คำเปิดเล่มหนังสือ..."ทางไกล... เส้นทางสีขาวของชุมชนยาเสพติดแม่ฮ่องสอน"


*** ต้นฉบับหนังสือยังไม่สมบูรณ์ จะพิมพ์เผยแพร่ในปลายปีนี้

เปิดเล่ม...

 

<p class="MsoNormal"><span style="background: aqua none repeat scroll 0% 50%; font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma; -moz-background-clip: -moz-initial; -moz-background-origin: -moz-initial; -moz-background-inline-policy: -moz-initial">ผมทำงานกับพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ งานพัฒนาด้านสุขภาพอนามัย ด้วยคำว่า </span><strong><span style="background: yellow none repeat scroll 0% 50%; font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma; -moz-background-clip: -moz-initial; -moz-background-origin: -moz-initial; -moz-background-inline-policy: -moz-initial">“<span>สุขภาพ</span>”<span> </span></span></strong><span style="background: aqua none repeat scroll 0% 50%; font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma; -moz-background-clip: -moz-initial; -moz-background-origin: -moz-initial; -moz-background-inline-policy: -moz-initial">เกี่ยวพัน เชื่อมโยงกับทุกสิ่งในวิถีชีวิตของคน กระบวนการพัฒนาจึงหลากหลายกระบวนการเพื่อหวังให้ชุมชน สามารถพึ่งตนเองได้ทางด้านสุขภาพ เกิดความ </span><strong><span style="background: yellow none repeat scroll 0% 50%; font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma; -moz-background-clip: -moz-initial; -moz-background-origin: -moz-initial; -moz-background-inline-policy: -moz-initial">“<span>อยู่ดีมีสุข</span>”</span></strong><span style="background: yellow none repeat scroll 0% 50%; font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma; -moz-background-clip: -moz-initial; -moz-background-origin: -moz-initial; -moz-background-inline-policy: -moz-initial"> </span><span style="background: aqua none repeat scroll 0% 50%; font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma; -moz-background-clip: -moz-initial; -moz-background-origin: -moz-initial; -moz-background-inline-policy: -moz-initial">อันเป็นสิ่งหวังสูงสุดของคนยากจนและคนทั่วไปในชนบท</span><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma"> </span><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma"></span></p>    <p class="MsoNormal"><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma; color: #003300">การทำงานคลุกคลีกับพี่น้องบนดอยสูง ทำให้ผมเกิดความรัก ความผูกพัน ในสถานที่และตัวบุคคล ด้วยกระบวนการ การพัฒนาที่หลากหลายในงานพัฒนาชุมชน ทำให้ต้องเกี่ยวข้องกับ งานพัฒนาที่มาจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งเป็นงานพัฒนาของหน่วยงานที่ตนเองสังกัด และงานพัฒนาจากข้างนอก โดยวัตถุประสงค์ สร้างความอยู่ดี กินดี<span>  </span>ความตั้งใจของแต่ละคน แต่ละหน่วยงานเป็นอย่างนี้มาช้านาน ทำเสร็จๆจบๆไปเป็นโครงการไป<span>  </span>ผลสำเร็จก็มีให้เห็นชั่วครั้ง ชั่วคราว จากนั้นก็เงียบหายไป ทุกอย่างกลับมาเหมือนเดิม หากจะเริ่มใหม่ก็เริ่มใหม่ตรงจุดเดิมอีก เป็นอย่างนี้ร่ำไป</span></p>    <p class="MsoNormal"><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma">เกิดคำถามว่า </span><strong><span style="background: yellow none repeat scroll 0% 50%; font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma; -moz-background-clip: -moz-initial; -moz-background-origin: -moz-initial; -moz-background-inline-policy: -moz-initial">“<span>ความยั่งยืน</span>”<span> ของการพัฒนามันอยู่ที่ไหน</span>? <span>ทำอย่างไรให้ชาวบ้านพึ่งตนเองได้</span>? <span>ถึงคำถามสุดฮิตว่า ทำอย่างไรให้ชุมชนเข้มแข็ง</span>?</span></strong><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma"><span>  </span><span>เหล่านี้เป็นคำถามที่ผมถามตัวเองตลอดเวลาที่ทำงานพัฒนาชุมชน</span></span></p>    <p class="MsoNormal"><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma">หลังจากการประกาศสงครามกับยาเสพติดครั้งที่ ๒ ปี ๒๕๔๗ เพียงไม่กี่เดือนผมมีโอกาสดี ได้เข้าสู่ </span><strong><span style="background: yellow none repeat scroll 0% 50%; font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma; -moz-background-clip: -moz-initial; -moz-background-origin: -moz-initial; -moz-background-inline-policy: -moz-initial">“<span>กระบวนการทางปัญญา เพื่อพัฒนาท้องถิ่น</span>”</span></strong><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma"> ในครั้งนั้นผมได้อีเมลล์ไปถาม<strong><span>  </span>คุณอรุณี เวียงแสง</strong> ซึ่งเป็นผู้ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นแม่ฮ่องสอนในขณะนั้น ว่า ผมมีโครงการพัฒนาและอยากทำงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นดูบ้าง และก็คิดว่าน่าจะเป็นหนทางที่จะช่วยตอบคำถามหลายข้อที่ค้างคาใจผม ทางคุณอรุณี เวียงแสงก็ตอบรับและให้ส่งข้อเสนอการวิจัยที่ผมสนใจ ผมได้หารือกับพี่ชายของผม ท่าน <strong>พ.ท.ปิยวุฒิ โลสุยะ</strong> ซึ่งท่านเป็นนายทหารที่ทำงานป้องกันและปราบปรามปัญหายาเสพติดที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน สนใจการแก้ไขปัญหาของหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจากปัญหายาเสพติด ใน จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งมีอยู่หลายๆหมู่บ้านด้วยกันว่า </span><strong><span style="background: yellow none repeat scroll 0% 50%; font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma; -moz-background-clip: -moz-initial; -moz-background-origin: -moz-initial; -moz-background-inline-policy: -moz-initial">“<span>เราน่าจะมีกระบวนการพัฒนาที่ใช้รูปแบบของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเข้าไปเป็นเครื่องมือในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น เราต่างเห็นว่าน่าจะเป็นทางเลือกทางรอด และเหมาะสม</span></span></strong><strong><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma">”<span> </span></span></strong><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma">ก็ลองดู เลยเป็นจุดเริ่มของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ขึ้นมาในบริบทของการแก้ไขปัญหายาเสพติด ๓ โครงการ ใน ๓ ชุมชนเป้าหมายของจังหวัดแม่ฮ่องสอนในขณะนั้น</span><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma"></span></p>    <p class="MsoNormal"><strong><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma; color: blue">กระบวนการทำงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น</span></strong><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma; color: blue"> ไม่ได้ราบรื่นตามที่คิดฝัน ตลอดระยะเวลาเราได้เรียนรู้มากมายในกระบวนการ ที่ทำกับชุมชน มีงานสำเร็จ และงานล้มเหลว ทำใหม่หลายครั้งก็ยังล้มเหลว<span>  </span>ที่สำเร็จไปแล้วก็คงต้องคิดหาวิธีการใหม่ๆที่จะดำเนินงานต่อไป เพราะเป็นงานวิจัยทำให้เรามีเวลาที่จะสำเร็จและในขณะเดียวกันมีเวลาสำหรับการล้มเหลว ทั้งนี้ก็เพื่อการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงลองผิด ลองถูก ทุกอย่างเป็นกระบวนการเรียนรู้ทั้งนั้น ซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นประสบการณ์ที่มีคุณค่ามากในการทำงานพัฒนาลักษณะนี้</span><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma; color: blue"></span></p>    <p class="MsoNormal"><span style="background: aqua none repeat scroll 0% 50%; font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma; -moz-background-clip: -moz-initial; -moz-background-origin: -moz-initial; -moz-background-inline-policy: -moz-initial">เพราะ </span><strong><span style="background: aqua none repeat scroll 0% 50%; font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma; -moz-background-clip: -moz-initial; -moz-background-origin: -moz-initial; -moz-background-inline-policy: -moz-initial">“<span>คน</span>”</span></strong><span style="background: aqua none repeat scroll 0% 50%; font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma; -moz-background-clip: -moz-initial; -moz-background-origin: -moz-initial; -moz-background-inline-policy: -moz-initial"> เป็นหัวใจของการพัฒนาท้องถิ่น สิ่งที่พิเศษที่ทีมงานวิจัยได้รับโดยตรงในการทำงานครั้งนี้ คือ </span><strong><span style="background: aqua none repeat scroll 0% 50%; font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma; -moz-background-clip: -moz-initial; -moz-background-origin: -moz-initial; -moz-background-inline-policy: -moz-initial">“<span>การพัฒนาศักยภาพคนทำงาน และชุมชน</span>”</span></strong><span style="background: aqua none repeat scroll 0% 50%; font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma; -moz-background-clip: -moz-initial; -moz-background-origin: -moz-initial; -moz-background-inline-policy: -moz-initial"> การพัฒนาศักยภาพคน เริ่มจากพี่เลี้ยง และหัวหน้าโครงการวิจัยซึ่งเป็นคนนอกทั้งสิ้นได้เรียนรู้กระบวนการ วิธีคิด เรียนรู้ปัญหาและกระบวนการแก้ไข เรียนรู้การทำงานร่วมกันเป็นทีม และได้เรียนรู้สิ่งต่างๆมากมาย เราถือว่าได้มากมายจริงๆในงานพัฒนาแบบนี้</span><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma"></span></p>    <p class="MsoNormal"><strong><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma">นักวิจัยชาวบ้าน</span></strong><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma"> ได้รับการพัฒนาศักยภาพโดยไม่รู้ตัว ช่วงระยะเวลาปีกว่าๆสำหรับการศึกษาวิจัย ได้เปลี่ยนให้นักวิจัยชาวบ้านให้เป็นคนใหม่ที่มีความมั่นใจ และกล้าแสดงออก สามารถนำกระบวนการวิจัย วิธีคิดที่เป็นระบบไปใช้ในการพัฒนาชุมชนตนเองได้เป็นอย่างดี บรรดาพี่เลี้ยงนักวิจัยทราบดีว่านักวิจัยชาวบ้านแต่ละคนได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างไร เพราะเราทำงานเคียงคู่กันมาโดยตลอด</span><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma"></span></p>    <p class="MsoNormal"><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma">ผู้ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นแม่ฮ่องสอน พูดเสมอ<span style="background: yellow none repeat scroll 0% 50%; -moz-background-clip: -moz-initial; -moz-background-origin: -moz-initial; -moz-background-inline-policy: -moz-initial">ว่า </span></span><strong><span style="background: yellow none repeat scroll 0% 50%; font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma; -moz-background-clip: -moz-initial; -moz-background-origin: -moz-initial; -moz-background-inline-policy: -moz-initial">“<span>ความสำเร็จของงานวิจัยคงไม่ได้หมายถึง สำเร็จตามวัตถุประสงค์งานวิจัยที่ตั้งไว้ สำเร็จตามคำตอบที่ตอบคำถามงานวิจัยได้แค่นั้น</span>”</span></strong><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma"><span>  </span>ปรากฏการณ์ </span><strong><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma">“<span>คนเก่งขึ้น</span>”</span></strong><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma"> ข้างต้น น่าจะเป็นคำตอบได้ดีสำหรับ </span><strong><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma">“<span>งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น</span>”<span></span></span></strong></p>    <p class="MsoNormal"><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma">เรื่องราวหลายเรื่องราวที่เป็นประสบการณ์การทำงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจากพื้นที่ถูกร้อยเรียงผ่านการเขียนบอกเล่าจากคนทำงาน และจากกระบวนการที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นการถอดบทเรียนและเป็นแนวทางในการทำงานพัฒนาประเด็นอื่นๆ ในชุมชน </span><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma"></span></p>    <p class="MsoNormal"><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma">ส่วนหนึ่งของหนังสือเล่มนี้จึงเป็นเหมือน </span><strong><span style="background: yellow none repeat scroll 0% 50%; font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma; -moz-background-clip: -moz-initial; -moz-background-origin: -moz-initial; -moz-background-inline-policy: -moz-initial">“<span>สะพานที่เชื่อมไปสู่ความเข้าใจระหว่างนักพัฒนาและชุมชน</span>”</span></strong><strong><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma"> </span></strong><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma"><span> </span>ให้เห็นความสวยงามของกระบวนการทำงาน ความหลากหลายของปัญหา ความต่างของการเป็นอยู่ของมนุษย์ด้วยกัน และสุดท้ายคือ </span><strong><span style="background: yellow none repeat scroll 0% 50%; font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma; -moz-background-clip: -moz-initial; -moz-background-origin: -moz-initial; -moz-background-inline-policy: -moz-initial">“<span>ประติมากรรมด้านความคิด</span>”</span></strong><strong><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma"> </span></strong><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma">ที่ได้รับผ่านการวิจัยเพื่อท้องถิ่น</span><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma"></span></p>  <p class="MsoNormal"><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma"> </span></p>  <p class="MsoNormal"><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma"><span>                                                        </span><strong><span></span>จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร</strong></span><strong><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma"></span></strong></p>  <p class="MsoNormal"><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma"><span>                                                         </span>เมืองปาย,แม่ฮ่องสอน</span><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma"></span></p>  <p class="MsoNormal"><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma"> </span></p>  <p class="MsoNormal"><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma"> </span></p>  <p class="MsoNormal"><span style="font-size: 10pt; font-family: Tahoma">*** <span>ต้นฉบับหนังสือยังไม่สมบูรณ์ จะพิมพ์เผยแพร่ในปลายปีนี้</span></span></p>  <p class="MsoNormal"><strong><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma"> <hr width="100%" size="2"></span></strong></p>  <p class="MsoNormal"><strong><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma">บทเปิดเล่ม</span></strong><strong><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma"></span></strong></p>  <p class="MsoNormal"><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma">หนังสือ </span><strong><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma; color: blue">“<span>ทางไกล เส้นทางสีขาวของชุมชนยาเสพติดแม่ฮ่องสอน</span>”</span></strong><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma; color: blue"> </span></p>  <p class="MsoNormal"><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma">ประสบการณ์วิจัยจากพื้นที่</span><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma"></span></p>  <p class="MsoNormal"><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma">ชุดโครงการวิจัย </span><strong><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma; color: blue">“<span>เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหายาเสพติดจังหวัดแม่ฮ่องสอน</span>”</span></strong><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma"></span></p>  <p class="MsoNormal"><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma">สนับสนุนโดย </span><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma">: <strong><span style="color: blue">สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)สำนักงานภาค </span><span style="color: blue"></span></strong></span></p>  <p class="MsoNormal"><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma">จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร </span><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma"></span></p>  <p class="MsoNormal"><span style="font-size: 10pt; font-family: Tahoma">E-mail : [email protected]</span></p>
หมายเลขบันทึก: 56270เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2006 11:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (29)
  • เข้ามาให้กำลังใจ ในโครงการที่เติมความฝัน ปันรอยยิ้มให้กับชุมชน และคนมีอุดมการณ์นะคะ

ได้กำลังใจอย่างฉับพลันจาก พี่Bright Lily

ขอบคุณมากครับ ว่าแล้วก็ เติม ความฝัน ปันรอยยิ้มให้กับชุมชน ต่อไปครับ

 

คุณเอกคะ 

  • งานของคุณเอก  เหนื่อยหนักกว่างานของครูอ้อยมากเลยค่ะ
  • เมื่ออ่านบันทึกแล้ว  เกิดพลังใจมาสู่ครูอ้อยอย่างเต็มสตีม  ที่มีผู้อื่นที่ลำบากยากเข็ญกว่าครูอ้อยอีก 
  • ขอให้กำลังใจที่ได้มานี้จงกลับไปสู่คุณเอกตามแต่ใจคุณเอกปรารถนานะคะ

ขอบคุณครูอ้อย สิริพร กุ่ยกระโทก

งานของผมที่ผ่านมาหนักหน่วงพอสมควรครับ แต่ผลที่ได้ก็เกินคาดหมาย ผมภูมิใจครับ

ทั้งหมด เรื่องราวจะถูกร้อยเรียงในหนังสือที่จะออกปลายปีนี้ แล้วครูอ้อยจะรู้จักผมมากขึ้น ครับ :)

ดีใจครับ บันทึก ผมหลายๆบันทึก หลายท่านบอกว่าได้กำลังใจ ซึ่งผมก็คิดว่า เกินคาดด้วยครับ สำหรับการถ่ายทอด

ทำงานไม่ว่าจะเหนื่อยยากแค่ไหน ขอเพียง"สุขใจ"

ขอกำลังใจบ้างรายทางเพื่อช่วยให้หัวใจดวงน้อยได้ฉ่ำชื่น ผมก็พอใจแล้วครับ 

  • ตกใจภาพแรกครับ
  • เหมือนเคยเป็น
  • แบบว่าร้อยเอกปลอมตัวมาครับ
  • แวะมาให้กำลังใจ ดูแลสุขภาพบ้างนะครับ
จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

ชายแดนที่แม่ฮ่องสอนภาพนี้ชินตาครับ

..................

ขอบคุณกำลังใจที่ดีครับอาจารย์ ผมดูแลสุขภาพทั้งกายและใจครับ 

ทำดีต่อไปนะคะ กำลังใจมีให้เสมอ

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

นางฟ้า

 ขอบคุณนางฟ้าครับ ขอบคุณสำหรับกำลังใจ

รออ่านค่ะ  ^_^

(และมีคนรออ่านอีกหลายคน)

ชื่นชม อ.จตุพร จริงๆ ค่ะ ... งานนี้ไม่ง่ายนักสำหรับใครหลายคน แต่ก็ไม่ยากสำหรับคนที่มีใจรัก ... สังคมควรรู้จักชุมชนเช่นนี้อีกเยอะๆ นะคะ เมื่อเรารู้จักกันทั่วประเทศไทย แล้วเราก็น่าจะรู้ว่า เราควรทำอะไรให้ใครเน๊าะ

  • ฮ่า ฮ่า ในที่สุดคุณเอกก็ได้พบกับนางฟ้าแล้ว เพียงแต่นางฟ้าไม่ยอมเข้าระบบ
  • อย่างนี้ต้องตามหานางฟ้ากันต่อไป...
  • ^___^
  • เป็นกำลังใจให้ค่ะ  สู้สู้
  • รออ่านรวมเล่มค่ะ
  • เหนื่อยหนักก็พักบ้างนะคะ
  • take  care

ถึงพี่ชายจตุพร

      ผมได้ส่งอีเมล  บทกวีลงปกหนังสือมาให้พี่เรียบร้อยแล้ว  หากอ่านแล้วมีความคิดเห็นประการใดขอให้แนะนำเพื่อปรับปรุงได้เลยครับ

ขอบคุณมากครับ

สวัสดีค่ะ คุณจตุพร คงได้มีโอกาสอ่านหนังสือที่มีคุณภาพอีกเล่มหนึ่ง เห็นทำงานแล้วเหนื่อยแทน แต่กำลังใจที่ทุกคนส่งให้ คงทำให้หายเหนื่อยไปเยอะนะคะ เป็นกำลังใจให้อีกคนค่ะ สวัสดีค่ะ

คุณเอก อ้าว! ....คุณเอกเจอนางฟ้าแล้ว.....ยังงี้....คุณเมตตาก็เลิกเขียนตามหานางฟ้าได้ใช่มั๊ยคะ

อ.ขจิตส่งข่าวว่าน้องชายกำลังต้องการผ้าพันใจเลยตามมาถามว่าจริงหรือเปล่าจะได้เตรียมไว้ให้จ้ะ

อ้อ..หนังสือออกเมื่อไหรบอกด้วยจะซื้อไปแจกชาวบ้าน..อิอิ

ช่วงนี้ผมงานเยอะ เดินทางอีกแล้ว วันนี้ผมเดินทางไกลจากเมืองปายมาที่แม่ฮ่องสอน เข้าร่วม

  • เวที "การพัฒนาภูมิสังคม ปัญญา"
  • เวที"ชุมชนคนวิจัยเพื่อท้องถิ่นแม่ฮ่องสอน"
  • และเป็นร่วมวิทยากร อบรม พนักงานสุขภาพชุมชนชายแดน (พสชช.)

ซึ่งเป็นนวัตกรรมการทำงานสาธารณสุขเชิงรุกของ แม่ฮ่องสอนครับ

คิดว่า ผมจะได้รับความรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในห้วงนี้มากมาย

แล้วจะนำมาเขียนบันทึกให้แลกเปลี่ยนกันนะครับ

ขอบคุณกำลังใจทุกกำลังใจครับผม

..................................... 

คุณมิชลินครับ

ขอบคุณครับสำหรับกำลังใจ ให้ผมครับ ได้อ่านแน่ครับ คิดว่าใกล้คลอดแล้ว ไม่น่าจะแท้งนะครับ :) 555

อาจารย์หมอนนท์

ผมอาจไม่ใช่มืออาชีพครับ แต่ผมอยากทำครับ ก็เล่าเรื่องสไตล์ผมหละครับ..เหมือนบันทึกที่ผมเขียนมาเกือบ๒๐๐ บันทึก

ขอบคุณครับ 

พี่ไมโตครับ

คิดถึงนางฟ้า นางฟ้าก็มา...แต่ก็อย่างนี้ละครับ นางฟ้าไม่ยอม Sing In

คุณกัลปังหา

สู้ สู้ ครับ... :) งานนี้กำลังใจเพียบเลย ไม่สู้ไม่ได้แล้วครับผม

เหนื่อยกายพักแปบเดียวหายแล้วครับ

น้องชายสิทธิเดช

ผมได้รับอีเมลล์แล้วครับ แล้วผมจะตอบเมลล์กลับนะครับ เพราะอาจมีการรบกวนน้องชายเพิ่มในบางจุด

ขอบคุณมิตรภาพอบอุ่นที่น้องของผมมีให้เสมอมาครับ

คุณเปีย
งานเหนื่อยแต่มีความสุขครับ..ผมโชคดีที่มีโอกาส ในกระบวนการทำงานจริงๆแล้วเราเหน็ดเหนื่อยมากกว่าหลายเท่า ที่ผมสื่อออกมาผ่านหนังสือ

ไม่นานครับ ปลายปีคงพิมพ์เสร็จครับ

พี่เมตตา

นางฟ้ามาแล้วก็ไปครับ แถมยังไม่ Sign In อีก อย่างนี้จะทราบว่าใครละครับ...

เขียนต่อเถอะครับ ตามหานางฟ้า สนุกสนานมีให้ลุ้นตลอดเวลา

พี่เล็ก ศุภลักษณ์

มีพี่ใจดีช่วยบอกวิธีตามหานางฟ้าให้ จนกระทั่งวันหนึ่งมีนางฟ้านิรนามมาเขียนข้อคิดเห็น

และนางฟ้าก็จากไป... :)

ขอบคุณครับ หนังสือผมเป็นหนังสือที่ถอดบทเรียนการทำงานครับ ไม่แน่ใจว่าจะสนุกสนานหรือไม่

ยังหวั่นๆครับ โฆษณาไว้ก่อน กลัวเจ้าของ Gotoknow ท่านมาเก็บค่าโฆษณาครับผม 

 

ขอเป็นกำลังใจในการทำหนังสือเล่มนี้ อย่างมีชีวิตชีวา

จะติดตาม หนังสือ เล่มนี้ค่ะ

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

ขอบคุณครับ คุณ Chah

รอติดตามครับผม 

    อาจารย์คะ พี่ดีใจและภูมิใจกับผลที่เกิดจากความตั้งใจจริงในการช่วยให้ผู้อื่นมีความสุข เข้มแข็งและพึ่งตนเองได้ การทำงานด้านการพัฒนาแม้ว่าจะเป็นไปตามที่คาดหวังหรือไม่เป็นไปตามคาดหวังก็ตาม  แต่เราได้การเรียนรู้ที่มีคุณค่ามากเป็นการเพิ่มพูนศักยภาพโดยเราไม่รู้ตัวเลยค่ะ ......อย่างตอนนี้พูดได้เลยค่ะอาจารย์เป็นอีกคนหนึ่งที่มีความสามารถด้านการวิจัยท้องถิ่น....พี่เองอยากเรียนรู้และลงทำวิจัยท้องถิ่นบ้าง แต่สถาณการณ์กำลังจะผันให้เราเป็นนักจัดการงานวิจัย ถ้าถามว่าชอบไหมบอกได้เลยว่าไม่ชอบ  อยากทำวิจัยอย่างอาจารย์มากกว่าค่ะ...ช่วงนี้อากาศเริ่มหนาวแล้วบัวตองคงบานสวยเต็มภูเขาแล้วหรือยังคะ ...

อาจารย์หิ่งห้อย ครับ

ขอบคุณสำหรับกำลังใจที่แสนดีของอาจารย์ครับ

ผม ...

ชีวิตการทำงานที่ได้ใกล้ชิดผูกพัน กลายเป็นคนในที่รู้สึกร่วมกับชุมชน จนกระทั่งได้ต่อสู้ และสรางกระบวนการเรียนรู้ขึ้นในชุมชนชายขอบ

อาจเป็นชุดโครงการวิจัยเล็กๆ มีโครงการวิจัยย่อย ๓ - ๔ โครงการ แต่พวกเราคนทำงานเรามองว่า มันยิ่งใหญ่ที่สุด

หลายงานก็ตอบวัตถุประสงค์ตรงๆไม่ได้ครับ แต่ผลกระทบจากงานวิจัยและพัฒนาคุ้มค่ามากที่เราได้เรียนรู้ร่วมกัน

ผมเป็นนักเรียนรู้ ไม่เชี่ยวชาญแต่สนใจ และใส่ใจงานรักที่จะทำด้วยครับ งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเป็นกระบวนการทำงานที่ต้องเหน็ดเหนื่อยมากพอสมควรครับ เพราะเป็นงานที่ Action ส่วนหนึ่ง ใช้เวลามากถึงจะเห็นผล แต่ก็คุ้มค่านะครับ

ผมเองก็เป็นนักจัดการงานวิจัย กลายๆนะครับ เพราะบริหาร และเป็นที่ปรึกษางานวิจัยชิ้นใหม่ๆหลายชิ้นงาน แต่ส่วนหนึ่งก็ยังมีโครงการวิจัยที่ทำเองอยู่ด้วย ส่วนหนึ่งจะเป็นงานวิจัยที่เป็นเชิงสังเคราะห์มากขึ้นครับ

อาจารย์ได้ทำสิ่งที่มีคุณค่าตามบทบาทแล้ว เพราะเลือกแล้วไงครับ อาจารย์ถึงต้องได้รับหน้าที่ บทบาทอันทรงเกียรตินั้น

อากาศเริ่มหนาวเย็นขึ้นทุกขณะแล้วครับ ดอกไม้ช่วงหนาวสวยครับ ไม่เฉพาะบัวตอง

ช่วงนี้เองเป็นเทศกาลดอกบัวตองบานที่ดอยแม่อูคอแล้วครับ

ขอให้อาจารย์มีสุขและสดชื่น

ขอบคุณอาจารย์มากครับ สำหรับกำลังใจที่ดีให้ผมเสมอมา

  • ดีใจกับสหายที่ผลงานออกมาเป็นชิ้นสาธารณะ
  • ถ้าเจอจะเอามาอ่าน หวังว่า ความรักของสหายจะทำไห้ข้าน้อยรู้สึกอบอุ่นเหมือนเวลาอ่านบันทึกของสหาย
  • ความรักในงานที่ทำ ทำให้เกิดความสุขได้จริงไหม ท่านเป็นตัวอย่างที่ทำให้ข้าน้อยได้เห็น ได้ติดตาม
  • เป็นกำลังใจให้ท่านรักในงานที่ทำต่อไป รวมทั้งความรักแบบอื่นด้วย
  • ปล. นางฟ้ามีตัวตนจริงๆ ด้วยแหะ

 จันทร์เมามาย

จริงๆผมมีงานเขียนมากเหมือนกันครับ แต่ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน

งานเขียนชิ้นนี้เป็นชิ้นแรกที่จะตีพิมพ์และรวมเล่ม ผมก็ทำดีที่สุดครับ

สำหรับ "ความรัก" เป็นตัวแทนของความพอใจที่จะทำงานชิ้นนั้นได้ด้วยใจที่ทุ่มเท และมีความสุขยิ่งๆขึ้นไป ไม่ว่าจะอยู่ในสภาวะอย่างไร รักในสิ่งที่ทำ  เป็นแรงใจที่ดีให้เดินต่อไป

ขอบคุณเพื่อน กัลยามิตร สำหรับกำลังใจ และ ติดตามผมอย่างสม่ำเสมอ...

ปล. นางฟ้าในไซเปอร์ มีครับ แต่ในชีวิตจริงคงต้องค้นหาอีกหลาย เพลา

แว่วเสียงปืนกังวานสะท้านพฤกษ์
ปลุกสำนึกประชาชนทุกหนแห่ง
นาฏกรรมบทเรียนการเปลี่ยนแปลง
รวมเรี่ยวแรงขัดขวางเส้นทางมาร


     คือเส้นทางยาเสพติดปลิดชีพชาติ
ความพินาศรุมเร้าเข้าเผาผลาญ
แผ่นดินไทยสงบสุขถูกรุกราน
จึงเดือดดาลทั่วแดนแผ่นดินดอย


     บ้านรักไทย มิใช่ทาสอำนาจเถื่อน
รุ่งอรุณ พร้อมขับเคลื่อนสู้มิถอย
กึ๊ดสามสิบ ใช่สิ้นหวังจนล่องลอย
สันติชล ใช่ยับย่อยเหลือลางเลือน


     พวกเราพร้อมสรรค์สร้างเส้นทางใหม่
ใช้กระบวนการวิจัยเข้าขับเคลื่อน
ทหารพร้อมชาวบ้านคล้องแขนเตือน
ล้วนผองเพื่อนสร้างสมอุดมการณ์


     จากป่าเขาเรียงรายกลายสถาพ
เป็นทุ่งทาบทางเที่ยวทุกหย่อมย่าน
เพื่อชุมชนเข้มแข็งยั่งยืนนาน
เป็นหมู่บ้านพราวพิสุทธิ์ จุดประกาย

....................

ขอบคุณน้องชายสิทธิเดช กนกแก้ว   สำหรับบทกวีที่เพิ่มความยินดี ในงานที่ผมรัก

ขอบคุณมากครับ

โห นี่แค่อ่านเกริ่นเรื่องนะเนี้ยะ ยังน่าสนใจขนาดนี้ แล้วเล่มจริงจะได้อ่านเร็วๆ นี้หรือเปล่าคะ

แน่นอนครับ น้อง pakanda

ตอนนี้ฝ่ายศิลป์ ฝ่ายรวบรวมทำงานกันอย่างหนัก ^___^

คิดว่าช่วงปลายปี คงได้อ่านกันครับผม

  • ยินดีด้วยนะครับกับงานเขียนเล่มใหม่ที่กำลังออกสู่สาธารชน
  • ผมชอบอ่านหนังสือ เติบโตจากครอบครัวที่ไม่มีอันจะกินนัก ไม่มีเงินซื้อหนังสือเรียน แต่พอเรียนมหาลัยก็เริ่มเขียนสารคดีตีพิมพ์ได้บ้าง เงินที่ได้ก็ซื้อหนังสือสถานเดียว
  • ทุกวันนี้ก็เปิดร้านเช่าหนังสือ ให้นิสิตที่เดือดร้อนเรื่องเงินหมุนเวียนไปดูแล ซึ่งผมก็แทบไม่ได้เข้าไปดูนัก
  • เป็นกำลังใตให้นะครับกับงานเขียนดี ๆ ที่กำลังทำหน้าที่เป็นกระจกเงาสังคมอีกเล่ม

ขอบคุณครับคุณ แผ่นดิน

เป็นความภาคภูมิใจส่วนตัวด้วยครับ ที่หนังสือเล่มนี้เป็นการถอดกระบวนการทำงาน และเล่าชีวิตคนทำงาน"วิจัยเพื่อท้องถิ่น"

อาจเป็นเนื้อหา ประสบการณ์ของคนเล็กๆ คนกลุ่มหนึ่งที่ทำงาน แต่ทว่ายิ่งใหญ่มากในความรู้สึกของผม

ผมตั้งใจอย่างที่สุดครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท