คู่มือสนามบินทุ่งมหาเมฆหัวข้อ4.6


คู่มือสนามบินทุ่งมหาเมฆ

 คู่มือสนามบินทุ่งมหาเมฆ นี้คือ ตัวอย่าง(โมเดล)ของคู่มือ สนามบิน Aerodrome Manual ส่วนที่ 4.6 

จัดทำขึ้นโดยสำนักมาตรฐานสนามบินกรมการบินพลเรือน เพื่อ ให้สนามบินใช้เป็นแนวทางการเขียนคู่มือการดำเนินงานสนามบิน  

สนามบิน Aerodrome Manual  หัวข้อที่ 4.6  รายละเอียดต้องประกอบด้วยอย่างน้อยดังนี้

 
4.1 รายการตรวจสอบ เครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ ด้วยทัศนวิสัย
4.2 วิธีการตรวจพินิจวิเคราะห์หาแนวทางแก้ไขเฉพาะหน้า และการแก้ไขแบบยั่งยืนที่สาเหตุที่แท้จริง 
4.3 การวางแผนตรวจ แก้ไขทันที แก้ไขระยะยาว
4.4 กำหนดความถี่ การตรวจ ตัวแปรที่ทำให้ตรวจถี่บ่อยขึ้น หรือยืดระยะเวลาตรวจสอบ  ระยะเวลาการดำเนินการบำรุง รักษา
4.5 แบบฟอร์มการบันทึกผลการตรวจวัด และ ลำดับชั้น การรายงานแก้ไขและติดตามการแก้ไข 
 
     โดยอย่างน้อยสนามบินทุกสนามบินควรพยายามอย่างยิ่งที่จะดำเนินการจัดให้มี  อย่างน้อยตามที่ระบุในทุกหัวข้อในโมเดลนี้ (เอกสารองค์การการบินพลเรือน เลขที่ 9774 ICAO Doc.9774 Aerodrome Manual) และเพิ่มเติมได้หากต้องการโดยไม่ทำให้คุณลักษณะหลักๆของอุปกรณ์ต่างๆเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ไม่ปลอดภัยหรือทำให้ความปลอดภัยลดลง

 4.6 เครื่องช่วยการเดินอากาศด้วยทัศวิสัยและระบบไฟฟ้าสนามบิน

  (VISUAL AIDS AND AERODROME ELECTRICAL SYSTEM)

 

ขอบเขต

  รายละเอียดที่กล่าวถึงในหัวข้อนี้ จะเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการจัดการเพื่อให้บรรลุผลการตรวจสอบและการดำเนินการบำรุงรักษาเครื่องช่วยการเดินอากาศด้วยทัศนวิสัย และระบบไฟฟ้าสนามบิน ที่ติดตั้งภายในท่าอากาศยานทุ่งมหาเมฆ

 

 วัตถุประสงค์

 

·  เพื่อกำหนดขั้นตอนการตรวจสอบเครื่องช่วยการเดินอากาศด้วยทัศนวิสัยและระบบไฟฟ้าสนามบิน ในช่วงเวลาที่มีการบินและนอกเวลาที่มีการบิน ตลอดจนถึงเอกสารรายการที่ใช้ในการดำเนินการตรวจสอบ(Checklist)

·  เพื่อกำหนดวิธีการรายงานผลการตรวจสอบและวิธีการดำเนินการภายหลังพบข้อบกพร่อง

·  เพื่อจัดการการบำรุงรักษาให้มีประสิทธิภาพ ทั้งการบำรุงรักษาประจำ และการบำรุงรักษาในเวลาฉุกเฉิน

·  เพื่อจัดการเกี่ยวกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง ซึ่งรวมถึงรายละเอียดวิธีการใช้งานและการจัดการกับข้อบกพร่องบางส่วนและทั้งหมดของระบบ

·  เพื่อกำหนดรายละเอียดบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบการตรวจสอบและบำรุงรักษาระบบเครื่องช่วยการเดินอากาศด้วยทัศนวิสัย,ระบบไฟฟ้าสนามบิน ซึ่งประกอบด้วย ชื่อ ตำแหน่ง หมายเลขโทรศัพท์ ที่สามารถติดต่อได้ระหว่างเวลาทำการและหลังเวลาทำการ

มาตรฐานอ้างอิงและเอกสารที่เกี่ยวข้อง 

·  ICAO ANNEX 10 (Volume I)  AERONAUTICAL TELECOMMUNICATION
·  ICAO ANNEX 14 (Volume I,II) AERODROME DESIGN AND OPERATION
·  ICAO DOCUMENT 9157-AN/901 (AERODROME DESIGN MANUAL) PART 4,
·  ICAO DOCUMENT 9137-AN/898 (AIRPORT SERVICE MANUAL) PART9,  AIRPORT MAINTENANCE PRACTICES
·  มาตรฐานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
·  แผนภาพแสดงตำแหน่งเครื่องช่วยการเดินอากาศด้วยทัศนวิสัย
·  เอกสารตรวจสอบเครื่องช่วยการเดินอากาศด้วยทัศนวิสัย

รายละเอียดทั่วไปเครื่องช่วยการเดินอากาศด้วยทัศนวิสัยและระบบไฟฟ้าสนามบิน

  ท่าอากาศยานทุ่งมหาเมฆ มีการติดตั้งเครื่องช่วยการเดินอากาศด้วยทัศนวิสัย โดยมีคุณสมบัติและเกณฑ์การติดตั้งตลอดจนแนวทางการจัดการบำรุงรักษา ตรงตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) โดยเครื่องช่วยการเดินอากาศด้วยทัศนวิสัยที่ติดตั้ง ประกอบด้วย

-  ถุงกระบอกทิศทางลม (WIND DIRECTION INDICATOR)

-  *ไฟแสดงสัญญาณ (SIGNALLING LAMP)

-  *ไฟหมุนบอกตำแหน่งสนามบิน (AERODROME BEACON)

-  ไฟกระพริบบอกชื่อสนามบิน (IDENTIFICATION BEACON)

-  ระบบไฟนำร่อง (APPROACH LIGHTING SYSTEM)

-  ระบบไฟทางวิ่ง (RUNWAY LIGHTING SYSTEM)

-  ระบบไฟทางขับ (TAXIWAY LIGHTING SYSTEM)

-  ระบบไฟนำร่อน (PRECISION APPROACH PATH INDICATOR SYSTEM)

-  ไฟเตือนสิ่งกีดขวาง (OBSTACLE LIGHTING)

    *สนามบินจัดให้มีขั้นตอนการ ดำเนินการช่วย บวท.ตรวจสอบการทำงานของไฟ ส่วน บวท. เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดหาและบำรุงรักษาอุปกรณ์ดังกล่าว โดยให้ตรวจสอบเวลากลางคืนในขณะที่ตรวจสอบระบบไฟฟ้าสนามบิน เพราะไฟสัญญาณทั้งสองนี้จัดเป็น Visual Aid ตามชนิดเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ ประเภทเครื่องช่วยการเดินอากาศด้วยทัศนวิสัย  ตามข้อบังคับ กบร.81 เรื่องกำหนดชนิดเครื่องช่วยการเดินอากาศ ที่จะถูกยกร่าง ให้กฤษฎีกาพิจารณาเห็นชอบร่างฯและถูกกำหนดกฏเกณฑ์ขึ้นในโอกาสที่จะมาถึงต่อไป

4.6.1 การดำเนินการตรวจสอบ เครื่องช่วยการเดินอากาศด้วยทัศนวิสัยและระบบไฟฟ้าสนามบิน

 

  ท่าอากาศยานทุ่งมหาเมฆได้ดำเนินการจัดให้มีการตรวจสอบเครื่องช่วยการเดินอากาศด้วยทัศนวิสัยและระบบไฟฟ้าสนามบินซึ่งแสดงการจัดการตรวจสอบดังตารางต่อไปนี้

 

ประเภทอุปกรณ์

รายการตรวจสอบ

รายการตรวจสอบ

หมายเหตุและ

มาตรฐานอ้างอิง

ในเวลาปฏิบัติการบิน

ความถี่

นอกเวลาปฏิบัติการบิน

ความถี่

ติดตั้ง

Annex 14

ถุงกระบอกทิศทางลม

(wind Direction Indicator)

1.ตรวจสอบการหันเหได้ตามทิศทางลม

2.ตรวจสอบการฉีกขาดของถุงกระบอกลมและความซีดจางของถุงกระบอกลม

3.ตรวจสอบไฟส่องถุงลม

4.ลงบันทึกตามวิธีการในหัวข้อ 4.6.2

ทุกวัน

1.ตรวจสอบจารบีหล่อลื่นบริเวณจุดหมุน

2.ตรวจสอบสีขาวของวงกลม โดยรอบถุงลมว่าซีดจางหรือไม่

3.ลงบันทึกตามวิธีการในหัวข้อ 4.6.2

ทุก  3 เดือน

 

5.1.1

ปืนฉายสัญญาณ (Signaling Lamp=Signal light gun)

-

-

1.ตรวจสอบการแสดงแสงสี แดง เขียว และ ขาว

2.ตรวจสอบการกดสัญญาณกระพริบเป็นรหัสมอสได้

3.ลงบันทึกตามวิธีการในหัวข้อ 4.6.2

ทุก15 วัน

(บวท.)

 

5.1.3

ไฟหมุนบอกตำแหน่งสนามบิน   (Aerodrome Beacon= Rotating Beacon )

1.ตรวจสอบ ไฟสีเขียวสลับขาว (ถ้ามีเที่ยวบินกลางคืน)

2.ลงบันทึกตามวิธีการในหัวข้อ 4.6.2

ทุกวัน

1.ตรวจสอบแสงไฟสีเขียวสลับขาว  20-30 ครั้งต่อนาที

2.ตรวจสอบเสียงดังที่ผิดปกติ ขณะหมุน

3.ตรวจสอบจารบีหล่อลื่นบริเวณจุดหมุน

4.ลงบันทึกตามวิธีการในหัวข้อ 4.6.2

ทุก 15 วัน

(บวท.)

 

5.3.3

ประเภทอุปกรณ์

รายการตรวจสอบ

รายการตรวจสอบ

หมายเหตุและ

มาตรฐานอ้างอิง

ในเวลาปฏิบัติการบิน

ความถี่

นอกเวลาปฏิบัติการบิน

ความถี่

ติดตั้ง

Annex 14

ระบบไฟนำร่อง

(Approach Lighting System)

1.ตรวจสอบจำนวนดวงไฟใช้งานได้ 85 % สำหรับ (cat I) และ 95 % สำหรับ (cat II)

2.ตรวจสอบดวงโคมไฟดับติดกันไม่เกิน 2 โคม

3.ตรวจสอบความผิดเพี้ยนของแนวดวงโคม

4.ตรวจสอบวัชพืชปกคลุมดวงโคม

5.ลงบันทึกตามวิธีการในหัวข้อ 4.6.2

ทุกวัน

1.ตรวจสอบโครงสร้างโลหะของดวงโคม ให้ปราศจากสนิม สีไม่ลอกจาง แนวดวงโคมไม่ผิดเพี้ยน

2.ตรวจสอบเลนส์ แผ่นสะท้อนแสง ข้อต่อ ปลั๊ก สายไฟ ให้สะอาดและอยู่ในสภาพเรียบร้อย

3.ตรวจสอบการทำงานของ Brightness step ให้ใช้งานได้เป็นปกติในทุก step

4.วัดค่าความต้านทานสาย โดยใช้เครื่องมือวัดและทำการบันทึกค่า

5.ลงบันทึกตามวิธีการในหัวข้อ 4.6.2

ทุกเดือน

Simple

RW/ 01

5.3.4

ระบบไฟนำร่อนลงด้วยสายตา (Visual Approach slope Indicator)

PAPI

Precision Approach Path Indicator

1.ตรวจสอบหลอดไฟติดครบทุกชุด

2.ตรวจสอบแสงสว่างดวงโคมทุกดวงให้สม่ำเสมอกัน

3.ตรวจสอบร่องรอยความเสียหาย เช่น เอียง ทรุด หรือมีหญ้าสูงบดบัง ดวงโคม

4.ลงบันทึกตามวิธีการในหัวข้อ 4.6.2

ทุกวัน

1.ตรวจสอบเลนส์ แผ่นสะท้อนแสง,  filter, spreader glass และหลอดไฟ ให้สะอาด เรียบร้อย

2.ตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงแสงจาก แดงเป็นขาว ให้พร้อมเพรียงกันในชุด เดียวกัน

3.ตรวจสอบการทำงานของ Brightness step ให้ใช้งานได้เป็นปกติในทุก step

4.วัดค่าความต้านทานสาย โดยใช้เครื่องมือวัดและทำการบันทึกค่า

5.ตรวจสอบ Tilt Switch ให้ใช้งานได้ปกติ

6.ลงบันทึกตามวิธีการในหัวข้อ 4.6.2

ทุกเดือน

RW/01

RW/19

5.3.5

ไฟแสดงหัวทางวิ่ง  (REIL=RTIL=R/W Threshold Identification Lights)

1.ตรวจสอบให้แสงสีขาวกระพริบด้วยความถี่ 60-120 ครั้งต่อนาที

2.ตรวจสอบดวงโคมไฟให้ติดทั้งสองโคม

3.ลงบันทึกตามวิธีการในหัวข้อ 4.6.2

ทุกวัน

1.ตรวจสอบทิศทางการกระจายแสง

2. ลงบันทึกตามวิธีการในหัวข้อ 4.6.2

ทุกเดือน

RW/01

5.3.8

ไฟขอบทางวิ่ง  (R/W Edge Lights)

1.ตรวจสอบจำนวนดวงไฟใช้งานได้ 85 % สำหรับ (cat I) และ 95 % สำหรับ (cat II)

2.ตรวจสอบดวงโคมไฟดับติดกันไม่เกิน 2 โคม

3.ตรวจสอบความผิดเพี้ยนของแนวดวงโคม

4.ตรวจสอบวัชพืชปกคลุมดวงโคม

5.ลงบันทึกตามวิธีการในหัวข้อ 4.6.2

ทุกวัน

1.ตรวจสอบดวงโคมที่ติดตั้ง โดยให้เป็นแสงสีขาวตลอดแนวยกเว้น 600 เมตร สุดท้ายก่อนสุดทางวิ่งต้องเป็นสีเหลือง

2.ตรวจสอบดวงโคม เลนส์ แผ่นสะท้อนแสง ข้อต่อ ปลั๊กและสายไฟ ให้สะอาดเรียบร้อย

3.ตรวจสอบการทำงานของ Brightness step ให้ใช้งานได้เป็นปกติในทุก step

4.วัดค่าความต้านทานสาย โดยใช้เครื่องมือวัดและทำการบันทึกค่า

5.ลงบันทึกตามวิธีการในหัวข้อ 4.6.2

ทุกเดือน

 

5.3.9

ไฟหัวทางวิ่งและไฟแถบปีก  (R/W Threshold & Wing Bar Lights)

1.ตรวจสอบจำนวนดวงไฟใช้งานได้ 85 % สำหรับ (cat I) และ 95 % สำหรับ (cat II)

2.ตรวจสอบดวงโคมไฟดับติดกันไม่เกิน 2 โคม

3.ตรวจสอบความผิดเพี้ยนของแนวดวงโคม

4.ตรวจสอบวัชพืชปกคลุมดวงโคม

5.ลงบันทึกตามวิธีการในหัวข้อ 4.6.2

ทุกวัน

1.ตรวจสอบดวงโคม เลนส์ แผ่นสะท้อนแสง ข้อต่อ ปลั๊กและสายไฟ ให้สะอาดเรียบร้อย

2.ตรวจสอบการทำงานของ Brightness step ให้ใช้งานได้เป็นปกติในทุก step

3.ตรวจสอบแสงของดวงโคมให้เป็นสีเขียวส่องทิศทางเดียวออกจากทางวิ่ง

4.ลงบันทึกตามวิธีการในหัวข้อ 4.6.2

ทุกเดือน

RW/01

5.3.10

ประเภทอุปกรณ์

รายการตรวจสอบ

รายการตรวจสอบ

หมายเหตุและ

มาตรฐานอ้างอิง

ในเวลาปฏิบัติการบิน

ความถี่

นอกเวลาปฏิบัติการบิน

ความถี่

ติดตั้ง

Annex 14

ไฟสิ้นสุดทางวิ่ง

(R/W End Lights)

1.ตรวจสอบจำนวนดวงไฟใช้งานได้ 85 % สำหรับ (cat I) และ 95 % สำหรับ (cat II)

2.ตรวจสอบดวงโคมไฟดับติดกันไม่เกิน 2 โคม

3.ตรวจสอบความผิดเพี้ยนของแนวดวงโคม

4.ตรวจสอบวัชพืชปกคลุมดวงโคม

5.ลงบันทึกตามวิธีการในหัวข้อ 4.6.2

ทุกวัน

1.ตรวจสอบดวงโคม เลนส์ แผ่นสะท้อนแสง ข้อต่อ ปลั๊กและสายไฟ ให้สะอาดเรียบร้อย

2.ตรวจสอบการทำงานของ Brightness step ให้ใช้งานได้เป็นปกติในทุก step

3.ตรวจสอบแสงของดวงโคมให้เป็นสีแดงส่องทิศทางเดียวเข้าหาทางวิ่ง

4.ลงบันทึกตามวิธีการในหัวข้อ 4.6.2

ทุกเดือน

RW/01

RW/19

5.3.11

ไฟขอบทางขับ

(T/W Edge Lights)

1.ตรวจสอบจำนวนดวงไฟใช้งานได้ 85 % สำหรับ (cat I) และ 95 % สำหรับ (cat II)

2.ตรวจสอบดวงโคมไฟดับติดกันไม่เกิน 2 โคม

3.ตรวจสอบความผิดเพี้ยนของแนวดวงโคม

4.ตรวจสอบวัชพืชปกคลุมดวงโคม

5.ลงบันทึกตามวิธีการในหัวข้อ 4.6.2

ทุกวัน

1.ตรวจสอบดวงโคม เลนส์ แผ่นสะท้อนแสง ข้อต่อ ปลั๊กและสายไฟ ให้สะอาดเรียบร้อย

2.ตรวจสอบการทำงานของ Brightness step ให้ใช้งานได้เป็นปกติในทุก step

3.วัดค่าความต้านทานสาย โดยใช้เครื่องมือวัดและทำการบันทึกค่า

4.ลงบันทึกตามวิธีการในหัวข้อ 4.6.2

ทุกเดือน

 

5.3.16

ไฟส่องลานจอด  (Apron Flood lights)

1.ตรวจสอบการส่องสว่างและการชำรุดของโคมไฟส่องลานจอด

2.ลงบันทึกตามวิธีการในหัวข้อ 4.6.2

ทุกวัน

1.ตรวจสอบระบบควบคุม สายไฟ ให้สะอาดเรียบร้อย

2.ตรวจสอบการกระจายแสง ปรับแต่งมุมแสงแต่ละโคมให้กระจายเสริมกันสม่ำเสมอ

3.ลงบันทึกตามวิธีการในหัวข้อ 4.6.2

ทุกเดือน

 

5.3.21

ป้ายแนะนำบังคับ  (Mandatory Instruction sign )

ป้ายแสดงข้อมูล  (Information sign)

1.ตรวจสอบความสม่ำเสมอของแสงสว่างภายในกล่องไฟป้าย

2.ไม่มีวัชพืชปกคลุมป้าย

3.ลงบันทึกตามวิธีการในหัวข้อ 4.6.2

ทุกวัน

1.ตรวจสอบความซีดจางของสีพื้นป้ายและตัวอักษร

2.ตรวจสอบการติดตั้ง ให้อยู่ในมุมที่ถูกต้อง

3.วัดค่าความต้านทานสาย โดยใช้เครื่องมือวัดและทำการบันทึกค่า

4.ลงบันทึกตามวิธีการในหัวข้อ 4.6.2

ทุก  3 เดือน

 

5.4.2 และ 5.4.3

ไฟแสดงสิ่งกีดขวาง   (Obstruction lights)

1.ตรวจสอบการส่องสว่างและการชำรุดของไฟแสดงสิ่งกีดขวางภายในและภายนอกเขตสนามบิน

2.ลงบันทึกตามวิธีการในหัวข้อ 4.6.2

ทุกวัน

1.ตรวจสอบการทำงานของ PHOTO SWITCH

2.ตรวจสอบการทำงานของ RELAY

3.ตรวจสอบการทำงานของวงจรไฟกระพริบ (ถ้ามี)

4.ลงบันทึกตามวิธีการในหัวข้อ 4.6.2

ทุก  3 เดือน

   

ไฟฟ้าสำรอง

(Secondary Power Supply)

1.ตรวจสอบน้ำมันเชื้อเพลิง วาล์ว น้ำกลั่นแบตเตอรี่ การชาร์ตแบตเตอรี่ ระดับน้ำในหม้อน้ำ

2.ทดสอบการจ่ายไฟฟ้าของระบบไฟฟ้าสำรองอัตโนมัติให้สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ภายใน 15 วินาที (1 วินาที cat II ) เมื่อมีไฟฟ้าหลักดับ

3.ลงบันทึกตามวิธีการในหัวข้อ 4.6.2

ทุกสัปดาห์

1.ทดสอบการจ่ายไฟของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า โดยทำการทดสอบกับโหลดของระบบ

2.ตรวจสอบเครื่องยนต์และระบบ Automatic transfer switch

3.ลงบันทึกตามวิธีการในหัวข้อ 4.6.2

ทุกเดือน

 

8.1

4.6.2 การจัดการเพื่อรายงานผลการตรวจสอบและการปฏิบัติเมื่อพบข้อบกพร่องของเครื่องช่วยการเดินอากาศด้วยทัศนวิสัยและระบบไฟฟ้าสนามบินตลอดจนเครื่องยนต์กำเนิดไฟฟ้าสำรอง

  4.6.2.1 การจัดการเพื่อรายงานผลการตรวจสอบ

ขั้นตอนที่ 1  จากการดำเนินการตรวจสอบตามหัวข้อ 4.6.1 เมื่อพบข้อบกพร่องตามรายการที่ตรวจแล้วให้ดำเนินการพิจารณาแยกประเภท

ขั้นตอนที่ 2  ให้จัดแยกรายการข้อบกพร่องเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้

ประเภทที่ 1  ข้อบกพร่องที่ดำเนินการแก้ไขได้ทันที โดยผู้ตรวจสอบ

ประเภทที่ 2  ข้อบกพร่องที่ดำเนินการแก้ไขโดยท่าอากาศยาน

ประเภทที่ 3  ข้อบกพร่องที่ดำเนินการแก้ไขโดยหน่วยงานส่วนกลาง

  ขั้นตอนที่ 3  การเขียนรายงานแยกตามประเภทข้อบกพร่อง

ขั้นตอนที่ 3.1 เมื่อพบข้อบกพร่องที่ดำเนินการแก้ไขได้เอง

-  ให้ดำเนินการแก้ไขทันที

-  จากนั้นให้ผู้แก้ไขจัดทำรายงานตามแบบฟอร์มที่ 111

-  รายงานต่อผู้บังคับบัญชาขั้นต้น

ขั้นตอนที่ 3.2  เมื่อพบข้อบกพร่องที่ต้องดำเนินการแก้ไขโดยท่าอากาศยาน

-  ให้ผู้พบข้อบกพร่องจัดทำรายงานตามแบบฟอร์มที่ 222

-  รายงานต่อผู้บังคับบัญชาขั้นต้น (และรายงานต่อจนถึง ผอ.ท่าอากาศยาน)

-  ผอ.ท่าอากาศยานมีบัญชา ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าดำเนินการแก้ไข

หมายเหตุ: การดำเนินการตาม ขั้นตอนที่ 3.2 ขึ้นอยู่กับโครงสร้างการบริหารของแต่ละท่าอากาศยาน

ขั้นตอนที่ 3.3  เมื่อพบข้อบกพร่องที่ต้องดำเนินการแก้ไขโดยหน่วยงานส่วนกลาง

-  ให้ผู้พบข้อบกพร่องจัดทำรายงานตามแบบฟอร์มที่ 333

-  รายงานต่อผู้บังคับบัญชาขั้นต้น (และรายงานต่อจนถึง ผอ.ท่าอากาศยาน)

-  ผอ.ท่าอากาศยานแจ้งต่อหน่วยงานส่วนกลางเข้าดำเนินการแก้ไข

หมายเหตุ: การดำเนินการตาม ขั้นตอนที่ 3.3 ขึ้นอยู่กับโครงสร้างการบริหารของแต่ละท่าอากาศยานและหน่วยงานส่วนกลาง

 

4.6.3 การจัดการงานบำรุงรักษาประจำ และงานบำรุงรักษาฉุกเฉินของเครื่องช่วยการเดินอากาศด้วยทัศนวิสัยและระบบไฟฟ้าสนามบิน

  4.6.3.1 การจัดการงานบำรุงรักษาประจำ

รายการ

ระยะเวลาการบำรุงรักษา

ผู้ดำเนินการ

ทุกวัน

ทุกสัปดาห์

1 เดือน

3 เดือน

1 ปี

ถุงกระบอกทิศทางลม

l

   

l

 

ผู้ดูแลสนามบิน

ปืนฉายสัญญาณ

   

l

   

ผู้ดูแลสนามบิน / นฟฟ.

ไฟแสดงสนามบิน

l

 

l

   

ผู้ดูแลสนามบิน / นฟฟ.

ระบบไฟนำร่อง

l

 

l

   

ผู้ดูแลสนามบิน / นฟฟ.

ระบบไฟนำร่อนลงด้วยสายตา

l

 

l

   

ผู้ดูแลสนามบิน / นฟฟ.

ไฟแสดงหัวทางวิ่ง

l

 

l

   

ผู้ดูแลสนามบิน / นฟฟ.

ไฟหัวทางวิ่งและไฟแถบปีก 03

l

 

l

   

ผู้ดูแลสนามบิน / นฟฟ.

ไฟหัวทางวิ่งและไฟแถบปีก 21

l

 

l

   

ผู้ดูแลสนามบิน / นฟฟ.

ไฟสิ้นสุดทางวิ่ง 03

l

 

l

   

ผู้ดูแลสนามบิน / นฟฟ.

ไฟสิ้นสุดทางวิ่ง 21

l

 

l

   

ผู้ดูแลสนามบิน / นฟฟ.

ไฟส่องทางขับ

l

 

l

   

ผู้ดูแลสนามบิน / นฟฟ.

ไฟส่องลานจอด

l

 

l

   

ผู้ดูแลสนามบิน / นฟฟ.

ป้ายแนะนำบังคับและป้ายแสดงข้อมูล

l

   

l

 

ผู้ดูแลสนามบิน / นฟฟ.

ไฟแสดงสิ่งกีดขวาง

l

 

l

   

ผู้ดูแลสนามบิน / นฟฟ.

Constant Current Regulator

   

l

 

l

นฟฟ.

Series Transformer

   

l

   

นฟฟ.

หม้อแปลงระบบไฟฟ้า

       

l

นฟฟ. / ท่าอากาศยาน

หมายเหตุ : การบำรุงรักษาประจำสามารถจัดทำได้กับอุปกรณ์ของทุกระบบ

  4.6.3.2 การจัดการงานบำรุงรักษาฉุกเฉิน

รายการ

วิธีการ

ระยะเวลา

ผู้ดำเนินการ

CCR ไม่สามารถ REMOTE จากหอบังคับการบิน

1.หอฯแจ้ง นฟฟ ดำเนินการเปิดระบบไฟโดยเปิดที่ห้อง AFL

2.หอฯปรับสวิชทุกตัวไปที่ OFF

3.นฟฟ.ปรับสวิทช์ที่ตู้ควบคุมกระแสไฟ CCR ออกจากตำแหน่ง Remote

5 นาที 

นฟฟ.

แบตเตอรี่เครื่องยนต์กำเนิดไฟฟ้าเสื่อมคุณภาพ

1.นำแบตสำรองมาต่อขนานกับแบตที่ต่อใช้งาน

2.สตาร์ทเครื่องยนต์ด้วยมือ

3.นำสายไฟออกเมื่อเครื่องยนต์ติดจนได้รอบเครื่องคงที่แล้ว

10 นาที

นฟฟ.

4.6.4 การจัดการเกี่ยวกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองและการจัดการในกรณีเกิดข้อบกพร่อง

  ตามข้อกำหนดขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) กำหนดให้สนามบินที่มีเครื่องช่วยการเดินอากาศจะต้องมีแหล่งจ่ายไฟฟ้าสำรอง เพื่อจ่ายไฟฟ้าในกรณีฉุกเฉิน

  ท่าอากาศยานทุ่งมหาเมฆ ได้มีการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองและประกาศลงในเอกสาร AIP ทั้งนี้เพื่อจ่ายไฟฟ้าในภาวะฉุกเฉินให้กับระบบเครื่องช่วยการเดินอากาศด้วยทัศนวิสัยและระบบไฟฟ้าสนามบิน โดยมีการจัดการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพดังนี้

  4.6.4.1 การจัดการระบบไฟฟ้าสำรอง

-  เครื่องยนต์กำเนิดไฟฟ้าสำรองที่ติดตั้งสำหรับเครื่องช่วยการเดินอากาศด้วยทัศนวิสัยและระบบไฟฟ้าสนามบิน  ขนาด 300 KVA จ่ายไฟได้ภายในเวลา  15  วินาที่

  วงจรที่ได้รับการจ่ายไฟมีดังนี้

  1. ระบบไฟฟ้าสนามบิน วงจร RWY CIRCUIT A

  2. ระบบไฟฟ้าสนามบิน วงจร RWY CIRCUIT B

  3. ระบบไฟฟ้าสนามบิน วงจร TWY CIRCUIT A

  4. ระบบไฟฟ้าสนามบิน วงจร TWY CIRCUIT B

-  การบำรุงรักษาเครื่องยนต์กำเนิดไฟฟ้าสำรองที่ติดตั้งใช้งานสำหรับเครื่องช่วยการเดินอากาศด้วยทัศนวิสัยและระบบไฟฟ้าสนามบิน

  1.การตรวจสอบประจำทุกสัปดาห์

  2.การทดสอบการทำงานกรณีไฟฟ้าหลักดับ(Emergency Test)ทุก 1 เดือน และวัดค่าระยะเวลาการกลับมาติดใหม่ ของระบบไฟฟ้าสนามบิน กรณีไฟฟ้าหลักดับ(ค่าSwitch Over Time) ตามมาตรฐานที่กำหนด

  3.การตรวจสอบประจำทุก 3 เดือน

  4.การตรวจสอบประจำทุก 6 เดือน

  5.การตรวจสอบประจำปี

  หมายเหตุ : ให้ระบุตามจำนวนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีใช้งานอยู่ภายในท่าอากาศยาน

 

  4.6.4.2 กรณีระบบไฟฟ้าสำรองขัดข้อง

-  เครื่องกำเนิดไฟฟ้าในรายการ 4.6.4.1 ขัดข้อง ท่าอากาศยานทุ่งมหาเมฆมีวิธีการจัดการให้สามารถใช้ไฟฟ้าสำรองได้ดังนี้

  - ตรวจสอบระดับน้ำมันเชื้อเพลิง หากพบข้อบกพร่องจะทำการ………

  - ตรวจสอบระบบสตาร์ทเครื่องยนต์ หากพบข้อบกพร่องจะทำการ………

  - ตรวจสอบแบตเตอรี่ หากพบข้อบกพร่องจะทำการ………

( อนึ่งถ้าไม่สามารถแก้ไขเพื่อให้ได้มาซึ่งกระแสไฟฟ้าสำรองจะมีวิธีการจัดการอย่างไร )

  4.6.4.3 วิธีการตรวจวัด ค่า Swich Over Time

 วัตถุประสงค์ 

        ค่าระยะเวลาการกลับมาติดสว่างของระบบไฟฟ้าสนามบิน มีผลต่อการใช้งานของนักบิน ฉนั้นทางองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศจึงได้กำหนดค่าระยะเวลาที่ไฟฟ้าสนามบินดับไป ว่าให้ดับได้นานเท่าไร ไม่ควรเกินเท่าไร นั่นคือเหตุผลของการใช้งานของโคมไฟฟ้าสนามบิน ในการที่จะได้มองเห็นไฟทางวิ่ง  ในการร่อนลงสนามบิน ซึ่งการมองเห็นโคมไฟฟ้าสนามบินได้ชัดเจนในระยะสูงที่ต่างกันไป  เป็นตัวหลักที่จะก่อให้เกิดการปฏิบัติการบินที่แตกต่างกัน ภาษานักบินเรียกว่าความสูงในการตัดสินใจที่จะร่อนลงสนามบินต่อไป หรือ ปฏิเสธการร่อนลงในครั้งหนึ่งๆ  เมื่อบินถึงระดับความสูงตัดสินใจ(Decision High)นักบินก็จะมองทางวิ่ง ถ้าเห็นไฟทางวิ่งชัดเจนตามรูปแบบสี และ/หรือเห็นการทาสีทำเครื่องหมายชัดเจนได้ว่า ที่มองเห็นคือทางวิ่งแล้วนั้น ก็จะบอกหอบังคับการบินว่า มองเห็นทางวิ่ง(Runway Insight) นั่นหมายถึงนักบินเห็นทางวิ่งและกำลังจะนำเครื่องร่อนลงสู่ทางวิ่งนั้นๆ หอฯช่วยดูให้หน่อยว่ามีอะไรเกะกะขวางทางวิ่งไหม หอฯก็จะตรวจทางวิ่งด้วยสายตา ถ้าไม่มีสิ่งในกีดขวาง ก็จะแนะนำนักบินว่า Clear to Land คือไม่มีอะไรกีดขวางสำหรับการร่อนลงสู่ทางวิ่ง ซึ่งถ้าหากเกิดไฟฟ้าสนามบินดับไป จะต้องมีค่าๆหนึ่งบอกนักบินก่อนเนิ่นๆว่า ไฟฟ้าสนามบินที่นี่ จะกลับมาใช้งานได้ติดสว่าง(50%) ใช้เวลาเท่าไร ซึ่งถ้ารู้ล่วงหน้า นักบินจะได้ดูว่า เครื่องอยู่ต่ำเกินไปไหม สูงพอที่จะรอไฟกลับมาติดใหม่ ของไฟทันไหม

ขั้นตอนการวัดการทดสอบ 

       การวัดค่าระยะเวลาให้เริ่มวัดตั้งแต่ การที่โคมไฟฟ้าสนามบิน ลดความสว่างลงครึ่งหนึ่งของความสว่างสูงสุด คือ ลดลง50% เรื่อยไปจนโคมไฟฟ้าสนามบินกลับมาติดใหม่ จนความสว่างเพิ่มขึ้นครึ่งหนึ่ง หรือ สว่าง 50% ของความสว่างเต็มที่นั่นเอง สาเหตุที่ต้องสังเกตุจากระดับความสว่างนั่นคืิอ ผู้ใช้งานหรือนักบิน จะมองเห็นโคมไฟเมื่อมีความสว่างสูงในระดับหนึ่ง คือประมาณ 50% นั่นเอง ไม่สามารมองเห็นโคมไฟที่เริ่มติดสว่างน้อยๆได้ นี่เองเป็นเหตุให้ว่าทำไมจึงต้องเริ่มนับเวลาจากจุดนี้ หยุดเวลาในจุดนี้ ก็คือจุดที่สายตามองเห็นแสงไฟได้จริงไงครับ 

วิธีการปฏิบัติที่ดีที่ได้มาจาก ปสก การตรวจซึ่งต้องนำไปทดสอบพิสูจน์ทราบ

(Best Practice-Tacit Knowleage-Learning By Doing)

       หลายท่านสงสัยว่าการสังเกตุด้วยสายตา สังเกตอย่างไรว่า ความสว่างลดลง 50% หรือว่าเราจะเริ่มจับเวลาSwitch Over Time ตอนไหน? วิธีการสังเกตก็คือเมื่อโคมไฟเริ่มลดความสว่างลงอย่าเพิ่งจับเวลาให้รอเวลานิดประมาณครึ่งวินาที หลอดไฟจะลดความสว่างลง และจะลดความสว่างจนใกล้ดับในเวลาประมาณ 1 วินาที (รับรู้ได้จากการสังเกตและทำบ่อยๆทำจริง)

      อีกกรณี จะสังเกตุอย่างไรว่าหลอดไฟ ติดสว่างเพิ่มขึ้น 50% วิธีการคือ เมื่อหลอดไฟเริ่มติดขึ้นมาอย่าเพิ่งหยุดเวลา รอนิดหน่อยให้หลอดค่อยสว่างขึ้นมาสักครึ่งวินาทีแล้วหยุดเวลา มิใช่หยุดเวลาตอนหลอดมีระดับความสว่างที่สูงสุดหรือ 100% แล้ว ซึ่งถ้าหยุดเวลาไม่ทัน หลอดไฟสว่างเติมที่แล้ว ก็ให้จดจำไว้ว่าเราอยุดจับเวลาช้าไป แล้วเปรียบเทียบตัวเลข ดูแนวโน้มว่า ค่าเวลาเราไปทางบวกไหม มากกว่าคนที่จับเวลาที่หยุดเวลาได้ทันไหม ถ้าแนวโน้มไปทาง + แสดงว่าค่าเวลาที่เพื่อนจับได้นั้นเชื่อถือได้ ส่วนหลักสถิติที่เชื่อถือได้คือ 2 ครั้งใน 3 ครั้ง 4 ครั้งใน 6 ครั้ง ตามแต่จำนวนครั้งที่ทดสอบ ตามหลักสถิติ อัตราส่วน 2 ใน 3 ถือว่า เชื่อถือและนำไปใช้ได้

 

4.6.5 ชื่อและตำแหน่งของบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อการตรวจสอบและบำรุงรักษา

ลำดับที่

ตำแหน่ง

ชื่อ

โทรศัพท์

รหัสวิทยุ

โทรฯ

นอกเวลา

1.

ผอ.ทย.

2.

หน.ฝบท.

3.

นฟฟ.

4.

ผู้ดูแลสนามบิน

เพื่อให้แนวทางการดำเนินงานของสนามบินด้านการตรวจสอบ ทดสอบ และการจัดการบำรุงรักษาเครื่องชวยประเภททัศนวิสัย และระบบไฟสนามบิน

เป็นไปตาม ราชกิจจานุเบกษา หนา ๔๘ เลม ๑๒๕ ตอนพิเศษ ๕๖ ง  ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๑

กำหนดไว้ดังนี้...

๕.๔.๖ เครื่องชวยประเภททัศนวิสัย และระบบไฟสนามบิน (Visual aids and aerodrome electrical systems)

ไดแก รายละเอียดของวิธีดําเนินการสําหรับการตรวจพินิจและ การบํารุงรักษาไฟที่ใชในการบินรวมถึงไฟบอกสิ่งกีดขวาง ปาย เครื่องหมาย และระบบไฟสนามบิน รวมถึง

๕.๔.๖.๑ การจัดการเพื่อบรรลุผลการตรวจพินิจ ในระหวางเวลา ทําการและนอกเวลาทําการของสนามบิน และรายการตรวจพินิจ


๕.๔.๖.๒ การรายงานผลการตรวจพินิจและการปฏิบัติการที่ตามมา เพื่อการปฏิบัติที่ถูกตองตอขอบกพรองที่พบ


๕.๔.๖.๓ การจัดการเพื่อบรรลุผลการบํารุงรักษาประจํา และการบํารุงรักษาฉุกเฉิน


๕.๔.๖.๔ การจัดการเกี่ยวกับเครื่องกําเนิดไฟฟาสํารองและรายละเอียดของวิธีการอื่น ๆ ที่ใชจัดการกับกรณีการขัดของบางสวนหรือทั้งหมดของระบบ


๕.๔.๖.๕ ชื่อและตําแหนงของบุคคลที่มีหนาที่รับผิดชอบในการตรวจพินิจและการบํารุงรักษาไฟฟา และหมายเลขโทรศัพทของบุคคลดังกลาวในระหวางเวลาทําการและนอกเวลาทําการของสนามบิน

หมายเลขบันทึก: 564521เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2014 21:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 สิงหาคม 2019 14:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ละเอียดมาก

แต่อ่านยากจังเลยครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท