ศรัญญา ประทัยเทพ : เรื่องเล่าจากใจหมอมะเร็ง


ก่อนอื่นขอท้าวความจากอดีตที่ผ่านมาตั้งแต่ตัดสินใจเรียนเป็นอายุรแพทย์โรคมะเร็งแล้ว ก็มักจะโดนคนรอบข้างถามมาตลอดว่า อยู่กับคนไข้โรคมะเร็งไม่หดหู่เหรอ รู้สึกเศร้าตามคนไข้ไหม

สิ่งที่ตอบคนอื่นไปในตอนนั้นคือ "ไม่หดหู่หรอก โรคมะเร็งก็เหมือนโรคเรื้อรังทั่วไป คนไข้เราดูดีกว่าคนไข้โรคอื่นอีกนะ"

ตรงนี้แหละที่ทำให้ตั้งใจว่าจะทำให้คนไข้มะเร็งของเรามีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดทั้งทางกายและทางใจให้ได้ พอมาทำงานเรื่องมะเร็งจริงๆแล้ว เห็นทั้งคนไข้ที่ยังแข็งแรงดี อาการไม่มาก และคนไข้ที่สภาพแย่มากๆมันก็ทำให้เห็นภาพของคนไข้จริงๆมากขึ้น รู้ความต้องการของคนไข้และคนไข้เองทำให้เราเห็นว่าสิ่งที่เค้าต้องการ ไม่ใช่แค่การมาหาหมอแล้วได้ยาไปกินแต่มันคือการที่มีคนรับฟัง เข้าใจและช่วยแก้ไขปัญหาหรือความไม่สบายต่างๆที่เค้ามี ไม่ว่าจะอาการทางกายหรือทางใจ คนไข้หลายราย(หรือจะบอกว่าส่วนใหญ่ก็ได้)ที่เราไม่สามารถทำให้เค้าหายจากโรคหรืออาการที่เป็นอยู่ได้ ไม่ว่าเราจะให้การรักษาที่ถูกต้อง และดีที่สุดแล้ว เนื่องจากโรคลุกลามไปมาก คนไข้ส่วนใหญ่รับรู้และเข้าใจโรคของตัวเองถ้าถามสิ่งที่เค้าต้องการจริงๆ เราจะได้รับฟังประโยคๆหนึ่งที่คนไข้แทบจะทุกคนบอกกับพวกเราว่า "หมอ..ทำยังไงก็ได้ขออย่าให้ทรมานก็พอ" ประโยคนี้เองทำให้ได้คิดอะไรหลายๆอย่าง

อย่างหนึ่งคือ รู้ว่าความต้องการสูงสุดของชีวิตในขณะที่ไม่สบายมันก็มีอยู่เท่านี้ แล้วพวกเราเราผู้ที่มีความสามารถที่จะช่วยเค้าได้จะไม่สนใจหรือไม่ใส่ใจในสิ่งสุดท้ายในชีวิตที่คนคนหนึ่งอยากได้เชียวเหรอ สมัยก่อนตอนเป็นนักศึกษาแพทย์ เป็นแพทย์ใช้ทุน คิดว่าการทำหน้าที่เต็มที่ของหมอ คือ การช่วยยื้อชีวิตคนไข้ให้ได้มากที่สุด แต่ไม่ได้มองหรือไม่เคยถามว่าความต้องการจริงๆของคนไข้และญาติเป็นอย่างไรโดยเฉพาะคนไข้โรคเรื้อรังต่างๆหรือแม้แต่โรคมะเร็งระยะสุดท้าย หรือ เวลาคนไข้และญาติขอกลับบ้านเพราะอาการไม่ดีขึ้นเราไม่เคยคิดว่าหลังจากนั้นคนไข้และญาติจะเป็นอย่างไรบ้าง เค้าจะดูแลกันได้หรือเปล่า มานึกดูอีกที ทำไมตอนนั้นหลัง CPR เสร็จเราไม่ค่อยมีความภูมิใจ หรือมีความสุขที่ได้ช่วยเค้าเลยเทียบกับตอนนี้ที่เราได้รับรู้และเข้าใจสิ่งที่คนไข้และญาติต้องการและได้ทำตามนั้นอย่างเต็มที่กลับทำให้ภูมิใจมากกว่า

คิดดูสิคะว่า จะมีอาชีพไหน ที่แม้เราจะไม่สามารถทำให้คนไข้หายจากโรค หรือไม่สามารถยื้อชีวิตคนไข้ต่อไปได้ ไม่ว่าจะให้การรักษาที่ดีที่สุดแล้ว แต่คนไข้และญาติยังกล่าวขอบคุณเราอย่างเต็มใจ

หลายๆคนถามว่า ผู้ป่วยระยะท้าย

หลายคนหลีกเลี่ยงการทำสิ่งนั้น

อยากจะบอกว่า เมื่อไหร่ที่คนเรามีความปรารถนาดีต่อกันและหวังจะให้คนคนนั้นพ้นจากความทุกข์ทรมานเมื่อนั้นคุณจะรู้ว่าจะพูดอย่างไรและจะช่วยเค้าอย่างไร 


เป็นกำลังใจให้ทุกคนนะคะ


พญ.ศรัญญา ประทัยเทพ
อายุรแพทย์มะเร็งวิทยา
รพ.สรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลฯ

หมายเลขบันทึก: 562679เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2014 23:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มิถุนายน 2014 06:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

-สวัสดีครับ

-ต้องใส่ใจโรคภัย..ไข้เจ็บ

-ขอบคุณครับ..

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท