

หมายเลขบันทึก: 565238เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2014 13:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 เมษายน 2014 13:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

...เท่าที่สังเกตเห็น...ตามบริษัทห้างร้านต่างๆทั้งเจ้าของกิจการ ผู้บริหาร พนักงานที่สูบบุหรี่จะเดินออกมายืนสูบนอกอาคารกัน..ถ้าตามห้างสรรพสินค้าคนที่สูบบุหรี่จะมีที่นั่งให้ข้างประตูทางเข้า...แต่ก็มีบางคนที่มายืนใกล้ๆหน้าประตู ...ถ้าเห็นก็เตรียมกลั้นหายใจแล้วรีบเดินผ่านเข้าประตู...และที่แปลกคือส่วนใหญ่ผู้สูบบุหรี่เป็นผู้หญิง

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นค่ะ ตามกฎหมายต้องจัดเขตสูบบุหรี่เป็นการเฉพาะ เพื่อคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่

หน้าห้างกลางเมือง วินมอเตอร์ไซดแค่เขียนข้อความ "Smoking Area" แปะไว้ แล้วสามารถนั่งพ่นควันบุหรี่ใส่คนที่ผ่านไปมาได้ ดิฉันเดินผ่านทุกวันต้องเอาผ้มือจมูก อยากถ่ายรูปก็ยังไม่กล้า

ขอนิยาม "ผู้ร้าย ควันบุหรี่มือสอง" ได้มั๊ยคะ

ขอบคุณที่ติดตามค่ะ ตามกฎหมายการจัดเขตสูบบุหรี่ ต้องมีการแสดงเครื่องหมายของเขตสูบบุหรี่และจะต้องจัดเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดค่ะ

นิยามของ ผู้ร้ายควันบุหรี่มือสอง

ควันบุหรี่สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆได้แก่ ควันบุหรี่ในมวนที่ผู้สูบสูดเข้าสู่ร่างกายโดยตรงและพ่นกลับออกมาภายนอก (Mainstreamsmoke) และควันบุหรี่ที่ลอยออกมาสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก ซึ่งเกิดจากควันบริเวณปลายมวนบุหรี่ที่ติดไฟโดยไม่ได้ผ่านเข้าไปภายในร่างกายของผู้สูบมาก่อน(Sidestream smoke) ผู้ที่สูบบุหรี่โดยตรงจะได้รับควันบุหรี่ในมวนและนอกมวนเข้าไป ในขณะที่ผู้ไม่สูบบุหรี่ที่หายใจเอาควันบุหรี่ในบรรยากาศเข้าสู่ร่างกายเรียกว่า การได้รับควันบุหรี่มือสอง (Second-hand smoking SHS) ซึ่งการได้รับควันบุหรี่มือสองจะเป็นสาเหตุของโรคต่างๆและการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรทั้งในเด็กและผู้ใหญ่

มีความเห็น ๒ อย่างค่ะ

๑. ศัพท์ต่างๆ ถ้าต้องการสื่อสารกับประชาชน ต้องเข้าใจง่าย เข้าใจทันที

๒. กฎหมายการสูบบุหรี่ในที่สาธารณะไม่ศักดิ์สิทธิหรอกค่ะ

ในโรงพยาบาลก็มีคนสูบค่ะ แล้วใครคือเจ้าพนักงานที่จะไปทำอะไรเขาได้คะ

ขอบคุณค่ะสำหรับความคิดเห็น

๑. ตอบ เห็นด้วยค่ะ
๒. ตอบ ใช่ค่ะมีกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะโดยโรงพยายบาลก็อยู่ในเกณฑ์นี้ ซึ่งกฎหมายนี้การบังคับใช้ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ต้องปรับปรุงอย่างมากค่ะ เจ้าหน้าที่ที่ดูแลในส่วนนี้คือ

เจ้าหน้าที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกระดับ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่จะต้องมีบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ตามพรบ.คุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ.๒๕๓๕

เจ้าหน้าที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกระดับ เช่น ปลัดกระทรวงสาธารณสุข อธิบดีกรมควบคุมโรค นักวิชาการสาธารณสุขและพยาบาล เป็นต้น

เสนอความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ที่ : สำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ กรมควบคุมโรค โทร.๐ ๒๕๘๐ ๙๗๐๗ หรือโทร ๑๔๒๒ E-mail : [email protected]

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท