โรงเรียนการจัดการความสุข...ครั้งที่ 4


วันนี้น้องป.และน้องซ. ดูสดใสและตั้งใจทำกิจกรรมในครั้งที่ 4 ได้ดี โดยอ.แอนเปิดกลุ่มกิจกรรมให้มีการเล่นเกมส์ใบ้คำอย่างสนุกสนานและได้แบบระบายสีโดราเอมอน 2 รูปต่างสไตล์ให้น้องซ.ใช้สีเทียนระบายผ่อนคลายแล้วค่อยมาสนทนาการบ้านภาษาอังกฤษในครั้งที่ 3 และให้น้องป.สำรวจหาสีในห้องเป็นสีน้ำมาระบายหลังวาดรูปที่ไม่เหมือนกับโดราเอมอนพร้อมสนทนาค้นหาความสนใจและความถนัดในกิจกรรมการดำเนินชีวิต

จากนั้นอ.ป๊อปก็ตั้งใจจะใช้กรอบอ้างอิงทางกิจกรรมบำบัดหนึ่งคือ แบบจำลองของกิจกรรมการดำเนินชีวิตของมนุษย์หรือ Model of Human Occupation (MoHo) ว่าด้วยเจตจำนงค์ (แรงจูงใจ แรงบันดาลใจ และความสนใจ) พฤตินิสัย (บุคลิกภาพ นิสัย และความเชื่อ-คุณค่าในตนเอง) และความสามารถ (การรับรู้เป้าหมาย การฝึกฝนจนเกิดทักษะ และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องให้มีศักยภาพ - ความสามารถและความสุข) โดยเพิ่มเทคนิึคการบำบัดความคิดความเข้าใจ-พฤติกรรม ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายเทคนิคในผู้รับบริการที่ต้องการพัฒนาสุขภาพจิตมาประสมประสานกับสื่อกิจกรรมบำบัด ได้แก่

  • การใช้ตัวคนเป็นสื่อบำบัด
  • การปรับสิ่งแวดล้อมเป็นสื่อบำบัด
  • การจัดกระบวนการสอน/เรียนรู้/สาธิตเป็นสื่อบำบัด
  • การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนเป็นสื่อบำบัด
  • การวิเคราะห์สังเคราะห์กิจกรรมเป็นสื่อบำบัด
  • การใช้กิจกรรมการดำเนินชีวิตเป็นสื่อบำบัด
  • การใช้บริบทในชีวิตจริงเป็นสื่อบำบัด

 

เหตุผลทางคลินิกกิจกรรมบำบัดคือ จากการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นของเจตจำนงค์ แต่ทั้งสองท่านยังมีระดับการรู้คิดที่แตกต่างกันในวันนี้ คือ น้องป.อยู่ในระัดับ 3 และน้องซ.อยู่ในระดับ 4 (ศึกษาระดับการรู้คิดที่นี่) นั่นอาจเป็นเพราะการนัดหมายห่างกัน 1 อาทิตย์และอยู่ว่างที่บ้านมากเกินไป มีเพียง 1 การบ้านและการทำกิจกรรมต่างๆ ที่ผู้ปกครองดูแลและกระตุ้นได้แตกต่างกันในสองครอบครัวนี้ อีกทั้งในครั้งที่ 1-3 ดร.ป๊อปและอ.แอนได้ทดลองใช้กรอบอ้างอิงทางสุขภาพจิต คือ Recovery Model ประสมประสานกับกรอบอ้างอิงทางสุขภาพกาย คือ Self-Management Model ทำให้เพิ่มความสนใจและแรงจูงใจของน้องทั้งสองท่านได้ชัดเจนขึ้น แต่กระบวนการรู้คิดคงต้องตั้งเป้าหมายในครั้งนี้ 

อย่างไรก็ตามดร.ป๊อป ต้องออกแบบพลวัติของกลุ่มกิจกรรมให้เหมาะสมด้วย ได้แก่ 

ระดับ 1 กลุ่มคู่ขนาน: ผู้รับบริการอยู่ในกลุ่มได้ แต่สับสน-เงียบเฉย หรือ พูดมาก-ไม่อยู่นิ่ง และไม่สนใจเข้าร่วมกลุ่มด้วยตนเอง (กิจกรรมที่กำหนดรูปแบบ)

ระดับ 2 กลุ่มผลงาน: ผู้รับบริการทำกิจกรรมของตนเองในกลุ่ม แต่อึดอัด เขินอายที่จะพูดคุยและทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น (กิจกรรมหนึ่งชิ้นในเวลาอันสั้น)

ระดับ 3 กลุ่มช่วยกันคิดช่วยกันทำ: ผู้รับบริการทำกิจกรรมกับผู้อื่นได้ แต่ไม่รู้จักแสดงความคิดเห็นของตนเอง ไม่รู้จักฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่ตั้งเป้าหมายในการทำกิจกรรม (กิจกรรมที่ใช้เวลานานและทุกคนสนใจทำร่วมกัน)

ระดับ 4 กลุ่มอารมณ์ร่วมใ: ผู้รับบริการทำกิจกรรมกับผู้อื่นได้ แต่ไม่เปิดเผยตนเอง ไม่แลกเปลี่ยนความรู้สึกบวกลบกับผู้อื่น (กิจกรรมที่ทุกคนสนใจและมีพื้นฐานคล้ายกัน เน้นพึงพอใจมากกว่าผลงาน)

ระดับ 5 กลุ่มวุฒิภาวะ: ผู้รับบริการทำกิจกรรมกับผู้อื่นได้ ช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นได้ แต่มีปัญหาการวางตัวแสดงบทบาทที่เหมาะสม (กิจกรรมต่างวัย ต่างบทบาท เกิดความสำเร็จสมบูรณ์ได้)

โดยการจัดระดับความสามารถทางสังคมของน้องป.ต้องปรับความท้าทายของกลุ่มในระดับ 1 ไป 2 ส่วนน้องซ.ต้องปรับความท้าทายของกลุ่มในระดับ 2 ไป 3 

ถ้ามองลึกๆ ถึงรูปแบบของกิจกรรมตามโมเดลการปรับกิจกรรมการดำเนินชีวิต หรือ Occupational Adaptation (OA) ที่เหมาะสมในการใช้กับผู้รับบริการในกลุ่มการรู้คิดข้างต้น ดังนี้:-

1. กิจกรรมที่เป็นแบบไม่มีรูปแบบ (Unstructured Activity) มักใช้ในกลุ่มระดับ 4-5 ในกิจกรรมการดำเนินชีวิตขอบเขตการใช้เวลาว่าง (นักกิจกรรมบำบัดคิด + ทำ 0%; ผู้รับบริการคิดและทำ 100%) หรือเน้นการประเมินความรู้สึกโดยมีการชี้นำเล็กน้อยจากนักกิจกรรมบำบัด ก็มักใช้ประเมินในกลุ่มระดับ 1 ในครั้งแรกที่พบกับผู้รับบริการเท่านั้น (นักกิจกรรมบำบัดคิด 0-50% + ทำ 0-50%; ผู้รับบริการคิด 50-100% และทำ 50-100%)

2. กิจกรรมที่เป็นแบบกึ่งรูปแบบ (Semi-structured Activity) ที่มักใช้ในกลุ่มระัดับ 3-4 ในกิจกรรมการดำเนินชีวิตด้านการเข้าสังคม (นักกิจกรรมบำบัดคิด 50% + ทำ 0-50%; ผู้รับบริการคิด 50% และทำ 50-100%)

3. กิจกรรมที่เป็นแบบมีรูปแบบ (Structured Activity) มักใช้ในกลุ่มระดับ 1-2 เพื่อกระตุ้นความรับผิดชอบ (นักกิจกรรมบำบัดคิด 0-50% + ทำ 0%; ผู้รับบริการคิด 50-100% และทำ 100%) หรือในกลุ่มระดับ 5 เพื่อกระตุ้นทักษะเฉพาะด้านในกิจกรรมการดำเนินชีวิตด้านการดูแลตนเอง-การศึกษา-การทำงาน (นักกิจกรรมบำบัดคิด 0-50% + ทำ 0%; ผู้รับบริการคิด 50-100% และทำ 100%)

เมื่อดร.ป๊อปประมวลทุกกลยุทธ์ จึงได้เริ่มต่อยอดจากกิจกรรมของอ.แอน โดยกระตุ้นให้คิดและมีพฤตินิสัยที่แท้จริงออกมาใน 2 ชม.ของวันนี้ เช่น 

  • ปรับจุดโฟกัสทางความคิดของน้องป.ในการที่พูดซ้ำๆ ว่า "ไม่รู้ คิดไม่ออก ทำไม่ได้" บ่อยครั้ง มาเป็นการมองภาพเคลื่อนไหวของปลาหลายรูปแบบในตู้ปลาจำลองมีแสงไฟสวยงาม แล้วให้น้องป.สำรวจตู้ปลาอย่างไม่มีรูปแบบ ทำเป็นกลุ่มผลงาน โดยให้คิดวาดรูปบนกระดาษวาดเขียน แล้วเสริมด้วยให้คิดตัดสินใจตัวเลือก เช่น จำนวนแบบปลาที่ชอบ จำนวนปลาที่จะวาด จำนวนสิ่งมีชีวิตในตู้ปลา รวมทั้งปรับผลงานให้เพิ่มช่วงความสนใจของน้องป.โดยเพิ่มการวาดน้ำบนพื้นหลัง (สีอ่อนและเข้มในระยะไกลและใกล้) และการวาดกรอบแบบท้าทายให้ลองกลุ่มช่วยกันคิดช่วยกันทำกับผม แล้วปิดกลุ่มด้วยการนำเสนอภาพให้คุณพ่อคุณแม่ชื่นชม ซึ่งผมประเมินแล้วก็มีระดับความสามารถทางสังคมในระดับ 2 กลุ่มผลงาน และมีระดับการรู้คิดจาก 3 ไป 4 ได้บ้าง 60% เพราะยังคงต้องกระตุ้น1-3 ครั้งเพื่อให้น้องป.คิดและสื่อสารความคิดออกมาอย่างมั่นใจ 

        

  • ปรับความยากของกิจกรรมให้เชื่อมโยงกับการพัฒนาทักษะการสื่อสารของน้องซ.มาเป็นการระลึกจำเรื่องราวของโดราเอมอนขณะนั่งระบายสีอย่างเงียบๆ แต่ต้องกระตุ้นถาม 1-2 ครั้งเพื่อให้น้องซ.เล่าเรื่องออกมาอย่างธรรมชาติ จากนั้นก็ปรับความรู้สึกระหว่างการใช้สีเทียนวาดที่ง่ายและการใช้สีน้ำร่วมกับน้องป.ที่ท้าทายพร้อมวาดรูปปลาเพิ่มในภาพโดราเอมอน แล้วเพิ่มจากกลุ่มผลงานมาเป็นกลุ่มช่วยกันคิดกันทำโดยออกแบบเรื่องราวเป็นภาษาอังกฤษเชื่อมโยงระหว่างภาพโดราเอมอนทั้งสองภาพ จากนั้นมานำเสนอให้น่าสนใจกับผม แล้วปิดกลุ่มด้วยการนำเสนอเรื่องโดราเอมอนเป็นภาษาอังกฤษให้คุณแม่ฟัง พร้อมนัดหมายครั้งที่ 5 ซึ่งผมประเมินแล้วก็มีระดับความสามารถทางสังคมในระดับ 3 ได้ และมีระดับการรู้คิดจาก 4 ไป 5 ได้เพียง 30% เพราะยังคงต้องกระตุ้นซ้อมการสื่อสารถึง 3 รอบ + กระตุ้นการสบตากับผู้ฟังถึง 3 รอบ เพื่อให้น้องซ.สื่อสารได้อย่างธรรมชาติ

        

หมายเลขบันทึก: 562295เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2014 20:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2014 14:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

...ขอแสดงความยินดี และชื่นชม ...มีกลยุทธ์ใหม่ๆในการพัฒนากิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิผลนะคะน้องDr. Pop...

ขอบคุณมากครับพี่ดร.พจนา พี่ขจิต และคุณหมอสุขจันทร์

-สวัสดีครับอาจารย์

-ตามมาเยี่ยมและให้กำลังใจครับ

-เก็บดอกไม้ป่า(กินได้)มาฝากครับ

-เอาไว้ทำเมนูอร่อย ๆ แล้วจะเก็บภาพมาฝากนะครับ.

-ขอบคุณครับ


....เด็กๆ มีความสุข ... เกิดจากมีกิจกรรมดีดี ....และทำให้เด็กมีสมาธิด้วยนะคะ ..... ดีใจกับเด็กๆด้วยค่ะ ......


เป็นขั้นเป็นตอนนะคะ ความถี่ของการเข้าร่วมกิจกรรมที่เหมาะสมมีผลต่อความก้าวหน้านะคะ

ขอบคุณสาระดีมาก ๆ ค่ะ

ขอบคุณมากๆครับคุณเพชรน้ำหนึ่ง พี่ดร.เปิ้น พี่หมอธิรัมภา และอ.แอน

ชื่นชมน้องเสมอนะคะ

น้องเป็นบุคคลสำคัญของสังคม ที่ช่วยขับกิจกรรมและสิ่งดีๆ ให้เกิดกับสังคมนะคะ

เป็นกำลังใจค่ะ

ขอบคุณมากๆครับพี่ Bright Lily เป็นกำลังใจให้พี่เสมอเช่นกันครับผม

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท