กิจกรรมบำบัดกับโรคสมองเสื่อม


         ผ่านไปแล้วสำหรับการอบรมกิจกรรมบำบัดกับโรคสมองเสื่อมในวันเสาร์ที่1 มีนาคม2557 ที่ผ่านมามีผู้สนใจมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  อาทิเช่น นักศึกษาอาจารย์บุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดล ข้าราชการบำนาญสังกัดกรุงเทพมหานคร คุณครูโรงเรียนเทศบาล ข้าราชการกองทัพบก ทนายความ และนักกิจกรรมบำบัด

สิ่งที่ผู้เข้าร่วมการอบรมอยากแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวันนี้เช่น

  • อยากทราบว่าโรคสมองเสื่อมคืออะไรจะได้เตรียมตัวและวางแผนในการดูแลตนเอง
  • มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมหนึ่งท่านอยากทราบว่าผู้ติดตามมีความเสี่ยงเป็นโรคนี้หรือไม่และอยากให้ท่านมาฟังด้วยตนเอง
  • นักศึกษาแสดงความคิดเห็นว่าอยากอัพเดทความรู้เพราะเคยทำวิจัยเรื่องโรคสมองเสื่อมมาก่อน
  • นักกิจกรรมบำบัดสองท่านอยากนำความรู้ในครั้งนี้ไปใช้กับผู้ป่วยที่ดูแลอยู่และเป็นการทบทวนความรู้อีกด้วย
  • ฯลฯ

           น่าสนใจว่าโรคสมองเสื่อมคืออะไร? จึงจับประเด็นมาคุยกันต่อว่าการหลงลืมตามวัยและโรคสมองเสื่อมนั้นมันแตกต่างกันอย่างไร และมีคำถามจากผู้เข้าร่วมการอบรมเพิ่มเติมเช่นการที่เราเครียดมากจนลืมอะไรง่ายๆนั้นคือโรคสมองเสื่อมไหมแล้วลืมบ่อยๆคือสมองเสื่อมหรือเปล่า  ฯลฯ

          สรุปได้ว่าส่วนใหญ่การหลงลืมตามวัยจะเกิดจากปัจจัยเช่น ความกังวลความเครียด  ส่วนโรคสมองเสื่อมจะบกพร่องเรื่องความใส่ใจความจำระยะสั้น มีอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงง่าย  ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจะมีความบกพร่องด้านการทำกิจวัตรประจำวันการเปลี่ยนแปลงด้านบุคลิกภาพและพฤติกรรมอย่างชัดเจน

สรุปกลุ่มอาการสมองเสื่อม

  1. หลงลืมเหตุการณ์โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นาน
  2. หลงเวลา สถานที่ หลงทาง หลงขนาด ระยะทางและหลงบุคคล
  3. บุคลิกหรืออารมณ์เปลี่ยนแปลงไป มีพฤติกรรมแปลกๆและมีบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง
  4. บกพร่องในการรับรู้หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ บกพร่องในการประกอบกิจกรรมที่ซับซ้อนหลายขั้นตอนและบกพร่องในการตัดสินใจแก้ไขปัญหา(สุภาวดี, 2547)

แล้วปัจจัยเสี่ยงในการเป็นโรคสมองเสื่อมท่านคิดว่าเกิดจากอะไร?

          ผู้เข้าร่วมการอบรมหลายท่านร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหลายประเด็นผู้เข้าร่วมการอบรมท่านหนึ่งแลกเปลี่ยนความรู้ว่าเคยอ่านงานวิจัยว่าการทานหมูปิ้ง(อาหารไขมันสูง) อาจทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นโรคสมองเสื่อมได้  นักศึกษาสาขาชีววิทยาศาสตร์โมเลกุลแชร์เรื่องคลื่นสมองที่เปลี่ยนแปลงเมื่อคนเราเกิดความเครียดหรือผ่อนคลาย  นักศึกษาสาขาneuroscience แสดงความคิดเห็นว่ากรรมพันธุ์สามารถทำให้เกิดโรคสมองเสื่อมเช่น อัลไซเมอร์ที่พบได้บ่อย ส่วนโรคความดันหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่การดื่มสุราหรือสิ่งเสพติดอื่นๆ หรือขาดสารอาหารบางชนิด  สามารถส่งผลให้เกิดvascular dementia ได้ซึ่งโรคสมองเสื่อมชนิดนี้สามารถป้องกันได้โดยลดพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆและหันมาดูแลตนเองโดยการออกกำลังกาย การทานอาหารเป็นต้น

          มีกิจกรรมทดสอบภาวะสมองเสื่อมโดยให้เช็คดูว่าตนเองมีความเสี่ยงต่อการเป็นอัลไซเมอร์หรือไม่? ดังนี้

  1. ลืมชื่อคน/เบอร์โทรศัพท์/ลืมนัดบ่อยๆ
  2. ลืมขั้นตอนทำกิจกรรมที่คุ้นเคยเช่น การทำอาหาร การทำงานบ้าน
  3. มีปัญหาเรื่องภาษาเช่น ลืมคำศัพท์ง่ายๆ ใช้คำพูดหรือการเขียนที่ทำให้เข้าใจยาก  เช่นเมื่อจะหาแปรงฟันอาจจะใช้ประโยคว่า .......ของที่ใช้เกี่ยวกับปากแทน
  4. หลงทาง สถานที่ ลืมวันเวลา
  5. การตัดสินใจบกพร่องลงเช่น การใช้เงินจ่ายสินค้าที่มากกว่าราคาปกติ
  6. มีปัญหาการคิดเชิงนามธรรมเช่น การคำนวณเลขให้เสร็จผู้ป่วยไม่รู้วิธีการ ตัวเลขและการทำโจทย์เลขให้เสร็จสมบูรณ์
  7. ลืมว่าวางของไว้ที่ไหนเช่น วางรีโมททีวีไว้ในตู้เย็น
  8. พฤติกรรมและอารมณ์เปลี่ยนแปลงขึ้นๆลงๆ
  9. บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงเช่น ขี้กลัวสับสนต้องพึ่งพาผู้อื่นมากขึ้น
  10. ขาดความกระตือรือร้นในการเริ่มต้นทำกิจกรรมต่างๆ พึ่งพาผู้อื่น นอนหลับมากกว่าปกติหรือไม่อยากทำอะไร

       น่าสนใจที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมอาวุโส ยกตัวอย่างว่า ช่วงหลังๆมานี้ตนเองมักเข้าห้องน้ำผิดบ่อยๆ ทั้งๆที่เป็นสถานที่ที่คุ้นเคย จะเข้าห้องน้ำชาย แต่เผลอไปเข้าห้องน้ำหญิง.....มีผู้แชร์ว่า ตนเองจะทำแกงส้มแต่ลืมใส่น้ำมะขามเปียก 

   แล้วนักกิจกรรมบำบัดจะช่วยเหลือผู้ป่วยกลุ่มสมองเสื่อมอย่างไร??

        นอกจากการใช้เครื่องมือมาตรฐานด้านความรู้ความเข้าใจ การประเมินกิจวัตรประจำวัน การประเมินสภาพบ้านและสิ่งแวดล้อมการประเมินทางจิตเวช เพื่อทราบปัญหาของผู้ป่วยแล้ว

       นักกิจกรรมบำบัดจะจัดโปรแกรมการฟื้นฟูและใช้วิธีการปรับหรือทดแทน ในการดูแลการทำกิจวัตรประจำวันพื้นฐาน การสื่อสาร การปรับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยสมองเสื่อม ฝึกและแนะนำกิจกรรมส่งเสริมด้านการรับรู้ความจำและการประสมประสานความรู้ความเข้าใจ (พีรยา, 2551)

     

ตัวอย่างกิจกรรม Table-top activities ในการฟื้นฟูสมอง

Tumbling tower เกมส์ตึกถล่ม ฝึก สมาธิ การวางแผน

    credit : http://www.telegraph.co.uk/gardening/5686808/Garden-games-five-of-the-best.html?image=1

จับคู่ ฝึกความจำ

credit : http://www.u-createcrafts.com/2013/06/simple-quiet-book-series-memory-match.html

Chess หมากรุก

ฝึกการคิดวางแผน

credit : http://sathiyam.tv/english/event/tnsca-tamilnadu-state-chess-association

กิจกรรมในชีวิตประจำวัน ที่ช่วยฝึกสมอง

อ่านข่าวหนังสือพิมพ์ ได้ฝึกทั้งสมาธิ การจดจำ การทบทวนวันเวลา 

credit : http://tyrannyoftradition.com/2011/08/20/pure-unadulterated-filth/

 ฝึกทำอาหาร ได้ฝึกทำตามขั้นตอน จดจำวิธีการ 

credit : http://www.puzman.com/tag/%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B3/ 

 

รวมทั้งมัลติเซนซอรี่ในห้อง snoezelen

เพื่อความสงบ ผ่อนคลาย กระตุ้นระบบการรับความรู้สึกต่างๆ

credit : http://www.myspecialneedsnetwork.com/profiles/blogs/international-multisensory

และมัลติเซนซอรี่ตามธรรมชาติอีกด้วย

 

credit : https://www.google.co.th/search?q=multi+sensory&source

ปลูกผักสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม ช่วยกระตุ้นความรู้สึกจากการรับรู้กลิ่น การจดจำกลิ่น การฝึกฝนเรื่องความจำจากการรู้จักพืชสมุนไพรชนิดต่างๆ 

credit : http://threeleaffarm.com/events/planning-a-medicinal-herb-garden/

กิจกรรมในวันนี้ ได้ชวนผู้เข้ารับการอบรมฝึกบริหารสมองทั้งสองข้าง

credit : http://www.youtube.com/watch?v=RBArsbxyUPs

        นอกจากนี้ มีน้องนักศึกษาได้แนะนำกิจกรรม นิวโรบิค (นิวรอน + แอโรบิค) น่าสนใจมากทีเดียว โดยการฝึกทำอะไรใหม่ๆ เช่น การขับรถในทางที่ไม่คุ้นเคย การลองเขียนมือข้างที่ไม่ถนัด ลองนำไปใช้ฝึกกันดูนะคะ

        กิจกรรมในวันนี้จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลยถ้าขาดการสนับสนุนจาก gotoknow และผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกท่านค่ะ....ขอบคุณสำหรับมิตรภาพ และรอยยิ้มจากทุกท่านค่ะ

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 563249เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2014 23:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มีนาคม 2014 23:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ชื่นชมและยินดีที่มีผู้เข้าร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้อย่างน่าสนใจ ประเด็นหนึ่งที่สำคัญ คือ ตัวอย่างกิจกรรมต่างๆ ที่แนะนำมาเป็นเพียงตัวเลือกที่ให้ผู้ดูแลหรือผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมได้ฝึกฝนด้วยตนเองแล้วพบว่า "ดีขึ้นสำหรับตัวเอง" เราจะเรียกว่า "การบำบัดด้วยกิจกรรม หรือ Activities Therapy" แต่ถ้ามีกระบวนการวินิจฉัยทางการแพทย์ว่าเป็นโรคสมองเสื่อม ทราบระดับสมองเสื่อมที่ชัดเจน และผ่านการประเมินระดับความคิดความเข้าใจและความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่ชัดเจน รวมทั้งมีการออกแบบโปรแกรมเฉพาะบุคคลที่ต่อเนื่องพร้อมมีการประเมินผลซ้ำ จากนักกิจกรรมบำบัดที่มีใบประกอบโรคศิลปะและ/หรือผ่านการอบรมเฉพาะทางด้านการจัดการภาวะ/โรคสมองเสื่อม เราจะเรียกว่า "กิจกรรมบำบัด หรือ Occupational Therapy"

เป็นบันทึกที่ดีมีประโยชน์นะคะ

ขอบคุณมากค่ะ อาจารย์ ดร.ป๊อป และ อาจารย์ ดร.พจนา ^ ^

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท