AAR ทำวิจัยสถาบันอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ


กิจกรรมวันนี้เกี่ยวกับเรื่องการทำวิจัยสถาบันอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งได้วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากคณะมนุษยศาสตร์ มาเล่าประสบการณ์การทำวิจัยสถาบัน ผมพอจะจับประเด็นต่างๆได้ดังนี้ครับ

case study 

1. การเขียนโครงการเป็นพื้นฐานการเขียนงานวิจัย
2. เทคนิคการทำวิจัย คือ
    - ใช้งานรูทีน(งานประจำ)เป็นหลักในการวิจัย
    - ทำงานวิจัยแล้วต้องได้เกณฑ์ต่างๆที่ตั้งไว้ และรวมถึงงานด้านประกันคุณภาพ เพื่อไมให้เสียประโยชน์
    - ตัวอย่างการวิจัยห้อง Lab ให้แบ่งเป็นด้านๆ เช่น ด้านการบริการ,ด้านมนุษยสัมพันธ์ เป็นต้น
    - ตัวอย่างการวิจัยในห้องสมุดคณะคือ การวิเคราะห์,สรุปจำนวนอาจารย์หรือนิสิต ที่ใช้บริการยืม VDO ภาษาจีน เพื่อจะนำผลที่ได้ไปทำวิจัยรวมถึงพัฒนางานประจำ คือว่า ถ้ามีการยืม VDO ภาษาจีนมากจนไม่พอยืมแต่ VDO ภาษาอื่นๆเหลือ ก็จะเป็นแนวทางในการปรับปรุงและเป็นหลักฐานในการอ้างอิง
   
ปัญหาและอุปสรรคที่มักพบ
  
 - เขียนงานวิจัยเป็นรูปแบบโครงการมากไปทำให้ไม่ให้ไม่ค่อยได้รับความเชื่อถือ
 - การวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรม spss ยากไม่คุ้นเคย
 - แบบสอบถามที่ได้รับกลับมาได้ ประมาณ 10 % ของที่ให้ไป
 - การตีพิมพ์ อาจารย์ มองว่าไม่มีคุณภาพ(มองในเชิงวิชาการ) เพราะว่าไปประเมินด้านความพึงพอใจเสียส่วนใหญ่
 - ผู้บริหารกำหนดหัวข้อให้แต่ไม่สอดคล้องกับเกณฑ์ที่จะตรวจหรือการประกันคุณภาพ 
 - อย่าให้อาจารย์หรือผู้ตอบแบบสอบถาม  ตอบแบบสอบถามบ่อยจนเกินไป (เกิดความเบื่อหน่าย)
แนวทางแก้ไข

 - ให้ตอบแบบสอบถามตอนที่มารับบริการจากเราแทน
 - ใช้ Excel ช่วยคำนวณข้อมูลแทน spss ที่ค่อยข้างยุ่งยาก
 - ในหัวข้อเสนอแนะควรกำหนดให้มี 2 อย่าง คือ ข้อดี และ ข้อเสีย ไปเลย เพื่อให้ง่ายเวลานำข้อมูลไปวิเคราะห์
 - การแสดงผลงานวิจัยหรือการเขียนรายงานวิจัยต้องสรุปหรือชี้ชัดให้ได้ว่าทำแล้วได้อะไรเพื่อนำไปเป็นข้อมูลอ้างอิงต่อไปได้

ปัจจัยสำคัญที่นำมาสู่ความสำเร็จ 

 - การกระตุ้นจากเพื่อนๆ เช่น เหมือนเด็กที่ทำอะไรได้แล้วเอาไปอวดเพื่อนๆ เพื่อนๆเห็นก้ออยากทำได้บ้าง
 - เริ่มแรกการวิจัยควรทำง่าย ๆ ไปก่อน เช่น ทำวิจัยด้านความพึงพอใจด้านต่างๆ เพราะเมื่อเริ่มทำเป็นก็จะมองแนวทางของการทำวิจัยออก

 

คำสำคัญ (Tags): #aar#ดัชนีที่4.1-50
หมายเลขบันทึก: 56417เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2006 12:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2012 14:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เย้ เย้ น้องเขียนBlog แล้ว แต่น่าจะเขียนแบบเป็นเรื่องเล่าหน่อยก็ดีนะครับ

เป็น AAR ที่ดีมากกกกกก เลยค่ะ  รับรองว่า ไม่ใช่ชม  แต่เป็นเรื่องจริง

เพราะคุณหยูสกัดเอาแก่นความรู้มาเขียน คนที่เขียนได้อย่างนี้แสดงว่า ใช้ Deep listening ขณะร่วมกิจกรรม

แถมร้อยเรียงเป็นหัวข้อประเด็นหลักที่ควรรู้  ก้าวข้ามคำถาม 4 ข้อของ AAR ธรรมดาๆ ได้อย่างสวยงาม

ก็อยากจะให้กระโดดไปข้อที่ 5 ของ AAR อีกนิ๊ดนะคะ  ที่คนส่วนใหญ่มักจะลืมๆ กัน ก็คือ  คำถามที่ว่า  ฟังแล้วคิดว่าจะกลับไปทำอะไร..........

  • ขอบคุณมากครับที่ช่วยนำมาลงใน Blog ให้
  • ใส่ป้ายเพิ่มว่า ดัชนีที่4.1-50 ให้ด้วยนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท