วิเคราะห์บทความบทเรียนจากความจริงกับดร.จีระ (จากแนวหน้า)


เรียนรู้ปรัชญาและแนวคิดจากกูรูสู่การต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

สวัสดีครับชาว Blog และผู้ที่ติดตามคอลัมน์ "บทเรียนจากความจริงกับ ดร.จีระ" ของผมที่ตีพิมพ์เป็นประจำทุกวันเสาร์ทางหนังสือพิมพ์แนวหน้า (หน้า 5) ผมขอถือโอกาสเปิด Blog สำหรับร่วมแสดงความคิดเห็นและต่อยอดทางความคิดกันที่นี่ และหวังว่าจะเกิดประโยชน์แก่สาธารณชน

                                            จีระ  หงส์ลดารมภ์

 

หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี  เป็นองค์ประธานพิธีการเปิดโครงการเทพศิรินทร์ Knowledge Camp ครั้งที่ 8 เมื่อวันที่ 16  ตุลาคม 2549 ณ โรงเรียนเทพศิรินทร์ ซึ่งจัดระหว่างวันที่ 16 – 19  ตุลาคม 2549 ที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ และ บรุ๊คไซด์ วัลเล่ย์ รีสอร์ท จ.ระยอง โดยศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ นายกสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ฯ ได้ร่วมสร้างสังคมความรู้ให้แก่นักเรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถด้านต่างๆของเยาวชนเทพศิรินทร์ทั้ง 7 แห่ง

ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ได้รับเชิญบรรยายเรื่อง APEC and HR Strategy Implication to India ให้กับสมาชิกร่วมรับฟังจัดโดย India – Thai  Chamber of Commerce and India -Thai Business Forum  เมื่อ 25 ตุลาคม 2549  โรงแรม แรมแบรนด์  กรุงเทพ

ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ได้รับเชิญบรรยายเรื่อง คิดแบบ CEO ในยุคสมัยใหม่  ให้กับผู้บริหารและผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังกว่า 80 คน ซึ่งจัดโดย มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย เมื่อ 26 ตุลาคม 2549 โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว ฟอร์จูน  กรุงเทพ

 

คำสำคัญ (Tags): #แนวหน้า
หมายเลขบันทึก: 56352เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2006 18:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (76)
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง ควรรับฟังข้อคิดเห็นอดีตนายกฯชวน"น.ส.พ.แนวหน้า 28 ต.ค. 49
ควรรับฟังข้อคิดเห็นอดีตนายกฯชวน[1]

 

เวลาผ่านไปแล้ว 5 สัปดาห์ เหตุการณ์ต่าง ๆ ได้เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วและคาดไม่ถึง หลายอย่างดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็มีปัจจัยหรือมีข้อมูลใหม่ๆเพิ่มเติมเสมอ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี ต้องใช้นโยบาย
Listen and Learn
อย่างมาก และต้องมีความอดกลั้น ที่จะต้องรับฟัง หากมีประโยชน์จึงนำไปปฏิบัติ
ผมคิดว่า ความคิดและข้อเสนอแนะของอดีตนายกฯ ชวน หลีกภัยที่ติงการทำงานของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ น่าสนใจ คือจะต้องอธิบายจุดอันตรายของ "ระบบทักษิณ" ให้ประชาชนได้รับทราบและเข้าใจอย่างแท้จริง เพราะใน 5 ปีที่ผ่านมา ประชาชนที่ยากจนอาจจะคิดไม่ครบถ้วน และไม่เข้าใจ ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นจะต้องทำ ควรอธิบายด้วยข้อมูลและข้อเท็จจริง อาจจะต้องดึงเอาภาคประชาสังคมที่เป็นกลาง มาช่วยอธิบายเพื่อเสริมรัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเพื่อให้ทั่วถึง
ผมหวังว่า งานดังกล่าวจะก้าวไปด้วยดี และสร้างความเข้าใจได้ถูกต้อง
ระยะนี้ ยังมีข่าวความไม่สงบหรือคลื่นใต้น้ำอยู่ ซึ่งคงจะไม่ใช่ของแปลกอะไร เพราะมีผู้เสียผลประโยชน์มาก คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติจะต้องบริหารและจัดการสิ่งเหล่านี้อย่างรอบคอบ เหมาะสมและสมานฉันท์
ดูเหมือนว่า นายกฯสุรยุทธ์ จุลานนท์ ทำหน้าที่เหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ได้เชิญหัวหน้าพรรคการเมืองมามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นจุดที่สำคัญ การยกย่องให้เกียรติทุกกลุ่มในสังคมเป็นเรื่องที่ดีและเหมาะสม
ส่วนกลุ่มพันธมิตรก็เช่นกัน คงจะต้องอดทนและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเหมือนเดิม ขออย่าท้อใจ ถึงกับจะลาออกจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งไม่เป็นผลดี คงจะต้องช่วยกันตรวจสอบต่อไป
สำหรับผม ถึงแม้ว่าจะไม่เกี่ยวกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็จะทำหน้าที่ต่อไปในฐานะประชาชนคนหนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของการให้ความรู้ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในระยะนี้ ท่านผู้อ่านอาจจะใช้สื่อทางวิทยุมากขึ้น เพราะสื่อทางโทรทัศน์ยังไม่เปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก
ในขณะที่สื่อวิทยุ เช่น FM 96.5 MHz. ทั้ง 24 ชั่วโมง มีความคิดดี ๆ ออกมาจากผู้เชี่ยวชาญหลายด้าน ทันเหตุการณ์ ผมยังต้องติดตามใกล้ชิด
สัปดาห์ที่ผ่านมาผมมีงาน 3 เรื่องที่จะเล่าให้ฟัง
เรื่องแรก ซึ่งทำเป็นประจำทุกปี คือ ค่ายผู้นำเยาวชน Knowledge camping ให้แก่นักเรียนเทพศิรินทร์และโรงเรียนในเครือทั้ง 7 โรงเรียน จำนวน 120 คน ครั้งนี้เป็นปีที่ 8 แล้ว ในปีนี้เน้นในพระอัจฉริยภาพด้านต่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น ภาวะผู้นำ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น มีวิทยากรรับเชิญซึ่งเป็นนักเรียนเก่าที่มีชื่อเสียงหลายท่านมาร่วมแบ่งปันความรู้ เช่น
-
หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง เป็นองค์ประธานในพิธีและปาฐกถาพิเศษเรื่อง "โครงการหลวง"
-
ฯพณฯ พล.อ.ต.กำธน สินธวานนท์ บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านพลังงาน"
-
ดร.ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรีและกีฬา"
-
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ"
ค่าย Knowledge camping นี้เป็นค่ายที่สร้างและพัฒนาภาวะผู้นำให้กับนักเรียน ให้เด็กมีความคิดกว้างไกล คิดเป็น กล้าแสดงออก เด็กจะได้รับการพัฒนาความคิดจากโจทย์ "ประเทศไทยในอีก 20 ปีข้างหน้า" ซึ่งเป็นการเตรียมพร้อมที่จะเติบโตเป็นผู้นำของชาติในอนาคต
อีกงานหนึ่งเป็นงาน India-Thai Business Forum ซึ่งเป็นชมรมนักธุรกิจชั้นนำของอินเดียในประเทศไทย ผมภูมิใจที่เขาสนใจงาน HRD ของ APEC ของผม แต่แทนที่จะมองเฉพาะ APEC เขามองถึงความร่วมมือระหว่างอินเดียกับ APEC ในอนาคต
ผมคิดว่าเรื่อง HRD กับอินเดียน่าจะมี 3 เรื่อง
1.
การแลกเปลี่ยนครูทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และ IT โดยให้อินเดียส่งครูมาช่วย
2.
การส่งครูไทยไปสอนเรื่อง การบริการ Service sector และการท่องเที่ยว
3.
จัดให้เกิดธุรกิจร่วมกัน เช่น E-learning
ผมคิดว่ารัฐบาลของนายกฯสุรยุทธ์ ยังคงสนับสนุนแนวคิดการจัดตั้ง ACD HRD Center ขึ้น เพื่อให้เอเชีย ซึ่งมีอินเดีย จีน ญึ่ปุ่น ไทย และประเทศในตะวันออกกลางรวย ๆ เช่น โอมาน คูเวต มาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของคนเอเชียด้วยกัน แทนที่จะไปเรียนจากตะวันตก ซึ่งผมได้รับมอบหมายจากรัฐบาลชุดที่แล้วให้ดำเนินการ และได้รับการเห็นชอบในหลักการแล้ว
เอเชียต้องมีฐานความรู้ของตัวเอง ร่วมมือกับตะวันตกได้ โดยไม่ลอกความคิดของตะวันตกอย่างเดียว
นอกจากนี้ ผมได้รับเชิญจากมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ไปบรรยายเรื่อง คิดแบบ CEO ในยุคสมัยใหม่ ผมชอบหัวข้อที่เขาตั้ง เพราะ CEO ต้องคิดเป็นถึงจะสำเร็จ จึงแนะนำวิธีการคิดไป 3 วิธีคือ
-
ทฤษฎี 4 L's ของผม
- 5 Disciplines
ของ Peter Senge
-
และ 6 Thinking hats ของ Edward de Bono
เน้นว่าแต่ละแบบสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้โดยมองจากสถานการณ์ความจริงของแต่ละองค์กร มีจุดที่น่าสนใจคือ ยุคใหม่ CEO ต้องไม่เก่งคิดคนเดียว ต้องให้ผู้ร่วมงานคิดเป็นด้วย
คำถามคือ จะทำอย่างไร ในประเทศไทย เราเสียเปรียบตั้งแต่ระบบการศึกษา เพราะเราไม่มีการกระตุ้นให้นักเรียนสนใจที่จะแลกเปลี่ยนความรู้ เราให้นักเรียนลอกความคิดของอาจารย์
ผมโชคดีได้เปลี่ยนแนวการสอนมากว่า 10 ปีแล้ว ไม่ว่าจะสอนที่ไหน จะให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และสรุปร่วมกัน ทุกวันนี้มีคนสนใจเรื่องนี้มากขึ้น ล่าสุดองค์กรบริหารส่วนตำบล ซึ่งจะนำเศรษฐกิจพอเพียงไปให้เขาคิด เช่นเดียวกับข้าราชการระดับ C7 , C8 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของรองปลัดสุทธิพร จีระพันธุ ซึ่งเป็นผู้สนใจวิธีการเรียนแบบใหม่

 

 จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181  
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ ควรรับฟังข้อคิดเห็นอดีตนายกฯชวน"(
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน
ผมดีใจที่ ศ.ดร.จีระ เปิด Blog นี้ เป็นกรณีพิเศษ สำหรับให้ท่านผู้อ่าน ลูกศิษย์ และผู้สนใจ ได้ใช้ Blog นี้ ในการวิเคราะห์บทความ "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ จาก น.ส.พ.แนวหน้า" สะดวกที่จะอ่าน เขียน ต่อยอดแนวความคิดของอาจารย์ได้ คราวต่อไปผมจะถือโอกาสใช้ Blog นี้ในการเขียนต่อยอด บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ ผมขอเชิญชวน ลูกศิษย์ทุกสาขา ป.เอก ป.โท ของ ศ.ดร.จีระ เข้ามาใช้ Blog นี้ ในการวิเคราะห์บทความของ ศ.ดร.จีระ ด้วยกัน
สำหรับท่านที่เพิ่งเข้ามาแวะชมและปราถนาจะเขียนข้อความใน blog ผมแนะนำให้ใช้ตัวอักษร รูปแบบ Tahoma ขนาด 14 ใน Microsoft Office, word เขียนฉบับร่างก่อน แล้ว Copy นำมาวางลงใน Blog ครับ
อย่างไรก็ตามการจัดวรรค จัดย่อหน้า อาจจะไม่ได้ดังใจ ด้วยข้อจำกัด ของโปรแกรมใน Blog นี้
ผมได้นำข้อความที่ผมเขียนร่วมแชร์ไอเดีย แนวคิดของ ศ.ดร.จีระ ไว้เมื่อวานนี้ มาลงในBlog นี้ เพื่อนำร่อง เป็นตัวอย่างแก่ผู้สนใจ  ผมหวังว่า สาระเหล่านี้จะเป็นประโยชน์แก่สาธารณะชน สังคมและชาติ บ้านเมือง ของเรา
สวัสดีครับ
ยม
...................................
  

วันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2549  ผมมีกิจกรรม สัมมนา ภาวะผู้นำโลก(Seminar on Global Leadership) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน ในหลักสูตร ป.เอก ผมออกเดินทางแต่เช้า เพื่อจะไปร่วม สภากาแฟก่อนมีการสัมมนา จึงส่งข้อควานี้มาช้ากว่าปกติที่เคยทำ หลังจากเขียนเสร็จแล้ว รู้สึกว่า บรรยากาศรอบตัวมีผลต่อการเขียนมาก ไม่ค่อยมีสมาธิเหมือนเขียนเงียบ ๆ ในมุมธรรมชาติ

 

อย่างไรก็ตาม ผมอ่านบทความบทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ” จาก Interent ซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่องว่า ในบทความนี้ ศ.ดร. จีระ เขียนเรื่อง ควรรับฟังข้อคิดเห็นอดีตนายกฯชวน ผมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม โดยใช้ข้อความข้างล่างนี้ แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ 

 

  เวลาผ่านไปแล้ว 5 สัปดาห์ เหตุการณ์ต่าง ๆ ได้เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วและคาดไม่ถึง หลายอย่างดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็มีปัจจัยหรือมีข้อมูลใหม่ๆเพิ่มเติมเสมอ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี ต้องใช้นโยบาย
Listen and Learn
อย่างมาก และต้องมีความอดกลั้น ที่จะต้องรับฟัง หากมีประโยชน์จึงนำไปปฏิบัติ  
ในความเห็นส่วนตัวผม คิดว่าเรื่องการ Listen and Learn ที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวไว้ สำคัญต่อการเป็นผู้นำยุคใหม่อย่างมาก
ผมคิดว่า Competency หรือ สมรรถนะของผู้นำยุคใหม่จะเกี่ยวข้องกับสมรรถนะในการ  
  • Link หมายถึง ขีดความสามารถในการสร้างเครือข่าย ความสัมพันธ์ต่อทรัพยากรมนุษย์ โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อเนื่อง เชิงสร้างสรรค์
  • Listen หมายถึง ขีดความสามารถในการฟังผู้อื่น ไม่เอาแต่สังการ ควบคุม แต่ฝ่ายเดียว การฟัง ด้วยเหตุ ด้วยผล ด้วยสติปัญญา จะทำให้เกิดแนวคิดใหม่ ๆ ได้
  • Learn   หมายถึงขีดความสามารถในการเรียนรู้สรรพสิ่งทั้งหลาย เรียนรู้จากเหตุการณ์ สถานการณ์ที่เกิดขึ้น เรียนรู้ถึงความสำเร็จ ความล้มเหลว ในอดีต ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต เป็นต้น 

ในอดีต การสรรหา คัดเลือกผู้นำ CEO ในองค์กร มักจะแสวงหาผู้นำที่มีความสามารถในการทำงาน ถือว่าเก่ง ครับ แต่ในยุคปัจจุบันและอนาคตแนวคิดนั้นได้เปลี่ยนมาแสวงหาผู้นำที่มีความสามารถในการ Link, Listen and Learn เพื่อต้องการหาผู้นำที่สามารถบริหารการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ผมคิดว่า ความคิดและข้อเสนอแนะของอดีตนายกฯ ชวน หลีกภัยที่ติงการทำงานของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ น่าสนใจ คือจะต้องอธิบายจุดอันตรายของ "ระบบทักษิณ" ให้ประชาชนได้รับทราบและเข้าใจอย่างแท้จริง เพราะใน 5 ปีที่ผ่านมา ประชาชนที่ยากจนอาจจะคิดไม่ครบถ้วน และไม่เข้าใจ ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นจะต้องทำ ควรอธิบายด้วยข้อมูลและข้อเท็จจริง อาจจะต้องดึงเอาภาคประชาสังคมที่เป็นกลาง มาช่วยอธิบายเพื่อเสริมรัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเพื่อให้ทั่วถึง ระยะนี้ ยังมีข่าวความไม่สงบหรือคลื่นใต้น้ำอยู่ ซึ่งคงจะไม่ใช่ของแปลกอะไร เพราะมีผู้เสียผลประโยชน์มาก คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติจะต้องบริหารและจัดการสิ่งเหล่านี้อย่างรอบคอบ เหมาะสมและสมานฉันท์  
ดูเหมือนว่า นายกฯสุรยุทธ์ จุลานนท์ ทำหน้าที่เหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ได้เชิญหัวหน้าพรรคการเมืองมามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นจุดที่สำคัญ การยกย่องให้เกียรติทุกกลุ่มในสังคมเป็นเรื่องที่ดีและเหมาะสม
ส่วนกลุ่มพันธมิตรก็เช่นกัน คงจะต้องอดทนและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเหมือนเดิม ขออย่าท้อใจ ถึงกับจะลาออกจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งไม่เป็นผลดี คงจะต้องช่วยกันตรวจสอบต่อไป   
ในความเห็นส่วนตัวของผมคิดว่า  ในสายตาของประชาชนคงเข้าใจว่า คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี เป็นบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิ โดยเฉพาะท่านนายกรัฐมนตรี เป็นที่รักและเคารพ อย่างสูง เป็นองคมนตรีของชาติ การที่ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี จะพูด จะทำอะไร จึงเป็นสิ่งที่อาจจะมีผลกระทบถึงตัวท่านนายกรัฐมนตรีได้
การฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น การ Link, Listen and Learn เป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายควรทำ ทุกฝ่ายควร Know our situation! และร่วมกันประกอบภารกิจด้วยความรอบคอบ ระมัดระวังกันทุกฝ่าย เหตุการณ์ภาคใต้ รุนแรงมากขึ้น เราจะสามารถกู้สถานการณ์ได้หรือไม่

Can we fix! Broken Government?

Can we fix! The national disunity?

เป็นสิ่งที่คนไทยจะต้องสมานฉันท์ ร่วมมือกัน ผมเชื่อว่า ปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นในบ้านของเรา ย่อมแก้ไขได้ด้วยคนในบ้านของเราเช่นกัน  

 

ประเทศไทยจะต้อง Compete international เพื่อที่จะลดความยกจนลง Economic growth ควรจะต้อง ได้ 6% GDP 

 

ขณะนี้ เราเผชิญปัญหาหลายอย่าง ผมในฐานะคนไทยด้วยกัน ขอแสดงความเห็นใจรัฐบาล และผู้รับอาสาเข้ามาบริหารบ้านเมือง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีคนจน 60% อีสานเป็นภาคที่จนที่สุดในประเทศ ทรัพยากรมนุษย์ส่วนใหญ่ขาดคุณภาพ ด้อยโอกาสทางการศึกษาและอาชีพ ทั้งที่เป็นคนดีมีน้ำใจ 
อีสานเป็นดินแดนไม่สมบูรณ์เหมือนภาคกลาง ไม่มีทางออกทะเล ดินฟ้าอากาศมีผลต่อการประกอบอาชีพ ผลผลิตเกษตรต่อไร่ตกต่ำ การติดต่อค้าขายกับชายแดนต่ำ การใช้เงินภาคสาธารณะต่ำ Low Public spending  อาชีวอนามัยแม่และเด็กยังคงมีปัญหา ส่งผลต่อสมองและความฉลาดของเด็กไทยในอีสาน

 

ที่สำคัญที่สุดเราหนีไม่พ้นที่จะต้องแข่งขันกับโลก  การศึกษาสำคัญที่สุดควรจะต้องรีบเร่งแก้ไขปรับปรุง

 

การลงทุนภาคเอกชน ชะลอการลงทุนเกือบถึงขั้นหยุดชะงักมาหลายปี(Reluctance) แนวโน้มจะมีมากขึ้นหรือน้อยลง ผมไม่แน่ใจ 

 

แรงงานมีทักษะ ความรู้ต่ำ แรงงานต่างด้าวคุณภาพต่ำเข้ามาผสมผสานมากขึ้นมีทั้งถูกต้องไม่ถูกต้อง
การปฏิรูปสถาบันการเงินยังมีขีดจำกัดในภาพรวมทางเศรษฐกิจ  การขาดแคลนแรงงานทีมีความสามารถเป็นข้อจำกัดในการลงทุน Skill Labor
นอกจากนี้ จุดอ่อนของประเทศไทยประการหนึ่งคือ Staff นักบริหารอ่อน องค์ความรู้เพื่ออนาคต อ่อน IT ควรต้องมีแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

 

จุดแข็งในการใช้แรงงานราคาถูกของไทย เช่น โรงงานทอผ้า ธุรกิจ Garment รองเท้าฯ ได้สูญเสีย Competitive edge ให้แก่ประเทศจีนและเวียดนามไปแล้ว และ 2 ประเทศนี้ได้พัฒนาการศึกษา เทคโนโลยีอย่างรวดเร็วนำหน้าประเทศไทยไป  
สิ่งเหล่านี้ เป็นเรื่องท้าทายรัฐบาลทุกยุคสมัย เป็นเรื่องท้าทายวิสัยทัศน์ ความคิด การกระทำของกลุ่มสมัชชา และความร่วมมือของคนไทยทั้งชาติ  

 

ประชาชนทุกส่วน ควรเพิ่มและส่งเสริมความสมานทฉันท์ ช่วยเหลือกันและกัน เพื่อชาติจริง ๆ ร่วมมือกันช่วยรัฐบาลในการพัฒนาประเทศให้สำเร็จ   ยุติความขัดแย้ง หันมาแก้ปัญหาประชาธิปไตยด้วยความสงบสุข เคารพในศักดิ์ศรี ในศักยภาพของคนทุกคน ต้องเชื่อว่าคนทุกคนมีคุณค่าทั้งสิ้น ไม่มองใครต่ำ ใครสูง 

 

 

คณะรัฐมนตรี ต้องเร่งบริหารประเทศให้พ้นภัย ให้บรรลุเป้าหมายสูงสุด ด้วยการทำงาน Fast, smart to meet highest Standard
วิสัยทัศน์ของชาติต้องชัดเจน และยั่งยืน เน้นความสงบสุขของบ้านเมือง และประโยชน์ของประชาชน ไม่ทำลาย ไม่กล่าวร้ายใคร อะไรก็ตามที่เป็นอุปสรรคสร้างและพัฒนาชาติควรขจัดออกไป ควรต้องสนองแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง และแนวคิดขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของเรา   ผสมผสานบูรณาการแนวคิดทางการบริหาร ทฤษฎีอื่น ๆ ทั้งแนวพุทธศาสตร์ อิสราม คริสต์ฯ มาพัฒนาชาติของเราให้เข้มแข็งโดยเร็ว

 

รัฐบาลใด ชาติใดก็ตามถ้าเริ่มต้นบริหารชาติด้วยดี พลีอุดมการณ์ให้ชาติ เพื่อคนรุ่นหลัง  เพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่ชาติแล้วนั้น นั่นคืออนุสาวรีย์ที่ปักแน่นในจิตวิญญาณของคนทั้งประเทศ 

สำหรับผม ถึงแม้ว่าจะไม่เกี่ยวกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็จะทำหน้าที่ต่อไปในฐานะประชาชนคนหนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของการให้ความรู้ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง

 

ผมคิดว่า สิ่งที่ ศ.ดร.จีระ ทำอยู่เป็นแบบอย่างที่ดีที่ผมประทับใจ อาจารย์เป็นกลาง มีคุณธรรม มีอุดมการณ์ มีเสียสละ เพื่อส่วนรวม อาจารย์ทำงานที่มีประโยชน์กับสังคม โดยหวังให้ผู้อื่นเป็นสุข หวังให้ชาติเจริญ เป็นงานพัฒนาทรัยพากรมนุษย์ที่แท้จริงในทุกระดับ ทั้งในและต่างประเทศ   สมกับเป็น HR สายพันธ์แท้  รัฐบาลและองค์กรพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทุกระดับ ควรให้การสนับสนุน ทั้งทางตรงและทางอ้อม  
นักศึกษา ลูกศิษย์ ของอาจารย์ หากมีโอกาส ก็ควรเข้ามาช่วยสนับสนุนอาจารย์ ทุกรูปแบบ ด้วยความมีอุดมการณ์ ความมีชาตินิยม และเรียนรู้วิถี แนวทางของ ศ.ดร.จีระ เพื่อต่อยอด เป็นแนวร่วมอุดมการณ์ ครับ

สัปดาห์ที่ผ่านมาผมมีงาน 3 เรื่องที่จะเล่าให้ฟัง
เรื่องแรก ซึ่งทำเป็นประจำทุกปี คือ ค่ายผู้นำเยาวชน Knowledge camping ให้แก่นักเรียนเทพศิรินทร์และโรงเรียนในเครือทั้ง 7 โรงเรียน จำนวน 120 คน ครั้งนี้เป็นปีที่ 8 แล้ว ในปีนี้เน้นในพระอัจฉริยภาพด้านต่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น ภาวะผู้นำ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น มีวิทยากรรับเชิญซึ่งเป็นนักเรียนเก่าที่มีชื่อเสียงหลายท่านมาร่วมแบ่งปันความรู้ เช่น
-
หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง เป็นองค์ประธานในพิธีและปาฐกถาพิเศษเรื่อง "โครงการหลวง"
-
ฯพณฯ พล.อ.ต.กำธน สินธวานนท์ บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านพลังงาน"
-
ดร.ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรีและกีฬา"
-
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ"
ค่าย Knowledge camping นี้เป็นค่ายที่สร้างและพัฒนาภาวะผู้นำให้กับนักเรียน ให้เด็กมีความคิดกว้างไกล คิดเป็น กล้าแสดงออก เด็กจะได้รับการพัฒนาความคิดจากโจทย์ "ประเทศไทยในอีก 20 ปีข้างหน้า" ซึ่งเป็นการเตรียมพร้อมที่จะเติบโตเป็นผู้นำของชาติในอนาคต

 

 

ที่ ศ.ดร.จีระ ทำ Knowledge camping นี้ ผมเห็นว่า เป็น Good Model ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อย่างมาก เป็นประโยชน์ในการสร่างเยาวชน ให้เป็นผู้นำในอนาคต
การปฏิรูปการศึกษาบ้านเรา ควรมีวิธีการเรียนรู้แบบนี้ สอดใส่เข้าไปในการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ระดับประถมฯ ถึง มหาวิทยาลัย และถ้าทุกสถานบันการศึกษาทำได้ ผมเชื่อว่าเราจะมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพในอนาคตมากพอ เป็นการสร้างคนเพื่อสร้างชาติไทยให้เข้มแข็ง ยั่งยืนยิ่งขึ้น

อีกงานหนึ่งเป็นงาน India-Thai Business Forum ซึ่งเป็นชมรมนักธุรกิจชั้นนำของอินเดียในประเทศไทย ผมภูมิใจที่เขาสนใจงาน HRD ของ APEC ของผม แต่แทนที่จะมองเฉพาะ APEC เขามองถึงความร่วมมือระหว่างอินเดียกับ APEC ในอนาคต
ผมคิดว่าเรื่อง HRD กับอินเดียน่าจะมี 3 เรื่อง
1.
การแลกเปลี่ยนครูทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และ IT โดยให้อินเดียส่งครูมาช่วย
2.
การส่งครูไทยไปสอนเรื่อง การบริการ Service sector และการท่องเที่ยว
3.
จัดให้เกิดธุรกิจร่วมกัน เช่น E-learning

ผมคิดว่ารัฐบาลของนายกฯสุรยุทธ์ ยังคงสนับสนุนแนวคิดการจัดตั้ง ACD HRD Center ขึ้น เพื่อให้เอเชีย ซึ่งมีอินเดีย จีน ญึ่ปุ่น ไทย และประเทศในตะวันออกกลางรวย ๆ เช่น โอมาน คูเวต มาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของคนเอเชียด้วยกัน แทนที่จะไปเรียนจากตะวันตก ซึ่งผมได้รับมอบหมายจากรัฐบาลชุดที่แล้วให้ดำเนินการ และได้รับการเห็นชอบในหลักการแล้ว 

 

ประเด็นนี้ ผมขอเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติมครับ สิ่งที่ ศ.ดร.จีระ ทำเรื่อง การร่วมมือระหว่างอินเดียกับไทยและ APEC เป็นสิ่งที่น่าสนใจ ไม่ธรรมดาเลย  ทำให้คนอินเดียประทับใจและทึ่งคนไทยไปอีกนานด้วยความสามารถของ ศ.ดร.จีระ
ผมเสนอเพิ่มเติมว่า การร่วมมือระหว่างอินเดียกับไทยและ APEC น่าจะมีอีกหลายเรื่องที่ทำได้และจะเป็นประโยชน์กับไทยมาก เช่น ในเรื่องการให้ความร่วมมือเรื่องการพัฒนาความรู้ด้านภาษาอังกฤษ ให้แก่ครูและนักเรียนในชนบทยากจน ทำอย่างไรให้เด็กไทยพูดภาษาอังกฤษได้เหมือนเด็กอินเดีย  
IT CITY ในรัฐบังกาลอร์ ของอินเดีย เป็นตัวอย่างที่ดี ในเรื่องการบริหาร Talent people การแลกเปลี่ยน นักศึกษา ป.โท ป.เอก ในด้านพลังงานเพื่ออนาคต การวิจัยปัญหาของโลก ปัญหาของ APEC เช่น ด้านการป้องกันภัยวิบัติของโลก Global warming การป้องกันการก่อการร้ายข้ามชาติ การอนุรักษ์วัฒนธรรม ไทย อินเดีย การส่งเสริมและปฏิบัติตามหลักศาสนา เป็นต้น ครับ

นอกจากนี้ ผมได้รับเชิญจากมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ไปบรรยายเรื่อง คิดแบบ CEO ในยุคสมัยใหม่ ผมชอบหัวข้อที่เขาตั้ง เพราะ CEO ต้องคิดเป็นถึงจะสำเร็จ จึงแนะนำวิธีการคิดไป 3 วิธีคือ
-
ทฤษฎี 4 L's ของผม
- 5 Disciplines
ของ Peter Senge
-
และ 6 Thinking hats ของ Edward de Bono
เน้นว่าแต่ละแบบสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้โดยมองจากสถานการณ์ความจริงของแต่ละองค์กร มีจุดที่น่าสนใจคือ ยุคใหม่ CEO ต้องไม่เก่งคิดคนเดียว ต้องให้ผู้ร่วมงานคิดเป็นด้วย

 

ผมขอเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติมที่อาจจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านว่า การคิดแบบ CEO ที่เป็นเลิศ ควรต้องคิดโดยใช้สมองทั้งสองด้าน ทั้งซีกซ้ายและขวาด้วย คือต้องมองอะไรได้ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ เช่น ไม่คิดว่าแนวคิดตะวันตกดีเลิศ มองแนวคิดตะวันออกแบบติดลบ ต้องคิดบูรณาการทั้งตะวันออก และตะวันตกเข้าด้วยกัน จะได้จุดแข็งทั้งสองซีกโลกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม เป็นต้น


 

คำถามคือ จะทำอย่างไร ในประเทศไทย เราเสียเปรียบตั้งแต่ระบบการศึกษา เพราะเราไม่มีการกระตุ้นให้นักเรียนสนใจที่จะแลกเปลี่ยนความรู้ เราให้นักเรียนลอกความคิดของอาจารย์

 

ผมคิดว่า การปฏิรูปการเรียนการสอน การศึกษาของบ้านเรา  น่าจะนำแนวคิด แนวปฏิบัติ ของ ศ.ดร.จีระ มาเป็นส่วนหนึ่งใน

ในการพัฒนาระบบการศึกษา

 

ผมสังเกตเห็นว่า อาจารย์ทำแล้วได้ผล อาจารย์สามารถขุดความสามารถของนักเรียน นักศึกษาได้ อาจารย์ทำให้นักเรียน นักศึกษาจำนวนมาก (ในเวลาที่จำกัด) ที่ไม่ค่อยพูดซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนเก่ง ได้มีโอกาสได้แสดงความเก่งขึ้นมาอย่างน่าทึ่ง ให้นักเรียน นักศึกษาได้แชร์ความรู้ ได้ปะทะกันทางปัญญา เหมือนพระสนทนาธรรม เหมือนจอมยุทธ์ได้ปะลองฝีมือ ปัญญาย่อมเกิด ฝีมือย่อมพัฒนาขึ้นได้แน่นอน

 

และที่สำคัญคือท่านที่สนใจวิธีการมองคนที่เป็นเลิศ ของ ศ.ดร.จีระ ว่าท่านทำอย่างไรจึงมีสายตาที่เฉียบคม มองเห็นในสิ่งที่ CEO ผู้นำ หรือคนอื่น มองไม่เห็น อาจารย์มีเทคนิคในการมองลูกศิษย์ทุกระดับ ได้เหมือนมีแว่นวิเศษ ครับ สุดท้ายก่อนจบการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นวันนี้ ผมฝากไว้เกี่ยวกับ  Brain Power 
 “We live in the world where almost anything is a new possibility. The nature of work is changing. It is becoming increasingly brain intensive, value oriented, and unpredictable.   Skilled brain power is replacing disciplined muscle power. 

 

We want everyone to be seen as an achiever, an innovator, a seeker of the unknown to build a better world together.  The effective development of brain power within a nation will decide the prosperity of the country in the future.”   
ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์ช่อง 11 ชื่อรายการสู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และ รายการเศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ทุกวันเวลา 22.40 น. – 22.45 น.นอกจากนี้ ยังออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระขอ

รู้สึกเป็นเกียรติมากค่ะ ที่ได้อ่านบทความ ของอาจารย์

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมย์ และสวัสดีคุณยม และท่านผู้อ่านทุกท่าน  เช้าวันนี้ดิฉันได้มีโอกาสเปิด Internet เข้ามาที่ Blog chiraacademy ได้พบ Blog ใหม่ วิเคราะห์บทความบทเรียนจากความจริงกับดร.จีระ (จากแนวหน้า) รู้สึกดีใจเป็นอย่างยิ่ง ที่ท่านได้เปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกได้เข้ามาแชร์ความคิดใน Blog นี้   การเปลี่ยนแปลงตลอด 5 สัปดาห์ที่ผ่านมา ดิฉันสนใจประเด็นเศรษฐกิจพอเพียงการบริหารงานของรัฐบาล ตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งถือเป็นแนวทางที่ประชาชนชาวไทยควรนำมาปฏิบัติ เนื่องจากสังคมไทยในปัจจุบัน คนไทยขาดจิตสำนึกในด้านนี้  การพัฒนาแบบสมัยใหม่ หรือแบบตะวันตก อาจมีผลดีหลายอย่าง เช่น ความสะดวกสบายจากเครื่องทุ่นแรง การคมนาคม ฯลฯ แต่สิ่งที่เป็นผลจากการพัฒนาตามแนวทางนี้เชิงประจักษ์อันปฏิเสธไม่ได้มี 4 ประการ คือ 1.ช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวยห่างกันมากขึ้น 2.การทำลายสิ่งแวดล้อมอย่างมหาศาล 3.การทำลายวัฒนธรรมและจิตวิญญาณ 4.เกิดวิกฤตการณ์ทางสังคมอย่างรุนแรง นักปราชญ์ตะวันตกเช่น Larslo, Grof และ Russell มีความเห็นว่าอารยธรรมตะวันตกกำลังพาโลกทั้งโลกไปสู่วิกฤตการณ์อย่างรุนแรง  ดิฉันมีความเห็นในประเด็นเรื่องการทำลายวัฒนธรรมและจิตวิญญาณ ที่ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมาจนทำให้เยาวชนของชาติในป้จจุบันไม่รู้จักวัฒนธรรมดั้งเดิมของประเทศชาติ เด็กในยุคนี้ใช้ชีวิตกันอย่างประมาท และลุ่มหลงในสิ่งยั่วยวนใจ หลายคนอาจมองว่าเด็กทุกวันนี้เก่ง มีความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ฯลฯ ระดับโลก แต่เป็นเพียงเยาวชนในส่วนน้อยของประเทศเท่านั้นที่ได้มีโอกาสดังกล่าว ในสังคมชนบทในปัจจุบันได้รับอิทธิพลจากสื่อต่าง ๆ ที่เข้าไปถึงอย่างรวดเร็วในยุคการสื่อสารไร้พรมแดน ทำให้เยาวชนในชนบทได้บริโภควัฒนธรรมตะวันตกจากสื่อ และนำวัฒนธรรมดังกล่าวมาปฏิบัติโดยเลือกให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมของไทย สิ่งหนึ่งที่อยากให้ท่านผู้อ่านทุกท่านมีจิตวิญญาณว่า "สังคมไทยอยู่ได้เพราะมีการให้" ดิฉันหวังว่าท่านผู้อ่านหลายท่านคงมีจิตวิญญาณของการให้ ใน Blog น่าจะเป็นสื่อในการแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกัน ขอบขอบคุณ ศ.ดร.จีระ อีกครั้งที่เปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกอย่างดิฉันได้เข้ามาร่วมแบ่งปันความรู้ใน Blog นี้ ขอแสดงความนับถือ นางสาวยมนา การดี

 

วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2549   “บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระสัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่องว่า ในบทความนี้ ศ.ดร. จีระ เขียนเรื่อง ควรรับฟังข้อคิดเห็นอดีตนายกฯชวน ดิฉันขอสรุปและแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม ซึ่งมีดังนี้ ค่ะ1.    อาจารย์ ได้พูดถึงการใช้นโยบาย  Listen and Learn ต้องมีความอดกลั้นที่จะรับฟัง หากมีประโยชน์จึงนำไปปฎิบัติ และอาจารย์ได้กล่าวถึงความคิดและข้อเสนอแนะของนายกชวน หลีกภัย  ที่ติงคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ2.    การจัดการเรียนรู้ค่ายผู้นำเยาวชน Knowledge camping ที่ว่าด้วย-        Leadership Competency-        Sufficiency3.    งาน India – Thai Business Forum  ที่สนใจงาน HRD ของ APEC  แต่แทนที่จะมองถึงความร่วมมือระหว่างอินเดียกับ APEC ในอนาคต HRD ของอาจารย์และ India มี 3 เรื่อง3.1.    การแลกเปลี่ยนครูทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และ IT โดยให้อินเดียส่งครูมาช่วย
3.2
การส่งครูไทยไปสอนเรื่อง การบริการ Service sector และการท่องเที่ยว
3.3
จัดให้เกิดธุรกิจร่วมกัน เช่น E-learning4.    อาจารย์ได้กล่าวถึงการสนับสนุนรัฐบาลของนายกฯสุรยุทธ์ สนับสนุนแนวคิดการจัดตั้ง ACD HRD Center ขึ้น เพื่อให้เอเชีย ซึ่งมีอินเดีย จีน ญึ่ปุ่น ไทย และประเทศในตะวันออกกลางรวย ๆ เช่น โอมาน คูเวต มาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของคนเอเชียด้วยกัน แทนที่จะไปเรียนจากตะวันตก ซึ่งอาจารย์ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลชุดที่แล้วให้ดำเนินการ และได้รับการเห็นชอบในหลักการ5.     อาจารย์ได้รับเชิญจากมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ไปบรรยายเรื่อง คิดแบบ CEO ในยุคสมัยใหม่ อาจารย์ชอบหัวข้อที่เขาตั้ง เพราะ CEO ต้องคิดเป็นถึงจะสำเร็จ จึงแนะนำวิธีการคิดไป 3 วิธีคือ
-
1.    ทฤษฎี 4 L's ของ ศ.ดร. จีระ เอง
-2.  5 Disciplines
ของ Peter Senge
 
3.    6 Thinking hats ของ Edward de Bono เน้นว่าแต่ละแบบสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้โดยมองจากสถานการณ์ความจริงของแต่ละองค์กร มีจุดที่น่าสนใจคือ ยุคใหม่ CEO ต้องไม่เก่งคิดคนเดียว ต้องให้ผู้ร่วมงานคิดเป็นด้วย   ความคิดเห็นเพิ่มเติม1. นโยบาย  Listen and Learn เป็นนโยบายที่ดี มากๆ ค่ะเพราะคนที่มีอำนาจส่วนใหญ่มัก No Listen and NO Learn  ภาวะผู้นำหรือที่เรียกว่า Leadership Competency นั้นนอกจาก Listen and Learn ควรที่จะมี Reality และ Relevance เพื่อนำเข้าสู่การเกิด thinking &Decision making  ที่ดีได้ Listen and Learn + Reality & Relevance + Brien storming = thinking &Decision- making             หรือจะเรียกได้ว่า    2L+2R+B=T&D  ค่ะ2. การจัดการเรียนรู้ค่ายผู้นำเยาวชน Knowledge camping ที่ว่าด้วย-        Leadership Competency-        Sufficiency    นั้น  ควรที่จะเน้น  L2 Environment  คือ การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้                คือ A + C = B ; Affective (Mood อารมณ์) + Cognitive(นึกคิด) = Behaviorความเป็นมนุษย์ถ้าเกิดอารมณ์ความรักหรือชอบสมองก็จะคิดที่จะทำให้ได้มาสั่งซึ่งสิ่งที่ปรารถนา Needให้เกิดการกระทำหรือพฤติกรรม Behavior (การแสดงออก)ตามมาโดยอัตโนมัติเมื่อได้มาซึ่งNeedมนุษย์ก็มีความสุข ดังเช่น การแสวงหาคนรักและพยายามทำให้ได้แต่งงานกับคนรัก เป็นต้น (Leadership Competency)3.    ACD HRD Center เป็นแนวความคิดที่เยี่ยมและเป็นเรื่องที่น่ายินดี ค่ะ เพราะอินเดียเป็นประเทศที่น่าศึกษากับการใช้ outsourcing กับการพัฒนา Human Resource การทำE-learning ใน 3ประเด็นที่อาจารย์พูดถึงจะทำให้เกิดเป็น community + Opportunities ซึ่งถือได้ว่าเป็น innovation อย่างหนึ่งในการพัฒนาทุนมนุษย์ค่ะ4.    CEO ต้องคิดเป็นถึงจะสำเร็จ มี 3 วิธี และ+ 1 Innovation Competitive Strategy(4 C)  สำหรับ CEO ยุคใหม่
1.    ทฤษฎี 4 L's ของ ศ.ดร. จีระ
2.  5 Disciplines ของ Peter Senge ประกอบด้วย1.. Systems Thinking
2. Personal Mastery
3. Mental Models
4. Building Shared Vision
5. Team Learning
             3.    6 Thinking hats ของ Edward de Bono ประกอบด้วย How to Use the Tool:
You can use Six Thinking Hats in meetings or on your own. In meetings it has the benefit of blocking the confrontations that happen when people with different thinking styles discuss the same problem.
Each 'Thinking Hat' is a different style of thinking. These are explained below:
1.       White Hat: With this thinking hat you focus on the data available. Look at the information you have, and see what you can learn from it. Look for gaps in your knowledge, and either try to fill them or take account of them.This is where you analyze past trends, and try to extrapolate from historical data.2.       Red Hat: 'Wearing' the red hat, you look at problems using intuition, gut reaction, and emotion. Also try to think how other people will react emotionally. Try to understand the responses of people who do not fully know your reasoning.3.       Black Hat: Using black hat thinking, look at all the bad points of the decision. Look at it cautiously and defensively. Try to see why it might not work. This is important because it highlights the weak points in a plan. It allows you to eliminate them, alter them, or prepare contingency plans to counter them. 4.       Black Hat thinking  : helps to make your plans 'tougher' and more resilient. It can also help you to spot fatal flaws and risks before you embark on a course of action. Black Hat thinking is one of the real benefits of this technique, as many successful people get so used to thinking positively that often they cannot see problems in advance. This leaves them under-prepared for difficulties.5.       Yellow Hat: The yellow hat helps you to think positively. It is the optimistic viewpoint that helps you to see all the benefits of the decision and the value in it. Yellow Hat thinking helps you to keep going when everything looks gloomy and difficult.6.       Green Hat: The Green Hat stands for creativity. This is where you can develop creative solutions to a problem. It is a freewheeling way of thinking, in which there is little criticism of ideas. A whole range of creativity tools can help you here.7.       Blue Hat: The Blue Hat stands for process control. This is the hat worn by people chairing meetings. When running into difficulties because ideas are running dry, they may direct activity into Green Hat thinking. When contingency plans are needed, they will ask for Black Hat thinking, etc.A variant of this technique is to look at problems from the point of view of different professionals (e.g. doctors, architects, sales directors, etc.) or different customers.ซึ่งแต่ละ แบบสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้โดยมองจากสถานการณ์ความจริงของแต่ละองค์กร มีจุดที่น่าสนใจคือ ยุคใหม่ CEO ต้องไม่เก่งคิดคนเดียว ต้องให้ผู้ร่วมงานคิดเป็นด้วยเป็นสิ่งที่ดีและดิฉันเห็นด้วยมากๆค่ะ และ CEO ยุคใหม่ ควรจะให้ผู้ร่วมงานได้มีส่วนร่วมในการสร้างยุทธศาสตร์นวตกรรมเพื่อการแข่งขัน Innovation Competitive Strategy ด้วย 4 C ดังนี้ 
    1. Comprehension
-         strict competency-         cooperative network-         hi – touch-         knowledge content-         paradigm-         value chain-         supply give value chain -         demand give value chain
    1. Capability
-   cluster-   innovation network-   cluster supply side-   cluster demand side
    1. Commitment
-    critical mass
    1. Cooperation
-         cooperation network-         touch – based system-         good governance-         end user-         local – global link-         industrial cluster-         community cluster-         potential cohesion สรุป :  NEW CEO = 4 L's + 5 Disciplines +6 Thinking hats + 4 C (Innovation Competitive Strategy)  ด้วยความเคารพอย่างสูงและสวัสดีค่ะ           A’ LOTUS ลูกศิษย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ นักศึกษารัฐศาสตร์ดุษฎีบัญฑิต
ยม นาคสุข "“สุรยุทธ์” เปิดใจ นโยบายรัฐบาล"
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ คุณรัตติยา คุณยมนา น้องLotus และท่านผู้อ่านทุกท่าน 

เช้านี้ ผมหาอ่านบทความ บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ จากเว็ปของ น.ส.พ.แนวหน้า แต่ยังไม่เห็นบทความดังกล่าว จึงอ่านบทความอื่น ๆ และได้เห็นบทความของท่านนายกรัฐมนตรีที่เปิดใจให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับ นโยบายรัฐบาล ผมเห็นว่ามีสาระที่เป็นประโยชน์กับผู้เรียน รัฐประศาสนศาสตร์ และผู้ที่สนใจในนโยบายสาธารณะ การเมือง จึงได้คัดสำเนามาลงไว้ใน Blog นี้

 ส่วนการวิเคราะห์บทความ บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ ต้องรอไว้ก่อน จนกว่าจะปฎิบัติภารกิจวันนี้ ซึ่งเช้านี้ ศ.ดร.จีระ และทีมงานมีจัดสัมมนา หลักสูตรพัฒนาศักยภาพ และบุคลิกภาพวันเสาร์ที่ 4 และ วันอาทิตย์ที่ 5 พฤศจิกายน 2549  ณ โรงแรมสวิสโฮเต็ล  หากผู้อ่านสนใจ จะติดตามไปร่วมสัมมนา ติดต่อได้ที่ผมหรือที่ ttp://www.chiraacademy.com/ มีเบอร์โทรติดต่อได้หรือติดต่อที่ผมเพื่อจะได้ช่วยประสานงานให้ก็ยินดีครับ ที่ 081-9370144 เชิญท่านผู้อ่านติดตาม สาระในบทความ สุรยุทธ์เปิดใจ นโยบายรัฐบาล ซึ่งปรากฏอยู่ข้างล่างนี้ ครับ สวัสดี 

ยม

[email protected]

0819370144 สุรยุทธ์เปิดใจ นโยบายรัฐบาล [1]หมายเหตุ : เมื่อเวลา 19.00 น.พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัตน์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ให้สัมภาษณ์พิเศษสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5และช่อง 7  โดยมีนายพิษณุ นิลกลัด เป็นผู้ซักถามนโยบายการดำเนินงานของรัฐบาล เผย 1 เดือนนายกทำชีวิตเปลี่ยน สุขภาพเสีย                เมื่อถามว่าระยะ 1 เดือนกับ 2 วันที่พล.อ.สุรยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี หน้าที่ที่ได้รับหนักกว่าที่คิดหรือหรือเป็นอย่างที่คิด พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ได้คาดการณ์ไว้แล้วว่า มันค่อนข้างที่จะกระชั้นและหนัก เพราะปัจจัยหลายๆอย่างที่เกิดขึ้นนี้ทำให้ทุกอย่างมันมีแรงกดดัน มีแรงบีบครั้นมากขึ้น ไม่ว่าจะเรื่องถภายในประเทศหรือเรื่องภายนอกประเทศมีทั้งนั้น                เมื่อถามว่า ก่อนเป็นนายกรัฐมนตรีกับหลังการเป็นนายกรัฐมนตรีชีวิตจประจำวันเปลี่ยนไปมากขนาดไหน พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ก็คงเปลี่ยนเยอะตนไม่มีเวลาได้พบกับภรรยาและลูก กลับไปทุกคนก็พักผ่อนกันหมดแล้ว เมื่อออกจากบ้านภรรยาก็ยังไม่ตื่นมันก็เป็นอย่างนี้ทุกวัน นอนวันหนึ่งไม่เกิน 4 ชั้วโมงค่อนข้างที่จะลำบากกับสุขภาพของตนเองเหมือนกันเพราะอายุเริ่มมากแล้วอดนอนทำให้มีผลกระทบต่อร่างกายพอสมควร สมานฉันท์ ใต้ - ศอ.บต.-พระนาย                เมื่อถามว่า การแถลงนโยบายในเรื่องของการสมานฉันท์ที่มีคำสั่ง 207/2549มานี้มั่นใจขนาดไหนที่จะบอกคนไทยทั้งภาคใต้และทั่วประเทศที่กำลังวิตกอยู่ พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ในเรื่องของความมั่นคงเป็นเรื่องที่จะต้องมีการีจัดแนวทางกันใหม่เพราะปัญหาไม่ใช่เฉพาะเรื่องของการเมืองเท่านั้น แต่เป็นปัญหาเรื่องของยาเสพติด การลักลอบนำมนุษย์หรือที่เรียกว่าการค้ามนุษย์ข้ามแดน เรื่องโรคต่างๆที่อาจจะมีผลกระทบไม่ว่าจะเป็นโรคซาส์หรือไข้หวัดนกสิ่งเหล่านี้ต้องถือว่าเป็นปัญหาที่กระทบต่อความมั่นคงภายในของเรา เรื่องสถานการณ์ภาคใต้ ตนได้มีโอกาสลงไปพบปะกับผู้นำทางศาสนาในช่วง 2-3วันที่ผ่านมา ถือเป็นโอกาสอันดีที่เราได้ทำความเข้าใจว่าองค์กรด้านความมั่นคงของเราจะเข้ามาดูแลสถานตการณ์ทางภาคใต้อย่างไรโดยที่มีการจัดตั้งศูนย์อำนวยการบริหารงานจังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้นมาใหม่ ซื่อเหมือนเดิม แต่การจัดองค์กรภายในก็มีการปรับเปลี่ยนเพื้อทำให้สอดคล้องกับความเข้มข้นของสถานการณ์ในปัจจุบัน                เมื่อถามว่า จากรายละเอียดของคำสั่งดูเหมือนงานนี้จะต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะโรค พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ถูกต้อง คงมีหลายส่วนที่จะต้องมาดูแลด้วยกัน ไม่ว่าจะในด้านของการดูแลเกี่ยวกับเรื่องของโรคที่อาจจะระบาดได้ซึ่งต้องมีทั้งฝ่ายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงสาธารณสุขเข้ามาทำงานร่วมกัน  ซึ่งคนที่จะมาแก้ไขปัญหาทางภาคใต้ถือได้ว่าจะต้องเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญ เพราะถ้าเรามีคนซึ่งไม่รู้จริงไม่เก่งจริงลงไปทำปัญหาก็จะขยายตัวอเอกไป                                เมื่อถามว่า อะไรคือเงื่อนไขพิเศษที่ทำให้กระทรวงมหาดไทยเลือกนายพระนาย สุวรรณรัตน์ ดำรงตำแหน่ง ผอ.ศอ.บต. พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ตนมีโอกาสซักถามคุณพระนายด้วยตนเองในช่วงที่ลงพื้นที่ภาคใต้ โดยถามว่าสมใครใจไหมท่านบอกว่าเต็มใจที่จะงาน ท่านก็รู้ว่าเป็นงานที่หนัก แต่ถือเป็นเรื่องที่จะต้องหาทางแก้ไข แก้สถานการณ์ให้ได้ นั่นเป็นส่วนที่คุณพระนายบอกตนเอง ส่วนที่สองที่ตนมีความรู้สึกเองคือคุณพนะนายนมีสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพี่น้องประชาชนดีพูดง่ายๆคือมีมนุษยสัมพันธ์ดี ตรงนี้เป็นส่วนที่ดีของคูรพระนาย                เมื่อถามว่า มีผู้นำศาสนา ผู้นำท้องถิ่นเข้ามาร่วมการทำงานครั้งนี้ด้วยคิดว่าการได้คนเหล่านี้มาช่วยจะทำให้การแก้ปัญหาสำเร็จเร็วขึ้นหรือไม่ นายโฆษิต กล่าวชี้แจงแทนว่า ครั้งแรกที่มีประชุมคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีได้มอบกรอบคิดและการปฏิบัติ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการมีส่วนร่วม ฉะนั้นตนคิดว่าทิศทางของพวกเราทุกคนคือการพยามแสวงหาความร่วมมือฝให้กว้างที่สุดและต่อไปคงต้องทำให้ลึกที่สุดด้วย เพราะเราเชื่อความร่วมมือ การประสานงานที่ดีและการมีส่วนร่วมจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เราทำงานได้ผล                      เมื่อถามว่า เมื่อได้ ผอ.ที่ดีได้ทีมงานที่ดคาดหมายหรือไม่กับอายุการทำงานปีเศษๆจะประสบความสำเร็จขนาดไหน พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ตนมีความหวัง เพราะอย่างที่เรียนแล้วตนลงไปพบผู้นำทางศาสนาและอีกระยะหนึ่งตนจะลงไปพบกับเยาวชนในระดับที่อายุ 20 บวกลบ การไปพบผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ทำให้เกิดความรู้สึกว่าได้รับการตอบรับจากผู้นำเหล่านั้น สิ่งที่สังเกตได้ชัดคือการแสดงออกหลังจากที่ตนเองพูดเสร็จแล้ว ทุกคนต่างมาคอยรับและยื่นมือมาให้ตนจับ ในความรู้สึกเหมือนประชาชนยื่นมือมาให้ตนแล้วและตนก็ยื่นมือไปจับเป็นสิ่งที่แสดงถึงความเชื่อมั่น แสดงถึงความร่วมมือ ความเข้าใจที่จะต้องช่วยกันทำงาน ตนมองภาพว่าภาครัฐเองลงไปทำงานแม้จะเก่งอย่างไร ถ้าไม่ได้คนในท้องถิ่นหรือผู้นำท้องถิ่นเข้าช่วยมันไม่มีโอกาส การเมือง - ปฏิวัติ                เมื่อถามว่านอกจากปัญหาทางภาคใต้แล้ว ยังมีปัญหาอะไรที่อยากจะทำให้เร็วที่สุดให้เห็นผลเร็วที่สุดในรัฐบาลนี้  พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ปัญหาทางการเมือง ซึ่งก็เป็นของความวิกฤติที่เกิดขึ้นในช่วงรัฐบาลที่ผ่านมา ความแตกแยกทางความคิด ซึ่งอันนี้เราถือว่าเป็นเรื่องของการเมือง ซึ่งจะต้องหาทางแก้ไข ตนมองประเด็นนี้ว่า ในเมื่อมันเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นแล้ว เราจะทำอย่างไรให้มันเกิดความสามัคคี ขึ้นมาในชาติบ้านเมืองของเรา สิ่งที่อยากจะเรียนเสมอ เมื่อมันเกิดไปแล้วเราจะทำอะไรไปไม่ได้มากไปกว่านั้น เราจะเดินไปข้างหน้ากันอย่างไร มีอนาคตที่ดีกว่าเดิมอย่างไร ในเรื่องการแก้ไขปัญหาทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการมีส่วนร่วม  ซึ่งผมก็เปิดโอกาสว่าถ้าท่านมีอะไรให้มาคุยกับผมได้เลย  ผมไม่เคยปิด ผมไม่เคยมีเวลาที่ผมจะไม่คุยกับใคร ผมพร้อมที่จะคุย ในเรื่องของการที่จะมองในแง่ของการตรวจสอบ และการถ่วงดุลมันจำเป็นจะต้องมี ถ้าเราปล่อยเหมือนช่วงที่ผ่านมาไม่ได้ ถ้าเราปล่อยฝ่ายบริหารก็จะมีอำนาจมาก และไปทำในสิ่งที่ประชาชนเองก็ไม่ต้องการให้ทำ มันก็จะกลับมาอีก ตรงนี้คิดว่าน่าจะมาช่วยกันแก้ไข พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าว            เมื่อถามว่าก่อนที่มาเป็นนายกรัฐมนตรี ดูเหมือนว่าทั้งประชาชน นักวิชาการไม่ได้รักใคร่รัฐบาลชุดที่แล้ว แต่มาถึงวันนี้เมื่อเขารู้สึกว่าเขาได้รัฐบาลใหม่ที่มาจากการเผด็จการ และไม่ได้จากการเลือกตั้ง ท่านนายกจะบอกเขาอย่างไร พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ตนไม่ชอบเลยในเรื่องของการเข้ามายึดอำนาจ และทำรัฐประหาร เพราะในชีวิตได้พูดมาตลอดว่าไม่ได้ชอบ แต่ว่าเมื่อมันเกิดขึ้นมา ถ้าเราจะมาบอกว่าไม่ชอบเพียงอย่างเดียว โดยที่ไม่หาทางแก้ไขเรื่องเหล่านี้ไม่ให้มันเกิดขึ้นต่อไปอีกในอนาคต เราจะทำยังไงเราจะเลือกทางไหนเพียงแต่ว่าผมไม่ชอบ แล้วก็อยู่เฉยๆหรือว่ามาคัดค้าน กับการที่จะมามีส่วนร่วมเพื่อมาบอกว่าเราจะทำยังไงไม่ให้มันเกิดอย่างนี้อีก ผมเป็นคิดว่ามันเป็นทางเลือกที่ทุกคนก็อยากจะเห็นว่ามันไม่ควรจะมีอีกแล้ว พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าว                เมื่อถามว่าภาครัฐได้มีโอกาสที่จะไปเจรจากับนักวิชาการที่ไม่เห็นด้วยบ้างหรือไม่ พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ตนก็พูดได้ทุกแห่งและยินดีที่จะพูดทุกแห่ง ยินดีที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นบอกมาเลยว่าไม่เห็นด้วยกับการที่จะให้กำลังเข้ามายึดอำนาจ แต่ว่าเมื่อเหตุการณ์มันเกิดขึ้นไปแล้ว โดยที่ทุกคนจะบอกว่ามันเหมือนกับว่าเป็นการเลือกใช้เครื่องไม้เครื่องมือรักษาโรคอย่างที่เราพูดกัน เพราะเมื่อมันจะต้องผ่าตัด ผ่าตัดไปแล้วทำอย่างไรที่เราจะทำให้สภาวะร่างกายของเรามีความเข้มแข็ง แข็งแรงขึ้นมามันน่าจะเป็นอย่างนั้นมากกว่า เศรษฐกิจพอเพียง                เมื่อถามว่าการจะสร้างการเมืองให้ราบรื่นประชาชนต้องผาสุกด้วย ในส่วนของนายโฆสิตจะเอื้อกับนายกรัฐมนตรีอย่างไรบ้าง นายโฆสิต กล่าวว่า ก็ย้อนไปเมื่อการประชุมครั้งแรกที่นายกรัฐมนตรีบอกว่าการที่เราจะทำงานด้วยกันจากนี้เป็นต้นไป ขอให้ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐาน เพราะฉะนั้นด้วยปรัชญาหลักเศรษฐกิจพอเพียง เรามีความมั่นใจว่าเราสามารถที่จะเดินไปสู่จุดที่ขออนุญาติพูดว่าความสุขความเจริญ ที่เราได้เห็นอดีตว่าเรามีความเจริญ                 “ตอนนี้ปัญหามาก เป็นความเจริญที่ไม่มีความเป็นธรรม  เป็นความเจริญที่ไม่ยั่งยืนเช่นนี้เป็นต้น ฉะนั้นเราก็คิดว่าเป็นการพยายามที่จะอาศัยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสร้างความเจริญในรูปแบบที่สังคมที่มีความสุข นายโฆสิต กล่าว                เมื่อถามว่าชาวไร่ชาวนาที่การศึกษาน้อย เงินก็ไม่มีมาก เราจะอธิบายให้เขาเข้าใจได้อย่างไรภายในระยะเวลา 1-2 นาทีเขาถึงจะเข้าใจ สมมติว่าเราเป็นชาวนาไม่มีที่ดินสักไร่เดียว ต้องใช้เแรงงานรับจ้างเขาทำงาน เกี่ยวข้าวปลูกข้าวแล้วเราจะใช้หลักปรัชาญาเศรษฐกิพอเพียงอย่างไรให้มีความสุขในสังคม นายโฆสิต อธิบายว่า เรามีรูปธรรมเยอะของผู้ที่ยึดหลักปรัชญาแล้วได้ผล ซึ่งรูปธรรมเหล่านี้ได้กลายเป็นผู้ที่บทบาทอยู่ในชุมชน หลายคนเป็นปราชญ์ชาวบ้าน ซึ่งคนเหล่านี้มีจริงวิถีที่ท่านคิดและสอดคล้องกับหลักปรัชญาหลักเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถก้าวพ้นปัญหาความยากจนได้ แต่เราคิดว่ายังมีจำนวนน้อยเกินไป ซึ่งเรามีความเชื่อมั่นในวิธีการว่านี่คือวิธีที่จะต่อสู้กับความยากจน  แต่จะทำอย่างไรจึงจะขยายผลออกไปได้เรื่อยๆ  อันนั้นคือนโยบายที่เราได้เขียนเอาไว้                 เมื่อถามว่า นโยบายที่แถลงจับต้องไม่ได้จะบอกเขาอย่างไร นายโฆษิต กล่าวว่า  ตนขอบอก 2 ข้อ ข้อ 1 คือในอดีตนโยบายเป็นรูปธรรมมาก แต่ก็มีหลายที่ที่มีความรู้สึกเหมือนกับที่ตนมีความรู้สึกคือถ้าเราเอารูปธรรมมานำและละเลยให้ความสำคัญกับคุณธรรมน่อยหรือนามธรรมต่ำมากคิดว่าไม่ตรงกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพราะมันไม่มีความพอดี ฉะนั้นตรงนี้เราอยากจะเห็นเราปรับความพอดีให้ความสำคัญกับนามธรรมพิ่มขึ้นเยอะ อีกเรื่องนามธรรมที่เราพูดถึงไม่ใช่เป็นนามธรรมที่ไม่เห็นตัวอย่างของการปฏิบัติ แต่เป็นนามธรรที่มาจากตัวอย่างจริงของการปฏิบัติที่ได้ผล                เมื่อถามว่า จำฝรั่งเขามาหากเรารักลูกหลานและรักโลกหรือประเทศของเรา เราจะต้องส่งมอบประเทศหรือโลกให้คนรุ่นหลักให้สมบูรณ์ให้เหมือนกับคนรุ่นก่อนหน้านั้น ตรงนี้ท่านคิดอย่างไร เพราะเห็นท่านพูดเราจะต้องส่งมอบประเทศไทยให้รุ่นลูกหลานของเราให้ดีที่สุด  พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า มันก็มีเรื่องใหญ่ๆที่ตนถือว่าเป็นเรื่องสำคัญหากเราสามารถที่จะแก้ไขปัญหาทางการเมืองได้ สร้างความปรองดองขึ้นมาในชาติบ้านเมืองของเราก็ถือว่าผ่านพ้นข้อสอบข้อใหญ่ๆ 2 ข้อที่สำคัญของเราไป ส่วนข้อสอบย่อยๆซึ่งมันก็มีอีกมากมาย ตนคิดว่าเราจะวางกรอบวางแนวทางไว้ ยกตัวอย่างแนวทางด้านเศรษฐกิจ แนวทางตัวชี้วัดความผาสุข แน่นอนคนที่ไม่ได้ผ่านความลำบากในชีวืตในลักษณะที่เป้นคนจนมาก่อนก็จะมองไม่เห้นว่าตัวชี้วัดจะมีผลอย่างไรบ้างจริงๆมันไม่ได้เป็นความร่ำรวยอย่างเดียวที่จะทำให้เรามีความสุข ความยากจน ความเท่าเทียมกันก็ทำให้เรามีความสุขเหมือนกัน                เมื่อถามว่า ที่นายกฯบอกว่าต้องการทำให้คนมีความสุขไม่ต้องร่ำรวยก็ได้ แต่คนที่จะอย่างนั้นได้ต้องเป็นรัฐบาล เราจะมีกระบวนการอย่างไรในการสรรหารัฐบาลที่เป็นคนรักประชาชน เพราะเมื่อเลือกตั้งที่ไรเราจะได้รัฐบาลที่ดูเหมือนวย่าหน้าตาความสวยงามสู้รัฐบาลแต่งตั้งไม่ได้ ตั้งแต่สมัยนายสัญญา ธรรมศักดิ์ นายอานันท์ ปันยารชุน และสมัยนี้ พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ตนคิดว่าตรงนี้เรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน การมีส่วนร่วมอของพรรคการเมืองที่จะต้องเตรียมตัว ตนได้เชิญพรรคการเมืองทุกพรรคมาพูดกันในเรื่อวงเหล่านี่ว่าเราจะต้องเตรียมตัวและเตรียมความพร้อมของพรรคกาเมือง ซึ่งคงทั้งในเรื่อวงของสิ่งที่เป็นกฎหมายที่จะต้องมีการปรับแก้อะไรบ้าง พรรคการเมืองก็จะต้องมีการเตรียมความพร้อม เพราะจะต้องมีคนรุ่นใหม่มีความรู้ มีความสามารถ แน่นอนประสบการณ์อาจจะน้อยบ้าง แต่ความรู้ ความสามารถมาปรับกันได้ โดยที่มีระบบตรวจสอบถ่วงดุลที่ดีพอ รัฐธรรมนูญ                เมื่อถามว่า กระบวนการรัฐธรรมนูญจะทำอย่างไรให้คนบุคลิกอย่างนายโฆษิต และอีกหลายๆท่านมาจาก ส.ส.หรือมาจากบัญชีรายชื่อ เพื่อให้ได้สภาที่งดงาม พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ในส่วนนี้เราจะต้องสร้างกรอบ สร้างกระบวนการ ซึ่งให้ความมั่นใจ สิ่งที่แรกที่ตนเห็นจากประสบการณ์ตัวเองคือมีเงินพอหรือเปล่าที่จะเป็นนักการเมือง พร้อมที่จะเสียเงินไหม เพราะท่านลงเลือกตั้งท่านจะต้องมีเงิน ตรงนี้เป็นเรื่องที่ทำให้คนที่มีความรู้ความสมารถหลายคนเกิดความลังเล เพราะเงินที่ตัวมีอยู่ไม่มากหากจะนำไปเสี่ยงกับเรื่องเหล่านี้มันจะคุ้มไหม ทุกคนก็คิดเหมือนกัน ในแง่ของเศรษฐกิจพอเพียง ตนตอบได้เลยว่าถ้าจะเป็นนักเมืองทุกคนก็ต้องคิดว่าทำแล้วมันจะมีผลออเกมาอย่างไร ถ้าท่านลงไปแล้วไม่ต้องใช้เงินมากมีคนให้การสนับสนุน มีสปอนด์เซอร์ดีๆ ซึ่งเขาไม่มาเรียกร้องเอาอะไรต่ออะไรมากนักมันก็ไปได้  เพราะต่างประเทศก็มีสปอนด์เซอร์ทั้งนั้น ไม่มีประเทศไหนที่ออกมาบอกว่าไม่ต้องใช้เงิน                เมื่อถามว่า ทำไมท่านโฆษิตถึงไม่ยอมเล่นการเมือง นายโฆษิต กล่าวว่า ตนขออนุญาตินะ เป็นความเห็นที่ตนก็เห็นอย่างนี้มานานแล้ว รัฐธรรมนูญก็เป็นส่วนสำคัญ แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือความเห็นของสังคมส่วนใหญ่ ณ วันนี้ที่ตนมองย้อนหลังไป ความเห็นคนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับนามธรรมมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งตนเองดีใจ คิดว่าสำหรับคนรุ่นหลังๆที่จะมามีแบบอย่าง มีโอกาส เชื่อว่าเรื่องพวกนั้นจะเป็นไปได้ ถ้าตราบใดที่สังคมให้น้ำหนักให้เกิดความพอดี รูปธรรมเป็นเรื่องสำคัญแต่นามธรรมไม่ใช่ของที่จะมองข้ามกัน                เมื่อถามว่า ในการแถลงนโยบายที่มีการพูดถึงโครงการใหญ่ๆ รัฐบาลปีเศษๆทำเมกกะโปรเจกบางคนบอกไม่สมควร นายโฆษิต กล่าวว่า ที่เรารับนโยบายจากนายกรัฐมนตรีภารกิจเรามี 2 อย่าง 1.ให้งานเดินต่อไป 2.วางรากฐาน ตอนนี้เราคงต้องขอเวลาสักนิดเพื่อที่จะกำหนดรากฐานว่าเราจะทำอะไร เพราะแผนต่างๆมันมีเยอะ นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายต่างๆให้เราไปช่วยกันดู ตรงไหนพร้อมเพียงใด                 เมื่อถามว่า ฑูตอังกฤษพูดว่าเศรษฐกิจพอเพียงจะไปได้หรือกับโลกสมัยใหม่ นายโฆษิต กล่าวว่า โดยส่วนตัวได้มีโอกาสรับทราบและได้รับเกียรติจากท่านฑูตที่มาพบและได้ติดต่อไปอีก 2-3 ประเทศ ก็เป็นโอกาสอันดีที่จะได้คุยกัน ตนเรียนไปว่าเราถือเอาความพอดีและความมีเหตุผลและเราอยากคุยกันและมีข้อตกลงหรือข้อสรุปที่มีเหตุผลและได้ข้อสรุปร่วมกัน คิดว่าท่านฑูตเหล่านั้นก็เข้าใจว่าภารกิจของเรา เราอยากทำไม่ให้เกิดปัญหาที่หลัง                เมื่อถามว่า กฎอัยการศึกจะเลิกได้เมื่อไร พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับความร่วมมือ อย่างที่เรียนแล้วในเรื่องทางการเมืองถ้าเรามองเห็นภาพเราจะร่วสมมือกันอย่างไรมีความเข้าใจที่จะเดินไปข้างหน้าด้วยกัน ไม่มีเหตุการณ์ต่างๆซึ่งมองดูแล้วอย่างไรเราเรียกกันว่าคลื่นใต้น้ำออกมาประท้วงบ้าง ออกมาทำอะไรต่างๆบ้าง ซึ่งทำให้ฝ่ายความมั่นคงเขาเกิดความระแวงอยู่ตลอดเวลาถ้าไม่มีความทระแวงในส่วนนนี้แล้ว ตนยืนยันเลยว่าอยากจะเลิกให้เร็วที่สุด                เมื่อถามว่า นายกรัฐมนตรีถือศีล 5 เดินทางไปเจรจาความต่างประเทศเสียเปรียบหรือไม่ พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ไม่เสียเปรียบเลย เพราะตนรู้เวลาที่ตนจะพูด พูดในส่วนไหนที่จะเป็นประโยชน์ตรงนี้เป็นส่วนสำคัญหากเราไม่รู้ว่าพูดไปแล้วมันจะเหมาะควรไหม ก็อย่าไปพูด ถ้าเหมาะควรและเห็นว่าจะเกิดประโยชน์ก็พูด                เมื่อถามว่า ผลงานขนาดไหนที่พอใจและคิดว่ารับใช้ชาติสมบูรณ์ พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ที่ตนหวังคือเรื่องการแก้ไขปัญหาทางการเมือง มีการเตรียมการเรื่องกฎ กติกา มารยาททางการเมืองที่จะเป็นใหม่ทำให้เรียบร้อย ตนไม่อยากเรียกว่าร่างรัฐธรรมนูญแล้ว หากตรงนี้ออกมาได้และสถานการณ์ทางภาคใต้ลดความรุนแรงลงมีแนวโน้มในการพัฒนามากขึ้น คิดว่าส่วนนั้นเป็นเป้าที่ตนเองหวัง
ยม นาคสุข "บทเรียนจากความเป็นจริง กับ ศ.ดร.จีระ
คนกรุงเทพฯ : นึกถึงคนภาคกลาง[1]  

ใน 3-4 สัปดาห์ที่ผ่านมา เกิดภัยธรรมชาติใหญ่ในประเทศไทยที่ผมยังไม่ได้พูดถึงคือ ปรากฏการณ์น้ำท่วมใหญ่ในภาคกลางหลายจังหวัด หากไม่มีการผันน้ำไปสู่ทุ่งนาตามจังหวัดต่างๆ เช่น พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี ชัยนาท ถนนในกรุงเทพฯ ก็คงจมน้ำไปตามกัน ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ คุณอภิรักษ์ โกษะโยธิน คงเปิดตำราแทบไม่ทัน
ผมและคณะ จึงมีโอกาสไปเยี่ยม แสดงความห่วงใยชาวต่างจังหวัด และแจกสิ่งของช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม ที่ อบต.สามตุ่ม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีคุณขวัญชัย มหาชื่นใจนายกองค์การบริหารส่วนตำบล กำนันตำบลสามตุ่ม คุณพยอม มหาชื่นใจ ได้ให้การต้อนรับอย่างดี
ปีนี้นับเป็นปีที่ประเทศของเรามีปัญหาอย่างหนัก ซึ่งเกิดขึ้นจาก :
-
ในประเทศเรา มนุษย์เจริญมากขึ้น จึงต้องตัดไม้ทำลายป่า สร้างถนน สร้างบ้านจัดสรร ทำให้ไปกระทบเส้นทางเดินของน้ำ
-
แม่น้ำ คู คลอง ตื้นเขิน ทำให้การไหลของน้ำไม่สะดวก
แต่ผมคิดว่า สิ่งที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือ ปรากฏการณ์โลกร้อน (Global warming) ที่ทำให้อากาศเปลี่ยน จากการที่ผมคุยกับอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ท่านบอกว่า ปัจจุบัน ฝนตกไม่สม่ำเสมอ บางแห่งมาก บางแห่งน้อย อย่างในปีนี้ ฝนตกที่ภาคเหนือตอนล่างมากกว่า เฉลี่ย 27% ทำให้น้ำไหลทะลักมาสู่ภาคกลางมากมาย และที่สำคัญ ฝนที่ตกในภาคกลางเองก็มากกว่าปกติถึง 10% จึงเกิดปัญหา โลกาภิวัตน์ในประเทศไทย ไม่ใช่เรื่องการค้าเสรีหรือการเงินเสรีเท่านั้น แต่เป็นเรื่องภัยธรรมชาติจากโลกที่กระทบเราด้วย จากปรากฏการณ์อากาศไม่ปกติหรือโลกร้อนนั่นเอง
เรื่องนี้ คนไทยน่าจะต้องเอาใจใส่และปรับตัวเองให้เข้าใจว่า อากาศจะมีปัญหามากขึ้น และจะแก้ไขได้ก็ต่อเมื่อทั้งโลกต้องช่วยกัน ขณะนี้น้ำแข็งขั้วโลกกำลังละลาย ซึ่งอาจจะเป็นผลภัยรุนแรง
ผมติดตามเรื่องนี้มาโดยตลอด หากเราคิดว่าปีนี้น้ำท่วมแค่ปีเดียว ปีหน้าก็คงปกติ ซึ่งอาจจะไม่จริงก็ได้ เพราะอากาศของโลกไม่ปกติ และเรามีเวลาที่จะร่วมกันแก้ไขอีกไม่เกิน 15 ปี
จากการอ่านข่าว พบว่ากลุ่มนักวิชาการของอังกฤษได้มีการศึกษา และส่งรายงานไปให้ Tony Blair นายกรัฐมนตรีอังกฤษทราบว่า อย่างช้าที่สุด ภายใน 15 ปี GDP ของโลกจะลดลง 7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ( 7 Trillion US $ ) เพราะการผลิตสินค้าและบริการจะถูกกระทบจากภาวะโลกร้อน ลองคิดดู ประเทศไทยจะจนลง 20% ถ้าเราไม่ทำอะไรภายใน 15 ปี
ลูกศิษย์ผมคือ คุณยม นาคสุข ได้เชิญผมไปฟังสัมมนาของ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ซึ่งได้เตือนประเทศไทยให้หันมาเอาใจใส่ ทำวิจัย ปรับตัว เรื่อง Global warming เพราะมีเวลาเหลืออีกไม่มาก
ผมจึงถือโอกาสเรียนให้ทราบว่า วันจันทร์ที่ 6 พฤศจิกายน ผมจะมีรายการสู่ศตวรรษใหม่ ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 เวลา 14.00-15.00 น. ซึ่งผมได้เชิญอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา คุณศุภฤกษ์ ตันศรีรัตนวงศ์ อธิบดีท่านนี้เป็นผู้มีความรู้ดีมาก และได้ทำงานหลายอย่างเพื่อประชาชน จะมาพูดในรายการ ผมจึงเป็นแนวร่วมกับท่านทำหลายเรื่อง เช่น
-
จะพัฒนาภาวะผู้นำของข้าราชการกรมอุตุนิยมวิทยา ให้เป็นผู้ที่มีความรู้และเป็นผู้นำที่จะทำงานให้ประชาชนได้ประโยชน์
-
จะทำสารคดีสั้น 5 นาที ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 ให้อธิบดีออกรายการเพื่อกระจายข่าว เป็นการเตือนภัยแก่ประชาชน โดยเฉพาะประชาชนที่ยากจนและอยู่ห่างไกลความเจริญในชนบท ให้รับทราบถึงเรื่องภาวะอากาศ ผลกระทบและการปรับตัว
ผมพูดเสมอว่า มนุษย์สร้างความเจริญ แบบไม่มองความสมดุลของธรรมชาติ ทุนแห่งความยั่งยืนของผม ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ เพราะผมต้องการให้โลกน่าอยู่ ให้คนรุ่นหลังได้เห็น ไม่ใช่มีความสะดวกสบายในปัจจุบัน แต่อนาคตไม่ยั่งยืน
การมองความสัมพันธ์ของทรัพยากรธรรมชาติกับทรัพยากรมนุษย์ จึงเป็นเรื่องที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเน้นให้ประชาชนมีความรู้ เดินสายกลาง พอประมาณ ผมจะต้องร่วมมือกับหน่วยงานหลายแห่ง เช่น กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมบรรเทาสาธารณภัย สภาวิจัยแห่งชาติ เป็นต้น เพื่อเตรียมรับมือเรื่องโลกร้อนให้ได้ และจะเริ่มรณรงค์ให้คนไทยตระหนักถึงปัญหานี้
สัปดาห์นี้ ผมมีโอกาสไปร่วมงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติราชพฤกษ์ 2549 ซึ่งจัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติครองราชย์ 60 ปีและเฉลิมฉลองพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ซึ่งผมชอบและชื่นชมมากเพราะ
-
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ควรจะได้แสดงศักยภาพทางการเกษตรอย่างเต็มที่ให้โลกรับทราบ
-
การเกษตรในยุคไร้พรมแดนว่า ให้โลกได้เรียนรู้จากเรา และเราก็เรียนรู้จากโลก เรียกว่า เกษตร พืชสวนไร้พรมแดน
-
เป็นการแสดงอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ท่านทรงเน้นความมุ่งมั่นในการพัฒนาภาคเกษตรของไทยมาโดยตลอดเป็นเวลายาวนานแล้ว เพราะพระองค์ท่านทรงมีวิสัยทัศน์เห็นว่าเป็นจุดที่อยู่รอดของคนไทย
-
ได้มีโครงการที่เน้นเศรษฐกิจพอเพียงและการเกษตรทฤษฎีใหม่หลายโครงการ เพื่อให้คนไทยและชาวต่างประเทศได้ทราบ
-
ต่างชาติกว่า 33 ประเทศ มาจัดพืชสวน มีดอกไม้และพันธุ์ไม้สวยๆ มากมาย และเน้นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติเหล่านั้น ที่หาดูได้ยาก
นับเป็นแหล่งความรู้ที่ดี เพราะพืชสวนที่เป็นพืชเขตร้อน มักจะหาดูได้ยาก และเป็นการแสดงถึงองค์ความรู้ การวิจัยที่จะนำไปสู่มูลค่าเพิ่ม ทางด้านสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว ที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน
ผมประทับใจที่ผู้จัดงานนำเอาแนวคิด 4 เรื่องมาร้อยเรียงกันคือ
-
เกษตร
-
วัฒนธรรม
-
องค์ความรู้
-
และนำไปสู่ความยั่งยืนและการสร้างมูลค่าเพิ่ม
การสร้างหอคำหลวง เป็นศิลปะแบบล้านนา ซึ่งจะเป็น landmark ของชาวเชียงใหม่ต่อไป เป็นการผสมผสานแนวคิด 4 เรื่องที่ผมได้กล่าวไปแล้ว
ผมขอฝาก 2-3 เรื่องไว้ เพื่อที่หลายคนจะได้นำไปเตรียมการสำหรับเยี่ยมชม
-
การไปชมต้องให้เวลาอย่างน้อย 2-3 วัน ดูทั้งกลางวันและกลางคืน
-
ใช้เวลานั่งรถดูภาพรวม เป็นการดูแบบ macro ว่ามีอะไรบ้าง
-
แต่ที่สำคัญ ท่านน่าที่จะเลือกเดินดู และเรียนรู้ว่า เฉพาะในช่วงกลางคืน เมื่อดูแล้ว คิดว่าจะเอาไปทำอะไรให้เกิดประโยชน์ต่อเนื่อง
ผมดีใจที่ทราบว่า รัฐบาลมีโครงการที่จะเก็บไว้เป็นศูนย์การเรียนรู้ถาวรในระยะยาว เพราะครบ 3 เดือนแล้วก็ยังมีประโยชน์มากมาย การสร้างอะไรให้คนไทยกลับมาหา Basics คือภาคเกษตร เป็นเรื่องที่น่าพอใจอย่างยิ่ง
คงจะต้องยอมรับวิสัยทัศน์ (Vision) ของรัฐบาลชุดที่แล้วโดยการนำของนายกฯ ทักษิณ แต่จุดอ่อนคือ มีการใช้จ่ายเงินแบบไม่มีระบบควบคุม และอาจจะไม่โปร่งใส ผมเห็นกลุ่มข้าราชการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน นำโดยคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ไปร่วมงานหลายคน และอาจจะหาข้อมูลเพื่อตรวจสอบว่าใช้เงินถูกต้องหรือไม่ ก็ว่ากันไปตามระบบการตรวจสอบ ซึ่งดีและถูกต้อง
สุดท้าย ผมภูมิใจที่สุดคือ คำถามของคุณนาตยา แวววีระคุปต์ ที่ถามผมในรายการเวทีความคิด ทางสถานีวิทยุ FM 96.5 MHz เมื่อวันพุธที่ 1 พฤศจิกายน ที่ผมรายงานสดมาจากเชียงใหม่ว่า
-
สิ่งที่ทำไปทั้งหมด นอกจากเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระองค์ท่านอย่างสมศักดิ์ศรีแล้ว เกษตรกรไทยระดับรากแก้วได้อะไร
เพราะประชากรไทยกว่า 50% ที่เป็นกระดูกสันหลังของประเทศไทย คือ เกษตรกรนั่นเอง เกษตรกรระดับรากแก้วจะได้อะไรกับงานนี้
ผมชอบคำถามนี้เพราะ การจัดงานครั้งนี้ มีการไป outsource ภาคธุรกิจมาทำ ซึ่งก็ไม่ว่ากัน เพราะภาคธุรกิจ เอกชน อาจจะมีความพร้อม ชำนาญและมีประสบการณ์มากกว่า แต่บางครั้ง ถึงแม้ภาคเอกชนหรือคนชั้นกลางได้ คนระดับรากแก้วก็ควรจะได้ด้วย การตั้งโจทย์ว่า คนรากแก้วได้อะไร จะช่วยกระจายความรู้ไปสู่รากแก้ว
หากถามผม ในเวลานั้นรัฐบาลทักษิณ คิดอะไรจึงทำ
ผมคิดว่ารัฐบาลทักษิณรีบทำ เพราะรีบทำคะแนน แต่ไม่ได้มองผลประโยชน์ระยะยาวมากนัก ฉะนั้นผมจะช่วยคิดต่อว่า คนรากแก้วได้อะไร
จุดอ่อนจุดแรก คือการบริหารจัดการครั้งนี้ ไม่ได้เน้นการกระจายให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากนัก นักวิชาการ องค์การบริหารส่วนตำบล สหกรณ์ ต่างๆ ไม่ค่อยจะได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางมากนัก ส่วนมากจะเป็นงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับภาคเอกชน คล้ายระบบ CEO ของรัฐบาลชุดที่แล้ว
หวังว่าใน 3 เดือนข้างหน้า คงจะมีคนช่วยคิดว่า คนรากแก้วได้อะไรมากขึ้น
ฝากผู้จัดงานไว้ด้วยครับ

 

 จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181  

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ คุณรัตติยา คุณยมนา น้องLotus และท่านผู้อ่านทุกท่าน   

 

 วันนี้ ผมหาความรู้ ทาง Internet เช่นเคย และอ่านบทความบทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่อง คนกรุงเทพฯ : นึกถึงคนภาคกลาง  ผมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม โดยใช้ข้อความข้างล่างนี้ แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความของ ศ.ดร.จีระ ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ     คนกรุงเทพฯ : นึกถึงคนภาคกลาง[1]ใน 3-4 สัปดาห์ที่ผ่านมา เกิดภัยธรรมชาติใหญ่ในประเทศไทยที่ผมยังไม่ได้พูดถึงคือ ปรากฏการณ์น้ำท่วมใหญ่ในภาคกลางหลายจังหวัด หากไม่มีการผันน้ำไปสู่ทุ่งนาตามจังหวัดต่างๆ เช่น พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี ชัยนาท ถนนในกรุงเทพฯ ก็คงจมน้ำไปตามกัน ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ คุณอภิรักษ์ โกษะโยธิน คงเปิดตำราแทบไม่ทัน   เรื่องปัญหาทรัพยากรธรรมชาติน้ำ มีตั้งแต่น้ำท่วม น้ำแล้ง น้ำเสีย ในบ้านเราเป็นปัญหาที่มีมาในประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน นี่ถ้าเกิดในญี่ปุ่น เราคงได้เห็นเขาจัดการอย่างเป็นระบบเช่นปัญหาแผ่นดินไหว ซึ่งญี่ปุ่นสามารถจัดการได้เป็นอย่างดี   ญี่ปุ่นมีการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง  คนอ่อนแอ คนโกง คือคนที่ทำลายประเทศ ญี่ปุ่นมีการวางแผนพัฒนาประเทศโดยเน้นปัจจัยความเข้มแข็งในการทำงานเพื่อชีวิต เพื่อชาติ เน้นความสำคัญในการฝึกและพัฒนาขีดความสามารถของมนุษย์ทุกรูปแบบ   และเน้นสอนให้คนญี่ปุ่น มีความซื่อสัตย์ ขยัน กล้าหาญ รักความสะอาด ความมีวินัย รักธรรมชาติ ควบคุมอารมณ์ได้ ที่สำคัญคือการรักการอ่านและศิลปะวัฒนะธรรม ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ดีในการกู้วิกฤตชาติและทรัพยากร รวมทั้งการสร้างสมทุนต่าง ๆ ของประเทศ รวมทั้งทุนมนุษย์   ปัญหาเรื่องน้ำที่มีอยู่ในบ้านเรา น่าจะเป็นคำตอบได้ว่า คนไทยมีลักษณะแตกต่างจากคนญี่ปุ่นอย่างไร  และเราควรนำเอาจุดแข็งของเขามาบูรณาการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในการบริหรประเทศและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของไทยหรือไม่ อย่างไร  บ้านเราอยู่ในทำเลดี ในประวัติศาสตร์ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ไม่มีภัยธรรมชาติ ทำให้เราขาดความกระตือรือร้นจนถึงปัจจุบัน ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ว น้ำเสีย ยังเคียงคู่อยู่กับวิถีชีวิตไทย   อย่างไรก็ตามผลกระทบจากโลกาภิวัตน์ ทำให้สภาพแวดล้อมของโลกเปลี่ยนไป เรากำลังเผชิญกับปัญหาโลกร้อน อุณหภูมิของโลกเปลี่ยนไป มีผลกระทบกับสิ่งมีชีวิตบนโลกมากขึ้น น้ำแข็งขั้วโลกละลาย น้ำทะเลจะสูงขึ้น แผ่นดินไหวมีมากขึ้น แผ่นดินเลื่อนมีมากขึ้นทั่วโลก  ปัญหาน้ำท่วมในบ้านเราครั้งนี้ ผมเชื่อว่าส่วนหนึ่งมีผลมาจากปัญหาสภาวะโลกร้อนขึ้น น้ำทะเลสูง ฝนตกไม่ต้องตามฤดูกาล น่าจะเป็นสัญญาณเตือนภัยให้เราทราบว่าในอนาคต เราอาจจะพบปัญหาใหญ่หลวงกว่านี้ ในเรื่องน้ำ  ถึงเวลานั้นต่อให้ผันน้ำไปสู่ทุ่งนาตามจังหวัดต่างๆ เช่น พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี ชัยนาทฯ ก็ตาม กรุงเทพฯอาจหนีไม่พ้นปัญหาใหญ่เรื่องน้ำท่วมได้ หากผู้เกี่ยวข้องไม่มีมาตรการป้องกันเชิงรุก ปล่อยให้ปัญหาเป็นเรื่องธรรมชาติ ไม่มีการจัดการเรื่องน้ำอย่างเป็นระบบ อย่างจริงจัง ความเดือดร้อนอย่างใหญ่หลวงจะเกิดขึ้นกับคนไทย  รัฐบาลควรสนับสนุนให้มีการทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง และคนไทยทุกระดับควรกระตือรือร้นปรับตัว เตรียมพร้อมเผชิญปัญหา พวกองค์กรอิสระ ที่มีพลัง มีการประท้วง ชุมนุมกันที่ผ่านมา ก็น่าจะใช้พลังที่มีอยู่มาขับเคลื่อนสิ่งเหล่านี้ ครับ ส่งเสริมให้รัฐมีการนโยบายสาธารณะที่ชัดเจนในเรื่องนี้ และเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ  
ผมและคณะ จึงมีโอกาสไปเยี่ยม แสดงความห่วงใยชาวต่างจังหวัด และแจกสิ่งของช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม ที่ อบต.สามตุ่ม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีคุณขวัญชัย มหาชื่นใจนายกองค์การบริหารส่วนตำบล กำนันตำบลสามตุ่ม คุณพยอม มหาชื่นใจ ได้ให้การต้อนรับอย่างดี
 สิ่งที่ ศ.ดร.จีระ ออกไปช่วยเหลือ เยี่ยมชาวต่างจังหวัดที่ประสบภัยน้ำท่วม เป็นสิ่งที่ดี น่าสรรเสริญยกย่อง และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูกศิษย์ ทั้ง ป.โท และ ป.เอก ผมและเพื่อน ที่เรียน ป.เอก ขอส่งกำลังใจมาให้ ศ.ดร.จีระ ความดีที่อาจารย์ทำให้กับสังคม ขอให้ย้อนกลับมาหาอาจารย์และทีมงาน ครับ  หากเป็นไปได้ ผมปรารถนาที่จะเห็นหน่วยงานรัฐ องค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง ให้การสนับสนุนกิจกรรมของอาจารย์ ที่อาจารย์ทำเป็นงานอาสาสมัคร เหมือนกับที่ ศ.ดร.ป๋วย อื้งภากรณ์ ได้เคยสร้างแนวทางและได้ทำ เป็นตัวอย่างจนเกิดโครงการบัณฑิตอาสาสมัคร ขึ้นมาที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ถึงแม้อาจารย์จะมีเครือข่าย ทุนทางสังคมอยู่ในต่างจังหวัดสูง ถ้าอาจารย์จะไปเยี่ยมชาวบ้านที่ต่างจังหวัด ในภาคอีสาน ผมขอแนะนำอีกช่องทางหนึ่ง คือ อาจารย์อาจจะประสานไปที่สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร เพื่อให้ทางสำนักฯแจ้ง บัณฑิตอาสาสมัคร ให้คอยอำนวยความสะดวกให้อาจารย์ สำนักบัณฑิตอาสาสมัครมีนักศึกษาในอดีตและปัจจุบันกระจายอยู่เกือบทุกจังหวัดในภาคอีสาน ซึ่งพวกนี้จะรู้จักชาวบ้าน ผู้นำหมู่บ้านเป็นอย่างดี  
แต่ผมคิดว่า สิ่งที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือ ปรากฏการณ์โลกร้อน (Global warming) ที่ทำให้อากาศเปลี่ยน จากการที่ผมคุยกับอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ท่านบอกว่า ปัจจุบัน ฝนตกไม่สม่ำเสมอ บางแห่งมาก บางแห่งน้อย อย่างในปีนี้ ฝนตกที่ภาคเหนือตอนล่างมากกว่า เฉลี่ย 27% ทำให้น้ำไหลทะลักมาสู่ภาคกลางมากมาย และที่สำคัญ ฝนที่ตกในภาคกลางเองก็มากกว่าปกติถึง 10% จึงเกิดปัญหา โลกาภิวัตน์ในประเทศไทย ไม่ใช่เรื่องการค้าเสรีหรือการเงินเสรีเท่านั้น แต่เป็นเรื่องภัยธรรมชาติจากโลกที่กระทบเราด้วย จากปรากฏการณ์อากาศไม่ปกติหรือโลกร้อนนั่นเอง
 ประเด็นนี้ ทำให้ประชาชน ครู เด็กนักเรียน เข้าใจคำว่า โลกาภิวัตน์มากขึ้น เวลาเราพูดถึงโลกาภิวัตน์ ก็จะคิดแค่ การค้าระหว่างประเทศ การสื่อสาร การลงทุน FTAฯ แต่เราพูดถึงปัญหาภัยธรรมชาติในระดับโลกภิวัตน์น้อยมาก ตรงนี้เป็นประโยชน์ที่ ครู อาจารย์สามารถนำไปยกตัวอย่างเรื่อง โลกาภิวัตน์ให้นักเรียนประถม มัธยม หรือแม้แต่ในมหาวิทยาลัยได้เรียนรู้ เป็นอย่างดี   
ผมติดตามเรื่องนี้มาโดยตลอด หากเราคิดว่าปีนี้น้ำท่วมแค่ปีเดียว ปีหน้าก็คงปกติ ซึ่งอาจจะไม่จริงก็ได้ เพราะอากาศของโลกไม่ปกติ และเรามีเวลาที่จะร่วมกันแก้ไขอีกไม่เกิน 15 ปี
คนไทยส่วนใหญ่คิดอย่างนี้มานานครับ ปัญหาเรื่องน้ำมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา บ้านทรงไทยจึงมีใต้ถุนสูง ยกสูง มีเรือประจำบ้าน แต่ปัจจุบัน บ้านคนไทยเลียนแบบฝรั่ง ไม่มีใต้ทุนสูง ไม่ยกสูง เป็นบ้านชั้นเดียวติดดินก็มีมาก ไม่มีเรือประจำบ้าน แต่มีรถยนต์แทน   เมื่อน้ำมาจึงพบปัญหาเดือดร้อนกัน และเราเคยชินกับการคิดสั้น ๆ ไม่คิดไกล ไม่คิดถึงปัญหาภัยธรรมชาติที่มีผลกระทบมาจากโลกาภิวัตน์ เพราะโลกาภิวัตน์เพิ่งมาเยือน เพิ่งมีผลกระทบให้เห็นไม่นานมานี้ ถ้าคนไทยตื่นตัวและหาทางป้องกัน ก็จะรอดพ้นกับความเสียหายที่จะเกิดขึ้น   ผมเชื่อว่าปัญหาน้ำท่วมจะมีมากขึ้นกว่าที่ผ่าน ๆ มาอย่างแน่นอนครับ  ก็ขอให้เตรียมการณ์รองรับปัญหานี้กันให้ดี  เพราะว่า ปัญหาน้ำท่วมไม่ใช้เกิดขึ้นเฉพาะประเทศไทยเท่านั้น ถ้าย้อนดูข่าวเกี่ยวกับภัยธรรมชาติในสองปีที่ผ่านมา จะพบว่ามีผลกระทบไปทั่งโลก การเปลี่ยนแปลงธรรมชาติของโลก ที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหว น้ำท่วม สึนามิ ทอร์นาโดฯลฯ นั้น รัฐบาลจะต้องศึกษาและรู้เท่าทัน และต้องร่วมกับกลุ่มประเทศในโลก กลุ่ม APEC ฯลฯ นานาประเทศต้องพร้อมทั้งให้ความร่วมมือบางเรื่องและคัดค้านบางเรื่องกับกลุ่มพลังโลก ที่มีผลกระทบต่อการกำหนดนโยบายโลก เช่น·        กลุ่มมหาอำนาจปกป้องผลประโยชน์ของตน ·        กลุ่มตลาดโลก·        กลุ่มก่อการร้ายสากล·        ภาวะผู้นำโลก ·        กลุ่มประเทศที่ผลิตและมีอาวุธนิวเคลียร์·        กลุ่มคอรัปชั่นระดับโลกฯลฯ  กลุ่มต่าง ๆ เหล่านี้ มีผลต่อหายนะ และความสงบสุขของโลก ซึ่งรัฐบาลไทยเราควรรู้เท่าทัน เพื่อนำพาประเทศไทยให้อยู่รอดได้ อย่างยั่งยืน ตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง   การดำเนินการบริหารประเทศตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงมิใช่เป็นการบริหารแค่พอมีพอกินในประเทศเท่านั้น แต่ต้องบริหารให้ประเทศอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน สมดุลย์ภายใต้กระแสและผลกระทบของโลกาภิวัตน์ และการกำหนดนโยบายโลก ขององค์การสหประชาชาติ และกลุ่มประเทศต่างๆ    จากการอ่านข่าว พบว่ากลุ่มนักวิชาการของอังกฤษได้มีการศึกษา และส่งรายงานไปให้ Tony Blair นายกรัฐมนตรีอังกฤษทราบว่า อย่างช้าที่สุด ภายใน 15 ปี GDP ของโลกจะลดลง 7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ( 7 Trillion US $ ) เพราะการผลิตสินค้าและบริการจะถูกกระทบจากภาวะโลกร้อน ลองคิดดู ประเทศไทยจะจนลง 20% ถ้าเราไม่ทำอะไรภายใน 15 ปี
ลูกศิษย์ผมคือ คุณยม นาคสุข ได้เชิญผมไปฟังสัมมนาของ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ซึ่งได้เตือนประเทศไทยให้หันมาเอาใจใส่ ทำวิจัย ปรับตัว เรื่อง Global warming เพราะมีเวลาเหลืออีกไม่มาก
  ขอบคุณ ศ.ดร.จีระ ที่กล่าวถึงผมในบทความนี้ ผมเป็นคนไทยที่รักชาติบ้านเมือง และห่วงใยประชาชนที่ยากไร้ ด้อยโอกาส ในชนบทที่ยากจน การนำเรื่องนี้ มาเรียนให้อาจารย์ทราบ เพราะอาจารย์มีอุดมการณ์มีจิตอาสาพัฒนาชาติและมีทุนทางสังคมสูง จึงคิดว่าจะเป็นประโยชน์แก่คนส่วนใหญ่ และผมเชื่อว่าอาจารย์คงไม่อยู่เฉยถ้าทราบข่าวความหายนะที่อาจจะเกิดขึ้นกับชาวโลก และคนไทย  ขอบคุณ ศ.ดร.จีระ อีกครั้งที่ให้ความสนใจในเรื่อง Global warming และคิดต่อที่จะทำเพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวม   นอกจากนี้ แนวคิด ของ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา เกี่ยวกับการพัฒนาเยาวชนของชาติก็น่าสนใจมาก ดร.อาจอง ท่านทำโรงเรียนในฝัน มีการฝึกและพัฒนาจิตและนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปสอนและใช้กับเด็กนักเรียนด้วย ผมคิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาของไทย ด้วยเช่นกัน   
ผมจึงถือโอกาสเรียนให้ทราบว่า วันจันทร์ที่ 6 พฤศจิกายน ผมจะมีรายการสู่ศตวรรษใหม่ ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 เวลา 14.00-15.00 น. ซึ่งผมได้เชิญอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา คุณศุภฤกษ์ ตันศรีรัตนวงศ์ อธิบดีท่านนี้เป็นผู้มีความรู้ดีมาก และได้ทำงานหลายอย่างเพื่อประชาชน จะมาพูดในรายการ ผมจึงเป็นแนวร่วมกับท่านทำหลายเรื่อง
  รายการนี้ น่าสนใจเหมือนกับรายการวิทยุคลื่นความคิด FM. 96.5 เป็นรายการประเทืองปัญญา ถ้าติดตามชมหรือฟังรายการแล้ว คิดตามคิดต่อยอดจะเกิดความรู้ เกิดทุนทางปัญญา จึงขอเชิญชวนท่านผู้อ่านติดตามรายการของ ศ.ดร.จีระ รายละเอียดกำหนดรายการต่าง ๆ ของ ศ.ดร.จีระ ผมได้ประชาสัมพันธ์ไว้ตอนท้ายของ Blog นี้ 
ผมพูดเสมอว่า มนุษย์สร้างความเจริญ แบบไม่มองความสมดุลของธรรมชาติ ทุนแห่งความยั่งยืนของผม ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ เพราะผมต้องการให้โลกน่าอยู่ ให้คนรุ่นหลังได้เห็น ไม่ใช่มีความสะดวกสบายในปัจจุบัน แต่อนาคตไม่ยั่งยืน
การมองความสัมพันธ์ของทรัพยากรธรรมชาติกับทรัพยากรมนุษย์ จึงเป็นเรื่องที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเน้นให้ประชาชนมีความรู้ เดินสายกลาง พอประมาณ ผมจะต้องร่วมมือกับหน่วยงานหลายแห่ง เช่น กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมบรรเทาสาธารณภัย สภาวิจัยแห่งชาติ เป็นต้น เพื่อเตรียมรับมือเรื่องโลกร้อนให้ได้ และจะเริ่มรณรงค์ให้คนไทยตระหนักถึงปัญหานี้  เรื่อง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ในการเรียนการสอน ระดับมหาวิทยาลัย ควรให้มีวิชาทีว่าด้วย ความสัมพันธ์ของทรัพยากรธรรมชาติกับทรัพยากรมนุษย์ ด้วยครับ ให้ถือว่าเป็น นวัตกรรมด้านการเรียนการสอนวิชานี้   เพราะที่ผ่านมาเรามัวแต่ไปพูดเรื่องการสรรหา คัดเลือก อบรมฯ  สิ่งเหล่านี้ไม่ยั่งยืน เมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป เทคนิคเหล่านี้ย่อมต้องเปลี่ยนไป การเรียนการสอน ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ควรต้องร่างหลักสูตรกันใหม่ ไม่ควรมัวแต่ลอกตำราฝรั่ง ครับ  ผมดีใจที่ทางนิด้า จัดให้มีการเรียนการสอน วิชา เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนา  และการเป็นวิทยากรเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง และเปิดโอกาสให้คนภายนอกได้เข้าไปร่วมเรียนอย่างเป็นระบบ และยังเปิดโอกาสให้นักศึกษาปริญญาเอก เข้าไปร่วมฟังได้ด้วย เป็นวิชาที่ไม่ได้ลอกตำราฝรั่งแต่เอาแนวคิดของพ่อหลวงของเรามาจัดให้มีการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ และถ้ามีการจัดการที่ดี ต่อไปเราอาจจะเป็นศูนย์การเรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียง ของโลก ให้ฝรั่งมาเรียนรู้เราบ้าง   ส่วนเรื่องการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกฯ ที่ ศ.ดร.จีระ เขียนมา ผมยังไม่มีอะไรต่อยอดมากนัก เพราะยังไม่ได้มีโอกาสไป อย่างไรก็ตามผมเห็นด้วยที่รัฐ ควรทบทวนให้เกิดประโยชน์กับประชาชนระดับรากแก้ว ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ด้วย เช่น การเผยแพร่ภาพของงานทางสถานีวิทยุโทรทัศน์เป็นระยะ ๆ การนำพันธุ์พืชสวนโลกที่มีประโยชน์ต่อการเกษตร รวมทั้งแนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ กระจายไปสู่เกษตรกรที่ยากไร้ ตามชนทบ อย่างเป็นระบบ หรือการที่ผู้ว่าฯแต่ละจังหวัด จะใช้งบประมาณบางส่วน จัดตัวแทนชุมชนในชนบท มาทัศนศึกษาอย่างมีเป้าหมายและตัวชี้วัดความสำเร็จที่ชัดเจน

ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์ช่อง 11 ชื่อรายการสู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และ รายการ เศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ทุกวันเวลา 22.40 น. 22.45 น.นอกจากนี้ ยังออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/  เชิญท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ       ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน               

ยม

 

นักศึกษาปริญญาเอก 

 

รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎบัณฑิต 

 

[email protected]

 081-9370144
ยม นาคสุข "วิเคราะห์บทความ บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง คนกรุงเทพฯ : นึกถึงคนภาคกลาง"(จัดย่อหน้าใหม่)

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ คุณรัตติยา คุณยมนา น้องLotus และท่านผู้อ่านทุกท่าน   

 

นื่องจากระบบในBlog นี้ ไม่เอื้อให้จัดย่อหน้าได้สะดวกนัก ผมได้พยายามจัดย่อหน้าใหม่ และปรับปรุงบางส่วนตามเนื้อหาตอนท้ายนี้ครับ

 วันนี้ ผมหาความรู้ ทาง Internet เช่นเคย และอ่านบทความบทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่อง คนกรุงเทพฯ : นึกถึงคนภาคกลาง  ผมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม โดยใช้ข้อความข้างล่างนี้ แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความของ ศ.ดร.จีระ ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ   

  

คนกรุงเทพฯ : นึกถึงคนภาคกลาง[1]

3-4 สัปดาห์ที่ผ่านมา เกิดภัยธรรมชาติใหญ่ในประเทศไทยที่ผมยังไม่ได้พูดถึงคือ ปรากฏการณ์น้ำท่วมใหญ่ในภาคกลางหลายจังหวัด หากไม่มีการผันน้ำไปสู่ทุ่งนาตามจังหวัดต่างๆ เช่น พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี ชัยนาท ถนนในกรุงเทพฯ ก็คงจมน้ำไปตามกัน ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ คุณอภิรักษ์ โกษะโยธิน คงเปิดตำราแทบไม่ทัน  

 เรื่องปัญหาทรัพยากรธรรมชาติน้ำ มีตั้งแต่น้ำท่วม น้ำแล้ง น้ำเสีย ในบ้านเราเป็นปัญหาที่มีมาในประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน นี่ถ้าเกิดในญี่ปุ่น เราคงได้เห็นเขาจัดการอย่างเป็นระบบเช่นปัญหาแผ่นดินไหว ซึ่งญี่ปุ่นสามารถจัดการได้เป็นอย่างดี   

ญี่ปุ่นมีการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง  คนอ่อนแอ คนโกง คือคนที่ทำลายประเทศ ญี่ปุ่นมีการวางแผนพัฒนาประเทศโดยเน้นปัจจัยความเข้มแข็งในการทำงานเพื่อชีวิต เพื่อชาติ เน้นความสำคัญในการฝึกและพัฒนาขีดความสามารถของมนุษย์ทุกรูปแบบ   

ญี่ปุ่นแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจังโดยเน้นสอนให้คนญี่ปุ่น มีความซื่อสัตย์ ขยัน กล้าหาญ รักความสะอาด ความมีวินัย รักธรรมชาติ ควบคุมอารมณ์ได้ ที่สำคัญคือการรักการอ่านและศิลปะวัฒนะธรรม ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ดีในการกู้วิกฤตชาติและทรัพยากร รวมทั้งการสร้างสมทุนต่าง ๆ ของประเทศ รวมทั้งทุนมนุษย์   

ปัญหาเรื่องน้ำที่มีอยู่ในบ้านเรา น่าจะเป็นคำตอบได้ว่า คนไทยมีลักษณะแตกต่างจากคนญี่ปุ่นอย่างไร  และเราควรนำเอาจุดแข็งของเขามาบูรณาการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในการบริหรประเทศและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของไทยหรือไม่ อย่างไร  

บ้านเราอยู่ในทำเลดี ในประวัติศาสตร์ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ไม่มีภัยธรรมชาติ ทำให้เราขาดความกระตือรือร้นจนถึงปัจจุบัน ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ว น้ำเสีย ยังเคียงคู่อยู่กับวิถีชีวิตไทย   

อย่างไรก็ตามผลกระทบจากโลกาภิวัตน์ ทำให้สภาพแวดล้อมของโลกเปลี่ยนไป เรากำลังเผชิญกับปัญหาโลกร้อน อุณหภูมิของโลกเปลี่ยนไป มีผลกระทบกับสิ่งมีชีวิตบนโลกมากขึ้น น้ำแข็งขั้วโลกละลาย น้ำทะเลจะสูงขึ้น แผ่นดินไหวมีมากขึ้น แผ่นดินเลื่อนมีมากขึ้นทั่วโลก  

ปัญหาน้ำท่วมในบ้านเราครั้งนี้ ผมเชื่อว่าส่วนหนึ่งมีผลมาจากปัญหาสภาวะโลกร้อนขึ้น น้ำทะเลสูง ฝนตกไม่ต้องตามฤดูกาล น่าจะเป็นสัญญาณเตือนภัยให้เราทราบว่าในอนาคต เราอาจจะพบปัญหาใหญ่หลวงกว่านี้

ในเรื่องปัญหาน้ำท่วม หากผู้เกี่ยวข้องไม่มีมาตรการป้องกันเชิงรุก ปล่อยให้ปัญหาเป็นเรื่องธรรมชาติ ไม่มีการจัดการเรื่องน้ำอย่างเป็นระบบ อย่างจริงจัง ความเดือดร้อนอย่างใหญ่หลวงจะเกิดขึ้นกับคนไทย ถึงเวลานั้นต่อให้ผันน้ำไปสู่ทุ่งนาตามจังหวัดต่างๆ เช่น พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี ชัยนาทฯ ก็ตาม กรุงเทพฯอาจหนีไม่พ้นปัญหาใหญ่อย่างแน่นอน 

รัฐบาลควรสนับสนุนให้มีการทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง และคนไทยทุกระดับควรกระตือรือร้นปรับตัว เตรียมพร้อมเผชิญปัญหา พวกองค์กรอิสระ ที่มีพลัง มีการประท้วง ชุมนุมกันที่ผ่านมา ก็น่าจะใช้พลังที่มีอยู่มาขับเคลื่อนสิ่งเหล่านี้ ครับ ส่งเสริมให้รัฐมีการนโยบายสาธารณะที่ชัดเจนในเรื่องนี้ และเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ  


ผมและคณะ จึงมีโอกาสไปเยี่ยม แสดงความห่วงใยชาวต่างจังหวัด และแจกสิ่งของช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม ที่ อบต.สามตุ่ม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีคุณขวัญชัย มหาชื่นใจนายกองค์การบริหารส่วนตำบล กำนันตำบลสามตุ่ม คุณพยอม มหาชื่นใจ ได้ให้การต้อนรับอย่างดี  

สิ่งที่อาจารย์ทำเป็นงานอาสาสมัคร เหมือนกับที่ ศ.ดร.ป๋วย อื้งภากรณ์ ได้เคยสร้างแนวทางและได้ทำ เป็นตัวอย่างจนเกิดโครงการบัณฑิตอาสาสมัคร ขึ้นมาที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  

ถึงแม้อาจารย์จะมีเครือข่าย ทุนทางสังคมอยู่ในต่างจังหวัดสูง ถ้าอาจารย์จะไปเยี่ยมชาวบ้านที่ต่างจังหวัด ในภาคอีสาน ผมขอแนะนำอีกช่องทางหนึ่ง คือ อาจารย์อาจจะประสานไปที่สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร เพื่อให้ทางสำนักฯแจ้ง บัณฑิตอาสาสมัคร ให้คอยอำนวยความสะดวกให้อาจารย์ ได้อีกทางหนึ่ง

สำนักบัณฑิตอาสาสมัครมีนักศึกษาในอดีตและปัจจุบันกระจายอยู่เกือบทุกจังหวัดในภาคอีสาน ซึ่งพวกนี้จะรู้จักชาวบ้าน ผู้นำหมู่บ้านเป็นอย่างดี  

สิ่งที่ ศ.ดร.จีระ ออกไปช่วยเหลือ เยี่ยมชาวต่างจังหวัดที่ประสบภัยน้ำท่วม เป็นสิ่งที่ดี น่าสรรเสริญยกย่อง และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูกศิษย์ ทั้ง ป.โท และ ป.เอก ผมและเพื่อน ที่เรียน ป.เอก ขอส่งกำลังใจมาให้ ศ.ดร.จีระ ความดีที่อาจารย์ทำให้กับสังคม ขอให้ย้อนกลับมาหาอาจารย์และทีมงาน ครับ 

หากเป็นไปได้ ผมปรารถนาที่จะเห็นหน่วยงานรัฐ องค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง ให้การสนับสนุนกิจกรรมของอาจารย์


แต่ผมคิดว่า สิ่งที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือ ปรากฏการณ์โลกร้อน (Global warming) ที่ทำให้อากาศเปลี่ยน จากการที่ผมคุยกับอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ท่านบอกว่า ปัจจุบัน ฝนตกไม่สม่ำเสมอ บางแห่งมาก บางแห่งน้อย อย่างในปีนี้ ฝนตกที่ภาคเหนือตอนล่างมากกว่า เฉลี่ย 27% ทำให้น้ำไหลทะลักมาสู่ภาคกลางมากมาย และที่สำคัญ ฝนที่ตกในภาคกลางเองก็มากกว่าปกติถึง 10% จึงเกิดปัญหา โลกาภิวัตน์ในประเทศไทย ไม่ใช่เรื่องการค้าเสรีหรือการเงินเสรีเท่านั้น แต่เป็นเรื่องภัยธรรมชาติจากโลกที่กระทบเราด้วย จากปรากฏการณ์อากาศไม่ปกติหรือโลกร้อนนั่นเอง  

ประเด็นนี้ สามารถทำให้ประชาชน ครู เด็กนักเรียน เข้าใจคำว่า "โลกาภิวัตน์" ได้มากขึ้น เวลาเราพูดถึงโลกาภิวัตน์ ก็จะคิดแค่ การค้าระหว่างประเทศ การสื่อสาร การลงทุน FTAฯ แต่เราพูดถึงปัญหาภัยธรรมชาติในระดับโลกภิวัตน์น้อยมาก

ประเด็นนี้เป็นประโยชน์ที่ ครู อาจารย์สามารถนำไปยกตัวอย่างเรื่อง โลกาภิวัตน์ให้นักเรียนประถม มัธยม หรือแม้แต่ในมหาวิทยาลัยได้เรียนรู้ เป็นอย่างดี   


ผมติดตามเรื่องนี้มาโดยตลอด หากเราคิดว่าปีนี้น้ำท่วมแค่ปีเดียว ปีหน้าก็คงปกติ ซึ่งอาจจะไม่จริงก็ได้ เพราะอากาศของโลกไม่ปกติ และเรามีเวลาที่จะร่วมกันแก้ไขอีกไม่เกิน 15 ปี

คนไทยส่วนใหญ่คิดอย่างนี้มานานครับ ปัญหาเรื่องน้ำมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา บ้านทรงไทยจึงมีใต้ถุนสูง ยกสูง มีเรือประจำบ้าน แต่ปัจจุบัน บ้านคนไทยเลียนแบบฝรั่ง ไม่มีใต้ทุนสูง ไม่ยกสูง เป็นบ้านชั้นเดียวติดดินก็มีมาก ไม่มีเรือประจำบ้าน แต่มีรถยนต์แทน   เมื่อน้ำมาจึงพบปัญหาเดือดร้อนกัน

และคนไทยบางส่วนเคยชินกับการคิดสั้น ๆ ไม่คิดไกล ไม่คิดถึงปัญหาภัยธรรมชาติที่มีผลกระทบมาจากโลกาภิวัตน์ เพราะโลกาภิวัตน์เพิ่งมาเยือน เพิ่งมีผลกระทบให้เห็นไม่นานมานี้ ถ้าคนไทยตื่นตัวและหาทางป้องกัน ก็จะรอดพ้นกับความเสียหายที่จะเกิดขึ้น  

ผมเชื่อว่าปัญหาน้ำท่วมจะมีมากขึ้นกว่าที่ผ่าน ๆ มาอย่างแน่นอนครับ  ก็ขอให้เตรียมการณ์รองรับปัญหานี้กันให้ดี  เพราะว่า ปัญหาน้ำท่วมไม่ใช้เกิดขึ้นเฉพาะประเทศไทยเท่านั้นถ้าย้อนดูข่าวเกี่ยวกับภัยธรรมชาติในสองปีที่ผ่านมา จะพบว่ามีผลกระทบไปทั่วโลก 

การเปลี่ยนแปลงธรรมชาติของโลก ที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหว น้ำท่วม สึนามิ ทอร์นาโดฯลฯ นั้น รัฐบาลและประชาชนทั้งโลกจะต้องศึกษาและรู้เท่าทัน และต้องร่วมกับกลุ่มประเทศในโลก กลุ่ม APEC ฯลฯ ในการแก้ไขและป้องกันปัญหา

นานาประเทศต้องพร้อมทั้งให้ความร่วมมือบางเรื่องและคัดค้านบางเรื่องกับกลุ่มพลังโลก ที่มีผลกระทบต่อการกำหนดนโยบายโลก เช่น

  • กลุ่มมหาอำนาจปกป้องผลประโยชน์ของตน
  • กลุ่มตลาดโลก
  • กลุ่มก่อการร้ายสากล
  • ภาวะผู้นำโลก
  • กลุ่มประเทศที่ผลิตและมีอาวุธนิวเคลียร์
  • กลุ่มคอรัปชั่นระดับโลกฯลฯ  

กลุ่มต่าง ๆ เหล่านี้ มีผลต่อหายนะ และความสงบสุขของโลก ซึ่งรัฐบาลไทยเราควรรู้เท่าทัน เพื่อนำพาประเทศไทยให้อยู่รอดได้ อย่างยั่งยืน ตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง   

การดำเนินการบริหารประเทศตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงมิใช่เป็นการบริหารแค่พอมีพอกินในประเทศเท่านั้น แต่ต้องบริหารให้ประเทศอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน สมดุลย์ภายใต้กระแสและผลกระทบของโลกาภิวัตน์ และการกำหนดนโยบายโลก ขององค์การสหประชาชาติ และกลุ่มประเทศต่างๆ    

จากการอ่านข่าว พบว่ากลุ่มนักวิชาการของอังกฤษได้มีการศึกษา และส่งรายงานไปให้ Tony Blair นายกรัฐมนตรีอังกฤษทราบว่า อย่างช้าที่สุด ภายใน 15 ปี GDP ของโลกจะลดลง 7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ( 7 Trillion US $ ) เพราะการผลิตสินค้าและบริการจะถูกกระทบจากภาวะโลกร้อน ลองคิดดู ประเทศไทยจะจนลง 20% ถ้าเราไม่ทำอะไรภายใน 15 ปี
ลูกศิษย์ผมคือ คุณยม นาคสุข ได้เชิญผมไปฟังสัมมนาของ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ซึ่งได้เตือนประเทศไทยให้หันมาเอาใจใส่ ทำวิจัย ปรับตัว เรื่อง Global warming เพราะมีเวลาเหลืออีกไม่มาก 
  

ขอบคุณ ศ.ดร.จีระ ที่กล่าวถึงผมในบทความนี้ และให้ความกรุณากับผมในการสนับสนุนเรื่องการเรียนรู้ตลอดมา  ผมเป็นคนไทยที่รักชาติบ้านเมือง และห่วงใยประชาชนที่ยากไร้ ด้อยโอกาส ในชนบทที่ยากจน เช่นเดียวกับอาจารย์ และพี่น้องชาวไทยอีกหลายท่าน

การนำเรื่องนี้ มาเรียนให้อาจารย์ทราบ เพราะอาจารย์มีอุดมการณ์มีจิตอาสาพัฒนาชาติและมีทุนทางสังคมสูง จึงคิดว่าจะเป็นประโยชน์แก่คนส่วนใหญ่ และผมเชื่อว่าอาจารย์คงไม่อยู่เฉยถ้าทราบข่าวความหายนะที่อาจจะเกิดขึ้นกับชาวโลก และคนไทย  ครับ

ผมขอขอบคุณ ศ.ดร.จีระ อีกครั้งหนึ่ง ที่อาจารย์ให้ความสนใจในเรื่อง Global warming ตามที่ผมเรียนให้ทราบและะคิดต่อที่จะทำเพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวม   

นอกจากนี้ แนวคิด ของ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา เกี่ยวกับการพัฒนาเยาวชนของชาติก็น่าสนใจมาก ดร.อาจอง ท่านทำโรงเรียนในฝัน มีการฝึกและพัฒนาจิตและนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปสอนและใช้กับเด็กนักเรียนด้วย ผมคิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาของไทย ด้วยเช่นกัน หากมีโอกาสน่าจะถ่ายทำสารคดีมาประกอบรายการเศรษบกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ครับ


ผมจึงถือโอกาสเรียนให้ทราบว่า วันจันทร์ที่ 6 พฤศจิกายน ผมจะมีรายการสู่ศตวรรษใหม่ ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 เวลา 14.00-15.00 น. ซึ่งผมได้เชิญอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา คุณศุภฤกษ์ ตันศรีรัตนวงศ์ อธิบดีท่านนี้เป็นผู้มีความรู้ดีมาก และได้ทำงานหลายอย่างเพื่อประชาชน จะมาพูดในรายการ ผมจึงเป็นแนวร่วมกับท่านทำหลายเรื่อง   

รายการนี้ น่าสนใจเหมือนกับรายการวิทยุคลื่นความคิด FM. 96.5 เป็นรายการประเทืองปัญญา ถ้าติดตามชมหรือฟังรายการแล้ว คิดตามคิดต่อยอดจะเกิดความรู้ เกิดทุนทางปัญญา จึงขอเชิญชวนท่านผู้อ่านติดตามรายการของ ศ.ดร.จีระ รายละเอียดกำหนดรายการต่าง ๆ ของ ศ.ดร.จีระ ผมได้ประชาสัมพันธ์ไว้ตอนท้ายของ Blog นี้ 


ผมพูดเสมอว่า มนุษย์สร้างความเจริญ แบบไม่มองความสมดุลของธรรมชาติ ทุนแห่งความยั่งยืนของผม ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ เพราะผมต้องการให้โลกน่าอยู่ ให้คนรุ่นหลังได้เห็น ไม่ใช่มีความสะดวกสบายในปัจจุบัน แต่อนาคตไม่ยั่งยืน การมองความสัมพันธ์ของทรัพยากรธรรมชาติกับทรัพยากรมนุษย์ จึงเป็นเรื่องที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเน้นให้ประชาชนมีความรู้ เดินสายกลาง พอประมาณ ผมจะต้องร่วมมือกับหน่วยงานหลายแห่ง เช่น กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมบรรเทาสาธารณภัย สภาวิจัยแห่งชาติ เป็นต้น เพื่อเตรียมรับมือเรื่องโลกร้อนให้ได้ และจะเริ่มรณรงค์ให้คนไทยตระหนักถึงปัญหานี้  

เรื่อง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ในการเรียนการสอน ระดับมหาวิทยาลัย ควรให้มีวิชาทีว่าด้วย ความสัมพันธ์ของทรัพยากรธรรมชาติกับทรัพยากรมนุษย์ ด้วยครับ ให้ถือว่าเป็น นวัตกรรมด้านการเรียนการสอนวิชานี้   

เพราะที่ผ่านมาเรามัวแต่ไปพูดเรื่องการสรรหา คัดเลือก อบรมฯ  สิ่งเหล่านี้ไม่ยั่งยืน เมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป เทคนิคเหล่านี้ย่อมต้องเปลี่ยนไป การเรียนการสอน ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ควรต้องร่างหลักสูตรกันใหม่ ไม่ควรมัวแต่ลอกตำราฝรั่ง ครับ  

ผมดีใจที่ทางนิด้า จัดให้มีการเรียนการสอน วิชา เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนา  และการเป็นวิทยากรเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง และเปิดโอกาสให้คนภายนอกได้เข้าไปร่วมเรียนอย่างเป็นระบบ และยังเปิดโอกาสให้นักศึกษาปริญญาเอก เข้าไปร่วมฟังได้ด้วย เป็นวิชาที่ไม่ได้ลอกตำราฝรั่งแต่เอาแนวคิดของพ่อหลวงของเรามาจัดให้มีการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ และถ้ามีการจัดการที่ดี ต่อไปเราอาจจะเป็นศูนย์การเรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียง ของโลก ให้ฝรั่งมาเรียนรู้เราบ้าง   

ส่วนเรื่องการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกฯ ที่ ศ.ดร.จีระ เขียนมา ผมยังไม่มีอะไรที่จะ comment หรือต่อยอดมากนัก เพราะยังไม่มีโอกาสได้ไปดูงานของจริง

อย่างไรก็ตามผมเห็นด้วยที่รัฐ ควรทบทวนให้เกิดประโยชน์กับประชาชนระดับรากแก้ว ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ด้วย เช่น การเผยแพร่ภาพของงานทางสถานีวิทยุโทรทัศน์เป็นระยะ ๆ การนำพันธุ์พืชสวนโลกที่มีประโยชน์ต่อการเกษตร รวมทั้งแนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ กระจายไปสู่เกษตรกรที่ยากไร้ ตามชนทบ อย่างเป็นระบบ หรือการที่ผู้ว่าฯแต่ละจังหวัด จะใช้งบประมาณบางส่วน จัดตัวแทนชุมชนในชนบท มาทัศนศึกษาอย่างมีเป้าหมายและตัวชี้วัดความสำเร็จที่ชัดเจน ครับ

ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์ช่อง 11 ชื่อรายการสู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และ รายการ เศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ทุกวันเวลา 22.40 น. 22.45 น.นอกจากนี้ ยังออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/  เชิญท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ       

 

ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน               

ยม

 

นักศึกษาปริญญาเอก 

 

รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎบัณฑิต 

 

[email protected]

 081-9370144
กราบเรียน ศ.ดร. จีระ และ สวัสดีผู้อ่านทุกท่านวันนี้ดิฉันได้อ่านบทความบทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระทาง Internet ซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่อง  คนกรุงเทพฯ : นึกถึงคนภาคกลาง  อาจารย์ได้กล่าวถึงเรื่องต่างๆ ดังนี้ แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม1. อาจารย์และคณะมีโอกาสไปเยี่ยม แสดงความห่วงใยชาวต่างจังหวัด และแจกสิ่งของช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม   ที่ อบต.สามตุ่ม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ดิฉันมีความชื่นชมภาวะความเป็นผู้นำ(Leadership)ของอาจารย์เป็นอย่างมากค่ะ แสดงถึง การนำของผู้นำที่ดี กล่าวได้ว่าผู้นำไม่ใช่ผู้ที่จะนำคนอื่นแต่ผู้นำที่ดีคือ ผู้ที่คนอื่นอยากเดินตาม จากภารกิจที่อาจารย์ได้แสดง ถึงความมีเมตตา ความเอื้อเฟื้อ ความเสียสละ เป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจ แสดงถึงการเป็นแบบอย่างที่ดีและควรนำไปปฏิบัติอย่างยิ่งใน ในสังคมไทยของเรา  การศึกษาไทยรวมถึงการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา ในปัจจุบัน ควรมีการปลูกฝังและแทรกเนื้อหาเข้าไว้ในหลักสูตรใน โดยเฉพาะเรื่องของคุณธรรมและจริยธรรม ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้กับเพื่อนมนุษย์ เพื่อสังคมไทยของเราจะได้มีความสมานฉันท์ อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข  2. อาจารย์ได้กล่าวถึง ปรากฏการณ์โลกร้อน (Global warming) ที่ทำให้อากาศร้อนและ อาจารย์ได้พบข้อมูลจากการอ่านข่าว พบว่ากลุ่มนักวิชาการของอังกฤษได้มีการศึกษา และส่งรายงานไปให้ Tony Blair นายกรัฐมนตรีอังกฤษทราบว่า อย่างช้าที่สุด ภายใน 15 ปี GDP ของโลกจะลดลง 7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ( 7 Trillion US $ ) เพราะการผลิตสินค้าและบริการจะถูกกระทบจากภาวะโลกร้อน ลองคิดดู ประเทศไทยจะจนลง 20% ถ้าเราไม่ทำอะไรภายใน 15 ปี 3. อาจารย์ได้รับเชิญจาก คุณยม นาคสุข ซึ่งเป็นลูกศิษย์อาจารย์ไปฟังสัมมนาของ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ซึ่งได้เตือนประเทศไทยให้หันมาเอาใจใส่ ทำวิจัย ปรับตัว เรื่อง Global warming มีรายการสู่ศตวรรษใหม่ ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 เวลา 14.00-15.00 น. ซึ่งผมและได้เชิญอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา คุณศุภฤกษ์ ตันศรีรัตนวงศ์ จะมาพูดในรายการ ผมจึงเป็นแนวร่วมกับท่านทำหลายเรื่อง เช่น
-
 จะพัฒนาภาวะผู้นำของข้าราชการกรมอุตุนิยมวิทยา ให้เป็นผู้ที่มีความรู้และเป็นผู้นำที่จะทำงาน          ให้ประชาชนได้ประโยชน์
-
จะทำสารคดีสั้น 5 นาที ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 ให้อธิบดีออกรายการเพื่อกระจายข่าว เป็นการเตือนภัยแก่ประชาชน โดยเฉพาะประชาชนที่ยากจนและอยู่ห่างไกลความเจริญในชนบท ให้รับทราบถึงเรื่องภาวะอากาศ ผลกระทบและการปรับตัว ผลกระทบจากเทคโนโลยีในยุคโลกาภิวัตน์ ทำให้สภาพแวดล้อมของโลกเปลี่ยนไป เรากำลังเผชิญกับปัญหาโลกร้อน อุณหภูมิของโลกเปลี่ยนไป มีผลกระทบกับสิ่งมีชีวิตบนโลกมากขึ้นภาวะโลกร้อน ทั่วโลกมีภาวะตื่นตัว ดังเช่น การประชุมระดับโลกกันที่ประเทศอาร์เจนตินาก่อนหน้านี้ประชุมกันที่ญี่ปุ่น สาระสำคัญ คือ1. ก๊าซโอโซนกำลังถูกทำลายอย่างมาก จนทำให้โลกร้อนขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง ปัญหาสำคัญคือ การปล่อยก๊าซ พิษต่างๆ จากโรงงานอุตสาหกรรม การตัดไม้ทำลายป่า เป็นต้น ที่สำคัญการใช้สารฟลูออโรคาร์บอน หรือรู้จักกันว่าสารซีเอฟซีสารนี้ มีการประชุมเพื่อป้องกัน ชั้นบรรยากาศโอโซนเรียกว่า พิธีสารมอนทรีออล ว่าด้วยการยกเลิกการใช้สารทำลายชั้นบรร-ยากาศโอโซ ในต่างประเทศเองส่วนใหญ่เลิกใช้สารซีเอฟซีกันหมดแล้ว แต่ประเทศไทยยังใช้อยู่ในปริมาณร้อยละ 1 ของสารซีเอฟซีที่ใช้ทั่ว โลก ทราบว่าปีหน้าไทยเองจะยกเลิกเช่นกัน มีการพบว่า ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณครึ่งหนึ่ง เกิดจากการตัดไม้ ทำลายป่าบนพื้นที่ประมาณ 6 แสนไร่ การเพิ่มปริมาณขยะทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น เนื่องจากการทับถมของขยะมากขึ้น ทำให้คาร์บอนไดออกไซด์ถูกกำจัด2. จากปรากฏการณ์นี้ ผลที่จะทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เพราะก้อนน้ำแข็งขนาดมหึมาจากขั้วโลกกำลังละลายลงมา สู่ทวีปยุโรป และดินแดนที่มนุษย์ อาศัยอยู่ วิเคราะห์กันว่าบริเวณของโลกที่อยู่ในระดับต่ำมากๆ อาจจะ สูญหายไปจากแผนที่โลกเพราะน้ำท่วมหมดสิ้น มนุษย์เป็นตัวทำลายโอโซน แต่จะบอกว่าใคร ปล่อยมากปล่อยน้อย ไม่ใช่สาระสำคัญ แต่ประเด็นอยู่ที่ทุกคนต้องช่วยกันดูแลบ้านของตัวเองว่า จุดไหนที่ปล่อยสารพิษทำลายโอโซนต้องช่วยกันทำให้ลดลง เพื่อจะได้อยู่ในโลกนี้ได้ยาวนาน โอโซนถือเป็นชั้นบรรยากาศที่จำเป็นสำหรับมนุษย์และสรรพ สิ่ง หากพวกเรายังคงทำลายอากาศ บริสุทธิ์ ที่เรียกว่าบรรยากาศชั้น โอโซนแล้ว โลกใบนี้จะเกิดวิบัติต่อสรรพสิ่งทันตาเห็น ดังพระราชดำรัสของในหลวงที่ทรงตรัสว่า ปริมาณน้ำที่ท่วมในครั้งนี้มีปริมาณเท่าเดิม แต่ตัวกั้นและตัวดูดซับคือป่าไม้นั้นถูกทำลายไปมาก จึงทำให้เกิดวิกฤตน้ำท่วมอย่างร้ายแรงในครั้งนี้  ควรที่จะหนาแนวทางแก้ไขและป้องกัน 3. คนไทยทุกระดับควรกระตือรือร้นปรับตัว เตรียมพร้อมเผชิญปัญหา รัฐบาลควรสนับสนุนให้มีการทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง และ มีการนโยบายสาธารณะที่ชัดเจนในเรื่องนี้ และเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ  หาทางแนวทางแก้ไขป้องกันจากผลกระทบดังกล่าว4. อาจารย์มีโอกาสไปร่วมงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติราชพฤกษ์ 2549 ซึ่งจัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติครองราชย์ 60 ปีและเฉลิมฉลองพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ จ.เชียงใหม่โดยอาจารย์ได้ กล่าวว่า ชอบและชื่นชมมากเพราะ
-
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ควรจะได้แสดงศักยภาพทางการเกษตรอย่างเต็มที่ให้โลกรับทราบ
-
การเกษตรในยุคไร้พรมแดนว่า ให้โลกได้เรียนรู้จากเรา และเราก็เรียนรู้จากโลก เรียกว่า เกษตร พืชสวนไร้พรมแดน
-
เป็นการแสดงอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ท่านทรงเน้นความมุ่งมั่นในการพัฒนาภาคเกษตรของไทยมาโดยตลอดเป็นเวลายาวนานแล้ว เพราะพระองค์ท่านทรงมีวิสัยทัศน์เห็นว่าเป็นจุดที่อยู่รอดของคนไทย
-
ได้มีโครงการที่เน้นเศรษฐกิจพอเพียงและการเกษตรทฤษฎีใหม่หลายโครงการ เพื่อให้คนไทยและชาวต่างประเทศได้ทราบ
-
ต่างชาติกว่า 33 ประเทศ มาจัดพืชสวน มีดอกไม้และพันธุ์ไม้สวยๆ มากมาย และเน้นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติเหล่านั้น ที่หาดูได้ยาก
นับเป็นแหล่งความรู้ที่ดี เพราะพืชสวนที่เป็นพืชเขตร้อน มักจะหาดูได้ยาก และเป็นการแสดงถึงองค์ความรู้ การวิจัยที่จะนำไปสู่มูลค่าเพิ่ม ทางด้านสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว ที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน
ประทับใจที่ผู้จัดงานนำเอาแนวคิด 4 เรื่องมาร้อยเรียงกันคือ
-
เกษตร
-
วัฒนธรรม
-
องค์ความรู้
-
และนำไปสู่ความยั่งยืนและการสร้างมูลค่าเพิ่ม
และการสร้างหอคำหลวง เป็นศิลปะแบบล้านนา ซึ่งจะเป็น landmark ของชาวเชียงใหม่ต่อไป เป็นการผสมผสานแนวคิด 4 เรื่องที่อาจารย์ได้กล่าวไว้
 
5. อาจารย์กล่าวถึงแนวคิดของรัฐบาลมีโครงการที่จะเก็บไว้เป็นศูนย์การเรียนรู้ถาวรในระยะยาว เพราะครบ 3 เดือนแล้วก็ยังมีประโยชน์มากมาย การสร้างอะไรให้คนไทยกลับมาหา Basics คือภาคเกษตร เป็นเรื่องที่น่าพอใจอย่างยิ่ง การยอมรับวิสัยทัศน์ (Vision) ของรัฐบาลชุดที่แล้วโดยการนำของนายกฯ ทักษิณ แต่จุดอ่อนคือ มีการใช้จ่ายเงินแบบไม่มีระบบควบคุม และอาจจะไม่โปร่งใส ผมเห็นกลุ่มข้าราชการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน นำโดยคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ไปร่วมงานหลายคน และอาจจะหาข้อมูลเพื่อตรวจสอบว่าใช้เงินถูกต้องหรือไม่ ก็ว่ากันไปตามระบบการตรวจสอบ ซึ่งดีและถูกต้อง
และได้พูดถึงคำถามของคุณนาตยา แวววีระคุปต์ ที่ถามในรายการเวทีความคิด ทางสถานีวิทยุ FM 96.5 MHz เมื่อวันพุธที่ 1 พฤศจิกายน ดิฉันได้รับฟังในวันนั้นด้วย รายงานสดมาจากเชียงใหม่ว่า จุดอ่อนจุดแรก คือการบริหารจัดการครั้งนี้ ไม่ได้เน้นการกระจายให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากนัก นักวิชาการ องค์การบริหารส่วนตำบล สหกรณ์ ต่างๆ ไม่ค่อยจะได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางมากนัก ส่วนมากจะเป็นงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับภาคเอกชน คล้ายระบบ CEO ของรัฐบาลชุดที่แล้ว การจัดงาน ในครั้งนี้นับเป็นแหล่งความรู้ที่ดีเป็นแหล่งความรู้ของโลก และเป็นการแสดงถึงองค์ความรู้ การวิจัยที่จะนำไปสู่มูลค่าเพิ่ม ทางด้านสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว ที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน โดยเฉพาะด้านเกษตรกรรม ดิฉันมีเห็นด้วยในแนวความคิดที่ว่าการบริหารจัดการครั้งนี้ ไม่ได้เน้นการกระจายให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากนัก นักวิชาการ องค์การบริหารส่วนตำบล สหกรณ์ ต่างๆ ไม่ค่อยจะได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางมากนัก ส่วนมากจะเป็นงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับภาคเอกชน คล้ายระบบ CEO ของรัฐบาลชุดที่แล้ว  รัฐ ควรทบทวนให้เกิดประโยชน์กับประชาชนระดับรากแก้ว ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ด้วย เช่น การเผยแพร่ภาพของงานทางสถานีวิทยุโทรทัศน์เป็นระยะ ๆ การนำพันธุ์พืชสวนโลกที่มีประโยชน์ต่อการเกษตร รวมทั้งแนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ กระจายไปสู่เกษตรกรที่ยากไร้ ตามชนทบ อย่างเป็นระบบ หรือการที่ผู้ว่าฯแต่ละจังหวัด จะใช้งบประมาณบางส่วน จัดตัวแทนชุมชนในชนบท มาทัศนะศึกษาอย่างมีเป้าหมายและตัวชี้วัดความสำเร็จที่ชัดเจน โดยให้องค์การบริหารส่วนตำบล อบต. ในจังหวัดและภูมิภาคต่างๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาในการนำแนวความคิดที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในท้องถิ่นสร้างองค์ความรู้ให้กับเกษตรกรและการทำการเกษตร ก็จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง ถือเป็นการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมในสังคมไทย  เป็นนวตกรรมการเกษตร ที่จะเกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืน และมีคุณค่าเพราะประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมมีความได้เปรียบทางด้านการผลิต และทรัพยากรธรรมชาติ เกษตรกรไทยมีความรู้ ผลผลิตก็เพิ่มคุณภาพก็ตามมา รัฐบาลควรให้การสนับสนุนอย่างจริงจังและจริงใจ เพราะจะทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีกำลังการผลิตที่สำคัญและมีคุณภาพของโลกได้เป็นการได้เปรียบการแข่งขันในด้านการส่งออกในภาคเกษตรกรรม  วันนี้เป็นวันเปิดเทอมและมีการเรียนการสอนในวิชาการคิดและการตัดสินใจ เป็นวันแรก ของนักศึกษาภาคปกติ ม.ราชภัฎสวนสุนันทา  ดิฉันมีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งในการถ่ายทอดแหล่งเรียนรู้ แหล่งใหม่ให้กับนักศึกษาโดยให้พวกเขาเหล่านั้นศึกษานอกตำรา เป็นการสร้าง network และ ถือได้ว่าเป็น นวตกรรมการสอน การเรียนรู้แบบใหม่ ให้สอดคล้องกับยุคโลกาภิวัฒน์ ให้กับนักศึกษา ที่เรียนในวิชาการคิดและการตัดสินใจ ได้เกิดกระบวนการคิด รู้เท่าทันกระแสโลก คิดเป็น แก้ปัญหาเป็น โดยอาจเรียกได้ว่า เป็น การเรียนรู้บทเรียนจากความจริงในชีวิตประจำวันอย่างยั่งยืน จากงานของ ศ.ดร.จีระ และแหล่งต่างๆ มีรายละเอียดดังนี้ค่ะ             รายการโทรทัศน์ช่อง 11 ชื่อรายการสู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และ รายการเศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ทุกวันเวลา 22.40 น. – 22.45 น. ทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. รายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/   โดยให้นักศึกษารวมถึงตัวอาจารย์ผู้สอนได้ติดตามศึกษาหาความรู้ จากงานของ ศ.ดร.จีระ และแหล่งต่างๆ ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเป็นสะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนทางสังคม และ การฝึกให้เป็นนักคิด ถือได้ว่าเป็นการสร้าง Knowledge Worker ในอนาคต เป็นเยาวชนที่มีคุณภาพ ให้กับประเทศชาติได้อีกแนวทางหนึ่งซึ่งรัฐบาลควรที่จะสนับสนุนและจัดรายการTV ดีๆที่มีสาระความรู้ให้กับประชาชนได้มีนิสัยใฝ่รู้มากขึ้น ถือเป็นการสร้างโอกาสในการศึกษาอีกทางหนึ่งภูมิใจที่ได้เป็นลูกศิษย์ ศ.ดร.จีระค่ะ อาจารย์ได้ทำให้อาจารย์มหาวิทยาลัยตัวเล็กๆ ได้เกิดแนวความคิดจุดประกายให้นักศึกษามีนิสัยใฝ่รักการเรียนรู้  นอกเหนือตำรา การปลูกฝังความรู้คู่คุณธรรมให้กับอนาคตของชาติค่ะด้วยความเคารพอย่างสูงและสวัสดีค่ะ                       A’Lotusนักศึกษาปริญญาเอกรัฐประศาสนศาสตร์
  
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ นิตยสาร Time : ยกย่องกษัตริย์ไทย"

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

เช้าวันนี้ ผมเปิดหาอ่านบทความของอาจารย์จาก เว็ปของ น.ส.พ.แนวหน้า บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เรื่อง นิตยสาร Time : ยกย่องกษัตริย์ไทย ดีใจที่บทความของอาจารย์ ลงบนเว็ปได้ทันตอนเช้า นี้

ผมได้คัดมาวางไว้ใน Blog นี้ เพื่อให้ท่านผูอ่านที่แวะเข้ามาได้เห็นได้ง่าย ขึ้น

ส่วนของการวิเคราะห์ ผมจะนำมาแสดงภายหลัง เนื่องจากเช้านี้ รีบไปสัมมนาเกี่ยวกับ ภาวะผู้นำโลกในหลักสูตร ป.เอก รัฐศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตแต่เช้ามืด

วันนี้จะมีพระมาโปรด มาเรียนด้วย พระท่านเดินทางมาไกลจากโคราช  ตั้งใจว่าจะรีบไปถวายภัตราหารเช้า ทำบุญกับพระท่านก่อน และเพื่อมีเวลาก่อนเริ่มการสัมมนา  สร้างทุนสังคมกับ คณาจารย์และเพื่อน ประมาณช่วงบ่ายจะนำส่วนที่ผมวิเคราะห์ มาแสดงได้ เชิญท่านผู้อ่านทุกท่านอ่านบทความของ ศ.ดร.จีระ ข้างล่างนี้ ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่านยม..................................................... 

นิตยสาร Time : ยกย่องกษัตริย์ไทย[1]

 ต้องยอมรับว่า ปี 2549 ซึ่งเป็นปีที่คนไทยทุกคนได้ร่วมเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เป็นปีแห่งความสุขของคนไทยอย่างแท้จริง หนังสือพิมพ์ Time ฉบับ Asia Edition เล่มล่าสุด ยังสดุดียกย่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอันเป็นที่รักของเราว่า เป็นวีรบุรุษของเอเชีย


การที่หนังสือพิมพ์ต่างประเทศ ยกย่องกษัตริย์ของเรา เขาได้มีการทำวิจัยอย่างรอบคอบ ถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นพระราชกรณียกิจและโครงการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น 60 ปีที่แล้ว ตั้งแต่สมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงเป็นยุวกษัตริย์ และในช่วงนั้น ระบบกษัตริย์ของเอเชียและของโลก ส่วนมากจะไม่มั่นคง แต่เมื่อเหตุการณ์ผ่านไปจนถึงปัจจุบัน พบว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราเปี่ยมไปด้วยพระปรีชาสามารถ นำพาประเทศไทยไปได้อย่างสวยงาม


เช่น การช่วยเหลือประชาชน พระองค์ท่านทรงมีความเพียรและเสียสละเพื่อประชาชนอย่างไม่หยุดยั้งมาตลอดเวลา Time ยังพูดถึงโครงการพัฒนาต่าง ๆ กว่า 3,000 โครงการ ทรงพระราชดำริขึ้นเพื่อประชาชน เพื่อช่วยให้ประชาชนคนไทยอยู่รอดจาก ความผันผวนทางเศรษฐกิจ และโลกาภิวัตน์ อันเป็นที่มาของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


ยิ่งไปกว่านั้น Time ยังได้พูดถึงปัญหาการเมืองที่เป็นวิกฤติใหญ่ 3 ครั้งที่ผ่านมา คือ
- ช่วง 14 ตุลาคม 2516
- ช่วง พฤษภาทมิฬ 2535
- ช่วงปฏิรูปการปกครอง ในปีนี้


พระองค์ท่านได้ทรงบริหารและฝ่าวิกฤติทางการเมือง ได้เหมาะสมกับวัฒนธรรมของคนไทยและสังคมไทย นำพาประเทศรอดพ้นมาได้อย่างประสบความสำเร็จ


เหตุการณ์ระดับโลกเรื่องหนึ่งที่ผมติดตามการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด คือการเลือกตั้งในสหรัฐ ที่หลายคนพูดว่า ปัญหาในปัจจุบันคือ โลกเปลี่ยนแปลงเร็ว และไม่มีอะไรแน่นอน เราจึงต้องทันเหตุการณ์ ทันโลกตลอดเวลา จึงจะปรับตัวให้อยู่ได้อย่างยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกัน ดังเช่นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


เหตุการณ์ของโลกในสัปดาห์นี้ ที่กระทบเราไม่ทางตรง ก็ทางอ้อม คือ การเลือกตั้งระหว่างปีของสหรัฐอเมริกา ถ้าพรรคเดโมแครต ( Democrats Party ) ชนะ ผมคิดว่าสันติภาพในโลก น่าจะดีขึ้น


นับตั้งแต่ เหตุการณ์ 9/11 ที่ผู้ก่อการร้ายถล่มตึก The World Trade เป็นที่รู้กันว่า คนอเมริกันสนับสนุนพรรครีพับลิกัน ( Republican party ) อย่างท่วมท้น ซึ่งเป็นพรรคที่พอใจกับการสู้รบกับฝ่ายตรงข้าม ไม่เน้นการประนีประนอม ค่อนข้างจะออกมาทางขวาจัด อนุรักษ์นิยม และยึดศาสนาเป็นใหญ่ (Evangelists)


อย่างไรก็ตาม ใน 3 ปีที่ผ่านมา ปัญหาสงครามอิรักก็ยังไม่จบสิ้น ยังคงยืดเยื้อต่อไป มีทหารอเมริกันเสียชีวิตมากขึ้นทุกวัน ทำให้คนอเมริกันส่วนมาก ไม่แน่ใจในความสามารถของประธานาธิบดี Bush และพรรคการเมืองของ Bush


สังคมอเมริกาเป็นสังคมที่ใช้ข่าวสารในการตัดสินใจ พื้นฐานประชาชนของเขามีการศึกษาในระดับที่ดี เป็นประชาธิปไตย จึงสามารถเปลี่ยนความนิยมได้อย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ทำให้พรรคเดโมแครต ( Democrats Party ) สามารถครองเสียงในสภาล่างได้ถึง 229 ที่นั่ง จาก 435 ที่นั่ง มากกว่าพรรค Republican ซึ่งได้เพียง 196 ที่นั่ง ซึ่งเป็นการแปรผัน (swing vote) คะแนนถึง 33 ที่นั่ง ยังไม่ประกาศอีก 10 ที่นั่ง ทั้งที่ได้เพิ่มเพียง 15 ที่นั่ง ก็พอที่พรรค Democrats จะมีเสียงข้างมากในสภาล่าง


ในขณะที่สภาสูง มีการแปรผัน (swing vote) คะแนนไปสู่พรรค Democrats ถึง 5-6 ที่นั่ง ทำให้โอกาสที่พรรค Democrats จะครองเสียงส่วนมากได้สำเร็จทั้งสองสภา


ระหว่างที่ผมเขียนต้นฉบับ รัฐมนตรีกลาโหมของสหรัฐ นาย Donald Rumsfeld ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่ง เพื่อรับผิดชอบต่อความพ่ายแพ้ครั้งนี้


เหตุการณ์ครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า ประชาธิปไตยของสหรัฐ มีเหตุมีผล ประชาชนของเขาใช้เหตุผลในการตัดสินใจเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของเขา ทั้งที่พรรค Republican ของ Bush เป็นพรรคของคนรวย มีเงินสนับสนุนมากมาย แต่ก็แพ้อย่างขาดลอย เพราะประชาชนเห็นว่า นโยบายต่างประเทศประสบความล้มเหลว แสดงว่าประชาชนของเขามีการศึกษาดีพอที่จะตัดสินใจ 

 

ผมคิดว่า ประชาธิปไตยของไทยก็เช่นกัน ต้องสร้างให้ประชาชนมีการศึกษา มีเหตุมีผล มีการตัดสินใจด้วยตัวเอง ไม่ใช่ใช้เงินเป็นหลัก มองการพัฒนาที่ยั่งยืน มากกว่าการมองอะไรง่าย ๆ ที่เน้นระยะสั้น


ผมคิดว่า การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ครั้งนี้ น่าจะดูพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทยให้ดี และร่างรัฐธรรมนูญให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมการเมืองของไทย ขณะเดียวกันควรพัฒนาความคิดของระบอบประชาธิปไตยแบบไทย ๆ ให้เกิดจิตสำนึก ให้คนไทยรู้จักหวงแหนและรักสิทธิของตัวเอง ไม่ใช่เห็นแก่ผลประโยชน์ระยะสั้น ผมจะพยายามช่วยในการสร้างคนในชนบทให้เป็นสังคมประชาธิปไตยแบบไทยๆให้มากขึ้น โดยเน้นสังคมการเรียนรู้


สรุปคือ หลายครั้ง เราคิดว่านักกฎหมายกับนักรัฐศาสตร์ จะต้องดูแลเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญ แต่นักการศึกษา นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ นักพัฒนาจิตวิญญาณ นักพัฒนาชุมชน น่าจะเข้ามามีบทบาทในการร่างรัฐธรรมนูญด้วย


หากเป็นไปได้ น่าจะเน้นทฤษฎี 2 R's คือ
- Reality มองความจริงในสังคมไทย และพื้นฐานการศึกษาไทย
- Relevance ให้ตรงประเด็น กำหนดมาตราที่สำคัญให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ที่เกิดขึ้น
ซึ่งหลาย ๆ แนวคิด ( Ideas ) กำลังเกิดขึ้น เช่น
- การกำหนดวาระของนักการเมือง
- การได้มาซึ่งสภาสูงแบบไม่เลือกตั้ง
- นายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง
- บทบาทของข้าราชการประจำในรัฐธรรมนูญ
- บทบาทของการศึกษาในรัฐธรรมนูญ
เหล่านี้เป็นเพียงแนวคิดที่อยากจะฝากให้หลาย ๆ ท่านได้นำไปพิจารณา


สุดท้าย ขอเรียนว่า รายการ "คิดเป็นก้าวเป็น" ของผม ทาง UBC 7 จะหยุดชั่วคราว เพราะทาง UBC มีนโยบายให้ช่อง UBC 7 เป็นสถานีข่าวอย่างเดียว แต่อีกไม่นาน จะกลับมาในช่องสารคดีอีก


ส่วนรายการ "เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์" ยังมีต่อเนื่อง ท่านยังติดตามได้ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 เวลา 22.40-22.45 น. ทุกวันจันทร์ถึงศุกร์


ผมจะพยายามไปเปิดชุมชนการเรียนรู้ตามโรงเรียนต่าง ๆ อย่างเช่น เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง สัปดาห์นี้ ได้ไปเปิดชุมชนการเรียนรู้ถึงโรงเรียนเทพศิรินทร์นนทบุรี ผมคิดว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ในช่วง 1 ปี ก่อนจะมีการเลือกตั้ง ต้องเอาจริงกับการเผยแพร่เศรษฐกิจพอเพียง ให้เกิด critical mass ให้เกิดพลังที่แท้จริง หรืออาจจะเรียกว่า เกิด Tipping point จุดที่จะประสบความสำเร็จ


เพราะถ้ามีการเลือกตั้งใหม่ ภายใน 1 ปี ผมไม่แน่ใจว่า จะทำการเผยแพร่เศรษฐกิจพอเพียงได้สำเร็จเท่าเวลานี้หรือไม่ เพราะการเมืองแบบเลือกตั้ง คงไม่แคล้วประชานิยม ประชาชนไทย ยังคิดไม่เป็น จึงเน้นวัตถุนิยมอย่างมาก และวันนั้นเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงก็จะไม่สำคัญต่อคนไทยต่อไป ต้องช่วยกันครับ เวลามีไม่มากแล้ว

 

จีระ หงส์ลดารมภ์


[email protected]


โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3


โทรสาร 0-2273-0181
 
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ นิตยสาร Time : ยกย่องกษัตริย์ไทย"
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ ช่วงพักการสัมมนา ภาวะผู้นำโลก ผมได้อ่านบทความบทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระจาก Interent ซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่องว่า ในบทความนี้ ศ.ดร. จีระ เขียนเรื่อง นิตยสาร Time : ยกย่องกษัตริย์ไทย    เนื่องจากช่วงบ่าย คอมฯติดขัดจึงทำให้ไม่สามารถ นำข้อมูลลงใน Blog ได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อแก้ไขได้แล้ว ผมได้แสดงความคิดเห็น บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ ตัวอักษรสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ในหนังสือพิมพ์แนวหน้า ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ   ต้องยอมรับว่า ปี 2549 ซึ่งเป็นปีที่คนไทยทุกคนได้ร่วมเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เป็นปีแห่งความสุขของคนไทยอย่างแท้จริง หนังสือพิมพ์ Time ฉบับ Asia Edition เล่มล่าสุด ยังสดุดียกย่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอันเป็นที่รักของเราว่า เป็นวีรบุรุษของเอเชีย
 
ผมดีใจที่ ศ.ดร.จีระ เอาเรื่องที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้รับการกล่าวถึงใน หนังสือพิมพ์ Time ฉบับ Asia Edition เล่มล่าสุด ยังสดุดียกย่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอันเป็นที่รักของเราว่า เป็นวีรบุรุษของเอเชีย มาเขียนให้ประชาชนคนไทย ทราบ  อยากให้รัฐบาลประชาสัมพันธ์เรื่องนี้ให้มาก ๆ พร้อมอธิบายเหตุผล ให้ทราบว่าท่านทรงมีผลงานอะไร อย่างไร จนเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศและได้รับการยกย่องเช่นนี้  และทำรายละเอียดไว้ใน www. ส่งเสริม ให้นักเรียน นักศึกษา ได้เข้าไปศึกษา สำหรับท่านผู้สนใจเกี่ยวกับข่าวนี้ ท่านสามารถหาอ่านได้จาก  http://www.time.com/time/asia/2006/heroes/in_adulyadej.html ) มีข้อความโดยย่อดังนี้   King Bhumibol Adulyadej
Over 60 years, a beloved monarch has used his moral authority to guide Thailand through many crises[1]

As a single shot shattered the stillness of Bangkok's Borompimarn Palace on a steamy June morning in 1946, the land some still called Siam changed forever. Twenty-year-old King Ananda was dead. The manner of his passing—by accident, suicide or murder—endures as Thailand's deepest mystery. The pistol smoke barely had time to clear before the mantle of kingship passed to Ananda's 18-year-old brother, Bhumibol Adulyadej. Some, including a new magazine in Asia named TIME, pondered whether the "gangling, spectacled" teenager could survive the deadly intrigues of a fabled and faraway Oriental land. The odds were against him. All across Southeast Asia, monarchies were being extinguished—kings and princes stripped of power, driven into exile or executed. Yet young Bhumibol steadily grew in stature, not least by launching over 3,000 royal projects to help the poor. Even as a communist insurgency raged, he personally delivered relief to remote villages. Bhumibol also quietly counseled and sometimes openly cajoled governments, always urging them to put public interest first. Having sat on the throne for 60 years, he is the world's longest-reigning monarch. His stewardship has been so masterful that in times of crisis Thais invariably turn to one man: King Bhumibol. Indeed, on two occasions—October 1973 and May 1992—with Thailand descending into chaos, the King, armed only with his moral authority, intervened to end bloodshed. Today, a group of generals has again seized power. They have pledged to give Thailand a fairer and lasting democratic system. Once more, Thailand's people will look to King Bhumibol, trusting him to ensure that the generals keep their promise.  ผมคิดว่าเราในฐานะคนไทย ก็ควรสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ของพระองค์ท่าน เจริญลอยตามฝ่าพระบาท จำลองสิ่งที่ท่านทำ มาสานประโยชน์ ให้เกิดแก่สังคม ชุมชนรอบข้าง  อย่างเช่นที่พระองค์ทรงมุ่งมั่นเป็นแบบอย่างที่ดี สมกับเป็นพ่อหลวงของเรา เราก็ควรเป็นลูกที่ดี สานต่อกิจการของพ่อ และให้ขยายกิจการนี้ต่อถึงรุ่นลูก รุ่นหลาน กิจการของพ่อ กิจการแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน  กิจการเศรษฐกิจพอเพียง  
เหตุการณ์ระดับโลกเรื่องหนึ่งที่ผมติดตามการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด คือการเลือกตั้งในสหรัฐ ที่หลายคนพูดว่า ปัญหาในปัจจุบันคือ โลกเปลี่ยนแปลงเร็ว และไม่มีอะไรแน่นอน เราจึงต้องทันเหตุการณ์ ทันโลกตลอดเวลา จึงจะปรับตัวให้อยู่ได้อย่างยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกัน ดังเช่นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เหตุการณ์ของโลกในสัปดาห์นี้ ที่กระทบเราไม่ทางตรง ก็ทางอ้อม คือ การเลือกตั้งระหว่างปีของสหรัฐอเมริกา ถ้าพรรคเดโมแครต ( Democrats Party ) ชนะ ผมคิดว่าสันติภาพในโลก น่าจะดีขึ้น
นับตั้งแต่ เหตุการณ์ 9/11 ที่ผู้ก่อการร้ายถล่มตึก The World Trade เป็นที่รู้กันว่า คนอเมริกันสนับสนุนพรรครีพับลิกัน ( Republican party ) อย่างท่วมท้น ซึ่งเป็นพรรคที่พอใจกับการสู้รบกับฝ่ายตรงข้าม ไม่เน้นการประนีประนอม ค่อนข้างจะออกมาทางขวาจัด อนุรักษ์นิยม และยึดศาสนาเป็นใหญ่ (Evangelists)
อย่างไรก็ตาม ใน 3 ปีที่ผ่านมา ปัญหาสงครามอิรักก็ยังไม่จบสิ้น ยังคงยืดเยื้อต่อไป มีทหารอเมริกันเสียชีวิตมากขึ้นทุกวัน ทำให้คนอเมริกันส่วนมาก ไม่แน่ใจในความสามารถของประธานาธิบดี Bush และพรรคการเมืองของ Bush
สังคมอเมริกาเป็นสังคมที่ใช้ข่าวสารในการตัดสินใจ พื้นฐานประชาชนของเขามีการศึกษาในระดับที่ดี เป็นประชาธิปไตย จึงสามารถเปลี่ยนความนิยมได้อย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ทำให้พรรคเดโมแครต ( Democrats Party ) สามารถครองเสียงในสภาล่างได้ถึง 229 ที่นั่ง จาก 435 ที่นั่ง มากกว่าพรรค Republican ซึ่งได้เพียง 196 ที่นั่ง ซึ่งเป็นการแปรผัน (swing vote) คะแนนถึง 33 ที่นั่ง ยังไม่ประกาศอีก 10 ที่นั่ง ทั้งที่ได้เพิ่มเพียง 15 ที่นั่ง ก็พอที่พรรค Democrats จะมีเสียงข้างมากในสภาล่าง
ในขณะที่สภาสูง มีการแปรผัน (swing vote) คะแนนไปสู่พรรค Democrats ถึง 5-6 ที่นั่ง ทำให้โอกาสที่พรรค Democrats จะครองเสียงส่วนมากได้สำเร็จทั้งสองสภา
ระหว่างที่ผมเขียนต้นฉบับ รัฐมนตรีกลาโหมของสหรัฐ นาย Donald Rumsfeld ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่ง เพื่อรับผิดชอบต่อความพ่ายแพ้ครั้งนี้
เหตุการณ์ครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า ประชาธิปไตยของสหรัฐ มีเหตุมีผล ประชาชนของเขาใช้เหตุผลในการตัดสินใจเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของเขา ทั้งที่พรรค Republican ของ Bush เป็นพรรคของคนรวย มีเงินสนับสนุนมากมาย แต่ก็แพ้อย่างขาดลอย เพราะประชาชนเห็นว่า นโยบายต่างประเทศประสบความล้มเหลว แสดงว่าประชาชนของเขามีการศึกษาดีพอที่จะตัดสินใจ
  ในเรื่อง การเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐที่มีขึ้นเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ผมขอร่วมแชร์ด้วยดังนี้ครับ การเลือกตั้งของสหรัฐฯ ที่ผ่านมา นอกจากจะมีการเลือกตั้งวุฒิสมาชิกและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ยังมีการเลือกตั้งผู้ว่าการรัฐอีก 36 ที่นั่งด้วย   ซึ่งผลปรากฏว่า พรรคเดโมแครต สามารถได้ผู้ว่าการรัฐเพิ่มขึ้นอีกถึง 6 ที่ โดยครองที่นั่งในผู้ว่าการรัฐได้ทั้งหมด 20 ที่ ทำให้ เดโมแครต กลับมาครองเสียงข้างมากในผู้ว่าการรัฐครั้งแรกในรอบ 12 ปี   ชัยชนะของพรรคเดโมแครตเหนือพรรครีพับลิกัน ในสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ ในการเลือกตั้งกลางเทอมครั้งนี้ ส่งผลให้นางแนนซี เพโลซี ส.ส.หญิงเหล็กจากรัฐแคลิฟอร์เนีย สังกัดพรรคเดโมแครต กลายเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นผู้หญิงคนแรกในประวัติศาสตร์การเมืองสหรัฐไปโดยปริยายตามกลไกทางการเมือง  นางแนนซี เพโลซี ยังจะกลายเป็นบุคคลที่ทรงอำนาจมากที่สุดเป็นอับดับ 3 ของประเทศ รองจากประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีสหรัฐ ตามรัฐธรรมนูญปกครองประเทศอีกด้วย  ผลการเลือกตั้งกลางเทอมครั้งนี้ ยังก่อให้เกิดปฏิกิริยาจากนานาประเทศในโลกมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา โดยส่วนใหญ่แสดงความคิดเห็นไปในทิศทางคล้ายคลึงกันว่า ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากการปฏิเสธทั้งสงครามอิรักและตัวประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิ้ลยู. บุช   คนอเมริกัน ส่วนใหญ่จะแสดงความกังวลต่ออนาคตของการเมืองในสหรัฐอเมริกาเช่นเดียวกัน หลายฝ่ายเรียกร้องให้ผู้นำสหรัฐอเมริการอมชอมกับรัฐสภาที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของพรรคเดโมแครต และเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์ในการจัดการกับวิกฤตการณ์ของโลกเสียใหม่ และคาดหวังว่าผู้นำสหรัฐจะสามารถซึมซับบทเรียนที่คนอเมริกันร่วมกันสอนให้กับ ตัวประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิ้ลยู. บุช    การแพ้การเลือกตั้งแบบขาดลอยและการลาออกจากตำแหน่งของนายโดนัลด์ รัมสเฟลด์ รัฐมนตรีกลาโหม แสดงให้เห็นว่าความขัดแย้งที่ปรากฏอยู่ในสหรัฐอเมริกาขณะนี้ลึกซึ้งมากเพียงใด   นอกจากนี้ ยังแสดงให้เห็นว่า คนอเมริกันเข้าใจสิ่งที่คนทั้งโลกเข้าใจมาก่อนหน้านี้แล้ว คนอเมริกันเพิ่งตระหนัก ว่า ความคลั่งชาตินั้นไม่ใช่การเมืองเลยแสดงปฏิกิริยาตอบโต้ออกมา   ผมคิดว่าสิ่งที่บุชและฝ่ายบริหารของบุชได้บทเรียนไปในวันนี้ก็คือ คุณหลอกใครต่อใครได้ก็แต่เพียงบางครั้ง แต่ไม่สามารถหลอกทุกคนได้ในทุกครั้ง นายฌ็อง-ปิแอร์ ชาปรองตราต์  กล่าวไว้ในที่สุด  นอกจากนี้ เมื่อ จอร์จ ดับเบิลยู. บุช แนะนำ โรเบิร์ต เกตส์ วัย 63 ปีกับผู้สื่อข่าว ในฐานะว่าที่รัฐมนตรีกลาโหมคนใหม่นั้น เขาบอกด้วยว่า "บ็อบ เกตส์" คือ "พลังแห่งความเปลี่ยนแปลง" นั่นสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า วิถีของอเมริกันในอิรักจำต้องเปลี่ยน หลังการเลือกตั้งกลางเทอมหนนี้แน่นอนแล้ว ส่วนที่จะเปลี่ยนอย่างไร เป็นเรื่องที่ควรติดตาม


 ผมคิดว่า ประชาธิปไตยของไทยก็เช่นกัน ต้องสร้างให้ประชาชนมีการศึกษา มีเหตุมีผล มีการตัดสินใจด้วยตัวเอง ไม่ใช่ใช้เงินเป็นหลัก มองการพัฒนาที่ยั่งยืน มากกว่าการมองอะไรง่าย ๆ ที่เน้นระยะสั้น   ในความเห็นของผมคิดว่า การสร้างประชาธิปไตยของไทย ควรต้องมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจน และต่อเนื่อง  นักการเมืองต้องมีส่วนช่วยในการสร้างและพัฒนาประชาธิปไตย ที่ถูกต้องด้วยการสนับสนุนให้คนไทย คนจนส่วนใหญ่ของประเทศ มีความรู้ มีการศึกษา และมีคุณธรรม   
ผมคิดว่า การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ครั้งนี้ น่าจะดูพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทยให้ดี และร่างรัฐธรรมนูญให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมการเมืองของไทย ขณะเดียวกันควรพัฒนาความคิดของระบอบประชาธิปไตยแบบไทย ๆ ให้เกิดจิตสำนึก ให้คนไทยรู้จักหวงแหนและรักสิทธิของตัวเอง ไม่ใช่เห็นแก่ผลประโยชน์ระยะสั้น ผมจะพยายามช่วยในการสร้างคนในชนบทให้เป็นสังคมประชาธิปไตยแบบไทยๆให้มากขึ้น โดยเน้นสังคมการเรียนรู้
  ผมเห็นด้วยกับ ศ.ดร.จีระ เราต้องยอมรับกันว่า ปัญหาชาติบ้านเมือง ของเรา พื้นฐานมาจากปัญหาการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของเรา ยังไม่เข้มแข็ง เมื่อมีการปฏิรูป ปฏิวัติ ก็ควรปฏิวัติการบริหาร และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อย่างจริงจัง  เพราะว่า ทรัพยากรของชาติไทยกำลังจะแพ้เวียดนาม และต่อไปอาจจะแพ้ลาว พม่า กัมภูชา ถ้าเราไม่มียุทธ์ศาสตร์ในเรื่อง การพัฒนาทรัพยากรของชาติ โดยเฉพาะทรัพยากรมนุษย์ ที่ดี วัดผลได้ แผนการสร้างทรัพยากรมนุษย์ เพื่อความมั่นคง ยั่งยืนของชาติ ควรต้องทำอย่างเป็นรูปธรรม คนโง่ คนขี้เกียจ คนไม่มีคุณธรรม จริยธรรมให้หมดไปภายในกี่ปี คนถ้าไม่โง่ ไม่ขี้เกียจ จะไม่จน คนจนจะหมดไปเอง  
 
สุดท้าย ขอเรียนว่า รายการ "คิดเป็นก้าวเป็น" ของผม ทาง UBC 7 จะหยุดชั่วคราว เพราะทาง UBC มีนโยบายให้ช่อง UBC 7 เป็นสถานีข่าวอย่างเดียว แต่อีกไม่นาน จะกลับมาในช่องสารคดีอีก
ส่วนรายการ "เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์" ยังมีต่อเนื่อง ท่านยังติดตามได้ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 เวลา 22.40-22.45 น. ทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ผมจะพยายามไปเปิดชุมชนการเรียนรู้ตามโรงเรียนต่าง ๆ อย่างเช่น เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง สัปดาห์นี้ ได้ไปเปิดชุมชนการเรียนรู้ถึงโรงเรียนเทพศิรินทร์นนทบุรี ผมคิดว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ในช่วง 1 ปี ก่อนจะมีการเลือกตั้ง ต้องเอาจริงกับการเผยแพร่เศรษฐกิจพอเพียง ให้เกิด critical mass ให้เกิดพลังที่แท้จริง หรืออาจจะเรียกว่า เกิด Tipping point จุดที่จะประสบความสำเร็จ เพราะถ้ามีการเลือกตั้งใหม่ ภายใน 1 ปี ผมไม่แน่ใจว่า จะทำการเผยแพร่เศรษฐกิจพอเพียงได้สำเร็จเท่าเวลานี้หรือไม่ เพราะการเมืองแบบเลือกตั้ง คงไม่แคล้วประชานิยม ประชาชนไทย ยังคิดไม่เป็น จึงเน้นวัตถุนิยมอย่างมาก และวันนั้นเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงก็จะไม่สำคัญต่อคนไทยต่อไป ต้องช่วยกันครับ เวลามีไม่มากแล้ว   รายการ เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ เป็นรายการที่มีประโยชน์มาก ผมคิดว่า ศ.ดร.จีระ และทีมงาน น่าจะทำการเผยแพร่ทั้งปี รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ควรร่วมด้วยช่วยกัน จัดทำรายการนี้ มอบให้แก่ปวงชนชาวไทย  เพื่อช่วยให้คนไทยมีความรู้เรื่องนี้มากขึ้น ๆ เพื่อรองรับการเลือกตั้ง เมื่อรัฐบาลชุดปัจจุบันถอนตัวไป รัฐบาลใหม่เข้ามาจะได้มีทรัพยากรของชาติ ที่มีความรู้เรื่องนี้ และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ด้วยแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นกรอบความคิดในการพัฒนาการดำเนินชีวิต  รายการเช่นนี้ ก็ควรมีรูปแบบของรายการที่หลากหลาย สำหรับเด็กประถม เด็กวัยรุ่น คนทำงาน ภาครัฐ ภาคเอกชน ครอบครัว ชุมชน ควรมีหลาย ๆ version เลือกออกอากาศตามเวลาที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย  รัฐบาลน่าเข้ามาช่วยสนับสนุน  เพื่อสนองพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง    การจัดงานตาม HALL ใหญ่ ๆ เกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง รัฐฯก็ทำได้ดี แต่ประโยชน์ที่จะเกิดกับระดับรากแก้ว ยังมีไม่ทั่วถึง ผมเสนอว่ารัฐควรใช้สื่อทีวี รายการทีวี เช่นที่อาจารย์ทำ จัดหลากหลายรูปแบบให้เหมาะกับประชาชนแต่ละกลุ่มเป้าหมาย ให้ถึงชาวบ้านที่ยากจนให้เข้าใจ รัฐจะได้บริหารประเทศชาติได้ดีขึ้น ถ้าทรัพยากรมนุษย์ได้เข้าใจเรื่องเหล่านี้   ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์ช่อง 11 ชื่อรายการสู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และ รายการเศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ทุกวันเวลา 22.40 น. – 22.45 น.  นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/   เชิญเพื่อน น.ศ. และน้อง ๆ ป.เอก ท่านผู้สนใจ รวมทั้งคุณ Lotus คุณประจวบ ก็ดีติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ         ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน                  ยม    นักศึกษาปริญญาเอก    รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎบัณฑิต    [email protected]   081-9370144
กราบเรียน ศ.ดร. จีระ และ สวัสดีผู้อ่านทุกท่านวันนี้ดิฉันได้อ่านบทความ “บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ” ทาง Internet ซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่อง นิตยสาร Time : ยกย่องกษัตริย์ไทย อาจารย์ได้กล่าวถึงเรื่องต่างๆ + ความคิดเห็นของดิฉันเพิ่มเติมดังนี้ค่ะ 1. หนังสือพิมพ์ Time ฉบับ Asia Edition เล่มล่าสุด ยังสดุดียกย่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอันเป็นที่รักของเราว่า เป็นวีรบุรุษของเอเชียTime ยังพูดถึงโครงการพัฒนาต่าง ๆ กว่า 3,000 โครงการ ทรงพระราชดำริขึ้นเพื่อประชาชน เพื่อช่วยให้ประชาชนคนไทยอยู่รอดจาก ความผันผวนทางเศรษฐกิจ และโลกาภิวัตน์ อันเป็นที่มาของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ยิ่งไปกว่านั้น Time ยังได้พูดถึงปัญหาการเมืองที่เป็นวิกฤติใหญ่ 3 ครั้งที่ผ่านมา คือ - ช่วง 14 ตุลาคม 2516 - ช่วง พฤษภาทมิฬ 2535 - ช่วงปฏิรูปการปกครอง ในปีนี้ พระองค์ท่านได้ทรงบริหารและฝ่าวิกฤติทางการเมือง ได้เหมาะสมกับวัฒนธรรมของคนไทยและสังคมไทย นำพาประเทศรอดพ้นมาได้อย่างประสบความสำเร็จ *ดิฉันขออนุญาตอาจารย์เผยแร่ความรู้ในเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ดังนี้ค่ะ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญา ( philosophy ) ของพระบาทสมเด็จประเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมานานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนวิกฤติการทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี " เศรษฐกิจพอเพียง แปลว่า Sufficiency Economy… คำว่า Sufficiency Economy นี้ไม่มีในตำราเศรษฐกิจ.จะมีได้อย่างไร เพราะว่าเป็นทฤษฎีใหม่… Sufficiency Economy นั้น ไม่มีในตำราเพราะหมายความว่าเรามีความคิดใหม่ …และโดยที่ท่านผู้เชี่ยวชาญสนใจ ก็หมายความว่าเราก็สามารถที่จะไปปรับปรุง หรือไปใช้หลักการ เพื่อที่จะให้เศรษฐกิจของประเทศและของโลกพัฒนาดีขึ้น. " พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 23 ธันวาคม 2542 หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน ดังนี้ • กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สมารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อ ความมั่นคง และ ความยั่งยืน ของการพัฒนา • คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน • คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กัน ดังนี้ • ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ • ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ • การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล • เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ • เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ • เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต • แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี " ถ้าไม่มี เศรษฐกิจพอเพียง เวลาไฟดับ … จะพังหมด จะทำอย่างไร. ที่ที่ต้องใช้ไฟฟ้าก็ต้องแย่ไป. … หากมี เศรษฐกิจพอเพียง แบบไม่เต็มที่ ถ้าเรามีเครื่องปั่นไฟ ก็ให้ปั่นไฟ หรือถ้าขั้นโบราณกว่า มืดก็จุดเทียน คือมีทางที่จะแก้ปัญหาเสมอ. … ฉะนั้น เศรษฐกิจพอเพียง นี้ ก็มีเป็นขั้น ๆ แต่จะบอกว่า เศรษฐกิจพอเพียง นี้ ให้พอเพียงเฉพาะตัวเองร้อยเปอร์เซ็นต์ นี่เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้. จะต้องมีการแลกเปลี่ยน ต้องมีการช่วยกัน. …… พอเพียงในทฤษฎีหลวงนี้ คือให้สามารถที่จะดำเนินงานได้. " พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนพรรษา 23 ธันวาคม 2542 ที่มา : ข้อมูลจาก คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสามารถติดตาม รายการ“เศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ทุกวันเวลา 22.40 น. – 22.45 น. ของ ศ.ดร.จีระ ฯ ค่ะ 2. เหตุการณ์ระดับโลกเรื่องหนึ่งที่อาจารย์ติดตามการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด คือการเลือกตั้งในสหรัฐ ที่หลายคนพูดว่า ปัญหาในปัจจุบันคือ โลกเปลี่ยนแปลงเร็ว และไม่มีอะไรแน่นอน เราจึงต้องทันเหตุการณ์ ทันโลกตลอดเวลา จึงจะปรับตัวให้อยู่ได้อย่างยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกัน ดังเช่นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เหตุการณ์ของโลกในสัปดาห์นี้ ที่กระทบเราไม่ทางตรง ก็ทางอ้อม คือ การเลือกตั้งระหว่างปีของสหรัฐอเมริกา ถ้าพรรคเดโมแครต ( Democrats Party ) ชนะ สันติภาพในโลก น่าจะดีขึ้น นับตั้งแต่ เหตุการณ์ 9/11 ที่ผู้ก่อการร้ายถล่มตึก The World Trade เป็นที่รู้กันว่า คนอเมริกันสนับสนุนพรรครีพับลิกัน ( Republican party ) อย่างท่วมท้น ซึ่งเป็นพรรคที่พอใจกับการสู้รบกับฝ่ายตรงข้าม ไม่เน้นการประนีประนอม ค่อนข้างจะออกมาทางขวาจัด อนุรักษ์นิยม และยึดศาสนาเป็นใหญ่ (Evangelists) อย่างไรก็ตาม ใน 3 ปีที่ผ่านมา ปัญหาสงครามอิรักก็ยังไม่จบสิ้น ยังคงยืดเยื้อต่อไป มีทหารอเมริกันเสียชีวิตมากขึ้นทุกวัน ทำให้คนอเมริกันส่วนมาก ไม่แน่ใจในความสามารถของประธานาธิบดี Bush และพรรคการเมืองของ Bush สังคมอเมริกาเป็นสังคมที่ใช้ข่าวสารในการตัดสินใจ พื้นฐานประชาชนของเขามีการศึกษาในระดับที่ดี เป็นประชาธิปไตย จึงสามารถเปลี่ยนความนิยมได้อย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ทำให้พรรคเดโมแครต ( Democrats Party ) สามารถครองเสียงในสภาล่างได้ถึง 229 ที่นั่ง จาก 435 ที่นั่ง มากกว่าพรรค Republican ซึ่งได้เพียง 196 ที่นั่ง ซึ่งเป็นการแปรผัน (swing vote) คะแนนถึง 33 ที่นั่ง ยังไม่ประกาศอีก 10 ที่นั่ง ทั้งที่ได้เพิ่มเพียง 15 ที่นั่ง ก็พอที่พรรค Democrats จะมีเสียงข้างมากในสภาล่าง ในขณะที่สภาสูง มีการแปรผัน (swing vote) คะแนนไปสู่พรรค Democrats ถึง 5-6 ที่นั่ง ทำให้โอกาสที่พรรค Democrats จะครองเสียงส่วนมากได้สำเร็จทั้งสองสภา ระหว่างที่อาจารย์เขียนต้นฉบับ รัฐมนตรีกลาโหมของสหรัฐ นาย Donald Rumsfeld ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่ง เพื่อรับผิดชอบต่อความพ่ายแพ้ครั้งนี้ **การแปรผัน (swing vote) ซึ่งเกิดจากความไม่ไม่แน่ใจในความสามารถของประธานาธิบดี Bush ประธานาธิบดี Bush จากพรรครีพับลิกัน ( Republican party ) นั้นมีผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาการเป็นอย่างมากเกี่ยวกับนโยบายทางด้านการค้ากับประเทศต่าง เช่น ข้อสัญญา FTA การทำสงครามของ ประธานาธิบดี Bush นั้นประชาชนไม่เห็นด้วยกับการมีภาวะผู้นำ (Leader ship)ในด้านดังกล่าว เพราะทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรมนุษย์เป็นอย่างมากอเมริกาไม่ได้อะไรจากการทำสงคราม อย่างไรก็ตามดิฉันมีความคิดเห็นว่าการสร้างความสันติภาพนั้นน่าจะเป็นหน้าที่ของ UN อเมริกาควรพิจารณาถึงบทบาทของตัวเองด้วย ส่วนประชาชน ในสังคมอเมริกาเป็นสังคมที่ใช้ข่าวสารในการตัดสินใจ พื้นฐานประชาชนของเขามีการศึกษาในระดับที่ดี เป็นประชาธิปไตย จึงสามารถเปลี่ยนความนิยมได้อย่างรวดเร็วนั้นควรที่จะทบควรในการตัดสินใจถึงผลกระทบจากนโยบาย(policy)โดยดู จุดแข็ง (Strengths) เป็นความแข็งแกร่ง (ข้อดี) จุดอ่อน (Weaknesses) เป็นปัญหาหรือข้อบกพร่อง ของพรรค Democrats ว่า เป็นภัยหรือไม่โลกจะเป็นทิศทาง(director)ใด เช่นเดียวกับการเลือกผู้นำประเทศและพรรคของประชาชนชาวไทย เราควรที่จะให้การศึกษา พัฒนาคุณภาพ ให้ข้อมูล (data) ให้ข่าวสาร (information) สร้างองค์ความรู้ (knowledge) เพิ่มคุณภาพชีวิต(value add) สร้างความมีปัญญา (wisdom)ให้กับประชาชนเกี่ยวกับประชาธิปไตยโดยบัญญัติ ในรัฐธรรมนูญในหมวดการศึกษา ปลูกฝังกระบวนการคิดและการตัดสินใจ (thinking and decision-making) ให้ประชาชนมีความรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงในระบบประชาธิปไตย ประเทศไทยจะเป็นประเทศที่มีทุนมนุษย์ (human capital)ที่ยั่งยืน และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องค่ะ 3. การเผยแพร่เศรษฐกิจพอเพียง ให้เกิด critical mass ให้เกิดพลังที่แท้จริง หรืออาจจะเรียกว่า เกิด Tipping point จุดที่จะประสบความสำเร็จ เพราะถ้ามีการเลือกตั้งใหม่ ภายใน 1 ปี อาจารย์ไม่แน่ใจว่า จะทำการเผยแพร่เศรษฐกิจพอเพียงได้สำเร็จเท่าเวลานี้หรือไม่ เพราะการเมืองแบบเลือกตั้ง คงไม่แคล้วประชานิยม ประชาชนไทย ยังคิดไม่เป็น จึงเน้นวัตถุนิยมอย่างมาก และวันนั้นเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงก็จะไม่สำคัญต่อคนไทยต่อไป ***ดิฉันมีความคิดเห็นว่าการ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงการเผยแพร่เศรษฐกิจพอเพียง ให้เกิด critical mass ให้เกิดพลังที่แท้จริง หรืออาจจะเรียกว่า เกิด Tipping point จุดที่จะประสบความสำเร็จ น่าจะทำได้ภายในหนึ่งปี หากเรามีความเข้าใจอย่างถูกต้องในปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง และ มีการเผยแพร่ความรู้ ในสื่อต่างๆ ให้ประชาชนได้รับทราบดังเช่น รายการ “เศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ทุกวันเวลา 22.40 น. – 22.45 น. ของศ.ดร.จีระ ฯ เป็นรายการที่ดีเป็นที่ 3 คือ Learning Opportunity การสร้างโอกาสในการเรียนรู้ เพื่อพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน รวมทั้งโอกาสในการได้เรียนรู้และร่วมหารือกับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ และมีชื่อเสียงในระดับประเทศ ซึ่งจะสามารถสร้างให้เกิดโอกาสในการร่วมสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่กันและกันน่าติดตามเป็นการสร้างองค์ความรู้ (knowledge) สู่ชุมชนเป็น L ที่ 4 คือ Learning Communities การสร้างชุมชนในการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นโดยใช้ห้องเรียนเป็นจุดเริ่มต้น และขยายผลต่อไปในวงกว้าง ชุมชนโดยทั่วไปเป็นชุมชนแบบ Physical Community เมื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ขึ้นจะเกิดชุมชนแบบ Digital สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ตลอดเวลาทางอินเทอร์เน็ต อีเมล์ การโทรศัพท์สื่อสารกัน และการร่วมวิเคราะห์แลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริง การทำให้ความรู้และ การทำ Workshopสร้างนิสัยตามทฤษฎี “ 7 อุปนิสัย สำหรับผู้ทรงประสิทธิผลยิ่ง The 7 Habits of Highly Effective people” ผลงานของ ดร.สตีเฟน โควีย์ บุคคลซึ่งได้รับการคัดเลือกจากนิตยสารไทมส์ ให้เป็นบุคคลที่ทรงอิทธิพลทางความคิดมากที่สุดคนหนึ่งของโลกงานเขียนชิ้นนี้ของเขานับเป็นหนังสือฮาวทูอีกเล่มที่ได้รับความนิยมสูง ตีพิมพ์เผยแพร่ไปแล้วทั่วโลกกว่า 38 ภาษา มียอดขายรวมกว่า 15 ล้านเล่มอุปนิสัยเพื่อการพัฒนาสู่การเป็นผู้มีประสิทธิผลสูง ให้กับประชาชนที่เป็นผู้นำในชุมชนในระดับประเทศ และท้องถิ่น อบจ. อบต. ชุมชนก็น่าจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะทำให้การเผยแพร่เศรษฐกิจพอเพียง ให้เกิด critical mass ให้เกิดพลังที่แท้จริง หรืออาจจะเรียกว่า เกิด Tipping point จุดที่จะประสบความสำเร็จ ภายใน 1 ปี โดยการสร้างผู้นำ เผยแพร่เศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวคิดของ Stephen R. Covey ซึ่ง ประกอบด้วย Habit 1 Be Proactive: Principles of Personal Vision อุปนิสัยที่ 1 .. การเป็นฝ่ายเริ่มต้นที่จะเข้าใจในปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง ก่อนของผู้นำชุมชน Habit 2 Begin with the End in Mind: Principles of Personal Leadership อุปนิสัยที่ 2 .. การเริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายภายในใจในการเป็นผู้นำด้านการนำไปใช้และเผยแพร่ Habit 3 Put First Things First: Principles of Personal Management อุปนิสัยที่ 3 .. ทำตามลำดับความสำคัญโดยเริ่มต้นที่ตัวเอง ครอบครัว ชุมชน จนถึงระดับรัฐ ตามลำดับ Habit 4 Think Win/Win: Principles of Interpersonal Leadership อุปนิสัย 4 .. คิดแบบชนะ-ชนะ หรือสานประโยชน์ ให้กับชุมชนและองค์กรต่างๆ Habit 5 Seek First to Understand, Then to be Understood อุปนิสัยที่ 5 .. เข้าใจคนอื่นก่อนที่จะให้คนอื่นเข้าใจเรา เปิดใจให้กว้างกับการเผยแพร่ความเข้าใจกับผู้อื่น สร้างนิสัยการเรียนรู้ต่อเนื่อง ให้กับตนเอง Habit 6 Synergize Principles of Creative Communication อุปนิสัยที่ 6 .. ประสานพลัง รวมข้อดีของอุปนิสัยทั้งหมดมารวมเข้าด้วยกันเพื่อทำงานใหญ่ให้สำเร็จ โดยสร้างเป็นเครือข่ายการเรียนรู้ (network) Habit 7 Sharpen the Saw: Principles of Balanced Self-Renewal อุปนิสัยที่ 7 .. ลับเลื่อยให้คม เสริมสร้างความต่อเนื่อง (follow-through)และสม่ำเสมอ โดยใช้แนวความคิดปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง ให้เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนไทยอย่างฉลาดและสมดุลยั่งยืนต่อไป ดังเช่น นักศึกษาม.ราชภัฎสวนสุนัทา ศูนย์การศึกษาดรุณพิทยา ที่เรียนวิชาการคิดและการตัดสินใจ ได้ติดตาม รายการ “เศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ทุกวันเวลา 22.40 น. – 22.45 น. ของศ.ดร.จีระ ฯ ซึ่งวันนี้ในชั่วโมงเรียนนักศึกษา มีความเข้าใจเป็นอย่างดีสังเกตจากรายงานที่นักศึกษาส่งและการมีส่วนร่วม (participative) แนวความคิดที่ share กับอาจารย์ เกิดความใฝ่รู้อยากติดในตอนต่อๆไปเป็นการเกิด Tipping point จุดที่จะประสบความสำเร็จ ในการการเผยแพร่เศรษฐกิจพอเพียงได้ในระดับหนึ่งที่นักศึกษาจะได้พูดคุยกับคนในครอบครัวต่อไป และขยายเป็นวงกว้างน่าจะเป็นการส่งเสริมพลังให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาไปได้อย่างมั่นคงภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ ตลอดจนสามารถปรับตัวพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆได้อย่างเท่าทัน และอยู่เย็นเป็นสุข เศรษฐกิจพอเพียงก็จะเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนไทยและสำคัญต่อคนไทยต่อไป ด้วยความเคารพอย่างสูงและสวัสดีค่ะ A’Lotus นักศึกษาปริญญาเอกรัฐประศาสนศาสตร์
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง ปลูกฝังเศรษฐกิจพอเพียงต่อเยาวชน"

ปลูกฝังเศรษฐกิจพอเพียงต่อเยาวชน[1]

 

 

ท่านที่มีโอกาสดูสารคดีสั้น 5 นาทีเฉลิมพระเกียรติ "เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์" ทาง โทรทัศน์ช่อง 11 เวลา 22.40-22.45 น. คงช่วยให้คนไทยมีความเข้าใจเศรษฐกิจพอเพียงดีขึ้น และมีโลก ทัศน์ที่กว้าง ทันโลก มองความยั่งยืน ผาสุกได้

 


สื่อเป็นจุดสำคัญในการกระจายข่าวไปสู่ประชาชน สื่อเชิงฐานความรู้ที่ทำอย่างต่อเนื่องมีน้อย มาก คนไทยจึงบริโภคสื่อเพื่อความบันเทิงมากกว่า จะเห็นได้ว่า ในโทรทัศน์ปัจจุบันมีเรื่องเกี่ยวกับ ความรู้น้อยมาก มีละครและเกมโชว์เป็นหลัก เพราะขึ้นอยู่กับ Rating ของผู้ชม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงค่านิยม ของคนไทยในปัจจุบันเป็นอย่างไร

 


ผมทำสื่อมากว่า 13 ปี อย่างมุ่งมั่นและต่อเนื่อง เรื่อง HR หากไม่มีสื่อช่วย คงจะลำบาก เพราะ เป็นเรื่องที่ไกลตัว ไม่ใช่สิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ

 


รายการ"เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์"จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เพราะได้ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ของ 3C + 1P คือ ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ และศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กับ ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุธ

 


จะมีการนำเอารายการนี้ ไปสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ดำริที่ จะทำ DVD อีก 1 หมื่นชุด เพื่อแจกไปตามโรงเรียนต่าง ๆ เพราะการเข้าถึงเยาวชน เป็นเรื่องสำคัญ หาก ไม่ทำ เยาวชนคงจะถูกกระแสของสังคมพาไปสู่บริโภคนิยม คลั่งไคล้เงิน แฟชั่น ดารา และ Brandname ต่าง ๆ มองข้ามคุณค่าของสังคม ไปนิยมทางตะวันตกมากเกินไป

 


เมื่อวันพุธที่ 15 พฤศจิกายน ผมในฐานะนายกสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ในพระบรม ราชูปถัมภ์ ได้ไปสร้างสังคมการเรียนรู้ ให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทพศิรินทร์ลาดหญ้า จ. กาญจนบุรี ให้เปรียบเศรษฐกิจพอเพียงกับระบบทักษิณว่าเป็นอย่างไร เศรษฐกิจพอเพียงสามารถช่วย ชุมชน ครอบครัว และโรงเรียนได้อย่างไร ทั้งครูและนักเรียนช่วยกันแสดงความเห็นอย่างหลากหลาย ว่า เศรษฐกิจพอเพียงกับระบบทักษิณเชื่อมโยงกันได้ คือ นโยบายของระบบทักษิณที่เน้นประชานิยม หาก เราให้ความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงแก่ประชาชน ให้รู้จักนำเงินที่รัฐบาลช่วยมาใช้ประโยชน์ โดยใช้ ความสามารถ เหตุผลและความจำเป็นของเรา สร้างภูมิคุ้มกันให้เกิดขึ้น เงินจำนวนมากที่ระบบทักษิณ ให้แก่ชาวบ้านก็จะเกิดประโยชน์ คุ้มค่า สามารถช่วยครอบครัว ชุมชน และโรงเรียนได้ ไม่ใช่ฟุ่มเฟือยไป กับมือถือ หรือสิ่งที่ไม่จำเป็นอื่น ๆ

 


นอกจากนั้น ผมได้ไปสร้างชุมชนการเรียนรู้เรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์" ที่โรงเรียน ท่าม่วงราษฎร์บำรุง จ.กาญจนบุรี มีครูและนักเรียนร่วมทำ workshop อย่างมากมาย ในโจทย์ว่าโลกาภิ วัตน์คืออะไร มีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไร และเศรษฐกิจพอเพียงไปช่วยให้เราพัฒนา และรู้ทันโลกาภิวัตน์ อย่างไร

 


มีผลว่า โลกาภิวัตน์มีทั้งโอกาส ในเรื่องการค้า การลงทุน การศึกษา การค้นคว้าหาความรู้ ขณะเดียวกันก็มีการถูกคุกคาม โดยเฉพาะต่อวัฒนธรรมที่ดีของประเทศไทย เช่น โคโยตี้ (Coyoty) หาก ประชาชนเข้าใจเศรษฐกิจพอเพียง จะช่วยให้เขารู้เท่าทันโลกาภิวัตน์ว่าเป็นอย่างไร จะรับมืออย่างไร จะต้องมีเหตุผล เข้าใจตนเอง และสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเขา โดยไม่หลงไปกับสิ่งต่าง ๆ จากตะวันตกที่ไม่ เหมาะกับเรา

 


ในวันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายนนี้ ผมจะไปสอนปริญญาเอก หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งในช่วงบ่าย จะเข้าไปชุมชน อบต. หนองกินเพล ข้างมหาวิทยาลัย เปิด โอกาสให้ลูกศิษย์ปริญญาเอก 12 คน ช่วยกันแสดงความเห็น โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม ถกเถียงกันถึง ความสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียงต่อระดับเทศบาล , อบต. และอบจ. ของจังหวัดอุบลราชธานี การ ปลูกฝังและปรับพฤติกรรมของผู้นำท้องถิ่น เพื่อไปถ่ายทอดให้ชาวบ้านด้วย

 


ทั้ง 3 เรื่องนี้ คงจะเกิดไม่ได้ ถ้าเราไม่มีเทปรายการ"เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์" ที่จะไป เปิดให้ประชาชนดู ซึ่งผมจะเสริมประเด็นต่าง ๆ ที่จะทำให้ผู้ฟังเข้าใจอย่างลึกซึ้ง และสนุกกับการเรียนรู้

 


ทั้งหมดนี้จะไปสู่โครงการที่ผมได้นำเสนอไปที่กระทรวงมหาดไทย ใน 12 เดือนข้างหน้า โดยจะ คัดเลือกผู้นำท้องถิ่นจากทั่วประเทศ ในระดับอบจ. , อบต.และเทศบาลทั้งหมด 5,000 คน จะสร้างสังคม การเรียนรู้แบบ 4 L's

 
ร่วมมือกับ PACRIM ซึ่งมีลิขสิทธิ์ 7 Habits ทำสัมมนาทางวิชาการและนำไปปฏิบัติ 3 วัน จะ เน้นถึงอุปนิสัย 7 อย่างที่ผู้บริหารท้องถิ่น ควรนำไปปรับตัวเองให้ดีขึ้น เช่น Be proactive , การตั้ง จุดหมายของเรา ( Begin with the end in mind ) , การรู้จักความสำคัญ ( put first things first ) , การ ทำงานที่เน้น win/win , การเข้าใจผู้อื่นก่อน ( Seek first to understand and then to be understood ) , การทำงานโดยร่วมมือแบบ Synergy , และการเป็นสังคมการเรียนรู้ ( Sharpen the saw )
หลังจากนั้นจะเป็น
- เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง โดยร่วมมือกับทางสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ อนุกรรมการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ที่มี ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุธ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง

- ประชาธิปไตยกับสังคมไทยและวัฒนธรรมไทย โดยมีทีมงานรัฐศาสตร์ที่มีประสบการณ์มาร่วมด้วย
- การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ กระตุ้นให้ชาวบ้านคิดเป็น โดยจะนำเสนอการเรียนรู้แบบ 4 L's ประยุกต์ กับท้องถิ่น


การร่วมมือดังกล่าว จะทำโดยให้ผู้นำท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง
ผมมั่นใจว่าการทำงานร่วมกับกระทรวงมหาดไทยครั้งนี้ จะประสบความสำเร็จในมุมกว้างและ กระจายไปทุกภาคของประเทศ

 


การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ต้องทำให้สำเร็จและได้ผลภายใน 1 ปี การเลือกตั้งแบบ ประชาธิปไตย ที่มีการหาเสียงแบบประชานิยมเป็นหลักจะกลับมาอีก รัฐบาลยุคพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เน้นเรื่องการปฏิรูป หากจะทำให้ระบบทักษิณลดความสำคัญไป โดยการสร้างให้คนไทยคิดเป็น วิเคราะห์เป็น จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก

 


สัปดาห์นี้ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ( คมช.) และรัฐบาลถูกโจมตีหนัก ผมขอให้กำลังใจ เพราะความดี ความซื่อสัตย์ของนายกฯสุรยุทธ์ จะคุ้มครองท่านได้อย่างแน่นอน บางครั้งคนไทยก็รีบร้อน ตัดสินใจหรือเปลี่ยนใจเร็วไป

 


เมื่อวันพุธที่ผ่านมา มีผู้ฟังรายการวิทยุ 96.5 MHz ของผม ส่ง SMS มาว่า ยุคคุณทักษิณอยู่ตั้ง 6 ปี ยังรอได้ แต่ยุคคุณสุรยุทธ์ผ่านไปเพียง 1 เดือนก็โจมตี ท่านนายกฯ คงต้องอดทนและอดกลั้น คณะรัฐมนตรีต้องเอาใจใส่กับการทำงานภายใน 1 ปีบ้าง ต้องคิดวางแผนการทำงานเชิงลำดับ ความสำคัญทุก ๆ วัน เพื่อให้งานที่จำเป็นลุล่วงไปได้ดี เรื่องระยะยาวก็รอได้ โดยเฉพาะการผ่าน กฎหมายในสภา เพราะเป็นโอกาสที่ดี

 


ผมโชคดีที่รัฐมนตรีบางท่านที่รู้จัก ริเริ่มงานบางอย่าง ได้กรุณาเล่าให้ผมทราบ และขอความเห็น เช่น รัฐมนตรีแรงงาน คุณอภัย จันทนจุลกะ ขอให้ผมช่วยดูกฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาฝีมือแรงงาน ที่ จะเข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผมดีใจที่กระทรวงแรงงานเป็นกระทรวงพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เช่นที่ ท่านรัฐมนตรีพูด ปัจจุบันเป็นยุคการแข่งขัน รัฐบาลและกระทรวงแรงงานต้องสร้างคุณภาพแรงงานให้ สูงขึ้น กระทรวงแรงงานไม่ใช่กระทรวงด้านสวัสดิการแรงงานเท่านั้น แต่เป็นกระทรวงในการสร้างแรงงาน เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน ที่ต้องยั่งยืน เพราะทักษะกับความรู้เปลี่ยนตลอดเวลา แต่นโยบาย ต่าง ๆ ไม่ได้ออกมาตามนี้ เพราะข้าราชการมีความเข้าใจในมุมแคบ ๆ

 


ส่วนคุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม ได้เล่าให้ผมทราบว่า ในยุคโลกาภิวัตน์ บทบาทของวัฒนธรรมไทยจำเป็นมาก โดยเฉพาะค่านิยมของเยาวชน ที่เน้นวัตถุ และสิ่งที่ได้มาง่าย ๆ ท่านยังเร่งรัดที่จะมีสื่อ สารคดีดี ๆ ทางโทรทัศน์ มากระตุ้นให้เยาวชนไทย หวงแหนวัฒนธรรม และ ค่านิยมดี ๆ ของคนไทยในอดีต โดยเฉพาะเรื่องการแบ่งปัน ความพอประมาณ และมองส่วนรวมมากกว่า ส่วนตัว vสัปดาห์นี้ ขอให้จับตาดูประเทศเวียดนาม ซึ่งเพิ่งเป็นสมาชิก WTO และเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำ APEC รัฐบาลเขามองไกล ไม่เน้นการตลาดแบบรัฐบาลไทยในอดีต แต่เน้นความรู้เชิงวิทยาศาสตร์ เขา เน้นทรัพยากรมนุษย์ ผมอิจฉาประเทศเวียดนามครับ

   ดร.จีระ หงส์ลดารมย์                      [email protected]


โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3


                     โทรสาร 0-2273-0181  

ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง ปลูกฝังเศรษฐกิจพอเพียงต่อเยาวชน"

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

  ผมได้อ่านบทความบทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระจาก Interent ซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่องว่า ในบทความนี้ ศ.ดร. จีระ เขียนเรื่อง ปลูกฝังเศรษฐกิจพอเพียงต่อเยาวชน  อาจารย์เขียนความจริงที่อาจารย์ได้สัมผัสมา เขเขียนแฝงไปด้วยสาระ ที่กระตุ้นทุนทางปัญญา ได้เป็นอย่างดี

ผมได้แสดงความคิดเห็น บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ ตัวอักษรสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ในหนังสือพิมพ์แนวหน้า ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ .......

 

 

ท่านที่มีโอกาสดูสารคดีสั้น 5 นาทีเฉลิมพระเกียรติ "เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์" ทาง โทรทัศน์ช่อง 11 เวลา 22.40-22.45 น. คงช่วยให้คนไทยมีความเข้าใจเศรษฐกิจพอเพียงดีขึ้น และมีโลก ทัศน์ที่กว้าง ทันโลก มองความยั่งยืน ผาสุกได้

 


สื่อเป็นจุดสำคัญในการกระจายข่าวไปสู่ประชาชน สื่อเชิงฐานความรู้ที่ทำอย่างต่อเนื่องมีน้อย มาก คนไทยจึงบริโภคสื่อเพื่อความบันเทิงมากกว่า จะเห็นได้ว่า ในโทรทัศน์ปัจจุบันมีเรื่องเกี่ยวกับ ความรู้น้อยมาก มีละครและเกมโชว์เป็นหลัก เพราะขึ้นอยู่กับ Rating ของผู้ชม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงค่านิยม ของคนไทยในปัจจุบันเป็นอย่างไร........

 
 ผมดีใจที่ ศ.ดร.จีระ และทีมงานได้ทำรายการส่งเสริมความรู้แบบนี้

เป็นรายการ ที่สามารถตอบรับกับนโยบายของชาติซึ่งจัดทำโดยคนมีอุดมการณ์ทั้งสิ้น เป็นประโยชน์ และเหมาะสมกับสถานการณ์โลกและประเทศในปัจจุบัน........

  

เป็นรายการที่เกี่ยวกับการเชื่อมโยงแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กับการดำเนินชีวิตในยุคโลกาภิวัตน์ ควรอย่างงยิ่งที่คนไทยจะได้รับการส่งเสริมให้ชมรายการเช่นนี้ให้มากขึ้น สถานีโทรทัศน์ควรจะมีบทบาทเหมือนโรงเรียนของชาติ มีรายการที่ส่งเสริมทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนทางความสุข ทุนมนุษย์ ทุนแห่งความยังยืนฯ ได้อย่างต่อเนื่อง ทั่วถึงประชาชนทุกกลุ่มในเวลาที่เหมาะสม และสมดุล ไม่ใช่มีแต่ทุนทางความสุข และเป็นความสุขที่ไม่ถาวร อย่างที่เป็นอยู่ในรายการบางรายการทำ........

  รัฐบาลเองก็น่าจะให้ความสำคัญ และทำเรื่องนี้มานานแล้ว พร้อมกับควบคุมให้สถานีโทรทัศน์ช่องอื่น ทำตามนโยบาย ให้สอดคล้องรับกันทุกช่องสถานี......... 


ผมทำสื่อมากว่า 13 ปี อย่างมุ่งมั่นและต่อเนื่อง เรื่อง HR หากไม่มีสื่อช่วย คงจะลำบาก เพราะ เป็นเรื่องที่ไกลตัว ไม่ใช่สิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ.........

 
 

ผมเห็นด้วยกับ ศ.ดร.จีระ ในประเด็นที่ว่า คนส่วนใหญ่ไม่ให้ความสำคัญเรื่องทรัพยากรมนุษย์  ดูได้จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-7 เราเป็นไปตามกระแสทุนนิยม เน้นสิ่งปลูกสร้าง เน้นการพึ่งพาต่างประเทศ เน้นตลาดต่างประเทศ อะไรที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศดูดีไปหมด.........

  

จากผลการดำเนินการตามแผนฯฉบับที่ 1-7 โดยไม่มีการเน้นเรื่องทรัพยากรมนุษย์ ไม่เน้นเรื่องแนวคิด ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง .......

  

แน่นอนว่า แผนฯ ฉบับที่ 1-7 ย่อมมีส่วนดี มากหลายประการที่ไม่สามารถกล่าวถึงได้ในที่นี้ แต่ก็มีผลที่เกิดขึ้น ที่ไม่อาจละเลยนำมาเป็นบทเรียนในการกำหนดนโยบายสาธารณะของชาติได้ ..........

  

เมื่อครั้ง สิ้นสุดแผนฯที่ 7  เราก็พบปัญหาในชาติบ้านเมือง เราไม่สามารถใช้แผนฯฉบับที่ 8 ได้อย่างเต็มที่ เราต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของต่างชาติ เพราะเราเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ เราเกิดปัญหาความไม่สมดุลทางด้านเศรษฐกิจ ................

  

นอกจากนี้ เรายังมีปัญหาทางด้านวัฒนธรรม ทางด้านสิ่งแวดล้อมและความไม่สมดุลทางทรัพยากรธรรมชาติมากมาย ล้วนเป็นเพราะผลพวงของการปฏิบัติตามแผนฯ ที่ปราศจากการนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปราศจากการพัฒนาเรื่องทรัพยากรมนุษย์ อย่างจริงจัง  ........................

 
จะมีการนำเอารายการนี้ ไปสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ดำริที่ จะทำ DVD อีก 1 หมื่นชุด เพื่อแจกไปตามโรงเรียนต่าง ๆ เพราะการเข้าถึงเยาวชน เป็นเรื่องสำคัญ หาก ไม่ทำ เยาวชนคงจะถูกกระแสของสังคมพาไปสู่บริโภคนิยม คลั่งไคล้เงิน แฟชั่น ดารา และ Brandname ต่าง ๆ มองข้ามคุณค่าของสังคม ไปนิยมทางตะวันตกมากเกินไป
  นอกจากนั้น ผมได้ไปสร้างชุมชนการเรียนรู้เรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์" ที่โรงเรียน ท่าม่วงราษฎร์บำรุง จ.กาญจนบุรี มีครูและนักเรียนร่วมทำ workshop อย่างมากมาย ในโจทย์ว่าโลกาภิ วัตน์คืออะไร มีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไร และเศรษฐกิจพอเพียงไปช่วยให้เราพัฒนา และรู้ทันโลกาภิวัตน์ อย่างไร..........  สำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มีบทบาทในการขับเคลื่อนแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นอย่างมาก ผมได้มีโอกาสไปเรียนวิชา เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนา ที่สถาบันพัฒนบัณฑิตบริหารศาสตร์(นิด้า) มีผู้สอนที่มาจากสำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ที่มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเป็นอย่างดี มาสอน มาอธิบายและยกตัวอย่างกรณีศึกษา ได้อย่างน่าสนใจ........ 

ในส่วนที่ ศ.ดร.จีระ ทำอยู่ อาจารย์ทำเรื่องการเผยแพร่ความรู้เศรษฐกิจพอเพียงให้กับนักศึกษาทุกระดับ ที่อาจารย์ไปสอนทั่วประเทศ ทั้งระดับ ป.เอก ป.โท ป.ตรี มัธยมฯ อาจารย์สร้างให้ลูกศิษย์เข้าใจเรื่องนี้เป็นอย่างดี จุดประกายให้ลูกศิษย์สนใจ ใฝ่รู้ ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ได้เป็นอย่างดี........

 

ผมเอง ก็ได้รับการกระตุ้น เติมพลังแห่งการเรียนรู้จากอาจารย์ และทำให้เกิดการค้นคว้าแสวงหาความรู้เพิ่มเติม โดยเฉพาะในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ผมกล่าวได้ว่า ศ.ดร.จีระ เป็นคนแรกที่ทำให้ผมเข้าใจในเรื่องนี้ จากบทความในหนังสือพิมพ์แนวหน้า และหนังสือพิมพ์อื่น เมื่อหลายปีก่อนหน้านี้....... 

การจะขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ของภาครัฐ จึงเป็นเรื่องท้าทายความสามารถของคณะรัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก เพราะเรากำลังจะขับเคลื่อน สิ่งที่จะไปต่อสู้กับกิเลสของมนุษย์ ซึ่งเป็นการต่อสู้ที่ยิ่งใหญ่ เป็นการต่อสู้ด้วยสติ ปัญญา องค์ความรู้ ...........

 รัฐบาลจึงควรต้องให้ครู อาจารย์ และข้าราชการ รัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง ผู้นำท้องถิ่น มาเป็นพันธมิตร โดยเฉพาะผู้นำท้องถิ่น คนในชนบท ต้องรีบส่งเสริมให้เขาได้มีโอกาสเรียนรู้กรอบแนวความคิด ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตใหม่ ๆ  ส่งเสริมให้เขาได้เรียนรู้ ทำความเข้าใจในแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเรื่องประชาธิปไตยแบบยั่งยืน สมดุล  จัดให้มีชุมชนดีเด่น หน่วยงานดีเด่น ตำบล อำเภอ จังหวัดดีเด่น ด้านการขับเคลื่อนแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง .........
ในวันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายนนี้ ผมจะไปสอนปริญญาเอก หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งในช่วงบ่าย จะเข้าไปชุมชน อบต. หนองกินเพล ข้างมหาวิทยาลัย เปิด โอกาสให้ลูกศิษย์ปริญญาเอก 12 คน ช่วยกันแสดงความเห็น โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม ถกเถียงกันถึง ความสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียงต่อระดับเทศบาล , อบต. และอบจ. ของจังหวัดอุบลราชธานี การ ปลูกฝังและปรับพฤติกรรมของผู้นำท้องถิ่น เพื่อไปถ่ายทอดให้ชาวบ้านด้วย.............................


 

ผมดีใจและยินดีกับ นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี รุ่นน้องด้วย ที่ ศ.ดร.จีระ ให้ความกรุณาไปสอนและแชร์ความรู้ รูปแบบการเรียนการสอนที่ ศ.ดร.จีระ ใช้ จะทำให้นักศึกษา ป.เอก มีทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา มากยิ่งขึ้น และถ้านักศึกษา ป.เอก มีบุญมากพอ(สนใจ ใส่ใจ เอาใจใส่ ต่อ ศ.ดร.จีระ) ก็จะได้ทุนทางสังคมและทุนอื่น ๆ ตามมา และจะเป็น Global Leadership ได้ในอนาคต.........................

 
ทั้งหมดนี้จะไปสู่โครงการที่ผมได้นำเสนอไปที่กระทรวงมหาดไทย ใน 12 เดือนข้างหน้า โดยจะ คัดเลือกผู้นำท้องถิ่นจากทั่วประเทศ ในระดับอบจ. , อบต.และเทศบาลทั้งหมด 5,000 คน จะสร้างสังคม การเรียนรู้แบบ 4 L's
ร่วมมือกับ PACRIM ซึ่งมีลิขสิทธิ์ 7 Habits ทำสัมมนาทางวิชาการและนำไปปฏิบัติ 3 วัน จะ เน้นถึงอุปนิสัย 7 อย่างที่ผู้บริหารท้องถิ่น ควรนำไปปรับตัวเองให้ดีขึ้น เช่น Be proactive , การตั้ง จุดหมายของเรา ( Begin with the end in mind ) , การรู้จักความสำคัญ ( put first things first ) , การ ทำงานที่เน้น win/win , การเข้าใจผู้อื่นก่อน ( Seek first to understand and then to be understood ) , การทำงานโดยร่วมมือแบบ Synergy , และการเป็นสังคมการเรียนรู้ ( Sharpen the saw ) หลังจากนั้นจะเป็น
- เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง โดยร่วมมือกับทางสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ อนุกรรมการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ที่มี ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุธ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง
- ประชาธิปไตยกับสังคมไทยและวัฒนธรรมไทย โดยมีทีมงานรัฐศาสตร์ที่มีประสบการณ์มาร่วมด้วย
- การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ กระตุ้นให้ชาวบ้านคิดเป็น โดยจะนำเสนอการเรียนรู้แบบ 4 L's ประยุกต์ กับท้องถิ่น

การร่วมมือดังกล่าว จะทำโดยให้ผู้นำท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง
ผมมั่นใจว่าการทำงานร่วมกับกระทรวงมหาดไทยครั้งนี้ จะประสบความสำเร็จในมุมกว้างและ กระจายไปทุกภาคของประเทศ.....
  เรื่องที่ ศ.ดร.จีระ จะพัฒนาคนในท้องถิ่น ในชนบทให้มีความรู้เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง เรื่องประชาธิปไต เรื่องการปรับพฤติกรรมความคิดใหม่ เป็นสิ่งที่ดีมาก เพราะจะเป็นตัวช่วยกระตุ้น ช่วยขับเคลื่อนนโยบายของรัฐ นโยบายของชาติ ได้ทุกเรื่อง เพราะเป็นการปรับทัศนคติ ความคิด เพิ่มองค์ความรู้ ให้กับผู้ที่มีอำนาจในท้องถิ้น ชุมชนใดก็ตามถ้าผู้นำมีความรู้ ควบคู่คุณธรรม คนในชุมชนนั้นย่อมมีความสุข”.     การคัดเลือกตัวแทนชุมชนมารับการเรียนรู้ น่าจะลงไปถึง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุข เพราะคนพวกนี้ มากจากการยอมรับของชาวบ้านระดับล่าง และวิถีชาวบ้านในชนบทจะสัมผัสกลุ่มคนเหล่านี้มากกว่า อบจ. อบต. .........  ผมจึงเสนอว่า ในหนึ่งอำเภอ ควรต้องส่งตัวแทนชาวบ้านที่มาเป็นทีม ซึ่งจะเป็นทีมที่จะต้องช่วยกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองตามระบอบประชาธิปไตยในท้องถิ่นต่อไป ฉะนั้นในหนึ่งอำเภอควรต้องประกอบไปด้วย อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้านและ อสม.(อาสาสมัครสาธารณะสุข) เข้ามาร่วมกิจกรรมนี้  .......  และถ้ามีโอกาสก็น่าจะให้โครงการบัณฑิตอาสาสมัครมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เข้ามามีส่วนร่วม เพราะสำนักบัณฑิตอาสาสมัครมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นสิ่งที่ ศ.ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ สร้างไว้ และมีบัณฑิตอาสาสมัครที่ มีจิตอาสาฯ มีความรู้ มีความใกล้ชิดกับชาวบ้าน กระจายอยู่ทั่วไปในชนบท บัณฑิตอาสาฯที่จบมาใหม่ รัฐก็ไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญใด ๆ มากนัก ทั้งที่เป็นคณะนักศึกษา ในโครงการบัณฑิตอาสาสมัครฯ จะต้องเข้ารับพระราชทานพระบรมราโชวาทฯ ก่อนที่จะออกไปปฏิบัติงานในพื้นที่ชนบทที่ยากไร้ ซึ่งก็หมายความว่า แม้สถาบันพระมหากษัตริย์ยังให้ความสำคัญ  แต่เมื่อจบมารัฐก็ไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญกับสิ่งนี้............  


การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ต้องทำให้สำเร็จและได้ผลภายใน 1 ปี การเลือกตั้งแบบ ประชาธิปไตย ที่มีการหาเสียงแบบประชานิยมเป็นหลักจะกลับมาอีก รัฐบาลยุคพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เน้นเรื่องการปฏิรูป หากจะทำให้ระบบทักษิณลดความสำคัญไป โดยการสร้างให้คนไทยคิดเป็น วิเคราะห์เป็น จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก.........................

 
การที่ ศ.ดร.จีระ พูดถึงประเด็นที่ว่า การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ต้องทำให้สำเร็จและได้ผลภายใน 1 ปีนั้นผมเห็นด้วย เป็นเรื่องท้าทายคณะรัฐบาลชุดนี้ แต่ถ้าจะให้รัฐบาลขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงให้สำเร็จภายใน 1 ปี อย่างทั่วถึงประชาชนทั้งประเทศ คงทำได้อยาก ผมเสนอว่า ควรต้องกำหนดประชาชนกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน ถูกต้อง เหมาะสม และประชาชนกลุ่มเป้าหมายนี้ จะต้องเป็นตัวช่วยรัฐบาลขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง แนวคิดประชาธิปไตยที่ถูกต้อง ต่อไปในอนาคต (หลังจาก 1 ปีที่รัฐบาลชุดนี้บริหารประเทศ)........ รัฐบาลและผู้ที่เกี่ยวข้องก็ควรมุ่งหน้าพัฒนาประชาชนกลุ่มเป้าหมาย อย่างต่อเนื่อง อย่างทั่วถึง ไม่ใช่แค่ทำหนเดียว แล้วคาดหวังผลเลิศเลอ การสร้างคนในบ้านเมืองเรา ต้องเข้าใจว่า ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ 1-7 เราไม่ได้มีเรื่องการสร้างคนเพื่อสร้างชาติ มากนัก ก็ต้องมาสร้างเอาตอนนี้ ก็ต้องใช้เวลา แต่ถ้าไม่ทำเลย ก็ยิ่งเสียหายหนักเข้าไป .......... 


เมื่อวันพุธที่ผ่านมา มีผู้ฟังรายการวิทยุ 96.5 MHz ของผม ส่ง SMS มาว่า ยุคคุณทักษิณอยู่ตั้ง 6 ปี ยังรอได้ แต่ยุคคุณสุรยุทธ์ผ่านไปเพียง 1 เดือนก็โจมตี ท่านนายกฯ คงต้องอดทนและอดกลั้น คณะรัฐมนตรีต้องเอาใจใส่กับการทำงานภายใน 1 ปีบ้าง ต้องคิดวางแผนการทำงานเชิงลำดับ ความสำคัญทุก ๆ วัน เพื่อให้งานที่จำเป็นลุล่วงไปได้ดี เรื่องระยะยาวก็รอได้ โดยเฉพาะการผ่าน กฎหมายในสภา เพราะเป็นโอกาสที่ดี ......

 ผมคิดว่าในการบริหารชาติบ้านเมือง ต้องใช้เวลาและความรู้ เราควรยุติการต่อว่ารัฐบาลในอดีต เลิกพูดสิ่งไม่ดีในอดีต แล้วหันมาสร้างสิ่งที่ดี วันที่ดีในอนาคติ จะสื่ออะไร จะคิดอะไร ขอให้คิดถึงแนวพระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่านทรงเน้นถึงเรื่อง ความเมตตา ความอดทน ความเสียสละ ความยุติธรรม คุณธรรม จริยธรรม สื่อด้วยความสัจ สื่อออกไปด้วยความเมตตา ปรารถนาดีต่อผู้อื่น สื่อออกไปไม่ให้ผู้อื่น และตนเองต้องเป็นทุกข์ สื่อเพื่อประโยชน์และความผาสุกของชาติอย่างยั่งยืน สมดุล....... 
ผมโชคดีที่รัฐมนตรีบางท่านที่รู้จัก ริเริ่มงานบางอย่าง ได้กรุณาเล่าให้ผมทราบ และขอความเห็น เช่น รัฐมนตรีแรงงาน คุณอภัย จันทนจุลกะ ขอให้ผมช่วยดูกฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาฝีมือแรงงาน ที่ จะเข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผมดีใจที่กระทรวงแรงงานเป็นกระทรวงพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เช่นที่ ท่านรัฐมนตรีพูด ปัจจุบันเป็นยุคการแข่งขัน รัฐบาลและกระทรวงแรงงานต้องสร้างคุณภาพแรงงานให้ สูงขึ้น กระทรวงแรงงานไม่ใช่กระทรวงด้านสวัสดิการแรงงานเท่านั้น แต่เป็นกระทรวงในการสร้างแรงงาน เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน ที่ต้องยั่งยืน เพราะทักษะกับความรู้เปลี่ยนตลอดเวลา แต่นโยบาย ต่าง ๆ ไม่ได้ออกมาตามนี้ เพราะข้าราชการมีความเข้าใจในมุมแคบ ๆ .........
 .ในความเห็นผมคิดว่า กระทรวงแรงงานฯ ก็เหมือนกับฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ  ต้องมีภาระหน้าที่ในการ วางแผนอัตรากำลังแรงงาน การฝึกอบรมและพัฒนา การบริหารแรงงานสัมพันธ์ กฎข้อบังคับต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้แรงงาน ความเป็นอยู่ของแรงงาน สวัสดิการ ประกันสงคม เป็นต้น ........ 

แต่ที่ผ่านมา ประเทศเรามีปัญหาด้านแรงงานอย่างมาก ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน (ต้องนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทดแทน) ปัญหาคุณภาพแรงงานด้อยปัญญา ปัญหาแรงงานขาดทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนทางความสุข ทุนแห่งความยังยืนฯ ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาความมั่นคงของทรัพยากรมนุษย์ ความมั่นคงของชาติ ..........

 

ปัญหาดังกล่าว มีทั้งปัญหาเรื่องระบบ การจัดการ ปัญหาเรื่องบุคลากรผู้ดำเนินการ ซึ่งก็เหมือนกับปัญหาในองค์การทั่วไป ๆ ที่มีปัญหาใหญ่อยู่สองประการคือ ปัญหาเรื่องระบบ ปัญหาเรื่องคน ทำให้วิสัยทัศน์สั้น ผิดเพี้ยน ยุทธศาสตร์การจัดการจึงบกพร่อง ก็ต้องรีบแก้ไข เพื่อความสำเร็จด้านทรัพยากรมนุษย์ของช่าติทั้งระยะสั้นและระยะยาว......

 


ส่วนคุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม ได้เล่าให้ผมทราบว่า ในยุคโลกาภิวัตน์ บทบาทของวัฒนธรรมไทยจำเป็นมาก โดยเฉพาะค่านิยมของเยาวชน ที่เน้นวัตถุ และสิ่งที่ได้มาง่าย ๆ ท่านยังเร่งรัดที่จะมีสื่อ สารคดีดี ๆ ทางโทรทัศน์ มากระตุ้นให้เยาวชนไทย หวงแหนวัฒนธรรม และ ค่านิยมดี ๆ ของคนไทยในอดีต โดยเฉพาะเรื่องการแบ่งปัน ความพอประมาณ และมองส่วนรวมมากกว่า ส่วนตัว vสัปดาห์นี้ ขอให้จับตาดูประเทศเวียดนาม ซึ่งเพิ่งเป็นสมาชิก WTO และเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำ APEC รัฐบาลเขามองไกล ไม่เน้นการตลาดแบบรัฐบาลไทยในอดีต แต่เน้นความรู้เชิงวิทยาศาสตร์ เขา เน้นทรัพยากรมนุษย์ ผมอิจฉาประเทศเวียดนามครับ..........

 

ผมคิดว่า เวียดนาม จะพัฒนาได้รวดเร็ว คนเวียดนามเคยมีความกดดันเมื่อสมัยสงครามเวียดนาม เขาได้รับบทเรียน เขามีประสบการณ์แห่งความเจ็บปวดมา เหมือนญี่ปุ่น คือฮึดสู้พัฒนาประเทศจากความพ่ายแพ้สงคราม.............

 

 

ผมสังเกตดูว่าประเทศที่เคยมีประสบการณ์ที่เจ็บปวดเหล่านี้ ไม่ว่า ญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม ฮ่องกง ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ ฯลฯ มีการพัฒนาได้ดีกว่าไทย ยกเว้นพม่า ลาว ที่ยังต้องใช้เวลาอีกพอสมควร ..........

 

ไทยเราน่าจะเรียนรู้ประสบการณ์จากเพื่อนบ้าน แล้วนำมาปรับใช้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ บูรณาการให้เกิดประโยชน์กับชาติ ทำตัวเป็นคนฉลาด มีบุญ เรียนรู้ประสบการณ์จากผู้อื่น แล้วต่อยอด อย่าได้เป็นประเทศที่ ต้องรอให้เจ็บปวดมากกว่านี้ จึงจะเกิดการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลง การน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พัฒนาประเทศชาติ จึงเป็นสิ่งดีที่ทุกส่วน ทุกระดับ ทุกคนควรต้องช่วยกัน .......... 

ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์ช่อง 11 ชื่อรายการสู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และ รายการเศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ทุกวันเวลา 22.40 น. – 22.45 น.  นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/   

 

เชิญเพื่อน น.ศ. และน้อง ๆ ป.เอก ท่านผู้สนใจ ติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ     ..........    

 

ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน

               

ยม  

 

  

นักศึกษาปริญญาเอก   

 

 

รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎบัณฑิต

   

 

 [email protected]   

    ดร.จีระ หงส์ลดารมย์ 
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง ปลูกฝังเศรษฐกิจพอเพียงต่อเยาวชน"
          
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง ปลูกฝังเศรษฐกิจพอเพียงต่อเยาวชน"

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

  ผมได้อ่านบทความบทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระจาก Interent ซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่องว่า ในบทความนี้ ศ.ดร. จีระ เขียนเรื่อง ปลูกฝังเศรษฐกิจพอเพียงต่อเยาวชน  อาจารย์เขียนความจริงที่อาจารย์ได้สัมผัสมา เขเขียนแฝงไปด้วยสาระ ที่กระตุ้นทุนทางปัญญา ได้เป็นอย่างดี

ผมได้แสดงความคิดเห็น บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ ตัวอักษรสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ในหนังสือพิมพ์แนวหน้า ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ .......

 

 

ท่านที่มีโอกาสดูสารคดีสั้น 5 นาทีเฉลิมพระเกียรติ "เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์" ทาง โทรทัศน์ช่อง 11 เวลา 22.40-22.45 น. คงช่วยให้คนไทยมีความเข้าใจเศรษฐกิจพอเพียงดีขึ้น และมีโลก ทัศน์ที่กว้าง ทันโลก มองความยั่งยืน ผาสุกได้

 


สื่อเป็นจุดสำคัญในการกระจายข่าวไปสู่ประชาชน สื่อเชิงฐานความรู้ที่ทำอย่างต่อเนื่องมีน้อย มาก คนไทยจึงบริโภคสื่อเพื่อความบันเทิงมากกว่า จะเห็นได้ว่า ในโทรทัศน์ปัจจุบันมีเรื่องเกี่ยวกับ ความรู้น้อยมาก มีละครและเกมโชว์เป็นหลัก เพราะขึ้นอยู่กับ Rating ของผู้ชม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงค่านิยม ของคนไทยในปัจจุบันเป็นอย่างไร........

 
 ผมดีใจที่ ศ.ดร.จีระ และทีมงานได้ทำรายการส่งเสริมความรู้แบบนี้

เป็นรายการ ที่สามารถตอบรับกับนโยบายของชาติซึ่งจัดทำโดยคนมีอุดมการณ์ทั้งสิ้น เป็นประโยชน์ และเหมาะสมกับสถานการณ์โลกและประเทศในปัจจุบัน........

  

เป็นรายการที่เกี่ยวกับการเชื่อมโยงแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กับการดำเนินชีวิตในยุคโลกาภิวัตน์ ควรอย่างงยิ่งที่คนไทยจะได้รับการส่งเสริมให้ชมรายการเช่นนี้ให้มากขึ้น สถานีโทรทัศน์ควรจะมีบทบาทเหมือนโรงเรียนของชาติ มีรายการที่ส่งเสริมทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนทางความสุข ทุนมนุษย์ ทุนแห่งความยังยืนฯ ได้อย่างต่อเนื่อง ทั่วถึงประชาชนทุกกลุ่มในเวลาที่เหมาะสม และสมดุล ไม่ใช่มีแต่ทุนทางความสุข และเป็นความสุขที่ไม่ถาวร อย่างที่เป็นอยู่ในรายการบางรายการทำ........

  รัฐบาลเองก็น่าจะให้ความสำคัญ และทำเรื่องนี้มานานแล้ว พร้อมกับควบคุมให้สถานีโทรทัศน์ช่องอื่น ทำตามนโยบาย ให้สอดคล้องรับกันทุกช่องสถานี......... 


ผมทำสื่อมากว่า 13 ปี อย่างมุ่งมั่นและต่อเนื่อง เรื่อง HR หากไม่มีสื่อช่วย คงจะลำบาก เพราะ เป็นเรื่องที่ไกลตัว ไม่ใช่สิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ.........

 
 

ผมเห็นด้วยกับ ศ.ดร.จีระ ในประเด็นที่ว่า คนส่วนใหญ่ไม่ให้ความสำคัญเรื่องทรัพยากรมนุษย์  ดูได้จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-7 เราเป็นไปตามกระแสทุนนิยม เน้นสิ่งปลูกสร้าง เน้นการพึ่งพาต่างประเทศ เน้นตลาดต่างประเทศ อะไรที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศดูดีไปหมด.........

  

จากผลการดำเนินการตามแผนฯฉบับที่ 1-7 โดยไม่มีการเน้นเรื่องทรัพยากรมนุษย์ ไม่เน้นเรื่องแนวคิด ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง .......

  

แน่นอนว่า แผนฯ ฉบับที่ 1-7 ย่อมมีส่วนดี มากหลายประการที่ไม่สามารถกล่าวถึงได้ในที่นี้ แต่ก็มีผลที่เกิดขึ้น ที่ไม่อาจละเลยนำมาเป็นบทเรียนในการกำหนดนโยบายสาธารณะของชาติได้ ..........

  

เมื่อครั้ง สิ้นสุดแผนฯที่ 7  เราก็พบปัญหาในชาติบ้านเมือง เราไม่สามารถใช้แผนฯฉบับที่ 8 ได้อย่างเต็มที่ เราต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของต่างชาติ เพราะเราเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ เราเกิดปัญหาความไม่สมดุลทางด้านเศรษฐกิจ ................

  

นอกจากนี้ เรายังมีปัญหาทางด้านวัฒนธรรม ทางด้านสิ่งแวดล้อมและความไม่สมดุลทางทรัพยากรธรรมชาติมากมาย ล้วนเป็นเพราะผลพวงของการปฏิบัติตามแผนฯ ที่ปราศจากการนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปราศจากการพัฒนาเรื่องทรัพยากรมนุษย์ อย่างจริงจัง  ........................

 
จะมีการนำเอารายการนี้ ไปสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ดำริที่ จะทำ DVD อีก 1 หมื่นชุด เพื่อแจกไปตามโรงเรียนต่าง ๆ เพราะการเข้าถึงเยาวชน เป็นเรื่องสำคัญ หาก ไม่ทำ เยาวชนคงจะถูกกระแสของสังคมพาไปสู่บริโภคนิยม คลั่งไคล้เงิน แฟชั่น ดารา และ Brandname ต่าง ๆ มองข้ามคุณค่าของสังคม ไปนิยมทางตะวันตกมากเกินไป
  นอกจากนั้น ผมได้ไปสร้างชุมชนการเรียนรู้เรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์" ที่โรงเรียน ท่าม่วงราษฎร์บำรุง จ.กาญจนบุรี มีครูและนักเรียนร่วมทำ workshop อย่างมากมาย ในโจทย์ว่าโลกาภิ วัตน์คืออะไร มีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไร และเศรษฐกิจพอเพียงไปช่วยให้เราพัฒนา และรู้ทันโลกาภิวัตน์ อย่างไร..........  สำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มีบทบาทในการขับเคลื่อนแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นอย่างมาก ผมได้มีโอกาสไปเรียนวิชา เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนา ที่สถาบันพัฒนบัณฑิตบริหารศาสตร์(นิด้า) มีผู้สอนที่มาจากสำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ที่มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเป็นอย่างดี มาสอน มาอธิบายและยกตัวอย่างกรณีศึกษา ได้อย่างน่าสนใจ........ 

ในส่วนที่ ศ.ดร.จีระ ทำอยู่ อาจารย์ทำเรื่องการเผยแพร่ความรู้เศรษฐกิจพอเพียงให้กับนักศึกษาทุกระดับ ที่อาจารย์ไปสอนทั่วประเทศ ทั้งระดับ ป.เอก ป.โท ป.ตรี มัธยมฯ อาจารย์สร้างให้ลูกศิษย์เข้าใจเรื่องนี้เป็นอย่างดี จุดประกายให้ลูกศิษย์สนใจ ใฝ่รู้ ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ได้เป็นอย่างดี........

 

ผมเอง ก็ได้รับการกระตุ้น เติมพลังแห่งการเรียนรู้จากอาจารย์ และทำให้เกิดการค้นคว้าแสวงหาความรู้เพิ่มเติม โดยเฉพาะในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ผมกล่าวได้ว่า ศ.ดร.จีระ เป็นคนแรกที่ทำให้ผมเข้าใจในเรื่องนี้ จากบทความในหนังสือพิมพ์แนวหน้า และหนังสือพิมพ์อื่น เมื่อหลายปีก่อนหน้านี้....... 

การจะขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ของภาครัฐ จึงเป็นเรื่องท้าทายความสามารถของคณะรัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก เพราะเรากำลังจะขับเคลื่อน สิ่งที่จะไปต่อสู้กับกิเลสของมนุษย์ ซึ่งเป็นการต่อสู้ที่ยิ่งใหญ่ เป็นการต่อสู้ด้วยสติ ปัญญา องค์ความรู้ ...........

 รัฐบาลจึงควรต้องให้ครู อาจารย์ และข้าราชการ รัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง ผู้นำท้องถิ่น มาเป็นพันธมิตร โดยเฉพาะผู้นำท้องถิ่น คนในชนบท ต้องรีบส่งเสริมให้เขาได้มีโอกาสเรียนรู้กรอบแนวความคิด ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตใหม่ ๆ  ส่งเสริมให้เขาได้เรียนรู้ ทำความเข้าใจในแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเรื่องประชาธิปไตยแบบยั่งยืน สมดุล  จัดให้มีชุมชนดีเด่น หน่วยงานดีเด่น ตำบล อำเภอ จังหวัดดีเด่น ด้านการขับเคลื่อนแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง .........
ในวันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายนนี้ ผมจะไปสอนปริญญาเอก หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งในช่วงบ่าย จะเข้าไปชุมชน อบต. หนองกินเพล ข้างมหาวิทยาลัย เปิด โอกาสให้ลูกศิษย์ปริญญาเอก 12 คน ช่วยกันแสดงความเห็น โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม ถกเถียงกันถึง ความสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียงต่อระดับเทศบาล , อบต. และอบจ. ของจังหวัดอุบลราชธานี การ ปลูกฝังและปรับพฤติกรรมของผู้นำท้องถิ่น เพื่อไปถ่ายทอดให้ชาวบ้านด้วย.............................


 

ผมดีใจและยินดีกับ นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี รุ่นน้องด้วย ที่ ศ.ดร.จีระ ให้ความกรุณาไปสอนและแชร์ความรู้ รูปแบบการเรียนการสอนที่ ศ.ดร.จีระ ใช้ จะทำให้นักศึกษา ป.เอก มีทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา มากยิ่งขึ้น และถ้านักศึกษา ป.เอก มีบุญมากพอ(สนใจ ใส่ใจ เอาใจใส่ ต่อ ศ.ดร.จีระ) ก็จะได้ทุนทางสังคมและทุนอื่น ๆ ตามมา และจะเป็น Global Leadership ได้ในอนาคต.........................

 
ทั้งหมดนี้จะไปสู่โครงการที่ผมได้นำเสนอไปที่กระทรวงมหาดไทย ใน 12 เดือนข้างหน้า โดยจะ คัดเลือกผู้นำท้องถิ่นจากทั่วประเทศ ในระดับอบจ. , อบต.และเทศบาลทั้งหมด 5,000 คน จะสร้างสังคม การเรียนรู้แบบ 4 L's
ร่วมมือกับ PACRIM ซึ่งมีลิขสิทธิ์ 7 Habits ทำสัมมนาทางวิชาการและนำไปปฏิบัติ 3 วัน จะ เน้นถึงอุปนิสัย 7 อย่างที่ผู้บริหารท้องถิ่น ควรนำไปปรับตัวเองให้ดีขึ้น เช่น Be proactive , การตั้ง จุดหมายของเรา ( Begin with the end in mind ) , การรู้จักความสำคัญ ( put first things first ) , การ ทำงานที่เน้น win/win , การเข้าใจผู้อื่นก่อน ( Seek first to understand and then to be understood ) , การทำงานโดยร่วมมือแบบ Synergy , และการเป็นสังคมการเรียนรู้ ( Sharpen the saw ) หลังจากนั้นจะเป็น
- เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง โดยร่วมมือกับทางสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ อนุกรรมการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ที่มี ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุธ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง
- ประชาธิปไตยกับสังคมไทยและวัฒนธรรมไทย โดยมีทีมงานรัฐศาสตร์ที่มีประสบการณ์มาร่วมด้วย
- การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ กระตุ้นให้ชาวบ้านคิดเป็น โดยจะนำเสนอการเรียนรู้แบบ 4 L's ประยุกต์ กับท้องถิ่น

การร่วมมือดังกล่าว จะทำโดยให้ผู้นำท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง
ผมมั่นใจว่าการทำงานร่วมกับกระทรวงมหาดไทยครั้งนี้ จะประสบความสำเร็จในมุมกว้างและ กระจายไปทุกภาคของประเทศ.....
  เรื่องที่ ศ.ดร.จีระ จะพัฒนาคนในท้องถิ่น ในชนบทให้มีความรู้เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง เรื่องประชาธิปไต เรื่องการปรับพฤติกรรมความคิดใหม่ เป็นสิ่งที่ดีมาก เพราะจะเป็นตัวช่วยกระตุ้น ช่วยขับเคลื่อนนโยบายของรัฐ นโยบายของชาติ ได้ทุกเรื่อง เพราะเป็นการปรับทัศนคติ ความคิด เพิ่มองค์ความรู้ ให้กับผู้ที่มีอำนาจในท้องถิ้น ชุมชนใดก็ตามถ้าผู้นำมีความรู้ ควบคู่คุณธรรม คนในชุมชนนั้นย่อมมีความสุข”.     การคัดเลือกตัวแทนชุมชนมารับการเรียนรู้ น่าจะลงไปถึง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุข เพราะคนพวกนี้ มากจากการยอมรับของชาวบ้านระดับล่าง และวิถีชาวบ้านในชนบทจะสัมผัสกลุ่มคนเหล่านี้มากกว่า อบจ. อบต. .........  ผมจึงเสนอว่า ในหนึ่งอำเภอ ควรต้องส่งตัวแทนชาวบ้านที่มาเป็นทีม ซึ่งจะเป็นทีมที่จะต้องช่วยกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองตามระบอบประชาธิปไตยในท้องถิ่นต่อไป ฉะนั้นในหนึ่งอำเภอควรต้องประกอบไปด้วย อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้านและ อสม.(อาสาสมัครสาธารณะสุข) เข้ามาร่วมกิจกรรมนี้  .......  และถ้ามีโอกาสก็น่าจะให้โครงการบัณฑิตอาสาสมัครมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เข้ามามีส่วนร่วม เพราะสำนักบัณฑิตอาสาสมัครมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นสิ่งที่ ศ.ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ สร้างไว้ และมีบัณฑิตอาสาสมัครที่ มีจิตอาสาฯ มีความรู้ มีความใกล้ชิดกับชาวบ้าน กระจายอยู่ทั่วไปในชนบท บัณฑิตอาสาฯที่จบมาใหม่ รัฐก็ไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญใด ๆ มากนัก ทั้งที่เป็นคณะนักศึกษา ในโครงการบัณฑิตอาสาสมัครฯ จะต้องเข้ารับพระราชทานพระบรมราโชวาทฯ ก่อนที่จะออกไปปฏิบัติงานในพื้นที่ชนบทที่ยากไร้ ซึ่งก็หมายความว่า แม้สถาบันพระมหากษัตริย์ยังให้ความสำคัญ  แต่เมื่อจบมารัฐก็ไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญกับสิ่งนี้............  


การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ต้องทำให้สำเร็จและได้ผลภายใน 1 ปี การเลือกตั้งแบบ ประชาธิปไตย ที่มีการหาเสียงแบบประชานิยมเป็นหลักจะกลับมาอีก รัฐบาลยุคพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เน้นเรื่องการปฏิรูป หากจะทำให้ระบบทักษิณลดความสำคัญไป โดยการสร้างให้คนไทยคิดเป็น วิเคราะห์เป็น จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก.........................

 
การที่ ศ.ดร.จีระ พูดถึงประเด็นที่ว่า การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ต้องทำให้สำเร็จและได้ผลภายใน 1 ปีนั้นผมเห็นด้วย เป็นเรื่องท้าทายคณะรัฐบาลชุดนี้ แต่ถ้าจะให้รัฐบาลขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงให้สำเร็จภายใน 1 ปี อย่างทั่วถึงประชาชนทั้งประเทศ คงทำได้อยาก ผมเสนอว่า ควรต้องกำหนดประชาชนกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน ถูกต้อง เหมาะสม และประชาชนกลุ่มเป้าหมายนี้ จะต้องเป็นตัวช่วยรัฐบาลขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง แนวคิดประชาธิปไตยที่ถูกต้อง ต่อไปในอนาคต (หลังจาก 1 ปีที่รัฐบาลชุดนี้บริหารประเทศ)........ รัฐบาลและผู้ที่เกี่ยวข้องก็ควรมุ่งหน้าพัฒนาประชาชนกลุ่มเป้าหมาย อย่างต่อเนื่อง อย่างทั่วถึง ไม่ใช่แค่ทำหนเดียว แล้วคาดหวังผลเลิศเลอ การสร้างคนในบ้านเมืองเรา ต้องเข้าใจว่า ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ 1-7 เราไม่ได้มีเรื่องการสร้างคนเพื่อสร้างชาติ มากนัก ก็ต้องมาสร้างเอาตอนนี้ ก็ต้องใช้เวลา แต่ถ้าไม่ทำเลย ก็ยิ่งเสียหายหนักเข้าไป .......... 


เมื่อวันพุธที่ผ่านมา มีผู้ฟังรายการวิทยุ 96.5 MHz ของผม ส่ง SMS มาว่า ยุคคุณทักษิณอยู่ตั้ง 6 ปี ยังรอได้ แต่ยุคคุณสุรยุทธ์ผ่านไปเพียง 1 เดือนก็โจมตี ท่านนายกฯ คงต้องอดทนและอดกลั้น คณะรัฐมนตรีต้องเอาใจใส่กับการทำงานภายใน 1 ปีบ้าง ต้องคิดวางแผนการทำงานเชิงลำดับ ความสำคัญทุก ๆ วัน เพื่อให้งานที่จำเป็นลุล่วงไปได้ดี เรื่องระยะยาวก็รอได้ โดยเฉพาะการผ่าน กฎหมายในสภา เพราะเป็นโอกาสที่ดี ......

 ผมคิดว่าในการบริหารชาติบ้านเมือง ต้องใช้เวลาและความรู้ เราควรยุติการต่อว่ารัฐบาลในอดีต เลิกพูดสิ่งไม่ดีในอดีต แล้วหันมาสร้างสิ่งที่ดี วันที่ดีในอนาคติ จะสื่ออะไร จะคิดอะไร ขอให้คิดถึงแนวพระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่านทรงเน้นถึงเรื่อง ความเมตตา ความอดทน ความเสียสละ ความยุติธรรม คุณธรรม จริยธรรม สื่อด้วยความสัจ สื่อออกไปด้วยความเมตตา ปรารถนาดีต่อผู้อื่น สื่อออกไปไม่ให้ผู้อื่น และตนเองต้องเป็นทุกข์ สื่อเพื่อประโยชน์และความผาสุกของชาติอย่างยั่งยืน สมดุล....... 
ผมโชคดีที่รัฐมนตรีบางท่านที่รู้จัก ริเริ่มงานบางอย่าง ได้กรุณาเล่าให้ผมทราบ และขอความเห็น เช่น รัฐมนตรีแรงงาน คุณอภัย จันทนจุลกะ ขอให้ผมช่วยดูกฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาฝีมือแรงงาน ที่ จะเข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผมดีใจที่กระทรวงแรงงานเป็นกระทรวงพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เช่นที่ ท่านรัฐมนตรีพูด ปัจจุบันเป็นยุคการแข่งขัน รัฐบาลและกระทรวงแรงงานต้องสร้างคุณภาพแรงงานให้ สูงขึ้น กระทรวงแรงงานไม่ใช่กระทรวงด้านสวัสดิการแรงงานเท่านั้น แต่เป็นกระทรวงในการสร้างแรงงาน เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน ที่ต้องยั่งยืน เพราะทักษะกับความรู้เปลี่ยนตลอดเวลา แต่นโยบาย ต่าง ๆ ไม่ได้ออกมาตามนี้ เพราะข้าราชการมีความเข้าใจในมุมแคบ ๆ .........
 .ในความเห็นผมคิดว่า กระทรวงแรงงานฯ ก็เหมือนกับฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ  ต้องมีภาระหน้าที่ในการ วางแผนอัตรากำลังแรงงาน การฝึกอบรมและพัฒนา การบริหารแรงงานสัมพันธ์ กฎข้อบังคับต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้แรงงาน ความเป็นอยู่ของแรงงาน สวัสดิการ ประกันสงคม เป็นต้น ........ 

แต่ที่ผ่านมา ประเทศเรามีปัญหาด้านแรงงานอย่างมาก ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน (ต้องนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทดแทน) ปัญหาคุณภาพแรงงานด้อยปัญญา ปัญหาแรงงานขาดทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนทางความสุข ทุนแห่งความยังยืนฯ ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาความมั่นคงของทรัพยากรมนุษย์ ความมั่นคงของชาติ ..........

 

ปัญหาดังกล่าว มีทั้งปัญหาเรื่องระบบ การจัดการ ปัญหาเรื่องบุคลากรผู้ดำเนินการ ซึ่งก็เหมือนกับปัญหาในองค์การทั่วไป ๆ ที่มีปัญหาใหญ่อยู่สองประการคือ ปัญหาเรื่องระบบ ปัญหาเรื่องคน ทำให้วิสัยทัศน์สั้น ผิดเพี้ยน ยุทธศาสตร์การจัดการจึงบกพร่อง ก็ต้องรีบแก้ไข เพื่อความสำเร็จด้านทรัพยากรมนุษย์ของช่าติทั้งระยะสั้นและระยะยาว......

 


ส่วนคุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม ได้เล่าให้ผมทราบว่า ในยุคโลกาภิวัตน์ บทบาทของวัฒนธรรมไทยจำเป็นมาก โดยเฉพาะค่านิยมของเยาวชน ที่เน้นวัตถุ และสิ่งที่ได้มาง่าย ๆ ท่านยังเร่งรัดที่จะมีสื่อ สารคดีดี ๆ ทางโทรทัศน์ มากระตุ้นให้เยาวชนไทย หวงแหนวัฒนธรรม และ ค่านิยมดี ๆ ของคนไทยในอดีต โดยเฉพาะเรื่องการแบ่งปัน ความพอประมาณ และมองส่วนรวมมากกว่า ส่วนตัว vสัปดาห์นี้ ขอให้จับตาดูประเทศเวียดนาม ซึ่งเพิ่งเป็นสมาชิก WTO และเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำ APEC รัฐบาลเขามองไกล ไม่เน้นการตลาดแบบรัฐบาลไทยในอดีต แต่เน้นความรู้เชิงวิทยาศาสตร์ เขา เน้นทรัพยากรมนุษย์ ผมอิจฉาประเทศเวียดนามครับ..........

 

ผมคิดว่า เวียดนาม จะพัฒนาได้รวดเร็ว คนเวียดนามเคยมีความกดดันเมื่อสมัยสงครามเวียดนาม เขาได้รับบทเรียน เขามีประสบการณ์แห่งความเจ็บปวดมา เหมือนญี่ปุ่น คือฮึดสู้พัฒนาประเทศจากความพ่ายแพ้สงคราม.............

 

 

ผมสังเกตดูว่าประเทศที่เคยมีประสบการณ์ที่เจ็บปวดเหล่านี้ ไม่ว่า ญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม ฮ่องกง ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ ฯลฯ มีการพัฒนาได้ดีกว่าไทย ยกเว้นพม่า ลาว ที่ยังต้องใช้เวลาอีกพอสมควร ..........

 

ไทยเราน่าจะเรียนรู้ประสบการณ์จากเพื่อนบ้าน แล้วนำมาปรับใช้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ บูรณาการให้เกิดประโยชน์กับชาติ ทำตัวเป็นคนฉลาด มีบุญ เรียนรู้ประสบการณ์จากผู้อื่น แล้วต่อยอด อย่าได้เป็นประเทศที่ ต้องรอให้เจ็บปวดมากกว่านี้ จึงจะเกิดการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลง การน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พัฒนาประเทศชาติ จึงเป็นสิ่งดีที่ทุกส่วน ทุกระดับ ทุกคนควรต้องช่วยกัน .......... 

ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์ช่อง 11 ชื่อรายการสู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และ รายการเศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ทุกวันเวลา 22.40 น. – 22.45 น.  นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/   

 

เชิญเพื่อน น.ศ. และน้อง ๆ ป.เอก ท่านผู้สนใจ ติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ     ..........    

 

ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

               

ยม  

 

  

นักศึกษาปริญญาเอก   

 

 

รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎบัณฑิต

   

 

 [email protected] 

บทบาทผู้นำ 3 แนว[1]

   ผมได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นในฐานะเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสภา มหาวิทยาลัยฯ ไปที่หลวงพระบางกับคณะลูกศิษย์ 10 คน โดยการนำของคุณชำนาญ บัวทวน
ลูกศิษย์กลุ่มนี้เป็นผู้ที่ทำงาน
- ต่อเนื่อง
- สร้างมูลค่าเพิ่ม
- เรียนรู้ตลอดชีวิต
  
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในประเทศลาวซึ่งประเทศไทยจะมีบทบาทที่สำคัญ โดยเฉพาะ ประเทศลาวกำลังขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว
มหาวิทยาลัยสุภานุวงศ์ เป็นมหาวิทยาลัยใหม่ที่ตั้งอยู่ในหลวงพระบางมาเพียง 3 ปี อธิการบดีคำผาย ศรีสวัสดิ์ และรองอธิการบดี มาต้อนรับคณะของเราซึ่งปัจจุบันมีความร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการส่งอาจารย์ของลาวมาเรียนปริญญาโท ที่ขอนแก่น และเชียงใหม่ เพื่อ จะกลับไปเป็นอาจารย์ และจะทำมากขึ้นในอนาคต รัฐบาลเกาหลีใต้ได้มาลงทุนสร้างตึกให้คณะ วิศวกรรมศาสตร์ ประเทศไทยยังไม่เอาจริงกับนโยบายต่างประเทศแบบยั่งยืน การใช้ความรู้ต่าง ๆ ในการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ เป็นการทูตภาคประชาชนที่สำคัญมาก
  
เมื่อพูดถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประเทศลาวได้ดำเนินการมาตลอด การเรียนใน มหาวิทยาลัยของเขา เขาไม่ได้เน้นเรื่องความรู้เพื่อไปสู่ตลาดแรงงานเท่านั้น เขาจะเน้นความ พอเพียง พอประมาณ และการสร้างคุณธรรม จริยธรรม ให้บัณฑิตแบ่งปันเวลาและความรู้ให้สังคม ตลอดเวลา
ท่านควรจะหาโอกาสมาเที่ยวหลวงพระบาง เพราะเป็นเมืองที่รักษาขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมได้อย่างดี มีวัดวาอารามมาก ชาวต่างประเทศจากยุโรปมาเที่ยวหลวงพระบางมาก และ หลวงพระบางเป็นเมืองที่ UNESCO ยกย่องเป็นมรดกโลก ประเพณีการใส่บาตรของชาวหลวงพระ บาง เป็นที่เลื่องลือทั่วโลก ผมได้สัมผัสด้วยตัวเอง ใส่บาตรข้าวเหนียวในตอนเช้า มีพระมากว่า 200 องค์ น่าประทับใจมาก
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายนที่ผ่านมา นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรรัฐประศาสน ศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 13 คน ได้ไปเปิดชุมชนการเรียนรู้เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงให้แก่ ชาวบ้าน ที่วัดคูสว่าง อบต.หนองกินเพล จังหวัดอุบลราชธานี นักศึกษา ร่วมรับฟังกว่า 150 คน ประสบความสำเร็จเพราะมีการแลกเปลี่ยนความเห็นกันอย่างหลากหลาย สรุปได้ว่า
เศรษฐกิจพอเพียงสอดคล้องกับหลักพุทธศาสนา นำเสนอโดย พระณรงค์ คำซาว คือ หลักอุ อา กา สะ ซึ่งเป็นหัวใจเศรษฐี ดังนี้
- อุ มาจาก อุฏฐสัมปทา มีความขยันหมั่นเพียรในทางทำงาน
- อา มาจาก อารักขาสัมปทา ต้องรู้จักรักษาทรัพย์ที่หามาได้
- กะ (กา) มาจาก กัลยาณมิตร รู้จักคบหามิตรที่ดี
- สะ มาจาก สมะชีวิตา ต้องรู้จักเก็บหอมรอมริบ (สะสมทรัพย์)
เศรษฐกิจพอเพียงคือ พอประมาณ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกัน เป็นเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ หนทางไปสู่ความเป็นเศรษฐีโดยตนเอง และคือการกลับไปสู่รากเหง้าของเราซึ่งเป็นสังคม เกษตรกรรม
สิ่งที่สำคัญคือ ทุกคนที่เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงจะสามารถนำไปปรับพฤติกรรมของตัวเอง ได้หรือไม่
นอกจากนี้ในวันเสาร์ที่ 25 พฤศจิกายน ถึงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2549 ผมจะไปจัด หลักสูตรการเรียนรู้ 7 อุปนิสัยของผู้ทรงประสิทธิภาพสูง (7 Habits) ให้แก่คณบดีและผู้บริหารของ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำนวน 60 คน พร้อมรับการบรรยายเรื่อง ทรัพยากรมนุษย์กับนวัตกรรม โดยคุณศุภชัย หล่อโลหการ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ รวมทั้งเรียนรู้ผลกระทบจาก โลกาภิวัตน์ และวิธีการคิดต่าง ๆ โดย ดร.เฉลิมพล เกิดมณี และเรื่องภาวะผู้นำโดยผมเอง เน้นให้ เห็นถึงบทบาทต่าง ๆ ของผู้นำ
และในวันเสาร์นี้ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ จะเสด็จพระราชทานปริญญาบัตร ให้บัณฑิต ของมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ดซึ่งเป็นปีที่ 7 แล้ว ยังความปลื้มปีติ ให้แก่บัณฑิตเหล่านั้น
สัปดาห์นี้ ขอชมเชยนายกรัฐมนตรีที่ได้พบผู้นำระดับโลกในการประชุมผู้นำ APEC ท่าน ทำงานอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย ทราบว่าจะไปอธิบายให้ชาวยุโรปได้ทราบอีก ผมขอให้กำลังใจ และรักษาสุขภาพด้วย
สุดท้าย ผมมีโอกาสได้พูดเรื่องบทบาทภาวะผู้นำให้กลุ่มธนชาติ ขอเสนอให้เห็นแนวคิดของ 3 นักคิดคือ Stephen Covey, Jack Welch และของผมเอง ซึ่งผู้อ่านอาจนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ ต่อไป
  จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181
 
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง ร่างรัฐธรรมนูญ : แนวดร.อมร กับ 2 R's"

ร่างรัฐธรรมนูญ : แนวดร.อมร กับ 2 R's[1]

  

ปีนี้ฝนตกมากกว่าทุกปี อากาศยังคงร้อน สิ่งที่เกิดขึ้นในโลก ไม่มีใครทายได้ คนไทยต้องใฝ่รู้ ความรู้ที่วิเคราะห์ได้และนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม
เรื่องแรกที่คาดไม่ถึงคือ การแข็งตัวของค่าเงินบาท ขณะนี้ประมาณ 36 บาท ท่านคงจำได้ว่า เงินบาทเคยอ่อนตัวมากถึง 56 บาท และมีแนวโน้มว่าจะไปถึง 100 บาท วันนี้เหตุการณ์กลับเปลี่ยนแปลงไปมาก
ผมคิดว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนำมาประยุกต์ได้ 100% คือ
เมื่อช่วงที่เงินบาทอ่อนตัว ผู้ส่งออกได้กำไรเกินไปอย่างคุ้มค่า แต่ถ้าการได้กำไร ไม่รู้จักพอประมาณ เช่นเก็บเงินไว้ลงทุนในการพัฒนาคน ระบบการบริหารจัดการ หรือพัฒนาเทคโนโลยี เมื่อการส่งออกเริ่มติดขัด จะขอให้รัฐบาลช่วย เรียกว่า เลี้ยงไม่โต เพราะไม่ได้ประโยชน์จากอัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยนคือส่วนหนึ่งของโลกาภิวัตน์ ต้องมีภูมิคุ้มกัน หรือบริหารความเสี่ยงให้ได้
คงมีผู้ส่งออกที่มีคุณธรรมและมีปัญญา มองไปข้างหน้า พัฒนาสินค้าและการบริการอย่างต่อเนื่อง น่าจะอยู่รอด แต่ผู้ส่งออกประเภทที่ได้ดีเพราะโชค ( อัตราแลกเปลี่ยน ) ใช้จ่ายเกินตัว ลงทุนไร้สาระ คงจะไม่ยั่งยืน
อธิบดีราเชนทร์ พจนสุนทร ซึ่งเคยอยู่กรมการค้าต่างประเทศ ได้ย้ายไปเป็นอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก จะเป็นบุคคลที่ผู้ส่งออกควรจะรับฟัง เพราะท่านมองการค้าเสรีแบบยั่งยืน ลงทุนในการพัฒนาบุคลากรของกรมการค้าต่างประเทศมาตลอด และมาอยู่กรมส่งเสริมการส่งออก คงจะช่วยพัฒนาผู้ส่งออกให้เน้นคุณภาพสินค้า การใช้นวัตกรรมต่างๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้ได้อย่างยั่งยืน
จึงเป็นจังหวะดีให้ผู้ส่งออก หันมาพัฒนาสินค้า พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบริษัท ซึ่งต้องอยู่ที่ mindset ของผู้ส่งออกไทย
ผมคงมีโอกาสได้ร่วมงานกับกรมส่งเสริมการส่งออกต่อไป
อีกเรื่องหนึ่งที่ผมได้ทำคือ การสร้างภาวะผู้นำของผู้บริหารมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยเน้นความร่วมมือระหว่างกลุ่ม PACRIM ซึ่งถือลิขสิทธิ์ 7 Habits กับกลุ่ม Chira Academy และมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ โดยไปสัมมนากันอย่างสนุกที่โรงแรมแก่งสะพือรีสอร์ท ริมแม่น้ำมูล และจบอย่างดี ด้วยการมองเรื่อง Innovation หรือนวัตกรรมในยุคใหม่ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ผมทำมาหลายครั้ง แต่ครั้งนี้ได้ค้นพบปัจจัยไปสู่ความสำเร็จ 4 เรื่อง
- เรื่องแรกคือ การเรียนยุคใหม่ต้อง 2 R's เน้นความจริง (Reality) และตรงประเด็น ( Relevance )
- การเรียนยุคใหม่ต้อง 4 L's และเน้น Coaching กับ Mentoring
- การเรียนยุคใหม่ต้องมีผู้นำเอาใจใส่อย่างจริงจัง เช่นครั้งนี้ อธิการบดี ดร.ประกอบ วิโรจนกูฏ ไปร่วมฟัง และรองอธิการบดีทุกคนให้ความสนใจ
- มีการสร้างความต่อเนื่องว่าจะทำอะไรต่อไปก็สำคัญ
- มีความสนุกและอารมณ์ร่วมในการเปิดใจและรู้จักกันเป็น Teamwork ต่อไปในการทำงาน
ผมสำรวจเรื่องภาวะผู้นำ ในช่วงแรกของผู้นำที่นี่ เขาจะไม่เน้น Team work กับวิสัยทัศน์ แต่พออยู่ด้วยกัน จะรู้ว่า การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคณะคือ ความสำเร็จของการสัมมนาที่สุดยอด เขาจะไว้ใจกัน ( Trust ) มากขึ้น
นอกจากนี้ผมได้ไปเยี่ยมที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม พบว่าอุทยานนี้ เป็นแหล่งการเรียนรู้ทุกเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นักเรียนมัธยมและครูควรจะหาโอกาสไปใช้อุทยาน เป็นสังคมการเรียนรู้แบบใหม่ ขอขอบคุณหัวหน้าอุทยาน คุณอุทัย พรมนารี และลูกศิษย์ปริญญาเอกของผม คุณวินัย โสมณวัตร์
ผมได้มีโอกาสเห็นนักเรียนมัธยมจากจังหวัดจันทบุรี มาสร้างการเรียนรู้เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้ในอุทยานน่าจะเป็นจุดที่น่าสนใจในอนาคต
สุดท้าย ทุกคนต้องช่วยกันดู เรื่องการร่างรัฐธรรมนูญ ผมขอเสนอว่า แม้ว่าจะมีสมัชชาแห่งชาติ รัฐบาลควรรับฟังแนวคิดของ ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ อย่างมาก เพราะท่านมีประสบการณ์มากมาย มีประเด็นสำคัญที่จะเสนอแนะ
การร่างรัฐธรรมนูญต้องเน้น 2 R's
- ความจริง
- และตรงประเด็น
คือเอาความจริงมาพูดกัน ไม่ต้องมีมาตรามากมาย เหมือนรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 และพยายามสะท้อนคุณภาพของทรัพยากรและการศึกษา ความหลากหลายของวัฒนธรรม เน้นคุณธรรม จริยธรรมมาก ๆ บางครั้งเราไปใช้ตำราฝรั่งมากเกินไป เช่น บางส่วนมาจากฝรั่งเศส บางส่วนมาจากเยอรมนี เราควรจะดูพื้นฐานของสังคมไทย และความหลากหลายของภาคต่างๆ ด้วย

  จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง ร่างรัฐธรรมนูญ : แนวดร.อมร กับ 2 R's"

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

    ผมได้อ่านบทความบทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระจาก Interent ซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่องว่า ในบทความนี้ ศ.ดร. จีระ เขียนเรื่อง ร่างรัฐธรรมนูญ : แนวดร.อมร กับ 2 R's อาจารย์เขียนความจริงที่อาจารย์ได้สัมผัสมา นำมาเขียนแฝงไปด้วยสาระ ที่กระตุ้นทุนทางปัญญา ได้เป็นอย่างดี   ผมได้แสดงความคิดเห็น บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ ตัวอักษรสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ในหนังสือพิมพ์แนวหน้า ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ ....... 

ปีนี้ฝนตกมากกว่าทุกปี อากาศยังคงร้อน สิ่งที่เกิดขึ้นในโลก ไม่มีใครทายได้ คนไทยต้องใฝ่รู้ ความรู้ที่วิเคราะห์ได้และนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม

 
เรื่องสภาพดิน ฟ้า อากาศ ของโลก นับวันจะเปลี่ยนไปในทางที่ไม่เป็นมิตรกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องที่ควรมีการศึกษาวิจัยเพื่อค้นหาแนวทางแก้ไขและป้องกันอย่างเป็นรูปธรรม มีการดำเนินการอย่างจริงจัง นับจากนี้ไป การแก้ไขและป้องกันปัญหาดังกล่าว ควรบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมแห่งชาติทุก ๆ ฉบับ และกำหนดให้มีตัวชี้วัดความสำเร็จระยะสั้น ระยะยาวอย่างชัดเจน 


เรื่องแรกที่คาดไม่ถึงคือ การแข็งตัวของค่าเงินบาท ขณะนี้ประมาณ 36 บาท ท่านคงจำได้ว่า เงินบาทเคยอ่อนตัวมากถึง 56 บาท และมีแนวโน้มว่าจะไปถึง 100 บาท วันนี้เหตุการณ์กลับเปลี่ยนแปลงไปมาก
ผมคิดว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนำมาประยุกต์ได้ 100% คือ
เมื่อช่วงที่เงินบาทอ่อนตัว ผู้ส่งออกได้กำไรเกินไปอย่างคุ้มค่า แต่ถ้าการได้กำไร ไม่รู้จักพอประมาณ เช่นเก็บเงินไว้ลงทุนในการพัฒนาคน ระบบการบริหารจัดการ หรือพัฒนาเทคโนโลยี เมื่อการส่งออกเริ่มติดขัด จะขอให้รัฐบาลช่วย เรียกว่า เลี้ยงไม่โต เพราะไม่ได้ประโยชน์จากอัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยนคือส่วนหนึ่งของโลกาภิวัตน์ ต้องมีภูมิคุ้มกัน หรือบริหารความเสี่ยงให้ได้
คงมีผู้ส่งออกที่มีคุณธรรมและมีปัญญา มองไปข้างหน้า พัฒนาสินค้าและการบริการอย่างต่อเนื่อง น่าจะอยู่รอด แต่ผู้ส่งออกประเภทที่ได้ดีเพราะโชค ( อัตราแลกเปลี่ยน ) ใช้จ่ายเกินตัว ลงทุนไร้สาระ คงจะไม่ยั่งยืน

 

เกี่ยวกับปัญหาของสถานประกอบการ ธุรกิจอุตสาหกรรมการส่งออก เท่าที่ผมทราบ คือเจอผลกระทบจากต้นทุนสูงขึ้น เช่นพลังงาน วัตถุดิบ ค่าแรงฯลฯ   สิ่งที่ประเทศไทยเคยได้เปรียบในการส่งออก เช่น อัตราค่าแรงที่ถูกกว่า คุณภาพแรงงานที่ดีกว่า ได้ลดน้อยลงจนถึงขั้นที่ทำให้ต่างชาติหันไปลงทุน หรือซื้อหาสินค้าจากประเทศอื่น ๆ ที่ดีกว่า ถูกกว่า ทำให้สถานประกอบการที่ผลิตเพื่อการส่งออก แทบเอาตัวไม่รอดอยู่นานพอสมควร บางแห่งต้องลดต้นทุนจนตัวบาง หันมาลดอัตรากำลังคนเป็นระยะ ๆ

  

น่าเห็นใจเจ้าของกิจการ ที่ทำการส่งออก และเห็นใจแรงงานที่บางแห่งต้องลดงาน และถูกเลิกจ้างลงเพราะลูกค้าต่างชาติหนีไปซื้อสินค้าในประเทศอื่น ไม่มีงานทำอย่างต่อเนื่อง  ปัญหาเช่นนี้ ถ้านำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ตั้งแต่แรก ๆ ก็คงจะมีแผนสำรอง รองรับไว้แล้ว การนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ จะสามารถช่วยให้เจ้าของกิจการรู้จักคิดลงทุน ดำเนินธุรกิจอย่างมีเหตุ มีผล สมดุล พอประมาณ อย่างมีความรอบรู้ มีคุณธรรม จะช่วยให้ปัญหาหนักกลายเป็นปัญหาเบา ช่วยบรรเทาอาการผิดพลาดทางการดำเนินธุรกิจได้

 


อธิบดีราเชนทร์ พจนสุนทร ซึ่งเคยอยู่กรมการค้าต่างประเทศ ได้ย้ายไปเป็นอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก จะเป็นบุคคลที่ผู้ส่งออกควรจะรับฟัง เพราะท่านมองการค้าเสรีแบบยั่งยืน ลงทุนในการพัฒนาบุคลากรของกรมการค้าต่างประเทศมาตลอด และมาอยู่กรมส่งเสริมการส่งออก คงจะช่วยพัฒนาผู้ส่งออกให้เน้นคุณภาพสินค้า การใช้นวัตกรรมต่างๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้ได้อย่างยั่งยืน
จึงเป็นจังหวะดีให้ผู้ส่งออก หันมาพัฒนาสินค้า พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบริษัท ซึ่งต้องอยู่ที่ mindset ของผู้ส่งออกไทย
ผมคงมีโอกาสได้ร่วมงานกับกรมส่งเสริมการส่งออกต่อไป

 

ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล มักจะให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  และมีความเชื่อวา ทรัพยากรมนุษย์นั้นมีค่ายิ่งกว่าทรัพยากรใด ๆ ในองค์การ พัฒนาอะไรก็ติด ถ้าไม่คิดพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ องค์การที่เจริญกว้าหน้าและยั่งยืน จึงมักสนใจในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง ๆ เช่น ปูนซิเมนต์ไทย  ปตท. TOYOTA ฯลฯ  ผมดีใจที่ทราบว่าแม้ใน วงการราชการ อย่างเช่น กรมการค้าต่างประเทศก็มีคนอย่างอธิบดีราเชนทร์ ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

 


อีกเรื่องหนึ่งที่ผมได้ทำคือ การสร้างภาวะผู้นำของผู้บริหารมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยเน้นความร่วมมือระหว่างกลุ่ม PACRIM ซึ่งถือลิขสิทธิ์ 7 Habits กับกลุ่ม Chira Academy และมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ โดยไปสัมมนากันอย่างสนุกที่โรงแรมแก่งสะพือรีสอร์ท ริมแม่น้ำมูล และจบอย่างดี ด้วยการมองเรื่อง Innovation หรือนวัตกรรมในยุคใหม่ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

 การสัมมนาเช่นนี้ในภาคธุรกิจเอกชนบางแห่งถือเป็นหลักสูตรบังคับสำหรับผู้บริหารทุกระดับต้องเข้าเรียน เพื่อนำความรุ้มาช่วยขับเคลื่อนความสำเร็จในองค์การ   ผมดีใจที่เห็นทางมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ให่ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์ ให้ความสำคัญกับการลับเลื่อยให้คม ให้ความสำคัญกับการจัดสัมมนาให้กับผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัย  ถ้าจะให้ได้ผลดี ก็ควรให้มีการขับเคลื่อนองค์ความรู้ไปสุ่การปฏิบัติ ให้เกิดผลทั้งแก่ตนเอง แก่สถาบัน องค์การ และแก่สังคม อย่างเป็นรูปธรรม อย่างเช่นที่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยคุณชำนาญ กำลังดำเนินการอยู่ขณะนี้ 


ผมทำมาหลายครั้ง แต่ครั้งนี้ได้ค้นพบปัจจัยไปสู่ความสำเร็จ 4 เรื่อง
- เรื่องแรกคือ การเรียนยุคใหม่ต้อง 2 R's เน้นความจริง (Reality) และตรงประเด็น ( Relevance )
- การเรียนยุคใหม่ต้อง 4 L's และเน้น Coaching กับ Mentoring
- การเรียนยุคใหม่ต้องมีผู้นำเอาใจใส่อย่างจริงจัง เช่นครั้งนี้ อธิการบดี ดร.ประกอบ วิโรจนกูฏ ไปร่วมฟัง และรองอธิการบดีทุกคนให้ความสนใจ
- มีการสร้างความต่อเนื่องว่าจะทำอะไรต่อไปก็สำคัญ
- มีความสนุกและอารมณ์ร่วมในการเปิดใจและรู้จักกันเป็น Teamwork ต่อไปในการทำงาน
ผมสำรวจเรื่องภาวะผู้นำ ในช่วงแรกของผู้นำที่นี่ เขาจะไม่เน้น Team work กับวิสัยทัศน์ แต่พออยู่ด้วยกัน จะรู้ว่า การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคณะคือ ความสำเร็จของการสัมมนาที่สุดยอด เขาจะไว้ใจกัน ( Trust ) มากขึ้น

 

การสำรวจก่อนจบการอบรม สัมมนา เป็นการหาข้อมูลที่เป็นธรรมชาติตามที่เป็นอยู่ ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่แปลก หรือผิดแต่อย่างใด เหมือนหมอที่ตรวจสุขภาพ ก่อนให้คำแนะนำหรือให้วิตามินบำรุงร่างกายซึ่งอาจพบว่า การดำเนินชีวิตปกติขาดการออกกำลังกาย เครียดกับงานมากเกินไป ก็เป็นผู้บริหาร โดยทั่วไปมักจะมีอาการเช่นนี้ แต่เมื่อหมอตรวจวินิจฉัยให้ความรู้ไปแล้วก็มีการปรับทัศนคติ การดำเนินชีวิตใหม่ ให้ความสำคัญที่ถูกจุด

  

การทำงานในอดีตอาจจะเน้นระบบ ระเบียบ ทำงานตามได้รับมอบหมายเป็นสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด แต่ในปัจจุบัน เน้นทำงานให้บรรลุวิสัยทัศน์ ซึ้งต้องอาศัยองค์ความรู้ที่สด อาศัยทีมงาน อาศัยการเป็นผู้นำที่มีสัมพันธ์ที่ดีมีเครือข่าย ทุนทางสังคม  ซึ่งผลการสำรวจทั้งก่อนสัมมนาและหลังสัมมนา ชี้ให้เห็นถึงการพัฒนาทัศนคติ ความคิดใหม่ ของผู้เข้าร่วมสัมมนา ซึ้งถือว่า Win-Win กันทุกฝ่าย

ผมเองไปร่วมสังเกตการณ์ก็ มีความสุข และได้ร่วมแชร์ประสบการณ์ไปบ้าง นี่เป็นการสัมมนาที่ผมเห็นว่าเป็นประโยชน์อย่างมากกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง   
นอกจากนี้ผมได้ไปเยี่ยมที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม พบว่าอุทยานนี้ เป็นแหล่งการเรียนรู้ทุกเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นักเรียนมัธยมและครูควรจะหาโอกาสไปใช้อุทยาน เป็นสังคมการเรียนรู้แบบใหม่ ขอขอบคุณหัวหน้าอุทยาน คุณอุทัย พรมนารี และลูกศิษย์ปริญญาเอกของผม คุณวินัย โสมณวัตร์
 
ผมได้มีโอกาสเห็นนักเรียนมัธยมจากจังหวัดจันทบุรี มาสร้างการเรียนรู้เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้ในอุทยานน่าจะเป็นจุดที่น่าสนใจในอนาคต

 

ผมได้มีโอกาสติดตามอาจารย์ไปที่อุทยานฯแห่งนี้ด้วย  ขอขอบคุณ หัวหน้าอุทยานฯ คุณอุทัย พรมนารี ที่ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี และที่สำคัญคือหัวหน้าอุทัย เปิดโอกาสให้อุทยานแห่งนี้เป็นแหล่งที่นักเรียนได้เข้ามาเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม นักเรียนเหล่านั้นก็ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากเจ้าหน้าที่ พนักงานในอุทยานฯ เป็นอย่างดี  ขอส่งกำลังใจมาให้ พนักงานในอุทยานผาแต้ม ทุกคน ท่านมีส่วนช่วยพัฒนาเยาวชนไทย ให้เข้าใจ รักหวงแหนในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เป็นอย่างดี  ขอชื่นชมคณะครูที่พานักเรียนมา ท่านมีวิสัยทัศน์ ฉลาดในการสอนและสร้างจิตสำนึกในการรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแก่เด็กนักเรียนได้เป็นอย่างดี   


สุดท้าย ทุกคนต้องช่วยกันดู เรื่องการร่างรัฐธรรมนูญ ผมขอเสนอว่า แม้ว่าจะมีสมัชชาแห่งชาติ รัฐบาลควรรับฟังแนวคิดของ ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ อย่างมาก เพราะท่านมีประสบการณ์มากมาย มีประเด็นสำคัญที่จะเสนอแนะ
การร่างรัฐธรรมนูญต้องเน้น 2 R's
- ความจริง
- และตรงประเด็น
คือเอาความจริงมาพูดกัน ไม่ต้องมีมาตรามากมาย เหมือนรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 และพยายามสะท้อนคุณภาพของทรัพยากรและการศึกษา ความหลากหลายของวัฒนธรรม เน้นคุณธรรม จริยธรรมมาก ๆ บางครั้งเราไปใช้ตำราฝรั่งมากเกินไป เช่น บางส่วนมาจากฝรั่งเศส บางส่วนมาจากเยอรมนี เราควรจะดูพื้นฐานของสังคมไทย และความหลากหลายของภาคต่างๆ ด้วย

 การร่างรัฐธรรมนูญ ผมขอเสนอความคิดเห็นว่า  ควรนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นกรอบแนวความคิดในการร่างรัฐธรรมนูญ นอกจาก พอประมาณ มีเหตุมีผล เน้นยั่งยืน ร่างแบบค่อยเป็น ค่อยไป ค่อยแก้ไข ปรับปรุงให้เหมาะสมกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ต้องอาศัยความรู้หลากหลายสาขาวิชาผสานกับ จริยธรรม คุณธรรม ของไทย  

ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์ช่อง 11 ชื่อรายการสู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และ รายการเศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ทุกวันเวลา 22.40 น. – 22.45 น.  นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/   

  

เชิญเพื่อน น.ศ. และน้อง ๆ ป.เอก ท่านผู้สนใจ ติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ..........    

 

  

ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน

                 ยม     นักศึกษาปริญญาเอก     รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎบัณฑิต     [email protected]  
กราบเรียน ศ.ดร. จีระ และ สวัสดีผู้อ่านทุกท่านวันนี้ดิฉันได้อ่านบทความบทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระทาง Internet ซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ อาจารย์ได้กล่าวถึงเรื่องต่างๆ ดังนี้ ค่ะ  1.     อัตราแลกเปลี่ยนคือส่วนหนึ่งของโลกาภิวัตน์  ต้องมีภูมิคุ้มกัน หรือบริหารความเสี่ยงให้ได้2.     อธิบดีราเชนทร์ พจนสุนทร ซึ่งเคยอยู่กรมการค้าต่างประเทศ ได้ย้ายไปเป็นอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก จะเป็นบุคคลที่ผู้ส่งออกควรจะรับฟัง เพราะท่านมองการค้าเสรีแบบยั่งยืน ลงทุนในการพัฒนาบุคลากรของกรมการค้าต่างประเทศมาตลอด 3.     การสร้างภาวะผู้นำของผู้บริหารมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยเน้นความร่วมมือระหว่างกลุ่ม PACRIM ซึ่งถือลิขสิทธิ์ 7 Habits กับกลุ่ม Chira Academy และมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ 4.     ดร. จีระได้ค้นพบปัจจัยไปสู่ความสำเร็จ 4 เรื่อง-         เรื่องแรกคือ การเรียนยุคใหม่ต้อง 2 R's เน้นความจริง (Reality)-         การเรียนยุคใหม่ต้อง 4 L's และเน้น Coaching กับ Mentoring-         การเรียนยุคใหม่ต้องมีผู้นำเอาใจใส่อย่างจริงจัง-         มีการสร้างความต่อเนื่องว่าจะทำอะไรต่อไปก็สำคัญ-         มีความสนุกและอารมณ์ร่วมในการเปิดใจและรู้จักกันเป็น Teamwork5.     นอกจากนี้ ดร. จีระได้ไปเยี่ยมที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม พบว่าอุทยานนี้ เป็นแหล่งการเรียนรู้ทุกเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 6.     การร่างรัฐธรรมนูญต้องเน้น 2 R's
ความจริง ( Reality )
และตรงประเด็น ( Relevance )

ความคิดเห็นเพิ่มเติม

 

ดังที่ท่าน ดร. จีระ กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่า  ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงมากอย่างเห็นได้ชัด  ส่งผลกระทบไห้กับผู้ส่งออกอย่างคาดคิดไม่ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า จะเป็นในทางที่ดีเสมอไปตรงกันข้ามหากเราไม่รู้จักพัฒนาในทุกๆด้านไม่ว่าจะเป็นต้นทุนการผลิต มาตรฐานการผลิต และคุณภาพสินค้า ก็จะเป็นจุดอ่อนทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ แต่หากรู้จักพัฒนาในทุกด้านสร้างนวัตกรรม ( Innovation) ในทุกด้านดังกล่าวก็จะได้เปรียบคู่แข่งในทันที อัตราแลกเปลี่ยนคือส่วนหนึ่งของโลกาภิวัตน์  ต้องมีภูมิคุ้มกัน หรือบริหารความเสี่ยงให้ได้การใช้หลักของความมีเหตุมีผล  รวมทั้งการที่เราจะมีภูมิกัน  มีคุณธรรม  ซื่อสัตย์สุจริต  เอื้อเฟื้อต่อกัน  สิ่งต่างๆเหล่านี้สามารถช่วยให้เรารู้จักกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ  คือ  เราสร้างเครือข่ายที่ดีร่วมกัน  เรียนรู้ในสิ่งที่ดีเพื่อนำมาสู้กับสิ่งที่ไม่ดีถือหลักของความมีเหตุมีผล  ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ 100 % คือ เมื่อช่วงที่เงินบาทอ่อนตัวผู้ส่งออกได้กำไรเกินไปอย่างคุ้มค่าแต่ถ้าการได้กำไรไม่รู้จักพอประมาณ เช่น เก็บเงินไว้ลงทุนในการพัฒนาคน ระบบบริหารจัดการหรือการพัฒนาเทคโนโลยีเพราะการส่งออกเริ่มติดขัดก็ขอให้รัฐบาลช่วย อย่างนี้ เรียกว่าเลี้ยงไม่โต สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกไม่มีใครทายได้คนไทยต้องใฝ่รู้และก้าวตามมีภาวะการณ์เป็นผู้นำ (Leadership) ซึ่งน่าจะเป็นผู้นำที่มีนิสัยแบบ 4 ก  ดังนี้  

ก1   กล้าคิด  (think)  

มีนิสัยการใฝ่รู้4 L's และเน้น Coaching กับ Mentoring 

ก2   กล้านำ   (leader) 

สิ่งที่ตรงประเด็น ( Relevance)และเป็นความจริง(Reality)  

3   กล้าทำ   (do)    

มีความสนุกและอารมณ์ร่วมในการเปิดใจและรู้จักกันเป็น  Teamwork

                    

 

ก4   กล้าตัดสินใจ (decision making)

เอาใจใส่อย่างจริงจัง มีการสร้างความต่อเนื่องว่าจะทำอะไรต่อไปก็สำคัญ นำความรู้ที่วิเคราะห์ได้ไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดประโยชน์สูงสุดเท่าที่จะทำได้ การใฝ่รู้เป็นสิ่งที่จะทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ( Creativity) และการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน              และจากบทเรียนจากความจริง ดร. ได้พูดถึงการนำหลักการเรียนรู้เรื่อง การร่างรัฐธรรมนูญต้องเน้น 2 R's คือ ความจริง ( Reality )และเรื่องที่ 2 ตรงประเด็น ( Relevance ) นั้นดิฉันเห็นว่าการที่คนเราจะมามีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาเราจะต้องมีความจริงใจที่จะต้องไม่มีความเห็นแก่ตัวเอื้อประโยชน์ให้กับประชาชนสูงสุด การพูดที่ถูกต้องและตรงประเด็นก็จะช่วยให้การร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้สำเร็จได้อย่างรวดเร็ว และเน้นถึงการศึกษาและการพัฒนาคุณภาพประชากรรวมถึงการให้ความสำคัญกับทุนมนุษย์ ตามหลักรัฐประศาสนศาสตร์ในสามก๊ก ที่เน้นการให้ความสำคัญต่อทุนมนุษย์การบริหารจัดการ รวมผู้คนที่มีสติปัญญาเพื่อนำพามาสู่การบริหารประเทศ การใช้คนให้ถูกกับงานการให้ความสำคัญกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นแหล่งการสร้างสติปัญญา    ให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน ซึ่งน่าจะจัดสรรให้เยาวชนไทยในปัจจุบันโดยเร็ว ด้วยความเคารพอย่างสูง                 A’ LOTUS นักศึกษาปริญญาเอกรัฐประศาสนศาสตร์
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เสาร์ที่ 9 ธ.ค. 2549

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ

  

ปกติผมจะหาข่าว อ่านบทความต่าง ๆ แต่เช้ามืด เพื่อไม่ให้ตกข่าว และมีความรู้ใหม่ ๆ ไว้พูดคุย ปะทะความรู้ และปัญญากับผู้คนทั่วไป โดยเฉพาะกับการเรียน ป.เอก การรับรู้ข่าวสาร สาระความรู้ใหม่ ๆ รู้ช้า ความรู้อาจจะไม่สดไม่ทันโลก อาจทำให้การตัดสินบางเรื่องโดยไม่มีความรู้ที่สด ผิดพลาด เสียหายได้

ขณะนี้ เวลาตีห้าเศษ ใกล้หกโมงเช้าแล้ว 

บทความ บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ ใน เว็บของ น.ส.พ.แนวหน้า ยังไม่ปรากฏบนเว็บ เหมือนแต่ก่อน ในขณะที่บทความอื่น ๆ มีปรากฏตามปกติ  ไม่แน่ใจว่าปัญหาคืออะไร  

ทาง น.ส.พ.แนวหน้า น่าจะแก้ไข ให้เหมือนเดิม  ครับ  

ด้วยความเคารพและนับถือ

 ยม
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง ประสบการณ์กับความหนุ่มแน่น"

ประสบการณ์กับความหนุ่มแน่น[1]

 

 สัปดาห์นี้ ผมมีหลายเรื่องที่จะเล่าสู่กันฟัง
เรื่องแรก ผมได้เข้าไปถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในนามนายกสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ที่ผ่านมา พวกเราชาวนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์รู้สึกปลาบปลื้มที่มีโอกาสได้เข้าไปถวายพระพร ยิ่งไปกว่านั้นยังได้รับฟังพระราชดำรัสซึ่งมีแนวคิดของพระองค์ท่านหลายเรื่อง
เรื่องที่สำคัญมาก คือ อายุและประสบการณ์ ดูเหมือนว่า สื่อมวลชนของไทย มักจะมองคนที่สูงอายุในทางลบมากกว่าทางบวก ในขณะที่พระองค์ท่านทรงเห็นว่า บุคลากรที่เข้าไปรับใช้ชาติ โดยเฉพาะคณะรัฐมนตรีชุดพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ถึงจะมีอายุมาก แต่เปี่ยมไปด้วยประสบการณ์ และรอบคอบ สุขุม ควรจะให้กำลังใจ ผมค่อนข้างจะคล้อยตามแนวคิดดังกล่าว เพราะปัจจุบันอายุเป็นเพียงตัวเลข
จริงอยู่ที่เมื่อ 30 ปีที่แล้ว ใครที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปถือว่าหมดสภาพ แต่ในปัจจุบัน การออกกำลังกาย การควบคุมอารมณ์ การบริโภคโภชนาการที่ถูกต้อง การสะสมประสบการณ์ และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทำให้ผู้สูงอายุวัย 60 ปีขึ้นไปยังทำคุณประโยชน์ต่อชาติได้ดี
ผมได้ข้อมูลที่น่าสนใจ อยากจะเปรียบเทียบให้เห็นว่า คณะทำงานศึกษาปัญหาอิรักที่ Bush ตั้งขึ้นมา ปรากฏว่า อายุของแต่ละคน มีเลข 7 ขึ้นหน้าแล้วแทบทั้งนั้น ผมจึงนำข้อมูลมาให้ดู ดังนี้
- James Baker ทนายความ อายุ 76 ปี
- Lee Hamilton ทนายความ อายุ 75 ปี
- Sandra Day O'Connor ทนายความ อายุ 76 ปี
- Lawrence Eagleburger นักการทูต อายุ 76 ปี
- Edwin Meese III ทนายความ อายุ 74 ปี
- Alan Simpson ทนายความ อายุ 75 ปี
- Vernon Jordan ทนายความ อายุ 71 ปี
- Leon Panetta ทนายความ อายุ 68 ปี
- William Perry วิศวกร อายุ 79 ปี
- Charies Robb ทนายความ อายุ 67 ปี
ดังนั้น สังคมไทยและสื่อไทย น่าจะปรับทัศนคติ (Mindset) ให้เห็นความสำคัญและคุณค่าของคนสูงอายุที่มากด้วยประสบการณ์ มากกว่าที่ควรจะเป็นปัจจุบัน
สัปดาห์นี้สำหรับผมเป็นสัปดาห์ของ Local/Global ผมบินไปประชุม APEC HRD ซึ่งกระทรวงแรงงาน จัดเป็นประจำทุกปีที่ญี่ปุ่น ในวันที่ 5-6 ธันวาคมที่ผ่านมา ปีนี้เน้นให้เห็นถึงความสำคัญของภาคเอกชน ที่จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศต่าง ๆ ใน APEC ผมในนามของประธาน (Lead Shepherd) ได้กล่าวเปิดการประชุม โดยเน้นว่า ภาคเอกชนในประเทศไทยหรือใน APEC มีส่วนในการช่วยอย่างยิ่ง ให้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรต่าง ๆ ดีขึ้น ด้วยเหตุผล 3 ประการ
- เอกชนจะรู้ความต้องการของทักษะและความรู้ที่ทันสมัยอยู่เสมอ ภาครัฐจะนำทาง Supply แต่ภาคเอกชนจะเก่งเรื่อง Demand
- ภาคเอกชนจะกระตุ้นให้พนักงาน มีความคิดสร้างสรรค์ สร้าง Ideas ใหม่ๆ ในการทำงานตลอดเวลา
- ภาคเอกชนจะเน้นเรื่องนวัตกรรมในการพัฒนาบุคลากรมาก เรื่องนี้จึงอยากจะฝากกระทรวงแรงงานของไทยให้ความสำคัญด้วย
การสร้าง Private/Public Co-operation คือการให้รัฐและเอกชนร่วมมือกันมากขึ้นในการพัฒนาฝีมือและความรู้ของแรงงานไทย ผมได้แนวคิดที่น่าสนใจคือ ในยุคโลกาภิวัตน์ บริษัทข้ามชาติที่มาทำธุรกิจในประเทศกำลังพัฒนา น่าจะช่วยประเทศเหล่านั้น โดยการนำประสบการณ์มาช่วยพัฒนาบุคลากร โดยเฉพาะพัฒนาการศึกษา หรือพัฒนา SME's ด้วย
มีตัวอย่างบริษัทข้ามชาติญี่ปุ่นในประเทศอินโดนีเซีย ทำงานร่วมกับรัฐบาลท้องถิ่น จัดตั้งสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานและโรงเรียน ช่วย SME's ได้ด้วย ตัวอย่างเหล่านี้น่าจะนำมาใช้ในประเทศไทยบ้าง เช่นให้ TESCO LOTUS หรือร้าน 7 eleven พัฒนาธุรกิจเล็กๆ หรือโชห่วยร้านค้าปลีกของเรา โดยให้ อบต. หรือเทศบาลมีส่วนร่วมด้วย
กลับจากญี่ปุ่น วันรุ่งขึ้นผมได้รับเกียรติจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ และ Lingnan University จากฮ่องกง ซึ่งจัดการประชุมประจำปีของ Academy of International Business (AIB) ภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่โรงแรมพลาซ่าแอทธินี กรุงเทพฯ ให้ผมเป็นองค์ปาฐก พูดถึงเรื่อง Global vision กับ Local competence
ผมเน้นว่า โลกาภิวัตน์คงจะอยู่กับไทยอีกนาน ทำอย่างไร เราจะฉกฉวยโอกาสและหลีกเลี่ยงการคุกคาม เช่น เรามี Internet ก็ใช้ในการเรียนการสอนมากขึ้น อย่าใช้เพื่อเล่นเกมส์หรือดูแต่เรื่องที่ไม่ดี หรือเยาวชนหลงใหลวัตถุนิยม โดยไม่เห็นคุณค่าของสังคมและวัฒนธรรมไทย
ผมยังได้ยกตัวอย่างว่า ไทยน่าจะเน้นสาขาการผลิตที่มีศักยภาพในการแข่งขันระดับโลก มากกว่าที่จะผลิตหรือแข่งขันในสิ่งที่เราไม่เก่ง เช่น
- การท่องเที่ยว
- อาหาร
- การแพทย์
- Spa
- ธุรกิจ เช่น รถยนต์ หรือ เซรามิก (Ceramics)
แทนที่จะแข่งกับเขาทุกๆ เรื่อง
สุดท้าย ผมได้รับเกียรติจากท่านรัฐมนตรีแรงงาน คุณอภัย จันทนจุลกะ ร่วมกับปลัดและอธิบดีหลายคน ปรึกษาหารือกันที่จะสร้างให้กระทรวงแรงงานเป็นกระทรวงเศรษฐกิจอย่างแท้จริง หลายเรื่องที่ผมรับฟังและจะช่วยขับเคลื่อนให้กระทรวงแรงงานไปสู่การสร้างศักยภาพการแข่งขันอย่างยั่งยืนในอนาคต
ผมคิดว่าความเอาใจใส่ของท่านรัฐมนตรีคือ แสวงหาความรู้ใหม่ๆ จากผู้รู้ข้างนอก ที่จะเป็นประโยชน์ต่อกระทรวง ผมเรียกระบบนี้ว่า Outside - In ครับ
 จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181
 
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง ประสบการณ์กับความหนุ่มแน่น"

 สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

   

ผมขอกราบขอบพระคุณ ศ.ดร.จีระ และท่านคุณหญิง ที่ให้เกียรติเชิญผมไปร่วมรับเสด็จ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ที่ผ่านมา นับเป็นประสบการณ์ที่มีค่ายิ่งสำหรับผมและครอบครัว

 

 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการได้มีโอกาสร่วมรับเสด็จ ติดตามเสด็จ  ได้เห็นสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อย่างใกล้ชิด ได้มีโอกาเห็นพระองค์ท่านสนใจศึกษากิจกรรมต่าง ๆ ในสวนหลวง ร.9  

ได้มีโอกาสได้เห็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสนพระทัยและทรงสนทนากับผู้มารับเสด็จด้วยพระอิริยาบทที่เป็นกันเอง เมตตาต่อทุกคน ได้มีโอกาสเห็นพระองค์เสวยพระกระยาหารค่ำ การได้ร่วมรับประทานอาหารค่ำกับแขกผู้มีเกีตรติ ทิ่ติดตามรับเสด็จ ในเวลาเดียวกัน  
 

ผมได้เห็นวีธีการบริหารทุนทางสังคมของ ศ.ดร.จีระ และของคุณหญิง น่าสนใจเป็นอย่างมาก คุณหญิงท่านเป็นผู้หญิงที่ SMART คล่อง เก่งและดี เป็นตัวอย่างให้นักศึกษารุ่นน้องอย่าง คุณโลตัส ได้เรียนรู้ ศึกษาการทำงานที่มีคุณค่าของหญิงไทย

ในงานนี้ผมได้มีโอกาสรู้จักกับท่านหม่อมหลวงฯท่านหนึ่ง ท่านมีอายุ 87 ปี แต่ยังดูเหมือนแค่ 67 ปี ทราบภายหลังว่า ท่านเป็นผู้ที่ถวายการดูแล สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตั้งแต่ท่านยังทรงพระเยาว์ คอยดูแลเรื่องพระเกศา พระทรงเครื่อง และเรื่องอื่น ๆ ให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อย่างใกล้ชิด นับว่าโชคดีมาก

  และได้มีโอกาสรู้จักกับผู้ทรงคุณวุฒิที่ดูแลด้านการเกษตร ในวังสวนจิตลดา เป็นชายสูงอายุ แต่ดูแข็งแรงและมีจิตใจดี เป็นผู้ที่รู้เรื่องต้นไม้ สิ่งแวดล้อมเป็นอย่างดี จากการที่ท่านได้อยู่ใกล้ชิดต้นไม้ ทำให้ท่านดูมีเมตตา สภาพ จิตใจดีเป็นอย่างยิ่ง และได้พูดคุยกันถึงเรื่องต้นไม้ เรื่องปัญหา โลกร้อน และต้นไม้ในการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   

นอกจากนี้ ศ.ดร.จีระ ยังได้แนะนำให้ผมได้มีโอกาสรู้จักอดีตผู้อำนวยการสำนักงานสภาวิจัยแห่งชาติ ผู้บริหารระดับสูงและแขกผู้มีเกียรติอีกหลายท่าน  ยังมีอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่ได้จากการมาในงานนี้ ที่ผมได้เรียนรู้และเกิดปัญญา 

 ศ.ดร.จีระ และคุณหญิงของท่าน ไม่ได้ให้แค่การ์ดเชิญในงานนี้เท่านั้น ท่านได้ให้ประสบการณ์ที่มีค่ายิ่งในชีวิตของผม และนับเป็นเกียรติแก่ครอบครัวของผมเป็นอย่างสูง ขอขอบพระคุณอาจารย์และคุณหญิงฯ อีกครั้ง  มา ณ โอกาสนี้  

 

วกกลับมาเรื่อง  บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระจาก Internet น.ส.พ.แนวหน้าวันเสาร์ที่ 10 ธ.ค.นี้ซึ่งใช้ชื่อเรื่องว่า ในบทความนี้ ศ.ดร. จีระ เขียนเรื่อง ประสบการณ์กับความหนุ่มแน่น   ผมได้แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับบทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ ตัวอักษรสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ในหนังสือพิมพ์แนวหน้า ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ ....... 

  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านทรงเห็นว่า บุคลากรที่เข้าไปรับใช้ชาติ โดยเฉพาะคณะรัฐมนตรีชุดพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ถึงจะมีอายุมาก แต่เปี่ยมไปด้วยประสบการณ์ และรอบคอบ สุขุม ควรจะให้กำลังใจ ผมค่อนข้างจะคล้อยตามแนวคิดดังกล่าว ........ในส่วนตัวของผม คนที่มีอายุตัวมาก และมีมากด้วยความรู้ที่สดและมีประสบการณ์ชีวิตที่มีคุณค่าด้วย ย่อมเป็นบุคคลที่มีคุณค่าเสมอกับสังคม และคนรุ่นหลัง ผมชื่นชม ท่านนายกรัฐมนาตรี พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ท่านเป็นผู้ใหญ่ที่มีอายุมาก และมีประสบการณ์ที่มีคุณค่าและควรเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง ดูเหมือนว่า ยิ่งท่านมีอายุมาก ยิ่งฟิต และมีคุณภาพ มีคุณค่าต่อชาติบ้านเมืองยิ่งขึ้น ควรอย่างยิ่งที่คนรุ่นผมจะศึกษาและเอาอย่าง และท่านเหมาะอย่างยิ่งที่จะมาเป็นผู้นำประเทศในช่วงระยะเวลานี้......................ผมคิดว่า พวกเรา และสื่อต่าง ๆ ควรให้กำลังใจท่าน ศึกษาส่วนดีและภารกิจของท่าน เป็นโอกาสในการพัฒนาประเทศอีกมิติหนึ่ง  และคอยถามตัวเองว่าหากเรามีอายุขนาดเท่าท่านนายกฯ ขณะนี้ เราจะทำคุณประโยชน์ให้แผ่นดินได้เท่าท่านหรือไม่     เพราะปัจจุบันอายุเป็นเพียงตัวเลข จริงอยู่ที่เมื่อ 30 ปีที่แล้ว ใครที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปถือว่าหมดสภาพ แต่ในปัจจุบัน การออกกำลังกาย การควบคุมอารมณ์ การบริโภคโภชนาการที่ถูกต้อง การสะสมประสบการณ์ และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทำให้ผู้สูงอายุวัย 60 ปีขึ้นไปยังทำคุณประโยชน์ต่อชาติได้ดี .........

ผมเห็นด้วย กับ ศ.ดร.จีระ คนในยุคนี้สนใจเรื่องสุขภาพ มากขึ้น การบริการเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพทันสมัย ทั่วถึงมากขึ้น  ใครไม่สนใจเรื่องสุขภาพก็ถือว่าเชย ครับ  ธุรกิจเกี่ยวกับการบริการดูแล รักษาสุขภาพ จึงเป็นธุรกิจที่มาแรงทั่วโลก.............   ในปัจจุบันคนส่วนใหญ่จึงมีสุขภาพดี อายุยืนยาวขึ้น  คนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จึงแตกต่างจากคนอายุ 60 ปี สมัยก่อน อายุ 60 ปีข้นไปในปัจจุบัน ผสานกับมีความรู้ที่สด และมีประสบการณ์ที่มีคุณค่า ยังสามารถทำงานได้ดี โดยเฉพาะ งานในอาชีพนักวิชาการ ครู อาจารย์ ผู้นำ ผู้บริหาร เช่น ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ศ.ดร.บุญทัน ดอกไทสง พลเรือโท ดร. โอภาส หรือแม้กระทั่งท่านพลเรือโทโรช ซึ่งเรียน ปริญญาเอกอยู่กับพวกผมขณะนี้ ท่านอายุ 72 แล้ว สมองของท่านยังสด อยู่เสมอ และมีอุดมการณ์รักชาติบ้านเมืองอย่างยิ่ง....  

อย่างไรก็ตาม เมื่ออายุเฉลี่ยของมนุษย์ยืนยาวขึ้น การเรียนรู้ก็ควรต่อเนื่องและจริยธรรม คุณธรรมก็ควรมีมากขึ้นด้วย มิฉะนั้นก็จะเป็นคนที่มีอายุตัวที่ไม่สมดุลกับ อายุความรู้และประสบการณ์(อายุสมอง อายุปัญญา) กลายเป็นผู้ใหญ่ที่ด้อยคุณค่าไป ในบ้านเมืองเรา เป็นส่วนหนึ่งของปัญหามากกว่าเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ ครับ.......

   ดังนั้น สังคมไทยและสื่อไทย น่าจะปรับทัศนคติ (Mindset) ให้เห็นความสำคัญและคุณค่าของคนสูงอายุที่มากด้วยประสบการณ์ มากกว่าที่ควรจะเป็นปัจจุบัน ......... สื่อในปัจจุบันมีบทบาทอย่างยิ่งต่อสังคม ในความเห็นส่วนตัวของผมคิดว่า สื่อน่าจะมีส่วนช่วยพัฒนาสังคมประเทศชาติได้เป็นอย่างดี........   ผมประทับใจสื่อที่ทำเรื่องเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจและโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้คนไทยและคนทั้งโลก ได้รับรู้ ได้มีความรักและความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา  ประทับใจสื่อทีมีส่วนช่วยให้การประชาสัมพันธ์ สานใจ ให้ผู้คนหลั่งไหลช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิ ทางภาคใต้ได้เป็นอย่างดี เป็นที่ประจักษ์แก่ชาวโลก  ผมเชื่อว่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสื่อมีความตั้งใจจริงต่อพระองค์ท่าน อีกส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะมีการควบคุม มาตรการณ์ มาตรฐาน มีกฎที่เคร่งครัดในการเสนอข่าวเกี่ยวกับพระองค์ท่าน..........  

สื่อช่วยให้ความรู้ การศึกษา ให้ทันโลก ทันเหตุการณ์ต่าง ๆ รัฐควรมีการจัดการเกี่ยวกับสื่ออย่างเป็นระบบ ส่งเสริมให้มีมาตรฐานและสร้างสรรค์สังคม ประเพณีวัฒนธรรม และให้มีส่วนช่วยในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของชาติให้มากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันก็ต้องโปร่งใส เป็นกลาง ไม่ใช่สื่อในทางที่หาประโยชน์ส่วนตนหรือปิดหู ปิดตาประชาชน  ความสำเร็จของสื่อในเรื่องนี้ น่าจะนำไปประยุกต์ต่อยอดในการนำเสนอข่าว เสนอสาระอื่น ๆ  ให้แก่คนในชาติบ้านเมืองได้เป็นอย่างดี........

 
สัปดาห์นี้สำหรับผมเป็นสัปดาห์ของ Local/Global ผมบินไปประชุม APEC HRD ซึ่งกระทรวงแรงงาน จัดเป็นประจำทุกปีที่ญี่ปุ่น ในวันที่ 5-6 ธันวาคมที่ผ่านมา ปีนี้เน้นให้เห็นถึงความสำคัญของภาคเอกชน ที่จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศต่าง ๆ ใน APEC ........
 ผมในนามของประธาน (Lead Shepherd) ได้กล่าวเปิดการประชุม โดยเน้นว่า ภาคเอกชนในประเทศไทยหรือใน APEC มีส่วนในการช่วยอย่างยิ่ง ให้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรต่าง ๆ ดีขึ้น ด้วยเหตุผล 3 ประการ
- เอกชนจะรู้ความต้องการของทักษะและความรู้ที่ทันสมัยอยู่เสมอ ภาครัฐจะนำทาง Supply แต่ภาคเอกชนจะเก่งเรื่อง Demand
- ภาคเอกชนจะกระตุ้นให้พนักงาน มีความคิดสร้างสรรค์ สร้าง Ideas ใหม่ๆ ในการทำงานตลอดเวลา
- ภาคเอกชนจะเน้นเรื่องนวัตกรรมในการพัฒนาบุคลากรมาก เรื่องนี้จึงอยากจะฝากกระทรวงแรงงานของไทยให้ความสำคัญด้วย ...........
 งานในภาคเอกชน โดยเฉพาะในบริษัทใหญ่ ๆ มักจะมีหน่วยงานเกี่ยวกับการอบรมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีนโยบาย เป้าหมายแผนการอบรมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ประจำปี และหน่วยงานอบรมทรัพยากรมนุษย์ มักจะถูกควบคุมดูแลให้มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ ให้ได้ตามแผนในงบประมาณที่กำหนดไว้ ภาคเอกชนมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่องเป็นส่วนใหญ่ ทั้งหลักสูตรที่ใช้ในการอบรมก็ออกแบบได้ดังใจให้สอดคล้องกับงาน กับนโยบายคุณภาพขององค์การ กับความต้องการของลูกค้าภายในและภายนอก......... ถ้าภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคครัวเรือนทุกภาค หันมาร่วมกันในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตั้งแต่ในครรภ์มารดา ต่อเนื่อง ต่อเนื่องมาสู่วัยเด็ก วัยรุ่นและวัยทำงานร่วมกัน ให้มีทิศทางการพัฒนาที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาของสังคมโลก ก็จะเกิดประโยชน์อย่างมากต่อประเทศ และสังคมโลก.......... กระทรวงแรงงานฯ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตร และกระทรวงอื่น ๆ ควรจะต้องมีทิศทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของชาติร่วมกัน  การเรียนการสอนระดับประถม มัธยม และอุดมศึกษา ก้ควรต้องสอดคล้องต้องกันในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ชาติ ไม่ใช่ให้แค่จบไปวัน ๆ เท่านั้น เรียกว่าทำงานกันเป็นทีม ทำการพัฒนาคนไทยให้ยั่งยืน มีสุข มีความรู้มีปัญญา และอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  
กลับจากญี่ปุ่น วันรุ่งขึ้นผมได้รับเกียรติจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ และ Lingnan University จากฮ่องกง ซึ่งจัดการประชุมประจำปีของ Academy of International Business (AIB) ภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่โรงแรมพลาซ่าแอทธินี กรุงเทพฯ ให้ผมเป็นองค์ปาฐก พูดถึงเรื่อง Global vision กับ Local competence
ผมเน้นว่า โลกาภิวัตน์คงจะอยู่กับไทยอีกนาน ทำอย่างไร เราจะฉกฉวยโอกาสและหลีกเลี่ยงการคุกคาม เช่น เรามี Internet ก็ใช้ในการเรียนการสอนมากขึ้น อย่าใช้เพื่อเล่นเกมส์หรือดูแต่เรื่องที่ไม่ดี หรือเยาวชนหลงใหลวัตถุนิยม โดยไม่เห็นคุณค่าของสังคมและวัฒนธรรมไทย

ผมยังได้ยกตัวอย่างว่า ไทยน่าจะเน้นสาขาการผลิตที่มีศักยภาพในการแข่งขันระดับโลก มากกว่าที่จะผลิตหรือแข่งขันในสิ่งที่เราไม่เก่ง เช่น
- การท่องเที่ยว
- อาหาร
- การแพทย์
- Spa
- ธุรกิจ เช่น รถยนต์ หรือ เซรามิก (Ceramics)
แทนที่จะแข่งกับเขาทุกๆ เรื่อง .........
 ผมต้องขอขอบพระคุณ ศ.ดร.จีระ ที่เปิดโอกาสให้ผมได้เข้าไปร่วมประชุมประจำปีของ Academy of International business(AIB) ภาคพื่นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในครั้งนี้ด้วย  ระหว่างที่ ศ.ดร.จีระ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นอยู่บนเวที ผมสังเกตเห็นว่ามีชาวต่างชาติสนใจในสิ่งที่อาจารย์ได้เสนอ โดยเฉพาะชาวอินเดีย และจีนฮ่องกง.......   สิ่งที่อาจารย์กล่าวว่า โลกาภิวัตน์คงจะอยู่กับไทยอีกนาน นอกจากนี้ผมคิดว่า โลกาภิวัตน์จะมีอิทธิพลกว้าง คม ชัด ลึก มากยิ่งขึ้น ต่อวิถีชีวิตของคนในแถบเอเชียมากยิ่งขึ้นด้วย และส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของสิ่งมีชีวิตบนโลก ตัวอย่างเช่น  ฤดูหนาวในกรุงเทพฯ จะไม่มีอีกต่อไป และจะไม่มีอีกในหลาย ๆ จงหวัด หลายประเทศ  เมื่อไม่มีฤดูหนาว ดอกไม้ที่ออกดอกในฤดูหนาวจะไม่มีการออกดอกอีก และบางสายพันธ์อาจจะตายไป แมลงจะมีอาหารจากเกสรดอกไม้น้อยลง มีผลให้แมลงที่หาอาหารจากเกสรดอกไม้ในฤดูหนาวบางสายพันธุ์สูญพันธุ์ อาจมีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เป็นต้น ..... 

รัฐบาลควรส่งเสริมให้มีการวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบต่อกระแสโลกาภิวัตน์ที่จะมีต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และนำผลที่ได้จากการวิจัยมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์บริหารประเทศชาติอย่างจริงจัง และขอความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ในกลุ่มเอเชีย และกลุ่มประเทศอาหรับ ร่วมมือกันกู้วิกฤตโลกที่จะมีผลจากกระแสโลกาภิวัตน์ ครับ.........

 
สุดท้าย ผมได้รับเกียรติจากท่านรัฐมนตรีแรงงาน คุณอภัย จันทนจุลกะ ร่วมกับปลัดและอธิบดีหลายคน ปรึกษาหารือกันที่จะสร้างให้กระทรวงแรงงานเป็นกระทรวงเศรษฐกิจอย่างแท้จริง หลายเรื่องที่ผมรับฟังและจะช่วยขับเคลื่อนให้กระทรวงแรงงานไปสู่การสร้างศักยภาพการแข่งขันอย่างยั่งยืนในอนาคต
 

ผมคิดว่าความเอาใจใส่ของท่านรัฐมนตรีคือ แสวงหาความรู้ใหม่ๆ จากผู้รู้ข้างนอก ที่จะเป็นประโยชน์ต่อกระทรวง ผมเรียกระบบนี้ว่า Outside - In ครับ ............

 ผมประทับใจ ศ.ดร.จีระ เป็นอย่างมาก ที่เปิดโอกาสให้ผมติดตามไปร่วมประชุมหารือและพบท่านรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานฯ คุณอภัย จันทนจุลกะ นับเป็นเกียรติอย่างสูง และขอขอบพระคุณอาจารย์มา ณ ที่นี้ ......... การได้มีโอกาสไปร่วมกิจกรรมดังกล่าว ทำให้ทราบว่า ท่านรัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน ท่านเป็นผู้ที่มีอัธยาศัยไมตรีดี อ่อนน้อมถ่อมตน และทราบว่าท่านเป็นศิษย์เก่า ม.ธรรมศาสตร์ ทำให้ทราบว่ากระทรวงแรงงานฯ โดยการนำของท่าน ให้เกียรติ ศ.ดร.จีระ และต้องการหารือเรื่องสำคัญกับอาจารย์ ผมเชื่อว่า การใช้ระบบOutside – In โดยการดึงจุดแข็งของผู้อื่นมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับงานในองค์การ เป็นสิ่งที่ดี จะได้มุมมองที่หลากหลาย และเกิดการปะทะปัญญา เกิดการคิดนอกกรอบ คิดข้ามศาสตร์ นำไปสู่การกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาในมิติใหม่ได้เป็นอย่างดี ............ อย่างไรก็ตาม งานนี้ จะสำเร็จได้ดี ส่วนหนึ่งอยู่ที่การประสานงาน ระหว่างทีมงานของกระทรวงฯ กับทีมงานของ ศ.ดร.จีระ ซึ่งควรกำหนดเจ้าภาพหรือตัวแทนในการประสานงาน  กำหนดแผน และตัวชี้วัดความสำเร็จของงานนี้ ไม่ใช้คนมาก แต่ให้ชัดเจน รวดเร็ว............  

สุดท้ายเกี่ยวกับ เรื่อง ประสบการณ์กับความหนุ่มแน่น  ในความเห็นผมคิดว่า การดำเนินชีวิตทุกช่วงอายุ ควรเสริมสร้างประสบการณ์ชีวิตที่มีค่ามีประโยชน์กับสังคม ประเทศชาติ และแสวงหาความรู้ที่สดอยู่เสมอ โดยเฉพาะบรรดานักศึกษาในระดับอุดมศึกษา ทั้ง ป.ตรี ป.โท ป.เอก และผู้ที่อยู่ในวัยทำงาน.........

การหาประสบการณ์ที่ไม่ค่อยมีสาระ ที่เกิดมูลค่าแก่สังคมประเทศชาติ เช่น การรับน้องใหม่ การฉลองปริญญา  การจัดงานวันเกิดที่มีแต่กิจกรรมกิน เล่น เที่ยว โดยปราศจากวัตถุประสงค์เชิงสร้างสรรค์ ปราศจากการแสวงหาความรู้ เพิ่มพูน ศีล สมาธิ สติปัญญา จะเป็นการปล่อยเวลา ปล่อยตัวเลขอายุให้ผ่านไปโดยไร้ค่า น่าเสียดายอย่างยิ่ง.......

ประสบการณ์กับความหนุ่มแน่น จึงเป็นประเด็นท้าทาย ภูมิปัญญาของคนรุ่นหนุ่ม ว่าจะสามารถเอาชนะกระแสโลกาภิวัตน์ กระแสแห่งความโลภ โกรธ หลงได้หรือไม่ และเป็นประเด็นท้าทาย ศักยภาพของครู อาจารย์ ผู้ปกครอง และหลักสูตรการเรียนการสอน ว่าจะทำให้เยาวชนของชาติ มีสติปัญญาคิดสิ่งเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์ได้หรือไม่............  ผมขอเชิญชวนท่านติดตามสาระน่ารู้จากศ.ดร.จีระ  ซึ่งท่านมีรายการโทรทัศน์ช่อง 11 ชื่อรายการสู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และ รายการเศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ทุกวันเวลา 22.40 น. – 22.45 น.  นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/  ........    และเชิญชวนเพื่อน น.ศ. และน้อง ๆ ป.เอก ท่านผู้สนใจ ติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ..........       

ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

ยม    

 

นักศึกษาปริญญาเอก 

    

รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎบัณฑิต  

   [email protected]  
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง ให้กำลังใจพนักางาน ITV"

ให้กำลังใจพนักงาน ITV[1]

 

 ในรายการวิทยุของผมเมื่อวันพุธที่ผ่านมา คุณนาตยา แวววีระคุปต์ ถามเกี่ยวกับพนักงานกว่าพันคนของ ITV กำลังขาดกำลังใจ เพราะคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ยังคงยืนยันคำตัดสินเดิมคือ ITV จะต้องเสียค่าปรับจำนวนมหาศาล และต้องเสียค่าสัมปทานปีละพันล้าน
แน่นอนว่าสิ่งที่กระทบต่อบุคลากรเหล่านั้นคือ ความไม่มั่นคงในการทำงาน บุคลากรเหล่านั้นมีคุณค่าต่อสังคมไทย แต่ขาดความมั่นใจในอนาคต ว่าจะไปรอดไหม จึงทำให้เกิดความวิตกว่า จะตกงานหรือไม่ และจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อย่างไร
ITV คงจะอยู่ต่อไป แต่จะต้องปรับตัวให้เป็นสื่อของประชาชนมากขึ้น ไม่ใช่สื่อเพื่อการค้าและหวังผลกำไรอย่างเช่นในอดีต
ผมหวังว่าบุคลากรที่ทำงานอยู่ในปัจจุบัน คงจะได้รับการดูแลจากผู้บริหารของกลุ่มใหม่ และหวังว่าคงจะมีวิธีการเก็บรักษาบุคลากรเหล่านี้ไว้ ไม่ใช่เลิกจ้างอย่างที่หลายคนวิตกอยู่
รัฐบาล คงจะต้องมีนโยบายชัดเจนในการดูแลพนักงาน จะทำอย่างไรต่อไป ลักษณะที่ win/win ทั้งสองฝ่าย
ผมขอให้กำลังใจมา ณ ที่นี้ เพราะ ITV มีบุคลากรด้านสื่อที่มีความสามารถและประสบการณ์มากมาย
ผมดีใจที่จะมีรายการโทรทัศน์ที่จะเน้นสาระมากขึ้น เพราะคนไทยต้องมีทางเลือกในการบริโภคสื่อ ซึ่งสื่อในปัจจุบันต้องขึ้นอยู่กับการสนับสนุนของธุรกิจ ผมเป็นตัวอย่างที่ มุ่งมั่นทำสื่อเพื่อความรู้มากว่า 13 ปี เห็นปัญหามากมายที่เกิดขึ้น เพราะไม่มีธุรกิจมาสนับสนุนอย่างแท้จริง และต่อเนื่อง
รัฐบาลยุคพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ จะปฏิรูปสื่อให้เน้นประโยชน์ส่วนรวมมากขึ้น แทนที่จะเป็นเรื่องธุรกิจอย่างเดียว จึงเป็นสิ่งที่คนไทยรอคอยและสนับสนุน
ส่วนรายการเศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ยังมีจนกระทั่งปลายเดือนธันวาคมนี้ ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 เวลา 22.40-22.45 น. และย้ำว่า เศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ขัดแย้งกับการเจริญเติบโต (ขยายตัว) ทางเศรษฐกิจหรือการแข่งขันในระดับโลกแต่อย่างใด ตรงกันข้ามกลับทำให้การขยายตัวและการแข่งขันมีความยั่งยืน เพราะจะกระตุ้นให้คนไทยบริหารความเสี่ยง มีวินัยทางการเงิน มีภูมิคุ้มกัน ผมไม่อยากให้คนในสังคมคิดว่า เศรษฐกิจพอเพียงไม่สนใจการสร้างความเจริญ แต่เป็นการสร้างความเจริญบนพื้นฐานที่มั่นคง โดยเฉพาะเรื่องวินัยทางการเงิน
ขอขอบคุณผู้อ่านจำนวนมากที่กรุณาติดตามข้อเขียนของผม โดยเฉพาะกลุ่มคณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาหลายท่าน ก็เป็นกำลังใจที่ยิ่งใหญ่ หลายท่านเข้าไปดู Blog ของผมเป็นประจำ ซึ่งมีคนดูเพิ่มขึ้นเกือบจะ 10,000 คนต่อเดือน แต่อยากจะขอว่า เมื่อดูแล้วให้ช่วยแสดงความเห็นต่อด้วย
ผมในฐานะนายกสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ในพระบรมราชูปถัมภ์พร้อมด้วยสมาคมนักเรียนเก่า/ศิษย์เก่าอีก 11 แห่ง อาทิ สมาคมนักเรียนเก่าสุทธิวราราม สตรีวิทยาสมาคม สมาคมนักเรียนเก่าเตรียมอุดมศึกษาในพระบรมราชูปถัมภ์ ราชบพิธสมาคม สมาคมศิษย์เก่าชิโนรส สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนวัดมกุฏกษัตริย์ สมาคมนักเรียนเก่านวลนรดิศ สมาคมศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมนักเรียนเก่าศึกษานารี สมาคมศิษย์เก่าสันติราษฎร์ และสมาคมศิษย์เก่าทวีธาภิเษกโดยการนำของพลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส และการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย โดยคุณประเสริฐ บุญสัมพันธ์ และคุณชัยวัฒน์ ชูฤทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลุ่มธุรกิจน้ำมัน ร่วมกับบริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) โดยคุณสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ จะจัดคอนเสิร์ตเฉลิมพระเกียรติ "เราจะเป็นคนดี" ในวันเสาร์ที่ 20 มกราคม 2550 ที่อินดอร์สเตเดี้ยม หัวหมาก
ผมได้ร่วมงานแถลงข่าว เมื่อวันอังคารที่ 12 ธันวาคมที่ผ่านมา สังคมไทยต้องเน้นความดีเป็นสิ่งสำคัญที่สุดก่อน แล้วจึงเน้นความเก่ง สังคมจึงจะไปรอดและยั่งยืน เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ผมชื่นชมพลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ที่เป็นตำรวจที่มีความกล้าหาญ มีภาพลักษณ์เป็นคนดีของสังคม งานครั้งนี้จะนำรายได้สนับสนุนโรงเรียน 12 แห่ง ทำโครงการต่อเนื่อง การเริ่มต้นมีคอนเสิร์ตเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี และ RS จะมีอัลบั้มเพลง "ลูกของพ่อ" แสดงการทำดีเพื่อพ่อหลวง แต่ต้องทำให้เกิดความต่อเนื่องและวัดผลได้
โครงการแบบนี้คือ การนำ
- ศิลปิน ดารา
- โรงเรียน 12 แห่ง
- ธุรกิจน้ำมัน
มาร่วมกัน ผมคิดว่าจะสามารถขยายผลได้มาก ในอนาคตจะขยายไปยังต่างจังหวัดด้วย เพราะสังคมไทยสนใจดารา นักร้อง ศิลปิน ทำให้บันเทิงมีสาระด้วย
อีกเรื่องหนึ่ง คือ ผมได้รับเชิญจากบริษัท Indorama ซึ่งเป็นบริษัทที่ร่วมลงทุนโดยชาวอินเดีย ทำธุรกิจหลายอย่างเช่น ปิโตรเคมี กรดเคมี เป็นต้น ไปทำ workshop กับผู้บริหารประมาณ 30 คน
การทำงานในอนาคตของคนไทยต้องเป็นการทำงานร่วมกับชาติอื่นๆ มากขึ้น คนไทยจะต้องปรับตัวเองให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานที่เกิดขึ้นแบบไร้พรมแดน ในโลกยุคใหม่ ดังนั้นความไม่เข้าใจกันระหว่างความหลากหลาย ความแตกต่างทางวัฒนธรรม จึงเป็นจุดที่สำคัญที่ทำให้ไม่เกิดความสำเร็จในการทำงาน ในวันนั้นผมได้ทำ workshop เน้นเรื่องภาวะผู้นำ (Leadership) โลกาภิวัตน์ (Globalization) และการเปลี่ยนความคิด (Change of mind set) ของบริษัท Thai-India แสดงให้เห็นว่าความหลากหลายของวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่เกิดพลังได้ ถ้ามี
- การสื่อสารที่ดีในองค์กร
- การอภิปรายอย่างเปิดใจ open discussion
- การพบกันครึ่งทาง รู้เขารู้เรา win/win
- การสร้างภาวะผู้นำของคนไทย เพื่อจะได้ต่อรองกับผู้ลงทุนต่างชาติ
ผมคิดว่า หลักสูตรที่สำคัญในอนาคตระดับปวส.และมหาวิทยาลัย ไม่ใช่สาระแบบเดิมเท่านั้น แต่ต้องทำความเข้าใจเรื่อง ความหลากหลายทางวัฒนธรรม เพราะแรงงานไทยจะต้องทำงานร่วมกันกับชาติต่าง ๆ มากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น
- ไทย/จีน
- ไทย/ญี่ปุ่น
- ไทย/อินเดีย
- ไทย/ตะวันออกกลาง
- ไทย/เมียนมาร์
- ไทย/ลาว
- ไทย/สหรัฐอเมริกา
- ไทย/เกาหลี
และชาติอื่นๆ อีกมากมาย จุดที่สำคัญคือ การเรียนระดับปวส. และปริญญาตรี ควรมีหลักสูตรเกี่ยวกับการเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรม
ผมจะให้เวลากับการแลกเปลี่ยนเรื่อง HR กับอินเดียมากขึ้น เพราะสังคมอินเดียเป็นสังคมที่เน้นความคิด
- ความคิดเชิงวิเคราะห์
- ความคิดเชิงยุทธศาสตร์
- ความคิดเชิงระบบ
ขณะที่คนไทยเก่งในเรื่องบริการลูกค้า ความอ่อนหวาน ความสุภาพ ชอบสบายและอะไรๆก็ไม่เป็นไร" บางครั้งคิดไม่เป็นไม่กระตือรือร้น ไม่เขย่งไปสู่ความเป็นเลิศ ยิ่งไปกว่านั้น ผมเชื่อว่า Asia ใน 20 ปีข้างหน้า จะนำโลกในเรื่อง HR หลายด้าน โลกตะวันตกคงต้องหันมาศึกษาความเป็นเลิศของตะวันออกในด้านทรัพยากรมนุษย์ด้วย
  จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง ให้กำลังใจพนักางาน ITV"

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

  

ขอแสดงความยินดี กับ คุณโลตัส น.ศ.ปริญญาเอก รุ่นน้องของผม ที่ให้ความสนใจ เขียนบทความต่อยอดบทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระขอให้ทำอย่างต่อเนื่อง ผมเชื่อว่าหากทำอย่างต่อเนื่อง คุณโลตัส จะได้เพิ่มประสบการณ์ชีวิต ที่มีคุณค่าจากการอ่านประสบการณ์ของ ศ.ดร.จีระ   และนำไปบูรณาการต่อยอดถ่ายทอดสร้างคนเพื่อสร้างชาติ ต่อไป และหากมีอะไรจะให้ผมช่วยได้ก็ยินดี  คนดี ของแท้ ต้อง 3 ต. คือ ต่อเนื่อง ๆ ๆ และ 3 จ. คือ จริงใจ ๆ ๆ ครับ

  

ในบทความนี้ ศ.ดร. จีระ สัปดาห์นี้ อาจารย์เขียนเรื่อง ให้กำลังใจพนักงาน ITV  อาจารย์เขียนความจริงที่อาจารย์ได้สัมผัสมา นำมาเขียนแฝงไปด้วยสาระ ที่กระตุ้นทุนทางปัญญา ได้เป็นอย่างดี   ผมได้แสดงความคิดเห็น บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ ตัวอักษรสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ในหนังสือพิมพ์แนวหน้า ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ ....... 

  ในรายการวิทยุของผมเมื่อวันพุธที่ผ่านมา คุณนาตยา แวววีระคุปต์ ถามเกี่ยวกับพนักงานกว่าพันคนของ ITV กำลังขาดกำลังใจ เพราะคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ยังคงยืนยันคำตัดสินเดิมคือ ITV จะต้องเสียค่าปรับจำนวนมหาศาล และต้องเสียค่าสัมปทานปีละพันล้าน
แน่นอนว่าสิ่งที่กระทบต่อบุคลากรเหล่านั้นคือ ความไม่มั่นคงในการทำงาน บุคลากรเหล่านั้นมีคุณค่าต่อสังคมไทย แต่ขาดความมั่นใจในอนาคต ว่าจะไปรอดไหม จึงทำให้เกิดความวิตกว่า จะตกงานหรือไม่ และจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อย่างไร
ผมหวังว่าบุคลากรที่ทำงานอยู่ในปัจจุบัน คงจะได้รับการดูแลจากผู้บริหารของกลุ่มใหม่ และหวังว่าคงจะมีวิธีการเก็บรักษาบุคลากรเหล่านี้ไว้ ไม่ใช่เลิกจ้างอย่างที่หลายคนวิตกอยู่............... ในส่วนตัวผมเห็นใจ และขอส่งกำลังใจมาให้พนักงานใน ITV ทุกท่าน  ผมเชื่อว่า ยังมีประชาชน และคนทำงานอีกหลายคนที่เห็นใจ และปราถนาที่จะส่งกำลังใจมาให้พนักงาน ITV เช่นเดียวกัน............ กรณีปัญหาของ ITV ขณะนี้เป็นที่ประจักษ์ว่า เป็นปัญหาเกี่ยวกับการบริหาร เชิงนโยบาย เป็นปัญหาการตัดสินใจของคณะกรรมการบริหารเดิม อันมีผลต่ออนาคตขององค์การและลูกค้าทั้งภายในและภายนอก  ไม่ใช่ปัญหาที่เกิดจากพนักงานระดับปฏิบัติการใน  ITV..............   กรณีดังกล่าว เป็นข้อเตือนใจให้ผู้บริหารทั้งหลาย ตระหนักให้ดีว่า การตัดสินใจ ใด ๆ ต้องมองการณ์ไกล มีวิสัยทัศน์ ไม่สร้างปัญหาอื่น ๆ ตามมา ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว   ควรนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้เป็นแนวทางในการบริหาร การกำหนดนโยบาย การดำเนินการ ควบคุมกิจการ อย่างพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันฯ ................. ในระดับพนักงาน คนใช้แรงงานทุกองค์การนั้น ITV ได้ให้บทเรียนที่ดี ถ้าหากพนักงานท่านใด ดำเนินชีวิตตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกจิพอเพียงไว้ล่วงหน้าแล้วหากเกิดปัญหาเช่นนี้ จะมีผลกระทบน้อยที่สุด เพราะแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง จะสอนให้มีภูมิคุ้มกันในตน เน้นความสมดุล มั่นคง และยั่งยืน ................. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีองค์ประกอบ สามประการได้แก่ หนึ่ง การพอประมาณ สองการมีเหตุมีผล  สามการมีภูมิคุ้มกัน โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขของการมีความรอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง และ เงื่อนไขแห่งการมีคุณธรรม ซื่อสัตย์ ขยัน และอดทน ..............
ITV คงจะอยู่ต่อไป แต่จะต้องปรับตัวให้เป็นสื่อของประชาชนมากขึ้น ไม่ใช่สื่อเพื่อการค้าและหวังผลกำไรอย่างเช่นในอดีต
ผมหวังว่าบุคลากรที่ทำงานอยู่ในปัจจุบัน คงจะได้รับการดูแลจากผู้บริหารของกลุ่มใหม่ และหวังว่าคงจะมีวิธีการเก็บรักษาบุคลากรเหล่านี้ไว้ ไม่ใช่เลิกจ้างอย่างที่หลายคนวิตกอยู่รัฐบาล คงจะต้องมีนโยบายชัดเจนในการดูแลพนักงาน จะทำอย่างไรต่อไป ลักษณะที่ win/win ทั้งสองฝ่าย
ผมขอให้กำลังใจมา ณ ที่นี้ เพราะ ITV มีบุคลากรด้านสื่อที่มีความสามารถและประสบการณ์มากมาย

 ในความเห็นส่วนตัวผมคิดว่า จากการที่ ITV ต้องจ่ายค่าสัมปทานปีละ 1,000 ล้านบาท ทำให้ ITV มีผลขาดทุนจำนวน 326 ล้านบาท สำหรับปี 2549 และ 268 ล้านบาทสำหรับปี 2550 ซึ่งการประมาณการผลขาดทุนดังกล่าว ยังไม่รวมถึงผลกระทบจากการปรับผังรายการ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อรายได้ค่าโฆษณา ...................จากการต้องจ่ายค่าสัมปทาน 1,000 ล้านบาท ที่จะต้องจ่ายเป็นประจำทุกปี ITV จึงอาจจะไม่สามารถทำกำไรได้ดี ด้วยเหตุข้างต้น ITV อาจจะต้องคืนสัมปทานให้แก่รัฐบาล ผู้ถือหุ้นภาคเอกชนจะหลีกเลี่ยงการลงทุนกับ ITV หากยังไม่มีอะไรชัดเจน................. แนวทางแก้ไข เมื่อองค์การใดก็ตามที่เผชิญปัญหาทางการบริหารเช่นนี้ มักจะมีการปรับเปลี่ยนกลไกการบริหารจัดการใหม่ ได้แก่

  1. Strategy กลยุทธ์ สัดส่วนผู้ถือหุ้น การเปลี่ยนวิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย เช่น การปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน นโยบายการบริหารจัดการ  วัตถุประสงค์  ตัวชี้วัดความสำเร็จ และแผนกลยุทธ์ในการบริหาร ............
  2. Structure โครงสร้างองค์การ สัดส่วนผู้ถือหุ้น คณะกรรมการบริหาร คณะที่ปรึกษากรรมการบริหาร
  3. System ระบบ ปรับเปลี่ยนระบบการบริหารจัดการ ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และโครงสร้างใหม่
  4. Style รูปแบบการบริหารงาน กฎ ระเบียบต่าง ๆ ในการดำเนินธุรกิจขององค์การ
  5. Staff บุคลากร การปรับเปลี่ยนหน้าที่ความรับผิดชอบ ปรับเปลี่ยนตำแหน่งในบางตำแหน่ง การปรับปรุงระบบบริหารทรัพยากรมนุษย์ ให้สอดคล้องกับโครงสร้างองค์การ การปรับปรุงคณะกรรมการการตรวจสอบภายใน
  6. Skill ทักษะ การพัฒนาและการเพิ่มทักษะของหน่วยงานบางหน่วย ให้สอดคล้องกับพันธกิจขององค์การ โดยเฉพาะหน่วยงานที่ผลิตรายการข่าวและสาระน่ารู้ เป็นต้น
  7. Shared Value การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงค่านิยมร่วมบางประการ ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ และนโยบายใหม่ เป็นต้น
 ที่ผมแสดงความเห็นมา จะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่แล้วประเด็นที่ ITV อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่ น่าจะเป็นเรื่องนโยบาย กับการบริหารจัดการ มากกว่า การเปลี่ยนแปลงพนักงานระดับปฏิบัติการ ยกเว้นว่ามีหน่วยงานที่ผลิตรายการบันเทิง มากกว่าหน่วยงานผลิตสาระข่าวสารความรู้  ผมจึงขอส่งกำลังใจ มาให้กับพนักงานของ ITV ทุกท่านอย่าได้ตกใจไป ขอให้ยึดหลักแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตการงานและครอบครัว ผมเชื่อว่าจะไปได้ดี........ 

ผมเองก็หวังว่า รัฐบาล จะเข้ามาดูแลให้ความเป็นธรรมแก่สถานการจ้างและการทำงานของพนักงานใน ITV

  
ผมดีใจที่จะมีรายการโทรทัศน์ที่จะเน้นสาระมากขึ้น เพราะคนไทยต้องมีทางเลือกในการบริโภคสื่อ ซึ่งสื่อในปัจจุบันต้องขึ้นอยู่กับการสนับสนุนของธุรกิจ ผมเป็นตัวอย่างที่ มุ่งมั่นทำสื่อเพื่อความรู้มากว่า 13 ปี เห็นปัญหามากมายที่เกิดขึ้น เพราะไม่มีธุรกิจมาสนับสนุนอย่างแท้จริง และต่อเนื่อง
รัฐบาลยุคพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ จะปฏิรูปสื่อให้เน้นประโยชน์ส่วนรวมมากขึ้น แทนที่จะเป็นเรื่องธุรกิจอย่างเดียว จึงเป็นสิ่งที่คนไทยรอคอยและสนับสนุน   

ผมยินดีเช่นเดียว กับ ศ.ดร.จีระ ที่จะได้เห็นสถานีโทรทัศน์ที่มีรายการที่มีสาระ มากกว่าบันเทิง  แต่อย่างไรก็ตาม รายการสาระต่าง ๆ ในทีวี ก็ควรนำเอาวิสัยทัศน์ของโลก ของชาติบ้านเมือง มาบริหารจัดการสาระที่นำมาจัดรายการโทรทัศน์ให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนได้มากที่สุด.......

 

รัฐบาล น่าจะให้มีการสำรวจดูว่าขณะนี้ สถานีโทรทัศน์ช่องอะไร ที่ออกอากาศเผยแพร่ความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงได้ในช่วงเวลาดีที่สุดและมากที่สุด ถึงกลุ่มผู้ชมทุกระดับ  

รายการใด สถานีโทรทัศน์อะไร มีสาระในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อชาติได้ดีที่สุด  มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศมากที่สุด ถ้าพบว่ามี ถามต่ออีกว่าเขาทำได้อย่างไร ทำอย่างไร รัฐบาลจะสนับสนุนส่งเสริมให้มีมากขึ้น   ถามต่อไปว่า ถ้าคำตอบที่ได้พบว่า ไม่มีสถานีฯใด ผู้จัดรายการใดที่ทำรายการที่ดีที่สุด สำหรับ ทรัพยากรมนุษย์ แล้วทำอย่างไรจึงจะมี ถ้าไม่มีได้หรือไม่ มีกับไม่มีอย่างไหนได้ประโยชน์ต่อชาติ มากกว่ากัน  


ส่วนรายการเศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ยังมีจนกระทั่งปลายเดือนธันวาคมนี้ ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 เวลา 22.40-22.45 น. และย้ำว่า เศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ขัดแย้งกับการเจริญเติบโต (ขยายตัว) ทางเศรษฐกิจหรือการแข่งขันในระดับโลกแต่อย่างใด ตรงกันข้ามกลับทำให้การขยายตัวและการแข่งขันมีความยั่งยืน เพราะจะกระตุ้นให้คนไทยบริหารความเสี่ยง มีวินัยทางการเงิน มีภูมิคุ้มกัน ผมไม่อยากให้คนในสังคมคิดว่า เศรษฐกิจพอเพียงไม่สนใจการสร้างความเจริญ แต่เป็นการสร้างความเจริญบนพื้นฐานที่มั่นคง โดยเฉพาะเรื่องวินัยทางการเงิน ............
 ในความเห็นส่วนตัวผมคิดว่า รายการดี ๆ อย่าง เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ น่าจะมาออกอากาศที่ ช่อง ไอทีวี น่าจะมีการจัดรูปแบบการนำเสนอใหม่ ใช้คนรุ่นใหม่ วัยรุ่น มาแสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ มีการประกวดเยาวชนดีเด่น ด้านการศึกษา การปฏิบัติ การเผยแพร่แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง........... 

อีกเรื่องหนึ่ง คือ ผมได้รับเชิญจากบริษัท Indorama ซึ่งเป็นบริษัทที่ร่วมลงทุนโดยชาวอินเดีย ทำธุรกิจหลายอย่างเช่น ปิโตรเคมี กรดเคมี เป็นต้น ไปทำ workshop กับผู้บริหารประมาณ 30 คน
การทำงานในอนาคตของคนไทยต้องเป็นการทำงานร่วมกับชาติอื่นๆ มากขึ้น คนไทยจะต้องปรับตัวเองให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานที่เกิดขึ้นแบบไร้พรมแดน ในโลกยุคใหม่ ดังนั้นความไม่เข้าใจกันระหว่างความหลากหลาย ความแตกต่างทางวัฒนธรรม จึงเป็นจุดที่สำคัญที่ทำให้ไม่เกิดความสำเร็จในการทำงาน
ในวันนั้นผมได้ทำ workshop เน้นเรื่องภาวะผู้นำ (Leadership) โลกาภิวัตน์ (Globalization) และการเปลี่ยนความคิด (Change of mind set) ของบริษัท Thai-India แสดงให้เห็นว่าความหลากหลายของวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่เกิดพลังได้ ถ้ามี
- การสื่อสารที่ดีในองค์กร
- การอภิปรายอย่างเปิดใจ open discussion
- การพบกันครึ่งทาง รู้เขารู้เรา win/win
- การสร้างภาวะผู้นำของคนไทย เพื่อจะได้ต่อรองกับผู้ลงทุนต่างชาติ.........
 สำหรับกิจกรรมที่ ศ.ดร.จีระ ทำให้ที่ Indorama ผมต้องขอบคุณ ศ.ดร.จีระ ที่เปิดโอกาสให้ผมติดตามไปด้วย  ผมได้เห็นการนำเสนอปัญหาในองค์การของสมาชิกผู้เข้าร่วมสัมมนาของ Indorama และได้นำเสนอยุทธศาสตร์แนวทางแก้ไขและป้องกันปัญหาไว้ ได้แก่ .
  • ยุทธศาสตร์การพัฒนาผู้บริหาร ผู้นำทุกระดับ
  • ยุทธศาสตร์การบริหารเชิงกลยุทธ์ ปรับปรุงวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย แผนกลยุทธ์ KPI
  • ยุทธศาสตร์การจัดทำระบบมาตรฐานการทำงาน
  • ยุทธศาสตร์จัดทำและเผยแพร่วัฒนธรรมองค์การที่เป็นเลิศ
  • ยุทธศาสตร์พัฒนาระบบการสื่อสาร
  • ยุทธศาสตร์การพัฒนาทัศนคติพนักงาน ให้มีการสำรวจทัศนคติพนักงาน เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ การจัดการ
  • ยุทธศาสตร์พัฒนาการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  • ยุทธศาสตร์ส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์
  • ยุทธศาสตร์ปรับปรุงโครงสร้างค่าจ้าง สวัสดิการ
  • ยุทธศาสตร์การปรับปรุง ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน
  • ยุทธศาสตร์ด้านแรงงานสัมพันธ์ลด ปัญหาความขัดแย้ง ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม...................
 สำหรับรายละเอียด ในการจัดกิจกรรมและมีแต่ละกลุ่มสรุปไว้อย่างไร ท่านผู้อ่านสามารถติดตามศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ http://gotoknow.org/blog/chirakm/66061   
ผมคิดว่า หลักสูตรที่สำคัญในอนาคตระดับปวส.และมหาวิทยาลัย ไม่ใช่สาระแบบเดิมเท่านั้น แต่ต้องทำความเข้าใจเรื่อง ความหลากหลายทางวัฒนธรรม เพราะแรงงานไทยจะต้องทำงานร่วมกันกับชาติต่าง ๆ มากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น
- ไทย/จีน
- ไทย/ญี่ปุ่น
- ไทย/อินเดีย
- ไทย/ตะวันออกกลาง
- ไทย/เมียนมาร์
- ไทย/ลาว
- ไทย/สหรัฐอเมริกา
- ไทย/เกาหลี
และชาติอื่นๆ อีกมากมาย จุดที่สำคัญคือ การเรียนระดับปวส. และปริญญาตรี ควรมีหลักสูตรเกี่ยวกับการเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรม ...................

ผมเห็นด้วยกับ ศ.ดร.จีระ หลักสูตรการเรียนการสอน และควรเริ่มให้มีตั้งแต่ระดับ มัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือ ปวช. ได้ก็จะยิ่งดี เพราะแรงงานที่เข้าสู่สถานประกอบการในระดับปฏิบัติการจริง ๆ แล้ว จะเริ่มตั้งแต่วุฒิการศึกษา ม.6 เป็นส่วนใหญ่ หรือถ้าเข้าในหลักสูตรไม่ได้ อย่างน้อย ก็ควรกำหนดเป็นการเสริมสร้างประสบการณ์ชีวิตด้วยการจัดให้มีการบรรยายพิเศษ สำหรับผู้ที่กำลังจะจบการศึกษา ม. 6 ปวช. ปวส. และปริญญาตรี ........


ผมจะให้เวลากับการแลกเปลี่ยนเรื่อง HR กับอินเดียมากขึ้น เพราะสังคมอินเดียเป็นสังคมที่เน้นความคิด
- ความคิดเชิงวิเคราะห์
- ความคิดเชิงยุทธศาสตร์
- ความคิดเชิงระบบ
ขณะที่คนไทยเก่งในเรื่องบริการลูกค้า ความอ่อนหวาน ความสุภาพ ชอบสบายและอะไรๆก็ไม่เป็นไร" บางครั้งคิดไม่เป็นไม่กระตือรือร้น ไม่เขย่งไปสู่ความเป็นเลิศ
  

ยิ่งไปกว่านั้น ผมเชื่อว่า Asia ใน 20 ปีข้างหน้า จะนำโลกในเรื่อง HR หลายด้าน โลกตะวันตกคงต้องหันมาศึกษาความเป็นเลิศของตะวันออกในด้านทรัพยากรมนุษย์ด้วย .......

 

ผมคิดเช่นเดียวกับ ศ.ดร.จีระ เพราะขณะนี้ โลกตะวันตก หันมาศึกษายารักษาโรคจากพืชสมุนไพร ศิลปะการรักษาสุขภาพ อาหารการกินจากตะวันออก กันมากขึ้น การติดตาม ศ.ดร.จีระ ไปหลวงพระบาง ประเทศลาว เห็นได้ชัดว่า มีนักวิชาการ คนมีความรู้ นักศึกษาจากทางตะวันตกมาทัศนศึกษาที่หลวงพระบางเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ผมเชื่อมั่นว่า ความเจริญ ความยิ้งใหญ่ของซีกโลกตะวันออก จะกลับมาเจริญยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่งเหมือนสมัยพระพุทธเจ้า เหมือนสมัยที่ราชวงศ์กษัตริย์ในจีนเรืองอำนาจยิ่งใหญ่ โลกเอเซียกับอาหรับอาจจะเป็นอีกซีกโลกหนึ่งที่น่าจับตามอง 

นักวิชาการทั้งหลายที่เรียนมาทางตะวันตก หากไม่รู้จักบูรณาการและเพิ่มองค์ความรู้ จุดแข็งทางโลกตะวันออก ผสมผสานต่อยอดไว้ อาจจะเป็นนักวิชาการที่ตกรุ่นไป...........

  

ผมขอเชิญชวนท่านติดตามสาระน่ารู้จากศ.ดร.จีระ  ซึ่งท่านมีรายการโทรทัศน์ช่อง 11 ชื่อรายการสู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และ รายการเศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ทุกวันเวลา 22.40 น. – 22.45 น.  นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/  ........    และเชิญชวนเพื่อน น.ศ. และน้อง ๆ ป.เอก ท่านผู้สนใจ ติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ..........  

 

   

  

ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน 

 

ยม    

  

นักศึกษาปริญญาเอก 

     

รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎบัณฑิต  

 

 

[email protected]      
ยม "คลื่นความคิด FM 96.5 กับ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์"
คลื่นความคิด FM 96.5 กับ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ  น.ศ. ป.โท จิตวิทยาชุมชน และท่านผู้อ่านทุกท่าน   Time magazine’s ‘Person of the Year’ is ... You[1]From blogs to YouTube, user-generated content transforms the InternetNEW YORK - You were named Time magazine “Person of the Year” on Saturday for the explosive growth and influence of user-generated Internet content such as blogs, video-file sharing site YouTube and social network MySpace. จากบทความของ ไทม์แม๊กกาซีน ได้ยกให้ คุณ ผู้ใช้ internet, Blogs เป็นบุคคลยอดเยี่ยมแห่งปี   ศ.ดร.จีระ แนะนำส่งเสริมให้ลูกศิษย์ ใช้ Blog หาและแชร์ความรู้ และตัว ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เอง ท่านก็ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ในการสร้างองค์ความรู้ต่าง ๆ จึงถือได้ว่าท่านเป็น บุคคลแห่งปี  ขอแสดงความยินดีด้วยครับ ใน Blog นี้ ผมแนะนำ และนำเสนอให้ น.ศ.ติดตามสาระน่ารู้ กับ ศ.ดร.จีระ ทางสถานีวิทยุ FM 96.5 ทุกวันพุธเวลา 19.30 น.เป็นต้นไป สำหรับวันพุธที่ผ่านมา ผมฟังและถอดใจความในรายการ ออกมา มีสาระน่ารู้หลายอย่างเช่น เรื่องแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เรื่องหุ้น ค่าเงินบาท และเรื่อง อนาคตประเทศไทย ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับ นักศึกษา จะได้มีความรู้หลากหลายประดับปัญญา  ขอเชิญท่านติดตามได้จากข้อความข้างล่างนี้ ครับ ส่วนสีน้ำเงินคือส่วนของวิทยากรผู้ดำเนินรายการ  ส่วนสีดำคือส่วนของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์    สวัสดี   ยม  น.ศ. ป.เอก  รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต  081-9370144 [email protected]http://gotoknow.org/portal/yom-nark………………………………………………………………………………………………  คลื่นความคิด FM 96.5 กับ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์มาตรการสกัดกั้นค่าเงินบาทของแบงค์ชาติ ในสายตา HR พันธุ์แท้ 21/12/2006[2]  ทุกวันพุธพบกับวิทยากรพันธุ์แท้ ดร.จีระ  ก่อนหน้านี้มีการกล่าวว่าอีกไม่นานกรุงเทพฯจะไม่หนาว  คิดว่าลมหนาว ดับร้อนการเมือง  วันนี้ จะคุยกันเรื่อง ของความสืบเนื่องมาจากการสัมมนาอนาคตประเทศไทยที่เป็นข่าวหน้าหนังสือพิมพ์ และจะพูดกันเรื่องการปฏิรูปการศึกษาที่หนังสือพิมพิ์ไม่คอ่ยได้มีการกล่าวถึงกัน อีกเรื่องหนึ่งคือเรื่องหุ้นที่ร้อนแรงอยู่ทุกวันนี้ ดร.จีระ จะมองเรื่องหุ้นอย่างไร   ยาขมของแบงค์ชาติ พ่นพิษแล้ว ดร.จีระมองเรื่องนี้อย่างไร ในฐานะทำด้านทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้   ดร.จีระ  รัฐพยายามแก้ปัญหาเรื่องการเก็งกำไร  ค่าเงินบาทเราแข็งผิดปกติ ความจริงแล้วเงินแข็งหรืออ่อนไม่สำคัญถ้าสะท้อนภาพที่แท้จริงของภาวะเศรษฐกิจ แต่ขณะนี้เงินบาทของเราแข็งเร็ว และแข็งเกินไป ทำให้เกิดผลกระทบกับการส่งออกของเรา  สาเหตุที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งตัวเร็ว   เกิดจากการเก็งกำไร มีคนมาซื้อเงินบาทเก็บไว้ คิดว่า เงินบาทจะแข็งไปเรื่อย ๆ  ซื้อเงินบาทเมื่อแลกเป็นดอลล่าก็สบาย .........   ในมุมมองของผม การตัดสินใจของแบงค์ชาติ การแก้ปัญหาตอนนี้ เรื่อง HR ไม่ใช่เก่งอย่างเดียว ต้องมีความสามารถหลาย ๆ อย่าง โดยเฉพาะเรื่องการตัดสินใจ แต่ที่สำคัญคือการตัดสินใจ ต้องมีความรอบคอบ มาตรการครั้งนี้ถูกในระดับหนึ่ง แต่มีผลกระทบข้างเคียงมากเหลือเกินกับตลาดทุน นับเป็นแสน ๆ ล้าน  จึงคิดว่าทำไมก่อนการตัดสินใจ ทำไมไม่คิดหามาตรการป้องกันเฉพาะตลาดเงิน......   เพราะเงินที่มาเก็งกำไร ไม่ได้มาเก็งกำไรที่ตลาดหุ้น มีเหมือนกันแต่มีเป็นส่วนน้อยที่มีมาจากตลาดหุ้น ผมคุยกับเพื่อนๆ ในวงการ Bank หลาย ๆ คน  เขาก็ปะหลาดใจ  ต่างประเทศรู้สึกช๊อค กับการตัดสินใจครั้งนี้......   จริง ๆ แล้วเขาก็รู้ว่ามาตรการนี้ในที่สุดก็ต้องมี แต่น่าจะไปตันที่ตราสารนี้ commercial paper หนี้ระยะสั้นมากกว่า ไม่ควรมาทำที่ตลาดทุนเพราะ ตลาดทุนเวลาผันผวนไป จะมีผลกระทบกับคน ผู้ลงทุนเป็นแสนคน เงินเป็นแสนล้าน คนที่หายไปเป็นผู้ถือหุ้นที่เล่นนาน บางคนอาจจะขายเร็ว พอจะซื้อกลับมาก็ซื้อไม่ทัน คนที่เก่งกว่าเร็วกว่ามีเงินทุนมากกว่าก็ซื้อช้อนกลับมาได้ มีผลกระทบต่อผู้ลงทุนเยอะ ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะปรับตัวได้ดี รัฐบาลน่าจะรอบคอบมากว่านี้  ..........  เหตุที่เกิดขึ้นถือว่าพลาดไม๊ ถ้ามองในมุมของการบริหาร HR ข้อมูลไม่พอหรืออย่างไร......  ผมว่า คนในธนาคารชาติ ต้องยอมรับว่าเรียนเก่ง เรียนจากตำรามา กับเรียนจากโลกความเป็นจริงเป็นคนละเรื่องกัน ........   หม่อมอุ๋ยก็พูดว่าไม่คิดว่าจะแรงขนาดนี้ถ้าลงสัก 10-20 จุดก็เป็นของธรรมดา ไม่น่ามีปัญหา ในรอบ 35 ปีไม่เคยลงมากขนาดนี้เลยน๊ะ  แล้วอยู่ดี ๆ ก็ตัดสินใจเปลี่ยนนโยบายภายในไม่ถึง 24 ชั่วโมง ........  ถือว่าเป็นการถอยที่ถูกจังหวะไม๊  ระหว่างการตัดสินใจที่ถูกต้องไม๊  ดร.จีระ มองอย่างไรระหว่างการตัดสินใจ กับการถอยในไม่กี่ชั่วโมงนี้...... ถ้าไม่ถอยจะเสียหายมากกว่านี้ อย่างไรก็ต้องถอยอยู่แล้วการที่เงินบาทอ่อนตัวลงมาแค่ .50 บาท/ 1 บาท กับเงินหายไปแปดแสนล้าน มันกระทบ ผมว่าสิ่งหนึ่งที่เราต้องยอมรับก็คือมันจะกระทบกับความมั่นใจของผู้ลงทุน......    เพราะปัจจุบันมันเป็นโลกเรา เป็นโลกเสรี แล้วเราก็เปิดให้มีการค้าเสรีด้วย เราก็น่าจะใช้กลไกตลาดเป็นหลัก.........   ผมว่ายังไงก็ต้องถอย แต่ไม่ควรถอยตอนที่เกิดปัญหาแล้ว แต่อันนี้ก็เข้าใจว่ารัฐบาลชุดนี้ทำด้วยความโปร่งใส ไม่มีคำครหาอะไร ในเรื่องการเงิน แต่ประเด็นที่ผมอยากจะพูดให้ผู้ฟังได้ทราบก็คือ คนเราอาจจะมีไอคิวสูง อาจจะมีทฤษฎีมา แต่ว่าโลกปัจจุบัน มันต้องมีความสามารถในการมองอย่างรอบคอบ มองอย่างหลายมิติ ซึ่งบางทีมาจากประสบการณ์มากกว่า.........    การตัดสินใจครั้งนี้ การตัดสินใจเป็นของ Bank ชาติ ของหม่อมอุ๋ย อาจารย์คิดว่ารอบคอบพอหรือยัง......  ผมว่าถ้าไปกระทบตลาดทุน ผมมัน  “หม่อมอุ๋ยก็พูดแล้วว่าเงินมาลงทุน เงินมาเก็งกำไรในการลงทุนในตลาดทุนมีไม่เยอะ ฉะนั้นตอนที่มีมาตรการออกมา ก็เอาเฉพาะเงินที่ไหล มาเก็งกำไร ในเรื่อง Commercial paper ก็คือเงิน hot hot เขาเรียนเงิน hot ระยะสั้น มันก็น่าพอเพียง เพราะตัวเลขออกมาแล้ว ว่า 80% 90% ก็มาเก็งกำไรในเงินร้อน ๆ ไม่ใช่เงินตลาดทุน........   มันก็คือโลกเรามีตลาดทุนกับตลาดเงิน ที่จริงแล้วเราจัดการกับตลาดเงินก็พอ แต่เราไปยุ่งในตลาดทุนด้วยมันก็เลยยุ่ง คือตลาดทุนอย่าลืมว่ามันสำคัญกับความมั่นใจของคน มันกระทบต่อผู้ลงทุนจำนวนมากเลย ความมั่นใจตรงนี้ก็ต้องดูกันต่อไป........  ผมอยากจะฝากไว้นิดเดียวว่า Bank ชาติก็ต้องเรียนรู้ ต่อไปจะทำอะไร ก็ต้องเรียนรู้หาความรู้ให้รอบคอบ ก่อนตัดสินใจอะไรก็แล้วแต่ ก็ต้องศึกษาให้รอบคอบ เป็นบทเรียนราคาแพง เพราะว่ามันลงมาก กว่าจะตีขึ้นมาเมื่อวานมันลงไปตั้ง 130 จุด ทำให้ช็อคกันพอสมควร........ ก็เลยขอพูดแค่ประเด็นเดียวว่า การจะเป็นผู้บริหารในยุคโลกาภิวัตน์เกี่ยวกับเรื่องเงิน มันคงจะใช้ PhD. ตัดสินไม่ได้ ตอนที่เราเรียนการเงินในทฤษฎีมันก็อย่างหนึ่ง เวลาเราเรียน ในปัจจุบันผมคิดว่าคนเรานอกจากมีไอคิวแล้วก็ต้อมีประสบการณ์ต้องมองให้รอบคอบ......     แต่ก็ต้องชื่นชมว่า หม่อมอุ๋ยท่านก็ตัดสินใจถอย ถอยอย่างรวดเร็ว วันนี้ก็ตีตื่นขึ้นมา 65 จุด แต่ก็ยังหายไป 35 จุด ก็ถือว่าตีตื้นมาได้ดีทีเดียว คงจะดีขึ้น ........   แต่ว่าอย่าลืมผลกระทบกับประชาชนมันมีหลายกลุ่ม  ถ้าจะเรียกว่าผลมีผู้ได้ผู้เสียในตลาดหุ้นครั้งนี้ อาจจะมีคนที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ถูกกระทบไปเยอะ และจะมีบางคน ได้รับประโยชน์ไปด้วยเวลาช้อนซื้อหุ้นไปเมื่อวานนี้ อาจจะได้ประโยชน์ แต่ก็ไม่ได้ว่าอะไร ผมก็ไม่ได้พูดในลักษณะที่ว่ามีปัญหาอะไร เพียงแต่คิดว่าคนที่จะรู้ คนที่มีเงินมากกว่าก็จะช้อนไปได้ดีกว่า .........  ก็อยากให้เห็นว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับทรัพยากรมนุษย์ มีสองเรื่อง อันที่หนึ่งก็คือการตัดสินใจนั้นฝึกอยาก คนเราตัดสินใจสามอย่างให้ถูกกพอ 1.      ก็คือตัดสินใจว่าจะเรียนอะไร สาขาอะไร ทำงานอะไร  2.     คือ เวลาเลือกคู่จะตัดสินใจจะเลือกใครที่เหมาะสมกับเรา 3.       คือตอนที่พอจะมีรายได้ เราจะตัดสินใจลงทุนในทรัพย์สินของเราอย่างไร .....  ถ้าสังเกตดูถ้าเราได้สองในสามก็ถือว่าโอเค น๊ะ แต่ว่าบางคนได้หนึ่งในสามก็มี บางคนไม่ได้เลยก็มี มันไม่มีสูตรตายตัว ........  แต่ผมว่า ผมอยากเรียนให้ทราบว่าแม้แต่ตัวผมเอง ก็ยอมรับความเจ็บปวด  เพราะการตัดสินใจของผมถ้าจะดีขึ้นก็ต้องเกิดจากการเจ็บปวดมากกว่า อย่างไรก็ตามการจะเป็นคนเก่ง ก็ต้องตัดสินใจผิดมาบ้าง ...... แต่ผมคิดว่า ตอนที่ผมพา คณะ กฟผ.ระดับผุ้ใหญ่ไปที่มหาวิทยาลัยวอชิงตัน เข้าไปโรงเรียน MBA เขาก็มาสอนเรา วิธีการตัดสินใจ อยู่ สามวิธี......... หนึ่งตัดสินใจแบบกูเก่งตนเดียว   สองปรึกษาหารือเพื่อนร่วมงาน แบบก๊วนเล็ก ๆ สี่ห้าคน  สาม การเปิดอภิปรายให้ทุกคนมีส่วนร่วมตลอดเวลา    อาจารย์ผู้สอนก็ถาม คนที่ กฟผ. ว่าคุณชอบวิธีการใด สามแบบนี้คุณชอบอะไร คำตอบคืออะไรรู้ไม๊ คำตอบก็คือขึ้นอยู่กับสถานการณ์ คือบางเรื่อง อย่างเรื่องเงิน เรื่องโบนัส หากนำมาเปิดอภิปรายก็ยุ่ง ยุ่งแน่ ผมก็เลยได้เรียนรู้ว่าเขาไม่ได้มีวิธีเดียว    ผมยกตัวอย่าง อย่างคุณทักษิณ ไม่ได้พูดเรื่องการเมืองน๊ะ อุปนิสัยของท่านจะฟังความเห็นของคนทั้งพรรคบ่อยนัก อาจจะมีน้อย แต่ท่านมี habit ที่ว่าคนเราเกิดมา Born that way ฉันแน่ ฉันว่าฉันคนเดียว ผมว่าท่านมักจะตัดสินใจคนเดียวเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ใช้น้อย บางครั้งควรจะใช้วิธีอื่น แต่ก็ไม่ได้ใช้   ผมเห็นบางคนอะไรอะไรก็ขอฟังความเห็นของที่ประชุม ท่าเดียวแล้วก็ไม่ตัดสินใจสักทีก็มีปัญหา ประชุมแล้วประชุมอีก อันนี้ก็สอนท่านผู้ฟังที่ติดตามเพราะอย่าลืมว่ารายการนี้ไม่ได้เน้นการเมือง ผมจะพูดในสิ่งที่เป็นประเด็น เผอิญคุณวิสุทธ์มาสู่โป๊ะเช๊ะ ในประเด็นเรื่องการตัดสินใจ   วันนั้นที่ กฟผ.ไปเรียน บางเรื่องต้องตัดสินใจคนเดียว บางเรื่องก็ต้องปรึกษาหารือ แบบก๊วนเล็ก ๆ สี่ห้าคน บางเรื่องต้องเต็มคณะ ปัญหาก็คือ คนเราฝึกมาไม่เหมือนกัน คนที่เก่งจริง ๆ ในเมืองไทย ผมว่าโดยมากมักจะตัดสินใจคนเดียว  เป็นคนเก่งมาระดับหนึ่งน๊ะ ตอนที่สอง เศรษฐกิจพอเพียง มีคนถามว่าทำไมต้องพูดกันบ่อย ๆ ทำไมต้องย้ำกันบ่อยๆ ครับ เพราะอะไร  ถ้าเราไม่เน้น เศรษฐกิจพอเพียง ประเทศของเราก็ในอนาคตก็คงจะสร้างความเสี่ยงมาก เพราะว่าเรามีปัญหาเรื่อง โลกาภิวัตน์    พระองค์ท่านก็เลยสอนให้คนไทยเรามีความรอบคอบ  ช่วงนี้ เป็นช่วงที่เรากลับคิดถึงความอยู่รอดในระยะยาว ของเรา    ก็จริง ๆ แล้ววันนี้เราต้องยอมรับว่า เศรษฐกิจพอเพียง จะเป็นทางรอดในโลกที่มี ความเสี่ยงในปัจจุบัน จริง ๆแล้ว พระองค์ท่านสอนอยู่สามเรื่อง คือ  หนึ่งทำอะไรก็ทำพอประมาณ พอประมาณคือไม่ใช่ไม่ขยายตัว ถ้าคุณพร้อมคุณก็ขยายได้ แต่อย่าทำในสิ่งที่เราไม่พร้อม ผมยกตัวอย่าง อย่างตอนฟองสบู่แตก มีพวกพ่อค้าข้าวทำคอนโด ยังไงก็ตามพ่อค้าข้าวทำคอนโดไม่สำเร็จ เพราะเราประมาท เราได้เงินมาง่าย ๆ    หรือตอนที่เราไปกู้เงินมาจากต่างประเทศ เราคิดว่าดอกเบี้ยมันถูก แต่เราลืมไปว่าเงินบาทอาจจะลอยตัวได้ กู้มา ยี่สิบห้า จ่ายคืนห้าสิบอย่างนี้    นอกจากพอประมาณแล้ว พระองค์ท่านสอนให้เราคิดทุกอย่างให้เป็นระบบ มีเหตุมีผล อย่างเรื่องหวย คนไทยชอบเล่นหวยเยอะ ฉะนั้นถ้าเรามีเหตุมีผล เรารู้ว่าการเล่นหวยส่วนมากก็จะขาดทุน หรือสังคมวันนี้เราเล่นการพนันฟุตบอล หรือหลายคนก็จะพูดถึงเรื่องอบายมุข ต่าง ๆ ฉะนั้นถ้าเรามีเหตุมีผลคิดวิเคราะห์เป็น แล้วก็ได้มีประสบการณ์แล้วบ้าง ผมว่าฟองสบู่แตกคราวที่แล้ว ประเทศอาจจะเสียหายเยอะ แต่ก็ค่อนข้างจะเป็นบทเรียนราคาแพง คือบทเรียนจากความจริงเป็นเรื่องสำคัญ    อีกเรื่องหนึ่งที่ท่านทรงเน้นให้เรามีภูมิคุ้มกัน ผมยกตัวอย่าง สมมติว่าเราจบปริญญาตรีมาใหม่ ๆ แล้วได้งานทำ เราก็ดีใจที่ได้งาน แต่คุณรู้ไม๊ พอทำงานไปสักพัก เหมือนตัวคุณเอง ถ้าเราไม่ฝึกหาความรู้อยู่ตลอดเวลาเราก็จะไม่มีภูมิคุ้มกัน ในที่สุดวันนึงเขาก็จะปลดเราออกจากงานไป   อย่างตัวผมเอง ผมไม่ค่อยกลัวตกงาน เพราะสิ่งหนึ่งที่เป็นมีภูมิคุ้มกันคือผมมีความรู้ ของผม ความรู้ของผม แต่ผมไม่ใช่ได้มาจากตำราอย่างเดียว ได้มาจากประสบการณ์บวกกับตำรารวมกัน เรื่องพอเพียงไม่ใช่เรื่องความรู้ ความรู้ต้องหมั่นหาความรู้  ต้องมี ความพอเพียงคืออยู่ให้รอดในระยะยาวเท่านั้นเอง   นอกจากสามเรื่องนี้แล้ว พระองค์ท่านยังเน้นว่าต้องมีอีกสองเงื่อนไข เงื่อนไขแรก ต้องเป็นคนใฝ่รู้ คือนอกจากคิดเป็นแล้วต้องหาความรู้อยู่ตลอดเวลา    ความจริงรายการวิทยุนี้ทำให้เรามีความใฝ่รู้ และเป็นความรู้ที่สด และข้ามศาสตร์ เงื่อนไขต่อมา คนเราต้องมีคุณธรรม จริยธรรม    สุดท้ายทั้งหมดจะนำไปสู่ความผาสุก ความยั่งยืน ความจริงความยั่งยืน สรุปง่าย ๆ คือถ้าวันนี้เราอยู่ได้แล้วอีกสิบปีข้างหน้าเราจะอยู่ได้ไม๊ อย่างนี้ คนไทยบางคนหรือธุรกิจที่เราไปรับจ้างเขาทำของ เช่น ธุรกิจในปัจจุบันเสื้อผ้าสำเร็จรูป อิเล็คทรอนิค คอมพิวเตอร์ หรือแม้กระทั่งรถยนต์  พวกนี้ทำตาม order ผมเตือนเขาเลยว่า อีกสิบปีถ้าพวกนี้ย้ายฐานไปจีนหรืออินเดียเราคงแย่แน่     ฉะนั้นพระองค์ท่านทรงสอนให้เราวางแนวทางไว้ว่า เราต้องพัฒนาตนเองตลอดเวลา ต้องคิดเป็นวิเคราะห์เป็น ความจริงผมว่าคนไทยก็ได้ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอยู่ส่วนหนึ่งแล้ว เพียงแต่ว่าในยุคที่มันเกิดวัตถุนิยม คอร์รับชั่น มากมาย ทำให้เราเกิดฟุ้งเฟ้อขึ้นมา เราก็เลยใช้เงินใช้ทองมากว่าที่เราควรจะใช้แล้วก็ขาดวินัยทางการเงิน  คุณวิสุทธ์คงทราบดี ช่วงนี้ ตอนสี่ทุ่มกว่า ๆ ช่วงนี้ท่าน ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ จะออกรายการเศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ ทางช่อง 11 คือเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เรื่องเกษตร มันเกี่ยวข้องกับเรื่องการเงิน   อย่างวันนี้เรื่องหุ้น ก็เป็นตัวอย่างที่ดี ว่าเรามีความไม่แน่นอนอยู่เสมอ ถ้าเรามีเงินร้อยบาท เราเล่นหุ้นสัก สิบบาท เราก็ยังอยู่รอด แต่ถ้าเรามีร้อยบาทแล้วเล่นสองร้อยบาทคือทุ่มสุดตัวเลย ก็มีปัญหา อย่างเมื่อกี้นี้เพื่อนผมบอกว่าแทบจะมีคนล้มละลายหลายคน เพราะว่าเขาเล่นหุ้นแบบสุดตัว ถ้ามันหายไปแปดแสนล้านบาทมันก็มีผลกระทบเขา    ฉะนั้นถ้าเราเป็นเศรษฐกิจพอเพียง ถ้าเรามีเงินเหลือเราก็ไปลงทุน จะเล่นหุ้นก็ได้ ความจริงเป็นหนี้ได้ ถ้าเราไม่เป็นหนี้ Bank กรุงเทพฯ กสิกร จะอยู่ได้เหรอ คือเราต้องบริหารหนี้ของเราให้ได้ ไม่ใช่เป็นหนี้แล้วสร้างปัญหาอยู่ตลอดเวลา แต่แน่นอนว่าทุกคนควรต้องเรียนรู้ว่าปัญหาคืออะไร และจะแก้ไขอย่างไร    ที่ผมอยากจะฝากไว้ก็คือในช่วงรัฐบาลชุดนี้ บรรยากาศการเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมันจะดี ในยุคคุณทักษิณ ที่จริงแล้วไม่สามารถพูดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงได้เต็มปาก เพราะบางทีระบอบทักษิณก็ไปกระตุ้นให้คนใช้จ่ายมากมาย บางทีกระตุ้นให้เขาใช้จ่ายมากมาย เป็นหนี้เป็นสิน มันก็เลยเป็นเรื่องธรรมดาที่ถ้าเศรษฐกิจพอเพียงไปกันได้กับระบอบทักษิณ ก็จะเป็นการดี  เราเอาเงินกองทุนหมู่บ้านไปสร้างงาน หาความรู้ เรียนหนังสือต่อแทนที่จะไปซื้อมือถือ อะไรเช่นนี้ฉะนั้นมันไม่ได้ขัดแย้งกัน มันก็ไปด้วยกันได้ แต่ว่าถ้าโลกปัจจุบันทั้งสองระบอบไปด้วยกันได้สังคมมันก็จะดี  ระบอบคุณทักษิณ มีความคิดสร้างสรรค์ การใช้จังหวะฉกฉวยโอกาส การทำงานรูปแบบ การมี Innovation เขาก็เป็นคนเก่งคนหนึ่ง ฉะนั้นเวลาเรามองคุณทักษิณ เราก็ควรมองส่วนดีเขาด้วย ไม่จำเป็นต้องไปมองส่วนเลวทั้งหมด อะไรก็ตามเป็นเรื่องความเสี่ยงต่อสังคมไทย เราก็ต้องระมัดระวัง    พูดถึงการปฏิรูป อาจารย์ก็ไปฟังสัมมนาของอนาคตประเทศไทยมาด้วยใช่ไหม อาจารย์    วันนั้นต้องขอชื่นชมว่าจัดได้ดีมาก ที่สำคัญก็คือท่านประธาน คมช. ท่านไม่ค่อยพูดที่ไหนยาว ๆ คุณวิสุทธ์ก็ให้ท่านพูดตั้งหนึ่งชั่วโมง บนเวทีคุณดำรง พุฒตาล พูดก่อน แล้วก็มาเริ่มที่อาจารย์นรนิศ แล้วชัยอนันท์ก็พูดด้วย ความจริงแล้วท่านจรัญก็พูดด้วย คือทุกคนเนี่ยรู้ว่าประชาธิปไตย กับการเรียนรู้ประชาธิปไตยนั้นเป็นเรื่องสำคัญ    เราไม่ควรจะมีประชาธิปไตยแบบที่คิดว่า คนที่จบรัฐศาสตร์ไม่เข้าใจประชาธิปไตย อย่างนี้เนี่ยเจ๊ง ต้องให้ชาวบ้านเข้าใจ ฉะนั้นสถาบันพระปกเกล้าฯก็ดีหรืออย่างรายการของเราก็คือตัวเร่งทำให้การเรียนรู้ดีขึ้น  แต่ผมว่า การเรียนรู้ประชาธิปไตยของชาวบ้าน ผมอยากจะฝากคุณวิสุทธิ์ไว้นิดนึ่ง อย่าทำสอนหนังสือแบบตำรา  คือน่าจะเปิดเวทีทั่วไปแล้วให้คนเขามีส่วนร่วม แล้วคิดร่วมกัน วีธีการคิดของมนุษย์เราต้องรู้ว่าประชาธิปไตยเป็นของมีประโยชน์ แต่เราต้องมีส่วนร่วม เราต้องรู้ เวลาไปหย่อนบัตรก็หย่อนด้วยเหตุด้วยผล ไม่ใช่หย่อนเพราะว่าหัวคะแนนเขาสั่งมา ไม่เช่นนั้นจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง เวลานโยบายบางอันก็ยังยึดถือ อย่างเช่นในภาคอีสาน หรือทางเหนือ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็โหวดไทยรักไทยตลอด ทั้งที่ปัญหามีมากขึ้น   ผมเคยบอกคุณวิสุทธ์แล้ว อย่างในอเมริกา ประชาธิปไตยมันสวิง เดโมแครท กับ รีพรับปริกั้น ก็สามารถแย่งชิงประชาชนกันได้โดยมุ่งเน้นไปที่นโยบาย ของเราบางทีนโยบายประชานิยม บางทีก็แย่งชิงประชาชนไปได้ แต่การแย่งชิงไปโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรก็ไม่ได้  ความจริงประชานิยมก็เป็นของดี แต่อยู่ตลอดเวลามันก็คงไม่ได้ ไม่เช่นนั้นประชาชนก็ต้องพึ่งรัฐบาลอยู่ตลอดเวลา  อย่างที่ชัยอนันต์เขาพูดก็ถูก ว่าอย่างวันนี้ประชาชนคงต้องเป็นคนตัดสินว่าอะไรดีไม่ดี แต่ขณะนี้เรารู้สึกว่า เราไปอยู่ล๊อค ล๊อคอยู่ในความรู้สึกว่ารัฐบาล รัฐบาลช่วยทำให้เรามีรายได้เพิ่มขึ้นก็เท่ากับเราไม่ได้พึ่งตนเอง    วันนั้นต้องเรียนให้ผู้ฟังที่ไม่ได้ไปว่า บรรยากาศในการพูดกันเรื่องประชาธิปไตย ไปเน้นเรื่องการศึกษา เรื่องสังคมการเรียนรู้ เรื่องการนำความรู้เรื่องประชาธิปไตยไปให้ประชาชนได้รู้    ผมเคยพูดกับคุณวิสุทธ์แล้วว่า ประเทศที่มีประชาธิปไตย รักและหวงแหนมาก แต่จนกว่าเรา ก็คือ อินเดีย แต่เขาก็ไม่เคยมีปฏิวัติ ตั้งแต่ปี 1949 เขาไม่เคยมีทหารออกมา ความคิดเรื่องประชาธิปไตย เป็นส่วนหนึ่งของสังคมของเขาจริง ๆ  เขาจึงหวงแหน ของเรานี่ประชาธิปไตยยังเป็นเชิงธุรกิจอยู่ ซึ่งหวังว่า ทาง คมช.ก็จะเอาจริงกับเรื่องการให้ความรู้เรื่องนี้แก่ประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่งเรื่องนี้ก็จะเป็นจุดแข็งของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ด้วย ว่าจะทำอย่างไรถึงจะให้ประชาชนมีส่วนร่วม อย่าจริงจัง ผมเข้าใจว่าการให้ความรู้กับประชาชนน่าจะมีสถาบัน  ผมพูดอยู่เสมอว่ามหาวิทยาลัยต่างจังหวัด ไม่ใช่สอนแต่ปริญญาตรีอย่างเดียวแต่ควรจะสอนประชาธิปไตยให้ชาวบ้านด้วย ความจริงการเรียนยุคใหม่เรียนที่ไหนก็ได้ คุณวิสุทธ์ก็คงเห็นแล้วว่าวิทยุของเราเป็นการเรียนรู้ประชาธิปไตยที่ค่อนข้างจะได้ผล ก็หวังว่าสื่อมวลชนจะมีส่วนร่วมในการสร้างประชาธิปไตยให้แก่สังคมไทยด้วย  

ผมก็ยินดีและโชคดีที่ได้มีโอกาสได้เห็นว่าคลื่นวิทยุ 96.5 ก็เป็นสื่อที่เน้นประชาชนเป็นหลัก เลือกหัวข้อที่เป็นสาระ อย่างรายการของผมในวันพุธนี้ต้องขอขอบคุณด้วย เรื่องทรัพยากรมนุษย์นี่เป็นเรื่องอย่างที่คุณสรรพวุฒิว่า ไม่ใช่เรื่อง Size Effect แต่เป็นเรื่อง Small Effect แต่คุณวิสุทธ์ให้ผมอยู่ Main Effect และให้อยู่วันพุธด้วย และได้พูดในเรื่องที่คิดว่าประชาชนคิดว่าเป็นเรื่องเล็ก แต่ก็ได้มีเวทีพูด สวัส

ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เรือง

Innovation หรือ Integrity
นวัตกรรมหรือความถูกต้อง[1]

 

 

 

วันเสาร์ที่ผ่านมา ผมไปร่วมงาน "อนาคตประเทศไทยครั้งที่ 2" ซึ่งจัดโดยสถานีคลื่นความคิด FM 96.5 MHz. โดยมีประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน กล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ อนาคตประเทศไทย - อนาคต คมช. มี รศ.นรนิติ เศรษฐบุตร, ศ.จรัญ ภักดีธนากุล, ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช, คุณดำรง พุฒตาล และคุณไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ร่วมกันแสดงความเห็นที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง สื่อวิทยุที่ดี ทำหน้าที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศอย่างมาก
ประเด็นที่น่าสนใจคือ เรื่องอนาคตภายหลังจากร่างรัฐธรรมนูญเสร็จและมีการเลือกตั้ง จะเป็นอย่างไรต่อไป และจะทำอย่างไรต่อไป
ก่อนจะถึงจุดนั้น การร่างรัฐธรรมนูญจะเป็นอย่างไร คนไทยจะต้องมองประเด็นอะไรเป็นพิเศษ ผมจับประเด็นได้อย่างน้อย 3 เรื่องใหญ่คือ
ไม่ว่าจะร่างรัฐธรรมนูญอย่างไร ประชาชนคนไทยทุกหมู่เหล่า ต้องมีความรู้และมีความรู้สึกหวงแหนประชาธิปไตย ซึ่งไม่ใช่ความรู้ที่เรียนรัฐศาสตร์มา แต่เป็นความรู้ขั้นพื้นฐานที่คนไทยจะต้องสนใจ คุณดำรง พุฒตาล, อาจารย์ชัยอนันต์ สมุทวณิช, อาจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร มีความคิดเห็นทำนองเดียวกัน แต่ที่ไม่ได้พูดถึงคือ วิธีการสร้างสังคมการเรียนรู้ เรื่องประชาธิปไตย ต้องให้มีทฤษฎี R กับ D, P ต่อชาวบ้านให้ได้
R
ตัวแรกคือ ผู้รู้ต้อง Respect นับถือชาวบ้านก่อน ไม่ใช่ไปยัดเยียดความรู้ให้ชาวบ้านข้างเดียว
D
คือ Dignity ต้องให้ชาวบ้านมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี แม้ว่าจะจบเพียงประถม 6 ก็ตาม
อันที่ 3 P คือ Participate การให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมด้วย
ผมทำเรื่องสังคมการเรียนรู้ในระดับชาวบ้านอยู่บ่อยๆ โดยพยายามหาชาวบ้านอยู่ตลอดเวลา จึงน่าจะสร้างแนวร่วม โดยใช้ทฤษฎี 4 L's ของผม ได้มากขึ้น
ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช เห็นว่า ทหารต้องปรับตัวตลอดเวลา ไม่ใช่เมื่อมีรัฐบาลจากการเลือกตั้งก็ไม่กล้ามีปฏิกิริยาอะไร สื่อของทหารจึงถูกนักการเมืองนำไปใช้ในการหาเสียง ผมคิดว่า ทหารน่าจะตั้งสถาบันการเมืองที่ monitor ตรวจสอบการเมืองไม่ให้ไปสู่อำนาจผูกขาดทำให้เกิดความไม่มั่นคงและประชาชนไม่ได้รับประโยชน์
หากทหารมองการเมืองเป็นเรื่องความอยู่รอด ประชาธิปไตยและความยั่งยืน ปรับวิธีการทำงาน ในอนาคตการปฏิวัติคงจะไม่เกิดขึ้นอีก การมีความรู้ข้ามศาสตร์ ไม่ใช่รู้เฉพาะยุทธศาสตร์การรบ เช่น กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ( กอ.รมน.) ที่พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน เป็นผู้อำนวยการ น่าจะดูแลเรื่องการเมือง เพื่อรักษาประชาธิปไตยไว้ให้ยั่งยืนต่อไปได้
เรื่องกฎหมายที่ตรวจสอบคอร์รัปชั่น (Corruption) ปลัดจรัญ ภักดีธนากุล กล่าวว่า บางประเทศ เช่น เกาหลี ระบบยุติธรรมเขาเข้มแข็งและเด็ดขาด สามารถจัดการนักการเมืองที่ไม่ดีได้ ทำให้ประชาชนพึ่งได้ ในเมืองไทยจะมีนักการเมืองถูกพิพากษาจำคุกหรือไม่
สัปดาห์นี้หากไม่เขียนถึงเรื่องตลาดหุ้น การเก็งกำไรค่าเงินบาท คงจะเชย ผมจะขอเขียนถึงในมุมเดียวคือ ยุคโลกาภิวัตน์ อะไรๆ ก็เปลี่ยนแปลงเร็ว ไม่แน่นอน บทบาทของธนาคารแห่งประเทศไทยต้องมีทั้ง IQ และ Q อื่นๆ ด้วย โดยธนาคารแห่งประเทศไทยต้องมองหลายมิติและระมัดระวังเรื่องการตัดสินใจต่างๆ ( Decision making ) ว่าจะกระทบความเชื่อมั่นของต่างประเทศหรือไม่
ผมหวังว่า ความเป็นอิสระจากรัฐบาลเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับธนาคารแห่งประเทศไทย และคงจะต้องบวกกับความสามารถด้วย หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า Independence with Competency ผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทย คงต้องไม่ใช้ทฤษฎีตามตำราที่เรียนมาสมัยปริญญาเอก ควรจะต้องมี
- Skill
ความชำนาญ
- Knowledge
ความรู้หลายๆ ด้าน
- Attitude
ทัศนคติที่ถูกต้อง
วิกฤติเศรษฐกิจในอดีตส่วนหนึ่งเกิดจากการตัดสินใจของธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนั้นในยุคโลกาภิวัตน์ ที่มีการเปิดเสรีทางการเงิน ซึ่งมีประโยชน์มาก แต่มีโทษมากเช่นกันหากดำเนินนโยบายผิดพลาด เราต้องป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดในอนาคตให้ได้
สุดท้าย เมื่อวันอังคารที่ 19 ธันวาคม ผมได้รับเกียรติจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไปร่วมแบ่งปันความรู้ให้นักศึกษาปริญญาโท สาขาด้านจิตวิทยา โดยผู้จัดต้องการให้ผมเน้นเรื่อง HR โดยใช้จิตวิทยาเป็นหลัก นักศึกษายุคใหม่ต้องมองเป้าหมาย 4 เรื่อง คือ
- Psychology
จิตวิทยา
- Strategy
ยุทธศาสตร์
- HR
ทรัพยากรมนุษย์
- Performance
ผลที่เกิดต่อองค์กรต่างประเทศ
การเรียนจิตวิทยาเป็นสิ่งสำคัญ แต่จิตวิทยาอย่างเดียวก็ไม่พอ เพราะยุคต่อไปต้องเสริมเรื่องอื่น ๆ ที่ช่วยทำให้จิตวิทยาเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง ผมเป็นนักเศรษฐศาสตร์ และเป็นนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จะไม่ละเลยเรื่องจิตวิทยา แต่ก็จะสนใจเรื่องอื่นๆ ด้วย จึงให้เขาเปรียบเทียบแนวคิด 4 เรื่องคือ
- Head/Heart
สมอง/จิตใจ
- Fact/Feeling
ข้อมูล/ความรู้สึก
- Strategy/Respect
ยุทธศาสตร์/ความเคารพ
- Excellence/Integrity
ความเป็นเลิศ/ความถูกต้อง
วิธีการมองปัญหาดังกล่าว ทำให้นักจิตวิทยาได้ภาพที่ครบถ้วนมากขึ้น เช่น เข้าใจเรื่องวิสัยทัศน์ (Vision) และ Mission ขององค์กร เข้าใจโครงสร้างธุรกิจ (Business structure) ขององค์กร เข้าใจความเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์ เข้าใจเรื่องการแข่งขัน เข้าใจเรื่อง Balanced Scorecard ซึ่งจะต้องมองลูกค้า การเงิน ทรัพยากรมนุษย์ และการบริหารจัดการ เข้าใจเรื่อง Process management
จะขอฝากไว้ว่า วิศวกร หมอ นักบัญชี สถาปนิก นักวิทยาศาสตร์ ฯลฯ เขาเหล่านั้นเข้าใจเรื่องจิตวิทยาเพียงพอหรือไม่ มองมนุษย์ด้วยความเข้าใจในจิตใจลึกๆ หรือไม่ ปัจจุบัน ศาสตร์ต่างๆ แยกจากกันมากเกินไป ควรจะข้ามศาสตร์และนำเอาความรู้ที่ผสมมาใช้ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม ใช้ในการแก้ปัญหา ซึ่งอาจจะพูดได้ว่า ผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน อย่ารู้เฉพาะการเงิน หรือมาตรการทางการเงิน ควรต้องเข้าใจถึงความเจ็บปวดของนักลงทุนรายย่อยด้วย

 

 จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181  
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เรื่อง Innovation หรือ Integrity "

Innovation หรือ Integrity
นวัตกรรมหรือความถูกต้อง[1]

 

วันเสาร์ที่ผ่านมา ผมไปร่วมงาน "อนาคตประเทศไทยครั้งที่ 2" ซึ่งจัดโดยสถานีคลื่นความคิด FM 96.5 MHz. โดยมีประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน กล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ อนาคตประเทศไทย - อนาคต คมช. มี รศ.นรนิติ เศรษฐบุตร, ศ.จรัญ ภักดีธนากุล, ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช, คุณดำรง พุฒตาล และคุณไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ร่วมกันแสดงความเห็นที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง สื่อวิทยุที่ดี ทำหน้าที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศอย่างมาก
ประเด็นที่น่าสนใจคือ เรื่องอนาคตภายหลังจากร่างรัฐธรรมนูญเสร็จและมีการเลือกตั้ง จะเป็นอย่างไรต่อไป และจะทำอย่างไรต่อไป
ก่อนจะถึงจุดนั้น การร่างรัฐธรรมนูญจะเป็นอย่างไร คนไทยจะต้องมองประเด็นอะไรเป็นพิเศษ ผมจับประเด็นได้อย่างน้อย 3 เรื่องใหญ่คือ
ไม่ว่าจะร่างรัฐธรรมนูญอย่างไร ประชาชนคนไทยทุกหมู่เหล่า ต้องมีความรู้และมีความรู้สึกหวงแหนประชาธิปไตย ซึ่งไม่ใช่ความรู้ที่เรียนรัฐศาสตร์มา แต่เป็นความรู้ขั้นพื้นฐานที่คนไทยจะต้องสนใจ คุณดำรง พุฒตาล, อาจารย์ชัยอนันต์ สมุทวณิช, อาจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร มีความคิดเห็นทำนองเดียวกัน แต่ที่ไม่ได้พูดถึงคือ วิธีการสร้างสังคมการเรียนรู้ เรื่องประชาธิปไตย ต้องให้มีทฤษฎี R กับ D, P ต่อชาวบ้านให้ได้
R ตัวแรกคือ ผู้รู้ต้อง Respect นับถือชาวบ้านก่อน ไม่ใช่ไปยัดเยียดความรู้ให้ชาวบ้านข้างเดียว
D คือ Dignity ต้องให้ชาวบ้านมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี แม้ว่าจะจบเพียงประถม 6 ก็ตาม
อันที่ 3 P คือ Participate การให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมด้วย
ผมทำเรื่องสังคมการเรียนรู้ในระดับชาวบ้านอยู่บ่อยๆ โดยพยายามหาชาวบ้านอยู่ตลอดเวลา จึงน่าจะสร้างแนวร่วม โดยใช้ทฤษฎี 4 L's ของผม ได้มากขึ้น
ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช เห็นว่า ทหารต้องปรับตัวตลอดเวลา ไม่ใช่เมื่อมีรัฐบาลจากการเลือกตั้งก็ไม่กล้ามีปฏิกิริยาอะไร สื่อของทหารจึงถูกนักการเมืองนำไปใช้ในการหาเสียง ผมคิดว่า ทหารน่าจะตั้งสถาบันการเมืองที่ monitor ตรวจสอบการเมืองไม่ให้ไปสู่อำนาจผูกขาดทำให้เกิดความไม่มั่นคงและประชาชนไม่ได้รับประโยชน์
หากทหารมองการเมืองเป็นเรื่องความอยู่รอด ประชาธิปไตยและความยั่งยืน ปรับวิธีการทำงาน ในอนาคตการปฏิวัติคงจะไม่เกิดขึ้นอีก การมีความรู้ข้ามศาสตร์ ไม่ใช่รู้เฉพาะยุทธศาสตร์การรบ เช่น กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ( กอ.รมน.) ที่พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน เป็นผู้อำนวยการ น่าจะดูแลเรื่องการเมือง เพื่อรักษาประชาธิปไตยไว้ให้ยั่งยืนต่อไปได้
เรื่องกฎหมายที่ตรวจสอบคอร์รัปชั่น (Corruption) ปลัดจรัญ ภักดีธนากุล กล่าวว่า บางประเทศ เช่น เกาหลี ระบบยุติธรรมเขาเข้มแข็งและเด็ดขาด สามารถจัดการนักการเมืองที่ไม่ดีได้ ทำให้ประชาชนพึ่งได้ ในเมืองไทยจะมีนักการเมืองถูกพิพากษาจำคุกหรือไม่
สัปดาห์นี้หากไม่เขียนถึงเรื่องตลาดหุ้น การเก็งกำไรค่าเงินบาท คงจะเชย ผมจะขอเขียนถึงในมุมเดียวคือ ยุคโลกาภิวัตน์ อะไรๆ ก็เปลี่ยนแปลงเร็ว ไม่แน่นอน บทบาทของธนาคารแห่งประเทศไทยต้องมีทั้ง IQ และ Q อื่นๆ ด้วย โดยธนาคารแห่งประเทศไทยต้องมองหลายมิติและระมัดระวังเรื่องการตัดสินใจต่างๆ ( Decision making ) ว่าจะกระทบความเชื่อมั่นของต่างประเทศหรือไม่
ผมหวังว่า ความเป็นอิสระจากรัฐบาลเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับธนาคารแห่งประเทศไทย และคงจะต้องบวกกับความสามารถด้วย หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า Independence with Competency ผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทย คงต้องไม่ใช้ทฤษฎีตามตำราที่เรียนมาสมัยปริญญาเอก ควรจะต้องมี
- Skill ความชำนาญ
- Knowledge ความรู้หลายๆ ด้าน
- Attitude ทัศนคติที่ถูกต้อง
วิกฤติเศรษฐกิจในอดีตส่วนหนึ่งเกิดจากการตัดสินใจของธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนั้นในยุคโลกาภิวัตน์ ที่มีการเปิดเสรีทางการเงิน ซึ่งมีประโยชน์มาก แต่มีโทษมากเช่นกันหากดำเนินนโยบายผิดพลาด เราต้องป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดในอนาคตให้ได้
สุดท้าย เมื่อวันอังคารที่ 19 ธันวาคม ผมได้รับเกียรติจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไปร่วมแบ่งปันความรู้ให้นักศึกษาปริญญาโท สาขาด้านจิตวิทยา โดยผู้จัดต้องการให้ผมเน้นเรื่อง HR โดยใช้จิตวิทยาเป็นหลัก นักศึกษายุคใหม่ต้องมองเป้าหมาย 4 เรื่อง คือ
- Psychology จิตวิทยา
- Strategy ยุทธศาสตร์
- HR ทรัพยากรมนุษย์
- Performance ผลที่เกิดต่อองค์กรต่างประเทศ
การเรียนจิตวิทยาเป็นสิ่งสำคัญ แต่จิตวิทยาอย่างเดียวก็ไม่พอ เพราะยุคต่อไปต้องเสริมเรื่องอื่น ๆ ที่ช่วยทำให้จิตวิทยาเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง ผมเป็นนักเศรษฐศาสตร์ และเป็นนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จะไม่ละเลยเรื่องจิตวิทยา แต่ก็จะสนใจเรื่องอื่นๆ ด้วย จึงให้เขาเปรียบเทียบแนวคิด 4 เรื่องคือ
- Head/Heart สมอง/จิตใจ
- Fact/Feeling ข้อมูล/ความรู้สึก
- Strategy/Respect ยุทธศาสตร์/ความเคารพ
- Excellence/Integrity ความเป็นเลิศ/ความถูกต้อง
วิธีการมองปัญหาดังกล่าว ทำให้นักจิตวิทยาได้ภาพที่ครบถ้วนมากขึ้น เช่น เข้าใจเรื่องวิสัยทัศน์ (Vision) และ Mission ขององค์กร เข้าใจโครงสร้างธุรกิจ (Business structure) ขององค์กร เข้าใจความเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์ เข้าใจเรื่องการแข่งขัน เข้าใจเรื่อง Balanced Scorecard ซึ่งจะต้องมองลูกค้า การเงิน ทรัพยากรมนุษย์ และการบริหารจัดการ เข้าใจเรื่อง Process management
จะขอฝากไว้ว่า วิศวกร หมอ นักบัญชี สถาปนิก นักวิทยาศาสตร์ ฯลฯ เขาเหล่านั้นเข้าใจเรื่องจิตวิทยาเพียงพอหรือไม่ มองมนุษย์ด้วยความเข้าใจในจิตใจลึกๆ หรือไม่ ปัจจุบัน ศาสตร์ต่างๆ แยกจากกันมากเกินไป ควรจะข้ามศาสตร์และนำเอาความรู้ที่ผสมมาใช้ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม ใช้ในการแก้ปัญหา ซึ่งอาจจะพูดได้ว่า ผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน อย่ารู้เฉพาะการเงิน หรือมาตรการทางการเงิน ควรต้องเข้าใจถึงความเจ็บปวดของนักลงทุนรายย่อยด้วย

 

 
จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181
 
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เรื่อง Innovation หรือ Integrity "

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ  และท่านผู้อ่านทุกท่าน   

   วันนี้ ผมหาความรู้ ทาง Internet เช่นเคย และอ่านบทความบทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่อง Innovation หรือ Integrity นวัตกรรมหรือความถูกต้อง ผมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม โดยใช้ข้อความข้างล่างนี้ แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความของ ศ.ดร.จีระ ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ 

วันเสาร์ที่ผ่านมา ผมไปร่วมงาน "อนาคตประเทศไทยครั้งที่ 2" ซึ่งจัดโดยสถานีคลื่นความคิด FM 96.5 MHz. โดยมีประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน กล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ อนาคตประเทศไทย - อนาคต คมช. มี รศ.นรนิติ เศรษฐบุตร, ศ.จรัญ ภักดีธนากุล, ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช, คุณดำรง พุฒตาล และคุณไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ร่วมกันแสดงความเห็นที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง สื่อวิทยุที่ดี ทำหน้าที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศอย่างมาก
ผมจับประเด็นได้อย่างน้อย 3 เรื่องใหญ่คือ
ไม่ว่าจะร่างรัฐธรรมนูญอย่างไร ประชาชนคนไทยทุกหมู่เหล่า ต้องมีความรู้และมีความรู้สึกหวงแหนประชาธิปไตย ซึ่งไม่ใช่ความรู้ที่เรียนรัฐศาสตร์มา แต่เป็นความรู้ขั้นพื้นฐานที่คนไทยจะต้องสนใจ คุณดำรง พุฒตาล, อาจารย์ชัยอนันต์ สมุทวณิช, อาจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร มีความคิดเห็นทำนองเดียวกัน แต่ที่ไม่ได้พูดถึงคือ วิธีการสร้างสังคมการเรียนรู้ เรื่องประชาธิปไตย ต้องให้มีทฤษฎี R กับ D, P ต่อชาวบ้านให้ได้
R ตัวแรกคือ ผู้รู้ต้อง Respect นับถือชาวบ้านก่อน ไม่ใช่ไปยัดเยียดความรู้ให้ชาวบ้านข้างเดียว
D คือ Dignity ต้องให้ชาวบ้านมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี แม้ว่าจะจบเพียงประถม 6 ก็ตาม
อันที่ 3 P คือ Participate การให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมด้วย
ผมทำเรื่องสังคมการเรียนรู้ในระดับชาวบ้านอยู่บ่อยๆ โดยพยายามหาชาวบ้านอยู่ตลอดเวลา จึงน่าจะสร้างแนวร่วม โดยใช้ทฤษฎี 4 L's ของผม ได้มากขึ้น .................

ผมเห็นด้วยกับ ศ.ดร.จีระ ว่าน่าจะสร้างแนวร่วม โดยใช้ทฤษฎี 4 L’s  การจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้เกิดผล ไม่ใช่แต่ซักแต่ทำอย่างเดียว ต้องมีศิลป  เช่น การทำงาน ไม่ใช่ทำงานอย่างเดียว แต่ถ้ามีความคิดว่า ทำงานไป เรียนรู้พัฒนาไป สร้างความสัมพันธ์ไปด้วย จะดีกว่าคิด ทำงานอย่างเดียว................ ประโยคที่ว่า ไม่ว่าจะร่างรัฐธรรมนูญอย่างไร ประชาชนคนไทยทุกหมู่เหล่า ต้องมีความรู้และมีความรู้สึกหวงแหนประชาธิปไตย ผมเห็นว่า การร่างรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องสำคัญ รัฐควรตั้งคำถามที่ดี ว่า รัฐธรรมนูญควรออกมาอย่างไร แล้วให้คนไทย หนึ่ง ใฝ่รู้ รอบด้าน มีความรู้เรื่องการเมือง และกฎหมายมากขึ้น สอง สนใจและมีส่วนร่วม มีความรู้สึกเป็นเจ้าของ และไม่ยึดติด หรือมีอัตตาสูง  สามมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญอย่างประชาธิปไตย สี่มีความรัก จงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ห้า มีศีลธรรม สติ ปัญญามากขึ้น หก รู้จักพึ่งพาตนเอง ไม่เบียดเบียนธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เจ็ด มีวิสัยทัศน์ กว้างไกลมากขึ้น...........  
ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช เห็นว่า ทหารต้องปรับตัวตลอดเวลา ไม่ใช่เมื่อมีรัฐบาลจากการเลือกตั้งก็ไม่กล้ามีปฏิกิริยาอะไร สื่อของทหารจึงถูกนักการเมืองนำไปใช้ในการหาเสียง ผมคิดว่า ทหารน่าจะตั้งสถาบันการเมืองที่ monitor ตรวจสอบการเมืองไม่ให้ไปสู่อำนาจผูกขาดทำให้เกิดความไม่มั่นคงและประชาชนไม่ได้รับประโยชน์
 ผมเห็นด้วยกับอาจารย์ครับ  ผมคิดว่าโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ ทุกส่วน ทุกสิ่งต้องเรียนรู้และมีการปรับตัว ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก .......... ขณะนี้โลกกำลังมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง แม้กระทั่งเปลือกโลก อากาศของโลก สภาพดิน ฟ้า อากาศ ข้อมูล ข่าวสาร ประเพณีวัฒนธรรมและอีกหลายสิ่ง กำลังมีการเปลี่ยนแปลง  สิ่งมีชีวิตที่ปรับตัวเร็วและเปลี่ยนแปลงให้กับสภาพแวดล้อมได้ จะสามารถดำรงเผ่าพันธุ์อยู่ได้ ............  
เรื่องกฎหมายที่ตรวจสอบคอร์รัปชั่น (Corruption) ปลัดจรัญ ภักดีธนากุล กล่าวว่า บางประเทศ เช่น เกาหลี ระบบยุติธรรมเขาเข้มแข็งและเด็ดขาด สามารถจัดการนักการเมืองที่ไม่ดีได้ ทำให้ประชาชนพึ่งได้ ในเมืองไทยจะมีนักการเมืองถูกพิพากษาจำคุกหรือไม่ ............
เรื่องการตรวจสอบ การแก้ไขและการป้องกันปัญหาคอร์รับชั่น ผมเห็นว่านนอกจากที่เกาหลีแล้ว บ้านเราควรมีการปฏิวัติ กันใหม่ ควรเอาอย่างประเทศญี่ปุ่น เขามีมาตรการแก้ไขและป้องกันที่ตัวคนตั้งแต่กระบวนการสรรหาคัดเลือก กระบวนการทำงาน และมีระบบการควบคุม ตรวจสอบที่เข้มแข็ง มีวัฒนธรรม จริยธรรมที่เน้นความซื่อสัตย์ สุจริต รวมทั้งมีพื้นฐานทางวัฒนธรรมที่เข็มแข็งในการที่จะป้องกันไม่ให้คนชั่วสร้างปัญหาทางการเมืองได้ สุรปก็คือปัญหาคอร์รับชั่น ต้องป้องกันที่ตัวผู้ดำรงตำแหน่ง ระบบการทำงาน กฎหมายที่เข็มงวด และมีวัฒนธรรมที่เข็มแข็ง ส่งเสริมซึ่งกันและกัน รวมทั้งรณรงค์ให้ประชาชนรักษ์ ในความโปร่งใส สุจริต รังเกียจคนไม่ดี เป็นต้น 


สัปดาห์นี้หากไม่เขียนถึงเรื่องตลาดหุ้น การเก็งกำไรค่าเงินบาท คงจะเชย ผมจะขอเขียนถึงในมุมเดียวคือ ยุคโลกาภิวัตน์ อะไรๆ ก็เปลี่ยนแปลงเร็ว ไม่แน่นอน บทบาทของธนาคารแห่งประเทศไทยต้องมีทั้ง IQ และ Q อื่นๆ ด้วย โดยธนาคารแห่งประเทศไทยต้องมองหลายมิติและระมัดระวังเรื่องการตัดสินใจต่างๆ ( Decision making ) ว่าจะกระทบความเชื่อมั่นของต่างประเทศหรือไม่
ผมหวังว่า ความเป็นอิสระจากรัฐบาลเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับธนาคารแห่งประเทศไทย และคงจะต้องบวกกับความสามารถด้วย หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า Independence with Competency ผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทย คงต้องไม่ใช้ทฤษฎีตามตำราที่เรียนมาสมัยปริญญาเอก ควรจะต้องมี
- Skill ความชำนาญ
- Knowledge ความรู้หลายๆ ด้าน
- Attitude ทัศนคติที่ถูกต้อง
วิกฤติเศรษฐกิจในอดีตส่วนหนึ่งเกิดจากการตัดสินใจของธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนั้นในยุคโลกาภิวัตน์ ที่มีการเปิดเสรีทางการเงิน ซึ่งมีประโยชน์มาก แต่มีโทษมากเช่นกันหากดำเนินนโยบายผิดพลาด เราต้องป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดในอนาคตให้ได้

  

ปัญหาการปกป้องค่าเงินบาท จนทำให้เกิดผลกระทบกับตลาดหุ้น นักลงทุน และตลาดหลักทรัพย์นั้น เป็นบทเรียนจากความเป็นจริง ที่น่าสนใจ  เมื่อวันก่อน ผมไปเรียนวิชา เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนา อาจารย์ผู้สอน สอนเกี่ยวกับ เศรษฐกิจพอเพียงกับบริษัทธรรมมาภิบาล และพูดกันถึง บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ และการบริหารจัดการ  ท้ายชั่วโมงเปิดโอกาสให้ซักถาม ผมได้ถาม ผู้สอนว่า  มาตรการปกป้องค่าเงินบาท ที่ทำให้เกิดผลกระทบกับนักลงทุน ตลาดทุนอย่างมาก ที่ไม่เคยเกิดขึ้นนั้น ถามว่ารัฐบาลได้ใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ในการแก้ไขปัญหาหรือไม่ ผมดูทีท่าอาจารย์ผู้สอน อาจจะไม่คาดคิดว่าจะได้พบคำถามเช่นนี้

 

 

อาจารย์ ผู้สอนก็ได้อธิบายชี้แจงด้วยความกรุณา ท่านบอกว่า ที่จริงแล้วแนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ ค่าเงินบาท ยังมีอีกหลายวิธี แต่วิธีที่รัฐฯตัดสินใจอาจจะไม่คาดคิดถึงผลกระทบที่จะตามมาได้แม่นยำ อาจจะหมายถึงการที่ไม่ใช้ความรอบรู้หลากหลายในการตัดสินใจแก้ไขปัญหา

ผมได้เสริมว่า รวมถึงการไม่มีภูมิคุ้มกัน หรือแผนรองรับที่ดีพอหรือไม่ ซึ่งตรงนี้ อาจารย์ผู้สอน ตอบให้เรารู้จักคิดต่อว่า ถ้ามีมาตรการรองรับที่ทีพอ ปัญหาจะไม่กระทบตลาดทุนรุนแรงมากนัก อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า การตัดสินใจอาจจะเน้นคุณธรรมมาก นึกถึงประเทศชาติมาก จึงอาจจะเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ความรอบคอบอาจจะมีไม่เพียงพอ    ผมมีความเห็นว่าการจะคิดจะทำอะไรของรัฐบาลในช่วงนี้ จะเป็นการสอน แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จากความเป็นจริงได้เป็นอย่างดี  รัฐจึงควรศึกษานโยบาย โครงการต่าง ๆ ของรัฐว่า มีนโยบายใด โครงการใด สอดคล้องกับแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมากน้อยหรือไม่เพียงใด  และสิ่งที่รัฐบาลจะทำ หรือกำลังทำ ทั้งระยะสั้น ระยะยาว ได้ใช้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้ครอบคลุมครบถ้วนหรือว่าใช้เพียงบางส่วน  ขอให้ตระหนักให้ดี เพราะรัฐจะต้องเป็นผู้นำและเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินกิจกรรมทั้งหลาย ด้วยแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้เห็นผล และขยายผล ครับ  


สุดท้าย เมื่อวันอังคารที่ 19 ธันวาคม ผมได้รับเกียรติจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไปร่วมแบ่งปันความรู้ให้นักศึกษาปริญญาโท สาขาด้านจิตวิทยา โดยผู้จัดต้องการให้ผมเน้นเรื่อง HR โดยใช้จิตวิทยาเป็นหลัก นักศึกษายุคใหม่ต้องมองเป้าหมาย 4 เรื่อง คือ
- Psychology จิตวิทยา
- Strategy ยุทธศาสตร์
- HR ทรัพยากรมนุษย์
- Performance ผลที่เกิดต่อองค์กรต่างประเทศ
การเรียนจิตวิทยาเป็นสิ่งสำคัญ แต่จิตวิทยาอย่างเดียวก็ไม่พอ เพราะยุคต่อไปต้องเสริมเรื่องอื่น ๆ ที่ช่วยทำให้จิตวิทยาเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง ผมเป็นนักเศรษฐศาสตร์ และเป็นนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จะไม่ละเลยเรื่องจิตวิทยา แต่ก็จะสนใจเรื่องอื่นๆ ด้วย จึงให้เขาเปรียบเทียบแนวคิด 4 เรื่องคือ
- Head/Heart สมอง/จิตใจ
- Fact/Feeling ข้อมูล/ความรู้สึก
- Strategy/Respect ยุทธศาสตร์/ความเคารพ
- Excellence/Integrity ความเป็นเลิศ/ความถูกต้อง
วิธีการมองปัญหาดังกล่าว ทำให้นักจิตวิทยาได้ภาพที่ครบถ้วนมากขึ้น เช่น เข้าใจเรื่องวิสัยทัศน์ (Vision) และ Mission ขององค์กร เข้าใจโครงสร้างธุรกิจ (Business structure) ขององค์กร เข้าใจความเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์ เข้าใจเรื่องการแข่งขัน เข้าใจเรื่อง Balanced Scorecard ซึ่งจะต้องมองลูกค้า การเงิน ทรัพยากรมนุษย์ และการบริหารจัดการ เข้าใจเรื่อง Process management ..........

  

ผมได้มีโอกาสไปร่วมกิจกรรมกับ ศ.ดร.จีระ ในการเรียนการสอน ป.โท จิตวิทยาชุมชน ที่มหาวิทยาลัยเกษตรด้วย  ขอขอบคุณอาจารย์ที่เปิดโอกาสให้ศิษย์ ได้ติดตามไปเห็นและเรียนรู้จากความจริงในห้องเรียน

  นักศึกษาที่นั้นใฝ่เรียนรู้ อาจารย์ได้สอนในรูปแบบการสอนสมัยใหม่ ไม่เน้นจด ท่องจำ แต่เน้นให้เกิดปัญญา โดยการให้นักศึกษาเป็นศูนย์กลาง ผมว่าเป็นสิ่งที่ดีมากกับการเรียนการสอนในยุคปัจจุบัน ......... 

 

การเรียนการสอนในระดับ ป.โท ในเมืองไทย ควรเลิกแบบท่องจำ เลิกรูปแบบการเรียนแบบเก่า หันมาเน้นให้ น.ศ. เกิดปัญญา มีโอกาสปะทะทางปัญญาต่อกัน ปะทะทางปัญญากับอาจารย์ และส่งเสริมให้มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ๆ ๆ และใช้ IT ให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอนให้มากที่สุด และสอนจริยธรรม ความรับผิดชอบต่อสังคมประเทศชาติให้มากขึ้น ..................    

เมื่อสองวันก่อนนี้ ผมได้มีโอกาสไปซ้อมรับพระราชทานปริญญาที่ นิด้า ได้มีโอกาสพบปะและไป Dinner กับเพื่อน ๆ ที่เคยเรียน ป.โท ด้วยกัน  เพื่อนส่วนใหญ่ดื่ม กินและคุยเล่นกันสนุกสนาน และมีการส่งไมค์ให้พูดกัน  ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะพูดว่าดีใจที่ได้เรียนร่วมกัน และขอให้นัดพบเป็นระยะ ๆ มีกิจกรรมกิน เที่ยวด้วยกัน  เมื่อถึงคิวที่ผมต้องพูด ผมได้ฝากเพื่อน ๆ ไว้ว่า เราเรียนจบที่ นิด้า เป็นสถาบันการศึกษาที่เกิดขึ้นโดยพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เปรียบเสมือน ภูมิพลฯ ยูนิเวอร์ซิตี้ เราควรมีกิจกรรมร่วมกันอย่างน้อย 4 เรื่อง คือ

  • Activity for our Country,
  • Activity for our King,
  • Activity for our University,
  • Activity for our team and our family, not for ourselves only.
การนัดพบแต่ละครั้งจึงควรมีวัตถุประสงค์เป้าหมาย และตัวชี้วัดที่ชัดเจน ว่าได้บรรลุความสำเร็จหรือไม่ มิฉะนั้นแล้ว หลายคนจะรู้สึกเสียเวลาและไม่มีสาระให้ชวนคิด ท้าทายให้ติดตามและในที่สุดจะหายกันไป การพบปะสังสรรค์เป็นสิ่งที่ดี การพบปะสังสรรค์ของสมาชิกสโมสรไลออนส์ เป็นตัวอย่างที่น่าศึกษาและนำมาเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติ ทั้งรูปแบบการประชุม ประเพณีวัฒนธรรมและสาระในการพบปะต่อกัน 

 

ที่ผ่านมาผมเห็น น.ศ.ทั้งที่เรียนอยู่และจบการศึกษาแล้ว ติดระบบทุนนิยมมาก มากกว่าที่จะคิดถึงแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  

 

สังเกตได้จากกิจกรรมการรับน้อง การเลี้ยงรุ่น Home Coming Day ส่วนใหญ่จะเป็นการกิน การดื่มมากกว่ากิจกรรม เพื่อชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ ไม่ได้สร้างมูลค่าเพิ่มทางศีล สมาธิ สติปัญญา มากเท่าใดนัก ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะต้องการเน้นสร้างความสัมพันธ์มากกว่า ซึ่งผมก็พิจารณาดูแล้ว น่าให้สมดุลกันระหว่างการสร้างสัมพันธ์ การสร้างความรู้ และการสร้างประโยชน์แก่สังคม ประเทศชาติ และร่วมกันเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาชาติ บ้านเมือง ที่เป็นอยู่

  

ประเด็นตรงนี้จึงขอฝากสำหรับ ไว้ สำหรับสถาบันการศึกษาว่านอกจากหลักสูตรการเรียนการสอนต้องรื้อปรับแล้ว กิจกรรมต่าง ๆ ที่ทางมหาวิทยาลัยจัด หรือนักศึกษาจัด ควรรื้อปรับส่งเสริมให้เกิดมูลค่าเพิ่มกับสังคม ประชาชนผู้ด้อยโอกาส ฯ

  

สำหรับนักศึกษา ป.โท จิตวิทยาชุมชน  ที่เรียนเกี่ยวกับ HR กับ ศ.ดร.จีระ ผมถือว่า น.ศ.โชคดี ที่ได้เรียนกับอาจารย์ ผู้เป็นนักปราชญ์ เป็นผู้รอบรู้เรื่อง HR ระดับชาติ นักศึกษาต้องจับประเด็นและติดตามอาจารย์ให้ทัน ให้ทันโดยการกล้า กล้าที่จะคิด ติดตามถามไถ่

นักศึกษาจะสามารถเรียนรู้และสัมผัสกับอาจารย์ได้ดี นอกจากการปะทะความรู้ในห้องเรียนแล้ว นักศึกษาควรติดตามแลกเปลี่ยนความรู้ แชร์ไอเดียกับอาจารย์ ทาง Blog เป็นประจำ ฝึกให้เป็นนิสัย ตั้ง KPI ให้ตัวเอง ว่า อย่างน้อย สัปดาห์ละครั้งจะแชร์ไอเดียกับสังคมการเรียนรู้ของอาจารย์ทาง Blog เป็นต้น ให้ทำอย่างต่อเนื่อง เมื่อสงสัย ก็โทรหาอาจารย์ได้ นักศึกษาบางคนกลัวอาจารย์ ไม่กล้าโทรหา คิดว่าอาจารย์จะไม่สนใจศิษย์ 

ศ.ดร.จีระ ไม่ใช่แบบนั้น อาจารย์เป็นผู้ที่รักและเมตตาศิษย์และให้โอกาสทุกคน แต่เมื่อได้รับโอกาส ขอให้รู้จักบริหารจัดการตัวเองให้ดี ตั้งอยู่บนพื้นฐาน ของการใฝ่รู้ คุณธรรม ซื่อสัตย์ จริงใจ ไม่หวังผลประโยชน์ใด ๆ ด้วยความมีสติ รอบคอบ มีมารยาท เป็นการฝึกและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องไปด้วย   
จะขอฝากไว้ว่า วิศวกร หมอ นักบัญชี สถาปนิก นักวิทยาศาสตร์ ฯลฯ เขาเหล่านั้นเข้าใจเรื่องจิตวิทยาเพียงพอหรือไม่ มองมนุษย์ด้วยความเข้าใจในจิตใจลึกๆ หรือไม่ ปัจจุบัน ศาสตร์ต่างๆ แยกจากกันมากเกินไป ควรจะข้ามศาสตร์และนำเอาความรู้ที่ผสมมาใช้ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม ใช้ในการแก้ปัญหา ซึ่งอาจจะพูดได้ว่า ผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน อย่ารู้เฉพาะการเงิน หรือมาตรการทางการเงิน ควรต้องเข้าใจถึงความเจ็บปวดของนักลงทุนรายย่อยด้วย
 

เห็นด้วย กับ ศ.ดร.จีระ ที่ศาสตร์ต่าง ๆ แยกจากกัน มาก  ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะอาจารย์ผู้สอนแยกกันมากกันเกินไปหรือไม่ คือต่างคนต่างสอน ต่างวิชา ไม่ค่อยได้มาร่วมกันปะทะทางปัญญากับศิษย์เท่าใดนัก เช่น วิชาบัญชี กับ การตลาด ที่จริงแล้วเป็นหนึ่งในกระบวนการบริหารจัดการองค์การ แต่ก็น้อยแห่งที่จะเอาอาจารย์บัญชีกับตลาดมาร่วมเสวนา ให้นักศึกษาได้เห็นว่าทั้งสองอย่างนั้นสอดคล้องสัมพันธ์กัน  ไม่มีการตลาดก็ไม่มีบัญชี ไม่มีบัญชีการตลาดก็ทำตลาดแบบไร้ทิศทาง 

ใน นิด้า ป.โท การจัดการภาครัฐและเอกชน แต่ละวิชา มีอาจารย์สามท่าน เช่น วิชาการตลาดก็มีอาจารย์สามท่าน วิชาบัญชี ก็มีอาจารย์สายบัญชีสามท่าน ไม่ได้มาพบปะกันเสวนาร่วมกัน อย่างไรก็ตาม นิด้า พยายามเน้นคำว่า บูรณาการ ผสมผสานหลายวิชาเข้าด้วยกัน ในการตอบโจทย์ขององค์การและของสังคมประเทศชาติ ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี ครับ 

  

ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์ช่อง 11 ชื่อรายการสู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และ รายการเศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ทุกวันเวลา 22.40 น. – 22.45 น.นอกจากนี้ ยังออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/ 

 

 

เชิญท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ   

    

สวัสดีครับ

               ยม   นักศึกษาปริญญาเอก   รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต 081-9370144  [email protected] http://gotoknow.org/portal/yom-nark
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง 2007 ปีแห่งความไม่แน่นอน"

2007 ปีแห่งความไม่แน่นอน[1]

 

 

Michael Hammer พูดไว้กว่า 10 ปี แล้วว่า โลกเปลี่ยนแปลงเร็ว และไม่มีใครคาดคะเนได้ถูกต้อง เหตุการณ์ต่างๆ ในปัจจุบัน เปลี่ยนเร็วมาก (Speed) และไม่มีใครทราบว่า อนาคตจะเป็นอย่างไร จะรับมือและจะปรับตัว อย่างไร
บทความของผมทั้งปี 2006 ต้องทันเหตุการณ์ พร้อม ที่รองรับข่าวดีและข่าวร้ายที่เข้ามาตลอดเวลา วิเคราะห์ให้ถูกต้อง และสร้างสรรค์
ผมขอสรุปงานของผม 3 เรื่องที่ทำไป
เรื่องแรกคือ การจัด workshop ให้สมาคมสตรีไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งมีคุณธาริณี กฤดากร เป็นนายกสมาคม เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีสมาชิกกว่า 30 คน มาร่วมรับฟังเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับโรงเรียนและครอบครัว สมาชิกสมาคมต่างสนใจที่จะนำเอาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ให้เกิดผล ถ้ากลุ่มสตรี โดยเฉพาะคุณแม่สามารถปลูกฝังให้ลูกๆ สนใจ เรื่องปรัชญาการใช้ชีวิตอย่างพอประมาณตั้งแต่เด็กๆ จะช่วยได้มาก
สมาชิกของสมาคมท่านหนึ่งบอกว่า พ่อแม่ที่มีฐานะดี ปัจจุบันสร้างปัญหามาก เพราะอยากให้ลูกสบาย จึงปลูกฝังลูกแบบผิด มีวัตถุนิยมและฟุ้งเฟ้อ คนไทยต้องหันมาใช้ชีวิตแบบพอประมาณ แบ่งปันให้คนอื่นๆ ด้วย และอยู่เพื่อส่วนรวมมากขึ้น
นอกจากนี้ ผมไปร่วมจัด Knowledge Camping ของโรงเรียนเทพศิรินทร์พุแค ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากนายกเทศมนตรีหญิง คุณสมฤดี จันทร์สุวรรณ เทศบาลตำบลหน้าพระลาน การเมืองท้องถิ่น ต้องช่วยโรงเรียน พลตำรวจเอกประมาณ อดิเรกสาร เป็นนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ที่มีคุณค่า อายุ 94 ปีแล้ว ยังทำงานเพื่อชาติอย่าง ต่อเนื่องไปร่วมงานด้วย ผมเน้นเรื่อง ภาวะผู้นำ ได้บอกนักเรียน ไปว่า การเป็นเยาวชน ควรจะเน้นการปลูกฝังภาวะผู้นำ จะช่วยประเทศได้มาก โดยแนะนำคุณลักษณะของภาวะผู้นำ 6 เรื่อง มี
- มีคุณธรรม จริยธรรม ไม่เป็นคนรกโลก
- ใฝ่รู้
- มีวินัย
- ทำงานเป็นทีม
- มองอนาคต
- มีมารยาทในสังคม และรักษาวัฒนธรรมไทย
ในขณะเดียวกันมีโอกาสได้ไปพูดเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง กับโลกาภิวัตน์ ให้โรงเรียนราชดำริ มีผู้อำนวยการโรงเรียน คุณศิริพันธุ์ สุพรรณพ เป็นผู้นำการศึกษายุคใหม่ มองการทำงานนอกกรอบ โรงเรียนแห่งนี้เกิดขึ้นโดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว แต่ภายใน 30 ปี สามารถพัฒนาได้ดี ที่ผมชอบเป็นพิเศษ เพราะอยู่ใกล้กับสวนหลวง ร.9 ซึ่งสามารถร่วมงานกันเป็นอุทยานทางความรู้ได้อย่างดี อาจารย์กว่า 100 คน และเด็กนักเรียนกว่า 200 คน ร่วมกันฟัง และทำ workshop เรียนรู้แบบ 4 L's และจะมีโครงการต่อเนื่องอีกหลายเรื่องที่นำเอาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ปัจจุบันที่โรงเรียนแห่งนี้มี
- การประหยัดพลังงาน
- การประหยัดสาธารณูปโภค
- โครงการการออม
- เรื่องรักษาสิ่งแวดล้อม
สุดท้ายผมกลับไปสอนปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อีกครั้ง ต้องยอมรับว่า นักศึกษารุ่นนี้เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ ทำการบ้านส่งมาทาง blog ได้ดีมาก ผมได้ให้เขาเรียนเรื่อง Re-engineering การปรับองค์กรให้ทำงานไปสู่คุณภาพ ซึ่ง บางส่วนเป็นกลยุทธ์ (strategy) บางส่วนเป็นจิตวิทยา (Psychology) จะผสมกันอย่างไร
นักศึกษาสามารถนำทฤษฎี 4 L's, ทฤษฎี 8 H's โดยเฉพาะ Heritage ของคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ไปประยุกต์ (apply) กับชุมชนตามเมืองและชนบทได้อย่างดี
การสอนหนังสือและการเขียนบทความของผมจะเน้นบทเรียนจากความจริง คือ ผมจะแบ่งปัน (Share) เพื่อให้นำไปปรับพฤติกรรมการเรียนรู้ ตลอดปี 2006 ผมได้พูดถึงเหตุการณ์ต่างๆ และงาน ที่ทำไป นักศึกษาปริญญาเอกกำลังรวบรวมเป็นเล่ม 52 เรื่องในปี 2006 แต่ละสัปดาห์ แต่ละเดือน มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น สื่อหนังสือพิมพ์จะช่วยได้มาก
ในปี 2007 ต้องตั้งสติให้ดี เพราะไม่ว่าการเมือง เศรษฐกิจ สังคม โลกาภิวัตน์คงจะเปลี่ยนแปลงเร็วและคาดคะเนลำบาก
สิ่งแรกที่จะต้องติดตามคือ
- การเมืองจะไปทางไหน จะมีการเลือกตั้งแบบไหน และ จะมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแบบไหน
- เศรษฐกิจ จะนำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการแข่งขันในโลกาภิวัตน์ให้ไปด้วยกันอย่างไร
- จะสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนต่างประเทศอย่างไร
- ปี 2007 จะวางแนวทางเรื่องปฏิรูปการศึกษา และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้สามารถอยู่ในโลกการแข่งขัน โดยเฉพาะทุนทางปัญญา, ทุนทาง Network, ทุนทาง Talented (Skill, Knowledge, Mindset ) และจะสร้างความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) กับนวัตกรรม (Innovation) ได้อย่างไร
- จะทำอย่างไร จึงเกิดความสมานฉันท์ (Harmony) ในสังคมอย่างแท้จริง โดยเฉพาะปัญหาภาคใต้
- สุดท้ายที่สำคัญมากคือ จะสร้างวาระแห่งชาติ สังคม
ที่มีคุณธรรม จริยธรรมอย่างไรทั้งในด้านธุรกิจและการเมือง ธรรมาภิบาล ไม่ใช่แค่ถูกกฎหมาย แต่ต้องมีความละอายที่จะใช้อำนาจที่ผิดๆ ต้องดูประโยชน์ระยะยาวและส่วนรวมด้วย
สวัสดีปีใหม่ 2007 ครับ สำหรับท่านผู้อ่านที่ติดตามบทความของผม และขอให้กระจายความรู้เหล่านี้ไปสู่สังคมในมุมกว้าง

 

 

 
จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร.0-2273-0180,0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง 2007 ปีแห่งความไม่แน่นอน"

ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง 2007 ปีแห่งความไม่แน่นอน"

  

 วันนี้ ผมหาความรู้ ทาง Internet เช่นเคย และอ่านบทความบทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่อง 2007 ปีแห่งความไม่แน่นอน ผมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม โดยใช้ข้อความข้างล่างนี้ แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความของ ศ.ดร.จีระ ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ 

  2007 ปีแห่งความไม่แน่นอน[1]   Michael Hammer พูดไว้กว่า 10 ปี แล้วว่า โลกเปลี่ยนแปลงเร็ว และไม่มีใครคาดคะเนได้ถูกต้อง เหตุการณ์ต่างๆ ในปัจจุบัน เปลี่ยนเร็วมาก (Speed) และไม่มีใครทราบว่า อนาคตจะเป็นอย่างไร จะรับมือและจะปรับตัว อย่างไร  ในปี 2007 ต้องตั้งสติให้ดี เพราะไม่ว่าการเมือง เศรษฐกิจ สังคม โลกาภิวัตน์คงจะเปลี่ยนแปลงเร็วและคาดคะเนลำบาก
สิ่งแรกที่จะต้องติดตามคือ
- การเมืองจะไปทางไหน จะมีการเลือกตั้งแบบไหน และ จะมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแบบไหน
- เศรษฐกิจ จะนำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการแข่งขันในโลกาภิวัตน์ให้ไปด้วยกันอย่างไร
- จะสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนต่างประเทศอย่างไร
- ปี 2007 จะวางแนวทางเรื่องปฏิรูปการศึกษา และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้สามารถอยู่ในโลกการแข่งขัน โดยเฉพาะทุนทางปัญญา, ทุนทาง Network, ทุนทาง Talented (Skill, Knowledge, Mindset ) และจะสร้างความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) กับนวัตกรรม (Innovation) ได้อย่างไร
- จะทำอย่างไร จึงเกิดความสมานฉันท์ (Harmony) ในสังคมอย่างแท้จริง โดยเฉพาะปัญหาภาคใต้

 

ผมเห็นด้วยประโยคข้างต้น ของ ศ.ดร.จีระ เป็นอย่างยิ่ง ว่ายุคนี้ยุคโลกาภิวัตน์ ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง ที่นับวันจะยิ่งเร็ว แรง ทั้งทางด้าน การเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีฯ รวมทั้งความพึงพอใจของลูกค้า ประชาชน  ทรัพยากรมนุษย์

  

ปีหน้า 2007 จึงเป็นปีที่มีการเปลี่ยนแปลงยังมีและมาแรง และเอาแน่นอนไม่ได้ 

  

องค์การใดก็ตามทำงานเหมือนเดิม 

  • ไม่ใยดีต่อนวตกรรม
  • ต่อต้านการเปลี่ยนแปลง 
  • สำคัญตนเอง/องค์การผิด ปิดบังปัญหา รายงานไม่ตรงกับความจริง

ยึดติดว่า ความสำเร็จในอดีตสามารถการันตีความสำเร็จในอนาคตได้ เหมือนเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา องค์การนั้นย่อมจะพบกับความเสื่อม จะพบกับปัญหาด้านคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความพึงพอใจของลูกค้าถดถอย ความมั่นคง ความน่าเชื่อถือขององค์การลดลง  ในปีที่ผ่านมามีให้เห็นตัวอย่างหลายองค์การโดยเฉพาะภาคเอกชน หลายแห่งยังคงมีการปิดตัวและลดต้นทุนด้วยการปลดคนงานอย่างต่อเนื่อง

  

การทำงานที่เน้นยุทธศาสตร์จึงมีบทบาทมากขึ้น  การทำงานที่เน้นนวัตกรรมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ นวตกรรมทางการบริหารงาน นวัตกรรมการวิจัยและพัฒนาสินค้าและบริการ เป็นสิ่งจำเป็น การบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต้องตรงประเด็น และมีประสิทธิภาพ วัดผลได้มากยิ่งขึ้น

  

โดยเฉพาะการพัฒนาผู้นำ ให้มีความสามารถบริหารงานภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างเอาแน่ไม่ได้  ผู้นำในปีหน้าเป็นต้นไป จึงควรเป็นผู้ที่มีความสามารถหลากหลาย  เล่นได้หลายบทบาท หลายรูปแบบ พร้อมกับต้องมีคุณธรรม จริยธรรม เป็นที่ตั้ง ลุยงานได้ทั้งติดดิน บนฟ้า ทำได้ทั้งนั้น จะเป็นผู้นำที่มีความสามารถนำองค์การไปสู่เป้าประสงค์ ฝ่าวิกฤตไปได้   

  

การจัดการองค์การในปี 2007 จึงต้องเร่งทบทวนและปรับกระบวนการบริหารจัดการเสียใหม่ เช่น

  • ต้องสร้างบรรยากาศองค์การแห่งการเรียนรู้ บรรยากาศทางวิชาการ ให้นักทำงานเป็นเสมือนนักวิชาการที่มีคุณภาพ
  •  ให้ทรัพยากรมนุษย์เหล่านั้น สร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ ขึ้นมา Built Body o f knowledge, Knowledge Management.
  •  เรื่องของ Management กับ Research Funding ควรต้องให้สอดคล้องกัน
  • เน้นจริยธรรม ส่งเสริมวัฒนธรรมการทำงานที่ดี ขจัดการเมืองในองค์การให้ลดน้อยลง
  • องค์การต้อง Go International มีผลงานอะไร ต้องเปิดสู่กระแสโลก สร้างพลังทางปัญญา
  

ในปี 2007 ธุรกิจบริการ ยิ่งควรต้องชัดเจน ด้านยุทธศาสตร์และตัวชี้วัดความสำเร็จ

  • ต้องบริการได้เร็วกว่า ถูกกว่า ดีกว่า
  • ให้ลูกค้ารู้สึกสะดวก สบายกว่า
  • ให้ลูกค้าเชื่อถือได้ดีกว่า
  • มีความเสมอต้น เสมอปลาย
  • สร้างความไว้วางใจให้เกิดขึ้นกับผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก
  • ดูแลเอาใจใส่ลูกค้าภายในและภายนอกมากขึ้น
  • สร้างความมั่นใจให้ลูกค้าภายในและภายนอกมากขึ้นกับผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก

 

 

สุดท้ายผมกลับไปสอนปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อีกครั้ง ต้องยอมรับว่า นักศึกษารุ่นนี้เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ ทำการบ้านส่งมาทาง blog ได้ดีมาก ผมได้ให้เขาเรียนเรื่อง Re-engineering การปรับองค์กรให้ทำงานไปสู่คุณภาพ ซึ่ง บางส่วนเป็นกลยุทธ์ (strategy) บางส่วนเป็นจิตวิทยา (Psychology) จะผสมกันอย่างไร
นักศึกษาสามารถนำทฤษฎี 4 L's, ทฤษฎี 8 H's โดยเฉพาะ Heritage ของคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ไปประยุกต์ (apply) กับชุมชนตามเมืองและชนบทได้อย่างดี

 ผมได้มีโอกาสติดตามอาจารย์และขอขอบคุณอาจารย์ที่เปิดโอกาสให้ช่วยสอนด้วย  นิสิต ป.โท จิตวิทยาชุมชน คณะสังคมศาสตร์ มีความกระตือรือร้น สนใจเรียนรู้ จริง  ผมชื่นชมคณาจารย์ที่นั่น ว่ามีระบบการสรรหาคัดเลือกนิสิตได้ดี นิสิตมีบุคลิกภาพที่ดี และมีความตื่นตัวในการเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง เสียดายที่ให้เวลา กับ ศ.ดร.จีระ น้อยไป อาจจะทำให้นิสิตได้ความรู้จากอาจารย์ได้ไม่เต็มที่นัก (ในความเห็นของผม) ทางมหาวิทยาลัยเกษตรน่าจะให้เวลามากกว่านี้ จะเกิดประโยชน์สูงสุดกับนิสิต

 

การสอนหนังสือและการเขียนบทความของผมจะเน้นบทเรียนจากความจริง คือ ผมจะแบ่งปัน (Share) เพื่อให้นำไปปรับพฤติกรรมการเรียนรู้ ตลอดปี 2006 ผมได้พูดถึงเหตุการณ์ต่างๆ และงาน ที่ทำไป นักศึกษาปริญญาเอกกำลังรวบรวมเป็นเล่ม 52 เรื่องในปี 2006 แต่ละสัปดาห์ แต่ละเดือน มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น สื่อหนังสือพิมพ์จะช่วยได้มาก

  

เรื่องการเรียนรู้กับ ศ.ดร.จีระ เป็นเสมือน Magic หากหมั่นติดตามจะได้ความรู้ และปัญญาโดยไม่รู้ตัว  หากผสมผสานกับการได้ติดตาม ศ.ดร.จีระ ไปงานต่าง ๆ ด้วยจะยิ่งเกิดปัญญา และทุนมนุษย์มากยิ่งขึ้น 

  

การติดตามหรือ ติดต่อกับ ศ.ดร.จีระ ก็ไม่ยากเหมือนที่ น.ศ. หลายคนคิด ไม่มีใครกั๊กหรือกันได้เพราะ ศ.ดร.จีระ มี Blog ให้เขียนแสดงความคิดเห็นหลากหลาย มีเว็บ มี Email address และมีโทรศัพท์ให้ไว้

  

นอกจากนี้ อาจารย์ยังมีสำนักงานสองแห่ง มีทีมงานคอยต้อนรับ และประสานงานให้ได้ เบอร์โทรสำนักงานก็หาได้ในเว็บของอาจารย์  น.ศ.จึงสามารถติดต่อกับอาจารย์ได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม  ลูกศิษย์ทุกคนจึงสามารถศึกษา หาความรู้ ติดตามอาจารย์ได้ นี่เป็นการเรียนนอกกรอบ และข้ามศาสตร์ที่แท้จริง หลายเรื่องหาได้ยากหรือไม่มีในตำรา เพราะกลั่นออกมาจากประสบการณ์ผสานกับความรู้สด ๆ ที่อาจารย์มีอยู่ อยู่ที่ว่าลูกศิษย์คนใดจะมีบุญ(สนใจ ใส่ใจและเอาใจใส่) พอที่จะได้รับไปอย่างต่อเนื่อง 

 

สวัสดีปีใหม่ 2007 ครับ สำหรับท่านผู้อ่านที่ติดตามบทความของผม และขอให้กระจายความรู้เหล่านี้ไปสู่สังคมในมุมกว้าง
 

ขอกราบขอบพระคุณ ศ.ดร.จีระ ที่ตลอดปี 2006 อาจารย์ได้ให้โอกาส ให้ความรู้ ให้อภัยศิษย์มาตลอดไม่ใช่แค่เฉพาะผมคนเดียว ณ จุดสตาร์ทอาจารย์ได้ให้โอกาสกับศิษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน นับเป็นสิ่งมีค่ายิ่ง  จากนั้นอาจารย์ก็ให้กับลูกศิษย์ตลอดมา

ขออำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิทั้งหลาย จงอำนวยพรให้ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ครอบครัวและทีมงานของอาจารย์ รวมทั้งผู้อ่านทุกท่าน จงมีพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง มีความสุข ความสำเร็จ เจริญด้วยศีล สมาธิ สติ ปัญญา ลาภ ยศ เงิน ทอง และมีคนนิยมชื่นชมยิ่ง ๆ ขึ้นไป 

สวัสดีปีใหม่ ทุกท่านครับ

  

ยม  

 

นักศึกษาปริญญาเอก 

 

รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต 

 

081-9370144  

 

[email protected] 

 http://gotoknow.org/portal/yom-nark  [1] http://www.naewna.com/gotocolumn.asp?ID=97
สุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์

สวัสดีปีใหม่ดร.จิระ และชาว Chiraacademy ทุกท่าน

ไม่ได้มาร่วมแสดงความเห็นในBlock มานานแต่ก็เข้ามาติดตามเป็นระยะๆ เห็นอาจารย์เขียนถึงปี 2007 ปีแห่งความไม่แน่นอน  เห็นด้วยกับความเห็นอาจารย์ แต่ขอเสริมว่าเป็นปีที่น่าเป็นห่วงของคนไทยทุกคน

นับแต่เราเผชิญกับความขัดแย้งทางการเมือง อย่างรุนแรงและยาวนานในปี 2006 ก็ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวันที่ 19 กย 49 จนได้ เรียนตามตรงว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่หลายท่านรวมทั้งผมไม่อยากให้เป็นเพราะเราย้อนไปใช้วิธีตัดสินปัญหากันด้วยกำลังอาวุธกันอีกครั้ง  ทำให้ทหารของชาติ ซึ่งอยู่ในกองทัพกันอยู่ดีๆ ต้องออกมายุ่งเกี่ยวกับการเมือง อันเป็นวัฏจักรเดิมของเมืองไทย หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 มาเป็นเวลาหลายสิบปีอีกครั้ง  ซึ่งใช้เวลานานกว่าจะเกิดวิวัฒนาการจนถึงในปัจจุบัน

ที่น่าเป็นห่วงมากขึ้นไปอีกก็คือ หลังการเปลี่ยนแปลงในวันที่ 19 กย 49  ความขัดแย้งไม่ได้สิ้นสุดลง  แต่ดูเหมือนยังคงดำรงอยู่  การสมานฉันท์ที่ต่างก็พูดกันก็ยังเป็นเพียงคำพูดสวยๆ  ผมแลกเปลี่ยนความเห็นกับผู้คน ก็พบความเห็นที่แยกขั้วกันชัดเจน บางท่านก็เชียร์ คมช.และสะใจที่ล้มรัฐบาลประชานิยมลงได้ บางท่านก็ปรามาส คมช.และรัฐบาลใหม่ ว่าไม่มีฝีมือ จะนำเศรษฐกิจประเทศ ไปสู่ความตกต่ำ  ที่สำคัญความแตกต่างนี้ มีปริมณฑลกว้างขวางมาก

ระเบิดในกรุงเทพในวันสิ้นปีใหม่  แม้ยังไม่รู้ชัดว่าเกิดจากฝีมือของใคร  ก็ดูเหมือนจะยิ่งทำให้ความแตกแยก รุนแรงขึ้น  แนวทางการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ก็ทำท่าจะเป็นจุดที่ทำให้เกิดความขัดแย้งได้อีกเรื่องหนึ่ง ขณะนี้ดูเหมือนผู้คนไม่แน่ใจว่าเราจะได้เลือกตั้งกันในปี 2550 หรือไม่  สรุปว่าความไม่แน่นอนมีอยู่มาก และความขัดแย้งมีอยู่หลายเรื่อง  ที่ผมห่วงก็คือคนทั้งสองกลุ่มคิดต่างกันไปทุกๆเรื่อง  จนกลัวว่าเราจะไม่ได้ไปเลือกตั้งกันตามกำหนด  หรืออาจมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นระหว่างที่รอคอยกัน  ขณะที่เศรษฐกิจของประเทศ  ก็มีเรื่องจากกระแสโลกาภิวัฒน์ที่อาจมากระทบกับบ้านเราหลายเรื่อง เรื่องค่าเงินบาทที่กลายเป็นความไม่แน่นอน  ผลกระทบจากมาตรการธนาคารชาติ  จะส่งผลต่อเศรษฐกิจอย่างไร  ความขัดแย้งทางการเมือง หากรุนแรง ประเทศก็มีโอกาสย่อยยับทางเศรษฐกิจได้สูง  ตัวอย่างมีอยู่ทั่วไปในโลก

สิ่งที่อยากเห็นในฐานะคนไทยคนหนึ่งคืออยากให้ความสมานฉันท์เกิดขึ้นจริงๆเสียที่ กลับไปเป็นนักกีฬาที่รู้จักแพ้ชนะ เลิกแล้วก็แล้วต่อกัน เหมือนสมัยเป็นนักเรียน  อยากให้เรากลับไปต่อสู้กันในเวทีเลือกตั้ง  จะไปลากใส้กันแรงๆ ในสภาก็ไม่ว่า  จะได้ไม่ทำให้เสียวใส้อยู่เช่นในปัจจุบัน รีบๆปรับปรุงรัฐธรรมนูญ ปี 40 ให้เอามาใช้ได้เร็วๆ เถิดครับ ผมว่าแก้อยู่ไม่กี่มาตรา ก็น่าจะใช้ได้แล้ว

สวัสดี ปี 2007 ที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนและน่าเป็นห่วงครับ

 

 

 

ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง ของขวัญปีใหม่ : ปรัชญาและวิธีคิดการบริหาร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"

ของขวัญปีใหม่ : ปรัชญาและวิธีคิด การบริหาร
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
[1]

 

 

ถึงแม้จะมีข่าวร้ายในช่วงปีใหม่ แต่ก็มีข่าวดีเช่นกันคือ ผมได้ไปอวยพรเนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่แด่ คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ซึ่งเป็นบุคคลที่ผมเคารพรักอยู่เสมอ เป็นผู้ที่ให้คำปรึกษา ความรัก และกำลังใจผมอยู่ตลอดเวลา


ในวันนั้นนอกจากจะคุยกันเรื่อง HR ทั่วไปแล้ว คุณพารณยังมอบข้อความสั้น ๆ เรื่องปรัชญาการบริหารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นการรวบรวมพระบรมราโชวาทในหลายวาระ โดยท่านองคมนตรีเกษม วัฒนชัย เป็นผู้รวบรวม สรุป มอบให้คุณพารณ ผมได้อ่านแล้ว อยากจะแบ่งปัน (Share) ให้ท่านผู้อ่านได้ทราบว่า นอกจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่เราเข้าใจแล้ว ยังมีเรื่องปรัชญาการบริหารของพระองค์ท่าน ซึ่งมีแนวทางดังต่อไปนี้


วิธีการคิด 4 แนว ก่อนที่จะเริ่มทำงานใดๆ ให้คิดถึงสิ่งต่อไปนี้
 

  1. ทำอะไร
  2. ทำอย่างไร
  3. ทำเพื่อใคร
  4. ทำแล้วได้อะไร
  5. หลักการในการทำงาน
    1) คิด Macro ทำ Micro
    2) ทำเป็นขั้นเป็นตอน
    3) ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย
    4) ทำอะไรให้นึกถึงภูมิสังคมของที่นั้นๆ
    5) การสื่อความ การประสานงาน และการบูรณาการ (Communication, Coordination, Integration)
    6) ทำอะไรต้องมีผู้เป็นเจ้าของ
    รู้ - รัก - สามัคคี
    รู้ คือ จะทำอะไรต้องไปศึกษาให้รู้จริง
    รัก คือ จะทำอะไรต้องสร้างฉันทะกับสิ่งนั้นๆ สามัคคี คือ ทำอะไรก็ให้ทำเป็นทีม ร่วมมือร่วมใจกันทำให้มีประสิทธิภาพ


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระปรีชาสามารถเรื่องการบริหารและวิธีคิดมากมาย ผมเคยกล่าวไว้ว่า ในปรัชญาการบริหารตะวันตก แต่ในที่สุดต้องใช้ปรัชญาตะวันออกมาช่วยด้วย เป็นของขวัญปีใหม่ ที่ลดความเศร้าไปได้บ้าง


ผมมีเวลาได้หารือกับคุณพารณ อยู่กว่าหนึ่งชั่วโมง นับว่าโชคดีโดยมีทีมงานผม 3 คนนั่งฟังอยู่ด้วย ได้เห็นความมุ่งมั่นของท่านซึ่งปีนี้มีอายุ 79 ปีแล้ว ในเรื่องการศึกษาว่า ไม่ว่าท่านจะทำให้โรงเรียนอะไร ท่านจะทำอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง และวัดผลได้ โดยเฉพาะท่านเน้นการเรียนยุคใหม่ที่ไม่ใช้ทฤษฎีเพียงอย่างเดียว จะต้องนำไปปฏิบัติด้วย หรือที่เรียกกันว่า ทฤษฎี Constructionism ซึ่งรายการโทรทัศน์ของผมกับท่านในครั้งที่ 2 ได้ไปถ่ายทำรายการกันที่โรงเรียนบ้านสันกำแพง ท่านยังบอกว่า ดร.จีระ เชยแล้ว เพราะท่านไปทำให้โรงเรียนดรุณสิกขาลัย ก้าวหน้าไปมาก


อย่างไรก็ตาม ท่านเริ่มเข้าใจวิธีการใช้สื่อมากขึ้นว่า จะต้องกระจายข้อมูลให้สังคมรับทราบในมุมกว้างด้วย ท่านสัญญาว่าจะมาออกรายการโทรทัศน์ทาง UBC 8 กับผมทุกเดือน โดยจะเน้นไปที่ตัวอย่างโรงเรียนต่างๆ ที่ท่านสร้างขึ้นมา


ท่านยังให้ผมดู Laptop ที่ยุคคุณทักษิณได้ริเริ่มไว้ ราคาไม่เกิน 100 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ ท่านบอกว่า ข้อดีของคุณทักษิณคือ ทันโลก และรู้ว่าความรู้และ Technology ไปถึงไหนแล้ว ข้อเสียคือ ถูกมองว่าไม่โปร่งใสในทุกเรื่อง เมื่อถามว่า ทำไมท่านไม่ทำต่อ เมื่อไม่มีคุณทักษิณแล้ว คุณพารณบอกว่า ต้องซื้อจาก MIT ครั้งละ 5 แสนเครื่อง MIT จึงจะผลิตให้ ผมจึงเข้าใจว่า คนที่มีวิสัยทัศน์ (Vision) บางครั้งช่วยได้ การเป็นรัฐบาลขิงแก่อย่างเดียว เน้นคุณธรรมคงไม่พอ ต้องเน้นความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) นวัตกรรม (Innovation) และการคิดนอกกรอบบ้าง แม้จะเป็นรัฐบาลชั่วคราวก็ตาม


อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่า ปีใหม่นี้ยังมีความไม่แน่นอนมาก โดยเฉพาะเรื่องระเบิดที่เกิดขึ้น ในคืนวันที่ 31 ธันวาคม 2549 ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ต้องศึกษาต่อไปว่า คนไทย คนกรุงเทพฯ จะปรับตัวอย่างไร เพราะผู้ที่ไม่รู้เรื่องอะไรเลย จะถูกกระทบไปด้วย การต่อสู้ทางการเมืองคงจะรุนแรงมากขึ้น หวังว่าสิ่งที่หลายคนคาดไว้ว่าจะร้ายมากกว่านี้ คงจะไม่เป็นไปตามที่คาดไว้


การเป็นนายกสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีโอกาสได้ทำอะไรให้เป็นประโยชน์ อย่างน้อยในช่วงปีไหม่ ผมนำคณะสมาคมไปรับพรปีใหม่จากอดีตนายกสมาคมฯ พลตำรวจเอกประมาณ อดิเรกสาร
เทพศิรินทร์สร้างผู้นำไว้มากมาย พลตำรวจเอกประมาณเป็นบุคคลอีกท่านหนึ่งที่อายุ 94 ปีแล้ว ยังทำคุณประโยชน์ให้แก่ชาติ และโรงเรียนเก่ามากมาย


ผมยังได้ไปเยี่ยมพระวีระยุทธ ดิษยะศริน อดีตพระสวามีของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ซึ่งได้บวชเป็นพระอยู่ที่วัดบวรนิเวศ ท่านเป็นนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ ท่านบอกว่าคุณพ่อของท่านจบสวนกุหลาบ แต่ท่านชอบเทพศิรินทร์ จึงเข้าไปเรียน และยังรักโรงเรียนเหมือนเดิม ผมฟังแล้วภูมิใจมาก


สุดท้ายต้องชมเชยผู้อำนวยการโรงเรียนราชดำริ เพราะหลังจากผมไปที่โรงเรียนนี้ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2549 ท่านได้เชิญผมไปร่วมทำบุญในวันที่ 29 ธันวาคม 2549 อีกครั้ง และผมได้กล่าวให้นักเรียนกว่าสองพันคนฟัง 3 เรื่องคือ
- การเป็นคนดี
- สร้างภาวะผู้นำ
- และเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
ผมภูมิใจที่ได้ทำงานเช่นนี้ และอยากให้ทำต่อเนื่อง อยากมีไฟมากๆ (Energy) จะได้ทำงานร่วมกับโรงเรียนต่างๆ ที่สนใจติดต่อมาได้ครับ

 

 
จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา(ศูนย์การศึกษาดรุณพิทยา)

กราบเรียน  ดร. จีระ 

เนื่องจากเดื่อนนี้เป็นเทศกาลปีใหม่  ขอสวัสดีปีใหม่และขออวยพรขอให้บุคคลที่ท่านเคารพรัก  เป็นผู้ที่ให้คำปรึกษา ความรัก และกำลังใจอยู่ตลอดเวลาและมีแต่ความสุขความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานและประสบความสำเร็จ
ท่านได้พูดถึงเรื่องเทศกาลปีใหม่ และได้พูดถึงเรื่องของการอวยพรปีใหม่ ในกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูหัวทรงมีพระปรีชาสามารถ   อย่างไรก็ตามในสถานการที่เลวร้ายในช่วงปีใหม่  ในเหตุการณ์ที่มีคนวางระเบิดทำให้มีคนได้รับบาดเจ็บและมีคนเสียชีวิตเพราะผู้ที่ไม่รู้เรื่องอะไรเลย จะถูกกระทบไปด้วย การต่อสู้ทางการเมืองคงจะรุนแรงมากขึ้น หวังว่าสิ่งที่หลายคนคาดไว้ว่าจะร้ายมากกว่านี้ คงจะไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ และยังมีการมาขู่วางระเบิดในสถานที่ต่างๆทำให้ประชาชนวาดระแวงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  และไม่กล้าออกไปที่ไหนใกล้เพราะจะกลัวระเบิด
สุดท้ายต้องชมเชยผู้อำนวยการโรงเรียนราชดำริ เพราะหลังจากผมไปที่โรงเรียนนี้ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2549 ท่านได้เชิญดร.จีระไปร่วมทำบุญในวันที่ 29 ธันวาคม 2549 อีกครั้ง ท่านได้กล่าวให้นักเรียนกว่าสองพันคนฟัง 3 เรื่องคือ
- การเป็นคนดี
- สร้างภาวะผู้นำ
- และเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
ท่านภูมิใจที่ได้ทำงานเช่นนี้ และอยากให้ทำต่อเนื่อง จากอยากมีไฟมากๆ (Energy) จะได้ทำงานร่วมกับโรงเรียนต่างๆ ที่สนใจติดต่อมาได้

ผู้ร่วมแสดง

61 นางสาวพรทิพย์  ร่มเกษแก้ว   086-5465876

62

63

64นางสาวนำฝน  ผ่องโสภณ

65นางสาวจุฑามาศ  ภิระบัน

66

67นายธนวุฒิ  อินทุประภา

มหาลัยราชภัฎสวนสุนันทา การตลาด4 ปี

กราบเรียน ท่าน ดร. จีระ

 -ฯ ชวน หลีกภัยที่ติงการทำงานของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ น่าสนใจ คือจะต้องอธิบคิดว่า ความคิดและข้อเสนอแนะของอดีตนายกายจุดอันตรายของ "ระบบทักษิณ" ให้ประชาชนได้รับทราบและเข้าใจอย่างแท้จริง เพราะใน 5 ปีที่ผ่านมา ประชาชนที่ยากจนอาจจะคิดไม่ครบถ้วน และไม่เข้าใจ ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นจะต้องทำ ควรอธิบายด้วยข้อมูลและข้อเท็จจริง อาจจะต้องดึงเอาภาคประชาสังคมที่เป็นกลาง มาช่วยอธิบายเพื่อเสริมรัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเพื่อให้ทั่วถึง ระยะนี้ ยังมีข่าวความไม่สงบหรือคลื่นใต้น้ำอยู่ ซึ่งคงจะไม่ใช่ของแปลกอะไร เพราะมีผู้เสียผลประโยชน์มาก คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติจะต้องบริหารและจัดการสิ่งเหล่านี้อย่างรอบคอบ เหมาะสมและสมานฉันท์  
ดูเหมือนว่า นายกฯสุรยุทธ์ จุลานนท์ ทำหน้าที่เหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ได้เชิญหัวหน้าพรรคการเมืองมามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นจุดที่สำคัญ การยกย่องให้เกียรติทุกกลุ่มในสังคมเป็นเรื่องที่ดีและเหมาะสม
ส่วนกลุ่มพันธมิตรก็เช่นกัน คงจะต้องอดทนและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเหมือนเดิม ขออย่าท้อใจ ถึงกับจะลาออกจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งไม่เป็นผลดี คงจะต้องช่วยกันตรวจสอบต่อไป   

ในความเห็นส่วนตัวของผมคิดว่า  ในสายตาของประชาชนคงเข้าใจว่า คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี เป็นบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิ โดยเฉพาะท่านนายกรัฐมนตรี เป็นที่รักและเคารพ อย่างสูง เป็นองคมนตรีของชาติ การที่ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี จะพูด จะทำอะไร จึงเป็นสิ่งที่อาจจะมีผลกระทบถึงตัวท่านนายกรัฐมนตรีได้
การฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น การ Link, Listen and Learn เป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายควรทำ ทุกฝ่ายควร Know our situation! และร่วมกันประกอบภารกิจด้วยความรอบคอบ ระมัดระวังกันทุกฝ่าย เหตุการณ์ภาคใต้ รุนแรงมากขึ้น เราจะสามารถกู้สถานการณ์ได้หรือไม่

Can we fix! Broken Government?

Can we fix! The national disunity?

เป็นสิ่งที่คนไทยจะต้องสมานฉันท์ ร่วมมือกัน ผมเชื่อว่า ปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นในบ้านของเรา ย่อมแก้ไขได้ด้วยคนในบ้านของเราเช่นกัน  

ประเทศไทยจะต้อง Compete international เพื่อที่จะลดความยกจนลง Economic growth ควรจะต้อง ได้ 6% GDP 

ขณะนี้ เราเผชิญปัญหาหลายอย่าง ผมในฐานะคนไทยด้วยกัน ขอแสดงความเห็นใจรัฐบาล และผู้รับอาสาเข้ามาบริหารบ้านเมือง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีคนจน 60% อีสานเป็นภาคที่จนที่สุดในประเทศ ทรัพยากรมนุษย์ส่วนใหญ่ขาดคุณภาพ ด้อยโอกาสทางการศึกษาและอาชีพ ทั้งที่เป็นคนดีมีน้ำใจ 
อีสานเป็นดินแดนไม่สมบูรณ์เหมือนภาคกลาง ไม่มีทางออกทะเล ดินฟ้าอากาศมีผลต่อการประกอบอาชีพ ผลผลิตเกษตรต่อไร่ตกต่ำ การติดต่อค้าขายกับชายแดนต่ำ การใช้เงินภาคสาธารณะต่ำ Low Public spending  อาชีวอนามัยแม่และเด็กยังคงมีปัญหา ส่งผลต่อสมองและความฉลาดของเด็กไทยในอีสาน

ที่สำคัญที่สุดเราหนีไม่พ้นที่จะต้องแข่งขันกับโลก  การศึกษาสำคัญที่สุดควรจะต้องรีบเร่งแก้ไขปรับปรุง

การลงทุนภาคเอกชน ชะลอการลงทุนเกือบถึงขั้นหยุดชะงักมาหลายปี(Reluctance) แนวโน้มจะมีมากขึ้นหรือน้อยลง ผมไม่แน่ใจ 

แรงงานมีทักษะ ความรู้ต่ำ แรงงานต่างด้าวคุณภาพต่ำเข้ามาผสมผสานมากขึ้นมีทั้งถูกต้องไม่ถูกต้อง
การปฏิรูปสถาบันการเงินยังมีขีดจำกัดในภาพรวมทางเศรษฐกิจ  การขาดแคลนแรงงานทีมีความสามารถเป็นข้อจำกัดในการลงทุน Skill Labor
นอกจากนี้ จุดอ่อนของประเทศไทยประการหนึ่งคือ Staff นักบริหารอ่อน องค์ความรู้เพื่ออนาคต อ่อน IT ควรต้องมีแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

จุดแข็งในการใช้แรงงานราคาถูกของไทย เช่น โรงงานทอผ้า ธุรกิจ Garment รองเท้าฯ ได้สูญเสีย Competitive edge ให้แก่ประเทศจีนและเวียดนามไปแล้ว และ 2 ประเทศนี้ได้พัฒนาการศึกษา เทคโนโลยีอย่างรวดเร็วนำหน้าประเทศไทยไป  
สิ่งเหล่านี้ เป็นเรื่องท้าทายรัฐบาลทุกยุคสมัย เป็นเรื่องท้าทายวิสัยทัศน์ ความคิด การกระทำของกลุ่มสมัชชา และความร่วมมือของคนไทยทั้งชาติ  

ประชาชนทุกส่วน ควรเพิ่มและส่งเสริมความสมานทฉันท์ ช่วยเหลือกันและกัน เพื่อชาติจริง ๆ ร่วมมือกันช่วยรัฐบาลในการพัฒนาประเทศให้สำเร็จ   ยุติความขัดแย้ง หันมาแก้ปัญหาประชาธิปไตยด้วยความสงบสุข เคารพในศักดิ์ศรี ในศักยภาพของคนทุกคน ต้องเชื่อว่าคนทุกคนมีคุณค่าทั้งสิ้น ไม่มองใครต่ำ ใครสูง 

คณะรัฐมนตรี ต้องเร่งบริหารประเทศให้พ้นภัย ให้บรรลุเป้าหมายสูงสุด ด้วยการทำงาน Fast, smart to meet highest Standard
วิสัยทัศน์ของชาติต้องชัดเจน และยั่งยืน เน้นความสงบสุขของบ้านเมือง และประโยชน์ของประชาชน ไม่ทำลาย ไม่กล่าวร้ายใคร อะไรก็ตามที่เป็นอุปสรรคสร้างและพัฒนาชาติควรขจัดออกไป ควรต้องสนองแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง และแนวคิดขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของเรา   ผสมผสานบูรณาการแนวคิดทางการบริหาร ทฤษฎีอื่น ๆ ทั้งแนวพุทธศาสตร์ อิสราม คริสต์ฯ มาพัฒนาชาติของเราให้เข้มแข็งโดยเร็ว

รัฐบาลใด ชาติใดก็ตามถ้าเริ่มต้นบริหารชาติด้วยดี พลีอุดมการณ์ให้ชาติ เพื่อคนรุ่นหลัง  เพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่ชาติแล้วนั้น นั่นคืออนุสาวรีย์ที่ปักแน่นในจิตวิญญาณของคนทั้งประเทศ 

สำหรับผม ถึงแม้ว่าจะไม่เกี่ยวกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็จะทำหน้าที่ต่อไปในฐานะประชาชนคนหนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของการให้ความรู้ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง

ผมคิดว่า สิ่งที่ ศ.ดร.จีระ ทำอยู่เป็นแบบอย่างที่ดีที่ผมประทับใจ อาจารย์เป็นกลาง มีคุณธรรม มีอุดมการณ์ มีเสียสละ เพื่อส่วนรวม อาจารย์ทำงานที่มีประโยชน์กับสังคม โดยหวังให้ผู้อื่นเป็นสุข หวังให้ชาติเจริญ เป็นงานพัฒนาทรัยพากรมนุษย์ที่แท้จริงในทุกระดับ ทั้งในและต่างประเทศ   สมกับเป็น HR สายพันธ์แท้  รัฐบาลและองค์กรพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทุกระดับ ควรให้การสนับสนุน ทั้งทางตรงและทางอ้อม  
นักศึกษา ลูกศิษย์ ของอาจารย์ หากมีโอกาส ก็ควรเข้ามาช่วยสนับสนุนอาจารย์ ทุกรูปแบบ ด้วยความมีอุดมการณ์ ความมีชาตินิยม และเรียนรู้วิถี แนวทางของ ศ.ดร.จีระ เพื่อต่อยอด เป็นแนวร่วมอุดมการณ์ ครับ

สัปดาห์ที่ผ่านมาผมมีงาน 3 เรื่องที่จะเล่าให้ฟัง
เรื่องแรก ซึ่งทำเป็นประจำทุกปี คือ ค่ายผู้นำเยาวชน Knowledge camping ให้แก่นักเรียนเทพศิรินทร์และโรงเรียนในเครือทั้ง 7 โรงเรียน จำนวน 120 คน ครั้งนี้เป็นปีที่ 8 แล้ว ในปีนี้เน้นในพระอัจฉริยภาพด้านต่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น ภาวะผู้นำ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น มีวิทยากรรับเชิญซึ่งเป็นนักเรียนเก่าที่มีชื่อเสียงหลายท่านมาร่วมแบ่งปันความรู้ เช่น

-
หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง เป็นองค์ประธานในพิธีและปาฐกถาพิเศษเรื่อง "โครงการหลวง"

-
ฯพณฯ พล.อ.ต.กำธน สินธวานนท์ บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านพลังงาน"
-
ดร.ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรีและกีฬา"
-
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ"
ค่าย Knowledge camping นี้เป็นค่ายที่สร้างและพัฒนาภาวะผู้นำให้กับนักเรียน ให้เด็กมีความคิดกว้างไกล คิดเป็น กล้าแสดงออก เด็กจะได้รับการพัฒนาความคิดจากโจทย์ "ประเทศไทยในอีก 20 ปีข้างหน้า" ซึ่งเป็นการเตรียมพร้อมที่จะเติบโตเป็นผู้นำของชาติในอนาคต

ที่ ศ.ดร.จีระ ทำ Knowledge camping นี้ ผมเห็นว่า เป็น Good Model ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อย่างมาก เป็นประโยชน์ในการสร่างเยาวชน ให้เป็นผู้นำในอนาคต
การปฏิรูปการศึกษาบ้านเรา ควรมีวิธีการเรียนรู้แบบนี้ สอดใส่เข้าไปในการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ระดับประถมฯ ถึง มหาวิทยาลัย และถ้าทุกสถานบันการศึกษาทำได้ ผมเชื่อว่าเราจะมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพในอนาคตมากพอ เป็นการสร้างคนเพื่อสร้างชาติไทยให้เข้มแข็ง ยั่งยืนยิ่งขึ้น

อีกงานหนึ่งเป็นงาน India-Thai Business Forum ซึ่งเป็นชมรมนักธุรกิจชั้นนำของอินเดียในประเทศไทย ผมภูมิใจที่เขาสนใจงาน HRD ของ APEC ของผม แต่แทนที่จะมองเฉพาะ APEC เขามองถึงความร่วมมือระหว่างอินเดียกับ APEC ในอนาคต
ผมคิดว่าเรื่อง HRD กับอินเดียน่าจะมี 3 เรื่อง

1.
การแลกเปลี่ยนครูทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และ IT โดยให้อินเดียส่งครูมาช่วย

2.
การส่งครูไทยไปสอนเรื่อง การบริการ Service sector และการท่องเที่ยว

3.
จัดให้เกิดธุรกิจร่วมกัน เช่น E-learning

ผมคิดว่ารัฐบาลของนายกฯสุรยุทธ์ ยังคงสนับสนุนแนวคิดการจัดตั้ง ACD HRD Center ขึ้น เพื่อให้เอเชีย ซึ่งมีอินเดีย จีน ญึ่ปุ่น ไทย และประเทศในตะวันออกกลางรวย ๆ เช่น โอมาน คูเวต มาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของคนเอเชียด้วยกัน แทนที่จะไปเรียนจากตะวันตก ซึ่งผมได้รับมอบหมายจากรัฐบาลชุดที่แล้วให้ดำเนินการ และได้รับการเห็นชอบในหลักการแล้ว 

ประเด็นนี้ ผมขอเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติมครับ สิ่งที่ ศ.ดร.จีระ ทำเรื่อง การร่วมมือระหว่างอินเดียกับไทย
ลงชื่อ
11
12. นางสาวกันยารัตน์  สร้อยศรีTel..085-0845400 เลขที่12
13. นาย มงคล ทันท่าหว้า Tel..08-58178773
เลขที่13
14. นางสาว กรรณิกา ชูโชติ
15.
16.
17.นางสาวนุสรา วัฒนสินธิ์
18.
19. นางสาว จันจิรา สาครขำ
20 .นางสาว เนตรนภา พรรณภักดี
มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ( ดรุณพิทยา )

กราบเรียน ดร. จีระ

สวัสดีปีใหม่นะค่ะ  จากที่ได้อ่านหนังสือพิมพ์แนวหน้าและได้ฟังคลื่นความคิดทาง 96.5  ทำให้ได้ความรู้มากมายจากการที่ท่านได้มาแสดงความคิดเห็นในพุธที่แล้วเกี่ยวกับการเมืองระบอบทักษิณทั้ง ในช่วงปีใหม่นี้ได้มีเหตุการณ์ร้ายๆ เกิดขึ้นมากตั้งแต่ต้นปี เลยทั้งเหตุการณ์ระเบิดที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯและปริมลฑลทำให้ประชาชนทั่วไปเกิดความตื่นตระหนกกันและจากบทเรียนจากความจริงล่าสุด ได้พูดถึงปรัชญาและวิธีคิดการบริหารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่า ปีใหม่นี้ยังมีความไม่แน่นอน ปรัชญาการบริหารของพระองค์ท่าน ซึ่งมีแนวทางดังต่อไปนี้
วิธีการคิด 4 แนว ก่อนที่จะเริ่มทำงานใดๆ ให้คิดถึงสิ่งต่อไปนี้
1) ทำอะไร
2) ทำอย่างไร
3) ทำเพื่อใคร
4) ทำแล้วได้อะไร
6 หลักการในการทำงาน
1) คิด Macro ทำ Micro
2) ทำเป็นขั้นเป็นตอน
3) ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย
4) ทำอะไรให้นึกถึงภูมิสังคมของที่นั้นๆ
5) การสื่อความ การประสานงาน และการบูรณาการ (Communication, Coordination, Integration)
6) ทำอะไรต้องมีผู้เป็นเจ้าของ
รู้ - รัก - สามัคคี
รู้ คือ จะทำอะไรต้องไปศึกษาให้รู้จริง
รัก คือ จะทำอะไรต้องสร้างฉันทะกับสิ่งนั้นๆ
สามัคคี คือ ทำอะไรก็ให้ทำเป็นทีม ร่วมมือร่วมใจกันทำให้มีประสิทธิภาพ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระปรีชาสามารถเรื่องการบริหารและวิธีคิดมากมาย เคยกล่าวไว้ว่า ในปรัชญาการบริหารตะวันตก แต่ในที่สุดต้องใช้ปรัชญาตะวันออกมาช่วยด้วย เป็นของขวัญปีใหม่ ที่ลดความเศร้าไปได้บ้าง ม่แน่นอนมาก โดยเฉพาะเรื่องระเบิดที่เกิดขึ้น ในคืนวันที่ 31 ธันวาคม 2549 ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ต้องศึกษาต่อไปว่า คนไทย คนกรุงเทพฯ จะปรับตัวอย่างไร เพราะผู้ที่ไม่รู้เรื่องอะไรเลย จะถูกกระทบไปด้วย การต่อสู้ทางการเมืองคงจะรุนแรงมากขึ้น หวังว่าสิ่งที่หลายคนคาดไว้ว่าจะร้ายมากกว่านี้ คงจะไม่เป็นไปตามที่คาดไว้

ผู้ร่วมแสดงความคิดเห็น

1.น.ส วารีวรรณ  โฉมศรี   49473130046  ( 086-0544549 )

2. น.ส. จรัสแสง   โคมเปือย  49473130047  ( 08508026051 )

3. นายตะวัน  กลิ่นโสสุม  49473130112 

4.น.ส.กฤติยา  เภาสาลี 49473130114 ( 084-7855058 )

5. นายสมโชค  กลักทรัพย์  49473130115  ( 083-7071475 )

6. นายกมลตรี  ถือซื่อ  49473130116  ( 087-9802080 )

7.นายอำพล  อินสว่าง  49473130117  (083-9957851 )

8. น.ส. ศิริระวี  ไชยศรี  49473130118 (086-9832801 )

9. น.ส. นิภาพร  พุ่มจันทร์ 49473130119 (089-6827620 )
 

ราชภัฎสวนนันทา การตลาด 4ปี

สวัสดีคะ ศ.ดร.จีร บทความ บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ จากเว็ปของ น.ส.พ.แนวหน้า แต่ยังไม่เห็นบทความดังกล่าว จึงอ่านบทความอื่น ๆ และได้เห็นบทความของท่านนายกรัฐมนตรีที่เปิดใจให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับ นโยบายรัฐบาล ผมเห็นว่ามีสาระที่เป็นประโยชน์กับผู้เรียน รัฐประศาสนศาสตร์ และผู้ที่สนใจในนโยบายสาธารณะ การเมือง จึงได้คัดสำเนามาลงไว้ใน Blog นี้  ส่วนการวิเคราะห์บทความ บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ ต้องรอไว้ก่อน จนกว่าจะปฎิบัติภารกิจวันนี้ ซึ่งเช้านี้ ศ.ดร.จีระ และทีมงานมีจัดสัมมนา หลักสูตรพัฒนาศักยภาพ และบุคลิกภาพวันเสาร์ที่ 4 และ วันอาทิตย์ที่ 5 พฤศจิกายน 2549  ณ โรงแรมสวิสโฮเต็ล  หากผู้อ่านสนใจ จะติดตามไปร่วมสัมมนา ติดต่อได้ที่ผมหรือที่ ttp://www.chiraacademy.com/ มีเบอร์โทรติดต่อได้หรือติดต่อที่ผมเพื่อจะได้ช่วยประสานงานให้ก็ยินดีครับ ที่ 081-9370144 เชิญท่านผู้อ่านติดตาม สาระในบทความ สุรยุทธ์เปิดใจ นโยบายรัฐบาล ซึ่งปรากฏอยู่ข้างล่างนี้ สวัสดี สุรยุทธ์เปิดใจ นโยบายรัฐบาล [1]หมายเหตุ : เมื่อเวลา 19.00 น.พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัตน์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ให้สัมภาษณ์พิเศษสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5และช่อง 7  โดยมีนายพิษณุ นิลกลัด เป็นผู้ซักถามนโยบายการดำเนินงานของรัฐบาล เผย 1 เดือนนายกทำชีวิตเปลี่ยน สุขภาพเสีย                เมื่อถามว่าระยะ 1 เดือนกับ 2 วันที่พล.อ.สุรยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี หน้าที่ที่ได้รับหนักกว่าที่คิดหรือหรือเป็นอย่างที่คิด พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ได้คาดการณ์ไว้แล้วว่า มันค่อนข้างที่จะกระชั้นและหนัก เพราะปัจจัยหลายๆอย่างที่เกิดขึ้นนี้ทำให้ทุกอย่างมันมีแรงกดดัน มีแรงบีบครั้นมากขึ้น ไม่ว่าจะเรื่องถภายในประเทศหรือเรื่องภายนอกประเทศมีทั้งนั้น                เมื่อถามว่า ก่อนเป็นนายกรัฐมนตรีกับหลังการเป็นนายกรัฐมนตรีชีวิตจประจำวันเปลี่ยนไปมากขนาดไหน พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ก็คงเปลี่ยนเยอะตนไม่มีเวลาได้พบกับภรรยาและลูก กลับไปทุกคนก็พักผ่อนกันหมดแล้ว เมื่อออกจากบ้านภรรยาก็ยังไม่ตื่นมันก็เป็นอย่างนี้ทุกวัน นอนวันหนึ่งไม่เกิน 4 ชั้วโมงค่อนข้างที่จะลำบากกับสุขภาพของตนเองเหมือนกันเพราะอายุเริ่มมากแล้วอดนอนทำให้มีผลกระทบต่อร่างกายพอสมควร สมานฉันท์ ใต้ - ศอ.บต.-พระนาย                เมื่อถามว่า การแถลงนโยบายในเรื่องของการสมานฉันท์ที่มีคำสั่ง 207/2549มานี้มั่นใจขนาดไหนที่จะบอกคนไทยทั้งภาคใต้และทั่วประเทศที่กำลังวิตกอยู่ พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ในเรื่องของความมั่นคงเป็นเรื่องที่จะต้องมีการีจัดแนวทางกันใหม่เพราะปัญหาไม่ใช่เฉพาะเรื่องของการเมืองเท่านั้น แต่เป็นปัญหาเรื่องของยาเสพติด การลักลอบนำมนุษย์หรือที่เรียกว่าการค้ามนุษย์ข้ามแดน เรื่องโรคต่างๆที่อาจจะมีผลกระทบไม่ว่าจะเป็นโรคซาส์หรือไข้หวัดนกสิ่งเหล่านี้ต้องถือว่าเป็นปัญหาที่กระทบต่อความมั่นคงภายในของเรา เรื่องสถานการณ์ภาคใต้ ตนได้มีโอกาสลงไปพบปะกับผู้นำทางศาสนาในช่วง 2-3วันที่ผ่านมา ถือเป็นโอกาสอันดีที่เราได้ทำความเข้าใจว่าองค์กรด้านความมั่นคงของเราจะเข้ามาดูแลสถานตการณ์ทางภาคใต้อย่างไรโดยที่มีการจัดตั้งศูนย์อำนวยการบริหารงานจังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้นมาใหม่ ซื่อเหมือนเดิม แต่การจัดองค์กรภายในก็มีการปรับเปลี่ยนเพื้อทำให้สอดคล้องกับความเข้มข้นของสถานการณ์ในปัจจุบัน                เมื่อถามว่า จากรายละเอียดของคำสั่งดูเหมือนงานนี้จะต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะโรค พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ถูกต้อง คงมีหลายส่วนที่จะต้องมาดูแลด้วยกัน ไม่ว่าจะในด้านของการดูแลเกี่ยวกับเรื่องของโรคที่อาจจะระบาดได้ซึ่งต้องมีทั้งฝ่ายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงสาธารณสุขเข้ามาทำงานร่วมกัน  ซึ่งคนที่จะมาแก้ไขปัญหาทางภาคใต้ถือได้ว่าจะต้องเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญ เพราะถ้าเรามีคนซึ่งไม่รู้จริงไม่เก่งจริงลงไปทำปัญหาก็จะขยายตัวอเอกไป                                เมื่อถามว่า อะไรคือเงื่อนไขพิเศษที่ทำให้กระทรวงมหาดไทยเลือกนายพระนาย สุวรรณรัตน์ ดำรงตำแหน่ง ผอ.ศอ.บต. พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ตนมีโอกาสซักถามคุณพระนายด้วยตนเองในช่วงที่ลงพื้นที่ภาคใต้ โดยถามว่าสมใครใจไหมท่านบอกว่าเต็มใจที่จะงาน ท่านก็รู้ว่าเป็นงานที่หนัก แต่ถือเป็นเรื่องที่จะต้องหาทางแก้ไข แก้สถานการณ์ให้ได้ นั่นเป็นส่วนที่คุณพระนายบอกตนเอง ส่วนที่สองที่ตนมีความรู้สึกเองคือคุณพนะนายนมีสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพี่น้องประชาชนดีพูดง่ายๆคือมีมนุษยสัมพันธ์ดี ตรงนี้เป็นส่วนที่ดีของคูรพระนาย                เมื่อถามว่า มีผู้นำศาสนา ผู้นำท้องถิ่นเข้ามาร่วมการทำงานครั้งนี้ด้วยคิดว่าการได้คนเหล่านี้มาช่วยจะทำให้การแก้ปัญหาสำเร็จเร็วขึ้นหรือไม่ นายโฆษิต กล่าวชี้แจงแทนว่า ครั้งแรกที่มีประชุมคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีได้มอบกรอบคิดและการปฏิบัติ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการมีส่วนร่วม ฉะนั้นตนคิดว่าทิศทางของพวกเราทุกคนคือการพยามแสวงหาความร่วมมือฝให้กว้างที่สุดและต่อไปคงต้องทำให้ลึกที่สุดด้วย เพราะเราเชื่อความร่วมมือ การประสานงานที่ดีและการมีส่วนร่วมจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เราทำงานได้ผล                      เมื่อถามว่า เมื่อได้ ผอ.ที่ดีได้ทีมงานที่ดคาดหมายหรือไม่กับอายุการทำงานปีเศษๆจะประสบความสำเร็จขนาดไหน พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ตนมีความหวัง เพราะอย่างที่เรียนแล้วตนลงไปพบผู้นำทางศาสนาและอีกระยะหนึ่งตนจะลงไปพบกับเยาวชนในระดับที่อายุ 20 บวกลบ การไปพบผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ทำให้เกิดความรู้สึกว่าได้รับการตอบรับจากผู้นำเหล่านั้น สิ่งที่สังเกตได้ชัดคือการแสดงออกหลังจากที่ตนเองพูดเสร็จแล้ว ทุกคนต่างมาคอยรับและยื่นมือมาให้ตนจับ ในความรู้สึกเหมือนประชาชนยื่นมือมาให้ตนแล้วและตนก็ยื่นมือไปจับเป็นสิ่งที่แสดงถึงความเชื่อมั่น แสดงถึงความร่วมมือ ความเข้าใจที่จะต้องช่วยกันทำงาน ตนมองภาพว่าภาครัฐเองลงไปทำงานแม้จะเก่งอย่างไร ถ้าไม่ได้คนในท้องถิ่นหรือผู้นำท้องถิ่นเข้าช่วยมันไม่มีโอกาส การเมือง - ปฏิวัติ                เมื่อถามว่านอกจากปัญหาทางภาคใต้แล้ว ยังมีปัญหาอะไรที่อยากจะทำให้เร็วที่สุดให้เห็นผลเร็วที่สุดในรัฐบาลนี้  พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ปัญหาทางการเมือง ซึ่งก็เป็นของความวิกฤติที่เกิดขึ้นในช่วงรัฐบาลที่ผ่านมา ความแตกแยกทางความคิด ซึ่งอันนี้เราถือว่าเป็นเรื่องของการเมือง ซึ่งจะต้องหาทางแก้ไข ตนมองประเด็นนี้ว่า ในเมื่อมันเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นแล้ว เราจะทำอย่างไรให้มันเกิดความสามัคคี ขึ้นมาในชาติบ้านเมืองของเรา สิ่งที่อยากจะเรียนเสมอ เมื่อมันเกิดไปแล้วเราจะทำอะไรไปไม่ได้มากไปกว่านั้น เราจะเดินไปข้างหน้ากันอย่างไร มีอนาคตที่ดีกว่าเดิมอย่างไร ในเรื่องการแก้ไขปัญหาทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการมีส่วนร่วม  ซึ่งผมก็เปิดโอกาสว่าถ้าท่านมีอะไรให้มาคุยกับผมได้เลย  ผมไม่เคยปิด ผมไม่เคยมีเวลาที่ผมจะไม่คุยกับใคร ผมพร้อมที่จะคุย ในเรื่องของการที่จะมองในแง่ของการตรวจสอบ และการถ่วงดุลมันจำเป็นจะต้องมี ถ้าเราปล่อยเหมือนช่วงที่ผ่านมาไม่ได้ ถ้าเราปล่อยฝ่ายบริหารก็จะมีอำนาจมาก และไปทำในสิ่งที่ประชาชนเองก็ไม่ต้องการให้ทำ มันก็จะกลับมาอีก ตรงนี้คิดว่าน่าจะมาช่วยกันแก้ไข พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าว            เมื่อถามว่าก่อนที่มาเป็นนายกรัฐมนตรี ดูเหมือนว่าทั้งประชาชน นักวิชาการไม่ได้รักใคร่รัฐบาลชุดที่แล้ว แต่มาถึงวันนี้เมื่อเขารู้สึกว่าเขาได้รัฐบาลใหม่ที่มาจากการเผด็จการ และไม่ได้จากการเลือกตั้ง ท่านนายกจะบอกเขาอย่างไร พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ตนไม่ชอบเลยในเรื่องของการเข้ามายึดอำนาจ และทำรัฐประหาร เพราะในชีวิตได้พูดมาตลอดว่าไม่ได้ชอบ แต่ว่าเมื่อมันเกิดขึ้นมา ถ้าเราจะมาบอกว่าไม่ชอบเพียงอย่างเดียว โดยที่ไม่หาทางแก้ไขเรื่องเหล่านี้ไม่ให้มันเกิดขึ้นต่อไปอีกในอนาคต เราจะทำยังไงเราจะเลือกทางไหนเพียงแต่ว่าผมไม่ชอบ แล้วก็อยู่เฉยๆหรือว่ามาคัดค้าน กับการที่จะมามีส่วนร่วมเพื่อมาบอกว่าเราจะทำยังไงไม่ให้มันเกิดอย่างนี้อีก ผมเป็นคิดว่ามันเป็นทางเลือกที่ทุกคนก็อยากจะเห็นว่ามันไม่ควรจะมีอีกแล้ว พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าว                เมื่อถามว่าภาครัฐได้มีโอกาสที่จะไปเจรจากับนักวิชาการที่ไม่เห็นด้วยบ้างหรือไม่ พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ตนก็พูดได้ทุกแห่งและยินดีที่จะพูดทุกแห่ง ยินดีที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นบอกมาเลยว่าไม่เห็นด้วยกับการที่จะให้กำลังเข้ามายึดอำนาจ แต่ว่าเมื่อเหตุการณ์มันเกิดขึ้นไปแล้ว โดยที่ทุกคนจะบอกว่ามันเหมือนกับว่าเป็นการเลือกใช้เครื่องไม้เครื่องมือรักษาโรคอย่างที่เราพูดกัน เพราะเมื่อมันจะต้องผ่าตัด ผ่าตัดไปแล้วทำอย่างไรที่เราจะทำให้สภาวะร่างกายของเรามีความเข้มแข็ง แข็งแรงขึ้นมามันน่าจะเป็นอย่างนั้นมากกว่า เศรษฐกิจพอเพียง                เมื่อถามว่าการจะสร้างการเมืองให้ราบรื่นประชาชนต้องผาสุกด้วย ในส่วนของนายโฆสิตจะเอื้อกับนายกรัฐมนตรีอย่างไรบ้าง นายโฆสิต กล่าวว่า ก็ย้อนไปเมื่อการประชุมครั้งแรกที่นายกรัฐมนตรีบอกว่าการที่เราจะทำงานด้วยกันจากนี้เป็นต้นไป ขอให้ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐาน เพราะฉะนั้นด้วยปรัชญาหลักเศรษฐกิจพอเพียง เรามีความมั่นใจว่าเราสามารถที่จะเดินไปสู่จุดที่ขออนุญาติพูดว่าความสุขความเจริญ ที่เราได้เห็นอดีตว่าเรามีความเจริญ                 “ตอนนี้ปัญหามาก เป็นความเจริญที่ไม่มีความเป็นธรรม  เป็นความเจริญที่ไม่ยั่งยืนเช่นนี้เป็นต้น ฉะนั้นเราก็คิดว่าเป็นการพยายามที่จะอาศัยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสร้างความเจริญในรูปแบบที่สังคมที่มีความสุข นายโฆสิต กล่าว                เมื่อถามว่าชาวไร่ชาวนาที่การศึกษาน้อย เงินก็ไม่มีมาก เราจะอธิบายให้เขาเข้าใจได้อย่างไรภายในระยะเวลา 1-2 นาทีเขาถึงจะเข้าใจ สมมติว่าเราเป็นชาวนาไม่มีที่ดินสักไร่เดียว ต้องใช้เแรงงานรับจ้างเขาทำงาน เกี่ยวข้าวปลูกข้าวแล้วเราจะใช้หลักปรัชาญาเศรษฐกิพอเพียงอย่างไรให้มีความสุขในสังคม นายโฆสิต อธิบายว่า เรามีรูปธรรมเยอะของผู้ที่ยึดหลักปรัชญาแล้วได้ผล ซึ่งรูปธรรมเหล่านี้ได้กลายเป็นผู้ที่บทบาทอยู่ในชุมชน หลายคนเป็นปราชญ์ชาวบ้าน ซึ่งคนเหล่านี้มีจริงวิถีที่ท่านคิดและสอดคล้องกับหลักปรัชญาหลักเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถก้าวพ้นปัญหาความยากจนได้ แต่เราคิดว่ายังมีจำนวนน้อยเกินไป ซึ่งเรามีความเชื่อมั่นในวิธีการว่านี่คือวิธีที่จะต่อสู้กับความยากจน  แต่จะทำอย่างไรจึงจะขยายผลออกไปได้เรื่อยๆ  อันนั้นคือนโยบายที่เราได้เขียนเอาไว้                 เมื่อถามว่า นโยบายที่แถลงจับต้องไม่ได้จะบอกเขาอย่างไร นายโฆษิต กล่าวว่า  ตนขอบอก 2 ข้อ ข้อ 1 คือในอดีตนโยบายเป็นรูปธรรมมาก แต่ก็มีหลายที่ที่มีความรู้สึกเหมือนกับที่ตนมีความรู้สึกคือถ้าเราเอารูปธรรมมานำและละเลยให้ความสำคัญกับคุณธรรมน่อยหรือนามธรรมต่ำมากคิดว่าไม่ตรงกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพราะมันไม่มีความพอดี ฉะนั้นตรงนี้เราอยากจะเห็นเราปรับความพอดีให้ความสำคัญกับนามธรรมพิ่มขึ้นเยอะ อีกเรื่องนามธรรมที่เราพูดถึงไม่ใช่เป็นนามธรรมที่ไม่เห็นตัวอย่างของการปฏิบัติ แต่เป็นนามธรรที่มาจากตัวอย่างจริงของการปฏิบัติที่ได้ผล                เมื่อถามว่า จำฝรั่งเขามาหากเรารักลูกหลานและรักโลกหรือประเทศของเรา เราจะต้องส่งมอบประเทศหรือโลกให้คนรุ่นหลักให้สมบูรณ์ให้เหมือนกับคนรุ่นก่อนหน้านั้น ตรงนี้ท่านคิดอย่างไร เพราะเห็นท่านพูดเราจะต้องส่งมอบประเทศไทยให้รุ่นลูกหลานของเราให้ดีที่สุด  พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า มันก็มีเรื่องใหญ่ๆที่ตนถือว่าเป็นเรื่องสำคัญหากเราสามารถที่จะแก้ไขปัญหาทางการเมืองได้ สร้างความปรองดองขึ้นมาในชาติบ้านเมืองของเราก็ถือว่าผ่านพ้นข้อสอบข้อใหญ่ๆ 2 ข้อที่สำคัญของเราไป ส่วนข้อสอบย่อยๆซึ่งมันก็มีอีกมากมาย ตนคิดว่าเราจะวางกรอบวางแนวทางไว้ ยกตัวอย่างแนวทางด้านเศรษฐกิจ แนวทางตัวชี้วัดความผาสุข แน่นอนคนที่ไม่ได้ผ่านความลำบากในชีวืตในลักษณะที่เป้นคนจนมาก่อนก็จะมองไม่เห้นว่าตัวชี้วัดจะมีผลอย่างไรบ้างจริงๆมันไม่ได้เป็นความร่ำรวยอย่างเดียวที่จะทำให้เรามีความสุข ความยากจน ความเท่าเทียมกันก็ทำให้เรามีความสุขเหมือนกัน                เมื่อถามว่า ที่นายกฯบอกว่าต้องการทำให้คนมีความสุขไม่ต้องร่ำรวยก็ได้ แต่คนที่จะอย่างนั้นได้ต้องเป็นรัฐบาล เราจะมีกระบวนการอย่างไรในการสรรหารัฐบาลที่เป็นคนรักประชาชน เพราะเมื่อเลือกตั้งที่ไรเราจะได้รัฐบาลที่ดูเหมือนวย่าหน้าตาความสวยงามสู้รัฐบาลแต่งตั้งไม่ได้ ตั้งแต่สมัยนายสัญญา ธรรมศักดิ์ นายอานันท์ ปันยารชุน และสมัยนี้ พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ตนคิดว่าตรงนี้เรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน การมีส่วนร่วมอของพรรคการเมืองที่จะต้องเตรียมตัว ตนได้เชิญพรรคการเมืองทุกพรรคมาพูดกันในเรื่อวงเหล่านี่ว่าเราจะต้องเตรียมตัวและเตรียมความพร้อมของพรรคกาเมือง ซึ่งคงทั้งในเรื่อวงของสิ่งที่เป็นกฎหมายที่จะต้องมีการปรับแก้อะไรบ้าง พรรคการเมืองก็จะต้องมีการเตรียมความพร้อม เพราะจะต้องมีคนรุ่นใหม่มีความรู้ มีความสามารถ แน่นอนประสบการณ์อาจจะน้อยบ้าง แต่ความรู้ ความสามารถมาปรับกันได้ โดยที่มีระบบตรวจสอบถ่วงดุลที่ดีพอ รัฐธรรมนูญ                เมื่อถามว่า กระบวนการรัฐธรรมนูญจะทำอย่างไรให้คนบุคลิกอย่างนายโฆษิต และอีกหลายๆท่านมาจาก ส.ส.หรือมาจากบัญชีรายชื่อ เพื่อให้ได้สภาที่งดงาม พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ในส่วนนี้เราจะต้องสร้างกรอบ สร้างกระบวนการ ซึ่งให้ความมั่นใจ สิ่งที่แรกที่ตนเห็นจากประสบการณ์ตัวเองคือมีเงินพอหรือเปล่าที่จะเป็นนักการเมือง พร้อมที่จะเสียเงินไหม เพราะท่านลงเลือกตั้งท่านจะต้องมีเงิน ตรงนี้เป็นเรื่องที่ทำให้คนที่มีความรู้ความสมารถหลายคนเกิดความลังเล เพราะเงินที่ตัวมีอยู่ไม่มากหากจะนำไปเสี่ยงกับเรื่องเหล่านี้มันจะคุ้มไหม ทุกคนก็คิดเหมือนกัน ในแง่ของเศรษฐกิจพอเพียง ตนตอบได้เลยว่าถ้าจะเป็นนักเมืองทุกคนก็ต้องคิดว่าทำแล้วมันจะมีผลออเกมาอย่างไร ถ้าท่านลงไปแล้วไม่ต้องใช้เงินมากมีคนให้การสนับสนุน มีสปอนด์เซอร์ดีๆ ซึ่งเขาไม่มาเรียกร้องเอาอะไรต่ออะไรมากนักมันก็ไปได้  เพราะต่างประเทศก็มีสปอนด์เซอร์ทั้งนั้น ไม่มีประเทศไหนที่ออกมาบอกว่าไม่ต้องใช้เงิน                เมื่อถามว่า ทำไมท่านโฆษิตถึงไม่ยอมเล่นการเมือง นายโฆษิต กล่าวว่า ตนขออนุญาตินะ เป็นความเห็นที่ตนก็เห็นอย่างนี้มานานแล้ว รัฐธรรมนูญก็เป็นส่วนสำคัญ แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือความเห็นของสังคมส่วนใหญ่ ณ วันนี้ที่ตนมองย้อนหลังไป ความเห็นคนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับนามธรรมมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งตนเองดีใจ คิดว่าสำหรับคนรุ่นหลังๆที่จะมามีแบบอย่าง มีโอกาส เชื่อว่าเรื่องพวกนั้นจะเป็นไปได้ ถ้าตราบใดที่สังคมให้น้ำหนักให้เกิดความพอดี รูปธรรมเป็นเรื่องสำคัญแต่นามธรรมไม่ใช่ของที่จะมองข้ามกัน                เมื่อถามว่า ในการแถลงนโยบายที่มีการพูดถึงโครงการใหญ่ๆ รัฐบาลปีเศษๆทำเมกกะโปรเจกบางคนบอกไม่สมควร นายโฆษิต กล่าวว่า ที่เรารับนโยบายจากนายกรัฐมนตรีภารกิจเรามี 2 อย่าง 1.ให้งานเดินต่อไป 2.วางรากฐาน ตอนนี้เราคงต้องขอเวลาสักนิดเพื่อที่จะกำหนดรากฐานว่าเราจะทำอะไร เพราะแผนต่างๆมันมีเยอะ นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายต่างๆให้เราไปช่วยกันดู ตรงไหนพร้อมเพียงใด                 เมื่อถามว่า ฑูตอังกฤษพูดว่าเศรษฐกิจพอเพียงจะไปได้หรือกับโลกสมัยใหม่ นายโฆษิต กล่าวว่า โดยส่วนตัวได้มีโอกาสรับทราบและได้รับเกียรติจากท่านฑูตที่มาพบและได้ติดต่อไปอีก 2-3 ประเทศ ก็เป็นโอกาสอันดีที่จะได้คุยกัน ตนเรียนไปว่าเราถือเอาความพอดีและความมีเหตุผลและเราอยากคุยกันและมีข้อตกลงหรือข้อสรุปที่มีเหตุผลและได้ข้อสรุปร่วมกัน คิดว่าท่านฑูตเหล่านั้นก็เข้าใจว่าภารกิจของเรา เราอยากทำไม่ให้เกิดปัญหาที่หลัง                เมื่อถามว่า กฎอัยการศึกจะเลิกได้เมื่อไร พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับความร่วมมือ อย่างที่เรียนแล้วในเรื่องทางการเมืองถ้าเรามองเห็นภาพเราจะร่วสมมือกันอย่างไรมีความเข้าใจที่จะเดินไปข้างหน้าด้วยกัน ไม่มีเหตุการณ์ต่างๆซึ่งมองดูแล้วอย่างไรเราเรียกกันว่าคลื่นใต้น้ำออกมาประท้วงบ้าง ออกมาทำอะไรต่างๆบ้าง ซึ่งทำให้ฝ่ายความมั่นคงเขาเกิดความระแวงอยู่ตลอดเวลาถ้าไม่มีความทระแวงในส่วนนนี้แล้ว ตนยืนยันเลยว่าอยากจะเลิกให้เร็วที่สุด                เมื่อถามว่า นายกรัฐมนตรีถือศีล 5 เดินทางไปเจรจาความต่างประเทศเสียเปรียบหรือไม่ พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ไม่เสียเปรียบเลย เพราะตนรู้เวลาที่ตนจะพูด พูดในส่วนไหนที่จะเป็นประโยชน์ตรงนี้เป็นส่วนสำคัญหากเราไม่รู้ว่าพูดไปแล้วมันจะเหมาะควรไหม ก็อย่าไปพูด ถ้าเหมาะควรและเห็นว่าจะเกิดประโยชน์ก็พูด                เมื่อถามว่า ผลงานขนาดไหนที่พอใจและคิดว่ารับใช้ชาติสมบูรณ์ พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ที่ตนหวังคือเรื่องการแก้ไขปัญหาทางการเมือง มีการเตรียมการเรื่องกฎ กติกา มารยาททางการเมืองที่จะเป็นใหม่ทำให้เรียบร้อย ตนไม่อยากเรียกว่าร่างรัฐธรรมนูญแล้ว หากตรงนี้ออกมาได้และสถานการณ์ทางภาคใต้ลดความรุนแรงลงมีแนวโน้มในการพัฒนามากขึ้น คิดว่าส่วนนั้นเป็นเป้าที่ตนเองหวัง

ชื่อ  นายนรรธชัย พูลสัมบัติ เลขที่40 0837775040

นางสาว หนึ่งฤทัย เกิดสวัส เลขที่41 0897635575

นางสาว สุกัญญา สีลาดเลา เลขที่42 0877006294

นางสาว มัลิกา สิรินุมาศ เลขที่43 0839241970

นาย ธนกร สุภันวงศ์ เลขที่44 084975995

นางสาว อรฉัตร พูลวาสนา เลขที่45 0815534636

นางสาว สารินี ชมเพื่อน เลขที่46 0810278538

นางสาว แก้วมณี ก้านเพชร เลขที่47 0895033015

นาย จารุพงษ์ สงเคราะห์ เลขที่48 0872848578

นาย อนุวัตร มนตรี เลขที่50 0839188263

 

ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง ของขวัญปีใหม่ : ปรัชญาและวิธีคิดการบริหาร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"

สวัสดีปีใหม่ อีกครั้ง กับ ศ.ดร.จีระ นักศึกษาและท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

 

 

ช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา ติดงานพระราชทานปริญญาบัตร ที่นิด้า งานเรียน ป.เอกและ งานอื่น ๆ อีก ทำให้การเขียนวิเคราะห์บทความ ของอาจารย์ ช้าไป ต้องขออภัยทุกท่านมา ณ โอกาสนี้ สำหรับ blogนี้ เช่นเคยครับ ผมหาความรู้ ทาง Internet และอ่านบทความบทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่อง ของขวัญปีใหม่ : ปรัชญาและวิธีคิด การบริหารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว[1]ผมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม โดยใช้ข้อความข้างล่างนี้ แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความของ ศ.ดร.จีระ ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ  
"ในวันนั้นนอกจากจะคุยกันเรื่อง HR ทั่วไปแล้ว คุณพารณยังมอบข้อความสั้น ๆ เรื่องปรัชญาการบริหารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นการรวบรวมพระบรมราโชวาทในหลายวาระ โดยท่านองคมนตรีเกษม วัฒนชัย เป็นผู้รวบรวม สรุป มอบให้คุณพารณ ผมได้อ่านแล้ว อยากจะแบ่งปัน (Share) ให้ท่านผู้อ่านได้ทราบว่า นอกจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่เราเข้าใจแล้ว ยังมีเรื่องปรัชญาการบริหารของพระองค์ท่าน ซึ่งมีแนวทางดังต่อไปนี้
วิธีการคิด 4 แนว ก่อนที่จะเริ่มทำงานใดๆ ให้คิดถึงสิ่งต่อไปนี้
1) ทำอะไร
2) ทำอย่างไร
3) ทำเพื่อใคร
4) ทำแล้วได้อะไร

6 หลักการในการทำงาน
1) คิด Macro ทำ Micro
2) ทำเป็นขั้นเป็นตอน
3) ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย
4) ทำอะไรให้นึกถึงภูมิสังคมของที่นั้นๆ
5) การสื่อความ การประสานงาน และการบูรณาการ (Communication, Coordination, Integration)
6) ทำอะไรต้องมีผู้เป็นเจ้าของ
รู้ - รัก - สามัคคี
รู้ คือ จะทำอะไรต้องไปศึกษาให้รู้จริง
รัก คือ จะทำอะไรต้องสร้างฉันทะกับสิ่งนั้นๆ
สามัคคี คือ ทำอะไรก็ให้ทำเป็นทีม ร่วมมือร่วมใจกันทำให้มีประสิทธิภาพ


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระปรีชาสามารถเรื่องการบริหารและวิธีคิดมากมาย ผมเคยกล่าวไว้ว่า ในปรัชญาการบริหารตะวันตก แต่ในที่สุดต้องใช้ปรัชญาตะวันออกมาช่วยด้วย เป็นของขวัญปีใหม่ ที่ลดความเศร้าไปได้บ้าง".........

 
 

บทความของ ศ.ดร.จีระ ใน น.ส.พ.แนวหน้า วันเสาร์ที่ 6 ม.ค. 2550 หน้า 5 อาจารย์ใช้ชื่อเรื่องว่า  ปรัชญาและวิธีคิด การบริหารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจแก่ปวงชนชาวไทย 

เกี่ยวกับปรัชญาและวิธีคิด ของพระองค์ท่าน ท่านผู้อ่านสามารถติดตาม ศึกษาแนวคิดจากพระองค์ท่านได้จากภาพ ส.ค.ส. ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ พ.ศ. 2540-2549 ได้ที่http://www.nectec.or.th/users/htk/gr01/index.htmlแนวคิดของพระองค์ท่านจากเพลงพระราชนิพนธ์ ของในหลวง http://kanchanapisek.or.th/royal-music/index.th.htmlแนวคิดของพระองค์ท่านจากโครงการในพระราชดำริ http://www.kanchanapisek.or.th/projects/index.th.html 

 

 

นื่องจากหัวเรื่อง เกี่ยวกับปรัชญาและวิธีคิด การบริหารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ผมได้คัดบางส่วนของพระบรมราโชวาทและกระแสพระราชดำรัส ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้ ซึ่งรัฐบาล ประชาชน และกลุ่มการเมืองต่าง ๆ ควรทบทวน และนำไปปฏิบัติ ในการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง และการทำงาน ซึ่งผมคัดมาบางส่วนจากเว็ปที่เกี่ยวข้องดังนี้ครับ

   พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัส เกี่ยวกับการทำงาน[2]  

การทำงานยากลำบากกว่าการเรียน การเรียนนั้นเรียนตามหลักสูตร หรือเรียนวิชาต่าง ๆ ตามที่ทางมหาวิทยาลัยจัดลำดับให้ แต่การทำงานไม่มีหลักสูตรวางไว้ จำจะต้องใช้ความริเริ่มและความคิดพิจารณาด้วยตนเอง ในอันที่จะทำสิ่งใด อย่างไร เมื่อใด หากไม่รู้จักพิจารณาใช้ให้ถูกช่อง ถูกโอกาส ถึงมีวิชาอยู่ ก็ไม่เป็นผลแก่งานและแก่ตัวนัก . . .

 พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๑๒
     

การทำงานใหญ่ ๆ ทุกอย่าง ต้องการเวลามาก กว่าจะทำสำเร็จ ผู้ที่เริ่มโครงการอาจไม่ทันทำให้สำเร็จโดยตลอดด้วยตนเองก็ได้ ต้องมีผู้อื่นรับทำต่อไป ดังนั้น ไม่ควรยกเอาเรื่องใครเป็นผู้เริ่มงาน ใครเป็นผู้รับช่วงงาน ขึ้นเป็นข้อสำคัญนัก จะต้องถือผลสำเร็จที่จะเกิดจากงาน เป็นใหญ่ยิ่งกว่าสิ่งอื่น

 พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยศิลปากร
วันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๔
    

. . คนเราเมื่อมีความรู้ความสามารถที่ดีเป็นทุนรอนอยู่จะไม่มีวันอับจน ย่อมหาทางสร้างตัวสร้างฐานะให้ก้าวหน้าได้เสมอ. ข้อสำคัญ ในการสร้างตัวสร้างฐานะนั้นจะต้องถือหลักค่อยเป็นค่อยไป ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวังและความพอเหมาะพอดี ไม่ทำเกินฐานะและกำลัง หรือทำด้วยความเร่งรีบ. เมื่อมีพื้นฐานแน่นหนารองรับพร้อมแล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญก้าวหน้าในระดับที่สูงขึ้น ตามต่อกันไปเป็นลำดับ. ผลที่เกิดขึ้นจึงจะแน่นอน มีหลักเกณฑ์ เป็นประโยชน์แท้และยั่งยืน . .

 พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
วันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๐
    . . . การงานทุกอย่างทุกอาชีพ  ย่อมจะมีจรรยาบรรณของตนเอง. จรรยาบรรณนั้นจะบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ตาม แต่ก็เป็นสิ่งที่ยึดถือกันว่าเป็นความดีงาม ที่คนในอาชีพนั้นพึงประพฤติปฏิบัติ. หากผู้ใดล่วงละเมิดก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายทั้งแก่บุคคล หมู่คณะ และส่วนรวมได้. เหตุนี้ ผู้ปฏิบัติงานในทุกสาขาอาชีพ นอกจากจะต้องมีความรู้ในสาขาของตนอย่างลึกซึ้ง จัดเจนและศึกษาให้ก้าวหน้าอยู่เสมอแล้ว ยังจะต้องยึดมั่นในจรรยาบรรณในวิชาชีพของตน ทั้งข้อที่ควรปฏิบัติและไม่พึงปฏิบัติอย่างเคร่งครัดด้วย จึงจะสามารถประพฤติตนปฏิบัติงานให้ประสบความสำเร็จ ได้รับความเชื่อถือยกย่องในเกียรติ ในศักดิ์ศรี และในความสามารถด้วยประการทั้งปวง . .   พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยมหิดล
วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๔๐
.     

. . ข้าพเจ้าขอฝากคติไว้เป็นเครื่องกำกับใจ มีคุณธรรมข้อหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งท่านต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดอยู่เสมอ คือ ความสัตย์สุจริต ประเทศบ้านเมืองจะวัฒนาถาวรอยู่ได้ ก็ย่อมอาศัยความสัตย์สุจริตเป็นพื้นฐาน ท่านทั้งหลายจะออกไปรับราชการก็ดี หรือประกอบกิจการงานส่วนตัวก็ดี ขอให้มั่นอยู่ในคุณธรรมทั้ง ๓ ประการคือ สุจริตต่อบ้านเมือง สุจริตต่อประชาชน และสุจริตต่อหน้าที่ ท่านจึงจะเป็นผู้ที่ควรแก่การสรรเสริญของมวลชนทั่วไป . . .

  พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๔๙๗
     

. . . ความเจริญมั่นคงของประเทศชาติไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจหรือสังคมก็ตาม ย่อมขึ้นอยู่กับฐานะความเจริญมั่นคงของบุคคลในชาติเป็นสำคัญ. และความเจริญของคนทั้งหลายนั้น จะเกิดมีได้ก็ด้วยการประพฤติชอบ และการหาเลี้ยงชีพชอบ. ผู้ที่จะสามารถประพฤติปฏิบัติได้ดังนี้ จำเป็นจะต้องมีทั้งวิชาความรู้ ทั้งหลักธรรมทางศาสนา เพราะสิ่งแรกเป็นปัจจัยสำหรับใช้กระทำการงาน สิ่งหลังเป็นปัจจัยสำหรับส่งเสริมความประพฤติและการปฏิบัติการงานให้ชอบ ให้ถูกต้องและเป็นธรรม. วิชาการกับหลักธรรมนี้มีประกอบกันพร้อมในผู้ใด ผู้นั้นย่อมจะประสบความสุขและความสำเร็จทั้งในชีวิตและกิจการงาน ซึ่งย่อมจะส่งผลสะท้อนถึงส่วนรวมต่อไป คือทำให้บ้านเมืองมีความเจริญมั่นคง ทำให้สังคมเป็นสังคมที่ผาสุขสงบ น่าอยู่น่าอาศัย . . .

 พระราชดำรัส
พระราชทานเพื่อเชิญไปอ่านในการสัมมนาของ
มูลนิธิช่วยเหลือเด็กกำพร้าของสตรีไทยมุสลิมแห่งประเทศไทยฯ
วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๐
     . . . จะพูดถึงวิธีปฏิบัติงานโดยแยบคายต่อไป ข้อแรก จะต้องสร้างศรัทธาให้มีขึ้นก่อน เพราะศรัทธา หรือความเชื่อมั่นในประโยชน์ของงานนั้น เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติ คือทำให้มีการปฏิบัติด้วยใจในทันที แม้ก่อนที่จะลงมือกระทำ ดังนั้น ไม่ว่าจะทำการใด ๆ จึงต้องสร้างศรัทธาขึ้นก่อน และการสร้างศรัทธานั้น จำเป็นต้องทำให้ถูกต้องด้วยศรัทธาที่พึงประสงค์จะต้องไม่เกิดจากความเชื่อง่าย ใจอ่อน ปราศจากเหตุผล หากจะต้องเกิดขึ้นจากความเพ่งพินิจ พิจารณา ใคร่ครวญแล้วด้วยความคิดจิตใจที่หนักแน่นสมบูรณ์ด้วยเหตุผล จนเห็นถ่องแท้ถึงคุณค่าและประโยชน์อันแท้จริงในผลของการปฏิบัติที่จะบังเกิดตามมา ศรัทธาลักษณะนี้ เมื่อบังเกิดขึ้นแล้ว ย่อมน้อมนำฉันทะ ความพอใจ ความกระตือรือร้น ความพากเพียร ขวนขวาย ตลอดจนความฉลาดริเริ่มให้เกิดขึ้นเกื้อกูลกันอย่างพร้อมเพรียง แล้วสนับสนุนส่งเสริมให้การปฏิบัติงานดำเนินก้าวหน้าไปโดยราบรื่นจนสัมฤทธิ์ผล . . .  พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยรามคำแหง
วันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๒๔
     

 . . . การมีความรู้ความถนัดทางทฤษฎีประการเดียว ไม่เพียงพอที่จะทำให้บุคคลสามารถปฏิบัติงานได้เต็มที่ ผู้ที่ฉลาดสามารถแต่ในหลักวิชา โดยปรกติวิสัยจะได้แต่เพียงชี้นิ้วให้ผู้อื่นทำ ซึ่งเป็นการไม่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่อาจทำให้ผู้ใดเชื่อถือหรือเชื่อฟังอย่างสนิทใจได้ เหตุด้วยไม่แน่ใจว่าผู้ชี้นิ้วเองจะรู้จริง ทำได้จริงหรือหาไม่ ความสำเร็จทั้งสิ้นเกิดขึ้นได้เพราะการลงมือกระทำ ดังนั้น ผู้ที่ชำนิชำนาญทั้งทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ จึงจัดว่ามีคุณสมบัติครบถ้วน และมีขีดความสามารถสูง เป็นที่เชื่อใจและวางใจได้ว่าจะดำเนินงานทั้งปวงอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะสามารถทำงาน สั่งงาน และสั่งคนได้อย่างถูกต้องแท้จริง . . .

 พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
วันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๑๗
    

. . . ในการดำเนินชีวิตของเรา เราต้องข่มใจไม่กระทำสิ่งใด ๆ ที่เรารู้สึกด้วยใจจริงว่าชั่วว่าเสื่อม เราต้องฝืนต้องต้านความคิดและความประพฤติทุกอย่างที่รู้สึกว่าขัดกับธรรมะ เราต้องกล้าและบากบั่นที่จะกระทำสิ่งที่เราทราบว่าเป็นความดี เป็นความถูกต้อง และเป็นธรรม ถ้าเราร่วมกันทำเช่นนี้ให้ได้จริง ๆ ให้ผลของความดีบังเกิดมากขึ้น ๆ ก็จะช่วยค้ำจุนส่วนรวมไว้มิให้เสื่อมลงไป และจะช่วยให้ฟื้นคืนดีขึ้นได้เป็นลำดับ . . .

 พระราชดำรัส
พระราชทานเพื่อเชิญไปอ่าน
ในพิธีเปิดการประชุมยุวพุทธิกสมาคมทั่วประเทศ
ครั้งที่ ๑๒ ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๑๓
    

คนทำงานดีคือคนมีระเบียบ ได้แก่ระเบียบในการคิดและในการทำ. ผู้ไม่ฝึกระเบียบไว้ ถึงจะมีวิชา มีเรี่ยวแรง มีความกระตือรือร้นอยู่เพียงไร ก็มักทำงานให้สำเร็จดีไม่ได้ เพราะความคิดอ่านสับสนว้าวุ่น ทำอะไรก็ไม่ถูกลำดับขั้นตอน มีแต่ความลังเลและขัดแย้ง ทั้งในความคิด ทั้งในการปฏิบัติงาน . . .

 พระบรมราโชวาท
พระราชทานแก่ข้าราชการพลเรือน เนื่องในวันข้าราชการพลเรือน
วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๒๗
   

. . . ร่างกายของเรานั้น ธรรมชาติสร้างมาสำหรับให้ออกแรงใช้งาน มิใช่ให้อยู่เฉย ๆ. ถ้าใช้แรงให้พอเหมาะพอดีโดยสม่ำเสมอ ร่างกายก็จะเจริญแข็งแรง คล่องแคล่วและคงทนยั่งยืน. ถ้าไม่ใช้แรงเลย หรือใช้ไม่เพียงพอ ร่างกายก็จะเจริญแข็งแรงอยู่ไม่ได้แต่จะค่อย ๆ เสื่อมไปเป็นลำดับ และหมดสมรรถภาพไปก่อนเวลาอันสมควร. ดังนั้น ผู้ที่ปรกติทำการงานโดยไม่ได้ใช้กำลัง หรือใช้กำลังแต่น้อย จึงจำเป็นต้องหาเวลาออกกำลังกายให้พอเพียงกับความต้องการตามธรรมชาติเสมอทุกวัน .

 พระราชดำรัส
เพื่อเชิญไปอ่านในการประชุมสัมมนาเรื่องการออกกำลังเพื่อสุขภาพ
วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๓
    

. . การทำให้บ้านเมืองคงอยู่นี้เป็นงานที่ยากที่ลำบาก เพราะว่าคนที่อยู่ในประเทศย่อมต้องมีการขัดแย้งกันบ้าง เหมือนในครอบครัว อยู่ใกล้ชิดกันก็อาจขัดแย้งกันได้ แต่ว่าเมื่ออยู่ในครอบครัวเดียวกันคือประเทศชาติ ก็เป็นครอบครัวใหญ่ ต้องรู้จักอภัยกันรู้จักปรองดองกันให้ดี . . .

 พระบรมราโชวาท
พระราชทานแก่ผู้นำเยาวชนจากจังหวัดต่าง ๆ ๓๖ จังหวัด
ที่ปรึกษาผู้นำเยาวชน และเจ้าหน้าที่ดำเนินการฝึกอบรม
วันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๑๔
    

นอกจากนี้ ท่านผู้อ่านยังสามารถติดตาม เว็ปที่เกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ที่

 

พระบรมราโชวาท และพระราชดำรัส
รวบรวมพระบรมราโชวาท และพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
http://www.ch7.com/king.php - ส่งให้เพื่อน
หมวด : /กิจกรรม และเหตุการณ์สำคัญ/เทศกาล และวันสำคัญ/วันพ่อแห่งชาติ/พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ



เครือข่ายกาญจนาภิเษก
จัดทำขึ้นตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งรวบรวมข่าวสาร จากหน่วยงานต...
http://www.kanchanapisek.or.th - ส่งให้เพื่อน
หมวด : /หน่วยงานราชการและองค์กร/กษัตริย์และราชวงศ์



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
บอกพระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจ ให้ข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษ
http://www.bangkokpost.net/king/ - ส่งให้เพื่อน
หมวด : /กิจกรรม และเหตุการณ์สำคัญ/เทศกาล และวันสำคัญ/วันพ่อแห่งชาติ/พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ
หมวด : /หน่วยงานราชการและองค์กร/กษัตริย์และราชวงศ์



พระมหากษัตริย์ไทย
เว็บไซต์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการพระราชดำริฯ พระราชกรณียกิจ
http://www.bangkokpost.com/king2000/intro.html - ส่งให้เพื่อน
หมวด : /กิจกรรม และเหตุการณ์สำคัญ/เทศกาล และวันสำคัญ/วันพ่อแห่งชาติ/พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ
หมวด : /หน่วยงานราชการและองค์กร/กษัตริย์และราชวงศ์



พระราชกรณียกิจ
พระราชกรณียกิจ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ด้านต่าง ๆ ได้แก่ พระราชกรณียกิจด้าน...
http://kanchanapisek.or.th/activities/index.th.html - ส่งให้เพื่อน
หมวด : /กิจกรรม และเหตุการณ์สำคัญ/ข่าว และเหตุการณ์สำคัญ/งานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี/พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ
หมวด : /หน่วยงานราชการและองค์กร/กษัตริย์และราชวงศ์



พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รวมพระราชดำรัส ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช และพระราชดำรัสของสมเด็จพระนางเจ้าส...
http://www.kanchanapisek.or.th/speeches/index.th.html - ส่งให้เพื่อน
หมวด : /กิจกรรม และเหตุการณ์สำคัญ/ข่าว และเหตุการณ์สำคัญ/งานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี/พระราชดำรัส



พระราชประวัติ
พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
http://kanchanapisek.or.th/biography/index.th.html - ส่งให้เพื่อน
หมวด : /กิจกรรม และเหตุการณ์สำคัญ/ข่าว และเหตุการณ์สำคัญ/งานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี/พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ
หมวด : /หน่วยงานราชการและองค์กร/กษัตริย์และราชวงศ์



พระราชพิธีกาญจนาภิเษก
พระราชพิธีกาญจนาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
http://kanchanapisek.or.th/ceremonies/index.th.html - ส่งให้เพื่อน
หมวด : /กิจกรรม และเหตุการณ์สำคัญ/ข่าว และเหตุการณ์สำคัญ/งานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี/พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ
หมวด : /หน่วยงานราชการและองค์กร/กษัตริย์และราชวงศ์



พระราชอัจฉริยภาพ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
พระราชอัจฉริยภาพ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ในหลวงกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ในหลว...
http://www.kanchanapisek.or.th/talents/index.th.html - ส่งให้เพื่อน
หมวด : /กิจกรรม และเหตุการณ์สำคัญ/เทศกาล และวันสำคัญ/วันพ่อแห่งชาติ/พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ



มูลนิธิชัยพัฒนา

ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง ของขวัญปีใหม่ : ปรัชญาและวิธีคิดการบริหาร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"

สวัสดีปีใหม่ อีกครั้ง กับ ศ.ดร.จีระ นักศึกษาและท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

 

 

ช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา ติดงานพระราชทานปริญญาบัตร ที่นิด้า งานเรียน ป.เอกและ งานอื่น ๆ อีก ทำให้การเขียนวิเคราะห์บทความ ของอาจารย์ ช้าไป ต้องขออภัยทุกท่านมา ณ โอกาสนี้ สำหรับ blogนี้ เช่นเคยครับ ผมหาความรู้ ทาง Internet และอ่านบทความบทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่อง ของขวัญปีใหม่ : ปรัชญาและวิธีคิด การบริหารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว[1]ผมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม โดยใช้ข้อความข้างล่างนี้ แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความของ ศ.ดร.จีระ ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ

  
"ในวันนั้นนอกจากจะคุยกันเรื่อง HR ทั่วไปแล้ว คุณพารณยังมอบข้อความสั้น ๆ เรื่องปรัชญาการบริหารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นการรวบรวมพระบรมราโชวาทในหลายวาระ โดยท่านองคมนตรีเกษม วัฒนชัย เป็นผู้รวบรวม สรุป มอบให้คุณพารณ ผมได้อ่านแล้ว อยากจะแบ่งปัน (Share) ให้ท่านผู้อ่านได้ทราบว่า นอกจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่เราเข้าใจแล้ว ยังมีเรื่องปรัชญาการบริหารของพระองค์ท่าน ซึ่งมีแนวทางดังต่อไปนี้
วิธีการคิด 4 แนว ก่อนที่จะเริ่มทำงานใดๆ ให้คิดถึงสิ่งต่อไปนี้
1) ทำอะไร
2) ทำอย่างไร
3) ทำเพื่อใคร
4) ทำแล้วได้อะไร

6 หลักการในการทำงาน
1) คิด Macro ทำ Micro
2) ทำเป็นขั้นเป็นตอน
3) ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย
4) ทำอะไรให้นึกถึงภูมิสังคมของที่นั้นๆ
5) การสื่อความ การประสานงาน และการบูรณาการ (Communication, Coordination, Integration)
6) ทำอะไรต้องมีผู้เป็นเจ้าของ
รู้ - รัก - สามัคคี
รู้ คือ จะทำอะไรต้องไปศึกษาให้รู้จริง
รัก คือ จะทำอะไรต้องสร้างฉันทะกับสิ่งนั้นๆ
สามัคคี คือ ทำอะไรก็ให้ทำเป็นทีม ร่วมมือร่วมใจกันทำให้มีประสิทธิภาพ


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระปรีชาสามารถเรื่องการบริหารและวิธีคิดมากมาย ผมเคยกล่าวไว้ว่า ในปรัชญาการบริหารตะวันตก แต่ในที่สุดต้องใช้ปรัชญาตะวันออกมาช่วยด้วย เป็นของขวัญปีใหม่ ที่ลดความเศร้าไปได้บ้าง".........

 
 

บทความของ ศ.ดร.จีระ ใน น.ส.พ.แนวหน้า วันเสาร์ที่ 6 ม.ค. 2550 หน้า 5 อาจารย์ใช้ชื่อเรื่องว่า  ปรัชญาและวิธีคิด การบริหารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจแก่ปวงชนชาวไทย 

 

เกี่ยวกับปรัชญาและวิธีคิด ของพระองค์ท่าน ท่านผู้อ่านสามารถติดตาม ศึกษาแนวคิดจากพระองค์ท่านได้จากภาพ ส.ค.ส. ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ พ.ศ. 2540-2549 ได้ที่http://www.nectec.or.th/users/htk/gr01/index.htmlแนวคิดของพระองค์ท่านจากเพลงพระราชนิพนธ์ ของในหลวง http://kanchanapisek.or.th/royal-music/index.th.htmlแนวคิดของพระองค์ท่านจากโครงการในพระราชดำริ http://www.kanchanapisek.or.th/projects/index.th.html 

 

 

นื่องจากหัวเรื่อง เกี่ยวกับปรัชญาและวิธีคิด การบริหารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ผมได้คัดบางส่วนของพระบรมราโชวาทและกระแสพระราชดำรัส ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้ ซึ่งรัฐบาล ประชาชน และกลุ่มการเมืองต่าง ๆ ควรทบทวน และนำไปปฏิบัติ ในการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง และการทำงาน ซึ่งผมคัดมาบางส่วนจากเว็ปที่เกี่ยวข้องดังนี้ครับ

   พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัส เกี่ยวกับการทำงาน[2]  

 

การทำงานยากลำบากกว่าการเรียน การเรียนนั้นเรียนตามหลักสูตร หรือเรียนวิชาต่าง ๆ ตามที่ทางมหาวิทยาลัยจัดลำดับให้ แต่การทำงานไม่มีหลักสูตรวางไว้ จำจะต้องใช้ความริเริ่มและความคิดพิจารณาด้วยตนเอง ในอันที่จะทำสิ่งใด อย่างไร เมื่อใด หากไม่รู้จักพิจารณาใช้ให้ถูกช่อง ถูกโอกาส ถึงมีวิชาอยู่ ก็ไม่เป็นผลแก่งานและแก่ตัวนัก . . .

 พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๑๒
   

  

การทำงานใหญ่ ๆ ทุกอย่าง ต้องการเวลามาก กว่าจะทำสำเร็จ ผู้ที่เริ่มโครงการอาจไม่ทันทำให้สำเร็จโดยตลอดด้วยตนเองก็ได้ ต้องมีผู้อื่นรับทำต่อไป ดังนั้น ไม่ควรยกเอาเรื่องใครเป็นผู้เริ่มงาน ใครเป็นผู้รับช่วงงาน ขึ้นเป็นข้อสำคัญนัก จะต้องถือผลสำเร็จที่จะเกิดจากงาน เป็นใหญ่ยิ่งกว่าสิ่งอื่น

 พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยศิลปากร
วันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๔
    

 

. . คนเราเมื่อมีความรู้ความสามารถที่ดีเป็นทุนรอนอยู่จะไม่มีวันอับจน ย่อมหาทางสร้างตัวสร้างฐานะให้ก้าวหน้าได้เสมอ. ข้อสำคัญ ในการสร้างตัวสร้างฐานะนั้นจะต้องถือหลักค่อยเป็นค่อยไป ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวังและความพอเหมาะพอดี ไม่ทำเกินฐานะและกำลัง หรือทำด้วยความเร่งรีบ. เมื่อมีพื้นฐานแน่นหนารองรับพร้อมแล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญก้าวหน้าในระดับที่สูงขึ้น ตามต่อกันไปเป็นลำดับ. ผลที่เกิดขึ้นจึงจะแน่นอน มีหลักเกณฑ์ เป็นประโยชน์แท้และยั่งยืน . .

 พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
วันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๐
   

 . . . การงานทุกอย่างทุกอาชีพ  ย่อมจะมีจรรยาบรรณของตนเอง. จรรยาบรรณนั้นจะบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ตาม แต่ก็เป็นสิ่งที่ยึดถือกันว่าเป็นความดีงาม ที่คนในอาชีพนั้นพึงประพฤติปฏิบัติ. หากผู้ใดล่วงละเมิดก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายทั้งแก่บุคคล หมู่คณะ และส่วนรวมได้. เหตุนี้ ผู้ปฏิบัติงานในทุกสาขาอาชีพ นอกจากจะต้องมีความรู้ในสาขาของตนอย่างลึกซึ้ง จัดเจนและศึกษาให้ก้าวหน้าอยู่เสมอแล้ว ยังจะต้องยึดมั่นในจรรยาบรรณในวิชาชีพของตน ทั้งข้อที่ควรปฏิบัติและไม่พึงปฏิบัติอย่างเคร่งครัดด้วย จึงจะสามารถประพฤติตนปฏิบัติงานให้ประสบความสำเร็จ ได้รับความเชื่อถือยกย่องในเกียรติ ในศักดิ์ศรี และในความสามารถด้วยประการทั้งปวง . .   พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยมหิดล
วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๔๐
.    

. . ข้าพเจ้าขอฝากคติไว้เป็นเครื่องกำกับใจ มีคุณธรรมข้อหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งท่านต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดอยู่เสมอ คือ ความสัตย์สุจริต ประเทศบ้านเมืองจะวัฒนาถาวรอยู่ได้ ก็ย่อมอาศัยความสัตย์สุจริตเป็นพื้นฐาน ท่านทั้งหลายจะออกไปรับราชการก็ดี หรือประกอบกิจการงานส่วนตัวก็ดี ขอให้มั่นอยู่ในคุณธรรมทั้ง ๓ ประการคือ สุจริตต่อบ้านเมือง สุจริตต่อประชาชน และสุจริตต่อหน้าที่ ท่านจึงจะเป็นผู้ที่ควรแก่การสรรเสริญของมวลชนทั่วไป . . .

  พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๔๙๗
     

. . . ความเจริญมั่นคงของประเทศชาติไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจหรือสังคมก็ตาม ย่อมขึ้นอยู่กับฐานะความเจริญมั่นคงของบุคคลในชาติเป็นสำคัญ. และความเจริญของคนทั้งหลายนั้น จะเกิดมีได้ก็ด้วยการประพฤติชอบ และการหาเลี้ยงชีพชอบ. ผู้ที่จะสามารถประพฤติปฏิบัติได้ดังนี้ จำเป็นจะต้องมีทั้งวิชาความรู้ ทั้งหลักธรรมทางศาสนา เพราะสิ่งแรกเป็นปัจจัยสำหรับใช้กระทำการงาน สิ่งหลังเป็นปัจจัยสำหรับส่งเสริมความประพฤติและการปฏิบัติการงานให้ชอบ ให้ถูกต้องและเป็นธรรม. วิชาการกับหลักธรรมนี้มีประกอบกันพร้อมในผู้ใด ผู้นั้นย่อมจะประสบความสุขและความสำเร็จทั้งในชีวิตและกิจการงาน ซึ่งย่อมจะส่งผลสะท้อนถึงส่วนรวมต่อไป คือทำให้บ้านเมืองมีความเจริญมั่นคง ทำให้สังคมเป็นสังคมที่ผาสุขสงบ น่าอยู่น่าอาศัย . . .

 พระราชดำรัส
พระราชทานเพื่อเชิญไปอ่านในการสัมมนาของ
มูลนิธิช่วยเหลือเด็กกำพร้าของสตรีไทยมุสลิมแห่งประเทศไทยฯ
วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๐
     

 

. . . จะพูดถึงวิธีปฏิบัติงานโดยแยบคายต่อไป ข้อแรก จะต้องสร้างศรัทธาให้มีขึ้นก่อน เพราะศรัทธา หรือความเชื่อมั่นในประโยชน์ของงานนั้น เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติ คือทำให้มีการปฏิบัติด้วยใจในทันที แม้ก่อนที่จะลงมือกระทำ ดังนั้น ไม่ว่าจะทำการใด ๆ จึงต้องสร้างศรัทธาขึ้นก่อน และการสร้างศรัทธานั้น จำเป็นต้องทำให้ถูกต้องด้วยศรัทธาที่พึงประสงค์จะต้องไม่เกิดจากความเชื่อง่าย ใจอ่อน ปราศจากเหตุผล หากจะต้องเกิดขึ้นจากความเพ่งพินิจ พิจารณา ใคร่ครวญแล้วด้วยความคิดจิตใจที่หนักแน่นสมบูรณ์ด้วยเหตุผล จนเห็นถ่องแท้ถึงคุณค่าและประโยชน์อันแท้จริงในผลของการปฏิบัติที่จะบังเกิดตามมา ศรัทธาลักษณะนี้ เมื่อบังเกิดขึ้นแล้ว ย่อมน้อมนำฉันทะ ความพอใจ ความกระตือรือร้น ความพากเพียร ขวนขวาย ตลอดจนความฉลาดริเริ่มให้เกิดขึ้นเกื้อกูลกันอย่างพร้อมเพรียง แล้วสนับสนุนส่งเสริมให้การปฏิบัติงานดำเนินก้าวหน้าไปโดยราบรื่นจนสัมฤทธิ์ผล . . .  

พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยรามคำแหง
วันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๒๔
    

 . . . การมีความรู้ความถนัดทางทฤษฎีประการเดียว ไม่เพียงพอที่จะทำให้บุคคลสามารถปฏิบัติงานได้เต็มที่ ผู้ที่ฉลาดสามารถแต่ในหลักวิชา โดยปรกติวิสัยจะได้แต่เพียงชี้นิ้วให้ผู้อื่นทำ ซึ่งเป็นการไม่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่อาจทำให้ผู้ใดเชื่อถือหรือเชื่อฟังอย่างสนิทใจได้ เหตุด้วยไม่แน่ใจว่าผู้ชี้นิ้วเองจะรู้จริง ทำได้จริงหรือหาไม่ ความสำเร็จทั้งสิ้นเกิดขึ้นได้เพราะการลงมือกระทำ ดังนั้น ผู้ที่ชำนิชำนาญทั้งทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ จึงจัดว่ามีคุณสมบัติครบถ้วน และมีขีดความสามารถสูง เป็นที่เชื่อใจและวางใจได้ว่าจะดำเนินงานทั้งปวงอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะสามารถทำงาน สั่งงาน และสั่งคนได้อย่างถูกต้องแท้จริง . . .

 พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
วันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๑๗
  

  

. . . ในการดำเนินชีวิตของเรา เราต้องข่มใจไม่กระทำสิ่งใด ๆ ที่เรารู้สึกด้วยใจจริงว่าชั่วว่าเสื่อม เราต้องฝืนต้องต้านความคิดและความประพฤติทุกอย่างที่รู้สึกว่าขัดกับธรรมะ เราต้องกล้าและบากบั่นที่จะกระทำสิ่งที่เราทราบว่าเป็นความดี เป็นความถูกต้อง และเป็นธรรม ถ้าเราร่วมกันทำเช่นนี้ให้ได้จริง ๆ ให้ผลของความดีบังเกิดมากขึ้น ๆ ก็จะช่วยค้ำจุนส่วนรวมไว้มิให้เสื่อมลงไป และจะช่วยให้ฟื้นคืนดีขึ้นได้เป็นลำดับ . . .

 พระราชดำรัส
พระราชทานเพื่อเชิญไปอ่าน
ในพิธีเปิดการประชุมยุวพุทธิกสมาคมทั่วประเทศ
ครั้งที่ ๑๒ ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๑๓
    

 

 

คนทำงานดีคือคนมีระเบียบ ได้แก่ระเบียบในการคิดและในการทำ. ผู้ไม่ฝึกระเบียบไว้ ถึงจะมีวิชา มีเรี่ยวแรง มีความกระตือรือร้นอยู่เพียงไร ก็มักทำงานให้สำเร็จดีไม่ได้ เพราะความคิดอ่านสับสนว้าวุ่น ทำอะไรก็ไม่ถูกลำดับขั้นตอน มีแต่ความลังเลและขัดแย้ง ทั้งในความคิด ทั้งในการปฏิบัติงาน . . .

 พระบรมราโชวาท
พระราชทานแก่ข้าราชการพลเรือน เนื่องในวันข้าราชการพลเรือน
วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๒๗
   

. . . ร่างกายของเรานั้น ธรรมชาติสร้างมาสำหรับให้ออกแรงใช้งาน มิใช่ให้อยู่เฉย ๆ. ถ้าใช้แรงให้พอเหมาะพอดีโดยสม่ำเสมอ ร่างกายก็จะเจริญแข็งแรง คล่องแคล่วและคงทนยั่งยืน. ถ้าไม่ใช้แรงเลย หรือใช้ไม่เพียงพอ ร่างกายก็จะเจริญแข็งแรงอยู่ไม่ได้แต่จะค่อย ๆ เสื่อมไปเป็นลำดับ และหมดสมรรถภาพไปก่อนเวลาอันสมควร. ดังนั้น ผู้ที่ปรกติทำการงานโดยไม่ได้ใช้กำลัง หรือใช้กำลังแต่น้อย จึงจำเป็นต้องหาเวลาออกกำลังกายให้พอเพียงกับความต้องการตามธรรมชาติเสมอทุกวัน .

 พระราชดำรัส
เพื่อเชิญไปอ่านในการประชุมสัมมนาเรื่องการออกกำลังเพื่อสุขภาพ
วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๓
  

  

. . การทำให้บ้านเมืองคงอยู่นี้เป็นงานที่ยากที่ลำบาก เพราะว่าคนที่อยู่ในประเทศย่อมต้องมีการขัดแย้งกันบ้าง เหมือนในครอบครัว อยู่ใกล้ชิดกันก็อาจขัดแย้งกันได้ แต่ว่าเมื่ออยู่ในครอบครัวเดียวกันคือประเทศชาติ ก็เป็นครอบครัวใหญ่ ต้องรู้จักอภัยกันรู้จักปรองดองกันให้ดี . . .

 พระบรมราโชวาท
พระราชทานแก่ผู้นำเยาวชนจากจังหวัดต่าง ๆ ๓๖ จังหวัด
ที่ปรึกษาผู้นำเยาวชน และเจ้าหน้าที่ดำเนินการฝึกอบรม
วันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๑๔
 

นอกจากนี้ ท่านผู้อ่านยังสามารถติดตาม เว็ปที่เกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราได้ที่  http://webindex.sanook.com/search.php?q=%BE%C3%D0%BA%D2%B7%CA%C1%E0%B4%E7%A8%BE%C3%D0%E0%A8%E9%D2%CD%C2%D9%E8%CB%D1%C7&start=0&num=10&qID=&it=d&all=185&ob=s&asc=&sf=

 

ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์ช่อง 11 ชื่อรายการสู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. นอกจากนี้ ยังออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/   เชิญท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ        สวัสดีครับ              

ยม

   นักศึกษาปริญญาเอก  

รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต

081-9370144 

 

 [email protected] 

 http://gotoknow.org/portal/yom-nark
ราชภัฏสวนสุนันทา(ศูนย์การศึกษาดรุณพิทยา) คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ภาคปกติ 4 ปี 02

กราบเรียน ดร. จีระ

           สวัสดีครับ ดร. จีระ ผมเป็นนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา(ศูนย์การศึกษาดรุณพิทยา) ได้รู้จักท่านจากการเรียนของอาจารย์             สุดาภรณ์ในห้องเรียนเกี่ยวกับวิชาการคิดและการตัดสินใจ ที่อาจารย์ได้นำทฤษฏีต่างๆมาให้ได้เรียน และได้ให้ศึกษาหรืออ่านหนังสือพิมพ์แนวหน้าในคอลัมน์บทเรียนแห่งความจริงในฉบับวันเสาร์ และสรุปเนื้อหาที่สำคัญไว้ในแต่ละสัปดาห์ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้รู้จักกับท่าน และรู้จักกับบทเรียนแห่งความจริงครับ

            จากบทความของฉบับที่ผ่านมาเป็นเรื่อง ของขวัญปีใหม่ : ปรัชญาและวิธีการคิด การบริหารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นบทความที่มีประโยชน์และสามารถนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตได้ดีเป็นอย่างมากทั้งเรื่อง

วิธีการคิด 4 แนว ก่อนที่จะเริ่มทำงานใดๆ ให้คิดถึงสิ่งต่อไปนี้
1) ทำอะไร
2) ทำอย่างไร
3) ทำเพื่อใคร
4) ทำแล้วได้อะไร

               เป็นการสอนให้คนรู้จักคิดว่าการที่เราจะทำอะไรต้องมีเป้าหมายมีจุดมุ่งหมายในชีวิต ไม่ใช่คิดที่จะทำอะไรก็ทำโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งกับตัวเองและผู้อื่นว่าจะได้รับความเดือดร้อนจากการกระทำของเราอย่างไร อย่างน้อยหากทำแล้วไม่ทำให้เกิดประโยชน์อะไรขึ้นมา ก็อย่าทำให้มันกลับต้องแย่ลงไปจากเดิม เพราะหากทุกคนคิดได้อย่างนี้ก็จะทำให้บุคคลที่จะทำอะไรขึ้นมาสักอย่างจะคิดเป็นขึ้นมาบ้างสมควรทำหรือไม่


6 หลักการในการทำงาน
1) คิด Macro ทำ Micro
2) ทำเป็นขั้นเป็นตอน
3) ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย
4) ทำอะไรให้นึกถึงภูมิสังคมของที่นั้นๆ
5) การสื่อความ การประสานงาน และการบูรณาการ (Communication, Coordination, Integration)
6) ทำอะไรต้องมีผู้เป็นเจ้าของ

            สำหรับเรื่อง 6 หลักการทำงาน ก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับบุคคลที่จะทำงานหรือกิจการต่างๆ ขึ้นมาหนึ่งอยากก็ควรที่จะทราบหลักการทำงานที่สร้างประโยชน์ให้การทำงานของตนประสบผลสำเร็จและจะไม่ท้อกับการทำงานหากมีการวางแผน มีการทำงานเป็นขั้นตอน รู้ถึงวิธีการที่จะทำในสิ่งที่เราทำไม่ได้เราคิดว่ายากให้เกิดเป็นเรื่องง่ายขึ้นสิ่งเหล่านี้ก็จะเป็นวิธีการลดความเครียดของเราทำให้เราทำงานได้สำเร็จ และการปรับตัวของตัวเอง หรือปรับเปลี่ยนงานให้เข้ากับสภาพแวดล้อมหรือสภาพบุคคลที่อยู่ ณ บริเวณนั้นเพราะแต่ละพื้นที่มีสภาพความเป็นอยู่ที่แตกต่างกัน หากเราเข้าใจเค้า เราก็จะสามารถเข้ากับบุคคลเหล่านั้นได้โดยไม่มีปัญหาหรือมีก็อาจจะน้อยโดยสังเกตง่ายเช่นจากเพื่อนร่วมงาน  และอีกประการหนึ่งก็คือการสื่อสารในการทำงานก็เป็นสิ่งสำคัญ ทั้งการพูดจา การใช้อำนาจในการสั่งงานก็เป็นสิ่งสำคัญ เราควรรู้วิธีที่จะใช้คำพูดหรือแสดงกิริยากับบุคคลที่เราร่วมงานด้วยเพื่อการติดต่อสื่อสารเป็นไปด้วยความสะดวก และสิ่งสุดท้ายที่ ดร. พูดถึงคือการที่จะต้องรู้ว่าใครเป็นเจ้าของ ซึ่งทั้ง 6 สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ผมคิดว่าหากบุคคลที่กำลังประสบกับปัญหาในการทำงานหรือกำลังจะเริ่มทำงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานเล็กหรืองานที่ใหญ่  หากทำได้ก็จะสามารถพ้นผ่านสิ่งเหล่านี้ไปได้ จะมีอยู่หนึ่งที่จะทำให้ไม่ประสบความสำเร็จนั่นก็คือ คิดว่าทำไม่ได้ และ ไม่ทำนั่นเอง


รู้ - รัก - สามัคคี
รู้ คือ จะทำอะไรต้องไปศึกษาให้รู้จริง
รัก คือ จะทำอะไรต้องสร้างฉันทะกับสิ่งนั้นๆ
สามัคคี คือ ทำอะไรก็ให้ทำเป็นทีม ร่วมมือร่วมใจกันทำให้มีประสิทธิภาพ

           และสิ่งที่ท่านไม่ลืมพูดถึงนั่นก็คือ การรู้รักสามัคคี ซึ่งผมคิดว่าไม่ว่าคิดที่จะทำหรือลงมือทำอะไรก็ตามสิ่งเรานี้เป็นสิ่งที่สำคัญไม่ว่าจะต้องทำเพียงคนเดียวหรือกับเพื่อนร่วมงาน ก็ตาม คำคำนี้เป็นคำที่สำคัญมาก เพราะผมเชื่อว่ามันเป็นคำที่สามารถนำเราให้ไปสู่จุดสำเร็จได้ไม่ยาก

           ส่วนเรื่องที่ท่านกล่าวถึงรัฐบาลในชุดที่ผ่านมากับรัฐบาลชุดปัจจุบันนั้นผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งว่าคนเราจะมีเพียงสิ่งๆ เดียวในตัวไม่ได้ คนเราย่อมมีข้อดีและข้อเสียอยู่ในตัวเองคงไม่มีใครออกมากล้าพูดว่าตัวเองมีแต่ข้อดีทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำทำเพื่อส่วนรวมไม่ได้ทำเพื่อตนเอง ไม่จริงหรอกครับ ลองมองย้อนกลับไปว่าคุณทำเพื่อสังคมจริงหรอ ยกตัวอย่างง่าย กับคนที่ทำบุญเยอะหรือกับคนที่ออกงานสังคมบริจาคเงินครั้งละเป็นล้านผ่านทางจอทีวียามมีประกาศรับบริจาค ก็บอกว่า บริจาคเท่าไหร่ รวมทั้งต้องบอกชื่อ จะมีที่คิดว่าไม่อยากให้ใครรู้เลยว่าเราเป็นคนบริจาค ที่คุณบอกชื่อไปก็เป็นส่วนหนึ่งที่คุณก็ต้องคิดว่า ต้องมีคนยกย่อมเราบ้างละ ที่บริจากเงินให้ ดังนั้น ที่ท่านเขียนไว้ว่า เน้นคุณธรรมคงไม่พอ ต้องเน้นความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) นวัตกรรม (Innovation) และการคิดนอกกรอบบ้าง นี่แหละจะเป็นแนวทางที่จะทำให้คนเราประสบความสำเร็จ จะให้เดินตามกรอบสี่เหลี่ยมที่มีคนขีดไว้ได้อย่างไร น่าเบื่อตายเลย ยกตัวอย่างบุคคลที่คิดนอกกรอบแล้วมีคนรู้จักกันทั่วประเทศ คือ อ. เฉลิมชัย ที่คิดนอกกรอบคิดทำในสิ่งที่คนอื่นไม่ทำ แล้วเป็นไงทุกคนก็เห็นว่าการคิดนอกกรอบบ้างครั้งไม่ได้ทำให้มีแต่เรื่องที่ไม่ดีอย่างเดียวเรื่องดีก็มี เป็นคนยุคใหม่กันได้ตอนนี้ เป็นยุคโลกาภิวัตน์แล้วนะครับไม่ใช่สมัยสุโขทัย หรือ กรุงศรีอยุธยา ตอนนี้เป็นยุคที่ต้องมีการปรับปรุง ยุคไอที การที่ทำตัวเป็นเต่าเดินล้าหลังชาวบ้านหรือกระต่ายที่ประมาทเกินไปไม่ได้ช่วยอะไรให้ดีขึ้นมาเลย

         สุดท้ายนี้ผมขอขอบคุณ ดร. จีระ มากที่ทำบทความดีๆเหล่านี้ให้กับบุคคลหรืออย่างน้อยกับนักศึกษาได้อ่าน รวมถึงให้มีการโพสต์แสดงความคิดเห็นความคิดเหล่านี้ลงใน บ็อก นี้นะครับ

นส.ลัดดา          พรหมประเสริฐ        0858311465 

นส.สุวาณี          กุลจันทร์                 0862565459

นส.สุพรรณี       สมานมิตร               0849259798

นส.จันทนา        เหมพลชม                       -

นายประเสริฐ     อ่อนวิมล                 0866264578

นายภิรายุ           ศัลกวิเศษ               0897667212

นายกิตติคุณ      บุญชาลี                  0841311601

นายวงศ์รัตนะ     ธีระเวชชโลกุล              -

นายรพีพัชร         แก้วมีชัย               0870777325

นายวิโรจน์รัตน์    พิลัย                     0866447707

ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง FM 96.5 MHz ขยายผลปรัชญาการบริหาร"

FM 96.5 MHz ขยายผลปรัชญาการบริหาร
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว[1]

   ช่วง 2 สัปดาห์หลังปีใหม่ สร้างความอึดอัดแก่คนไทยทั้ง 64 ล้านคน หลายคนมองว่าเหตุการณ์ต้นเดือนจะรุนแรงมากขึ้น อาจจะเกิดปัญหาการต่อสู้ระหว่างอำนาจเก่าและอำนาจใหม่ คงจะต้องติดตามใกล้ชิด ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น
ขณะนี้ผ่านมา 11 วันแล้ว ไม่มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้น แต่ยังต้องเฝ้ามองต่อไป อาจจะเป็นจุดที่คนไทยพอใจในระดับหนึ่ง แต่ก็ประมาทไม่ได้ เพียงแค่ระเบิด 8 จุด ก็สาหัสมากแล้ว
สิ่งแรกที่ผมเห็นว่าสาหัสมากก็คือ ความมั่นใจของต่างประเทศลดลงมาก ถึงแม้เราจะเน้นเศรษฐกิจพอเพียง แต่เราต้องเน้นความพอเพียงที่จะรองรับโลกาภิวัตน์ให้ได้ การสร้างความมั่นใจของนักลงทุนต่างประเทศยังมีความจำเป็น
ดังนั้น รัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) จะต้องเรียกความมั่นใจของทุกคนให้กลับมา โดยเฉพาะต่างประเทศ ในช่วง 2-3 วันนี้ มีแนวทางที่ดีขึ้น เช่น
- การให้สัมภาษณ์ของประธานองคมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ในเรื่องระเบิด
- การแถลงข่าวถึงจุดยืนของพลเอกสพรั่ง กัลยาณมิตร
- การทำงานเชิงรุกของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
- การปรามสื่อไม่ให้ความสนใจบทบาทของคุณนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมายของคุณทักษิณ และข่าวความเคลื่อนไหวของอดีตนายกฯ
- การทำงานเชิงรุกของรัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)
- การเร่งภาวะผู้นำของรัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
- การเร่งรัดตำรวจให้หาคนร้ายในคดีวางระเบิดให้ได้
ช่วงนี้ต้องยอมรับว่า เศรษฐกิจของประเทศบอบช้ำมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง
- การแทรกแซงของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องกฎการสำรองเงินดอลลาร์ 30% เพื่อพยุงค่าเงินบาทไม่ให้แข็งเกินไป
- มติคณะรัฐมนตรีเรื่องกฎหมายการดำเนินธุรกิจของคนต่างด้าว โดยเฉพาะเกี่ยวกับ Nominee
เรื่องระเบิดที่ได้เกิดขึ้น มีผลกระทบแน่ ๆ 4 เรื่อง
- ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติหรือ GDP ต่อหัวของประเทศ คงจะลดลงอย่างน้อย 0.5% ไม่ใช่ว่าเรายึด GDP แต่ก็ต้องระวังอย่าให้ต่ำกว่า 5%
- จำนวนนักท่องเที่ยวอาจจะน้อยลง เพราะนักท่องเที่ยวมองว่ากรุงเทพฯ ไม่ปลอดภัย
- การลงทุนในตลาดหุ้น ปัจจุบันดัชนีตลาดหุ้นได้ลดลงไป 100 กว่าจุด มูลค่าตลาดหายไปเกือบ 1 ล้านล้านบาท
- และที่น่ากลัวคือ เกรงว่าการเก็บภาษีของรัฐในปี 2007 จะต่ำกว่าเป้า และรัฐบาลมีการขาดดุลงบประมาณกว่าแสนล้าน
อย่างเรื่องกฎหมายธุรกิจต่างด้าว ผมหวังว่ารัฐบาลชุดนี้จะใช้จังหวะเวลาให้พอดี อย่าเน้นแต่ความถูกต้องเพียงอย่างเดียว ต้องมีความพอดีของจังหวะเวลาที่เหมาะสม อย่าให้เศรษฐกิจชะลอตัวจนกลับมาสภาพเดิมไม่ได้ เราต้องพยุงฐานะทางเศรษฐกิจให้แข่งขันกับเพื่อนบ้านให้ได้
หลังจากการเขียนบทความเน้นปรัชญาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และผมได้ออกรายการวิทยุ สถานี FM 96.5 MHz ในรายการวันพุธ เวลา 19.30-20.30 น. ผมได้ขยายความเพิ่มเติม พิธีกรคือ คุณวิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ ได้ชี้ให้เห็นว่า คนไทยทุกหมู่เหล่าสามารถนำเอาแนวคิดดังกล่าวของพระองค์ท่านไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้มาก
รายการวิทยุของผมมีผู้ฟังที่ติดตามสม่ำเสมอจำนวนมาก ตัวอย่างสัปดาห์ที่แล้ว สื่อวิทยุสามารถกระจายแนวคิด ปรัชญาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องวิธีการคิดของพระองค์ท่าน และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างสมบูรณ์และทันเหตุการณ์
ใครที่ยังยึดติดกับวิธีการหาความรู้จากหนังสือพิมพ์หรือโทรทัศน์นั้น หรือหาจาก Internet คงไม่พอ สื่อวิทยุที่ดี ๆ เช่น สถานี FM 96.5 MHz มีบทบาทมากมาย เพราะหาฟังง่าย และสด ทันเหตุการณ์
รายการสารคดีสั้น 5 นาทีเฉลิมพระเกียรติ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ ที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 จำนวน 40 ตอน ได้จบลงแล้ว เราได้ไปทำการต่อยอด กระจายผล ทำ workshop หรือเรียกว่า Learning Forum ให้สังคมเกิดความรู้ได้อย่างต่อเนื่องอีก 8 ครั้งคือ ครั้งที่ 1 วันที่ 8 พฤศจิกายน 2549 ที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี
ครั้งที่ 2 วันที่ 15 พฤศจิกายน 2549 ที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ ลาดหญ้า
ครั้งที่ 3 วันที่ 15 พฤศจิกายน 2549 ที่โรงเรียนท่าม่วงราษฎร์บำรุง
ครั้งที่ 4 วันที่ 19 พฤศจิกายน 2549 เป็นกิจกรรมร่วมกับนักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จัดให้กับชุมชนหมู่บ้านคูสว่าง ต.หนองกินเพล อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
ครั้งที่ 5 วันที่ 29 พฤศจิกายน 2549 ที่โรงเรียนเทพศิรินทร์
ครั้งที่ 6 วันที่ 22 ธันวาคม 2549 ที่สมาคมสตรีไทย โรงเรียนสมถวิล
ครั้งที่ 7 วันที่ 26 ธันวาคม 2549 ที่โรงเรียนราชดำริ
ครั้งที่ 8 วันที่ 29 ธันวาคม 2549 ที่โรงเรียนราชดำริ ( หน้าเสาธง )
ได้รับการตอบสนองอย่างดีจากโรงเรียนและชุมชน
มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ดำเนินงานไปอย่างต่อเนื่อง ปีใหม่ เราไปขอพรจากผู้ใหญ่หลายท่านที่มีพระคุณกับเราอย่างมาก เช่น ท่านประธานคนแรก คุณอาสา สารสิน ประธานคนที่ 3 คุณชวรัตน์ ชาญวีรกูล และประธานคนปัจจุบัน ดร.ชุมพล พรประภา ซึ่งจะทำให้การทำงานของผมในปีต่อไป มีแนวร่วมขยายไปอย่างมั่นคงและยั่งยืน จากการที่มีผู้ใหญ่ให้การสนับสนุนตลอดเวลา และสร้าง Network ทั้งในและต่างประเทศ
สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมไปบรรยายให้หลักสูตร Mini MBA ของมหาวิทยาลัยนานาชาติ Stamford ที่หัวหิน เรื่องภาวะผู้นำ ผู้นำท้องถิ่นที่หัวหินหลายท่าน นักธุรกิจ หรือผู้นำการเมืองท้องถิ่น มีความกระตือรือร้นในการหาความรู้อย่างต่อเนื่อง
ผมจะเริ่มสอนปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา พร้อมกับเริ่มการสอนภาวะผู้นำให้หลักสูตร MPA ของมหาวิทยาลัยนานาชาติ Stamford ด้วย
ผมมีนโยบายว่า จะต้องหาความรู้ใหม่ๆ ทุกวัน เน้นความจริง Reality และตรงประเด็น Relevance สร้างความรู้ใหม่ๆ เสมอ
การทำงานต้อง
- ไม่เครียด
- สนุก มีความสุข Happiness
- สร้างสรรค์ความคิดใหม่ๆ
- และมี Teamwork ที่ดี
จะทำให้เกิด Passion แรงบันดาลใจ และเกิดพลัง Energy ในการทำงาน ผลงานจะออกมาดีครับ
   จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181
 
นักศึกษามหาวิทยาลัยสวนสุนันทา

สวัสดีคะ  ดร.จีระ  พวกเรามาจากมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ได้ทราบข้อมูลและประวัติของดร.จีระจากอาจาร์สุดาพร  เพราะอาจารย์ได้ให้พวกเรานักศึกษา ทำงานที่เกียวกับดร. จีระ ทำให้เราได้รับความรู้ที่น่าสนใจและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้  และได้ทราบถึงทฤษฎีหลายๆอย่างที่มีประโยชน์มากๆ

ได้ช่วงปีใหม่ท่านดร.จีระ ได้พูดถึง การรู้รักสามัคคีในสังคม เพราะตอนนี้สถานะการณ์ในบ้านเมืองกำลังอยู่ในภาวะที่ไม่สงบ จึงน่าเป็นห่วงอย่างมาเพราะมันอาจส่งผลกระทบ  หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ  เป็นต้น  เพราะฉะนั้นคนในประเทศต้องมีความสามัคคีมากๆ  เพื่อบ้านเมืองจะได้อยู่กันอย่างสงบสุข  รวมไปถึงเรื่องการใช้ชีวิตตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง  ซึ่งในหลวงได้ตรัสใหเประชาชนชาวไทยให้ได้ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง  มีเท่าไหร่ใช้เท่านั้นไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย  เพราะในปัจจุบันสังคมไทยได้ใช้จ่ายกันเกินตัวและซื้อของที่ไม่จำเป็น  จึงทำให้ผู้คนเป็นหนี้เป็นสินและเกิดความเดือดร้อนภายในอนาคตข้างหน้าถ้าประชาชนชาวไทยยังใช้ชีวิตแบบนี้อยู่  ก็จะทำให้ประเทศไทยและประชาชนเดือดร้อน  ดังนั้นเราควรใช้ชิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณ ดร. จีระ มากที่ได้ทำบทความดีๆเหล่านี้ ซึ่เป็นประโยชน์อย่างมาก  รวมถึงให้มีการโพสต์แสดงความคิดเห็นความคิดเหล่านี้ลงใน บ็อก นี้นะคะ

1. น.ส. วิกิต  ศาลางาม  รหัสนักศึกษา 49473140188

2.น.ส. หนึ่งฤทัย  แซ่เล้า   รหัสนักศึกษา49473140189

 

3.นายสุขสันต์  พวงสไว  รหัสนักศึกษา  49473140191

4. น.ส. วรรณิกา  ทองสังข์  รหัสนักศึกษา  49473140192

5.น.ส. เพ็ญประภา  สมใจ  รหัสนักศึกษา  49473140193

6. น.ส. กมลรส  สิริภูบาล  รหัสนักศึกษ  49473140197  

7. น.ส. หัสยา  อินทคง  รหัสนักศึกษา 49473140198

8. น.ส. ฐิติมา  ศรภูมิ  รหัสศึกษา 49473140200

9.น.ส.ครรธรส  วิริยสุนทร  รหัสนักศึกษ 49473140201

10.  น.ส. อกนิษฐ์  วิทยานิวาส  รหัสนักศึกษา  49473140202

เบอร์โทรที่สามารถติดต่อได้  089 - 2294529

มหาวิทยาลัยราชภัฎสวานสุนันทา ( ดรุณพิทยา )

กราบเรียน ดร. จีระ และสวัสดีทุกคนที่อ่านบทเรียนจากความจริงกับ ดร. จีระ  ทางอินเตอร์เน็ท และบทเรียนล่าสุดคือ  FM.9605 ขยายผลปรัชญาการบริหารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  

 ดร. จีระ ได้พูดเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดภายในกรุงเทพทำให้ประชาชนเกิดความอึดอัดและการทำงานของ คมช. ที่จะเรียกความมั่นใจของประชาชนกลับมาใน 2-3 วันนี้จากบทความนี้ทำให้ที่ได้อ่านมีกำลังใจที่จะต่อสู้ต่อเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยดีในช่วงนี้ บวกกับความระหวาดระแวงถึงความไม่ปลอดภัยจากเหตุการณ์ระเบิดในช่วงต้นปี จึงอยากให้ทุกคนไทยรู้รักสามัคคีกันไว้ และนำหลักการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ของเรามาใช้ในยุคเศรษฐกิจในปัจจุบัน

ผู้ร่วมแสดงความคิดเห็น

1.น.ส วารีวรรณ  โฉมศรี   49473130046  ( 086-0544549 )

2. น.ส. จรัสแสง   โคมเปือย  49473130047  ( 085-8026051 )

3. นายตะวัน  กลิ่นโสสุม  49473130112 

4.น.ส.กฤติยา  เภาสาลี 49473130114 ( 084-7855058 )

5. นายสมโชค  กลักทรัพย์  49473130115  ( 083-7071475 )

6. นายกมลตรี  ถือซื่อ  49473130116  ( 087-9802080 )

7.นายอำพล  อินสว่าง  49473130117  (083-9957851 )

8. น.ส. ศิริระวี  ไชยศรี  49473130118 (086-9832801 )

9. น.ส. นิภาพร  พุ่มจันทร์ 49473130119 (089-6827620 )
 

นาย พงศ์ธร พงศ์ภัคสิริ
 กราบเรียน ศ.ดร. จีระ กระผมและกลุ่มเพื่อนมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาได้อ่านบทความที่ผ่านมาของท่านจากการแนะนำของ อาจารย์  สุดาภรเป็นอาจารย์ที่สอนกระผมและกลุ่มเพื่อน ซึ่งมีประโยชน์กับประชากรและนักศึกษาในประเทศมากมายโดยจะยกตัวอย่างดังนี้1.     อัตราแลกเปลี่ยนคือส่วนหนึ่งของโลกาภิวัตน์  ต้องมีภูมิคุ้มกัน หรือบริหารความเสี่ยงให้ได้2.     อธิบดีราเชนทร์ พจนสุนทร ซึ่งเคยอยู่กรมการค้าต่างประเทศ ได้ย้ายไปเป็นอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก จะเป็นบุคคลที่ผู้ส่งออกควรจะรับฟัง เพราะท่านมองการค้าเสรีแบบยั่งยืน ลงทุนในการพัฒนาบุคลากรของกรมการค้าต่างประเทศมาตลอด 3.     การสร้างภาวะผู้นำของผู้บริหารมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยเน้นความร่วมมือระหว่างกลุ่ม PACRIM ซึ่งถือลิขสิทธิ์ 7 Habits กับกลุ่ม Chira Academy และมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ 4.     ดร. จีระได้ค้นพบปัจจัยไปสู่ความสำเร็จ 4 เรื่อง-เรื่องแรกคือ การเรียนยุคใหม่ต้อง 2 R's เน้นความจริง (Realit  การเรียนยุคใหม่ต้อง 4 L's และเน้น Coaching กับ Mentoring- การเรียนยุคใหม่ต้องมีผู้นำเอาใจใส่อย่างจริงจัง-         มีการสร้างความต่อเนื่องว่าจะทำอะไรต่อไปก็สำคัญ- มีความสนุกและอารมณ์ร่วมในการเปิดใจและรู้จักกันเป็น Teamwork5.     นอกจากนี้ ดร. จีระได้ไปเยี่ยมที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม พบว่าอุทยานนี้ เป็นแหล่งการเรียนรู้ทุกเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 6.     การร่างรัฐธรรมนูญต้องเน้น 2 R's ความจริง ( Reality )และตรงประเด็น ( Relevance ) ความคิดเห็นเพิ่มเติม  ดังที่ท่าน ดร. จีระ กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่า  ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงมากอย่างเห็นได้ชัด  ส่งผลกระทบไห้กับผู้ส่งออกอย่างคาดคิดไม่ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า จะเป็นในทางที่ดีเสมอไปตรงกันข้ามหากเราไม่รู้จักพัฒนาในทุกๆด้านไม่ว่าจะเป็นต้นทุนการผลิต มาตรฐานการผลิต และคุณภาพสินค้า ก็จะเป็นจุดอ่อนทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ แต่หากรู้จักพัฒนาในทุกด้านสร้างนวัตกรรม ( Innovation) ในทุกด้านดังกล่าวก็จะได้เปรียบคู่แข่งในทันที อัตราแลกเปลี่ยนคือส่วนหนึ่งของโลกาภิวัตน์  ต้องมีภูมิคุ้มกัน หรือบริหารความเสี่ยงให้ได้การใช้หลักของความมีเหตุมีผล  รวมทั้งการที่เราจะมีภูมิกัน  มีคุณธรรม  ซื่อสัตย์สุจริต  เอื้อเฟื้อต่อกัน  สิ่งต่างๆเหล่านี้สามารถช่วยให้เรารู้จักกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ  คือ  เราสร้างเครือข่ายที่ดีร่วมกัน  เรียนรู้ในสิ่งที่ดีเพื่อนำมาสู้กับสิ่งที่ไม่ดีถือหลักของความมีเหตุมีผล  ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ 100 % คือ เมื่อช่วงที่เงินบาทอ่อนตัวผู้ส่งออกได้กำไรเกินไปอย่างคุ้มค่าแต่ถ้าการได้กำไรไม่รู้จักพอประมาณ เช่น เก็บเงินไว้ลงทุนในการพัฒนาคน ระบบบริหารจัดการหรือการพัฒนาเทคโนโลยีเพราะการส่งออกเริ่มติดขัดก็ขอให้รัฐบาลช่วย อย่างนี้ เรียกว่าเลี้ยงไม่โต สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกไม่มีใครทายได้คนไทยต้องใฝ่รู้และก้าวตามมีภาวะการณ์เป็นผู้นำ (Leadership) ซึ่งน่าจะเป็นผู้นำที่มีนิสัยแบบ 4   ดังนี้   1   กล้าคิด  (think)   มีนิสัยการใฝ่รู้4 L's และเน้น Coaching กับ Mentoring  2   กล้านำ   (leader)  สิ่งที่ตรงประเด็น ( Relevance)และเป็นความจริง(Reality)   3   กล้าทำ   (do)    มีความสนุกและอารมณ์ร่วมในการเปิดใจและรู้จักกันเป็น  Teamwork4   กล้าตัดสินใจ (decision making)

เอาใจใส่อย่างจริงจัง มีการสร้างความต่อเนื่องว่าจะทำอะไรต่อไปก็สำคัญ นำความรู้ที่วิเคราะห์ได้ไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดประโยชน์สูงสุดเท่าที่จะทำได้ การใฝ่รู้เป็นสิ่งที่จะทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ( Creativity) และการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน    และจากบทเรียนจากความจริง ดร. ได้พูดถึงการนำหลักการเรียนรู้เรื่อง การร่างรัฐธรรมนูญต้องเน้น 2 R's คือ ความจริง ( Reality )และเรื่องที่ 2 ตรงประเด็น ( Relevance ) นั้นดิฉันเห็นว่าการที่คนเราจะมามีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาเราจะต้องมีความจริงใจที่จะต้องไม่มีความเห็นแก่ตัวเอื้อประโยชน์ให้กับประชาชนสูงสุด การพูดที่ถูกต้องและตรงประเด็นก็จะช่วยให้การร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้สำเร็จได้อย่างรวดเร็ว และเน้นถึงการศึกษาและการพัฒนาคุณภาพประชากรรวมถึงการให้ความสำคัญกับทุนมนุษย์ ตามหลักรัฐประศาสนศาสตร์ในสามก๊ก ที่เน้นการให้ความสำคัญต่อทุนมนุษย์การบริหารจัดการ รวมผู้คนที่มีสติปัญญาเพื่อนำพามาสู่การบริหารประเทศ การใช้คนให้ถูกกับงานการให้ความสำคัญกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นแหล่งการสร้างสติปัญญา    ให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน ซึ่งน่าจะจัดสรรให้เยาวชนไทยในปัจจุบันโดยเร็ว ด้วยความเคารพอย่างสูง     

     สุดท้ายนี้ขอขอบคุณ ดร. จีระ มากที่ได้ทำบทความดีๆเหล่านี้ ซึ่เป็นประโยชน์อย่างมาก  รวมถึงให้มีการโพสต์แสดงความคิดเห็นความคิดเหล่านี้ลงใน บ็อก นี้

1.น.ส.กาญต์มณี  จันทร์รุ่น 49473140058

2.น.ส นิภาพร  สุวงษ์49473140059

3. นาย วีรยุทธ กาญจนโรจน์49473140060

4.น.ส. นาตยา ทองคล้ำ49473140154

5.นาย นัฐพล เกตุแก้ว49473140158

6.น.ส. จันทิมา เมธีพิทักษ์ศิริกุล49473140159

7.นาย พงศ์ธร  พงศ์ภัคสิริ49473140160

8.น.ส. เพ็ญนภา  ปานคง49473140161

9.น.ส. ปวีณา ไสย์คล้าย  49473140162

10.นาย สมชาย เริงนิสัย  49473140163

เบอร์โทรที่สามารถโทรติดต่อกลับได้ 0892315412

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา(ศูนย์การศึกษาดรุณพิทยา)

กราบเรียน ดร.จีระ และสัวสดีผู้อ่านทุกท่านท่ได้อ่านบทเรียนความจริงกับดร.จีระและบทเรียนล่าสุดของดร.จีระนี้ได้เขียนเกี่ยวกับปรัชญาการบริหารของพระบทสมเด็จพราะเจ้าอยูหัว

พวกหนูได้อ่านบทความของดร.จีระแล้วอยากให้คนไทยเลิกทำในสิ่งที่ไม่ดีอยากให้ปัญหาหมดไปกับปีเก่าและเท่าที่ได้อ่านบทความของดร.จีระเรื่องเกี่ยวกับการวางระเบิดบ้างทำให้มีคนเสียชิวิตเกิดขึ้นแม้กระทั่งวันที่มีระเบิดนั้นเป็นวันส่งท้ายปีเก่า  แต่อย่างไรก็ตามปัญหาที่กำลังรุมเร้าประเทศไทยอยู่อยากจะให้ประชาชนทุกคนนึกถึงเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงและพระราชดำรัชของในหลวง  ซึ่งพระองค์ท่านอยากให้เราใช้เป็นอยู่อย่างพอเพียง  เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ตอนนี้ 

และสุดท้ายนี้พวกหนูจะติดตามข่าวสารและให้รู้เท่าทันเหตุการณ์ในปัจจุบันว่าเป็นอย่างไรจะไม่เสียเวลาอ่านหนังสือพิมพ์หน้าบันเทิงเพียงอย่างเดีวยถ้ามีโอกาสพวกหนูก็อยากจะแสดงความคิดเห็นแบบนี้อีก

ผู้ร่วมแสดงความคิดเห็นและสามารถติดต่อได้

1.นายวราวุฒิ  แกล้วกล้า

2.น.ส.พันทิพา  ประจิตร 086-5740203

3.น.ส.แสงเพชร  ผลจันทร์084-7113773

4.นายยุทธนา  ทองเชื้อ

5.น.ส.จุรีพร  ภิรมย์รักษ์

6.นายเสฐียรพงษ์   เสมใจดี

7.น.ส.สุกัลยาเชื้อทหาร084-0740079

8.น.ส.กฤติยาณี   เทียบแก้ว089-1049967

9.น.ส.ฐิติกานต์  ถานะ089-5660283

10.น.ส.ภาวิณี   กิตติอุดม087-6955578

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสนันทา

กราบเรียนท่าน ดร.จีระที่เคราพที่ได้อ่านสกุ๊ปแนวหน้าแล้ว มีความรู้สึกว่า ประเทศไทยของเราจะดูแย่ไปจากเดิมอย่างมากไม่ว่าจะเป็นปัญหาของเด็กวัยรุ่นหรือทางศาสนาและสุขภาพจิตของคนไทยน่าเป็นห่วงอย่างมากเราเป็นคนไทยก็ควรจะช่วยเหลือ แบ่เบาภาระจากครอบครัวที่เป็นจุดที่ข้าถึงง่ายกว่าด้านอื่นๆเราควรช่วยกันไม่ทำให้เศรษฐกิจของเราดูแย่กว่าเดิมเช่น ช่วยกันหมั่นดูแลคนในบ้านให้ความรู้ในด้านที่เหมาะสม และเป็นประดยชน์ ต่อสังคมของเรา กันน่ะค่ะ

11.-

12. นางสาว กันยารัตน์ สร้อยศรี 49473130121

13. นาย มงคล ทันท่าหว้า           49473130122

 

14. นางสาว กรรณิกา ชูโชติ49473130123

 

15-

16.-

17. นางสาว นุสรา วัฒนสินธิ์ 49473130126

18-

19 นางสาว จันจิรา สาครขำ 49473130128

 

20.นางสาว เนตรนภา พรรณภักดี 49473130129

ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง ดนัย มอบความสุขให้คนไทย"

ดนัย : มอบความสุขให้คนไทย[1]

  ผมเขียนบทความนี้ในเช้าวันพฤหัสบดี ต้องแสดงความยินดีแทนคนไทย 64 ล้านคนต่อคุณดนัย อุดมโชค ที่ได้เข้ารอบ 3 ของเทนนิส Australian Open แล้ว นับเป็นเกียรติประวัติที่สูงมากสำหรับดนัย เพราะหลายคนคาดหวังภราดร แต่ดนัยกลับทำได้ดี แม้จะมีบรรยากาศที่น่าหดหู่หลายเรื่อง แต่คนไทยก็มีเรื่องยินดี และมีความสุข ต้องติดตามต่อไปว่าจะผ่านรอบ 3 ไปได้หรือไม่
การแข่งขัน Australian Open เป็นการแข่งขันระดับ Grand Slam เป็นการแข่งขันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก 4 รายการ ได้แก่ Australian Open, French Open, Wimbledon และ US Open ซึ่งมีคะแนนสะสมมากมาย การไต่อันดับโลก ก็ขึ้นอย่างน้อย 15 อันดับแล้ว

คุณดนัยเป็นแขกรับเชิญ ในรายการโทรทัศน์ของผม เมื่อ 3 สัปดาห์ที่แล้ว ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 ได้เห็นบุคลิกที่เป็นแบบอย่าง (Role Model) คือชอบกีฬา มีชีวิตแบบพอเพียง ไม่ฟุ้งเฟ้อ ผิดกับคุณบอล (ภราดร ศรีชาพันธุ์) อย่างสิ้นเชิง

สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมมีกิจกรรมหลายเรื่องที่ผมจะแบ่งปัน เช่น
เมื่อเช้าวันพุธที่ 17 มกราคม ผมได้รับเชิญจากเบญจมราชาลัยสมาคม ให้ไปบรรยายเรื่อง การเตรียมพร้อมเพื่อสู่มหาวิทยาลัย ให้แก่นักเรียนชั้น ม. 6 โรงเรียนเบญจมราชาลัย ได้รับความสนใจมาก ได้แนะนำว่า

- นักเรียนต้องดูความต้องการของตลาดแรงงาน เลือกเรียนตามความถนัด และตามความสนใจของตนเองให้สอดคล้องกับตลาด

- เมื่อเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย จะต้องบริหารเวลาให้ดี แบ่งเวลาเรียน ทำกิจกรรม เล่นกีฬา รู้จักเพื่อนต่างคณะให้มาก รู้จักสร้างเครือข่าย

- จะต้องคิดเป็น วิเคราะห์เป็น เป็นสังคมการเรียนรู้

- รู้จักปรับพฤติกรรมตัวเอง โดยใช้ 7 Habits ของ Covey และทฤษฎี 8 K's , 5 K's ของผม และ 8 H ของคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ เป็นต้น

นอกจากนี้ ผมได้รับเกียรติจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ให้ไปบรรยายในหลักสูตร Ex-MBA ที่ผมเคยทำอยู่เป็นประจำในอดีต อาจารย์ยุรพร ซึ่งจบปริญญาเอก ที่ Australia ได้ให้ผมไปช่วยเป็นผู้ดูแลเรื่องวิทยานิพนธ์ด้วย

อาจารย์ยุรพร ศุทธรัตน์ เป็นอาจารย์รุ่นใหม่ ที่มองหาคนข้างนอกว่า มีใครเก่งด้านไหน ก็เชิญมาร่วมบรรยาย และอาจารย์ยุรพรยังนั่งฟังตลอดเวลา และประสานงานกับทีมงานของผมอย่างใกล้ชิด นับเป็นตัวอย่างที่ดีของอาจารย์รุ่นใหม่ที่รู้ใน/รู้นอก ต้องรู้ว่า ประเทศไทยหากลอกตำราฝรั่งอย่างเดียว คงไม่รอด และจริง ๆ แล้วตำราเรื่อง การบริหารจากตะวันตกไม่พอ เพราะการบริหารจะเริ่มเน้นแนวคิดของตะวันออกมากขึ้น หัวข้อที่ผมเน้นคือ "การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในโลกไร้พรมแดน" แต่ตั้ง Hypothesis ว่าคงจะต้องรับความจริงว่า

- โลกเปลี่ยนไปมาก ประเทศตะวันออกจะมีบทบาทมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น จีน เกาหลี อินเดีย ไทย สิงคโปร์ ไต้หวัน หรือตะวันออกกลาง คงจะเน้น การผสม (Synergies) ระหว่าง East-West ให้ดี มองจุดอ่อน จุดแข็ง แล้วนำมาปรับใช้

ขณะที่บรรยาย ผมได้ออกรายการวิทยุ FM 96.5 MHz ที่มีคุณวิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ เป็นพิธีกรด้วย ปรากฏว่ามี SMS และมีโทรศัพท์เข้ามาในรายการ คล้ายเป็น Clinic ทางเรื่องการบริหารจัดการแบบใหม่ โดยผสมกันระหว่างตะวันตก-ตะวันออก ผมคิดเรื่อง ความสุข มานาน เป็นแนวคิดของตะวันออกคือ ไปทำงานโดยต้องไม่เน้นเฉพาะผลประกอบการ แต่ต้องสร้างให้ Life/work Balance สมดุลด้วย

ผมชอบแนวคิดแบบความจงรักภักดี ทำงานระบบครอบครัว แต่ต้องมีความสามารถในการแข่งขัน แต่ขณะเดียวกัน แนวคิดเรื่องสังคมที่เสมอภาคระหว่างเจ้านายกับพนักงาน และให้โอกาสทุกคนได้มีส่วนร่วม ซึ่งตะวันตกมีมากกว่า แต่ช่องว่างระหว่างเจ้านายกับมืออาชีพในตะวันออกมีมากกว่า รายการวิทยุกับการสอน Ex-MBA จึงไปด้วยกัน เป็นการแบ่งปัน (share) ข้อมูลที่น่าสนใจมาก

ท่านผู้อ่านที่อยากติดตาม สามารถเปิดเข้าไปดูใน Blog ผม ที่ www.chiraacademy.com ได้ การเรียนยุคใหม่ต้องเรียนแบบ 4 L's
ผมมั่นใจว่าวิทยุจะเป็นการเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่

โดยสรุป การบริหารทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศเน้น :

– East - West จะต้องรู้เขารู้เรามากขึ้น

จะต้องบริหารความหลากหลายมากขึ้น (Diversity)

ทรัพยากรมนุษย์มีความรู้มากขึ้น

จะต้องเรียนรู้ภาษาต่างประเทศอย่างดี โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ

และสุดท้าย ต้องรู้เรื่องวัฒนธรรมข้ามชาติ ไม่ใช่เฉพาะตะวันตก แต่ต้องรู้ในเอเชียให้ดีด้วย เริ่มสนใจศาสนา เช่น อิสลาม ความหลากหลายของนิกาย เรื่องการทำธุรกิจกับกลุ่มมุสลิมมากขึ้น

แต่ที่สังเกตดู ระดับ Ex-MBA ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีความรู้เฉพาะทางสูง เช่น นักการเงิน การตลาด แต่ความรู้เรื่องโลกกว้างๆ ที่จำเป็น เพื่อจะมอง Macro ไปทำ Micro น้อยมาก จึงทำงานในระดับหนึ่งได้ แต่จะขึ้นไปสูงเป็นผู้นำ CEO คงลำบาก จึงอยากจะเน้นว่า ทำอย่างไรคนไทยจึงจะมีภาพใหญ่มากขึ้น
 
www.chiraacademy.com
โทร. 0-2884-8814
  จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

กราบเรียนท่านดร.จีระ ที่เคารพ จากการที่ได้อ่านและติดตามบทความเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของท่านพวกเรามีความคิดเห็นว่า เศรษฐกิจพอเพียงที่มีการใช้อยู่มีการใช้หลักของท่าน ดร.จีระเป็นเรื่องที่ดีมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการประหยัด หรือหลักการต่างๆ แต่การนำไปใช้ยังน้อยอยู่มาก เพราะหลักการของท่านยังไม่เข้าถึงทุกกลุ่มได้ แต่ที่มีการใช้เศรษฐกิจพอเพียงส่วนมากจะได้ ปฏิบัติเองมากกว่าจะได้จากการเรียนรู้ เพราะความพอเพียงมีการตะหนักถึงการใช้มาตั้งนานแล้ว และรวมถึงเศรษฐกิจบ้านเมืองของไทย ก็ยังมีปัญหาอยู่ทำให้มีการพอเพียงในตัวแต่ละบุคคล อยู่แล้ว ในกลุ่มระดับล่าง แต่ปัญหาคือว่าจะทำอย่างไรให้กลุ่มนักธุระกิจมีความพอเพียงได้อย่างไร และให้ประชาชนส่วนมากตะหนักถึงความพอเพียงให้มากขึ้นอย่างไร

นายเกรียงไกร วิมไตรเมต

นายเฉลิมพล

นายศิวนัฐ จรูญศรี

นายกฤติน เชื้อทอง

นายพิพัฒน์ อัคฮาด

นายจีรพงศ์ รัฐเรืองมนีโรจน์

น.ส.น้ำเพรช บัวแย้ม

การตลาด 01/49 เลขที่ 51-60

กราบเรียนท่านดร.จีระ ที่เคารพ จากการที่ได้อ่านและติดตาม คอลัมน์บทเรียนแห่งความจริง หนูเป็นนักศึกษาของอาจารย์สุดาภรณ์ ได้เข้าไปอ่านคอลัมน์ดังกล่าวของเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ที่อาจารย์ได้พูดถึงการดำเนินชีวิตของนักเทนนิสทั้ง 2 คน หนูคิดว่าการดำเนินชีวิตของคนเราขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมแต่พอดีคนที่คิดว่าตัวเองเก่งมันจะทะนงตัวมากกว่าก็เลยมักจะล้มเหลวในชีวิต ผิดกับคนที่มีฝีมือที่พอดีกับตัวเองไม่เคยทะนงตัวก็เลยมักจะประสบความสำเร็จ อาจารย์นำเอาบุคคลที่สามารถยกตัวอย่างให้เยาวชนได้เห็นทำให้เยาวชนได้คิดเป็นอย่างมาก และมีอีกอย่างที่หนูอยากเรียนรู้ได้เร็วกว่านี้หากที่ผ่านมาก่อนจบที่วิทยาลัยที่หนูจบการศึกษามามีการนำอาจารย์ไปนิเทศหรือไปปัจฉัมก่อนจบหนูคงจะมีแนวคิดที่ดีก่อนเข้ารั้วมหาลัยแน่ๆคะ แต่ตอนนี้หนูก็ไม่เคยผิดหวังกับสิ่งที่หนูเลือก หนูจะนำคำแนะนำที่

- นักเรียนต้องดูความต้องการของตลาดแรงงาน เลือกเรียนตามความถนัด และตามความสนใจของตนเองให้สอดคล้องกับตลาด
- เมื่อเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย จะต้องบริหารเวลาให้ดี แบ่งเวลาเรียน ทำกิจกรรม เล่นกีฬา รู้จักเพื่อนต่างคณะให้มาก รู้จักสร้างเครือข่าย
- จะต้องคิดเป็น วิเคราะห์เป็น เป็นสังคมการเรียนรู้
- รู้จักปรับพฤติกรรมตัวเอง โดยใช้ 7 Habits ของ Covey และทฤษฎี 8 K's , 5 K's ของผม และ 8 H ของคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์

จะนำไปใช้และปรับตัวให้เข้ากับรั้วมหาลัยทึ่เหลือเวลาอีกประมาณ3 ปีให้คุ้มค่าที่สุดคะ

นส.ลัดดา  พรหมประเสริฐ (ตัวแทนกลุ่ม) 085-8311465

 

นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

กราบเรียนดร.จีระ ที่เคารพ จากการที่ได้ติดตามบทความของท่านจากหนังสือพิมพ์ "แนวหน้า" เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา เรื่อง "ดนัย:มอบความสุขให้คนไทย"

โดยบทความได้บอกว่าดนัยทำได้ดีสำหรับรายการนี้นับเป็นเกียติประวัติของเขา ที่ได้ทำชื่อเสียงแก่ตัวเขาและประเทศชาติ และตัวของคุณดนัยนั้นยังมีวิถีชีวิตที่พอเพียงไม่ฟุ่มเฟือยซึ่งมีความแตกต่างกับคุณภราดร ซึ่งหนูก็เชียร์เขาอยู่ และบทความที่ท่านได้ทำกิจกรรมในสัปดาห์ผ่านมานั้น สิ่งที่หนูคิดว่าดีและจะได้นำไปบอกน้องๆที่รู้จักคือการที่เราจะเลือกเรียนคณะต่างๆนั้น ต้องดูจากส่วนประกอบต่างๆคือ- นักเรียนต้องดู    -ความต้องการของตลาดแรงงาน เลือกเรียนตามความถนัด และตามความสนใจของตนเองให้สอดคล้องกับตลาด  และการเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยจะต้องมีการจัดสรรค์เวลาให้เหมาะสม  ทั้งนี้ยังมีอีกเรื่องที่หนูเห็นด้วยกับท่านคือ ประเทศเรามีวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามามาก เราควรนำแต่สิ่งที่ดีเข้ามาประยุกต์ใช้ในสังคมไทยและต้องดูว่าเหมาะสมกับวัฒนธรรมในสังคมไทยหรือไม่ สุดท้ายนี้ควรตั้งอยู่ในความพอเพียง เพื่อความสงบสุขของสังคมไทย
ผู้ร่วมแสดงความคิดเห็น

1.น.ส วารีวรรณ  โฉมศรี   49473130046  ( 086-0544549 )

2. น.ส. จรัสแสง   โคมเปือย  49473130047  ( 085-8026051 )

3. นายตะวัน  กลิ่นโสสุม  49473130112 

4.น.ส.กฤติยา  เภาสาลี 49473130114 ( 084-7855058 )

5. นายสมโชค  กลักทรัพย์  49473130115  ( 083-7071475 )

6. นายกมลตรี  ถือซื่อ  49473130116  ( 087-9802080 )

7.นายอำพล  อินสว่าง  49473130117  (083-9957851 )

8. น.ส. ศิริระวี  ไชยศรี  49473130118 (086-9832801 )

9. น.ส. นิภาพร  พุ่มจันทร์ 49473130119 (089-6827620 )

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

กราบเรียนดร.จีระ ผมได้ติดตามบทความของท่านจากหนังสือพิมพ์แนวหน้า ผมเป็นนักศึกษาคอมฯ 01ของอาจารย์สุดาภรณ์ ผมได้อ่านบทความเมื่อเสาร์ที่20 ม.ค. 50 และเห็นว่าทฤษฎี 8k's ,5k'sและ8H สามารถปรับพฤติกรรมการเรียนรู้ทั้งในมหาวิทยาลัยและสังคมภายนอกได้มากเลยครับ และตามที่อาจารย์กล่าวเรื่องการบริหารทรัพยากร แนวคิดแบบความจงรักภักดีทำงานระบบครอบครัว แต่ต้องมีความสามารถในการแข่งขันผมว่าก็เป็นแนวคิดที่ดี น่าจะสร้างคนให้มีศักยภาพในการทำงานมากขึ้นด้วย และอีกแนวคิกหนึ่งที่อาจารย์กล่าวคือ เรื่องสังคมที่เสมอภาคระหว่างเจ้านายกับพนักงาน และการให้โอกาสทุกคนได้มีส่วนร่วมนี้น ก็เป็นแนวคิดที่ดี เพราะได้สร้างความสามัคคีในหมู่คณะด้วย

      ในช่วงแรกที่อาจารย์กล่าวว่าคุณดนัย มีบุคลิกที่น่าเป็นแบบอย่าง คือ ชอบเล่นกีฬา มีชีวิตแบบพอเพียง ไม่ฟุ้งเฟ้อ ผมก็เห็นด้วยกับอาจารย์ครับ เพราะคนเราไม่ว่าจะรวยหรือจน จะมีชื่อเสียงหรือไม่มี สำคัญที่สุด คือการใช้ชีวิตที่เรียบง่าย รู้จักเศรษฐกิจพอเพียงไม่ฟุ่มเฟือย ไม่ยึดติดกับอะไรแพงๆ แค่นี้ก็จะทำให้ชีวิตมีความสุขแล้ว

1.น.ส.กาญต์มณี  จันทร์รุ่น 49473140058

2.น.ส นิภาพร  สุวงษ์49473140059

3. นาย วีรยุทธ กาญจนโรจน์49473140060

4.น.ส. นาตยา ทองคล้ำ49473140154

5.นาย นัฐพล เกตุแก้ว49473140158

6.น.ส. จันทิมา เมธีพิทักษ์ศิริกุล49473140159

7.นาย พงศ์ธร  พงศ์ภัคสิริ49473140160

8.น.ส. เพ็ญนภา  ปานคง49473140161

9.น.ส. ปวีณา ไสย์คล้าย  49473140162

10.นาย สมชาย เริงนิสัย  49473140163

เบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ 0817116918

ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง ประเทศไทย : ช่วงอันตรายทั้งระยะสั้นและระยะยาว"
 ในระยะนี้ได้ฟังข่าวสารจากหลายคนในหลายด้าน มักจะมองปัญหาประเทศไทยค่อนข้างหนักและรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นระยะสั้นหรือระยะยาว คนส่วนมากมีความไม่สบายใจกับสถานการณ์ปัจจุบัน การเมืองและเศรษฐกิจ
การเมืองในระยะสั้นยังไม่มีอะไรแน่นอน ความจริงคือ การปฏิวัติครั้งนี้มีความจำเป็น แต่หลังการปฏิวัติแล้ว ปัญหาต่างๆ ยังไม่ชัดเจน โดยเฉพาะคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) และรัฐบาล ไม่สามารถที่จะจัดการกับอำนาจเก่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดการต่อสู้กันอย่างหนัก ซึ่งไม่เป็นการดีสำหรับประเทศไทย
หลายคนไม่ค่อยสบายใจกับสภาพเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ เพราะเคยเห็นยุคฟองสบู่แตกปี 2540 มาแล้ว ความสับสนระหว่างเศรษฐกิจพอเพียงกับการปรับตัวเข้าหาโลกาภิวัตน์ รัฐบาลต้องอธิบายให้มากขึ้นว่า เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่จะทำให้ประเทศไทยอยู่อย่างยั่งยืนในระยะยาว ไม่ได้ขัดแย้งกับเศรษฐกิจเสรีนิยม
เรื่องระเบิด 8 จุด ในเย็นวันที่ 31 ธันวาคม 2549 ทำให้ประชาชนเกิดความไม่มั่นใจในความปลอดภัย
เรื่องการร่างรัฐธรรมนูญและการคืนสู่อำนาจจะทำอย่างไร
ระยะยาวก็น่ากลัวพอกับระยะสั้น เพราะจะต้องเน้น 3 เรื่อง
-
รัฐธรรมนูญใหม่ ต้องได้รัฐบาลที่เป็นประชาธิปไตย มาจากการเลือกตั้ง แต่ต้องมีธรรมาภิบาล ไม่ใช่ได้อำนาจรัฐมาแล้ว มีผลประโยชน์ทับซ้อน และสร้างปัญหาให้แก่คนไทยในทุกเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องคอร์รัปชั่น ผมขอยกตัวอย่างให้เห็นว่า รัฐบาลทักษิณเน้นสนามบินใหม่เป็นสนามบินของศตวรรษที่ 21 แต่ข้อเท็จจริงคืออะไร ทุกคนก็ทราบดี
-
ประเด็นที่ 2 ให้คนไทยใฝ่รู้ สนใจการเรียนรู้ ให้เขาคิดเป็น วิเคราะห์เป็น ไม่ใช่เรียนเพื่อปริญญา หวังว่าเมื่อทำงานจะมีรายได้ดีเท่านั้น วาระแห่งชาติของรัฐบาลไม่ว่าจะเป็นชุดนี้หรือชุดหน้า ต้องให้คนไทยฉลาด และมีความเข้าใจ ทุนทางปัญญาต้องเน้นวิธีการเรียน วิธีการคิด อาจารย์ในมหาวิทยาลัย ระดับมัธยมศึกษาและประถมศึกษาต้องใฝ่รู้ และเป็นผู้นำทางปัญญา ศาสนาต้องเข้ามามีบทบาทในการให้ความรู้มากขึ้น รัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ยังไม่ได้วางรากฐานที่ดีให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาอย่างแท้จริง
-
ประเด็นสุดท้าย เรื่องระยะยาวที่น่ากลัว คือเรื่องสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโลกร้อน หรือปัญหาคนทำลายทรัพยากรธรรมชาติ อย่างน้อยการประชุม World Economic Forum ของผู้นำเศรษฐกิจและการเมืองของโลกที่ Davos สวิตเซอร์แลนด์ ในครั้งนี้ ยังมีการพูดถึงเรื่องอากาศร้อน เมืองไทยควรจะต้องมีการวิจัยล่วงหน้าว่า คนไทยจะปรับและเตรียมตัวอย่างไร
ผมคิดว่ารัฐบาลคงไม่สามารถทำเองได้ในหลายเรื่อง ต้องร่วมกันทำ ต้องสร้างพลังสามัคคีให้ทุกจุดช่วยกัน อย่างน้อยผมพยายามช่วยทำ 3 เรื่อง
ผมได้รับเกียรติจากสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีคุณณัฐพัชร์ อินทุภูติ เป็นประธานสภา เลือกผมเป็นกรรมการอำนวยการ แทนศาสตราจารย์วิชา มหาคุณ ที่ลาออกไป ผมภูมิใจมากที่ได้เห็นงานที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาคนที่เสียเปรียบ เด็ก ผู้หญิง คนพิการ นับเป็นองค์กรที่สำคัญมาก ท่านประธานให้ผมทำเรื่อง ทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งผมจะทำให้ดีที่สุด
อีกเรื่องคือ การใช้สื่อวิทยุ FM 96.5 MHz ทำอย่างไรจึงจะกระจายข้อมูลดี ๆ ในวิทยุไปสู่กลุ่มเป้าหมายมากกว่านี้ ฟังผมได้ทุกวันพุธ เวลา 19.30-20.30 น.
ปัจจุบันผมได้แปลบทความที่ผมเขียนลงในหนังสือพิมพ์แนวหน้าเป็นภาษาอังกฤษ ส่งไปให้ชาวต่างประเทศที่สนใจอ่านแล้ว ปรากฏว่า มีชาวต่างประเทศติดตามและให้ความสนใจอย่างมากมาย
ผมมีเรื่องที่ทำอยู่จะเล่าให้ผู้อ่านฟัง 3 เรื่อง
เรื่องแรก เช้าวันพฤหัสบดีที่ผมเขียนบทความนี้ ผมกำลังเดินทางไปประชุมที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เพื่อจะเน้นให้ครู ข้าราชการ นักธุรกิจ นักเรียนในภาคอีสาน ประมาณ 1 พันคน สนใจองค์กรและความเป็นเลิศ เรื่องภาวะผู้นำ ให้คนไทยคิดเป็น เป็นสังคมฐานความรู้เป็นส่วนใหญ่ และพัฒนาองค์กรในอีสานให้เป็นเลิศ " Isarn that learn" ผมชอบไปบุกภาคอีสานในจุดที่คนส่วนใหญ่เสียเปรียบ
เรื่องที่สอง วันศุกร์ที่ 19 มกราคมที่ผ่านมา ผมไปบรรยายให้กลุ่มสมาคมบรรจุภัณฑ์โลหะไทย ซึ่งเป็นกลุ่มเจ้าของกิจการฟังเรื่อง บันไดสู่ความเป็นเลิศ เรื่องภาวะผู้นำเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ โดยต้องสอดรับกับความเป็นจริงและตรงประเด็นตามทฤษฎี 2 R's เสริมด้วยทฤษฎี 8 K's , 5 K's , ทฤษฎี 8 H และทฤษฎี HRDS ได้รับความสนใจ และมีการแลกเปลี่ยนความเห็นกันอย่างหลากหลาย ผมได้เน้นให้เจ้าของมองโลกให้กว้าง Global และมีความเข้าใจว่าต้องปรับตัวเสมอ โดยเฉพาะเรื่องนวัตกรรม ( Innovation )
เรื่องสุดท้าย ผมไปร่วมวง Learning Forum ที่มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ เรื่อง ประสบการณ์ของผมที่ APEC HRD Working Group โดยมีคุณอารียา โรจน์วิถี และคุณศิริลักษณ์ เมฆสังข์ ร่วมสนทนาด้วย นับว่าเป็นการจุดประกายที่ดี เพราะผู้ฟังต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ประเทศไทยมีปัญหาเรื่อง คุณภาพของทรัพยากรมนุษย์มาก และเป็นปัญหาที่น่ากลัว เพราะคนไทยขาดวิธีคิดเป็นและใฝ่รู้  จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181

ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง ประเทศไทย : ช่วงอันตรายทั้งระยะสั้นและระยะยาว" เมื่อ ส. 27 ม.ค. 2550 @ 06:46 (146422)
ประเทศไทย : ช่วงอันตรายทั้งระยะสั้นและระยะยาว[1]  ในระยะนี้ได้ฟังข่าวสารจากหลายคนในหลายด้าน มักจะมองปัญหาประเทศไทยค่อนข้างหนักและรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นระยะสั้นหรือระยะยาว คนส่วนมากมีความไม่สบายใจกับสถานการณ์ปัจจุบัน การเมืองและเศรษฐกิจ
การเมืองในระยะสั้นยังไม่มีอะไรแน่นอน ความจริงคือ การปฏิวัติครั้งนี้มีความจำเป็น แต่หลังการปฏิวัติแล้ว ปัญหาต่างๆ ยังไม่ชัดเจน โดยเฉพาะคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) และรัฐบาล ไม่สามารถที่จะจัดการกับอำนาจเก่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดการต่อสู้กันอย่างหนัก ซึ่งไม่เป็นการดีสำหรับประเทศไทย
หลายคนไม่ค่อยสบายใจกับสภาพเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ เพราะเคยเห็นยุคฟองสบู่แตกปี 2540 มาแล้ว ความสับสนระหว่างเศรษฐกิจพอเพียงกับการปรับตัวเข้าหาโลกาภิวัตน์ รัฐบาลต้องอธิบายให้มากขึ้นว่า เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่จะทำให้ประเทศไทยอยู่อย่างยั่งยืนในระยะยาว ไม่ได้ขัดแย้งกับเศรษฐกิจเสรีนิยม
เรื่องระเบิด 8 จุด ในเย็นวันที่ 31 ธันวาคม 2549 ทำให้ประชาชนเกิดความไม่มั่นใจในความปลอดภัย
เรื่องการร่างรัฐธรรมนูญและการคืนสู่อำนาจจะทำอย่างไร
ระยะยาวก็น่ากลัวพอกับระยะสั้น เพราะจะต้องเน้น 3 เรื่อง
-
รัฐธรรมนูญใหม่ ต้องได้รัฐบาลที่เป็นประชาธิปไตย มาจากการเลือกตั้ง แต่ต้องมีธรรมาภิบาล ไม่ใช่ได้อำนาจรัฐมาแล้ว มีผลประโยชน์ทับซ้อน และสร้างปัญหาให้แก่คนไทยในทุกเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องคอร์รัปชั่น ผมขอยกตัวอย่างให้เห็นว่า รัฐบาลทักษิณเน้นสนามบินใหม่เป็นสนามบินของศตวรรษที่ 21 แต่ข้อเท็จจริงคืออะไร ทุกคนก็ทราบดี
-
ประเด็นที่ 2 ให้คนไทยใฝ่รู้ สนใจการเรียนรู้ ให้เขาคิดเป็น วิเคราะห์เป็น ไม่ใช่เรียนเพื่อปริญญา หวังว่าเมื่อทำงานจะมีรายได้ดีเท่านั้น วาระแห่งชาติของรัฐบาลไม่ว่าจะเป็นชุดนี้หรือชุดหน้า ต้องให้คนไทยฉลาด และมีความเข้าใจ ทุนทางปัญญาต้องเน้นวิธีการเรียน วิธีการคิด อาจารย์ในมหาวิทยาลัย ระดับมัธยมศึกษาและประถมศึกษาต้องใฝ่รู้ และเป็นผู้นำทางปัญญา ศาสนาต้องเข้ามามีบทบาทในการให้ความรู้มากขึ้น รัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ยังไม่ได้วางรากฐานที่ดีให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาอย่างแท้จริง
-
ประเด็นสุดท้าย เรื่องระยะยาวที่น่ากลัว คือเรื่องสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโลกร้อน หรือปัญหาคนทำลายทรัพยากรธรรมชาติ อย่างน้อยการประชุม World Economic Forum ของผู้นำเศรษฐกิจและการเมืองของโลกที่ Davos สวิตเซอร์แลนด์ ในครั้งนี้ ยังมีการพูดถึงเรื่องอากาศร้อน เมืองไทยควรจะต้องมีการวิจัยล่วงหน้าว่า คนไทยจะปรับและเตรียมตัวอย่างไร
ผมคิดว่ารัฐบาลคงไม่สามารถทำเองได้ในหลายเรื่อง ต้องร่วมกันทำ ต้องสร้างพลังสามัคคีให้ทุกจุดช่วยกัน อย่างน้อยผมพยายามช่วยทำ 3 เรื่อง
ผมได้รับเกียรติจากสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีคุณณัฐพัชร์ อินทุภูติ เป็นประธานสภา เลือกผมเป็นกรรมการอำนวยการ แทนศาสตราจารย์วิชา มหาคุณ ที่ลาออกไป ผมภูมิใจมากที่ได้เห็นงานที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาคนที่เสียเปรียบ เด็ก ผู้หญิง คนพิการ นับเป็นองค์กรที่สำคัญมาก ท่านประธานให้ผมทำเรื่อง ทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งผมจะทำให้ดีที่สุด
อีกเรื่องคือ การใช้สื่อวิทยุ FM 96.5 MHz ทำอย่างไรจึงจะกระจายข้อมูลดี ๆ ในวิทยุไปสู่กลุ่มเป้าหมายมากกว่านี้ ฟังผมได้ทุกวันพุธ เวลา 19.30-20.30 น.
ปัจจุบันผมได้แปลบทความที่ผมเขียนลงในหนังสือพิมพ์แนวหน้าเป็นภาษาอังกฤษ ส่งไปให้ชาวต่างประเทศที่สนใจอ่านแล้ว ปรากฏว่า มีชาวต่างประเทศติดตามและให้ความสนใจอย่างมากมาย
ผมมีเรื่องที่ทำอยู่จะเล่าให้ผู้อ่านฟัง 3 เรื่อง
เรื่องแรก เช้าวันพฤหัสบดีที่ผมเขียนบทความนี้ ผมกำลังเดินทางไปประชุมที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เพื่อจะเน้นให้ครู ข้าราชการ นักธุรกิจ นักเรียนในภาคอีสาน ประมาณ 1 พันคน สนใจองค์กรและความเป็นเลิศ เรื่องภาวะผู้นำ ให้คนไทยคิดเป็น เป็นสังคมฐานความรู้เป็นส่วนใหญ่ และพัฒนาองค์กรในอีสานให้เป็นเลิศ " Isarn that learn" ผมชอบไปบุกภาคอีสานในจุดที่คนส่วนใหญ่เสียเปรียบ
เรื่องที่สอง วันศุกร์ที่ 19 มกราคมที่ผ่านมา ผมไปบรรยายให้กลุ่มสมาคมบรรจุภัณฑ์โลหะไทย ซึ่งเป็นกลุ่มเจ้าของกิจการฟังเรื่อง บันไดสู่ความเป็นเลิศ เรื่องภาวะผู้นำเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ โดยต้องสอดรับกับความเป็นจริงและตรงประเด็นตามทฤษฎี 2 R's เสริมด้วยทฤษฎี 8 K's , 5 K's , ทฤษฎี 8 H และทฤษฎี HRDS ได้รับความสนใจ และมีการแลกเปลี่ยนความเห็นกันอย่างหลากหลาย ผมได้เน้นให้เจ้าของมองโลกให้กว้าง Global และมีความเข้าใจว่าต้องปรับตัวเสมอ โดยเฉพาะเรื่องนวัตกรรม ( Innovation )
เรื่องสุดท้าย ผมไปร่วมวง Learning Forum ที่มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ เรื่อง ประสบการณ์ของผมที่ APEC HRD Working Group โดยมีคุณอารียา โรจน์วิถี และคุณศิริลักษณ์ เมฆสังข์ ร่วมสนทนาด้วย นับว่าเป็นการจุดประกายที่ดี เพราะผู้ฟังต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ประเทศไทยมีปัญหาเรื่อง คุณภาพของทรัพยากรมนุษย์มาก และเป็นปัญหาที่น่ากลัว เพราะคนไทยขาดวิธีคิดเป็นและใฝ่รู้   จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181  
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

กราบเรียนท่าน ดร.จีระ

เรื่องความพอเพียง พวกเรามีข้อสงสัยว่าความ ความพอเพียงที่แท้จริง ต้องทำไปถึงไหนถึงจะกินความพอเพียงสูงสุด ถ้าเกิดความพอเพียงในประเทศและสังคมแล้ว จะทำยังไงให้ประเทศได้พัฒนา ให้ทันนานาประเทศได้ และจุดประสงค์หลักของการพอเพียงคืออะไร และจะทำให้คนทั่วไปเข้าใจความพอเพียงที่แท้จริงได้อย่างไร ขอแสดงความนับถือ อย่างสูง

นายพิพัฒน์ อัคฮาด การตลาด 49/01ตัวแทน เลขที่ 51-60

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

กราบเรียน ดร.จีระที่เคารพ วันนี้หนูแวะเข้ามาอ่าน คอลัมน์บทเรียนแห่งความจริงที่มีการเขียนในคอลัมน์ หนูไม่ทราบว่าตอนนี้ประชาชนชาวไทยกำลังเผชิญกับปัญหาอะไรมากมาย ทั้งปัญหาส่วนตัว ภายในครอบครัว ปัญหาของประเทศชาติที่มีให้เห็นกันทุกวัน ทั้งความไม่สงบของเพื่อนมนุษย์กันเอง ปัญหาของผู้บริหารประเทศที่ไม่สามารถจบปัญหาได้ซักที่ แต่ก่อนนี้หนูเคยคิดว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความสงบเรียบร้อย เป็นประเทศที่มีความเป็นประชาธิปไตย ไม่มีการบีบบังคับ หรือการทำอะไรที่เป็นการส่อแววว่าจะเข้าสู่การเป็นคอมมิวนิสต์ แต่นับจากวันที่มีเหตุการณ์ของการปฏิวัติเกิดขึ้น เกิดการยึดครองอำนาจของรัฐบาลหนูก็เกิดความไม่แน่ใจว่าประเทศไทยยังเป็นประเทศที่ปกครองระบบประชาธิปไตยอยู่หรือเปล่า รวมทั้งปัญหาอื่นๆที่ตามมา ทั้งปัญหาของความไม่สงบของภาคใต้ที่ไม่มีการหยุดปัญหาได้ มิหนำซ้ำวันที่คนไทยกำลังจะฉลองวันขึ้นปีใหม่ในไม่กี่ชั่วโมงก็ยังมีเหตุการณ์อันน่ากลัวเกิดขึ้น หนูไม่รู้ว่า บุคคลที่คิดว่าจะเข้ามาดูแล มาปกครองประเทศชาติทำอะไรอยู่ ปัญหาทั้งระยะสั้นหรือระยะยาวที่อาจารย์ได้กล่าวถึงนับเป็นปัญหาที่สำคัญยิ่ง สมควรที่จะเร่งแก้ปัญหาเพื่อเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับประเทศเพื่อนบ้านและส่งผลไปสู่ระบบเศรษฐกิจของประเทศ หนูหนึ่งในประชากรชาวไทยคนนึงอยากให้รัฐบาลช่วยกันแก้ปัญหาและสร้างความร่วมมือให้กับประชาชนชาวไทยให้ได้ค่ะ

กราบเรียน ดร.จีระที่เคารพ วันนี้หนูแวะเข้ามาอ่าน คอลัมน์บทเรียนแห่งความจริงที่มีการเขียนในคอลัมน์ หนูไม่ทราบว่าตอนนี้ประชาชนชาวไทยกำลังเผชิญกับปัญหาอะไรมากมาย ทั้งปัญหาส่วนตัว ภายในครอบครัว ปัญหาของประเทศชาติที่มีให้เห็นกันทุกวัน ทั้งความไม่สงบของเพื่อนมนุษย์กันเอง ปัญหาของผู้บริหารประเทศที่ไม่สามารถจบปัญหาได้ซักที่ แต่ก่อนนี้หนูเคยคิดว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความสงบเรียบร้อย เป็นประเทศที่มีความเป็นประชาธิปไตย ไม่มีการบีบบังคับ หรือการทำอะไรที่เป็นการส่อแววว่าจะเข้าสู่การเป็นคอมมิวนิสต์ แต่นับจากวันที่มีเหตุการณ์ของการปฏิวัติเกิดขึ้น เกิดการยึดครองอำนาจของรัฐบาลหนูก็เกิดความไม่แน่ใจว่าประเทศไทยยังเป็นประเทศที่ปกครองระบบประชาธิปไตยอยู่หรือเปล่า รวมทั้งปัญหาอื่นๆที่ตามมา ทั้งปัญหาของความไม่สงบของภาคใต้ที่ไม่มีการหยุดปัญหาได้ มิหนำซ้ำวันที่คนไทยกำลังจะฉลองวันขึ้นปีใหม่ในไม่กี่ชั่วโมงก็ยังมีเหตุการณ์อันน่ากลัวเกิดขึ้น หนูไม่รู้ว่า บุคคลที่คิดว่าจะเข้ามาดูแล มาปกครองประเทศชาติทำอะไรอยู่ ปัญหาทั้งระยะสั้นหรือระยะยาวที่อาจารย์ได้กล่าวถึงนับเป็นปัญหาที่สำคัญยิ่ง สมควรที่จะเร่งแก้ปัญหาเพื่อเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับประเทศเพื่อนบ้านและส่งผลไปสู่ระบบเศรษฐกิจของประเทศ หนูหนึ่งในประชากรชาวไทยคนนึงอยากให้รัฐบาลช่วยกันแก้ปัญหาและสร้างความร่วมมือให้กับประชาชนชาวไทยให้ได้ค่ะ

นางสาวลัดดา  พรหมประเสริฐ 49473140223 คอมพิวเตอร์ 02 4ปี (085-8311465) ตัวแทนกลุ่ม แก้ไขด้านบน

การเมืองไทยช่วงนี้ยังคงอยู่ในระยะสั้น ยังไม่ทราบว่าจะบริหารงานได้นานแค่ไหน และจะบริหารได้ถูกใจคนไทยไหม จึงเป็นสาเหตุให้ประเทศไทยยังคงไม่มีความมั่นคงทางการเมือง

ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับท่านดร.จีระ ว่าเราต้องอาศัยทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวงเรามาช่วยในการบริหารประเทศ เพราะปัญหาดังกล่าวคงจะคลี่คลายได้ในไม่ช้านี้

คอมพิวเตอร์01  4ปี ภาคปกติ รุ่น49

24 (175) นางสาวปริษา ชื่นครอบ25 (176) นายณรงค์ รักงาม26 (177) นางสาวฐิติวัน ธรรมสอน28 (179) นางสาวรพีรวรรณ สุเฌอ30 (181) นางสาวธนัชพร สงวนเชาวน์สกุล 31 (182) นางสาวคำบาง แวดอุดม32 (183) นางสาวภัทราภรณ์ เพ็งลาย33 (184) นายปารเมศ โพธิศาสตร์34 (186) นายสุกิจ อิ่มจำรูญ

35 (187) นายปริญญา วุฒิเวช

ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ ทักษิโณมิกส์ : ตก 2 k และ 1 C

ทักษิโณมิกส์ : ตก 2 K และ1 C[1]

  เมื่อวันพุธที่ 31 มกราคม ผมตั้งใจจะพูดหลายเรื่องในรายการวิทยุ แต่คุณณาตยา แวววีระคุปต์ พิธีกรคนเก่ง นำผมให้ไปคุยเรื่อง ทักษิโณมิกส์ (Thaksinomics) กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงแทบไม่ได้พูดเรื่องอื่น
คนไทยต้องตั้งสติให้ดี และแยกแยะให้ออก สื่อต่างประเทศ โดยเฉพาะ สื่อที่คุมโดยตะวันตก เช่น Asian Wall Street หรือ CNN ก็ใช่ว่าจะยุติธรรมและโปร่งใสทุกเรื่อง จำได้ในยุคฟองสบู่แตก ธนาคารโลกโจมตีธรรมาภิบาลของธุรกิจใน Asia เวลาผ่านไปไม่นาน เกิดปัญหาบริษัท Enron ของสหรัฐอเมริกาขาดธรรมาภิบาล ฉะนั้น ประเทศตะวันตก ก็ใช่ว่าจะสะอาดบริสุทธิ์ หรือดูวิธีการทำงานของ Bush ในปัจจุบัน เรื่องอิรัก Iraq หรือเรื่องโลกร้อน ไม่ได้สร้างความประทับใจให้แก่โลกเลย ปัจจุบันโลกได้เปลี่ยนไปแล้ว ผมมีสิ่งที่จะ Share กันคือ ตะวันตกและตะวันออกมีข้อดีและจุดอ่อนพอกัน ต้องช่วยกันปรับปรุงให้ดีขึ้น
ถึงแม้รุ่นคุณพ่อผมหรือรุ่นผมจะไปเรียนที่ตะวันตก ไม่ได้หมายความว่า จะต้องเชื่อทุกอย่างที่ตะวันตกเสนอแนะ เราจะต้องมีทุนทางปัญญาที่จะแยกแยะให้ออกได้หรือไม่
ทักษิโณมิกส์ก็มีจุดแข็งในหลาย ๆ เรื่อง เมื่อใช้ทฤษฎี 8 K's และ 5 K's ของผมวิเคราะห์ จะเห็นว่าคุณทักษิณได้ใช้ทุน 3 ชนิดในการขับเคลื่อนทักษิโณมิกส์ คือ
Intellectual Capital
ทุนทางปัญญา ใช้ความคิดและวิเคราะห์เป็น
Digital Capital
หรือ ทุนทาง IT คือเป็นคนที่ใช้เทคโนโลยีได้ เร็ว และสร้างมูลค่าเพิ่ม
Creativity Capital
ทุนทางความคิดสร้างสรรค์ คือ คิดนอกกรอบ ( Think outside the box )
แต่ในทฤษฎีของผม คุณทักษิณ ตก 2 ทุน หมายความว่า 2 ทุนดังกล่าวมีความสำคัญอย่างยิ่งคือ
Ethical Capital
ทุนทางคุณธรรมและจริยธรรม ดูได้จาก ปัญหาสนามบินสุวรรณภูมิ
และทุนที่คุณทักษิณตกมาก ๆ คือ Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน คือ จะดีในระยะสั้น แต่สร้างปัญหาระยะยาว
ซึ่งส่วนที่ตกอีก 1 C คือ เขามองประโยชน์ให้แก่ เฉพาะพรรคไทยรักไทย ครอบครัว วงศาคณาญาติ และผู้เกี่ยวข้องไม่กี่ครอบครัว แต่ไม่ได้จริงใจกับประชาชน 63 ล้านคน จึงทำให้ชีวิตของเขามีปัญหา เพราะไม่เอาประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
เนื่องจากคนไทยขาดการคิด จึงทำให้นโยบายประชานิยมของทักษิโณมิกส์ สามารถสร้างความพอใจในระยะสั้นได้ แต่จะสร้างปัญหาในระยะยาว อย่างที่ มรว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพูดไว้คือ ระบบของทักษิณไม่ยั่งยืน ขยายไปเรื่อย ๆ โดยไม่รู้ว่าจะจบอย่างไร และใช้ทรัพยากรคุ้มค่าหรือไม่ ขาดวินัยทางการเงินอย่างมาก และสร้างภาระการคลังให้แก่รัฐบาลที่รับช่วงต่อมาอย่างมากมาย
หากคุณทักษิณไม่พยายาม Lobby สื่อต่างประเทศให้เปรียบเทียบระหว่างระบบของเขากับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผมคงไม่กระโดดออกมาแสดงความเห็นมากมาย เพราะผมคิดว่าหน้าที่ของผมคือ จะทำอะไรก็ตามให้ win/win และให้คนไทยเป็นสังคมเรียนรู้มากขึ้น
อีกประการหนึ่ง การเปรียบเทียบ 2 เรื่อง ระหว่างทักษิโณมิกส์ กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการเปรียบเทียบที่ไม่สมควร เพราะปัญหาของสื่อตะวันตกคือ ไม่เข้าใจวัฒนธรรมและรากเหง้าของคนไทย ขาดความลุ่มลึก ฝรั่งรู้เฉพาะตัวเขา แต่ไม่รู้เรา อย่าไปวิตกฝรั่งเลยครับ เพราะยิ่งนานวัน โลกก็จะเคลื่อนจากตะวันตก ( West ) มาสู่ตะวันออก ( East ) อยู่แล้ว เราจะเห็นความเสื่อมของตะวันตกภายในอนาคตอย่างชัดเจน
ในสัปดาห์นี้ ผมภูมิใจที่ได้ไปเป็นสักขีพยานในการลงนามข้อตกลงของโครงการ APEC ICT Model sister school ระหว่างโรงเรียน Wadong Middle School ของเกาหลีกับโรงเรียนอนุราชประสิทธิ์ และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สมุทรปราการ ประเทศไทย ในการเป็นโรงเรียนพี่ โรงเรียนน้อง โดยใช้ ICT เป็นสื่อกลางในการเรียนรู้ แลกเปลี่ยน แบ่งปันความรู้กันระหว่างนักเรียนและครูทั้งสองประเทศ ซึ่งจะมีการทำ website แลกเปลี่ยนความรู้กัน ในเรื่องภาษา วัฒนธรรม และสมุนไพร การสอนผ่านระบบ Vedio Online รวมถึงมีการแลกเปลี่ยนนักเรียนและครูกันด้วย ซึ่งเกิดมาจากการที่ผมเป็นประธานคณะทำงานด้านพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของ APEC ( Lead Shepherd ของ APEC HRD Working Group )
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สมุทรปราการ ทำงานอย่างต่อเนื่อง คือหลังจากที่ผมได้นำคณะไปดูงานที่ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อเดือนตุลาคม ปีที่แล้ว ก็มีการทำงานกันอย่างหนัก จนกระทั่งประสบความสำเร็จอีกขั้นหนึ่ง นับเป็นนวัตกรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งของโรงเรียนที่เริ่มก้าวไปสู่สากล เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการทูตภาคประชาชนของนักเรียนและครูทั้งสองประเทศ ( People to People Diplomacy : PPD ) และเป็นการใช้ประโยชน์จาก APEC ที่คนไทยจะต้องฉกฉวยโอกาสนี้ ส่วนงานในฐานะนายกสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ มี 2 เรื่อง
เรื่องแรกคือ ได้มอบสูทเบลเซอร์ ( Blazer ) เครื่องหมายสมาคมฯ แด่มจ.ภีศเดช รัชนี และสมาคมนักเรียนเก่า ฯ ได้ขอประทานพระอนุญาตให้ท่านทรงเป็น นายกกิตติมศักดิ์ของสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ท่านเป็นนักเรียนเก่าที่มีความเมตตาต่อโรงเรียนมาก ข้อดีคือโรงเรียนเทพศิรินทร์ทั้ง 7 แห่ง สามารถใช้นักเรียนเก่าให้ช่วยทำงานสร้างประโยชน์ เป็นแบบอย่างให้นักเรียนปัจจุบันมีความภาคภูมิใจด้วย
และเมื่อวันศุกร์ที่ 26 มกราคม ผมได้ไปเป็นประธานเปิดกองไฟและปิดกองไฟของค่ายลูกเสือเทพศิรินทร์และเครือข่ายทั้ง 6 แห่งที่ค่ายลูกเสือศรีราชา มีการแสดงรอบกองไฟของลูกเสือ ซึ่งผมประทับใจในการแสดงละครประวัติศาสตร์สมัยรัชกาลที่ 5 ของลูกเสือเทพศิรินทร์เป็นอย่างมาก
เราได้สูญเสียนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ อดีตประธานสโมสรฟุตบอลราชประชาไปอีกหนึ่งคนคือ พล.ต.ต.หม่อมราชวงศ์เจตจันทร์ ประวิตร ซึ่งได้ช่วยเหลือกีฬาของเทพศิรินทร์อย่างมาก และยังช่วยฝึกนักฟุตบอลทีมชาติไทยจำนวนมากด้วย
ขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวพี่เจตจันทร์ด้วยครับ   จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181  
รัฐบาลขิงแก่ : เริ่มตีตื้น[1]  

ขอชื่นชมในการตัดสินใจที่เด็ดขาดของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ในการปรับเปลี่ยนตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติอย่างรวดเร็ว และแต่งตั้งพลตำรวจเอกเสรีพิศุทธิ์ เตมียาเวส มารักษาการ ทำให้คนไทยทั่วไปมีความรู้สึกว่า ทิศทางของรัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเริ่มชัดเจนขึ้น แทนที่จะถูกมองว่า ตั้งรับอย่างเดียวมาเป็นเวลา 3 -4 เดือน
ผมรู้จัก พลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส มานานกว่า 20 ปี และเมื่อ 3 -4 เดือนที่ผ่านมา ท่านในนามของนายกสมาคมศิษย์เก่าทวีธาภิเษก ได้ริเริ่มโครงการ "เราจะเป็นคนดี" ซึ่งจะจัด Concert เพื่อเยาวชนในการลด ละ เลิกยาเสพติด โดยมีสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ซึ่งผมเป็นนายกสมาคมฯ ร่วมอยู่ด้วย
ในสถานการณ์ปกติ พลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส คงไม่มีโอกาสได้เป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ แต่ในจังหวะและสถานการณ์ปัจจุบัน ต้องยอมรับว่า เหมาะสม เพราะในยุคคุณทักษิณ มีอิทธิพลมากมายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ข่าวดีอีกเรื่องหนึ่งคือ รัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ตั้งคณะกรรมการระดับชาติ แก้ปัญหาเฉพาะเรื่องสุวรรณภูมิเรื่องเดียว เห็นการทำงานที่ไม่โปร่งใสและขาดธรรมาภิบาลของรัฐบาลทักษิณอย่างมากมาย ในยุคของการต่อสู้กัน รัฐบาลขิงแก่ต้องฉกฉวยโอกาสสร้างทุนทางการเมือง มาเก็บไว้ให้มากที่สุด
อีกเรื่องคือ การที่คุณทักษิณเปรียบเทียบเศรษฐกิจพอเพียงกับระบบทักษิโณมิกส์ นับเป็นปัญหาของคุณทักษิณเอง ไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะเปรียบเทียบระหว่างสองเรื่องนี้
ผมอยากให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและรัฐบาล มียุทธศาสตร์และยุทธวิธี ที่สามารถต่อสู้กับคุณทักษิณได้อย่างสมน้ำสมเนื้อ การเป็นรัฐบาลที่มีจริยธรรมและคุณธรรมอย่างเดียว คงไม่พอ
อีก 2 เรื่องที่ผมคิดว่า จะต้องนำมาพิจารณาเป็นกรณีพิเศษคือ เรื่องการร่างรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะจะมีการให้ลงประชามติของประชาชนทั่วไป ผมมีโอกาสได้พบกับประธานสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย คุณณัฐพัชร์ อินทุภูติ ท่านได้แสดงความเป็นห่วงว่า การลงประชามติเป็นแนวคิดทางตะวันตก ซึ่งประชาธิปไตยของเขาค่อนข้างจะใช้เหตุและผลมาก สำหรับประเทศไทยของเรา ประชาชนยังไม่พร้อม
การร่างรัฐธรรมนูญคงจะจำกัดบทบาทของนักการเมืองไม่ให้มีอำนาจเหนือข้าราชการประจำอย่างเด็ดขาด อยากให้นักการเมืองมีบทบาทที่เหมาะสม ในระดับนโยบาย แต่ข้าราชการประจำ มีหน้าที่ทางด้านปฏิบัติการและฐานความรู้ เป็น Check และ Balance ให้ระบบการบริหารราชการเป็นระบบมืออาชีพมากขึ้น
ส่วนบทบาทหน้าที่ของรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ คงจะต้องมีแนวทางที่ใช้เวลาที่เหลืออยู่ประมาณ 9 เดือน ทำในสิ่งที่สังคมคาดหวัง โดยแก้ปัญหาความล้มเหลวของระบบทักษิณให้ได้ ทำเป็นเป้าหมายหลัก อย่าทำทุกเรื่อง และให้คณะรัฐมนตรีมีเป้าหมายที่ไปในทิศทางเดียวกัน เช่น
-
ระบบการอนุมัติโครงการใหญ่ ๆ ในยุคคุณทักษิณอยู่ที่นายกรัฐมนตรีคนเดียว ไม่มีการวิเคราะห์ ความเป็นไปได้ของโครงการทางวิชาการ และในยุคก่อนบทบาทสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติก็ไม่สามารถจะตรวจสอบได้
-
การใช้อำนาจทางการเมืองที่ไม่โปร่งใส ขาดธรรมาภิบาล ทำให้มีความเสียหายต่อประเทศอย่างมากมาย
-
ใช้สำนักงบประมาณเพื่อเป้าหมายทางการเมือง ไม่ใช่เป้าหมายเพื่อประชาชนส่วนรวม เพื่อระยะยาวและความยั่งยืน
งานเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ที่จะรายงานก็คือ :
ผมได้ไปทัศนศึกษากับนักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของนักศึกษาที่จะเป็นสังคมการเรียนรู้ โดยไปร่วมเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกับชาวบ้าน ที่บริเวณเขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี
ผมคิดว่าวิธีการเรียนสำคัญกว่าว่า เราเรียนอะไร เพราะเรียนอะไรเป็นการเรียนเพื่อสร้างสังคมการเรียนรู้ตลอดชีวิต การเรียนยุคใหม่จะต้องเน้นความจริง ( Reality ) และนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม บรรยากาศวันนั้นพูดได้ว่า ไม่มีช่องว่างระหว่างนักศึกษาปริญญาโทกับชาวบ้าน
นักศึกษาปริญญาโทหลายคนบอกผมว่า เป็นประสบการณ์ที่มีคุณค่าต่อตัวเขา และได้ทดลองทฤษฎี 4 L's นอกสถานที่ได้อย่างเหมาะสม
วันอาทิตย์นี้ ผมจะปิด course เรื่องภาวะผู้นำที่มหาวิทยาลัย Stamford แต่ในวันเสาร์มีกิจกรรมที่ภูมิใจมากคือ ได้รับเกียรติจากนิสิตปริญญาเอก คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 19 คน ขอให้ผมไปช่วยแสดงความเห็นเรื่อง "HRD สำหรับครู " ซึ่งครูในยุคใหม่หากเก่งเรื่อง HR จะช่วยสังคมได้มาก
หวังว่าการบรรยายของผม จะช่วยให้นิสิตปริญญาเอก จุฬาฯ มีสังคมการเรียนรู้ และมีโลกทัศน์ที่กว้าง มองบริบทให้ออก
สุดท้ายต้องขอขอบคุณโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สมุทรปราการ ที่มอบเข็มประจำโรงเรียนให้ผม และสดุดีถึงการทำงานของผมในฐานะที่ปรึกษาโรงเรียนที่ทำมาเกือบ 4 ปี เรื่องการพัฒนาระบบการเรียนการสอนให้นักเรียนได้มีคุณภาพสูงขึ้น โดยคุณสนิท กุลเจริญ ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนเมื่อวันจันทร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ ในวันทอดผ้าป่าการศึกษาของโรงเรียน เป็นการขอบคุณที่ผมได้ช่วยเหลือด้านการศึกษาแก่โรงเรียนตลอดมา
ผมชอบโรงเรียนนี้ เพราะทำงานจริง อย่างต่อเนื่อง และนักเรียนได้ประโยชน์ ซึ่งผมเรียกโครงการที่โรงเรียนนี้ว่า Innovation for Education

   จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181
บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ "เทพศิรินทร์ปทุมธานี : ตัวอย่างของการาสมานฉันทร์"

เทพศิรินทร์ปทุมธานี : ตัวอย่างของการสมานฉันท์[1]

 

 ระยะนี้การเมืองเป็นที่น่าสนใจ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) และรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เริ่มเปิดแนวรุกมากขึ้น หากไม่ทำอะไรเลย ก็จะมีผลเสียต่อรัฐบาล รัฐบาลและคมช. มีบทบาทที่สำคัญและจำเป็นในระยะนี้ เพียงแต่นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีจะต้องเดินในทิศทางเดียวกันมากขึ้น
โฆษกรัฐบาลต้องมียุทธวิธี ในการให้ข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์แก่ประชาชนมากขึ้น และน่าจะตั้งผู้ที่มีประสบการณ์ในการให้ข่าวกับผู้สื่อข่าวต่างประเทศด้วย อย่างไรก็ตาม ผมขอให้กำลังใจ
ขณะเดียวกันต้องเริ่มมองจุดอ่อนของรัฐบาลและคมช.มากขึ้นและลดจุดอ่อนนั้น เช่น เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เรื่องการแก้ปัญหาของสนามบินสุวรรณภูมิ น่าจะเป็นปัจจัยบวกให้รัฐบาลและคมช. โยงไปถึงความไม่โปร่งใสของระบอบทักษิณ แต่การให้ข่าวที่สับสน เช่นเรื่องจะซ่อมสนามบินอย่างไร และเรื่องการเปิดใช้สนามบินดอนเมืองจะเป็นอย่างไร น่าจะมีตัวแทนของรัฐบาลให้ข้อมูลที่ชัดเจน ในเวลานี้ต้องยอมรับว่า ยังไม่ค่อยจะชัดเจนเท่าที่ควร ควรจะรีบจัดการให้ได้ทันท่วงที และพูดไปในแนวเดียวกันมากขึ้น โดยเฉพาะให้ความมั่นใจประชาชนและรายการข่าวต่างประเทศ
เรื่องพลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ยังเป็นภาพที่ดีอยู่ แต่คงต้องขอร้องให้ตั้งโฆษก 1 คน ที่มองอะไร win/win แทนที่ท่านจะพูดในลักษณะผมชนะ คุณแพ้ หรือคุณชนะ ผมแพ้ ผมเชื่อว่าความตั้งใจของพลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์มีมากมาย และบริสุทธิ์ เมื่อคืนวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ผมและนายกสมาคมนักเรียนเก่าและศิษย์เก่าอีก 11 โรงเรียน ได้ไปแสดงความยินดีต่อท่านที่สมาคมศิษย์เก่าทวีธาภิเษก จากที่ได้คุยกับท่านกว่า 2 ชั่วโมง ได้ทราบว่าความตั้งใจ ความมุ่งมั่นสูงในการพัฒนาคนในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ในเรื่องการพัฒนาคน ผมอยากเป็นแนวร่วมช่วยให้คนในสำนักงานตำรวจแห่งชาติเริ่มปรับพฤติกรรมให้เป็นที่พึ่งของประชาชนจริงๆ ท่านคงต้องสร้างความมั่นใจให้แก่ตำรวจทุกกลุ่ม โดยไม่มีการแบ่งแยก และตั้งโฆษกซึ่งเป็นที่ยอมรับพูดแทนท่านบ้าง วัฒนธรรมองค์กรของตำรวจคงจะดีขึ้น
สัปดาห์นี้ ผมที่ได้ไปเป็นประธานพิธีทอดผ้าป่าเพื่อการศึกษา และร่วมงานน้ำชาเพื่อการศึกษาของศาสนาอิสลาม ที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ปทุมธานี โรงเรียนในความอนุเคราะห์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โครงการพระราชดำริ "ด้วยรักและห่วงใย"
เป็นตัวอย่างที่ดีของการอยู่ร่วมกันระหว่างนักเรียนพุทธกับอิสลาม พวกเขาคิดว่าเป็นคนไทยเหมือนกัน เป็นเพื่อนกัน ไม่มีการแบ่งแยกศาสนา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีอะไรก็พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน โดยผู้ปกครองทั้งสองศาสนาได้ร่วมกันทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
มีการดื่มน้ำชาหาทุนของผู้ปกครองมุสลิม ผู้ปกครองชาวพุทธก็ได้ร่วมกิจกรรมด้วย นับเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับความสมานฉันท์ระหว่างพุทธกับอิสลาม หลังจากมีพิธีทางศาสนาพุทธในช่วงเช้า
ลักษณะนี้น่าจะใช้ให้เป็นประโยชน์ในการสร้างความสมานฉันท์ในภาคใต้ได้
เห็นชัดว่า ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ไม่ได้เป็นอุปสรรคในการอยู่ร่วมกันแต่อย่างใด
ผมภูมิใจที่เทพศิรินทร์มีโรงเรียนลักษณะนี้ และคนไทยควรไปเรียนรู้ และควรจะนำครู นักเรียนมุสลิมจากภาคใต้มาดูงานเป็นตัวอย่าง
เรื่องภาคใต้ ต้องยอมรับว่า ปัญหาคงไม่ง่ายแล้ว ถึงแม้ว่ารัฐบาลชุดนี้จะเข้ามาสร้างความสมานฉันท์ แต่ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลระบอบทักษิณเข้าไปมีอิทธิพลในภาคใต้ โดยขาดความเข้าใจ เข้าถึงและพัฒนา
และมองปัญหาในมิติเดียว หากจะแนะนำว่า ถ้าหากคุณทักษิณมองทฤษฎีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ ภูมิสังคม จะช่วยได้มาก ผมคิดว่าการเป็นผู้นำจะต้องละเอียดอ่อนกับสิ่งที่วัดไม่ได้ ( Intangible ) คือวัฒนธรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากประวัติศาสตร์และศาสนา
สัปดาห์หน้าผมจะไปเปิดโครงการพัฒนาผู้นำ C8 วัฒนธรรมจังหวัดรุ่น 4 ซึ่งในยุคคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ได้ทำมาแล้ว 3 รุ่น และในยุคปลัดวีระ โรจน์พจนรัตน์ ได้จัดกันที่ภาคใต้คือ สุราษฎร์ธานี ซึ่งนับว่าได้ทำงานอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ผมได้ไปสอนปริญญาเอกที่คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ซึ่งมีอาจารย์ ผศ.ดร.ณัฐนิภา คุปรัตน์ ผศ.ดร.ปองสิน วิเศษศิริ นิสิตปริญญาเอก 19 คน ได้สนุกกับบรรยากาศการเรียนรู้แบบ 4 L's มีนักธุรกิจหลายคนมาเรียน ทำให้ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันดี
ท่านสามารถติดตามได้ใน Blog ของผม www.chiraacademy.com มีนิสิตคนหนึ่งบอกว่า ได้ 3 เรื่องที่น่าสนใจคือ
- Concept
- System
- Paradigm
การที่ผมมอง HR เป็น Concept ใช้ 4L's และ 2 R's หรือ 8 K's จะช่วยได้มาก ซึ่งคนไทยก็มี Concept ของตัวเองได้
สุดท้ายคือ การประกาศความร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัย Stamford กับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ โดยเปิดสอนปริญญาโทหลักสูตรการบริหารธุรกิจด้านนวัตกรรม เช่น
-
เน้นเรื่องการจัดการทรัพยากรมนุษย์เพื่อนวัตกรรม
-
การเป็นผู้ประกอบการที่เน้นนวัตกรรม
-
เศรษฐศาสตร์จุลภาค มหภาค เพื่อมองภาพรวม เป็นต้น
ปัจจุบันนวัตกรรมมีความสำคัญอย่างมาก ซึ่งปริญญาโทจะช่วยให้เกิดการจัดการนวัตกรรมอย่างเหมาะสม มีคุณภาพ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตนเอง และประเทศชาติ    จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ สร้างภาวะผู้นำที่กระทรวงวัฒนธรรม
สร้างภาวะผู้นำที่กระทรวงวัฒนธรรม[1] ผมมาจัดโครงการพัฒนาผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพของกระทรวงวัฒนธรรมรุ่นที่ 4 จำนวน 43 คน รวมทั้งหมด 8 วัน อยู่ที่ไดมอนด์พลาซ่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้จัดมาอย่างต่อเนื่องแล้ว 3 รุ่น
ผมโชคดีที่รู้จักคุณหญิงที่เก่ง เปี่ยมไปด้วยความมุ่งมั่นและมีคุณธรรม 2 ท่านที่กระทรวง ท่านแรกคือคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ อดีตปลัดกระทรวงวัฒนธรรม อีกท่านคือรัฐมนตรีคุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ ต้องยอมรับว่า งานในการพัฒนาผู้นำระดับ C7 และ C8 ได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากคุณหญิงเหล็กทั้งสองท่าน คุณหญิงทิพาวดี ริเริ่ม และคุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ มาทำอย่างต่อเนื่อง

ปัจจุบัน ผู้นำในกระทรวงอื่นๆ ให้ความสนใจเป็นรูปธรรมมากขึ้น เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ความสำเร็จที่ได้รับในการพัฒนารุ่น 1-3 มีหลายเรื่อง แต่เรื่องที่สำคัญอันหนึ่ง ผมและคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ได้เขียนหนังสือ "2 พลังความคิด ชีวิตและงาน" ได้พัฒนาแนวคิด 8 H และนำมาตีพิมพ์เป็นหนังสือ
- Heritage มรดก คือ รากเหง้า
- Head หัว คือ มีปัญญา
- Heart ใจ คือ มีคุณธรรมจริยธรรม
- Hand มือ คือ ต้องทำ
- Happiness คือ ความสุข
- Harmony คือ ความสมานฉันท์
- Health คือ สุขภาพ
- Home คือ บ้าน ครอบครัว

ปัจจุบันในวงการ HR หลายแห่งนำไปใช้ได้ดีอย่างกว้างขวาง เช่น ผมเน้นเรื่อง Health (สุขภาพ) และเน้นเรื่อง Heritage คือรากเหง้าตัวเองและของประเทศ
คุณหญิงไขศรี ท่านมาเปิดงานไม่ได้ แต่ได้กรุณาออกรายการถ่าย VCD ได้นำมาเปิดให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับฟังถึงนโยบายของท่านในพิธีเปิด

ท่านเป็นอีกคนหนึ่งที่สนใจเรื่อง ทรัพยากรมนุษย์ น่าสนใจที่ผู้นำระดับรัฐมนตรีเอาจริงกับเรื่องคน มีความเชื่อ มีความศรัทธาในคุณค่าทรัพยากรมนุษย์ ทุกอย่างจะไปสู่ความสำเร็จ ท่านบอกผู้เข้าร่วมประชุมว่า ในยุคของท่านจะพัฒนาข้าราชการในกระทรวงอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้จะเป็นรัฐบาลชั่วคราว ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมประทับใจมาก ท่านจะพัฒนาข้าราชการ C7 อีก 500 คน โดยเน้นว่า วัฒนธรรมจังหวัดจำเป็นจะต้องมี
- Knowledge (ความรู้)
- เป็นสังคมการเรียนรู้
- เน้นเศรษฐกิจพอเพียง
- มีความเข้าใจเรื่องการบริหารแบบใหม่
- เน้นสร้างเรื่องคุณธรรมจริยธรรม ภาวะผู้นำ

ผมเขียนบทความนี้ในบรรยากาศภาคใต้ ได้เห็นว่าภาคใต้ของเรา ในวันนี้กำลังมีปัญหาความแตกแยก ความขัดแย้งทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะ 3 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งบรรดาวัฒนธรรมจังหวัดและข้าราชการจากยะลา ปัตตานี นราธิวาส ก็มาร่วมด้วย ผมรู้สึกเห็นใจข้าราชการเหล่านี้ ที่ต้องทำงานท่ามกลางความไม่ปลอดภัย แขวนไว้บนเส้นด้าย ขอได้รับการขอบคุณจากผมจากผมด้วยในความเสียสละอย่างสูง

ผมยังได้เล่าให้ท่านรัฐมนตรีฟังเกี่ยวกับ โรงเรียนเทพศิรินทร์ ปทุมธานี ซึ่งท่านจะไปเยี่ยมโรงเรียนเร็ว ๆ นี้ ซึ่งจะเป็นความหวังที่วันหนึ่งจะดึงเอา 3 จังหวัดภาคใต้กลับมาเหมือนเดิม ผมเป็นคนไทยคนหนึ่งที่เป็นห่วงอย่างมาก ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้เห็นปัญหาความรุนแรงมากขึ้น และเข้าขั้นวิกฤติ

ขอถือโอกาสขอบคุณปลัดกระทรวงวัฒนธรรม คุณวีระ โรจน์พจนรัตน์ ที่กรุณาสนับสนุนให้เห็นว่า นโยบายเรื่องการพัฒนาคน จะต้องทำอย่างต่อเนื่อง จะมีการพัฒนาข้าราชการ C7 ในกรมต่างๆ ของกระทรวงวัฒนธรรมต่อไป

การพัฒนาข้าราชการ เป็นเรื่องที่สำคัญ ควรทำให้เกิดผล วัดผลได้ ท่านคงเห็นบรรยากาศในการเรียนของรุ่นที่ 4 โดยใช้ 4 L's เน้นให้ผู้เข้าร่วมสนุกกับการเรียนที่นำเอาไปใช้ ซึ่งยุคใหม่คือ เกี่ยวข้อง (Relate) กับงานที่เขาทำอยู่และปรับพฤติกรรมตัวเอง สำหรับโครงการรุ่นที่ 4 จะมีการสรุปที่จะรายงานปลัดกระทรวงในวันที่ 3 มีนาคม และน่าจะได้โครงการดีๆ ที่จะนำไปใช้สร้างมูลค่าต่อไปให้เป็นรูปธรรม และจะเน้นแนวทางแบบ Innovation

ผมได้อยู่กับบรรดา C8 , C7 อย่างเป็นกันเอง และคิดว่าลูกศิษย์รุ่น 1-5 จำนวน 200 คน คงจะเป็นกลุ่มใหญ่ที่ช่วยสร้างมูลค่าต่อไป คำถามคือ จะประเมินผลและสร้างสังคมการเรียนรู้ และสร้างบรรยากาศในการเรียนให้ต่อเนื่อง และสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างไร

สิ่งที่สำคัญอาจจะทำต่อคือ เน้นการไปพัฒนาระบบโครงสร้างของวัฒนธรรมจังหวัดให้ข้าราชการของกระทรวงมีขวัญกำลังใจ มีศักดิ์ศรี สร้างภาพลักษณ์ (Brand) เรื่องวัฒนธรรมจังหวัด ว่าจะมีการจัดตั้งองค์กรแบบไหน หากเราจัดระบบการบริหารในระดับจังหวัดให้ดีจะช่วยได้มาก เพราะวัฒนธรรมกลายเป็นจุดสำคัญในการสร้าง
- ความสมานฉันท์
- สร้างค่านิยมที่ดีของคนไทย
- สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้
- สร้างทุนทางวัฒนธรรมให้เกิดมูลค่าเพิ่ม
- สร้างวัฒนธรรมให้ต่างประเทศรับรู้
  จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181
 
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ ขอบคุณทุกๆ คน ที่ให้กำลังใจ"

ขอบคุณทุกๆ คน ที่ให้กำลังใจ[1]

 

 ผมเขียนบทความนี้ในบ่ายวันพฤหัสบดี หลังกลับจากการไปพบท่านรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ เพื่อเล่าความจริงทุกเรื่องเกี่ยวกับคดีของผมให้ทราบ ท่านเป็นบุคคลที่เชิญผมมาร่วมงานที่ ITV ซึ่งปกติผมก็ไม่ค่อยได้ตอบรับใครง่ายๆ แต่เห็นว่าเป็นงานชั่วคราวและสำคัญสำหรับประเทศชาติ จึงรับเป็นกรรมการกำกับดูแล และเป็นผู้รักษาการผู้อำนวยการใหญ่ของ TITV ไประยะหนึ่ง
แต่เมื่อวันพุธ ขณะที่รับหน้าที่ได้ไม่ถึง ๒๔ ชั่วโมง ก็มีการตั้งกระทู้ถึงความเหมาะสมของผม ผู้ให้ข้อมูลได้กล่าวพาดพิงถึงผมในทางที่ไม่ถูกต้องคือ พูดว่าผมเป็นบุคคลล้มละลาย และถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ผมจึงขอเรียนให้ทราบว่า ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ผมเพียงถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เพื่อมาเจรจาต่อรองปรับโครงสร้างหนี้สินใหม่ ซึ่งหนี้จำนวน ๘๐๐,๐๐๐ บาท ( แปดแสนบาท) พ่วงดอกเบี้ยด้วย ได้ชำระส่วนหนึ่งไปแล้ว ในวันพิพากษา เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๔๙ ผมได้รับข้อมูลจากทนายของผมว่า ธนาคารทหารไทย จะยกฟ้องหรือขอเลื่อนการพิพากษาไปอีกระยะหนึ่ง
ตามปกติ ผมไว้ใจทนายผู้นี้ แต่ปรากฏว่า ศาลกลับตัดสินพิพากษาพิทักษ์ทรัพย์ของผม ซึ่งทำให้ผมตกใจมากๆ
อย่างไรก็ตาม เมื่อเป็นบุคคลสาธารณะแล้ว ก็ต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จึงขอถอนตัวออกจากตำแหน่งรักษาการผู้อำนวยการใหญ่ของ TITV ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ ๘ นี้เป็นต้นไป
บทเรียนเรื่องนี้ทำให้ผมต้องระมัดระวังมากขึ้นในการเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมือง หรือตำแหน่งที่มีคนจ้องอยู่มากๆ และต้องขอขอบคุณทุกๆ ท่าน ที่ให้กำลังใจผมอย่างมากมาย โดยเฉพาะสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวิทยุหรือโทรทัศน์ ทำให้ผมเห็นว่า ผมยังทำประโยชน์ต่อส่วนรวมได้มาก
ผมจะรักษาความดีไว้ให้มากที่สุด ชีวิตผมตั้งใจทำแต่ความดี และมีจริยธรรมเสมอ บางครั้งอาจจะมีข้อผิดพลาดได้บ้าง แต่ก็ต้องทำตัวให้เป็นประโยชน์ต่อไป
เมื่อวันพุธที่ ๗ มีนาคม ผมมีกิจกรรมที่น่าสนใจ คือ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ จัด learning Forum เรื่อง " The establishment of ACD HRD Center " ที่สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ โดยมีผม พร้อมด้วยคุณวิทวัส ศรีวิหค ทูตประจำกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งดูแลเรื่อง ACD ร่วมแสดงความเห็น และดร.สรจักร เกษมสุวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา ร่วมวิพากษ์และสรุป
ACD (Asia Cooperation Dialogue) ความร่วมมือเอเชีย เป็นความคิดริเริ่มของอดีตนายกฯทักษิณ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพึ่งพาอาศัยกันระหว่างประเทศเอเชียในทุกสาขาความร่วมมือ โดยใช้ประโยชน์จากจุดแข็งและโอกาสร่วมกันของเอเชีย ช่วยลดปัญหาความยากจน และยกระดับความเป็นอยู่ของประชากรในเอเชีย เพิ่มอำนาจต่อรองให้กับประเทศเอเชีย แทนที่จะมาแข่งขันกันเอง ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของเอเชียในตลาดโลก และ ACD เป็นตัวเชื่อมในสิ่งที่ขาดหายไป ( missing link ) ของเอเชีย ที่อาศัยศักยภาพและความเข้มแข็งของเอเชีย โดยต่อยอดหรือเสริมจากกรอบความร่วมมือที่มีอยู่ เพื่อเอเชียจะเป็นหุ้นส่วนที่ดีของภูมิภาคอื่นๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยและเอเชียในยุคโลกาภิวัตน์ ที่เราควรจะต้องดำเนินการต่อเนื่อง เพราะในปัจจุบัน แนวคิดตะวันออกก็สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ ไม่จำเป็นที่ประเทศในเอเชีย จะใช้แนวคิดของตะวันตกเพียงอย่างเดียว
กลไกความร่วมมือภายใต้ ACD แบ่งเป็นสองมิติ ได้แก่ มิติของการหารือ ( dialogue) ที่มีการหารืออย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอในหมู่ผู้วางนโยบายระดับชาติ และมิติโครงการ ( projects) ซึ่งแบ่งออก เป็นสาขาความร่วมมือต่างๆ โดยมีประเทศสมาชิก ACD รับเป็นผู้ขับเคลื่อน (prime mover) ในแต่ละสาขา ซึ่งขณะนี้มี ๑๙ โครงการและมีการจัดกิจกรรม ACD อย่างต่อเนื่อง ทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และภาคประชาชน ความร่วมมือแขนงต่างๆ ในกรอบ ACD เป็นการเสริมและต่อยอด ซึ่งไม่ซ้ำซ้อนกับกรอบเวทีความร่วมมืออื่นที่มีอยู่แล้ว แต่มุ่งเชื่อมโยงสิ่งที่ยังขาดหายไปเข้าด้วยกันให้มีพลังยิ่งขึ้น
ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการสัมมนา ACD Think Tanks Symposium ระหว่างวันที่ ๑๕-๑๗ ธันวาคม ๒๕๔๗ ที่กรุงเทพฯ เพื่อส่งเสริมการสร้างเครือข่ายภาควิชาการของ ACD โดยผู้เข้าร่วมเห็นว่าการสัมมนาดังกล่าวเป็นประโยชน์ และเห็นพ้องให้มีการศึกษาความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาแนวความคิด " ประชาคมพลังงานแห่งเอเชีย " และ " ศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ACD" เป็นที่มาของการจัด Learning Forum ของมูลนิธิในวันนี้
ในสาขาความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (human resources development) นั้นประเทศผู้ขับเคลื่อนคือ เวียดนาม และไทยเป็นประเทศร่วมขับเคลื่อน ซึ่งคุณวิทวัสได้ขอให้ผมช่วยเสนอแนวคิดเรื่องการจัดตั้งศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ACD ( ACD HRD Center ) ด้วยความร่วมมือกับโอมาน จีน อินเดีย ญี่ปุ่น ปากีสถาน ศรีลังกาและคูเวต ซึ่งจะได้นำเสนอในการประชุมรัฐมนตรี ACD ในเดือนมิถุนายนปีนี้
ผมต้องการให้ศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ACD ( ACD HRD Center )
๑. สร้างเอกลักษณ์ในความร่วมมือกันด้านการพัฒนาด้านกำลังคน ( Manpower ) ระหว่างประเทศในเอเชีย เช่น กำลังคนด้านพลังงาน การศึกษา บทบาทของสตรี เป็นต้น
๒. ร่วมกันพัฒนาคุณค่าทางวัฒนธรรมที่หลากหลายของเอเชีย ให้เกิดมูลค่าเพิ่ม
๓. ต้องใช้ประโยชน์จากโลกาภิวัตน์ร่วมกันให้มากที่สุด และลดผลกระทบทางลบให้หมดไปหรือมีน้อยที่สุด ระหว่างประเทศในเอเชีย
๔. พัฒนาเครือข่ายระหว่างสถาบันด้าน HRD ของประเทศในเอเชีย
โดยแต่ละประเทศจะดำเนินบทบาทของตนเองในการเป็นผู้ขับเคลื่อนในสาขาที่แต่ละประเทศมีความชำนาญ เช่น
- ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนในการสร้างกำลังคนด้านการท่องเที่ยว ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ( Biotechnology )
- อินเดีย เป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนในการสร้างกำลังคนด้าน IT
- เวียดนาม เป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนในการสร้างกำลังคนด้านอาชีวะ
- จีน เป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนในการสร้างกำลังคนด้านสิ่งแวดล้อม
- สิงคโปร์ เป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนในการสร้างกำลังคนด้านผู้ประกอบการ
- อื่น ๆ
ศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ACD ( ACD HRD Center) จะมีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือประเทศสมาชิกใน ACD ให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการพัฒนาโครงการต่าง ๆ และสร้างกำลังคนในเอเชียให้มีความชำนาญและมีคุณภาพเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ผมอยากให้ความฝันของผมเป็นความจริง
  จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181
 
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ สร้างภาวะผู้นำที่กระทรวงวัฒนธรรม"
สร้างภาวะผู้นำที่กระทรวงวัฒนธรรม[1]
 

ผมมาจัดโครงการพัฒนาผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพของกระทรวงวัฒนธรรมรุ่นที่ 4 จำนวน 43 คน รวมทั้งหมด 8 วัน อยู่ที่ไดมอนด์พลาซ่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้จัดมาอย่างต่อเนื่องแล้ว 3 รุ่น
ผมโชคดีที่รู้จักคุณหญิงที่เก่ง เปี่ยมไปด้วยความมุ่งมั่นและมีคุณธรรม 2 ท่านที่กระทรวง ท่านแรกคือคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ อดีตปลัดกระทรวงวัฒนธรรม อีกท่านคือรัฐมนตรีคุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ ต้องยอมรับว่า งานในการพัฒนาผู้นำระดับ C7 และ C8 ได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากคุณหญิงเหล็กทั้งสองท่าน คุณหญิงทิพาวดี ริเริ่ม และคุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ มาทำอย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบัน ผู้นำในกระทรวงอื่นๆ ให้ความสนใจเป็นรูปธรรมมากขึ้น เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ความสำเร็จที่ได้รับในการพัฒนารุ่น 1-3 มีหลายเรื่อง แต่เรื่องที่สำคัญอันหนึ่ง ผมและคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ได้เขียนหนังสือ "2 พลังความคิด ชีวิตและงาน" ได้พัฒนาแนวคิด 8 H และนำมาตีพิมพ์เป็นหนังสือ

  • Heritage มรดก คือ รากเหง้า
  • Head หัว คือ มีปัญญา
  • Heart ใจ คือ มีคุณธรรมจริยธรรม
  • Hand มือ คือ ต้องทำ
  • Happiness คือ ความสุข
  • Harmony คือ ความสมานฉันท์
  • Health คือ สุขภาพ
  • Home คือ บ้าน ครอบครัว
     

ปัจจุบันในวงการ HR หลายแห่งนำไปใช้ได้ดีอย่างกว้างขวาง เช่น ผมเน้นเรื่อง Health (สุขภาพ) และเน้นเรื่อง Heritage คือรากเหง้าตัวเองและของประเทศ
คุณหญิงไขศรี ท่านมาเปิดงานไม่ได้ แต่ได้กรุณาออกรายการถ่าย VCD ได้นำมาเปิดให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับฟังถึงนโยบายของท่านในพิธีเปิด
ท่านเป็นอีกคนหนึ่งที่สนใจเรื่อง ทรัพยากรมนุษย์ น่าสนใจที่ผู้นำระดับรัฐมนตรีเอาจริงกับเรื่องคน มีความเชื่อ มีความศรัทธาในคุณค่าทรัพยากรมนุษย์ ทุกอย่างจะไปสู่ความสำเร็จ ท่านบอกผู้เข้าร่วมประชุมว่า ในยุคของท่านจะพัฒนาข้าราชการในกระทรวงอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้จะเป็นรัฐบาลชั่วคราว ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมประทับใจมาก ท่านจะพัฒนาข้าราชการ C7 อีก 500 คน โดยเน้นว่า วัฒนธรรมจังหวัดจำเป็นจะต้องมี

  • Knowledge (ความรู้) 
     
  • เป็นสังคมการเรียนรู้
     
  • เน้นเศรษฐกิจพอเพียง
     
  • มีความเข้าใจเรื่องการบริหารแบบใหม่
     
  • เน้นสร้างเรื่องคุณธรรมจริยธรรม ภาวะผู้นำ
     

ผมเขียนบทความนี้ในบรรยากาศภาคใต้ ได้เห็นว่าภาคใต้ของเรา ในวันนี้กำลังมีปัญหาความแตกแยก ความขัดแย้งทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะ 3 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งบรรดาวัฒนธรรมจังหวัดและข้าราชการจากยะลา ปัตตานี นราธิวาส ก็มาร่วมด้วย ผมรู้สึกเห็นใจข้าราชการเหล่านี้ ที่ต้องทำงานท่ามกลางความไม่ปลอดภัย แขวนไว้บนเส้นด้าย ขอได้รับการขอบคุณจากผมจากผมด้วยในความเสียสละอย่างสูง
ผมยังได้เล่าให้ท่านรัฐมนตรีฟังเกี่ยวกับ โรงเรียนเทพศิรินทร์ ปทุมธานี ซึ่งท่านจะไปเยี่ยมโรงเรียนเร็ว ๆ นี้ ซึ่งจะเป็นความหวังที่วันหนึ่งจะดึงเอา 3 จังหวัดภาคใต้กลับมาเหมือนเดิม ผมเป็นคนไทยคนหนึ่งที่เป็นห่วงอย่างมาก ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้เห็นปัญหาความรุนแรงมากขึ้น และเข้าขั้นวิกฤติ
ขอถือโอกาสขอบคุณปลัดกระทรวงวัฒนธรรม คุณวีระ โรจน์พจนรัตน์ ที่กรุณาสนับสนุนให้เห็นว่า นโยบายเรื่องการพัฒนาคน จะต้องทำอย่างต่อเนื่อง จะมีการพัฒนาข้าราชการ C7 ในกรมต่างๆ ของกระทรวงวัฒนธรรมต่อไป
การพัฒนาข้าราชการ เป็นเรื่องที่สำคัญ ควรทำให้เกิดผล วัดผลได้ ท่านคงเห็นบรรยากาศในการเรียนของรุ่นที่ 4 โดยใช้ 4 L's เน้นให้ผู้เข้าร่วมสนุกกับการเรียนที่นำเอาไปใช้ ซึ่งยุคใหม่คือ เกี่ยวข้อง (Relate) กับงานที่เขาทำอยู่และปรับพฤติกรรมตัวเอง สำหรับโครงการรุ่นที่ 4 จะมีการสรุปที่จะรายงานปลัดกระทรวงในวันที่ 3 มีนาคม และน่าจะได้โครงการดีๆ ที่จะนำไปใช้สร้างมูลค่าต่อไปให้เป็นรูปธรรม และจะเน้นแนวทางแบบ Innovation
ผมได้อยู่กับบรรดา C8 , C7 อย่างเป็นกันเอง และคิดว่าลูกศิษย์รุ่น 1-5 จำนวน 200 คน คงจะเป็นกลุ่มใหญ่ที่ช่วยสร้างมูลค่าต่อไป คำถามคือ จะประเมินผลและสร้างสังคมการเรียนรู้ และสร้างบรรยากาศในการเรียนให้ต่อเนื่อง และสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างไร
สิ่งที่สำคัญอาจจะทำต่อคือ เน้นการไปพัฒนาระบบโครงสร้างของวัฒนธรรมจังหวัดให้ข้าราชการของกระทรวงมีขวัญกำลังใจ มีศักดิ์ศรี สร้างภาพลักษณ์ (Brand) เรื่องวัฒนธรรมจังหวัด ว่าจะมีการจัดตั้งองค์กรแบบไหน หากเราจัดระบบการบริหารในระดับจังหวัดให้ดีจะช่วยได้มาก เพราะวัฒนธรรมกลายเป็นจุดสำคัญในการสร้าง
- ความสมานฉันท์
- สร้างค่านิยมที่ดีของคนไทย
- สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้
- สร้างทุนทางวัฒนธรรมให้เกิดมูลค่าเพิ่ม
- สร้างวัฒนธรรมให้ต่างประเทศรับรู้

 

 
จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181
สุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์

ผมก็เป็นอีกคนหนึ่ง ที่เสียดายที่คนดีๆ อย่างอาจารย์จิระ  ต้องถูกหางเลขการเมืองเข้าให้  หลังจากเข้ามารักษาการผู้อำนวยการสถานี TITV เพียงวันเดียว  ในฐานะของบุคคลที่เข้าทำงานในตำแหน่งที่เป็นบุคคลสาธารณะ  ซึ่งย่อมต้องพร้อมถูกวิพากษ์ วิจารณ์ได้ แต่ผมต้องขอวิจารณ์การใช้กลยุทธทุกอย่างในการต่อสู้ทางการเมืองในลักษณะทำลายล้างกัน  วัฒนธรรมการเมืองของประเทศไทยในลักษณะนี้เป็นเรื่องอันตราย  ความแตกต่างในทางความคิดควรดำเนินการไปบนหลักการที่จะอภิวัฒน์สังคมให้ดีขึ้น เวลานี้เวลาเรามีความขัดแย้งเกิดขึ้น  เราจะเห็นแต่ละฝ่ายต่างงัดเอาทุกวิธีโดยไม่คำนึงถึงคุณธรรมมาใช้ เพื่อเอาชนะความขัดแย้งนั้นๆ วัฒนธรรมเหล่านี้จะทำให้ความสามารถในการจัดการความขัดแย้งของสังคมไทยลดลง และมีผลทำให้คนดี  ทรัพยากรดีๆของประเทศไม่อยากเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง หรือการทำงานส่วนรวม เนื่องจากต้องเกี่ยวพันกับความขัดแย้งของกลุ่มประโยชน์ต่างๆในสังคม ผมขอสะท้อนสิ่งเหล่านี้ให้สมาชิกใน Block ได้พิจารณาด้วย    ผมเห็นว่าความสามารถในการแก้ไขปัญหาใหญ่ๆในสังคมไทยกำลังตกต่ำลงอย่างมาก

   ในฐานะเป็นลูกศิษย์อาจารย์คนหนึ่ง  ต้องขอแสดงความเห็นใจต่ออาจารย์  อยากให้อาจารย์มีกำลังใจที่ดี  และใช้ความสามารถที่มีมากมายให้กับสังคมต่อไป   หากคนดีๆ หนีปัญหากันไปหมด  ปัญหาของประเทศจะเป็นอย่างไร    

ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ คนไทยทั้งประเทศต้องช่วยแก้ไขปัญหาภาคใต้"
คนไทยทั้งประเทศต้องช่วยแก้ไขปัญหาภาคใต้ [1]ชีวิตผมกลับสู่ปกติ ทำงานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของชาติต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งและมีสติ รวบรวมพลังที่จะแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้ลุล่วงไปได้ โดยมีความสุขที่ได้รับจากทุกฝ่ายที่ส่งกำลังใจมาให้
วันนี้จึงมีหลายเรื่องที่จะเล่าให้ฟัง
เรื่องแรกคือการไปสอน MBA มหาวิทยาลัยแสตมฟอร์ด ที่ campus หัวหิน เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผมเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยนี้มากว่า 10 ปีแล้ว จะทุ่มเทให้มหาวิทยาลัยนี้ก้าวไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง การมีมหาวิทยาลัยต่างจังหวัด ได้วิทยากรที่มีประสบการณ์และโลกทัศน์กว้าง ไปร่วมแสดงความเห็น เป็นจุดที่น่าสนใจมาก ในทางกลับกัน ทำให้วิทยากรเหล่านั้นรวมทั้งตัวผมได้เรียนรู้ความหลากหลายของปัญหา และศักยภาพต่าง ๆ ของภูมิภาค เช่น ที่หัวหิน เป็นต้น
วิธีการสอนของผม จะกระตุ้นให้ลูกศิษย์สนใจ เรื่องการมอง Vision ของหัวหินหรือจังหวัดใกล้เคียงว่า จะต้องทำอะไรที่สร้างมูลค่าเพิ่มในอนาคตต่อไป เช่น เอาการท่องเที่ยวมาบวกกับการวิจัย การศึกษาระดับอุดมศึกษา การกีฬา และเรื่องสุขภาพอนามัย มีชาวต่างประเทศที่มีคุณภาพมาอยู่ที่หัวหินมากมาย โอกาสที่จะกำหนดวิสัยทัศน์ให้ชัดเจนว่าจะไปทางไหน โดยให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง มีมากขึ้น
สัปดาห์นี้ ผมเปิดโครงการพัฒนาผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพของกระทรวงวัฒนธรรม รุ่นที่ 5 ตั้งแต่วันพุธที่ 14 มีนาคม จนถึง 24 มีนาคม 2550 ที่โรงแรมเอสดี อเวนิว กรุงเทพฯ มีวิทยากรที่น่าสนใจหลายท่าน มาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ อาทิ เช่น ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ มาให้ความรู้เรื่อง Strategy map ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ พูดเรื่อง เศรษฐกิจ สังคม ผลกระทบต่อกระทรวงวัฒนธรรม เป็นต้น และจะไปดูงานกันที่เครือสหพัฒน์ ชลบุรี เยี่ยมชมปราสาทไม้สัจธรรม ที่บางละมุงด้วย
ในรุ่นนี้มีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่จากกรมศิลปากร มาร่วมกับวัฒนธรรมจังหวัดหลายคน ทำให้เห็นศักยภาพของกระทรวงวัฒนธรรมที่จะทำอะไรหลายอย่าง โดยเฉพาะรัฐมนตรี คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ และปลัดวีระ โรจน์พจนรัตน์ เห็นความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพของผู้บริหารในกระทรวงอย่างต่อเนื่อง เมื่อจบรุ่นนี้แล้ว ผมก็จะมีลูกศิษย์ทั่วประเทศอีก 210 คน การทำงานของกระทรวงนับว่า ทำได้อย่างต่อเนื่อง ปลัดคนใหม่ได้สืบสานเรื่องการพัฒนาคนต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง ในฐานะที่ท่านมาจากกรมศิลปากร ทำให้เห็นจุดแข็งของเรื่องศิลปะ วัฒนธรรม เน้นความเป็นไทยและภาษาไทยมากขึ้น เห็นได้ชัดว่า การทำงานในอนาคตของกระทรวงวัฒนธรรม จะต้อง
- ทำนุ บำรุงวัฒนธรรมต่อไป
- ต้องเอาทุนทางวัฒนธรรมมาสร้างมูลค่า
- กำหนดค่านิยมของคนไทยให้ถูกต้อง
เช่น การรักษาความเป็นไทยไว้ โดยรองรับความเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์ด้วย ซึ่งค่านิยมดีๆ เช่น คุณธรรมจริยธรรม เป็นจุดที่สำคัญ
ในวันศุกร์ที่ 16 มีนาคม ผมและมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ได้ไปเปิดชุมชนการเรียนรู้ ในเรื่องการสร้างสังคมการเรียนรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง กับระบบประชาธิปไตย ร่วมกับกลุ่มอนุรักษ์ต้นน้ำมูลบ้านบุไทร โฮมสเตย์ ที่บ้านบุไทร อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา
ในชีวิตผม มีความฝันอยู่ว่า จะสร้างให้คนไทยชอบ สนุกและมีความสุขกับการเรียนรู้ การเรียนรู้ในยุคใหม่ จะไม่เน้นการเรียนอย่างเป็นทางการ
มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ นอกจากจะทำงานระหว่างประเทศแล้ว ยังทำงานระดับชุมชนด้วย ในวันนั้น ผมเน้น
- เศรษฐกิจพอเพียง
- การมีส่วนร่วมของประชาชน
- การมีจิตสำนึกประชาธิปไตย
- การสร้างสังคมการเรียนรู้
- การใช้วิถีชีวิตแบบไทย
- การรักษาวัฒนธรรมไทยให้สอดคล้องกับการเกษตร
ช่วงนี้ หากไม่พูดเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมและภัยธรรมชาติ คงไม่ได้ หลายวันที่ผ่านมา มีข่าวที่ทำให้คนไทยหลายคนเริ่มมองถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนมากขึ้น จุดแข็งของการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเน้นตลอดเวลาคือ การเจริญเติบโตต้องไปพร้อมกับความสมดุลของธรรมชาติ
ก่อนอื่น การพัฒนาด้านเศรษฐกิจหรือธุรกิจยังจำเป็นอยู่ แต่จิตวิญญาณของผู้ประกอบการและรัฐบาลจะทำให้การพัฒนายั่งยืน
ปัญหาเรื่องแรกคือ ภาวะโลกร้อน (Global Warming) ความร้อนในปีนี้ ทำให้เกิดไฟป่าในภาคเหนือ ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อน จึงจำเป็นที่จะต้องให้ความรู้แก่ประชาชนถึงเรื่องการระมัดระวังไฟป่า ซึ่งสามารถควบคุมได้ โดยเกษตรกรต้องไม่เผาป่า ต้องระวังไม่ให้ไฟป่าเกิดขึ้น ผมรู้สึกเห็นใจประชาชนในภาคเหนือที่ประสบปัญหาควันไฟมาหลายวันแล้ว ในอนาคต หากเรายังไม่ระวัง ปัญหาเหล่านี้จะทวีความรุนแรงมากขึ้น
เรื่องที่สองคือ ปัญหามลพิษทางอากาศที่มาบตาพุด ระยอง ซึ่งเป็นนิคมอุตสาหกรรม มีอุตสาหกรรมมากมาย ที่ปล่อยอากาศเสีย ถึงแม้จะบำบัดจนได้มาตรฐานแล้ว แต่ก็มีปริมาณมาก และหลายโรงงาน ยังเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าส่วนรวม จึงก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณนั้นและใกล้เคียง เป็นปัญหาที่ทุกฝ่ายจะต้องตระหนักมากขึ้นและหาทางป้องกันต่อไป
ปัญหาสุดท้ายคือ ปัญหาน้ำเสีย ที่จังหวัดอ่างทอง เป็นปัญหาสำคัญคือ จิตสำนึกของผู้ประกอบการที่ได้แสวงหาผลประโยชน์ระยะสั้น เพื่อสร้างกำไร แต่สร้างปัญหาระยะยาว
สุดท้าย ข่าวภาคใต้ในทุกวันนี้ มีความรุนแรงมากขึ้นทุกวัน ผมคิดว่า คนไทยทั้ง 64 ล้านคน จะต้องผนึกกำลังกัน ที่จะแก้ไขอย่างไร อย่าไปมองเพียงว่า ภาคใต้เป็นปัญหาของภูมิศาสตร์ คือเป็นจุดเล็ก ๆ ต้องมองว่าเป็นปัญหาระดับชาติ ซึ่งหลังจากมีข่าวการฆ่าสังหารผู้โดยสารในรถตู้โดยสารสายเบตง-หาดใหญ่ 8 คนอย่างโหดร้าย บางคนยังเป็นเด็กนักเรียน ทำให้คนไทยหลายภาคออกมาแสดงจุดยืนว่า ทนไม่ไหวแล้ว ถ้าคนไทยมองปัญหาภาคใต้เป็นปัญหาของคนไทยทั้ง 64 ล้านคน ผมยังมีความหวัง จึงขอให้คนไทยทุกหมู่เหล่าลุกขึ้นมาแสดงจุดยืนร่วมกัน
  จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181
ยบ "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ - ปัญหาเศรษฐกิจไทยปี 2007 กับ ทรัพยากรมนุษย์
ปัญหาเศรษฐกิจไทยปี 2007 กับทรัพยากรมนุษย์[1]
 

ใน 7 วันที่ผ่านมา มีเหตุการณ์และข่าวต่างๆ มากมายมากระทบคนไทย คนไทยต้องคิดเป็น วิเคราะห์เป็น จึงจะอยู่รอดในยุคปัจจุบัน ที่นับว่าเป็นยุคที่ข่าวสารเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ๆ

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผมไปสอน MBA ที่มหาวิทยาลัย Stamford ได้นำบทความเมื่อสัปดาห์ที่แล้วให้นักเรียนนำไปวิเคราะห์ การวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ น่าจะเป็นจุดสนใจได้ดี โดยเฉพาะเรื่องทรัพยากรมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมและภัยธรรมชาติ ซึ่งอาจจะดูว่าวิกฤติ แต่คนส่วนมากยังไม่เข้าใจ

เช่น ในอเมริกา ผลการสำรวจความสนใจของคนอเมริกัน ยังให้ความสำคัญเรื่องโลกร้อนอยู่ในลำดับท้ายๆ เพราะคิดว่าไม่กระทบต่อเขาโดยตรง หากมีการสำรวจในประเทศไทยบ้างก็คงจะดี

ผมทำงานเรื่องทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่อง ได้รับประสบการณ์ที่จะแบ่งปันท่านผู้อ่านเช่นเคย

เรื่องแรก สมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดกิจกรรมประจำปี เรียกว่า ชื่นชุมนุม ที่สนามฟุตบอลของโรงเรียน ปรากฏว่า นักเรียนเก่าทุกรุ่น มากันกว่า 1,500 คน เพื่อพบปะสังสรรค์และเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เฉลิมพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา โดยมีผู้ใหญ่ที่เป็นนักเรียนเก่าของโรงเรียนมาเป็นเกียรติ ๓ ท่าน คือ

1. มจ.ภีศเดช รัชนี

2. พลอากาศตรีกำธน สินธวานนท์ องคมนตรี

3. พลเรือเอกสถิรพันธุ์ เกยานนท์ ผู้บัญชาการทหารเรือ

ยังความภาคภูมิใจให้แก่นักเรียนเทพศิรินทร์ปัจจุบัน ซึ่งมีทั้งหมด 7 แห่งแล้ว ในยุคที่ผมเป็นนายกสมาคมฯ จะขยายงานทางวิชาการต่อไป เพราะการสร้างเครือข่ายเป็นจุดสำคัญ

ผมยังมีโอกาสได้ไปเป็นองค์ปาฐก ให้กลุ่ม SME ของธนาคารกสิกรไทย ในวันพุธที่ 21 มีนาคม ที่โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค ในงานสัมมนา "ถอดรหัส จัดทัพ ปรับกลยุทธ์ธุรกิจ 2007" ในเรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียงกับการดำเนินธุรกิจ" ว่า

SME ควรมองอนาคตว่า จะเกิดปัญหา ที่ต้องระมัดระวัง เพราะในยุคโลกาภิวัตน์ และปัญหาเศรษฐกิจ สิ่งต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงเร็ว ไม่สามารถคาดการณ์ได้ จึงจำเป็นต้องใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาช่วยในการดำเนินธุรกิจ คือ

1. ต้องพอประมาณ เดินสายกลาง ไม่ทำอะไรเกินตัว และไม่ทำอะไรน้อยเกินไป

2. ใช้เหตุใช้ผล มีความคิดเชิงวิทยาศาสตร์

3. มีภูมิคุ้มกัน ระมัดระวัง และบริหารความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น

ภายใต้เงื่อนไขที่จะต้องเป็นคนใฝ่รู้ มีสังคมการเรียนรู้ และมีคุณธรรม จริยธรรม

เพื่อไปสู่เป้าหมายคือ ความสุขและความมีสมดุลในการดำเนินชีวิตและดำเนินธุรกิจ ให้ธุรกิจสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน

แต่ที่น่าสนใจ คือผู้ประกอบการหลายคน นอกจากเห็นความสำคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว เริ่มเห็นความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์กับ SME ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญต่อไป ธนาคารต้องไม่เพียงแต่ให้สินเชื่อเท่านั้น ควรจะสนับสนุนข่าวสารทางด้านวิชาการด้วย

นอกจากนั้นในวันเดียวกัน ผมได้ไปบรรยายให้ชมรมบริหารบุคคลนครปฐม มีผู้ร่วมงานกว่า 60 คน ได้พูดคุยกันถึงปัญหาของวิกฤติเศรษฐกิจกระทบทรัพยากรมนุษย์ที่เกิดขึ้นในปี 2007 อย่างน่าสนใจ เช่นเรื่อง

- การเลิกจ้าง
- ปัญหาการแข่งขันกับจีน
- ปัญหาว่าจะพัฒนาฝีมือแรงงานและความสามารถในการจัดการอย่างไร และผมได้แนะนำให้ผู้ที่ทำงานด้าน HR ว่า
- จะต้องดูแลเป้าหมายของธุรกิจด้วย เป็นนักยุทธศาสตร์
- เป็น partner กับนายจ้าง เถ้าแก่ ฝ่ายการเงิน ฝ่ายการตลาด และฝ่ายอื่น ๆ ด้วย
- ต้องรู้กว้าง ไม่ใช่รู้เฉพาะเรื่อง และต้องเร่งให้เกิดปัญญาในองค์กร
- แรงงานสัมพันธ์ยุคใหม่ ต้องสร้างทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้ เป็นต้น

ส่วนเมื่อวันอังคารที่ 20 มีนาคม ผมได้ไปบรรยายให้ทหารเรือกว่า 300 คนฟัง เรื่อง ทรัพยากรมนุษย์กับการบริหารกองทัพเรือ เป็นเรื่องสำคัญ เช่น
- สร้างให้กองทัพเรือ เป็นองค์กรการเรียนรู้
- อย่าใช้การบริหารแบบ command - control ทุกเรื่อง
- อย่าใช้ระบบอุปถัมภ์ ในการเลื่อนตำแหน่ง

สุดท้าย ระหว่างที่ผมเขียนต้นฉบับ ได้พากระทรวงวัฒนธรรมกว่า 50 คน ไปดูงานที่โรงงานของบริษัทไทยเพรสซิเดนท์ฟูดส์ ที่ศรีราชา ซึ่งผลิตมาม่า ได้แลกเปลี่ยนความเห็นกันระหว่างเอกชนและราชการ ฟังมุมมองของเอกชนที่มีต่อกระทรวงวัฒนธรรม ที่กระทรวงจะได้นำประสบการณ์ที่ได้รับ มาทำประโยชน์ให้กับประเทศ พร้อมทั้งจะต้องเร่งสร้างภาพลักษณ์ของกระทรวงต่อไป และชมปราสาทสัจธรรม ที่บางละมุง ศึกษาแนวคิดในการก่อสร้างปราสาทที่ทำด้วยไม้ โดยเอกชนคที่เป็นเจ้าของเมืองโบราณ สมุทรปราการ

ผมภูมิใจมาก ในงานที่ผมทำ ซึ่งจะต้องทำต่อไปอย่างต่อเนื่อง

 

 จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181
 
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ - ไทย+อินเดีย ผนึกกำลังสร้างทรัพยากรมนุษย์"
ไทย + อินเดีย ผนึกกำลังสร้างทรัพยากรมนุษย์ (บทเรียนจากความจริง กับ ดร.จีระ )[1]
 
ท่ามกลางอากาศร้อนทั้งในประเทศและต่างประทศต้องรับว่าใน 7 วันนี้ก็มีข่าวดี ๆ ออกมาหลายเรื่อง

เรื่องแรกก็คือ ความตึงเครียดของโลกระหว่างอิหร่านกับอังกฤษ น่าจะมีท่าทีที่อ่อนลง การ ทูตคงเริ่มมีบทบาทสูงขึ้น ผมเองก็ภาวนาให้สถานการณ์ในตะวันออกกลางมีสันติภาพขึ้น และ พยายามหาทางออกร่วมกัน การมีท่าทีให้เกิดสันติภาพเป็นจุดที่น่าสนใจ คงจะดูกันต่อไปว่า สัปดาห์นี้ จะมีการปล่อยตัวทหารเรืออังกฤษทั้ง 15 คนหรือไม่

ส่วนในระดับประเทศ การที่นายกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ยืนยันว่าจะมีการเลือกตั้งแน่ ๆ ใน เดือนธันวาคมนั้น ก็ลดแรงกดดันไปได้ระดับหนึ่ง ยิ่งไปกว่านั้นก็ต้องยอมรับว่า การมีจุดยืนว่าไม่ ประกาศภาวะฉุกเฉิน เป็นการแสดงความรับผิดชอบและมองเป้าหมายคืนอำนาจให้ประชาชนได้ดี การประท้วงของทุก ๆ ฝ่ายก็คงจะไม่น่ากลัวอะไร เพราะเป็นเรื่องการต่อสู้อำนาจเก่าที่มีคดี มากมายในอำนาจใหม่

รัฐบาลชุดนี้ต้องอดทนให้มาก ส่วนหลายฝ่ายที่โจมตีรัฐบาลเรื่อง FTA ระหว่างไทยกับ ญี่ปุ่น แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลชุดนี้ อยู่ในโลกแห่งความเป็นจริงคือ การค้าเสรีก็ต้องเดินหน้าต่อไป แต่ก็ดูแลผู้เสียเปรียบให้ดี เพราะถ้าประเทศไทยไม่เซ็นประเทศอื่นก็จะฉกฉวยโอกาส เป็นการแสดง ให้เห็นว่าประเทศไทยไม่ได้ขัดข้องเรื่องระบบเศรษฐกิจเสรี

ผมพูดเสมอว่าการต่อสู้ในยุคโลกาภิวัตน์นั้น คุณภาพทรัพยากรมนุษย์ของคนไทยเป็น เรื่องสำคัญ รัฐบาลคุณสุรยุทธ์ นอกจากจะจัดการปฏิรูปการเมืองแล้ว หลังจัดการระบบทักษิณ แล้ว ควรออกกฎหมายเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับปฏิรูปการศึกษาของเราเป็นรูปธรรม และเน้นไปในเรื่อง ของคุณภาพของการศึกษายิ่งขึ้น ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายที่ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการคนปัจจุบันท่านยังไม่สามารถที่จะมองจุดอ่อนของการปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้ ได้

ผมยกตัวอย่าง 2-3 เรื่อง

- การรวมการศึกษาของระหว่างระดับประถมศึกษากับระดับมัธยมศึกษาเข้าด้วยกัน เรียกว่าการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปัจจุบันสร้างปัญหาให้แก่คุณภาพการศึกษามากมาย เพราะ บุคลากรของ 2 หน่วยงานมีวัฒนธรรมองค์กรไม่เหมือนกัน จึงไม่สามารถจะถ่ายโอนกันได้อย่างมี ประสิทธิภาพ

- กรมวิชาการ ถูกยุบไปซึ่งแต่ก่อนมีบทบาทมากในการช่วยดูแล เรื่องหลักสูตร ปัจจุบันก็ไม่มีแล้ว กลับไปกระจายอำนาจให้โรงเรียนหรือเขตการศึกษารับผิดชอบในการร่าง หลักสูตรก็ยังทำไม่ได้ผลเท่าไร

- การที่หน่วยงานระดับองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) หรือ องค์การบริการส่วน ตำบล (อบต.) จะเข้ามาช่วยบริหารโรงเรียนก็ยังทำไม่ได้เต็มที่ การกระจายการศึกษาเข้าไปยัง องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นยังไม่ได้ผล

สัปดาห์นี้ มีข่าวที่น่าจะดีต่อประเทศไทยที่อยากจะเล่าให้ฟังก็คือ

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 เมษายน 2550 ที่ผ่านมา กลุ่มศิษย์เก่ากว่า 60 คนของ Indian Institute of Technology Alumni Association, Thailand (IITAAT) เชิญผมไปร่วมหารือเพื่อ แสวงหาทางที่จะร่วมมือกับประเทศไทยในเรื่องทรัพยากรมนุษย์ โดยมีทูตอินเดีย Mrs. Latha Reddy มาร่วมงาน สถาบันนี้มีทั้งหมด 7 แห่ง ได้แก่
- Indian Institute of Technology Bombay
- Indian Institute of Technology Delhi
- Indian Institute of Technology Kanpur
- Indian Institute of Technology Kharagpur
- Indian Institute of Technology Madras
- Indian Institute of Technology Guwahati
- Indian Institute of Technology Roorkee

เป็นสถาบันเน้นวิศวะ ซึ่งก่อตั้งมาแล้วประมาณ 60 ปี และผลิตบุคลากรทางด้านวิศวะอ อกไปพัฒนาทั่วโลก จุดแข็งคือ เขาเน้นการคัดเลือกเยาวชนรุ่นใหม่ที่สนใจเข้าเรียน

มีข้อมูลที่ Harvard 10% รับเข้าได้ ที่ MIT 15% ที่ IIT (India) 2.3% เท่านั้นที่สอบเข้าได้ ซึ่งได้บุคลากรที่เก่ง มีมาตรฐานและอาจจะเรียกว่าดีที่สุดในโลก

ผมรับเชิญไปร่วมแสดงความคิดเห็นและจะเป็นแกนนำของมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ระหว่างประเทศ โดยตั้งกรรมการ 1 ชุดมาดูแลความร่วมมือระหว่างไทย/อินเดีย ในเรื่องนี้เพราะ ประเทศไทยอ่อนแอด้าน Sciences and Technology แต่ขณะเดียวกันต้องขอแลกเปลี่ยน บุคลากรจากประเทศไทยไปยังอินเดีย
- การท่องเที่ยว
- เรื่องการค้าปลีกแบบสมัยใหม่
- เรื่องการตลาด
- เรื่องการเงิน
- บริหารธุรกิจ / SMEs
- เรื่องการแพทย์ / Spa

และเป็นไปได้ว่า IIT จะมาตั้งมหาวิทยาลัยร่วมทุนกับมหาวิทยาลัยไทย เปิดหลักสูตรวิศวะ ที่ประเทศไทย อาจจะมีการทำ Research ร่วมกัน หรือแลกเปลี่ยนอาจารย์กับนักศึกษาซึ่งกันและ กัน การร่วมมือดังกล่าวจะกระตุ้นให้คนไทยได้ใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย และ เทียบต้นทุนของการศึกษาในการร่วมมือระหว่างไทย/อินเดียจะถูกเมื่อเทียบกับอเมริกาหรือยุโรป

เห็นไหมครับไม่ใช่ตะวันตกเท่านั้นที่จะมาร่วมมือเรื่อง HR ตะวันออกก็มาได้ ผมก็ต้อง ขอบคุณที่ศิษย์เก่าของ Indian Institute of Technology เห็นความสำคัญของ HR และตัวผมเอง จะต้องทำให้เกิดความสำเร็จแน่นอน
จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181
 

พัฒนาผู้นำท้องถิ่น : เน้นรูปธรรม (บทเรียนจากความจริง กับ ดร.จีระ) [1]

 

 

 

 

ขออวยพรให้ท่านผู้อ่านทุกท่านประสบแต่ความสุขในวาระดิถีปีใหม่ไทย สงกรานต์ปีนี้ เดินทางอย่างปลอดภัย ได้ไปเยี่ยมและคารวะญาติผู้ใหญ่ที่เคารพ เพื่อพัฒนาความรักความอบอุ่นของสถาบันครอบครัว



สัปดาห์นี้ที่มีฝนตกลงมาบ้าง ทำให้ความร้อนค่อยทุเลาลงไปได้ แต่ความร้อนทางการเมืองยังระอุเหมือนเดิม โดยดูเหมือนว่าความขัดแย้งกันระหว่าง คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) กับรัฐบาล หรือการโจมตีของพันธมิตรต่อนายกรัฐมนตรีสุรยุทธ์รุนแรงและต่อเนื่อง



สุขภาพของนายกของเราก็ดูเหมือนว่าไม่เป็นใจเลยในช่วงนี้ แต่หวังว่าท่านยังคงทำงานให้ครบวาระ มีการร่างรัฐธรรมนูญผ่านประชามติ และจัดการเลือกตั้งให้เรียบร้อย ข่าววงในว่านายกฯ ยังสู้ต่อแน่นอนเพราะท่านเกิดมาเพื่อรับใช้แผ่นดิน เพื่อกลับเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยต่อไป



ผมได้คุยกันเล่นในวงการเมืองกับเพื่อนๆ ว่า การเมืองในประเทศไทยเป็นการเมืองที่ประหลาดที่สุดประเทศหนึ่งในโลก ซึ่งในเวลาที่ผ่านมาประมาณ 1 ปี ช่วงปลายระบอบทักษิณ และช่วง 6 เดือนแรก ของการปฏิวัติ คนไทยต้องตั้งสติให้ดีให้รอบคอบ คิดระยะยาว วิเคราะห์อย่าโอนเอียงไปตามกระแส โดยเฉพาะสื่อต่างๆ ที่จะเล่นข่าวชี้นำแต่เรื่องไม่ดี จากการที่เราเป็นสังคมที่ไม่ชอบการคิด หรือการเรียนรู้ ก็อาจจะนำไปสู่ปัญหาได้ง่าย



ประเทศไทยจะเข้าสู่ยุคการเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ เรื่องเพราะโลกาภิวัตน์โดยเฉพาะ เรื่องสังคมข่าวสารที่เปิด แต่ต้องแยกแยะให้ได้ แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือ ต้องให้คุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ของคนไทยอยู่ในภาวะที่แข่งขันกับนานาประเทศได้อย่างยั่งยืนและมั่นคง



ช่วงนี้ผมจึงพยายามทำงานเรื่องทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่อง และก็จะใช้สื่อกระจายข้อมูลต่างๆ ไปให้ผู้เกี่ยวข้อง สื่อของผมช่องทางหนึ่งก็คือ www.chiraacademy.com ก็ทำงานได้ผลมีคน Click เข้าไปกว่าแสนคนแล้ว ผมจะพยายามพูดซ้ำเรื่องระยะยาวด้วย โดยเฉพาะเรื่องพัฒนาศักยภาพของคน



ช่วงสัปดาห์นี้ ซึ่งเรื่องที่ผมภูมิใจจะเล่าให้ฟัง คือ ตั้งแต่มีการใช้รัฐธรรมนูญ 2540 ประเทศไทยมีการกระจายอำนาจ ท้องถิ่นอย่างเด่นชัด และเริ่มการ Empower ให้ท้องถิ่นมีบทบาท ซึ่งแบ่งเป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) องค์การบริหารระดับเทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)



ในช่วงแรกมีการบ่นกันมากว่า บุคลากรในระบบการปกครองท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นที่มาจากการเลือกตั้งหรือข้าราชการประจำไม่ค่อยมีคุณภาพเท่าไหร่ แต่รัฐบาลโดยเฉพาะกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ก็พยายามจัดการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง และเน้นถึงความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งก็เริ่มเห็นผลที่ชัดขึ้น



ผมมีโอกาสได้สัมผัสกับการพัฒนาบุคลากรส่วนท้องถิ่นอยู่เสมอ แต่ก็ยังไม่ได้ทำเป็นโครงการต่อเนื่องที่บริหารจัดการเอง เช่นที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีหรือมหาวิทยาลัยขอนแก่นก็จะมีผู้บริหารระดับท้องถิ่น มาเรียนต่อยอดระดับปริญญาตรี หรือ ผู้บริหารโรงเรียนระดับเทศบาลได้มีโอกาสมาเรียนเรื่องHR กับผมที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาในหลาย ๆ รุ่น ผมเห็นโอกาสและความสำคัญจากการพัฒนาผู้นำท้องถิ่นที่เป็นโครงการต่อเนื่องจึงได้เสนอรัฐบาล ผ่านกระทรวงมหาดไทย โดยเน้นหลักสูตรเกี่ยวกับ


 

  • เศรษฐกิจพอเพียง
     
  • ประชาธิปไตยแบบไทยๆ
     
  • สังคมฐานความรู้หรือองค์กรแห่งการเรียนรู้ของชุมชนนั้นๆ



และสุดท้ายเน้นวิเคราะห์และรู้จักตัวเอง หลักสูตรที่ทำสำเร็จทั่วไปมาแล้ว คือ 7 Habits มาประยุกต์ใช้ เพื่อพัฒนาผู้นำท้องถิ่น

ผมในนามมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศก็ได้ทำโครงการผ่านที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พลเอกประดิษฐ์ บุญเกิด ผ่านเลขานุการรัฐมนตรี นายวิชัย ธรรมชอบ และผ่านไปถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายอารีย์ วงศ์อารยะ เป็นโครงการพัฒนาผู้นำ 3 วันโดยเน้น 4 หัวข้อดังกล่าว ด้วยความเข้าใจและศึกษาอย่างรอบคอบท่านอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น นายสมพร ใช้บางยาง และสถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่นได้ส่งข่าวดีมาว่า เห็นชอบที่จะให้ทำโครงการได้ ที่ดีเพราะว่า วิธีการเรียนของผมจะเน้นให้ผู้นำเหล่านี้ได้นำความรู้ไปใช้ต่อตนเอง ต่อองค์กร และมีประโยชน์ต่อประชาชน นำไปสร้างมูลค่าเพิ่มและให้องค์การบริหารท้องถิ่นเปิดโลกทัศน์แห่งการเรียนรู้โดยใช้แนวทาง 4L's มาใช้ในการเรียน



Learning Methodology เข้าใจวิธีการเรียนรู้



Learning Environment สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้



Learning Opportunities สร้างโอกาสในการเรียนรู้



Learning Communities สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้



ซึ่ง 4L's ได้ประสบความสำเร็จในหน่วยงานอื่นๆ ในระบบราชการหลายกระทรวงแล้วรู้สึกว่า ภูมิใจมากที่จะได้มีโอกาสรับใช้ชาติในเรื่องเหล่านี้



โครงการดังกล่าวจะเน้นผู้นำ



ระดับอบจ. 1,500 คน



ระดับเทศบาล 1,500 คน



ระดับอบต. 2,000 คน



ทั่วประเทศทุกๆ ภาค



โดยจะเริ่มที่จังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดแรกในเดือนมิถุนายน และหวังว่า จะขยายต่อไปทุกๆ จังหวัดโดยให้เสร็จ 5,000 คน ใน 6 เดือนข้างหน้า



การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ อีกต่อไป เมื่อได้โอกาสแล้ว จะทำให้ดีที่สุด ท่านผู้อ่านควรจะติดตามกันต่อไป บรรดาผู้นำท้องถิ่นควรจะตื่นตัวและมีส่วนกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจในสิ่งเหล่านี้ด้วย



"การพัฒนาคน ต้องทำที่ฐานรากของปิระมิดจึงจะประสบความสำเร็จ"

 

 

จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน ผมตัดบทความที่อาจารจย์เขียนไว้ที่ น.ส.พ.แนวหน้า มาลงไว้ให้ในที่นี้ ครับ 

มองเวียดนาม : เชิงพันธมิตรทางทรัพยากรมนุษย์ (บทเรียนจากความจริง กับ ดร.จีระ)[1]

 

 

สงกรานต์เพิ่งผ่านพ้นไป เป็นช่วงว่างที่ผมไม่มีกิจกรรมทางวิชาการ ทำให้ผมได้มีเวลาคิดและมองไปข้างหน้าอย่างเป็นยุทธศาสตร์ จึงขอแบ่งปันความรู้กับท่านผู้อ่าน ส่วนวันพุธก็ฟังวิทยุ และภายในอีก 2 เดือนข้างหน้า ท่านผู้อ่านอาจจะได้เห็นรายการโทรทัศน์ทาง UBC 8 คือรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ในวันอาทิตย์ เวลา 13.00 น. ตั้งแต่ True move 7 เปลี่ยนช่องไปเป็นสถานีข่าว 24 ชั่วโมง ทำให้รายการของผมหยุดพักไประยะหนึ่ง



การเป็นนักวิชาการที่มีฐานลูกค้า ผู้ใฝ่รู้ทั่ว ๆ ไป เป็นความสุขอย่างมากสำหรับชีวิตของผม ยังมีโอกาสได้ทำงานอย่างต่อเนื่อง เตรียมการสอน หาความรู้ใหม่ และพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง



ตราบใดที่สังคมไทยยังรักความสามัคคี มีความรู้และเข้าใจ ตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง ในระยะยาวประเทศก็อยู่ได้ดี



ผมได้เล่าให้ฟังเรื่องโครงการพัฒนาผู้นำท้องถิ่น 5,000 คน ที่จะมีโอกาสได้เพิ่มทักษะของเขาเหล่านั้นใน 4 เรื่อง



1. เรื่องประชาธิปไตย จะต้องเน้นให้ชาวบ้านเข้าใจความสำคัญของประชาธิปไตย และหวงแหน รัก ไม่ให้ระบบอำนาจหรือการเงินเข้าไปมีอิทธิพลอย่างมาก ลักษณะประชาธิปไตยชุมชน



2.เรื่องการสร้างชุมชนการเรียนรู้ ก็เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ผมได้รับความรู้จากชาวบ้านตลอดเวลา เพราะผมฟัง (Listen) ความต้องการของชาวบ้านก่อน และนำไปวิเคราะห์ จะไม่พูดว่าฉันรู้มากกว่าชาวบ้าน เป็นที่มาของชุมชนแห่งการเรียนรู้

3.เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง จะเน้น
 

  • การเดินสายกลาง
     
  • การมีเหตุมีผล
     
  • การมีภูมิคุ้มกัน

    ในเรื่องภูมิคุ้มกัน จุดสำคัญที่สุดคือ การบริหารความเสี่ยงในทุก ๆ เรื่อง จุดที่สำคัญคือ ไม่ทำอะไรเกินตัวจนเกินไป และต้องหาความรู้ที่ทันเหตุการณ์ตลอดเวลา


ส่วนอีกวันครึ่ง จะเน้นเรื่อง 7 Habits


หลักสูตรที่ผู้ว่าและนายอำเภอบางคนก็เรียนแล้ว แต่ระดับล่างยังไม่ได้รับทราบ ก็จะนำหลักการเหล่านั้นมาปรับให้ผู้นำท้องถิ่นรับทราบทั้ง 7 อุปนิสัย :


- Proactive พึ่งตัวเอง ให้ความสำคัญกับตัวเอง อย่าพึ่งคนอื่น


- ลำดับความสำคัญก่อน - หลัง


- ทำอะไรต้องเน้นจุดสุดท้ายคือ ผลลัพธ์ ผลสำเร็จของงาน


- ทำอะไรต้องชนะ/ชนะ


- มีพลังคือ 1+1 = 5 หรือ Synergy


- ศึกษาคนอื่นก่อนที่เข้าใจตัวเอง


- เตรียมพร้อมทั้งด้านจิตใจ และความทันเหตุการณ์


ในวันจันทร์นี้ ผมจะไปพบท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา คุณพงษ์ศิริ กุสุมภ์ เพื่อจะเริ่มงานครั้งแรกที่จังหวัดนี้



นอกจากนี้ยังมีอีก 2 เรื่องที่ผมอยากฝากไว้ให้ท่านร่วมคิดคือ


- บทบาทของประเทศเวียดนาม ในอดีตเรามองว่า เขาเป็นประเทศยากจน มีแต่สงคราม รบเก่ง แต่ทำธุรกิจไม่เก่ง ซึ่งปัจจุบันไม่แน่ใจแล้ว


ผมพูดถึงเวียดนามเพราะว่า ผมเป็นนักวิชาการรุ่นแรก ๆ ที่ไปพัฒนาผู้นำของเวียดนามกว่า 15 ปีแล้ว ผู้นำระดับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ โดยเน้นเปลี่ยนเศรษฐกิจสังคมนิยมเป็นเศรษฐกิจเสรี


ในอดีต ผู้นำกว่า 80% เรียนระบบสังคมนิยมมา ส่วนมากได้ปริญญาจากรัสเซีย แต่ความที่เขาใฝ่รู้ จึงได้ร่ำเรียนจากหลักสูตรที่ผมจัดให้เขาที่ธรรมศาสตร์กว่า 300 คนในอดีต ผู้นำเหล่านี้ชอบเรียนรู้และชอบถามคำถาม why อยู่ตลอดเวลา


ปัจจุบัน เวียดนามเป็นประเทศที่น่าจับตามอง เพราะ


- เรื่องนโยบายของเขา

เขาเน้นเรื่องทรัพยากรมนุษย์ เขาสนใจการศึกษา ทั้งภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์


- อาชีพที่คนเวียดนามต้องการเป็นคือ ครู เพราะเป็นอาชีพที่สังคมยกย่องและมีเกียรติ


- เรื่องการเมือง เขาทำแบบจีน คือพรรคการเมืองเป็นพรรคเดียวอยู่ แต่ระบบเศรษฐกิจเป็นเศรษฐกิจเสรี


ผมเห็นว่าแทนที่เราจะแข่งขันกับเวียดนาม เราน่าจะจับมือเป็นพันธมิตรกับเวียดนามมากกว่า คนเวียดนามสนใจภาษาไทยมาก มีนักเรียนเวียดนามพูดไทยชัดๆ มากมาย แต่คนไทยยังมองเวียดนามไม่ออก และไม่สนใจภาษาหรือระบบเศรษฐกิจของเขา ถึงเวลาแล้วที่จะต้องเอาจริงกับการศึกษาและเข้าใจเวียดนามมากขึ้น คล้ายกับที่ผมพูดถึงอินเดีย พันธมิตรที่ควรจะเน้นระหว่างไทย/เวียดนามก็คือเรื่องทรัพยากรมนุษย์ ควรจะแลกเปลี่ยนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญของสองประเทศที่แตกต่างกัน


สุดท้าย โศกนาฏกรรมที่ Virginia Tech มหาวิทยาลัยอันดับที่ 77 ของสหรัฐอเมริกา เก่งเรื่องวิศวกรรมและฟุตบอล มีนักศึกษาเชื้อสายเกาหลีชื่อ โช ซุง-ฮุย บุกเข้าไปใช้ปืนสั้น 2 กระบอก ยิงนักศึกษาและอาจารย์ตายไป 32 ศพ


บทเรียนนี้สอนว่า


- อย่าคิดว่าจะไม่เกิดขึ้นที่เมืองไทยในระดับโรงเรียน


- มีคนเป็นโรคทางจิตมากขึ้น ควรจะสนใจเอาใจใส่ ส่งไปให้หมอตรวจ และรักษา เพราะถ้าควบคุมอารมณ์ หรือจิตไม่ได้ วันหนึ่ง เขาก็จะสร้างปัญหาให้เกิดในบ้านเราได้


- โลกาภิวัตน์สร้างความเหลื่อมล้ำ และสับสนให้แก่ประชาชน ต้องตั้งสติให้ดี


- ประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา กลับมีปัญหาสังคม วุ่นวายตลอดเวลา

 

 

จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181


ยม บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ : 14 มิถุนายน : วันเปิดตัวผู้นำท้องถิ่น (บทเรียนจากความจริง กับ ดร.จีระ)

14 มิถุนายน : วันเปิดตัวผู้นำท้องถิ่น (บทเรียนจากความจริง กับ ดร.จีระ)[1]

 
 

บทความของผมพยายามพูดถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทย 64 ล้านคน ซึ่ง ส่วนมากยังเป็นคนยากจนอยู่ ถึงแม้เมืองไทยยังมีเรื่องร้อนๆ ทุกสัปดาห์ แต่ก็จะยังพูดถึงไม่มาก อยากให้ บทความเป็นประโยชน์ ต่อท่านผู้อ่าน ยิ่งพัฒนาบุคลากรของชาติให้เก่งและดีขึ้นเท่าไร ผมก็ภูมิใจมากขึ้น ประเทศก็จะดีขึ้น จะใช้สื่อต่างๆ กระจายข้อมูลให้มากที่สุด โดยเฉพาะต้องขอบคุณหนังสือพิมพ์แนวหน้าที่ กรุณาเป็นกำลังสำคัญและสนับสนุนผมตลอดเวลา

เรื่องทรัพยากรมนุษย์ มีคำพูดตลกๆ ว่า จะสำเร็จได้ต้อง 3 ต คือ

  • ต่อเนื่อง
  • ต่อเนื่อง
  • และต่อเนื่อง

    เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา คณะของผม Chira academy และมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่าง ประเทศ ได้จัดโครงการพัฒนาผู้นำท้องถิ่น ระดับ อบจ. , อบต. และเทศบาล ซึ่งผมได้ไปโคราชหารือกับรอง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา คุณพงษ์ศิริ กุสุมภ์ ซึ่งเป็นศิษย์เก่าสิงห์แดง รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เคย เป็นผู้อำนวยการของวิทยาลัยปกครองของกระทรวงมหาดไทย นับเป็นข้าราชการประเภทชอบเรียนรู้ ท่าน ได้กรุณารับเป็นผู้ประสานงานให้เรา ที่จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งกำหนดเปิดตัวในวันที่ 14 มิถุนายน โดยจะ จัด 3 ครั้ง ครั้งละ 100 คน บรรดาผู้นำท้องถิ่นที่จังหวัดนครราชสีมา เตรียมตัวเข้ารับการอบรม โดยจะใช้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 2 ครั้ง และที่วังน้ำเขียวอีก 1 ครั้ง ซึ่งผมจะให้ท่านทราบความคืบหน้า ตลอดเวลา

    การทำงานของผม จะทำเป็นทีม ผมเป็นผู้นำที่มอบอำนาจ ( empower ) ให้แก่ผู้ร่วมงานทุกคนได้ มีส่วนร่วม และกระตุ้นให้เขาเหล่านั้นทำงานเต็มที่

    วันนั้น ผมได้พบแนวร่วม 2 ท่าน คือ คุณวันชัย ภูนาคพันธุ์ ผู้จัดการสหกรณ์ด่านขุนทด และคุณสิริ กร แพงทอง จากวิทยาลัยสารพัดช่างนครราชสีมา ซึ่งเป็นบุคลากร ประเภทชอบทำงานเพื่อส่วนรวม และอยู่ ในพื้นที่ช่วยประสานงานด้วย


ส่วนในวันเสาร์ที่ 21 ก่อนที่ไปจังหวัดนครราชสีมา ผมได้รับเชิญจากกรมการปกครอง ซึ่งเป็นกรมคู่ แฝดกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มีโครงการที่ดีมาก คือ นำนายอำเภอที่ขึ้น C9 มาฝึกอย่างเข้มข้น และผมมีโอกาสได้ไปร่วมบรรยายและ coach เรื่องการบริหารเชิงจิตวิทยาและบริหารเรื่องแรงจูงใจ เป็นที่ น่าสนใจว่า แรกเริ่มพูดแค่ลูกน้อง แต่กลับมองไปถึง 

  •  เจ้านาย ( ระดับผู้ว่าหรือสูงกว่านั้น )
  • ผู้ร่วมงาน คือ เจ้าหน้าที่ กระทรวงอื่น ๆ รวมทั้งผู้บริหารท้องถิ่น
  • และสำคัญที่สุด คือ ประชาชน



มองให้กว้างขึ้น มีลูกน้องเก่งไม่พอ ต้องให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดเก่งด้วย ผมคิดว่าประเด็นที่ได้ผลคือ



ทฤษฎี HRDS ของผมคือ

  • ให้ท่านนายอำเภอมองความสุข ( Happiness ) ในการทำงาน
  • การยกย่องผู้อื่นและให้เกียรติผู้อื่นหรือผู้ร่วมงาน และโดยเฉพาะชาวบ้าน Respect
  • การมองการบริหารที่ไม่ใช่ Command and control คือ ให้ทุกคนมีศักดิ์ศรี ( Dignity )
  • และสุดท้าย ควรมองการทำงานแบบยั่งยืน คือ Sustainability



ผมคิดว่า การมอง HR เป็นปรัชญา ความเชื่อ และกระตุ้นให้นายอำเภอเหล่านั้น สนุกกับการเรียน น่าจะดี ผมรู้สึกโชคดีที่ได้ทำงานในระดับ ชาติและในระดับท้องถิ่นด้วย

ผมขอทิ้งท้ายในวันนี้ถึงเรื่อง การเลือกตั้งในฝรั่งเศส ที่เพิ่งจบไป คุณ Nicolas Sarkozy ฝ่าย อนุรักษ์นิยม ได้คะแนน 30% คุณสุภาพสตรีมาจากพรรคสังคมนิยม S?gol?ne Royal ได้ 25% ซึ่งใน ฝรั่งเศสจะต้องมีการแข่งเลือกในขั้นสุดท้ายระหว่าง 2 คนอีกครั้ง ในวันที่ 6 พฤษภาคมนี้



น่าสนใจคือ ฝ่ายอนุรักษ์นิยมจะมองเรื่อง วัฒนธรรม สังคม แบบรุนแรง คือ มีชาตินิยมเข้มข้น และ ไม่อยากให้ฝรั่งเศสมีชนกลุ่มน้อย เข้ามาทำงานมากเกินไป แต่ข้อดีของฝ่ายอนุรักษ์ คือ จะเน้นการปฏิรูป ตลาดแรงงานของฝรั่งเศส ให้เป็นตลาดแรงงานที่เสรีมากขึ้น เช่น เข้าง่าย ออกง่าย ไม่เน้นบทบาทสนับสนุน ของสหภาพแรงงาน ไม่เห็นด้วยกับกฎหมายแรงงานที่สนับสนุนสหภาพแรงงานแบบไม่ต้องทำงานหนัก ลด การสนับสนุนให้มีประกันการว่างงานลง คุณ Sarkozy มีคะแนนนิยมจากชนชั้นกลางที่มีความรู้ ส่วนคุณ Royal เป็นฝ่ายซ้าย ยังเน้นกฎหมายค่าจ้างขั้นต่ำ และปกป้องสหภาพแรงงานมาก ได้คะแนนนิยมจาก สหภาพแรงงาน แต่จะไม่เป็นนโยบายชาตินิยมมากนัก



ฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีจุดยืน เน้นรักชาติ แต่ไม่ค่อยจะปรับตัวให้เข้ากับโลกาภิวัตน์มากนัก จึงเป็น จุดอ่อนที่คนไทยจะต้องศึกษา ส่วนประเทศไทยขาดปรัชญา หรือแก่น ในการดำรงชีวิต จึงไม่ค่อยจะมีจุดยืน มากนัก มักจะเน้นเงิน อำนาจมากเกินไป คือเป็นสังคมที่ปรับตัวได้เร็ว ซึ่งก็มีข้อดีและข้อเสียมาก แต่ยังขาด แก่นหลักของประเทศไทยไปอย่างมาก



การที่ประเทศไทยปรับตัวเร็วก็ต้องคิดเป็น มีทุนทางปัญญาให้พอเพียง ชั่งใจว่าอะไรดี และไม่ดี อย่าให้ถูกอิทธิพล เช่น เงิน หรือสื่อนำไปในทางที่ผิด ในช่วง 2-3 สัปดาห์ จึงเป็นช่วงที่เรียกว่า ประเทศไทยร้อนทั้งอากาศและการเมือง ศาสนาก็เริ่มมี บทบาททางการเมือง ผมไม่อยากแสดงความเห็น เพราะไม่มีข้อมูลเพียงพอ แต่ก็ควรจะระมัดระวังกันไว้ก็ดี



สรุปคือ ชนะอุปสรรคช่วงนี้ได้ ผู้นำของประเทศต้อง

- อดทน

- อดกลั้น

ขอให้โชคดีครับ

 

 
จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181

สวัสดี ครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

ผมอ่านบทความของอาจารย์และนำมาวางไว้ที่นี่ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของสังคมแห่งการเรียนรู้ที่นี่ ครับ

คนไทยต้องเอาจริงกับการเรียนภาษาอังกฤษ (บทเรียนจากความจริง กับ ดร.จีระ)[1]

  
 

ระยะนี้ฝนตกมา 2-3 สัปดาห์แล้ว การเมืองวันนี้เริ่มมีแรงกดดันของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ( คมช.) กลุ่มพันธมิตรและอื่น ๆ ต่อนายกรัฐมนตรีมากขึ้น แต่เป้าหมายใหญ่ของประเทศคือ การมีรัฐธรรมนูญและมีการเลือกตั้งช่วงปลายปี ยังเป็นจุดแข็งของรัฐบาลท่านนายกฯ

"ตัวช่วย" คืออะไร บางครั้งความดีอย่างเดียวไม่พอ ต้องมียุทธวิธีต่าง ๆ ที่จะทำให้รัฐบาลอยู่รอด ในประวัติศาสตร์ บางครั้งคนดีต้องพบปัญหาอยู่เสมอ ซึ่ง Shakespeare ยังไปทำเป็นบทละครโศกนาฏกรรม ( Tradegy ) ต่าง ๆ ที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นกับคนดี จึงมีคำพูดของ Shakespeare ว่า "Shakespearian tradegy" อย่างน้อย ผมคิดว่า "สื่อ" ที่ดีและเป็นกลาง น่าจะทำหน้าที่ได้ดี เช่น สถานีวิทยุ FM 96.5 MHz สถานีโทรทัศน์ช่อง 11 ท่านนายกฯ เองจะต้องมีนโยบายเชิงรุกมากขึ้น คงต้องออกรายการพบประชาชนอธิบายมากขึ้น ให้ประชาชนเป็นตัวช่วย เพราะยิ่งใกล้วันเลือกตั้ง ก็จะมีพลังกดดันมากขึ้น ผมขอให้กำลังใจต่อไป

ผมมีเรื่องมาเล่าให้ฟัง 2-3 เรื่อง คือ

เรื่องการสร้างนักเรียนคนไทยให้มีความรู้ภาษาอังกฤษให้ทันเหตุการณ์และนำมาใช้ให้เกิดมูลค่าเพิ่ม

ในยุคปัจจุบัน ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่จำเป็นอย่างยิ่ง นอกจากจะเก่งภาษาไทยแล้ว คนไทยต้องเอาจริงกับภาษาอังกฤษด้วย ดูตัวอย่างเวียดนาม จีน เป็นต้น

ผมโชคดีได้ไปเรียนต่างประเทศ ตั้งแต่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 ผ่านแล้ว 45 ปี แต่ยังต้องหาความรู้ภาษาอังกฤษอย่างต่อเนื่อง ทั้งภาษาพูดก็ฝึกและใช้ทุก ๆ วัน ภาษาเขียนยิ่งต้องฝึกเพิ่มขึ้น ตลอดเวลา

เมื่อวันอังคารที่ 8 พฤษภาคม ในฐานะนายกสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ไปเปิดโครงการ"เทพเป็นหนึ่ง" ให้กับครูสอนภาษาอังกฤษของเทพศิรินทร์ทั้ง 7 แห่ง ประมาณ 62 คน เข้า Camp ภาษาอังกฤษ 3 วัน ร่วมกันพัฒนาระบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้ดีขึ้น ผมได้ไปร่วมด้วย การเป็นผู้ที่มักใช้ภาษาอังกฤษอยู่ทุกวัน อาจจะมีมุมมองที่น่าสนใจ จึงได้แสดงความเห็นแบบตรงไปตรงมา

- การเรียนภาษาอังกฤษไม่จำเป็นต้องเรียนเป็นทางการอย่างเดียว หัดฟัง BBC หรือ CNN หรือวิทยุที่เป็นภาคภาษาอังกฤษบ้างก็จะดี หรืออ่านหนังสือพิมพ์ เช่น Bangkok post หรือ The Nation

- ชอบที่จะเรียนรู้ภาษาอังกฤษและกล้าที่จะพูดกับชาวต่างประเทศ สมัยที่ผมอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เทพศิรินทร์ ความกล้าพูด จะทำให้รู้ว่า เราพูดแล้ว ฝรั่งฟังไม่รู้เรื่อง จะแก้ไขอย่างไร เด็กไทยไม่ค่อยกล้า จึงเรียนในตำราเก่ง แต่นำมาปฏิบัติไม่ได้ จึงเป็นที่มาว่า เขาไม่ได้เรียน Functional English คือเรียนเพื่อนำไปใช้

- ท่านผู้อำนวยการเทพศิรินทร์ร่มเกล้า คณิสร เย็นใจ ได้ยกคำพูดของผมในบทความที่นำเอาคำว่า Re-engineering มาวิเคราะห์ ซึ่งถ้าแปลตรงตัวก็จะไม่เข้าใจ แต่หากแปลโดยมี context หรือบริบท จะแปลว่า ยกเครื่อง หรือทำอะไรใหม่ เลิกของเก่า ท่านผู้อำนวยการท่านนี้ บอกว่าถึงเวลาแล้วที่การสอนภาษาอังกฤษในเทพศิรินทร์ทั้ง 7 แห่ง จะต้องยกเครื่องกันใหม่หมด

การยกเครื่องใหม่ในการสอนภาษาอังกฤษ คงไม่ง่าย อยู่ที่ภาวะผู้นำของผู้บริหารและครูภาษาอังกฤษใน 62 คนนี้จะทำร่วมกัน ผมสังเกตว่าที่เทพศิรินทร์ ครูภาษาอังกฤษน่าจะเป็นกลุ่มที่เปลี่ยนแปลงได้ง่าย เพราะโลกทัศน์กว้าง พร้อมจะเปลี่ยนแปลงได้เร็ว ผอ.คณิสร บอกว่า ครูที่สอนสังคมกับครูสอนศิลปะในโรงเรียนมัธยมจะปรับตัวและเปลี่ยนแปลงได้ช้ามาก และมักจะไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง

ผมจึงฝากให้เขาคิดกัน 2-3 เรื่อง

- เรื่องแรกครูภาษาอังกฤษ ต้องเข้าใจความสำคัญของภาษาอังกฤษว่า ไม่ใช่เป็นเพียงภาษา แต่เป็นอาวุธทางการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ประเทศในยุคโลกไร้พรมแดน

ขอยกตัวอย่างประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเคยภูมิใจภาษาของตัวเอง ปัจจุบันก็ลำบาก เพราะคนฝรั่งเศสภูมิใจในภาษาของตัวเอง ไม่พูดภาษาอังกฤษ ทำให้ฝรั่งเศสเจริญได้ช้ากว่าหลายประเทศ ในขณะที่อินเดียเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ แต่เก็บของดีของอังกฤษไว้คือ

- ภาษาอังกฤษ

- ระบบความคิดเป็นวิทยาศาสตร์ คือชอบคณิตศาสตร์กับวิทยาศาสตร์

วันนี้อินเดียจึงสบาย เพราะเก่งคณิตศาสตร์ไม่พอ ยังเก่งการเจรจาต่อรองด้วย

ยุคนี้เป็นยุคข้อมูลข่าวสาร ถ้าไม่รู้ความหมายของข้อมูลข่าวสาร เราก็ไปไม่รอด ตัวอย่างคือ คนไทยยุคปัจจุบัน อ่อนภาษาอังกฤษ จึงอยู่ในยุคโลกาภิวัตน์ลำบาก

ปัจจุบันตลาดแรงงานรับผู้ที่จบจาก ABAC มากกว่าจุฬา ฯ หรือธรรมศาสตร์ แต่ถ้าคนจบจุฬา ฯ หรือธรรมศาสตร์สนใจภาษาอังกฤษด้วยยิ่งดี แต่ส่วนมากจะไม่สนใจภาษาอังกฤษ มักคิดว่า ฉันจบจากมหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงแล้ว

ผมเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยนานาชาติ Stamford ผมทราบดีว่า ถึงแม้ว่ามหาวิทยาลัยยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายนัก แต่ใครที่เรียนไปจนจบทั้งปริญญาตรีและโทมักจะได้งานดี ๆ ทั้งนั้น และปีนี้ผมให้ทุนเด็กเทพศิรินทร์ร่มเกล้า 4 ทุน เพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ได้เห็นว่า เด็กไทยถ้าฉลาด ไปเรียนมหาวิทยาลัยที่ใช้ภาษาอังกฤษ และสัดส่วนนักเรียนต่อครูต่อห้องเรียนก็น้อย ก็จะออกมามีงานทำที่ดี แต่ต้องใส่ใจและสนใจภาษาอังกฤษจริง ๆ

ครูภาษาอังกฤษ ต้องมี Life long Learning และมีวัฒนธรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษอย่างต่อเนื่อง ภาษาอังกฤษวันนี้ไม่เหมือน 40 ปีที่แล้ว ได้พัฒนาไปมาก ครูต้องเป็นผู้กระตุ้นให้เด็กนักเรียนชอบภาษาอังกฤษ แบบมี passion กับ happiness กับการเรียนและนำไปใช้

การเรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่มัธยม ต้องเรียนเพื่อวิเคราะห์ ไม่ใช่เรียนเพื่อจำ ผมได้เล่าให้ฟังว่า English I ของปริญญาตรีที่นิวซีแลนด์ เรียน Shakespeare , บทกวีและนวนิยายภาษาอังกฤษ แต่ผมผ่าน English I ได้เพราะผมวิจารณ์ตัวละครและเป็นบทเรียนของชีวิตและการทำงานจากวรรณกรรมเหล่านี้ได้ดี และยังติดตัวมากว่า 45 ปีแล้ว

สุดท้ายอย่าไปแปลทุกอย่างของภาษาอังกฤษให้เป็นไทย เพราะภาษาไทยไม่สามารถอธิบายภาษาอังกฤษได้ทุก ๆ คำ บางคำก็ไม่สามารถแปลตรง ๆ

ผมจึงใช้โอกาสโครงการเทพเป็นหนึ่ง คุยให้ครู 62 คนฟัง ทำให้ผมคิดว่า ผมอยากจะมาพัฒนาครูภาษาอังกฤษจริง ๆ และตั้งใจว่าจะทำต่อไปเป็นงานชิ้นใหม่ของผม ซึ่งผมเรียกว่า HR Innovation

อีกเรื่องหนึ่งคือ การปฐมนิเทศ โครงการพัฒนาภาวะผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ( กฟผ. ) รุ่นที่ 3 ผมชอบโครงการนี้ เพราะ

ต่อเนื่อง

ต่อเนื่อง

ต่อเนื่อง

การสร้างบุคลากรในการไฟฟ้าให้เป็นผู้นำ จะเป็นจุดแข็งขององค์กร และผู้นำระดับบน โดยเฉพาะท่านผู้ว่าไกรสีห์ กรรณสูต ท่านรองผู้ว่าการ อภิชาต ดิลกโศภณ ท่านผู้ช่วยชโลทร หาญศักดิ์วงศ์ และท่านผู้อำนวยการฝ่าย นพพร บุณยประสิทธิ์ เป็นผู้ที่เอาจริง ได้เลือกผู้อำนวยการฝ่ายอีก 32 คน เข้าหลักสูตรรุ่นที่ 3 จะใช้เวลาที่ประเทศไทย 60 ชั่วโมง และจะไป study tour ไปเรียนใน University of New Southwales ออสเตรเลีย อีก 7 หัวข้อ คือ

1. Electricity and Environment Protection (NSW Case study)

2. Renewable Energy: Policy Options and Integration Issues.

3. the Global Energy Context, climate change and Australia's response"

4. Electricity Industry and its impact on Global Warming. (Australia Case study)

5. Using good Strategic Governance to enhance EGAT's effectiveness

6. Human Capital Management within EGAT.

7. Contemporary trends in leadership and change Management.

ดูงานโรงไฟฟ้าและได้หารือกับผู้บริหารการไฟฟ้าของรัฐ New Southwales ด้วย

ผมจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุดและจะรายงานให้ทราบครับ

 จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181
 

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

วันเสาร์ที่ 19 พ.ค. เป็นอีกวันหนึ่ง ที่ผมและเพื่อนๆ ที่เรียน ป.เอก ทำการสอบ COM อีกหนึ่งวัน ระหวางที่รอการสอบอยู่ ได้อ่านบทความของอาจารย์ และนำมาวางไว้ในบล็อคนี้ เพื่อให้ผู้สนใจได้ศึกษา พิจารณา  และขอความสวัสดีจงมีแด่ท่านผู้สนใจทุกท่าน

 

"ผู้ใหญ่" ที่คนรุ่นหลังควรเรียนรู้ (บทเรียนจากความจริง กับ ดร.จีระ)[1]

 
 
อีกไม่เกิน 2 สัปดาห์จะมีคำพิพากษาคดียุบพรรค ทุกวันนี้จึงมีข่าวลือต่าง ๆ ออกมามากมาย ยุคโลกาภิวัตน์มีข่าวสารสด ทันเหตุการณ์ตลอดเวลา เกือบจะเรียกว่า 24 ชั่วโมงก็ได้ จุดแข็งของสังคมที่มีวุฒิภาวะคือ เขาวิเคราะห์ จับประเด็นได้ว่าอะไรถูก อะไรผิด อะไรดี อะไรไม่ดี แต่บางครั้งคนไทยยังสับสน วันนี้ผมจึงขอสรุปว่า ข้อมูลข่าวสารเหล่านี้ คนไทยควรจะวิเคราะห์และค้นหาความหมาย หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า "Meaning" ว่าจะมีความหมายต่อเราอย่างไร ไม่ใช่ปล่อยให้ผ่านไปวัน ๆ เชื่อผิดๆ ผมโชคดีได้เห็นและสัมผัสข้อมูลข่าวสารอยู่เสมอ บางครั้งต้องตั้งสติว่า มันแปลว่าอะไร มีความหมายต่อเราอย่างไร นำมาใช้และนำมาแก้ปัญหาอย่างไร

ผมมีข่าวจะแจ้งให้ทราบว่า รายการวิทยุของผมทางสถานี 96.5 MHz ในช่วงนี้ย้ายไปจัดวันเสาร์ เวลา 21.00 - 22.00 น. ซึ่งก็ไม่มีปัญหาอะไร ช่วงออกอากาศ 19.30 น.ถึง 20.30 น.ใน 6-7 เดือนที่ผ่านมา มีผู้ฟังหลากหลาย แต่ตอนนี้กลับมาเป็นแบบเก่า เชิงวิเคราะห์ลึก ๆ ได้ Segment ที่ชัดเจน มีพิธีกรคือ คุณประกาศิต คำพิมพ์ เป็นบุคคลที่ใฝ่รู้มาก ก่อนจะเข้ารายการ จะอ่าน Blog อ่าน Web ดูโทรทัศน์ ทำการบ้านอย่างดี ผมจึงจะใช้โอกาสใหม่นี้ทำงานร่วมกับคุณประกาศิต

- ทุกสัปดาห์จะเน้น concept ต่าง ๆ ที่ผมคิดว่าสำคัญสำหรับคนไทยที่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์

- อีกเรื่องหนึ่งคงจะเปิด Blog ใน www.Chiraacademy.com ให้ท่านเสนอว่า อยากฟังหรือสนใจเรื่องอะไร คล้ายกับขอเพลง

- อาจจะพูดเรื่อง บทเรียนจากกิจกรรมที่ผมทำอยู่เป็นประจำในช่วง 1 สัปดาห์ แต่จะพูดให้น้อยลง กระชับขึ้น

ภายใน 6 เดือน ผมกับคุณประกาศิต อาจจะออกหนังสือ pocket book เพื่อกระจายข้อมูลในมุมกว้าง เพราะรายการเราชื่อดีอยู่แล้ว คือ Human Talk ผมจะเขียนหนังสือ ไม่ใช่อยากดัง แต่เพราะแรงบันดาลใจ จังหวะที่พอดี ท่านผู้อ่านจะเป็นเจ้าของรายการ Human Talk มากขึ้น ผู้อ่านกระตุ้นให้ผมได้ความรู้ใหม่ ๆ ด้วย อยากให้ความรู้แก่ผู้ฟังให้ตรงประเด็นมากขึ้น และจะได้หาความรู้จากท่านผู้ฟังด้วย

สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมเตรียมตัววางแผนที่จะไปจัดเรื่องภาวะผู้นำของผู้บริหารท้องถิ่น เคยบินไปจังหวัดอุบลราชธานี พบคุณปราโมทย์ สัจจรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารือโครงการดังกล่าว และพบคุณพรชัย โควสุรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี และศิษย์เก่าปริญญาเอก มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ท่านรับปากจะช่วยกันพัฒนาบุคลากรของผู้นำท้องถิ่น จังหวัดอุบลราชธานีต่อไป ซึ่งกำหนดให้จัด 1 รุ่น ในช่วงวันที่ 19-21 กรกฎาคม 2550

นอกจากนั้น ผมได้ไปพบนายวิฑูร ชาติประติมาพงษ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดของนครราชสีมา ทางนายก อบจ. สนับสนุนให้เกิดการสร้างผู้นำท้องถิ่น โดยจะเริ่มรายการครั้งแรกที่นครราชสีมา ในวันที่ 14 มิถุนายนนี้

สัปดาห์นี้ ผมอยากจะฝากแนวคิด โดยเฉพาะผู้อ่านที่ยังเป็นคนรุ่นใหม่อยู่บ้าง ส่วนผู้อ่านที่มีอายุเกิน 50 ปีแล้ว คงจะเข้าใจ ผมเชื่อว่า ประเทศไทยวันนี้อยู่ได้ด้วยปัจจัยหลายอย่างที่สะสมกันมาในอดีต สิ่งหนึ่งที่คนรุ่นหลังไม่ควรจะลืมคือ การยกย่องและเรียนรู้จากผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุ ความจริงผู้สูงอายุไม่ใช่ว่าจะไม่มีประโยชน์ แต่กลับเต็มไปด้วยประสบการณ์มากมาย ภาษาอังกฤษ เขาใช้คำว่า

"Intergeneration transfer of knowledge"

การถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ ระหว่างรุ่น

ผมสังเกตเห็นเป็นรูปธรรม ในกรณียุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ดึงคุณพ่อผม นายสุนทร หงส์ลดารมภ์มาเป็นรัฐมนตรี ทำงานกับท่าน เมื่ออายุเพียง 44 ปี จอมพลสฤษดิ์ไม่รู้จัก แต่ฟังคำแนะนำของผู้ใหญ่คือ หลวงวิจิตรวาทการ และเจ้าคุณศรีวิศาลวาจา

ยุคคุณทักษิณ ไม่ค่อยมีผู้ใหญ่ช่วยแนะนำ คุณทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรี อายุเพียง 52 ปี ซึ่งคนที่อายุ 60-80 ปีในสังคมที่ผ่านชีวิตมามากมีมากมาย แต่คุณทักษิณอาจจะเก่งและมั่นใจในตัวเองมาก จึงไม่ค่อยจะปรึกษาผู้ใหญ่นัก จริงอยู่ Ideas ใหม่ การคิดนอกกรอบ การลอกตำรา How to ของฝรั่ง อาจจะช่วยท่านได้บ้าง แต่ก็คงไม่พอ ไม่รอบคอบและไม่ยั่งยืน

ความคิดริเริ่มของที่ปรึกษา อย่างคุณพันศักดิ์ วิญญรัตน์ ก็ไม่ยั่งยืน เช่น Idea จัด Design Center ที่ Emporium มีเงินก็ทำได้ แต่ไม่มีความเข้าใจอุปนิสัยคนไทยอย่างแท้จริง และระบบบริหารไม่เอาจริง ในที่สุด Ideas ดี ๆ ต่าง ๆ ของยุคนายกฯ ทักษิณ จึงถูกเรียกว่า "Creative Destruction" คือ สร้างสรรค์แบบไปสู่ความหายนะ

แก่นความคิดที่ดีเน้น Why ไม่ใช่ How ที่มีเบื้องหลังสลับซับซ้อนมาก คนไทยต้องเรียนรู้และปรึกษาผู้ใหญ่อยู่เสมอ ผู้ใหญ่ที่ผมจะพูดถึง 3 ท่านนี้ เป็นบุคคลที่ผมนับถือและได้สัมผัสใกล้ชิด

ท่านแรกคือ พลอากาศเอกกำธน สินธวานนท์ องคมนตรี ผมในนามของนายกสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ไปเยี่ยมคำนับแสดงความยินดี ที่ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นพลอากาศเอก ในความรู้สึกของน้องเลือดสีเขียวเหลือง ผมเรียกชื่อเล่นว่าพี่โด่ง ได้ช่วยเหลือโรงเรียนตลอดมา เป็นหลักและเป็นกำลังสำคัญให้กับพวกเราในฐานะองคมนตรี คำพูดและคำแนะนำที่ท่านพูดทุกคำกลั่นมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นมุมมอง เศรษฐกิจ การเมือง สังคม ปัญหาภาคใต้ พลังงาน บางครั้งคนรุ่นใหม่อ่านแต่สื่อ หรือดูโทรทัศน์ ซึ่งไม่พอ

ท่านบอกว่า ที่ได้รับโปรดเกล้าฯ ไม่ใช่ตัวท่าน ท่านเป็นตัวแทนของคนที่ทำงานเพื่อเป้าหมายเดียวกัน ท่านกำธนไม่รู้ว่าที่ท่านพูดมานั้นคือ ภาวะผู้นำที่สุดยอด ที่ทั่วโลกถือเป็น Trend ใหม่ ที่ผู้นำที่ดีคือ ยกย่อง สนับสนุนให้คนอื่น ๆ รอบข้างเก่งโดยไม่รู้ตัว ผู้นำที่ดีต้องไม่ใช่ยกย่องตัวเอง ฉันเก่งที่สุด ฉันเก่งคนเดียว

อีกท่านหนึ่ง ผมต้องขอส่งกำลังใจมา คือ อดีตรองนายกรัฐมนตรี คุณอำนวย วีรวรรณ ท่านอายุ 75 ปีแล้ว ยังทำงานเพื่อส่วนรวมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผมได้รับความกรุณาจากท่าน ในเรื่องการถ่ายทอดประสบการณ์ของท่านตลอดมา ทำให้ผมรอบรู้ ท่านรักและให้ความเป็นกันเองกับรุ่นหลัง ๆ มาก Coach รุ่นน้อง ๆ อย่างผมโดยตลอดอย่างจริงใจ ผมถือโอกาสอวยพรให้ท่านหายป่วย เพราะช่วงนี้ ท่านต้องเข้ารักษาพยาบาล แต่ได้ทราบว่าใกล้หายดีแล้ว

ส่วนท่านสุดท้ายคือ คุณหมอเสม พริ้งพวงแก้ว เพื่อนรักของคุณพ่อผม นายสุนทร หงส์ลดารมภ์ จะมีอายุครบ 96 ปี ในวันที่ 31 พฤษภาคมนี้ ในฐานะนายกสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ได้เขียนคำสดุดีท่าน 2 เรื่อง

- เรื่องแรกคือ จุดยืนของท่าน อะไรถูกก็ถูก อะไรไม่ถูกก็จะพูด

- อีกเรื่องคือ การให้กำลังใจ แก่รุ่นลูก ๆ อย่างผม ผมได้ดีในการทำงานเพราะท่านให้โอกาส สนับสนุน และถ่ายทอดความรู้ จึงอยากให้คนรุ่นหลัง ศึกษาประสบการณ์ของ " ผู้ใหญ่ " ที่ดีของสังคมไทย

ผมยังมีผู้ใหญ่อีกมากที่ยังไม่ได้เขียนถึงครับ
 จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน วันเสาร์ที่ 19 พ.ค. เป็นอีกวันหนึ่ง ที่ผมและเพื่อนๆ ที่เรียน ป.เอก ทำการสอบ COM อีกหนึ่งวัน ระหวางที่รอการสอบอยู่ ได้อ่านบทความของอาจารย์ และนำมาวางไว้ในบล็อคนี้ เพื่อให้ผู้สนใจได้ศึกษา พิจารณา  และขอความสวัสดีจงมีแด่ท่านผู้สนใจทุกท่าน

 

พัฒนาคนพันธุ์อา (บทเรียนจากความจริง กับ ดร.จีระ)[1] อาทิตย์หน้าจะมีเรื่องการพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญ ตัดสินพรรคการเมืองใหญ่ 2 พรรค คือ พรรคไทย รักไทย และพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นบรรยากาศที่ทุกคนให้ความสนใจอย่างมากซึ่งผมหวังว่าคงไม่มีเหตุการณ์ รุนแรงเกิดขึ้น

ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นปัญหาสังคมที่เกิดขึ้น คือ ข่าวเยาวชนไทยลอกเลียนแบบเหตุการณ์ที่มหาวิทยาลัย Virginia Tech โดยได้กระทำการอุกอาจยิงกราดตำรวจที่ตลาดไทยเป็นอีกตัวอย่างของการสะท้อนความไม่มั่นคง ของสังคมที่เกิดขึ้น และผลกระทบของโลกาภิวัตน์ที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ดังนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องทาง สังคม ควรให้ความสนใจและหาแนวทางแก้ไข


สำหรับวันนี้ ผมมี 3 เรื่องที่จะขอเล่าถึงงานที่ผมกำลังทำส่วนใหญ่เน้นการสร้างประโยชน์ต่อสังคม โดยรวม


เรื่องแรก เป็นโครงการพัฒนาภาวะผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพ ของ กฟผ. รุ่นที่ 3 ซึ่งเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ได้ ไปจัดกิจกรรม 2 วันเต็ม ๆ ที่โรงแรมเมธาวลัย อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี และในช่วงนี้กำลังสัมมนากันต่อที่โรงแรมเดอะ แกรนด์ฯ กรุงเทพฯ รวมระยะเวลาของหลักสูตรในประเทศทั้งสิ้น 8 วันเต็ม ก่อนที่จะเดินทางไปทัศนศึกษาดูงาน ต่อที่ประเทศออสเตรเลีย


เป็นการทำงานที่ต่อเนื่อง ผู้บริหารของ กฟผ. ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวิศวกร มีความรู้เฉพาะทางด้านการไฟฟ้า มาก แต่ยังขาดบางเรื่องที่จำเป็น เช่น การบริหารการเปลี่ยนแปลง การสร้างความสัมพันธ์กับท้องถิ่น ชุมชน ซึ่ง ควรจะเสริมในเรื่องนี้ด้วย


ผมสรุปประเด็นที่จะเรียนรู้ร่วมกับลูกศิษย์ กฟผ. รุ่น 3 ไว้ 4 เรื่อง คือ


1. การบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์


2. การบริหารการเปลี่ยนแปลง


3. การสร้างนวัตกรรมและมูลค่าเพิ่ม โดยเฉพาะนวัตกรรมทางด้านสังคม


4. การสร้างสังคมการเรียนรู้ในองค์กร (learning organization)


ที่น่าสนใจ ผมเห็นว่าศิษย์ กฟผ. รุ่น 3 ของผมนั้น มีความสนใจอ่านบทความมากขึ้น และผมได้ปรับ วิธีการเรียนรู้โดยเชิญวิทยากรจากต่างประเทศมาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้มากขึ้น


เรื่องที่สอง ผมได้ร่วมมือกับสำนักงานเทคโนโลยี กระทรวงมหาดไทย พัฒนาบุคลากรที่ทำทางด้านช่าง และการสื่อสาร เน้นเรื่องการปรับกระบวนทัศน์ มีประเด็นที่น่าสนใจ คือ เรื่องการทำงานต่อเนื่อง การทำงานเป็น ทีม และการสร้างความสัมพันธ์ต่อกันครับ


ส่วนเรื่องสุดท้าย คือ กิจกรรมที่ผมไปจัดที่พิษณุโลก ซึ่งผมมีโอกาสไปร่วมงานอยู่บ่อยครั้ง แต่ครั้งนี้ ผม จะไปร่วมงานในฐานะโค้ช 1 วันเต็ม จะเน้นถึงเรื่อง "คนพันธุ์ใหม่"หรือ คนพันธุ์ "อา" ซึ่งคำว่า "อา" นั้นก็ย่อมา จากคำว่า "อาชีวะ"


การพัฒนาอาชีวะนั้น การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะปัจจุบันคนไม่ค่อยให้ความ สนใจในการเรียนอาชีวะเท่าไหร่นัก ทั้ง ๆ ที่ในตลาดแรงงาน "อาชีวะ" เป็นกลุ่มบุคคลที่มีความสำคัญและเป็นที่ ต้องการของตลาด ดังนั้น ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายควรให้ความสำคัญกับการพัฒนา "คนพันธุ์อา" ให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งผมขอเน้นแนวทางสำหรับการพัฒนา "คนพันธุ์อา" ไว้ 3 เรื่อง ดังนี้


1. ผู้บริหารควรมีวิสัยทัศน์ มีความเข้าใจในโลกาภิวัตน์มากขึ้นกว่าเดิม หรือที่เรียกว่า "Know what going on" หรือ หลักคิดตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า "Think Macro Do Micro" เน้นการมองการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างกว้างขวาง ควรเข้าใจ ว่าโลกาภิวัตน์นั้น มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีผลกระทบอย่างมาก ดังนั้น สมาชิกอาชีวะ ควรจะให้ความสนใจการพัฒนาบทบาทเรื่องสร้างทรัพย์สินทางปัญญามาก ขึ้น สามารถช่วยให้อยู่รอด และสร้างความได้เปรียบจากโลกาภิวัตน์ได้


2. การมอง จาก S ไปสู่ D หรือ การเปลี่ยนจากการมองแค่ Supply ไปสู่การมองที่ Demand มากขึ้น ควรมีความเข้าใจว่าตลาดแรงงานเปลี่ยนแปลงอย่างไร ควรพัฒนาคุณภาพแรงงาน และบริการให้สอดรับกับตลาดมากยิ่งขึ้น


3. การปลูกฝังหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


4. การสร้างความสุขและความพอใจและภูมิใจในอาชีพ


5. การใช้ทฤษฎี HRDS (Happiness - Respect - Dignity - Sustainability)


6. การปรับทักษะ ความรู้และการพัฒนา Mindset


7. การเรียนรู้การใช้ภาษาต่างประเทศในระบบอาชีวะมากขึ้น


8. การมีสังคมปัญญา คู่คุณธรรม


9. การมองอาชีพอิสระมากขึ้น ไม่ใช่คิดถึงการเป็นมนุษย์เงินเดือนอย่างเดียว


ส่วนการทำงานเชิงรุกให้สำเร็จนั้น ควรเน้นเรื่องดังต่อไปนี้คือ


1.อย่ายึดติดกับกฎระเบียบมากเกินไป พร้อมที่จะแหวกวงล้อม และคำนึงถึงทฤษฎี 3 C อันประกอบด้วย Customer, Change ไม่เน้น Command and Control


2. มีการมอง Stakeholders ผู้รับบริการมากขึ้น ไม่ใช่มองแค่นักเรียนอย่างเดียว ควรมองถึง สื่อมวลชน นักวิชาการ นายจ้าง ต่างประเทศและส่วนอื่น ๆ มากขึ้นด้วย


อย่างไรก็ตาม การจะบรรลุความสำเร็จได้นั้น การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ควรมีความต่อเนื่อง การนำ ทฤษฎี 8K's , 5K's หลักของ 7 Habits หลักของการคิดแบบนวัตกรรมมาใช้จะเป็นประโยชน์ ซึ่ง ผมหวังว่าแม้ ผู้บริหารที่ไม่ได้ไปร่วมเรียนรู้กับพวกเรา สามารถนำเอาหลัก หรือแนวคิดนี้ถ่ายทอดในมุมกว้างด้วย
  จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181
 
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน 
วันเสาร์ที่ 26 พ.ค. ใกล้วันที่จะมีการตัดสินคดีทุจริตการเลือกตั้ง จะมีการยุบพรรคการเมืองหรือไม่ คงต้องรอผลการตัดสินฯ  อย่างไรก็ตาม ผมได้อ่านบทความของอาจารย์ เกี่ยวกับ การพัฒนานพนธุ์อา และนำมาวางไว้ในบล็อคนี้ เพื่อให้ผู้สนใจได้ศึกษา พิจารณา  และขอความสวัสดีจงมีแด่ท่านผู้สนใจทุกท่าน

 

พัฒนาคนพันธุ์อา (บทเรียนจากความจริง กับ ดร.จีระ)[1] 
อาทิตย์หน้าจะมีเรื่องการพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญ ตัดสินพรรคการเมืองใหญ่ 2 พรรค คือ พรรคไทย รักไทย และพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นบรรยากาศที่ทุกคนให้ความสนใจอย่างมากซึ่งผมหวังว่าคงไม่มีเหตุการณ์ รุนแรงเกิดขึ้น


ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นปัญหาสังคมที่เกิดขึ้น คือ ข่าวเยาวชนไทยลอกเลียนแบบเหตุการณ์ที่มหาวิทยาลัย Virginia Tech โดยได้กระทำการอุกอาจยิงกราดตำรวจที่ตลาดไทยเป็นอีกตัวอย่างของการสะท้อนความไม่มั่นคง ของสังคมที่เกิดขึ้น และผลกระทบของโลกาภิวัตน์ที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ดังนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องทาง สังคม ควรให้ความสนใจและหาแนวทางแก้ไข


สำหรับวันนี้ ผมมี 3 เรื่องที่จะขอเล่าถึงงานที่ผมกำลังทำส่วนใหญ่เน้นการสร้างประโยชน์ต่อสังคม โดยรวม


เรื่องแรก เป็นโครงการพัฒนาภาวะผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพ ของ กฟผ. รุ่นที่ 3 ซึ่งเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ได้ ไปจัดกิจกรรม 2 วันเต็ม ๆ ที่โรงแรมเมธาวลัย อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี และในช่วงนี้กำลังสัมมนากันต่อที่โรงแรมเดอะ แกรนด์ฯ กรุงเทพฯ รวมระยะเวลาของหลักสูตรในประเทศทั้งสิ้น 8 วันเต็ม ก่อนที่จะเดินทางไปทัศนศึกษาดูงาน ต่อที่ประเทศออสเตรเลีย


เป็นการทำงานที่ต่อเนื่อง ผู้บริหารของ กฟผ. ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวิศวกร มีความรู้เฉพาะทางด้านการไฟฟ้า มาก แต่ยังขาดบางเรื่องที่จำเป็น เช่น การบริหารการเปลี่ยนแปลง การสร้างความสัมพันธ์กับท้องถิ่น ชุมชน ซึ่ง ควรจะเสริมในเรื่องนี้ด้วย


ผมสรุปประเด็นที่จะเรียนรู้ร่วมกับลูกศิษย์ กฟผ. รุ่น 3 ไว้ 4 เรื่อง คือ


1. การบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์


2. การบริหารการเปลี่ยนแปลง


3. การสร้างนวัตกรรมและมูลค่าเพิ่ม โดยเฉพาะนวัตกรรมทางด้านสังคม


4. การสร้างสังคมการเรียนรู้ในองค์กร (learning organization)


ที่น่าสนใจ ผมเห็นว่าศิษย์ กฟผ. รุ่น 3 ของผมนั้น มีความสนใจอ่านบทความมากขึ้น และผมได้ปรับ วิธีการเรียนรู้โดยเชิญวิทยากรจากต่างประเทศมาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้มากขึ้น


เรื่องที่สอง ผมได้ร่วมมือกับสำนักงานเทคโนโลยี กระทรวงมหาดไทย พัฒนาบุคลากรที่ทำทางด้านช่าง และการสื่อสาร เน้นเรื่องการปรับกระบวนทัศน์ มีประเด็นที่น่าสนใจ คือ เรื่องการทำงานต่อเนื่อง การทำงานเป็น ทีม และการสร้างความสัมพันธ์ต่อกันครับ


ส่วนเรื่องสุดท้าย คือ กิจกรรมที่ผมไปจัดที่พิษณุโลก ซึ่งผมมีโอกาสไปร่วมงานอยู่บ่อยครั้ง แต่ครั้งนี้ ผม จะไปร่วมงานในฐานะโค้ช 1 วันเต็ม จะเน้นถึงเรื่อง "คนพันธุ์ใหม่"หรือ คนพันธุ์ "อา" ซึ่งคำว่า "อา" นั้นก็ย่อมา จากคำว่า "อาชีวะ"


การพัฒนาอาชีวะนั้น การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะปัจจุบันคนไม่ค่อยให้ความ สนใจในการเรียนอาชีวะเท่าไหร่นัก ทั้ง ๆ ที่ในตลาดแรงงาน "อาชีวะ" เป็นกลุ่มบุคคลที่มีความสำคัญและเป็นที่ ต้องการของตลาด ดังนั้น ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายควรให้ความสำคัญกับการพัฒนา "คนพันธุ์อา" ให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งผมขอเน้นแนวทางสำหรับการพัฒนา "คนพันธุ์อา" ไว้ 3 เรื่อง ดังนี้


1. ผู้บริหารควรมีวิสัยทัศน์ มีความเข้าใจในโลกาภิวัตน์มากขึ้นกว่าเดิม หรือที่เรียกว่า "Know what going on" หรือ หลักคิดตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า "Think Macro Do Micro" เน้นการมองการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างกว้างขวาง ควรเข้าใจ ว่าโลกาภิวัตน์นั้น มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีผลกระทบอย่างมาก ดังนั้น สมาชิกอาชีวะ ควรจะให้ความสนใจการพัฒนาบทบาทเรื่องสร้างทรัพย์สินทางปัญญามาก ขึ้น สามารถช่วยให้อยู่รอด และสร้างความได้เปรียบจากโลกาภิวัตน์ได้


2. การมอง จาก S ไปสู่ D หรือ การเปลี่ยนจากการมองแค่ Supply ไปสู่การมองที่ Demand มากขึ้น ควรมีความเข้าใจว่าตลาดแรงงานเปลี่ยนแปลงอย่างไร ควรพัฒนาคุณภาพแรงงาน และบริการให้สอดรับกับตลาดมากยิ่งขึ้น


3. การปลูกฝังหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


4. การสร้างความสุขและความพอใจและภูมิใจในอาชีพ


5. การใช้ทฤษฎี HRDS (Happiness - Respect - Dignity - Sustainability)


6. การปรับทักษะ ความรู้และการพัฒนา Mindset


7. การเรียนรู้การใช้ภาษาต่างประเทศในระบบอาชีวะมากขึ้น


8. การมีสังคมปัญญา คู่คุณธรรม


9. การมองอาชีพอิสระมากขึ้น ไม่ใช่คิดถึงการเป็นมนุษย์เงินเดือนอย่างเดียว


ส่วนการทำงานเชิงรุกให้สำเร็จนั้น ควรเน้นเรื่องดังต่อไปนี้คือ


1.อย่ายึดติดกับกฎระเบียบมากเกินไป พร้อมที่จะแหวกวงล้อม และคำนึงถึงทฤษฎี 3 C อันประกอบด้วย Customer, Change ไม่เน้น Command and Control


2. มีการมอง Stakeholders ผู้รับบริการมากขึ้น ไม่ใช่มองแค่นักเรียนอย่างเดียว ควรมองถึง สื่อมวลชน นักวิชาการ นายจ้าง ต่างประเทศและส่วนอื่น ๆ มากขึ้นด้วย


อย่างไรก็ตาม การจะบรรลุความสำเร็จได้นั้น การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ควรมีความต่อเนื่อง การนำ ทฤษฎี 8K's , 5K's หลักของ 7 Habits หลักของการคิดแบบนวัตกรรมมาใช้จะเป็นประโยชน์ ซึ่ง ผมหวังว่าแม้ ผู้บริหารที่ไม่ได้ไปร่วมเรียนรู้กับพวกเรา สามารถนำเอาหลัก หรือแนวคิดนี้ถ่ายทอดในมุมกว้างด้วย 
  
จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181
 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท