ชลิต14*


ฝึกงานได้อย่างเต็มที่เลยทีเดียว

30/10/49 

     ในวันนี้ผมมาถึงที่สถาบันเวลา 6.50น. เนื่องจากวันนี้มีงานในต้อนเช้าโดยได้มีการเเบ่งงานกันออกเป็น 2 สาย  โดยผมออกไปถ่ายภาพเก็บบรรยากาศที่ชั้น 4 อาคารบริเวณพื้นที่ภายใน สสวท. โดยเป็นงานเเถลงข่าวเปิดตัวภาพยนตร์วิทยาศาสตร์การเรียนรู้ ครั้งที่2 กับนายวีระพงษ์   ส่วนนายธีระชัยออกไปถ่ายงานบริเวณรอบๆท้องฟ้าจำลองเสร็จงานเกือบเที่ยง ต่อมาต้อนบ่ายได้นั้งอ่านข้อมูลเกี่ยวกับทำเสียง  เวลา15.00น ได้ไปนั่งศึกษาการใช้กล้อง SONY Live Content Producer Anycas Station ภายในห้องควบคุมในงานสัมมนา ซึ่งเป็นกล้องที่ติดผนังที่ใช้ควบคุมการทำงานจากภายในห้อง  กลับบ้านเวลา 16.30น

ตัวอย่าง   ขั้นตอนการทำเสียงหลังการถ่ายทำสำหรับการถ่ายด้วยฟิล์มเมื่อเราได้เสียงที่เราไปอัดมาขณะถ่ายทำเป็น DAT หรือ Nagra แล้วขั้นตอนต่อ ๆ ไปที่เราจะนำไปประกอบกับภาพเพื่อทำเป็น release print มีดังนี้ 1. Digitize Audio to DAW ก็คือ หลังจากที่เราได้รับเทปที่เป็นเส้นเสียงที่บันทึก dialog ไว้ในขณะถ่ายทำ ซึ่งจะบันทึกโดยเครื่องบันทึกที่เรียกกันว่า NAGRA ในระบบ Analog หรือ DAT ในระบบ Digital ขึ้นอยู่กับความสะดวก หลังจากนั้น เราก็จะทำการ transfer เสียงเหล่านั้นลงใน Hard Disk ของ DAW (Digital Audio Workstation) ซึ่งก็เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีโปรแกรมไว้สำหรับตัดต่อเสียง ที่นิยมใช้โดยทั่วไปก็มี Pro Tools, Avid Audio Vision, Nuedo, Acid Pro และ Sonic Solutions โดยภาพที่นำมาจับ sync นั้นควรเป็นภาพที่ได้มาจาก Avid composer จากนั้นก็ไปยังขั้นตอนต่อไป 2. Edit และ Sweetening ก็คือการตัดต่อเสียง ปรับแต่งเสียง และจัดเรียงตำแหน่งเสียง เพื่อให้เข้าและตรงตำแหน่งกับภาพที่ตัดต่อมาเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนนี้ต้องระวังในเรื่องของการนำภาพที่ตัดต่อเสร็จแล้วมาใช้งานคือต้อง telecine @ 24 fps หลังจากนั้นก็ให้เราดูภาพกับเสียงที่เราตัดต่อแล้วอีกหลายๆรอบ พร้อมจดบันทึกสิ่งที่เราต้องการเพิ่มเติมเช่น Dialog ช่วงไหนที่อาจจะต้องซ่อมหรือใช้ take อื่นหรือต้องอัดพากย์ทับเข้าไปใหม่(ADR),ช่วงไหนที่ต้องการทำ Foley,ช่วงไหนต้องการ Ambience เพิ่มหรือช่วงไหนต้องใช้เสียง effect จากแผ่น CD สำเร็จรูป (CD Library) มาใส่ เพลงควรจะเข้าหรือออกช่วงไหน ( เพลงที่ใช้ จะเป็นส่วนที่นักประพันธ์เพลง หรือ Music Composer แต่งขึ้นมาต่างหาก ) ซึ่งเราจะใช้ประโยชน์จาก DAW ได้ในขั้นตอนนี้ก็คือ การเลื่อนหรือขยับตำแหน่งของเสียงให้ตรงกับภาพได้อย่างรวดเร็ว การปรับแต่งระดับเสียง การ PAN เสียง การ Fade หรือ Cross fade เสียงเพื่อไม่ให้เกิดการสะดุดระหว่างรอยต่อของเสียง ทั้งหมดนี้จะอยู่ในความดูแลของ Supervising Sound Editing 3. Pre-Mix คือการรวมและปรับระดับเสียงให้กลมกลืนคร่าวๆก่อนที่เสียงทั้งหมดจะส่งไปทำ Final Mix หลังจากที่เสียงต่างๆถูกตัดต่อและวางตำแหน่งเรียบร้อยแล้ว ภาพยนตร์บางเรื่องจำนวนเส้นเสียงที่มีอาจจะมากเกินไป เราจึงจำเป็นต้องมีการยุบรวมกันเสียก่อนเพื่อความสะดวกในการดูแลตอน Final Mix แต่ถ้าเส้นเสียงที่มีอยู่ไม่มากเกินไปเราก็ทำการผสมเสียงทั้งหมดไปเลยก็ได้

4. Final Mix ก็คือขั้นตอนการผสมเสียงที่มีทั้งหมดเข้าด้วยกันทั้ง Dialog,Effect และ Music ให้กลมกลืนเข้ากับภาพมากที่สุด หรือเราเรียกว่าการ Balance เสียง ผู้ที่ทำหน้าที่นี้ก็คือ Re-Recording Mixer ที่จะทำการ Balance ตามความต้องการของผู้กำกับ ลงในระบบเสียงต่างๆซึ่งมีดังนี้

    1.ระบบ Mono คือเสียงจะถูกผสมรวมกันเหลือเพียงเส้นเดียว แล้วผ่านลำโพงไปออกตรงกลางจอ ซึ่งเป็นระบบที่ใช้กันมากในภาพยนตร์สมัยก่อน

    2.ระบบ Stereo คือเสียงจะถูกผสมรวมกันเหลือ 2 เส้น แล้วผ่านออกลำโพงทางซ้ายและทางขวา จะให้ความรู้สึกถึงความกว้างของเสียงมากกว่าระบบแรก

    3.ระบบ Four Channel Mix คือเสียงจะถูกผสมรวมกันเหลือ 4 ช่องทางคือ ซ้าย,กลาง,ขวา และ เซอร์ราวน์ ก็จะทำให้คนดูรู้สึกสมจริงขึ้นมาอีกขั้นหนึ่ง ระบบที่นิยมก็คือ Dolby Stereo หรือ Ultra Stereo

    4.ระบบ 5.1 Channel Mix เป็นระบบที่ใช้กันมากในปัจจุบัน คือทั้งหมดจะถูกผสมรวมกันเหลือ 6 ช่องทางเป็น ซ้าย,กลาง,ขวา,เซอร์ราวน์ซ้าย,เซอร์ราวน์ขวา และ ซัพวูฟเฟอร์ ระบบนี้ก็จะเอื้อประโยชน์ต่อการผสมเสียงในการใช้ทิศทางได้มากขึ้น ระบบที่นิยมก็มีทั้ง Dolby Digital SR.D และ DTS ( .1 ก็หมายถึงซัพวูฟเฟอร์นั่นเอง )

    5.ระบบ 7.1 Channel Mix ก็จะเหมือนกับระบบ 5.1 แต่เพิ่มช่องทางขึ้นมาอีก 2 ช่องคือตำแหน่ง กลางซ้ายซึ่งจะอยู่ระหว่างข้างซ้ายกับตรงกลาง และ กลางขวาซึ่งจะอยู่ระหว่างข้างขวากับตรงกลาง รายละเอียดในการผสมเสียงและการรับฟังของผู้ชมก็จะมีมากขึ้น แต่นิยมใช้กันไม่มากนัก เพราะขั้นตอนการทำซับซ้อนกว่า ระบบ 5.1 Channel Mix

    6.ระบบDolby Digital Surround EX ก็คือระบบเสียงที่พัฒนามาจากระบบ Dolby Digital SR.D โดยการเพิ่มช่องทางการฟังขึ้นอีก 1 ช่องทางคือ เซอร์ราวน์ข้างหลังตรงกลางเพื่อความสมจริงยิ่งขึ้นสำหรับหนังประเภท Action, Thriller

หมายเหตุ: สำหรับ THX นั้นเป็นมาตรฐานในการรับรองคุณภาพของโรงหนัง ไม่ใช่เป็นระบบของเสียง

เเวเวเวเวเว;ll

 
คำสำคัญ (Tags): #ฝึก-13
หมายเลขบันทึก: 56481เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2006 18:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท