คำคม ควรพิจารณา


สมถะ คือการเว้นจากความชอบใจ พอใจ ความไม่ชอบใจ ความไม่พอใจ
ความทุกข์นี้ มี ก็หาไม่ ความทุกข์นี้ ไม่มีเลย ก็หาไม่
ดูก่อน ท่านผู้เจริญทั้งหลาย อันการเจริญธรรมแห่งวิมุตตินี้เป็นของเฉพาะตน ผู้หมั่นเจริญ
ความเพียรในธรรมทั้งหลาย ประกอบตนด้วยสติ สมาธิ และปัญญา ย่อมเจริญได้ แม้ในกลางวัน และกลางคืนเป็นผู้เว้นแล้วซึ่งการถูกครอบงำ พ้นแล้ว อยู่เหนือแล้ว
ดูก่อน ท่านผู้เจริญทั้งหลาย รูปธรรมนี้ก็ดี นามธรรมนี้ก็ดี อันมีอาตายตนะเป็นเหตุให้เกิดนี้ก็ดี อันไม่มีเหตุแห่งอาตายตนะนี้ให้เกิดก็ดี ล้วนเป็นไปตามสภาพนี้ก็ดี ล้วนไม่เป็นไปตามสภาพนี้ก็ดี
ดูก่อน ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ความเห็นอันสอดคล้องในลัทธิใด ลัทธิหนึ่งนี้ก็ดี
ความเห็นอันไม่สอดคล้องในลัทธิใดลัทธิหนึ่งก็ดี
ดูก่อน ท่านผู้เจริญทั้งหลาย สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ล้วนไม่มีผลมาก กำลังมาก เพราะเมื่อเหตุเกิด ปัจจัยย่อมเกิดตาม เมื่อเหตุดับ ปัจจัยก็หามีผล และกำลังไม่
ดูก่อน ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พระศากยะทั้งหลาย ย่อมตรัสเหตุ เพื่อดับปัจจัยทั้งหลาย เพราะเหตุคือเชื้อดับเชื้อคือการเข้าไปสู่การดับเหตุโดยสิ้นเชิง
สมถะ คือการเว้นจากความชอบใจ พอใจ ความไม่ชอบใจ ความไม่พอใจ
วิปัสสนา คือการเจริญสติ สมาธิ และนำธรรมทั้งหลายมาประพฤติ ปฏิบัติ มาพิจารณาให้เกิดปัญญา
อันเป็นแสงสว่างเพื่อขจัดความมืด คือกิเลส และตัณหา อุปทานทั้งหลาย
ดูก่อน ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ผู้มีญาณ คือพาหนะแห่งการแล่นไปเพื่อการรู้รอบ เพื่อการดับไปแห่งรูป และนาม
ย่อมอาศัยสมถะ และวิปัสสนา เหล่านี้พาไป
ดูก่อน ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ปฏิปทา 2 ข้อ นี้ คำน้อย แต่ให้ผลมาก ผู้แจ้งแล้ว สว่างแล้ว
ก็ย่อมด้วยปฏิปทา ดังกล่าวนี้ ผู้เห็นแล้ว ควรนำไปเจริญให้แจ้ง ด้วยทัศนะอันบริสุทธิ์
หมายเลขบันทึก: 56245เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2006 09:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท