โครงการพัฒนาผู้บริหารระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายและเทียบเท่า กฟผ. (รุ่นที่ 10) ช่วงที่ 2


สวัสดีครับชาว Blog และลูกศิษย์ EADP รุ่น 10 ทุกท่าน

ขอต้อนรับเข้าสู่ ช่วงที่ 2 ของ หลักสูตรพัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รุ่นที่ 10 (ปี 2557) หรือEGAT ASSISTANT DIRECTOR DEVELOPMENT PROGRAM : EADP 2014 ระหว่างวันที่ 10-13 กุมภาพันธ์ 2557 

แม้ว่าจะเป็นการทำงานต่อเนื่องเรื่องคนให้กับ กฟผ. มาปีนี้เป็นปีที่ 10 แต่ผมก็ยังรู้สึกตื่นเต้น และพยายามจะแสวงหาความรู้ที่สด และทันสมัยมาแบ่งปันกับลูกศิษย์ของผมเสมอ

จากการพัฒนาผู้นำและผู้บริหารของ กฟผ. ในระดับผู้อำนวยการ 3 รุ่น และในระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายอีก 6 รุ่นที่ผ่านมา ผมมีความภาคภูมิใจในลูกศิษย์ของผมที่วันนี้หลายคนเติบโต และเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพของสังคม 

"ทุนมนุษย์" ใน กฟผ. นั้นเข้มแข็งและมีศักยภาพอยู่แล้ว ผมเป็นเพียงผู้ที่จะช่วยทำหน้าที่จุดประกาย สร้าง Inspiration ให้พวกเขามีพลัง มี Ideas ใหม่ ๆ มีความเข้าใจสถานการณ์ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกและพยายามเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ไปสู่ความสำเร็จ รวมทั้งการทิ้งผลงานหรือสิ่งที่มีคุณค่าไว้สำหรับสังคมไทยของเรา

สิ่งที่ผมและคน "กฟผ." ต้องระลึกถึงเสมอ คือ ผู้นำของเรา ต้องขอขอบคุณ ท่านผู้ว่าการ กฟผ. และอดีตผู้ว่าการฯ ทุกท่าน น่าชื่นชมที่มีปรัชญาและความเชื่อว่า "คนเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร" สูตรสำเร็จของการพัฒนาทุนมนุษย์ในองค์กรในยุคนี้ คือ ผู้นำหรือ CEO+SMART HR+ Non-HR และผมเชื่อว่าการพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ใน กฟผ. อย่างต่อเนื่องจะเป็นพลังในการขับเคลื่อนให้ กฟผ. เติบโตอย่างยั่งยืนได้แน่นอน

สำหรับการพัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 10 ในปีนี้ ผมก็หวังว่าจะมีสิ่งที่เราจะได้เรียนรู้ร่วมกันเพื่อประโยชน์ในการทำงานของ กฟผ. และเป็นการสร้างที่สร้างความสุขให้แก่คนไทยต่อไป และผมขอให้ทุกท่านใช้ Blog นี้เป็นคลังความรู้ของพวกเรา และแบ่งปันความรู้เหล่านี้ไปสู่สังคมของเราครับ

จีระ  หงส์ลดารมภ์

 วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2557 

 

 

 

 

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557 

 

 

 

 

12 กุมภาพันธ์ 2557 

 

 

 

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557  ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม จังหวัดกาญจนบุรี 

อาจารย์ทิวาพร  ศรีวรกุล

 

 

อาจารย์ยุทธการ มากพันธุ์ 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 561328เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2014 10:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2014 11:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (133)

สรุปการบรรยายโดยทีมงานวิชาการ Chira Academy

สรุปการบรรยายธรรมชาติบำบัด ปรับชีวิต เปลี่ยนอาหาร หลักการแพทย์พอเพียง

โดย นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2557

องค์ความรู้

- ธรรมชาติบำบัดเป็นการรักษาแบบใช้ธรรมชาติ

- หลักเพื่อต้องการให้คนปรับพฤติกรรม ช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บ

- การแพทย์พอเพียงต้องมีจิตใจที่พอเพียงก่อน

ปัญหา

- 30 ปีมาแล้วประเทศไทยเป็นโรคขาดสารอาหาร ต่อมาเข้าสู่ยุค NICs กินเยอะไปหน่อย เลยเกิดโรคตามมาเช่น โรคอ้วน เบาหวาน หัวใจ ความดันโลหิตสูง ไตวาย มะเร็ง เป็นต้น

- ปัญหาจริง ๆ ในชุมชนเป็นอย่างไรบ้าง

- ปัญหาสุขภาพผู้เข้าอบรมพบว่าคนแข็งแรง 30 % อ้วน 60 % ความดันเลือดสูง 20%

อย่างไรที่เรียกว่าอ้วน

ในกลุ่มที่อบรมพบว่าคนผอม 25 % พอดี 20.6% ท้วม 37.9 % อ้วน 3.4 %

สรุปท้วมและอ้วน 72% เป็นสภาวะที่ไม่ปกติ

การสู้กับปัญหาน้ำหนักเกิน มีปวดข้อ ปวดเข่า ความดันสูง ไขมันสูง

เราจะเอาอะไรเพื่อวัดว่าอ้วนหรือไม่

BMI = เอาน้ำหนักตัวกก. หารด้วยส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลัง 2

ความหมายของค่า BMI

ต่ำกว่า 20 ถือว่าผอม

20-23 พอดี

เกิน 23 ท้วม

เกิน 25 อ้วน

เกิน 30 โรคอ้วน

ไขมันในร่างกาย 2 แบบ

1. ไขมันใต้ผิวหนัง

2. ไขมันในพุง

วิธีวัด

หาสัดส่วนระหว่างพุงกับสะโพก วัดตรงสะดือ

ผู้หญิงไม่ควรเกิน 0.8 ผู้ชายไม่ควรเกิน 0.95

พุงต้องไม่ใหญ่กว่าสะโพก

ตัวอย่างประเภทไขมัน

ไขมันในพุงทำหน้าที่สร้างสาระสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ถ้ามากเกินไปก็จะหยุดสร้างฮอร์โมน

ไขมันมากเกินเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เบาหวาน อาการวัยหมดประจำเดือนมาก ทำให้อ้วน ถึงแม้ไม่ได้กินอะไรก็อ้วนเอา อ้วนเอา

ตั้งแต่อดีโปเนกติ อดิปซิน สร้างความอ่อนเยาว์ มาสู่เลปติน ทำให้อิ่ม
(คนอ้วนส่วนใหญ่ขาดเลปตินเพราะกินเท่าไหร่ไม่อิ่ม) ถ้าอ้วนเกินจะขาดฮอร์โมนเพศ ผู้หญิงจะเข้าวัยทองเร็ว ผู้ชายจะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

ทิวเนอร์ นิโค ซิส แฟคเตอร์ เป็นสารกำจัดมะเร็ง คนอ้วนไม่ค่อยมี จึงเป็นมะเร็งง่ายกว่าคนผอม

อ้วนแล้วเป็นอย่างไร

ไขมันล้นไปที่ตับ ไขมันพอกตับ

ข้อสะโพกเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม

คนกินมากขึ้นหลายเท่าเมื่อเทียบปี 1954 กับ 2004

สิ่งที่ควรงด

แป้ง คาร์โบไฮเดรตที่ทำให้อ้วน ตัวอย่างประเทศที่อ้วนมากคืออเมริกาจนอเมริกานำหน้าเรื่องโรคอ้วนเสนอสูตรอาหารไม่ให้กินแป้ง กินแต่โปรตีนอย่างเดียว ผลคือคนอ้วนลดลงจำนวนมาก

ลดน้ำหนักด้วยวิธีธรรมชาติ

1. กินให้น้อย

กินเนื้อสัตว์ กินผัก (กินเนื้อ 1 ส่วน กินผัก 2 ส่วน) ไม่กินข้าว หรือคาร์โบไอเดรตอื่น ๆ ไม่กินผลไม้ ถั่ว /นม

การกินอาหารครบ 5 หมู่ไม่ได้จำเป็นเสมอไป ขึ้นอยู่กับสุขภาพของแต่ละคน เราต้องดูว่าตัวเราขนาดนี้เป็นอย่างไหน

อาหารห้ามกิน / อาหารให้กิน

1.การห้ามและกินอาหาร

ห้าม

ข้าว ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ เกี๊ยว วุ้นเส้น

ผลไม้ทุกชนิต น้ำผลไม้

นม นมเปรี้ยว โยเกิร์ต นมพร่องไขมัน เค้ก ไอศกรีม ช็อกโกแล็ต ไมโล โอวัลติน

นมถั่วเหลือง ถั่ว ข้าวโพด เกาลัด แป๊ะก๊วย ลูกบัว

ไก่ชุบแป้งทอด น้ำจิ้มไก่ น้ำจิ้มหมูสะเต๊ะ

กิน

หมู ไก่ ปลา ไข่ เต้าหู้

ผัก

อาหารว่าง ชิ้นไก่ หมูจิ้มซีอิ้ว

ไตรกีเซอไรด์ มาจากแป้ง กินมัน ๆ จะอิ่มท้องมื้อเย็นต้องกินดัก ไข่กินได้ ข้อมูลใหม่ไข่ไม่ได้ทำให้เกิดคอเรสเตอรอลในเลือด แต่ตัวแป้งทำให้ไขมันในเลือดสูง

สูตร Low fat High Carbohydrate ผิด ต้องสลับกันถึงดี เป็น Hight Fat Low Carbohydrate อย่างการกินสเต็กจะดี

ขนมคือเนื้อสัตว์ เนื้อไก่ เป็ดย่าง การกินไส้กรอก ลูกชิ้นต้องกินแบบไม่มีแป้ง

ข้าวขาวคืออัลฟาท็อกซิน เก็บมาหลายปีขายไม่ออก มีความชื้นสูง เป็นตัวทำให้เกิดเชื้อรา หรืออัลฟาท็อกซิน ต้องกินข้าวกล้อง

เจียวไข่ให้เจียวน้ำมันหมู กินเส้นบุก อาหารทะเลกินได้ เพราะมี Fish oil ในตัว

2. ออกกำลังกาย

ในน้ำจะทำให้น้ำหนักเบา

ไขมันเลือดสูง

คลอเรสเตอรอล ประกอบด้วย 3-4 ตัว HDL (ดี), LDL(ไม่ดีแต่มีประโยชน์), VLDL(Tri /5 ดีอยู่ใต้ผิวหนัง)

การลำเลียงไขมันส่งไปที่ตับ แล้วลอยไปในหลอดเลือด ไปถึงใต้ผิวหนังซุกอยู่ใต้ผิวหนัง ส่ง VLDL เป็น LDL (ตัวลำเลียง ไปในส่วนต่าง ๆ )

ความเชื่อผิด ๆ

- กินเจดี กินเนื้อสัตว์ไม่ดี

- บริษัทขายยาร่วมกับการวัดคอเรสเตอรอลเปลี่ยนจาก 250 เป็น 200 บังคับให้คนกินยาลดไขมัน แล้วไปหาหมอ หมอบังคับให้กินยาลดไขมันตลอด ทำให้อ่อนเพลีย กล้ามเนื้อไม่มี

คนกินยาลดไขมันมาก ๆ จะไปสะสมที่ตับเป็นการซุกปัญหา ถ้ากินครบ 5 ปีจะมีเอนไซม์ตับสูงเพราะตับพอกไขมัน

ตัวช่วยสำหรับลดไขมัน ลดน้ำหนัก

1. Bio3-Fiber ทำให้อิ่มเร็ว ลดการดูดซึมไขมัน น้ำตาล

2. Biochromium

3.Fish oil ช่วยปรับการหมุนเวียนไขมัน ลดการอักเสบ ปรับสมดุลของโพรสตาแกลนดิน 1,2,3 กิน 3 เม็ด ก่อนอาหาร

การแพทย์ทางเลือกกับโรคพบบ่อย

หวัด

อาหาร อดล้างพิษ 1 วันด้วยผลไม้

การปฏิบัติ นอนพักมากๆ

วิตามิน วิตามินซี ชีวภาพ 1000 มก. 2 เม็ดทันที ต่อจากนั้นครั้งละ 1 เม็ด ทุก 1 ชั่วโมงจนท้องเสีย วันรุ่งขึ้น ทาน 1 เม็ด 4 เวลาหลังอาหารเช้า กลางวัน เย็น ก่อนนอน

ฟ้าทะลายโจร 5 เม็ดลูกกลอน (3แคปซูล) 3 เวลาก่อนอาหารและก่อนนอน

ขมิ้นชัน 5 เม็ดลูกกลอน (3แคปซูล) 3 เวลาก่อนอาหารและก่อนนอน

ภูมิแพ้

นม (วัว) ใช่ว่าจะมีแต่ผลดี ผลเสียของการดื่มนม (วัว)

1. อุดมด้วยกรดไขมันอิ่มตัว เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคไขมันเลือดสูง โรคอ้วน และโรคหัวใจหลอดเลือด

2. นมก่อมะเร็งเต้านม

ตัวอย่างอาหารที่ให้แคลเซียม

ปลาร้า กุ้งแห้ง กะปิ งาดำ กุ้งฝอยน้ำจืด ใบชะพลู ใบยอ มะขามฟักสด

เครียด นอนไม่หลับ

ต้องบำรุงสมอง

ออกกำลังกาย วอร์มอัพ

กินวิตามิน B100 1 เม็ดเช้า 1 เม็ดเที่ยง

วิตามินซี 1000 มล. 1 เม็ดเช้า 1 เม็ดเย

สมุนไพร กล่อมอารมณ์ 5 เม็ด 4 เวลาก่อนอาหารและก่อนนอน

ปวดศรีษะ

วิตามิน B 100

ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง

ปรับอาหาร กินข้าวกล้อง ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์พอควร

ปฏิบัติ ปรับเปลี่ยนท่าทางการทำงาน ให้มีความยืดหยุ่น เช่นเลื่อนเก้าอี้ให้ใกล้ที่ขับรถ คอมพิวเตอร์ระนาม 45 องศา

ฝังเข็ม10 ครั้ง

สมุนไพร

เถาวัลย์เปรียง 3 เม็ด 3 เวลาหลังอาหาร

Dolomite 2 เม็ด 2 เวลาหลังอาหาร

สรุปโดยทีมงานวิชาการ Chira Academy

บรรยายเรื่อง วารีบำบัดอานุภาพแห่งน้ำ

โดย พญ.ลลิตา ธีระสิริ

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2557

ตัวอย่างเช่นอินเดีย มีประเพณีการอาบน้ำ ชาวจีนม้ง อาบน้ำแร่ ตุรกี กรีก ฟินแลนด์อบซาวน่าร้อนสลับเย็นไอร์แลน์มีน้ำอุ่นที่มีเกลือแร่ด้วย

สังเกตได้ว่าความร้อนและน้ำจึงเป็นเรื่องของสุขภาพทั้งสิ้น กินไวน์ดี แต่ถ้าเกิน 50 ซี.ซีจะก่อให้เกิดสารพอกตับ

ประวัติความเป็นมาของวารีบำบัด

300 ปีก่อน เพรียสนิตส์ ทำ ใช้จริง ๆ ในการบำบัดโรค เช่น หญิงปวดประจำเดือนแก้โดยใช้น้ำร้อนและน้ำเย็น เอาก้นจุ่มน้ำร้อน เท้าจุ่มน้ำเย็น ต่อมาทำสลับกันก้นจุ่มน้ำเย็น เท้าจุ่มความร้อน

การตอบสนองขั้นต้นต่อความร้อนจัด

ถ้าอยู่ในที่ร้อน เช่นห้องซาวน่าอุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียสขึ้นไป จะทำให้หลอดเลือดที่ผิวหนังขยายตัว เพื่อคายความร้อน เลือดไปกองที่ผิวหนังหมด ส่วนอื่น ๆ เช่น สมอง ตับ ไต เลือดน้อยกว่าปกติ อวัยวะตรงกลางจะขาดเลือด ดังนั้นจึงไม่ให้อยู่นาน แค่ 3-5 นาที ไม่นานกว่านั้น แล้วออกมาจุ่มตัวในบ่อน้ำเย็น เพื่อดึงเลือดให้กลับส่วนกลางก่อน แล้วค่อยกลับเข้าไปอีกที

ผลของซาวน่า

1. ทำให้ภูมิต้านทานแข็งแรงขึ้น เม็ดเลือดขาวจะทำงานได้ดีเมื่อมีอุณหภูมิมากกว่า 37 องศา

เช่น คนไทยอบสมุนไพรตอนหลังคลอด

2. เวลาร้อน เอาเม็ดเลือดขาวไปด้วย

3. การบริหารอวัยวะให้แข็งแรง จากการเอาเลือดเข้า เลือดออก

สรุปเวลาอาบน้ำร้อนสลับเย็นจะทำให้เกิดการคลายเครียด แต่มีข้อห้ามคือ ห้ามผู้หญิงท้อง เพราะเด็กอยู่ตรงกลาง

ข้อพึงระวัง

- ผู้สูงอายุ

- ผู้เป็นโรคหัวใจ

- ความดันสูงต่ำมากเกินไป

- เป็นไข้

การอบสมุนไพร

1. สมุนไพรที่ให้กลิ่นหอม

2. สมุนไพรให้รสเปรี้ยว

- อย่าใส่หน้าลงไปให้เอาหน้าออกมาเพราะเป็นส่วนที่อ่อน

3. สารช่วยการระเหย

- สมุนไพรรักษาโรค

ประโยชน์

ทำให้ภูมิต้านทานดีขึ้น

ขับสารพิษ

การอาบน้ำร้อน

- อาบน้ำร้อนอย่างเดียวก่อผลร้ายมากกว่าผลดี

- ทำให้อ่อนเพลีย เลือดไม่หมุนเวียน ความคิดเฉื่อยเปื่อย ร่างกายไม่กระปรี้กระเปร่า อารมณ์ซึมเศร้า ง่วงนอน

การใช้ความร้อนในรูปแบบอื่น

อาบแดด (Solar Bath)

- อินเดียบอกว่าเวลาคนเราป่วยหรือต้องการมีสุขภาพดีต้องให้มีพลังเพิ่มขึ้น เช่น พลังจักรวาล โยเร โยคะ

- การใช้แดดรักษาโรค ตัวอย่างเช่นเด็กคนไหนที่เหลืองให้เข้าตู้อบ แต่ก่อนเขาเอาไปตากแดด

- เอาใบตองคลุมเพื่อป้องกันสิ่งแปลกปลอมนอกจากพลังธรรมชาติเอาเฉพาะแสงสีเขียว ช่วยให้เย็นและอยู่ได้นานขึ้น

การประคบด้วยลูกประคม

- ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว

การประคบด้วยผ้าร้อนเย็น

- แก้อาการปวด

- ถ้าหัวโน แพลง เคล็ด ภายใน 48 ชั่วโมงแรกใช้ประคบเย็นก่อน หลังจากนั้นค่อยประคบร้อน

การออกกำลังกายในน้ำ

- น้ำลึกระดับอกพยุงน้ำหนักตัวได้ 70 %

- ต่างชาติ กำหนด 130 ซม. แต่ไทยปรับเป็น 110 ,130

เหมาะสำหรับ

- ลดน้ำหนัก

- ผู้สูงอายุ

- ปัญหาเรื่องข้อ

- ปัญหาทางสมอง อัมพาต พาร์กินสัน

สำหรับเด็กเล็กควรมีคลอรีนต่ำ หรือโอโซนฆ่าเชื้อโรค

การอาบน้ำแร่

- มีแร่ธาตุเยอะ เช่น กำมะถัน เหล็ก ซิลิก้า แคลเซียม โซเดียม สังกะสี โปตัสเซียม เกลือคาร์บอเนต แมกเนเซี่ยมเวลาอาบเสร็จไม่ต้องฟอกสบู่แร่ธาตุจะได้อยู่กับเรา

- น้ำแร่อาบกินไม่ได้เพราะมีกำมะถัน

- ต้องดูเรื่องความดันว่าสูงหรือต่ำหรือไม่

หัวข้อ กิจกรรมรักษ์กาย ณ ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี

โดยนพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล

พญ.ลลิตา ธีระสิริ

ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2557

สิ่งที่ได้จากหัวข้อนี้

แก้ปัญหาสุขภาพได้ด้วย ธรรมชาติบำบัด โดยการปรับวิถีชีวิต เปลี่ยนการกินอาหาร

ความอ้วนเป็นบ่อเกิดของปัญหาสุขภาพ

อ้วนเกินมาตรฐาน ทำให้เกิดปัญหา ไขมันพอกตับ ข้อเสื่อม จอตาเสื่อม

โรคอ้วนเกิดจากรับประทานอาหารประเภท แป้ง-คาร์โบไฮเดรท มากเกินไป

แป้งในร่างกายจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลในเลือด ต่อมาเป็นTrigy และสุดท้ายเป็น คลอเลสเตอรอล

แป้งเป็น Raw Material ที่ถูกที่สุดในโลกที่ใช้ทำอาหาร

โรคหวัด แบ่งออกเป็น หวัดร้อน และหวัดเย็น

หวัดร้อน อาการเป็นไข้ เจ็บคอ กระหายน้ำ ต้องรักษาด้วย ยาฤทธิ์เย็น เช่น ฟ้าทะลายโจร

หวัดเย็น หนาว กลัวลม น้ำมูกใส ต้องรักษาด้วย ยาฤทธิ์ร้อน เช่น ขมิ้นชัน

กิจกรรมเสริมสุขภาพโดยอาศัยอานุภาพแห่งน้ำ ประกอบด้วย การอบความร้อน การออกกำลังกายในน้ำ

การอาบน้ำแร่ และทะเลบำบัด

ต้นกำเนิดของซาวน่า เกิดที่ประเทศฟินแลนด์

เม็ดเลือดขาวจะทำหน้าที่ดีที่สุด อุณหภูมิต้องสูงกว่า 37 องศา

Sola bath อยู่บนหลักการว่า เมื่อพลังงานในตัวน้อยลง จะทำให้ป่วย ต้องขอพลังเพิ่มเติมจากดวงอาทิตย์

ทำให้พลังงานในตัวเพิ่มขึ้น ก็จะหายป่วย เป็นความเชื่อของคนอินเดีย เทียบเคียงปัจจุบัน เช่น

กรณีเด็กแรกเกิดแล้วตัวเหลือง ต้องเข้าตู้อบ (เพิ่มพลังงานด้วยแสงให้เด็ก)

เมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้วเกิดอาการบวม ภายใน 48 ชั่วโมงแรกต้องประคบเย็น เพื่อทำให้หลอดเลือดหดตัว

สิ่งที่ต่อยอดจากหัวข้อนี้

เมื่อมีปัญหาสุขภาพ การบำบัดด้วยวิธีธรรมชาติอาจเป็นตัวเลือกหนึ่ง แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจที่ถ่องแท้

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2557

กิจกรรมรักษ์กาย รักษ์ใจ ณ ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี

สิ่งที่ได้เรียนรู้เรื่องการเลือกรับประธานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ภัยคุกคามจากโรคอ้วน และการออกกำลังกายโดยวิธีวารีบำบัด สร้างเสริมสุขภาพ ทำให้เห็นคุณค่าของการออกกำลังกาย ในวัยที่สูงอายุ ที่จะละเลย ๆไม่ได้

ความรู้ที่ได้รับ สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ในทันที เพื่อให้สุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง หลีกเลี่ยงการเจ็บป่วย จากพฤติกรรมในการรับประทานอาหารในแต่ละเมื้อ

สรุปกิจกรรมในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2557 กิจกรรมรักษ์กาย ณ ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี (สามเสน)

การบรรยายเรื่อง ธรรมชาติบำบัด ปรับชีวิต เปลี่ยนอาหาร หลักการแพทย์พอเพียง โดย นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล

โรคเสื่อมของร่างกาย เช่น โรคอ้วน เบาหวาน หัวใจ ความดันโลหิตสูง ไตวาย มะเร็ง เป็นต้น ส่วนใหญ่เกิดจากวิถีชีวิตที่ไม่ปรกติจากการตรวจ BMI ของผู้เข้ารับอบรมพบว่า มีคนผอม 2 คน พอดี 7 คน ท้วม 18 คน อ้วน 10 คน โรคอ้วน 3 คน สรุปว่า ท้วม อ้วนและโรคอ้วน 71% ซึ่งเป็นสภาวะที่ไม่ปกติ

ไขมันในร่างกายมี 2 แบบ 1. ไขมันใต้ผิวหนัง 2. ไขมันในพุง ไขมันในพุงเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ถ้ามากเกินไปจะทำให้หยุดสร้างฮอร์โมน เสี่ยงต่อโรคหัวใจ เบาหวาน อาการวัยหมดประจำเดือน และทำให้อ้วน ถึงแม้ไม่ได้กินอะไรก็ตาม คนอ้วนส่วนใหญ่ขาดเลปติน ทำให้กินเท่าไหร่ ก็ไม่อิ่มถ้าอ้วนเกินจะขาดฮอร์โมนเพศ ผู้หญิงจะเข้าวัยทองเร็ว ผู้ชายจะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

วิธีลดน้ำหนักด้วยวิธีธรรมชาติ

1.กินให้น้อย กินเนื้อสัตว์ ผัก (กินเนื้อสัตว์ 1 ส่วน กินผัก 2 ส่วน)ไม่กินข้าวหรือคาร์โบไอเดรตอื่นๆ ไม่กินผลไม้ ถั่ว/นม ฯลฯ

อาหารห้ามกิน เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ เกี๊ยว วุ้นเส้น ผลไม้ทุกชนิด น้ำผลไม้ นม นมเปรี้ยว โยเกิร์ต นมพร่องไขมัน เค้ก ไอศกรีม ช็อกโกแล็ต ไมโล โอวัลติน นมถั่วเหลือง ถั่ว ข้าวโพด เกาลัด แป๊ะก๊วย ลูกบัวไก่ชุบแป้งทอด น้ำจิ้มไก่
น้ำจิ้มหมูสะเต๊ะ และอาหารเจ

อาหารให้กิน เช่น หมู ไก่ ปลา ไข่ เต้าหู้ผัก อาหารว่าง ชิ้นไก่ หมูจิ้มซีอิ้ว เส้นบุก อาหารทะเล

2. ออกกำลังกายในน้ำ จะทำให้น้ำหนักเบา ลดน้ำหนักตัวได้ 70% น้ำทำให้คลายร้อน

คนกินยาลดไขมันมาก ๆ จะไปสะสมที่ตับเป็นการซุกปัญหา ถ้ากินครบ 5 ปี จะมีเอนไซม์ตับสูงเพราะไขมันพอกตับ

ตัวช่วยสำหรับลดไขมัน ลดน้ำหนัก ประกอบด้วย Bio-Fiber ทำให้อิ่มเร็ว ลดการดูดซึมไขมัน น้ำตาล , Bio-chromium ,Bio-carnitine และ Fish oil ช่วยปรับการหมุนเวียนไขมัน ลดการอักเสบ โดยปรับสมดุลของโพรสตาแกลนดิน 1,2,3

การบรรยายเรื่อง วารีบำบัดอานุภาพแห่งน้ำ โดย พญ.ลลิตา ธีระสิริ

ตัวอย่างเช่นคนอินเดีย มีประเพณีการอาบน้ำ ชาวจีนม้ง อาบน้ำแร่ ตุรกี กรีก ฟินแลนด์อบซาวน่าร้อนสลับเย็น ไอร์แลนด์มีน้ำอุ่นที่มีเกลือแร่ด้วย สังเกตได้ว่าความร้อนและน้ำจึงเป็นเรื่องของสุขภาพทั้งสิ้น

ความเป็นมาของวารีบำบัด

ถ้าอยู่ในที่ร้อน เช่นห้องซาวน่าอุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียสขึ้นไป จะทำให้หลอดเลือดที่ผิวหนังขยายตัว เพื่อคายความร้อน เลือดไปกองที่ผิวหนังหมด ส่วนอื่น ๆ เช่น สมอง ตับ ไต เลือดน้อยกว่าปกติ อวัยวะตรงกลางจะขาดเลือด
ดังนั้นจึงไม่ให้อยู่นาน แค่ 3-5 นาที ไม่นานกว่านั้น แล้วออกมาจุ่มตัวในบ่อน้ำเย็น 1-2 นาที เพื่อคืนเลือดให้กลับสู่ร่างกาย

การอบซาวน่า ทำให้ภูมิต้านทานแข็งแรงขึ้น เม็ดเลือดขาวจะทำงานได้ดีเมื่อมีอุณหภูมิมากกว่า 37 องศา เช่น
คนไทยอบสมุนไพรตอนหลังคลอดสรุปเวลาอาบน้ำร้อนสลับเย็นจะทำให้เกิดการคลายเครียด แต่มีข้อห้ามคือ ห้ามผู้หญิงท้อง เพราะเด็กอยู่ตรงกลาง ข้อพึงระวัง ห้าม ผู้สูงอายุ ผู้เป็นโรคหัวใจ ความดันสูง-ต่ำมากเกินไป

การอบสมุนไพร มีประโยชน์ทำให้ภูมิต้านทานดีขึ้น ขับสารพิษ

การอาบน้ำร้อน อาบน้ำร้อนอย่างเดียวก่อผลร้ายมากกว่าผลดี ทำให้อ่อนเพลีย เลือดไม่หมุนเวียน
ความคิดเฉื่อย ร่างกายไม่กระปรี้กระเปร่า อารมณ์ซึมเศร้า ง่วงนอน

การใช้ความร้อนในรูปแบบอื่น

-อาบแดด
(Solar Bath)การใช้แดดรักษาโรค ตัวอย่างเช่นเด็กคนไหนที่ตัวเหลืองให้นำเข้าตู้อบ
แต่ก่อนเขาเอาไปตากแดด เอาใบตองคลุมเพื่อป้องกันสิ่งแปลกปลอมนอกจากพลังธรรมชาติเอาเฉพาะแสงสีเขียว
ช่วยให้เย็นและอยู่ได้นานขึ้น

-การประคบด้วยลูกประคบ ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว

-การประคบด้วยผ้าร้อน-เย็น แก้อาการปวด ถ้าเป็นภายใน 48 ชั่วโมงแรกใช้ประคบเย็นก่อน หลังจากนั้นค่อยประคบร้อน

-การออกกำลังกายในน้ำ น้ำลึกระดับอกพยุงน้ำหนักตัวได้ 70 % เหมาะสำหรับการลดน้ำหนัก ผู้สูงอายุ คนปัญหาเรื่องข้อ ปัญหาทางสมอง อัมพาต พาร์กินสัน

-การอาบน้ำแร่ น้ำแร่มีแร่ธาตุเยอะ เช่น กำมะถัน เหล็ก ซิลิก้า แคลเซียม โซเดียม สังกะสี โปตัสเซียม เกลือคาร์บอเนต แมกเนเชี่ยม เวลาอาบเสร็จไม่ต้องฟอกสบู่ แร่ธาตุจะได้อยู่กับเรา

-ทะเลบำบัด และการหมกทราย ทำให้มีสุขภาพที่ดี

  • สิ่งที่ได้รับจากการสัมมนาในวันนี้ ทำให้ได้เรียนรู้การออกกำลังกาย การอบซาวนา การอบสมุนไพร การดูแล บำบัดร่างกาย การใช้วารีบำบัดอย่างถูกวิธี ทำให้สามารถนำมาใช้ในการดูแลร่างกายให้มีสุขภาพ สมบูรณ์ แข็งแรงสูงสุด

สมบูรณ์ ดำรงสุสกุล EADP#10 Group 4

จิราพร ศิริคำ ฝ่ายวางแผนระบบไฟฟ้า

ประเด็นการเรียนรู้ในการอบรมในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2557

“สุขภาพดี ไม่มีขาย” ใครอยากได้ต้องดูแล รักษา ด้วยตัวเอง

การอบรมวันนี้ได้เรียนรู้อีกแง่มุมหนึ่งของชีวิต จาก “โครงการบัลวีบำบัด” ณ บัลวี – ศูนย์ธรรมชาติบำบัด

“ธรรมชาติบำบัด ปรับชีวิต เปลี่ยนอาหาร หลักการแพทย์พอเพียง” เป็นหัวข้อที่ นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล เป็นผู้บรรยายให้ความรู้

คุณหมอได้ให้แนวคิดในการปรับปรุงสุขภาพร่างกาย ให้มุมมองใหม่ในเรื่องสุขภาพ อาหาร และวิธีการกินเพื่อส่งเสริมและรักษาสุขภาพ โดยคนไทยมีโรคที่เกิดจากโภชนาการกิน คือ โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง

“สุขภาพ การเจ็บป่วย เกิดจากอาหารการกิน และ Lifestyle” คุณหมอบรรจบบอก และเน้นในทุกคนระวังไม่ให้อ้วน โดยสอนวิธีการกิน และลดน้ำหนักด้วยสิธีธรรมชาติ

  • กินให้น้อย
  • ออกกำลังกายให้มาก
  • สวนกาแฟทุก 2-3 วัน
  • สมุนไพรและสารอื่นให้ใช้เสริม

ให้กินเนื้อ กินผัก และไม่ให้กินคาร์โบไฮเดรท โดยให้สัดส่วนการกินเนื้อสัตว์และผัก คือ 1 : 2

สำหรับการออกกำลังกาย คุณหมอให้ออกกำลังการในน้ำ เพราะน้ำจะช่วยในการพยุงตัว ไม่ให้น้ำหนักตัวเป็นภาระต่อข้อเข้า (โดยเฉพาะคนอ้วน) น้ำในสระลึกประมาณหน้าอก หรือ 110 – 130 เซนติเมตร จะสามารถพยุงตัวและมีน้ำหนกเพียงร้อยละ 30 เท่านั้น

นอกจากนี้ ได้มีการแนะนำ การแพทย์ทางเลือก โดยการใช้สมุนไพรรักษาโรค ไม่ต้องใช้ยาแผนปัจจุบัน เช่น เป็นหวัด ให้ใช้ฟ้าทะลายโจร ไม่ต้องใช้ยาแก้อักเสบ

จากนั้น ก็ได้เรียนรู้เพิ่มเติมในเรื่องธรรมชาติบำบัด จาก พญ.ลลิตา ธีระสิริ ในมุมของ “วารีบำบัดอานุภาพแห่งน้ำ” โดยคุณหมอลลิตา ได้แนะนำวิธีการปฏิบัติตนในการอบซาวน่า (ซึ่งต้องอบร้อน 3-5 นาที สลับอาบน้ำให้ตัวเย็น จำนวน 3 รอบ) การอบสมุนไพร (ซึ่งต้องอบร้อน 5-10 นาที สลับอาบน้ำให้ตัวเย็น จำนวน 3 รอบ)

ส่วนประกอบของสมุนไพรที่ใช้อบ ได้แก่ สมุนไพรให้ความหอม สมุนไพรให้รสเปรี้ยว และน้ำมันระเหย

รวมถึงข้อห้ามและข้อควรระวังในการอบซาวน่า การอบสมุนไพร (ห้าม หญิงมีครรภ์ พึงระวัง ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคหัวใจ ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงเกินไป (90 – 140) และต่ำเกินไป (60 – 90) และผู้ที่มีร่างกายอ่อนเพลียมาก)

นอกจากจะเรียนภาคทฤษฏีแล้ว ยังได้มีการทดลองปฏิบัติด้วย

  • Mat exercise เพื่อบริหารกล้ามเนื้อและข้อต่อ
  • Hydro-aerobics
  • อาบแสงตะวัน ซาวน่า อบสมุนไพร

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2557

- ทำให้เราได้ทราบ/มีความรู้ที่ถูกต้องถึงสาเหตุหรือประเภทของอาหารที่ทานแล้วทำให้อ้วน อาหารประเภทไหนที่ควรทานหรือควรหลีกเลี่ยง รวมถึงยา/สมุนไพรที่ใช้ในการรักษาโรค ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการดูแลสุขภาพและนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง

- ได้รับทราบและเรียนรู้ถึงประเภท/วิธีที่ถูกต้อง/ประโยชน์หรือข้อดี-ข้อเสียของการบำบัดโดยวิธีธรรมชาติในแต่ประเภท รวมถึงตัวอย่างของประเทศต่างๆ

สุขาวดี ศิริจันทร์เพ็ญ

วันที่ 10 กุมภาพัน์ 2557

กิจกรรมรักษ์กาย ณ ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี (สามเสน) กรุงเทพฯ

โดย นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล และ พญ.ลลิตา ธีระสิริ

1.ธรรมชาติบำบัดปรับชีวิต เปลี่ยนอาหาร หลักการแพทย์พอเพียง

  • ดัชนีมวลรวมของร่างกาย (BMI) ได้จาก น้ำหนัก (Kg)/ส่วนสูง (M)
  • BMI ค่าปกติ = 20 – 25 มากกว่านี้ถือว่าอ้วน
  • หากต้องการผอมเพรียว BMI ควรอยู่ระหว่าง 18.5 – 19.9 (ไม่ควรต่ำกว่านี้)
  • อาจารย์อธิบายมากมายเกี่ยวกับโรคอ้วน และวิธีแก้ไข ซึ่งก็เข้าทำนองพูดง่ายทำยาก หลายๆ คนตั้งใจลดความอ้วน แต่ไม่สำเร็จเพราะเกิดภาวะเครียด แล้วกลับไปกินเหมือนเดิม และไม่ออกกำลังกาย ประมาณว่าไม่มีอารมณ์ เลยยิ่งอ้วนกว่าเดิม ลองสังเกตพฤติกรรมของตัวเองดูซิคะ ว่าทำไม ตอนไหน เพราะอะไร แล้วรู้สึกอย่างไร
    เคยสำรวจตัวเองเหมือนกัน ส่วนใหญ่เพราะเครียด คิดอะไรไม่ออก เลยกินระบายอารมณ์ ถ้าเราลุกออกไปจากตรงนั้น เปลี่ยนกิจกรรมไปทำอย่างอื่นชั่วคราว และไม่ปล่อยให้ตัวเองว่าง ก็จะลดมื้อของการกินได้
  • การแพทย์ทางเลือก มีหลายอย่าง เช่น เป็นหวัด ให้แก้โดยด้วยการอดล้างพิษ 1 วันด้วยผลไม้ และนอนพักมากๆ สำหรับข้อนี้ ไม่ค่อยเห็นด้วยมากนัก ด้วยประสบการณ์ของตัวเองซึ่งก่อนหน้านี้เป็นหวัดบ่อย อันเนื่องมาจากภูมิแพ้ หากนอนมากๆ จะเกิดการล็อคของกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อยไม่สบายตัว ต้องใช้วิธีอยู่นอกบ้าน อากาศโปร่งๆ ปลูกต้นไม้ ทำงานบ้านให้เหงื่อออก ดื่มน้ำอุ่นเยอะๆ ไม่เกิน 2 วันก็หายค่ะ หายเพราะอะไรนี้ไม่ทราบ แต่พอเหงื่อออกก็จะรู้สึกสบายตัว อาจเป็นเพราะเราออกกำลัง ทำให้ร่างกายแข็งแรง ภูมิต้านทานก็เลยดีขึ้น เอาชนะโรคหวัดได้ วิธีนี้ยังใช้ได้กับอาการหลังยอกจากการออกท่าทางที่ผิดจังหวะ หรือเร็วเกินไปจนกล้ามเนื้อยืดตามไม่ทัน
    เกิดกล้ามเนื้ออักเสบเตามมา

2.วารีบำบัด สร้างเสริมสุขภาพ

  • Hydro-aerobics คือการออกกำลังกายในน้ำ แรงลอยตัวของน้ำจะช่วยลดน้ำหนักตัว หากน้ำถึงระดับอก
    จะลดน้ำหนักตัวได้ถึง 70% คลายร้อน และสนุก เหมาะสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักมาก ผู้สูงอายุ ผู้มีปัญหาเรื่องข้อ ข้อเข่า ข้อเท้า มีปัญหาทางสมอง พาร์กินสัน อัมพาต เด็กเล็ก ควรใช้สระที่มีคลอรีนต่ำ ใช้โอโซนฆ่าเชื้อโรค
  • อาบแสงตะวัน (ใต้ใบตอง) ทำให้เลือดลมเดินดี เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดขาว
    หัวใจเต้นเร็วคล้ายออกกำลังกาย ทำให้กระปรี้กระเปร่า เหงื่อออก สบายตัว

วันที่ 11 กุมภาพัน์ 2557 (ช่วงเช้า)

Panel Discussion หัวข้อ Networking Capital กับการพัฒนาเพื่อประชาชน
โดย นายชัยวัฒน์ ลิมป์วรรณธะ ผู้ว่าการจังหวัดกาญจนบุรี

  • การพัฒนาจังหวัดกาญจนบุรี ประกอบ 3 ยุทธศาสตร์ คือ

1. การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ก่อให้เกิดรายได้ค่อนข้างสูง โดย Focus ไปที่นักท่องเที่ยวชาวรัสเซีย
และประเทศบริวาร ที่ชอบแช่น้ำแร่, Focus ไปที่ชาวอินเดีย เนื่องจากมีประชากรจำนวนมาก หากสามารถรู้ได้ว่าเขาต้องการอะไรก็จะทำให้มีรายได้มหาศาล, Focus ไปที่ชาวตะวันออกกลาง ที่ต้องการรูปแบบท่องเที่ยวแบบหรูหรา โรงแรม 5 ดาว

2. การเกษตร บริเวณแม่น้ำแม่กลอง, ท่าม่วง และเกษตรอุตสาหกรรม เขตเศรษฐกิจในเมือง - ท่ามะกา

3. การค้าระหว่างประเทศ ใช้งบประมาณ 4000 – 6000 ล้าน พัฒนาพื้นที่บริเวณที่ติดต่อกับจังหวัดสุพรรณบุรี
โดยการจัดหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร โดยผันน้ำจาก อ.ศรีสวัสดิ์ ไปที่อ่างลำตะเพิง และผันน้ำจากแม่กลองไปทางสุพรรณบุรี และสร้างสะพานเศรษฐกิจ ระบบลอจิสติกส์ (มอเตอร์เวย์ บางใหญ่ – หนองขาว, ถนน 4 เลน เมืองใหม่ – เลี่ยงเมือง) และพัฒนาผังเมืองควบคู่ไปการเติบโตทางเศรษฐกิจ

บทสรุป

1. ผู้นำในอนาคต ต้องมีวิสัยทัศน์ทั้งในเรื่องของเศรษฐกิจ สังคม และ ลอจิสติกส์

2. ทรัพยากรน้ำสำคัญที่สุดในโลก ทำให้ กฟผ.มีส่วนร่วมในการพัฒนาจังหวัดกาญจนบุรีค่อนข้างมาก

โดย นายสหัสนัย ตัวแทนสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี

  • การให้ข้อมูลและประชาสัมพันธ์เรื่องความมั่นคงของเขื่อนศรีนครินทร์ ว่ามีแกนของเขื่อนเป็นภูเขาเจ้าเณรจำนวน 2 ลูก เป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นแก่นักท่องเที่ยว และลูกหลานชาวเมืองกาญจนบุรี ให้กลับมาเที่ยว และคืนถิ่นมาอยู่บ้านเกิด

โดย นายปณต สังข์สมบูรณ์ พลังงานจังหวัดกาญจนบุรี

  • ควรมีการทำวิจัยเรื่องพลังงานทดแทน ว่าได้ประโยชน์คุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ จะทำให้ชาวบ้านเข้าใจเราได้อย่างไร
  • ควรมี Networking รอบๆ โรงไฟฟ้า

โดย นายยุทธการ มากพันธ์ ตัวแทนชุมชน (NGO)

  • เนื่องจาก กฟผ. มีภาระกิจในการผลิตพลังงานไฟฟ้า จึงต้องสร้างโรงไฟฟ้า ซึ่งมีภาพลบต่อชุมชนในแง่ที่จะก่อมลภาวะ ควรต้องเปลี่ยนแนวคิดในการจัดหาพลังงาน โดยการสร้างเครือข่ายพลังงานจากชุมชน เก็บพลังงานต่างๆ จากครัวเรือนมารวมกัน (ปรับแนวคิด วิธีคิด และบริหารการเปลี่ยนแปลง)

โดย นายคเชนทร์ พูนจันทร์ ตัวแทนภาคธุรกิจ (SCG):

  • สำหรับชุมชน การทำ CSR เป็นการลงทุนในชุมชนระยะยาว เพื่อสร้างการยอมรับ ต้องประกอบด้วย ทุน การทุ่มเททั้งแรงใจแรงกาย ต่อเนื่อง สม่ำเสมอ และไม่เลือกปฏิบัติ การสร้างประโยชน์ที่คุ้มค่า ต้องให้ชุมชนเป็นตัวตั้ง เป็นความต้องการของชุมชน (ชุมชนมีความแตกต่าง)เน้นการมีส่วนร่วม การเข้าถึงชุมชน ต้องจริงใจ
    ฟังให้มากกว่าพูด ช่วยเขาแก้ปัญหา โปร่งใส ตรวจสอบได้
  • ให้ข้อมูลกับพนักงานทุกระดับ ว่าบริษัทกำลังทำอะไร เพื่อให้ไปในทิศทางเดียวกัน
  • จับคู่ธุรกิจ ชวนภาคเอกชนเพื่อนบ้านมาร่วมมือกันทำ จะทำให้แก้ไขปัญหาได้ง่ายขึ้น

บทสรุปของ กฟผ.

1.หน่วยงานหลักในการพัฒนาชุมชน ควรใช้มืออาชีพ จะได้ผลกว่า

2.กฟผ. ควรเป็นพี่ใหญ่ เป็นที่พึ่งของประชาชนในเรื่องของพลังงานไฟฟ้า ต้องให้ประชาชนรู้สึกว่าเป็นเจ้าของ

3.ต้องสร้างความเชื่อถือ เชื่อใจ อย่าเอาเงินไปยื่นให้

4.กฟผ. มีศักยภาพ แต่งานชุมชนต้องมีเครือข่าย (ผู้นำชุมชน ชาวบ้าน นักวิชาการ ส่วนราชการ สื่อมวลชน) จึงจะประสบความสำเร็จ

สรุปโดยทีมงานวิชาการ Chira Academy

บรรยายเรื่อง Networking Capital กับการพัฒนาเพื่อประชาชน

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557

โดย นายชัยวัฒน์ ลิมป์รรธนะ

ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี

นายสหัสนัย ยืนยงค์

อุปนายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี

นายปณต สังข์สมบูรณ์

พลังงานจังหวัดกาญจนบุรี

นายยุทธการ มากพันธุ์

ตัวแทนชุมชน

นายคเชนทร์ พูนจันทร์

ดำเนินรายการโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

โดย นายชัยวัฒน์ ลิมป์รรธนะ

ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี

หลักสูตรนี้จะเกิดประโยชน์ไม่ใช่แต่เฉพาะตัวท่านเอง แต่ถ้าได้เรียนรู้กาญจนบุรีแล้วนำไปบริหารจัดการก็เกิดประโยชน์เช่นกัน

กาญจนบุรี มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน 320 กม. มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ สิ่งที่น่าสนใจคืออยู่ใกล้กรุงเทพฯประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่งถึง 2 ชั่วโมง ถ้าวิ่งไปสังขละบุรีใช้เวลา 3- 4 ชั่วโมง ลักษณะโครงสร้างเหมือนกำมือชี้นิ้ว ปลายนิ้วคือด่านเจดีย์สามองค์

สงคราม 9 ทัพ ถ้าสังเกตดี ๆ จะมีซุ้มสงคราม 9 ทัพ นับว่าเป็นประวัติศาสตร์ที่น่าเรียนรู้

สะพานแม่น้ำแคว ที่ญี่ปุ่น พยายามข้ามไปอินเดีย ทุกปีมีกิจกรรมของเรา มีสุสานพันธมิตรที่เขาช่องไก่ ไทรโยค สุสานพันธมิตรในเมือง

หน้าตาประวัติศาสตร์ของกาญจนบุรี มีวัฒนธรรม หลวงพ่ออุตตะมะ บ้านอีต่อง (เหนืออำเภอทองผาภูมิ ขอบชายแดนทางด้านนั้น)

เหมืองป้าแหม่ม (สาวออสเตรเลียมาอยู่ตั้งแต่อายุ 17 ปัจจุบัน 80ปี) ปัจจุบันเป็นที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติเช่นกัน และเหนือเขื่อนก็ข้ามมาอีต่องได้

รัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 5 มีความสัมพันธ์กับเมืองกาญจน์เพราะสมัย ร.3 นั้น ร.1 โปรดให้ ร.3 ยกทัพมารอพม่าที่เมืองกาญจน์และสร้างกำแพงเมืองที่จวนผู้ว่าฯ

ขุนแผนอยู่ตรงกาญจนบุรีเก่า (แยกแก่งเสี้ยน เลยลาดหญ้ามา) มีวัดนางพิม

สรุปดินแดนกาญจนบุรีเป็นดินแดนประวัติศาสตร์ทั้งสิ้น

ยุทธศาสตร์ที่ 1 เชิงอนุรักษ์

มีภูมิประเทศที่น่าสนใจมาก มีน้ำแควน้อย แควใหญ่ที่ไม่เคยแห้งเพราะมีเขื่อนคอยปิดเปิดก๊อก

โซนที่ 2 ที่ 3 เป็นวัฒนธรรมเก่าแก่ มีพระบรมราชาอนุสาวรีย์ ตำบลดอนเจดีย์อำเภอพนมทวน

อนุสรณ์สถานเป็นจริงด้วยหลักฐานทางประวัติศาสตร์เยอะ เป็นเจดีย์เก่า ผู้ที่อยู่ในตำบลนั้นเกี่ยวกับช้างและม้าทั้งนั้นเลย

สรุป เมืองกาญจน์ โดยสภาพภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ หากินได้ทันที มีฝรั่งและจีนต่างชอบเดินทางมาจังหวัดมาก

การเน้นย้ำการส่งเสริมการท่องเที่ยวมาก ๆ เกี่ยวพันกับชุมชนและโรงไฟฟ้าที่พูดถึง ต้องเอาเงินไปใช้พัฒนากองทุน จากใต้เขื่อนไปถึงตัวเมือง ถ้าไปพัฒนาจะง่ายมาก ถ้าพัฒนาท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ความคงทนถาวรจะอยู่ยาวนาน ปีหนึ่งเกิดรายได้ค่อนข้างสูง ยุทธศาสตร์อื่น จะกินได้ตลอด

ยุทธศาสตรที่ 2 เกษตรอุตสาหกรรม

ยุทธศาสตร์เกษตรอุตสาหกรรม 2ใน3 เป็นการอนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร แควใหญ่ แควน้อย ไหลผ่านอำเภอ เจอเขื่อนท่าม่วง หลังจากนั้นเป็นการชลประทานที่ดี เป็นเขตเศรษฐกิจที่ดีมาก ๆ

นอกจากเขื่อนวชิราลงกรณ์ ศรีนครินทร์ที่ผลิตกระแสไฟฟ้า ทำให้โซนที่ 2 มีคุณภาพ ลักษณะ พื้นที่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีพื้นที่เกษตรอุตสาหกรรม

กาญจนบุรีกับความสัมพันธ์ต่างชาติ

ให้ลองศึกษาว่าอะไรขายในรัสเซีย ดีกว่าหากินรอบ ๆ บ้าน

อินเดีย ให้ดูว่าในครัวเรือนใช้อะไรแค่ชิ้นหนึ่งใช้ของจากกาญจนบุรี ก็รวย พยายามให้พาณิชย์จังหวัดคุยกับพาณิชย์

ตะวันออกกลาง อาจไม่รู้ว่าจะขายอะไรเนื่องจากเขารวย ให้ลองกลับมาดูว่าโรงแรม 5 ดาวมีกี่แห่ง ให้ศึกษาดูว่าเขาใช้อะไร

จีน ให้ลองศึกษาดูแต่อย่าลืมว่าเขาเป็นยักษ์ใหญ่

เริ่มต้นที่วัฒนธรรมก่อน

ใน ครม.สัญจร ยุทธศาสตร์ที่เพ่งเล็ง เราขอไปใน 6 พันล้าน ต้องไม่แล้ง การผันน้ำจากอำเภอศรีสวัสดิ์ เขื่อนศรีนครินทร์ วิธีการเกาะขอบบนไหลลงล่าง หาโซนที่สอง

ผันน้ำจากแม่น้ำแม่กลอง เจอแควน้อย แควใหญ่ ท่าม่วง ผ่านอำเภอเมือง อำเภอพนมทวน ใช้ระบบสูบ แต่อยากถามว่าค่าใช้จ่ายตรงนี้ใครรับผิดชอบ สิ่งที่พบคือการสูบน้ำจากที่ต่ำขึ้นที่สูง ถ้าไม่จำเป็นอย่าทำ

พัฒนาฐานการผลิต พัฒนาโซนที่สอง โซนที่สาม

ทวายเป็นประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคสมเด็จพระนเรศวร เป็นส่วนที่หวังอยากให้เกิด East West Corridor แต่อยากให้พัฒนากาญจนบุรีให้เตรียมความพร้อมก่อน เริ่มแรกอยากให้ทบทวนในเรื่องผังเมืองก่อนเพราะสภาพภูมิประเทศ ต้นทุนทางธรรมชาติมีอยู่แล้ว ถ้าวางผังเมืองไม่ดี จะมีคนซื้อที่ตอนทวายเริ่มเกิดอย่างมากมายอย่างไม่เป็นระบบ น่าเป็นห่วงมาก ดังนั้นจึงควรคิดต่อเรื่องระบบผังเมืองอย่างดี

กาญจนบุรีแบ่งเป็น 3 โซน

โซนที่ 1 เมืองเก่า ตรง ถ.แสงชูโต

โซนที่ 2 ถนนปากแพร่งก็เป็นเมืองเก่าเช่นกัน

โซนที่ 3 ถนนริมแม่น้ำ ก็เมืองเก่าอีกเช่นกัน

สรุปทั้ง 3 โซนเป็นเมืองเก่าที่กาญจน์อนุรักษ์และสร้างรายได้เข้าจังหวัดอย่างมหาศาล

โซนที่ 2 เปลี่ยนชื่อว่าเมืองใหม่ สมัย ครม.สัญจรเสนอบ้านพุ่มน้ำร้อนเจอที่หนองขาวเป็นมอเตอร์เวย์

สรุปพัฒนากาญจนบุรีโดยมองที่สภาพภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ สิ่งสำคัญคือให้เข้าใจในมิติของพื้นที่อนุรักษ์กาญจนบุรี อย่าใช้ผิดที่ผิดทางเน้นการอนุรักษ์และรักษาคุณภาพอย่าให้เสียหาย บริเวณเหนือเขื่อนมีปลาที่อร่อยมาก

บ้านปานาสวน มีเรือตะไลเป็นเครือข่ายเกือบ 100 ลำ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

กฟผ. ถ้าเป็นผู้นำในอนาคต ถ้ามีภาพกว้าง เศรษฐกิจ สังคม Logistics และภาพลึกทางวิศวกรรม ไฟฟ้า จะเป็นสิ่งดีมาก

กฟผ. จริง ๆ แล้วมีส่วนร่วมมาก เช่นเขื่อน ต้องเขียนถึงประโยชน์ด้วยไม่ใช่ปัญหาอย่างเดียว ให้ประชาชนแลกเปลี่ยนความคิดกัน

นายสหัสนัย ยืนยงค์ อุปนายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี

การท่องเที่ยวและการมีส่วนร่วมประชาชนในพื้นที่

ตัวชี้วัดถ้ามองประเด็นเขื่อนศรีนครินทร์โดยเฉพาะ บทบาทการท่องเที่ยวของเขื่อนศรีนครินทร์เป็นอย่างไร มีความน่าสนใจอย่างไร มีประโยชน์อย่างไร เช่นโครงการชีววิถีเป็นโครงการที่ดีมากให้ความรู้กับชุมชน เป็นโครงการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้คนทำงานต่อเนื่อง ส่งเสริมโอทอป และเป็นแหล่งที่ศึกษาดูงานคนมาดูงานเยอะ มากิน ใช้ นอน เที่ยว จึงกลายเป็นแพคเก็จที่ชมรมท่องเที่ยวอำเภอศรีสวัสดิ์ เป็นจุดขายเพื่อให้คนมาดูงานว่ามีวิธีการกำจัดขยะ สร้างรายได้อย่างไร

โครงการฝายชะลอน้ำ เป็นการอนุรักษ์ธรรมชาติทำให้อุดมสมบูรณ์ พอโครงการมีการประชาสัมพันธ์ออกไป จะมีหน่วยงานเข้ามาช่วยเขื่อนศรีนครินทร์ทำฝายชะลอน้ำต่าง ๆ เป็นอานิสงส์ของการท่องเที่ยวโดยอัตโนมัติ ทำให้ชุมชนมีส่วนร่วมในเครือข่าย

การตกปลาเป็นอีกแพ็คเกจที่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวไปขาย สนามตกปลาเป็นอีกสนามหนึ่งที่แข่งขันตกปลา โครงการปล่อยปลาเป็นอีกโครงการที่สร้างความสัมพันธ์กับประชาชน

โครงการศึกษาดูงาน มีทั้งที่ให้เขามาดูงานที่เขื่อนศรีนครินทร์พาชุมชนจากพื้นที่อำเภอศรีสวัสดิ์ไปชมเครือข่ายการไฟฟ้าฝ่ายผลิตทั่วประเทศ

โครงการจัดงานคืนรักคนสันเขื่อน เนื่องจากที่ผ่านมามีความเสียหายเกิดขึ้นมาก จัดงานเพื่อสงบข่าวลือตรงนั้น เป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ของคนในพื้นที่

การสร้างความมั่นใจ เป็นการดูแลทางด้านจิตใจของคนในพื้นที่และของนักท่องเที่ยวในเรื่องความมั่นคงของเขื่อนศรีนครินทร์ เช่นข่าวเขื่อนแตกมีผลกระทบต่อชาวบ้านหลายคนไม่อยากกลับมาที่ อ.ศรีสวัสดิ์ มีการทำ PR เสียงจากชุมชน การสะกิดจุดอ่อน ทำเพื่อภาพรวม ไม่มีใครทราบว่าเขื่อนสร้างเพราะอะไร เขื่อนจ้าวเลนผูกพันกับสงคราม 9 ทัพ

ในการสร้างความมั่นใจ ควรทำ Museum , Display

การพัฒนาการท่องเที่ยว มีแพพัก ตัวไข่แดงคือตัวผู้ประกอบการท่องเที่ยว

ศรีสวัสดิ์โมเดลจะเป็นแม่แบบให้ผู้ประกอบการอย่างดี การสร้างมาตรฐานแพพักสามารถกระตุ้นให้ผู้ประกอบการ Upgrade ตัวเองได้

ปัญหา

ชาวบ้านระดับล่าง 60% ไม่มีความรู้

ระดับกลาง SMEs 30%

กฟผ.อาจเข้าไปช่วยสร้างมาตรฐานให้เขาได้ และเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้เมื่อไร การพัฒนาของเขาจะสำเร็จ ประโยชน์ที่ได้รับจะเกิดประโยชน์ 4 ฝ่ายด้วยกัน

ชาวบ้านจะได้รับความปลอดภัยมากขึ้น

ผู้ประกอบการสามารถส่งเสริมให้ตนเองมีมาตรฐาน มีรายได้มากขึ้น พัฒนาฝีมือแรงงาน

นักท่องเที่ยวได้รับการท่องเที่ยวมีคุณภาพ

ผู้ประกอบการ มีรายได้มากขึ้น ให้คนกลับมาอยู่บ้าน

ภาครัฐ มีการจัดเก็บภาษี มีรายได้มากขึ้น

กฟผ.ไม่มีบุคลากรเฉพาะเจาะจงมาทำงานนี้ ช่องว่างระหว่างกฟผ.กับชาวบ้านจึงกว้างมากขึ้นเพราะชาวบ้านมองว่า กฟผ.มีเงินเดือนสูง มีสวัสดิการที่ดี องค์กรน่าจะสร้างเครือข่ายที่ดี

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Good idea ในห้องนี้ยังไม่สามารถ implement ได้ทันที ทุกคนในห้องนี้หวังดี อยากเอาชนะอุปสรรค กฟผ. ยังเป็นระบบ Silo ถ้าขึ้นอยากให้ขึ้นทั้งแผง

นายปณต สังข์สมบูรณ์ พลังงานจังหวัดกาญจนบุรี

เป็นคนที่ตั้งกองทุนโรงไฟฟ้าที่กระบี่ ยินดีที่เจอคน กฟผ.ที่นี่

ในบทบาทพนักงานพลังงานจังหวัดเป็นส่วนภูมิภาค เป็นตัวแทนของกระทรวงฯ ประสานงานเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ร่วมมือกับกระทรวงแรงงาน

ภารกิจหลัก ๆ แบ่งเป็นธุรกิจไฟฟ้า พลังงานทดแทน สนง.พลังงานแก้ปัญหาในพื้นที่

ชุมชนที่ 2 มีวิสาหกิจชุมชน และเทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุนทางด้านพลังงาน มีเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับครัวเรือนทดแทนจากไม้ แกลบ ฟาง สามารถทำร่วมกับ กฟผ.ได้ ในกาญจน์ยังไม่น่าจะมีปัญหา อยากให้ลงไปดูปัญหาจริง ๆ ในพื้นที่มีอะไร แล้วทำงานผ่านพลังงานฝึกหัด

ในเรื่องชุมชน กฟผ.ได้ในส่วนไหนของพลังงาน โครงการหลอดผอม กลุ่มอาชีพ กลุ่มพลังงานต่าง ๆ

ในระยะยาวน่าจะมีโครงการที่น่าจะเป็นไปได้ ไปช่วยที่ต่าง ๆ

พลังงานที่เป็นภารกิจจังหวัด อ้อยเยอะ พลังงานเยอะ ก๊าซชีวภาพจะทำอย่างไร

กองทุนรอบโรงไฟฟ้า เช่นโรงน้ำตาล ผลิตร้อยขาย 40 จ่ายเงินเข้ากองทุนเฉพาะที่ขาย แต่ละเทคโนโลยีไม่ได้มาตรฐานจะก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นได้ ประกอบกับชาวบ้านไม่รู้ข้อมูลจะมีวาระซ่อนเร้น ให้ข้อมูลไม่ถูกต้อง ผู้ประกอบการไม่ปฏิบัติตามกฎ กลายเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีที่เอามาอ้างได้ ปัญหาบางครั้งต้องปฏิบัติตามระเบียบให้เต็มที่จะแก้ได้

จ.กาญจนบุรี มีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังจำนวนมากถ้านำมาผลิตไฟฟ้าได้ 20 เมกกะวัตต์ คิดกก. 50 สตางค์ต่อไร่ น่าจะสนับสนุนให้ปลูกมันสำปะหลังเพื่อพลังงานมากขึ้น

ยอดอ้อยกับใบอ้อย จากที่ทำวิจัยนำมาทำเป็นเชื้อเพลิงต้นทุนมากกว่ามันสำปะหลังเป็น 5-10 เท่า

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ถึงแม้ว่าเราไม่ดูแล Energy tax โดยตรงแต่กฟผ.ควรทำวิจัยว่าทำแล้วเกิดประโยชน์จริงหรือไม่ ทุกคนพูดตรงประเด็น แต่ข้อเสียยังไม่ได้ Follow up ให้เสนอให้มีพิพิธภัณฑ์เกิดขึ้น การประชุมรุ่น 11 ต้องต่อเนื่องกับรุ่น 10

นายยุทธการ มากพันธุ์

บทบาท กฟผ. ด้านดี คือจะเป็น Hero ตอนไฟดับ แต่อีกบทบาทด้านไม่ดีคือการขึ้นค่าไฟ และการหาไฟฟ้า เช่นต้องมีโรงไฟฟ้าถ่านหิน นิวเคลียร์ พลังงานน้ำ ซึ่งเป็นผลกระทบทางลบต่อประชาชน ไฟฟ้าชีวมวลก็ถูกต่อต้านทุกเรื่อง

กระทรวงพลังงานพยายามหาไฟฟ้าให้กับคนทั้งประเทศ

วิธีแก้ ขสมก.มีรถล้านคัน พนักงานเครือข่ายล้านคน ถามว่าเอาเงินที่ไหนจ้าง เขาทำอย่างไร ทำไม กฟผ.ไม่มีเครือข่ายผู้ผลิตไฟฟ้า ในเขื่อนศรีนครินทร์มีพลังงานน้ำมหาศาล อย่าดูถูกประชาชนเครือข่ายพลังงานขนาดเล็ก เพราะเครือข่าย 1 ล้านครัวเรือนจะมีพลังงานมหาศาล ร่วมกันสตาร์ดเครื่องเจนเนอเรชั่น จะได้พลังงานจำนวนมาก กลุ่มประชาชนผลิตน้ำมันเองได้ น่าจะสร้างเครือข่ายตรงนี้

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ปรับ Mindset ปรับ Paradigm วิธีคิด จากนี้ไปจะเป็นความจริงมากขึ้น เลือกอะไรที่ Relevance เรื่องชุมชนเป็นไปได้อยู่แล้ว

นายคเชนทร์ พูนจันทร์ ตัวแทนจาก SCG

การสร้างทุนทางเครือข่ายเป็นการลงทุนระยะยาวและวัดผลได้ยาก การลงทุนไม่ได้เป็นเงิน ใช้ทั้งคน มีจิตใตที่จะทุ่มเท เปรียบเสมือนคนเราทำความดีต้องใช้เวลานานมากที่ทำให้คนยอมรับ มีความเชื่อมั่น ศรัทธา ทำต่อเนื่อง สม่ำเสมอ และทำกับทุก ๆ คนด้วย ในแง่บริษัทก็เช่นเดียวกัน ทาง SCG ชุมชนกับสังคมต้องดูให้ Balance กัน

ความรับผิดชอบต่อสังคม SCG ยึดมั่นมาตลอด เราอยู่ในชุมชนต้องดูเรื่องรายได้ สังคม และสิ่งแวดล้อม ต้องบริหารให้อยู่ด้วยตลอดไป ต้องสร้างรายได้ให้ชุมชน สร้างงานให้ชุมชน พัฒนาชุมชน ไม่ว่าสาธารณประโยชน์ หรือการศึกษา ด้านสิ่งแวดล้อม ต้องเลือกเทคโนโลยี ต้องลงทุนที่ทำธุรกิจส่งผลกระทบสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

ทางภาคเอกชนมีคนสนใจที่คนจะเข้าร่วมมากน้อยเพียงใด เรามองว่าทุกคนมีความพอใจเหมือนกัน SCG มีการจ้างบริษัทภายนอกมาดำเนินการให้รู้ว่าชุมชนมีความเห็นกับเราอย่างไรจะได้ตอบโจทย์กับชุมชนได้ จะได้มีการติดตาม ไม่ใช่สำรวจแล้วไม่ทำ มีทีมในการติดตามตรวจสอบว่าชุมชนคิดอย่างไร มีคณะกรรมการชุมชน 1 manager 1 Community ผู้จัดการทุกคนต้องมี Activity ร่วมกับชุมชน ไปดูแล สำรวจ ติดตามชุมชนว่ามีความคิดเห็นอย่างไร กลับมาทำแผนงาน และต้องไปตอบกับชุมชน

จะมีส่วนร่วมอย่างไรให้เกิดประโยชน์กับชุมชน

ให้เอาชุมชนเป็นตัวตั้ง ฟังเสียงประชาชนหรือชุมชน แต่ไม่สามารถตอบสนองชุมชนได้ทุกคน สิ่งใดที่ทำแล้วเกิดประโยชน์ เป็นสาธารณประโยชน์ SCG จะไม่สนับสนุนเรื่องการให้เงินเนื่องจากควบคุมยากและไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ แต่ให้ทางชุมชนเสนอเข้ามาและให้พนักงานลงไปทำงานร่วมกับชุมชน ไม่ใช่ลักษณะการสร้างให้หรือมอบให้ ต้องสร้างจากความต้องการที่ชุมชนได้จริง ต้องดูแลรักษาประโยชน์ตรงนี้ให้เกิดขึ้นตลอดไป

การทำงานกับชุมชน

ต้องทำงานในเชิงรุก ไม่รอให้มีปัญหา ออกไปพบกับชุมชน กิจกรรมมีการเผยแพร่ให้ชุมชนรับทราบ แต่การประชาสัมพันธ์อย่าเกินความจริงเพราะจะเกิดผลในทางลบได้

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

กระจายบทบาทของกฟผ.กับชุมชนไปทุกจุด ข้อแตกต่างระหว่าง SCG กับ กฟผ. คือเป็นรัฐวิสาหกิจ เป็น Silo เป็น Structure ที่แข็ง ในรุ่นนี้ต้องทำลาย Structure ที่แข็ง

ร่วมแสดงความคิดเห็น

คิดว่าวันนี้มีอะไรใหม่ 1 เรื่อง และจะทำอะไรต่อ

1. เรื่องกองทุนพัฒนาโรงไฟฟ้า ปัจจุบันใช้ไม่ตรงจุดตรงประเด็น ต้องเป็นตามที่อาจารย์เสนอคือเรื่องทำวิจัย

2. เจาะลึกและติดตามความต่อเนื่องของชุมชน ทำเรื่องการวางแผนการดำเนินการให้ชัดเจนขึ้น เน้นความต่อเนื่องและต่อเนื่อง

3. ประเด็นคุยกับชุมชนต้องมีหลาย Silo ควรให้แต่ละ Silo คิดเหมือนกัน ชุมชนจะได้ไปด้วยกัน

4. ต้องสร้างกฟผ.เป็นบ้านเดียวกับชุมชนไม่ใช่บ้านรั้วสูง สร้างทัศนคติใหม่ให้คนทุกระดับว่าเป็นคนระดับเดียวกัน

5. 1 manager 1 community น่าจะดูแลชุมชนได้ดี อย่างกฟผ.อาจเป็น 1 เขื่อนหรือ 1 หัวหน้ากอง 1 community เป็นต้น

6. การทำงานร่วมกับชุมชนของ SCG เอาชุมชนเป็นตัวตั้ง กฟผ.ลงลึกกว่านั้นคือการบริหารชุมชนไม่ได้สอดรับกับเงินที่ใช้จริง ๆ อยากให้กฟผ.เอาเงินกองทุนมา Share ทำงานร่วมกัน

7. ปรับยุทธศาสตร์การสื่อสารทำความเข้าใจกับชุมชน อาจมีการปูพื้นตั้งแต่เด็ก ๆ

ดร.จีระ เสนอให้ Training ผู้ช่วยฝ่าย

คุณสหัสนัย ยืนยงค์

กฟผ. ควรมีแผนกพัฒนาชุมชนขึ้นมาเพื่อทำงานร่วมกับชุมชนจังหวัดหรืออำเภอให้วัตถุประสงค์ถูกต้องและถูกใจ

คุณยุทธการ มากพันธุ์

กฟผ.เป็นองค์กรที่อยู่กับไทยมานานและไม่ยอมแปรรูป แทนที่คนอื่นมาถือพลังงานในมือ กฟผ.สามารถเป็นพี่ใหญ่ได้ แต่คนไทยมีคุณสมบัติคือรวมกลุ่มไม่ได้ ให้ยึดมั่นสิ่งที่ตัวเองมีฝึกคนให้ประชาชน ให้ประชาชนเป็น Partner และเครือข่ายของท่าน

คุณปณต สังข์สมบูรณ์

ทำอะไร ผ่านทางเครือข่ายสนองต่อปัญหาของชุมชนเพื่อสร้างความคุ้นเคยผ่านกลุ่มต่าง ๆ จะสร้างความเชื่อใจได้ ถ้าเราจริงใจกับชุมชน

คุณคเชนทร์ พูนจันทร์

กฟผ.บุคคลากรมากกว่า SCG เครือข่ายศักยภาพน่าจะมากกว่าเรา ทำคนเดียวไม่สำเร็จ ต้องออกไปให้ความรู้ ทำตั้งแต่พนักงานระดับสูงถึงระดับล่าง โครงการไหนมีความซับซ้อนต้องเชิญวิชาการมาร่วม เชิญสื่อมวลชนทุกองค์กรมีส่วนร่วม มีโครงการจับคู่ธุรกิจที่จะทำ โครงการใกล้เราเชิญมาทำร่วมกับเรา ไม่ใช่พื้นที่เรา อย่างภาคเอกชนก็เชิญมาทำ ปัญหาแก้คนเดียวไม่ได้ ต้องช่วยแก้ไขที่ SCG สำเร็จเพราะชุมชนไว้ใจ มีปัญหาบอกชุมชน ไม่ปกปิดร่วมแก้ปัญหาร่วมกัน ความเข้าใจของชุมชนแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน

สรุปโดยทีมงานวิชาการ Chira Academy

บรรยายเรื่อง HR for Non HR และการปรับใช้กับงาน CSR ของ กฟผ.

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557

สิ่งที่อยากให้ผู้เรียนรู้พัฒนาคือ

1. Change

2. Paradigm Shift

3. Mindset

สรุป Quotation

- Microsoft เริ่มต้นเหมือนเน้นไปที่ PC Computer เจอปัญหา เพราะคนไม่ใช้ PC ต่อมาคือ Satya Nadella ทำเรื่อง Cloud Computing เข้ามาช่วงสถานการณ์เปลี่ยนแปลง

- HR เกี่ยวข้องกับ Leadership 2 อย่าง ต้องเป็น Leader หน้าที่คือไปสร้าง Leader ต้องยืมคนอื่นมา

- จุดสำคัญที่สุดคือค้นหาตัวเอง นอกจากเป็นวิศวะแล้ว ไม่เป็น HR Manager เพราะอะไร

- Science & Social Science ต้องผสมกัน

- Turn Intangible มาเป็น Tangible

- อยากให้ Non HR ลงลึกเกี่ยวกับ Human Resource นอกจาก Resource Department

- การแข่งขันขึ้นอยู่กับ Quality

- ถ้าเราจะเป็น Non HR ที่เก่งเรื่องคน เราต้องมีปรัชญาเรื่องคน

- Factor Proportion ถ้ามีทรัพยากรธรรมชาติมากกว่ามนุษย์จะไม่ลงทุนเรื่องคน

- Potential ของมนุษย์อยู่ข้างใน ไม่อยู่ข้างนอก เน้นการกระตุ้นเพื่อความเป็นเลิศ

- การมองทรัพยากรมนุษย์อยู่ที่องค์กร ถ้าไม่เข้าใจ Macro ไปสู่ Micro Human Capital เจ๊ง

- เปลี่ยนก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน

- Non HR ต้องทำ 3 อย่าง ปลูก พัฒนา เก็บเกี่ยว เอาชนะอุปสรรค

HR Department

- ต้องให้บทบาท HR ไปสู่ Non HR หรือ Line Manager มากขึ้น

HR Function

- HR Function ต้องเปลี่ยน คนไม่ใช่ HR หรือ HR ต้องเข้าใจมากขึ้น

HR

- HR ยุคใหม่ต้องไม่ติดความคิดเดิม ๆ

- Blue Ocean คือความคิดสร้างสรรค์

- Asset แต่ก่อนเป็น Financial Asset อย่างเดียว

- HR ไม่ใช่ทำเรื่อง Performance เพรียว ๆ ต้องมองสังคมด้วย ต้อง Trust และ มี Social Trust

- ก่อนปลูกคนในองค์กรต้องมี HR และ Recruitment (ปลูก เก็บเกี่ยว Execution

- คุณลักษณะทุนมนุษย์ที่เหมาะสม จริยธรรม คุณธรรม

- ต้องเรียนรู้ทำงานแบบเครือข่าย

- เมื่อมี 8K’s แล้วค่อยกระเด้งไป 5K’s ทำอย่างไรคิดนอกกรอบ มีไอเดียใหม่ ๆ

- กฟผ.ยุคใหม่ต้องคิดอะไรที่แตกต่าง ถ้ามีลูกค้าอย่าไปเน้นลูกค้าเดิมให้หาลูกค้าใหม่ ๆ ด้วย อาจเน้นการทำธุรกิจอื่นที่ไม่ใช่ไฟฟ้า

8K’s 5K’s

- มีโอกาสเพิ่มมาตรฐาน คุณภาพ Benchmarking

การเก็บเกี่ยว

- ไม่ใช่เครื่องจักร ทำอะไรต้องมีความพอใจ

Intangible ควรประกอบด้วย

- การทำงานอย่างมีความสุข (Happiness)

- ยกย่องคนทุกระดับ (Respect)

- ให้คนอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี (Dignity)

- มองไกลและยั่งยืน (Sustainable)

  • การทำงานเน้นความยั่งยืนคือพฤติกรรมของเรา ทำให้คนใฝ่รู้มากขึ้น ต้องหา Solution แก้ปัญหาให้ได้
  • สุดท้าย
  • ให้ Non – HR ในห้องนี้บ้าคลั่งความสำเร็จให้มากขึ้น การเอาชนะอุปสรรค สิ่งที่เสนอในวันนี้ไปติดที่ High บ้าง บางครั้ง Bureaucracy แข็งเกินไปเพราะมีงบประมาณประจำปี แต่มีงบกลางน้อยมากเลย
  • Value Creation เริ่มจากศูนย์แต่มีความคิดแตกต่างจากคนอื่น ต้องเปลี่ยนจากความหลากหลายไปสู่มูลค่าเพิ่ม
  • Workshop

1.ปัญหาของ HR Department ของ กฟผ. ที่เป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จคืออะไร

2.Non-HR ต้องมีบทบาทเพิ่มขึ้นอย่างไร (ที่สำคัญที่สุด 3 เรื่อง) จึงจะทำงานเรื่องคนได้สำเร็จ? พร้อมแนวทางการพัฒนา

3.อุปสรรคในการทำงานร่วมกันของ CEO – HR และ Non HR(ที่สำคัญที่สุด 3 เรื่อง) พร้อมทางออกที่เป็นไปได้

4.วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันของ CEO – HR และ Non HR – โอกาสในการสร้าง V ที่ 2 value creation และเชื่อมโยงกับงาน CSR (ที่สำคัญที่สุด 3 เรื่อง) พร้อมแนวทางการพัฒนา

5.วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันของ CEO – HR และ Non HR – อุปสรรคในการสร้าง V ที่ 2 คือ value creation และเชื่อมโยงกับงาน CSR (ที่สำคัญที่สุด 3 เรื่อง) พร้อมทางออกที่เป็นไปได้

6.วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันของ CEO – HR และ Non HR – โอกาสในการสร้าง V ที่ 3 คือ value diversity และเชื่อมโยงกับงาน CSR (ที่สำคัญที่สุด 3 เรื่อง) พร้อมแนวทางการพัฒนา

7.วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันของ CEO – HR และ Non HR – อุปสรรคในการสร้าง V ที่ 3 คือ value diversity และเชื่อมโยงกับงาน CSR (ที่สำคัญที่สุด 3 เรื่อง) พร้อมทางออกที่เป็นไปได้

กลุ่มที่ 4 วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันของ CEO – HR และ Non HR – โอกาสในการสร้าง V ที่ 2 value creation และเชื่อมโยงกับงาน CSR (ที่สำคัญที่สุด 3 เรื่อง) พร้อมแนวทางการพัฒนา

กรณี 1 manager 1 community มีโครงการเพื่อนใกล้ชิดมิตรใกล้บ้าน เรียก PR และ CSR ทั่วประเทศมาประชุมและรับนโยบายร่วมกัน ทำให้งบประมาณบานปลายมาก ซึ่งสวนทางกับ SCG ที่โครงการนี้ไม่ใช้เงินเหมือนเป็นการโอนเงินไปใส่ ไอเดียของ CEO เรื่องเพื่อนใกล้ชิดมิตรใกล้บ้านไม่ได้มีการขยายเชิงลึก ต้องสร้างในส่วนของตัวชุมชนเอง กิจกรรม CSR ไม่ได้เป็นเพราะตามที่ได้รับมอบหมาย ตัวชุมชนเองคือ Character ที่ไปพบกิจกรรมกับเขา

การเป็น Customer ฝ่ายกิจการสังคมต้องนึกถึงว่าหน่วยงานต่าง ๆ เป็นลูกค้าที่ต้องขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่ง Non HR ต้องทำด้วย

ทำทั้ง Partner HR และ community ให้ด้วยกัน

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

โครงการนี้เป็น Value Creation ถ้าทำสำเร็จ เริ่มจาก CEO และ Link กับ CSR อย่างไรก็ไปตายที่วัฒนธรรมองค์กร แต่เวลาพูดถึง Budget เยอะ ๆ จะทำไม่สำเร็จ วันสุดท้าย แต่ละโต๊ะควรมีหัวข้อเตรียมไว้เลย

อาจารย์จีระเดช ดิสกะประกาย

SCG การตลาดมุ่งสู่ประชาชนตั้งแต่ต้น แต่กฟผ.คู่แข่งไม่มีของเขาต้องทำตัวเป็นหนึ่งเพราะว่าเขามีคู่แข่งเยอะ จะรอให้ผู้ผลิตเข้ามาเสี่ยงในเมืองไทย กฟผ.เป็นสินค้าที่ Fix อยู่ กับที่ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ กฟผ.พยายามปรับตัวเข้ากับวิถีชุมชน สิ่งที่ทำคือต้องทำให้แสดงออกใน Positive สร้างความเชื่อมั่น และความแข็งแรงในสังคม

กลุ่มที่ 5 วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันของ CEO – HR และ Non HR – อุปสรรคในการสร้าง V ที่ 2 คือ value creation และเชื่อมโยงกับงาน CSR (ที่สำคัญที่สุด 3 เรื่อง) พร้อมทางออกที่เป็นไปได้

นโยบายค่อนข้างชัดเจนเนื่องจากขยายผลผลิตเพิ่มเติม ต้องชัด แต่การเตรียมคนขาดความเชี่ยวชาญในกิจการของเรา ปัจจุบันคนลงในพื้นที่ขยายแหล่งผลิตใหม่ เอาสาขาวิชาชีพอื่น อาจขาด 2 จุดตรงนี้

ในเรื่อง Silo ใช้การต่อท่อให้การศึกษาถึงกันได้ หรือเป็นการต่อแก้ว ให้ทุกคนมองเห็น หรือทำแบบบอลลูน ได้

การใช้ข้อมูลบางช่วงใช้ย้อนกลับ 2 ทาง บางช่วงใช้ข้อมูลทางเดียว ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และเวลา

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ปัญหาอันนี้ถ้าจะทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มใน CSR น่าจะมี Concept การคิด 2-3 อัน แต่ Silo ไม่สามารถทลาย Formal ได้ ถ้ามี Value ที่คิดคล้ายกัน เราสามารถใช้ Informal ทลายทีมเวอร์กได้ การเรียนในครั้งนี้เพื่อให้รู้จักกัน จะทำให้ Value มีประโยชน์ อย่างให้คิดเรื่อง Value Creation ของ CSR และสร้างความร่วมมือกันมากขึ้น

ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

เรื่อง Silo ใส่แก้วขึ้นไปดูเลย กฟผ.เป็นเรื่องของการเจาะกล่องให้คุยแต่ต้น นโยบาย CEO ต้องให้รู้เรื่องทั่วกัน HR ต้องเป็นคนที่คุยกับคนทุกคนได้ ต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ

กลุ่ม 3 อุปสรรคในการทำงานร่วมกันของ CEO – HR และ Non HR(ที่สำคัญที่สุด 3 เรื่อง) พร้อมทางออกที่เป็นไปได้

HR 1 Silo Non- HR หลาย Silo ปัญหา แต่ละคนคิดกรอบของตนเอง มองในปัญหาเดิม ๆ ทุกกลุ่มไม่มีความเข้าใจในทิศทางเดียวกันบนทิศทางแก้ปัญหา อาจมีการแยกย้ายเปลี่ยนกัน

อาจใช้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือทำงานร่วมกันเป็น Job ในการกำหนดนโยบายต้องร่วมวางนโยบายแนวทางเพื่อให้ไปทิศทางเดียวกัน

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Job Rotation มีการย้ายเปลี่ยนแปลง แต่ไปตายที่ Norm บางครั้งไม่ใช่ทำไม่ได้แต่ไม่อยากไปเพราะจะรู้สึกอ่อนกว่า ที่นี่ Engineering So Strong องค์กรไปไม่ได้ ขอให้เอาวัฒนธรรม Engineering ลดลงหน่อย

วิธีหนึ่งที่ช่วยได้คือการยืมตัว มีการออกคำสั่งชั่วคราว

กลุ่ม 2 Non-HR ต้องมีบทบาทเพิ่มขึ้นอย่างไร (ที่สำคัญที่สุด 3 เรื่อง) จึงจะทำงานเรื่องคนได้สำเร็จ? พร้อมแนวทางการพัฒนา

วัฒนธรรมชนชาติ พื้นที่ คิดว่าการเพิ่มบทบาทของ Non HR เน้นเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ในบทบาทที่ต้องเพิ่ม ต้องมีบทบาทมากขึ้น เช่นกำหนดนโยบาย หรือมีส่วนร่วมต่าง ๆ

Non HR มีลูกน้องหลายระดับ การกำหนดนโยบายและวางเชิงลึก รู้ดีมากกว่า เรื่องภาคใต้ วัฒนธรรม ชาติ ศาสนา มีเยอะ ต้องมีการสื่อสารทั้งสองทั้งทั้งรับนโยบาย ปฏิบัติและการพัฒนา

การพัฒนาในเชิง Top down ที่รู้เรื่องจะนำมาพัฒนาหลักสูตรให้เป็นไปตามที่ต้องการ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ประเด็น Non HR คือหัวหน้าจะรู้จักลูกน้องเขา ไม่มีใครรู้จักลูกน้องเท่าตัวเรา ในบริบทสังคมที่หลากหลาย ทรัพยากรมนุษย์ที่เป็น Fast track หรือ ดาวรุ่ง เป็น Clean and cheap energy

ในห้องนี้อยากให้ทุกคนขึ้นจาก Value Creation and diversity สู่ Infinite

กลุ่มที่ 6 วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันของ CEO – HR และ Non HR – โอกาสในการสร้าง V ที่ 3 คือ value diversity และเชื่อมโยงกับงาน CSR (ที่สำคัญที่สุด 3 เรื่อง) พร้อมแนวทางการพัฒนา

มี 3 เรื่อง สำหรับการสร้าง Value Diversity ประกอบด้วย Networking ,Team working ,

Regional Culture

CEO มองที่ผู้ว่าการ HR มองที่ รฟห.

CEO เนื่องจากเพิ่งขึ้นมาใหม่ความครอบคลุมทั่วถึงมีน้อย อาจเป็นไปได้ที่มองไม่เห็น แนวทางแก้ไข อาจให้มีการออกสื่อ อาจมีการทำการประชาสัมพันธ์ ออกงานสังคมตามพื้นที่ที่ควรจะไป ใช้สื่อมวลชนให้เป็นประโยชน์ นสพ. เป็นประโยชน์

HR ส่วนของ รฟห.ไม่เกี่ยวข้องกับ HR เลยต้องก้าวให้พ้นจากสิ่งที่ใช้ทฤษฎีทั้งหลายและทำตัวเป็น Strategic Partner ขององค์กร

Non HR บางสายงานไม่เกี่ยวข้องไม่ทำ บางแห่งอยู่หน้างาน ต่างคนต่างทำ บางคนไม่รู้จักส่วนนั้นที่แท้จริง ไม่มีทิศทางที่ให้แต่ละคนทำ สิ่งที่เราคิดว่าต้องทำคือให้มีแนวทางที่แต่ละแห่งสามารถนำไปใช้ได้

Teamwork มอง CEO ,HR , Non HR

Leadership ไม่ชัดเจนไม่เกิน Synergy แน่นอน ต้องทำให้เป็นแม่แบบ Role Model หาช่องทางให้แสดงออก และทำตัวเป็น Linkage

ทางสาย HR ต้องมีความสามารถที่จะทำได้

Non HR ต้องทำเป็นทีม หาเวทีนั่งคุยกัน ทำงานร่วมกัน

วัฒนธรรมแต่ละท้องถิ่นแต่ละพื้นที่ กฟผ.ผู้ว่าการฯ ยังไม่ได้วางยุทธศาสตร์ย่อย ๆ ของแต่ละพื้นที่ สิ่งที่ต้องทำต้องวางยุทธศาสตร์ย่อยร่วมกับชุมชน

HR ไม่ลงพื้นที่ ไม่ทราบทัศนคติของชุมชน ทำให้สร้างคนไม่ตรงกับงานที่แท้จริง ถ้าอยากรู้ว่าอยากได้คนแบบไหนต้องลงพื้นที่กับเขา

Non HR ทำเฉพาะหน้า แก้ปัญหาแต่ละจุดไม่มองภาพรวม แก้ปัญหาโดยวางแผนร่วมกับชุมชน

ดร.จีระ

ได้กำหนด 3 ตัว Networking Teamworking Regional Culture แต่วางตัวละครสูงไปหน่อย ไม่จำเป็น เพราะบางครั้งอาจวางให้กับคนทำงาน

ให้แต่ละโต๊ะคิด Value Creation และ Value Diversity ที่เป็นรูปธรรมให้เสียก่อน

กลุ่ม 7 วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันของ CEO – HR และ Non HR – อุปสรรคในการสร้าง V ที่ 3 คือ value diversity และเชื่อมโยงกับงาน CSR (ที่สำคัญที่สุด 3 เรื่อง) พร้อมทางออกที่เป็นไปได้

ได้ยกตัวอย่างโครงการซึ่งเป็นของ กฟผ.จริง ๆ คือสร้างรายได้ให้กับชุมชน โดยเอาวัสดุเหลือใช้มาเป็นวัสดุที่เป็นเชื้อเพลิงร่วมกับส่วนต่าง ๆ มีความคิดให้ชาวบ้านขายให้โรงไฟฟ้าเป็นเชื้อเพลิงหลัก อยู่ในระหว่างติดตั้งอุปกรณ์

ปัญหาทั้ง 3 กลุ่มมีมุมมองต่างกันเยอะ ข้อมูลทั้ง 3 กลุ่มมองต่างมุมกัน

ทางออกที่เป็นไปได้ทำอย่างไรให้ทำงานสัมพันธ์กันมีวิสัยทัศน์ร่วมกันให้ทำงานเป็นไปได้ อาจมีตัวแทนชุมชน ผู้นำหลักสูตร กำหนดเป้าหมายร่วมกัน และให้แนวทางไปด้วยกันได้

มีการสื่อสารให้พนักงานให้รับทราบทั่วถึงว่าหน่วยงานไปในทิศทางนี้

HR ต้องอบรมให้ความรู้การเข้าร่วมกับชุมชน ภาษาพูดต้องพูดให้เท่าหรือต่ำกว่าเป็นเรื่องที่อบรมกัน

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

HR ยังไม่ได้รับโอกาสฝึกของ CSR ในอนาคตทำ Training แล้วอยากให้ Training กระจายไปทุกจุด ที่ทำร่วมกันไม่ได้ อาจเป็นเพราะข้อมูลไม่เท่ากัน ทัศนคติไม่เท่ากัน ไม่ตระหนัก มนุษย์ต้องปลูกต้องเก็บเกี่ยวและให้เป็นเลิศ ในองค์กรต้องมี Teamwork ในกฟผ. แรงเหวี่ยงของหลักสูตรดีสำหรับคน 44 คน แต่ไม่ได้ดีต่อองค์กรทั้งหมด ให้แต่ละโต๊ะเอาหัวข้อที่ใช้ในวันนี้ลงลึกต่อไป คิดว่า Value Creation จะทำอะไรบ้าง

ถ้าเกี่ยวกับ Training ให้ HRD รู้เรื่องด้วย ส่วน HRM ในส่วนการเก็บเกี่ยว ถ้าทำ CSR ควรเพิ่มความรู้ให้กับคนมากขึ้น เพิ่มทักษะคนของเราที่จัดการกับคนในชุมชน ถ้า CSR กฟผ.ทำงานร่วมกับ HRD บ้างจะทำให้ต้นทุนการทำงานต่ำลง ไม่กระจัดกระจาย

กลุ่ม 1 ปัญหาของ HR Department ของ กฟผ. ที่เป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จคืออะไร

จุดแข็งของ HR มีเรื่องความโปร่งใส เป็นธรรม เป็นหลักเป็นเกณฑ์ การรับบุคลากรเข้าในกฟผ.เอง มีการบริหารแบบรวมศูนย์

จุดอ่อน การทำงานเป็นแบบเชิงรับ Routine Work แบบสำเร็จรูป ต้องปรับเปลี่ยนเป็นการทำงานเชิงลุก Ready to Change และ Customize การทำงานปัจจุบัน เป็นการทำงานแบบมากเกินไป เป็นแบบ Partnership การทำงานมุ่งสู่เป้าหมายแต่ผลที่ตามมาต้องติดตามก่อน

HR ส่วนใหญ่ไม่ได้โตจาก HR โดยตรงอาจขาดทฤษฎีเรื่องประสบการณ์ ที่รองรับ

การปรับปรุงต้อง แยกให้ชัดระหว่าง HR Line และ HR Function ต้องเสริมอะไรบ้าง ใช้นโยบาย และการบริหารเป็นหลัก HRที่ดีต้องเดินแบบไหนอย่าให้นายจูงไป

ความยืดหยุ่นของ HR เอาคะแนนภาษาอังกฤษมาเป็นตัววัดทำให้บางครั้งไม่สามารถรับคนได้

การเป็นวิศวกรบางครั้งไม่อยากเปลี่ยนเพราะเหมือนลดคุณค่างาน ต้องมีการเติมความรู้ทาง HR ตรงนั้น เวลา Recruit คนใน EGAT เป็น Multi Task , Multi Skill การทำงานเป็นหลักโดยสมบูรณ์

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วิศวกรที่เข้ามาให้ aware เรื่อง HR บ้าง ต้องมีนโยบายต่อเนื่องว่าจะให้ความรู้อะไรที่เด็กเข้ามา ต้องฝึกเด็กให้ตระหนักเรื่องภาพรวมองค์กร

อาจารย์จีระเดช ดิสกะประกาย

ในความรู้สึก HR ไม่ใช่วิชา แต่เป็นสัญชาตญาณ ถ้าเป็นวิศวกร มีทักษะHR มาช่วยเจรจาจะเป็นประโยชน์ได้เยอะ การมั่นใจในวิชาชีพมากเกินไปจะทำให้เกิดการสร้างเกราะที่หนาขึ้นและเกิดเกราะ

คนเรานึกถึงแนวคิดตนเองเป็นใหญ่ ยิ่งฉลาดยิ่งทะเลาะกันมากขึ้น

สิ่งที่อยากฝากไว้คือ กฟผ. รับวิศวกรเลย เปิดโอกาสให้เด็กฝึกงานแล้วมีการ Train น้อง ปวช. ปวส. เป็นการแยกเกรดเกินไป แก้ปัญหาเรื่อง Hierarchy และถ้าได้คนท้องถิ่นไปทำจะได้แก้ปัญหาของท้องถิ่นแต่ละแห่ง วิธีการ Training ที่ดีที่สุดคือเอาคนนอกมา Training เพราะคนในส่วนใหญ่จะฟังคนนอกนี้เป็นธรรมชาติของมนุษย์

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ให้แต่ละกลุ่มอ่านบทความ Schooling Business

1. อ่านแล้วได้อะไร 3-4 ประเด็น

2. เกี่ยวข้องอะไรกับหลักสูตรนี้

สรุปโดยทีมงานวิชาการ Chira Academy

สรุปโดยทีมงานวิชาการ Chira Academy

บรรยายเรื่อง เทคนิคการนำเสนออย่างทรงพลังและประทับใจ (Art & Feeling)

โดย อาจารย์จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557

Workshopที่ 1 ย้อนกลับไปในวัยเด็ก

1. ให้บอกว่าตัวเองเป็นตัวอะไรทำไมถึงอยากเป็นตัวนั้น

2. ให้ทำท่าของสิ่งที่ตัวเองอยากเป็น

3. ให้ร้อยเรียงเรื่องราวของสิ่งที่ตัวเองอยากเป็นเพื่อส่งต่อให้เพื่อน เพื่อสร้างจินตนาการนอกขอบเขต

4. เป็นพี่เลี้ยงให้แต่เพื่อให้แต่ละกลุ่มทำภารกิจสร้างจินตนาการ

Workshopที่ 2 จินตนาการและเรียงความ

1. ให้ดูรูปภาพ และเขียนความรู้สึกที่นึกถึงรูปภาพนั้นเป็นคำ ๆ

2. ให้แต่ละกลุ่มนำคำทั้งหมดแต่งเป็นเรียงความจนกระทั่งได้ 1 เรื่อง

Workshopที่ 3 การใช้ท่าทางในการสื่อสาร

ให้เวลา 30 วินาที แล้วแสดงท่าตามคำที่บอก

Workshopที่ 4 การนำเสนอกับการจินตนาการ

Part 1 ให้คนหนึ่งให้คำ แล้วอีกคนบรรยายคำนั้นเป็นเวลา 1 นาที

Part 2 ให้คนหนึ่งให้คำแล้วอีกคนบรรยายคำนั้นเป็นเวลา 1 นาที สลับกับภาษาจิบบริ้ท (ภาษาที่คิดขึ้นมาเอง) แล้วสลับกับบรรยายภาษาไทย

Workshopที่ 4 กิจกรรม Reflectionให้เขียนว่าเราได้อะไรบ้างจากการทำกิจกรรม

กลุ่มที่ 2

กิจกรรมแรก เหมือนให้เรานึกถึงตอนเด็ก ๆ ว่าเป็นอะไรอยากเป็นอย่างนั้น

กิจกรรมที่สอง เน้นความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ ให้คิดนอกกรอบ นอกจากที่คิดคุ้นเคย ให้คิดเชื่อมโยง เชื่อมต่อกัน

กิจกรรมที่สาม ฝึกการทำงานเป็นทีม แก้ปัญหาเฉพาะหน้า ฝึกการสร้างสรรค์ร่วมกัน ให้ผู้สัมมนาเห็นด้วยว่าเราจะทำอะไร

กิจกรรมที่สี่ สิ่งที่ได้เรียนรู้คือเราต้องมีความพร้อมในการพูดเสมอ ต้องมีลูกล่อลูกชน ว่าจะพูดอะไร มีความรอบรู้ และต้องพูดเก่ง

กลุ่มที่ 6

โดยรวมเรื่อง Creativity กับ Presentation Technic

ทำให้เรียนรู้ว่าเรารู้สึกอะไร อาจเริ่มจากการอึดอัด แล้วต้องฝึกตัวเองว่าเป็นอย่างไร เช่นการย้อนกลับไปในวัยเด็ก ชอบอะไร มีความคิดสร้างสรรค์ เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย ได้หัวเราะ ไม่เครียด

การย้อนไปในอดีตคือไม่ต้องอยู่ในกรอบสามารถคิดอะไรได้มากมาย ทำให้เราตื่นตัว ทำให้ Alert ตลอดเวลา และเมื่อเป็นผู้ใหญ่ต้องระมัดระวังในการพูดหรือ Alert คือต้องมีประสบการณ์ ต้องดูภาพลักษณ์ ระวัง ฝึกการสื่อสารแบบใหม่ ๆ

สามารถเห็นตัวตนในสิ่งที่ไม่เคยทำ แต่ทำได้ ทำด้วย Synergy ของ Egat group ได้เห็นTeamwork ในส่วนที่ไม่ได้นัดหมาย

ได้เรียนรู้ว่าการมีชีวิตอยู่รอดได้ต้องทำอะไร มีการเตรียมตัว มีการ Planning ทำให้เพื่อนเราสามารถทำงานได้อย่างเรียบร้อย และทุกคนต้องเรียนรู้ในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า มีการใช้ภาษากาย ใช้มือ ในการขอความช่วยเหลือ และทำให้เห็นว่ามนุษย์มีความแตกต่างกันมากมาย ต้องบริหารเราตลอดเวลา

กลุ่มที่ 3

เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่าง ว่าเลือกแบบนี้เพราะอะไร บางครั้งอาจเกิดการขาดความมั่นใจบ้าง แต่ต้องเรียนรู้ในสิ่งที่จะทำ บางครั้งรู้สึกเครียด ต้องเรียนรู้ที่จะผ่อนคลาย มีการฝึกสมาธิ

กลุ่มที่ 7

เนื่องจากทั้งทีมเป็น Engineer จะใช้สมองซีกขวาในการสร้างสรรค์ มีไหวพริบ จินตนาการ แก้ปัญหาเฉพาะหน้า และในการนำเสนอต้องมีท่าทางประกอบจะสร้างความเข้าใจกับผู้คนได้ดี และสร้างความสนุกสนานได้

กลุ่มที่ 4

รู้สึกมีความกดดัน ตื่นเต้น มีความเครียด รู้สึกความกดดันมาจากทั้งภายในและภายนอก เป็นการกดดันในระยะเวลาที่จำกัดและไม่รู้ล่วงหน้า ไม่ทราบหัวข้อล่วงหน้า ต้องมีการเตรียมตัว ส่วนความกดดันภายในแต่ละคนตื่นตัวและตื่นเต้นเพราะเราต้องเตรียมพร้อม

ประโยชน์ได้เกิดการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ได้ทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ รู้สึกสนุกสนาน ได้ใช้ความรู้รอบ ๆ ตัว ทำให้เรียนรู้ว่าเราต้องมีความพร้อมเสมอ บางครั้งคิดว่าเป็นเรื่องไร้สาระ จริง ๆ เป็นเรื่องมีสาระ

กลุ่มที่ 5

เป็นหลักสูตรแรกที่ได้เห็นตัวตนที่แท้จริงของเพื่อน สบายใจที่ได้เรียนรู้เพื่อน ๆ

การที่ไม่รู้อะไรล่วงหน้า บางครั้งตื่นเต้น และรู้สึกว่าเราจะทำอะไรได้บ้าง ตอนแรกรู้สึกกดดันที่ออกมาข้างหน้า แต่ทุกคนอยู่ในสถานการณ์เดียวกัน ต้องแก้สถานการณ์เฉพาะหน้า มีการสื่อสารกันในกลุ่มว่าถ้ามีเวลาจำกัดจะช่วยกลุ่มอย่างไร ทำให้กล้าแสดงออก และมีการเอาตัวรอด เรารู้สึกว่าทุกคนมีความเท่าเทียมกัน แล้วได้เห็นพลังของแต่ละคน

กลุ่มที่ 1

ภาษากายของการสื่อสาร และการกดดัน ไม่ได้บอกว่าจริง ๆ จะมาทำอะไรกับเรา สิ่งที่ทำเป็นการละลายพฤติกรรมได้เรียนรู้และเห็นตนเองมากขึ้น เพราะหลายท่านมาจากความแตกต่างทางวัฒนธรรม สิ่งที่ดีคือได้สื่อสารกัน และแต่ละคนมีพลังในตนเอง แต่ไม่รู้ พยายามคิดที่จะต่อยอด

สรุปโดยอาจารย์จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล

ที่ทุกคนสรุปดีมากตรงกับหัวข้อ ซึ่งเป็นการใช้สมองซีกขวาแสดงถึงความน่ารัก คิคุ และเห็นอะไรที่เป็นสีสัน ดึงความเป็นศิลปินในตัว เพราะแต่ละคนก็ผ่านอนุบาลมาก่อน

Expert Smile ต่างกับ Beginner Smile (อะไรก็ได้ที่นอกกรอบ และน่ารัก) ซึ่งเรียกว่าจิตประภัสสร เป็นอะไรที่สะพรั่งในตัวเองเยอะ แต่ลืม สังเกตได้จากระดับผู้นำของแต่ละประเทศก็ใช้ สมองซีกขวากันเยอะแยะ ซึ่งน่ารักมาก แล้วจะทราบว่า เอาตัว Creative Thinking ไปใช้ในบทบาทของผู้นำและประเทศแล้วสนุกสนานได้อย่างไร

จิบบริด เป็นอะไรที่ดึง Creativity สูงมาก เป็นการใช้ภาษาท่าทาง ซึ่งเป็นจุดเด่นของทฤษฎีการนำเสนอ ภาษากายสามารถดึงดูดใจคนได้ถึง 55 % แต่เราไปติดอยู่ในโหมด Verbal 7% เสียง 38%

การเตรียมความพร้อม ต้องใช้ภาษาท่าทางร่วมด้วย

การ Apply การนำไปประยุกต์ใช้

ในธุรกิจ ใช้ Brand Senses นำเสนอบุคลิกภาพของตัวนั้น รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อะไรทำให้เราจำได้ จากการวิจัยพบว่าสิ่งที่เราจำได้ตัวที่ 1 คือ รูป ตัวที่ 2 คือ กลิ่น

สิ่งสำคัญที่สุดคือ Content กับ Presentation เราจะเอา Content มาดัดแปลงอะไรให้เกิดกิจกรรมร่วมกับ Presentation ขึ้นอยู่กับ How to

สรุปโดยทีมงานวิชาการ Chira Academy

บรรยายเรื่อง นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชนกับการทำงานของกฟผ.

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557

โดย ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์

คุณรังสรรค์ อัฐมโนลาภ

ผู้ช่วยผู้ว่าการกิจการสังคม กฟผ.

กรณีศึกษาของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

คุณสุทธิเดช สุทธิสมณ์

อดีตผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

คุณรังสรรค์ อัฐมโนลาภ

นวัตกรรม กฟผ. มี 2 แนวคิด

- การดำเนินการกิจกรรมทางสังคมก็เป็นนวัตกรรม ส่วน Implement ก็เป็นนวัตกรรม กฟผ.ได้รางวัล CSR ดีเด่น ได้ของ สกร. 4 ปี ปี51 ปลูกป่า ปี52 ชีววิถี ปี 56 ชุมชนบ้านครองเรือ

- EGAT CSR คำนึงถึงสังคม เน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน บรรเทาผลกระทบ เราไปอยู่ที่ไหนเราต้องบรรเทา แก้ไข เยียวยา สิ่งที่กฟผ.ทำต้องดีกว่ามาตรฐาน สร้างวัฒนธรรมรับผิดชอบต่อมวลชน ต้องร่วมกันทำอย่างไร

- กฟผ.ต้องทำลายกรอบที่เป็น Silo ทั้ง 10 ต้องสร้างการยอมรับให้ชุมชนมองกฟผ.เป็นเพื่อน เป็นญาติ กฟผ.จะดูอย่างไร เมื่อเราวิเคราะห์ Stakeholder เราต้องวิเคราะห์ Niche Stakeholder พอได้ความต้องการความคาดหวังชุมชน เราต้องทำงานบูรณาการทั้งองค์กร เรียกว่ารวมแผนแล้วแยกปฏิบัติ

- การทำ CSR ไม่ใช่การบริจาค เมื่อ PR แล้วต้องมีการประเมิน ตรวจสอบ ระยะแรกคนภายในประเมิน ระยะต่อมาเป็น Third Party ทำการตรวจสอบ แล้วนำมาปรับปรุงต่อยอด ทำ CSR ให้ยั่งยืน

- นวัตกรรมต้องเริ่มจากภายในก่อน เราต้องมีจิตวิญญาณเริ่มจากอะไรต้องตามสถานะนั้น ๆ ต้องมี CSR in process ถ้าเราทำสิ่งไม่ดี ชุมชนจะยอมรับหรือไม่ หลังจากทำ CSR ภายในองค์กรแล้ว สังคมจะต้องอยู่ได้ เกิดจากไม่พอกิน พอใช้ ต้องทำให้อยู่อย่างพอกินมีสุข เปลี่ยนจากไม่มีกินไม่มีใช้มาเป็นมั่งมีศรีสุข สังคมใกล้ต้องให้เขายอมรับเรา

- เรามีนวัตกรรมอะไรที่จะต่อยอดได้ ทำอย่างไรให้ชุมชนเข้มแข็ง เช่น โรงไฟฟ้าชุมชนบ้านคลองเรือ ขณะนี้พอกิน พอใช้ ตอนนี้มีสุข เกิดคนเยี่ยมชม เรื่อย ๆ เป็นต้น

- เราต้องไปจัดการเรียนรู้ บรรยาย ตรวจเยี่ยมชาวบ้านเรื่อย ๆ

- โครงการชีววิถีที่ต่อยอด ปุ๋ยหมัก น้ำหมักถือเป็นนวัตกรรมในช่วงนั้น เอา Knowledge ต่อเป็นชุมชนต้นแบบ อย่างโรงไฟฟ้าแม่เมาะเป็นเกมส์นิด ๆ ทำไมไม่เคลียร์ชุมชนทั้งหมดไม่ให้มีปัญหา

ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์

- ชุมชน วัฒนธรรมชุมชน วิถีชีวิตชุมชน ถ้าจะพัฒนาชุมชน ชาวบ้าน วิถีชุมชน หัวใจอยู่ตรงไหน อยู่ที่ทำให้ชุมชนเป็นผู้เรียน อยากรู้ อยากเห็น อยากทดสอบ ไม่ใช่พัฒนาให้ชุมชนแบมือขอ โจทย์ทุกโจทย์จะแตกออกไป

- ไม่มียุคไหนที่มนุษย์มีเครื่องมือที่น่าสนใจ ต้องเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ภาพที่เห็นเป็นเปลือกนอก แต่โจทย์จริง ๆ น่ากลัว เราไม่รู้ ไม่ได้ ทำอย่างไร ปัญหาที่เผชิญหน้าจะทำอย่างไร เห็นได้ชัดว่ามีโครงการใหม่เยอะแยะเลย แต่ต้องมีแก่นที่ทำให้เขารู้ว่ามีทางเลือกอะไร ทำไมต้องทำเรื่องนี้ ทำเรื่องนี้แล้วได้อะไร เมื่อมีเครื่องมือสื่อสาร ในฐานะพัฒนาต้องเรียนรู้ที่จะใช้เครื่องมือให้เป็นประโยชน์

- การพัฒนาต้องทำย้อนสอน ถ้าเลี้ยงไก่แบบ ซี.พี.ทำอย่างไร แบบอื่นทำอย่างไร เอาความรู้มาปะติดปะต่อ โจทย์การพึ่งตนเองทำได้ไม่ยาก ทุกอย่างสามารถทำรวมกันได้หมด ความรู้ในชุมชนมีมากมายแต่โดนทิ้งไป เราควรอนุรักษ์ไว้ อย่าพูดเฉย ๆ ให้เตรียมล่วงหน้า

- เราอยู่ในยุคข้อมูลข่าวสาร เรามานั่งคิดเองจะคิดได้เท่าไหร่ การเป็นผู้เรียนต้องเป็นคนสังเกตที่ดี

- สิ่งที่ชาวบ้านสนใจอีกเรื่องคือปัญหาของเขา ถ้ามีอะไร เราส่งข้อมูลคุยกับเขา เช่นปลูกยางพาราหมดก็มีที่ไปเลี้ยงวัว เรามีเครือข่ายทั่วโลก มีคนทุกสาขาอาชีพในเครือข่าย

- 5 ปีที่แล้วมีการประกวด IT พัฒนาชุมชนของธนาคารโลก ครูบาส่งเข้าประกวดชนะเลิศ โดยแนะนำให้ชาวบ้านมีเครื่องรับ IT ได้ด้วยเพื่อติดต่อสื่อสาร ให้ชาวบ้านได้เรียนรู้ และพัฒนาอย่างแท้จริง

- เราจะใช้โจทย์แค่ไหนอย่างไรให้ดูปัญหา สภาพแวดล้อม หลักการพื้นฐานจริง ๆ ว่าจะพัฒนาคนซึ่งไม่อยากพัฒนาแต่พัฒนาได้อย่างไร

- ต้องให้ชาวบ้านเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง เขาอยู่ได้ด้วยตนเอง ในอดีตเขาสร้างบ้านด้วยตนเอง มีปัญหาเขาสามารถแก้ได้หมด แต่มายุคนี้พยายามให้ชาวบ้านพึ่งรัฐบาล ให้เห็นอกเห็นใจ เพราะคนไทยมีหน้าที่ 2 หน้าที่ ให้สังคมไปพัฒนา

- สังคมทุกวันนี้น่ากลัวกว่าเมื่อก่อนเยอะ ความเป็นพี่เป็นน้องหายไป สิ่งที่ควรทำคือการสร้างกระบวนการเครือข่าย มีคนเข้ามาเรียน ให้ความรู้ ทำให้ชีวิตนี้มีชีวา เพราะชีวิตนี้เกิดจากการเรียนผ่านประสบการณ์ ต้นไม้ทุกต้น สรรพสิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้ถ้าไม่มีต้นไม้จะเอาร่มเงาจากไหน เอาความชุ่มชื้นจากไหน

อาจารย์จีระเดช ดิสกะประกาย

ครูบาสุทธินันท์ เป็นต้นแบบของชุมชน สิ่งที่กฟผ.คือไปถามชุมชนว่าจะทำอะไรกันแล้วเราสนับสนุนแนวความคิด

คำพูดของครูบา “หัวใจของชุมชนคือการสร้างความอยากเรียนรู้ให้ชุมชน”

คุณสุทธิเดช สุทธิสมณ์

ความคิดของครูบาจะกระตุ้นให้เกิดแนวคิดใหม่ ๆ ให้ฟังสิ่งที่เป็นความรู้และประสบการณ์ที่แท้จริงมา

กฟผ.อย่าท้อถอยเพราะการทำเพื่อสังคมจะช่วยแก้ปัญหาในระยะยาวได้ สององค์กร ทั้งกฟผ. และ กฟภ. Independent

จริง ๆ กฟภ.จะไปอยู่ กฟผ.อยู่แล้ว แต่ติดที่รัฐมนตรี บางครั้งการบริหารงานเกิดข้อขัดข้องเนื่องจากติดที่โครงสร้างของประเทศ

Social Innovation (นวัตกรรมทางสังคม)

นิยามคือสิ่งที่เกิดขึ้นและเป็นเรื่องของการเกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ ความคิด แนวคิดขององค์กร มีผลต่อความต้องการและนิยามของสังคม ต้องเป็นเรื่องของการสร้างสรรค์และเรื่องความรู้ ต้องมีความแรง มีตรงกับปัญหาและยั่งยืน ความใหม่คืออะไร สร้างสรรค์คืออะไร

1. มีผลต่อสังคมและประเทศชาติโดยรวม

2. มีผลต่อองค์กรรุนแรง

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ความจริง Social Innovation เกิดมาเมื่อ 4 ปีที่แล้ว ต้องเริ่มจาก Activity + Knowledge และ Turn into Action และ Turn into Success และจะ Overcome difficulty ได้อย่างไร เราจะรวบรวมให้การทะลุทะลวงในครั้งนี้ Add Value ที่สูง เป็น Value Creation สู่การยอมรับ

Social มีสองระดับคือสังคมทั่วไปกับในองค์กร มี General กับ Public ซึ่งจะต้องแก้ปัญหาให้ได้ ถ้าไม่เอาชนะสิ่งที่เป็นอุปสรรคของสังคมจะถือว่าทำงานไม่สำเร็จ

คนใน HR นั้น Very Capable

กฟภ.มีลูกค้า 16 ล้าน 5 แสนราย มีภารกิจดูแลอย่างต่อเนื่อง มีการปรับสำนักงานให้เหมาะกับลูกค้า แต่ละภาคมี 3 เขต มีลูกค้าเฉลี่ย 2 ล้าน สายไฟทั้งหมดรวมแล้ว 8 แสนกิโลเมตร เอาเงินจ่ายให้ กฟผ.ทุกเดือน รัฐบาลให้สิทธิพิเศษ

ระบบไฟฟ้าที่ซับซ้อนมากขึ้นต้องใช้การควบคุมและสั่งการอัตโนมัติ กฟภ.มีความก้าวหน้าในด้านนี้ ในอนาคตจะทำ Smart grid

ไม่อยากให้ขยายไฟฟ้าชนบทเพราะว่าขาดทุน เช่นลงทุนหมู่บ้านละ 4 แสนบาทของทุนร้อยละ 14 จึงไม่อยากให้ทำ ถ้ามองเห็นตัวอย่างที่ดีจากต่างประเทศจึงเป็น Innovation ทางสังคมถ้าดูผลตอบแทนทางการเงินอย่างเดียวประเทศไหนก็ขาดทุน แต่ให้ดูผลตอบแทนเชิงเศรษฐกิจด้วย พบว่าได้เป็นบวก ร้อยละ 28 ผลรวมทั้งสองได้ร้อยละ 6 World Bank จึงให้กู้ต่อ

ไฟฟ้ามีความจำเป็นต่อความต้องการของประชาชนจริง ๆ รัฐบาลเรียกร้องให้ตามแผน เวลาคือ 35 ปี ไม่ใช่ 25 เงินลงทุนไม่ได้คิดค่า Present Value คือ 60,000 ล้านบาท ปริมาณเป็น 74,000

ไฟฟ้าช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ครัวเรือน สังคม ประเทศ แต่ที่เกรงว่าจะขาดทุน ตัวเลขบัญชีรายเดือนขององค์กรมีกำไรเสมอ จึงสังเกตได้ว่าการลงทุนทาง Infrastructure ไม่มีวันเจ๊ง ไม่มีวันขาดทุน ทำได้

สิ่งที่เป็น SocialInnovation มีผลกระทบยาวนาน Innovationในองค์กร ช่วงแรกปี 2536 มีกระแสเรื่องการแปรรูปรัฐวิสาหกิจสิ่งที่อยากกระตุ้นคือให้รู้จักองค์กร ผลกระทบต่อตนเอง ปี 2549 โดยนโยบายให้ยุทธศาสตร์เน้นเรื่องให้ขับเคลื่อนกฟภ.เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

หลังจากสร้าง Awareness ไปแล้วมีผลอะไรหรือไม่

หลังจากที่ตรวจสอบความรู้แล้วให้มีการทำ Knowledge Critique (การวิพากษ์วิจารณ์) องค์กรต้องการขับเคลื่อนให้ต่อเนื่อง

สรุปSocial Innovation คือ สิ่งที่ได้ทำคือ Rural Elective Innovation มีมิเตอร์วัดไฟเพิ่มปีละ 100,000 ราย เรื่องการพัฒนาคนใช้เรื่องของความรู้ พัฒนาเรื่องการเรียนรู้ มีการปรับปรุงคนในองค์กร

เทคโนโลยีเอาคนมาผนวกกับไฟฟ้าที่เป็นฮาร์ดแวร์เรียกระบบนี้ว่า Smart grid ทำให้การเรียนรู้ขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ smart grid (ระบบไฟฟ้าช่วยการผลิต จ่าย ดูแลเรื่องไฟฟ้าที่ขัดข้อง ให้เอามาใช้ประโยชน์ได้) อีกนาน มีพัทยาเป็นเมืองนำร่อง

ส่วน Innovation กฟภ. มีผลต่อประชาชนและชุมชนเนื่องจากองค์กรสร้างวิสัยทัศน์ต่อองค์กรและผู้ร่วมงานร่วมกันถึงจะไปรอด อย่างไรก็ตามต้องยึดวิสัยทัศน์ใหญ่เป็นหลัก

สิ่งที่เกิดขึ้นคิดแค่ Thailand ไม่ได้ต้องคิดอาเซียน

แสดงความคิดเห็น

- กฟภ.น่าจะง่ายกว่า กฟผ.เยอะ เพราะกฟผ.มีการสร้างเขื่อนที่จะมีปัญหาแต่กฟภ.เวลาสร้างเสาไฟชาวบ้านจะชอบ

- กระแส CSR ค่อนข้างแรงมาก แต่ในส่วนพนักงานเองค่อนข้างสับสนในส่วนตัวพนักงานด้วยกัน กฟผ.ไม่ใช่คนที่เก่งไปทุกเรื่อง ไม่รู้ว่าสัดส่วนมีตรงไหนในเรื่อง CSR และสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ การไปตปท.เป็นเรื่องของรัฐบาลที่ต้องหาพื้นที่ให้ ไม่ใช่ให้กฟผ.ทำทุกเรื่อง

คุณรังสรรค์ ตอบ

- รู้อยู่แล้วว่ามี 10 Silo ถ้าเดินไปแล้วไฟดับโดนคนแรก อยากให้สร้างทัศนคติที่ดีที่ทำงานร่วมกับชุมชน เพราะว่า กฟผ.จะไม่สามารถอยู่ได้ถ้าชุมชนไม่เห็นด้วย ต้องสร้าง CSR In process และ Out Process คือภายในและภายนอกควรทำ CSR แต่ปัญหาคือทั้ง 10 Silo อยากทำ CSR หมด ดังนั้นผู้บริหารต้องเลือก CSR ที่จำเป็นเท่านั้นไม่ใช่ทำทั้งหมด มีตัวอย่างให้ความรู้แก่เด็กแล้วให้เด็กกลับมาพัฒนาตนเอง เราต้องทำอย่างไรให้ชุมชนไว้วางใจ

แสดงความคิดเห็น

- มีจดหมายร้องเรียนไปที่ กฟผ.ว่าบางครั้งอาจไปแย่งอาชีพครูหรือไม่

คุณรังสรรค์ ตอบ

- จุดประสงค์คือชุมชนที่อยู่ห่างไกล รอบไฟฟ้าไม่มีสิทธิ์นั่งรถเมล์มาในเมือง คนในเมืองไม่มีรายได้

คุณสุทธิเดช ตอบ

- กฟภ.ไม่ค่อยเป็นปัญหากับมวลชนเพราะว่ามันเป็นประโยชน์และเห็นชัด

- การหาที่ดินและที่ตั้งโรงไฟฟ้า หน้าที่จริง ๆ ไม่ควรเป็นของ กฟผ. แต่ควรเป็นของเจ้ากระทรวงเป็นคนหาที่ให้กฟผ. ถ้ากฟผ.หาที่เอง ชาวบ้านจะไม่เห็นด้วยเพราะมีภาพว่า กฟผ.รวย

- การต่อต้านกฟผ.เยอะ จึงต้องทำ PR ให้เยอะและแรง

แสดงความคิดเห็น

- ครูบาเป็นเหมือนกระจกสะท้อนกฟผ. กฟผ.ทำหน้าที่สร้างคน อยากทำแบบบะหมี่ฉีกซองสำเร็จรูป ต้องสร้างคนกฟผ.ทั้งหมดให้มี CSR ในใจ อยากให้ ครูบาบอก อยากได้คนของกฟผ.แบบไหน

ครูบาสุทธินันท์ ตอบ

- ใจดี รักประเทศ รักประชาชน สามารถช่วยแก้ปัญหาได้ จริง ๆ แล้ว กฟผ.ทำอะไรเยอะแต่คนไม่ค่อยรู้

- ในกรณีเขาชวนเราทำนู้น ทำนี่ อย่าทำสะเปะ สะปะ ให้ทำสิ่งที่กฟผ.ถนัดจริง ๆ ให้ทำประเด็นที่เราถนัด หาจุดดีให้เจอ ให้ความรู้และแนะนำชาวบ้าน

- ทำให้ชาวบ้านเห็นว่าพัฒนาไฟฟ้าแล้วสังคมจะพัฒนาอย่างไร ให้ขายความคิดในสิ่งที่กฟผ.ทำแล้วชาวบ้านจะเป็นเพื่อนเอง

- ปัญหาทุกปัญหาต้องคิด อยู่ที่ว่าวิธีการทำ จะต้องรู้วิธี ต้องมีชุดความรู้

คุณรังสรรค์ ตอบ

- เห็นด้วยที่ว่าเราทำในสิ่งที่ถนัดและต้อง PR เช่น เบอร์ 5 PR เป็นส่วนสำคัญ และเป็น Story เพื่อให้ความรู้ประชาชน พอขึ้นมาเป็นผู้ช่วยถาม PR กฟผ.ว่าทำอะไร ต้องสร้าง Story ให้ได้ เช่นทุกคนต้องการใช้ไฟฟ้า ผลิตไฟฟ้าได้อย่างไร ทุกอย่างต้องมี Story ว่าไฟฟ้ามีความจำเป็นอย่างไร

- ทำ CSR เสร็จต้อง PR แล้วต้องประเมิน Plan do check act ทำดีแล้วต้องพูด

- Facebook เป็น Social Media ทำอะไร

แสดงความคิดเห็น

- รู้ว่า CSR ช่วยเหลือสังคม ถ้ามอง CSR จริง ๆ แล้วผลงานที่ ครูบาทำกับ กฟผ.ทำ ใคร Outstanding มากกว่ากัน กฟผ.มีทุกอย่าง แต่ทำไมครูบาสุทธินันท์ได้รับรางวัลเยอะแยะ

ความแตกต่างเกิดจากความเป็นเพื่อนและไปถามเพื่อนจากเพื่อนที่รู้มาสู่คนที่ไม่รู้ เรารวมแผนไว้แล้วแยกปฏิบัติ แล้วมาบอกว่าใคร ๆ ก็อยากโชว์ผลงาน จริง ๆ แล้วเป็นเรื่อง Priority ดังนั้นการจัดจะเป็นอย่างไรให้มองปัจจัยภายใน

- ของครูบาเป็นเพื่อน กฟผ.ไม่ใช่เพื่อน ถ้าคน กฟผ.คิดว่าคือ กฟผ.แล้วไปทำให้สังคมจุดยืนตรงนี้ผิด

- การเริ่ม CSR เริ่มจากภายในสู่ภายนอก คน กฟผ.ถูกปลูกฝังเรื่องทัศนคติเรื่อง CSR มากน้อยแค่ไหนว่าสิ่งนี้คือพันธกิจสำคัญแค่ไหน คนต้องมีความพร้อมในด้านนี้ก่อน

- กิจกรรมสู่สังคมไกล และใกล้ โอกาสพลาดสูง คนยังมีจิตสำนึกหรือความเข้าใจไม่ชัดเจน

- CSR ภายในประเทศยังไม่ Outstanding และครอบคลุมทั่วประเทศ เมื่อเข้าสู่ AEC ในระยะเวลาใกล้จะทำอะไร

คุณรังสรรค์ ตอบ

- สิ่งที่ครูบาทำกับกฟผ.ทำใคร Outstanding กว่ากัน ขอตอบว่าสิ่งที่กฟผ.ทำพยายามลอกแบบครูบาคือเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง แต่ไม่สามารถพัฒนาไปได้อย่างครูบา

- Knowledge ที่อยากรู้จะให้ไปเยี่ยมวิทยาลัยเกษตรหรือศูนย์การเรียนรู้ต่าง ๆ ต้องพยายามให้มี Connection

- คนกฟผ. ภายใน 22,000 คนทำอย่างไรให้มีจิตใจมี CSR ด้วย และขอร้อง กฟผ.ให้ช่วยกันเป็นกระบอกเสียงในการทำร่วมกัน

อาจารย์จีระเดช ตอบ

- เชื่อว่า CSR จิตมนุษย์มีหมด ต้องเริ่มจากสิ่งที่ Simple มากสุดคืออะไร ที่ครูบาบอกสิ่งแรกที่ต้องทำคือ PR ถามประชาชนว่าคืออะไร

แสดงความคิดเห็น

-ให้เอาคนที่ทำจริงมาพูดเป็นกรณีศึกษาเลย

- บุคลากรหลายท่านเป็นผู้บริหารระดับสูงการลงไปจริง ๆ น้อย กฟผ.ต้องพูดความจริง แต่ยังนิสัยเหมือนเดิม ส่วนที่มีอิทธิพล บทบาทคือคนในพื้นที่

- การจัดบุคลากร การ Turn ผู้บริหาร ต้องใส่ใจรู้จริง เป็นเพื่อนบ้านที่ชัดเจน ต้องยอมรับความจริง เพราะว่าผลกระทบที่เกิดกับเรามี ต้องยอมรับ เช่น ถ่านหินสะอาด สะอาดตรงไหน ต้องรู้บริบทชาวบ้าน เราจะเกิดผลดีผลเสียอย่างไร ต้องรู้วิธีแก้ที่ชัดเจน

- องค์การไฟฟ้าใหม่ ๆ ควรปฏิบัติตามที่ครูบาแนะนำแล้วจะราบรื่น กฟผ.ทำงานไม่มีวันหยุด ทั้งส่วนตัว ส่วนรวม ราชการ อยู่พื้นที่ลำบากมาก แต่ยินดีทำให้องค์กร

คุณรังสรรค์ตอบ

- รวมแผนแล้วแยกปฏิบัติ อะไรเป็น Hi light แล้วให้เราติดตาม บางครั้งตีกัน เป็นวัฒนธรรมของ กฟผ.ถ้ารวม 2 หน่วยงานเมื่อไรเละ

- อยากให้เน้นการรวมกัน อย่าแตกแยก พยายามรวมศูนย์ให้ดีที่สุดและให้ส่วนกลางสนับสนุนให้ดีที่สุด

- กฟผ.สร้างความเดือดร้อนให้ชุมชน แต่ขอยืนยันว่าชุมชนที่อยู่รอบ กฟผ.ต้องดีกว่าชุมชนทั่วไป

แสดงความคิดเห็น

- เชิญคนที่รู้ไปเป็นที่ปรึกษา ชุมชนจะไม่มีเจ้านาย มีเวลา

- ให้ทำความสัมพันธ์กับการเมืองท้องถิ่นด้วย เพราะมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย

- ต้องคิดเรื่องนโยบายให้ชัดเจน เป็นยุทธศาสตร์การตลาด เหมือนขายประกัน แล้วจึงพูดเรื่อง Supply พูดเรื่องโรงไฟฟ้า

- กฟผ.อยากคิดร่วมกัน กฟภ. ในการพัฒนาชุมชนร่วมกัน เพราะกฟภ.ถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้มากกว่ากฟผ.เนื่องจากเก็บค่าไฟทุกเดือน แต่กฟผ.เพียงแค่พบผู้ใหญ่บ้าน จึงอยากให้ทำ MOU ร่วมกันได้หรือไม่

- จิตอาสา หรือ CSR คล้ายหยดน้ำ พนักงานระดับล่าง ลูกจ้าง ระดับบน ยังไม่สามารถเชื่อมโยงกันได้เลย

แสดงความคิดเห็น

- อยากให้โรงไฟฟ้าใหญ่ ๆ มีองค์กรที่ทำหน้าที่ด้าน CSR โดยตรง

-มุมของการไฟฟ้าจริง ๆ ต้องทำให้เขาเห็นว่าทำอะไรในพื้นที่ มีคนเข้าใจในพื้นที่รอบ ๆ หรือไม่ ต้องหาแนวร่วม แบ่ง Sector เพื่อการยอมรับ แบ่งพื้นที่ในกลุ่ม หน่วยราชการ NGOs ถ้าทำการบริหารจัดการต้องแยก บางคนต้องการการยอมรับ บางคนต้องการชื่อเสียง บางคนต่อต้านเพราะไม่รู้ว่าโรงไฟฟ้าทำเพื่อสิ่งแวดล้อม ต้องหาคนมาให้ความรู้ในชุมชน และให้ความรู้เชิงลึกกับ NGOs ช่วยออกแบบโรงไฟฟ้า อะไรเป็นข้อกังวล ช่วยการพัฒนาชุมชน หาคนทำร่วมกัน

คุยกับชาวบ้าน ให้ความเป็นธรรม ต้องออกไปประชาสัมพันธ์ หาแนวร่วมว่าคนไหนสนใจอยากมาช่วย กฟผ.บ้าง เมื่อรับทราบว่า กฟผ.ทำอะไรเขายินดีมาร่วม หาคนที่กล้าแสดงออกเข้ามาเป็นแนวร่วมกับชุมชนเพื่อให้ข้อมูลเชิงลึก ก่อนที่ NGOs จะมาให้ข้อมูลผิด ๆ ส่วน NGOs ที่ทำงานร่วมกับ กฟผ. ยังมีประเด็นอยู่ ต้องวางแผนแต่ละกลุ่มให้แยก ๆ กันไป

การทำงานร่วมกับท้องถิ่นขอให้กฟผ.ทำงานเป็นหลัก ใครดูแลตรงไหน ไม่ใช่เอาเงินมาหว่าน

แสดงความคิดเห็น

กฟผ.มีงบประมาณในรอบปี ที่ลงไปน่าจะตอบโจทย์ CSR ได้ อย่าตีวงแค่โรงไฟฟ้า อย่างเช่นเขื่อนมีทั้งกลุ่มเหนือเขื่อนและล่างเขื่อน

ครูบาสุทธินันท์

รู้จักคนในกฟผ. คุยไปคุยมาก็เกิดความผูกพัน แต่อยากตั้งข้อสังเกตว่า วัฒนธรรมองค์กรของกฟผ.แข็งไปหรือเปล่า การทำงานอย่างเป็นระบบทุกคนมีความรู้ในตัวแต่ไม่ได้แสดงเพราะอะไร สิ่งสำคัญคือควรเข้าถึงชุมชน

ดึงความรู้ในตัวบุคคล ทำอย่างไรจะกระตุ้นออกมา ทำอย่างไรให้กฟผ.เป็นองค์กรที่มีความสุข ทำอย่างไรให้ทำงานเหมือนเป็นเพื่อนกัน เป็นญาติกันจริง ๆ

คุณสุทธิเดช

หลายความเห็นช่วยงาน PR บางอย่างเป็นเรื่องทำได้เลย บางเรื่องไม่ต้องรอ เพราะอยู่ในอำนาจ พนักงานกฟภ.ที่อยู่ในพื้นที่อยู่ใกล้ชิดประชาชนเยอะ เรื่องการเซ็น MOU กับกฟภ.เรื่อง CSR และ PR เป็นสิ่งที่ควรทำ

ลักษณะองค์กร กฟผ. กับ กฟภ. (ปัจจุบันให้เรียก PEA) น่าจะทำตัว PR ร่วมกันทั้ง 3 การไฟฟ้า เรื่องการจ้างองค์กรกฟผ.ได้ใช้วิธีนี้กับกฟภ. ต้องสร้างความเข้าใจกับคนในองค์กร

คุณรังสรรค์

ที่กฟผ.บางปะกงพูดเป็นการ Share ความคิดที่ดีมาก ข้อมูลบางข้อมูลไม่สามารถเปิดเผยได้เนื่องจากเป็นเชิงลึก อยากให้คนแสวงหาสิ่งที่ทำร่วมกับชุมชนและให้คนยอมรับว่ากฟผ.เก่งและดี

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ครูบา กับ ดร.จีระเป็นบัดดี้กัน ส่วนคุณสุทธิเดช ดร.จีระเคยทำเรื่ององค์กรแห่งการเรียนรู้ 4,000 คน อยากให้มาเป็นแนวร่วมกับ กฟผ.ในอนาคต ส่วนคุณรังสรรค์ เป็นลูกศิษย์อาจารย์จีระ

ตัวอย่างถ้าเอาบรรยากาศวันนี้ให้คน กฟผ.ในระดับล่าง ด้วยจะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ได้อย่างดีมาก

คุณรังสรรค์

สพร.สั่งว่าตอนของบประมาณอยากให้กฟผ.และกฟภ.ทำงานร่วมกัน

จิราพร ศิริคำ ฝ่ายวางแผนระบบไฟฟ้า

ประเด็นการเรียนรู้ในการอบรมในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557

วันนี้เราเดินทางไปอบรมที่เขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี รถบัส กฟผ. ออกจาก กฟผ. 7.00 น. ถึงจุดหมายปลายทาง 10.30 น. (ช้ากว่ากำหนดการที่กำหนดไว้ 9.00 น.)

เช้านี้ได้มีการจัดการอบรมแบบ Panel Discussion ในหัวข้อ Networking Capital กับการพัฒนาเพื่อประชาชน โดย นายชัยวัฒน์ ลิมป์วรรณธะ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี นายสหัสนัย ยืนยงค์ ผู้แทนจากสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี นายปณต สังข์สมบูรณ์ พลังงานจังหวัดกาญจนบุรี นายยุทธการ มากพันธ์ ผู้แทนชุมชน นายคเชนทร์ พูนจันทร์ ผู้แทนภาคธุรกิจ (SCG) และร่วมวิเคราะห์และดำเนินการอภิปราย โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เนื้อหาที่พูดคุยที่น่าสนใจคือ จังหวัดกาญจนบุรี มี 12 อำเภอ แบ่งออกเป็น 3 โซน 1) โซนอนุรักษ์ 2) โซนเศรษฐกิจ 3) โซนอีสาน และยังได้ทราบถึงยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดกาญจนบุรี ซ่งเน้นการส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และการพัฒนาประสิทธิภาพระบบการผลิตสินค้าเกษตรอุตสาหกรรมที่ปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี อยากให้ กฟผ. มีส่วนร่วมในจังหวัดกาญจนบุรีมากขึ้น

คุณสหัสนัยฯ เน้นเรื่องการท่องเที่ยวและการมีส่วนร่วมของชุมชนใน อ. ศรีสวัสดิ์ จ. กาญจนบุรี โดยนำเสนอ Srisawat Model เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน แต่ยังมีปัญหาด้านเงินทุน เพราะที่ดินอยู่ในเขตอนุรักษ์ ไม่สามารถใช้ค้ำประกันเงินกู้ได้ และต้องการให้ กฟผ. สร้างความมั่นใจเรื่องความมั่นคงของเขื่อน (ข่าวเขื่อนจะแตก ทำให้มีผลต่อการท่องเที่ยวของ อ.ศรีสวัสดิ์) และขอให้ กฟผ. ออก PR มากกว่านี้ นอกจากนี้ ยังต้องการให้ กฟผ. สร้างเครือข่ายชุมชน และมีหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบเรื่องนี้ให้ชัดเจน เพื่อดำเนินการได้โดยตรง และมีแผนพัฒนาชุมชนอย่างจริงจัง ในแต่ละพื้นที่

คุณยุทธการฯ ผู้แทนชุมชน ต้องการให้ กฟผ. เป็นผู้นำเครือข่ายไฟฟ้าชุมชน (ขนาดเล็กๆ) ช่วยชุมชนพัฒนาโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก

จากความเห็นของผู้เช้าร่วม Panel Discussion สรุปได้ว่า

  • -กฟผ. ควรจะต้อง ปรับ Mind Set, ปรับ Thinking Paradigm (Paradigm Shift) และปรับ Change Management โดยต้องพิจารณาถึงความจริง (Reality) และความเชื่อมโยง (Relevance)
  • -Networking ของ กฟผ. ควรขยายมากขึ้น
  • -แม้ว่า กฟผ. ไม่ได้ดูแลเรื่อง กองทุนพัฒนารอบโรงไฟฟ้า แต่ก็ควรจะดูหรือศึกษาวิจัยว่า ชุมชนใช้เงินกองทุนพัฒนารอบโรงไฟฟ้า ในทางที่ตรงตามวัตถุประสงค์ หรือไม่ อย่างไร
  • -กฟผ. ควรกระจายเรื่องชุมชนให้มากขึ้น
  • -ทั้งนี้ อาจจะเป็นเพราะโครงสร้าง (Structure) ของ กฟผ. แข็งเกินไป ไม่เหมือนเอกชน
  • -ต้องสร้างความเชื่อใจ (Trust) ก่อน ที่จะเอาประโยชน์ไปให้ชาวบ้าน
  • -แตละชุมชนมีความแตกต่าง ดังนี้ Srisawat Model อาจจะไม่สามารถใช้กับ ชุมชนอื่นๆ ๆด้ เพราะแต่ละชุมชนมีความเป็นตัวของตัวเอง (Unique) แต่ควรจะสร้าง Networking เพื่อความร่วมมือกันของทุกฝ่ายในการสร้างสรรค์สังคม ชุมชน

ในช่วงบ่าย เป็นการบรรยายเรื่อง HR for Non HR และการปรับใช้กับงาน CSR ของ กฟผ. ซึ่งเป็นช่วงที่ได้ความรู้เพิ่มมากขึ้นในเรื่องแนวทาง วิธีคิด เพื่อการดำเนินการ CSR ของ กฟผ. รวมทั้งแนวคิการดำเนินการ HR สำหรับผู้บริหารที่เป็นกลุ่ม Non HR ซึ่งในเรื่อง HR นั้น ไม่ใช้หน้าที่ที่มอบให้ HR Division ในการดำเนินการ หากแต่ ผู้บริหารที่เป็น Non HR จะต้องเป็นผู้ดำเนินการ เพราะเป็นผู้ที่ต้องอยู่กับผู้ปฏิบัติงาน และต้องรู้ว่าต้องจัดหา พัฒนา ผู้ปฏิบัติงานในแนวทางไหน อย่างไร HR ป็นเพียง Facilitator ให้การดำเนินการสำเร็จด้วยดี เท่านั้นเอง (ไม่มีใครรู้เรื่องงานดีเท่ากับผู้ที่มีหน้าที่ในงานนนั้น)


จิราพร ศิริคำ ฝ่ายวางแผนระบบไฟฟ้า

ประเด็นการเรียนรู้ในการอบรมในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557

วันนี้ ต้องตื่นแต่เช้า 5.30 น. เพื่อไปร่วมกิจกรรมเพื่อสุขภาพ เราร่วมกับ อ. ดร. จิระ และเพื่อนๆ พี่ๆ ที่นัดกันเวลา 6 โมงเช้า เพื่อเดินออกกำลังกาย จากหน้าร้านอาหารบ้านเอราวัณ ลงเขามาถึงปากทางขึ้นบ้านเอราวัณ แล้วก็เดินกลับ ใช้เวลาประมาณ 45 นาที หลายคนพร้อม หลายคนไม่พร้อม (ไม่มีชุดกีฬา) แต่มีสปิริตไปร่วมเดินออกกำลังกายกัน กิจกรรมภาคเช้ามืด สำเร็จลงด้วยดี ไม่มีใครเป็นลม สุขภาพดีทุกคน

ภาคเช้า เราได้เริ่มจาก Learning Forum & Practice ในหัวข้อ “เทคนิคการนำเสนออย่างทรงพลังและประทับใจ” “Art and Feeling Presentation” โดย อาจารย์จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล อาจารย์มีกิจกรรมให้ทำหลายอย่างมาก ทั้งที่ทำได้ และไม่อยากทำ (แต่ก็ต้องทำ)

โดยเริ่มจากการทบทวนตั้งแต่ในวัยเด็กว่าอยากเป็นการ์ตูนอะไร เพื่อค้นหาความคิดในวัยเด็ก ซึ่งเป็นจุดเริ่มของตัวต้น

จากนั้น ให้มีการฝึกคิดจินตนาการจากสิ่งที่ไม่เป็นจริง เพื่อดูว่าเห็นภาพแล้วคิดถึงอะไร

และมีกิจกรรมที่ต้องแสดงตามที่อาจารย์บอก (โดยไม่ทราบล่วงหน้า) ซึ่งกิจกรรมนี้ เป็นการทำให้ทราบว่า คน (ผู้ใหญ่) มีการใช้สมองซีกซ้าย (Expert mind) มากกว่าสมองซีกขวา (Beginning mind) ซึ่ง Expert mind มักจะมีในผู้ใหญ่ ที่จะคิด (หรือถอยหลัง 1 ก้าว) ก่อนที่จะ Action เพราะต้องรักษาภาพลักษณ์เสมอ และ Beginning mind มักจะทำได้ทันทีโดยไม่ต้องคิด ทำได้ทันทีตามที่สมองสั่งการ ในการทำกิจกรรมนี้ จะเป็นการดึงเอาศิลปิน (จากสมองซีกขวา) ออกมาใช้งาน [กิจกรรมนี้ ใช้เวลานานไปหน่อย เพราะให้ทำทุกคน ทำให้มีอาการเบื่อเกิดขึ้นในเพื่อนๆ หลายๆ คน]

โดยสรุป “Art and Feeling Presentation” จะทำให้ทราบถึงว่า เราต้องมี Creativity เพื่อทำให้การ Presentation ของเราสำเร็จ คนจำได้ ซึ่งจะต้องมีส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ Verbal คำพูด (7%) Sound เสียง (38%) และ Action ท่าทาง (55%)

Content and Presenter เป็นสิ่งที่ทำให้การสื่อสารได้สำเร็จ

Content ทำให้เกิด Involvement แต่จะทำ Content ให้น่าสนใจได้นั้น ต้องอยู่ที่ Presenter ซึ่งต้องมี “Art and Feeling Presentation”

สำหรับในช่วงบ่าย มีผู้ทรงความรู้มาร่วมใน Panel Discussion ในหัวข้อ นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน (Social Innovation) กับการทำงานของ กฟผ. โดย คุณรังสรรค์ อัฐมโนลาภ ผู้ช่วยผู้ว่าการกิจการสังคม (ชคส.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย คุณสุทธิเดช สุทธิสมณ์ อดีตผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และ ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ ดำเนินการอภิปราย โดย ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

คุณรังสรรค์ อัฐมโนลาภ (ชคส.) ได้ให้แนวคิดว่า สิ่งที่เรา (EGAT) ทำ จะต้องดีกว่ามาตรฐาน และเรื่อง CSR ต้องเริ่มจากภายในสู่ภายนอก โดยในแนวคิดของ ชคส. CSR ได้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม

1)CSR สังคมไกล – สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ในภาพรวม

2) CSR ในองค์กร – CSR in Process ในกระบวนการหลัก, วัฒนธรรมความรับผิดชอบต่อสังคม. พนักงานมีส่วนร่วม และจิตอาสา กฟผ.

3) CSR สังคมใกล้ – พัฒนาสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม โดยรอบหน่วยงาน

ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ (ปราชญ์ชาวบ้าน) ได้ให้ความเห็นว่า “ต้องสร้างให้ชุมชนอยากรู้ ชุมชนนถึงจะอยากทำ”

โครงการที่จะช่วยชาวบ้าน จะต้องเป็นโครงการที่เห็นผลเร็ว ชาวบ้านจึงจะให้ความร่วมมือ จากนั้นจึงค่อยสอนหรือให้มีโครงการที่ใช้เวลาระยะยาวขึ้น จึงจะได้รับความร่วมมือจากชาวบ้าน

ปัจจุบัน เทคโนโลยีก้าวหน้ามาก ควรใช้เทคโนโลยีสื่อสาร และ Social Media/Social Network ในการเชื่อมโยงชาวบ้าน (ผุ้นำชุมขน ไม่เรียกประชุมแล้ว แต่ใช้ทีศัพท์มือถือ/Facebook ในการส่งข้อมูลถึงชาวบ้าน ดังนั้น ควรให้ผู้นำชุมชนช่วยกระจากข้อมูล และต้องสร้างสังคมชุมชนให้เป็นสังคมชุมชนแห่งการเรียนรู้

และที่สำคัญ โจทย์ที่จะไปคุยกับชาวบ้านต้องเป็นโจทย์ใหม่ๆ เรื่องใหม่ๆ รวมทั้งนวัตกรรมต่างๆ ควรให้ชาวบ้านช่วยคิด

และ กฟผ. ต้องทำในเรื่องที่เราถนัด เช่น กฟผ. ต้องผลิตไฟฟ้า ไม่ใช่ไปปลูกป่า และต้อง PR ให้มากขึ้น

มีคำถามเกี่ยวกับ การทำ CSR ของ กฟผ. และ งานชุมชนของครูบาสุทธินันท์ ซึ่ง ชคส. ตอบในเชิงว่า คงจะต้องลอกเลียนแบบของครูบาสุทธินันท์ แต่ในความคิดของเรา เราเห็นว่า การทำ CSR ของ กฟผ. ไม่ใช่การลอกเลียนแบบของชุมชนใดชุมชนหนึ่ง แต่น่าจะเป็นการพิจารณารายชุมชน เพราะว่า แต่ละชุมชนเป็น Unique มีความต้องการ มี Characteristic ไม่เหมือนกัน ดังนั้น โครงการที่เป็นที่ต้องการของชุมชน ไม่ควรยัดเยียด หรือเห็นว่าสำเร็จจากชุมชนหนึ่ง แล้วนำไปให้กับอีกชุมชนหนึ่งด้วย

การทำ PR ของ กฟผ. ไม่ค่อยเป็นมืออาชีพ ต้องปรับปรุง ต้องทำในหลายๆช่องทาง และในปัจจุบัน เทคโนโลยีสือสารมามากมาก กฟผ. ควรใช้ให้เป็นทุกๆอย่าง เพื่อติดต่อกับทุกคน ทุกลุ่มอายุ ทุกกลุ่มอาชีพ นอกจากนี้ กฟผ. ควรเป็นเจ้าของสถานีโทรทัศน์ 1 ช่อง และ สถานีวิทยุ 1 ช่อง เพื่อเป็นช่องทางประจำของ กฟผ. ม่ต้องไปซื้อเวลาของ TV หรือวิทยุ ช่องต่างๆ


หลักสูตร EADP รุ่นที่ 10 ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)

ระหว่างวันที่ 10 -13 กุมภาพันธ์ 2557

ประโยชน์ที่ได้รับจากการร่วมสัมมนา

วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2557

กิจกรรมรักษ์กาย ณ ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี (สามเสน) กรุงเทพฯ

ช่วงเช้า

  • เน้นการรักษาและดูแลสุขภาพโดยวิธีธรรมชาติไม่ใช้ยาและสารเคมีที่อาจส่งผลกระทบต่อร่างกาย
  • การเจ็บป่วยของคนในสังคมปัจจุบันเกิดจากการกินอาหารที่ไม่ถูกสุขภาพ
    การไม่ออกกำลังกายและความเครียด
  • การแก้ไขต้องปรับพฤติกรรม (Life Style)จะช่วยให้โรคลดลง
  • ปัญหาสุขภาพของโรคในยุคนี้ ได้แก่ โรคอ้วน เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ
    ความดันสูง ไขข้ออักเสบ เป็นต้น
  • ทราบวิธีการคำนวณ ค่า BMIและความหมายที่ได้ การนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ ควรอยู่ในระดับ 20-23
  • รอบเอวผู้หญิงไม่ควรเกิน 80 เซนติเมตร และผู้ชายไม่ควรเกิน 90เซนติเมตร
  • ทราบเรื่องโทษของการมีไขมันในร่างกายมากเกินไป เช่น การสร้างฮอร์โมนลดลง
    กินอาหารแล้วไม่รู้สึกอิ่ม ขาดฮอร์โมนเพศ เข้าสู่วัยทองเร็วกว่ากำหนดและหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
  • อาหารที่ทำให้เป็นโรคอ้วนได้ง่ายได้แก่ อาหาร Fast Food ประเภทต่าง
    ๆ น้ำอัดลม น้ำหวาน ขนมขบเคี้ยวต่าง ๆ ไอศกรีม เป็นต้น
  • การไม่กินแป้งจะช่วยลดโรคอ้วนได้
  • การลดน้ำหนักด้วยวิธีธรรมชาติ ได้แก่ การกินให้น้อย (พออิ่ม) ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • สัดส่วนอาหารที่เหมาะสมใน 1 วัน คือ กินโปรตีน 1ส่วน และกินผักผลไม้ 2 ส่วน และหลีกเลี่ยงแป้ง
  • หลีกเลี่ยงการกินนม และผลิตภัณฑ์จากนม เพราะเป็นสาเหตุของโรคอ้วนและโรคภูมิแพ้
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสหวาน ขนมหวานต่าง ๆ
  • ทราบวิธีการรักษาโรคหวัดโดยใช้สมุนไพรไทย เช่นฟ้าทลายโจร ขมิ้นชัน
  • ตู้ยาสมุนไพรประจำบ้านควรประกอบด้วย วิตามินซี
    ขนาด 1000 มิลลิกรัม วิตามินบี ขนาด 100 มิลลิกรัม ฟ้าทลายโจรขมิ้นชัน เถาวัลย์เปรียง เป็นต้น
  • การรักษาโรคโดยวิธีวารีบำบัดประวัติความเป็นมาและประโยชน์ของวารีบำบัด
  • การนำวิธีวารีบำบัดไปรักษาโรคในประเทศต่าง ๆทั้งใช้น้ำร้อนและน้ำเย็น
  • การตอบสนองของร่างกายต่อความร้อนจัดและความเย็นจัดและประโยชน์ที่ได้รับ
  • การอบความร้อนในแบบต่าง ๆการอบสมุนไพรจากภูมิปัญญาไทย สลับกับการอาบน้ำเย็นเป็นผลดีต่อสุขภาพ
  • ประโยชน์ของซาวน่า ได้แก่ ทำให้เลือดเคลื่อนไหวไปทั่วร่างกายลดการอักเสบของอวัยวะภายใน รักษาโรคภายใน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดขาวบริหารอวัยวะภายในให้แข็งแรงมีภูมิต้านทาน ดีขึ้น ให้ความรู้สึกผ่อนคลายและกระปรี้กระเปร่าสดชื่น
  • ข้อพึงระวังของการทำซาวน่า คือ ไม่ควรทำให้กับผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง
  • ประโยชน์ของสมุนไพรไทยและวิธีการนำไปใช้

ช่วงบ่าย

  • แบ่งเป็นกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ Mat exercise เพื่อบริหารกล้ามเนื้อและข้อต่อHydro-aerobics การออกกำลังกายในน้ำและ การอาบแสงตะวัน ซาวน่า และอบสมุนไพร
  • ทำให้ได้วิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสมเพื่อฟื้นฟูสุขภาพตามที่วิทยากรแนะนำ
    เพื่อนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่อง

วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557

ผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ณ เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี

ประโยชน์ที่ได้รับจากการร่วมสัมมนา

ช่วงเช้า

  • มุมมองภาพใหญ่ด้านยุทธศาสตร์การบริหารจัดการจังหวัดกาญจนบุรี
    และโครงการที่น่าสนใจสำหรับการพัฒนาชุมชน การบริหารจัดการกับภัยพิบัติและภัยธรรมชาติ
    และการเตรียมความพร้อมสู่อาเซียนและ AEC
  • ทราบประวัติความเป็นมาของจังหวัดกาญจนบุรี ลักษณะทางกายภาพพื้นที่และเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง
  • การใช้ประโยชน์โดยแบ่งพื้นที่เป็นโซนต่าง ๆ ได้แก่ โซนอนุรักษ์โซนเศรษฐกิจ พื้นที่ป่าไม้และอุทยานแห่งชาติ
    พื้นที่ประวัติศาสตร์และแหล่งท่องเที่ยว
  • นโยบายของจังหวัดกาญจนบุรี ได้แก่ การส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์การพัฒนาประสิทธิภาพระบบการผลิตสินค้าเกษตรอุตสาหกรรมการเกษตร และการแปรรูปสินค้าจากการเกษตร
    ส่งเสริมการพัฒนาการค้าผ่านแดน การพัฒนาระบบชลประทานให้เกษตรกรทำการเพาะปลูกสร้างผลผลิตอย่างต่อเนื่องและสร้างอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป
  • มูลค่าGDPเศรษฐกิจของจังหวัดกาญจนบุรี ประมาณ 90,000 -100,000ล้านบาทต่อปี เป็นอันดับ 24 ของประเทศ และอันดับ2 ของภาพตะวันตก มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจประมาณร้อยละ 4-5 ต่อปี
    มีจุดเด่นคือพื้นที่เกษตรมีน้ำใช้ตลอดทั้งปีและพื้นที่จังหวัดอยู่ในโซนยุทธศาสตร์ของการพัฒนา AEC
  • นักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพของจังหวัดกาญจนบุรีมาจากกลุ่มประเทศจีน รัสเซีย อินเดีย และกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง
  • โอกาสของการพัฒนาโครงการในอนาคต ได้แก่โครงการทวายในพม่า การสร้างระบบสาธารณูปโภคที่รองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
  • การรักษาพื้นที่ในโซนอนุรักษ์ การรักษาคุณภาพน้ำและแหล่งประมงน้ำจืด
  • โครงการ CSR และการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่ที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน
    และสามารถพัฒนาโครงการได้และเกิดประโยชน์ต่อชุมชน และสังคมอย่างยั่งยืน
  • โครงการ CSR ของกฟผ.ในจังหวัดกาญจนบุรีที่เป็นประโยชน์ได้แก่ โครงการชีววิถีให้ความรู้กับชุมชน
    โครงการฝ้ายชะลอน้ำ โครงการปล่อยปลาที่หน้าเขื่อนโครงการศึกษาดูงานการนำชุมชนในพื้นที่ไปดูงานในพื้นที่อื่น ๆ ของกฟผ. และการนำชุมชนอื่น ๆมาดูงานที่เขื่อนศรีนครินทร์
  • วิทยากรเสนอแนะให้กฟผ.เน้นการประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้นเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจต่อชุมชนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและเผยแพร่โครงการที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนเพื่อสร้างการยอมรับและสนับสนุนโครงการของ
    กฟผ.ในอนาคต
  • ข้อจำกัดของ กฟผ. ได้แก่ ขาดหน่วยงานดูแลโดยตรงผู้ปฏิบัติงานไม่เข้าใจชุมชนอย่างลึกซึ้ง มีการเปลี่ยนคนที่ดูแลรับผิดชอบโครงการบ่อยๆ และมีคนใหม่มาแทนซึ่งอาจไม่เข้าใจความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของโครงการทำให้ปฏิบัติงานได้ไม่ต่อเนื่องและชุมชนสับสน มีการเสนอแนะให้ กฟผ.จัดตั้งหน่วยงานเพื่อพัฒนาชุมชนโดยเฉพาะจะทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานได้
  • ควรมีการสร้างเครือข่ายชุมชนด้านพลังงานซึ่งเป็นการลงทุนในระยะยาวสร้างกลุ่มคนที่มีความรู้ความเข้าใจในธุรกิจผลิตไฟฟ้าอย่างแท้จริงและมองที่สังคมชุมชนและธุรกิจเติบโตไปได้ด้วยกัน
  • การสร้างความสมดุลระหว่าง การสร้างรายได้ให้กับธุรกิจการรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
    และการดูแลชุมชนให้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขและยั่งยืน
  • การใช้และบริหารทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
  • การส่งเสริมนโยบายที่ให้ความสำคัญกับชุมชนและสังคมในการดำเนินธุรกิจและเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมที่อาจส่งผลกระทบต่อชุมชน
  • การสำรวจความต้องการของชุมชน และคัดเลือกโครงการที่เป็นประโยชน์ส่งเสริมให้ดำเนินการได้โดยมีการกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนมีการตรวจสอบความคืบหน้าของโครงการเป็นระยะเพื่อประเมินผลและวิเคราะห์ผลเพื่อนำไปต่อยอดและเป็นโครงการต้นแบบให้ชุมชนอื่น ๆ
  • การทำงานในเชิงรุกในการพบปะชุมชนโดยไม่รอให้เกิดปัญหาก่อนต้องไม่ฝักใฝ่การเมือง สนับสนุนโครงการที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนในภาครวมและต่อเนื่องเพื่อทำให้ชุมชนเข้าใจและยอมรับกิจกรรม
  • เน้นโปร่งใส ตรวจสอบได้ และสื่อสารหลายทางเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับชุมชนและสังคม
  • งานพัฒนาชุมชน ต้องสร้างเครือข่ายและแบ่งงานเพื่อร่วมกันรับผิดชอบระหว่างชุมชน หน่วยงานราชการ นักวิชาการ ปราชญ์ชาวบ้านเพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำโครงการและรู้สึกเป็นเจ้าของ
  • จะต้องทำให้ชุมชนเชื่อใจ เชื่อมั่นในองค์กรและเข้าใจและสนับสนุนโครงการ

ช่วงบ่าย

  • ทำให้ทราบถึงความสำคัญของ HR for Non-HR และปรับเพื่อนำไปใช้กับงานของกฟผ.
  • งานด้าน CSR เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับองค์กรเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของชุมชนและสร้างความเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับองค์กรในอนาคต
  • ผู้นำในอนาคตต้องรู้จัดสรรหา Talent Group ที่มีศักยภาพมาทำงานร่วมกับองค์กรและต้องพัฒนาให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • ผู้นำต้องกระหาย ใฝ่รู้อยากรู้อยากเห็นในความรู้ในด้านที่ตนเองยังไม่มีและฝึกฝนให้มีทักษะเพื่อนำไปทำงานและแก้ปัญหาให้กับองค์กรได้
  • ผู้นำจะต้องรู้จักลูกน้องและผู้ใต้บังคับบัญชาของตนเองเป็นอย่างดีเพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่และพัฒนาเพื่อเพิ่มทักษะได้
  • การแข่งขันในอนาคตจะขึ้นอยู่กับคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร
  • ทราบข้อแตกต่างระหว่าง Old HR และ NewHR
  • ทฤษฎีต่าง ๆที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการนำไปใช้งานจริง
  • ทฤษฎี HRDS เพื่อการสร้างทุนแห่งความสุข
    การทำงานร่วมกับผู้อื่น การบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
    การเคารพให้เกียรติพนักงานในทุกระดับ มีความภาคภูมิใจในเกียรติและศักดิ์ศรีของตนเองและองค์กร
  • การบริหารทุนมนุษย์ไม่ใช่ความรับผิดชอบของ HR Department แต่เพียงอย่างเดียว
    CEO และ Non-HR Manager ต้องร่วมด้วย
  • งาน HR ของ CEO ได้แก่
    กำหนด Vision และเป้าหมายให้ชัดเจนและต่อเนื่อง
    การสร้างทีมงาน กระตุ้นและสนับสนุนทีมงาน การสร้าง Networking
  • การพัฒนา Non-HR เพื่อเสริมศักยภาพให้บุคคลากรในทุกระดับ
    เน้นสร้าง Value Creation และ Value Diversity

วันพุธ ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557

ประโยชน์ที่ได้รับจากการร่วมสัมมนา

จิตวิทยาการนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ Arts and Feeling Presentation

ช่วงเช้า

  • เน้นการทำกิจกรรมเพื่อละลายพฤติกรรม
    กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การทำงานร่วมกันเป็นทีม
  • การกล้าคิดนอกกรอบ กล้าคิดอย่างมีจินตนาการ
    กล้าที่จะแสดงออกและนำเสนอความคิดของตนเอง
  • คิดให้แตกต่าง นำเสนอให้น่าสนใจพร้อมทั้งแทรกสาระที่ต้องการสื่อไปด้วยกัน
  • การคิดเชื่อมโยง การสื่อสารระหว่างทีม
    การยอมรับในตัวผู้นำและยอมที่จะเป็นผู้ตามบ้างในบางเหตุการณ์
  • การฝึกเพื่อเอาชนะอุปสรรคสำหรับการนำเสนอในที่ชุมชน โดยวิธีผ่อนคลาย
    เป็นกันเองกับผู้ฟัง
  • การฝึกใช้สมองซีกขวา ด้านที่เป็นความคิดเชิงศิลปะ ความคิดสร้างสรรค์ และการคิดนอกกรอบ
    หากผู้บริหารนำไปประยุกต์ใช้ก็จะดึงศักยภาพในตนเองออกมา
    ทำให้มีมุมมองในการแก้ปัญหาที่หลากหลาย มีการเชื่อมโยงทักษะต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาอย่างมีชีวิตชีวา
  • เทคนิคการนำเสนอให้เน้นการใช้ภาษากาย ท่าทางและน้ำเสียง ควบคู่ไปกับการสื่อสารแบบปกติ
    จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจและทำให้ผู้ฟังจำเนื้อหาที่นำเสนอและผู้ที่นำเสนอได้

ช่วงบ่าย

  • ทำให้ทราบถึงกิจกรรมด้าน CSRของกฟผ.ในอดีตจนถึงปัจจุบันที่ได้รับรางวัลติดต่อกันกว่า4 ปี
  • แนวทางในการทำกิจกรรม CSRของกฟผ.จะต้องคำนึงถึงสังคมเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นการป้องกันและบรรเทาผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียซึ่งต้องทำให้ดีกว่ามาตรฐานที่กำหนด
    และสร้างวัฒนธรรมความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และองค์กร
  • ความสัมพันธ์ระหว่าง High Performance Organizationกิจกรรม CSRและ Corporate Governance
  • นวัตกรรมด้าน CSRประกอบด้วย รวมแผนแยกปฏิบัติ การทำ CSR จากภายในสู่ภายนอก
    การประชาสัมพันธ์ควบคู่ไปกับการทำ CSRการประเมินผลและ Auditการปรับปรุง
  • CSRในองค์กร กฟผ. ให้อยู่ใน Processในกระบวนการทำงานหลัก สร้างวัฒนธรรมความรับผิดชอบต่อสังคม
    เปิดโอกาสให้พนักงานทุกระดับมีส่วนร่วมในงาน CSRและปลูกฝังกิจกรรมจิตอาสาให้กับ กฟผ.
  • CSRในสังคมใกล้คือการพัฒนาสังคม ชุมชนและสิ่งแวดล้อมโดยรอบหน่วยงาน กฟผ.
  • CSRในสังคมไกล คือการพัฒนาสังคมชุมชนและสิ่งแวดล้อมในภาพรวม
  • หัวใจของการพัฒนาชุมชนคือการกระตุ้นให้ชุมชนต้องการเรียนรู้เพื่อเพิ่มองค์ความรู้ให้กับตนเอง ชุมชน
    และเครือข่าย มีความอยากรู้อยากเห็น ชอบการทดลองเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับตนเองและชุมชน
  • ต้องฝึกอบรมให้คนในชุมชนมีความรู้ความสามารถพึ่งพาตนเองและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
  • การคิดหัวข้องาน CSR ให้กับชุมชนต้องพิจารณาถึงองค์ความรู้ของชุมชนความพร้อมของชุมชน วิถีชีวิตของชุมชน ผลกระทบต่อชุมชนก่อนและหลังการดำเนินกิจการ
  • ควรเป็นหัวข้อและเป็นโครงการที่เพิ่มทักษะ เพิ่มความรู้ในการประกอบวิชาชีพให้กับคนในชุมชน
    เช่น เพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายดูแลและรักษาสุขภาพด้วยตนเองได้ การใช้ภูมิความรู้ในท้องถิ่นและชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  • ควรทำโครงการให้ชุมชนเป็นผู้เรียนรู้ เพื่อพัฒนาตนเองเน้นเรียนได้เร็ว เรียนได้ง่าย แปลกใหม่ เห็นผลเร็ว เห็นผลชัด การพัฒนาองค์ความรู้ในเรื่องที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง ทำโครงการและเรียนรู้ไปพร้อมกัน
  • ควบคู่ไปกับการพัฒนาคนให้แลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูลระหว่างกันการทดลองเปรียบเทียบให้เห็นข้อดีข้อเสีย เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่
  • องค์กรควรส่งเสริมให้ชุมชนทำโครงการที่พึ่งพาตนเองได้ ทำได้จริงและวัดผลได้จริงรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่แล้วในชุมชน และองค์ความรู้ใหม่เพื่อต่อยอดโครงการในอนาคตและนำไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้สังคมรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับอย่างต่อเนื่อง
  • ก่อนที่จะนำเสนอโครงการให้ชุมชนพิจารณา จะต้องวิเคราะห์และคำนึงถึงนิสัยใจคอของคนในชุมชน พื้นฐานทางสังคม โครงสร้างสังคมว่าเป็นอย่างไร
  • ต้องให้คนในชุมชนรู้จักหน้าที่ของตนเอง รู้จักพัฒนาตนเอง ครอบครับสังคม ให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เพื่อสังคมที่ดีในอนาคต
  • ข้อเสนอแนะของ ครูบา ฯ กฟผ.มีโครงการ กิจกรรม CSR จำนวนมากที่ประสบความสำเร็จแต่ไม่ขยายผล และไม่ค่อยทำการประชาสัมพันธ์ให้สังคมและประชาชนทั่วไปรับทราบการทำกิจกรรม CSRต้องมีแผนงานอย่างต่อเนื่องและต่อยอดไปเรื่อยๆ แต่ต้องเข้าใจและมีองค์ความรู้ในเรื่องที่ทำเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนอย่างแท้จริงมีแผนประชาสัมพันธ์งาน CSRที่เรียงร้อยเรื่องราว รายละเอียดประวัติความเป็นมาความเกี่ยวเนื่องและประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ ก่อให้เกิดประโยชน์สุขต่อชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืนต่อประชาชนทั่วไปและสังคมในวงกว้างได้รับทราบงาน CSRของ กฟผ.
  • การวิพากษ์งาน CSRของ กฟผ.ในอดีตและแผนงานในอนาคตจากกลุ่มต่าง ๆเพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

วันพฤหัสที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557

การศึกษาดูงานศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม
อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

ประโยชน์ที่ได้รับจากการร่วมดูงานและสัมมนา

  • ทราบประวัติความเป็นมาของศูนย์เรียนรู้ฯและวัตถุประสงค์ของศูนย์เรียนรู้ฯ
  • การเน้นวิถีชีวิต พออยู่ พอกิน พอใช้ และพอเพียง
  • การทำบัญชีครัวเรือน การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง การใช้พืชผัก สมุนไพรพื้นบ้านเป็นยารักษาโรค
  • เน้นการสร้างความเข้มแข็งและการสร้างเครือข่ายของชุมชนให้สามารถพึ่งพาตนเองได้
  • สรุปปัญหาของชุมชนที่พบบ่อย ๆ ได้แก่ การใช้สารเคมีมากไป ปัญหาหนี้สิน ผลผลิตไม่ดี ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ศูนย์เรียนรู้ฯ เน้นเศรษฐกิจพอเพียง การใช้สมุนไพรพื้นบ้านที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย หลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยเคมี การแปรรูปอาหารโดยใช้ของที่มีอยู่แล้วในชุมชน
    การถ่ายทอดนวัตกรรมด้านการเกษตรเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนและถ่ายทอดไปสู่รุ่นต่อๆ ไป
  • ร่วมมือกับหน่วยงานของภาครัฐเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และรวบรวมองค์ความรู้ให้กับชุมชนแล้วนำมาพัฒนาเป็นโครงการที่ปฏิบัติได้จริงและวัดผลได้
  • ศูนย์เรียนรู้ฯ ต้องการให้เกษตรกรที่เข้ารับการอบรมนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อลดค่าใช้จ่าย เพิ่มรายได้ สร้างเครือข่ายชุมชนการวิเคราะห์ให้เห็นถึงปัญหาของเกษตรกรและครอบครัว และหาแนวทางแก้ไขปัญหาการกระตุ้นศักยภาพที่อยู่ในตัวเกษตรกรให้พัฒนาชีวิตได้ดีขึ้นมีความเชื่อมั่นในตนเองสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขเป็นการยกระดับจิตใจและปลูกฝังคุณธรรมให้กับเกษตรกรและสังคม

โดย นายสุทีป ธรรมรุจี บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)

หลักสูตร EADP รุ่นที่ 10 กลุ่ม 2

สรุปโดยทีมงานวิชาการ Chira Academy

บรรยายเรื่อง เกษตรทางเลือกและเรื่องเครือข่ายชุมชน

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557

โดย อาจารย์ทิวาพร ศรีวรกุล

ผู้อำนวยการศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม

ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม ส่งเสริมการเรียนรู้ของเกษตรกร มีการเรียนรู้แบ่งเป็นฐาน

ฐานที่ 1 เศรษฐกิจพอเพียง

ฐานที่ 2 หมูหลุม หมูรุ่นลูกจะดก นิสัยหมูส่วนใหญ่จะดุน เนื่องจากมีจมูกดมกลิ่นดี การเลี้ยงหมูหลุมมีข้อดีคือไม่มีกลิ่น

ศูนย์ปราชญ์ จริง ๆ แล้วเป็นเรื่องของสิ่งที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน เรื่องที่สอนคือเรื่องลดรายจ่าย จึงเป็นหลักการสำคัญที่สามารถบริหารจัดการตัวเองได้

มีเกษตรจังหวัด เกษตรตำบล และเกษตรกรในพื้นที่เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จึงเกิดแนวคิดชาวบ้านสามารถบอกชาวบ้านได้เรียกว่าศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน

เป้าหมายที่เกษตรกรมาอบรม

- เกษตรกรที่เข้าโครงการพักชำระหนี้

วันแรก เป็นเวทีค้นหาทุกข์ทำอะไรให้รู้จักตัวตนของเขาเอง เข้าหลักพุทธศาสนาคือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ต้องดึงให้เกษตรกรเห็นปัญหา แล้วจะแก้ไขปัญหาได้อย่างไร

วันต่อมา เน้นเรื่องการดึงศักยภาพของเกษตรกรออกมาให้ได้ ปัจจุบันเกษตรกรอยู่ในสถานะที่คนไม่ให้ความสำคัญทั้ง ๆ ที่เขามีความสำคัญมากที่สุด ต้องให้เขาเข้าใจสถานะและยกระดับจิตใจให้ได้ หน้าที่คือสร้างความเชื่อมันให้เกษตรกรให้ได้ เพราะคุณค่าของเกษตรกรเป็นเรื่องใหญ่ แต่ปัจจุบันให้ความสำคัญกับวัตถุภายนอกมากกว่าความรู้สึกทางจิตใจ สังคมที่ดีต้องสร้างความเข้าใจ และเห็นอกเห็นใจ และเป็นธรรม แต่ถ้าคนไม่เข้าใจสถานะที่แท้จริง

พื้นฐานความเข้าใจร่วมกัน ไม่ได้มีสถานะและบทบาทเป็นเพียงหน่วยเศรษฐกิจและธุรกิจที่มุ่งที่กฎหมายหรือเงินตราเป็นใหญ่ แต่ถ้าประเทศมีความหมาย มีคุณค่าเป็นหน่วยสังคมชีวิต ดำรงอยู่อย่างยั่งยืน ตั้งแต่ครอบครัวหมู่คณะ กลุ่ม ประเทศ ระดับโลก กิจกรรมสังคมในส่วนที่เรียกว่าเศรษฐกิจจึงประกอบเป็นเพียงกลไกหนึ่งในระบบและสังคมเท่านั้น ย่อมมีบทบาทรับใช้สังคมโดยรวม แต่ไม่ใช่วันนี้สังคมมนุษย์ต้องถูกบั่นทอนลดคุณค่าเป็นเครื่องมือรับใช้เศรษฐกิจอย่างเช่นปัจจุบัน แต่ขณะเดียวกันเศรษฐกิจถูกบั่นทอนลดสถานะทางเศรษฐกิจขาดหนทางเศรษฐศาสตร์

สรุปคือ ไม่ว่าจะทำอาชีพอะไร ทำอะไรอยู่สถานะไหน ไม่แตกต่าง เพราะเราอยู่ในสังคมนี้ ในวันนี้ที่ทำให้ประเทศเพี้ยนไป ถ้าผู้บริหารของประเทศขันอาสาไปช่วยจัดการบริหารประเทศให้มีการบริหารจัดการอย่างยุติธรรม มีกฎหมายบังคับใช้ แต่ปัจจุบันสังคมกำลังเพี้ยน เพราะโครงสร้างเอาอำนาจ งบประมาณ มีวัตถุนิยมมาครอบครอง อย่างไรก็ตาม ทุกส่วนสำคัญหมดเพียงแต่ว่าจะจัดสมดุลอยู่ตรงไหน ถ้าสุดโต่งมันจะเอียง ไม่ยุติธรรม ไม่สมดุล วันนี้เราลืมสถานะตนเองไป ลืมความเป็นมนุษย์ ถ้าเราเข้าใจว่ามาจากที่ไหน ไปที่ไหน จะจบ ก็จะอยู่อย่างเป็นสุขได้ แต่วันนี้ประเทศไทยถูกบิดเบือนข่าวสาร

นักวิทยาศาสตร์พยากรณ์ไว้ว่าประชากรในโลกมี 7,000 ล้านคน อาหารในอนาคตจะขาดแคลนมาก คนที่รวยจะมีอาหารดี ๆ รับประทาน

ทำไมถึงเอาสมุนไพรมาเรียง ทำไมต้องเน้นภูมิปัญญา เพราะเล็งเห็นว่าในอนาคตอาหารเป็นเรื่องสำคัญ เด็กรุ่นต่อไปต้องทำงานเยอะ ๆ และเหนื่อยเมื่อเอาเงินไปซื้ออาหาร อย่างไรก็ตามวิกฤติอาหารประเทศไทยเกิดแน่ ๆ เพราะพฤติกรรม และการสั่งสอนที่พ่อแม่ไม่ได้สอน พืชพรรณ ธัญญาหารถูกกำหนดตามใจ

วันนี้ในฐานะผู้บริโภค มีสิทธิกำหนดนโยบาย ชุมชนชวนกันมาจัดการกันเอง ให้สนใจว่าหมู่บ้านมีอะไรกิน คนมีอะไรกินดี ๆ และจะไปขายเพื่อนได้อย่างไร

เรามามองว่าทำอย่างไรเมืองกาญจน์ น่าอยู่ ทำอย่างไรสามารถยกระดับฝีมือ เพิ่มทักษะ อย่างเช่น ปัจจุบันพม่ามีกำลังแรงงานที่มีคุณภาพดีมาก

สรุปคือ

อยู่ที่หลักการจัดการ ความรอบรู้ การมีส่วนร่วมของผู้ฟัง การบริหารประเทศ ใครมาเป็นรัฐบาลบางครั้งประเทศไม่เป็นของเรา

หลักเกณฑ์ในการเวนคืนที่ดินยังไม่เป็นธรรม ทั้งชุมชน และเขื่อนขาดความเข้าใจ ทำไมจัดที่ให้เสร็จแล้วทำไมชุมชนขายที่ ไปหาสาเหตุ คือเพราะไม่พอกิน แต่อยากถามว่าที่อยู่มาเขาอยู่มาได้อย่างไร เนื่องจากเวลาตีราคาที่ดิน ตีค่าแค่ บ้านที่ดิน แต่ไม่ได้ตีเรื่องการจัดสรรที่ดินสำหรับทำกินไม่ได้ตีราคาให้ด้วย ทำให้ไม่มีหนทางทำกิน เงินที่ได้มารีบเอาไปด้วยแนวคิดเน้นวัตถุนิยม ยกเว้นเงินที่มีทุนเดิมดี แต่ใครจะไปชี้แจงชุมชน ชี้แจง NGOs ในวันนี้ถ้ามีการเวนคืนที่ดินให้คิดค่าเสียหายในการปลูกต้นไม้เล็กทดแทนด้วย ต้องคิดถึงหาหนทางให้ชาวบ้านมีรายได้ด้วย เป็นบทเรียนของทั้งสองฝ่ายที่ต้องสร้างความเข้าใจร่วมกัน ต้องคิดค่าเสียเวลาด้วย ถึงว่าจะยุติธรรม

อีกเรื่องหนึ่งที่เขื่อนจะตื้นเขินได้ ที่เหนือเขื่อนต้องไม่มีเกษตรกรรม ต้องไม่ให้มีการพังทลายของหน้าดิน เพราะโดยธรรมชาติฝนต้องพังทลายหน้าดินอยู่แล้ว อย่าให้มีการบุกเบิกที่เหนือเขื่อนมาก ๆ อายุการสะสมน้ำ การใช้งาน ไม่ได้เป็นตามเป้าหมาย มีการจัดการสมดุลหรือไม่

แสดงความคิดเห็น

บางครั้งความเข้าใจการที่รุ่นพ่อ รุ่นแม่ได้รับอยู่แล้วเข้าใจ แต่รุ่นลูกไม่เข้าใจ

อาจารย์ทิวาพรตอบ

ปัจจุบัน สังคมเสมือนการต่อจิ๊กซอว์ หลายส่วนต้องต่อกันให้ได้ ไม่มีใครได้หมดและเสียหมด เมื่อมีเสียก็มีได้ ไม่อย่างนั้นก็ทะเลาะกัน ต้องให้หลายส่วนพยายามเข้าใจ

ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่เราต้องปรับปรุงแนวคิดและทัศนคติ

น้ำ และไฟฟ้าเป็นปัจจัยที่เป็นพื้นฐานของชีวิตอยู่ ต้องรู้จักการนำเสนอที่ดี

การปฏิรูปประเทศไทยไม่ใช่ของคนหนึ่ง คนใด แต่เป็นหน้าที่ของทุกภาคส่วนหรือองค์กรที่ควรหันมามองร่วมกันว่าจะทำอะไรบ้าง

คนไทยใจดีให้อภัยคนง่าย และไม่โกรธใครนาน

สมุนไพร

ฟักข้าว – เป็นผักพื้นบ้านตระกูลแตง ชอบกินยอดอ่อน ลูกอ่อนนำมาแกงส้ม แกงเลียง โบราณใช้ใบฟักข้าว ยาเขียว เนื้อในเมล็ดฟังข้าวใช้รักษาวัณโรคในปอด แผล ฝี หนอง แต่ที่ดังคืออเมริกาไปซื้อฟักข้าวจากเวียดนามและให้ฉายาว่าผลไม้สวรรค์กินแล้วหนุ่มสาว เวียดนามใช้ในเรื่องการบำรุงสายตา เนื่องจากมีสารเบตาแคโรทีนมากกว่าแครอท 10 เท่า มีไลโคปินสารต้านมะเร็ง อเมริกาทำการวิจัยก่อนหน้า 1 ขวดแม่โขง บางยี่ห้อ 4,000 บาท บางยี่ห้อ 2,700 บาท

ทำไมต้องให้ฝรั่งปลูก ให้คนถูกเป็นขี้ข้าคนไทยดีกว่าฝรั่ง

ปลูกฟักข้าว – ได้ประโยชน์ทุกขั้นตอน จึงอยากชักชวนให้คนไทยปลูก

ธรรมชาติให้พันธุ์พืชเหล่านี้ต่อมนุษยชาติ ไม่ได้เป็นสมบัติใครคนใดคนหนึ่ง แต่เกิดจากการคิดค้นพัฒนา ถ้าเรารู้จักจะรู้จักอย่างยั่งยืนและสมบูรณ์ตลอด

อินโดนีเซียกำลังแปรรูปสมุนไพร

สาบเสือ – เป็นวัชพืช เป็นยา น้ำหวานในดอกสาบเสือเป็นยาของผึ้ง น้ำผึ้งดอกสาบเสือขายดีมาก แพงกว่าน้ำผึ้งปกติ

สบู่ดำ– เพื่อเอาน้ำมันในเมล็ดไปทำพลังงาน ใช้ยางแต้มปากเวลาปากเปื่อยหรือปากนกกระจอก กิ่งสบู่ดำใช้ป้องกันแมลง ใช้เสริมภูมิแพ้คนเป็นเอดส์ แต่นักวิชาการสนใจเฉพาะปริญญา

สะเดา – ใช้ดีมากเรื่องหมัดกระโดดในวัชพืช เมล็ดใช้ไล่แมลงได้

น้อยหน่า – ใบน้อยหน่าพอกไข่เหา เมล็ดเอามาโคลกแช่น้ำไล่แมลง

หางไหล – ป้องกันแมลง

ใบหนาด – ประเทศจีนปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ ดองศพไม่ให้เน่ากว่า 2,000 ปีแล้ว เพื่อสกัดน้ำมันหอมระเหยของอโรม่า

แมงลักคา – ขึ้นทั่วไป กรมวิชาการสกัดสาระสำคัญค่าเชื้อแบคทีเรียในคน สามารถใช้ไล่แมลงได้

กัญชาป่า – สรรพคุณ ลดเบาหวานดีมาก ที่ได้ชื่อว่ากัญชาป่าถ้านอนไม่หลับแล้วทานจะดีมาก มีรสขมนิดนึงและจะหวาน แก้ไข้ แก้สมุนไพร ทดลองใช้กับคนเป็นเอดส์ เพราะไม่มีแรง

หลักสูตร EADP รุ่นที่ 10 ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)

ระหว่างวันที่ 10 - 13 กุมภาพันธ์ 2557

Assignment Schooling Business

จัดทำโดยกลุ่ม 2

ให้อ่านบทความเรื่อง Schooling Business เพื่อศึกษาและวิเคราะห์แล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้

คำถาม ข้อที่ 1.อ่านแล้วได้อะไร

คำตอบ

  • การทำธุรกิจลูกค้าคือพระเจ้า
    (ลูกค้ามีความสำคัญมากต่อผลการดำเนินงานขององค์กร และการเติบโตขององค์กรในอนาคต) ผู้บริหารขององค์กรต้องตอบสนองความต้องการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ตรงใจ ตรงประเด็น องค์กรต้องรู้จักใช้ระบบ
    Information Technology (IT) ให้เป็นประโยชน์สูงสุด
  • องค์กรต้องปรับตัวให้มีความยืดหยุ่น (Flexibility) ได้ สำหรับการหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ และการให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทั้ง Hard Skill และ Soft Skill
  • การสร้างให้ทีมงานเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและปลูกฝังให้สร้างวัฒนธรรมองค์กร (Corporate Culture) เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับองค์กร

คำถาม ข้อที่ 2.เกี่ยวข้องอะไรกับหลักสูตร EADP รุ่นที่ 10

คำตอบ

  • การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการสร้างผู้นำ/ทีมงานที่เป็น talent group ให้กับองค์กรเพื่อให้นำพาองค์กรไปสู่เป้าหมาย สร้างผลกำไรได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
  • การบริหารการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับการบริหารองค์กรในปัจจุบัน ความสามารถในการวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้น การหาแนวทางและมาตรการในการรับมือเพื่อให้องค์กรรักษาความเป็นผู้นำและโอกาสทางธุรกิจใหม่ การเพิ่มสามารถทางการแข่งขันให้กับองค์กรเป็นสิ่งที่ผู้นำองค์กรต้องเรียนรู้ให้เกิดทักษะและบริหารองค์กรในภาวะวิกฤติได้
  • การปรับตัว/ทีมงานให้เข้ากับสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเพื่อให้อยู่รอดได้โดยการใช้กลยุทธ์เพื่อระบุ/จำแนก/สรรหาวิธีการใหม่ๆ เพื่อให้แก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการของลูกค้า หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
    และการกระตุ้นให้พนักงาน/ทีมงานใช้ Soft Skill เพื่อผลักดันให้องค์กรพัฒนาแผนการดำเนินงานให้ธุรกิจประสบความสำเร็จโดยการใช้ทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

สรุปสาระสำคัญจากบทความเรื่อง Schooling Business

  • สถานการณ์การแข่งขันทางธุรกิจเป็นแรงผลักดันที่สำคัญให้ผู้นำ/ผู้บริหารขององค์กรต้องเรียนรู้
    และฝึกฝนทักษะสำหรับการบริหารธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
  • การสร้างทักษะในการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้กับองค์กรมีวัตถุประสงค์ คือ เพิ่มความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันให้กับองค์กรเพิ่มผลกำไรและเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด
  • การทำธุรกิจในโลกยุคใหม่ ต้องการ New Model ใหม่ในการดำเนินงานซึ่งผู้นำและผู้บริหารองค์กรจะต้องเรียนรู้เพื่อให้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ และสร้างทักษะใหม่ให้ทีมงาน/พนักงาน สามารถแข่งขันทางธุรกิจได้
  • แม้แต่สถาบันการศึกษาทางธุรกิจชั้นนำของโลกก็ยังต้องสร้างหลักสูตรให้สอดคล้องกับลูกค้าซึ่งเป็นบริษัทธุรกิจชั้นนำของโลก โดยการเปิดโอกาสให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในการคัดเลือกองค์ความรู้ที่ต้องการสำหรับการบริหารธุรกิจในปัจจุบันเพื่อช่วยให้องค์กรรักษาความเป็นผู้นำทางธุรกิจและสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
  • การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นกระบวนการที่สำคัญสำหรับการเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรในอนาคต
  • The custom approach คือการปรับให้ธุรกิจตอบสนองต่อความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้า
  • องค์กรในอนาคตจะต้องสร้างผู้นำที่มีความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้รวดเร็ว
    มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ได้เป็นอย่างดี เป็นองค์กรที่มีความยืดหยุ่นสูง
  • ผู้นำจะต้องเรียนรู้และพัฒนาเพื่อบริหารการเปลี่ยนแปลงและกำหนดมาตรการเพื่อรับมือกับผลกระทบที่เกิดขึ้น
  • สถาบันการศึกษาทางธุรกิจชั้นนำของโลกพยายามพัฒนาหลักสูตรบริหารธุรกิจเพื่อเสริมทักษะให้กับผู้นำองค์กร
    ทั้งหลักสูตรระยะสั้นและระยะยาว ให้กับองค์กรธุรกิจชั้นนำ โดยออกแบบวิธีการวัดผลและการไปปฎิบัติได้จริงในโลกธุรกิจ
  • การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ตลอดเวลาทำให้กระบวนการเรียนรู้ต้องเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและตอบสนองการเปลี่ยนแปลงได้
  • ผู้นำทางธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจะต้องให้ความสำคัญในเรื่องการพัฒนาคนขององค์กร
  • การนำระบบ IT เข้ามาช่วยในการบริหารธุรกิจและเข้าถึงลูกค้า
  • หลักสูตรการบริหารธุรกิจผ่านระบบ E-Learning สำหรับอนาคตเป็นการใช้
    ระบบ IT, tablet, smartphone และ mobile technology ทำให้ระบบและวิธีการศึกษาเปลี่ยนไป
    และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ จะต้องปรับตัวเพื่อรักษาความสามารถทางการแข่งขัน
  • ความสามารถที่จะแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว เพิ่มความเร็วในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นคุณสมบัติที่สำคัญมากสำหรับการทำธุรกิจในโลกอนาคต
  • Skillsoft เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาโดยใช้ทักษะภายใน เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงและช่วยให้องค์กรสามารถพัฒนากลยุทธ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลักดันให้ธุรกิจประสบผลสำเร็จอย่างยั่งยืนต่อเนื่อง

โดย นายสุทีป ธรรมรุจี หลักสูตร EADP รุ่นที่ 10 กลุ่ม 2

หัวข้อ Networking Capital กับการพัฒนาเพื่อประชาชน

โดยผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี และคณะวิทยากร

ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557

สิ่งที่ได้จากหัวข้อนี้

-การบริหารต้องมองไปอนาคตโดยวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค แล้วนำมาเป็นข้อมูลในการกำหนดยุทธศาสตร์ กรณีตัวอย่าง จ.กาญจนบุรี ทำให้สามารถกำหนดยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเป็นการท่องเที่ยว เกษตรอุตสาหกรรม และการประมงนำจืด โดยมีต้นทุนมาจากการมีแม่น้ำ เขื่อน และการบริหารจัดการน้ำที่ดี

-การประชาสัมพันธ์นอกจากจะสื่อถึงประโยชน์และความมั่นคงของเขื่อนแล้ว ควรจะต้องสื่อถึงความสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ เพื่อเป็นการสร้างความภูมิใจและการมีส่วนร่วมของประชาชน

-การจะทำกิจกรรมส่งเสริมด้านพลังงานในบริเวณใด ควรจะทำความเข้าใจกับชุมชนให้เข้าใจเป็นแนวทางเดียวกัน จะทำให้เกิดความร่วมมือร่วมใจ ลดการต่อต้าน

-แนวคิดระหว่างชุมชนกับ กฟผ. อาจจะไม่สอดรับกัน เช่น ชุมชนมองว่า กฟผ.มุ่งแต่จะผลิตพลังงานด้วยแนวคิดโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ แต่ชุมชนกลับมองว่า กฟผ.ควรจะเปลี่ยนความคิดเป็นโรงไฟฟ้าเล็กๆๆ หลายๆแห่ง

-การดำเนินการใดๆ ควรจะมีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด แต่ได้ประโยชน์สูงสุด และสร้างสิ่งแวดล้อมทดแทน

-กฟผ. ต้องทำความเข้าใจกับผู้มีส่วนได้เสียให้รอบด้าน ต้องใช้เวลา ยุทธวิธีและสร้างเครือข่าย เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน ผลกระทบและการต่อต้านก็จะลดน้อยลง

-วิธีการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา ดีกว่า การเข้าไปแก้ปัญหาเมื่อเกิดขึ้นแล้ว

-ความเชื่อใจเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากที่สุด

หัวข้อ HR for Non HR และการปรับใช้กับงาน CSR ของ กฟผ.

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557

สิ่งที่ได้จากหัวข้อนี้

-คน คือ ทรัพยากรที่สำคัญ มีศักยภาพ มีภาวะของการเป็นผู้นำ ความนึกคิดและความคิดสร้างสรรค์

-Line Manager is a HR Manager

-HR for Non HR เป็นการพัฒนาบุคลากรในระดับบริหาร หัวหน้างาน ให้มีขีดความสามารถในการบริหารจัดการ มีเครื่องมือในการบริหารจัดการระบบ บริหารงาน บริหารคน และสร้างแรงจูงใจ เพื่อการพัฒนาคนและองค์กรอย่างยั่งยืน

-Work life balance หมายถึง สมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิตด้านอื่นๆ โดยมีแนวทางดังนี้

1.ให้ความสำคัญกับการบริหารเวลาอย่างยิ่งยวด การบริหารเวลาที่มีประสิทธิภาพนั้นเป็นสิ่งที่ต้องฝึกฝนและอาศัยประสบการณ์ สิ่งที่ต้องเริ่มทำ คือ เปลี่ยนทัศนคติในการใช้เวลา โดยให้ความสำคัญกับการบริหารเวลามากขึ้นเท่าๆกับที่ต้องใส่ใจในงานที่รับผิดชอบ แล้วจะพบว่าในวันหนึ่งๆจะมีเวลามากพอที่จะทำเรื่องอื่นนอกเหนือจากการทำงาน

2.รักษาสุขภาพคืองานอย่างหนึ่ง ช่วงที่มีสุขภาพแข็งแรงไม่เจ็บป่วยมักจะลืมการรักษาสุขภาพ ลืมความเสียหายที่จะเกิดขึ้นเมื่อล้มป่วย เมื่อมีสุขภาพกายที่ดี มีสมองที่แจ่มใส มีสติและสมาธิ ต้นทุนของเราก็พร้อม เรื่องต่างๆก็เดินหน้าไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.เพิ่มความยืดหยุ่นให้การทำงานและสมดุลของชีวิต เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงใดๆได้ตลอดเวลา

หัวข้อ เทคนิคการนำเสนออยเงทรงพลังและประทับใจ

โดย อ.จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล

ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557

สิ่งที่ได้จากหัวข้อนี้

-การนำเสนอต้องอาศัยท่าทางประกอบ (ภาษากาย) ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกจดจำได้ง่าย

-การนำเสนอต้องเป็นสิ่งที่เรามีความรู้จริง

-ข้อมูลในการนำเสนอต้องกระชับ และอธิบายให้เข้าใจไปในแนวทางเดียวกัน

-การนำเสนอที่ดีต้องสามารถแก้ไขปัญหาในสถานะการณ์คับขันได้ดี

-การนำเสนอในเรื่องเดียวกัน จะได้ผลลัพธ์ของการรับรู้และการมีส่วนร่วมของผู้รับฟัง แตกต่างกันขึ้นอยู่กับ ท่าทางการนำเสนอ และน้ำเสียงของผู้นำเสนอ

หัวข้อ นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน (Social Innovation) กับการทำงานของ กฟผ.

โดยครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ และคณะวิทยากร

ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557

สิ่งที่ได้จากหัวข้อนี้

-การพัฒนาชุมชน ต้องเป็นสิ่งที่ง่าย กระตุ้นให้เกิดความอยากทำ เห็นผลในระยะเวลาสั้น ใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่น ปรับปรุงเพิ่มเติมคุณค่าด้วยความรู้พื้นบ้านอื่นๆ เพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่เกิดขึ้น เป็นการขยายผล แล้วใช้สังคมออนไลน์กระจายความรู้ต่อยอดเป็น Social Innovation เปรียบเทียบได้กับหลักการ Networking และ 2R คือสร้างเครือข่าย มองความจริง และตรงประเด็น

-CSR ของ กฟผ. ที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ถ้าพูดเป็นภาษาวัยรุ่น ก็คือ ยังไม่โดน ซึ่งอาจเป็นเพราะ กฟผ. คิดเข้าข้างตัวเองว่า ทำ CSR แล้ว ได้รับรางวัลแล้ว มี Best Practice แล้ว ดีแล้ว แต่ทำไมยังถูกต่อต้าน ต้องหาจุดโฟกัสให้พบ ซึ่งเมื่อพบแล้วอาจจะได้คำตอบสำหรับทำ CSR ตามที่ชุมชนต้องการ

หลักสูตร EADP รุ่นที่ 10 ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)

ระหว่างวันที่ 10 - 13 กุมภาพันธ์ 2557

Assignment เรื่อง CSR Innovation ของ กฟผ.หลังจากการดูงานแล้ว จะดำเนินการต่อหรือไม่ อย่างไร

จัดทำโดยกลุ่ม 2

คำตอบ

นวัตกรรมด้าน CSR ประกอบด้วย ศึกษาความต้องการและความคาดหวังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อกฟผ. โดยเฉพาะชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ที่ต้องการดำเนินโครงการ

  • 1.การจัดทำแผนงานเพื่อนำไปปฏิบัติ
  • 2.ทำจากภายในสู่ภายนอก
  • 3.ทำกิจกรรม CSR และประชาสัมพันธ์
  • 4.การประเมินผล/Audit
  • 5.ปรับปรุง/แก้ไข

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ

  • ต้องมีองค์ความรู้เพื่อดูแลให้เกษตรกรและชุมชน
    สามารถดำรงชีวิตได้อย่างเป็นสุข ทั้งก่อนและหลังมีโครงการของ กฟผ.
  • การสร้างความเข้าใจกับชุมชนและเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพิจารณาทุกขั้นตอนของ การพัฒนาโครงการ CSR
  • การสร้างความสมดุลในการใช้ทรัพยากรในพื้นที่ ทั้ง กฟผ. ชุมชน สังคม และผู้มีส่วนได้เสีย
    ทุกภาคส่วนให้สามารถอยู่รวมกันได้อย่างมีความสุขและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
  • การสนับสนุนภูมิปัญญาท้องถิ่นและองค์ความรู้ที่มีอยู่เดิมที่เหมาะสมกับชุมชนในพื้นที่
    นั้น ๆ เช่น การเพาะ/พัฒนาพันธ์/แปรรูป สมุนไพรพื้นบ้านผลไม้พื้นบ้านที่มีประโยชน์ในการรักษาโรค ได้หลากหลายชนิด และบำรุงสุขภาพ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับ เกษตรกรในพื้นที่
  • กฟผ.ให้การสนับสนุนโครงการ CSR ได้แก่

1.สร้างเครือข่ายเพิ่มองค์ความรู้

2.การหาสถานที่เพื่อจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์

3.การหาตลาดให้ทั้งส่วนกลางและภูมิภาค

4.ประชาสัมพันธ์โครงการ CSR

5.ประสานงานกับเจ้าหน้าที่จากภาครัฐ เช่น เกษตรอำเภอ เกษตรจังหวัด นักวิชาการเกษตร เป็นต้น

6.รวบรวมงานวิจัยที่เกี่ยวข้องให้เป็นศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและปรับใช้กับท้องถิ่นอื่นๆ ที่เหมาะสม

  • กำหนดเป้าหมายโครงการ CSR เพื่อสร้างความรู้ให้กับเกษตรกรและชุมชนนำไปใช้ปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้
    เพื่อลดค่าใช้จ่าย เพิ่มรายได้ และปรับปรุงคุณภาพชีวิตของชุมชนและสังคมทั้งก่อนและหลังมีโครงการของ กฟผ.
  • เน้นการสร้างความเข้มแข็งการสร้างเครือข่ายชุมชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการทำโครงการ CSR
  • การกระตุ้นให้เกษตรกร และ ชุมชนเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม
  • เน้นโครงการที่ได้ผลไว เห็นผลชัด สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
  • สามารถพัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องได้อย่างต่อเนื่อง
  • เน้นการพัฒนาคนในชุมชนให้แลกเปลี่ยนความรู้ข้อมูล ระหว่างกัน และเปรียบเทียบทดลองจนเห็นผลดี ผลเสีย เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่
  • เน้นโครงการพึ่งพาตนเองภายในชุมชนที่ทำได้ง่าย วัดผลได้จริง

โดย นายสุทีป ธรรมรุจี หลักสูตร EADP รุ่นที่ 10 กลุ่ม 2

หัวข้อ การสร้างเครื่องมือและการสุ่มตัวอย่าง และสถิติเบื้องต้นสำหรับการทำวิจัย

โดยอาจารย์กิตติ ชยางคกุล

ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557

สิ่งที่ได้จากหัวข้อนี้

การระดมสมองในการวิเคราะห์หาปัญหาซึ่ง กฟผ. จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยหาว่าปัญหาดังกล่าวเกิดจากเหตุใด กระทบ กฟผ. มากเท่าไร ปัญหามีความสัมพันธ์กับภาระกิจหลักอย่างไร และมีความเหมาะสมเพียงใดที่จะทำการวิจัย สอดรับกับแนวทาง 2R คือสร้างมองความจริง และตรงประเด็น

หัวข้อ ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรและพลังงานทางเลือก

โดย คุณทิวาพร ศรีวรกุล คุณยุทธการ มากพันธุ์

ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557

สิ่งที่ได้จากหัวข้อนี้

-ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม เป็นศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำเกษตรอินทรีย์แบบธรรมชาติ เปิดเป็นศูนย์ฝึกอบรมด้านปฏิบัติการ มีการลงแปลงสาธิตจริง สามารถนำกลับไปทำเองได้ เน้นการพึ่งพาตนเองอย่างเป็นระบบ และมองการเชื่อมโยงของปัจจัยต่างๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง หวังให้เป็นอีกทางเลือกของความอยู่รอดของชุมชน

สำหรับการฝึกอบรมและให้ความรู้ด้านการทำการเกษตรแบบยั่งยืน โดยแบ่งฐานเรียนรู้ทั้งหมดออกเป็นแต่ละฐาน ตัวอย่างเช่น ฐานเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง จะชี้แนวทาง “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” เน้นการผลิตให้เพียงพอกับความต้องการบริโภคในครัวเรือนเป็นหลัก เหลือจากการบริโภคจึงคิดถึงการผลิตเพื่อการค้า โดยสร้างสิ่งอุปโภคบริโภคในที่ดินของตนเอง เช่น ข้าว น้ำปลา ไก่ ผลไม้ พืชผัก เป็นต้น เป็นแหล่งข้อมูลด้านเกษตรพื้นบ้าน เช่น ฟักข้าว หรือ แก็ก (Gac เวียดนาม) สารอาหารที่พบมากใน "ฟักข้าว" ก็คือ เบต้าแคโรทีน มีปริมาณสูงกว่าแครอทถึง 10 เท่า ในเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวสีแดงมีไลโคปีนมากกว่ามะเขือเทศถึง 12 เท่า ซึ่งก็ถือว่ามากแล้วเป็นสารต้านมะเร็ง มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะอาหาร

-ศูนย์กสิกรรมท่ามะขาม จ.กาญจนบุรี เป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของหญิงแกร่งที่พยายามพลิกฟื้นผืนดินและสร้างอาชีพให้แก่ ชาวบ้านสามารถพึ่งตนเองได้ ตามแบบฉบับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เฟ้นภูมิปัญญาชาวบ้านมาประยุกต์ให้ชุมชนอยู่ดีมีสุข

-พลังงานทดแทน เช่น โซลาร์เซลล์ กังหันลม

-ศักยภาพของพลังงานทดแทนในประเทศไทยที่มีจำนวนมากและไม่มีวันหมด ไม่ว่าจะเป็น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานจากพืชทางการเกษตรอย่าง ไบโอแมส จำพวก แกลบ อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด ปาล์ม พลังงานไบโอแก๊ส ก็จะได้จากของเหลือทิ้ง เศษอาหาร มูลสัตว์ น้ำเสีย เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้หากนำมาพัฒนาต่อยอดให้เป็นวงจรพลังงานหมุนเวียนหรือคิดค้นเทคโนโลยีขึ้นมาเองก็จะช่วยให้มีพลังงานใช้ได้อย่างยั่งยืน

-ปลูกฝังการใช้พลังงานทดแทนจากชุมชนเล็กๆ ด้วยการส่งเสริมชาวบ้านต่อยอดพัฒนาจากไบโอก๊าซ ก๊าซชีวมวล เช่น เตาชีวมวล หรือไบโอก๊าซจากฟาร์มหมู ให้ชาวบ้านรู้สึกใกล้ชิดกับพลังงานทดแทน ใช้ประโยชน์จากของเสียในบ้าน เมื่อมีการปลูกฝังความรู้ในการใช้พลังงานหมุนเวียนให้กับชาวบ้านแล้ว "วันหนึ่งเมื่อชาวบ้านรู้จักใช้ก๊าซภายในบ้านได้ คาดว่าอีกสิบปีชาวบ้านจะรู้จักใช้ไบโอก๊าซจนสามารถผลิตไฟฟ้าใช้เองได้ "

-นี้เป็นแนวความคิดที่กว้างไกลของคนตัวเล็กๆ ที่พร้อมจะพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานทดแทนให้เติบโตและขยายผลสู่ชุมชน สู่ตำบล สู่เมือง

Lesson Learn on 10 Feb,2014

ธรรมชาติบำบัดและวารีบำบัด เป็นศาสตร์ที่มีมาแต่โบราณ โดยปัจจุบันบัลวีได้นำมาประยุกต์ใช้ในการดูแลรักษาตนเองแบบง่ายๆและหลีกเลี่ยงการใช้ยาแผนปัจจุบัน ซึ่งมีโทษมหันต์คู่กับคุณอนันต์ เช่น การลดน้ำหนักทำได้ง่ายๆเพียงปรับพฤติกรรมการกิน งดแป้งและคาร์โบไฮเดรตทุกประเภท ลดอาหารและขนมหวาน รวมทั้งผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง , ออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย การแอโรบิคในน้ำจะช่วยลดการกระแทกและบาดเจ็บของกล้ามเนื้อได้อย่างดี การยืดเส้นแบบเบาๆ การอบเซาน่า การอาบแสงตะวันโดยมีใบตองคลุมเพื่อเพิ่มพลังจากแสงสีเขียวแก่ร่างกาย ..... ผู้บริหารมักมีความเครียดจากงานและมักละเลยการดุแลสุขภาพตนเอง จึงควรปรับสมดุลย์ชีวิตด้วยการบำบัดแบบธรรมชาติอย่างสม่ำเสมอด้วย

Lesson Learn on 11-12 Feb,2014

นวัตกรรมเพื่อสังคมและการสร้างศรัทธาจากมหาชน ต้องทำอย่างมียุทธศาสตร์ ควบคู่กับการสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนและสังคมรอบข้างทุกมิติ ไม่ควรคิดและเสนอ CSR แก่สังคมชุมชนโดยเอาหน่วยงานตนเองเป็นตังตั้ง ควรมองแบบ community-centered และให้ชุมชนร่วมคิดร่วมทำร่วมปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามวิถีของชุมชนเอง เราเพียงแต่สร้างความอยากรู้ และกระตุ้นความคิดให้ชุมชน เช่น กรณี one manager, one community ของ SCG โดย นำหลัก HR for Non-HR มาเชื่อมโยงสู่ CSR ต้องเป็น strategic partners from outside in และให้ stakeholder มาร่วมเป็น Co-creation ด้วย

HR Quotations:

Dr.Jira. " คนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในปัจจุบัน ควรมองจาก macro สู่ micro"

Jack Welch "Change before you are forced to change"

Antony Robbins. "People have unlimited potential"

ประสิทธิ์ เลาหวิรภาพ

Assignment - EADP10 สำหรับการบรรยายวันที่ 10-13 กุมภาพันธ์ 2557

วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2557 08:00 – 17:00

กิจกรรมรักษ์กาย

วิทยากร: นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล

พญ.ลลิตา ธีระสิริ

ธรรมชาติบำบัดคือการการรักษาแบบไม่ได้ใช้ยา ใช้การปรับพฤติกรรมแล้วโรคภัยหายเอง

โรคความเสื่อมไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ปัจจุบันที่พบเช่น โรคอ้วน เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ไตวาย มะเร็ง เป็นต้น

โรคอ้วนสามารถแก้ได้โดยการปรับพฤติกรรมการกิน ศัตรูตัวร้ายของความอ้วนคือ แป้ง จึงต้องลดอาหารประเภทแป้งและให้กินโปรตีนและผักแทน ผลไม้ก็ไม่ควรกินมากเพราะอาจทำให้ได้รับน้ำตาลมากเกินไป การดูว่าเข้าสู่ภาวะอ้วนหรือยังให้ดูค่า BMI คือน้ำหนักเป็นกิโลกรัมหารด้วยส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง หากมากกว่า 25 ถือว่าเริ่มอ้วน

อัตราส่วนระหว่างพุงกับสะโพกต้องควบคุมไม่ให้พุงใหญ่กว่าสะโพก

การที่มีไขมันมากเกินไปจะทำให้ร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนที่จำเป็นหลายๆตัว เช่นฮอร์โมนสำหรับทำให้อิ่ม ฮอร์โมนกำจัดมะเร็ง ฮอร์โมนที่ทำให้อ่อนเยาว์

ยาลดไขมันมีอันตรายมากเนื่องจากจะไปดักจับไขมันในเลือดและเก็บไว้ที่ตับ นานไปจะทำให้ตับมีปัญหาได้

การบำบัดโรคด้วยน้ำมีใช้ในหลายๆ ที่ในโลก เช่น จีน อินเดี ฟินแลนด์ ไทย

เม็ดเลือดขาวจะทำหน้าที่ได้ดีเมื่ออุณหภูมิในร่างกายสูงกว่า 37C การซาวน่าคือการกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวโดยการใช้อุณหภูมิ เช่นเดียวกับการอบสมุนไพร

วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557 10:30 – 12:00

นวัตกรรมเพื่อสังคมและการสร้างศรัทธาจากมหาชน

วิทยากร: นายชัยวัฒน์ ลิมป์วรรณธะ

นายธนรัชต์ ภุมมะกสิกร

นายทรงวุฒิ ศีลแดนจันทร์

นายปณต สังข์สมบูรณ์

นายยุทธการ มากพันธุ์

อาจารย์จรัญ เสือผู้

นายคเชนทร์ พูนจันทร์

กาญจนบุรีเป็นจังหวัดที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ พื้นที่ 2 ใน 3 เป็นพื้นที่อนุรักษ์ มีจุดต่อท่อกาซธรรมชาติจากพม่าที่บ้านอีต่อง เป้นแหล่งต้นน้ำ

ยุทธศาสตร์ของจังหวัดคือ

  • 1.การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
  • 2.การเกษตรอุตสาหกรรม
  • 3.การค้าระหว่างประเทศ

โดยจะมีการปรับผังเมืองเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาตร์ คือ

โซน 1 เมืองเก่า (ถนนแสงชูโต) อนุรักษ์ไว้เป็นแหล่งท่องเที่ยว

โซน 2 เมืองใหม่ (ถนนบายพาส) สำหรับการพัฒนา

โซน 3 เขตเศรษฐกิจ (มอเตอร์เวย์) สำหรับการขนส่งสินค้า

โครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก กฟผ

  • 1.ชีวะวิถี ทำให้คนได้กลับท้องถิ่น และเป็นแหล่งศึกษาดูงาน
  • 2.ฝายชะลอน้ำ ส่งเสริมการท่องเที่ยว อนุรักษ์น้ำ ปัจจุบันชุมชนได้มีส่วนร่วมในการทำฝาย
  • 3.ปล่อยปลาหน้าเขื่อน ได้รับความสนใจจากนักตกปลา
  • 4.คืนรักบนสันเขื่อน เพื่อประชาสัมพันธ์และแก้ข่าวลือเรื่องความแข็งแรงของสันเขื่อน

เครือข่ายชุมชนต้องมีการพัฒนาร่วมกันจากทุกภาคส่วน ทั้ง กฟผ รัฐ ธนาคาร และชุมชน การสร้างเครือข่ายชุมชนเป็นการลงทุนระยะยาว วัดผลค่อนข้างยาก ผู้ปฏิบัติต้องมีความเชื่อมั่น อดทน ยึดมั่นต่อความรับผิดชอบต่อสังคม ที่จะสร้างรายได้ ให้ชุมชน เน้นให้การศึกษา และต้องกระทบสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด มีการติดตามประเมินผล เพื่อดูว่าตอบโจทย์และเป็นที่ต้องการของชุมชนจริงๆ มุ่งสร้างประโยชน์ จริงใจ มีมิตรภาพ โปร่งใส และเปิดเผยข้อมูล

วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557 13:30 – 17:00

HR for Non HR และการปรับใช้งาน CSR ของ กฟผ

วิทยากร: ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

“New CEO – Microsoft: Curiosity and thirst for learning”

“Comparative advantage of countries / economics depend on the quality of the human resource”

“Change before you are forced to change”

การบริหารทุนมนุษย์เป็นเรื่องสำคัญและจำเป็น ต้องมองจาก Macro สู่ Micro ปัจจุบัน Line Manager (Non H/R) ต้องมีหน้าที่และมีบทบาทในด้านนี้มากขึ้น

H/R Comparison

Old New
Routine

H/R Department

Training

Expense

Static

Information

Stand Alone

Efficiency

Value

Command / Control

Micro

Red Ocean

Liability

Strategic

CEO + Other Department

Learning

Investment

Change Management

Knowledge

Partnership

Effectiveness

Value Added

Respect / Dignity

Macro to Micro

Blue Ocean

Asset

การบริหารทุนมนุษย์ให้ประสบผลสำเร็จประด้วย การปลูก การเก็บเกี่ยว และการลงมือปฏิบัติ ในการจัดการเรื่องคนต้องมีความละเอียดอ่อน ปัจจุบันเรื่องทุนมนุษย์ได้ถูกมองว่าเป็น Asset จากเดิมที่มองว่าเป็นค่าใช้จ่าย ผู้บังคับบัญชาถือว่าต้องดูเรื่อง HR ด้วยแต่ต้องไม่ให้ทับซ้อนกับ HR Department

เรื่อง Non HR HR
Policy

การบริหารพนักงาน

HR Service

Partner

Owner

Customer

Partner

Support

Service

HR มีหน้าที่ต้องทำให้ความต้องการของพนักงงานสอดคล้องกับนโยบายขององค์กรCEO คือกัปตันเรือที่คอยกำหนดทิสทางอย่างมีวิสัยทัศน์ มีความเป็นผู้นำและที่เชื่อถือของพนักงาน ที่สำคัญต้องมีเครือข่ายซึ่งจะช่วยให้องค์กรได้เปรียบคู่แข่ง

วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557 09:00 – 12:00

Art & Feeling Presentation

วิทยากร: อาจารย์

สิ่งที่เราจินตนาการในวัยเด็ก จะส่งผลถึงสิ่งที่เราทำอยู่ในปัจจุบัน จินตนาการจากสมองซีกขวา ช่วยให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

  • §Expert จะคิดไตร่ตรองตามหลักและเหตุผลก่อนลงมือปฏิบัติ
  • §Beginner Mind จะทดลองลงมือทำเลย

สิ่งที่สามารถดึงดูดผู้ฟังในการสื่อสารได้นั้นแบ่งเป็น ภาษากาย 55% ภาพูด(เนื้อหา) 7% และน้ำเสียง 38%

ผู้นำเวลาจะสื่อสารออกไปต้องทำตัวให้เหมือนดาวฤกษ์เจิดจรัส การที่ต้องแสดงออกในที่สาธารณะคือการออกจาก Comfort Zone มาที่ Champion Zone สิ่งที่สำคัญในการนำเสนอประกอบด้วย Content และ Presenter

วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557 13:30 – 17:00

นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน (Social Innovation)

วิทยากร: ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์

นายรังสรรค์ อัฐมโนลาภ

นายสุทธิเดช สุทธิสมณ์

นโยบายหรือแนวคิดในการดำเนินงานด้าน CSR ของ กฟผ ต้องคำนึงถึงสังคม เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน และสามารถป้องกันบรรเทาภัยหรือผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยเริ่มจากการวิเคราะห์หาความต้องการที่แท้จริงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จากนั้นจึงมากำหนดแนวทางในการปฏิบัติดังนี้

  • §รวมแผนแล้วแยกปฏิบัติ
  • §CSR จากภายในสู่ภายนอก (ผู้ปฏิบัติต้องมีจิตเป็น CRS ก่อน)
  • §ประชาสัมพันธ์
  • §ประเมินผล
  • §ปรับปรุง

การเข้าหาชุมชนเป็นเรื่องสำคัญ โครงการควรเห็นผลสำเร็จในเวลาอันสั้น เช่นสอนปลูกเห็นก่อนจึงค่อนสอนเพาะเชื้อ อาจไม่จำเป็นต้องเป็นการเรียกประชุม แต่ใช้การพบปะพูดคุยกับชาวบ้าน การพัฒนาคนที่ไม่อยากพัฒนาจะเป็นเรื่องยากในการปฏิบัติ หัวใจของการพัฒนาชุมชนคือการทำให้ชุมชนเป็นสังคมแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

Social Innovation คือสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วเป็นประโยชน์และเป็นที่ต้องการของชุมชน ต้องเป็นเรื่องใหม่หรือเป็นความรู้ใหม่ที่ตรงกับปัญหาและสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน (Creativity + Knowledge => Turn into Action)

วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557 08:00 – 15:00

CSR: ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม

กระบวนการในการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงประกอบไปด้วย

  • §กล้าตั้งเป้าหมายการเปลี่ยนแปลง
  • §หาข้อมูลเพื่อใช้ในการเปลี่ยนแปลง
  • §วางแผน
  • §ลงมือทำ
  • §หาความรู้เพิ่มเติม
  • §พัฒนาอย่างต่อเนื่อง

การลดรายจ่ายเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นสำหรับในการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ โดยต้องเริ่มจากการหาปัญหาหรือทุกข์ของตัวเองให้เจอก่อน

การยกระดับความเชื่อมั่นในใจตัวเองและเห็นคุณค่าของตัวเอง ต้องไม่ประเมินตัวเองจากวัตถุภายนอก ก็จะช่วยให้เกิดความมั่นใจในการดำเนินการต่างๆ

ในการบริหารจะต้องเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ก็จะทำให้ได้ข้อมูลครบและช่วยให้สามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง

หัวข้อ การจัดทำโครงงานเชิงการวิจัย..ภายใต้แนวคิดหลัก

“วิเคราะห์อนาคต กฟผ. ปี 2020 กับแผนการเตรียมความพร้อม”

กลุ่ม 7 ขอเสนอหัวเรื่อง “ปัญหาความล่าช้าในการก่อสร้างระบบส่งของ กฟผ. : ศึกษากรณีการได้มาซึ่งที่ดิน”

(จากเดิมที่เคยเสนอหัวเรื่อง “การพัฒนาระบบส่งไฟฟ้าให้มีความมั่นคงและเพียงพอกับความต้องการในปี 2020”)

จิราพร ศิริคำ ฝ่ายวางแผนระบบไฟฟ้า

ประเด็นการเรียนรู้ในการอบรมในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557

หลังจากเมื่อวานนี้ ที่ได้เรียนเรื่อง นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน (Social Innovation) กับการทำงานของ กฟผ. วันนี้ก็ได้ออกไปทำกิจกรรม CSR ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม (ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรเเละพลังงานทางเลือก) จ. กาญจนบุรี

เมื่อเดินทางไปถึงก็ได้พบว่า ที่ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม เป็นสถานที่ในการจัดอบรม ให้ความรู้กับชาวบ้าน ชุมชนต่างๆ ในเรื่องการพัฒนาชีวิต ความเป็นอยู่ และ ปลูกฝังแนวคิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การเกษตร การเกษตรอุตสาหกรรม รวมถึงเทคโนโลยีการเกษตรเเละพลังงานทางเลือก โดยมีผู้นำชุมชน และทีมงาน เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ โดยเฉพาะ แนวคิดต่างๆ และพบว่า สิ่งที่ผู้นำชุมชนจะแนะนำชาวบ้านเพื่อหา “ความสุข” นั้น มีแนวทางการดำเนินการ ตามขั้นตอน ดังนี้

1. ต้องกล้าตั้งเป้าหมาย การเปลี่ยนแปลง

2. ต้องมีข้อมูลมาช่วยวางแผน

3. ต้องมีการวางแผนขยายโอกาส ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้

4. ต้องลงมือทำ (เป็นขั้นตอน 1 -> 2 -> 3 -> 4)

5. ต้องหาความรู้เพิ่มเติม

6. ต้องมีการพัฒนาต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับสมุนไพรพื้นบ้าน ซึ่งหลายๆชนิด ก็เป็นหญ้า วัชพืช ที่เราเคยเห็น เมื่อตอนเด็กๆ (แต่ไม่ทราบว่า สามารถนำมาใช้แทนยาได้).....

หลังจาก พี่ๆ เพื่อนๆ กลับ กฟผ. บางกรวย เราได้ไปเยี่ยมชม ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. “อาคารราชานุรักษ์” ที่เขื่อนศรีนครินทร์ ซึ่งอยากจะบอก พี่ๆ เพื่อนๆ และทีมงาน Chira Academy ด้วยค่ะว่า น่าเสียดายมากที่ไม่ได้จัดโปรแกรม ให้ EADP#10 เข้าเยี่ยมชม แต่ไม่เป็นไรค่ะ หากมีโอกาส ขอเชิญทุกๆท่าน ไปเยี่ยมชม ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. “อาคารราชานุรักษ์” ที่เขื่อนศรีนครินทร์ นะค่ะ ไม่ผิดหวัง แน่นอนค่ะ (อขศ. รับรองค่ะ)

เพื่อสืบสานพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการอนุรักษ์ พัฒนา ใช้ประโยชน์ทรัพยากรของประเทศอย่างยั่งยืน นำไปสู่เศรษฐกิจพอเพียง กฟผ. จึงได้สร้างศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. “อาคารราชานุรักษ์” เพื่อสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)

กฟผ. ได้ขอพระราชทานพระราชานุญาตเข้าร่วมสนองพระราชดำริฯ โครงการ อพ.สธ. ตั้งแต่ปี 2548 ภายใต้วิสัยทัศน์ “อนุรักษ์พันธุกรรมพืชป่ารอบเขื่อนอย่างเห็นคุณและรู้ค่า” ผ่าน 3 กิจกรรม คือ

1) กิจกรรมปกปักพันธุกรรมพืช โดยการจัดสรรพื้นที่ในความรับผิดชอบดูแลของเขื่อนต่างๆ 11 แห่งทั่วประเทศ รวมเนื้อที่ 21,084 ไร่ ให้เป็นพื้นที่ปกปักรักษาพันธุกรรมพืชดั้งเดิม สำหรับทำการศึกษาและนำมาใช้ประโยชน์

2) กิจกรรมปลูกรักษาพันธุกรรมพืช โดยจัดให้มีแปลงปลูกรักษาพันธุกรรมพืชตามเขื่อนและโรงไฟฟ้ารวมเนื้อที่ 996 ไร่ เพื่อรวบรวมพืชสมุนไพรและพืชอาหารสายพันธุ์ดั้งเดิมของท้องถิ่นมาปลูกรักษาไว้เพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์และพัฒนา

3) กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช โดยดำเนินงานที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของ อพ.สธ. เช่น ถ่ายทอดความรู้และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรของประเทศ เป็นต้น

“อาคารราชานุรักษ์” ที่ กฟผ. จัดสร้างขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรประเทศ และเพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ให้ประชาชนตระหนักในการช่วยกันอนุรักษ์พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติของประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั้น ภายในอาคารประกอบด้วย ห้องฉายภาพยนตร์ “ขุมทรัพย์ของชาวไทย” และ โซนสื่อจัดแสดง 5 โซน ที่ทันสมัยและน่าเข้าชม คือ

1. โซนสำรวจผืนป่าตะวันตก

2. โซนขุมพลังที่ไม่มีวันหมด

3. โซนแสงนำทางแห่ง การอนุรักษ์

4. โซนพระปณิธาน และ

5. โซนอีกหนึ่งการอนุรักษ์ที่ตัวคุณ

นับเป็นศูนย์เรียนรู้ที่น่าสนใจสำหรับเยาวชนและประชาชนทั่วไปที่มาท่องเที่ยวเขื่อนศรีนครินทร์ได้มีโอกาสเข้าชมได้

ในเรื่องการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชและทรัพยากรที่ กฟผ. ดำเนินงานในเขื่อนต่างๆ เป็นเวลากว่า 9 ปี นอกจากนั้น ยังมีส่วนเกี่ยวกับ การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงต่างๆ ปัจจัยเสี่ยงการเกิดแผ่นดินไหว รวมทั้งการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชตามเขตเขื่อนโรงไฟฟ้าต่างๆ ของ กฟผ.

จิราพร ศิริคำ ฝ่ายวางแผนระบบไฟฟ้า


สรุปโดยทีมงานวิชาการ Chira Academy

บรรยายเรื่อง เกษตรทางเลือกและเรื่องเครือข่ายชุมชน

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557

โดย อาจารย์ทิวาพร ศรีวรกุล

ผู้อำนวยการศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม

ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม ส่งเสริมการเรียนรู้ของเกษตรกร มีการเรียนรู้แบ่งเป็นฐาน

ฐานที่ 1 เศรษฐกิจพอเพียง

ฐานที่ 2 หมูหลุม หมูรุ่นลูกจะดก นิสัยหมูส่วนใหญ่จะดุน เนื่องจากมีจมูกดมกลิ่นดี การเลี้ยงหมูหลุมมีข้อดีคือไม่มีกลิ่น

ศูนย์ปราชญ์ จริง ๆ แล้วเป็นเรื่องของสิ่งที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน เรื่องที่สอนคือเรื่องลดรายจ่าย จึงเป็นหลักการสำคัญที่สามารถบริหารจัดการตัวเองได้

มีเกษตรจังหวัด เกษตรตำบล และเกษตรกรในพื้นที่เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จึงเกิดแนวคิดชาวบ้านสามารถบอกชาวบ้านได้เรียกว่าศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน

เป้าหมายที่เกษตรกรมาอบรม

- เกษตรกรที่เข้าโครงการพักชำระหนี้

วันแรก เป็นเวทีค้นหาทุกข์ทำอะไรให้รู้จักตัวตนของเขาเอง เข้าหลักพุทธศาสนาคือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ต้องดึงให้เกษตรกรเห็นปัญหา แล้วจะแก้ไขปัญหาได้อย่างไร

วันต่อมา เน้นเรื่องการดึงศักยภาพของเกษตรกรออกมาให้ได้ ปัจจุบันเกษตรกรอยู่ในสถานะที่คนไม่ให้ความสำคัญทั้ง ๆ ที่เขามีความสำคัญมากที่สุด ต้องให้เขาเข้าใจสถานะและยกระดับจิตใจให้ได้ หน้าที่คือสร้างความเชื่อมันให้เกษตรกรให้ได้ เพราะคุณค่าของเกษตรกรเป็นเรื่องใหญ่ แต่ปัจจุบันให้ความสำคัญกับวัตถุภายนอกมากกว่าความรู้สึกทางจิตใจ สังคมที่ดีต้องสร้างความเข้าใจ และเห็นอกเห็นใจ และเป็นธรรม แต่ถ้าคนไม่เข้าใจสถานะที่แท้จริง

พื้นฐานความเข้าใจร่วมกัน ไม่ได้มีสถานะและบทบาทเป็นเพียงหน่วยเศรษฐกิจและธุรกิจที่มุ่งที่กฎหมายหรือเงินตราเป็นใหญ่ แต่ถ้าประเทศมีความหมาย มีคุณค่าเป็นหน่วยสังคมชีวิต ดำรงอยู่อย่างยั่งยืน ตั้งแต่ครอบครัวหมู่คณะ กลุ่ม ประเทศ ระดับโลก กิจกรรมสังคมในส่วนที่เรียกว่าเศรษฐกิจจึงประกอบเป็นเพียงกลไกหนึ่งในระบบและสังคมเท่านั้น ย่อมมีบทบาทรับใช้สังคมโดยรวม แต่ไม่ใช่วันนี้สังคมมนุษย์ต้องถูกบั่นทอนลดคุณค่าเป็นเครื่องมือรับใช้เศรษฐกิจอย่างเช่นปัจจุบัน แต่ขณะเดียวกันเศรษฐกิจถูกบั่นทอนลดสถานะทางเศรษฐกิจขาดหนทางเศรษฐศาสตร์

สรุปคือ ไม่ว่าจะทำอาชีพอะไร ทำอะไรอยู่สถานะไหน ไม่แตกต่าง เพราะเราอยู่ในสังคมนี้ ในวันนี้ที่ทำให้ประเทศเพี้ยนไป ถ้าผู้บริหารของประเทศขันอาสาไปช่วยจัดการบริหารประเทศให้มีการบริหารจัดการอย่างยุติธรรม มีกฎหมายบังคับใช้ แต่ปัจจุบันสังคมกำลังเพี้ยน เพราะโครงสร้างเอาอำนาจ งบประมาณ มีวัตถุนิยมมาครอบครอง อย่างไรก็ตาม ทุกส่วนสำคัญหมดเพียงแต่ว่าจะจัดสมดุลอยู่ตรงไหน ถ้าสุดโต่งมันจะเอียง ไม่ยุติธรรม ไม่สมดุล วันนี้เราลืมสถานะตนเองไป ลืมความเป็นมนุษย์ ถ้าเราเข้าใจว่ามาจากที่ไหน ไปที่ไหน จะจบ ก็จะอยู่อย่างเป็นสุขได้ แต่วันนี้ประเทศไทยถูกบิดเบือนข่าวสาร

นักวิทยาศาสตร์พยากรณ์ไว้ว่าประชากรในโลกมี 7,000 ล้านคน อาหารในอนาคตจะขาดแคลนมาก คนที่รวยจะมีอาหารดี ๆ รับประทาน

ทำไมถึงเอาสมุนไพรมาเรียง ทำไมต้องเน้นภูมิปัญญา เพราะเล็งเห็นว่าในอนาคตอาหารเป็นเรื่องสำคัญ เด็กรุ่นต่อไปต้องทำงานเยอะ ๆ และเหนื่อยเมื่อเอาเงินไปซื้ออาหาร อย่างไรก็ตามวิกฤติอาหารประเทศไทยเกิดแน่ ๆ เพราะพฤติกรรม และการสั่งสอนที่พ่อแม่ไม่ได้สอน พืชพรรณ ธัญญาหารถูกกำหนดตามใจ

วันนี้ในฐานะผู้บริโภค มีสิทธิกำหนดนโยบาย ชุมชนชวนกันมาจัดการกันเอง ให้สนใจว่าหมู่บ้านมีอะไรกิน คนมีอะไรกินดี ๆ และจะไปขายเพื่อนได้อย่างไร

เรามามองว่าทำอย่างไรเมืองกาญจน์ น่าอยู่ ทำอย่างไรสามารถยกระดับฝีมือ เพิ่มทักษะ อย่างเช่น ปัจจุบันพม่ามีกำลังแรงงานที่มีคุณภาพดีมาก

สรุปคือ

อยู่ที่หลักการจัดการ ความรอบรู้ การมีส่วนร่วมของผู้ฟัง การบริหารประเทศ ใครมาเป็นรัฐบาลบางครั้งประเทศไม่เป็นของเรา

หลักเกณฑ์ในการเวนคืนที่ดินยังไม่เป็นธรรม ทั้งชุมชน และเขื่อนขาดความเข้าใจ ทำไมจัดที่ให้เสร็จแล้วทำไมชุมชนขายที่ ไปหาสาเหตุ คือเพราะไม่พอกิน แต่อยากถามว่าที่อยู่มาเขาอยู่มาได้อย่างไร เนื่องจากเวลาตีราคาที่ดิน ตีค่าแค่ บ้านที่ดิน แต่ไม่ได้ตีเรื่องการจัดสรรที่ดินสำหรับทำกินไม่ได้ตีราคาให้ด้วย ทำให้ไม่มีหนทางทำกิน เงินที่ได้มารีบเอาไปด้วยแนวคิดเน้นวัตถุนิยม ยกเว้นเงินที่มีทุนเดิมดี แต่ใครจะไปชี้แจงชุมชน ชี้แจง NGOs ในวันนี้ถ้ามีการเวนคืนที่ดินให้คิดค่าเสียหายในการปลูกต้นไม้เล็กทดแทนด้วย ต้องคิดถึงหาหนทางให้ชาวบ้านมีรายได้ด้วย เป็นบทเรียนของทั้งสองฝ่ายที่ต้องสร้างความเข้าใจร่วมกัน ต้องคิดค่าเสียเวลาด้วย ถึงว่าจะยุติธรรม

อีกเรื่องหนึ่งที่เขื่อนจะตื้นเขินได้ ที่เหนือเขื่อนต้องไม่มีเกษตรกรรม ต้องไม่ให้มีการพังทลายของหน้าดิน เพราะโดยธรรมชาติฝนต้องพังทลายหน้าดินอยู่แล้ว อย่าให้มีการบุกเบิกที่เหนือเขื่อนมาก ๆ อายุการสะสมน้ำ การใช้งาน ไม่ได้เป็นตามเป้าหมาย มีการจัดการสมดุลหรือไม่

แสดงความคิดเห็น

บางครั้งความเข้าใจการที่รุ่นพ่อ รุ่นแม่ได้รับอยู่แล้วเข้าใจ แต่รุ่นลูกไม่เข้าใจ

อาจารย์ทิวาพรตอบ

ปัจจุบัน สังคมเสมือนการต่อจิ๊กซอว์ หลายส่วนต้องต่อกันให้ได้ ไม่มีใครได้หมดและเสียหมด เมื่อมีเสียก็มีได้ ไม่อย่างนั้นก็ทะเลาะกัน ต้องให้หลายส่วนพยายามเข้าใจ

ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่เราต้องปรับปรุงแนวคิดและทัศนคติ

น้ำ และไฟฟ้าเป็นปัจจัยที่เป็นพื้นฐานของชีวิตอยู่ ต้องรู้จักการนำเสนอที่ดี

การปฏิรูปประเทศไทยไม่ใช่ของคนหนึ่ง คนใด แต่เป็นหน้าที่ของทุกภาคส่วนหรือองค์กรที่ควรหันมามองร่วมกันว่าจะทำอะไรบ้าง

คนไทยใจดีให้อภัยคนง่าย และไม่โกรธใครนาน

สมุนไพร

ฟักข้าว – เป็นผักพื้นบ้านตระกูลแตง ชอบกินยอดอ่อน ลูกอ่อนนำมาแกงส้ม แกงเลียง โบราณใช้ใบฟักข้าว ยาเขียว เนื้อในเมล็ดฟังข้าวใช้รักษาวัณโรคในปอด แผล ฝี หนอง แต่ที่ดังคืออเมริกาไปซื้อฟักข้าวจากเวียดนามและให้ฉายาว่าผลไม้สวรรค์กินแล้วหนุ่มสาว เวียดนามใช้ในเรื่องการบำรุงสายตา เนื่องจากมีสารเบตาแคโรทีนมากกว่าแครอท 10 เท่า มีไลโคปินสารต้านมะเร็ง อเมริกาทำการวิจัยก่อนหน้า 1 ขวดแม่โขง บางยี่ห้อ 4,000 บาท บางยี่ห้อ 2,700 บาท

ทำไมต้องให้ฝรั่งปลูก ให้คนถูกเป็นขี้ข้าคนไทยดีกว่าฝรั่ง

ปลูกฟักข้าว – ได้ประโยชน์ทุกขั้นตอน จึงอยากชักชวนให้คนไทยปลูก

ธรรมชาติให้พันธุ์พืชเหล่านี้ต่อมนุษยชาติ ไม่ได้เป็นสมบัติใครคนใดคนหนึ่ง แต่เกิดจากการคิดค้นพัฒนา ถ้าเรารู้จักจะรู้จักอย่างยั่งยืนและสมบูรณ์ตลอด

อินโดนีเซียกำลังแปรรูปสมุนไพร

สาบเสือ – เป็นวัชพืช เป็นยา น้ำหวานในดอกสาบเสือเป็นยาของผึ้ง น้ำผึ้งดอกสาบเสือขายดีมาก แพงกว่าน้ำผึ้งปกติ

สบู่ดำ– เพื่อเอาน้ำมันในเมล็ดไปทำพลังงาน ใช้ยางแต้มปากเวลาปากเปื่อยหรือปากนกกระจอก กิ่งสบู่ดำใช้ป้องกันแมลง ใช้เสริมภูมิแพ้คนเป็นเอดส์ แต่นักวิชาการสนใจเฉพาะปริญญา

สะเดา – ใช้ดีมากเรื่องหมัดกระโดดในวัชพืช เมล็ดใช้ไล่แมลงได้

น้อยหน่า – ใบน้อยหน่าพอกไข่เหา เมล็ดเอามาโคลกแช่น้ำไล่แมลง

หางไหล – ป้องกันแมลง

ใบหนาด – ประเทศจีนปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ ดองศพไม่ให้เน่ากว่า 2,000 ปีแล้ว เพื่อสกัดน้ำมันหอมระเหยของอโรม่า

แมงลักคา – ขึ้นทั่วไป กรมวิชาการสกัดสาระสำคัญค่าเชื้อแบคทีเรียในคน สามารถใช้ไล่แมลงได้

กัญชาป่า – สรรพคุณ ลดเบาหวานดีมาก ที่ได้ชื่อว่ากัญชาป่าถ้านอนไม่หลับแล้วทานจะดีมาก มีรสขมนิดนึงและจะหวาน แก้ไข้ แก้สมุนไพร ทดลองใช้กับคนเป็นเอดส์ เพราะไม่มีแรง

สรุปโดยทีมงานวิชาการ Chira Academy

บรรยายเรื่อง พลังงานทางเลือกและการจัดการพลังงาน

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557 ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม

โดย อาจารย์ยุทธการ มากพันธ์

ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรและการพัฒนาทางเลือกจังหวัดกาญจนบุรี

โดยภาพรวมเราเริ่มใช้พลังงานขนาดใหญ่

1.ใช้ในอุตสาหกรรม มีของเสียมากสามารถผลิตเป็นพลังงานคืนได้ วัตถุดิบที่ใส่ไปมีค่าสูง ใช้เทคโนโลยีสูงขึ้น การทำให้เป็นพลังงานใหม่ มีระบบชี้วัด คือพลาสติกสามารถเป็นน้ำมันได้ 90% ถ้ามีการปรับจูนที่ดีจะทำยังไงไม่ใช้น้ำมันไม่ใช้ก๊าซ เทคโนโลยีจะถูกผลิตจากกลุ่มเล็ก ๆ มาก

พลังงานโลกต่อไปจะใช้โครงการ Biosphere ใช้ทุกอย่างง่ายสุด ใช้วัสดุส่งไปในอวกาศ ทุกอย่างที่ส่งไปต้องประกอบร่าง และสามารถเปลี่ยนแปลงได้หลากหลาย สามารถผลิตเพียงพอต่อความต้องการของมนุษย์

แกนแม่เหล็กทั้งหมดจะใช้เป็นคล้ายผ้าอัดเข้าไป ในธุรกิจ Biosphere เข้าไปไกลกว่าเรา

กฎอย่างไรก็คือกฎ ในภาคประชาชน มีกฎที่เราเรียน

พลังงานลม พลังงานน้ำ เมื่อเกิดก็จะมีการสร้างเขื่อน มีสนามแม่เหล็กไฟฟ้า มีใบผลักดันเป็น Generator สรุปคือในโลกนี้มีชีวิตทั้งหมด ทั้งหมดคือสิ่งมีชีวิต มีเส้นเลือดกระแสน้ำอุ่น น้ำร้อน

สิ่งที่สำคัญที่สุดของโลกใบนี้คือ เป็นเสมือนที่สะสมโซล่าร์เซลล์แล้วโลกใบนี้พืชเหมือนเก็บแบตเตอรี่ทั้งโลกเลย พืชจะสังเคราะห์แสง คายออกเป็นคาร์บอน และไฮโดรคาร์บอนเป็นล้านปี

น้ำมันดิบ

ไม่ต้องรอล้านปี สามารถใส่ไปในเครื่องปล่อยความดัน

สิ่งที่ต้องคุยวันนี้คือน้ำมันและพลังงานทดแทน

อะไรที่มาจากฟอสซิลมีเสถียรภาพมากกว่า 1 ลูกบาศก์เมตร ใช้ไฟฟ้าสามหน่วย เกิดอะไรขึ้น

ผลเสียจากการเผาถ่านหิน

หากเป็นซัลเฟอร์ จะมีอายุการย่อยสลายที่นานขึ้น มีสารประกอบบางชนิดทีไม่สามารถย่อยสลายได้

พลังงานทดแทน

- แสงอาทิตย์ เป็นพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญที่สุด เป็นพลังงานสะอาด ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ

Solar cell ในประเทศไทย มีโอกาสได้รับพลังงานนาน เนื่องจากมีแสงแดดยาวนาน

เป็นพลังงานที่มีศักยภาพสูง แต่ต้องดูว่ามีพื้นที่ไหนในประเทศไทยที่เหมาะสมที่สุด

ประเทศฟิจิ มีปัญหาเรื่องมีพายุเฮอริแคน ไม่มีโรงกลั่นน้ำมัน ไม่มีเขื่อนไฟฟ้า

ประเทศสเปน มีภูมิอากาศที่หนาวพอสมควร ใช้กระจกและแผ่นสแตนเลสเป็นทางเลือกในการผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์

แผงโซลาเซลล์สมัยก่อนซื้อมา 8,000 บาท ล่าสุดเหลือแผ่นละพัน การไฟฟ้าเป็นยักษ์ใหญ่ของประเทศ อายุงานแค่ 25 ปี ถ้าเป็น Single Phase ใช้ 18 แผ่น

- พลังงานลม ประเทศไทยไม่มีศักยภาพลมสรุปโดยนักวิชาการ ก็หยุดทำให้ไม่ได้มองภาพต่อไปว่าตั้งแต่ 1 เมตรก็มีศักยภาพได้ ขึ้นอยู่จะใช้กังหันแบบใดต่างหาก มีความสามารถอย่างไร ให้ประยุกต์ใช้กับบ้านเรา

- ชีวมวล ประเทศไทยก็เยอะ แต่ปัญหาที่พบคือเรื่องความชื้น

ด้วยระบบเทคโนโลยี Gasification อินเดียพัฒนาต่อเป็นยี่ห้อ Uncle บ้านเราใช้ไม่ได้ บ้านเราทำที่สมุทรสาคร มีศักยภาพในบ้านเราสูง แต่พอเห็นที่อินเดีย จีน เวียดนามทำ ไม่ได้พัฒนาระบบเชื้อเพลิง ให้ก๊าซมีศักยภาพเท่าของไทย

ถ้าค่าความร้อนต่ำ ก็เอาน้ำมันเชื้อเพลิงมาสวมไป ก็จะได้พลังงานมากขึ้น

- พลาสติก 1 กรัมได้ 700 ลิตร สามารถปรุงแต่งได้

วัตถุดิบมาจากน้ำมันอายุนาน ถ้าเอาของประสิทธิภาพสูงใส่จะได้ของดี แต่ถ้าเอาของประสิทธิภาพแย่ใส่จะได้ของแย่

-น้ำ การผันน้ำ เป็นเทคโนโลยีสมัยชาวนาสุพรรณ เป็นส่วนที่ให้พลังงานสูง

ไทยส่งเสริมพลังงานไฟฟ้าอย่างมหาศาล นิยมเปลี่ยนพลังงานเป็นไฟฟ้า ต่างคนต่างทำ

- ก๊าซชีวภาพ ได้พลังงานสูงมากในด้านเอเชีย

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

การเขียนโครงการให้ประสบความสำเร็จต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง

1. แผนงาน

- ในตัวโครงการมีแผนแม่บทอะไร (รวมแผน)

- แผนย่อยแยกปฏิบัติ ( งบประมาณ /กำลังคน/ Network /ระยะเวลา ฯลฯ)

2. CSR จากภายในสู่ภายนอก

3. CSR /PR สำคัญต้องมี Story เรื่องราวที่น่าสนใจ

4. การประเมินผลจะประเมินกี่ปีด้วยวิธีอะไร

5. การปรับปรุง

สรุปโดยทีมงานวิชาการ Chira Academy

บรรยายเรื่อง การสร้างเครื่องมือและการสุ่มตัวอย่างและสถิติเบื้องต้นสำหรับการทำวิจัย

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557

โดย อาจารย์กิตติ ชยางคกุล และคุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

อ.กิตติ ชยางคกุล

จากการจัดทำโครงการเชิงวิจัยภายใต้แนวคิดหลัก “วิเคราะห์อนาคต กฟผ.ในปี 2020 กับแผนการเตรียมความพร้อม” มองปัญหาของกฟผ.แล้วคืออะไร ใครมี Idea อะไรเพิ่มเติม

กลุ่ม 7 หัวข้อ “การพัฒนาระบบส่งไฟฟ้าให้มีความมั่นคงและเพียงพอกับความต้องการในปี 2020” เปลี่ยนเป็น “ปัญหาความล่าช้าในการก่อสร้างระบบส่งของ กฟผ : ศึกษากรณีการได้มาซึ่งที่ดิน”

เนื่องจากงบลงทุนมีข้อมูลถึงปี 2020 วัตถุประสงค์โครงการดูว่าระบบส่งมีขั้นตอนอะไรบ้าง เพื่อให้ระบบส่งเป็นตามขั้นตอนได้อย่างไร มีการปรับปรุงจริง ๆ ในแต่ละขั้นตอนมีข้อมูลอย่างไรบ้าง วิเคราะห์ปัญหาการดำเนินงานว่าข้อมูลมีกี่ขั้นตอน การปล่อยโดยใช้กรอบเดิม ๆ จะใช้เวลา 5-6 ปีถึงแล้วเสร็จ วิเคราะห์ปัญหาการดำเนินงานมีกี่ขั้นตอน เกิดปัญหาแต่ละขั้นตอนอย่างไรบ้าง มีกี่ทฤษฎี มีทฤษฎีของ Lean ที่ใช้ในโตโยต้า เป็นการผลิตกระบวนการ

ระบบส่งไม่พอ การก่อสร้างไม่เสร็จตามที่กำหนด ขั้นตอนยังไม่เหมาะสม การได้มาซึ่งปัญหาเป็นทั้งเทคนิคและกระบวนการ

อ.กิตติ ชยางคกุล

อยากให้ดูว่าสิ่งที่ทำทุกอย่างเป็นปัญหาจริง ๆ บางโปรเจคเป็นปัญหาแต่การแก้ไขไม่ได้อยู่กับเรา

สรุปคือ ปัญหาเวลาคิดต้องเป็นปัญหาที่เราสามารถ Manage ได้ การแก้ปัญหาต้องมีจริง ต้องไม่ลืมว่าเราอยากทำ Research & Development มีปัญหาต้องถูกแก้ และสร้างกระบวนการขึ้นมาให้ทำเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาได้ ต้องเป็นโครงการที่เห็นผลได้ภายในปีสองปีแล้วแก้ปัญหาได้ ให้จับประเด็นงานมองปัญหาที่เกิดจริง ๆ เช่น Put the right man on the right job หรือไม่ เพราะทำเสร็จอยากให้เป็น Research ที่แก้ปัญหาในการปฏิบัติคือคิดได้จริง

ถ้าเป็นเรื่องเดิม อาจให้ลด Scale ลง

กลุ่มที่ 6 การพัฒนาศักยภาพ EGAT Group เพิ่มศักยภาพทางการแข่งขัน

การทำให้มีศักยภาพได้มีหลายหลัก หลายทางจึงเสนอว่าจะทำเรื่องเกี่ยวกับทรัพยากรบุคคล และค้นพบว่าในแต่ละหน่วยงานจะทำอย่างไรให้คนมีรายได้ เช่นราชบุรีสามารถรับงานได้แม้ไม่มีคน เช่น ราชบุรีรับงาน และส่งคนจากส่วนกลางไปให้ทำ เน้นเรื่องความเป็น Expertise ของกฟผ. บุคลากรที่มีอยู่มีปัญหาอะไร คือบุคลากรมีข้อจำกัด

Hypothesis ให้คน EGAT Synergy กันเพื่อให้คนสื่อสารกันได้มากขึ้น

อ.กิตติ ชยางคกุล

อยากให้ตั้งว่าเรื่องนี้ทำประเด็นไหนในเรื่องของคน พยายามมองว่าปัญหาเรื่องคนหยิบประเด็นเดียวที่ EGAT เจอแล้วมองเฉพาะประเด็นเดียว การศึกษาที่ลึกไม่กว้าง ช่วยแก้ปัญหาได้ระดับหนึ่ง

กลุ่มที่ 3 การก่อสร้างไฟฟ้าของกฟผ.เป็นอย่างไรในปี 2020

อ.กิตติ ชยางคกุล

ถามว่าอยากสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ทำไม ไฟฟ้าไม่พอเลยต้องสร้างเพิ่ม อยากให้เปลี่ยนโจทย์เป็นผลความสำเร็จหรือล้มเหลวของโครงการโรงไฟฟ้าที่กระบี่กับของชุมชนเป็นอย่างไร

คือโรงไฟฟ้าที่กระบี่จะถูกยอมรับโดยชุมชนได้อย่างไร ผลความสำเร็จหรือล้มเหลวจากการยอมรับชุมชนเป็นอย่างไร คือชุมชนจะยอมรับหรือไม่ยอมรับ แล้วยอมรับจะสำเร็จหรือล้มเหลว

ผลคือจะส่งผลต่อ EGAT อย่างไร ปัญหาคือการยอมรับเป็นปัจจัยหลัก ถ้าชุมชนยอมรับเกิดขึ้นได้

ทำไมถึงไม่สำเร็จ คือชุมชนต่อต้าน

ทำอย่างไรถึงให้สำเร็จและเป็นบวก ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร เราจะแก้ไขปัญหาอย่างไร

อันนี้เป็น CSR Before Process จะทำอย่างไร ที่อื่นมีหรือไม่

CSR ที่เหมาะสมและลดความเสี่ยงควรทำอย่างไร

กลุ่มที่ 2 ศึกษาสัดส่วนกำลังไฟฟ้าที่ผลิตของกฟผ.

เปลี่ยนเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดสัดส่วน

เนื่องจากในอดีต สัดส่วนกฟผ.ลดลงเรื่อย ๆ เดิมกฟผ.ผลิต 100 % แต่กฟผ.ไม่สามารถผลิตได้ 100 เนื่องจากกลไกภาครัฐกำหนดให้ลดสัดส่วนเพื่อให้เอกชนทำด้วย แม้ว่าทำได้ แต่ผลิตลดลงเรื่อย ๆ ในขณะภาคเอกชนมีสัดส่วนใหญ่ขึ้น

กฟผ.ต้องพยายามสร้างให้ได้เกิน 500 และไม่ควรให้กฟผ.ทำ อยากรู้ว่าสัดส่วนเท่าไหร่ถึงเหมาะสมที่สุด

คำตอบคือ เงินที่เรามีผลิตเท่าไหร่ แล้วมีเหตุผลอื่นหรือไม่ อาจเพิ่มเรื่องโรงไฟฟ้า ก็จะเชื่อมให้กลุ่มอื่นที่วิจัยเรื่องเพิ่มโรงไฟฟ้าทำต่อ

อ.กิตติ ชยางคกุล

ต้องยิงคำถามให้คนที่ไม่รู้เรื่องกฟผ. เลย ต้องให้รู้ไม่งั้นทำไม่ได้

สัดส่วนเป็นกี่เปอร์เซ็นนั้นควรเป็นเท่าไหร่เอาอะไรวัด ปัญหาคือจะเอาอะไรเป็นตัววัดว่าใช่หรือไม่ใช่ เพราะปัจจัยการผลิตไฟฟ้ามีเยอะ แล้วคำตอบนี้จะแก้ได้อย่างไร บทสรุปของงานนี้ต้องบอกสัดส่วนที่จะเป็น และต้องเสนอด้วย ทำอย่างไรแล้วเพิ่มสัดส่วนการผลิต ทำออกมาแล้วให้ตัวโครงการที่นำเสนอ สัดส่วนจะไป Implement อะไร เสนอโครงการที่จะเพิ่มโครงการนั้นได้อย่างไร ต้องเสนอ 1 โครงการที่ทำให้สัดส่วนเพิ่มได้จริง

กลุ่มที่ 5 สร้างการยอมรับของชุมชนในการพัฒนาไฟฟ้าเพื่อรองรับการเจริญเติบโต

เปลี่ยนเป็นลดการต่อต้านของชุมชนในการสร้างพลังงานของกฟผ.

โรงไฟฟ้าเหมือนพื้นที่หนึ่ง ทำให้ประชาชนเข้าใจ (การให้ความรู้ ต้องให้คนเข้าใจ) การต่อต้านไม่ให้ตั้งเสา กับไม่ให้ตั้งโรงไฟฟ้า ต้อง Informให้ได้ว่าปัญหาคืออะไร ต้องเป็นอะไรที่มากกว่า

อ.กิตติ ชยางคกุล

เรื่อง Concept เดียวกันคือการยอมรับของชุมชนในการยอมรับ มีอะไรที่แตกต่าง การสร้างโรงไฟฟ้า 1 โรงคือชุมชนรอบโรงไฟฟ้า แต่เส้นทางส่งหนึ่งเส้นกระทบทั้งสิ้น การต่อต้านมีการต่อต้านที่แตกต่างจากโรงไฟฟ้า ต้อง Define ให้ได้ว่าการต่อต้านของชุมชนทั้งระบบ นอกจากเรื่อง Pollution ยังเป็นเรื่องอะไรอีก ปัจจัยหลักเพราะอะไร ) การต่อต้านไม่ให้ตั้งเสา กับไม่ให้ตั้งโรงไฟฟ้า ต้อง Informให้ได้ว่าปัญหาคืออะไร ต้องเป็นอะไรที่มากกว่า ต้องให้ชุมชนเป็นเจ้าของร่วมเพื่อลดการต่อต้าน ลักษณะต้องดูภาพใหญ่เพื่อลดการต่อต้านหรือยอมรับ ต้องครอบคลุมประเด็นอื่น ๆ ด้วย ต้องมองให้ออกว่าปัญหาคืออะไรบ้าง อาจไม่ได้ตอบเรื่อง Pollution อย่างเดียว อาจตอบเรื่องอื่นด้วย

ลดการต่อต้านมีทั้งทำและไม่ทำ สร้างการยอมรับ ถ้าจะมองระบบทั้งอัน ปัญหาจะต่างกับอีกกลุ่มหนึ่ง ให้ดึงว่าอะไรคือ Hilight แล้ว Effect กับ EGAT แน่ ๆ

กลุ่มที่ 4 ข้อจำกัดหนี้สาธารณะในการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่

เปลี่ยนเป็น ทัศนคติของคนกฟผ. ต่อการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่

เนื่องจากคนในกฟผ.ยังมีหลายคนที่มีความเห็นไม่ตรงกัน

อ.กิตติ ชยางคกุล

ให้ชี้ชัดว่าปัญหาคืออะไร ถ้าไม่เห็นด้วยจะนิ่งเฉย วางตัวเป็นกลางไม่สนับสนุน คนกฟผ.มีหรือไม่ที่มีความรู้ไม่เข้าใจเรื่องนี้ ต้องมีปัญหาที่ทัศนคติว่าคืออะไร มีปัญหาอะไรที่มองคนละ Direction หัวข้อนี้น่าสนใจแต่ต้องมองให้ได้ว่าปัญหาอยู่ตรงไหน หาปัญหาและพิสูจน์ให้ได้ว่าปัญหานั้นจริงเหรอ ต้องสร้างให้คนเข้าใจ

กลุ่มที่ 1 การเตรียมแหล่งเงินทุนในการสร้างโรงไฟฟ้า

ปัญหาคือเงินไม่พอ มีการหมุนเวียนเรื่องกู้เรื่อย ๆ เป็นสัดส่วน 30 :70 ไม่พอสำหรับการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ ถ้าเป็นหนี้สาธารณะจะทำอย่างไร

อ.กิตติ ชยางคกุล

สิ่งแรกที่ต้องคิดคือปัญหาคืออะไร วิธีแก้เงินที่ติดตัวสีแดงคือ กู้เงินมา หรือดูว่าสีแดงเกิดจากอะไรแล้วไปแก้สีแดงคือลดหนี้ ต้องเขยิบหัวข้อมาว่า เงินไม่พอนั้นเพราะอะไร ปัจจัยมาจากไหน จะทำได้มากน้อยแค่ไหน Infrastructure ความเป็นไปได้ที่เกิดขึ้นคืออะไรแล้วทำเป็นข้อเสนอ

สรุป คือให้แต่ละกลุ่ม Scope หัวข้อให้เล็กลง

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

เวลาไปดูงานชุมชนไม่ใช่ดูเฉย ๆ กฟผ.จะลงไปช่วยหรือไม่

โจทย์คือ Innovation 2020 แต่ต้องคิดว่าบางโครงการไม่ Innovation ให้เอาทฤษฎี Learning how to learn คิดร่วมกัน สร้างความสัมพันธ์ที่ดี ไว้เนื้อเชื่อใจ แล้ว Turn Idea into Action แล้ว Turn Action into success เอา 2 R ไปจับ Rที่ 1 คือความจริง มีงานที่จะนำเสนอในวันสุดท้าย มีงานที่ต้องเตรียม 2 อย่างคือ Paper และต้องเตรียมคน Presentation

ภาพใหญ่ดีมาก ต้องปูให้เดินถึงปี 2020 ต้องมีแผนแม่บทและแผนย่อยในการปฏิบัติ

ตัวอย่างคุณรังสรรค์พูด CSR จะสำเร็จต้องสร้างจากภายในองค์กรและสู่ภายนอก เราจะตีกรอบอย่างไร ว่า กฟผ.ปี 2020 คืออะไรให้นำแผน PR ใส่ในองค์กรด้วย โครงการมีการประเมินผลหรือยัง Audit อย่างไร ภาพแผนใหญ่ต้องลงให้แหลมคม ถ้าคิดง่าย ๆ จะได้แค่ Simple

การพัฒนาต่อยอดปรับปรุงได้ Innovation ทำแผนนำเสนอให้ครบ คนฟังเข้าใจ คิดอะไรต้องมีกรอบ ไม่สะเปะสะปะ นิยามของคุณรังสรรค์คืออะไร การบูรณาการให้เกิดความสำเร็จ มีความไว้เนื้อเชื่อใจในกลุ่มกันเองและองค์กร มีจิตวิญญาณของ กฟผ. เช่นมุ่งมั่นอยากให้มีไฟฟ้าพอใช้ หรือขาดคนหรือไม่ คือให้มีแผนใหญ่และแผนย่อยออกไป ดูตัวอย่างครูบาว่างานที่ทำสนุกหรือไม่ แล้วแก้ ทำให้ลูกน้องเกิดการกระตือรือร้น เกิดความอยากรู้อยากเห็นอยากทำ มีชุดความรู้ ในทุกกลุ่ม เป็นสิ่งที่คนกฟผ.ต้องฝากไว้ที่จะเป็นผู้นำในแต่ละรุ่น จะทำให้แผนนี้คมจะทำอย่างไร เกิดแรงบันดาลใจอะไรที่คิดใหม่ ๆ ขึ้นมา มองว่าแผนใหญ่คืออะไร แผนแม่บทคืออะไร

อ.กิตติ ชยางคกุล

สรุป

จะ Focus เรื่องอะไร ไม่ต้องทำทั้ง โปรเจค ในวันสุดท้ายที่นำเสนอ ให้นำเสนอว่าจะทำโปรเจคอะไรเพื่อพัฒนาองค์กร คือ ทุกวันนี้มันเป็นปัญหาแบบนี้ แล้วทำไมต้องแก้อย่างนี้ ที่ผ่านมาคือ ที่มองว่าเป็นปัญหาจริง ๆ แล้วเป็นปัญหาจริงหรือไม่ งานที่ทุกกลุ่มต้องกลับไปทำคือ เรารู้ได้อย่างไร อะไรเป็นหลักฐานที่คิดจริง ๆ เช่น ต่อต้านเพราะอะไร ทัศนคติ หรือใครต่อต้าน Background หรือองค์ความรู้ไม่เท่ากันของแต่ละบุคคล มองตัวอื่นได้อะไร มีลักษณะพิเศษมากขึ้น คนต่อต้านเพราะอะไร

เมื่อคิดว่าสิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาต้องมีการยืนยันหลักฐานว่าเพราะอะไร ทำไมถึงเกิด เกิดเพราอะไร แก้อย่างไร ถึงนำไปใช้

หัวข้อ กิจกรรมรักษ์กาย ณ ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2557

-ผู้บริหารต้องใส่ใจเรื่องสุขภาพของตนเอง หากละเลยอาจท้วม หรือเป็นโรคอ้วนโดยไม่รู้ตัว เมื่อพบว่าเริ่มไม่ปกติสามารถแก้ไขหรือรักษาได้ด้วยวิธีธรรมชาติ โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย

-การหายใจ และออกกำลังกายที่ถูกต้อง เป็นสิ่งจำเป็น และมีประโยชน์อย่างมาก

-ไขมันมี 2 แบบ คือ

1. ไขมันใต้ผิวหนัง

2.ไขมันในพุง (ทำหน้าที่สร้างสารสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ถ้ามีมากเกินไปก็จะหยุดการสร้างฮอร์โมน เสี่ยงต่อโรคหัวใจ เบาหวาน)

-กรณีที่อ้วนต้องการลดน้ำหนักโดยวิธีธรรมชาติสามารถทำได้โดย

1.กินให้น้อย

กินเนื้อสัตว์ 1 ส่วน กินผัก 2 ส่วน

ไม่กินข้าว หรือ คาร์โบไฮเดรต (แป้งทำให้ไขมันในเลือดสูง)

ไม่กินผลไม้ ถั่ว นม

2.ออกกำลังกาย

-ยาลดไขมันมีอันตรายมาก เนื่องจากจะดักจับไขมันในเลือด นำไปพอกเป็นไขมันในตับ

-เมื่อเป็นหวัด มีสมุนไพรที่ใช้รักษาได้ เช่น ฟ้าทะลายโจร /ขมิ้นชัน 5 เม็ดลูกกลอน (3แคปซูล) 3 เวลา ก่อนอาหาร และก่อนนอน

-นมอุดมด้วยกรดไขมันอิ่มตัว เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน และโรคหัวใจหลอดเลือด รวมทั้งก่อมะเร็งเต้านม

-ผลของซาวน่า-อบสมุนไพรสลับการอาบน้ำเย็น

1.ในที่ร้อนเลือดจะออกไปที่ผิวหนัง ในที่เย็นเลือดจะกลับเข้าสู่อวัยวะส่วนกลาง ทำให้อวัยวะภายในได้รับเลือดใหม่ไปเลี้ยงเป็นระยะๆ เป็นการลดอักเสบ หรือโรคภายใน

2.ความร้อนจะเพิ่มประสิทธิภาพเม็ดเลือดขาว (เม็ดเลือดขาวจะทำหน้าที่ได้ดีที่สุดที่อุณหภูมิสูงกว่า 37 องศา)

3.เป็นการบริหารอวัยวะภายในให้แข็งแรง

4.ให้ความรู้สึก กระปรี้ กระเปร่า สดชื่น และผ่อนคลาย

-การออกกำลังกายในน้ำเหมาะสำหรับ ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากและต้องการลดน้ำหนัก ผู้สูงอายุ ผู้มีปัญหาเรื่องข้อ ข้อเข่า ข้อเท้า ผู้มีปัญหาทางสมอง อัมพาต พาร์กินสัน เป็นต้น

สิ่งที่ได้รับ: สามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันของตนเอง และบุคคลในครอบครัว ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงจากการเป็นโรค หรือที่เป็นอยู่แล้วก็สามารถบำบัดรักษาได้ด้วยวิธีธรรมชาติ รวมทั้งหันมาให้ความสำคัญใส่ใจกับเรื่องสุขภาพ นำวิธีหายใจ และการออกกำลังกายที่ถูกต้องมาปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอก็จะทำให้ร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรค เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ดียิ่งขึ้น

ศรีวรรณ บูณณโชคไพศาล

วันที่ 10 ก.พ. 57 กิจกรรม รักษ์กาย ณ ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี (สามเสน) กรุงเทพฯ

ช่วงเช้า ทำกิจกรรม กลุ่ม C: 1) อบสมุนไพร 7 นาที ราดน้ำเย็น (2 รอบ) 2) ซาวน่า ร้อน 3 นาที แช่น้ำเย็น 2 นาที (3 รอบ) 3) Hydro-aerobics 4) อาบแสงตะวัน 5) Mat exercise บริหารกล้ามเนื้อและข้อต่อ

สิ่งที่ได้เรียนรู้ : จากการปฏิบัติ ได้ปรับร่างกาย ยืดเส้นยืดสาย ทราบหลักการและฝึกการหายใจ การบริหารกล้ามเนื้อและข้อต่อ ท่าบริหารแบบง่ายๆ ไม่ตองใช้เครื่องมือ สามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันต่อไป เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงได้

ช่วงบ่าย ฟังบรรยาย

ช่วงที่ 1 “ธรรมชาติบำบัด ปรับชีวิต เปลี่ยนอาหาร หลักการแพทย์พอเพียง” โดย นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล

  • โรคความเสื่อมของร่างกาย เกิดจากวิถีชีวิตใหม่ (Lifestyles)
  • เช็ค BMI = น้ำหนัก / (ส่วนสูง – เมตร)2 : <20 ผอม; >23 ท้วม; >25 อ้วน; >30 โรคอ้วน
  • ไขมันในพุง สำคัญเสมือนเป็นต่อมสร้างฮอร์โมนสำคัญ แต่ถ้ามากไปจะหยุดสร้างฮอร์โมน
  • ลดน้ำหนักด้วยวิธีธรรมชาติ กินเนื้อ 1 ส่วน ผัก 2 ส่วน งดแป้งหรือคาร์โบไฮเดรต ถั่ว นม ไส้กรอก ผลไม้
  • การแพทย์ทางเลือก กับสมุนไพร โรคพบบ่อย

สิ่งที่ได้เรียนรู้ : ทราบหลักการดูแลร่างกายให้แข็งแรง การเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ หลักการลดน้ำหนัก การใช้ยารักษาโรคโดยใช้สมุนไพร

ช่วงที่ 2 “วารีบำบัด สร้างเสริมสุขภาพ” โดย พญ.ลลิตา ธีระสิริ

สิ่งที่ได้เรียนรู้ : ทราบหลักการ การอบสมุนไพร การอบซาวน่า การออกกำลังกายในน้ำ และการใช้น้ำในการรักษาโรค สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป

ศรีวรรณ บูรณโชคไพศาล

การบ้านกลุ่ม- กลุ่ม 7 (วศ.จรูญ, วศ.สมพล, วศ.สุขาวดี, วศ.สุชิน สุ., วศ.อดิศักดิ์, วศ.ศรีวรรณ)

อ่านบทความ Schooling Business แล้วสรุปประเด็นและตอบคำถาม

  1. อ่านแล้วได้อะไร (3-4 ประเด็น)
  2. เกี่ยวกับหลักสูตร EADP นี้อย่างไร

บทความจาก Bloomberg Businessweek : Schooling Business (December 23, 2013)

Customizable and flexible executive education is creating smarter workers and leaders, and teaching high-impact skills that can improve performance across the board.

SPONSORS : Skillsoft, Wharton

http://www.businessweek.com/adsections/2013/pdf/131223_Corporate_Learning.pdf

1. อ่านแล้วได้อะไร

1.1 การอบรมระดับผู้บริหารแบบเก่า นั่งในห้องเรียนหรือห้องประชุม ใช้ Handouts, slides และเอกสารประกอบต่างๆ ไม่เพียงแต่ทำให้เสียเวลาและสูญเสียทรัพยากร เนื่องจากไม่ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ไม่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารได้ตามวัตถุประสงค์ ยังเป็นอุปสรรคต่อความเจริญเติบโตขององค์กรและการแข่งขันของธุรกิจ

1.2 ปัจจุบันมีสถาบันหลายแห่ง จัดหลักสูตรการอบรมให้กับองค์กรต่างๆ โดยวิธีสมัยใหม่ เน้นความต้องการของลูกค้าหรือผู้เข้าอบรม (client-focused approach) วิธีการนี้ให้ความมั่นใจได้ว่า การลงทุนในการเรียนรู้และการพัฒนา (Learning and development : L & D) ให้ผลลัพธ์ที่ดี องค์กรจะได้รับผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์

1.3 ที่สถาบัน Wharton School of the University of Pennsylvania เปิดหลักสูตรสอนและฝึกอบรม Business Leaders มีทั้งแบบ short and long-term program (ระยะเวลา 3 วัน ถึง 18 เดือน)

  • ให้หน่วยงานหรือผู้เข้าอบรมออกแบบหลักสูตรเอง เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์หรือข้อจำกัดขององค์กร
  • หลักสูตรประกอบด้วย การวิเคราะห์และลดช่องว่างของเป้าหมาย พิจารณาสมรรถนะที่จำเป็นเพื่อให้หน่วยงานได้ทราบถึงสิ่งที่จะต้องดำเนินการและฝึกฝนเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และต้องพัฒนาต่อเพื่อให้พร้อมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายขององค์กรในอนาคต และสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานได้
  • การอบรมจะจัดทีมย่อยของผู้นำ (Mini leadership team) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และใช้เครื่องมือในการบริหารของผู้นำ ผู้เข้าอบรมจะได้ทั้งประสบการณ์ในการปรับ Mindset ได้ความรู้และทักษะเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับองค์กรต่อไป อีกทั้งได้สร้างเครือข่ายเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามความต้องการของหน่วยงาน
  • หลักสูตรจะเน้นการอบรมในสถานการณ์ปัจจุบันและความท้าทายของธุรกิจจริงๆ โดยจะออกแบบโครงการเรียนรู้ตามงานที่รับผิดชอบอยู่ เพื่อฝึกการตัดสินใจและการแก้ไขปัญหาที่จะพบจริงๆ

1.4 ในปัจจุบัน การใช้เทคโนโลยีได้เปลี่ยนแปลงการเรียนรู้อย่างมาก “Technology is changing education in big ways.” การพัฒนาใช้ eLearning รวมทั้งการใช้ tablets, smartphones เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง พนักงานสามารถเรียนรู้หรือหาข้อมูลได้ทุกเวลาและสถานที่เมื่อต้องการ อีกทั้งยังมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการอบรมแบบเดิมๆ

1.5 มีงานวิจัยว่า เทคโนโลยีมีความสำคัญ แต่น้อยกว่าบุคลากรในหน่วยงาน องค์กรจะเจริญก้าวหน้าเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขัน และมีผลกำไรดีได้ ผู้บริหารและบุคลากรจะต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยผู้บริหารจะต้องให้การสนับสนุนเพื่อสร้างวัฒนธรรมของการเรียนรู้ในองค์กรอย่างต่อเนื่อง

1.6 บุคลากรที่สามารถแสวงหาโอกาส มีความรู้และทักษะ สามารถปรับและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว จะเป็นผู้บริหารและผู้นำที่ดีในองค์กร

2. เกี่ยวกับหลักสูตร EADP อย่างไร

2.1 เอกสารกล่าวถึงหลักสูตรการอบรม การพัฒนาผู้นำหน่วยงานหรือผู้นำองค์กรในปัจจุบัน ซึ่งใช้วิธีการในการสอนหรืออบรมแบบเดียวกับหลักสูตร EADP กล่าวคือ ไม่เน้นบทเรียนในเอกสาร,slides & presentations หรือการเรียนการสอนให้ห้องเรียน แต่เน้น 2R-Real & Relevance อบรมให้แสดงออกด้วยการ คิด พูด และนำเสนอ ใช้ 4L, 2R, 2I, 3L, C&E, C-U-V เพื่อดึงศักยภาพในการเป็นผู้นำออกมา

2.2 มุมมองลักษณะของผู้นำหรือผู้บริหารเหมือนกัน ผู้นำที่ดีต้องมีความรู้ ทักษะ กล้าตัดสินใจ มีความพร้อมและสามารถจัดการกับการเปลี่ยนแปลงหรือภาวะวิกฤตได้อย่างรวดเร็ว ต้องรู้จักใช้เทคโนโลยีและสร้างเครือข่าย

หัวข้อ Networking Capital กับ การพัฒนาเพื่อประชาชน

ช่วงเช้า โดยผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี และ คณะวิทยากร

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557

นายชัยวัฒน์ ลิมป์วรรณธะ (ผวก. จังหวัดกาญจนบุรี)

ชื่นชมกฟผ.ว่ามีส่วนร่วมอย่างมากในการทำให้จังหวัดกาญจนบุรีเจริญ เพราะได้รับประโยชน์จากระบบชลประทานที่ดีมาก ตอบสนองยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์/เชิงธรรมชาติ และยุทธศาสตร์ด้านการเกษตร/เกษตรอุตสาหกรรม รวมทั้งการประมงเหนือเขื่อน

นายสหัสนัย (สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี)

ชื่นชมกฟผ.ว่า โครงการของกฟผ. ได้แก่ โครงการชีววิถี โครงการ ฝายชะลอน้ำ โครงการปล่อยปลาหน้าเขื่อน โครงการศึกษาดูงานเครือข่ายเขื่อนอื่นของกฟผ. โครงการจัดงานคืนรักบนสันเขื่อน เป็นต้น เป็นโครงการที่ดีมีประโยชน์ต่อชุมชน ให้ความรู้ สร้างรายได้ สร้างาน สร้างอาชีพ ทำให้คนกลับมาบ้าน จูงใจอบต. ให้หันมาสนใจในการกำจัดขยะ การลดการใช้สารเคมี มีผลต่อการท่องเที่ยวที่ดีขึ้น ฯลฯ

สิ่งที่แนะนำ 1.กฟผ. ควรส่งเสริมอย่างจริงจังในการ ดูแลเรื่องจิตใจ ทำให้ชาวบ้านมั่นใจ โดยทำ ประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น

2.กฟผ. ควรมีหน่วยงานเฉพาะ ได้แก่ แผนกพัฒนาชุมชนเพื่อพูดคุยกับชาวบ้าน ชุมชน ให้ได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพ

นายปณต สังข์สมบูรณ์ (พลังงานจังหวัดกาญจนบุรี)

ยินดีร่วมมือกับกฟผ. ในการทำแผนชุมชน เคยตั้งกองทุนโรงไฟฟ้า 2 กองทุน

สิ่งที่แนะนำ 1.กฟผ. ควรลงพื้นที่ล่วงหน้าหลายปีไปพร้อมกับพลังงานจังหวัดก็ได้ เพื่อทำความสนิทสนมคุ้นเคย ให้ชาวบ้าน ชุมชน เชื่อใจก่อนที่จะร้องขอจากชุมชน

2.กองทุนรอบโรงไฟฟ้า ควรแก้ระเบียบให้ชุมชนได้ประโยชน์มากขึ้น

นายยุทธการ มากพันธุ์ (ตัวแทนชุมชน)

ชื่นชม กฟผ.เรื่องความสามรถในการกู้ระบบกลับมาได้เร็ว หลังไฟดับ แต่รู้สึกไม่ดีกับค่า FT

สิ่งที่แนะนำ กฟผ. ควรสร้างเครือข่ายผลิตไฟฟ้า รับซื้อพลังงานที่ชาวบ้านผลิตได้ โดยเดินสายไปรับไฟจากทุกบ้านเพื่อรวบรวมให้มีพลังงานจำนวนมาก

นายคเชนทร์ พูนจันทร์ (ตัวแทนภาคธุรกิจ –SCG)

เล่าถึงแนวทางการดำเนินงานของบริษัทที่ประสบผลสำเร็จ ได้แก่ เน้นทำงานเชิงรุก ไม่รอให้มีปัญหา ต้องออกไปหาชุมชน โครงการที่ทำต้องให้ชุมชนเสนอ/อยากได้ แล้วจึงเข้าไปร่วมกับเขาจึงจะได้ประโยชน์ และ บริหารแบบเข้าถึง ต้องสำรวจความคิดเห็นชุมชน จ้าง Third Party สำรวจ ติดตามผลสำรวจ เข้าหาชุมชนในวันหยุด

สิ่งที่ได้รับ : ได้มุมแนวคิดจาก หลายภาคส่วนสะท้อนความจริง ความรู้สึกที่มีต่อกฟผ. เพื่อนำไปปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น นำตัวอย่างการถ่ายทอดประสบการณ์ที่มีคุณค่า ไปเป็นแนวทางปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้นเพื่อสามารถสร้างประโยชน์เพิ่มให้แก่ชุมชนได้ประสบผลสำเร็จ ให้ความสำคัญกับการสร้าง Network และ ร่วมมือกับ Network

หัวข้อ HR for Non HR และการปรับใช้กับงาน CSR ของ กฟผ.

ช่วงบ่าย โดย ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557

  • โลกสมัยใหม่ธุรกิจเปลี่ยนแปลงเร็ว ไม่แน่นอน ความสามารถในการที่จะแข่งขันกับคู่แข่งได้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของการจัดการทรัพยากรบุคคล
  • อนาคต กฟผ. เปลี่ยนไปหากจะให้ประสบความสำเร็จจะพึ่ง HR Function ย่างเดียวไม่ได้ บทบาท HR ต้องไปอยู่ที่ Line Manager และ Non HR จะมีบทบาทมากขึ้น
  • HR Manager ต้องคุยกับ Non HR ว่าทำอย่างไรจึงจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้คน เพื่อขับเคลื่อนองค์กรในอนาคต
  • Non HR ต้องลงลึกใน HR รู้จักบริหารจัดการลูกน้อง สร้างคนรุ่นใหม่ เมื่อรวมกับที่ HR และ Non HR คนอื่นๆทำจะได้ผลลัพธ์ไม่มีที่สิ้นสุด
  • HR for Non HR เป็นการพัฒนาบุคลากรในระดับบริหาร หัวหน้างาน ให้มีขีดความสามารถในการบริหารจัดการ มีเครื่องมือในการบริหารจัดการระบบบริหารงาน บริหารคน และ สร้างแรงจูงใจ เพื่อการพัฒนาคน และองค์การอย่างยั่งยืน
  • หลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้ประสบความสำเร็จไปสู่ความเป็นเลิศ ประกอบด้วย
  • 3 เรื่องใหญ่ คือ ปลูก บริหาร และเอาชนะอุปสรรค
  • Co-creative คือ Stakeholders มาคิดร่วมกัน มาเป็น Network กัน
  • ผู้บริหารต้องดูแลเรื่อง Work Life Balance ให้ดี เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการทำงาน และการใช้ชีวิตด้านอื่นๆ
  • ศ.ดร.จีระ เน้นว่าคน กฟผ.ยัง มี Networking น้อยไป ต้องขยายจากเดิมอีกมาก

หัวข้อ Arts and Feeling Presentation (เทคนิคการนำเสนออย่างทรงพลัง และประทับใจ)

ช่วงเช้า โดยอาจารย์ จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557

  • Product ไม่ใช่ Product ต้องทำให้คนจำได้ หมายรู้ : รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส องค์กรเอกชนจำนวนมากที่เข้าใจ และนำหลักการนี้มาใช้ทำให้ประสบผลสำเร็จที่ยิ่งใหญ่
  • การทำให้ผู้ฟัง ผู้ดู มีความจำได้ต้องดึงเอาสมองซีกขวามาใช้นำเสนอให้เกิดเป็นภาพจำ
  • สิ่งที่สามารถดึงดูดผู้ฟังในการสื่อสาร แบ่งเป็น ภาษากาย 55% ภาษาพูด 7% และน้ำสียง 38%
  • การทำกิจกรรม Work Shop ต่างๆ เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่ทันสมัย ทำให้ผู้รับการอบรมสัมผัสประสบการณ์ตรง เกิดการเรียนรู้เข้าใจได้อย่างชัดเจน

-ดึงเอาศักยภาพที่มีอยู่ในตัวออกมาใช้ เช่น การตัดสินใจแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การทำงานเป็นทีม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การสื่อสาร

-มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนผู้เข้าอบรม สร้างความสามัคคี มีพลังร่วม

-ได้ใช้จินตนาการ มีอารมณ์สนุกสนาน ผ่อนคลาย

- มีสติ /ใช้สมาธิ

-ได้รับความตื่นเต้น

-ได้เปรียบเทียบความสำเร็จระหว่างพลังของเราคนเดียวกับพลังของกลุ่ม

-เห็นประโยชน์ในการทำงานโดยอาศัยสมองซีกขวาร่วมด้วย

-ได้ปลดปล่อยตนเองจากภาวะเคร่งเครียดที่สร้างขึ้นตามบทบาทการทำงาน

สิ่งที่ได้รับ: สามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงาน ทำงานโดยใช้สมองซีกขวาร่วมด้วยมากขึ้นเพื่อสร้างความสุขในการทำงาน และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ นวัตกรรมใหม่ให้เกิดขึ้น

หัวข้อ นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน (Social Innovation) กับการทำงานของ กฟผ.

ช่วงบ่าย โดยครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ และคณะวิทยากร

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557

  • คนไทยมี 2 หน้าที่ คือ หน้าที่การงานปกติ และหน้าที่พัฒนาสังคม
  • โครงการที่ชาวบ้าน ชุมชนต้องการ ต้องได้ผลเร็ว ง่าย เพื่อให้เขาสนใจ และเมื่อสนใจก็จะมานั่งคุยกัน ทุกเรื่องเริ่มที่ชุมชน สื่อสาร พูดคุยกัน ชม ชิม ได้นวัตกรรมใหม่ เช่น กาแฟขี้ไก่ แคปซูลเมล็ด
  • หมามุ่ย ฯลฯ
  • การทำให้ชุมชนเป็นผู้เรียน ต้องปลุกให้ชุมชนอยากพัฒนา การพัฒนาต้องทำย้อนศร คือ ให้ชุมชนบอกวิธีทำ หลายคนก็ได้หลายวิธี เมื่อเอาความรู้มาประติดประต่อกัน จะนำไปสู่การทดลองทำอาจได้สิ่งใหม่ๆ ซึ่งจะได้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ และเป็นการเรียนรู้ที่สนุกสนาน ก้าวไปสู่การทำให้สังคมเข้มแข็งได้
  • การใช้ IT พัฒนาชนบท

-จะส่งข้อมูลข่าวสารได้ต้องทำเครื่องรับให้ชาวบ้านด้วย

-เก็บข้อมูล เชื่อมร้อยให้เขามีส่วนร่วม

-ศึกษาข้อมูล เช่น เผาถ่านใบโอชา ต้องบดให้ละเอียดใส่ดินจะทำให้ดินสมบูรณ์

-ชวนชาวบ้านทำ/คิด

การสร้างให้ชุมชนเกิดความยอมรับไว้เนื้อเชื่อใจ มองกฟผ.เป็นเพื่อน เป็นญาติมีความสำคัญ แต่โครงการที่กฟผ.จะนำเข้าไปในชุมชนยังไม่ได้ผลสำเร็จตามที่คาดหวังจึงควรนำข้อคิด ตัวอย่างความสำเร็จของครูบาสุทธินันท์ฯและคุณสุทธิเดชฯ อดีตผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมาเพื่อพิจารณาหาแนวทางแก้ไขปรับปรุงต่อไป

หัวข้อ การสร้างเครื่องมือ และการสุ่มตัวอย่าง และสถิติเบื้องต้นสำหรับการทำงานวิจัย

ช่วงเย็น โดยอาจารย์กิตติ ชยางคกุล

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557

  • เป็นการติดตามงานวิจัยมีการระดมสมองเพื่อทบทวนและกำหนดหัวข้อทำงานวิจัย ซึ่งต้องตอบข้อซักถามอาจารย์ได้อย่างชัดเจน โดยเริ่มจากปัญหาที่กฟผ.จะต้องเผชิญในปี 2020คืออะไร ปัญหานั้นมีผลกระทบอย่างไร มากน้อยเพียงใดกับกฟผ. และที่สำคัญต้องเป็นปัญหาที่แท้จริงเหมาะสมที่จะนำมาทำการวิจัย

กลุ่มที่ 5 ได้เปลี่ยนหัวข้องานวิจัย จากสร้างการยอมรับของชุมชนในการพัฒนาไฟฟ้าเพื่อรองรับการเจริญเติบโต เป็น ลดการต่อต้านของชุมชนในการพัฒนาไฟฟ้าของกฟผ.




หัวข้อ ศึกษาดูงานศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม:ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีการเกษตร

และพลังงานทางเลือก

โดย คุณทิวาพร ศรีวรกุล และคุณยุทธการ มากพันธุ์

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557

  • ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม ส่งเสริมการเรียนรู้ โดยแบ่งเป็น ฐานเรียนรู้ต่างๆ ได้แก่ เศรษฐกิจพอเพียง เกษตรปราณีต หมูหลุม ก๊าซชีวภาพใช้เอง น้ำยาเอนกประสงค์ น้ำส้มควันไม้ แปรรูปอาหาร และอาหารสัตว์ ฯลฯ
  • ศูนย์นี้เป็นเสมือน ศูนย์ปราชญ์ชาวบ้านสอนชาวบ้าน ซึ่งเป็นเกษตรกรที่เข้าโครงการพักชำระหนี้ โดยสร้างความเชื่อมั่นให้เกษตรกร เริ่มจากค้นหาทุกข์ ช่วยกันคิดหาทางแก้ ดึงศักยภาพของชาวบ้านออกมา และช่วยให้พวกเขายกระดับตนเองขึ้นมา
  • พืชสมุนไพรไทย นอกจากรับประทานเป็นอาหารแล้วยังมีคุณค่าทางยา ผ่านการวิจัยว่าใช้ในการรักษาโรคได้จริง มีหลายประเภท ได้แก่

-ฟักข้าว แกงเลียง ยอดอ่อนจิ้มน้ำพริก เนื้อในรักษาวัณโรคปอด น้ำฟักข้าวทำให้หนุ่มสาว แก้ภูมิแพ้ ลิ่มเลือดหัวใจ ลดเบาหวาน แก้มะเร็งเต้านม

-สาบเสือ ห้ามเลือด ตุ๋นแก้ช้ำใน ยอดจิ้มแจ่วกินได้

-ผกากรอง ลูกตำผสมน้ำไล่แมลง พอกสมานกระดูก

-สบู่ดำ ยางแต้มแก้ปากนกกระจอก ใช้เป็นยาเสริมสร้างภูมิแพ้ในคนที่เป็นโรคเอดส์

-แมงลักคา เคี้ยวดับกลิ่นปาก สกัดสารฆ่าเชื้อในคน

-กัญชาป่า ลดเบาหวาน

  • สมุนไพรของไทยที่มีอยู่เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ล้ำค่าของชาวไทย แต่น่าเสียดายเพราะไม่มีหน่วยงานใดของรัฐมาให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนด้านต่างๆอย่างจริงจัง เช่น การให้ทุน การทำวิจัยต่อยอด การตลาด การผลิตที่ทำให้มีมูลค่าเพิ่มสร้างรายได้ให้กับชุมชนและประเทศได้สูงขึ้นอย่างมากในฐานะที่เป็นผู้ผลิตสินค้าสำเร็จรูปไม่ใช่เป็นเพียงผู้ส่งออกวัตถุดิบ
  • ในด้านพลังงานทางเลือก และการจัดการพลังงาน

-แสงอาทิตย์ เป็นพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญที่สุด เป็นพลังงานสะอาด ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ Solar Cell ในประเทศไทยมีโอกาสได้รับพลังงานนาน เนื่องจากมีแสงแดดยาวนาน เป็นพลังงานที่มีศักยภาพสูง แต่ต้องดูว่ามีพื้นที่ไหนในประเทศไทยที่เหมาะสมที่สุด

-พลังงานลม ประเทศไทยไม่มีศักยภาพลมแต่ควรพัฒนาต่อ

-ชีวมวล ประเทศไทยมีมาก แต่มีปัญหาเรื่องความชื้น

-ก๊าซชีวภาพ ได้พลังงานสูงมากในด้านเอเซีย

  • การดูงานพลังงานทดแทนที่ศูนย์แห่งนี้ ทำให้เห็นถึงความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ชุมชนมีมากขึ้น มีการคิดประดิษฐ์อุปกรณ์ และเครื่องมือขึ้นเองอย่างง่ายๆ ราคาถูกเป็นสิ่งที่ดีเพราะทำให้ชุมชนเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองทางด้านพลังงานได้โดยมีก๊าซจาการใช้แกลบ เศษไม้ ใบไม้ ถ่าน และสิ่งเหลือใช้ที่มีในท้องถิ่นให้เป็นประโยชน์ เหมาะสมกับชุมชน แต่ยังอีกไกลที่จะขยายไปสู่การเป็นเครือข่ายผลิตไฟฟ้าเข้าสู่ระบบหลักเพราะต้องมีอีกหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณาให้ครอบคลุม

10 ก.พ.57 กิจกรรม กิจกรรมรักษ์กาย ณ ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี

นับเป็นเนื้อหาที่ได้ประโยชน์อย่างยิ่งต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหารการกิน หรือเรื่องวารีบำบัดซึ่งโดยเฉพาะเรื่องธรรมชาติบำบัดปรับชีวิต เปลี่ยนอาหาร นับว่าเป็นรู้ใหม่ที่แตกต่างจากความเข้าใจเดิมๆที่ปฎิบัติมาชั่วชีวิต อาทิเช่นผลเสียจากการบริโภคอาหารประเภทข้าว แป้ง น้ำตาล หรือ นมวัว ที่ดูจะเป็น Hi-light กลายเป็นอาหารที่มีผลเสียต่อสุภาพ ตรงกันข้ามอาหารประเภท โปรตีน ไขมันจากธรรมชาติที่เดิมเราพยายามลดหรือหลีกเลี่ยง เช่น ขาหมู หนังไก่ ปลาหมึก หอยนางรม ไข่ น้ำมันหมู และอีกหลายชนิดที่เราพยายามหลีกเลี่ยง กลับเป็นอาหารที่สามารถบริโภคได้ปกติ ซึ่งองค์ความรู้เรื่องนี้ผมขอเสนอให้นำไปปรับปรุงเรื่องโภชนาการ ในวิชาสุขศึกษาทุกระดับชั้นใหม่ทั้งหมด เพื่อไม่ให้ลูกหลานของเราต้องตกเป็นธาตุความรู้ที่ผิดๆอีกต่อไป ซึ่งน่าจะได้บุญ และ คุณประโยชน์มนุษยชาติอย่างยิ่ง

11 ก.พ.57

หัวข้อ Networking Capital กับการพัฒนาเพื่อประชาชน โดย Panel Discussion ผู้แทนจากภาคส่วนต่างๆ

อันนี้ต้องขอชื่มชมเป็นการเฉพาะสำหรับท่านผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี คุณธนรัชต์ ภุมมะกสิกร เป็นอย่างยิ่งที่ท่านสามารถบรรยายเมืองกาญจนบุรี ได้อย่างละเอียดรอบรู้ทุกซอกทุกมุมในทุกมิติ ท่านสามารถพูดได้อย่างลื่นไหลคล่องแคล่วโดยไม่ต้องมี Scrip เท่านั้นยังไม่พอท่านยังได้แสดงวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน จากการอธิบายแผนงานสำหรับการพัฒนาเมืองกาญจนบุรีให้เติบโตอย่างรวดเร็วและยั่งยืน ทั้งนี้ไม่ใช่เฉพาะเพื่อคนเมืองกาจนบุรี ที่จะได้ประโยชน์ แต่จะส่งผลดีต่อประเทศชาติในภาพรวมด้วย สมกับเป็นตำแหน่งพ่อเมืองอย่างยิ่ง นับเป็นแบบอย่างที่ดีที่ผู้นำสูงสุดของทุกๆองค์กร โดเฉพาะองค์กรในระดับชาติ ควรที่จะต้องดูท่านเป็นตัวอย่าง

สำหรับข้อมูลจากท่านอื่นๆก็นับว่าได้ประโยชน์ที่ทำให้ได้ทราบมุมมองและความเห็นจากบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่มอง กฟผ. รวมถึงข้อเสนอแนะเชิงที่สร้างสรรค์ต่อกฟผ.ที่น่าสนใจ

หัวข้อ HR for Non HR และการปรับใช้กับงาน CSR ของ กฟผ. โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ได้รับทราบแนวความคิดจากผู้นำหรือนักวิชาการระดับโลกที่แสดงให้เห็น ว่าทรัพยกรมนุษย์นั้น มีความสำคัญสุงสุดต่อองค์กรที่จะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว นั่นหมายถึง องค์กรจำเป็นต้องลงทุนในการสร้าง ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรในทุกด้านเพื่อตอบสนองธุรกิจนั้นๆ โดยมองความต้องจากภาพรวมลงสู่หน่วยงานในทุกระดับ ที่สำคัญจะต้องให้มีการประสาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องการบริหารทรัพย์มนุษย์ ระหว่าง หน่วยงาน HR และ Non-HR ต่างๆ.ให้เข้าใจความต้องการที่ชัดเจน และ ร่วมกันกำหนดแนวทางในการสร้าง / พัฒนาบุคลากร การบริหารจัดการ และ การเอาชนะอุปสรรคต่างๆ เพื่อให้ตอบสนองต่อ ทิศทาง นโยบาย และเป้าหมายขององค์กร

12 ก.พ.57

หัวข้อ“เทคนิคการนำเสนออย่างทรงพลังและประทับใจ (Art & Feeling)” โดย อ.จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล

ได้ทราบและเข้าใจเทคนิคในการนำเสนอเพื่อให้เกิดความประทับใจ ผ่านการทำกิจกรรมต่างๆโดยสรุปสามารถเข้าใจได้ว่าการนำเสนอเพื่อให้ผู้ชมจดจำได้ง่ายนั้น การพูดด้วน้ำเสียงแบบปกติจะทำให้ผู้ชมจดจำได้เพียง7% การพูดด้วยน้ำเสียงมีพลังกระตุ้นจะทำให้ผู้ชมจดจำได้ 38% แต่การพูดโดยการใช้ภาษาท่าทางกายจะสามารถทำให้ผู้ชมจดจำได้มากกว่า 55% นับว่าเป็นประโยชน์ในการนำไปปรับใช้งานอย่างยิ่ง กรณีที่เราต้องนำเสนองานหรือบรรยายในสถานการณ์ต่างๆ เราจำเป็นต้องเตรียมรูปแบบในการนำสนอโดยให้เพิ่มภาษากาย หรือใช้น้ำเสียงที่มีพลัง เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงสำคัญ( Hi-light ) ที่เราต้องการเน้นเพื่อให้จดจำได้ง่ายๆ

Panel Discussion นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน (Social Innovation) กับการทำงานของ กฟผ.

ได้รับฟังข้อมูลจากผู้แทนองค์กร กฟผ.&กฟภ.และ ผู้แทนนุมชน ในปะเด็น นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน (Social Innovation) .ในการ Panel Discussion ครั้งนี้ได้มีการให้ความเห็นกันอย่าหลากหลาย มีการปะทะกันทางปัญญาทำให้บรรยากาศและได้เนื้อหาที่น่าสนใจมาก ตลอดจนได้ทราบมุมมอง เหตุผล และข้อจำกัดต่างๆ ได้เข้าใจสิ่งที่ชุมชนต้องการอาจไม่ใข่สิ่งที่องค์กรกำลังนำเสนอให้ แนวทางที่สำคัญคือต้องใช้ตามกระแสพระราชดำรัส คือ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา นั่นคือต้องเข้าใจขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ เข้าถึงบุคคลที่เป็นที่ยอมรับของชุมชนนั้นๆ เพื่อให้เข้าใจ ความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง การนำเสนอสิ่งใดเข้าไปควรเป็นเรื่องที่ชุมชนสามารถเห็นประโยชน์ได้เร็วก่อน เมื่อชุมชนยอมรับแล้วจึงค่อยพัฒนาขยายผลต่อๆไป

กิจกรรมกลุ่ม: นำเสนอนำเสนอกรอบของงานวิจัย และ Research Methodology โดย อ.พิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ, อ.กิตติ ชยางคกุล

สรุปชื่อหัวข้อโครงการวิจัยฯของกลุ่ม-3“ยุทธสาสตร์สำคัญใน CSR ต่อความสำเร็จในโครงการ รฟ.กระบี่ ควรเป็นเช่นไร

10 กุมภาพันธ์ 2557

ธรรมชาติบำบัดปรับชีวิต เปลี่ยนอาหาร
หลักการแพทย์พอเพียง

ปัญหาสุขภาพของโลกยุคใหม่
– โรคอ้วนโรคเบาหวานโรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูงไขข้ออักเสบ ไขข้อเสื่อม โรคมะเร็ง
โดยความอ้วนเป็นสาเหตุหนึ่งของการโรคต่างๆเหล่านี้การจะดูว่าอ้วนหรือไม่นั้นให้ดูจากดัชนีมวลกาย (BMI) ซึ่งคิดจาก น้ำหนัก(กก.)หารด้วย ส่วนสูง(ม.)2เกิน 30 แปลว่าโรคอ้วน มากกว่า 25 แปลว่าอ้วน มากกว่า 23แปลว่าท้วม อยู่ในระหว่าง 20-22.9แปลว่ารูปร่างปกติ

ไขมันในร่างกายมี 2 แบบ 1.ไขมันใต้ผิวหนัง (subcutaneousfat) 2.ไขมันในพุง (visceral fat)

การดูไขมันในพุง อัตราส่วนระหว่างพุงกับสะโพก รอบสะดือ ผู้หญิงไม่ควรเกิน 0.8 ผู้ชายไม่ควรเกิน 0.95 รอบสะโพก

ลดน้ำหนักด้วยวิธีธรรมชาติ

1.กินให้น้อย

2.ออกกำลังกายให้มาก

3.สวนกาแฟทุก 2-3 วัน

4.สมุนไพรและสารอื่นให้ใช้เสริม

การรับประทานอาหาร
กินเนื้อสัตว์และผัก ลดอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต จะช่วยลดความอ้วนได้

ตัวช่วยสำหรับลดไขมัน และลดน้ำหนัก

1.Bio-Fiber - ทำให้อิ่มเร็ว ลดการดูดซึมขัน และน้ำตาล ช่วยในการควบคุมน้ำหนัก โดยใช้ร่วมกับ Chromium และการออกกำลังกายสม่ำเสมอ
2.L-Carnitine -เป็นกรดอะมิโน ช่วยให้ร่างกานเปลี่ยนไขมันให้เป็นกล้ามเนื้อ

3.Fish oil – ช่วยการปรับหมุนเวียนไขมัน ช่วยลดการอักเสบ

สมุนไพรลดน้ำหนัก

1.สมุนไพรยับยั้งการสร้างกรดไขมัน เช่น ส้มแขก พริก

2.สมุนไพรสารเส้นใยสูง เช่น บุก เมล็ดแมงลัก พุงทะลาย มะเขือพวง
และเปลือกกุ้งปู

3.สมุนไพรกดอาการอยากอาหาร เช่น กะท่อม

การดูแลรักษาโรคที่เกิดขึ้นบ่อยๆ

หวัด – อดอาหารล้างพิษ 1 วัน นอนพักมากๆ กินวิตามินซีชีวภาพ เช่น ฟ้าทะลายโจร ขมิ้นชัน

ภูมิแพ้ ลมพิษ หอบหืด – งดนมวัว นมเปรี้ยว โยเกิร์ต เค้ก ไอศกรีม ช็อกโกแลต และอาหารปิ้ง ย่าง ทอด ทานข้าวกล้อง ผัก ผลไม้

เครียด นอนไม่หลับ – ออกกำลังกาย เช่น แอโรบิก โยคะ แอโรบิกในน้ำ

วารีบำบัดอานุภาพแห่งน้ำ

การใช้การบำบัดรักษาโรคมีอยู่ในหลายประเทศในโลก เช่น ประเทศจีน ตุรกี ไอร์แลนด์ ฟินแลนด์ ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส

การตอบสนองของร่างกายต่อความร้อนจัด

เส้นเลือดขยายตัวหัวใจเต้นช้ากล้ามเนื้อไม่สร้างความร้อน เลือดเย็นอยู่รอบกาย

การตอบสนองของร่างกายต่อความเย็นจัด

เส้นเลือดที่ผิวหดตัว ขนลุก รู้สึกหนาวหายใจเร็ว กล้ามเนื้อสร้างครฃวามร้อนเลือดร้อนเข้าสู่อวัยวะภายใน

ดังนั้นการอบสมุนไพร การอบซาวน่าจึงต้องมีการทำสลับกันไป ระหว่างร้อนและเย็น เพื่อให้ร่างกายเกิดความสมดุล

การอบสมุนไพร
จะใช้อุณหภูมิประมาณ 40 – 60 องศาเซลเซียส อบประมาณ 5 – 10 นาที แล้วให้อาบน้ำเย็น สลับกัน 3 รอบการซาวน่าจะใช้อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส

ประโยชน์ของการซาวน่า
– อบสมุนไพรสลับกับการอาบน้ำเย็น คือ เลือดร้อนจะออกไปอยู่ที่ผิวหนัง ในที่เย็นเลือดจะกลับเข้าสู่ส่วนกลาง ทำให้อวัยวะภายในได้รับเลือดใหม่ไปเลี้ยงเป็นระยะ เป็นการลดอาการอักเสบหรือโรคภายใน เม็ดเลือดขาวมีประสิทธิภามากขึ้นอวัยวะภายในแข็งแรง และทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า สดชื่น และผ่อนคลาย

งานกลุ่ม 7 ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยี่การเกษตร และพลังงานทดแทน

อ. ท่ามะขามจ.กาญจนบุรี

ความรู้ที่ได้เกี่ยวกับสมุนไพรต่างๆและสรรพคุณทางยาแต่ตัวที่กลุ่มสนใจคือ ฟักข้าว
ซึ่งมีสรรพคุณทางยาสูงและสามารถนำมาแปรรูป เป็นทั้งอาหาร และเครื่องดื่มได้
อีกทั้งตลาดมีความต้องการสูง

กฟผ มีแหล่งเรียนรู้อยู่หลายที่ตามเขื่อน และโรงไฟฟ้าต่างๆซึ่งหลายแห่งทำร่วมกับชุมชนในพื้นที่ เห็นว่าน่าจะนำ ฟักข้าวไปเผยแพร่และให้ชุมชนต่อยอดทำเป็นอาชีพ รายได้เสริม หรือเป็นอาหาร ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

ส่วนพลังงานทางเลือกในอนาคตจะเป็นลักษณะแหล่งพลังงานขนาดเล็กตามชุมชน แต่ปัจจุบันเรื่องนี้ยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนักอาจเป็นเพราะ ค่าพลังงานยังถูกและไม่ขาดแคลน จะมีเฉพราะพื้นที่อยู่ห่างไกล ที่ไฟฟ้าเข้าไปไม่ถึงเท่านั้น และพลังงานทางเลือกที่จะทำได้ก็ควรมีต้นทุนที่ถูกชาวบ้านสามารถทำเองได้แต่ปัจจุบัน หลายๆ
ที่ ทางรัฐ ยังเข้าไปดูแลให้ เรื่องการลงทุนการพัฒนา ส่วนนี้ ทาง กฟผ น่าจะต้องศึกษาพลังงานที่สามารถให้ชาวบ้านผลิตเองได้เช่น เรื่อง แก๊สชีวมวลกังหันทดน้ำแต่ถ้ามี การวิจัย ที่สามารถนำ วัสดุท้องถิ่น
มาเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานไฟฟ้าโดยตรงและชาวบ้านสามารถทำเองได้ก็จะทำให้ เรื่องพลังงานทดแทนสำหรับชุมชน เป็นจริงขึ้นได้

งานกลุ่ม 3 (ชวัล, เทพรัตน์, ประสิทธิ์, วรพจน์ม, ศานิต, สุดารัตน์)

13/2/57

งานกลุ่ม-3 (ชวัล, เทพรัตน์, ประสิทธิ์, วรพจน์ม, ศานิต, สุดารัตน์)

โจทย์ กฟผ.จะร่วมสนับสนุน (CSR) โครงการ ของ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขามได้อย่างไร

ข้อมูลที่ได้รับฟังเราพบว่าทางศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม มีองค์ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง ด้านพืชผักสมุนไพรพื้นบ้าน รวมถึงวิธีการที่จะนำมาใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดี และเพื่อ เป็นการต่อยอดจากศักยภาพและทรัพยกรในชุมชน ทางกลุุ่มมีความเห็นว่า กฟผ.สามารถ
สนับสนุนให้ทำผลิตภัณฑ์สามารถทำในเชิงธุรกิจเพิ่มมากขึ้นดังนี้

  • สนับสนุนการให้มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ ในรูปแบบที่สะดวกในการใช้อุปโภคหรือบริโภคมากขึ้น
  • สนับสนุนการออกแบบ Packaging ให้สวยงาม น่าสนใจตรงกับรสนิยมผู้บริโภค
  • สนับสนุนการให้ยกระดับผลิตภัณฑ์ด้านคุณภาพ และความปลอดภัย ตั้งแต่การคัดเลือกและปรับปรุงสายพันธ์วัตถุดิบ ตลอดจนกระบวนการแปรรูป ให้ได้ตามมาตรฐานฯ รวมถึง ประสานองค์กรหรือหน่วยงานเพื่อให้มีการรับรองคุณภาพฯ เช่น อย. หรือ พัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน OTOP 5ดาว และ องค์กรที่เป็นสากลอื่นๆ เพิ่มเติม
  • สนับสนุนสำรวจความต้องการ วางแผนส่งเสริมการตลาด ผ่านกลไกของภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ
  • สนับสนุนการสื่อสารภายใน เช่นการสื่อสารขยายผลในหมู่บ้าน และขยายสู่ชุมชนอื่นๆ สนับสนุนการสื่อสารภายนอกคือการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าใจ และสามารถขยายตลาดได้มีประสิทธิภาพ
  • สนับสนุนให้ให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีบริหารจัดการองค์ความรู้ และ สนับสนุนงานวิจัยฯ เพิ่มเติมเพื่อให้ได้นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่แตกต่างและตรงตามความต้องการตลาด

จากรูปแบบการให้การสนับสนุนอย่างครบวงจรดังกล่าว เราเชื่อมั่นว่าจะสามารถส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์ชุมชน เติบโตในเชิงธุรกิจได้อย่างยั่งยืน เป็นหนึ่งใน นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน (Social Innovation) มีส่วนช่วยในการพัฒนาสังคม ชุมชน ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต เพิ่มรายได้ และ ขยายผลเป็นวงกว้าง ได้อย่างยั่งยืน

ศรีวรรณ บูรณโชคไพศาล

วันที่ 11-13 ก.พ. 57 ผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ ณ เขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี

วันที่ 11 ก.พ. 57

หัวข้อ Networking Capital กับการพัฒนาเพื่อประชาชน

โดย 1) นายชัยวัฒน์ ลิมป์วรรณธะ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี 2) นายสหัสนัย ยืนยงค์ อุปนายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี 3) นายปณต สังข์สมบูรณ์ พลังงานจังหวัดกาญจนบุรี 4) นายยุทธการ มากพันธ์ ผู้แทนชุมชน 5) นายคเชนทร์ พูนจันทร์ ผู้แทนภาคธุรกิจ (SCG) ร่วมวิเคราะห์และดำเนินการอภิปราย โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

คุณชัยวัฒน์ ผวจ. ให้ข้อมูลทั่วไป และแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการของจังหวัด ได้แก่ 1) ส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ 2) พัฒนาประสิทธิภาพระบบการผลิตสินค้าเกษตร และเกษตรอุตสาหกรรมที่ปลอดภัย 3) ส่งเสริมและพัฒนาการค้าต่างแดน โดยจะรักษาพื้นที่อนุรักษ์และทรัพยากรน้ำไว้

ศ.ดร.จีระ เน้นย้ำให้ กฟผ. มีส่วนร่วมในการพัฒนาจังหวัดให้มากขึ้น

คุณสหัสนัย ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการท่องเที่ยว และการมีส่วนร่วมกับชุมชนในพื้นที่ แนะนำให้มีตัวชี้วัด เพื่อประเมินบทบาท และการสร้างกิจกรรมการท่องเที่ยว ในส่วนที่ กฟผ. ได้มีกิจกรรมช่วยเหลือนั้น มีความเห็นว่า โครงการชีววิถี การสร้างฝายชะลอน้ำ ปล่อยปลาหน้าเขื่อน เป็นโครงการที่ดี สร้างงาน อาชีพ และรายได้ ให้ชุมชนมาก และเสนอว่ามีการจัดงานคืนรักคนสันเขื่อนเป็นการท่องเที่ยวประจำปี กฟผ. ควรสร้างความมั่นใจในเรื่องความมั่นคงของเขื่อนศรีนครินทร์ สร้างพิพิธภัณฑ์ หรือนำเสนอเรื่อง นอกจากนี้ กฟผ. ควรทำ PR มากขึ้น โดยสร้างเครือข่ายกับชุมชน นำเสนอ Srisawat Model พัฒนาทุกอ่างเก็บน้ำที่มีแพพัก เพื่อสร้างมาตรฐานแพพัก ถ้าพัฒนาได้สำเร็จ ได้ประโยชน์ 4 ฝ่ายด้วยกันคือ จังหวัด ผู้ประกอบการ และชุมชน กฟผ. ควรสร้างเครือข่ายชุมชน โดยจัดให้มีหน่วยงานพัฒนาชุมชน ร่วมงานกับชาวบ้าน

คุณปณต เสนอว่า กฟผ. ควรลงพื้นที่เพื่อชี้แจง ทำความเข้าใจกับชุมชนในเรื่องการพัฒนาการใช้พลังงานก่อนล่วงหน้า 3 ปี อยากให้ไปดูปัญหาจริงๆ ในพื้นที่และประสานกับพลังงานจังหวัด เรื่องกองทุนไฟฟ้า มีปัญหาระเบียบกองทุนยังไม่ครอบคลุม มีปัญหาในการส่งเสริม เนื่องจากเทคโนโลยีไม่ได้มาตรฐานและการบังคับใช้ไม่เต็ม 100%

ศ.ดร.จีระ สรุปว่า networking กับคนนอก กฟผ. ต้องขยายมากขึ้น และ กฟผ. ควรทำวิจัยเกี่ยวกับเงินกองทุนไฟฟ้า ได้ช่วยชุมชนจริงหรือไม่ ให้กันอย่างไร และควร follow-up ประเด็นที่ได้นำเสนอด้วย

คุณยุทธการ ผู้แทนชุมชน เสนอแนะว่า กฟผ. มีภารกิจที่ต้องจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือกอื่นๆ ซึ่งมีการต่อต้านจากชุมชน การเข้าไปชี้แจงต้องเปลี่ยนวิธีการ ชี้แจงแบบง่ายๆ ให้ชาวบ้านเข้าใจ และควรมีเครือข่ายพลังงานจะช่วยได้มาก โดยให้ กฟผง พิจารณาโรงไฟฟ้าขนาดเล็กๆ ในชุมชนที่ชุมชนสามารถทำได้เอง ส่งเข้าระบบได้หรือไม่

ศ.ดร.จีระ สรุป ต้องปรับ mind set ปรับ Paradigm ที่คุยกันจาก reality ปรับให้ relevance

คุณคเชนทร์ ตัวแทนจาก SCGpaper กล่าวถึง การสร้างทุนในเครือข่าย เป็นการลงทุนระยะยาวและวัดผลยาก ต้องใช้ทั้งคนที่มีจิตใจทุ่มเท เงิน และเวลา เพื่อทำให้คนยอมรับ มีความเชื่อมั่น ศรัทธา ต้องทำต่อเนื่อง สม่ำเสมอ และทำกับทุกๆ คน การทำ CSR ชุมชนกับสังคมต้องดูให้สมดุลกัน คือ ดูเรื่องรายได้ สังคม และสิ่งแวดล้อม บริหารให้อยู่ร่วมกันตลอดไป ต้องสร้างรายได้ให้ชุมชน ร่วมมือพัฒนาสังคม สาธารณประโยชน์ วัฒนธรรม การศึกษา ด้านสิ่งแวดล้อม ต้องเลือกเทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่ากับที่เสียไป และสร้างทดแทนได้ต้องช่วยกัน เวลาชุมชนมีกิจกรรมหรือมีปัญหา ต้องไปร่วม ช่วยเหลือ พบปะพูดคุยกัน SCG ให้ความสำคัญกับคน ซึ่งเป็นทรัพยากรมนุษย์ เข้าถึงชุมชนจ้างบริษัทสำรวจความคิดเห็นของชุมชน ชุมชนต้องการอะไร ทำตอบโจทย์ชุมชน ต้องมีการติดตาม มีโครงการ OMOC : One Manager One Community ผู้จัดการทุกคนต้องมี activity ร่วมกับชุมชน ไปดูแล สำรวจ ติดตามความคิดเห็น กลับมาทำแผนงาน และต้องไปตอบกับชุมชน SCG ไม่สนับสนุนการให้เงิน เนื่องจากควบคุมยากและไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ แต่ให้ทางชุมชนเสนอโครงการเข้ามาและให้พนักงานลงไปทำงานร่วมกับชุมชน การทำงานกับชุมชน ต้องทำงานในเชิงรุก ไม่รอให้มีปัญหาค่อยออกไปแก้ไข สรุป: เข้าถึงชุมชน ผู้นำความคิด ไม่ฝักใฝ่การเมือง สำรวจและสนองความต้องการ มุ่งสร้างประโยชน์ จริงใจ ฟังมากกว่าพูด โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ให้ชุมชนทราบ แต่อย่าเกินจริงเพราะจะเกิดผลในทางลบได้

ศ.ดร.จีระ สรุปว่า SCG มีการกระจายการอบรมไปทุกระดับ แต่ของ กฟผ. ยังไม่ทั่วถึง ยังเป็น silo มี Structure แข็ง ต้องมีการปรับแก้โครงสร้าง ทำ value added พอได้ แต่ทำ value diversity ยาก

รอบ 2 สรุป กฟผ. ควรทำอะไรต่อ

คุณสหัสนัย : กฟผ. ควรมีแผนพัฒนาชุมชนอย่างจริงจัง

คุณยุทธการ : กฟผ. ยังไม่แปรรูป ควรเป็นพี่ใหญ่ที่พึ่งได้ ทำธุรกิจพลังงานโดยมีประชาชนเป็น Partner และเครือข่าย

คุณปณต : กฟผ. ควรสร้างเครือข่าย สร้างความคุ้นเคยก่อนลงไปชี้แจงและพัฒนาโครงการ

คุณคเชนทร์ : กฟผ. มีบุคลากรมากกว่า SCG ต้องทำเป็นเครือข่ายและมีใจที่จะทำ OMOC ของ SCG ทำกันตั้งแต่ผู้จัดการถึงพนักงานระดับล่าง ภายนอกชุมชนทำกันตั้งแต่ผู้นำชุมชนถึงชาวบ้าน

หัวข้อ HR for Non HR และการปรับใช้กับงาน CSR ของ กฟผ. โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • ศ.ดร.จีระ ยกกรณี CEO คนใหม่ของ Microsoft – Satya Nadella มีปรัชญาการทำงานคือ “Curiosity and Thirst for Learning”
  • HR เกี่ยวกับ Leadership 2 อย่าง : HR ต้องเป็น leader และมีหน้าที่สร้าง leader
  • ที่สำคัญคือค้นหาตัวเอง ทำตัวเป็น HR Manager
  • กฟผ. ปัจจุบัน ต้องใช้ Non-HR ช่วย : Science & Social Science ต้องไปด้วยกัน
  • ให้ Non-HR ลงลึกเกี่ยวกับ Human Resource Management เพื่อพัฒนาลูกน้องในองค์กร
  • คุณพารณฯ – คนคือทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามากที่สุดในองค์กร
  • ศ.ดร.จีระ – ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในปัจจุบัน คือ คน
  • Factor Proportion ถ้ามีทรัพยากรธรรมชาติมากกว่าทรัพยากรมนุษย์ จะไม่มีการลงทุนเรื่องคน
  • ศักยภาพของคนอยู่ภายใน กระตุ้นให้เป็นเลิศได้
  • Non HR ต้องทำหน้าที่ 3 อย่าง : ปลูก (สอน/พัฒนา) เก็บเกี่ยว execution
  • FACTS เกี่ยวกับ HR
  • 8H +5K ทำให้มีมาตรฐาน มีคุณภาพ ความเป็นเลิศ
  • ช่วงการเก็บเกี่ยว ใช้ทฤษฎี 3 วงกลม และ HRDS (Happiness, Respect, Dignity and Sustainability)
  • ทุกคนต้องใฝ่รู้ ทำงานเป็นสุข จึงจะยั่งยืน
  • ดู VDO บทบาทของ Non-HR และ HR

Policy & Strategy : Non-HR and HR to be partner

บริหารผู้อยู่ใต้บังคัญชา(Build talent, ให้คุณให้โทษ, Policy implement, change and communication) : Non-HR is Owner, HR only support

สรรหาบุคลากร : Non-HR is customer, HR’s service

  • Workshop 7. วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันของ CEO – HR และ Non HR – อุปสรรคในการสร้าง V ที่ 3 คือ value diversity และเชื่อมโยงกับงาน CSR (ที่สำคัญที่สุด 3 เรื่อง) พร้อมทางออกที่เป็นไปได้

กลุ่มเสนอ Project สร้างรายได้ให้ชุมชนรอบโรงไฟฟ้า โดยเอาวัสดุเหลือใช้มาเป็นเชื้อเพลิง ให้ชาวบ้านขายให้ กฟผ. ตอนนี้อยู่ในระหว่างติดตั้งอุปกรณ์ อุปสรรคที่พบทั้ง 3 กลุ่ม CEO – HR และ Non HR มีความรู้ ทัศนคติ เป้าหมาย มุมมองต่างกัน ทำงานไม่สัมพันธ์กัน แนวทางแก้ไข 1) รับนโยบาย CEO ตั้งคณะไตรภาคี กำหนดแผนและผู้รับผิดชอบ 2) สื่อสารให้พนักงานรับทราบอย่างทั่วถึง หน่วย HR อบรมและให้ความรู้ การเข้าร่วมกับชุมชน ฝึกภาษา วัฒนธรรม

ศ.ดร.จีระ มี comment ว่า HR ที่ส่วนกลางควรได้รับทราบและร่วมอบรมกับในพื้นที่ด้วย นอกจากนี้ ต้องระบุและวิจัยในทุกระดับ เกี่ยวกับปัญหาที่ร่วมกันไม่ได้ ให้มีความรู้และมีทัศนคติตรงกัน

ศรีวรรณ บูรณโชคไพศาล

วันที่ 12 ก.พ. 57

เทคนิคการนำเสนออย่างทรงพลังและประทับใจ (Arts and Feelings of Presentation) โดย อาจารย์จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล

  • การอบรมประกอบด้วย การทำ workshop เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ทำงานเป็นกลุ่มและเดี่ยว คิดสร้างสรรค์ และนำเสนอ พร้อมกับการบรรยาย
  • Workshop1 ให้แต่ละคนคิดในสิ่งที่อยากเป็นในวัยเด็ก คิดเหตุผล แสดงท่าทาง ร้อยเรียงความจากจินตนาการ โดยประโยคหรือวลีสุดท้ายของคนแรก เป็นประโยคหรือวลีเริ่มต้นของคนถัดไป
  • Workshop2 ให้ดูรูปแอปเปิ้ล ข้างในเป็นส้ม แล้วคิดคำหรือวลีจากสิ่งที่เห็น นำคำหรือวลีเหล่านั้นมาร้อยเรียงความ
  • Workshop3 กลุ่มออกไปหน้าห้อง อ.ให้คำ กลุ่มคิดภายใน 30 วินาที และแสดงท่าทางสื่อสารเกี่ยวกับคำนั้น
  • Workshop4 แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ กลุ่มที่ 1 ในกลุ่มให้คำ คนที่ออกไปหน้าห้อง (เวที/stage/studio/ champion zone) พูดหรือบรรยายเรื่องเกี่ยวกับคำนั้นเป็นเวลา 1 นาที สลับกับกลุ่มที่ 2 ในกลุ่มให้คำ
    คนที่ออกไปหน้าห้อง พูดหรือบรรยายเรื่องเกี่ยวกับคำนั้นเป็นเวลา 1 นาที เหมือนกัน แต่ อ. จะกำหนดให้พูดเป็นภาษา Gibberish (nonsense talk, unintelligible language= ภาษาที่คิดขึ้นมาเอง) สลับกับภาษาไทยปกติ
  • Workshop5 กลุ่มสรุป Reflection ที่ได้จากการทำกิจกรรม (สำหรับกลุ่ม 7 เป็นการฝึกใช้สมองซีกขวาในการสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบ ฝึกให้มีไหวพริบ สร้างจินตนาการ รู้จักแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และทำงานร่วมกันเป็นทีม ในการนำเสนอถ้ามีท่าทางประกอบด้วยจะสร้างความเข้าใจให้กับผู้ฟังได้ดีและสร้างความสนุกสนานได้)

สรุปจากการบรรยายและสิ่งที่ได้เรียนรู้

  • กิจกรรมเป็นการฝึกและดึง Beginner Mind (การคิดแบบเด็กๆ น่ารักๆ คิดนอกกรอบ =จิตประภัสสร) นอกเหนือจากการใช้ Expert Mind
  • การนำเสนอ การสื่อสาร ที่สามารถดึงดูดใจคน แสดงได้ด้วย ตัวหนังสือ 7% น้ำเสียง 38% ท่าทาง 55%
  • Brand Senses (รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส) ใช้ช่วยนำเสนอบุคลิกภาพ สร้างอารมณ์ ความรู้สึก เช่น ในการโฆษณาทางธุรกิจ จากการวิจัยพบว่า สิ่งที่ทำให้จำได้ดี คือ รูป และ กลิ่น ตัวอย่างเช่น starbucks
  • Singapore Airline ได้ brand senses เป็นอันดับ 1 ด้าน visual - นำเสนอโดยเลือกพนักงานที่สวย อายุน้อย และมีรูปร่างดี ด้านกลิ่น - ออกแบบน้ำหอมกลิ่น Stefan Floridian Water เพื่อสร้างบรรยากาศเฉพาะใน cabin
  • นำความรู้ไปประยุกต์ ใช้ Creativity ให้เกิด Content & Presentation ดัดแปลง สร้าง ให้เกิด involvement (มีส่วนร่วม) และเข้าใจในสิ่งที่นำเสนอ
  • Content ทำให้มีชีวิต ชีวา ตรึงใจ ให้หมายรู้
  • Presentation สร้าง arts & feeling เพิ่มเสน่ห์และความน่าสนใจในส่วน 55%


หัวข้อ นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน (Social Innovation) กับการทำงานของ กฟผ.

โดย ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ ; คุณรังสรรค์ อัฐมโนลาภ ผู้ช่วยผู้ว่าการกิจการสังคม (ชคส.) ; คุณสุทธิเดช สุทธิสมณ์ อดีตผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ; ดำเนินการอภิปราย โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

คุณรังสรรค์ อัฐมโนลาภ (ชคส.)

  • กฟผ. ได้รางวัล CSR ดีเด่น 4 ปี ปี 51-ปลูกป่า ปี 52-ชีววิถี ปี 56-ชุมชนบ้านคลองเรือ
  • สรุปนโยบาย EGAT CSR คำนึงถึงสังคม เน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน ป้องกัน/บรรเทาผลกระทบที่เกิดจากการดำเนินการ ทำให้ดีกว่ามาตรฐานที่กำหนด สร้างวัฒนธรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร
  • กฟผ. มี 10Silo ต้องทำลายกรอบและร่วมกันทำ CSR สร้างการยอมรับจากชุมชน
  • นวัตกรรมด้าน CSR : วิเคราะห์ Stakeholder + วิเคราะห์ ความต้องการ/ความคาดหวัง ทำงานร่วมกันทั้งองค์กร
  1. รวมแผน/แยกปฏิบัติ (กฟผ. ทั่วประเทศ รวมแผนไม่ให้ซ้ำซ้อน แบ่งกันไปทำ ?????)
  2. ปรับปรุง
  3. CSR ภายในสู่ภายนอก (คน กฟผ. ต้องมีจิตใจ CSR ก่อน ทำเพื่อองค์กร)
  4. CSR/PR
  5. ประเมินผล /Audit (ทั้งภายในและภายนอก -Third Party ตรวจสอบ)
  • การทำ CSR ไม่ใช่การบริจาค
  • ภายใน-CSR in process ทำในกระบวนการหลัก มีวัฒนธรรม CSR และร่วมกันทำ/จิตอาสา
  • CSR สังคมใกล้ พัฒนาสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม ในบริเวณโรงไฟฟ้าและพื้นที่โดยรอบหน่วยงาน กฟผ. ทำให้อยู่อย่าง พอกิน พอใช้ à พอกิน มีสุข à มั่งมี ศรีสุข
  • CSR สังคมไกล พัฒนาสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม ในภาพรวม โครงการปลูกป่า ชีววิถี
  • เน้นทำให้ชุมชนเข้มแข็ง เช่น โรงไฟฟ้าชุมชนบ้านคลองเรือ

ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ (จ.บุรีรัมย์)

  • การพัฒนาชุมชน ควรทำให้ชุมชนเป็นผู้เรียน อยากรู้ อยากเห็น ปลุกให้ตื่นตัว พัฒนาตนเอง ไม่ใช่พัฒนาให้ชุมชนแบมือขอ ต้องยุให้ชุมชนคิดทำเองและมีส่วนร่วม อย่าไปบอกว่าต้องทำ ต้องคิดแบบนี้ แบบนั้น
  • ปัจจุบันชุมชนรับรู้ข่าวสารมากขึ้นและรวดเร็ว ต้องให้เรียนรู้เรื่องที่แปลก เห็นผลชัดและเร็ว เป็นเรื่องง่ายๆ เกี่ยวกับ ชีวิตประจำวัน ภูมิปัญญาชาวบ้าน หรือปัญหาของเขา
  • ส่งเสริมให้คิด มีโจทย์ใหม่ๆ ให้มีการแข่งขัน สนุกและเพิ่มพูนความรู้ สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
  • การพัฒนาต้องเข้าให้ถึงโจทย์ ต้องดูปัญหา สภาพแวดล้อม พัฒนาคนที่อยากพัฒนา
  • คำพูดของครูบา CSR ฝั่งชุมชน “หัวใจของชุมชนคือการสร้างความอยากเรียนรู้ให้ชุมชน

คุณสุทธิเดช สุทธิสมณ์ (อดีตผู้บริหารกฟภ.)

  • Social Innovation (นวัตกรรมทางสังคม) ต้องเป็นเรื่องใหม่ สร้างสรรค์ และเป็นความรู้ มีความแรง ตรงกับปัญหาและยั่งยืน
  • มีผลต่อสังคมและประเทศโดยรวม และมีผลภายในองค์กรอย่างรุนแรง
  • ศ.ดร.จีระ เสริมว่า Social Innovation เริ่มจาก Creativity + Knowledge àTurn into Action & Success มีสองระดับคือ General กับ Specific ตอนนี้ยังไม่ถึงจุดสำเร็จ จะ Overcome difficulty ได้อย่างไร
  • คุณสุทธิเดช เล่าให้ฟังเกี่ยวกับ Social Innovation ของ กฟภ. 2 เรื่อง ภายนอกต่อชุมชน ได้แก่ rural electrification และภายใน การพัฒนาองค์กรให้เป็น LO (ปี 2549)
  • เรื่อง Rural electrification หรือไฟฟ้าชนบท แผนแม่บทฯ ให้ทำ 55,000 หมู่บ้าน ใช้เงินลงทุน 14,000 ล้านบาท ใช้เวลา 25 ปี ผู้บริหารฯ ส่วนใหญ่ไม่อยากทำเพราะขาดทุน ค่าลงทุนหมู่บ้านละ 4 แสนบาท ขาดทุน 14% แต่ ดร.วีระ ผวก. ในขณะนั้น มีความมุ่งมั่น ส่งให้ Worldbank (WB) ประเมิน EIRR ได้ 28%WB ให้กู้ 500 ล้านบาท เริ่มโครงการแรกทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงแรกความก้าวหน้างานช้ามาก เพราะไม่เกิด shared vision สรุปใช้เวลารวม 35 ปี มีไฟฟ้าใช้ 74,000 หมู่บ้าน ใช้เงินลงทุนรวม 60,000 ล้านบาท โครงการสามารถเกิดได้ ไฟฟ้าช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ตัวเลขบัญชีไม่ขาดทุน โดยสรุป การลงทุนด้าน infrastructure ไม่ขาดทุน ช่วยให้ประชาชนมีมาตรฐานคุณภาพชีวิตดีขึ้น
  • ส่วน Innovation ในองค์กร ปี 2536 มีกระแสเรื่องการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ นโยบาย ผวก. กฟภ. ช่วงนั้นให้เน้นเรื่องพัฒนาคน ฝึกอบรมให้พร้อม privatization ปี 2549 ผวก. ให้ยุทธศาสตร์เรื่อง LO ขับเคลื่อน กฟภ. เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มี ดร.จีระ เป็นที่ปรึกษา ดำเนินการ 3 ขั้นตอนคือ 1. LOA: Learning or Awareness 2. Knowledge Audit 3. Knowledge Critique แต่ตอนนี้ไม่ได้ทำต่อแล้วเนื่องจากเปลี่ยนผู้บริหาร
  • สรุป Social Innovation มีผลต่อชุมชนและองค์กร ต้องสร้างให้เกิดวิสัยทัศน์ร่วม

สรุปช่วงแสดงความคิดเห็น

  • สำหรับ กฟผ. มีหลาย silo ต้องสร้างทัศนคติที่ดีในการทำ CSR ร่วมกับชุมชน จัด priority และเลือก CSR ที่จำเป็นทำก่อน ต้องทำให้ชุมชนไว้วางใจให้ได้
  • ประเด็นการจัดหาที่ดินหรือที่ตั้งโรงไฟฟ้า หน้าที่จริงๆ ควรเป็นของกระทรวงต้นสังกัด
  • โรงไฟฟ้าถ่านหิน ต้องทำ PR ให้นาน ลึก แรง จนชุมชนยอมรับ ทำให้ชาวบ้านเห็นว่าพัฒนาไฟฟ้าแล้ว สังคมจะพัฒนาอย่างไร
  • คนจะทำ CSR ต้องใจดี รักประเทศ รักประชาชน สามารถช่วยแก้ปัญหาได้
  • กฟผ. ทำ CSR หลายเรื่อง แต่คนไม่ค่อยรู้ ทำ CSR แล้วต้อง PR แล้วต้องประเมิน P-D-C-A
  • ควรทำสิ่งที่ กฟผ. ถนัดจริงๆ เริ่มจากสิ่งง่ายๆ ถามชุมชนต้องการอะไร ให้ความรู้และแนะนำชาวบ้าน
  • เชิญคนที่รู้ไปเป็นที่ปรึกษา และให้ทำความสัมพันธ์กับการเมืองท้องถิ่นด้วย เพราะมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
  • ควรมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ด้าน CSR โดยตรง
  • เสนอวิธีการที่ทำอยู่ คุยกับชาวบ้าน ให้ความเป็นธรรม ต้องออกไปประชาสัมพันธ์ หาแนวร่วมว่าคนไหนสนใจอยากมาช่วย กฟผ. บ้าง เมื่อรับทราบว่า กฟผ. ทำอะไรและเขายินดีมาร่วม หาคนที่กล้าแสดงออกเข้ามาเป็นแนวร่วมกับชุมชนเพื่อให้ข้อมูลเชิงลึก ก่อนที่ NGOs จะมาให้ข้อมูลผิดๆ ส่วน NGOs ที่ทำงานร่วมกับ กฟผ. ยังมีประเด็นอยู่ ต้องวางแผนแต่ละกลุ่ม แยกให้ข้อมูลกันไป
  • การทำงานร่วมกับท้องถิ่นขอให้ กฟผ. ทำงานเป็นหลัก ใครดูแลตรงไหน ไม่ใช่เอาเงินมาหว่าน
  • วัฒนธรรมองค์กรของ กฟผ. แข็งไป อย่าทำงานอิงระบบ ควรเข้าถึงชุมชน เป็นเพื่อน สร้างความสัมพันธ์ที่ดี
  • ศ.ดร.จีระ สรุป ต้องทลาย silo ทำให้เกิด value diversity ใช้ networking และ job rotation


หัวข้อ การสร้างเครื่องมือและการสุ่มตัวอย่าง และสถิติเบื้องต้นสำหรับการทำวิจัย โดย อาจารย์กิตติ ชยางคกุล และคุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

โครงการเชิงวิจัยภายใต้แนวคิดหลัก “วิเคราะห์อนาคต กฟผ. ในปี 2020 กับแผนการเตรียมความพร้อม”

อ.กิตติ ติดตามการพิจารณาปัญหาและเสนอหัวข้องานวิจัยจากแต่ละกลุ่ม

  • กลุ่ม 7 หัวข้อ “การพัฒนาระบบส่งไฟฟ้าให้มีความมั่นคงและเพียงพอกับความต้องการในปี 2020”
  • หลักการ : เนื่องจากงบลงทุนมีข้อมูลถึงปี 2020 พิจารณาดูว่าการก่อสร้างระบบส่งมีขั้นตอนอะไรบ้าง ใช้ระยะเวลาในการดำเนินงานแต่ละขั้นตอนเท่าไร วิเคราะห์ปัญหาการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอน และแนวโน้มในการแก้ไข ประเมินระยะเวลาที่ลดได้
  • ปัญหา คือก่อสร้างไม่เสร็จตามที่กำหนด เพราะมีขั้นตอนมาก แต่ละขั้นตอนมีปัญหา เช่น กระบวนการยังไม่เหมาะสม ให้พิจารณาเพียงขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งที่คิดว่ามีผลกระทบกับการก่อสร้างมากที่สุด ให้มองว่าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริง สามารถแก้ไขปัญหาได้ในช่วง 1-3 ปี (Reality & Relevance)
  • นำเสนอว่าจะทำหัวข้ออะไร เพื่อพัฒนาหรือแก้ไขปัญหา ต่อไปให้หาหลักฐานและพิจารณาแนวทางการแก้ไข
  • กลุ่ม 7 หัวข้อ “การพัฒนาระบบส่งไฟฟ้าให้มีความมั่นคงและเพียงพอกับความต้องการในปี 2020” เปลี่ยนเป็น “ปัญหาความล่าช้าในการก่อสร้างระบบส่งของ กฟผ : ศึกษากรณีการได้มาซึ่งที่ดิน”

11 กุมภาพันธ์ 2557

Networking Capital กับการพัฒนาเพื่อประชาชน

จ.กาญจนบุรี
มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน 320 กม. มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ อยู่ใกล้กรุงเทพฯประมาณ
1 ชั่วโมงครึ่งถึง 2 ชั่วโมง ถ้าวิ่งไปสังขละบุรีใช้เวลา3- 4 ชั่วโมง

ดินแดนกาญจนบุรีเป็นดินแดนประวัติศาสตร์ เช่น วัดนางพิม อยู่ตรงกาญจนบุรีเก่า(แยกแก่งเสี้ยน เลยลาดหญ้ามา)

ข้อมูลทั่วไป

- ทิศตะวันตกติดประเทศพม่า

  • -มีแม่น้ำแควใหญ่- ผลิตไฟฟ้า-อุปโภคบริโภค
  • -ผลิตภัณฑ์มวลรวม 9 หมื่นกว่าล้าน เป็นอันดับ 24 ของประเทศอันดับ 2 ในจังหวัดตะวันตก
  • -เหนือเขื่อนศรีนครินทร์เป็นแหล่งประมงที่ทรงคุณค่า
  • -มีนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศมาเป็นจำนวนมากในแต่ละปี
  • -อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจประมาณ 4.5 % ต่อปี

ยุทธศาสตร์จังหวัดกาญนบุรี ซึ่งได้มาจากการใช้จุดแข็งและโอกาสที่มีอยู่

    1.ส่งเสริมเป็นสูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
  • 2.พัฒนาประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรและเกษตรอุตสาหกรรม
  • 3.ส่งเสริมและพัฒนาการค้าผ่านแดน

นายสหัสนัย ยืนยงค์ อุปนายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี

    -การท่องเที่ยวและการมีส่วนร่วมประชาชนในพื้นที่
  • -โครงการชีววิถีเป็นโครงการที่ดีมากให้ความรู้กับชุมชน เป็นโครงการสร้างงาน สร้างอาชี
  • -โครงการฝายชะลอน้ำ เป็นการอนุรักษ์ธรรมชาติทำให้อุดมสมบูรณ์ ทำให้ชุมชนมีส่วนร่วมในเครือข่าย
  • -การตกปลาเป็นอีกแพ็คเกจที่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวไปขายสนามตกปลาเป็นอีกสนามหนึ่งที่แข่งขันตกปลา
  • -โครงการจัดงานคืนรักคนสันเขื่อน เป็นการสร้างความมั่นใจให้ประชาชนทั่วไป เป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ของคนในพื้นที่

นายปณต สังข์สมบูรณ์ พลังงานจังหวัดกาญจนบุรี

    -เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่
  • -พลังงานทดแทน Biogas , Biomassเหง้ามันสำปะหลัง ยอดอ้อยใบอ้อย

นายยุทธการ มากพันธุ์

กฟผ. ควรมีเครือข่ายผู้ผลิตไฟฟ้า เครือข่ายพลังงานขนาดเล็ก
1 ล้านครัวเรือนจะมีพลังงานมหาศาล ร่วมกันสตาร์ดเครื่องเจนเนอเรชั่น
จะได้พลังงานจำนวนมาก กลุ่มประชาชนผลิตน้ำมันเองได้ น่าจะสร้างเครือข่ายตรงนี้

นายคเชนทร์ พูนจันทร์ ตัวแทนจาก SCG

    -การสร้างทุนทางเครือข่ายเป็นการลงทุนระยะยาว สร้างความเชื่อมั่น ศรัทธา ทำต่อเนื่อง สม่ำเสมอ
  • -บริหารแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนสำรวจชุมชนมีความคิดเห็นหรือต้องการอะไรปรเมินผลติดตาม
  • -SCG ไม่สนับสนุนโดยการให้เงิน ใช้วิธีคิดร่วม แล้วทำ
  • -ทำในเชิงรุก (ไม่รอให้ปัญหาเกิดก่อนจึงทำ) และจริงใจ

HR for Non HR และการปรับใช้กับงานCSR ของ กฟผ.

- HR เกี่ยวข้องกับ Leadership 2 อย่าง ต้องเป็น Leader และมีหน้าที่คือไปสร้าง Leader

- Science & Social Science ต้องผสมกัน

- Turn Intangible มาเป็น Tangible

- Non HR ต้องลงลึกเกี่ยวกับ Human Resource ในสายงานนอกจาก Resource Department

- การแข่งขันขึ้นอยู่กับ Quality

- ถ้าเราจะเป็น Non HR ที่เก่งเรื่องคนเราต้องมีปรัชญาเรื่องคน

- Potential ของมนุษย์อยู่ข้างในที่มองไม่เห็นอีกมาก ต้องกระตุ้นให้ Potential ที่ซ่อนอยู่ออกมา

-การมองทรัพยากรมนุษย์ ต้องมองจาก Macro ไปสู่ Micro

-เปลี่ยนก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน( Change before you are force to change )

ความเจริญ Depend on the Quality of HR.

- Non HR ต้องทำ 3 อย่าง เพื่อบริหารทุนมนุษย์ให้ประสบความสำเร็จ ไปสู่ความเป็นเลิศคือ 1.ปลูก 2.พัฒนา 3. เก็บเกี่ยว

HR Department

- ต้องให้บทบาท HR ไปสู่ Non HR หรือ Line Manager มากขึ้น

HR Function

- HR ยุคใหม่ต้องไม่ติดความคิดเดิม ๆ

- ต้องเรียนรู้ทำงานแบบเครือข่าย

- กฟผ.ยุคใหม่ต้องคิดอะไรที่แตกต่าง อาจเน้นการทำธุรกิจอื่นที่ไม่ใช่ไฟฟ้า

- การทำงานอย่างมีความสุข (Happiness)

- ยกย่องคนทุกระดับ (Respect)

- ให้คนอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี (Dignity)

- มองไกลและยั่งยืน (Sustainable)

- HR. ยุคใหม่ต้องเน้นการทำงานแบบ Strategic Partners และบริหารการเปลี่ยนแปลง

ศูนย์บำบัดธรรมชาติ บัลวี

วันที่ 10 กพ 57

ปัญหาสุขภาพบางอย่างไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค แต่เกิดจากความเสื่อมของร่างกาย
กินอาหารไม่ถูกต้อง หรือปฏิบัติตัวไม่ถูกต้อง และมีมากขึ้นเรื่อยๆเช่นโรคอ้วนปวดเมื่อยตามข้อ ๆลๆ

ได้ทราบวิธีคำนวนดัชนีมวลกาย BMI และความหมาย

ประเภทไขมัน คุณสมที่ดี และไม่ดีของไขมันสูตรการกินอาหารลดความอ้วน การบริหารร่างกาย

การรักษาโรคต่างๆ โดยวิธีแพทย์ทางเลือก เช่นการใช้สมุนไพร
และการปรับการกินอาหาร

การใช้น้ำรักษาโรค เช่น การการอบสมุนไพร การอบซาวน่า การออกกำลังกายในน้ำ

ซึ่งเราสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันเราได้

เขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี

วันที่ 11 กพ 57

ผู้ว่าราชการจังหวัด กาญจนบุรี

ได้เสนอแนวทางพัฒนาจังหวัด โดยเฉพาะ ด้านท่องเที่ยวเนื่องจากมีความพร้อม ด้านสภาพภูมิศาสตร์
และมีประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ ทั้งสองอย่างนี้สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้
อีกด้านหนึ่งคือด้านการเกษตรอุตสาหกรรม เนื่องจากมีเขื่อนใหญ่
ทั้งเขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนวชิราลงกรณ์ ที่เป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ หล่อเลี้ยงพืชเกษตร
และเป็นแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งอนาคตเมืองกาญจนบุรี จะเป็นประตู สู่เมืองทวาย
ประเทศพม่า อีกด้วย

นายสหัสนัย ยืนยงค์ อุปนายกส่งเสริมการท่องเที่ยว

เขื่อนศรีนครินทร์ มีบทบาทด้านการท่องเที่ยวอย่างมากเนื่องจากอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพๆ

และทำโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน เช่น โครงการชีววิถี ๆลๆ
และยังมีกลุ่มคนเข้ามาดูงานที่เขื่อนจำนวนมาก
ซึ่งเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวไปในตัวและอยากให้กฟผ
เข้ามาช่วยพัฒนาผู้ประกอบการ ให้มีคุณภาพ และมารตฐานมากขึ้น

นายปณต สังข์สมบูรณ์ พลังงานจังหวัด

มองเรื่องพลังงานทดแทน เพราะเป็นพื้นที่เกษตร และมีวัสดุจากการเกษตรมาก เช่น
ชานอ้อย มันสัมปหลัง อยากให้ กฟผ ร่วมกับชุมชน พัฒนาด้านพลังงานทดแทน
นอกจากโครงการประหยัดพลังงานที่ทำอยู่

นายยุทธการ มากพันธุ์

ให้ กฟผ ทำเครือข่ายพลังงานขนาดเล็ก โดยให้ชุมชนรอบๆโรงไฟฟ้า
มีส่วนร่วมเป็นผู้ขายไฟฟ้าที่ผลิตได้ให้กฟผ ถ้ารวมกันได้มากๆ ก็จะได้ไม่ต้องสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ และชุมชนจะได้มีรายได้และไม่ต่อต้าน กฟผ

นายคเชนทร์ พูนจันทร์ บริษัท SCG

การทำงานชุมชนต้องให้ชุมชนไว้ใจ ต้องใช้ระยะเวลายาว
ต้องทำเชิงรุกไม่รอให้เกิดปัญหา

SCG ดูแลชุมชนหลายด้าน เช่น เรื่องรายได้ ด้านสังคม สิ่งแวดล้อม การศึกษา สร้างงาน
พัฒนาชุมชนโดยผู้จัดการทุกคนต้องรับผิดชอบดูแลชุมชน
สำรวจติดตามความคิดเห็นชุมชนตลอดเวลา

เพื่อนำมาทำแผนงานโดยใช้ชุมชนเป็นตัวตั้ง

ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

ผู้บริหาร ทุกระดับ ควรมีบทาท HR มากขึ้น งาน HR ไม่ใช่เป็นหน้าที่ ของ HR
departmentผู้เดียว แต่ผู้บริหารยุคใหม่
นอกจากเป็น HR แล้ว ต้องทำงานแบบเครือข่าย

และเป็น leader สร้าง leader รุ่นใหม่ต่อๆไปด้วย

การทำงาน CEOHRNON-HR ต้องทำงานร่วมกันตั้งค่านิยมองค์กรณ์ วิสัยทัศน์

และระบบ HR ให้ไปในทิศทางเดียวกัน

กฟผ ควรปรับปรุง บทบาท ของ NON HR ให้เพิ่มขึ้น โดยผู้บริหารระดับสูงควรแจ้งเป็นนโยบาย
และกำหนดวิสัยทัศน์ ของโรงไฟฟ้าแต่ละที่ซึ่งอาจจะไม่เหมือนกัน
แล้วกำหนดให้เป็นงานในความรับผิดชอบของ NON HR

วันที่ 12 กพ 57

อ. จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล ART & FEELING

ได้เรียนรู้จากเกมล์ ที่สามารถดึง ศักยภาพของเราออกมาได้โดยเป็นการฝึกสมองซีกขวา ให้ทำงานมากขึ้น
ช่วยให้เราฝึกเรื่องความคิดสร้างสรรค์ เรามีความมั่นใจมากขึ้น
การทำงานเป็นทีมและสนุกสนาน โดยเฉพาะช่วงที่แสดงภาษากายตามที่โจทย์บอก

ซึ่งรวมๆ ทั้งหมดจะเป็นเรื่องการแสดงออกของผู้นำ
ที่จะต้องฝึกเอาไว้เพื่อพูดต่อหน้าคนอื่นๆ

หรือสาธารณะชน เพื่อให้เป็ฯที่จดจำ น่าสนใจ และจากการวิจัย พบว่า คำพูด
จะจดจำได้ 7 %

น้ำเสียง จดจำได้ 38 % ท่าทางภาษากาย
จดจำได้ 55 %

นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน

นายรังสรรค์ อัฐมโนลาบ

ต้องคำนึงถึงสังคม พัฒนาอย่างยั่งยืน
ป้องกันผลกระทบและต้องเยียวยาทำดีกว่ามารตฐาน

สร้างวัฒนธรรมความรับผิดชอบต่อสังคม

ทำCSRต้องทำจากภายในสู่ภายนอกรวมแผน แต่แยกปฏิบัติทำลายกรอบ ( silo )

มองชุมชนเป็นเพื่อน

ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์

การพัฒนาชุมชนต้องให้ชุมชนอยากเรียนรู้เริ่มจากเรื่องง่ายๆให้ชุมชนรวมกลุ่มสร้างเครือข่ายนำความรู้มารวมกันและเรียนรู้ด้วยตนเอง

นายสุทธิเดช สุทธิสมณ์

กฟภไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องมวลชนเนื่องจากชุมชนต้องการให้มีไฟฟ้าเข้าไป
ปัญหาจะคนละอย่างกับ กฟผ

Social innovation ต้องเป็นเรื่องใหม่สร้างสรรค์มีผลกระทบในวงกว้างทางสังคม

ในเรื่องการจัดการด้าน csr เพื่อสร้างการยอมรับการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ควรมีแผนงานและเป้าหมายชัดเจน
ที่เป็นแผนใหม่ไม่ใช่เป็นแผนปกติ หรืองานปกติที่ทำกันอยู่ การสร้างการยอมรับ
โดยแบ่งกลุ่มเป้าหมายตามสภาพกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน
เช่น กลุ่มผู้นำท้องถิ่น กลุ่มราชการ กลุ่ม NGO กลุ่มครูอาจารย์กลุ่มนักเรียน กลุ่มอาชีพที่โดนผลกระทบ กลุ่มประชาชนทั่วไป ๆลๆ

โดยแต่ละกลุ่ม มีความต้องการไม่เหมือนกัน ดังนั้น การทำแผนรองรับกลุ่มต่างๆ
ก็จะต่างกันไปเพื่อให้แต่ละกลุ่มเกิดการยอมรับการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ได้

ศรีวรรณ บูรณโชคไพศาล

วันที่ 13 ก.พ. 57

ศึกษาดูงานศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม : ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรเเละพลังงานทางเลือก

ช่วงที่ 1 บรรยายเรื่อง เกษตรทางเลือกและเรื่องเครือข่ายชุมชน

โดย อาจารย์ทิวาพร ศรีวรกุล ผู้อำนวยการศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม

  • ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม มีพื้นที่ 14 ไร่ อยู่ใน อ.เมือง จ.กาญจนบุรี ส่งเสริมการเรียนรู้ของเกษตรกร แบ่งเป็นฐานเรียนรู้ 7 ฐาน 1) เศรษฐกิจพอเพียง 2) หมูหลุม 3) สมุนไพรพื้นบ้าน 4) ก๊าซชีวภาพ 5) น้ำยาเอนกประสงค์ 6) น้ำส้มควันไม้ 7) แปรรูปอาหารและอาหารสัตว์
  • เป็นศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน สอนเกษตรกรที่เข้าโครงการพักชำระหนี้ 1) สอนให้เกษตรกรเห็นปัญหา คิดหาทางแก้ไข 2) ดึงศักยภาพออกมา ให้เข้าใจฐานะ รู้บทบาทตนเอง สร้างความเชื่อมั่นคืนให้เขา
  • เน้นการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ปลูกพืชผัก พบปะมิตร ไปมาหาสู่กัน เยี่ยมเพื่อน (รวมกลุ่ม) สุขภาพ (ปฏิบัติธรรม) พอเพียง เป็นเครือข่าย
  • เพื่อให้เกิดความยั่งยืน 1) กล้า ตั้งเป้าหมายการเปลี่ยนแปลง 2) มีข้อมูลมาช่วยวางแผน 3) วางแผน – เพิ่มรายได้ ลดค่าใช้จ่าย ขยายโอกาส 4) ลงมือทำ 5) หาความรู้เพิ่ม 6) พัฒนาต่อเนื่อง
  • ข้อคิด อ.เสน่ห์ เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง พื้นฐานความเข้าใจร่วมกัน ประเทศเป็นหน่วยสังคมชีวิต อย่าลืมสถานะ และบทบาทของตนเอง การสูญเสียคุณภาพคน การจัดสมดุลเพื่อสร้างความยุติธรรม
  • ในอนาคตจะเกิดวิกฤตอาหาร ต้องฝึกให้เด็กทำเป็น ดำรงชีวิตอยู่ได้ เมื่ออาหารขาดแคลน ราคาแพง เด็กต้องทำงานให้มีรายได้เพื่อซื้อกินได้
  • ภูมิปัญญาไทยต้องรักษา
  • พืชสมุนไพรไทย นอกจากรับประทานเป็นอาหารแล้วยังใช้รักษาโรคได้ ได้แก่
    • ฟักข้าว (GAC) ยอดอ่อนจิ้มน้ำพริก ลูกอ่อนทำแกงส้ม แกงเลียง ใช้แทนยาเขียว เนื้อในเมล็ดรักษาวัณโรค รักษาแผล ฝี หนอง เยื่อ มีสารไลโคปิน ใช้รักษา บำรุงสายตา ต้านเซลล์มะเร็ง น้ำฟักข้าว แก้ภูมิแพ้ เบาหวาน ความดัน เนื้อมีโปรดตีนต้าน HIV
    • สาบเสือ ใช้ห้ามเลือด ตุ๋นแก้ช้ำใน ยอดจิ้มแจ่วกินได้ โขลก-แช่น้ำ กรอง ใช้ไล่แมลงได้
    • ผกากรอง ลูก-ตำผสมน้ำไล่แมลง พอกใส่แผล สมานแผล สมานกระดูก
    • สบู่ดำ น้ำมันในเมล็ดใช้ทำไบโอดีเซล ยาง-แต้มแก้ปากเปื่อย ปากนกกระจอก ใช้เป็นยาเสริมสร้างภูมิแพ้ในคนที่เป็นโรคเอดส์
    • สะเดา เมล็ดใช้ไล่แมลงได้
    • น้อยหน่า ใบ-พอกแก้เหา เมล็ด-โขลกแช่น้ำไล่แมลง
    • หางไหล ราก-ทุบแช่น้ำ ไล่แมลง
    • ใบหนาด จีนปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ ดองศพไม่ให้เน่า สกัดน้ำมันหอมระเหย เคี้ยวสด-แก้ท้องอืด
    • แมงลักคา คั้นน้ำ แก้ไข้ ชักกระตุก ใช้ไล่แมลงได้
    • กัญชาป่า ลดเบาหวาน จิ้มน้ำพริก ใส่แกง กินแล้วหลับสบาย

ช่วงที่ 2 บรรยายเรื่อง พลังงานทางเลือกและการจัดการพลังงาน

โดย อ.ยุทธการ มากพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรและการพัฒนาทางเลือกจังหวัดกาญจนบุรี

  • บรรยายภาพรวมการใช้พลังงานรูปแบบต่างๆ เน้นพลังงานทดแทน
  • Solar cell ใช้เซลล์แบบ amorphous ประสิทธิภาพดีกว่า polycrystalline
  • กังหันลม พอมีศักยภาพ แต่ความเร็วลมไม่สูงเท่าต่างประเทศ
  • ชีวมวล ยังมีปัญหาความชื้นสูง
  • ก๊าซชีวภาพ หญ้าเนเปียร์ ใช้เป็นพลังงานทดแทนได้
  • ชมการสาธิตการใช้อุปกรณ์ เตาเผาแบบ gasification เหมาะสำหรับใช้ภายในชุมชน ใช้แกลบหรือเศษวัสดุเหลือใช้เป็นเชื้อเพลิงแทน LPG ซึ่งมีราคาสูง สามารถให้พลังงานพอใช้สำหรับกิจกรรมในชุมชน

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2557

หัวข้อ รักษ์กาย ณ ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี

การทำกิจกรรมที่ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวีได้เรียนรู้ธรรมชาติบำบัดปรับชีวิต เปลี่ยนอาหาร หลักการแพทย์พอเพียง บรรยายโดย นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ เรื่องของการรับประทานอาหารที่ถูกต้องควบคู่ไปกับการออกกำลังกายเรียนแบบธรรมชาติ

ส่วนวารีบำบัดสร้างเสริมสุขภาพ โดย พญ.ลลิตา ธีระสิริ ได้สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้น้ำในการรักษาสุขภาพ

นอกจากการเรียนรู้แล้วยังได้ปฏิบัติเรียนรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างมาก สามารถนำประสบการณ์มาปรับการใช้ชีวิตการกินและการออกกำลังกาย รักษาสุขภาพแบบธรรมชาติ นอกจากสิ่งที่ได้กับตนเองและยังสามารถนำประสบการณ์ไปให้กับบุคคลรอบข้างและในครอบครัวได้

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557

หัวข้อ NETWORKING CAPITAL กับการพัฒนาเพื่อประชาชนได้รับรู้ข้อมูลภาพรวมของจังหวัดกาญจนบุรี ด้านการท่องเที่ยว , พัฒนาเศรษฐกิจและอนุรักษ์ รวมทั้งแนวทางการพัฒนาสู่อนาคต โดยนายชัยวัฒน์ ลิมป์วรรณธะ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งได้กำหนดยุทธศาสตร์และแบ่งพื้นที่ของจังหวัดเป็น ๓ โชน ไปสู่การพัฒนา ประกอบด้วย

1. โวนอนุรักษ์พื้นที่ อ.ทองผาภูมิ อ.สังขระ อ.ไทรโยค

2. โชนเศรษฐกิจพื้นที่ อ.เมือง อ.ท่ามะกา อ.พนมทวน และ อ.บ่อพลอย (บางส่วน)

3. โชนอีสานพื้นที่ อ.ห้วยกระเจา อ.เลาขวัญ อ.หนองปรือ อ.พนมทวน และ อ.บ่อพลอย (บางส่วน)

มุ่งสร้างรายได้มวลรวมของจังหวัดด้านการท่องเที่ยวผลิตผลทางการเกษตรสู่ตลาดภายนอก เช่น อินเดีย , ตะวันออกกลาง และรัฐเซีย เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีผู้แทนภาคส่วนในจังหวัดมาให้มุมมองประกอบด้วย

- นายสหสนัย ยืนยงค์ อุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จ.กาญจนบุรี การท่องเที่ยว / การมีส่วนร่วมของชุมชนรอบพื้นที่เขื่อนศรีนครินทร์ ได้รับความร่วมมือจาก กฟผ. มีส่วนร่วมกระตุ้นการท่องเที่ยวให้กับภาคประชาชน

- นายปณต สังข์สมบูรณ์พลังงานจังหวัดกาญจนบุรีมุมมองการอนุรักษ์พลังงานและการมีส่วนร่วมสร้างการรับรู้การพัฒนาพลังงานไฟฟ้าสู่ชุมชนให้เกิดการยอมรับร่วมกัน

- นายยุทธการ มากพันธุ์ ตัวแทนชุมชน มุมมองเกี่ยวกับการสร้างเครือข่าย โดยมุ่งเกี่ยวกับส่วนแบ่งด้านพลังงานสู่ชุมชนในลักษณะกระจายให้ชุมชนมีส่วนร่วมผลิต โดยใช้พลังงานหมุนเวียนที่มีอยู่ในชุมชน

- นายคเชนทร์ พูนจันทร์จาก SCG เป็นผู้แทนภาคธุรกิจให้มุมมอง การสร้างการมีส่วนร่วมและการยอมรับชุมชนในการพัฒนาที่มีผลกระทบในชุมชน โดยอยู่ร่วมกันให้เกิดการยอมรับ

ทั้ง 4 ท่าน ได้นำเสนอ กฟผ. ให้การสนับสนุนและมีส่วนร่วมสู่การพัฒนาตามยุทธศาสตร์ของ จ.กาญจนบุรี ประกอบด้วย

1. พัฒนาชุมชน

2. การมีส่วนร่วมและสร้างเครือข่ายด้านพลังงานไฟฟ้า

3. การสร้างเครือข่ายชุมชน

หัวข้อ HR FOR NON HR และการปรับใช้กับงาน CSR ของ กฟผ.

- ได้เรียนรู้แนวคิดด้าน HR ในมุมมองต่าง ๆ และบทบาทของ HR และ NON HR ซึ่งจะต้องทำงานสัมพันธ์ช่วยเหลือกัน ตลอดทั้งการทำงานของ HR และ NON HR จะต้องให้ความสำคัญบุคลากร , สังคมแวดล้อม และวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น เช่น คุณทารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา “คนคือทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร” ส่วน ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ “ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในปัจจุบันไม่ใช่เงินสิ่งของหรือเครื่องจักรแต่เป็นคน” เช่น สิงคโปร์ หรืออิสราเอล เป็นต้น

- ในมมุมมอง ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ เห็นว่า “การมองภาพทรัพยากรมนุษย์จาก MACRO สู่ MICRO” ส่วน PETER DRNCKER เห็นว่า “IF WE DON’t CHANGE WE PERISH” และ JACK WECEH เห็นว่า “CHANGE BEFORE YOU ARE FORCED TO CHANGE”

- ในการสร้างทรัพยากรมนุษย์ต้องอาศัยปรัชญาและความเชื่อ

1. HR DEPARTMENT เป็น SILO , FUNCTION

2. HR FUNCTION ต้องเปลี่ยน ROCE มาเป็น SMART HR เช่น JOHN ROTTER ได้พูดถึงกระบวนในการกระตุ้นการเปลี่ยนแปลง 8 ขั้นตอน ถือเป็นภาวะของผู้นำที่จะต้องกระตุ้นองค์กรให้เปลี่ยนแปลงดังนี้

1. สร้างความรู้สึกถึงตระหนักถึงความจำเป็น สร้างความรู้สึกกระตือรือร้นและมีการเปลี่ยนแปลงใน

องค์กร

2. การรวมกลุ่มที่มีพลังมากพอที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง

3. สร้างวิสัยทัศน์

4. การสื่อสาร

5. การให้อำนาจและทำให้คนในองค์กรทำตามวิสัยทัศน์

6. การวางแผนเพื่อให้เกิดความสำเร็จในระยะสั้น

7. ประมวลการปรับปรุง

8. ปลูกฝังวิธีใหม่ในองค์การให้คงอยู่

3. NON-HR ก็ต้องช่วยเหลือเสริม CEO ให้สนใจการบริหารทรัพยากรมนุษย์

4. STAKEHOLDER อื่น ๆ เช่น วิชาการ , ชุมชน และ NGOs จะมาช่วยเป็น CO-CREATION

5. ทำงานเชิงรุก

6. ROLE ของ NON-HR ต้องทำ ดูแลลูกน้อง , COMMUNICATE กัน HR-CEO และ STAKEHOLDER และต้องเป็นผู้นำ

- สำหรับการบริหารทุนมนุษย์ให้ประสบความสำเร็จไปสู่ความเป็นเลิศจะประกอบไปด้วย 3 เรื่อง คือ

1. ช่วงปลูกโดยใช้ทษฏี 8K’s , 5K’s

2. เก็บเกี่ยว เป็นการดึงเอาศักยภาพออกมาได้มากแค่ไหน นำไปสู่ 2 ทษฏี คือ 3วงกลม และ HRDS

3. EXECUTION หรือ กัดไม่ปล่อย คือลงมือทำให้สำเร็จ

- สู่ความสำเร็จ HR ต้องสร้าง 3V คือ

1. VALUE ADDED

2. VALUE CREATION

3. VALUE DIVERSITY

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557

- การศึกษาดูงานศูนย์กิจกรรมธรรมชาติท่ามะขาม ณ ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรและพลังงานทางเลือก

- การดำเนินกิจกรรมของศูนย์กิจกรรมธรรมชาติท่ามะขาม มุ่งพัฒนา

1. สร้างความเข้มแข็ง

2. สร้างเครือข่าย

3. สร้างความเข้มแข็งเครือข่าย

- ใช้พื้นที่ดิน 14 ไร่ ดำเนินกิจกรรม

1. ทำเกษตรพอเพียง

2. ให้ความรู้การทำเกษตรลดการใช้สารเคมี

3. ปรับเปลี่ยนการทำเกษตร

4. สร้างการเรียนรู้ผ่านฐานเรียนรู้ 8 ฐาน ประกอบด้วย 1. เศรษฐกิจพอเพียง 2. พัฒนาเกษตรธรรมชาติ 3. ........... 4. ปุ๋ยชีวภาค / สมุนไพร 5. ก๊าซธรรมชาติ 6. น้ำยาอเนหประสงค์ 7. น้ำส้มควันไม้ 8. การแปรรูปอาหาร / อาหารสัตว์

- สร้างการเรียนรู้ มุ่งลดค่าใช้จ่าย นำสิ่งที่มีอยู่และรอบข้างมาใช้ให้เกิดประโยชน์

- ได้เรียนรู้พืช ผัก ทั้งด้านสรรพคุณและประโยชน์ที่นำไปใช้

- สำหรับพลังงานทางเลือกได้เรียนรู้การนำวัสดุ , สิ่งที่เหลือใช้ในชุมชนแปรรูปกลับมาใช้ในรูปพลังงาน สร้างมูลค่าเพิ่มภายในชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และขยายผลไปในชุมชน แต่หากแต่ละชุมชนสามารถนำมาใช้ได้ให้พอเหมาะกับสภาพชุมชนก็จะช่วย

1. การรักษา / สร้างความสมดุลด้านสิ่งแวดล้อมชุมชน

2. ลดรายจ่าย / สร้างมูลค่าเพิ่มให้ครัวเรือนและชุมชน

3. สร้างความตระหนัก / สำนึกในการนำสิ่งที่มีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557

- การศึกษาดูงานศูนย์กิจกรรมธรรมชาติท่ามะขาม ณ ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรและพลังงานทางเลือก

- การดำเนินกิจกรรมของศูนย์กิจกรรมธรรมชาติท่ามะขาม มุ่งพัฒนา

1. สร้างความเข้มแข็ง

2. สร้างเครือข่าย

3. สร้างความเข้มแข็งเครือข่าย

- ใช้พื้นที่ดิน 14 ไร่ ดำเนินกิจกรรม

1. ทำเกษตรพอเพียง

2. ให้ความรู้การทำเกษตรลดการใช้สารเคมี

3. ปรับเปลี่ยนการทำเกษตร

4. สร้างการเรียนรู้ผ่านฐานเรียนรู้ 8 ฐาน ประกอบด้วย 1. เศรษฐกิจพอเพียง 2. พัฒนาเกษตรธรรมชาติ 3. หมูหลุม 4. ปุ๋ยชีวภาค / สมุนไพร 5. ก๊าซธรรมชาติ 6. น้ำยาอเนหประสงค์ 7. น้ำส้มควันไม้ 8. การแปรรูปอาหาร / อาหารสัตว์

- สร้างการเรียนรู้ มุ่งลดค่าใช้จ่าย นำสิ่งที่มีอยู่และรอบข้างมาใช้ให้เกิดประโยชน์

- ได้เรียนรู้พืช ผัก ทั้งด้านสรรพคุณและประโยชน์ที่นำไปใช้

- สำหรับพลังงานทางเลือกได้เรียนรู้การนำวัสดุ , สิ่งที่เหลือใช้ในชุมชนแปรรูปกลับมาใช้ในรูปพลังงาน สร้างมูลค่าเพิ่มภายในชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และขยายผลไปในชุมชน แต่หากแต่ละชุมชนสามารถนำมาใช้ได้ให้พอเหมาะกับสภาพชุมชนก็จะช่วย

1. การรักษา / สร้างความสมดุลด้านสิ่งแวดล้อมชุมชน

2. ลดรายจ่าย / สร้างมูลค่าเพิ่มให้ครัวเรือนและชุมชน

3. สร้างความตระหนัก / สำนึกในการนำสิ่งที่มีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557

หัวข้อ เทคนิคการนำเสนออย่างทรงพลังและประทับใจ

โดย อาจารย์จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล

- เป็นการสร้างการเรียนรู้ด้วยการนำพลังที่มีอยู่ในบุคคลภายใต้แนวคิด “ARTS AND FEELINGS PRESENTAION”

- จุดเด่นได้เรียนรู้การใช้ภาษากายเป็นสื่อสร้างความสามารถให้สอดคล้องกับเหตุการณ์เฉพาะหน้า

- การเรียนรู้ผ่านกิจกรรมมุ่งสร้างการจิตนาการผ่านการนำเสนอ โดยใช้ภาษาท่าทาง

- การเรียนรู้ในหัวข้อนี้เป็นการกระตุ้นนำพลังที่มีอยู่ใช้สร้างการมีส่วนร่วม , สร้างความเข้าใจผ่านภาษาท่าทาง , พัฒนาการตัดสินใจ , แก้ปัญหาเฉพาะหน้า นำไปสู่เสน่ห์ในบุคคลสร้างการยอมรับและจดจำ

- หลักการและแนวทางหัวข้อนี้นำมาพัฒนาตัวเอง , พัฒนาในหน่วยงาน

- โดยสรุป การได้เรียนรู้ในหัวข้อนี้

1. ดึงเอาพลังที่มีอยู่ในตัวมาใช้ผ่านภาษาท่าทางและการนำเสนอ

2. ได้เรียนรู้การคิดนอกกรอบ / การตัดสินใจฉับพลัน / การ APPLY นำไปประยุกต์ใช้

3. สร้างความประทับใจและจดจำ

หัวข้อ นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน (SOCIAL INNOVATION) กับการทำงานของ กฟผ.

โดย ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ , คุณรังสรรค์ อัฐมโนลาภ และคุณ

สำหรับการนำเสนอด้านสังคมไปสู่การพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้เป็นนวัตกรรมทางสังคมของทั้ง 3 ท่าน ประกอบด้วย

- คุณรังสรรค์ อัฐมโนลาภ ได้นำเสนอแนวทางการดูแลชุมชนของ กฟผ.

1. คำนึงถึงสังคม / บรรเทา / แก้ไข / เยียวยาผลกระทบดีกว่ามาตรฐาน

2. สร้างการรับรู้ / การยอมรับของสังคม

3. สร้างความต้องการ / ความคาดหวังภายใต้การรวมแผนแยกปฏิบัติ

- ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์

1. ได้ให้มุมมอง ชุมชน วัฒนธรรมชุมชน วิถีชีวิตชุมชนไปสู่การพัฒนาหัวใจ ชุมชนจะต้องเป็นผู้เรียนรู้ สร้างการอยากเรียนรู้ตลอดเวลา จึงจะไปสู่ความสำเร็จ

2. การพัฒนาต้องทำย้อนสอน / พึงพาตนเอง / การเป็นผู้เรียนต้องเป็นคนสังเกตที่ดี

- คุณสุทธิเดช สุทธิสมณ์

ได้ให้มุมมองนวัตกรรมทางสังคมที่สร้างสรรค์ ยั่งยืน ประกอบด้วย

1. มีผลต่อสังคม

2. มีผลต่อองค์กร

หัวข้อ การสร้างเครื่องมือและการสุ่มตัวอย่างและสถิติเบื้องต้นสำหรับการทำวิจัย

โดย อาจารย์กิตติ ชยางคกุล

- กลุ่ม 5 ได้นำเสนองานวิจัยในหัวข้อ “ลดการต่อต้านของชุมชนในการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าของ กฟผ.”

- ที่มาในการนำเสนองานวิจัยมีเหตุมาจาก

1. ภาพลบในอดีตทำให้ชุมชนขาดความเชื่อมั่นผลกระทบสิ่งแวดล้อม

2. ชุมชนวิตกกังวลผลกระทบสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากการพัฒนาพลังงานไฟฟ้า

3. ชุมชนขาดความรู้ความเข้าใจการจัดเตรียมพลังงานไฟฟ้ารองรับความต้องการ

12 กุมภาพันธ์ 2557

เทคนิคการนำเสนออย่างทรงพลังและประทับใจ (Art &Feeling)

อาจารย์จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล

สมองซีกขวา เป็นด้านที่มีความคิดเชิงศิลปะความคิดสร้างสรรค์ การฝึกใช้สมองซีกขวาบ่อยๆจะช่วยดึงศักยภาพในตนเองออกมา มีมุมมองกว้างขึ้น

Content and Presentation จะทำอย่างไรให้ผู้ชมจดจำได้ - การนำเสนอให้พยายามใช้

1.ภาษากายท่าทาง เพราะว่าผู้ชมจะจดจำได้ถึง55 %

2.การใช้เสียงผู้ชม/ ผู้ฟัง จะจดจำได้38 %

3.ภาษาพูด(ข้อมูล เหตุผล ) คนจะจดจำได้7 %

BrandSenses-จะใช้ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ทำให้เราจดจำได้

นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน (Social Innovation)

ความรับผิดชอบต่อสังคมของ กฟผ. ชคส.

นวัตกรรม 2 แนวคิด

1.วิธีการดำเนินการด้านCSR

2.การ Implement


Egat CSR policy
- คำนึงถึงสังคม

- เน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน
- ป้องกัน/บรรเทาผลกระทบ (ที่เกิดจากการดำเนินงาน)
- ทำให้ดีกว่ามาตรฐานที่กำหนด

-สร้างวัฒนธรรม


นวัตกรรมด้าน CSR - ยึดความต้องการ และความคาดหวังผู้มีส่วนร่วมได้เสีย เป็นศูนย์กลาง

1.รวมแผนแยกปฏิบัติ

2.CSR ภายในสู่ภายนอก

3.CSR/PR

4.ประเมินผล/Avolit

5.ปรับปรุง

CSR เริมภายในสู่ภายนอก

CSR สังคมไกล – สังคมชุมชนและสิ่งแวดล้อมในภาพรวม

CSR ในองค์กร – CSR In Process

CSR สังคมใกล้ – หัฒนาสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมโดยรอบหน่วยงาน กฟผ.

CSR In process – คือการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม กระบวนการงาน กฟผ. ไม่กระทบสังคม และสิ่งแวดล้อม

CSR after process – เป็นการดำเนินงานนอกเหนือข้อกำหนดของ กฟผ.

  • -ครูบาสุทธินันท์- ทำเรื่องถนัด และประชาสัมพันธ์
  • -หัวใจ คือทำให้ชุมชนเป็นผู้เรียน (ปลุกให้อยากรู้อยากทำ)
  • -โครงการที่ทำกับชาวบ้าน -ต้องเป็นโครงการที่เห็นผลเร็ว ง่าย และแปลก

-ให้ชาวบ้านบอกวิธีการทำ การแก้ปัญหา

-เป็นโจทย์ใหม่ๆ พอเหมาะ เหมาะสมกับกลุ่มคน และสิ่งแวดล้อม

-ทุกคนมีหน้าที่พัฒนาสังคม

สรุปการเข้ารับการอบรมEADP10 กุมภาพันธ์2557

กิจกรรมรักษ์กายณศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี

ในวันนี้ได้เรียนรู้หลาย ๆสิ่งเกี่ยวกับการรับประทานอาหารอย่างไรให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายมีความเหมาะสมในสภาพปัจจุบันถึงแม้ว่าจะมีข้อจำกัดเพียงใดก็ตามเราควรจะเลือกสิ่งที่เหมาะสมกับร่างกายของเราที่อยู่ในช่วงเข้าสู่ผู้สูงอายุในอนาคตอะไรคือสิ่งที่ควรเพิ่มให้กับร่างกายอะไรที่ควรลดที่จะนำเข้าสู่ร่างกายอาหารจำพวกแป้งและของทอดน้ำมันตามท้องตลาดควรระมัดระวังอย่างยิ่งในการบริโภคนอกจากนี้การใช้น้ำมาเป็นส่วนเสริมสุขภาพ
จะทำให้ร่างกายสมบูรณ์ยิ่งขึ้นวิธีการต่าง ๆ ใช้กันมาตั้งแต่สมัยโบราณการอาบแดดโดยใช้ใบตองคลุมก็ใช้กันในอินเดียมานานแล้วการแช่น้ำที่เย็นจัดของชาวฟินแลนด์หลังจากอบในห้องซาวน์น่าจะทำให้เลือดหมุนเวียนได้ดีขึ้นซึ่งกิจกรรมได้ทำดูแล้วสนุก และมีความรู้สึกดีมากเป็นประโยชน์ต่อร่างกายมาก

วันที่11กุมภาพันธ์2557

นวัตกรรมเพื่อสังคมและการสร้างศรัทธาจากมหาชน

เป็นการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่อยู่รอบรั้วกฟผ.เขื่อนศรีนครินทร์ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดบอกว่าเมืองกาญจนบุรี ในอนาคตจะเติบโตไปทุกๆ ด้านโดยเฉพาะเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและประวัติศาสตร์การค้าระหว่างประเทศ(ไทย-พม่า)เป็นแหล่งอุตสาหกรรมซึ่งจะมีน้ำและไฟฟ้าจากเขื่อนศรีนครินทร์และ เขื่อนวชิราลงกรณเป็นเสาหลักให้กับจังหวัดวิทยากรบางท่านมองว่า กฟผ. ควรมีกากรพัฒนาการในหน่วยงานเพื่อให้คำปรึกษาในด้านต่าง ๆ กับชุมชนในมุมนี้มองว่าจริงๆแล้วเจ้าหน้าที่พัฒนาการของราชการก็มีแต่อาจจะมีข้อจำกัด ในการทำงานก็คิดหวังให้กฟผ. ช่วยดำเนินการให้คงต้องเชื่อมต่อกันถึงระบบNet Work วิทยากรบางท่านมองว่า กฟผ. ควรจะทำตัวเป็นผู้นำในการใช้พลังงานทางเลือกกับชาวบ้านเป็นผู้นำในด้านการเผยแพร่แหล่งพลังงานทางเลือกเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสียในการผลิตไฟฟ้าเพื่อสร้างความเป็นเจ้าของวิทยากรมองว่าเข้ามามีส่วนร่วมยากแต่ก็ถึงกับไม่มีโอกาสกฟผ. เคยออกพันธบัตรเพียงแต่ว่าอาจจะน้อย ไม่แพร่หลายหรือพันธบัตรดังกล่าวราคาสูง ก็ปรับให้ราคาต่ำและจำนวนมาก เพื่อกระจายให้ประชาชนได้อย่างทั่วถึงในส่วนของกองทุนพัฒนาไฟฟ้าในบางกิจกรรมก็ทำได้ดีแต่ในบางพื้นที่กลายเป็นการแบ่งเงินกันแบบหารยาวกฟผ. ควรมีการติดตามและประเมินผลการใช้เงินจากกองทุนดังกล่าวสำหรับภาคเอกชนก็มีการทำCSR เหมือนกันการแบ่งส่วนกันรับผิดชอบแบบ One manager One Communityของ SCGก็เป็นแบบอย่างที่ดีหลักการก็คืออยู่กับชุมชนทั้งชุมชนไม่ได้ความไว้เนื้อเชื่อใจของชุมชนเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งการปลูกฝังเรื่องพลังงานให้กับเยาวชนก็เป็นสิ่งสำคัญ

Learning forum & Workshop “ HR for Non HR” และการปรับใช้กับงาน CSRของกฟผ.

ในองค์กรใหญ่ ๆการทำงานส่วนใหญ่จะเป็นส่วนของใครของมันผู้นำต้องมองและพยายามที่จะเขื่อมต่อ
หรือทะลวงผนังหรือกำแพงของแต่ละส่วนงานให้ได้เพื่อเชื่อมต่อการทำงานให้ดียิ่งขึ้นเมื่อได้มาซึ่งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะทำอย่างไรให้ทรัพยากรนี้ มีมูลค่าเป็นทรัพย์สินของหน่วยงานสร้างมูลค่ารมีความหลากหลาย คือทำได้หลายๆ อย่าง ไม่ใช่ทำแต่งานประจำการปลูกฝังจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมก็ควรที่ต้องดำเนินการตั้งแต่เข้ามาในรั้วของกฟผ. เมื่อมีอายุงานก็จะเริ่มมีผลงานทั้งทางด้านงานประจำ และงาน CSRเมื่อเติบโตเป็นระดับบริหารจัดการก็สานต่อระบบดังกล่าวได้ผู้ดำเนินรายการสรุปได้น่าฟังมากไม่ว่าจะเป็นไซโลหรือมีไซโลมากเพียงใดก็ตามถ้าเชื่อมต่อกันได้แบบจอมปลวกจะเป็นองค์กรที่ดีมาก ๆ

12กุมภาพันธ์2557

Artsand Filling Presentationอ.จิตรสุมาลย์อมาตรกุล

เป็นการเรียนรู้ที่แปลกและไม่เคยเรียนแบบนี้ที่ไหนมาก่อนเหมือนกันเรียนรู้ที่จะเอาสิ่งดี ๆจากเมื่อมีอายุน้อย ๆ จากสมองซีกขวามาใช้งานในการนำเสนอทั่ว ๆ ไป 7 %ใช้งานจากสมองซีกซ้าย แต่ถ้าถึงจากสมองซีกขวา(93 %) ( จากเสียง 38 %ท่าทาง55 %)จะทำให้การนำเสนอมีศักยภาพส่งผลต่อผู้รับการนำเสนอและมิประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน(Social Innovation) กับการทำงานของกฟผ.

เป็นPanel discussionที่มีประโยชน์มากเป็นการสะท้อนการดำเนินงานด้านCSR ของ กฟผ.
จากระดับปฏิบัติของ กฟผ. สู่ผู้กำหนดนโยบายจากมุมมองของเพื่อนร่วมอาชีพต่างองค์กร
(กฟภ.) และมุมมองของปราชญ์ชาวบ้านที่มีการทำงานแบบเรียบง่ายแต่มีเพื่อนมากมายจากเทคโนโลยี่สมัยใหม่

ผู้บริหาร กฟผ. มีนโยบายและความตั้งใจในการทำ CSRเป็นอย่างมากมีแผนการดำเนินงานงบประมาณที่มากมายคำถามคือทำไมไม่ค่อยมีใครรู้ สอดประสานกันหรือไม่หรือต่างคนต่างทำตั้งใจที่จะปิดทองหลังพระได้ไหมมันน่าคิดนะครับพนักงานมีจิตสาธารณะเป็นส่วนใหญ่หรือไม่ทำไมถูกต่อต้านเมื่อจะสร้างโรงไฟฟ้าใหม่เมื่อเทียบกับ
กฟภ. บิลค่าไฟถึงบ้านทุก ๆ เดือน กลับเป็นที่รู้จักดีของชาวบ้าน 3การไฟฟ้าฯ ร่วมมือกันดีไหมในอนาคตปราชญ์ชาวบ้านบอกว่าทำเยอะ แต่ก็บังคับทำไม่มีประโยชน์เหมือนกับที่ในหลวงตรัสว่าให้เขาคิดจะทำดีกว่าคือระเบิดจากข้างใน แล้วเราเข้าไปช่วยโอกาสทำสำเร็จสูงกว่าทำไปแก้ปัญหาไปสอบถามไปมีคนช่วยทำแบบไม่รู้ตัวเปิดใจให้กว้าง ๆ ทำตัวให้ต่ำ ๆได้จะได้เข้าถึงหัวใจของชาวบ้านซึ่งปัจจุบัน ชาวบ้านรับข้อมูลข่าวสารได้รวดเร็วมาก

13กุมภาพันธ์2557

ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม:ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรและพลังงานทางเลือกจ.กาญจนบุรี

ได้มาพบเห็นกับกลุ่มผู้นำความคิดที่พยายามพึ่งพาตนเองและมีบทบาทอย่างมากต่อชาวบ้านในการพึงพาตนเองในทุก ๆ เรื่องแรงบีบคั้นจากสังคมระบบราชการในโยบายของภาครัฐทำให้เกิดแนวคิดในการ“กำหนดชีวิตตัวเองดีกว่า”มองในสิ่งที่ธรรมชาติให้มาหาในสิ่งที่มองไม่เห็นจากธรรมชาติไม่ว่าจะเป้นอาหารยารักษาโรคพลังงานพยายามนำมาปรับใช้เผยแพร่ให้ชาวบ้านได้รับทราบและนำสิ่งที่เหมาะสมไปใช้เห็นแนวทางในเชิงวิศวกรรมแบบบ้าน ๆแต่กลับนำไปใช้ได้อย่างมีประโยชน์ในเชิงประจักษ์น่าสนใจมากในอนาคตถ้าชาวบ้านเข้าใจและนำไปใช้ความกลัวในเรื่องพลังงานจะหมดไปถ้าได้รับการส่งเสริมดี ๆจะแบ่งเบาภาระด้านพลังงานได้อย่างมาก

ถึงลูกศิษย์ EADP10

การบ้านเพิ่มเติม เป็นงานกลุ่ม คือ (โดยให้search ในinternet ก่อน แล้วจะส่งเอกสารตามไปครับ)

1. ให้อ่านหนังสือ The renaissance society ของ Rolf Jensen

2. สรุประเด็นหลักๆ ว่าได้ประโยชน์อะไร

3. เอาหัวข้อสำคัญมาประยุกต์กับการทำงานของกฟผ. ดังนี้

- CSR

-Value Creation และ Value diversity

- อุปสรรคที่เกิดขึ้นในการทำงานที่ไม่ประสบความสำเร็จ คืออะไร

ประวิทย์ เลิศโกวิทย์ TS 10

หัวข้อ “ กิจกรรมรักษ์กาย รักษ์ใจ” ณ ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี

โดย นพ.บรรจบชุณหสวัสดิกุล

พญ.ลลิตาธีระสิริ

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2557

สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้หัวข้อนี้

–ทำให้ทราบถึงวิธีการรับประทานอาหารเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกาย เนื่องจากคนไทยมีโรคที่เกิดจากการบริโภคอาหาร เช่น โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง และโรคความดันโลหิตสูง

–โรคอ้วนเกิดจากการรับประทานอาหารประเภทแป้ง คาร์โบไฮเดรท มากเกินไป

–ให้กินเนื้อและกินผัก ในสัดส่วน 1 : 2

–การออกกำลังกายควรจะออกกำลังกายในน้ำ เพราะจะช่วยพยุง ไม่ให้น้ำหนักตัวเป็นภาระต่อข้อเข่า ซึ่งจะทำให้มี น้ำหนักเหลือเพียง 30 % เท่านั้น

–การใช้สมุนไพรรักษาโรคแทนยาแผนปัจจุบัน เช่น การใช้ฟ้าทะลายโจรและขมิ้นชัน

–สุดท้ายนี้ยังได้เรียนภาคปฏิบัติเพื่อจะได้นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น

–MAT EXERCISE

–HYDRO-AEROBICS

–อบแสงตะวัน ซาวน่าอบสมุนไพร

ประวิทย์ เลิศโกวิทย์ TS 10

หัวข้อ “ NETWORKING CAPITAL กับการพัฒนาเพื่อประชาชน”

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557 (ช่วงเช้า)

สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้หัวข้อนี้

–จังหวัดกาญจนบุรี ประกอบด้วย 12 อำเภอ โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 โซน คือ

–โซนอนุรักษ์-โซนเศรษฐกิจ-โซนอีสาน

–จังหวัดกาญจนบุรี ได้กำหนดยุทธศาสตร์ไว้ 3 ข้อ คือ

1.เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

2.พัฒนาประสิทธิภาพระบบการผลิตสินค้าเกษตรและเกษตรอุตสาหกรรมที่ปลอดภัย

3.ส่งเสริมและพัฒนาการค้าชายแดน

–ผวก. เน้นย้ำเกี่ยวกับการทบทวนเรื่อง ผังเมืองเพื่อรองรับโครงการทวาย

–จังหวัดกาญจนบุรี มีโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวร่วมกับชุมชน ได้แก่

–โครงการชีววิถี- โครงการฝายชะลอน้ำ

–โครงการปล่อยปลาหน้าเขื่อน- โครงการศึกษาดูงาน

–โครงการคืนรักคนสันเขื่อน

–มีการนำเสนอ “ ศรีสวัสดิ์โมเดล ” เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

–ผู้แทนชุมชน เสนอให้ กฟผ.เป็นผู้นำเครือข่ายไฟฟ้าชุมชน (ขนาดเล็ก) ช่วยชุมชนพัฒนาโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก

–ผู้แทนเอกชน (SCG) เสนอให้เอาชุมชนเป็นตัวตั้ง ฟังเสียงชุมชนแต่ไม่สามารถตอบสนองได้ทุกคน จะไม่สนับสนุนเรื่องการให้เงินเนื่องจากควบคุมยาก แต่ให้ชุมชนเสนอว่าต้องการอะไรแล้วจึงส่งพนักงานไปทำงานร่วมกับชุมชน

–มีการตั้งคณะกรรมการชุมชน 1 MANAGER 1 COMMUNITY ผู้จัดการทุกคนต้องมีกิจกรรมร่วมกับชุมชน

ประวิทย์ เลิศโกวิทย์ TS 10

หัวข้อ “ HRFORNONHRและการปรับใช้กับงาน CSR ของ กฟผ.”

โดย ศ.ดร. จิระ หงส์ลดารมภ์

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557 (ช่วงบ่าย)

สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้หัวข้อนี้

–งาน CSR เป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้ตอบสนองความต้องการของชุมชนและ องค์กรอยู่ได้อย่างยั่งยืนในอนาคต

–เรื่อง HR ไม่ใช่หน้าที่ของ HR DIVISION เท่านั้น แต่ผู้บริหารที่เป็น NON HR จะต้องเป็นผู้ร่วมดำนินการด้วย เพราะเป็นผู้ที่อยู่กับผู้ปฏิบัติงานและรู้ว่าต้องพัฒนาผู้ปฏิบัติงานในแนวทางใด

–ทฤษฎี HRDS ประกอบด้วย

–H = HAPPINESSR = RESPECT

–D = DIGNITYS= SUSTAINABLE

–NONHR ต้องทำ 3 อย่างคือ ปลูก พัฒนา เก็บเกี่ยว

–ผู้นำต้องกระหาย ใฝ่รู้ อยากรู้อยากเห็น และฝึกฝนให้มีทักษะเพื่อนำไปทำงานและแก้ปัญหาให้องค์กร

–การพัฒนาทุนทางความคิดสร้างสรรค์ ต้องเริ่มจากวันนี้ ลองถามตัวเองว่าเรามีความคิดใหม่ ๆ แล้วหรือยัง

ประวิทย์ เลิศโกวิทย์ TS 10

หัวข้อ “ เทคนิคการนำเสนออย่างทรงพลังและประทับใจ”

โดย อ.จิตรสุมาลย์อมาตยกุล

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557 (ช่วงเช้า)

สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้หัวข้อนี้

–จากกิจกรรมที่อาจารย์ให้ผู้เข้ารับการอบรมนำเสนอ ซึ่งมี 4 กิจกรรมคือ

1.ย้อนกลับไปในวัยเด็ก2.จินตนาการและเรียงความ

3.การใช้ท่าทางในการสื่อสาร4.REFLECTION

–ผู้นำส่วนใหญ่จะมีการใช้สมองซีกซ้าย (EXPERT MIND) ซึ่งจะต้องใช้ความคิดก่อนที่จะแสดงออก ซึ่งหากได้มีการใช้สมองซีกขวา (BEGINNER MIND) บ้าง ก็จะทำให้เกิด CREATIVE THINKING มากขึ้น

–ภาษากายเป็นจุดเด่นของการนำเสนอ ซึ่งสามารถดึงดูดคนได้ถึง 55 % แต่เราไปติด VERBAL 7 % และ SOUND 38 %

–จากการวิจัยพบว่า BRAND SENSES จะทำให้เราจำได้ดีคือรูป และ รองลงมาคือกลิ่น

ประวิทย์ เลิศโกวิทย์ TS 10

หัวข้อ “ นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชนกับการทำงานของ กฟผ.”

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557 (ช่วงบ่าย)

สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้หัวข้อนี้

–นวัตกรรมด้าน CSR ของ กฟผ.ประกอบด้วย

1.รวมแผนแยกปฏิบัติ2.CSR ภายใน

3.CSR / PR4.ประเมินผล / AUDIT

5.ปรับปรุง

–CSRต้องเริ่มจากภายในสู่ภายนอก โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม

1.CSR ในองค์กร2.CSR สังคมใกล้

3.CSRสังคมไกล

–การทำ CSR ของ กฟผ. ไม่ใช่การเลียนแบบสังคมใดสังคมหนึ่ง เพราะแต่ละสังคมจะมีความเป็น UNIQUEไม่เหมือนกัน

–หัวใจของชุมชนคือการสร้างความอยากเรียนรู้ให้ชุมชน

–โครงการที่จะช่วยชาวบ้านต้องเห็นผลเร็ว จึงจะได้รับความร่วมมือ จากนั้นจึงมีโครงการระยะยาว จึงจะได้รับความร่วมมือจากชาวบ้าน

–ปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามาก จึงควรใช้ให้เกิดประโยชน์ในการสื่อสาร และให้ผู้นำชุมชนช่วยกระจายข้อมูล และสร้างสังคมให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้

–กฟผ.มีกิจกรรม CSR จำนวนมากที่ประสบความสำเร็จ แต่ขาดาการขยายผล

13 กุมภาพันธ์ 2557

ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม

ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม เป็นศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ของเกษตรกร เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง

เน้นในเรื่องของสิ่งที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่นลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ปลูกพืชผัก พบปะไปมาหาสู่กัน
เยี่ยมเพื่อนและให้สามารถบริหารจัดการตัวเองได้โดยสอนให้มีความรอบรู้ ร่วมกันวางแผน และจัดการความสูญเสียกับสิ่งที่ได้ให้สมดุลย์กัน

การอบรมที่ศูนย์เกษตรฯ - จะเน้นให้ชาวบ้านรู้จักกันและรู้จักตนเองรู้ความสามารถของตนเองให้ความสำคัญกับตนเอง และให้รู้ว่าหนี้สินที่มีอยู่เกิดจากสาเหตุใดเพื่อจะได้แก้ไขได้ตรงเหตุ จากนั้นจะดึงศักยภาพของแต่ละคนออกมา(แต่ละคนจะมีศักยภาพในตัวแตกต่างกันไป) และจะสอนให้รู้จักพืชผักสมุนไพร เช่น

ฟักข้าว– เป็นผักพื้นบ้านตระกูลแตงมีอายุอยู่ได้ถึง 50 ปีสามารถนำยอดอ่อน ลูกอ่อน มาเป็นอาหาร โบราณใช้ใบฟักข้าวทำยาเขียว เนื้อในเมล็ดฟักข้าวใช้รักษาวัณโรคในปอด แผล ฝี หนอง บำรุงสายตา มีไลโคปินซึ่งเป็นสารต้านมะเร็งและยังช่วยให้แก่ช้า (คงความหนุ่ม-สาว)

สาบเสือ– มีคุณสมบัติเป็นยารักษาแผลสด ช่วยให้เลือดหยุดเร็ว แผลแห้งไว น้ำหวานในดอกสาบเสือเป็นยาของผึ้ง
น้ำผึ้งดอกสาบเสือคนนิยมกันมาก ราคาแพง

สบู่ดำ– เมล็ดสามารถนำไปผลิตเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง ยางสบู่ดำใช้แต้มปากเวลาปากเปื่อยหรือปากนกกระจอก กิ่งสบู่ดำใช้ป้องกันแมลง ใช้เสริมภูมิแพ้

สะเดา– ใช้กำจัดและไล่แมลงได้

น้อยหน่า– ใบน้อยหน่าพอกรักษาเหา เมล็ดเอามาโคลกแช่น้ำไล่แมลง

หางไหล (โล่ติ๊น) – ใช้ไล่แมลง

ใบหนาด– ใช้ ดองศพไม่ให้เน่าได้ ( มีคุณสมบัติฆ่าเชื้อแบคทีเรีย) ใบสดแก้ท้องอืด

แมงลัก –สารสกัดสามารถค่าเชื้อแบคทีเรีย สามารถใช้ไล่แมลงได้

กัญชาป่า– สรรพคุณ ลดเบาหวาน รักษาอาการนอนไม่หลับ

พลังงานทดแทน( คุณยุทธการฯ )

ตราบใดที่ในโลกนี้ยังมีดวงอาทิตย์เราก็ยังคงมีพลังงานใช้ไม่มีวันหมด ถ้าเรารู้จักคิด เพราะว่าดวงอาทิตย์เป็นต้นกำเนิดของพลังงานต่างๆ มากมายเช่น แสงอาทิตย์ใช้กับแผง Solar cell ผลิตไฟฟ้า ความร้อน พลังงานลม พลังชวมวล พลังงานจากน้ำ ก๊าซชีวภาพ ทางศูนย์ฯ จะสอนให้ชาวบ้านรู้จักคิดประดิษฐ์อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้กับพลังงานทางเลือกเหล่านี้แบบง่ายๆเหมาะสมกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่แบบเศรษฐกิจพอเพียง

Assignment Schooling Business

จัดทำโดยกลุ่ม 5

อ่านบทความ Schooling Business แล้วสรุปประเด็น และตอบคำถาม

1.อ่านแล้วได้อะไร

1.1 ปัจจุบันองค์การชั้นนำจำนวนมาก ต้องการรูปแบบใหม่ในการลงทุน ในการเรียนรู้และพัฒนาผู้บริหาร ซึ่งได้เปลี่ยนไปจากเดิมที่เป็นรูปแบบ นั่งเรียนในห้องเรียน หรือห้องประชุม ใช้ Handouts Slides และเอกสารประกอบต่าง ๆ มาเป็นวิธีสมัยใหม่ กล่าวคือ ลูกค้าออกแบบหลักสูตรเอง เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับเป้าหมายที่ต้องการ

1.2 The Wharton School of the University of Pennsylvania ได้จัดทำหลักสูตรเฉพาะที่เป็นสากลขึ้น สำหรับองค์กรต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งหลักสูตรระยะสั้น และระยะยาว มีการจัดเป็นทีมย่อย เพื่อแลกเปลี่ยนประส[การณ์ เพื่อเรียนรู้ฝึกคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจแก้ปัญหา ปรับกรอบแนวคิด เพิ่มศักยภาพ สมรรถนะการเป็นผู้นำ เพื่อให้สามารถพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ให้แก่องค์กร

1.3 การเปลี่ยนแปลงไปของเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้บุคลากรในองค์กร สามารถหาความรู้ที่เป็นประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง สะดวก ง่าย ในทุกเวลาและทุกสถานที่ โดยใช้ tablets smartphones และ e-Learning ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าสมัยก่อนมาก แต่สามารถเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากร และองค์กรได้อย่างมาก

1.4 องค์กรจะเจริญก้าวหน้า เพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันได้ ต้องให้ความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลากร ผู้บริหารต้องพัฒนาองค์กร ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยสร้างวัฒนธรรมของการเรียนรู้ ขึ้นในองค์กรอย่างต่อเนื่อง

2. เกี่ยวกับหลักสูตร EADP อย่างไร

2.1 หลักสูตร EADP เป็นหลักสูตรการอบรมรูปแบบใหม่ที่ทันสมัยเช่นเดียวกับที่กล่าวไว้ในบทความ กล่าวคือ ออกจากความจำเจ มาเป็นรูปแบบเฉพาะมีความสอดคล้อง เหมาะสมกับองค์กร เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด คุ้มค่าไม่เสียเวลาไปกับการอบรมรูปแบบเดิม ๆ

2.2 หลักสูตร EADP คล้ายคลึงกับหลักสูตรที่จัดโดย The Wharton School of the University of Pennsylvania กล่าวคือ เน้น 2 R (Real & Relevance ) เน้นสถานะการณ์ปัจจุบันของโลก สภาวะการเปลี่ยนแปลงที่จะต้องเผชิญในอนาคต มีการจัดทีมย่อย มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ฝึกตัดสินใจ แก้ปัญหา สร้างโครงข่าย และได้รับประโยชน์เพิ่มจากโครงข่าย

Assignment Schooling Business

จัดทำโดยกลุ่ม 5

อ่านบทความ Schooling Business แล้วสรุปประเด็น และตอบคำถาม

1.อ่านแล้วได้อะไร

1.1 ปัจจุบันองค์การชั้นนำจำนวนมาก ต้องการรูปแบบใหม่ในการลงทุน ในการเรียนรู้และพัฒนาผู้บริหาร ซึ่งได้เปลี่ยนไปจากเดิมที่เป็นรูปแบบ นั่งเรียนในห้องเรียน หรือห้องประชุม ใช้ Handouts Slides และเอกสารประกอบต่าง ๆ มาเป็นวิธีสมัยใหม่ กล่าวคือ ลูกค้าออกแบบหลักสูตรเอง เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับเป้าหมายที่ต้องการ

1.2 The Wharton School of the University of Pennsylvania ได้จัดทำหลักสูตรเฉพาะที่เป็นสากลขึ้น สำหรับองค์กรต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งหลักสูตรระยะสั้น และระยะยาว มีการจัดเป็นทีมย่อย เพื่อแลกเปลี่ยนประส[การณ์ เพื่อเรียนรู้ฝึกคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจแก้ปัญหา ปรับกรอบแนวคิด เพิ่มศักยภาพ สมรรถนะการเป็นผู้นำ เพื่อให้สามารถพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ให้แก่องค์กร

1.3 การเปลี่ยนแปลงไปของเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้บุคลากรในองค์กร สามารถหาความรู้ที่เป็นประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง สะดวก ง่าย ในทุกเวลาและทุกสถานที่ โดยใช้ tablets smartphones และ e-Learning ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าสมัยก่อนมาก แต่สามารถเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากร และองค์กรได้อย่างมาก

1.4 องค์กรจะเจริญก้าวหน้า เพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันได้ ต้องให้ความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลากร ผู้บริหารต้องพัฒนาองค์กร ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยสร้างวัฒนธรรมของการเรียนรู้ ขึ้นในองค์กรอย่างต่อเนื่อง

2. เกี่ยวกับหลักสูตร EADP อย่างไร

2.1 หลักสูตร EADP เป็นหลักสูตรการอบรมรูปแบบใหม่ที่ทันสมัยเช่นเดียวกับที่กล่าวไว้ในบทความ กล่าวคือ ออกจากความจำเจ มาเป็นรูปแบบเฉพาะมีความสอดคล้อง เหมาะสมกับองค์กร เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด คุ้มค่าไม่เสียเวลาไปกับการอบรมรูปแบบเดิม ๆ

2.2 หลักสูตร EADP คล้ายคลึงกับหลักสูตรที่จัดโดย The Wharton School of the University of Pennsylvania กล่าวคือ เน้น 2 R (Real & Relevance ) เน้นสถานะการณ์ปัจจุบันของโลก สภาวะการเปลี่ยนแปลงที่จะต้องเผชิญในอนาคต มีการจัดทีมย่อย มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ฝึกตัดสินใจ แก้ปัญหา สร้างโครงข่าย และได้รับประโยชน์เพิ่มจากโครงข่าย

วันที่ 10 กพ. 57

กิจกรรมรักษ์กาย ณ ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี

ช่วงเช้า ได้ทำกิจกรรมภาคปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การอบสมุนไพร การเข้าห้องอบซาวน่า สลับกับการอาบน้ำเย็น แต่ไม่มีเจ้าหน้าที่อธิบายถึงคุณประโยชน์(ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเดียว) ส่วนการปฏิบัติด้านบริหารกล้ามเนื้อและ Mat Exercise วิทยากรให้คำอธิบายดี ได้ทราบถึงวิธีการหายใจเข้าหายใจออกที่ถูกต้อง การยืดกล้ามเนื้อและการผ่อนคลายกล้ามเนื้อในท่าทางต่าง ๆ แต่เวลาค่อนข้างจำกัด

ช่วงบ่าย ฟังบรรยายธรรมชาติบำบัด
ปรับชีวิตเปลี่ยนอาหาร หลักการแพทย์พอเพียง ของ นพ.บรรจบ ทำให้ได้ทราบถึงคุณประโยชน์และโทษของการบริโภคอาหาร ปัญหาสุขภาพของโลกยุคใหม่ และโรคที่มาตามความเสื่อมของร่างกาย การดูแลสุขภาพโดยการกินอาหารที่ต้านทานโรคและการออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงการรักษาโรคโดยแพทย์ทางเลือก จากนั้น พญ.ลลิตาได้บรรยายเกี่ยวกับวารีบำบัดอานุภาพแห่งน้ำ ทำให้ทราบที่มาและวิธีดูแลสุขภาพด้วยน้ำ
ทั้งน้ำอุ่น และน้ำเย็น และผลของการอาบน้ำอุ่นสลับน้ำเย็น ช่วยการไหลเวียนของโลหิตทำให้รู้สึกผ่อนคลาย รวมถึงยังเป็นการช่วยรักษาโรคได้ทางหนึ่ง การนำสมุนไพรมาใช้ในการอบและประโยชน์ของสมุนไพรไทยที่นำมาใชรักษาโรคต่าง ๆ

วันที่ 11 กพ. 57

นวัตกรรมเพื่อสังคมและการสร้างศรัทธาจากมหาชน

“Networking Capital กับการพัฒนาเพื่อประชาชน” โดยนายชัยวัฒน์ ลิมป์วรรธนะ ผวจ.กาญจนบุรี ซึ่งในช่วงแรก
ผวจ.ได้แนะนำข้อมูลทั่วไปและประวัติศาสตร์เกี่ยวกับ จ.กาญจนบุรี จากนั้นท่านได้แนะนำแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การพัฒนาพื้นที่โดยใช้เงินจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้า การพัฒนาระบบชลประทาน
เพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและเกษตรอุตสาหกรรม โดยใช้หลักการคิดแบบทวีคูณ 2-4-8-16 เป็นต้น เนื่องจากท่านมองว่าปัจจัยทางการค้าระหว่างประเทศ การค้าชายแดน มีความแตกต่างกันในด้านของความต้องการ เช่น
ประเทศเพื่อนบ้านมีความต้องการสินค้าเกษตรไม่ต่างกันและกำลังซื้อน้อย ส่วนตะวันออกกลาง อินเดีย รัสเซีย มีความต้องการที่แตกต่างและกำลังซื้อมากกว่า และการพัฒนาผังเมืองรอการเจริญเติบโตจากการพัฒนาเส้นทางคมนาคมสู่ท่าเรือน้ำลึกทวาย ประเทศพม่า ซึ่งในส่วนของผังเมืองท่านได้แบ่งออกเป็น 3 โซน ได้แก่ โซนเมืองเก่า
โซนเมืองใหม่ และโซนเศรษฐกิจ ซึ่งโดยสรุปแล้ว ท่านมองทั้งภาพกว้าง เชิงเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง และภาพลึกที่ท้องถิ่นมีศักยภาพ

คุณสหัสนัย เน้นเรื่องของการท่องเที่ยวและการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่โดยโยงบทบาทของเขื่อนฯ ในการสร้างกิจกรรมผ่านการท่องเที่ยว ว่ามีประโยชน์อะไรบ้าง เช่น เป็นแหล่งศึกษาดูงาน โครงการปลูกป่าสร้างฝาย โครงการชีววิถีและโครงการปล่อยปลาอ่างเก็บน้ำ รวมถึงการจัดงานบนสันเขื่อนเพื่อสร้างมั่นใจด้านความมั่นคงปลอดภัยของตัวเขื่อน และการนำชุมชนดูงานต่างพื้นที่ โดยมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสร้างพิพิธภัณฑ์แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ และให้มีพนักงานที่มีบทบาทหน้าที่โดยตรงในการทำงานชุมชน ไม่เปลี่ยนแปลงโยกย้ายบ่อย

คุณปณต ให้ความรู้เกี่ยวด้านพลังงาน เทคโนโลยีพัฒนาพลังงาน การอนุรักษ์พลังงาน การรณรงค์ใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน การพัฒนากลุ่มงานอาชีพ (OTOP) และการใช้พลังงานทดแทน เป็นต้น และมีความเห็นเสนอระเบียบการจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนพัฒนาไฟฟ้าของ IPP และ SPP ว่าผลิตเท่าใดให้จ่ายเข้ากองทุนเท่านั้นไม่ว่าจะผลิตใช้เองหรือขายเข้าระบบของ กฟผ. สรุปประเด็นที่ควรติดตาม คือ การวิจัย Energy Tax เพื่อช่วยให้รู้ว่าทัศนคติของชุมชนดีขึ้นหรือไม่ เป็นไปตามวัตถุประสงค์เพียงใด

คุณยุทธการ มุมมองภาคประชาชน/NGO ต่อ กฟผ. โดยมีมุมมองภาพลบ คือการขึ้นค่า Ft. และภารกิจที่ต้องหาแหล่งผลิตพลังงานเพิ่ม เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และโรงไฟฟ้าชีวมวล รวมทั้งแนะนำตรรกวิธีคิดเครือข่ายผลิตไฟฟ้า และเสนอตัวร่วมงานกับ กฟผ. สรุประเด็นด้าน 2 R และ Turn into Mindset, Paradigm, Change

คุณคเชนทร์ มุมมองภาคธุรกิจ เน้นการสร้างทุนในเครือข่าย ซึ่งเป็นการลงทุนระยะยาวไม่สามารถวัดผลในเชิงกำไรระยะสั้น การปรับความสมดุลย์ระหว่างชุมชนกับสังคม ด้านรายได้ สิ่งแวดล้อม และสังคม ให้มีความรับผิดชอบร่วมกันและสามารถอยู่ร่วมกันได้ การเลือกใช้เทคโนโลยีที่กระทบต่องสิ่งแวดล้อมให้น้อยและเลือกใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่ากับสิ่งที่เสียไป ปัญหาคือต้องมองตัวเองให้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมและชุมชนเองต้องมีความตั้งใจที่จะเข้ามามีส่วนร่วม
โดยมีนโยบายไม่เน้นการให้เงิน ไม่เน้นการช่วยเหลือตัวบุคคล แต่เน้นความร่วมมือของชุมชนและเป็นความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง สรุปประเด็น การกระจายบทบาท กฟผ.ต่อชุมชน และสร้างทัศนคติของพนักงานทุกระดับ

HR for NonHR และการปรับใช้กับงาน CSR ของกฟผ. โดย อ.จีระ

ซึ่งเน้นด้านนวัตกรรมทางสังคม (Social Innovation) Change-Paradigm-Mindset ทำให้ได้เรียนรู้ว่าผู้บริหาร(NonHR) เป็น HR Manager ได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีตำแหน่งทาง HR และต้องใฝ่รู้ เจาะลึกลงไปใน HR เพื่อการบริหารลูกน้อง และ HR วัดในสิ่งที่วัดไม่ได้ ในองค์กรหากมีคนมากกว่าทรัพยากร ก็จะมองไม่เห็นความสำคัญของคน แต่หากมีคนน้อยกว่าทรัพยากรก็จะเห็นความสำคัญและกล้าลงทุนกับคน ในอนาคต กฟผ.เปลียนไป HR Function อย่างเดียวทำไม่สำเร็จต้องใช้ HR ในรูปแบบต่าง ๆ และเทคโนโลยีเข้าช่วย รวมทั้งการใช้คนต้องเกิด Value และ NonHR จะมีบทบาทมากขึ้น

10 กุมภาพันธ์ 2557

โครงการบัลวีบำบัด

ธรรมชาติบำบัด ปรับชีวิต เปลี่ยนอาหาร หลักการแพทย์พอเพียง” โดย นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล และ

วารีบำบัด สร้างเสริมสุขภาพ” โดย พญ.ลลิตา ธีระสิริ

1. ปัญหาสุขภาพในโลกยุคใหม่มีสาเหตุมาจากกินมากเกินความต้องการของร่างกาย ได้แก่

โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือด โรคหัวใจ อัมพาต ความดันโลหิตสูง ไขข้อเสื่อม ภูมิ

ต้านทานลดลง เสี่ยงต่อโรคมะเร็ง
2. การตรวจสอบว่าเป็นโรคอ้วนหรือไม่ คำนวณได้จาก

ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index) : BMI = น้ำหนัก (กก.) หารด้วย ส่วนสูงยกกำลังสอง (ม.)2

BMI 30 = โรคอ้วน, 25 = อ้วน, 23 = ท้วม, 20-22.9= รูปร่างปกติ, และ 18.5-19.9 = ผอม

3. ไขมันแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ไขมันใต้ผิวหนัง และไขมันในพุง

ไขมันในพุงมีประโยชน์ช่วยสร้างฮอร์โมน ผู้หญิงควรมี 5-8 % ผู้ชายควรมี 20 % หากมีไขมันใน

พุงมากเกินไป การสร้างฮอร์โมนของร่างกายจะลดลงทำให้เสี่ยงที่จะเกิดโรค หัวใจ เบาหวาน

อาการวัยหมด ประจำเดือน และ โรคอ้วน

4. ปัญหาของความอ้วนและภาวะโภชนาการเกิน เนื่องจากคนบริโภคอาหารมากขึ้นทำให้ค่าเฉลี่ย

ของ BMI ของคนไทย (อายุ 19 ปีขึ้นไป) มีค่า มากกว่า 23 เฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 50.7 ทำให้เกิดโรคอ้วน

และโรคที่จะตามมา ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันเลือด ฯลฯ
5. โภชนาการที่ถูกต้องในการบริโภคอาหาร เนื่องจากสังคมมีความเชื่อที่ผิด “กินเนื้อไม่ดี กินผักผลไม้ดีกว่า” ทำให้เกิดกระแสกินเจ มังสะวิรัติ มีผลให้ กินข้าวมาก ของหวาน ผลไม้มากเกิน เกิดโรคอ้วน เบาหวาน ไตรกรีเซอไรต์ คลอเลสเตอรอล ควรกินเนื้อสัตว์ 1 ส่วน ผัก 2 ส่วน ไม่กินข้าว ผลไม้ ถั่ว และนม การลดน้ำหนัก ควรทานอาหารสูตรกินเนื้อกินผัก การออกกำลังในน้ำ
6. การแพทย์ทางเลือกเป็นการใช้ธรรมชาติมารักษาแทนยา เช่น หวัด : อดอาหารล้างพิษด้วยผลไม้ ใช้ ฟ้าทะลายโจร ขมิ้นชัน ภูมิแพ้ ลมพิษ หอบหืด : อดอาหารล้างพิษ 10 วัน ทานข้าวกล้อง ผัก ผลไม้ วิตามิน ซี ชีวภาพ

เครียดนอนไม่หลับ : ออกกำลังกายแอโรบิค ปวดศีรษะ : วิตามินบี 100
7. ประวัติความเป็นมาของวารีบำบัด การประยุกต์ใช้งาน การอบความร้อน การอบสมุนไพร การอาบน้ำเย็น
8. ผลจากการอบความร้อน สมุนไพร และอาบน้ำเย็น 1.ในที่ร้อนเลือดจะออกไปที่ผิวหนัง ในที่เย็นเลือดจะกลับเข้าสู่อวัยวะส่วนกลาง ทำให้อวัยวะภายในได้รับเลือดใหม่ไปเลี้ยงเป็นระยะๆ เป็นการลดการอักเสบ หรือโรคภายใน 2. ความร้อนจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเม็ดเลือดขาว 3. เป็นการบริหารอวัยวะภายในให้แข็งแรง 4. ให้ความรู้สึกกระปี้กระเปร่า สดชื่น
9. ได้ทดลองปฏิบัติจริงการใช้ธรรมชาติบำบัด อบซาวน่า แช่น้ำเย็น อบสมุนไพร อาบแดดใต้ใบตอง ออกกำลังกายในน้ำ และ Mat exercise เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ ทำให้ ร่างกายกระฉับกระเฉง กระปี่กระเปร่า หากนำความรู้ต่างๆที่ได้รับจากโครงการบัลวีบำบัด ไปปฏิบัติตามความเหมาะสมจะเป็นผลดีต่อสุขภาพ ทำให้ปลอดภัยจากโรคอ้วน สุขภาพแข็งแรง และมีอายุยืน


วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557
Panel Discussion ในหัวข้อ Networking Capital กับการพัฒนาเพื่อประชาชน
1. นายชัยวัฒน์ ลิมป์รรธนะ ผวจ. กาญจนบุรี

- พื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี มีลักษณะสัณฐานคล้าย รูปกำมือชี้นิ้ว ปลายนิ้วมือชี้ไปที่ด่านเจดีย์สามองค์ แบ่งพื้นที่เป็น

3 โซน คือ 1.โซนอนุรักษ์ ได้แก่ พื้นที่ตอนบนในเขต อ.ไทรโยค อ.ทองผาภูมิ และ อ.ศรีสวัสดิ์ ซึ่งมีสภาพเป็นป่า

อนุรักษ์ที่สมบูรณ์ และเป็นต้นน้ำของแม่น้ำแควใหญ่และแควน้อย และมีแหล่งน้ำสำคัญ คือ อ่างเก็บน้ำเขื่อนศรี

นครินทร์และเขื่อนเขาแหลม 2.โซนอีสานอยู่ทางทิศตะวันตกมีปัญหาน้ำแล้งและน้ำท่วม 3.โซนเศรษฐกิจ เป็น

พื้นที่ตอนล่างที่ราบลุ่มในเขตชลประทานที่มีความอุดมสมบูรณ์ ทางการเกษตรและอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังมี

สถานที่สำคัญทางด้านประวัติศาสตร์และการท่องเที่ยว ที่สำคัญ ได้แก่ บ้านอิต่อง ทุ่งใหญ่นเรศวร สงครามเก้า

ทัพ ทุ่งลาดหญ้า อนุสรณ์ดอนเจดีย์ สะพานข้ามแม่น้ำแคว สุสานพันธมิตร ฯลฯ
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดกาญจนบุรี " เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มีความเป็นเลิศด้านการเกษตร

อุตสาหกรรมและการค้าชายแดน" ประเทศพม่ากำลังพัฒนาโครงการท่าเรือน้ำลึกที่เมืองทวาย ประเทศไทยจะมีโครงการทางพิเศษ East West Corridoor สร้างถนนเชื่อมต่อจากบางใหญ่ผ่านกาญจนบุรีไปยังเมืองทวาย

2. นายสหัสนัย ยืนยงค์ อุปนายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวจ.กาญจนบุรี

- ประชาชนมีความวิตกกังวลเรื่องความมั่นคงปลอดภัยของเขื่อน ศรีนครินทร์ กฟผ. ควรประชาสัมพันธ์เรื่องนี้ให้ชัดเจน

- เขื่อนศรีนครินทร์มีประวัติศาสตร์เชื่อมโยงกับเจ้าขุนเณร ดังนั้นควรสร้างพิพิธภัณฑ์เพื่อเป็นสถานที่เก็บและรวบรวมเรื่องราวต่างๆทางประวัติศาสตร์และเป็นแหล่งท่องเที่ยว

- กฟผ. ควรมีการจัดตั้งแผนกพัฒนาชุมชน เพื่อให้มีการสร้างเครือข่ายกับชุมชนให้ใกล้ชิดมากขึ้น

- ศรีสวัสดิ์ โมเดล เป็นต้นแบบให้ผู้ประกอบการพัฒนาและกำหนดมาตรฐานสำหรับการท่องเที่ยวและแพพัก

- กฟผ.หรือหน่วยงานที่เกี่ยงข้องควรให้ความช่วยเหลือชุมชนเพื่อให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับการพัฒนาการท่องเที่ยว
3. นายปณต สังข์สมบูรณ์ พลังงานจังหวัดกาญจนบุรี

- จ.กาญจนบุรี มีวัสดุเหลือใช้การเกษตรมาก ได้แก่ ยอดอ้อย ใบอ้อย เหง้ามันสำปะหลัง สามารถนำมาใช้ผลิตไฟฟ้า

- การผลิตไฟฟ้าจากชีวมวล เช่น โรงน้ำตาล บางแห่งระบบควบคุมมลพิษ ยังไม่ได้มาตรฐาน

- อ.ดร.จีระให้ข้อเสนอแนะว่า กฟผ. ควรทำวิจัยเรื่อง Energy Tax ว่าเป็นประโยชน์ต่อ กฟผ. ในภาพรวมอย่างไรบ้าง มีปัญหาอุปสรรคอะไร
4. คุณยุทธการ มากพันธ์ ตัวแทนชุมชน

- กฟผ. ควรเปลี่ยนวิธีคิด ในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งควรจะกระจายแหล่งผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กไปให้ชุมชนดำเนินการ โดยเฉพาะการใช้พลังงานทางเลือก และ กฟผ. ทำหน้าที่รับซื้อ ทั้งนี้เพื่อสร้างเครือข่ายผู้ผลิตไฟฟ้า

- บทบาทของ กฟผ. มี 2 ส่วน ส่วนดี เมื่อไฟฟ้าดับ เป็นพระเอก และส่วนเสีย คือการขึ้นค่า Ft

5. คุณคเชนทร์ พูนจันทร์ ตัวแทนภาคธุรกิจ (บริษัท SCG)

- การสร้างเครือข่ายชุมชน จะต้องใช้ทั้งเวลาและเงิน ต้องทำความดีอย่างต่อเนื่องใช้เวลานาน กว่าชุมชนจะยอมรับ

- งาน CSR ของ SCG คือ รายได้ : สร้างงานให้กับชุมชน สังคม : ร่วมมือในการพัฒนาชุมชนและการศึกษา

สิ่งแวดล้อม : เลือกใช้เทคโนโลยีที่มีผลกระทบน้อยที่สุดหรือใช้ทรัพยากรให้คุ้มต่า

1.ผู้จัดการทุกคนต้องมีส่วนร่วมกิจกรรมกับชุมชน ใช้หลักการ One Community : One Manager การทำงานกับชุมชนต้องทำในเชิงลึก ประกอบด้วย

2. สำรวจความต้องการชุมชน

3 มุ่งสร้างประโยชน์

4 .มีความจริงใจ

5. มิตรภาพเป็นสิ่งสำคัญ

6. ความโปร่งใส ให้ข้อมูล

7. ประชาสัมพันธ์ : ไม่มากเกินจริง

สรุป การมีเครือข่าย CSR ที่ดีทำให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ผ่านการกลั่นกรองแล้ว และมุมมองรอบด้าน สามารถนำมาปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

HR for Non HR และการปรับใช้กับงาน CSR ของ กฟผ. โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • 1.คนเป็นทรัพยากรที่มีค่าและสำคัญที่สุด การมองภาพทรัพยากรมนุษย์จาก Macro สู่ Micro
  • 2.กระแสโลกาภิวัตน์ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอย่างรวดเร็วและไม่สามารถคาดการณ์ได้ เราต้องพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนตลอดเวลา เช่นกัน “ If we don’t change we perish” Peter Drucker
  • “Change before you are forced to change” Jack Welch
  • 3.เนื่องจากภารกิจหน้าที่ของ กฟผ. เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมาก งาน HR จึงต้องปรับเปลี่ยน HR ยุคใหม่แตกต่างจาก HR ยุคเก่า ดังนี้
  • -ลักษณะงาน เป็นงานด้านกลยุทธ์(Strategic) ไม่ใช่งานประจำ (Routine)
  • -ผู้รับผิดชอบ ผู้บริหารระดับสูง (CEO) และหน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่ HR (Non HR)
  • -การเรียนรู้ (Learning) ไม่ใช่การฝึกอบรม (Training)
  • -ความรู้ (Knowledge) ไม่ใช่ ข้อมูล (Information)
  • -มีพันธมิตรร่วมดำเนินการ (Partnership) แทนดำเนินการโดยลำพังหน่วยงานเดียว (Stand alone)
  • -มีมูลค่าเพิ่ม (Value Added) แทนมีมูลค่า (Value)
  • -.ใช้ระบบ Respect & Dignity แทน Command & Contol
  • -Macro to Micro แทน Micro
  • 4.การบริหารทุนมนุษย์ให้ประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย 3 เรื่อง คือ ปลูก เก็บเกี่ยว และ Execution ช่วงปลูก ใช้ทฤษฎีทุน 8 K’s ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความสุข ทุนทางสังคม ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนทาง IT ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ และทฤษฎีทุนใหม่ 5 K’s ได้แก่ ทุนแห่งการสร้างสรรค์ ทุนแห่งความรู้ ทุนทางนวัตกรรม ทุนทางอารมณ์ และทุนทางวัฒนธรรม
  • 5.ช่วงเก็บเกี่ยวใช้ ทฤษฎี 3 วงกลม และ ทฤษฎี HRDS (สร้างทุนแห่งความสุข)
  • 6.ช่วง Execution คิอ การลงมือทำให้สำเร็จ และสร้าง 3 V คือ Value Added Value Creation และ Value Diversify

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557

หัวข้อ “Art & Feeling of presentation (เทคนิคการนำเสนออย่างทรงพลังและประทับใจ)โดย อ.จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล

  • 1.ได้ฝึกแสดงออกโดยใช้ภาษา ท่าทาง ภาษาพูด คิดเนื้อหาที่พูด โดยไม่ทราบล่วงหน้า เป็นการฝึกการใช้สมองซีกขวาคิดและจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ ภาษากายจะดึงดูดความสนใจของผู้ชมได้มากถึง 55 % น้ำเสียง 38 % และ คำพูด 7 % ดังนั้นการนำเสนอที่ประทับใจควรฝึกใช้ภาษากายและน้ำเสียงให้มาก
  • 2.กิจกรรมที่ 1 และ 2 การแสดงเป็นท่าทางของตัวการ์ตูนและภาพยนตร์ ที่โปรด เป็นการฝึกจินตนาการและแสดงท่าทางเพื่อสื่อให้ผู้ชมได้เข้าใจ กิจกรรมที่3 เป็นการฝึกความคิดสร้างสรรค์จากรูปภาพที่ให้ ทำให้ได้ความคิดในมุมมองต่างๆจากการระดมสมองของกลุ่มต่างๆ
  • 3.จากการฝึกดังกล่าวสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน โดยจุดประกายให้เพื่อนร่วมงาน ได้มีโอกาสเสนอความคิดสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่งานได้
  • 4.ได้ฝึกการนำเสนอในเรื่องที่ไม่ได้เตรียมตัวมาก่อน ภายใต้สภาวะกดดัน เช่น การขัดจังหวะการพูด
  • 5.ได้เรียนรู้เทคนิคการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น การเน้นที่ผู้นำเสนอ การปรับเวทีให้เจิดจ้า การใช้กลิ่นหอมสร้างความประทับใจให้ผู้ใช้บริการ ฯลฯ

Panel Discussion หัวข้อ “นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน (Social Innovation)”

  • 1.ความรู้ด้านนวัตกรรม CSR ของ กฟผ. ได้แก่ ขั้นตอนการทำ CSR และรางวัลที่ กฟผ. ได้รับ การทำ CSR สังคมไกล CSR.ในองค์กร และ CSR สังคมใกล้
  • 2.กิจกรรม CSR ของ กฟผ. เช่น โครงการปลูกป่า ชีววิถี เครื่องใช้ไฟฟ้า เบอร์ 5 โรงไฟฟ้าพลังน้ำบ้านคลองเรือ ฯลฯ
  • 3.แนวทางการทำ CSR ในมุมมอง กฟผ. เช่น คำนึงถึงสังคม พัฒนาอย่างยั่งยืน บรรเทาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ทำให้ดีกว่ามาตรฐาน และความรับผิดชอบต่อสังคม
  • 4.CSR ในมุมมองของปราชญ์ชาวบ้าน (ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์) สร้างกระบวนการเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชน โดยการนำเทคโนโลยี่การสื่อสารอินเตอร์เนท และ Face Book มาช่วยในการค้นหาข้อมูลและคำตอบ ทำให้เกิดความอยากรู้ อยากเห็น เกิดสังคมการเรียนรู้ สร้างองค์ความรู้ที่หลากหลายจากภูมิปัญญาในท้องถิ่นและขยายกว้างสู่ความรู้จากภายนอก เช่น การเพาะเห็ด กาแฟชะมด เมล็ดหมามุ้ย การผลิตแม่ไก่ไข่ การแปรรูปอาหารเมนูไก่ การปลูกกล้วยเทพรส ฯลฯ
  • 5.กิจกรรม CSR ในชุมชนควรให้ชุมชนได้ใช้องค์ความรู้ร่วมกันคิดกิจกรรมเพิ่อพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิตให้เหมาะสมกับท้องถิ่น
  • 6.การใช้นวัตกรรมที่ทำให้ประโยชน์ต่อองค์กร และสังคม ตัวอย่าง กฟภ. ชึ่งมีภารกิจงานขยายสายไฟฟ้าไปยังผู้ใช้ไฟฟ้าไปยังภาคต่างๆ ทั่วประเทศ กว่า 16 ล้านราย ความยาว 800,000 กม. โดยใช้ Social Innovation ในการจัดการองค์กร ซึงมีปัญหาการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การขับเคลื่อนองค์การแห่งการเรียนรู้ การสร้าง Awareness ปัญหาการลงทุนที่น่าจะขาดทุน แต่ต้องทำเพื่อประชาชนและสังคม และสามารถทำสำเร็จได้โดยไม่ขาดทุน เนื่องจากไฟฟ้าช่วยกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

หัวข้อ การสร้างเครื่องมือและการสุ่มตัวอย่าง และสถิติเบื้องต้นสำหรับการทำวิจัย โดย อาจารย์กิตติ ชยางคกุล

  • -หัวข้อวิจัยกลุ่ม 4 “ การศึกษาทัศนคติของคน กฟผ. ต่อการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ ”
  • -ประเด็นปัญหา กฟผ. ในปี 2010 เนื่องจากผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. ปัจจุบันยังขาดความรู้และความเข้าใจในภารกิจทิศทางและแผนการดำเนินงานสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ของ กฟผ. และมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน และไม่เป็นแนวทางเดียวกัน จึงทำให้การพัฒนาโรงไฟฟ้าของ กฟผ. ในพื้นที่ต่างๆไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ปฏิบัติเท่าที่ควร ขาดเอกภาพในการดำเนินงาน และมีกระแสต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่โครงการ การศึกษาทัศนคติของคน กฟผ. เรื่องการสร้างโรงไฟฟ้าจะเป็นประโยชน์ ทำให้ทราบความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงาน ตลอดจนทราบปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการร่วมกันพัฒนาโรงไฟฟ้า
  • -อ.กิตติ ฯ ให้ข้อคิดเห็นว่า ประเด็นปัญหาด้านทัศนคติของคน กฟผ. คือประเด็นใด และเป็นปัญหาจริงหรือไม่ ให้พิสูจน์และหาข้อมูลสนับสนุน เพื่อจะได้กำหนดกรอบการศึกษาต่อไป

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557

กิจกรรม CSR : ศุนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม : ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรและพลังงานทางเลือก

  • 1.ได้เรียนรู้วิถีชีวิตแบบพอเพียงประกอบด้วยฐานความรู้ 8 ฐาน ได้แก่ เศรษฐกิจพอเพียง เกษตรธรรมชาติ หมูหลุม ปุ๋ยธรรมชาติ ก๊าซชีวภาพ น้ำยาเอนกประสงค์ น้ำส้มควัน และการแปรรูปอาหาร
  • 2.ศูนย์กสิกรรมฯช่วยส่งเสริมให้เกษตรกรที่เข้าโครงการพักชำระหนี้ ได้ค้นหาอาชีพของตนเอง เข้าสู่กระบวนการกลุ่มเพื่อดึงศักยภาพในตัวเองและเห็นคุณค่าของตัวเอง ยกระดับจิตใจและสถานะของเกษตรกร
  • 3.คนในสังคมปัจจุบันยังไม่เข้าใจบทบาทและสถานะของตนเอง “ประเทศไทยไม่ได้มีสถานะเป็นหน่วยเศรษฐกิจและธุรกิจที่หมกมุ่นแต่การค้าขายและเงินตรา แต่มีความหมายป็นหน่วยสังคมชีวิตและอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน ตั้งแต่ครอบครัว หมู่คณะ และประเทศ”
  • 4.ประเทศไทยมีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์โดยเฉพาะการผลิตอาหาร ในอนาคตที่ประชากรโลกเพิ่มมากขึ้น บทบาทของเกษตรกรไทยจะมีความสำคัญต่อโลกมาก
  • 5.ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรที่สามารถใช้แทนยาได้ เช่น
  • : ฟักข้าว มีสารไลโคปีน ช่วยต้านเซลล์มะเร็ง รักษาวัณโรคปอด แผล ฝี หนอง
  • : สาบเสือ ป้องกันเลือดออก ช้ำใน ไล่แมลง
  • : ผกากรอง เก็บดอกตำใช้พอก แก้ปวด บวม ผื่นคัน
  • : สบู่ดำ แก้ปากนกกระจอก : หญ้าพันงู แก้นื่ว
  • : สะเดา ใช้ไล่แมลง : หางไหล ไล่แมลง
  • : น้อยหน่า เมล็ดตำใช้ไล่แมลง ปวดเข่า : ใบหนาด แก้ท้องอืด
  • 6.แหล่งพลังงานของโลกคือดวงอาทิตย์ ตราบใดที่ยังมีพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานจะไม่หมดไปจากโลก
  • แบตเตอรี่ธรรมชาติคือ ต้นไม้ เก็บพลังงานไว้ในรูปคาร์บอน
  • 7.พลังงานทดแทนประเภทต่างๆที่สามารถหาได้จากธรรม ชาติรอบตัว ได้แก่ แผงโซล่าร์เซล เครื่องทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ กังหันลม ชีวมวล น้ำมันจากพลาสติก พลังน้ำ ขยะ หญ้าเนเปียร์ เผาถ่านแบบ Gasification
  • 8.สรุปได้เรียนรู้วิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง การนำภูมิปัญญาท้องถิ่น ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ มาปรับใช้กับทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างเหมาะสมและสมดุลย์ เพื่อให้เกิดสังคมที่มีความเป็นอยู่อย่างพอเพียงและยั่งยืน
​สมพงษ์ ทวีสุขเสถียร

สมพงษ์ ทวีสุขเสถียร/EADP10

10 กุมภาพันธ์ 2557

หัวข้อ : กิจกรรมรักษ์กาย ณ ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี กรุงเทพฯ

การดูแลสุขภาพของตนเองสามารถทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ควบคู่กับการออกกำลังกาย

ทำอย่างไรไม่ให้อ้วน มีพุง ต้องการลดน้ำหนักด้วยวิธีกินให้น้อย หลีกเลี่ยงการกินนม หรือผลิตภัณฑ์จากนม อาหารจำพวก Fast Food น้ำอัดลม ขนมขบเคี้ยว ไอศครีม โดยเฉพาะอย่างยิ่งแป้ง สัดส่วนที่เหมาะสมคือ การบริโภคโปรตีน 1 ส่วน และผัก 2 ส่วน และมีการออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอจะทำให้ร่างกายดี สุขภาพแข็งแรง ลดปัญหาจากโรคต่างๆ อันได้แก่โรคอ้วน เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง

การรักษาโรคโดยวิธี วารีบำบัด มีประวัติความเป็นมายาวนาน ประโยชน์ที่ได้รับคือ ทำให้เลือดเคลื่อนไหวทั่วร่างกาย ลดการอักเสบของอวัยวะภายใน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดโลหิตขาว ทำให้อวัยวะภายในแข็งแรงมีภูมิต้านทานดี และให้ความรู้สึกสดชื่อกระปรี้กระเปร่า แต่มีข้อระวังในการซาวน่าสำหรับ สตรีมีครรภ์ ผู้เป็นโรคหัวใจ หรือมีความดันโลหิตสูง-ต่ำเกินไป

​สมพงษ์ ทวีสุขเสถียร

สมพงษ์ ทวีสุขเสถียร/EADP10

11 กุมภาพันธ์ 2557

หัวข้อ : Networking Capital กับการพัฒนาเพื่อประชาชน

นายชัยวัฒน์ ลิมป์วรรณธะ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี กล่าวถึงยุทธศาสตร์ในการพัฒนาจังหวัด ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ คือ

1. การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

2. การเกษตรและการแปรรูปสินค้าเกษตร

3. การค้าผ่านแดน

สามารถสร้างเศรษฐกิจให้จังหวัดมีอัตราขยายตัว 4-5% ต่อปี ปัจจุบัน GDP ของจังหวัดมีมูลค่า 100,000 ล้านบาท เป็นอันดับ 24 ของประเทศ

นายสหัสนัย ยืนยง ตัวแทนสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว กล่าวถึงการให้ความเชื่อมั่นแก่นักท่องเที่ยว และประชาชนของจัดหวัดกาญจนบุรี เรื่องความมั่นคงของเขื่อนศรีนครินทร์ และยกตัวอย่างหลายโครงการที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยว

นายปณุต สังข์สมบูรณ์ พลังงานจังหวัดกาญจนบุรี เน้นการวิจัยเรื่องพลังงานทดแทน เช่น อ้อย ก๊าซชีวภาพ มันสำปะหลัง สามารถนำมาผลิตไฟฟ้าได้

นายยุทธการ มากพันธ์ ตัวแทนชุมชน (NGO) เสนอเรื่องการสร้างเครือข่ายพลังงานจากชุมชน โดยให้เปลี่ยนแนวคิดการจัดการจัดหาพลังงานแทนการสร้างเขื่อน หรือโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่แบบเดิม

นายคเชนทร์ พุทจันทร์ ตัวแทนภาคธุรกิจ เสนอเรื่องการทำ CSR กับชุมชนรอบโรงงาน โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วยการเข้าถึงชุมชนและมีความจริงใจ โดย SCG ได้ดูแลชุมชนในด้านสังคม สิ่งแวดล้อม สร้างงาน พัฒนาชุมชน มีการดำเนินการในรูปคณะกรรมการชุมชนโดยไม่รอให้เกิดปัญหาก่อน SCG ทำงานสำเร็จเพราะชุมชนไว้ใจและไม่เคยปิดบังปัญหา มีปัญหาอะไรบอกชุมชนและแก้ปัญหาร่วมกัน

หัวข้อ : HR For Non HR และการปรับใช้กับงาน CSR ของ กฟผ.

คน เป็นทรัพยากรที่สำคัญขององค์กร แนวความคิดที่จะให้ Line Manager เป็น HR Manager เพื่อเป็นการพัฒนาบุคลากรในระดับผู้บริหาร มีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการ จัดระบบ บริหารบุคลากรเพื่อการพัฒนาคนและองค์กรอย่างยั่งยืน ดังนั้น Line Manager จำเป็นต้องมีความรู้และบทบาทหน้าที่ในด้าน HR ด้วย

Line Manager มีผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นจำนวนมาก มีความใกล้ชิดกับพนักงาน ต้องรู้จักการบริหารจัดการ การสร้างคนรุ่นใหม่เพื่อทดแทน ขับเคลื่อนองค์กร และสามารถให้องค์กรก้าวหน้าได้

วันที่ 12 กพ. 57

Art and Feeling Presentation โดย อ.จิตาสุมาลย์ ให้ความรู้ผ่านกิจกรรมที่แต่ละคน แต่ละกลุ่มแสดงออก และแสดงถึงภาวะทางพฤติกรรมของมนุษย์ที่ต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และการเอาตัวรอด รวมถึงการฝึกทักษะในบทบาทต่าง ๆ ผ่านเกมส์หรือกิจกรรม เช่น เกมส์บทบาทสมมุติสมัยเด็ก เกมส์พิจารณาผลไม้ เกมส์แสดงตามบทบาทที่อาจารย์บอก และให้พูดหรือแสดงตามคำสั่งที่เพื่อนบอก ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องอาศัยไหวพริบ ประสบการณ์ และความกล้าในการแสดงออก โดยใช้เวลาจำกัด สิ่งที่สื่อออกไปให้ผู้อื่นเข้าใจต้องอาศัยพฤติกรรมทั้ง ภาษาพูด พลังเสียง และภาษากายท่าทางต่าง ๆ ตามสัดส่วนที่ทำให้คนเข้าใจ คือ 7%, 38% และ 55% ตามลำดับ ซึ่งการนำเสนอโดยทั่วไปนั้นจะอยู่ที่ข้อมูลเนื้อหา และผู้นำเสนอ ดังนั้น ผู้นำเสนอควรต้องมี Brand Senses ด้วย

นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน (Social Innovation) ความรับผิดชอบต่อสังคมของ กฟผ. โดยคุณรังสรรค์ มุ่งเน้นแนวคิดและนวัตกรรมเพื่อบูรณาการให้งานสำเร็จ และนำไป Implement กับชุมชน ซึ่งนโยบายของ กฟผ.ต่อสังคมมีดังนี้
การคำนึงถึงสังคม เน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน ป้องกัน/บรรเทาผลกระทบที่เกิดจากการดำเนินงาน ทำให้ดีกว่ามาตรฐานที่กำหนด และการสร้างวัฒนธรรมความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมีนวัตกรรมด้าน CSR คือ รวมแผนแยกปฏิบัติ CSR
ภายในสู่ภายนอก CSR/PR ประเมิน/Audit ปรับปรุง ซึ่งได้แบ่งออกเป็น CSR in Process เช่น อุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ลดกำลังการผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ถึง 3,000 MW. และ CSR After Process เช่น ชุมชน หน่วยงานป่าไม้และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เป็นต้น

ครูบาสุทธินันท์ เน้นหัวใจในการพัฒนาชุมชน ต้องทำให้ชุมชนอยากเป็นผู้เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคข้อมูลข่าวสาร ชุมชนมีช่องทางหรือโอกาสในการเรียนรู้มากขึ้น เทคโนโลยีสามารถช่วยได้เยอะ ซึ่งโครงการต่าง ๆ ที่ทำกับชุมชนมีมากมายแต่ทำไม่สำเร็จเพราะผู้สอนไม่รู้จุดมุ่งหมายที่แท้จริง ต้องใช้วิธีการเรียนรู้ที่เห็นผลไว เห็นผลจริง ง่าย ๆ และแตะต้องได้ ปัจจุบันมีเครือข่ายความรู้มากมายสามารถค้นหาได้ โดยยกตัวอย่างจากตัวท่านเอง การเข้าชุมชนให้เกิดการเรียนรู้ต้องเป็นโจทย์ใหม่ โดยโน้มน้าวยกตัวอย่างให้สนใจ และทดลองทำ หรือนำปัญหาของชุมชนมาร่วมกันคิดว่าชุมชนมีปัญหาอะไรบ้าง เน้นความเป็นนักคิด มีความอยาก(ทำ) ทำให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้และทำให้ชุมชนเป็นผู้เรียนจากเรื่องง่าย ๆ

คุณสุทธิเดช เน้นเรื่องยุทธศาสตร์ด้าน CSR นวัตกรรมเชิงสังคม ต้องเป็นเรื่องใหม่ สร้างสรรค์ มีองค์ความรู้ (knowledge : แรง ตรงประเด็น ยั่งยืน) โดยพิจารณาว่ามีผลต่อสังคมของประเทศโดยรวม หรือมีผลภายในองค์กรไม่ส่งผลต่อภายนอก ประเด็นสรุป ปัจจุบัน กฟผ.มีการทำกิจกรรม CSR มาก แต่มี PR น้อย และไม่ค่อยขยายผลในสิ่งที่ได้ทำไป.

วันที่ 13 กพ. 57

ศึกษาดูงานศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม วิทยากรเน้นเรื่องการพึ่งพาตนเองและเศรษฐกิจพอเพียง การนำพืชผักต่าง ๆ ที่มีอยู่ตามท้องถิ่นธรรมชาติมาบริโภคเป็นอาหาร และใช้เป็นยารักษาโรค ซึ่งเป็นแนวคิดที่ไม่ซับซ้อนในการสร้างอาชีพ และรายได้ เหมาะสมเป็นแหล่งที่ใช้จุดประกายหรือเป็นแหล่งในการเรียนรู้ของชุมชนอื่นได้ทดลองนำไปปฏิบัติ รวมทั้งการนำพลังงานจากธรรมชาติที่เป็นพลังงานทางเลือกมาใช้ควบคู่ผสมผสานกับพลังงานจากเศษขยะและสิ่งของเหลือใช้ เพื่อสร้างให้เกิดมูลค่าเพิ่มอย่างน่าทึ่งตามแนวคิดแบบบ้าน ๆ ง่าย ๆ เห็นผล และแตะต้องได้.

ชัยวัฒน์ มานะพันธุ์พงศ์

Learning Log 3

Author’s Name :ชัยวัฒน์ มานะพันธุ์พงศ์

Log Date : 10/02/57

Topic :ธรรมชาติบำบัดปรับชีวิต เปลี่ยนอาหาร หลักการแพทย์พอเพียง
โดย นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล

พอจะทราบอยู่ว่าด้วยการกินอยู่ที่เปลี่ยนไปของคนไทย จากสังคมสมัยก่อน กินผักกินปลา มาเป็นอาหารที่อุดมด้วยโปรตีน ไขมัน เพิ่มขึ้น รวมทั้งผักพื้นบ้าน ผักริมรั้วที่หายไปจากครัวไทย ทำให้มีปัญหาสุขภาพมากขึ้น คนไทยสมัยก่อนไม่ค่อยมีพุง แต่ทุกวันนี้กลับมีปัญหาโรคอ้วนกันมาก ผลการตรวจสุขภาพของ กฟผ.ทุกๆปีก็พบว่าเป็นโรคที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค คือโรคอ้วน ไขมันในเส้นเลือด ความดัน เบาหวาน เป็นกันมาก เฉพาะในกลุ่ม EADP 10 ที่ตรวจสอบมวลกายวันนี้ ก็พบว่ามีผู้ที่อยู่ในกลุ่มท้วม และ อ้วน รวมกันถึง 72%

การบรรยายของท่านอาจารย์ นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล ทำให้รู้ว่าความเชื่อเดิมๆที่พวกเราระมัดระวังการกินอาหารที่มีไขมันมาก หรืออาหารทะเลที่มีคอเลสเตอรอลสูงนั้น กลับมีผลต่อไขมันในเส้นเลือด และไขมันใต้ผิวหนังน้อยกว่าคาร์โบไฮเดรต สรุปว่าอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง พวกแป้ง ข้าว เมื่อกินเข้าไปแล้วจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลอยู่ในกระแสเลือด เพื่อส่งพลังงานไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย น้ำตาลเหล่านี้เมื่อใช้ไม่หมดจะเปลี่ยนเป็นไตรกลีเซอไรด์ คอเลสเตอรอล HDL LDL ล้วนเป็นผลผลิตของไตรกลีเซอไรด์ ท่านอาจารย์นำเสนอว่า การลดไขมันในเส้นเลือด และไขมันใต้ผิวหนัง ต้องตัดคาร์โบไฮเดรต คืองดข้าวและแป้ง เมื่อร่างกายต้องการพลังงานก็จะไปดึงไขมันที่สะสมไว้มาใช้ โดยได้ยกตัวอย่างเคสของคนไข้ที่เข้าโปรแกรมงดอาหารคาร์โบไฮเดรต ซึ่งสามารถลดน้ำหนัก และลดคอเลสเตอรอลในเลือดลงได้ สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งที่ได้จากการฟังบรรยายในวันนี้ก็คือเรื่องของยาลดไขมันในเลือด ว่าแท้จริงแล้วหากไม่มีการควบคุมอาหาร ยังมีการบริโภคเหมือนเดิม ไขมันส่วนเกินย่อมต้องมีเช่นเดิม แต่การที่ใช้ยาลดไขมันแล้วทำให้ค่าไขมันในเลือดต่ำลงนั้น แท้จริงแล้วเป็นยากระตุ้นให้ตับดักจับไขมันได้มากขึ้น ซึ่งจะสร้างปัญหาไขมันพอกตับ หากใช้ยาเป็นเวลานานๆ จะเกิดปัญหาตับแข็ง ตับอักเสบ และลุกลามเป็นมะเร็งตับได้

ประโยชน์ที่ได้จากการฟังบรรยายวันนี้ ทั้งต่อตนเองและองค์กร ก็คือได้ความรู้ในการดูแลสุขภาพตัวเอง ให้แข็งแรงแจ่มใส พัฒนาตนเองและงานได้ เพราะ”จิตใจที่แจ่มใส อยู่ในร่างกายที่แข็งแรง”.

รัชดา ทองอยู่ (งานกลุ่ม 4)

ข้อสรุปจากบทความเรื่อง Schooling Business

1.อ่านแล้วได้อะไร

การเรียนรู้และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (L&D) ที่เหมาะสมและเข้ากับสถานการณ์สำหรับผู้บริหารในปัจจุบันถือเป็นการลงทุนทางทรัพยากรมนุษย์ที่จำเป็นและคุ้มค่าต่อองค์กรและธุรกิจ เพราะเป็นการสร้างสรรค์คนทำงานและผู้นำที่มีความเฉลียวและฉลาด ตลอดจนมีทักษะชั้นสูง (high-impact skill) โดยสถาบันและองค์กรการศึกษาหลายแห่งพยายามที่จะสร้างหลักสูตรที่ยึดความต้องการของลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (client-focused approach) ด้วยเครื่องมือที่เข้าถึงความสำเร็จที่แน่นอน 2 ประการ คือ โปรแกรมการฝึกอบรมในการสร้างทักษะชั้นสูง (high-impact trainning) และ การสร้างวัฒนธรรมของการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (culture of continuous learning) ทั้งนี้ โดยอาศัยเทคโนโลยี IT ที่ทันสมัย มาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และแสวงหาข้อมูลแลกเปลี่ยนกัน อันเป็นกลยุทธ์ในการสร้างเสริมทักษะที่เรียกว่า skillsoft เพื่อช่วยให้องค์กรมุ่งสู่ผลัมฤทธิ์ทางการพัฒนาคนและความสำเร็จทางธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น

2. เกี่ยวข้องอะไรกับหลักสูตร EADP

การจัดการเรียนรู้และพัฒนาของหลักสูตร EADP เน้นการกระตุ้นและสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องเช่นเดียวกับที่บทความอ้างอิงไว้ ภายใต้หลักการ 2R (real & relevance) เพื่อให้ผูเข้าอบรมเกิดทักษะความเป็นผู้นำที่ขานรับกับสถานการณ์แวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงง่ายอยู่เสมอ รวมทั้งตอบความต้องการขององค์กรได้อย่างเป็นจริง มากกว่าการอบรมเรียนรู้แบบเดิมๆที่มีแต่การฟังบรรยายและเอกสารมากมาย ที่เสียเวลาและให้ความคุ้มค่าน้อย

กรณีศึกษา : Microsoft จากอดีตถึงปัจจุบัน กับภาวะผู้นำของ CEO

Bill Gates : เป็นผู้นำองค์กรในยุคก่อร่างสร้างตัวที่มีวิสัยทัศน์และมองการณ์ไกล. กล้าเผชิญอุปสรรคและปัญหาเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายอย่างเล็งผลแน่นอนชัดเจน จึงริเริ่มและบุกเบิกธุรกิจ Microsoft ได้อย่างรวดเร็วและเป็นที่ยอมรับแก่ลูกค้าอย่างกว้างขวาง ชนิดทิ้งคู่แข่งไปอย่างไม่เห็นฝุ่น

Steve Ballmer : เป็นผู้นำยุคที่ Microsoft อิ่มตัวและก้าวผงาดบนแถวหน้าของวงการแล้ว การรักษาแชมป์ไว้จึงนับเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง มีการบริหารงานแบบแยกส่วนเพื่อความคล่องตัว โดยเน้นการสื่อสาร สร้างการรับรู้เข้าใจภายในองค์กร พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้พนักงานสามารถวิพากษ์และร่วมค้นหาการเปลี่ยนแปลงที่จะช่วยองค์กรให้ยืนหยัดต่อไปได้

Satya Nadella : เป็นผู้นำในยุคของธุรกิจอิ่มตัวและต้องดิ้นรนปรับเปลี่ยนให้ทันกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ก้าวล้ำไปอย่างรวดเร็ว การบริหารความเปลี่ยนแปลงจึงเป็นโจทย์สำคัญที่ต้องนำพาองค์กรและพนักงานให้พร้อมรับและก้าวกระโดดให้ทัน ด้วยภาวะผู้นำที่มีทักษะทั้งด้านวิศวกรรมและมุมมองด้านธุรกิจอยู่ในตนเอง

การนำกรณีศึกษานี้มาประยุกษ์ใช้กับการบริหารงาน กฟผ. :

ปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่า กฟผ. กำลังอยู่ในสภาพเผชิญปัญหาเช่นเดียวกับ Microsoft ผู้ใช้ไฟต่างเรียกหานวัตกรรมพลังงานไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง พร้อมๆกับการเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันและเอกชนเข้ามาแย่งสัดส่วนของการเป็นผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ของประเทศให้ลดน้อยลงไปอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ข้อจำกัดด้าน พรบ. ไฟฟ้า กลายเป็นกำแพงที่ กฟผ. ก้าวปีนไม่พ้น ผู้ว่าการคนปัจจุบันและคนต่อๆไปจากนี้ต้องมีวิสัยทัศน์ที่ก้าวพ้นออกจากกรอบและนำองค์กรสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ให้ได้ การผันตนเองจากผู้ผลิตมาเป็นผู้ค้า (trader) อาจจะเป็นทางออกอีกทางหนึ่ง ซึ่งต้องปรับวิสัยทัศน์องค์กรและยุทธศาสตร์แบบก้าวล้ำข้อจำกัดและกรอบคิดเดิมๆ ไปสู่น่านน้ำใหม่ที่ไม่คุ้นเคยแต่มีอนาคตและทางรอดที่ดีกว่า (Blue Ocean)

การนำเสนอของกลุ่ม 5

การศึกษาดูงานที่ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขามมุ่งสร้างการเรียนรู้ / ลดค่าใช้จ่าย สร้างมูลค่าเพิ่ม / สร้่างความตระหนัก ความพอเพียงการใช้วัสดุและแปรรูปวัสดุในชุมชน

จากแนวคิดข้างต้นเป็นเหตุสร้างแรงจูงใจในการที่จะร่วม / สนับสนุนชุมชนรอบพื้นที่ กฟผ. และพื้นที่ใกล้เคียงให้นำแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชุมชนสอดคล้องกับสภาพพื้นที่แต่ละชุมชน

การมีส่วนร่วมสนับสนุนชุมชนดำเนินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชน พื้นที่รอบแหล่งผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. และใกล้เคียง กฟผ. ควรมีส่วนร่วมกับชุมชนใน "โครงการสร้างความรู้ความเข้าใจนำวัสดุและสิ่งเหลือใช้ในชุมชนมาแปรรูปเป็นพลังงานทางเลือก ลดรายจ่ายในชุมชน" ในโครงการดังกล่าวมุ่งการมีส่วนร่วมสร้างการเรียนรู้ผ่านแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง / ความตระหนัก / นำสิ่งเหลือใช้ในชุมชนมาสร้างประโยชน์ภายในครัวเรือน ซึ่งจะสะท้อนและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชนควบคู่ไปกับการสร้างสมดุลด้านสิ่งแวดล้อมในชุมชนดังนี้

1. สร้างการเรียนรู้ ชุมชนมุ่งลดรายจ่าย ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

2. รู้เรื่องการนำวัสดุและสิ่งเหลือใช้ในชุมชนมาแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม

3. สร้างวินัยส่งเสริมการรักษาสิ่งแวดล้อมและความสมดุลด้านสิ่งแวดล้อมชุมชน

4. พึ่งพาตนเอง / สร้างความเข้มแข็ง / พัฒนาคนในชุมชน

5. สนับสนุนให้มีการสื่อสาร แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เผยแพร่ผลงาน ข้อมูลข่าวสารกับชุมชนอื่น เพื่อสร้างเครือข่ายและต่อยอดความรู้ เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ทางด้านพลังงานทดแทน รวมทั้งขยายสู่สาธารณะโดยผ่านระบบ IT และช่องทางอื่นที่สะดวก

โครงการดังกล่าวมุ่งสร้างการเรียนรู้ / วินัย / เพิ่มมูลค่าและรักษาสิ่งแวดล้อมกับชุมชน ถือว่าเป็นโครงการพื้นฐานในชุมชน โดยปรับแนวคิดหันกลับมาให้ความสำคัญกับสิ่งที่มีอยู่ในชุมชน ซึ่งจะเป็นแนวทางการมีส่วนร่วมพัฒนาและปรับเปลี่ยนแนวคิดชุมชนไปสู่ความยั่งยืน

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2557

กิจกรรมรักษ์กาย ณ ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี (สามเสน) กรุงเทพมหานคร

ได้เรียนรู้การดูแลสุขภาพโดยวิธีธรรมชาติ โดยการอบซาวน่า ทำให้เลือดลมเคลื่อนไหวไปทั่วร่างกาย ลดการอักเสบของอวัยวะภายใน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดขาว บริหารอวัยวะภายในให้แข็งแรงมีภูมิต้านทานดีขึ้น

ทำ Mat Exercise บริหารกล้ามเนื้อและข้อต่อ

ทำ Hydro-aerobics ออกกำลังกายในน้ำ และการอาบแสงตะวันอบสมุนไพร

ปัญหาสุขภาพของคนในยุคนี้ ได้แก่ โรคอ้วน เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ ความดันสูง ไขข้ออักเสบ ซึ่งเกิดจากการกินอาหารไม่ถูกต้อง ซึ่งสามารถบำบัดโรคเหล่านี้ได้ด้วย การกินให้ถูกต้องและการออกกำลังกายใช้สมุนไพรไทยในการรักษาโรค

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557

Panel Discussion หัวข้อ Networking Capital กับการพัฒนาเพื่อประชาชน โดยนายชัยวัฒน์ ลิมป์วรรณธะ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี พูดถึงยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเน้นการส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และการพัฒนาประสิทธิภาพระบบการผลิตสินค้าเกษตรอุตสาหกรรม

คุณหัสนัยฯ พูดเรื่องการท่องเที่ยว และการมีส่วนร่วมของชุมชนใน อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี และต้องการให้ กฟผ. สร้างความมั่นใจเรื่องความมั่นคงของเขื่อน โดยประชาสัมพันธ์ สร้างเครือข่ายชุมชน และมีแผนพัฒนาชุมชนในแต่ละพื้นที่

คุณยุทธการฯ ต้องการให้ กฟผ. เป็นผู้นำเครือข่ายโรงไฟฟ้าชุมชน ช่วยชุมชนพัฒนาโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก

สรุปความเห็นของผู้เข้าร่วม Panel Discussion ต่อ กฟผ. ควรขยาย Network มากขึ้น

ควรดูแลการใช้จ่ายเงินกองทุนโรงไฟฟ้า

ต้องทำให้ชุมชนก่อน ก่อนจะเรียกร้องจากชุมชน

ต้องสร้างความเชื่อถือ/ศรัทธา/จริงใจ ให้ชุมชน

หัวข้อ HR for Non HR และการปรับการใช้งาน CSR ของ กฟผ. การแข่งขั้นในอนาคตจะขึ้นอยู่กับคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร การบริหารทุนมนุษย์ไม่ใช่ความรับผิดชอบของ HR Department เพียงอย่างเดียว CEO และ Non HR Manager ต้องร่วมด้วยงาน HR ของ CEO ได้แก่กำหนด Vision และเป้าหมายให้ชัดเจนและต่อเนื่อง การสร้างทีมงาน กระตุ้นและสนับสนุนทีมงาน การพัฒนา Non-HR เพื่อเสริมศักยภาพให้บุคลากรในทุกระดับ เพื่อสร้าง Value Creation และ Value Diversity

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557

Art & Feeling Presentation

เป็นศิลปการใช้สมองซีกขวาแสดงถึงความน่ารัก เห็นอะไรเป็นสีสัน ดึงความเป็นศิลปินในตัวออกมา

ผู้นำแต่ละประเทศใช้สมองซีกขวากันเยอะแยะ ในการ Present ตัวเอง การ Present ตัวเอง โดยใช้ภาษากายสามารถดึงดูใจคนได้ถึง 55% พลังเสียง 38% และการพูดเพียง 7%

การนำเสนอบุคลิกภาพของตัวนั้น จากการวิจัยพบว่าสิ่งที่จำได้ตัวที่ 1 คือ รูป ตัวที่ 2 คือ กลิ่น

สิ่งสำคัญที่สุด Content กับ Presentation เราจะเอา Content มาดัดแปลงให้เกิดกิจกรรมร่วมกับ Presentation ได้อย่างไร

นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน (Social Innovation) นวัตกรรมต้องเริ่มจากภายในก่อน เราต้องมีจิตวิญญาณเริ่มจากอะไรต้องตามสถานะนั้น ๆ ต้องมี CSR in Process ถ้าเราทำสิ่งไม่ดีชุมชนจะยอมรับหรือไม่ หลังจากทำ CSR ภายในองค์กรแล้ว สังคมจะต้องอยู่ได้ เกิดจากไม่พอกินพอใช้ ต้องทำให้อยู่อย่างพอกินมีสุขเปลี่ยนจากไม่มีกินไม่มีใช้มาเป็นมั่งมีศรีสุข สังคมใกล้ต้องให้เขายอมรับเรา

ชุมชน วัฒนธรรมชุมชน วิถีชีวิตชุมชน ถ้าจะพัฒนาชุมชน ชาวบ้าน วิถีชุม หัวใจอยู่ตรงไหน อยู่ที่ทำให้ชุมชนเป็นผู้เรียน อยากรู้ อยากเห็น อยากทดสอบ ไม่ใช่พัฒนาให้ชุมชนแบมือขอ โจทย์ทุกโจทย์จะแตกออกไป หัวใจของชุมชน คือการสร้างความอยากเรียนรู้ให้ชุมชน

Social Innovation ต้องเริ่มจาก Activity +Knowledge และ Turn into Action และ Turn into Success

Social มี 2 ระดับ คือ สังคมทั่วไปกับในองค์กร มี General กับ Public ซึ่งจะต้องแก้ปัญหาให้ได้ ถ้าไม่เอาชนะสิ่งที่เป็นอุปสรรคของสังคมจะถือว่าทำงานไม่สำเร็จ

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557

ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีการเกษตร และพลังงานทางเลือก

ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม เป็นศูนย์องค์ความรู้และประสบการณ์การทำเกษตรอินทรีย์แบบธรรมชาติ โดยพึ่งพาตนเอง มีฐานเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ผลิตให้เพียงพอกับการบริโภค ในครัวเรือนเป็นหลักเหลือจากบริโภคจึงเป็นการค้า

ศูนย์กสิกรรมท่ามะขาม ช่วยสร้างอาชีพให้แก่ชาวบ้านให้พึ่งพาตนเองได้ ตามแบบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยภูมิปัญญาของชาวบ้าน ทำให้ชุมชนเป็นสุข

พลังงานทางเลือกในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น พลังงานแสงอาทิตย์พลังานลม พลังงานจากพืชจากการเกษตร ล้วนนำมาพัฒนาต่อยอดโดยใช้เทคโนโลยี ให้เป็นพลังานหมุนเวียน เพื่อใช้ในชุมชน เช่น ก๊าซชีวมวล มาใช้ในการหุงต้มอาหาร กังหันน้ำใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ในครัวเรือน มีการคิดประดิษฐ์อุปกรณ์และเครื่องมือขึ้นเอง เช่น เตาชีวมวล

จาก กุลพล สังข์ทอง

EADP10

สุธารักษ์ ธีร์จันทึก

สุธารักษ์ ธีร์จันทึก

กลุ่ม ๔

สรุปการเรียนรู้ในช่วงวันที่ ๑๐-๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗

วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ กิจกรรมรักษ์กาย ณ ศูนย์ธรรมชาติบัลวี

กิจกรรมรักษ์กาย มีการแบ่งกิจกรรมเป็น ๒ ช่วง คือช่วงการบรรยายหัวข้อด้านสุขภาพ และช่วงกิจกรรมดูแลร่างกาย โดยสามารถสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

การบรรยายหัวข้อด้านสุขภาพ แบ่งการบรรยายเป็น ๒ ช่วงคือ ๑) การบรรยายการเปลี่ยนอาหาร เพื่อทำให้สุขภาพดีขึ้น โดยผู้บรรยาย (นพ. บรรจบฯ) ได้ชี้ให้ผู้เข้ารับการพักอบรมได้เข้าใจถึงอันตรายของการมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน ซึ่งการมีน้ำหนักตัวเกินส่งผลเสียต่อร่างกายโดยเป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด อาทิ โรคอ้วน เบาหวาน โรคหัวใจ โรคไขมันพอกตับ ความดันโลหิตสูง ฯลฯ ซึ่ง นพ. บรรจบฯ ได้ให้ข้อเสนอแนะว่า การลดน้ำหนักในร่างกายอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานจะส่งผลดีต่อร่างกายในหลายด้าน โดยเฉพาะห่างไกลจากโรคที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งในการลดน้ำหนักนั้น นพ. บรรจบฯ ได้สอนถึงวิธีการรับประทานอาหารในช่วงที่ลดน้ำหนัก โดยให้เน้นการทานผักและเนื้อสัตว์เป็นหลัก และให้หลีกเลี่ยงอาหารประเภทแป้ง ของหวาน และผลไม้ นอกจากนี้ นพ. บรรจบฯ ยังได้ชี้ให้เห็นประโยชน์ในการออกกำลังกายในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน ว่าควรปฏิบัติตัวอย่างไรเพื่อมิให้มีผลต่อกระดูกและข้อพับต่างๆ ๒) การบรรยายในเรื่องวารีบำบัด ซึ่ง พญ.ลลิตา ได้ให้ความรู้ความเป็นมาถึงการทำวารีบำบัดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมถึงได้ชี้ให้เห็นประโยชน์ของการทำกิจกรรม Mat Exercise การแอโรบิคในน้ำ และการอาบแสงตะวัน

การทำกิจกรรมดูแลร่างกาย ซึ่งมีกิจกรรมดังนี้

- MatExercise คือการเน้นการบริหารกล้ามเนื้อและข้อต่อเบื้องต้นเพื่อประยุกต์ใช้ในกิจวัตรประจำวัน

- การอาบแสงตะวัน และการอบสมุนไพร เพื่อให้ร่างกายได้รับแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต โดยใช้สิ่ง ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ

- HydroAerobics เป็นการออกกำลังกายในน้ำ มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อคนที่มีน้ำหนักมาก หรือมีปัญหาด้านข้อพับ

วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ Panel Dicussion หัวข้อ Networking Capital กับการพัฒนาเพื่อประชาชน

เป็นการแสดงความคิดเห็นจากคนหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประชาชน โดยสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

นายชัยวัฒน์ ลิมป์วรรณธะ ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี ได้เล่าถึงลักษณะทางกายภาพ ของจังหวัดกาญจนบุรี และยุทธศาสตร์ของจังหวัด ในการที่ต้องการพัฒนาจังหวัดไปในด้านการเป็นเมืองท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์ ควบคู่ไปกับการส่งเสริมเกษตรอุตสาหกรรมโดยมีชาวบ้านเป็นศูนย์กลางของยุทธศาสตร์ดังกล่าว

นายปณต สังข์สมบูรณ์ ในฐานะพลังงานจังหวัดกาญจนบุรี ได้ชี้ให้เห็นว่า การจัดการด้านพลังงาน ที่มีประสิทธิภาพ จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นใครจะต้องทำความเข้าใจกับชุมชนโดยรอบในทุกด้าน เพื่อให้การจัดการพลังงานมีประสิทธิภาพสูงสุด และเกิดประโยชน์กับทุกฝ่าย และลดการขัดแย้งของทุกฝ่ายในพื้นที่

นายยุทธการ มากพันธุ์ ในฐานะตัวแทนชุมชน ได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการสร้างการมีส่วนร่วม ในการผลิตพลังงาน โดยแม้ว่า กฟผ. จะเป็นผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่แต่หากผู้ผลิตไฟฟ้ามีการแสวงหาความร่วมมือ ในการผลิตไฟฟ้าแล้ว ประชาชนหรือชุมชนโดยรอบก็สามารถรวมตัวเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าได้ ดังนั้นจึงจำเป็นที่ กฟผ. จะต้องคิดถึงการสร้างเครื่องข่ายผลิตไฟฟ้าของคนในพื้นที่

นายคเชนฐ์ พูนจันทร์ ในฐานะตัวแทนจาก SCG ได้เสนอว่า การสร้างทุนทางเครือข่ายเป็นการลงทุนระยะยาว คนที่รับผิดชอบ จำเป็นต้องเปนผู้ที่มีความรับผิดชอบ และมีความจริงใจกับชุมชน และการดำเนินการใดๆ ของบริษัท จำเป็นต้องตอบโจทย์ ของชุมชนด้วย ชุมชนกับบริษัทต้องเดินคู่กันไป บริษัทจำเป็นต้องดูแลความเป็นอยู่ของชุมชนในทุกด้าน และพิจารณาผลกระทบที่จะเกิดกับชุมชนในทุกด้าน หากมีการลงทุนใหญ่

วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ Learning & workshop ในหัวข้อ HR For Non HR

เป็นการทำ Workshop เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้เรียนรู้ถึงงานด้าน HR และความสัมพันธ์เกี่ยวกับงาน CSR โดยสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

- ผู้บริหาร ทุกระดับ ควรให้ความสำคัญ และมีส่วนร่วมในงานด้าน HR มากขึ้น โดยไม่ปล่อยให้ภาระดังกล่าวเป็นงานของฝ่าย HR เพียงฝ่ายเดียว

- การทำงานของฝ่าย HR จำเป็นต้องทำงานในลักษณะเครือข่าย มีการประสานงาน และสื่อสารกับทุกภาคส่วนในองค์กร

- การทำงานในลักษณะ HR และ Non HR จะต้องมีเป้าหมายและวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน

- ต้องอาศัยผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งในองค์กรและนอกองค์กรในการช่วยเป็น Co-creation

- ต้องพัฒนาศักยภาพของคนภายในองค์กร เพื่อกระตุ้นให้เกิดความเป็นเลิศให้ได้

- ในการพัฒนาด้าน HR จำเป็นต้องพัฒนาด้าน Non HR (Science & Social Science) ควบคู่ไปด้วย

วันพุธที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ เทคนิคการนำเสนออย่างทรงพลังและประทับใจ (Arts And Feeling Of Presentation)

อาจารย์จิตรสุมาลย์ฯ ได้สอนให้ผู้อบรบได้ Workshop เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์โดยแบ่งการ Workshop เป็น ๕ ช่วง ประกอบด้วย ๑) การคิดว่าอยากเป็นอะไรในวัยเด็ก ๒) การคิดวลีของผลไม้ที่มีเปลือกนอกเป็นแอ๊ปเปิ้ล เปลือกในเป็นส้ม ๓) การ Present หน้าชั้น โดยให้เวลา ๓๐ วินาที ในการ Present เกี่ยวกับคำ ที่ผู้อบรมคิดขึ้นมาพร้อมทั้งแสดงท่าทาง ๔) การแบ่งกลุ่ม Present หน้าห้อง โดยให้กลุ่มที่ ๑ สลับการ Present เป็นภาษาที่ไม่มีความหมาย (Gibberish) และ ๕) การสรุปสิ่งที่ได้จากการทำกิจกรรม ซึ่ง Workshop ข้างต้น ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมได้มีการนำเอา BeginnerMind (จิตประภัสสร) ออกมาใช้ในการสร้างสรรค์ นอกจากนี้สิ่งนี้ ที่เรียนรู้คือ ในการนำเสนอที่ดีควรประกอบไปด้วย ตัวหนังสือ ๗% น้ำเสีย ๓๘% และท่าทาง ๕๕% โดยสื่อในการนำเสนอ บางสถานการณ์การใช้กลิ่นในการดึงดูดจะมีผลให้เกิดการสนใจได้มาก เช่น ในกรณี Starbucks และสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ ดังนั้น การนำเสนอที่ดีจะต้องมีการประยุกต์ใช้ Creativity เพื่อให้เกิด Content และ Presentation และก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในที่สุด

วันพุธที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ Panel Discussion ในหัวข้อนวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมนุม

ซึ่ง Panel Discussion ดังกล่าวมีผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นดังนี้

นายรังสรรค์ อัฐมโนลาภ ในฐานะตัวแทน กฟผ. ได้ให้ข้อคิดเห็นว่า ในการทำ CSR นั้น องค์กรต้องพิจารณาว่า CSR ส่งผลต่อองค์กรอย่างไร และมีแผนในการดำเนินงานอย่างไร โดยในการดำเนินการ CSR นั้น สามารถแบ่งการดำเนินการได้เป็น ๓ กลุ่ม ดังนี้

- CSR ระยะไกล หมายถึง ชุมชน และสังคมในภาพรวม

- CSR ในองค์กร หมายถึง การมีส่วนร่วมภายในองค์กร กระบวนการและหลักการในการดำเนินการ CSR

-CSR สังคมใกล้ หมายถึง ชุมชน และสิ่งแวดล้อมโดยรอบสถานที่ประกอบการ

ครูบาสุทธินันธ์ฯ ในฐานะตัวแทนชุมชน ได้ให้ความเห็นว่า ในการพัฒนาชุมชนจำเป็นต้องให้ชุมชนเกิดความสนใจ และเห็นประโยชน์จากสิ่งที่ทำ ชาวบ้านจึงจะให้ความร่วมมือ นอกจากนี้ การใช้สื่ออิเลคโทรนิค และเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร สามารถเป็นเครื่องมือในการประสานความช่วยเหลือให้กับชุมชนได้เป็นอย่างดี

คุณสุทธิเดชฯ ในฐานะตัวแทน กฟภ. ได้ให้ความเห็นว่า ในการหาความร่วมมือจากชุมชน การสร้างนวัตกรรมทางสังคม ในเรื่องสร้างสรรค์ ควรเป็นเรื่องที่ตรงกับการแก้ปัญหาของชุมชนอย่างยั่งยืน โดยองค์กรจำเป็นต้องสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันกับชุม

วันที่ 28 มกราคม 2557

ผู้นำ

องค์กรต่าง ๆ จะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว ล้วนขึ้นอยูกับผู้นำ ผู้นำยุคใหม่ต้องมีวิสัยทัศน์ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ชุมชน และต้องมองภาพกว้าง แสวงหาความรู้ต่อเนื่อง สร้าง Value ด้วยทฤษฏี 3V (Value Creation, Value Added, Value Diversity) ต้องเรียนรู้ข้อดี, ข้อเสีย ของผู้นำในอดีต เพื่อนำมาปรับใช้ในปัจจุบันและอนาคต คุณสมบัติของผู้นำที่ดีต้องเป็น Leadership of Diversity and Innovation สร้างศรัทธา ให้องค์กร/ชุมชน/สังคม เชื่อมั่น พึ่งพาได้ในช่วงวิกฤต นำองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศอย่างยั่งยืน และคนในองค์กร/ชุมชน/สังคม มีความสุข

ตัวอย่างคุณสมบัติของผู้นำในอดีตของ กฟผ. ที่ทำให้ กฟผ. เจริญก้าวหน้ามาจนถึงปัจจุบัน ที่ควรเป็นแบบอย่างคือ คุณเกษม จาติกวณิช ซึ่งใช้ในการทำงานมีดังนี้

ผู้นำต้องมีความรู้

ต้องทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชารัก และเคารพ

ต้องรู้จักมอบหมายงาน

ต้องฟังความเห็นผู้ใต้บังคับบัญชาทุกระดับ และให้เกียรติผู้ใต้บังคับบัญชาไม่โอ้อวดและยกตนข่ม

ต้องมีความเมตตา โอบอ้อมอารีต่อผู้ใต้บังคับบัญชาทุกคน

การวิเคราะห์ผู้นำมี 4 วิธี

1.Character หรือ คุณลัษณะที่พึงปรารถนา

2.มี Leadership Skill ที่สำคัญ

3.มี Leadership Process คือ การมี Vision มองอนาคตให้ออก

4.Leadership Value สำคัญที่สุดคือการศรัทธา

วันที่ 29 มกราคม 2557

การบริหารความขัดแย้ง

ความขัดแย้งเกิดจาก

ความไม่ยุติธรรมของหัวหน้า

ความไม่เข้าใจของลูกน้อง

ความเข้าใจผิด

ความขัดแย้งมีทั้งส่วนตัวและส่วนรวม แบ่งเป็น บุคคลกับบุคคล/บุคคลกับหน่วยงาน/หน่วยงานกับหน่วยงาน

ผู้บริหารต้องลดความขัดแข้ง อย่าปล่อยให้ความขัดแย้งส่วนตัวยกระดับขึ้นเป็นความขัดแย้งส่วนรวม

ผู้บริหารต้องมีความรู้และแม่นในกฎระเบียบปฏิบัติ ต้องยึดความถูกต้อง ต้องตัดสินใจให้ถูกจังหวะ อธิบายเหตุผลได้

Creative Thinking and Value Creation

เป็นการพัฒนาบุคลากรให้มีความคิดสร้างสรรค์ คิดเชิงบวก สร้างบรรยากาศให้ทุกคนแสดงความคิดเห็น ไม่ปิดกั้นความคิด ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาทางด้าน Creative Process

ฝึกหัดสร้างความคิดสร้างสรรค์ โดยกระบวนการ PPCO เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ฝึกทำโครงงานวิจัยวิเคราะห์ปัญหาในอนาคตของ กฟผ. ปี 2020 กำหนดกรอบการศึกษา วิจัย วิเคราะห์ข้อมูล

วันที่ 30 มกราคม 2557

Managing Self Performance

Competency คือ กลุ่มของความรู้, ทักษะและคุณลักษณะ ซึ่งประกอบด้วยพฤติกรรม ทัศนคติ และแรงบันดาลใจ

คำกริยา 3 คำ ที่ช่วยผลักดันชีวิตให้ก้าวหน้าคือ

1.Do ทำให้เต็มศักยภาพที่มีอยู่

2.Have ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน

3.Be เข้าใจตัวเอง ต้องการอะไร เอาความต้องการมาเป็นสิ่งผลักดันไปสู่เป้าหมาย

ความสามารถในการกระตุ้นให้คนสามารถแสดงศักยภาพในส่วนที่แฝงอยู่ในตัวออกมาได้ เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มในการทำงาน ทำให้เข้าใจเหตุผล ความคิดในมุมมองต่าง ๆ ที่เป็นสิ่งผลักดันให้เกิดพฤติกรรมของคน

นำทฤษฎี E+R = O มาประยุกต์ใช้งาน และเทคนิคในการ Coaching เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในตัวบุคคล

เทคนิคการสื่อสารกับการสื่อสารมวลชน

ภาพลักษณ์ (Image) ประกอบด้วย ภาพลักษณ์องค์กร (Corporate Image) ภาพลักษณ์บทบาท/ภารกิจ (Business Image) และภาพลักษณ์ด้านชื่อเสียง (Brand Image)

Communication Management ผู้บริหารจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการบริหารการจัดการด้านภาพลักษณ์ เพื่อสร้างการยอมรับทั้งภายในและภายนอกองค์กร และพนักงานทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการสร้างภาพลักษณ์องค์กร ผู้บริหารจะต้องสร้างเครือข่ายสื่อสารสร้างความสัมพันธ์กับสื่อต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างภาพลักษณ์ขององค์กร

เปรียบเทียบภาวะผู้นำของ Peter Drucker & Dr.Chira Hongladarom Peter Drucker เริ่มจากตนเองไปสู่ทีม ใช้การสื่อสาร การวางแผนการประชุม เพื่อให้ทีมตามผู้นำได้อย่างตรงทิศ ไม่ตกราง เน้นที่ประสิทธิผลของงาน เหมาะสำหรับใช้บริหารองค์กรในภาวะปกติ ที่ไม่ต้องเผชิญภาวะที่มีการแข่งขันหรือเป็นลักษระ Monopoly Dr.Chira Hongladarom เริ่มต้นที่ตัวงาน เช่น เรื่องการจัดการภาวะวิกฤต

การเข้าไปมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง ตัวผู้นำจะต้องสร้างแรงจูงใจผุ้ร่วมทีมงานให้ไปสู่ความสำเร็จ ใช้วิธีการในการแก้ไขความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในองค์กร เหมาะกับผู้นำบริหารองค์กรในภาวะวิกฤต มีการแข่งขัน มีการเปลี่ยนแปลง สร้างความเป็นเลิศ เติมโตในองค์กร ให้ความสำคัญกับคน

สิ่งที่เหมือนกันของทั้ง 2 ท่าน คือ ผู้นำต้องกล้าตัดสินใจ กล้าปฏิเสธ และยอมรับความผิดพลาดในการตัดสินใจที่จะเกิดขึ้น

วิเคราะห์ภาวะผู้นำของ CEO Microsoft ทั้ง 3 คน และการนำมาประยุกต์ใช้กับองค์กร (กฟผ.)

Bill Gates

มีวิสัยทัศน์ มีความอดทน มีความเชื่อมั่นเปิดใจกว้าง รับฟังความคิดเห็น มีกลยุทธ มีเป้าหมายที่ชัดเจน

พัฒนาตนเองอยู่เสมอ

เน้นการบริการลูกค้า ให้ได้รับสิ่งที่ดีที่สุด

ให้ความสำคัญกับพนักงานในองค์กร

ให้ความสำคัญกับการสื่อสารภายใน และภายนอกองค์กร

ยอมรับในความผิดพลาดในการบริหารงาน

มีจิตใจที่ดีงาม ช่วยเหลือการกุศล โดยการก่อตั้งมูลนิธิ

Steve Ballmer

กล้าหาญเชื่อมั่น

มีมนุษย์สัมพันธ์

เน้นความสามารถ

มีประสบการณ์

การตัดสินใจช้าไม่ทันสถานการณ์

บริหารแบบแยกส่วน

Satya Nadella

มีความรู้ข้ามศาสตร์

มีเป้าหมายที่ชัดเจน

พยากรณ์ทิศทางของตลาดได้

มีความกระตือรือร้นในหน้าที่และภารกิจที่ท้าทาย

แสวงหาโอกาสทางธุรกิจอยู่เสมอ

สร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ปฏิวัติโลกด้วยเทคโนโลยี

การนำมาประยุกต์ใช้กับ กฟผ. ผู้นำ กฟผ. รุ่นใหม่ ควรเป็นผู้นำแบบ Satya Nadella ที่มีความชัดเจนในการบริหารงาน เน้นการเปลี่ยนแปลง และสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ แสวงหาโอกาสในการทำธุรกิจ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นประโยชน์ในการสื่อสาร มีความสามารถทำงานเป็นทีม สร้างทีมงานได้เป็นเลิศ

จาก กุลพล สังข์ทอง

EADP10

Assingment2 : ภาวะผู้นำของ CEO Microsoft และการประยุกต์กับ กฟผ.

อดีตจนถึงปัจจุบัน บริษัท Microsoftมี CEO มาแล้ว 3 คน คือ

Bill Gates เป็น CEO ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลมีความอดทนไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก รับฟังความคิดเห็นและให้เกียรติพนักงานทุกคนในองค์กร มีกลยุทธ์ในการทำธุรกิจ (Strategy) สามารถคาดการณ์อนาคตของธุรกิจได้อย่างแม่นยำมีความกระตือรือร้น ความกล้า ความท้าทายมีเป้าหมายทางธุรกิจที่ชัดเจน เป็นนักปฏิบัติอย่างแท้จริง พัฒนาตนเองอยู่เสมอ ชอบการเจรจาต่อรอง เป็นคนมองโลกในแง่ดีทำธุรกิจด้วยความสนุก มีจุดยืนที่ชัดเจน มีการเรียนรู้เพื่อความอยู่รอดตลอดเวลา ชอบนำเสนอสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้ารู้จักจุดประกายความคิดและทำให้ความคิดนั้นออกมาเป็นรูปธรรมให้ความสำคัญกับการสื่อสารภายในองค์กรยอมรับในความผิดพลาดของตนเองในการบริหารงานมีมุมมองเฉพาะในการคัดเลือกบุคลากรและช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน

Steve Ballmer เป็น CEO ที่อาวุโสจึงมีภาวะผู้นำที่มีมนุษยสัมพันธ์ สื่อสารข้อมูลที่สำคัญให้แก่พนักงานได้รับรู้และเข้าใจอย่างละเอียดเปิดโอกาสให้พนักงานแสดงความคิดเห็น มีความกล้าหาญและเชื่อมั่น มีการแบ่งส่วนการบริหารมีความตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลงเพื่อความสำเร็จในทุกด้านมีแนวคิดแบบเดิม เน้นที่ความสามารถ

Satya Nadellaเป็นCEO ที่มีวิสัยทัศน์ด้านธุรกิจและเทคโนโลยีมีการเรียนรู้เปลี่ยนแปลงและมุ่งที่การพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆอยู่ตลอดเวลาเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า มีทักษะด้านวิศวกรรมและเทคนิคที่ดีเลิศ มีความกระตือรือล้นกับหน้าที่และภาระกิจใหม่ที่ท้าทาย มีความสามารถทำให้ทุกคนร่วมมือกันได้ ให้ความสำคัญกับคนและทีมงาน และเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่แก่ลูกค้า มีความอ่อนน้อม ถ่อมตัวมีจุดมุ่งหมายธุรกิจที่ชัดเจนแสวงหาโอกาสการขยายและพัฒนาธุรกิจใหม่อยู่เสมอเป็นคนถ่อมตัว ประหยัด

ดังนั้น CEO ของ Microsoft แต่ละท่านมีภาวะผู้นำที่แตกต่างกัน ดังนี้ Bill Gatesเป็นผู้บุกเบิก บริษัทMicrosoftต้องมีความอดทนไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก ต้องหากลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อทำให้ธุรกิจเป็นที่ยอมรับมีต้องมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ มีการเรียนรู้เพื่อความอยู่รอดตลอดเวลา Steve Ballmerเป็นCEO ที่อาวุโสทำให้การตัดสินใจช้า ไม่ทันสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงมีการบริหารงานแบบแยกส่วนทำให้ผู้บริหารแต่ละส่วนมองไม่เห็นภาพรวมขององค์การมีแนวคิดแบบเดิมและ Satya Nadella เป็น CEOที่มุ่งเน้นการก้าวไปข้างหน้าให้รวดเร็วการขจัดอุปสรรคของการเติบโตของบริษัท เน้นการออกแบบผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมใหม่ ๆเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้เร็วที่สุด เพราะเป็นคนที่มีทักษะด้านวิศวกรรมและเทคนิค

ธุรกิจของ Microsoft แบ่งเป็น 3 ช่วงมีความแตกต่างดังนี้

1.ช่วงบุกเบิก Bill Gates และ Paul Allen ได้ร่วมกันก่อตั้ง Microsoft พัฒนาขึ้นโดยภาษาเบสิก ชื่อ ไมโครซอฟต์เบสิกซึ่งติดตั้งมากับเครื่องคอมพิวเตอร์ในบ้านและเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และกลายเป็นลิขสิทธิ์ของ Microsoft มีแนวความคิดพัฒนาซอฟต์แวร์ “real-time collaboration solution” เน้นให้ธุรกิจหันมาใช้ซอฟต์แวร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง แล้วนำมาประยุกต์ใช้เป็นการประชุมผ่านเว็บ บริการส่งข้อความ และเทคโนโลยี VoIP (Voice over IP) เข้าด้วยกันเพื่อใช้ในการจัดประชุมเสมือนจริง มีการพัฒนาระบบปฏิบัติการ MS-Dos ระบบปฏิบัติการ Windows โปรแกรม Internet Explorer ทำให้ Microsoft กลายเป็นองค์กรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก

2.ช่วงอิ่มตัวสู่การถดถอยซึ่งSteve Ballmer เป็นหนึ่งในบุคคลที่ได้รับความไว้วางใจสูงสุดจาก Bill Gates เขาได้รับการผลักดันให้ก้าวขึ้นเป็น CEO อย่างเต็มตัว เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสร้างความเจริญเติบโตให้ Microsoft และจะใช้ประโยชน์จาก Windows และ Office ในการผูกขาดตลาด ทำให้บริษัทต้องเผชิญวิกฤติที่สำคัญนั่นคือการเสียโอกาสในการนำเสนอ นวัตกรรมใหม่ ๆ บริษัทจึงสูญเสียบุคลากรที่มีความสามารถด้านซอฟต์แวร์ และทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ ผลประกอบการเริ่มลดลงเรื่อยๆเกิดผลกระทบทั้งภายในและภายนอกองค์กร

3.ช่วงปรับเปลี่ยน ซึ่ง Satya Nadella ได้เข้ารับตำแหน่ง CEO คนใหม่ของ Microsoft นี้ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายกับบริษัทมาก Satya มีพื้นฐานทางด้านวิศวกรรม ทำให้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ดีขึ้นการพัฒนาร่วมกันของซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์รูปแบบใหม่ๆ จะเปลี่ยนให้สิ่งต่างๆ เป็น Digital มากขึ้น ทุกอย่างจะมีความเชื่อมต่อกันมากขึ้น ความสามารถในการประมวลผลบน cloud, ข้อมูลเชิงลึกที่ได้จาก big data รวมไปถึงความฉลาดในการเรียนรู้ด้วยตัวเองของคอมพิวเตอร์ ซึ่งนี่คือโลกที่ถูกผลักดันโดยซอฟต์แวร์เป็นผู้นำการริเริ่มตลาดคลาวด์ หรือการให้บริการซอฟต์แวร์ผ่านอินเตอร์เน็ต ซึ่งเขามีวิสัยทัศน์ในการพัฒนานวัตกรรมและเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ให้แก่ลูกค้า ทำให้คาดหวังให้ Microsoft กลับมาเป็นองค์กรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกได้อีกครั้ง

กฟผ. เป็นองค์กรรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ ที่มีกฎระเบียบวิธีปฏิบัติตามนโยบายภาครัฐ ซึ่งมีช่วงประสบการณ์คล้ายกับ Microsoft ในช่วงแรกและช่วงที่สอง จะต่างกันบ้างที่ Microsoft ที่เป็นองค์กรเอกชนที่มีการแข่งขันทางธุรกิจสูง แต่ก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในช่วงแรก ๆ ปัจจุบัน กฟผ. เองก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนตามวิกฤติพลังงานของโลก และนโยบายภาครัฐที่เปลี่ยนแปลงให้เกิดการแข่งขันมากขึ้น ซึ่ง กฟผ. ต้องตระหนักและร่วมกันผลักดันการเปลี่ยนแปลงจากการดำเนินการที่เป็นแบบแยกกันบริหารในแต่ละส่วนคล้ายกับ Steve Ballmer โดยผู้บริหารของ กฟผ. ต้องปรับวิสัยทัศน์ใหม่ ให้ความสำคัญในการปรับเปลี่ยนองค์กรในภาพรวม วางแผนบริหารจัดการ ปรับวิกฤตให้เป็นโอกาส สนับสนุนให้มีการคิดนอกกรอบ และสร้างนวัตกรรมใหม่ เพื่อให้ กฟผ. อยู่รอดและพัฒนาต่อไปได้อย่างยั่งยืน

การเรียนรู้ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2557 ปัจจุบันประชากรประเทศไทยพบปัญหาการกินมากเกินไป ปัญหาสภาพแวดล้อมในชุมชน และปัญหาด้านสุขภาพซึ่งพบว่าผู้เข้าอบรมมีเพียง 30 % ที่แข็งแรง ปัญหาดังกล่าวทำให้เกิดโรคอ้วน เบาหวาน หัวใจ ความดันโลหิตสูง ไตวาย มะเร็ง ดังนั้น การที่จะวัดว่าอ้วนหรือไม่นั้น สามารถคำนวณได้จาก น้ำหนักตัวกก. หารด้วยส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลัง 2 ถ้าผลการคำนวณได้ 23 ขึ้นไป เป็นสภาวะที่ไม่ปกติ ซึ่งกลุ่มที่เข้ารับการอบรมมีมากถึง 72% การที่น้ำหนักเกินทำให้เกิดมีปัญหา ปวดข้อ ปวดเข่า ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ซึ่งไขมันในร่างกายจะแบ่งได้ 2 แบบ คือไขมันใต้ผิวหนัง และไขมันในพุงเป็นไขมัน ทำหน้าที่สร้างสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ถ้ามากเกินไปก็จะหยุดสร้างฮอร์โมน ทำให้ผู้หญิงเข้าวัยทองเร็ว ผู้ชายจะหย่อนสมรรถภาพทางเพศและเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เบาหวาน

อาหารประเภทที่กินแล้วทำให้อ้วนได้แก่แป้ง คาร์โบไฮเดรต เมื่อกินแล้วทำให้ไขมันในเลือดสูง

การลดน้ำหนักด้วยวิธีธรรมชาติ ควรกินให้น้อย โดยกินเนื้อสัตว์ 1 ส่วน กินผัก 2 ส่วน อาหารที่สามารถกินได้ ได้แก่ หมู ไก่ ปลา ไข่ เต้าหู้ ผัก ข้าวกล้อง อาหารทะเลซึ่งมี Fish oil และอาหารที่ให้แคลเซียม เมื่อมีอาการเครียด นอนไม่หลับ ปวดศรีษะ ต้องกินอาหารเพื่อบำรุงสมอง มีการออกกำลังกาย หรือมีอาการปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังต้องปรับเปลี่ยนท่าทางการทำงาน ให้มีความยืดหยุ่น ควรกินข้าวกล้อง ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์พอควร

วารีบำบัดเป็นการใช้น้ำร้อน และน้ำเย็นในการบำบัดโรค และรักษาสุขภาพ (เมื่อร้อนเลือดจะออกไปบริเวณผิวหนัง ทางกลับกันเมื่อเย็นเลือดจะกลับเข้าสู่อวัยวะส่วนกลาง ทำให้อวัยวะภายในได้รับเลือดใหม่ไปเลี้ยง) สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การอบซาวน่า ทำให้มีภูมิต้านทานแข็งแรง เม็ดเลือดขาวทำงานได้ดีที่อุณหภูมิสูงกว่า 37 องศา เป็นการบริหารอวัยวะให้แข็งแรง ห้ามผู้หญิงท้อง ผู้สูงอายุ ผู้เป็นโรคหัวใจ ผู้มีความดันสูงต่ำมากเกินไป และกำลังเป็นไข้ เข้าอบซาวน่า ส่วนการอาบน้ำร้อนสลับเย็นจะทำให้คลายเครียด และการอบสมุนไพรจะมีสารช่วยการระเหยสามารถรักษาโรค ทำให้ภูมิต้านทานดีขึ้น ขับสารพิษ แต่การอาบน้ำร้อน อย่างเดียวจะทำให้อ่อนเพลีย เลือดไม่หมุนเวียน ความคิดเฉื่อยเปื่อย ร่างกายไม่กระปรี้กระเปร่า อารมณ์ซึมเศร้า ง่วงนอน มีการนำความร้อนมาใช้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่นการอาบแดด (Solar Bath) ทำให้สุขภาพดีมีพลังเพิ่มขึ้น การประคบด้วยลูกประคม ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว และการประคบด้วยผ้าร้อนเย็น ช่วยแก้อาการปวด การออกกำลังกายในน้ำ เหมาะสำหรับลดน้ำหนัก ผู้สูงอายุ ปัญหาเรื่องข้อ ปัญหาทางสมอง อัมพาต พาร์กินสัน และการอาบน้ำแร่ ซึ่งประกอบด้วยแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

การเรียนรู้วิธีธรรมชาติบำบัด วารีบำบัด สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน เพื่อให้สุขภาพกายและจิตของคนเอง และคนรอบข้างดีขึ้น ปรับชีวิต เปลี่ยนอาหาร การกินอาหารควรเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์แก่ร่างกายและในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่มากเกินไปซึ่งจะทำให้เกิดโทษต่อร่างกาย การใช้น้ำในการบำบัดโรค รักษาสุขภาพ เมื่อเกิดมีอาการเจ็บไข้ก็สามารถหาวิธีการใช้น้ำเพื่อรักษาหรือบรรเทาอาการเจ็บปวด และสามารถนำความรู้ที่เป็นประโยชน์ไปเผยแพร่ต่อไป

การเรียนรู้ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557 จังหวัดกาญจนบุรีเป็นจังหวัดที่มีเนื้อที่มาก เน้นการท่องเที่ยวเชิงเชิงอนุรักษ์ และเชิงธรรมชาติ เพื่อนำรายได้มาพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ยุทธศาสตร์การเกษตรและเกษตรอุตสาหกรรม มีการอนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร มีการชลประทานที่ดี มีการศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าของชาวต่างชาติ แล้วมาทำการพัฒนาฐานการผลิต ซึ่งในอนาคตต้องมีการวางระบบผังเมืองให้ดี ส่งเสริมการท่องเที่ยวและการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ กฟผ. มีโครงการชีววิถีให้ความรู้ สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้กับชุมชน แนะนำวิธีการกำจัดขยะ การทำฝายชะลอน้ำ ปล่อยปลาหน้าเขื่อน ศึกษาดูงานเครือข่ายเขื่อนอื่นๆ ของ กฟผ. โครงการจัดงานคืนรักบนสันเขื่อน เป็นต้น การสร้างความสัมพันธ์ การสร้างความมั่นใจ และ การพัฒนาการท่องเที่ยว มีการสร้างมาตรฐาน และปรับปรุงการให้บริการแก่ผู้ประกอบการท่องเที่ยว มีการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อลดต้นทุนด้านพลังงานทดแทนจากไม้ แกลบ ฟาง จึงควรมีการศึกษาค้นคว้าข้อมูลในการทำให้เป็นก๊าซชีวภาพ ควรมีโรงไฟฟ้าถ่านหิน นิวเคลียร์ พลังงานน้ำ กฟผ. ควรมีเครือข่ายผู้ผลิตไฟฟ้า ควรสร้างเครือข่ายพลังงานขนาดเล็ก เสนอแนะให้ปรับแนวความคิดของบริษัท SCG เน้นทำงานเชิงรุก ไม่รอให้เกิดปัญหา ต้องออกไปหาชุมชน เน้นวิธีคิด ควรสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนให้มากขึ้น และจะต้องส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด แล้วนำมาทำแผนงาน ต้องให้ชุมชนได้มีการนำเสนอความต้องการและมีการทำงานร่วมกัน และดูแลรักษาประโยชน์ให้เกิดขึ้นตลอดไป โดยต้องบริหารแบบเข้าถึง ต้องสำรวจความคิดเห็นชุมชน จ้าง Third Party สำรวจ ติดตามผลสำรวจ เข้าหาชุมชนไม่เว้นแม้ในวันหยุด ต้องมีส่วนร่วม และเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อช่วยด้านการพัฒนาให้ดีขึ้น พัฒนาฝีมือแรงงาน ควรมีกองทุนพัฒนาโรงไฟฟ้า ทำวิจัยและวางแผนการดำเนินการให้ชัดเจน ต้องทำอย่างต่อเนื่อง ต้องสร้างทัศนคติเกี่ยวกับ กฟผ. การทำงานร่วมกับชุมชน การปรับยุทธศาสตร์การสื่อสารทำความเข้าใจกับชุมชน ควรมีแผนกพัฒนาชุมชนเพื่อทำงานร่วมกับชุมชนจังหวัดหรืออำเภอ ฝึกอบรมให้ประชาชนเป็น Partner และเครือข่ายเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาของชุมชน สร้างความคุ้นเคย และสร้างความเชื่อถือ โครงการใดที่มีความซับซ้อนอาจมีการเชิญวิทยากรมาให้ความรู้ เชิญสื่อมวลชนให้มีส่วนร่วม ต้องมีการเปิดเผยปัญหาเพื่อช่วยกันแก้ไข

การรับรู้และรับฟังมุมมอง และแนวคิดจากหลายหน่วยงาน ทำให้ทราบและรับรู้ความรู้สึกและแนวคิดของทุกภาคส่วน ตัวอย่างจากประสบการณ์จริงในการทำงานที่ประสบความสำเร็จ เน้นการทำงานแบบมีส่วนร่วมสร้างเครือข่าย การสื่อสารกับชุมชน สามารถนำไปประยุกต์และปรับปรุงกระบวนการทำงานของ กฟผ. ต่อไป

ปัจจุบันความสามารถในการที่จะแข่งขันกับคู่แข่งได้ขึ้นอยู่กับการจัดการทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ การจะประสบความสำเร็จจะพึ่ง HR Function อย่างเดียวไม่ได้ บทบาท HR ต้องไปอยู่ที่ Non HR หรือ Line Manager มากขึ้น เน้นการกระตุ้นให้ประสบความสำเร็จไปสู่ความเป็นเลิศ โดยการปลูก บริหาร พัฒนา และเก็บเกี่ยวเอาชนะอุปสรรค HR ยุคใหม่ต้อเน้นความคิดสร้างสรรค์ ไม่ติดอยู่กับกรอบความคิดเดิมๆ โดยต้องมองสังคมรอบข้าง สร้างการเรียนรู้และทำงานแบบเครือข่าย โดยให้ Stakeholders มาร่วมคิดเป็น Network กัน HR Manager และ Non HR ต้องหารือกันว่าทำอย่างไรจึงจะสร้างพัฒนาต่อยอดให้คน เพื่อขับเคลื่อนองค์กร Non HR ต้องลงลึก รู้จักบริหารจัดการลูกน้อง สร้างทีมคนรุ่นใหม่ HR for Non HR เป็นการพัฒนาบุคลากรในระดับบริหาร หัวหน้างาน ให้มีขีดความสามารถในการบริหารจัดการ มีเครื่องมือในการบริหารจัดการระบบบริหารงาน บริหารคน และ สร้างแรงจูงใจ เพื่อการพัฒนาคน และองค์การอย่างยั่งยืน และต้องเน้นความสมดุลระหว่างการทำงาน และการใช้ชีวิตด้านอื่นๆ

การเรียนรู้ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557 เทคนิคการนำเสนออย่างทรงพลังและประทับใจ เป็นการทำ Workshop ทั้งหมด 7 กลุ่มโดยให้ย้อนกลับไปในวัยเด็กอยากเป็นอะไร ชอบอะไร เน้นความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ ฝึกการทำงานเป็นทีม ต้องมีการวางแผน และต้องเรียนรู้การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ต้องมีความพร้อมเสมอ มีการใช้ภาษามือ ให้แสดงท่าทาง และเรียบเรียงเรื่องราวของสิ่งนั้น และส่งต่อให้เพื่อน ให้ดูรูปภาพเพื่อสร้างจินตนาการ แล้วเขียนความรู้สึก มีการแสดงท่าทางในการสื่อสารตามคำที่บอกเพื่อนำเสนอจินตนาการแล้วให้อีกคนบรรยายเป็นเวลา 1 นาที

การสร้างความจดจำ การสื่อสารต้องใช้สมองซีกขวาในการจินตนาการมาใช้ นำเสนอให้เกิดเป็นภาพจำ โดยสิ่งที่สามารถดึงดูดใจผู้ฟังในการสื่อสาร แบ่งเป็น ภาษากาย 55% ภาษาพูด 7% และน้ำสียง 38% สามารถนำไปใช้ในบทบาทของผู้นำ โดยการเตรียมความพร้อม การใช้ภาษาท่าทางสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการนำเสนอบุคลิกภาพของตนเองด้วย รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ทำให้จดจำได้ดี

การเรียนรู้ในการอบรม ทำให้เกิดประสบการณ์ตรง เรียนรู้เข้าใจได้อย่างชัดเจน นำเอาศักยภาพที่มีอยู่ในตัวออกมาใช้ เช่น การตัดสินใจแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การทำงานเป็นทีม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การสื่อสาร มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน สร้างความสามัคคี มีพลังร่วม ใช้จินตนาการ ผ่อนคลาย ฝึกสติ และสมาธิ นำมาประยุกต์ใช้สร้างสรรค์ให้ผลงานดีขึ้น โดยการทำงานที่ใช้สมองซีกขวาร่วมด้วยสามารถสร้างความสุขในการทำงาน และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้เกิดขึ้นกับ กฟผ.

ในการสร้างวัฒนธรรมการรับผิดชอบต่อมวลชน และสังคม ต้องร่วมมือกันทำ ต้องให้ชุมชนมอง กฟผ. เป็นเสมือนเพื่อน ญาติ ต้องวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อทราบความต้องการและความคาดหวัดโดยต้องประยุกต์ใช้ นวัตกรรมด้าน CSR โดยรวมแผนแยกปฏิบัติ เริ่มจากภายในก่อนแล้วจึงขยายสู่ภายนอก และต้องไม่ใช่เป็นการบริจาค สังคมต้องอยู่ได้ พอกินพอใช้ พัฒนาเป็นอยู่อย่างพอกินมีสุข นำไปสู่การมั่งมีศรีสุข เพื่อให้ชุมชนเข้มแข็ง โดยนำโครงการที่ดีของ กฟผ. ไปต่อยอดให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และวัฒนธรรมองค์กร การพัฒนาชุมชน ต้องให้เขาอยากเรียนรู้ อยากเห็น อยากทดสอบ โครงการต่างๆ ที่ชาวบ้าน ชุมชนต้องการ ต้องเป็นโครงการที่ได้ผลเร็ว ง่าย เพื่อให้เขาสนใจ และเมื่อสนใจก็จะมานั่งคุยกัน ต้องเริ่มจากปัญหา หรือความต้องการของชุมชน สื่อสาร พูดคุยกัน ทำแบบง่ายๆ ทดลอง ชม ชิม สุดท้ายจะได้นวัตกรรมใหม่ เช่น กาแฟขี้ไก่ แคปซูลเมล็ดหมามุ่ย การทำให้ชุมชนเป็นผู้เรียน ต้องปลุกให้ชุมชนอยากพัฒนาตนเอง คือ ตั้งปัญหาหรือคำถามไปที่ชุมชน ให้ช่วยกันคิด และให้ผู้ที่เคยทำแล้วได้ผลบอกวิธีทำ หลายคนก็ได้หลายวิธี และนำความรู้มาปรับใช้ให้เหมาะสม จะนำไปสู่การทดลองทำอาจได้สิ่งใหม่ๆ เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ และเป็นการเรียนรู้ที่สนุกสนาน ก้าวไปสู่การทำให้สังคมเข้มแข็งได้ ปัจจุบันสามารถเรียนรู้ได้ง่ายขึ้นโดยการค้นหาผ่าน IT ต้องสร้างความอยากเรียนรู้ให้ชุมชน ชวนชาวบ้านทำ/คิด การสร้างให้ชุมชนเกิดความยอมรับไว้เนื้อเชื่อใจ ต้องเข้าถึงชุมชนให้ได้ ดึงความรู้ของตัวบุคคลในชุมชน กระตุ้นให้เกิดการต่อยอด สร้างเครือข่ายชุมชน ให้เกิดการยอมรับ กฟผ. ต่อไป

การเรียนรู้ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557 ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม ส่งเสริมการเรียนรู้ของเกษตรกร มีการเรียนรู้การเกษตรแบบ เศรษฐกิจพอเพียง การเลี้ยงหมูหลุม ก๊าซชีวภาพ น้ำยาเอนกประสงค์ น้ำส้มควันไม้ แปรรูปอาหารและอาหารสัตว์ เน้นใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อช่วยลดรายจ่าย จัดตั้งศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อให้เกษตรกรร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งเป็นเกษตรกรที่เข้าโครงการพักชำระหนี้ มีการสอบถามปัญหา แล้วช่วยแก้ปัญหา ค้นหาศักยภาพของเกษตรกร สร้างความเชื่อมันให้เกษตรกรสร้างความเข้าใจ และเห็นอกเห็นใจ เริ่มจากค้นหาทุกข์ ช่วยกันคิดหาทางแก้ ดึงศักยภาพของชาวบ้านออกมา และช่วยให้พวกเขายกระดับตนเองขึ้นมา ในอนาคตอาหารอาจจะขาดแคลน จึงต้องใช้สมุนไพร นอกจากรับประทานเป็นอาหารแล้วยังมีคุณค่าทางยา เน้นภูมิปัญญาชาวบ้าน เพิ่มทักษะ ต้องมีการคิดหารายได้ให้ชาวบ้าน ควรมีการปรับปรุงแนวคิดและทัศนคติเรื่องน้ำ และไฟฟ้าซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานของการดำเนินชีวิต

สมุนไพรที่มีประโยชน์ เช่น ฟักข้าวใช้รักษาวัณโรคในปอด แผล ฝี หนอง การบำรุงสายตา มีสารต้านมะเร็ง สาบเสือน้ำหวานในดอกสาบเสือนำมาทำเป็นน้ำผึ้ง สบู่ดำเอาน้ำมันในเมล็ดไปทำพลังงาน แก้โรคปากเปื่อยหรือปากนกกระจอก ใช้ป้องกันแมลง ใช้เสริมภูมิแพ้คนเป็นเอดส์ สะเดาใช้ป้องกันหมัดกระโดดในวัชพืช เมล็ดใช้ไล่แมลง น้อยหน่าใช้ใบพอกไข่เหา เมล็ดเอามาโคลกแช่น้ำไล่แมลง หางไหลป้องกันแมลง ใบหนาดดองศพไม่ให้เน่า สกัดน้ำมันหอมระเหยของอโรม่า แมงลักคาฆ่าเชื้อแบคทีเรียในคน สามารถใช้ไล่แมลงได้ กัญชาป่าลดเบาหวาน แก้อาการนอนไม่หลับ

พลังงานทดแทน และพลังงานทางเลือก พลังงานที่ใช้ในปัจจุบันส่วนใหญ่มาจากฟอสซิล พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานหมุนเวียน เป็นพลังงานสะอาด ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ มีศักยภาพสูง พลังงานลมต้องขึ้นอยู่กับรูปแบบ และความสามารถของกังหัน พลังงานชีวมวลมีปัญหาเรื่องความชื้น พลังงานน้ำมีการผันน้ำให้เป็นพลังงานไฟฟ้า และพลังงานก๊าซชีวภาพทำให้ได้พลังงานสูง

การดูงานที่ศูนย์ฯนี้ ทำให้เกิดมุมมององค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ของชุมชนมากขึ้น ปัญญาชาวบ้าน รู้จักการใช้สมุนไพรในการรักษาโรคต่าง ๆ มากมาย ประดิษฐ์อุปกรณ์ เครื่องมือขึ้นเองอย่างง่ายๆ มีราคาถูก ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองทางด้านพลังงานได้ นำสิ่งเหลือใช้ที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาทำให้เกิดประโยชน์ เช่น การผลิตก๊าซจาการใช้แกลบ เศษไม้ ใบไม้ ถ่าน เหมาะสมกับชุมชน นำไปประยุกต์ใช้กับชุมชนอื่นๆ ได้ในอนาคต

นายชาคริต ภูษิตาภรณ์ Group#2

Assignment #๓

:
ภาวะผู้นำของ CEO Microsoft และการนำแนวคิดมาใช้กับ กฟผ.

ภาวะผู้นำของ Bill Gates
นับเป็นบุกเบิกในการก่อตั้งบริษัท Microsoft ผู้นำที่มองกาลไกล เข้าใจ Global Trend ก่อนที่คนอื่นจะคิดถึงเป็นภาวะผู้นำที่สำคัญมีความมุ่งมั่นเชื่อมั่นในตัวเองสูง เชื่อว่าทุกสิ่งเป็นไปได้ถ้าเราจะทำเป็นคนเปิดโอกาส ให้มีการคิดเสนอ Ideaของผู้ร่วมงานอย่างอิสระ มีกลยุทธ์และเป้าหมายของการนำพาบริษัทที่ดีเน้นให้คิดผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้าBill Gates นับเป็นตัวอย่างที่ดี ในการทำองค์กรแบบที่ไม่ได้เน้นการทำเงินอย่างเดียวแต่ให้ความสำคัญกับลูกค้าที่ต้องได้รับของที่คุ้มค่าเงินและมีการตอบแทนสังคม โดยก่อตั้งมูลนิธิขึ้นมาเมื่อปี 2543 ให้เงินหลายหมื่นล้านดอลลาร์ช่วยการกุศลต่างๆให้กับประเทศประเทศทั่วโลก
ภาวะผู้นำของ Steve Ballmer

เป็นผู้นำยุคที่ Microsoft โตเต็มที่แล้ว เป็นช่วงของการ Maintain ธุรกิจให้อยู่ได้ เป็นผู้นำที่ให้ความสำคัญกับระบบข้อมูลข่าวสาร ให้เกิดการรับรู้การดำเนินงานอย่างทั่วถึงภายในองค์กร โดยให้พนักงานแสดงความเห็นได้อย่างเต็มที่เพื่อร่วมคิดค้นแนวทางที่จะช่วยองค์กรเจริญเติบโตอยู่ต่อไปได้

ภาวะผู้นำของ Satya Nadella
เป็นผู้ที่มีนิสัยชอบที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ชอบสิ่งที่ท้าทายเก่งในการแสวงหาโอกาสการขยายธุรกิจใหม่ เป็น CEOคนใหม่ที่อายุน้อยที่สุดคือแค่ 46ปี และเป็นชาวอินเดีย ซึ่งสำหรับMicrosoft ปัญหาวิกฤติปัจจุบันที่ พฤติกรรมคนส่วนใหญ่เลิกใช้ PCหันไปใช้ Tablet ทำให้โจทย์ยากขึ้น นับเป็น ภารกิจที่หนักและท้าทายในอนาคตของ CEO คนนี้ ที่ต้องคิดผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างและแข่งขันได้

สำหรับกฟผ.
ก็กำลังเผชิญวิกฤติ ปัญหาที่ชุมชนไม่ไว้ใจ เชื่อใจเหมือนก่อนไม่สามารถจะพัฒนาโรงไฟฟ้าในพื้นที่ใหม่ ตามแผนได้และสัดส่วนการผลิตกำลังลดลงเรื่อยๆ จำเป็นต้องมีผู้นำรุ่นใหม่ ที่มีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ การดำเนินการ กำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะกับสถานการณ์ มีความพร้อมจัดการวิกฤติในปัจจุบัน โดยต้องมองหา Tablet ที่อาจมีอายุน้อยแต่มีศักยภาพโดดเด่น เช่นเดียวกับSatya Nadella CEOคนใหม่ ของ Microsoft


วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗

กิจกรรมรักษ์กาย ณ ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี กรุงเทพฯ

ประเด็นเรียนรู้เรื่องการ กินอาหารและธรรมชาติบำบัด
ได้ทราบแนวคิดในการทานอาหารแนวใหม่ ที่จะช่วยให้กินอาหารได้ตามสบาย อิ่มท้องและไม่อ้วน แนะนำให้ไม่กินอาหารจำพวก คาร์โบไฮเดรต แป้ง น้ำตาลหรือแม้แต่ผลไม้หวานซึ่งเป็นเหตุให้เกิดโรคเช่นโรคอ้วน. เบาหวาน หัวใจ ความดันโลหิตสูงและในที่สุด กลาย เป็นโรคมะเร็ง แต่แนะนำให้กินไข่ทั้งแดงและขาวได้เต็มที่ เต้าหู้ กินเนื้อสัตว์ ไม่ว่าจะไก่ หมู ก้งปลา หรือแม้แต่หอยนางรม พร้อมผัก ในสัดส่วน 2 ต่อ 1 ไม่กินผลไม้ ถั่ว /นม ได้ทราบถึงการรักษาโรค ภัยไข้เจ็บ โดยใช้ธรรมชาติบำบัด โดยไม่เน้นใช้ยาเข่นการกิน วิตามินซีรักษาโรค การอดล้างพิษ

กิจกรรมออกกำลังกายและอบตัว
ได้ร่วมกิจกรรมทุกประเภท เริ่มจากออกกำลังกายในน้ำประมาณ 30 นาทีก็แปลกดีแต่ไม่ค่อยเหนื่อยมาก มีประโยชน์เพราะน้ำช่วยพยุงตัวลดการเสื่อมของข้อต่างๆโดยเฉพาะคนที่เป็นโรคปวดข้อ
การเข้าห้องซาวน่า อุณหภูมิประมาณ 80 องศาเซลเซียสซึ่งช่วยทำให้ภูมิต้านทานแข็งแรงขึ้นเม็ดเลือดขาวจะทำงานได้ดีเมื่อมีอุณหภูมิมากกว่า 37 องศาและทำให้ร่างกายคลายเครียดด้วย แต่ไม่เหมาะกับ ผู้สูงอายุผู้เป็นโรคหัวใจ. โรคความดัน ต่อด้วยการอบสมุนไพรและอบใบตอง ที่รู้สึกร้อนน้อยกว่า ซาวน่าเยอะเลย

สรุปเป็นอีกวันที่รู้สึกสนุก เหนื่อยแต่ก็ได้เรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติที่น่าจะมีประโยชน์ที่จะนำกลับไปปรับใช้กับตนเองและแนะนำให้กับคนในครอบครัวต่อไป


วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗

ณ เขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี

ประเด็นเรียนรู้เรื่อง Networking Capital

น่าประทับใจที่มีโอกาสได้ฟังความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเครือข่ายในการพัฒนาเพื่อประชาชนตั้งแต่
ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรีที่พูดชักจูงได้ดี มองการณ์ไกลทำให้ทราบว่าผู้นำที่ดี ต้องรู้จักพื้นที่ของจังหวัดอย่างดีต้องใส่ใจข้อจำกัดในพื้นที่ และต้องคอยคิดกลยุทธ์ มองภาพแบบ Macro ในการสร้างโอกาสและรายได้ ของชุมชน ในจังหวัดอย่างต่อเนื่อง
พลังงานจังหวัด ให้ความรู้ ด้านการ พัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนในพื้นที่ที่ควรส่งเสริม ไม่ว่าจะเป็นชีวะมวล พลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งกฟผ. ควรมีนโยบายส่งเสริม พลังงานทดแทน อย่างจริงจัง อุตสาหกรรมจังหวัด แนะนำชมการดำเนินงานเกี่ยวกับชุมชนที่ส่งเสริมรายได้และการท่องเที่ยวได้ค้อยข้างดีไม่ว่าจะเป็นชีววิถี ฝายลอยน้ำ กิจกรรมตกปลาการศึกษาดูงานเขื่อน เป็นต้น โดยเสนอให้ กฟผ. ช่วยผู้ประกอบการ ด้านการท่องเที่ยว ด้านเงินทุนในการประกอบการที่ ยังมีปัญหาอยู่มาก ในการหาแหล่งเงินทุน
มุมมองตัวแทนชุมชนกึ่ง NGOมีประเด็นหลักที่น่าสนใจมากคือ ยังมองว่า กฟผ.เป็นผู้ผลิตรายใหญ่สุดในประเทศ และเห็นว่ากฟผ.ยังไม่พยายาม ที่เพียงพอในการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทนอย่างจริงจังมัวแต่มุ่งแต่จะสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่แทนที่จะสร้างโรงไฟฟ้าขนาดเล็กระดับชุมชน ทุกบ้านเป็นเครือข่ายพลังงานได้ เช่น SOLAR Roof Top ประเด็นนี้ทำให้เราได้คิดว่ากฟผ.ยังมีปัญหาด้านการประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลความรู้ที่ถูกต้องแก่ชุมชนถึงเหตุผลในการดำเนินการ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ กฟผ.อาจยังต้องเผชิญการต่อต้านจาก ชุมชนและ NGO อย่างเลี่ยงไม่ได้ต้องเร่งปรับเปลี่ยนการสื่อสารให้เกิดประสิทธิผลอย่างจริงจัง
ผู้แทนภาคเอกชน ได้ IDEA ว่า กฟผ.ควรจริงจังกับการเข้าไปมีส่วนร่วมกับชุมชนในการเข้าใจและร่วมพัฒนาสร้างเครือข่ายระดับชุมชน ให้ชุมชน ไว้ใจเชื่อใจและเป็นพรรคพวกให้ได้ ก่อนที่จะนำ จุดมุ่งหมายหลักลงไปเลย

ประเด็นเรียนรู้เรื่องHR For Non HR และการปรับใช้กับ กฟผ.

ได้เรียนรู้ว่าผู้นำรุ่นใหม่ ควรต้องรู้สถานการณ์ ปัจจุบันต้อง เปลี่ยน mindsetเราต้องเป็น HR Manager ร่วมสร้างผู้นำด้าน HRจากพวก Non Hr HRยุคใหม่ต้องวัดในสิ่งที่วัดไม่ได้ intangible สิ่งที่ต้องเชื่อคือมนุษย์คือทรัพยากรทีมีค่ามากที่สุดขององค์กร และมี unlimited potential ต้องมองภาพทรัพยากรมนุษย์จาก macro สู่ micro

กฟผ. เองปัจจุบันมีหลาย Siloการทำ Hr ยังทำได้ยาก เพราะแต่ละ Siloมีแนวคิดด้าน hrแตกต่างกัน ไม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่เฉพาะของ Hr function ถ้าใช้คนต้องเกิด value (value added , creative, diversity) เปลี่ยนแนวคิดใหม่ๆเช่น Hr department to be CEO-other department, Training to be Learning , Expend to be investment ...etc ต้องเน้นการทำงานแบบ strategic partner ทุก stakeholder เป็น co-creative การบริหารทรัพยากร มนุษย์สู่ความเป็นเลิศ ต้องเน้น happinessมองไกลและยั่งยืน ( sustainability) ที่ยากคือต้องทำให้ ต่อเนื่องให้คิดและ execution ควรคิดว่าทุนมนุษย์ไม่ใช่ค่าใช้จ่าย cost แต่เป็นasset สร้างทัศนคติที่ดี teamwork ผู้นำ non hr เองต้องทำตัวเป็น Hr manager ต้องเข้าใจ เข้าถึง และเริ่มพัฒนาเป็น owner ในการกำหนด นโยบายรูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสมกับทีมงานของเราซึ่งเรารู้ดี สร้างให้เกิด network Non hr ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล


วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗
ณ เขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี

ประเด็นเรียนรู้เรื่อง Art and feeling Presentation

ได้ร่วมกิจกรรมแปลกๆที่ไม่เคยทำมาก่อน โดยสรุปเป็นการฝึกให้เตรียมพร้อม ที่จะพูดและนำเสนอ
กิจกรรมที่๑กิจกรรมบอกจินตนาการของแต่ละคนโดยนึกอยากจะเป็นอะไรที่ชอบทำให้เรามีโอกาสสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆมีการให้แสดงท่าทาง และร้อยคำพูดของแต่ละตัวด้วย ทำให้รู้ว่าควรใช้ภาษากาย ๕๕% ช่วยและน้ำเสียง๓๓% ให้ดึงดูด คนฟังได้ถึง ๙๓% ฟังจริงได้ ๗%
กิจกรรมที่ ๒ ให้ดูภาพและนึกคำที่เกี่ยวกับภาพและนอกกรอบพร้อมร้อยเรียงคำในแนวใหม่ได้รู้ว่าการคิดนอกกรอบ ยังสามารถรวบรวมเป็นเรื่องสร้าวสรรค์ได้ถ้าเราร่วมช่วยกันจินคนาการ
กิจกรรมที่ ๓ ให้แสดงเรื่องราวจากประโยคสอนให้รู้ว่า เราควรจะมีความรู้รอบด้าน หลากหลายและต้องทำงานเป็นทีม ช่วยเหลือกัน
กิจกรรมที่๔ให้พูดอธิบายเกี่ยวกับคำที่เพื่อนบอก 1 คำ ให้เวลา 1 นาที ได้เรียนรู้ว่าเราควรมีจินตนาการมีข้อมูลหรือ KM ในสมองไว้เยอะๆสรุปประเด็น ต้องพร้อม Preparation design and delivery ทำให้คนจดจำ ซึ่งจำเป็นสำหรับผู้นำที่ต้องเจอสถานการณ์ที่ต้องพูดกะทันหันสิ่งที่สำคัญสำหรับการนำเสนอคือรูปและ กลิ่น ตัวอย่างการใช้ sensory utilization - Singapore air line ควรสร้างบรรยากาศ เช่น การนำเสนอให้เจิดจ้าโดยปรับมุมฉากหลัง, สร้างให้รู้สึกร่วมกันก่อนว่าภารกิจนี้สำเร็จแน่missions accomplish…

ประเด็นเรียนรู้เรื่อง นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน (Social Innovation) กับการทำงานของ กฟผ.การให้งานสำเร็จ กฟผ. ควรวิเคราะห์ทุก stakeholdersเพื่อให้ได้ความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด บูรณาการแนวคิดทำแผนปฏิบัติ ทำ CSR จากภายใน(ให้พนักงานมีส่วนร่วมและมี attitudesที่จะทำเป็น CSR in process )สู่ภายนอก รวมทั้งทำ PR set ให้มีระบบประเมินผลปรับปรุงต่อยอด ทำ CSR ให้ยั่งยืนกลับไปปรับแผนให้สมบูรณ์ขึ้น ใช้KM เดิมมาต่อยอดเช่น โครงการชีววิถีอุปกรณ์เบอร์ 5 โรงไฟฟ้าชุมชน มาพัฒนาต่อ
เสียงจากชุมชน
ควรทำให้ชุมชนเป็นผู้เรียน ยุคนี้มีโอกาส เทคโนโลยี ทั่วถึงแล้วปัจจุบันชุมชนเป็นเหมือนหนูทดลองยา ที่แต่ละหน่วยงาน เข้ามา ทดลองไปเรื่อยแต่ผิวๆควรรู้ว่าปัจจุบันชุมชนอ่อนแอเพราะ โดนครอบงำจากสื่อต่างๆที่ถูกป้อนโดยกลุ่มต่างๆ
นโยบายของผู้นำมาใช้ ไม่ชัดเจนชุมชนยังไม่เข้าใจโดนชักจูงด้วยประชานิยม ให้บัตรโน่นนี่เช่น จำนำข้าวทำให้ชุมชนหลงทางไปเรื่อยตามกลุ่มทุน โครงการฯที่ควรเสนอชุมชน ต้องไวได้ผลเร็วง่ายๆ ต้องรู้ระดับ การรับรู้ของ ชุมชนส่วนใหญ่มีปัญหาอยู่แล้วไม่ชอบเรื่องยาก ชอบของแปลก ยุให้สร้าง สรรค์ นวัตกรรมใหม่ต้องทำย้อนศรอย่าไปบอกก่อน ว่าต้องทำอย่างไร ให้ช่วยกันเสนอได้หลาก หลายและนำมาสรุปที่สำคัญคือทำให้ชุมชน คิดใหม่ๆ เรียนรู้แบบมีชีวิตชีวาควรเริ่มจากการส่งข้อมูลไปให้ชุมชน ก่อนให้ ได้โจทย์แล้วส่งต่อให้เครือข่ายทั่วโลกช่วยกันคิดและให้ข้อมูล ปัญหาของ กฟผ. คือการประชาสัมพันธ์ เก่งเรื่องไหนทำเรื่องนั้น อย่าสะเปะสะปะCSR ของ กฟผ. ไม่เป็นหนึ่งเดียวกับชุมชน ทั้งที่ กฟผ.มีศักยภาพ เยอะกว่าแต่ Effective น้อยกว่า ต้องทำอย่างไรให้คน ใน กฟผ.เข้าใจ CSR ภายใน กฟผ. ว่าคืออะไร


วันที่ ๑กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗

ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม จังหวัดกาญจนบุรี ประเด็นเรียนรู้

ศูนย์ฯ ก่อตั้งขึ้น เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๔๗ เพื่อเผยแพร่ความคิดแนวปฏิบัติ โดยสนับสนุน ให้ชุมชนรอบชายป่าหันมาทําการเกษตร ที่ลดการใช้สารเคมี สอนกสิกรรมธรรมชาติที่มีแนวคิดในเรื่อง ของการพึ่งพาตนเองรณรงค์ ให้ เกษตรกรหันมาทําการเกษตรแบบ พึ่งพาตนเอง ตามแนวพระราชดําริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีการถ่าย ทอด องค์ความรู้ ด้านเกษตรอินทรีย์ มีการค้นคว้าวิจัย พัฒนา เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการกสิกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์ การแพทย์เภสัชกรรม การพลังงานและการ จัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม อย่างรู้ คุณค่า โดยนํา ภูมิปัญญาท้องถิ่นมา ประยุกต์ใช้ควบคู่ไปกับ การถ่าย ทอด ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง ให้แก่ชุมชนและบุคคลทั่ว ไปได้ นําไปใช้ ในการ ดําเนินชีวิต

ความรู้ด้านพลังงานนวัตกรรม
การใช้แกลบ และถ่าน มาทำแก๊ส หุงต้ม โดยกระบวนการแปรสภาพเป็นแก๊ส (Gasification Process) คือการเปลี่ยนรูปพลังงานจากชีวมวลซึ่งเป็นเชื้อเพลิงแข็งให้เป็นเชื้อเพลิงแก๊สโดยให้ความร้อนผ่านตัวกลางของกระบวนการ เช่นอากาศ ออกซิเจนหรือไอน้ำซึ่งกระบวนการแก๊สซิฟิเคชั่นจะมีความแตกต่างจากกระบวนการเผาไหม้ (Combustion) อย่างสิ้นเชิงโดยการเผาไหม้เป็นการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นอย่างสมบูรณ์ในหนึ่งกระบวนการแต่สำหรับกระบวนการแก๊สซิฟิเคชั่นเป็นการเปลี่ยนรูปพลังงานเคมีภายในของคาร์บอนในชีวมวลไปเป็นแก๊สที่สามารถเผาไหม้ได้ (Combustible Gas) โดยอาศัยปฏิกิริยา ๒ กระบวนการโดยก๊าซที่ผลิตได้จะมีคุณภาพที่ดีกว่าและง่ายต่อการใช้งานกว่าชีวมวลยกตัวอย่างเช่น สามารถใช้เดินเครื่องยนต์แก๊ส (Gas Engine) และกังหันแก๊ส (Gas Turbine) หรือใช้เพื่อผลิตเชื้อเพลิงเหลวต่อไป (Liquid Fuels) กระบวนการแก๊สซิฟิเคชั่นเป็นกระบวนการเปลี่ยนรูปทางด้านเคมีความร้อน (Thermo chemical Conversion Process) โดยอาศัยอากาศ ออกซิเจน หรือไอน้ำที่มีอุณหภูมิสูงกว่า
ที่ ศูนย์ฯนี้ได้มีการพัฒนาชุดผลิตแก๊ส หุงต้ม จากแกลบที่น่าสนใจ โดยใช้หลักการดังกล่าว ซึ่งต้นทุนไม่แพงมากประมาณ ๑๐๐๐ บาท ต่อชุด นำไปใช้ในครัวเรือนมี่ห่างไกลทดแทนการซื้อถังแก๊สหุงต้มได้


นายชาคริต ภูษิตาภรณ์ Group#๒
Hongsa Mine Mouth Power Project

วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2557

กิจกรรม กิจกรรมรักษ์กาย

ณ ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี (สามเสน) กรุงเทพฯ

หลักสูตร “ธรรมชาติบำบัดปรับชีวิต เปลี่ยนอาหาร หลักการแพทย์พอเพียง”

นายแพทย์ บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล

หลักสูตรนี้เป็นการเรียนรู้ความเสื่อมของร่างกาย และโรคต่างต่างๆ ในวัยกลางคน การดูแลร่างกาย การตรวจวัดเพื่อดูแนวโน้มเป็นโรคอ้วน และโรคที่มากับโรคอ้วน การควบคุมอาหารการกิน ให้สมวัย อะไรควรกินอะไรไม่ควรกิน การออกกำลังกาย การลดน้ำหนัก ที่เหมาะสมกับตนเอง การรับประทานวิตามินเสริมที่ถูกต้อง การรักษาโรค ด้วยสมุนไพร

หลักสูตร “วารีบำบัด สร้างเสริมสุขภาพ”

แพทย์หญิง ลลิตา ธีระสิริ

ทีมาของวารีบำบัด มีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ในปี 1886 เซบาสเตียน คไนป์ เขียนตำราเกี่ยวกับวารีบำบัด ในปี 1906 เอช. เคลลอกค์ (อเมริกา) เขียนตำรา “หลักวิทยาศาสตร์แห่งวารีบำบัด”

การตอบสนองของร่างกายขั้นต้น ต่อ ความร้อนจัด และความเย็นจัด ข้อควรระวัง

การอบซาวน่า และการอบสมุนไพรสลับการอาบน้ำเย็น เพื่อให้ร่างกายคลายความเครียด เพื่อเพิ่มประสิทธภาพเม็ดเลือดขาว และทำให้อวัยวะภายในแข็งแรง

การอาบแสงตะวัน ต้องใช้แสงแดดระหว่างเวลา 8.30-10.00 น. และ หลัง 16.00 น. ทาตัวด้วยน้ำมันมะกอก ใช้ใบตองคลุมตัว เพื่อป้องกันรังสี UV และ Infrared ให้มากที่สุด ทำให้ร่างกายแข็งแรง เลือดลมเดินดี เพิ่มประสิทธภาพเม็ดเลือดขาว

วารีบำบัด การออกกำลังกายในน้ำ เหมาะสมกับผู้มีอายุ เนื่องจาก แรงลอยตัวของน้ำ จะช่วยลดน้ำหนักตัวได้ถัง 70 % สระน้ำที่ใฃ้ต้องออกแบบมาพิเศษ มีความลึก 110-130 ซม. พื้นเรียบสม่ำกัน

การอาบน้ำแร่ มีประโยชน์ ต่อ โรคกระดูก ข้อเสื่อม คลายกล้ามเนื้อ และรักษาโรคผิวผนัง โรคภูมิแพ้ แต่มีข้อควรระวัง สำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจ เป็นไข้ ตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง และต่ำ

วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556

ผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ : นวัตกรรมเพื่อสังคมและการสร้างศรัทธาจากมหาชน

ณ เขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี

หัวข้อ Networking Capital กับการพัฒนาเพื่อประชาชน

โดย ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี

คุณธนรัชต์ ภุมมะกสิกร

ผู้อำนวยการเขื่อนศรีนรินทร์

ผู้นำชุมชน

ปราชญ์ชาวบ้าน

ตัวแทนภาคธุรกิจ

ผู้เชี่ยวชาญด้าน Energy Tax

ร่วมวิเคราะห์และดำเนินการอภิปราย โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

110257

Panel Discussion

ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี

กาญจนบุรี เป็นเมืองที่มีความเหมาะสมในการพัฒนาในด้านต่างๆ ได้แก่ การท่องเที่ยว การค้าขายชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน เส้นทางการขนส่งเชื่อมระหว่างพม่า ไทย ลาว และเวียดนาม เนื่องจาก สภาพภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ การประมงน้ำจืด แนวชายแดนด้าน เมืองทวาย ประเทศพม่า

การบริหารจัดการผังเมือง แบ่งเป็น 3 Zone

Zone ที่ 1 - เมืองเก่า เป็น Zone อนุรักษ์ ส่งเสริมการท่องเที่ยว

Zone ที่ 2 - เมืองใหม่ ช่วง Bypass เป็น Zone ที่อยู่อาศัย ค้าขาย

Zone ที่ 3 - เป็น Zone เศรษฐกิจ

คุณสหัสนัย ยืนยง ผู้แทนชุมชน

ในความคิดของผู้แทนชุมชน ที่มอง กฟผ.

1. โครงการชีววิถี : พัฒนาชุมชน ชุมชนแห่งการเรียนรู้ การท่องเที่ยงเชิงอนุรักษ์ สร้างรายได้ จูงใจให้คนรุ่นใหม่อยู่กับชุมชน การสร้างฝายชะลอน้ำ การประมงท้ายเขื่อน การศึกษาดูงานใน 2 มติ คือ การนำชุมชนออกไปดูงานนอกพื้นที่ แลกเปลี่ยนกับชุมชนเครือข่าย กฟผ. และนำพาชุมชนอืนเข้าดูงานทีเขื่อนศรีฯ

2. การส่งเสริมความมั่นใจ : จากข่าวเรื่องความแข็งแรงของเขื่อนศรีฯ ต่อเหตุการณ์แผ่นดินไหว

3. ข้อเสนอแนะ กฟผ. ไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง กับ ชุมชน เมื่อการสับเปลี่ยนหมุนเวียน บุคคลที่เคยดำเนินการ ประสานงาน ถูกเปลี่ยน ทำให้การพัฒนาโครงการต่างๆ ล่าช้า

คุณ ปณต สังขสมบูรณ์ สำนักงานพลังงานจังหวัดกาญจนบุรี

สำนักงานพลังงานจังหวัดกาญจนบุรี เป็นหน่วยงานราชการในระดับภูมิภาค มีบทบาทหน้าที่ในการกำกับดูแลด้านความปลอดภัยในการใช้ ก๊าซ น้ำมัน การประชาสัมพันธ์ นโยบายด้านพลังงาน พลังงานทดแทน ชุมชนสัมพันธ์

การพัฒนาชุมชนในระดับตำบล งบประมาณน้อย สนับสนุน ชุมชนในด้านพลังงานทดแทน Biomass / Solar Cell / Bio Diesel / ชีวภาพ / ชีวมวล เป็นประโยชน์กับ วิสาหกิจชุมชน OTOP ในด้านการลดต้นทุนพลังงาน

ข้อเสนอแนะ ในการจัดทำโครงการประหยัดพลังงาน พลังงานทดแทน

1. ขอให้ร่วมกันกับสำนักงานพลังงานจังหวัด

2. การลงพื้นที่สำรวจพื้นที่เป้าหมาย ก่อนเริ่มโครงการฯ ประมาณ 3 ปี

3. จัดตั้งเครือข่ายระดับประเทศ กฟผ. ชุมชน และกระทรวงพลังงาน

4. ศึกษาการใช้ประโยชน์จาก Energy Tax

คุณ ยุทธการ มากพันธ์ ผู้แทนชุมชน NGO

มุมมองชุมชน : ผลิตไฟฟ้า ค่า FT การใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า และการผูกขาด

ข้อเสนอ : ให้ กฟผ. สร้างเครือข่ายการผลิตไฟฟ้าชุมชน ในการพลังงานทดแทน Solar Roof ชีวมวล โดย กฟผ. เป้นผู้รับซื้อ

คุณ คเชนทร์ พูนจันทร์ ผู้แทนภาคธุรกิจ SCG Paper วังศาลา

การสร้างเครือข่ายชุมชน :

1. เป็นการลงทุนระยะยาว ควรดำเนินการก่อนจัดตั้ง Plant

2. ดำเนินการต่อเนื่อง / เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน / เข้าถึงชุมชน / สำรวจความคิดเห็นของชุมชน / ความต้องการของชุมชน / เน้นการมีส่วนร่วม / ทำงานเชิงรุก

3. พัฒนาสังคมชุมชน / ด้านการศึกษา / สาธารณะประโยชน์ / สิ่งแวดล้อม / สร้างงานสร้างรายได้

4. การติดตามผลการตอบสนองของชุมชน One Manager One Community (OMOC)

5. การทรัพยากรให้คุ้มค่า

6. ทำด้วยความจริงใจ

7. ประชาสัมพันธ์กิจกรรมที่ดำเนินการให้ชุมชนทราบ

สรุปข้อเสนอแนะ จากผู้แทนต่างๆ

1. ทำงานพัฒนาชุมชนร่วมกับ ระดับจังหวัด

2. พัฒนาการเครือข่ายพลังงานระดับชุมชน

3. ตอบรับปัญหาของชุมชน ก่อนเริ่มโครงการ

4. ปลูกฝังพนักงาน / อบรมให้รู้จักชุมชน / ให้ชุมชนไว้วางใจ / ชักจูง Plant ข้างเคียงร่วมด้วย Business Partnership

ร่วมวิเคราะห์และดำเนินการอภิปราย โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

HR / Non HR ปรับใช้งาน CSR กฟผ.

วัตถุประสงค์ ต้องการใช้ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับเป็น CSR ให้หน่วยงาน

ปัจจัยใน การทำ HR / Non HR : Change / Paradigm shift / Mindset

CEO Microsoft คนปัจจุบัน Satya Nadella : “ curiosity and thirst for learning”

Michael Porter : “Comparative advantage of countries or economics depend on the quality of human resources”

คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา : “คน คือ ทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร”

คุณจิระ หงส์ลดารมภ์ : “ทรัพยากรที่สำคญที่สุด ในปัจจุบันขององค์กร ไม่ใช้เงินสิ่งของ หรือเครื่องจักร แต่เป็นคน”

Antony Robbin : “People have unlimited potential”

Peter Drucker : “If we don’t change we perish”

Jack Welch : “Change before you are forced to change”

Dave Ulrich : “HR ยุคใหม่ต้องเน้นการทำงานแบบ Strategies Partners

และบริหารการเปลี่ยนแปลง

HR มีหน้าที่ เป็นผู้นำ และผู้สร้างผู้นำ / Non HR เป็นผู้นำ ที่ค้นหา บ่งชี้ Talent

การสร้างทรัพยากรมนุษย์ ต้องอาศัย ปรัชญา และความเชื่อ

การบริหารทุนมนุษย์ให้สำเร็จ : รับเข้า / ปลูก / เก็บเกี่ยว (ทฤษฏี 3 วงกลม และ HRD) / Execution

(Leader , Leadership )

5K’s : Creativity Capital / Knowledge Capital / Innovation Capital / Emotional Capital / Cultural Capital

คุณสมบัติ CEO : มี Vision นำพาองค์กร / แสดงความเป็นผู้นำ จูงใจผู้ปฏิบ้ติงาน / ให้ความเชื่อมั่นในการดำเนินการธุรกิจ / มีเครือข่าย

120257

Arts and Felling Presentation

คุณ จิตต์สุมาลย์ อมาตยกุล

by Jitrasumarn

เริ่มต้นด้วยกิจกรรมที่ 1 เพื่อให้ความเป็นตัวตนในอดีต

กิจกรรมที่ 2 ให้ดูภาพ และบรรยายเนื้อหาจากภาพที่เห็น

กิจกรรมที่ 3 ให้แสดงท่าทาง 30 วินาที ตามประโยคที่บอก

กิจกรรมที่ 4 ให้พูดเนื้อหาใน 1 นาที ตามคำที่บอก

การ Present : 1. ภาษา Verbal 7 % 2. ภาษากาย 85 % 3.พลังเสียง 38 %

Preparation & Design -> Champion Zone

Content -> Presentor & Feeling -> ให้จำได้หมายรู้ การให้ผู้ฟังมีสส่วนร่วม

นวัตกรรมทางสังคม เพื่อชุมชน (Social Innovation)

นาย รังสรรค์ อัฐมโนลาภ

EGAT CSR Policy : คำนึงถึงสังคม / เนน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน / ป้องกัน บรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น

นวัตกรรม CSR : 1. รวมแผน แยกปฏิบัติ 2. ทำ CSR จากภายในสู่ภายนอก 3. CSR/PR 4. Audit (Internal/External) 5. ปรับปรุงต่อยอดให้ยั่งยืน

การปฏิบัติ CSR จากภายในองค์กร CSR Inprocess -> CSR สังคมใกล้ -> CSR สังคมไกล

ตัวอย่าง การดำเนินการ CSR

1. ประหยัดไฟเบอร์ 5 / 2. การปลูกป่า / 3. โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ชุมชนคลองเรือ พะโต๊ะ ชุมพร / 4. โครงการแว่นแก้ว / 6. โครงการชีววิถี

ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญาพฤทธิ์ จาก จังหวัดบุรีรัมภ์

หัวใจชุมชน : ชุมชนต้องการการเรีนยรู้ อยากพัฒนาตนเอง ไม่มีใครอยากทิ้งบ้าน ทิ้งถิ่นที่อยู่อาศัย

ปัญหาการเข้าหาชุมชน : จะทำอย่างไรให้ชุมชนปัจจุบันมีช่องทางการรับข่าวสารได้หลายช่องทาง เนื่องจากชุมชนมีความอ่อนไหว อาชีพหลักของชุมชน โครงการต่างๆ ที่นำเข้าชุมชนไม่เป็นที่ต้องการของชุมชน เน้นที่ปริมาณ ไม่ได้เน้นคุณภาพ โครงที่จะเข้าชุมชน จะต้องเห็นผลเร็ว ลำดับการสอนเป็นเรื่องใกล้ตัว ทำได้จริง กระตุ้นให้อยากเรียนรู้ รับฟังปัญหาของชุมชน สรุปปัญหา วิธีการแก้ไข ที่ง่ายทำได้จริง และจัดสังคมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

คุณสุทธิเดช สุทธิสมณ์

ยุทธศาสตร์แนวคิด การบริหารจัดการองค์กร เพื่อพัฒนาชุมชนให้ยั่งยืน จะมีผลกับสังคมของประเทศโดยรวม และมีผลรุนแรงกับสังคมภายใน ดังนั้นการสร้างวิสัยทัศน์ขององค์กร และการมีส่วนร่วมของหน่วยงาน

การสร้างเครื่องมือ และการสุ่มตัวอย่าง และสถิติเบื้องต้นสำหรับการทำวิจัย

.กิตติ ชยางคกุล / อ.พิชญ์ พึ่งสำราญ

การทำ Research and Development : ควรวิเคราะห์ปัญหาให้พบปัญหาที่เป็นรากเหง้าจริง 1 ปัญหาจากหลายปัญหา เพื่อจะได้ทำการแก้ไข ซึ่งในการหาข้อมูลอาจจะใช้แบบสอบถาม สอบถามจาก Key Person จากความจริงที่ปรากฏ เพื่อเป็นหลักฐานในการสนับสนุนข้อมูล

ศึกษาดูงานศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม : ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรเเละพลังงานทางเลือก

.ท่ามะขาม กาญจนบุรี

คุณ ทิวาพร ศรีวรากุล ผู้อำนวยการศูนย์ฯ

ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ในการจัดฝึกอบรม เกษตรกรที่ต้องการปลดหนี้ โดยมีขั้นตอน ดังนี้

1. รู้จักตัวเอง สถานะปัจจุบัน 2. ค้นหาปัญหา 3. วิเคราะห์ปัญหา 4. แนวทางการแก้ไขปัญหา 5. ดึงศักยภาพของตัวเอง

การปลูกพืชผสมผสาน พืชสมุนไพร เพื่อพึ่งพาตนเอง การจัดทำบัญชีครังเรือน

การจัดทำพลังงานทดแทน ได้แก่ การได้ความร้อนจาก Gasification โดยใช้เศษไม้ ใบไม้ หรือ แกลบมาเป็นเชื้อเพลิง พลังงานจาก Solar Cell เป็นต้น เพื่อใช้ชุมชนสามารถมีพลังงานใช้แบบยั่งยืน ราคาถูก

Assingment 2 : Microsoft จากอดีตถึงปัจจุบันกับ CEO 3 คน

CEO 3 คนของบริษัท Microsoft

1.Bill Gates :- ในยุคของ Bill Gates เป็นยุคของก่อตั้งและพัฒนาจนสู่ความเจริญรุ่งเรือง เป็นผู้นำทางด้าน IT

- มีวิสัยทัศน์กว้างไกล

- มีความกล้า ความท้าทาย

- มีความอดทนไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก

2.Steve Ballmer :- เป็นยุคที่ทรงตัวและถดถอย

- มีมนุษยสัมพันธ์ดี

- ให้ความสำคัญการสื่อสารให้ทีมงานมีความเข้าใจทั่วถึงกัน

- เปิดใจรับฟังความคิดผู้อื่น

3.Satya Nadella :- น่าจะเป็นยุคการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อที่จะกลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง มีการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ

- มีความรู้ความสามารถวิศวกรรมและมุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรม

- มีความสามารถบริหารจัดการคนให้ร่วมกันทำงาน

-เป็นผู้ มีวิสัยทัศน์ด้านธุรกิจ

การนำมาประยุกต์ใช้กับ กฟผ.

กฟผ. ได้ผ่าน 1.ยุคของการบุกเบิกและรุ่งเรือง 2.ยุคที่ทรงตัวและถดถอย เมื่อส่วนแบ่งตลาดลดลง 3.ยุคปัจจุบัน
เป็นยุคของปรับตัวและสร้างนวัตกรรม ผู้นำของกฟผ.ต้องมีวิสัยทัศน์ในการคาดการณ์อนาคต ต้องกล้าตัดสินใจทำในสิ่งที่ถูกต้อง ท้าทายสร้างนวัตกรรมใหม่ๆทางธุรกิจ พัฒนาให้พนักงานมีศักยภาพ และใช้ศักยภาพให้เต็มที่ช่วยกันนำพาองค์กรให้เติบโตรุ่งเรือง เป็นผู้นำด้านการผลิตและบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าอย่างยั่งยืน

งานกลุ่ม 4 ( ณรงศักดิ์ ทัฬห์ นรินทร์ นฤมิต รัชดา สมบูรณ์ สุธารักษ์ )

งานกลุ่ม 4 กฟผ.จะร่วมสนับสนุนโครงการ ของ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขามได้อย่างไร

ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม เป็นศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ของเกษตรกรเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงเน้นในเรื่องของสิ่งที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ปลูกพืชผัก พบปะไปมาหาสู่กัน เยี่ยมเพื่อนและให้สามารถบริหารจัดการตัวเองได้โดยสอนให้มีความรอบรู้ ร่วมกันวางแผน และจัดการความสูญเสียกับสิ่งที่ได้ ให้สมดุลย์กัน การอบรมที่ศูนย์เกษตรฯ จะเน้นให้ชาวบ้านรู้จักกันและรู้จักตนเองรู้ความสามารถของตนเองให้ความสำคัญกับตนเอง และให้รู้ว่าหนี้สินที่มีอยู่เกิดจากสาเหตุใดเพื่อจะได้แก้ไขได้ตรงเหตุ จากนั้นจะดึงศักยภาพของแต่ละคนออกมา(แต่ละคนจะมีศักยภาพในตัวแตกต่างกันไป) และจะสอนให้รู้จักพืชผักสมุนไพร เช่น ฟักข้าว สาบเสือ สบู่ดำสะเดา น้อยหน่า หางไหล ใบหนาด แมงลัก กัญชาป่า เป็นต้น ทางด้านพลังงานทดแทน เช่น Solar
cell ผลิตไฟฟ้า ความร้อน พลังงานลม พลังชีวมวล พลังงานจากน้ำ ก๊าซชีวภาพ ทางศูนย์ได้คิดค้น
ประดิษฐ์รวมทั้งสอนให้ชาวบ้านรู้จักประดิษฐ์อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้กับพลังงานทางเลือกเหล่านี้แบบง่ายๆเหมาะสมกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่แบบเศรษฐกิจพอเพียง

กฟผ.ควรจะนำเอาแนวทางของศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม ไม่ว่าจะเป็นความรู้หรือผลิตภัณฑ์ทางด้านสมุนไพร สิ่งประดิษฐ์เกี่ยวกับพลังงานทดแทนต่างๆมาศึกษาต่อยอดและนำไปปรับใช้ เป็นงาน CSR.กับชุมชนรอบๆ กฟผ.ในที่อื่นๆ ตามความเหมาะในแต่ละพื้นที่

ลักษณะภาวะผู้นำ

Bill Gates

มีวิสัยทัศกว้างไกล

อดทน ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก

ให้ความสำคัญกับพนักงาน
รับฟังความคิดเห็น ให้เกียรติพนักงาน

มีกลยุทธในการทำธุรกิจ มีเป้าหมายธุรกิจและจุดยืนที่ชัดเจน

มองโลกความเป็นจริงเปลี่ยนแปรงตามโลกที่เปลี่ยนไปมองโลกในแง่ดี

มองรอบด้าน ศึกษากลยุทธของคู่แข่งมาปรับใช้กับกลยุทธของตน

เป็นนักปฏิบัติ ไม่กลัวความเสี่ยง

ชอบเจราต่อรอง
มีทักษะในการโน้มน้าวจิตใจคน

รู้จักจุดประกายความคิด
และทำให้ออกมาเป็นรูปธรรม สร้างกลไกลการเรียนรู้อย่างเปิดกว้างในองค์กร

ให้ความสำคัญกับการสื่อสาร ในองค์กร

เตรียมพร้อมเสมอ
และไขว่คว้าเมื่อโอกาศมาถึง

รักครอบครัวและช่วยเหลือผู้อื่นไม่หวังสิ่งตอบแทน

SteveBallmer

มีประสพการณ์

เชื่อมั่น เน็นความสามารถ

มีมนุษยสัมพันธ์

มองธุรกิจเดิมเป็นหลัก
ตัดสินใจช้าไม่ทันการเปลี่ยนแปลง

SatyaNadella

มีทักษะด้าน วิศวกรรม สูง

มีมุมมองทางธุรกิจใหม่ๆ เป้าหมายชัดเจน

ชอบเรียนรู้และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ

มีวิสัยทัศน์ เปลี่ยนแปลงโลกด้วย Technology

สร้าง team work ได้

ถ่อมตัว ประหยัด

3 ช่วงธุรกิจ ของ Microsoft

1 ช่วงบุกเบิก
ช่วงเริ่มพัฒนา software ใหม่ๆ ขาย
ยังมีคู่แข่งน้อย ทำให้มีการเจริญเติบโตของบริษัทมาก และมีนวัตกรรม ด้าน software ออกมาสู่ตลาดมาก เช่น ms.dosMicrosoft windowsinternet explorer

2 ช่วงเริ่มอิ่มตัว สมัย Steve Ballmerซึ่งยังทำกำไร
ได้ในช่วงแรก แต่มีคู่แข่งที่เข้ามาแข่งขันค้าน pc บ้างแต่ช่วงปลาย ตลาด pc เริ่มลดลง คนหันมาใช้ smart phone และ tablet ที่ถูกพัฒนาให้ทำงานได้ใกล้เคียง
pc บริษัท Microsoft เริ่มปรับตัว เข้ามาพัฒนา software ในตลาดsmart phone และtablet มากขึ้น
พร้อมเข้าซื้อบริษัท Nokia yahoo เพิ่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาดและพัฒนา software

3 ช่วง ปฏิรูป บริษัท
ได้เลือกให้ satya เข้ามาบริหารแทน
เนื่องจาก เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ทางธุรกิจ ที่สอดคล้องกับองค์กร ในการปรับเปลี่ยน
ทิศทางธุรกิจ และเป็นผู้บริหารที่อายุเพียง 46 ปี เป็นบุคคลสำคัญในการนำกลยุทธ์และการสร้างการเปลี่ยนแปลงด้าน
เทคนิคให้กับผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆของ Microsoft ประสพการณ์ของ satya เป็นผู้เชี่ยวชาญและพัฒนา
ระบบ cloud system ซึ่งปัจจุบัน เป็นผู้นำตลาดด้านนี้อยู่ เป็นนวัตกรรมใหม่ของระบบ computer ที่ช่วยรองรับผลิตภัณฑ์ Bing Xbox Office

องค์กร กฟผ

ถ้าเปรียบกับ บ. Microsoft จะเหมือนกันคือต้องปรับตัว
ให้ทันต่อโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าตัวผู้นำที่เหมาะสมกับสถานะการณ์ หรือสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป

กฟผ ช่วงบุกเบิก

โดยที่ กฟผ เป็นองกรณ์ของรัฐไม่มีคู่แข่งทางการค้า ทำให้ต้องอาศัย ผู้นำที่มีทักษะความรู้ในงานและทีมงานสามารถวางแผนและขยายกิจการได้ตามความต้องการของตลาด ซึ่งเป็นลักษณะนี้ต่อเนื่องกันมาหลายปี

กฟผ ช่วงเปิดตลาดเสรี

ตั้งแต่รัฐบาลมีนโนบาย เปิดตลาดเสรีเอกชลสามารถเข้ามา
สร้างโรงไฟฟ้าแข่งขันได้ พร้อมมีกฏหมาย ด้านสิทธิชุมชน และสิ่งแวดล้อม
เข้ามาบังคับใช้ทำให้เกิดการแข่งขันสูงขึ้น ต้องดูเรื่องต้นทุนค่าใช้จ่าย แข่งขันกัน
และต้องได้รับการยอมรับจากชุมชนให้สร้างโรงไฟฟ้าทำให้ กฟผ ประสพปัญหาในการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ และรายได้ลดลง เนื่องจากโรงไฟฟ้าเก่าเริ่มทยอยหมดอายุ และไม่ถูกเรียกให้เดินเครื่องเนื่องจากประสิทธิภาพต่ำ ผู้นำกฟผ ในช่วงนี้ จึงต้องเริ่มปรับเปลี่ยนการทำงานขององค์กร เพราะต้องสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานอื่นๆที่มีความเกี่ยวข้องกับ กฟผ มากขึ้น เพื่อให้การทำงานสำเร็จตามเป้าหมายได้และยังต้องดำเนินการด้าน CSR เพิ่มขึ้นเพื่อสร้างการยอมรับจากสังคมไม่ให้เกิดการต่อต้านในการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่

กฟผ ช่วงปรับเปลี่ยนธุรกิจ

เป็นช่วงที่ กฟผ เริ่มมองช่องทาง ธุรกิจอื่นๆ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับองค์กร
ชดเชยรายได้ที่ขาดหายไปเนื่องจากส่วนแบ่งตลาดการขายไฟฟ้าลดลง
จากที่มีคู่แข่งเข้ามาในตลาดเพิ่มขึ้นและนโยบายรัฐบาล ผู้นำในช่วงนี้ ต้องมีวิสัยทัศน์ทางธุรกิจ ที่จะปรับเปลี่ยนองค์กร ต้องทำธุรกิจใหม่ๆ เพิ่มโดยพัฒนาจากความสามารถเดิมที่มีอยู่ เพื่อรองรับตลาดในอนาคต จึงเกิดบริษัทลูกขึ้นมาหลาย บริษัทที่ร่วมทุนกับเอกชลทำธุรกิจ ทั้งในและต่างประเทศในขณะนี้

การเรียนรู้ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2557

เรื่อง ธรรมชาติบำบัดปรับชีวิต เปลี่ยนอาหาร หลักการแพทย์พอเพียง

เป็นวันที่ผมติดภารกิจประชุมร่วมกับรองผู้ว่าการพัฒนาธุรกิจ
เรื่องการแก้ปัญหาการเตรียมบุคลากรปฏิบัติงานที่โครงการเดินเครื่องและบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าพลังความร้อนลิกไนต์หงสา สปป.ลาว ได้อ่านเอกสารอบรม ซึ่งได้รับจากทีมงานในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557 และสรุปสาระความรู้จากเอกสารเรื่องจะรู้ได้อย่างไรว่าเราอ้วนหรือไม่ โดยให้ดูจากค่า BMI มีค่าเอาน้ำหนักเป็น กก. หารด้วยส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง หากค่าเกิน 25 คืออ้วน การอ้วนจะทำให้ไขมันไปล้นที่ตับ ข้อเข่าเสื่อม ได้เรียนรู้เรื่องการกินโดยกินเนื้อสัตว์ 1 ส่วน ผัก 2 ส่วน โดยที่ไม่กินข้าว ผลไม้ ถั่วและนม การออกกำลังกาย ให้ออกในน้ำ จะทำให้น้ำหนักเบา ลดภาระส่วนล่างที่รับน้ำหนัก การแพทย์ทางเลือกในการรักษาโรค เช่น หวัดให้อาหารล้างพิษ 1 วันด้วยผลไม้และนอนพักมาก ๆ ภูมิแพ้ เลี่ยงการดื่มนมวัว เครียดนอนไม่หลับ ต้องบำรุงสมองด้วยวิตามิน B100 และวิตามิน C1000 ปวดศีรษะใช้วิตามิน B100 การปวดหลังใช้วิธีปรับเปลี่ยนท่าทางทำงาน ความรู้ที่ได้จะนำไปปรับปรุงเรื่องการกิน และการนั่งทำงานในสำนักงาน การใช้ชีวิตประจำวัน

การเรียนรู้ในวันที่11 กุมภาพันธ์ 2557

เป็น Panel Discussion หัวข้อ Networking Capital กับการพัฒนาเพื่อประชาชน เป็นการนำผู้บริหารในจังหวัดกาญจนบุรี มาพูด และสรุปประเด็นโดย อ.จีระ หงส์ลดารมภ์

คนแรกเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี

พูดถึงการพัฒนาจังหวัดโดยพิจารณาจากที่ตั้ง 3 ยุทธศาสตร์ ดังนี้

  1. แหล่งท่องเที่ยวก่อให้เกิดรายได้ค่อนข้างสูงให้จังหวัด จัดให้เหมาะสมกับนักท่องเที่ยวแต่ละชาติ
  2. เป็นแหล่งเพาะปลูกบริเวณแม่น้ำแม่กลอง
  3. พื้นที่ติดกับประเทศพม่า และสุพรรณบุรี มีถนนในการขนส่งผลิตภัณฑ์

เป็นการมองภาพกว้างของจังหวัด เหมือนอยู่บนฟ้ามองมาเห็นที่ตั้ง กำหนดยุทธศาสตร์ และการทำงาน ซึ่งคนเป็นผู้นำองค์กรจะต้องมองภาพใหญ่ให้เห็น

คนที่สอง คุณสหัสนัยฯ การท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี

ท่านเป็นคนอำเภอศรีสวัสดิ์ เป็นคนพื้นที่เกิด และกลับมาทำงานด้านท่องเที่ยว หลังวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ ปี 2540 พูดถึง กฟผ. สร้างกิจกรรมที่มีส่วนร่วมกับชุมชน คือ

  1. โครงการชีววิถีให้ความรู้ สร้างงาน สร้างอาชีพ คนกลับบ้านสู่ถิ่นกำเนิด มีคนมาศึกษา ดูงาน มากิน มาใช้ มานอน มาเที่ยว มี อบต. อื่นมาดูงาน
  2. ฝ่ายชะลอน้ำ เกิดการอนุรักษ์ธรรมชาติ, ป่ามากขึ้น มีหน่วยงานภายนอกมาดูงาน ทำให้เกิดการท่องเที่ยว
  3. โครงการปล่อยปลา และตกปลา เกิดกีฬา และการท่องเที่ยว
  4. จัดเทศกาล เช่น วันรักสันเขื่อน วันวาเลนไทด์ เพื่อให้คนมาท่องเที่ยว

สิ่งที่คุณสหัสนัยฯ อยากให้ กฟผ. ดำเนินการคือ ประชาสัมพันธ์ ความปลอดภัยของเขื่อน เพื่อให้คนมาเที่ยว และช่วยดำเนินการเรื่องเงินทุน ที่สำคัญคือ ขอให้ กฟผ.มีหน่วยงานที่รับผิดชอบงาน CSR โดยเฉพาะ

คนที่สาม คุณปณต สังข์สมบูรณ์ พลังงานจัดหวัดกาญจนบุรี

ท่านคุ้นเคยกับ กฟผ. ตั้งแต่ทำงานกับโรงไฟฟ้ากระบี่ สิ่งที่อยากเห็นคือ

  1. ให้ทำการลงไปทำความเข้าใจ ปูพื้นอย่างน้อย 3 ปี ก่อนจะเริ่มทำโครงการ
  2. ส่งเสริมเครื่องมือที่ประหยัดพลังงาน

หลักการพัฒนาเรื่องพลังงานในจังหวัดกาญจนบุรี

  1. มีจุดแข็งที่มีอ้อยและมันสำปะหลัง เอาไปทำเชื้อเพลิง
  2. พัฒนาเทคนิค การอัดแท่งเหง้ามันสำปะหลัง เพื่อนำไปเป็นเชื้อเพลิงใช้ในครัวเรือน
  3. พัฒนาอัดแท่งใบอ้อย, ชานอ้อยที่มีอยู่มากให้เป็นเชื้อเพลิงต้นทุนต่ำ
  4. การบริหารเรื่องภาษี พลังงานจากโรงงานน้ำตาลมาใช้กับชุมชน

คนที่สี่คุณยุทธการ มากพันธุ์ ตัวแทนชุมชน (NGO)

บทบาทที่ดีของ กฟผ. จะอยู่ที่บ้าน อยู่ในความมืด และไฟติดขึ้นมา หลังจากไฟดับ ทำให้คนเห็นความสำคัญของ
กฟผ. แต่พอได้ทราบข่าวเรื่องการขึ้นค่า Ft หรือจะสร้างโรงไฟฟ้าใกล้บ้าน ก็จะรู้สึกไม่ดีกับ กฟผ.

ข้อแนะนำ กฟผ. ควรมีเครือข่ายประชาชน และมีเครือข่ายไฟฟ้าชุมชน

คนที่ห้า คุณคเชนทร์ พูนจันทร์ บริษัท SCG

บริษัท SCG มีประสบการณ์และประสบผลสำเร็จในการสร้างเครือข่ายก่อนการลงทุน โดยดำเนินการก่อนจะไปลงทุนสร้างโรงงาน และรักษาเครือข่ายโดยผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงานเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ผู้บริหารแต่ละคนจะรับผิดชอบ
ชุมชนเรียกว่า “ผู้จัดการชุมชน” มีส่วนร่วมเข้าถึงปัญหา และความต้องการของชุมชน

สรุปโดย อ.จิระหงส์ลดารมภ์

ทำงานต้องมองภาพกว้าง ความสัมพันธ์ในแต่ละส่วน สร้างเครือข่ายชุมชน และสร้างความสัมพันธ์อย่างจริงจัง จริงใจ มีหน่วยงานที่รับผิดชอบ CSR แบบถาวร

ช่วงบ่าย วิชา : HR for Non HR และการปรับใช้กับงาน CSR ของ กฟผ.

วิชานี้ อ.จิระ หงส์ลดารมภ์ บรรยายเพื่อกระตุ้นให้ผู้ไม่ได้ทำหน้าที่ HR ให้ตื่นตัวในหน้าที่ มีการยกตัวอย่างคำคมวิธีคิดของผู้บริหารองค์กรที่ประสบผลสำเร็จ เห็นภาพว่าคนเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์กร การพัฒนาคนจะให้เป็นหน้าที่ของ HR อย่างเดียวไม่พอ คนที่เป็น Non HR เป็น Line Manager มีบทบาทมากขึ้น มีการบริหารทุนมนุษย์ มีปลูก(พัฒนา), เก็บเกี่ยว, ลงมือทำให้สำเร็จ ฟัง อ.จิระฯ บรรยายแล้วรู้สึกตื่นตัวในการสร้างคนให้องค์กร กฟผ.

ช่วงเย็น กิจกรรมกลุ่ม
การนำเสนอกรอบของงานวิจัย ร่วมกับ อาจารย์ที่ปรึกษา โดยได้รับคำชี้แนะจากอาจารย์ กิตติ ชยางคกุล โดยใช้วิธีตั้งคำถามแต่ละคนในกลุ่มให้ค้นหาปัญหาการทำงานที่มีผลกระทบกับ กฟผ. ปี 2020 ได้สรุปจัดทำโครงงานเชิงการวิจัยเรื่องการจูงใจผู้ปฏิบัติงานไปทำงานเดินเครื่อง และบำรุงรักษาใน สปป.ลาว

การเรียนรู้ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557

ช่วงเช้าเรื่อง Arts and Feeling Presentation

โดยอาจารย์จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล เป็นการบรรยายโดยให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ดึงสมองข้างขวามาใช้งาน ปลุกความเป็นเด็ก และจินตนาการมาใช้ ทำให้เห็นว่าการทำ Presentation ที่ดีจะประกอบด้วย 3 ส่วน เนื้อหา 7%, น้ำเสียง 38%, ท่าทาง และภาษากาย 55%ได้เรียนรู้การนำเสนอที่ดีต้องทำอย่างไร จากการปฏิบัติจริง เป็นภาคเช้าที่สนุกอย่างไม่คาดฝันมาก่อน

ช่วงบ่ายเป็น Panel Discussion หัวข้อนวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน(SocialInnovation) กับการทำงานของ กฟผ.

คนแรก

คือ ชคส. คุณรังสรรค์ อัฐมโนลาภ พูดถึง EGAT CSR Policy เน้นสิ่งที่ปฏิบัติดีกว่ามาตรฐาน และ กฟผ. มีลักษณะการทำงานเป็น Engineer Silo การทำงานเป็นลักษณะรวมแผน และแยกกันไปปฏิบัติ มีขั้นตอนที่จะดำเนินการกับชุมชน จากไม่มีกินไม่มีใช้ เป็น พอกินพอใช้ เป็น พอกินมีสุข และมั่งมี ศรีสุข ในที่สุด

คนที่สอง
ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธ์ เป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อระหว่างผู้ปฏิบัติกับผู้มีความรู้ในแต่ละเรื่อง ชุมชนอยากเรียนรู้อะไรไปหามาให้ มาทำเป็นแบบอย่างให้ชุมชนดูว่าสามารถทำได้ ทำตาม เริ่มทำในเรื่องง่ายเพราะคนขี้เกียจชอบเรื่องง่ายและเร็ว การพัฒนาโดยถามเขาว่าต้องการอะไร บอกมาไปหาผู้รู้ และนำมาดำเนินการ ทำ “ชุมชนเป็นผู้เรียนอย่าทำให้ชุมชนแบมือ ชอบขอ”

คนที่สาม
คุณสุทธิเดช สุทธิสมณ์ อดีตผู้ช่วยผู้ว่าการไฟฟ้าภูมิภาค พูดถึงประสบการณ์ การสร้างนวัตกรรมทางสังคมที่ กฟภ. ในเรื่องสังคมการเรียนรู้ ได้ให้ข้อคิดเรื่อง “การทำเพื่อสังคม อย่าท้อถอย”

การเรียนรู้ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557

ดูงานกิจกรรม CSR: ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม
เป็นศูนย์การเรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้าน โดย อาจารย์ทิวาพร ศรีวรกุลเป็นผู้ที่รู้จริงจากการกระทำ เป็นแหล่งช่วยเหลือชาวบ้านที่ประสบปัญหาเรื่องหนี้สิน ทำให้ชาวบ้านกลับมามองตัวเขาเอง สำรวจตัวเองและชุมชนโดยรอบ อยู่กับธรรมชาติ นำพืช และภูมิปัญญาโบราณมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ฟังแล้วชื่นใจ และปลื้มใจกับสังคมที่มีคนดี สิ่งที่เรียนรู้คือ อาจารย์ได้ดึงศักยภาพ ความเชื่อมั่นของคนกลับคืนมา และให้เขาดำรงชีวิตต่อไป”

สำหรับอาจารย์ยุทธการ มากพันธุ์ ถือว่ามาพบเป็นครั้งที่ 2 หลังจากพบกันเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557 พบว่าท่านมีพื้นฐานเรื่องพลังงานทางเลือกอย่างน่าทึ่ง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยใช้ความรู้ และภูมิประเทศที่มีอยู่ในการเลือกใช้แหล่งพลังงานชนิดต่างๆ ได้เห็นอุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ได้จริง ทำให้คนที่มาพบเห็นมีแรงที่จะนำอุปกรณ์ และความรู้ไปผลิตได้จริง เป็นการลดภาระรายจ่ายเรื่องพลังงานของครอบครัว และของชาติไปได้ถือเป็นคนไทยตัวอย่างที่น่านับถือในเรื่องพลังงานทางเลือก

ลักษณะภาวะผู้นำCEOของ Microsoft และการนำแนวคิดมาใช้กับ กฟผ.

Bill Gates

CEOยุคบุกเบิก เป็นผู้ก่อตั้ง Microsoft ก่อให้เกิด เป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มองไปข้างหน้า เห็นแนวทางการเปลี่ยนไปของโลกในอนาคต รับฟังความเห็นผู้ร่วมงาน ก่อให้เกิดพลังที่นำพาไปข้างหน้าด้วยพลังมหาศาล ภายนอกก็ศึกษากลยุทธคู่แข่ง นำข้อดีมาปรับใช้เป็นกลยุทธ์ของตัวเอง กล้าเสี่ยง

เป็นคนที่รักครอบครัว และสังคมเมื่อรวยแล้วก็มีส่วนในการดูแลสังคมโดยการตั้งมูลนิธิขึ้นเมื่อปี 2543 ช่วยการกุศลต่างๆ

Steve Ballmer

เป็นผู้นำในยุคที่บริษัทเติบโตแล้วประคองธุรกิจให้อยู่ได้ ให้ความใส่ใจข้อมูลข่าวสาร เกิดการรับรู้ทั่วถึงทั้งองค์กร
มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ให้อิสระพนักงานแสดงความเห็น และคิดค้นได้อย่างเต็มที่

Satya Nadella

เป็นผู้มีทักษะในสาขาอาชีพด้านวิศวกรรม เป็นผู้ที่เข้ามาในยุคที่ Microsoft พบปัญหาคนไม่ใช้ PC ไปใช้ Tablet
ทำให้เขาต้องทำงานภายใต้ภารกิจที่ท้าทายความสามารถ เป็นคนที่ถ่อมตัว ประหยัด มาจากเชื้อสายคนอินเดีย

การนำแนวคิดมาใช้กับ กฟผ.

กฟผ.ในยุคปัจจุบันมีกำลังผลิตไม่ถึง 50% ในการผลิตไฟฟ้าเข้าสู่ระบบของประเทศ แต่ กฟผ.ยังเป็นผู้เดียวที่ดูแลสายส่งกระจายไปสู่ กฟน. และ กฟภ. ทำให้ภารกิจของ กฟผ.ในการนำไฟฟ้าเข้าสู่ระบบไฟฟ้าของประเทศเป็น ประเด็นได้ดังนี้

  • 1.ซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านมาใช้งาน เช่นรับซื้อไฟฟ้าจากเขื่อน และโรงไฟฟ้าใน สปป.ลาว ภายใต้โจทย์ว่าให้มีไฟฟ้าตลอด มั่นคงจึงต้องไปทำงานเดินเครื่อง และบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าด้วยพนักงาน กฟผ.ทำให้เกิดโครงการ OM ในประเทศเพื่อนบ้าน เช่นโรงไฟฟ้าน้ำงึม โรงไฟฟ้าหงสา
  • 2.ซื้อไฟฟ้าของผู้ผลิต IPP และ SPPโดยไฟฟ้ามีความมั่นคงภายใต้โจทย์ที่ให้พนักงานกฟผ. ไปทำงานเดินเครื่องและบำรุงรักษา โรงไฟฟ้าเอกชน เช่น โครงการ OM ที่ RGCO,RPCL,DCAP
  • 3.สร้างโรงไฟฟ้าทดแทนกำลังผลิตที่ปลดจากระบบ(หมดอายุ)ต้องทำความเข้าใจกับชุมชน โดยเฉพาะสร้างโรงไฟฟ้าทดแทนโรงไฟฟ้าแม่เมาะ หน่วยที่ 4– 7
  • 4.สร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มในสถานที่เดิม เช่นโรงไฟฟ้าวังน้อย และโรงไฟฟ้าจะนะ ซึ่งต้องทำความเข้าใจกับชุมชน
  • 5.สร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงชนิดใหม่ในสถานที่เดิม เช่น สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่โรงไฟฟ้ากระบี่
    ซึ่งต้องทำความเข้าใจกับชุมชน ให้ยอมรับโรงไฟฟ้าถ่านหิน
  • 6.การสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน เช่นโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ที่ประจวบคีรีขันธ์, โรงไฟฟ้าพลังลมที่ลำตะคอง แสดงให้ชุมชนและสังคมเห็นถึงความใส่ใจ กฟผ. ต่อการใช้โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน
  • 7.การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนรอบเขื่อนเพื่อสร้างความมั่นใจตระหนักถึงความปลอดภัย เรื่องเขื่อนแตก
    สร้างความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สินคนที่อยู่ใต้เขื่อน

จะพบว่าผู้นำ กฟผ. มีภารกิจที่ท้าทาย และมีภารกิจที่ใหม่ต้องทำความเข้าใจ และสร้างคนในองค์กรให้เข้าใจ ทำไมต้องไปทำงานให้กับเอกชนและออกไปทำงานนอกประเทศ และต้องทำความเข้าใจกับสังคม ชุมชน ในงานที่เป็นภารกิจเดิมต้องเป็นคนที่สังคมยอมรับ เข้าถึงได้ น่าจะเหมือน CEO Microsoft ในยุคปัจจุบันคือSatya Nadella

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557
Panel Discussion ในหัวข้อ Networking Capital กับการพัฒนาเพื่อประชาชน

1. นายชัยวัฒน์ ลิมป์วรรณธะ ผวจ.กาญจนบุรี

- พื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี มีลักษณะสัณฐานคล้ายรูปกำมือชี้นิ้ว ปลายนิ้วมือชี้ไปที่ด่านเจดีย์สามองค์ แบ่งพื้นที่เป็น

3 โซน คือ โซนอนุรักษ์ ได้แก่ พื้นที่ตอนบนในเขตอ.ไทรโยค อ.ทองผาภูมิ และ อ.ศรีสวัสดิ์ ซึ่งมีสภาพเป็นป่า

อนุรักษ์ที่สมบูรณ์และเป็นต้นน้ำของแม่น้ำแควใหญ่และแควน้อย และมีแหล่งน้ำสำคัญ คืออ่างเก็บน้ำเขื่อนศรี

นครินทร์และเขื่อนเขาแหลมโซนอีสาน อยู่ทางทิศตะวันตกมีปัญหาน้ำแล้งและน้ำท่วมโซนเศรษฐกิจ เป็นพื้นที่ตอนล่างที่ราบลุ่มในเขตชลประทานที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางการเกษตรและอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังมีสถานที่สำคัญทางด้านประวัติศาสตร์และการท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ บ้านอิต่อง ทุ่งใหญ่นเรศวร สงครามเก้าทัพ ทุ่งลาดหญ้า อนุสรณ์ดอนเจดีย์ สะพานข้ามแม่น้ำแคว สุสานพันธมิตร ฯลฯ

- ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดกาญจนบุรี"เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มีความเป็นเลิศด้านการเกษตร

อุตสาหกรรมและการค้าชายแดน"ประเทศพม่ากำลังพัฒนาโครงการท่าเรือน้ำลึกที่เมืองทวาย ประเทศไทยจะมีโครงการทางพิเศษ East West Corridors สร้างถนนเชื่อมต่อจากบางใหญ่ผ่านกาญจนบุรีไปยังเมืองทวาย

2. นายสหัสนัย ยืนยงค์ อุปนายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยว จ.กาญจนบุรี

- ประชาชนมีความวิตกกังวลเรื่องความมั่นคงปลอดภัยของเขื่อนศรีนครินทร์ ควรประชาสัมพันธ์เรื่องนี้ให้ชัดเจน

- เขื่อนศรีนครินทร์มีประวัติศาสตร์เชื่อมโยงกับเจ้าขุนเณร ดังนั้นควรสร้างพิพิธภัณฑ์เพื่อเป็นสถานที่เก็บและรวบรวมเรื่องราวต่างๆทางประวัติศาสตร์และเป็นแหล่งท่องเที่ยว

- กฟผ. ควรมีการจัดตั้งแผนกพัฒนาชุมชน เพื่อให้มีการสร้างเครือข่ายกับชุมชนให้ใกล้ชิดมากขึ้น

- ศรีสวัสดิ์ โมเดล เป็นต้นแบบให้ผู้ประกอบการพัฒนาและกำหนดมาตรฐานสำหรับการท่องเที่ยวและแพพัก

- กฟผ.หรือหน่วยงานที่เกี่ยงข้องควรให้ความช่วยเหลือชุมชนเพื่อให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับการพัฒนาการท่องเที่ยว

3. นายปณต สังข์สมบูรณ์ พลังงานจังหวัดกาญจนบุรี

- จ.กาญจนบุรี มีวัสดุเหลือใช้การเกษตรมาก ได้แก่ ยอดอ้อย ใบอ้อย เหง้ามันสำปะหลัง สามารถนำมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวล เช่น โรงน้ำตาล

- ศ.ดร.จีระให้ข้อเสนอแนะว่า กฟผ. ควรทำวิจัยเรื่อง Energy Pack ว่าเป็นประโยชน์ต่อ กฟผ. ในภาพรวมอย่างไรบ้าง และมีปัญหาอุปสรรคอะไร
4. คุณยุทธการ มากพันธ์ NGO ตัวแทนชุมชน

- กฟผ. ควรเปลี่ยนวิธีคิด ในการผลิตไฟฟ้าซึ่งควรจะกระจายแหล่งผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กไปให้ชุมชนดำเนินการ โดยเฉพาะการใช้พลังงานทางเลือก และ กฟผ.ทำหน้าที่รับซื้อ ทั้งนี้เพื่อสร้างเครือข่ายผู้ผลิตไฟฟ้า

- บทบาทของ กฟผ. มี 2 ส่วน ส่วนดี เมื่อไฟฟ้าดับ เป็นพระเอก และส่วนเสีย คือการขึ้นค่า Ft

5. คุณคเชนทร์ พูนจันทร์ ตัวแทนภาคธุรกิจ (บริษัท SCG รง. วังศาลา)

- การสร้างเครือข่ายชุมชน จะต้องใช้ทั้งเวลาและเงิน ต้องทำความดีอย่างต่อเนื่องใช้เวลานาน กว่าชุมชนจะยอมรับ

- งาน CSR ของ SCG คือ รายได้ : สร้างงานให้กับชุมชน สังคม :ร่วมมือในการพัฒนาชุมชนและการศึกษา

สิ่งแวดล้อม : เลือกใช้เทคโนโลยีที่มีผลกระทบน้อยที่สุดหรือใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า

1. ผู้จัดการทุกคนต้องมีส่วนร่วมกิจกรรมกับชุมชน ใช้หลักการ One Community One Manager การทำงานกับชุมชนต้องทำในเชิงลึก ประกอบด้วย

2. สำรวจความต้องการชุมชน

3. มุ่งสร้างประโยชน์

4. มีความจริงใจ

5. มิตรภาพเป็นสิ่งสำคัญ

6. ความโปร่งใส ให้ข้อมูล

7. ประชาสัมพันธ์ : ไม่มากเกินจริง

สรุป การมีเครือข่าย CSR ที่ดีทำให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ผ่านการกลั่นกรองแล้ว และมุมมองรอบด้าน สามารถนำมาปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

HR for Non HR และการปรับใช้กับงาน CSR ของ กฟผ. โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

1. คนเป็นทรัพยากรที่มีค่าและสำคัญที่สุด
การมองภาพทรัพยากรมนุษย์จาก Macro สู่ Micro

2. กระแสโลกาภิวัตน์ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอย่างรวดเร็วและไม่สามารถคาดการณ์ได้
เราต้องพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนตลอดเวลา เช่นกัน

“ If we don’t change we perish” Peter Drucker

“Change before you are forced to change” Jack Welch

3. เนื่องจากภารกิจหน้าที่ของ กฟผ. เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมาก งาน HR จึงต้องปรับเปลี่ยน HR
ยุคใหม่แตกต่างจาก HR ยุคเก่า ดังนี้

- ลักษณะงาน เป็นงานด้านกลยุทธ์ (Strategic) ไม่ใช่งานประจำ (Routine)

- ผู้รับผิดชอบ ผู้บริหารระดับสูง (CEO) และหน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่HR (Non HR)

- การเรียนรู้ (Learning) ไม่ใช่การฝึกอบรม (Training)

- ความรู้ (Knowledge) ไม่ใช่ ข้อมูล (Information)

- มีพันธมิตรร่วมดำเนินการ (Partnership) แทนดำเนินการโดยลำพังหน่วยงานเดียว (Standalone)

- มีมูลค่าเพิ่ม (Value Added) แทนมีมูลค่า (Value)

- ใช้ระบบ Respect & Dignity แทน Command & Control

- Macro to Micro แทน Micro

4. การบริหารทุนมนุษย์ให้ประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย 3 เรื่อง คือ ปลูก เก็บเกี่ยว และ Execution
ช่วงปลูก ใช้ทฤษฎีทุน 8 K’s ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความสุข ทุนทางสังคม ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนทาง IT ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ และทฤษฎีทุนใหม่ 5K’s ได้แก่ ทุนแห่งการสร้างสรรค์ ทุนแห่งความรู้ ทุนทางนวัตกรรม ทุนทางอารมณ์ และทุนทางวัฒนธรรม

5. ช่วงเก็บเกี่ยวใช้ ทฤษฎี 3 วงกลม และ ทฤษฎี HRDS (สร้างทุนแห่งความสุข)

6. ช่วง Execution คือ การลงมือทำให้สำเร็จ และสร้าง 3 V คือ Value Added Value Creation และ Value Diversify

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557

หัวข้อ “Arts& Feelings of presentation (เทคนิคการนำเสนออย่างทรงพลังและประทับใจ)โดย อ.จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล

1. ได้ฝึกแสดงออกโดยใช้ภาษา ท่าทาง ภาษาพูด คิดเนื้อหาที่พูด โดยไม่ทราบล่วงหน้า เป็นการฝึกการใช้สมองซีกขวาคิดและจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ ภาษากายจะดึงดูดความสนใจของผู้ชมได้มากถึง 55% น้ำเสียง 38%
และ คำพูด 7% ดังนั้นการนำเสนอที่ประทับใจควรฝึกใช้ภาษากายและน้ำเสียงให้มาก

2. กิจกรรมที่ 1 และ 2 การแสดงเป็นท่าทางของตัวการ์ตูนและภาพยนตร์ ที่โปรด เป็นการฝึกจินตนาการและแสดงท่าทางเพื่อสื่อให้ผู้ชมได้เข้าใจ กิจกรรมที่ 3 เป็นการฝึกความคิดสร้างสรรค์จากรูปภาพที่ให้ ทำให้ได้ความคิดในมุมมองต่างๆจากการระดมสมองของกลุ่มต่างๆ

3. จากการฝึกดังกล่าวสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน โดยจุดประกายให้เพื่อนร่วมงาน ได้มีโอกาสเสนอความคิดสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่งานได้

4. ได้ฝึกการนำเสนอในเรื่องที่ไม่ได้เตรียมตัวมาก่อน ภายใต้สภาวะกดดัน เช่น การขัดจังหวะการพูด

5. ได้เรียนรู้เทคนิคการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น การเน้นที่ผู้นำเสนอ การปรับเวทีให้เจิดจ้า การใช้กลิ่นหอมสร้างความประทับใจให้ผู้ใช้บริการ

Panel Discussion หัวข้อ“นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน (Social Innovation)” โดย ดร.จีระเดช ดิสกะปะกาย

1. ความรู้ด้านนวัตกรรมCSR ของ กฟผ. ได้แก่ ขั้นตอนการทำ CSR และรางวัลที่ กฟผ. ได้รับ การทำ CSR สังคมไกล CSR. ในองค์กร และ CSR สังคมใกล้

2. กิจกรรมCSR ของ กฟผ. เช่น โครงการปลูกป่า ชีววิถี เครื่องใช้ไฟฟ้า เบอร์ 5 โรงไฟฟ้าพลังน้ำบ้านคลองเรือ ฯลฯ

3. แนวทางการทำ CSR ในมุมมอง กฟผ. เช่น คำนึงถึงสังคม พัฒนาอย่างยั่งยืน บรรเทาผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ทำให้ดีกว่ามาตรฐาน และความรับผิดชอบต่อสังคม

4.CSR ในมุมมองของปราชญ์ชาวบ้าน (ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์) สร้างกระบวนการเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชน
โดยการนำเทคโนโลยีการสื่อสารอินเตอร์เนท และ Face Book มาช่วยในการค้นหาข้อมูลและคำตอบ ทำให้เกิดความอยากรู้ อยากเห็น เกิดสังคมการเรียนรู้ สร้างองค์ความรู้ที่หลากหลายจากภูมิปัญญาในท้องถิ่นและขยายกว้างสู่ความรู้จากภายนอก เช่น การเพาะเห็ด กาแฟชะมด เมล็ดหมามุ้ย การผลิตแม่ไก่ไข่ การแปรรูปอาหารเมนูไก่ การปลูกกล้วยเทพรส ฯลฯ

5. กิจกรรม CSR ในชุมชนควรให้ชุมชนได้ใช้องค์ความรู้ร่วมกันคิดกิจกรรมเพื่อพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิตให้เหมาะสมกับท้องถิ่น

6. การใช้นวัตกรรมที่ทำให้ประโยชน์ต่อองค์กร และสังคม ตัวอย่าง กฟภ. ชึ่งมีภารกิจงานขยายสายไฟฟ้าไปยังผู้ใช้ไฟฟ้าไปยังภาคต่างๆ ทั่วประเทศ กว่า 16 ล้านราย ความยาว 800,000 กม. โดยใช้ Social Innovation ในการจัดการองค์กร ซึงมีปัญหาการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การขับเคลื่อนองค์การแห่งการเรียนรู้ การสร้าง Awareness ปัญหาการลงทุนที่น่าจะขาดทุน แต่ต้องทำเพื่อประชาชนและสังคม และสามารถทำสำเร็จได้โดยไม่ขาดทุน เนื่องจากไฟฟ้าช่วยกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

หัวข้อ การสร้างเครื่องมือและการสุ่มตัวอย่างและสถิติเบื้องต้นสำหรับการทำวิจัยโดย อาจารย์กิตติ ชยางคกุล

- หัวข้อวิจัยกลุ่ม 4 คือ การศึกษาทัศนคติของคน กฟผ"ต่อการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่

- ประเด็นปัญหา กฟผ. ในปี 2010 เนื่องจากผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. ปัจจุบันยังขาดความรู้และความเข้าใจในภารกิจทิศทางและแผนการดำเนินงานสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ของ กฟผ. และมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน และไม่เป็นแนวทางเดียวกัน
จึงทำให้การพัฒนาโรงไฟฟ้าของ กฟผ.ในพื้นที่ต่างๆไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ปฏิบัติเท่าที่ควร ขาดเอกภาพในการดำเนินงาน และมีกระแสต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่โครงการ การศึกษาทัศนคติของคน กฟผ.เรื่องการสร้างโรงไฟฟ้าจะเป็นประโยชน์ ทำให้ทราบความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงาน ตลอดจนทราบปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการร่วมกันพัฒนาโรงไฟฟ้า

- อ.กิตติ ให้ข้อคิดเห็นว่า ประเด็นปัญหาด้านทัศนคติของคน กฟผ. คือประเด็นใด และเป็นปัญหาจริงหรือไม่ ให้พิสูจน์และหาข้อมูลสนับสนุน เพื่อจะได้กำหนดกรอบการศึกษาต่อไป

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557

กิจกรรม CSR : ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม : ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรและพลังงานทางเลือก จ.กาญจนบุรี

ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม พื้นที่ 14 ไร่ โดยคุณทิวาพร ศรีวรกุล เป็นศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ของเกษตรกร เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง คิดแบบเดิม ทำแบบเดิม ประสบความสำเร็จยาก ต้องทำเกษตรแบบปราณีต

เน้นในเรื่องของสิ่งที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่นลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ปลูกพืชผัก พบปะไปมาหาสู่กัน เยี่ยมเพื่อนและทำให้สามารถบริหารจัดการตัวเองได้โดยสอนให้มีความรอบรู้ ร่วมกัน

สิ่งที่ได้รับ...

1. ได้เรียนรู้วิถีชีวิตแบบพอเพียงประกอบด้วยฐานความรู้ 8 ฐาน ได้แก่ เศรษฐกิจพอเพียง เกษตรธรรมชาติ หมูหลุม
ปุ๋ยธรรมชาติ ก๊าซชีวภาพ น้ำยาเอนกประสงค์ น้ำส้มควัน และการแปรรูปอาหาร

2. ศูนย์กสิกรรมฯช่วยส่งเสริมให้เกษตรกรที่เข้าโครงการพักชำระหนี้ ได้ค้นหาอาชีพของตนเอง เข้าสู่กระบวนการกลุ่มเพื่อดึงศักยภาพในตัวเองและเห็นคุณค่าของตัวเอง ยกระดับจิตใจและสถานะของเกษตรกร

3. คนในสังคมปัจจุบันยังไม่เข้าใจบทบาทและสถานะของตนเอง“ประเทศไทยไม่ได้มีสถานะเป็นหน่วยเศรษฐกิจและธุรกิจที่หมกมุ่นแต่การค้าขายและเงินตรา แต่มีความหมายเป็นหน่วยสังคมชีวิตและอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน ตั้งแต่ครอบครัว หมู่คณะ และประเทศ”

4. ประเทศไทยมีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์โดยเฉพาะการผลิตอาหาร ในอนาคตที่ประชากรโลกเพิ่มมากขึ้น บทบาทของเกษตรกรไทยจะมีความสำคัญต่อโลกมาก

5. ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรที่สามารถใช้แทนยาได้ เช่น

  • ฟักข้าว มีสารไลโคปีน ช่วยต้านเซลล์มะเร็ง รักษาวัณโรคปอด แผล ฝี หนอง
  • สาบเสือ ป้องกันเลือดออก ช้ำใน ไล่แมลง
  • ผกากรอง เก็บดอกตำใช้พอก แก้ปวด บวม ผื่นคัน
  • สบู่ดำ แก้ปากนกกระจอก
  • หญ้าพันงู แก้นิ่ว
  • สะเดา ใช้ไล่แมลง
  • น้อยหน่า เมล็ดตำใช้ไล่แมลง ปวดเข่า

. หางไหล(โล่ติ๊น) ใช้ไล่แมลง

. ใบหนาด ใช้ดองศพไม่ให้เน่าได้ มีคุณสมบัติฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ใบสดแก้ท้องอืด

. แมงลัก สารสกัดสามารถค่าเชื้อแบคทีเรีย สามารถใช้ไล่แมลงได้

. กัญชาป่า สรรพคุณ ลดเบาหวาน รักษาอาการนอนไม่หลับ

6. แหล่งพลังงานของโลก คือดวงอาทิตย์ ตราบใดที่ยังมีพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานจะไม่หมดไปจากโลก

พลังงานทดแทน (คุณยุทธการ ศรีวรกุล )

พลังงานทดแทนประเภทต่างๆที่สามารถหาได้จากธรรมชาติรอบตัว ได้แก่ แผงโซล่าเซล เครื่องทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ กังหันลม ชีวมวล น้ำมันจากพลาสติก พลังน้ำ ขยะ หญ้าเนเปียร์ เผาถ่านแบบ Gasification

สรุป... ได้เรียนรู้วิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง การนำภูมิปัญญาท้องถิ่น ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ มาปรับใช้กับทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างเหมาะสมและสมดุล เพื่อให้เกิดสังคมที่มีความเป็นอยู่อย่างพอเพียงและยั่งยืน

นายสมบูรณ์ ดำรงสุสกุล EADP#10 กลุ่ม 4

การบ้านคุณศุภนนาฏ ล้ำเลิศ ช่วงไปกาญจนบุรีอยู่ในลิ้งค์นี้

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/001...

สมพงษ์ ทวีสุขเสถียร

สมพงษ์ ทวีสุขเสถียร/EADP10

12 กุมภาพันธ์ 2557

หัวข้อ : Arts and Feeling Presentation

การทำให้ผู้ฟังหรือผู้ดูสนใจและจดจำได้ เกิดจากการสื่อสารในด้าน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ซึ่งสิ่งที่จะดึงดูดความสนใจ คือ

ภาษากาย มีผล 55 % ภาษาพูด 7 % น้ำเสียง 38 %

การทำกิจกรรมใน Work Shop ส่งเสริมการคิดนอกกรอบ การสามารถดึงศักยภาพที่มีอยู่ออกมาเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การทำงานเป็นทีม ความคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้เทคนิคการนำเสนอที่เน้นภาษากาย น้ำเสียง ซึ่งจะสามารถทำให้ผู้ฟังจดจำและมีความประทับใจได้

หัวข้อ : นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน (Social Innovation) กับการทำงานของ กฟผ.

คุณรังสรรค์ อัฐมโนลาภ ผู้ช่วยผู้ว่าการกิจการสังคม กฟผ. ได้กล่าวถึง EGAT CSR เน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน และ กฟผ. ทำได้ดีกว่ามาตรฐาน ได้รับรางวัล CSR ดีเด่นของ สคร. มาแล้ว เช่น โรงไฟฟ้าชุมชนบ้านคลองเรือ โครงการชีววิถี

การทำ CSR ต้องเริ่มจากภายใน ต้องมี CSR in Process ทำแล้วต้องมีการประเมิน ตรวจสอบ แล้วปรับปรุงต่อยอดให้ CSR ยั่งยืน

ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤกษ์ ปราชญ์ชาวบ้านผู้มีผลงานมากมาย เน้นให้ชาวบ้านต้องเรียนรู้และอยู่ได้ด้วยตัวเอง สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น IT ซึ่งครูบาเคยได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวด IT พัฒนาชุมชนของธนาคารโลก โดยครูบาเป็นต้นแบบของชุมชน เป็นผู้ที่สร้างความอยากเรียนรู้ให้ชุมชน

คุณสุทธิเดช สุทธิสมณ์ จาก กฟภ. พูดถึงภารกิจการขยายไฟฟ้าสู่ชนบททั่วประเทศ ซึ่งเป็นการลงทุนที่ใช้เงินสูง แต่สามารถทำสำเร็จได้ใน 35 ปี ใช้เงิน 74,000 ล้านบาท ซึ่งช่วยให้ชนบทมีการพัฒนาเศรษฐกิจดีขึ้น สรุปว่าการลงทุนใน InFra-structure เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อชมข่าวโครงการ

http://www.youtube.com/watch?v=UTKDcTbwm8k

ที่มา: รายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ตอน ครบรอบ 10 ปีพัฒนาทุนมนุษย์ที่กฟผ. ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง TGN

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อชมข่าวโครงการ

http://www.youtube.com/watch?v=wE_VRYGJgfQ

ที่มา: รายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง TGN

กลุ่มที่ 1 เรียนรู้จากบทความ Schooling Business

ความรู้จากการอ่านเอกสาร Schooling Business

1.Wharton Executive Education Custom Program

เป็นเอกสารที่เกี่ยวกับ Wharton Executive Education Custom Program ซึ่งสามารถดำเนินการจัดการอบรมแบบยืดหยุ่น ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม ระหว่างลูกค้ากับคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยเพนเซิลเวเนีย ทำให้การเรียนรู้ตรงกับความต้องการของบริษัท หรือองค์กรได้อย่างสมบูรณ์ พนักงานจะได้รับทักษะ และข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นในการเรียนรู้โดยตรง

โปรแกรมการต่อยอดนี้ ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ทรงพลังซึ่งสามารถถ่ายโอน และนำเนื้อหาลงสู่การปฏิบัติได้โดยตรง ได้รับผลลัพธ์ที่สามารถวัดได้ สร้างปัจจัยที่รวดเร็ว เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลง และความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ

2.Skillsoft

เป็นผู้นำทางอุตสาหกรรม และผู้บุกเบิกการจัดทำหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรให้แก่ องค์กร ใช้ประโยชน์จาก E-learning ทำให้ผู้นำทางธุรกิจ สามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องรอเรียนรู้ในห้องเรียน และการฝึกอบรมแบบดั้งเดิม

Skillsoft สามารถกระจายการเรียนรู้และถ่ายโอนลงสู่พนักงานปฏิบัติ ได้ทุกประเภท ทักษะเชิงธุรกิจไปจนถึงทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การฝึกอบรมโดยใช้ desktop สอดคล้องกับมาตรฐานที่ปรากฏบนเว็บไซต์ ทำได้ทุกที่ทั่วโลก และบนอุปกรณ์ที่ลูกค้าเลือกใช้

สิ่งที่สำคัญคือ Skillsoft ช่วยให้องค์กรสามารถนำกลยุทธ์ที่เติมเต็มช่องว่างที่สำคัญ และขับเคลื่อนผลลัพธ์ทางธุรกิจได้แบบ Cost Effective เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผลสูง

สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการอบรมครั้งนี้

1. การอบรมซึ่งดำเนินการโดย อ.จิระ หงส์ลดารมภ์ มูลนิธิทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ มีการอบรมโดยให้ความรู้ และเปิดโอกาสให้ผู้เข้าอบรมได้แสดงความเห็น เหมือนกับลักษณะมีส่วนร่วมกับหลักสูตรซึ่งเกิดประโยชน์ กระตุ้นให้ผู้เข้าอบรมนำข้อมูลของตัวเอง ผนวกเข้ากับความรู้ที่ได้รับ นำไปปฏิบัติหลังจากอบรม ประโยชน์เหมือนกันกับ Wharton Executive Education Custom Program

2. หลักสูตรของ อ.จิระฯ ได้ ต่อยอดในเรื่องของ การได้รับทักษะและข้อมูลข่าวสารที่ความจำเป็น ในการนำไปใช้เรียนรู้ในกฟผ. โดยส่งเสริมให้เกิดการค้นคว้า และการอ่านโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งผู้เข้าอบรมสามารถดำเนินการเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง เติมเต็มในสิ่งที่ตัวเองไม่รู้ มีการแพร่กระจาย และแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ผ่าน Network Blog : Chira Academy ทำให้เกิดการเรียนรู้ในลักษณะเดียวกับ Skillsoft และสนับสนุน ความเป็น Global Networking Leadership ของผู้บริหารของ กฟผ.

ถึงลูกศิษย์ EADP 10 ทุกท่าน

ผมขอขอบคุณท่านประธาน รองประธาน และสมาชิกทุกท่านที่ส่งการบ้านมาเป็นประจำ โดยเฉพาะบทความที่พูดถึงหลักสูตรของ Wharton

อีกไม่กีวันก็จะพบกันอีกครั้ง แต่การบ้านที่สำคัญคือหนังสือที่ให้แต่ละกลุ่มทำการบ้าน คือ the renaissance ซึ่งคงต้องแบ่งกันอ่าน และสรุปประเด็นเพื่อรองรับกฟผ.ในอนาคต

บทสรุปคือ ผู้เขียนพูดถึงthe renaissanceว่า เป็นปรากฎการณ์ยุโรปสมัยศตวรรษที่ 40 มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องแนวคิด ปรับปรุงให้หลุดพ้นจากความคิดเก่าๆ ซึ่งคล้ายกับการเปลี่ยนแปลงกฟผ. คือจาก engineering organization เป็น organization for people

ซึ่งผู้เขียน 2 คน กำหนดอนาคตที่เป็นแนวโน้มหลายเรื่องซึ่งจะเป็นประโยชน์กับกฟผ.

ขอให้แต่ละกลุ่มเลือกหัวข้อ 4-5 หัวข้อ และวิเคราะห์ประเด็นที่สามารถประยุกต์กับกฟผ.

หากได้ A+ ก็ขอให้วิเคราะห์แนวโน้มในอนาคตซึ่งผู้เขียนทั้ง 2 ท่าน ไม่ได้นำเสนอ แต่สามารถที่นำไปใช้ที่กฟผ.ได้

ณรงค์ศักดิ์ เขียวรำภา

โครงการบัลวีบำบัด

  • ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการรักษาโรคแบบไม่ใช้ยา ความเจ็บป่วยจากการใช้เชีวิตประจำวันซึ่งเกิดจากการกินอาหารซึ่งเมื่อมีการปรับพฤติกรรมโรคบางโรคจะหายได้เอง
  • กลุ่มของโรคความเสื่อมของร่างกายเช่นโรคอ้วน,โรคเบาหวานซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพของโลกในปัจจุบันซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนพฤติกรรมในการกิน
  • การจะตัดสินว่าอ้วนหรือไม่อ้วนให้ดูที่ 2 อย่าง
    • ดัชนีมวลกาย(BMI)= นน.เป็น กก./ส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลัง2 ปกติจะอยู่ในช่วง20-25 มากกว่า 25 อ้วน มากกว่า 30 โรคอ้วน
    • รอบพุงระดับสะดือ ผู้หญิง≤ 80 ซ.ม. ผู้ชาย ≤ 90ซ.ม.
  • ฮอร์โมนจากไขมันในพุงที่สร้างความอ่อนเยาว์ ได้แก่ อดิโปเนคติน,อดิบซิน ที่ทำหน้าที่กำจัดเซลผิดปกติในร่างกายได้แก่ ทิวเมอร์ นิโครซิส แฟคเตอร์
  • คาร์โบไฮเดรด(แป้ง)เป็นศัตรูตัวร้ายที่ทำให้อ้วนควรกินให้พอดีและออกกำลังกายให้เหมาะสม สิ่งที่แนะนำคือควรบริโภคแป้งให้น้อยเปลี่ยนไปกินเส้นบุกแทน ควรกินโปรตีน(เนื้อสัตว์)1ส่วนเช่นไก่ย่าง กินผัก 2 ส่วน และให้ระวังผลไม้ที่มีรสหวาน
  • ผลต่อเนื่องถ้าบริโภคแป้งมากจะทำให้น้ำตาลในเลือดสูงมีผลให้ไตรกีเซอร์ไรด์และคลอเรสเตอรอลสูงขึ้นด้วย
  • ผลของการกินยาลดไขมันจะทำให้ไขมันจากกระแสเลือดไปพอกที่ตับตับจะเกิดการอักเสบถ้ากินติดต่อกัน 5-10ปีอาจเป็นตับแข็งได้
  • เป็นหวัดร้อนให้กินวิตามินซีกับสมุนไพรฟ้าทลายโจร ถ้าเป็นหวัดเย็นให้กินฟ้าทะลายโจรกับขมิ้นช้น
  • โรคภูมิแพ้,ลมพิษ,หอบหืดให้งดทานนมวัวให้ทายนมถั่วเหลือง(เจ)แทน
  • การออกกำลังกายในน้ำระดับอกจะช่วยลดน้ำหนักได้ถึง 70%
  • การเข้าอบร่างกายด้วยระบบเซาน่าควรใช้เวลาในการเข้าอบไม่ควรเกินครั้งละ 5 นาที หลังจากนั้นให้ลงไปอาบน้ำเย็นประมาณ2-3 นาทีสลับกันไปเพื่อให้เลือดกลับมาเลี้ยงสมองอีกครั้ง ข้อควรระวังการอบด้วยความร้อนนานเกินไปจะทำให้เลือดไม่ไปเลี้ยงสมองอาจทำให้หน้ามืดหรือเวียนศรีษะได้สำหรับคนที่มีโรคเกี่ยวกับความดันโลหิตควรระมัดระวัง

ถึงลูกศิษย์ EADP 10 ทุกท่าน

ผมขอขอบคุณท่านประธาน รองประธาน และสมาชิกทุกท่านที่ส่งการบ้านมาเป็นประจำ โดยเฉพาะบทความที่พูดถึงหลักสูตรของ Wharton

อีกไม่กีวันก็จะพบกันอีกครั้ง แต่การบ้านที่สำคัญคือหนังสือที่ให้แต่ละกลุ่มทำการบ้าน คือ the renaissance ซึ่งคงต้องแบ่งกันอ่าน และสรุปประเด็นเพื่อรองรับกฟผ.ในอนาคต

บทสรุปคือ ผู้เขียนพูดถึงthe renaissanceว่า เป็นปรากฎการณ์ยุโรปสมัยศตวรรษที่ 14-15 มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องแนวคิด ปรับปรุงให้หลุดพ้นจากความคิดเก่าๆ ซึ่งคล้ายกับการเปลี่ยนแปลงกฟผ. คือจาก engineering organization เป็น organization for people

ซึ่งผู้เขียน 2 คน กำหนดอนาคตที่เป็นแนวโน้มหลายเรื่องซึ่งจะเป็นประโยชน์กับกฟผ.

ขอให้แต่ละกลุ่มเลือกหัวข้อ 4-5 หัวข้อ และวิเคราะห์ประเด็นที่สามารถประยุกต์กับกฟผ.

หากได้ A+ ก็ขอให้วิเคราะห์แนวโน้มในอนาคตซึ่งผู้เขียนทั้ง 2 ท่าน ไม่ได้นำเสนอ แต่สามารถที่นำไปใช้ที่กฟผ.ได้

การเดินทางพันไมล์เริ่มที่การก้าวย่างที่ละก้าว

ก้าวที่ ๓

สรุปผลที่ได้จากการอบรมช่วงที่ ๒ ระหว่างวันที่ ๑๐-๑๓ กพ ๒๕๕๗

วันที่ ๑๐ กุมภาพพันธ์ ๒๕๕๗

กิจกรรมรักษ์กาย ณ ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี (สามเสน) กรุงเทพฯ

ช่วงเช้า : ก่อนรับการอบรมก็ทำการตรวจเช็คสภาพร่างกาย เช่นส่วนสูง น้ำหนัก และ ค่า BMI เป็นต้น ซึ่งในส่วนนี้พบว่าค่า BMI ของกระผมสูงกว่าเกณฑ์นิดหน่อย คือต้องทำการลดน้ำหนักลงมาอีก ๕ กิโลกรัม

เข้าฟังการบรรยาย โดยท่านนายแพทย์บรรจบ เรื่อง ธรรมชาติบำบัดปรับชีวิต เปลี่ยนอาหาร หลักการแพทย์พอเพียงสรุปว่า ที่ผ่านมาเราเองก็บริโภคอาหารเกินความจำเป็นและไม่สอดคล้องกับความต้องการและกิจกรรมที่รองรับ ทำให้เกิดการเจ็บป่วย ซึ่งสามารถใช้การรักษาโดยธรรมชาติ อันนำไปสู่การแก้ไขเพื่อปรับชีวิตให้สมดุลย์และยั่งยืน ตามวัย

ฟังการบรรยายโดย พญ.ลลิตตา เรื่อง วารีบำบัด สร้างเสริมสุขภาพ

สรุปว่า มีกิจกรรมที่ส่วนส่งเสริม รักษา และบรรเทาความเจ็บป่วย หรือช่วยรักษาตามลักษณะความเจ็บป่วย วเพศ และวัย

ช่วงบ่าย ทำกิจกรรม Hydro Aerobics เป็นการออกกำลังกายในน้ำที่ได้ทั้งบรรยากาศและพละกำลัง การที่ต้องผยุงตัว ในกระแสน้ำทุกทิศทาง และการเคลื่อนไหวตัวที่ค่อนข้างหนักอันเกิดจากแรงต้านของน้ำ ได้ก่อให้เกิดพลังและแรงบันดาลใจให้เพลิดเพลิน และออกกำลังกายได้เป็นอย่างดี ,อบสมุนไพร อันนี้เหมือนหม้ออบอย่างดี คลุกคล้าวไปด้วยกลิ่นอายของสมุนไพร ในสูดกลิ่นไอ เป็นการพักผ่อนอย่างดีที่สุด และซาวน่า ทั้งร้อนและเย็นจัด ทำให้รับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลง การตั้งรับ และการปรับสภาพเพื่อคืนสู่สภาพปกติ

วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗

ช่วงเช้าเดินทางสู่เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๓ ชั่วโมงครึ่ง

ช่วงสาย Net Working Capital กับการพัฒนาชุมชน

ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี: ท่านแนะนำจังหวัดให้ทราบถึงวิสัยทัศน์ ภารการกิจ และกิจกรรม โดยจังหวัดแบ่งเป็น ๓ โซน โซนท่องเที่ยวอนุรักษ์ โซนเศรษฐกิจ และโซนอีสานที่ต้องการการพัฒนา จังหวัดได้ชื่อเรื่องความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ชาติไทย บุคคลสำคัญ และเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ของโลก การดำเนินการต่างๆต้องให้สอดคล้องตามบริบทของวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ของชนในท้องถิ่นนั้นๆ

คุณสหัสนัย ผู้แทนการท่องเที่ยวเอกชน: การสร้างกิจกรรมผ่านการท่องเที่ยวของจังหวัด ซึ่งต้องการความมั่นใจของสภาพเขื่อนเป็นหลัก ที่ผ่านมาเมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว กฟผ. ขาดการประชาสัมพันธ์ และทำ PR น้อยเกินไป ควรจัดทำแหล่งพิพิธพันธ์ เพื่อเล่าความเป็นมาอย่างเป็นระบบ เป็นเรื่องราวต่อเนื่อง เพื่อประโยชน์ของชน ๔ ฝ่าย คือ จังหวัด ผู้ประกอบการ นักท่องเที่ยว และชุมชน

บทสรุป แนวทางการพัฒนาชุมชน

คุณปณต พลังงานจังหวัดกาญจนบุรี: เสนอแนวทางการสร้างการยอมรับ เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้า โดยการเข้าพื้นที่ก่อนประมาณ ๓ ปี สร้างความคุ้นเคย ก่อนการดำเนินการ อย่าเข้าหาผู้นำท้องถิ่น โรงไฟฟ้าหรือสถานประกอบการจะต้องปฏิบัติตามกฏหมายอย่างเคร่งครัด และส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ในการผลิตกระแสไฟฟ้า

บทสรุป ทำก่อนแล้ว ทวงบุญคุณทีหลัง

คุณยุทธการ NGO: คนส่วนมากจะคิดถึง กฟผ. เมื่อไฟฟ้าดับ หรือการขึ้นค่า Ft แนวทางคือสร้างเครือข่ายและส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าด้วยกระบวนการต่างๆ แหล่งพลังงานขนาดเล็ก

บทสรุป เป็นองค์ใหญ่ในการผลิตไฟฟ้า สร้างเครือข่าย และให้ประชาชนมีส่วนร่วม

คุณคเชนทร บริษัทปูนซิเมนซ์ไทย: เน้นการถือมั่นและรับผิดชอบต่อสังคม การทำความดีอย่างต่อเนื่อง แนวทางการสนับสนุนชุมชนอย่างยั่งยืน การทำงานในเชิงรุก และการกระจายแนวคิดสู่สังคมชนบททุกระดับ การสำรวจความต้องการของชุมชน มุ่งสร้างประโยชน์ และมีมิตรภาพ จริงใจ

บทสรุป ทำด้วยเครือข่าย ให้ความรู้ เป็น Business Partnership

วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ช่วงบ่าย

HR for non HR และการปรับใช้กับงาน CSR กฟผ. : ดร.จีระ

รอบบ่ายนี้ได้มีโอกาสเรียนรู้จากท่านอาจารย์จีระ และจากบทความ หนังสือตัวอย่างที่ท่านนำมาเสนอน่าสนใจมากมายซึ่งมันทำให้เรารู้ว่าการทำงานทางด้าน HR นั้นเกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำ จะต้องเป็นผู้นำเพื่อสร้างผู้นำ บทบาทนี้กลุ่มงานที่เป็น non HR จะทำได้ดีกว่า Hr เพราะว่ารู้ Talent ของลูกน้องดี จะต้องเป็น HR สมัยใหม่ เพราะถือว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดขององค์กร ตามคติจีนที่ว่าปลูกพืชล้มลุก พืชยืนต้นใช้เวลาช่วงหนึ่ง แต่พัฒนาคนใช้เวลาทั้งชีวิต หรือใช้แนวทางของ Peter Drucker คือเปลี่ยนเสียก่อนที่จะถูกบังคับเปลี่ยน อนาคต กฟผ. จะใช้ HR function อย่างเดียวไม่พอ ต้องมี Line function และ Non HR มาช่วยมากขึ้น การบริหารสู่ความสำเร็จใช้ทฤษฎีทุน ๘ ประการ การสร้างเครือข่าย ทฤษฏี HRDS (Happiness , Respect ,Dignity, and Sustainability และการลงมือทำให้สำเร็จ

วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ เช้าเทคนิคการนำเสนออย่างทรงพลังและประทับใจ

อาจารย์จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล

เช้านี้ได้มีโอกาสเสนอแนวคิดจากรูปภาพที่ถูกตบแต่งขึ้น การออก Acting ในเรื่องราวที่ถูกสมมุติเป็นตัวละครต่างๆ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า การพูดในเวทีสาธารณะ ทั้งในสภาวะปกติ และการถูกรบกวน

ประเด็นที่ได้จากบทเรียนนี้คือการรู้จักปรับตัว การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า การมีสมาธิในเรื่องราวที่กำลังเจรจา เป็นต้น

Reflection นำไปสู่การ Creation และ Presentation

และ Preparation to design and delivery

บุคลิกภาพเกิดจากภายใน ๗% เสียง ๓๘% และท่าทาง ๕๕ %

วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ช่วงบ่าย

นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน : ครูบาสุทธินันท์ ,คุณรังสรรค์ และคุณสุทธิเดช

คุณรังสรรค์ : แนวทางการดำเนินงานของ กฟผ. คำนึงถึงสังคม ป้องกันและบรรเทา การทำงานให้ดีกว่ามาตราฐาน การสร้างวัฒนธรรมด้าน CSR และการทำ CSR เชิงลึก

ครูบาสุทธินันท์: หัวใจในการพัฒนาชุมชนคือ ให้ชุมชนเป็นผู้เรียนรู้ ชุมชนเรียนรู้จากกลุ่มของตนเอง และสนับสนุนโครงการไว ที่ได้ผลชัด คิดโครงการง่ายๆ ยุให้เกิดแนวคิด มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็น สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ทำให้เกิดการพึ่งพา เห็นอกเห็นใจกัน

รู้ใจก่อนรู้ตัว รู้ศึกษาคนที่จะมาสร้างความสัมพันธ์ ให้ความรู้สึกที่สัมผัสได้ จากคนรู้จักสู่เพื่อนที่สนิท ใจเชื่อมใจและไม่มีกฏระเบียบ

คุณสุทธิเดช : Social Innovation จะทำให้ชุมชนยอมรับเราได้อย่างไร สร้างการตระหนัก ความรู้ และพัฒนาสู่การเรียนรู้ และการมีส่วนร่วม ซึ่งบางเรื่องสามารถทำได้เลย การทำ PR ในทุกส่วนขององค์กร และการสร้าง Net Work

วันที่ ๑๓ กุมพาพันธ์ ๒๕๕๗

กิจกรรม CSR : ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม ศูนย์พัฒนาเทคโลยีการเกษตรและพลังงานทางเลือก

ช่วงเช้า: ได้มีโอกาสรับฟังการบรรยายเรื่องวิถีชีวิต การดำรงชีวิต การอยู่ร่วมกับธรรมชาติ โดยวิทยากรผู้ทรงคุณภาพ

และการบรรยายเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตร และพลังงานทางเลือก

ช่วงบ่าย: ได้ลงสนามดูอุปกรณ์เครื่องมือ และศึกษาการดำเนินการต่างๆ ทั้งทางด้านเทคโนโลยีการเกษตรและพลังงานทางเลือก

Assignment 2 ภาวะผู้นำของ CEO Microsoft และการประยุกต์ใช้กับ กฟผ.

CEO Microsoft EGAT Characteristics
Bill Gate ดร.เกษม

ฯพณฯกำธน

มีวิสัยทัศน์กว้างไกล วางกลยุท์ในการดำเนินธุรกิจ ปลุกระดมวามคิด การเป็นนักเจรจาต่อรอง และเข้าใจบทบาทตัวเอง การวาดความหวังและคาดการณ์อนาคต

การประยุกต์ใช้ : เป็นยุคบุกเบิก ต้องการภาวะผูนำที่สูง การสร้างการยอมรับ และสร้างฐานความมั่นคงให้กับองค์กร และมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล

Steve Ballmer เผ่าพัชร

ปรีชา

สมบูรณ์

สิทธิพร

วีรวัฒน์

ไกรสีห์

สมบัติ

มีความกล้าหาญและเชื่อมั่นในตนเอง การสื่อสาร มีมนุษยสัมพันธ์ และได้รับความร่วมมือจากทุกส่วน การให้ความสำคัญกับพนักงาน บุคลากร

การประยุกต์ใช้ : เป็นช่วงหัวเลี้ยวของการดำเนินธุรกิจ ต้องเข้าใจสถานการณ์ รอบรู้ และทันต่อการเปลี่ยน และเตรียมการเพื่อเข้าสู่การเปลี่ยนแปลง

Satya Nadella สุทัศน์

สุนชัย

มีวิสัยทัศน์ด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลง ,มุ่งมั่นในการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ มีความกระตือรือร้นและแสวงหาโอกาสในการขยายตัวและพัฒนาธุรกิจ กับภารกิจใหม่

การประยุกต์ใช้ : มุ่งเน้นการพัฒนาด้วยเทคโนฯใหม่ การสร้างเครือข่าย และช่วงชิงความเป็นผู้นำในธุรกิจนั้นๆ ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าและเป็นที่ยอมรับโดยรวม

วราวุฒิ ชวนะเวสน์

Assignment :สรุปการเรียนรู้ช่วงวันที่10-13 กุมภาพันธ์.57

วันที่ 10 กพ.57กิจกรรมรักษ์กาย ณ ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี

การกำหนอหัวข้อนี้เป็นการเน้นย้ำความสำคัญของการรักษาสุขภาพที่มีความสำคัญต่อผู้บริหาร(จริงๆก็สำคัญกับทุกคน) สิ่งที่มีผลต่อสุขภาพที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป คือการกินและการออกกำลังกาย เรื่องการกินนั้นก็ดังคำที่ว่า “You are what you eat” ซึ่งก็ดูตรงไปตรงมา แต่จริงๆก็ยากอยู่เหมือนกันเพราะมีหลายทฤษฎี เห็นด้วยกับเพื่อนบางท่านว่าต้องเข้าใจถ่องแท้ ในช่วงนี้ก็เดินสายกลางไปก่อน

สรุป ศึกษาต่อไป

วันที่ 11 กุมภาพันธ์.57

panel discussion “Networking Capital กับการพัฒนาเพื่อประชาชน”

การทำ panel discussion ทำให้ได้มุมมองในหลายด้าน หลายมุม การนำไปใช้ก็ต้องทราบว่าเป็นมุมมองเฉพาะด้านนั้น สรุปประเด็นทั่วไป ดังนี้

แนวของนักปกครอง(นายชัยวัฒน์ ลิมป์รรธนะ)

การพัฒนามีหลายด้าน ควรหาจุดที่เหมาะกับพื้นที่พัฒนาไปพร้อมกัน เช่นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เกษตรอุตสาหกรรม

แนวนักธุรกิจ(นายสหัสนัย ยืนยงค์)

การทำCSR จะก่อเกิดผลประโยชน์ด้านอื่นได้ด้วยเช่นด้านการท่องเที่ยว ด้านการพัฒนา เช่นโครงการชีววิถี โครงการปล่อยปลาหน้าเขื่อน โครงการฝ่ายชะลอน้ำ โครงการศึกษาดูงาน

กฟผ.ไม่มีบุคลากรเฉพาะที่ทำงานด้านชุมชนสัมพันธ์ บุคคลากรกฟผ.โยกย้ายบ่อยทำให้งานไม่ต่อเนื่อง

ชุมชนรอบหน่วยงานกฟผ.จะมองว่ามีช่องว่างระหว่างเขากับกฟผ.ใมแง่ความเป็นอยู่(ฐานะ)

แนวข้าราชการในแวดวงพลังงาน(นายปณต สังข์สมบูรณ์)

ขอให้กฟผ.ขยาย network มากขึ้น

การที่กฟผ.ไม่ได้เป็นผู้ดูแลกองทุนพัฒนาไฟฟ้าทำให้ไม่ได้ภาพลักษณ์ที่ดี

แนวนักพัฒนาเอกชน(นายยุทธการ มากพันธ์)

แนวคิดของกฟผ.ที่จะป็นผู้ผลิตไฟฟ้าให้ประชาชนใช้ฝ่ายเดียวนั้นในระยะยาวเป็นไปไม่ได้ เมื่อคนมากขึ้นความต้องการไฟฟ้าก็มากขึ้นตาม การผลิตอยู่ฝ่ายเดียวจึงไม่ทัน ควรปรับแนวความคิดให้ประชาชนมาร่วมกันผลิตคนละเล็กน้อยแต่เมื่อรวมกันก็ได้ไฟฟ้ามาก ปรับแนวความคิดที่จะสร้างเฉพาะรฟ.ใหญ่ๆ

แนวบริษัทเอกชนที่ทำงานCSR(นายคเชนทร์ พูนจันทร์)

ธุรกิจต้องคำนึงและสร้างความสมดุลย์ระหว่าง 3 ด้าน คือ รายได้ , สังคม , สิ่งแวดล้อม

ด้านรายได้ บริษัทมีรายได้แล้วก็ต้องสนับสนุนให้ชุมชนมีรายได้ด้วย

ด้านสังคมต้องมีการพัฒนาชุมชน ทั้งด้านสาธารณประโยชน์ และการศึกษา

ด้านสิ่งแวดล้อมต้องเลือกวิธีการผลิตที่กระทบสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด

การลงทุนสร้างเครือข่ายต้องทำก่อนโรงงานจะสร้าง ต้องใช้คนที่มีใจให้งานด้านนี้มาทำ

การอยู่ร่วมกับชุมชนต้องคิดว่าหน่วยงานของเราเป็นบ้านหลังหนึ่งในชุมชน กิจกรรมต้องให้ชุมชนเป็นที่ตั้ง SCGสนับสนุนเรื่องส่วนรวม หลีกเลี่ยงการสนับสนุนเป็นตัวเงิน

SCG ให้พนักงานทุกคนทำกิจกรรมกับชุมชน ผจก.ทุกคนต้องรับผิดชอบพื้นที่ 1-2 ตำบล

ต้องทำงานเชิงรุก อย่ารอให้มีปัญหาก่อน

HR for Non HR และการปรับใช้กับงานCSRของกฟผ.

HR มีหน้าที่ที่เป็นทั้ง leader ในขณะเดียวกันก็ต้องสร้าง leaderขึ้นในสายงานต่างๆ

การลงทุนเกี่ยวกับคนไม่ใช่เป็นหน้าที่ของHRฝ่ายเดียว Non HRก็ต้องมีส่วนร่วมทั้งสามขั้นตอน(ปลูก ,พัฒนา ,เก็บเกี่ยว) ต้องประสานความร่วมมือกัน

การพัฒนาคนต้องกระตุ้นให้เขานำความสามารถภายในออกมาสร้างความเป็นเลิศ

Non HR ต้องสนใจทั้งศาสตร์และศิลป์ ผสมผสานทั้งสองศาสตร์เข้าด้วยกัน

ด้านCSR กฟผ.พยายามปรับตัวเข้ากับชุมชน ต้องสร้างความเชื่อมั่นและความแข็งแรงให้ชุมชน

วันที่ 12 กุมภาพันธ์.57

บรรยายเรื่อง เทคนิคการนำเสนออย่างทรงพลังและประทับใจ (Art & Feeling)

โดย อาจารย์จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล

การนำเสนออย่างได้ผลต้องใช้สมองซีกขวา สร้างสรรค์การนำเสนอที่ดึงดูดผู้ฟังและผู้ชม

พบว่า%การดึงความสนใจของผู้ฟังและผู้ชม จะดึงดูดด้วยเนื้อหาเพียง 7% ส่วนน้ำเสียงในการนำเสนอ 38% ที่มากที่สุดคือภาษากายหรืดท่าทาง จะมากถึง 55% ดังนั้นการนำเสนอที่ดีจึงควรใช้การสื่อสารทางท่าทาง

ส่วนเรื่องBrand Sensesนั้น คือการสื่อให้ทราบถึงbrand การที่จะทำให้คนจำbrandได้ เขาต้องสัมผัสด้วยสัมผัสทั้งห้า คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส จากผลการวิจัยคนจะจำที่ รูป กับกลิ่นได้มากที่สุด

ดังนั้นทาวกฟผ.ต้องการสร้างbrand ก็ต้องสื่อสารทางภาพจะได้ผลที่สุด

panel discussion “นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชนกับการทำงานของกฟผ.”

คุณรังสรรค์ อัฐมโนลาภ ผู้ช่วยผู้ว่าการกิจการสังคม กฟผ.

บรรยายลักษณะงาน CSR ของ กฟผ. ดังนี้

- ต้องคำนึงถึงสังคม โดยเน้นการพัฒนาชุมชนรอบข้างอย่างยั่งยืน อีกส่วนคือ การบรรเทาผลกระทบจากภารกิจของ กฟผ. กฟผ.ต้องมีการดำเนินงานที่สูงกว่ามาตรฐาน

- เมื่อมีการทำ CSR แล้ว ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้สังคมรับทราบ

- ช่วงทำแผนงาน SCR ได้รวบรวมมาทั้ง กฟผ. เมื่ออนุมัติแผนแล้วก็จะแบ่งหน้าที่กันปฏิบัติ

- เมื่อปฏิบัติตามแผนแล้วก็ต้องมีการประเมินผล เพื่อการปรับปรุงให้ดีขึ้น

- เป้าหมาย คือ สังคมรอบข้างหน่วยงาน กฟผ. ต้องยอมรับเป็นเพื่อน และต้องช่วงพัฒนาเขาให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น

ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์

-การพัฒนาชุมชนให้พึ่งพาตนเองได้ คือ กระตุ้นให้ชุมชน Share ความรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งเดิมความรู้ก็มีอยู่ในชุมชนนั้น แต่ได้ถูกละเลยไป จึงควรสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ใช้ Social Media ให้เป็นประโยชน์

- การทำโครงการฯ โดยคนนอกและนำไปบอกให้ชุมชนร่วมทำ มักไม่ได้ผล

- มุมมองสำหรับ กฟผ. มองว่า กฟผ. ควรทำ CSR ในส่วนที่ถนัดคือ การผลิตไฟฟ้า

คุณสุทธิเดช สุทธิสมณ์ อดีตผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

- ขอให้ กฟผ. อย่าท้อถอย เพราะการทำเพื่อสังคมจะแก้ปัญหาในระยะยาวได้

- นวัตกรรมทางสังคม ต้องเป็นกิจกรรมใหม่ และสร้างสรรค์

- สิ่งที่นำไปประยุกต์ใช้

- กฟภ. มีหน่วยงานอยู่ทั่วประเทศ กฟผ.สามารถประสานขอคำแนะนำต่างได้

- กฟผ.ต้องเน้นการปฏิบัติงานเป็นทีม

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557

เรื่อง เกษตรทางเลือกและเรื่องเครือข่ายชุมชน

โดย อาจารย์ทิวาพร ศรีวรกุล ผู้อำนวยการศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม

  • -การพัฒนาชุมชน ต้องทำให้เขารู้จักตัวเขาเองก่อน ให้เห็นปัญหาตัวเองว่ามีปัญหาอะไร ปัญหาเกิดจากอะไร เช่น สอนให้ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย เพื่อให้รู้ว่าจะลดรายจ่ายจากส่วนไหนก่อน
  • -ศูนย์พยายามสร้างให้เกษตรกรภูมิใจในตัวเองเพื่อให้เขามีแรงบันดาลใจในการดึงศักยภาพของตัวเองออกมา
  • -ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง ที่มีหัวใจคือการลดรายจ่าย ซึ่งทำได้ไม่ยากโดยการลดการพึ่งพาร้านสะดวกซื่อ
  • -ทุกองค์กรต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม เพราะทุกอย่างเกี่ยวพันกัน เช่น การอนุรักษ์ป่าจะไม่ได้ผลถ้าประชาชนยังอดอยาก

สิ่งที่นำมาประยุกต์ใช้ คือการสร้างโครงการพัฒนาในการต่อยอดความรู้ที่ชุมชนมีแต่คิดว่าล้าสมัยให้นำกลับมาใช้ได้ดีขึ้นโดยชาวบ้านมีส่วนร่วม

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

Assignment เสริมของการอบรม EADP 10 ช่วงที่ 1

  • 1.ภาวะผู้นำของ CEO บริษัท Microsoft ทั้ง 3 คน

CEO คนที่ 1 Bill Gates

Bill Gates นั้นเป็นคนที่มีความสนใจใน Computer Program ตั้งแต่อายุ 13 ปี พัฒนาความรู้เรื่อยมา จึงเลือกที่จะทำธุรกิจในเรื่องที่ตัวเองถนัด คือ ธุรกิจพัฒนา Computer Program จึงทำให้เห็นว่า เขามีการวิเคราะห์จุดอ่อนและจุดแข็ง (SWOT) ได้อย่างถูกต้อง

ต่อมาบริษัทก็มีการเติบโต แต่เหตุการณ์สำคัญที่ทำให้เป็นการเติบโตอย่างก้าวกระโดด คือ Program ที่ใช้ชื่อว่า WINDOWS ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ซึ่งมีระบบการทำงานที่สะดวกไม่ต้องพิมพ์คำสั่งเหมือนแต่ก่อนเพียงใช้ mouseคลิก Programนี้ได้พัฒนาจนปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วโลกใช้ Program นี้ แต่แล้วในปี ค.ศ.2000 Bill Gates ก็ได้ประการยุติบทบาท CEO เพื่อให้ Steve Ballmer เป็น CEO แทน โดยสรุป ภาวะผู้นำของ Bill Gates คือ

- มีการวิเคราะห์ที่แม่นยำ

- มีความสามารถที่จะกระตุ้นให้พนักงานสร้างผลงาน (ข้อนี้มาจากคำกล่าว ของ Satya Nadella , CEO คนที่ 3)

- มีการให้โอกาสแก่ผู้นำอื่น (Explore Opportunities) โดยดูได้จากการสละตำแหน่ง CEO

CEO คนที่2 Steve Ballmer

หลังจากรับตำแหน่ง CEO ในปี ค.ศ. 2000 เป็นช่วงที่บริษัทได้พัฒนา Program WINDOWS มาหลาย version แล้ว ซึ่งการทำงานของ Program ยังรูปแบบเดิมแต่เพิ่มความละเอียด ซับซ้อนขึ้น ทำให้ Program มีขนาดใหญ่ขึ้นใช้ทรัพยากรของคอมพิวเตอร์มากขึ้น เช่น ต้องการหน่วยความจำมากขึ้น ต้องการความเร็วของ CPU มากขึ้น ทั้งยังทำให้ค่าลิขสิทธิ์สูงขึ้นมาก สังคมเริ่มมีความเห็นว่า Microsoft ผูกขาดตลาด จึงมีการสนับสนุนการใช้โปรแกรมอื่นที่ไม่คิดค่าลิขสิทธิ์ และมีการละเมิดลิขสิทธิ์ของ WINDOWS มากขึ้น

Stove Ballmer ยังคงทำผลิตภัณฑ์ตัวเดิมๆ เช่นพยายามปรับปรุง Windows เป็นรุ่น VISTA โดยใช้เวลาหลายปี แต่ก็ทำได้เพียงเปลี่ยนรูปลักษณ์ภายนอกเท่านั้น VWINDOWS VISTA จึงล้มเหลว ด้านการบริการองค์กร เขาพยายามจัดองค์กรให้ชัดเจนขึ้น โดยการแบ่งเป็นฝ่ายต่างๆ ซึ่งแต่ละฝ่ายต้องเปิดเผยงบกำไรขาดทุนทุกไตรมาส รวมทั้งนำระบบการประเมินแบบ Bell Curve มาใช้ตัดเกรดพนักงานทำให้พนักงานส่วนหนึ่งที่ถึงแม้จะมีผลงาน แต่ถูกตัดเกรดไปอยู่ในกลุ่มล่างสุดจึงทำให้เกิดการแข่งขันในหมู่พนักงานกันเอง จึงขาดความร่วมมือ เมื่อบริษัทเริ่มมีกำไรลดลง (ปี ค.ศ. 2004 กำไรลดเหลือ 8% จากที่เคยทำได้ 36%) ทำให้การตัดสวัสดิการพนักงาน ทำให้ขวัญกำลังใจพนักงานยิ่งต่ำลงไปอีก ราคาหุ้นของ Microsoft ลดลง 40% จึงถึงเวลาของ CEO คนที่ 3

CEO คนที่ 3 Satya Nadella

Bill Gater เคยให้สัมภาษณ์ ว่า Satya Nadella มีภาวะผู้นำ คือ มีทักษะในทางวิศวกรรมสูง มีวิสัยทัศน์ทางธุรกิจ และมีความสารถในการรวมพลังพนักงานของบริษัท Bill Gate เห็นว่าวิสัยทัศน์ของ Satya จะทำให้ Microsoft สามารถสร้างนวัตกรรมที่เหมาะสมได้ในอนาคต

  • 2.ธุรกิจ Microsoft ที่แบ่งเป็น 3 ช่วงนั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร และสามารถนำมาประยุกต์กับ กฟผ. อย่างไร

ธุรกิจ Microsoft ก็จะเหมือนธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในช่วงเวลาหนึ่ง กล่าวคือ ในช่วงแรก เริ่มจากบริษัทด้าน โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เล็กๆ ต่อมาได้ร่วมงานกับ IBM ซึ่งเป็นยักษ์ใหญ่ ในด้านผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ทำให้มีงานใหญ่ป้อนเข้ามา แต่ที่สำคัญคือ ในช่วงแรกนี้ ด้วยการคาดการณ์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ถูกต้อง ว่าคอมพิวเตอร์จะขนาดเล็กลง, ราคาถูกลง และจะมีใช้กับในทุกบ้าน ทำให้ Microsoft ทำนวัตกรรมที่เหมาะสมได้ ทำให้บริษัทมีรายได้มหาศาล

ช่วงที่ 2 บริษัทอยู่ในแนวคิดเดิมการพัฒนาจะติดอยู่ในกรอบของการพัฒนา Windows บริษัทไม่มีสินค้าสำหรับช่วงเวลาถัดไปมาเสริม บริษัทมีค่าใช้จ่ายมากขึ้น แต่ผลกำไรยังคงเดิมทำให้บริษัทเริ่มถดถอย

ช่วงที่ 3 เป็นช่วงที่บริษัทต้องดิ้นรนเพื่อกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง บริษัทต้องการผู้นำ การเปลี่ยนแปลงที่มีวิสัยทัศน์ ที่จะออกผลิตภัณฑ์ ที่ตอบโจทย์ การเปลี่ยนแปลงได้

เช่นเดียวกับ กฟผ.ที่เผชิญสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ด้านการเมือง ด้านกฎหมาย ชุมชนมีสิทธิ์มากขึ้น กฟผ. ไม่สามารถสร้าง โรงไฟฟ้า ในพื้นที่ใหม่ได้ กฟผ. ต้องการ วิสัยทัศน์ที่ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงนี้เช่นกัน เราต้องการ “CHANGE”

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2557

สรุปการบรรยายธรรมชาติบำบัด ปรับชีวิต เปลี่ยนอาหาร หลักการแพทย์พอเพียง

โดย นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล


ธรรมชาติบำบัดเป็นการรักษาแบบใช้ธรรมชาติ โดยใช้หลักการให้คนปรับพฤติกรรมในการรักษาโรค มากกว่า 30 ปี ที่ประเทศไทยเป็นโรคขาดสารอาหาร เมื่อเข้าสู่ยุคประเทศอุตสาหกรรมใหม่เราบริโภคมาก จึงเกิดโรคตามมาเช่น โรคอ้วน เบาหวาน หัวใจ ความดันโลหิตสูง ไตวาย มะเร็ง เป็นต้น ปัญหาสุขภาพผู้เข้าอบรมพบว่า 30% แข็งแรง / 60 % อ้วน / 20 % ความดันสูง การที่น้ำหนักตัวมากทำให้ต้องมีปัญหากับการปวดข้อ ปวดเข่า ความดันสูง ไขมันสูง

ไขมันในร่างกาย 2 แบบ คือ ไขมันใต้ผิวหนัง และไขมันในพุง ไขมันมากเกินเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เบาหวาน

สิ่งที่ควรงด คือ แป้ง คาร์โบไฮเดรตที่ทำให้อ้วน ตัวอย่างประเทศที่อ้วนมากคืออเมริกาจนอเมริกานำหน้าเรื่องโรคอ้วนเสนอสูตรอาหารไม่ให้กินแป้ง กินแต่โปรตีนอย่างเดียว ผลคือคนอ้วนลดลงจำนวนมาก

ลดน้ำหนักด้วยวิธีธรรมชาติ คือ

1 กินให้น้อย กินเนื้อสัตว์ กินผัก ไม่กินข้าว หรือคาร์โบไอเดรตอื่น ๆ ไม่กินผลไม้ ถั่ว /นม อาหารไตรกีเซอไรด์ มาจากแป้ง ข้อมูลใหม่ไข่ไม่ได้ทำให้เกิดคอเรสเตอรอลในเลือด แต่ตัวแป้งทำให้ไขมันในเลือดสูง ข้าวขาวคืออัลฟาท็อกซิน เก็บมาหลายปีขายไม่ออก มีความชื้นสูง เป็นตัวทำให้เกิดเชื้อรา หรืออัลฟาท็อกซิน ต้องกินข้าวกล้อง

2 ออกกำลังกาย

ตัวช่วยสำหรับลดไขมัน ลดน้ำหนัก Bio3-Fiber ทำให้อิ่มเร็ว ลดการดูดซึมไขมัน / Biochromium / Fish oil ช่วยปรับการหมุนเวียนไขมัน ลดการอักเสบ

นมวัว มีกรดไขมันอิ่มตัวมาก เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคไขมันเลือดสูง โรคอ้วน และโรคหัวใจหลอดเลือด และสามารถก่อมะเร็งเต้านม


บรรยายเรื่อง วารีบำบัดอานุภาพแห่งน้ำ

โดย พญ.ลลิตา ธีระสิริ

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2557


ในอินเดีย มีประเพณีการอาบน้ำ ชาวม้ง อาบน้ำแร่ ตุรกี ฟินแลนด์อบซาวน่าร้อนสลับเย็น สังเกตได้ว่าความร้อนและน้ำจึงเป็นเรื่องของสุขภาพทั้งสิ้น กินไวน์ดี แต่ถ้าเกิน 50 ซี.ซีจะก่อให้เกิดสารพอกตับ

การตอบสนองขั้นต้นต่อความร้อนจัด

ถ้าอยู่ในที่ร้อน เช่นห้องซาวน่าจะทำให้หลอดเลือดที่ผิวหนังขยายตัว เพื่อคายความร้อน เลือดไปกองที่ผิวหนังหมด ส่วนอื่น ๆ เช่น สมอง ตับ ไต เลือดน้อยกว่าปกติ อวัยวะตรงกลางจะขาดเลือด ดังนั้นจึงไม่ให้อยู่นาน แค่ 3-5 นาที ไม่นานกว่านั้น แล้วออกมาจุ่มตัวในบ่อน้ำเย็น เพื่อดึงเลือดให้กลับส่วนกลางก่อน แล้วค่อยกลับเข้าไปอีกที

ซาวน่าทำให้ภูมิต้านทานแข็งแรงขึ้น เม็ดเลือดขาวจะทำงานได้ดีที่อุณหภูมิร่างกายมากกว่า 37 องศา

การอบสมุนไพร ช่วยให้ภูมิต้านทานดีขึ้น ขับสารพิษ

การอาบน้ำร้อน การอาบน้ำร้อนอย่างเดียวก่อผลร้ายมากกว่าผลดี ทำให้อ่อนเพลีย ความคิดเฉื่อย การหมุนเวียนของเลือดไม่ดี ขาดความกระปรี้กระเปร่า

การอาบแดด ชาวอินเดียเชื่อว่าเมื่อป่วยหรือต้องการมีสุขภาพดีต้องให้มีพลังเพิ่มขึ้น โดยเติมจากพลังจักรวาล โยเร โยคะ การอาบแดดเป็นการรักษาโรคแบบหนึ่ง สมัยก่อนเด็กคนไหนที่เหลืองจะเอาไปตากแดด

การประคบด้วยลูกประคม ช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว การประคบด้วยผ้าร้อนเย็นลดอาการปวด หัวโน แพลง เคล็ด ภายใน 48 ชั่วโมงแรกใช้ประคบเย็นก่อน หลังจากนั้นค่อยประคบร้อน

การออกกำลังกายในน้ำ น้ำลึกระดับอกพยุงน้ำหนักตัวได้เกือบ 70 % เป็นการออกกำลังที่เหมาะกับผู้สูงอายุ ผู้มีปัญหาเรื่องข้อ สมอง อัมพาต พาร์กินสัน

การอาบน้ำแร่ น้ำแร่มีแร่ธาตุ เช่น กำมะถัน เหล็ก ซิลิก้า แคลเซียม โซเดียม สังกะสี โปตัสเซียม เกลือคาร์บอเนต แมกเนเซี่ยมเวลาอาบเสร็จไม่ต้องฟอกสบู่ แร่ธาตุจะได้อยู่กับผิวหนังร่างกาย

Networking Capital กับการพัฒนาเพื่อประชาชน

โดย นายชัยวัฒน์ ลิมป์รรธนะ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี

นายสหัสนัย ยืนยงค์ อุปนายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี

นายปณต สังข์สมบูรณ์ พลังงานจังหวัดกาญจนบุรี

นายยุทธการ มากพันธุ์ ตัวแทนชุมชน

นายคเชนทร์ พูนจันทร์ SCG


กาญจนบุรี มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน 320 กม. มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ อยู่ใกล้กรุงเทพฯประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่งถึง 2 ชั่วโมง แต่ต้องใช้เวลาถึง 4 ชั่วโมงถ้าจะไปสังขละบุรีซึ่งเป็นอำเภอที่ไกลที่สุดของจังหวัด สถานที่เรียนรู้ เช่น สะพานแม่น้ำแคว ที่ญี่ปุ่น พยายามข้ามไปอินเดีย ทุกปีมีกิจกรรมของเรา สุสานพันธมิตรที่เขาช่องไก่ ไทรโยค สุสานพันธมิตรในเมือง หลวงพ่ออุตตะมะ บ้านอีต่อง (เหนืออำเภอทองผาภูมิ ขอบชายแดนทางด้านนั้น)

รัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 5 มีความสัมพันธ์กับเมืองกาญจน์เพราะ ร.3 ได้ยกทัพมารอรับศึกกับกองทัพพม่าที่เมืองกาญจน์และสร้างกำแพงเมืองที่จวนผู้ว่าฯ

จังหวัดมียุทธศาสตร์3 ยุทธศาสตร์คือ เชิงอนุลักษณ์ เกษตรอุตสาหกรรม

ยุทธศาสตร์ที่ 1 เชิงอนุรักษ์ มีภูมิประเทศที่น่าสนใจมาก มีน้ำแควน้อย แควใหญ่ มีพระบรมราชาอนุสาวรีย์ ตำบลดอนเจดีย์อำเภอพนมทวน โดยสภาพภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ สามารถเป็นแหล่งรายได้มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวที่จังหวัดมากมาย การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์จะเป็นแบบยั่งยืน รายได้จากการท่องเที่ยวในแต่ละปีค่อนข้างสูง

ยุทธศาสตรที่ 2 เกษตรอุตสาหกรรม ยุทธศาสตร์เกษตรอุตสาหกรรม เนื่องจากพื้นที่ 2 ใน 3 เป็นเขตอนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร ของแควใหญ่ แควน้อย โดยมีเขื่อนท่าม่วงทดน้ำเข้าสู่ระบบชลประทานที่ได้มีการก่อสร้างไว้เป็นอย่างดี นับเป็นเขตเศรษฐกิจที่ดีมาก ๆ เขื่อนวชิราลงกรณ์และเขื่อนศรีนครินทร์ที่ผลิตกระแสไฟฟ้า ทำให้โซนที่ 2 มีคุณภาพเป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีพื้นที่เกษตรอุตสาหกรรม

สรุปการพัฒนาจังหวัดกาญจนบุรี จากสภาพภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะมิติของพื้นที่อนุรักษ์ อย่าใช้ผิดที่ผิดทางเน้นการอนุรักษ์และรักษาคุณภาพอย่าให้เสียหาย


นายสหัสนัย ยืนยงค์ อุปนายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี

การท่องเที่ยวและการมีส่วนร่วมประชาชนในพื้นที่


บทบาทการท่องเที่ยวของเขื่อนศรีนครินทร์เป็นอย่างไร มีความน่าสนใจอย่างไร มีประโยชน์อย่างไร เช่นโครงการชีววิถีเป็นโครงการที่ดีมากให้ความรู้กับชุมชน เป็นโครงการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้คนทำงานต่อเนื่อง เป็นแหล่งที่ศึกษาดูงานคนมาดูงาน

การตกปลาเป็นอีกแพ็คเกจที่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวไปขาย สนามตกปลาเป็นอีกสนามหนึ่งที่แข่งขันตกปลา โครงการปล่อยปลาเป็นอีกโครงการที่สร้างความสัมพันธ์กับประชาชน

โครงการจัดงานคืนรักคนสันเขื่อน เนื่องจากที่ผ่านมามีความเสียหายเกิดขึ้นมาก จัดงานเพื่อสงบข่าวลือตรงนั้น เป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ของคนในพื้นที่ การสร้างความมั่นใจในเรื่องความมั่นคงของเขื่อนศรีนครินทร์ เช่น ข่าวเขื่อนแตกมีผลกระทบต่อชาวบ้านหลายคนไม่อยากกลับมาที่ อ.ศรีสวัสดิ์ ในการสร้างความมั่นใจ ควรทำพิพิธภัณฑ์ที่มีการจัดแสดงแบบทันสมัยเพื่อดึงความสนใจของผู้เข้าชม

ปัญหา ประชาชนระดับล่างกว่า 60% ไม่มีความรู้ กฟผ.อาจเข้าไปช่วยสร้างมาตรฐานได้ และช่วยให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้เมื่อการพัฒนาสำเร็จจะเกิดประโยชน์กับทุกฝ่ายด้วยกัน ประชาชนจะได้รับความปลอดภัยมากขึ้น ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาให้การบริการมีมาตรฐาน นักท่องเที่ยวได้รับการบริการที่มีคุณภาพ ภาครัฐจัดเก็บภาษีได้มากขึ้น

กฟผ.ไม่มีบุคลากรเฉพาะมาทำงานด้านนี้ ช่องว่างระหว่าง กฟผ.กับประชาชนจึงกว้าง เพราะประชาชนมองว่าเจ้าหน้าที่ กฟผ. มีเงินเดือนสูง มีสวัสดิการที่ดี องค์กรน่าจะสร้างเครือข่ายที่ดีแต่ทำไมไม่ทำ


นายปณต สังข์สมบูรณ์

พลังงานจังหวัดกาญจนบุรี


ในบทบาทพนักงานพลังงานจังหวัดเป็นส่วนภูมิภาค เป็นตัวแทนของกระทรวงฯ ในการประสานงานเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ภารกิจหลัก ๆ แบ่งเป็นธุรกิจไฟฟ้า พลังงานทดแทน สนง.พลังงานแก้ปัญหาในพื้นที่

จังหวัดกาญจนบุรีมีการปลุกอ้อยมาก สามารถนำส่วนเกินหรือส่วนเหลือมาผลิตเป็นพลังงานได้ แต่มีปัญหาคือโรงไฟฟ้าในโรงงานน้ำตาล ใช้เทคโนโลยีไม่ได้มาตรฐานจะก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นกลายเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีที่ประชาชนเอามาเป็นประเด็นในการคัดค้าน

นอกจากอ้อย ยังมีการปลูกมันสำปะหลังจำนวนมาก สามารถนำมาผลิตไฟฟ้าได้ 10-20MW หากตั้งราคารับซื้อมันที่ กก.ละ 50 สตางค์ ก็จะทำให้สามารถขยายการปลูกมันสำปะหลังเพื่อพลังงานเพิ่มมากขึ้น


นายยุทธการ มากพันธุ์


บทบาท กฟผ. ด้านดี คือจะเป็น Hero ตอนไฟดับ แต่อีกบทบาทด้านลบเมื่อมีการขึ้นค่าไฟ และเมื่อจะมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน นิวเคลียร์ พลังงานน้ำ ซึ่งเป็นผลกระทบทางลบต่อประชาชน

ทำไม กฟผ.ไม่สร้างเครือข่ายผู้ผลิตไฟฟ้า อย่ามองในแง่ผู้ผลิตขนาดใหญ่ ลองดูเครือข่ายพลังงานขนาดเล็ก เพราะเครือข่าย 1 ล้าน ครัวเรือนจะได้พลังงานมหาศาล นี่เป็นแนวความคิดถ้าเป็นไปได้น่าจะมีการลงมือทำว่ามีปัญหาทางเทคนิคที่ติดขัดตรงไหนแก้ไขอย่างไร แนวทางนี้จะทำให้เกิดแนวร่วมเพราะทุกคนต่างร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งของผู้ผลิตไฟฟ้า


นายคเชนทร์ พูนจันทร์

ตัวแทนจาก SCG


การสร้างทุนทางเครือข่ายเป็นการลงทุนระยะยาวและวัดผลได้ยาก การลงทุนไม่ได้ใช้แต่เงิน ใช้ทั้งคนและจิตใจที่ทุ่มเท ต้องใช้เวลาที่ทำให้ประชาชนยอมรับ เชื่อมั่นและศรัทธา ต้องทำอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ความรับผิดชอบต่อสังคม SCG ยึดมั่นมาตลอดว่าอยู่ในชุมชนต้องดูแลรายได้ สังคม และสิ่งแวดล้อม ต้องบริหารให้อยู่ด้วยกันได้ตลอดไป ต้องสร้างรายได้ให้ชุมชน สร้างงานให้ชุมชน พัฒนาชุมชน ไม่ว่าสาธารณประโยชน์ หรือการศึกษา ด้านสิ่งแวดล้อม

SCG มีการจ้างบริษัทภายนอกมาทำการสำรวจว่าชุมชนมีความเห็นกับ SCG อย่างไร เพื่อจะได้สามารถตอบโจทย์กับชุมชนได้ เมื่อสำรวจเสร็จจะมาวิเคราะห์ วางแผนแล้วลงมือปฏิบัติ ไม่ใช่สำรวจแล้วไม่ทำอะไร มีคระทำงานที่คอยติดตามว่าชุมชนคิดอย่างไร มีคณะกรรมการชุมชน นอกจากนี้ SCG ยังกำหนดให้ 1 Manager รับผิดชอบ 1 Community ผู้จัดการทุกคนจึงต้องมีหน้าที่ต้องทำ Activity ร่วมกับชุมชน

การเข้าไปหาชุมชน SCG เอาชุมชนเป็นที่ตั้ง ฟังเสียงชุมชน แต่ต้องพยายามสื่อว่าไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้ทุกเรื่อง สิ่งที่ทำแล้วเกิดประโยชน์ เป็นสาธารณประโยชน์ SCG จะสนับสนุน การสนับสนุนจะไม่ทำในลักษณะการสร้างให้หรือมอบให้ ต้องสร้างจากความต้องการที่ชุมชนได้จริง และชุมชนต้องดูแลรักษาประโยชน์ได้

การทำงานกับชุมชนต้องแบบเชิงรุก ไม่รอให้เกิดปัญหา ออกไปพบกับชุมชน กิจกรรมมีการเผยแพร่ให้ชุมชนรับทราบ แต่ไม่ประชาสัมพันธ์เกินความจริง


บรรยายเรื่อง HR for Non HR และการปรับใช้กับงาน CSR ของ กฟผ.

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557


  • สิ่งที่อยากให้ผู้เรียนรู้พัฒนาคือ Change / Paradigm Shift / Mindset
  • สรุป Quotation
  • Microsoft เริ่มต้นโดยเน้นระบบปฏิบัติการบน PC Computer ต่อมาคนใช้ PC น้อยลง Satya Nadella ทำเรื่อง Cloud Computing เข้ามาช่วงสถานการณ์เปลี่ยนแปลง
  • Science กับ Social Science ต้องผสมกัน ต้องทำให้ Turn Intangible เป็น Tangible
  • การแข่งขันขึ้นอยู่กับ Quality
  • การจะจะเป็น Non HR ที่เก่งเรื่องคน ต้องมีปรัชญาเรื่องคน ถ้ามีทรัพยากรธรรมชาติมากกว่ามนุษย์จะไม่ลงทุนเรื่องคน
  • Potential ของมนุษย์อยู่ภายใน ต้องเน้นการกระตุ้นให้แสดงหรือดึงเอาศักยภาพออกมา
  • การมองทรัพยากรมนุษย์อยู่ที่องค์กร ต้องเข้าใจทั้ง Macro และ Micro Human Capital
  • ทุกสิ่งต้องเปลี่ยนก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน
  • Non HR ต้องทำ 3 อย่าง คือ ต้องปลูก ต้องพัฒนา และต้องเก็บเกี่ยว
  • HR Department ต้องปรับให้บทบาท HR ไปสู่ Non HR หรือ Line Manager มากขึ้น HR ยุคใหม่ต้องไม่ติดความคิดเดิม ๆ
  • Blue Ocean คือความคิดสร้างสรรค์
  • กฟผ.ยุคใหม่ต้องคิดอะไรที่แตกต่าง ถ้ามีลูกค้าอย่าไปเน้นลูกค้าเดิมให้หาลูกค้าใหม่ ๆ ด้วย อาจเน้นการทำธุรกิจอื่นที่ไม่ใช่ไฟฟ้า

Intangible ควรประกอบด้วย

- การทำงานอย่างมีความสุข (Happiness)

- ยกย่องคนทุกระดับ (Respect)

- ให้คนอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี (Dignity)

- มองไกลและยั่งยืน (Sustainable)

การทำงานเน้นความยั่งยืนคือพฤติกรรมของเรา ทำให้คนใฝ่รู้มากขึ้น และต้องหา Solution เพื่อแก้ปัญหาให้ได้ไม่ใช่นำเสนอแต่ปัญหา ให้ Non – HR ในห้องนี้ไคว่คว้าความสำเร็จให้มากขึ้น พยายามเอาชนะอุปสรรค


วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2557

สรุปการบรรยายธรรมชาติบำบัด ปรับชีวิต เปลี่ยนอาหาร หลักการแพทย์พอเพียง

โดย นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล

ธรรมชาติบำบัดเป็นการรักษาแบบใช้ธรรมชาติ โดยใช้หลักการให้คนปรับพฤติกรรมในการรักษาโรค มากกว่า 30 ปี ที่ประเทศไทยเป็นโรคขาดสารอาหาร เมื่อเข้าสู่ยุคประเทศอุตสาหกรรมใหม่เราบริโภคมาก จึงเกิดโรคตามมาเช่น โรคอ้วน เบาหวาน หัวใจ ความดันโลหิตสูง ไตวาย มะเร็ง เป็นต้น ปัญหาสุขภาพผู้เข้าอบรมพบว่า 30% แข็งแรง / 60 % อ้วน / 20 % ความดันสูง การที่น้ำหนักตัวมากทำให้ต้องมีปัญหากับการปวดข้อ ปวดเข่า ความดันสูง ไขมันสูง

ไขมันในร่างกาย 2 แบบ คือ ไขมันใต้ผิวหนัง และไขมันในพุง ไขมันมากเกินเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เบาหวาน

สิ่งที่ควรงด คือ แป้ง คาร์โบไฮเดรตที่ทำให้อ้วน ตัวอย่างประเทศที่อ้วนมากคืออเมริกาจนอเมริกานำหน้าเรื่องโรคอ้วนเสนอสูตรอาหารไม่ให้กินแป้ง กินแต่โปรตีนอย่างเดียว ผลคือคนอ้วนลดลงจำนวนมาก

ลดน้ำหนักด้วยวิธีธรรมชาติ คือ

1 กินให้น้อย กินเนื้อสัตว์ กินผัก ไม่กินข้าว หรือคาร์โบไอเดรตอื่น ๆ ไม่กินผลไม้ ถั่ว /นม อาหารไตรกีเซอไรด์ มาจากแป้ง ข้อมูลใหม่ไข่ไม่ได้ทำให้เกิดคอเรสเตอรอลในเลือด แต่ตัวแป้งทำให้ไขมันในเลือดสูง ข้าวขาวคืออัลฟาท็อกซิน เก็บมาหลายปีขายไม่ออก มีความชื้นสูง เป็นตัวทำให้เกิดเชื้อรา หรืออัลฟาท็อกซิน ต้องกินข้าวกล้อง

2 ออกกำลังกาย

ตัวช่วยสำหรับลดไขมัน ลดน้ำหนัก Bio3-Fiber ทำให้อิ่มเร็ว ลดการดูดซึมไขมัน / Biochromium / Fish oil ช่วยปรับการหมุนเวียนไขมัน ลดการอักเสบ

นมวัว มีกรดไขมันอิ่มตัวมาก เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคไขมันเลือดสูง โรคอ้วน และโรคหัวใจหลอดเลือด และสามารถก่อมะเร็งเต้านม

บรรยายเรื่อง วารีบำบัดอานุภาพแห่งน้ำ

โดย พญ.ลลิตา ธีระสิริ

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2557

ในอินเดีย มีประเพณีการอาบน้ำ ชาวม้ง อาบน้ำแร่ ตุรกี ฟินแลนด์อบซาวน่าร้อนสลับเย็น สังเกตได้ว่าความร้อนและน้ำจึงเป็นเรื่องของสุขภาพทั้งสิ้น กินไวน์ดี แต่ถ้าเกิน 50 ซี.ซีจะก่อให้เกิดสารพอกตับ

การตอบสนองขั้นต้นต่อความร้อนจัด

ถ้าอยู่ในที่ร้อน เช่นห้องซาวน่าจะทำให้หลอดเลือดที่ผิวหนังขยายตัว เพื่อคายความร้อน เลือดไปกองที่ผิวหนังหมด ส่วนอื่น ๆ เช่น สมอง ตับ ไต เลือดน้อยกว่าปกติ อวัยวะตรงกลางจะขาดเลือด ดังนั้นจึงไม่ให้อยู่นาน แค่ 3-5 นาที ไม่นานกว่านั้น แล้วออกมาจุ่มตัวในบ่อน้ำเย็น เพื่อดึงเลือดให้กลับส่วนกลางก่อน แล้วค่อยกลับเข้าไปอีกที

ซาวน่าทำให้ภูมิต้านทานแข็งแรงขึ้น เม็ดเลือดขาวจะทำงานได้ดีที่อุณหภูมิร่างกายมากกว่า 37 องศา

การอบสมุนไพร ช่วยให้ภูมิต้านทานดีขึ้น ขับสารพิษ

การอาบน้ำร้อน การอาบน้ำร้อนอย่างเดียวก่อผลร้ายมากกว่าผลดี ทำให้อ่อนเพลีย ความคิดเฉื่อย การหมุนเวียนของเลือดไม่ดี ขาดความกระปรี้กระเปร่า

การอาบแดด ชาวอินเดียเชื่อว่าเมื่อป่วยหรือต้องการมีสุขภาพดีต้องให้มีพลังเพิ่มขึ้น โดยเติมจากพลังจักรวาล โยเร โยคะ การอาบแดดเป็นการรักษาโรคแบบหนึ่ง สมัยก่อนเด็กคนไหนที่เหลืองจะเอาไปตากแดด

การประคบด้วยลูกประคม ช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว การประคบด้วยผ้าร้อนเย็นลดอาการปวด หัวโน แพลง เคล็ด ภายใน 48 ชั่วโมงแรกใช้ประคบเย็นก่อน หลังจากนั้นค่อยประคบร้อน

การออกกำลังกายในน้ำ น้ำลึกระดับอกพยุงน้ำหนักตัวได้เกือบ 70 % เป็นการออกกำลังที่เหมาะกับผู้สูงอายุ ผู้มีปัญหาเรื่องข้อ สมอง อัมพาต พาร์กินสัน

การอาบน้ำแร่ น้ำแร่มีแร่ธาตุ เช่น กำมะถัน เหล็ก ซิลิก้า แคลเซียม โซเดียม สังกะสี โปตัสเซียม เกลือคาร์บอเนต แมกเนเซี่ยมเวลาอาบเสร็จไม่ต้องฟอกสบู่ แร่ธาตุจะได้อยู่กับผิวหนังร่างกาย

Assignment EADP รุ่นที่ 10 กลุ่มที่ 2

เรื่อง สรุปสาระสำคัญที่ได้จากการอ่านหนังสือ The Renaissance Society

ประโยชน์ที่ได้รับ

ความฝันและแรงบันดาล ใจ (Dreams and Inspiration) ของสมาชิกในสังคม หรือองค์กรต่างหากที่จะเป็นตัวผลักดันองค์กรไปสู่ความสำเร็จองค์กรไม่ใช่เป็นตัวขับเคลื่อนที่แท้จริง เป็นเพียงตัวช่วย และส่งเสริม

Visions, Knowledge and Experiences Sharing เป็นเรื่องที่สำคัญมากอย่างหนึ่ง องค์กร และสมาชิกในองค์กรทุกคน ต้องมีVision ร่วมกันแล้วจึงจะเกิด ศรัทธา (Trust) ระหว่างกันทั้งสองด้าน เมื่อมีศรัทธาแล้ว ความร่วมมือ (Collaboration) ก็เกิดขึ้น เมื่อมีความร่วมมือ ก็จะเกิดพลังร่วม ทำให้เกิดการพัฒนาและความสำเร็จในทุกๆ ด้านขององค์กร (องค์ประกอบอื่นก็สำคัญ แต่เป็นรองหากไม่มีความร่วมมือและศรัทธาแล้วคนจะเก่งอย่างไร อุปกรณ์เครื่องจักรจะดีอย่างไร ก็ไปคนละทิศและคนละทางไม่ก่อให้เกิดพลังร่วม – Synergy) เช่น ในแผนกหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ที่สมาชิกในฝ่ายไม่เกิดศรัทธาในผู้บริหารและผู้บริหารก็ไม่ศรัทธาในสมาชิก ในที่นั้นจะไม่เกิดความร่วมมือแน่นอน

ต้องมีความเข้าใจในธรรมชาติของสิ่งที่ทำอยู่เป็นอย่างดีเข้าใจวัฏจักรและวงจร (Life Cycle) ของมัน

แนวโน้มของโลก มีแนวคิด หรือทัศนคติ (Mindset) ในทิศทางไปสู่ คุณค่าหรือมูลค่า (Value)
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องจิตใจ ความสุข (Happiness) ในชีวิต มากกว่าเรี่อง ความมั่งคั่ง (Wealth) เพียงอย่างเดียว มีแนวคิดที่เป็นเฉพาะตัวของตัวเอง (Individualism) สูง หรือปัจเจกนิยม มีความคิดของตัวเอง มีวิถีการดำเนินชีวิตของตนเอง มีความเมตตา (Indulgence) ในสังคมมากขึ้น ให้ความสำคัญกับเรื่องของ
ธรรมชาติ
(Nature) สิ่งแวดล้อม (Environment)และความยั่งยืน
(Sustainability) มากขึ้นๆ ทำให้ Corporate Social Responsibility (CSR) มีความสำคัญมากขึ้นด้วย ซึ่งหลายองค์กรระดับโลกมีการประสาน CSR เข้ากับ Policy and Strategy ขององค์กร ทุกสิ่งในโลก ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน (Uncertainty) ผู้ที่ประสบผลสำเร็จไม่ใช่ผู้ที่สามารถชนะความไม่แน่นอนได้ ไม่มีผู้ใดสามารถที่จะชนะความไม่แน่นอนได้ แต่ผู้ที่ประสบผู้สำเร็จนั้น ก็คือ “ผู้ที่สามารถอยู่กับความไม่แน่นอนได้อย่างปลอดภัยและเป็นสุข”

  • ทำให้เข้าใจประวัติศาสตร์ลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมของกลุ่มประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกเข้าใจการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม และคาดการณ์ลักษณะทางสังคมและกลุ่มลูกค้าในอนาคต
    เพื่อสร้างสินค้าและบริการที่ตอบสนองความต้องการของตลาดได้
  • ความสามารถในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายการสนองความต้องการของลูกค้าและเข้าใจตลาดว่าจะพัฒนาไปในรูปแบบใดทั้งในระยะสั้นและระยะยาวจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จและสามารถกำหนดวิสัยทัศน์กลยุทธ์ แผนงานในการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  • การทำธุรกิจในโลกอนาคต เน้น Emotional Market มากขึ้น องค์กรธุรกิจจะต้องตอบสนองความต้องการเชิงอารมณ์และความรู้สึกของลูกค้าเพื่อผลิตสินค้าที่สร้างความรู้สึกทางอารมณ์ (Emotional Appeal) ให้กับลูกค้าให้ได้ เพราะผู้ชนะคือผู้ที่สามารถผลิตสินค้าและให้บริการเพื่อสนองความต้องการทางอารมณ์ของผู้บริโภคได้มากที่สุด
  • องค์กรธุรกิจจะต้องหาให้ได้ว่าอะไรเป็นคุณค่า (Value) ของสินค้าและบริการของเราเพื่อตอบสนองต่อตลาดทั้ง
    ตลาดเชิงวัตถุ (Materialist Market) และตลาดเชิงอารมณ์ความรู้สึก (EmotionalMarket)

ประยุกต์ใช้กับงาน กฟผ. เรื่อง CSR, Value Creation และ Value Diversity

1. CSR (Corporate Social Responsibility)

“เราอยู่กับสังคม สังคมก็อยู่กับเรา”

“สังคมอยู่ได้ เราก็อยู่ได้”

กฟผ.เป็นองค์กรที่มีภารกิจหลักที่ต้องเกี่ยวข้องกับสังคมโดยตรง

-สินค้าก็เป็นสินค้าสำหรับสังคมคือ เป็นสาธารณูปโภค อย่างหนึ่ง ที่ทุกคนในสังคมจำเป็น ต้องใช้

-ในการผลิตก็ต้องใช้กระบวนการผลิต สถานที่และทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม เป็นที่ยอมรับจากสังคม และต้องอยู่กับสังคมได้ ทั้งทางด้านการผลิตไฟฟ้า (Generation) และระบบส่งไฟฟ้า (Transmission)

ดังนั้น กฟผ. จึงมีความตระหนักในเรื่อง CSR เป็นอย่างมาก และมี นโยบายที่ชัดเจน

สิ่งสำคัญที่สุดของ CSR ก็คือ ความจริงใจ (Sincereness) หากสังคมมองว่าเป็นการ
สร้างภาพ แล้ว นั่นคือความล้มเหลวอย่างมหาศาล เพราะไม่เพียงแต่โครงการจะล้มเหลวเท่านั้น
แต่นั่นอาจจะหมายถึงความล้มเหลวของทั้งองค์กรเลยทีเดียว เนื่องจากการสื่อสารประเภท
Social Medias เป็นที่แพร่หลายมากแล้วไม่มีอะไรที่ปิดบังได้แล้ว ทุกสิ่งต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้
ความจริงใจจึงเป็นหัวใจสำคัญลำดับแรก นอกเหนือจาก การสร้างความเข้าใจและการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ
รวดเร็ว กว้างขวางในทุกที่ทุกแห่ง ทุกชนชั้น หลากหลายวัย หลากหลายอาชีพ ทันเวลาทันการณ์

นโยบายด้าน CSR ของ กฟผ.จะรับผิดชอบต่อสังคมครอบคลุมในทุกด้าน ไม่เฉพาะเพียงแต่ในด้านที่สังคมเห็นได้เท่านั้น แต่ในด้านที่สังคมไม่เห็นเราก็ทำ เพราะเราถือความจริงใจเป็นหลัก

§คุณภาพของไฟฟ้า (Quality) ความมั่นคงของระบบไฟฟ้า (Security and Reliability) ราคาที่ยุติธรรม (Reasonable prices) ที่ส่วนใหญ่คนจะไม่เข้าใจ แต่กว่าที่ กฟผ. จะมาถึงจุดนี้ได้ ต้องทุ่มเทเป็นอย่างมาก

§การบริหารและการดำเนินงานที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ (Efficient Environmental Operations and Management)

§การบริหารจัดการที่ดี (Good Corporate Governance) ไม่คอรัปชั่นโปร่งใส ได้รับความเชื่อถือและไว้วางใจได้จากทั้งลูกค้าผู้ใช้ไฟฟ้าผู้ที่จะมาทำธุรกรรมกับ กฟผ.

§เคารพในสิทธิมนุษยชน (Human Rights), Labor Practices, และ Fair Operating Practices,

§ใส่ใจในสังคมและชุมชน โดยเฉพาะที่ตั้งอยู่ในพื้นที่โรงไฟฟ้า

§สร้างเครือข่าย (Network of CSR Partnership) ระหว่างกฟผ. และองค์กรอื่นทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

§ส่งเสริม สร้างสรรค์ (Corporate Culture on CSR) ในหมู่พนักงานทั่วทั้งองค์กร

§ส่งเสริม สร้างสรรค์ (CSR Management Practices) ในระดับผู้บริหาร

2. Value Creation และ Value Diversity

Value Creation เป็นการสร้างคุณค่า หรือ มูลค่า
มักเกิดจากแนวคิดใหม่ๆที่มาจากจินตนาการ และแรงบันดาลใจของคนใดคนหนึ่ง
หรือหลายคน อาจกล่าวได้ว่า Value creation จะก่อให้เกิด นวัตกรรม การสร้างสรรค์ สิ่งใหม่ๆ

Value Diversity เป็นการสร้างความหลากหลายทางคุณค่า
ซึ่งมาจากความคิดที่หลากหลายของคนจาก หลายกลุ่ม หลาย Disciplines ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องเริ่มจาก
การเปิดกว้างทางความคิดก่อน”

กฟผ. เป็นองค์กรที่ค่อนข้างใหญ่ประกอบด้วยหลายหน่วยงานและพนักงานที่มีจำนวนมาก และมี Disciplines หลากหลาย สินค้าก็มีลักษณะเป็นได้ทั้งสินค้าและบริการในขณะเดียวกันและถือเป็นสาธารณูปโภคอย่างหนึ่งที่ทุกคนในสังคมจำเป็นต้องใช้

คุณค่าที่แท้จริงของ กฟผ. น่าจะเป็นสิ่งที่ Stakeholders เช่น ลูกค้า ประชาชน ผู้บริหารกฟผ.
กระทรวงพลังงาน สื่อมวลชน ชุมชนและผู้ที่อยู่ในพื้นที่โรงไฟฟ้า คณะกรรมการ กฟผ. (EGATBoard) รวมทั้งคนภายใน กฟผ. เอง ที่ได้มอง กฟผ. ที่ได้สัมผัส กฟผ. (ซึ่งความจริงแล้วคำว่า “กฟผ.” ก็คือ พนักงานของ
กฟผ. และการบริการด้านผลิตไฟฟ้าของ กฟผ.) แล้วมีความรู้สึกอย่างไร นั่นแหละคือ คุณค่าที่แท้จริงของ กฟผ. อาจจะเรียกว่า คุณค่าที่แท้จริงของ กฟผ.ก็คือStakeholders’ Satisfactions”

คุณค่าที่แท้จริงของ กฟผ. น่าจะมาจากการขับเคลื่อนของทุกคนคนใน
กฟผ. โดยมีการ Share Visions, Share Knowledge และ Share
Experiences
ของ Stakeholders ทุกภาคส่วน (อาจจะมีการทำ Workshop หรือ การรับฟังความคิดเห็น) ซึ่งจะก่อให้เกิด ความศรัทธา (Trust) และ ความร่วมมือ (Cooperation) อย่างจริงใจ และจริงจัง ในหมู่ Stakeholders

คุณค่าที่แท้จริงขององค์กร จะมาจาก คุณค่าของระบบ (Systems) ทุกระบบในองค์กร

คุณค่าของระบบ(System Value) มาจาก คุณค่าของงาน (Work Value) ซึ่งคุณค่าของงาน
ก็มาจาก คุณค่าของคน (Personal Value) คุณค่าของเครื่องจักร (Machine Value)และ คุณค่าของวัตถุดิบ
(Material Value)

Value Diversity ของ กฟผ. มี 2 ระดับ คือ

§ระดับในองค์กร ที่เกิดจาก ทุกภาคส่วนใน กฟผ. ที่จะร่วมสร้างValue

§ระดับ Stakeholders ที่เกิดจาก ทุกภาคส่วนของ Stakeholders เช่น ลูกค้า ประชาชน ผู้บริหาร กฟผ. กระทรวงพลังงาน สื่อมวลชนชุมชนและผู้ที่อยู่ในพื้นที่โรงไฟฟ้า คณะกรรมการกฟผ. (EGAT Board) นอกเหนือจากคนภายใน กฟผ. เอง ที่จะร่วมสร้าง Value

  • จากปัญหาในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าภายในประเทศทำให้ EGAT ต้องสร้างโอกาสในการพัฒนาโรงไฟฟ้าในประเทศเพื่อนบ้านเช่น ลาว พม่า แล้วส่งกลับมาใช้ในไทยด้วย โดยการถ่ายทอด Knowledge ด้านการพัฒนาโรงไฟฟ้าให้ เกิดการพัฒนาบุคลากรของประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้เกิดValue ของด้านบริการของ EGAT ตอบสนองต่อตลาดเชิงอารมณ์ความรู้สึก(Emotional Market) ที่ดีจากประเทศเพื่อนบ้าน เกิดความไว้วางใจ อยากให้เราไปร่วมพัฒนาด้านระบบไฟฟ้าและถือเป็น EGAT Nation Pride ด้วย
  • เน้นการสร้างกิจกรรมให้กับชุมชนที่เป็นแหล่งความรู้แบบเปิด
    (Open Source) เพราะคนคนเดียวไม่สามารถสร้างองค์ความรู้ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ได้
    ต้องเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมและพัฒนาเพื่อเป้าหมายเดียวกัน
  • การสร้างบรรยากาศการทำงานให้เกิด Innovationเพื่อเพิ่ม Value ให้กับองค์กร พยายามผลักดันและกระตุ้นให้เกิดไอเดียใหม่ ๆโดยเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมและแบ่งปันความสำเร็จและความล้มเหลวด้วยกัน ร่วมทั้งสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาไอเดียอย่างต่อเนื่อง
  • เน้นการทำกิจกรรม CSR ที่ให้ความรู้สึกทางอารมณ์ (Add Emotion) มีเรื่องราว (Add a story) และทำให้เกิดความแตกต่าง (Make your activity unique)
  • เน้นการสร้างกิจกรรมที่มีองค์ประกอบของการสร้างความรู้สึกร่วม (Emotionalize) เคารพในปัจเจกชน (Personalize) การกระจายอำนาจ (Decentralize) สร้างแนวคิดและนวัตกรรมใหม่ (Innovate)

3. อุปสรรคที่เกิดขึ้นในการทำงานที่ไม่ประสบความสำเร็จ

อุปสรรคที่สำคัญ ที่ทำให้งานไม่สำเร็จ ดูออกจะเป็นเรื่องที่ธรรมดา
แต่มีสำคัญมากในเกือบทุกยุคทุกสมัย จนเกือบจะเรียกได้ว่าเป็นประเด็นที่ค่อนข้างคลาสสิค
นั่นก็คือ การประสานงานที่ไม่ดีพอ อันเนื่องมาจาก

ประการแรก “การขาดความเข้าใจในงานแท้จริง” ส่วนมากจะมองเฉพาะความสำเร็จของตนเองหรือของหน่วยงานตนเองทำให้ต่างฝ่ายต่างมองสิ่งที่ตนเองจะต้องทำให้สำเร็จ และยึดถือสิ่งที่ตนเองเกี่ยวข้องจะต้องทำเท่านั้น
โดยไม่มองให้กว้างไกลว่า แท้จริงแล้ว “ความสำเร็จร่วม”ของงานนี้อยู่ที่ไหน คืออะไร กล่าวคือ ไม่มีจุดมองร่วมกันว่าความสำเร็จร่วมของงานคืออะไรถ้าเข้าใจถึงความสำเร็จร่วมของงานแล้ว จะเข้าใจถึงงานบางอย่างที่ Contact or Overlap กันจะทราบว่างานไหนจะส่งผลกระทบต่อหน่วยงานอื่นมากน้อยอย่างไรจะเกิดบรรยากาศที่ร่วมมือกันมากขึ้น
ซึ่งจะทำให้เกิดการประสานงานที่ดีขึ้นในระดับหนึ่ง

ประการที่สอง “การขาดมนุษยสัมพันธ์ที่ดี” เป็นการซ้ำเติมให้การประสานงานยิ่งเลวร้ายลงไปอีก
ทำให้เกิดบรรยากาศในการทำงาน “เป็นพิษ” ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายที่หลายคนเป็นคนมีความรู้ความสามารถ
แต่ขาดมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ทำให้การประสานงานแย่ลงไปอีก งานขาดความก้าวหน้า ขาดความสำเร็จ

ประการที่สาม “การขาดความเอื้อเฟื้อต่อกัน” ในการทำงาน
ร่วมกันกับคนหมู่มากนั้น การเอื้อเฟื้อต่อกันเป็นเรื่องที่สำคัญไม่น้อยเช่นกัน
หากขาดความเอื้อเฟื้อต่อกันแล้ว บรรยากาศในการทำงานจะเป็นแบบ “แห้งแล้ง” ตัวใครตัวมัน

ซึ่งอุปสรรคดังกล่าวนี้ การแก้ไขดูเหมือนจะง่าย “แต่ความจริงไม่น่าจะง่าย” เพราะ
อุปสรรคดังกล่าวนี้สามารถที่จะมองเป็นปัญหาทางด้านการบริหาร (Management) ก็ได้ เป็นปัญหาด้านบุคคล
(Personal) ก็ได้ เป็นปัญหาด้านระบบ (System) ก็ได้ นอกจากนี้ ทั้งสามด้านยังInterrelate กันอีกด้วย

หลักสูตร EADP รุ่น 10 กลุ่ม 2

Assignment EADP รุ่นที่ 10 กลุ่มที่ 2

เรื่อง สรุปสาระสำคัญที่ได้จากการอ่านหนังสือ The Renaissance Society

ประโยชน์ที่ได้รับ

ความฝันและแรงบันดาล ใจ (Dreams and Inspiration) ของสมาชิกในสังคม หรือองค์กรต่างหากที่จะเป็นตัวผลักดันองค์กรไปสู่ความสำเร็จ องค์กรไม่ใช่เป็นตัวขับเคลื่อนที่แท้จริง เป็นเพียงตัวช่วย และส่งเสริม

Visions, Knowledge and Experiences Sharing เป็นเรื่องที่สำคัญมากอย่างหนึ่ง องค์กร และสมาชิกในองค์กรทุกคน ต้องมี Vision ร่วมกันแล้ว จึงจะเกิด ศรัทธา (Trust)ระหว่างกันทั้งสองด้าน เมื่อมีศรัทธาแล้ว ความร่วมมือ (Collaboration) ก็เกิดขึ้น เมื่อมีความร่วมมือ ก็จะเกิดพลังร่วม ทำให้เกิดการพัฒนาและความสำเร็จในทุกๆ ด้านขององค์กร (องค์ประกอบอื่นก็สำคัญ แต่เป็นรอง หากไม่มีความร่วมมือและศรัทธาแล้วคนจะเก่งอย่างไร อุปกรณ์เครื่องจักรจะดีอย่างไร ก็ไปคนละทิศและคนละทาง ไม่ก่อให้เกิดพลังร่วม – Synergy) เช่น ในแผนก หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ที่สมาชิกในฝ่ายไม่เกิดศรัทธาในผู้บริหาร และผู้บริหารก็ไม่ศรัทธาในสมาชิก ในที่นั้นจะไม่เกิดความร่วมมือแน่นอน

ต้องมีความเข้าใจในธรรมชาติของสิ่งที่ทำอยู่เป็นอย่างดี เข้าใจวัฏจักรและวงจร (Life Cycle) ของมัน

แนวโน้มของโลก มีแนวคิด หรือทัศนคติ (Mindset) ในทิศทางไปสู่ คุณค่าหรือมูลค่า (Value) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องจิตใจ ความสุข (Happiness) ในชีวิต มากกว่าเรี่อง ความมั่งคั่ง (Wealth) เพียงอย่างเดียว มีแนวคิดที่เป็นเฉพาะตัวของตัวเอง (Individualism) สูง หรือปัจเจกนิยม มีความคิดของตัวเอง มีวิถีการดำเนินชีวิตของตนเอง มีความเมตตา (Indulgence) ในสังคมมากขึ้น ให้ความสำคัญกับเรื่องของ ธรรมชาติ (Nature) สิ่งแวดล้อม (Environment)และความยั่งยืน (Sustainability) มากขึ้นๆ ทำให้ Corporate Social Responsibility (CSR) มีความสำคัญมากขึ้นด้วย ซึ่งหลายองค์กรระดับโลกมีการประสาน CSR เข้ากับ Policy and Strategy ขององค์กร

ทุกสิ่งในโลก ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน (Uncertainty) ผู้ที่ประสบผลสำเร็จ ไม่ใช่ผู้ที่สามารถชนะความไม่แน่นอนได้ ไม่มีผู้ใดสามารถที่จะชนะความไม่แน่นอนได้ แต่ผู้ที่ประสบผู้สำเร็จนั้น ก็คือ “ผู้ที่สามารถอยู่กับความไม่แน่นอนได้อย่างปลอดภัยและเป็นสุข”

  • ทำให้เข้าใจประวัติศาสตร์ ลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมของกลุ่มประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เข้าใจการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม และคาดการณ์ลักษณะทางสังคมและกลุ่มลูกค้าในอนาคต เพื่อสร้างสินค้าและบริการที่ตอบสนองความต้องการของตลาดได้
  • ความสามารถในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย การสนองความต้องการของลูกค้าและเข้าใจตลาดว่าจะพัฒนาไปในรูปแบบใดทั้งในระยะสั้นและระยะยาวจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จและสามารถกำหนดวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ แผนงานในการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  • การทำธุรกิจในโลกอนาคต เน้น Emotional Market มากขึ้น องค์กรธุรกิจจะต้องตอบสนองความต้องการเชิงอารมณ์และความรู้สึกของลูกค้า เพื่อผลิตสินค้าที่สร้างความรู้สึกทางอารมณ์ (Emotional Appeal) ให้กับลูกค้าให้ได้ เพราะผู้ชนะคือผู้ที่สามารถผลิตสินค้าและให้บริการเพื่อสนองความต้องการทางอารมณ์ของผู้บริโภคได้มากที่สุด
  • องค์กรธุรกิจจะต้องหาให้ได้ว่าอะไรเป็นคุณค่า (Value) ของสินค้าและบริการของเราเพื่อตอบสนองต่อตลาดทั้ง ตลาดเชิงวัตถุ (Materialist Market) และตลาดเชิงอารมณ์ความรู้สึก (Emotional Market)

ประยุกต์ใช้กับงาน กฟผ. เรื่อง CSR , Value Creation และ Value Diversity

1. CSR (Corporate Social Responsibility)

“เราอยู่กับสังคม สังคมก็อยู่กับเรา”

“สังคมอยู่ได้ เราก็อยู่ได้”

กฟผ. เป็นองค์กรที่มีภารกิจหลักที่ต้องเกี่ยวข้องกับสังคมโดยตรง

-สินค้าก็เป็นสินค้าสำหรับสังคมคือ เป็นสาธารณูปโภค อย่างหนึ่ง ที่ทุกคนในสังคมจำเป็น ต้องใช้

-ในการผลิตก็ต้องใช้กระบวนการผลิต สถานที่และทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม เป็นที่ยอมรับจากสังคม และต้องอยู่กับสังคมได้ ทั้งทางด้านการผลิตไฟฟ้า (Generation) และระบบส่งไฟฟ้า (Transmission)

ดังนั้น กฟผ. จึงมีความตระหนักในเรื่อง CSR เป็นอย่างมาก และมี นโยบายที่ชัดเจน

สิ่งสำคัญที่สุดของ CSR ก็คือ ความจริงใจ (Sincereness) หากสังคมมองว่าเป็นการ สร้างภาพ แล้ว นั่นคือความล้มเหลวอย่างมหาศาล เพราะไม่เพียงแต่โครงการจะล้มเหลวเท่านั้น แต่นั่นอาจจะหมายถึงความล้มเหลวของทั้งองค์กรเลยทีเดียว เนื่องจากการสื่อสารประเภท Social Medias เป็นที่แพร่หลายมากแล้ว ไม่มีอะไรที่ปิดบังได้แล้ว ทุกสิ่งต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้ ความจริงใจจึงเป็นหัวใจสำคัญลำดับแรก นอกเหนือจาก การสร้างความเข้าใจและการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว กว้างขวางในทุกที่ทุกแห่ง ทุกชนชั้น หลากหลายวัย หลากหลายอาชีพ ทันเวลา ทันการณ์

นโยบายด้าน CSR ของ กฟผ. จะรับผิดชอบต่อสังคมครอบคลุมในทุกด้าน ไม่เฉพาะเพียงแต่ในด้านที่สังคมเห็นได้เท่านั้น แต่ในด้านที่สังคมไม่เห็นเราก็ทำ เพราะเราถือความจริงใจเป็นหลัก

§คุณภาพของไฟฟ้า (Quality) ความมั่นคงของระบบไฟฟ้า (Security and Reliability) ราคาที่ยุติธรรม (Reasonable prices) ที่ส่วนใหญ่คนจะไม่เข้าใจ แต่กว่าที่ กฟผ. จะมาถึงจุดนี้ได้ ต้องทุ่มเทเป็นอย่างมาก

§การบริหาร และการดำเนินงานที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ (Efficient Environmental Operations and Management)

§การบริหารจัดการที่ดี (Good Corporate Governance) ไม่คอรัปชั่น โปร่งใส ได้รับความเชื่อถือและไว้วางใจได้จากทั้งลูกค้าผู้ใช้ไฟฟ้า ผู้ที่จะมาทำธุรกรรมกับ กฟผ.

§เคารพในสิทธิมนุษยชน (Human Rights), Labor Practices, และ Fair Operating Practices,

§ใส่ใจในสังคมและชุมชน โดยเฉพาะที่ตั้งอยู่ในพื้นที่โรงไฟฟ้า

§สร้างเครือข่าย (Network of CSR Partnership) ระหว่าง กฟผ. และองค์กรอื่นทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

§ส่งเสริม สร้างสรรค์ (Corporate Culture on CSR) ในหมู่พนักงานทั่วทั้งองค์กร

§ส่งเสริม สร้างสรรค์ (CSR Management Practices) ในระดับผู้บริหาร

2. Value Creation และ Value Diversity

Value Creation เป็นการสร้างคุณค่า หรือ มูลค่า มักเกิดจากแนวคิดใหม่ๆที่มาจากจินตนาการ และแรงบันดาลใจของคนใดคนหนึ่ง หรือหลายคน อาจกล่าวได้ว่า Value creation จะก่อให้เกิด นวัตกรรม การสร้างสรรค์ สิ่งใหม่ๆ

Value Diversity เป็นการสร้างความหลากหลายทางคุณค่า ซึ่งมาจากความคิดที่หลากหลายของคนจาก หลายกลุ่ม หลาย Disciplines ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องเริ่มจาก “การเปิดกว้างทางความคิดก่อน”

กฟผ. เป็นองค์กรที่ค่อนข้างใหญ่ประกอบด้วยหลายหน่วยงาน และพนักงานที่มีจำนวนมาก และมี Disciplines หลากหลาย สินค้าก็มีลักษณะเป็นได้ทั้งสินค้าและบริการในขณะเดียวกัน และถือเป็นสาธารณูปโภคอย่างหนึ่งที่ทุกคนในสังคมจำเป็นต้องใช้

คุณค่าที่แท้จริงของ กฟผ. น่าจะเป็นสิ่งที่ Stakeholders เช่น ลูกค้า ประชาชน ผู้บริหารกฟผ. กระทรวงพลังงาน สื่อมวลชน ชุมชนและผู้ที่อยู่ในพื้นที่โรงไฟฟ้า คณะกรรมการ กฟผ. (EGATBoard) รวมทั้งคนภายใน กฟผ. เอง ที่ได้มอง กฟผ. ที่ได้สัมผัส กฟผ. (ซึ่งความจริงแล้วคำว่า “กฟผ.” ก็คือ พนักงานของ กฟผ. และการบริการด้านผลิตไฟฟ้าของ กฟผ.) แล้วมีความรู้สึกอย่างไร นั่นแหละคือ คุณค่าที่แท้จริงของ กฟผ. อาจจะเรียกว่า คุณค่าที่แท้จริงของ กฟผ.ก็คือStakeholders’ Satisfactions”

คุณค่าที่แท้จริงของ กฟผ. น่าจะมาจากการขับเคลื่อนของทุกคนคนใน กฟผ. โดยมีการ Share Visions, Share Knowledge และ Share Experiences ของ Stakeholders ทุกภาคส่วน (อาจจะมีการทำ Workshop หรือ การรับฟังความคิดเห็น) ซึ่งจะก่อให้เกิด ความศรัทธา (Trust) และ ความร่วมมือ (Cooperation) อย่างจริงใจ และจริงจัง ในหมู่ Stakeholders

คุณค่าที่แท้จริงขององค์กร จะมาจาก คุณค่าของระบบ (Systems) ทุกระบบในองค์กร

คุณค่าของระบบ(System Value) มาจาก คุณค่าของงาน (Work Value) ซึ่งคุณค่าของงาน ก็มาจาก คุณค่าของคน (Personal Value) คุณค่าของเครื่องจักร (Machine Value)และ คุณค่าของวัตถุดิบ (Material Value)

Value Diversity ของ กฟผ. มี 2 ระดับ คือ

§ระดับในองค์กร ที่เกิดจาก ทุกภาคส่วนใน กฟผ. ที่จะร่วมสร้าง Value

§ระดับ Stakeholders ที่เกิดจาก ทุกภาคส่วนของ Stakeholders เช่น ลูกค้า ประชาชน ผู้บริหาร กฟผ. กระทรวงพลังงาน สื่อมวลชน ชุมชนและผู้ที่อยู่ในพื้นที่โรงไฟฟ้า คณะกรรมการ กฟผ. (EGAT Board) นอกเหนือจากคนภายใน กฟผ. เอง ที่จะร่วมสร้าง Value

  • จากปัญหาในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าภายในประเทศ ทำให้ EGAT ต้องสร้างโอกาสในการพัฒนาโรงไฟฟ้าในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว พม่า แล้วส่งกลับมาใช้ในไทยด้วย โดยการถ่ายทอด Knowledge ด้านการพัฒนาโรงไฟฟ้าให้ เกิดการพัฒนาบุคลากรของประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้เกิด Value ของด้านบริการของ EGAT ตอบสนองต่อตลาดเชิงอารมณ์ความรู้สึก (Emotional Market) ที่ดีจากประเทศเพื่อนบ้าน เกิดความไว้วางใจ อยากให้เราไปร่วมพัฒนาด้านระบบไฟฟ้า และถือเป็น EGAT Nation Pride ด้วย
  • เน้นการสร้างกิจกรรมให้กับชุมชนที่เป็นแหล่งความรู้แบบเปิด (Open Source) เพราะคนคนเดียวไม่สามารถสร้างองค์ความรู้ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ได้ ต้องเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมและพัฒนาเพื่อเป้าหมายเดียวกัน
  • การสร้างบรรยากาศการทำงานให้เกิด Innovation เพื่อเพิ่ม Value ให้กับองค์กร พยายามผลักดันและกระตุ้นให้เกิดไอเดียใหม่ ๆ โดยเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วม และแบ่งปันความสำเร็จและความล้มเหลวด้วยกัน ร่วมทั้งสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาไอเดียอย่างต่อเนื่อง
  • เน้นการทำกิจกรรม CSR ที่ให้ความรู้สึกทางอารมณ์ (Add Emotion) มีเรื่องราว (Add a story) และทำให้เกิดความแตกต่าง (Make your activity unique)
  • เน้นการสร้างกิจกรรมที่มีองค์ประกอบของ การสร้างความรู้สึกร่วม (Emotionalize) เคารพในปัจเจกชน (Personalize) การกระจายอำนาจ (Decentralize) สร้างแนวคิดและนวัตกรรมใหม่ (Innovate)

3. อุปสรรคที่เกิดขึ้นในการทำงานที่ไม่ประสบความสำเร็จ

อุปสรรคที่สำคัญ ที่ทำให้งานไม่สำเร็จ ดูออกจะเป็นเรื่องที่ธรรมดา แต่มีสำคัญมากในเกือบทุกยุคทุกสมัย จนเกือบจะเรียกได้ว่าเป็นประเด็นที่ค่อนข้างคลาสสิค นั่นก็คือ การประสานงานที่ไม่ดีพอ อันเนื่องมาจาก

ประการแรก “การขาดความเข้าใจในงานแท้จริง” ส่วนมากจะมองเฉพาะความสำเร็จของตนเองหรือของหน่วยงานตนเอง ทำให้ต่างฝ่ายต่างมองสิ่งที่ตนเองจะต้องทำให้สำเร็จ และยึดถือสิ่งที่ตนเองเกี่ยวข้องจะต้องทำเท่านั้น โดยไม่มองให้กว้างไกลว่า แท้จริงแล้ว “ความสำเร็จร่วม”ของงานนี้อยู่ที่ไหน คืออะไร กล่าวคือ ไม่มีจุดมองร่วมกันว่าความสำเร็จร่วมของงานคืออะไร ถ้าเข้าใจถึงความสำเร็จร่วมของงานแล้ว จะเข้าใจถึงงานบางอย่างที่ Contact or Overlap กัน จะทราบว่างานไหนจะส่งผลกระทบต่อหน่วยงานอื่นมากน้อยอย่างไร จะเกิดบรรยากาศที่ร่วมมือกันมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดการประสานงานที่ดีขึ้นในระดับหนึ่ง

ประการที่สอง “การขาดมนุษยสัมพันธ์ที่ดี” เป็นการซ้ำเติมให้การประสานงานยิ่งเลวร้ายลงไปอีก ทำให้เกิดบรรยากาศในการทำงาน “เป็นพิษ” ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายที่หลายคนเป็นคนมีความรู้ความสามารถ แต่ขาดมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ทำให้การประสานงานแย่ลงไปอีก งานขาดความก้าวหน้า ขาดความสำเร็จ

ประการที่สาม “การขาดความเอื้อเฟื้อต่อกัน” ในการทำงาน ร่วมกันกับคนหมู่มากนั้น การเอื้อเฟื้อต่อกันเป็นเรื่องที่สำคัญไม่น้อยเช่นกัน หากขาดความเอื้อเฟื้อต่อกันแล้ว บรรยากาศในการทำงานจะเป็นแบบ “แห้งแล้ง” ตัวใครตัวมัน

ซึ่งอุปสรรคดังกล่าวนี้ การแก้ไขดูเหมือนจะง่าย “แต่ความจริงไม่น่าจะง่าย” เพราะ อุปสรรคดังกล่าวนี้สามารถที่จะมองเป็นปัญหาทางด้านการบริหาร (Management) ก็ได้ เป็นปัญหาด้านบุคคล (Personal) ก็ได้ เป็นปัญหาด้านระบบ (System) ก็ได้ นอกจากนี้ ทั้งสามด้านยังInterrelate กันอีกด้วย

การบ้านจากคุณสุทีป ธรรมรุจี

Assignment EADP รุ่นที่ 10 กลุ่มที่ 2

เรื่อง สรุปสาระสำคัญที่ได้จากการอ่านหนังสือ The Renaissance Society

ประโยชน์ที่ได้รับ

ความฝันและแรงบันดาล ใจ (Dreams and Inspiration) ของสมาชิกในสังคม หรือองค์กรต่างหากที่จะเป็นตัวผลักดันองค์กรไปสู่ความสำเร็จ องค์กรไม่ใช่เป็นตัวขับเคลื่อนที่แท้จริง เป็นเพียงตัวช่วย และส่งเสริม

Visions, Knowledge and Experiences Sharing เป็นเรื่องที่สำคัญมากอย่างหนึ่ง องค์กร และสมาชิกในองค์กรทุกคน ต้องมี Vision ร่วมกันแล้ว จึงจะเกิด ศรัทธา (Trust)ระหว่างกันทั้งสองด้าน เมื่อมีศรัทธาแล้ว ความร่วมมือ (Collaboration) ก็เกิดขึ้น เมื่อมีความร่วมมือ ก็จะเกิดพลังร่วม ทำให้เกิดการพัฒนาและความสำเร็จในทุกๆ ด้านขององค์กร (องค์ประกอบอื่นก็สำคัญ แต่เป็นรอง หากไม่มีความร่วมมือและศรัทธาแล้วคนจะเก่งอย่างไร อุปกรณ์เครื่องจักรจะดีอย่างไร ก็ไปคนละทิศและคนละทาง ไม่ก่อให้เกิดพลังร่วม – Synergy) เช่น ในแผนก หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ที่สมาชิกในฝ่ายไม่เกิดศรัทธาในผู้บริหาร และผู้บริหารก็ไม่ศรัทธาในสมาชิก ในที่นั้นจะไม่เกิดความร่วมมือแน่นอน

ต้องมีความเข้าใจในธรรมชาติของสิ่งที่ทำอยู่เป็นอย่างดี เข้าใจวัฏจักรและวงจร (Life Cycle) ของมัน

แนวโน้มของโลก มีแนวคิด หรือทัศนคติ (Mindset) ในทิศทางไปสู่ คุณค่าหรือมูลค่า (Value) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องจิตใจ ความสุข (Happiness) ในชีวิต มากกว่าเรี่อง ความมั่งคั่ง (Wealth) เพียงอย่างเดียว มีแนวคิดที่เป็นเฉพาะตัวของตัวเอง (Individualism) สูง หรือปัจเจกนิยม มีความคิดของตัวเอง มีวิถีการดำเนินชีวิตของตนเอง มีความเมตตา (Indulgence) ในสังคมมากขึ้น ให้ความสำคัญกับเรื่องของ ธรรมชาติ (Nature) สิ่งแวดล้อม (Environment)และความยั่งยืน (Sustainability) มากขึ้นๆ ทำให้ Corporate Social Responsibility (CSR) มีความสำคัญมากขึ้นด้วย ซึ่งหลายองค์กรระดับโลกมีการประสาน CSR เข้ากับ Policy and Strategy ขององค์กร

ทุกสิ่งในโลก ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน (Uncertainty) ผู้ที่ประสบผลสำเร็จ ไม่ใช่ผู้ที่สามารถชนะความไม่แน่นอนได้ ไม่มีผู้ใดสามารถที่จะชนะความไม่แน่นอนได้ แต่ผู้ที่ประสบผู้สำเร็จนั้น ก็คือ “ผู้ที่สามารถอยู่กับความไม่แน่นอนได้อย่างปลอดภัยและเป็นสุข”

  • ทำให้เข้าใจประวัติศาสตร์ ลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมของกลุ่มประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เข้าใจการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม และคาดการณ์ลักษณะทางสังคมและกลุ่มลูกค้าในอนาคต เพื่อสร้างสินค้าและบริการที่ตอบสนองความต้องการของตลาดได้
  • ความสามารถในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย การสนองความต้องการของลูกค้าและเข้าใจตลาดว่าจะพัฒนาไปในรูปแบบใดทั้งในระยะสั้นและระยะยาวจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จและสามารถกำหนดวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ แผนงานในการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  • การทำธุรกิจในโลกอนาคต เน้น Emotional Market มากขึ้น องค์กรธุรกิจจะต้องตอบสนองความต้องการเชิงอารมณ์และความรู้สึกของลูกค้า เพื่อผลิตสินค้าที่สร้างความรู้สึกทางอารมณ์ (Emotional Appeal) ให้กับลูกค้าให้ได้ เพราะผู้ชนะคือผู้ที่สามารถผลิตสินค้าและให้บริการเพื่อสนองความต้องการทางอารมณ์ของผู้บริโภคได้มากที่สุด
  • องค์กรธุรกิจจะต้องหาให้ได้ว่าอะไรเป็นคุณค่า (Value) ของสินค้าและบริการของเราเพื่อตอบสนองต่อตลาดทั้ง ตลาดเชิงวัตถุ (Materialist Market) และตลาดเชิงอารมณ์ความรู้สึก (Emotional Market)

ประยุกต์ใช้กับงาน กฟผ. เรื่อง CSR , Value Creation และ Value Diversity

1. CSR (Corporate Social Responsibility)

“เราอยู่กับสังคม สังคมก็อยู่กับเรา”

“สังคมอยู่ได้ เราก็อยู่ได้”

กฟผ. เป็นองค์กรที่มีภารกิจหลักที่ต้องเกี่ยวข้องกับสังคมโดยตรง

-สินค้าก็เป็นสินค้าสำหรับสังคมคือ เป็นสาธารณูปโภค อย่างหนึ่ง ที่ทุกคนในสังคมจำเป็น ต้องใช้

-ในการผลิตก็ต้องใช้กระบวนการผลิต สถานที่และทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม เป็นที่ยอมรับจากสังคม และต้องอยู่กับสังคมได้ ทั้งทางด้านการผลิตไฟฟ้า (Generation) และระบบส่งไฟฟ้า (Transmission)

ดังนั้น กฟผ. จึงมีความตระหนักในเรื่อง CSR เป็นอย่างมาก และมี นโยบายที่ชัดเจน

สิ่งสำคัญที่สุดของ CSR ก็คือ ความจริงใจ (Sincereness) หากสังคมมองว่าเป็นการ สร้างภาพ แล้ว นั่นคือความล้มเหลวอย่างมหาศาล เพราะไม่เพียงแต่โครงการจะล้มเหลวเท่านั้น แต่นั่นอาจจะหมายถึงความล้มเหลวของทั้งองค์กรเลยทีเดียว เนื่องจากการสื่อสารประเภท Social Medias เป็นที่แพร่หลายมากแล้ว ไม่มีอะไรที่ปิดบังได้แล้ว ทุกสิ่งต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้ ความจริงใจจึงเป็นหัวใจสำคัญลำดับแรก นอกเหนือจาก การสร้างความเข้าใจและการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว กว้างขวางในทุกที่ทุกแห่ง ทุกชนชั้น หลากหลายวัย หลากหลายอาชีพ ทันเวลา ทันการณ์

นโยบายด้าน CSR ของ กฟผ. จะรับผิดชอบต่อสังคมครอบคลุมในทุกด้าน ไม่เฉพาะเพียงแต่ในด้านที่สังคมเห็นได้เท่านั้น แต่ในด้านที่สังคมไม่เห็นเราก็ทำ เพราะเราถือความจริงใจเป็นหลัก

§คุณภาพของไฟฟ้า (Quality) ความมั่นคงของระบบไฟฟ้า (Security and Reliability) ราคาที่ยุติธรรม (Reasonable prices) ที่ส่วนใหญ่คนจะไม่เข้าใจ แต่กว่าที่ กฟผ. จะมาถึงจุดนี้ได้ ต้องทุ่มเทเป็นอย่างมาก

§การบริหาร และการดำเนินงานที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ (Efficient Environmental Operations and Management)

§การบริหารจัดการที่ดี (Good Corporate Governance) ไม่คอรัปชั่น โปร่งใส ได้รับความเชื่อถือและไว้วางใจได้จากทั้งลูกค้าผู้ใช้ไฟฟ้า ผู้ที่จะมาทำธุรกรรมกับ กฟผ.

§เคารพในสิทธิมนุษยชน (Human Rights), Labor Practices, และ Fair Operating Practices,

§ใส่ใจในสังคมและชุมชน โดยเฉพาะที่ตั้งอยู่ในพื้นที่โรงไฟฟ้า

§สร้างเครือข่าย (Network of CSR Partnership) ระหว่าง กฟผ. และองค์กรอื่นทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

§ส่งเสริม สร้างสรรค์ (Corporate Culture on CSR) ในหมู่พนักงานทั่วทั้งองค์กร

§ส่งเสริม สร้างสรรค์ (CSR Management Practices) ในระดับผู้บริหาร

2. Value Creation และ Value Diversity

Value Creation เป็นการสร้างคุณค่า หรือ มูลค่า มักเกิดจากแนวคิดใหม่ๆที่มาจากจินตนาการ และแรงบันดาลใจของคนใดคนหนึ่ง หรือหลายคน อาจกล่าวได้ว่า Value creation จะก่อให้เกิด นวัตกรรม การสร้างสรรค์ สิ่งใหม่ๆ

Value Diversity เป็นการสร้างความหลากหลายทางคุณค่า ซึ่งมาจากความคิดที่หลากหลายของคนจาก หลายกลุ่ม หลาย Disciplines ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องเริ่มจาก “การเปิดกว้างทางความคิดก่อน”

กฟผ. เป็นองค์กรที่ค่อนข้างใหญ่ประกอบด้วยหลายหน่วยงาน และพนักงานที่มีจำนวนมาก และมี Disciplines หลากหลาย สินค้าก็มีลักษณะเป็นได้ทั้งสินค้าและบริการในขณะเดียวกัน และถือเป็นสาธารณูปโภคอย่างหนึ่งที่ทุกคนในสังคมจำเป็นต้องใช้

คุณค่าที่แท้จริงของ กฟผ. น่าจะเป็นสิ่งที่ Stakeholders เช่น ลูกค้า ประชาชน ผู้บริหารกฟผ. กระทรวงพลังงาน สื่อมวลชน ชุมชนและผู้ที่อยู่ในพื้นที่โรงไฟฟ้า คณะกรรมการ กฟผ. (EGATBoard) รวมทั้งคนภายใน กฟผ. เอง ที่ได้มอง กฟผ. ที่ได้สัมผัส กฟผ. (ซึ่งความจริงแล้วคำว่า “กฟผ.” ก็คือ พนักงานของ กฟผ. และการบริการด้านผลิตไฟฟ้าของ กฟผ.) แล้วมีความรู้สึกอย่างไร นั่นแหละคือ คุณค่าที่แท้จริงของ กฟผ. อาจจะเรียกว่า คุณค่าที่แท้จริงของ กฟผ.ก็คือStakeholders’ Satisfactions”

คุณค่าที่แท้จริงของ กฟผ. น่าจะมาจากการขับเคลื่อนของทุกคนคนใน กฟผ. โดยมีการ Share Visions, Share Knowledge และ Share Experiences ของ Stakeholders ทุกภาคส่วน (อาจจะมีการทำ Workshop หรือ การรับฟังความคิดเห็น) ซึ่งจะก่อให้เกิด ความศรัทธา (Trust) และ ความร่วมมือ (Cooperation) อย่างจริงใจ และจริงจัง ในหมู่ Stakeholders

คุณค่าที่แท้จริงขององค์กร จะมาจาก คุณค่าของระบบ (Systems) ทุกระบบในองค์กร

คุณค่าของระบบ(System Value) มาจาก คุณค่าของงาน (Work Value) ซึ่งคุณค่าของงาน ก็มาจาก คุณค่าของคน (Personal Value) คุณค่าของเครื่องจักร (Machine Value)และ คุณค่าของวัตถุดิบ (Material Value)

Value Diversity ของ กฟผ. มี 2 ระดับ คือ

§ระดับในองค์กร ที่เกิดจาก ทุกภาคส่วนใน กฟผ. ที่จะร่วมสร้าง Value

§ระดับ Stakeholders ที่เกิดจาก ทุกภาคส่วนของ Stakeholders เช่น ลูกค้า ประชาชน ผู้บริหาร กฟผ. กระทรวงพลังงาน สื่อมวลชน ชุมชนและผู้ที่อยู่ในพื้นที่โรงไฟฟ้า คณะกรรมการ กฟผ. (EGAT Board) นอกเหนือจากคนภายใน กฟผ. เอง ที่จะร่วมสร้าง Value

  • จากปัญหาในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าภายในประเทศ ทำให้ EGAT ต้องสร้างโอกาสในการพัฒนาโรงไฟฟ้าในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว พม่า แล้วส่งกลับมาใช้ในไทยด้วย โดยการถ่ายทอด Knowledge ด้านการพัฒนาโรงไฟฟ้าให้ เกิดการพัฒนาบุคลากรของประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้เกิด Value ของด้านบริการของ EGAT ตอบสนองต่อตลาดเชิงอารมณ์ความรู้สึก (Emotional Market) ที่ดีจากประเทศเพื่อนบ้าน เกิดความไว้วางใจ อยากให้เราไปร่วมพัฒนาด้านระบบไฟฟ้า และถือเป็น EGAT Nation Pride ด้วย
  • เน้นการสร้างกิจกรรมให้กับชุมชนที่เป็นแหล่งความรู้แบบเปิด (Open Source) เพราะคนคนเดียวไม่สามารถสร้างองค์ความรู้ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ได้ ต้องเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมและพัฒนาเพื่อเป้าหมายเดียวกัน
  • การสร้างบรรยากาศการทำงานให้เกิด Innovation เพื่อเพิ่ม Value ให้กับองค์กร พยายามผลักดันและกระตุ้นให้เกิดไอเดียใหม่ ๆ โดยเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วม และแบ่งปันความสำเร็จและความล้มเหลวด้วยกัน ร่วมทั้งสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาไอเดียอย่างต่อเนื่อง
  • เน้นการทำกิจกรรม CSR ที่ให้ความรู้สึกทางอารมณ์ (Add Emotion) มีเรื่องราว (Add a story) และทำให้เกิดความแตกต่าง (Make your activity unique)
  • เน้นการสร้างกิจกรรมที่มีองค์ประกอบของ การสร้างความรู้สึกร่วม (Emotionalize) เคารพในปัจเจกชน (Personalize) การกระจายอำนาจ (Decentralize) สร้างแนวคิดและนวัตกรรมใหม่ (Innovate)

3. อุปสรรคที่เกิดขึ้นในการทำงานที่ไม่ประสบความสำเร็จ

อุปสรรคที่สำคัญ ที่ทำให้งานไม่สำเร็จ ดูออกจะเป็นเรื่องที่ธรรมดา แต่มีสำคัญมากในเกือบทุกยุคทุกสมัย จนเกือบจะเรียกได้ว่าเป็นประเด็นที่ค่อนข้างคลาสสิค นั่นก็คือ การประสานงานที่ไม่ดีพอ อันเนื่องมาจาก

ประการแรก “การขาดความเข้าใจในงานแท้จริง” ส่วนมากจะมองเฉพาะความสำเร็จของตนเองหรือของหน่วยงานตนเอง ทำให้ต่างฝ่ายต่างมองสิ่งที่ตนเองจะต้องทำให้สำเร็จ และยึดถือสิ่งที่ตนเองเกี่ยวข้องจะต้องทำเท่านั้น โดยไม่มองให้กว้างไกลว่า แท้จริงแล้ว “ความสำเร็จร่วม”ของงานนี้อยู่ที่ไหน คืออะไร กล่าวคือ ไม่มีจุดมองร่วมกันว่าความสำเร็จร่วมของงานคืออะไร ถ้าเข้าใจถึงความสำเร็จร่วมของงานแล้ว จะเข้าใจถึงงานบางอย่างที่ Contact or Overlap กัน จะทราบว่างานไหนจะส่งผลกระทบต่อหน่วยงานอื่นมากน้อยอย่างไร จะเกิดบรรยากาศที่ร่วมมือกันมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดการประสานงานที่ดีขึ้นในระดับหนึ่ง

ประการที่สอง “การขาดมนุษยสัมพันธ์ที่ดี” เป็นการซ้ำเติมให้การประสานงานยิ่งเลวร้ายลงไปอีก ทำให้เกิดบรรยากาศในการทำงาน “เป็นพิษ” ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายที่หลายคนเป็นคนมีความรู้ความสามารถ แต่ขาดมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ทำให้การประสานงานแย่ลงไปอีก งานขาดความก้าวหน้า ขาดความสำเร็จ

ประการที่สาม “การขาดความเอื้อเฟื้อต่อกัน” ในการทำงาน ร่วมกันกับคนหมู่มากนั้น การเอื้อเฟื้อต่อกันเป็นเรื่องที่สำคัญไม่น้อยเช่นกัน หากขาดความเอื้อเฟื้อต่อกันแล้ว บรรยากาศในการทำงานจะเป็นแบบ “แห้งแล้ง” ตัวใครตัวมัน

ซึ่งอุปสรรคดังกล่าวนี้ การแก้ไขดูเหมือนจะง่าย “แต่ความจริงไม่น่าจะง่าย” เพราะ อุปสรรคดังกล่าวนี้สามารถที่จะมองเป็นปัญหาทางด้านการบริหาร (Management) ก็ได้ เป็นปัญหาด้านบุคคล (Personal) ก็ได้ เป็นปัญหาด้านระบบ (System) ก็ได้ นอกจากนี้ ทั้งสามด้านยังInterrelate กันอีกด้วย

งานกลุ่มที่ 5 The Renaissance Society ของ Rolf Jansen

1. อ่านหนังสือเล่มนี้

- หนังสือเล่มนี้ให้ภาพรวมเกี่ยวกับตลาดและโอกาส เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้อ่านได้คิดวิสัยทัศน์และกลยุทธรับอนาคตที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างยิ่งใหญ่และจะมี Innovation ขึ้นภายในองค์กร โดยองค์กรจะต้องตั้งคำถามว่าควรทำอะไรตั้งแต่ตอนนี้

2. สรุปประเด็นที่เป็นประโยชน์

- โลกมีการเปลี่ยแปลงไปอย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นต้องศึกษาอนาคตมากขึ้น วิธีที่ดีที่สุดในการรู้อนาคต คือ การเริ่มขยายจากปัจจุบัน (Extended Now) โดยดูว่ามีแนวโน้มอะไรที่ยังมองไม่เห็นในระยะสั้น ซึ่งจะทำให้องค์กรได้รับโอกาสและแนวคิดใหม่ ๆ

- บริษัทในอนาคตที่ไม่หวังกำไร แต่ดำเนินการให้อยู่รอดได้เท่านั้น จะเน้นที่การใช้ Ideas (A Nonmaterial Company) โดยกำไรส่วนใหญ่จะนำไปใช้เพื่อสังคม เช่น การกุศล ปกป้องสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ ฯลฯ

- โลกจะเปลี่ยนแปลงจากวัตถุ (Material) มาเป็นคุณค่า (Value) ตัวสินค้า (Products) จะเป็นเพียงแค่สิ่งที่เกิดร่วม (by-Product) ส่วนคุณค่า (Value) จะกลายเป็นสินค้าจริงจึงต้องหาให้ได้ว่าอะไรเป็นคุณค่า (Value) ของเรา

- ตลาดยุคจิตนิยม (Post materialist Marketplace) เป็นการซื้อด้วยใจเราอาจจะพบคู่แข่งทางธุรกิจใหม่ ๆ ที่ไม่คาดฝัน ผู้ชนะ คือ ผู้ที่สามารรถเสนอความเย้ายวนทางอารมณ์และความรู้สึกในการซื้อสินค้นของผู้บริโภคหรือลูกค้าได้มากที่สุด

- ในอนาคต (10 ปีข้างหน้า) จะมีชุมชนเสมือน (Virtual Communities) คือ รวมตัวกันผ่าน Social Medias มากมายหลายกลุ่มทั่วโลก ตามแต่ละวัตถุประสงค์ อาจเป็นกลุ่มด้านธุรกิจ ด้านการศึกษา ด้านสังคม ด้านธรรมชาติ ด้านการเมือง ฯลฯ องค์กรที่ฉลาดควรจะต้องอาศัยช่องทาง Social Medias เช่น Website Facebook ในการสร้างชุมชนเสมือนเพื่อธุรกิจทั้งในด้านความต้องการของลูกค้า การออกแบบ การผลิต การดฆษณา ซึ่งมีการแชร์ความคิดเห็นและความรู้ทั่วโลกจะเกิดสิ่งแใหม่ ๆ อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เสียค่าใช้จ่ายน้อยแต่มีประสิทธิภาพและคุณภาพสูง

- ประเทศที่พัฒนาแล้ว ประชาชนมีรายได้สูง ธุรกิจที่น่าจับตา คือ การท่องเที่ยว กีฬา ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ การตกแต่งอาคารบ้านเรือน สำนักงานในแนวธรรมชาติ

- ยุคของการไขว่คว้า ไล่ล่าความสุข (The Pursuit of Happiness) ตลาดทางด้านอารมณ์ความรู้สึก (Emotional Market) มีโอกาสทางการตลาดสูงมาก

- ในอนาคตงานบริการ จะถูกจ้างงานสูงมาก แรงงานที่มีทักษะน้อยจะถูกพัฒนาไปสู่การเป็นแรงงานที่มีทักษะสูง มีความเชี่ยวชาญเพิ่มขึ้น และห่วงโซ่คุณค่าของโลกจะยาวเพิ่มขึ้น และซับซ้อนตามไปด้วย

- คนจะบริโภคตามใจตัวเอง เพื่อตอบสนองต่ออารมณ์ไม่ใช่ความหิว ในอนาคตไลฟ์สไตล์ของคนอาจเป็นการซื้อสินค้าโดยใช้อารมณ์ตัดสิน 99 % และใช้เหตุผลเพียง 1 % ผู้ซื้อต้องการสินค้าที่บ่งบอกตัวตน รสนิยม (Personal Products) และยอมจ่ายเงินเพิ่มอีกเล็กน้อยเพื่อซื้อสินค้าที่บ่งบอกลักษณะเฉพาะของบุคคลอีกด้วย

- การต้องการแสดงเอกลัษณ์เป็นกุญแจสำคัญ สำหรับการตลาดในทุกที่ในโลกตราบเท่าที่ผู้บริโภคต้องการทางเลือกของตนเอง

- การพัฒนาคุณภาพของระบบวิทยาการเสมือนบนโลกความเป็นจริง (Augmented reality) คือ ความสามารถในการเชื่อมต่อข้อมูล กับสิ่งของหรือสถานที่แบบทันที (real-time) ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นตัวเปลี่ยนแปลงแนวทางในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเราและเมื่อมันได้แทรกซึมเข้าสู่ตลาดแล้วจะเป็นตัวเปลี่ยนการใช้ชีวิต การเรียนรู้ การทำงานของเราในอนาคต

- การบริหารจัดการแฟนคลับ หรือศาสตร์การสร้าง และบริหารกลุ่มของแฟนของบริษัท หรือสินค้าเป็นสิ่งจำเป็น เพราะในอนาคตลูกค้าจะไม่เชื่อโฆษณา ลูกค้าจะเชื่อใจครอบครัว เพื่อน และกลุ่มของเขา ทางเดียวที่จะมีความสัมพันธ์แบบตัวต่อตัว คือ สังคมแบบมีคุณค่า

- โลกยุคใหม่ให้ความสำคัญกับ “real-time” จะเห็นว่าบริษัทมุ่งเน้นพิจารณาเป็นรายไตรมาส หรืออีกนัยหนึ่ง พวกเขาสร้างปัจจุบันที่มีระยะสั้น การขยายมุมมองของภาพปัจจุบันให้ยาวขึ้น จะช่วยให้เราสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไม่แน่นอน

- โลกแห่งข้อมูล เราไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดได้ จำเป็นต้องเลือกข้อมูลบางอย่างมาใช้ และต้องเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และเหมาะสมในบริษัทนั้น ๆ มากที่สุด เพื่อให้ตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

- ควรให้มีคนหลาย ๆ คนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ โดยหาวิธีที่ทำให้คนเข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เช่น การทำวิจัย จะมีการเปิดโอกาสให้ห้องทดลองอื่น ๆ ทั่วโลกเข้ามามีส่วนพัฒนาและทดลอง

- วิถีชีวิตจะเปลี่ยนไปเป็นวิถีชีวิตแบบใหม่ ๆ ที่ทุกคนต้องมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า “e-bag” ติดตัวอยู่ตลอดเวลา

- โลกถูกกำหนดใหม่ด้วยข้อมูลข่าวสารที่สื่อสารกันอย่างทันควัน การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารอย่างฉับพลันทันทีมีชัยเหนือการแลกเปลี่ยนแบบ real-space

- การลดขนาดเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งมีเหตุผล 2 ประการ

1.เรียนรู้เพื่อจะได้ทำได้มากขึ้นด้วยคนที่น้อยลง ซึ่งหมายถึงปรับปรุงองค์กร

2.เรียนเพื่อที่จะได้รู้ว่าจะดำรงชีวิตด้วยปัจจัยที่ลดลง

- เราต้องมองภาพใหญ่ เหมือนกับการมองโลกคล้ายมีระบบของหลาย ๆ ระบบที่ทุกระบบมีผลกระทบต่อกันและกัน โดยประเมินผลการกระทำของมนุษย์ว่ามีผลกระทบกับโลกอย่างไร

- การบริหารจัดการ ไม่มีทฤษฎีที่แน่นอน และไม่มีทฤษฎีที่ดีที่สุด ในชีวิตจริงการบริหารจัดการมีความซับซ้อน และไม่แน่นอนอยู่เสมอ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสถานการณ์

- โครงการ CSR ของบริษัทต้องชัด ต้องการให้สื่อนำเสนออะไร เกี่ยวกับบริษัทควรบอกไม่เช่นนั้น สื่อจะคิดเอง และเกิดความผิดผลาดได้ ข่าวนั้นยิ่งดังยิ่งดี ไม่ควรปิดข่าว พนักงานชอบนโยบายที่โปร่งใส เพราะพนักงานก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคม และถ้าบริษัทจะเป็นส่วนหนึ่งของสังคมก็ต้องดูแลพนักงานด้วย

- การกระจายอำนาจดีที่สุด องค์กรที่ Flat จะช่วยกระตุ้นให้เกิดความคล่องตัวและเกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ

- ผู้นำในอนาคตต้องพบเจอกับความขัดแย้งไม่ลงรอยกันของทฤษฎีบริหารจัดการต่าง ๆ CEO ในอุดมคติ ต้องมีน้ำใจ เข้าใจความรู้สึกผู้อื่น ตัดสินใจได้ มีวิสัยทัศน์ ดู Cash Flow เป็นต้องสามารถทำให้องค์กรปรับตัวเข้ากับอนาคตได้ จะต้องสื่อสารกับบอร์ด พนักงาน ลูกค้า และทุกคนที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังต้องมีชีวิตครอบครัวที่ดี มีความสุขด้วย

- ความท้าท้าย สำหรับโลกตะวันตกแตกต่างจากความท้าทายสำหรับโลกตะวันออก ดังนี้

โลกตะวันตก

1.มีผลทางด้านอารมณ์ สินค้าต้องดึงดูดอารมณ์

2.มีผลทางด้านความเป็นส่วนตัว

3.มีผลทางด้านกระจายศูนย์

4.มีผลด้านการสร้างสรรค์สิ่งใหม่

5.มีผลด้านความเสมอภาค

โลกตะวันออก

1.เตรียมพร้อมสำหรับยุคถัดไป

2.โครงสร้างพื้นฐาน

3.การศึกษา

4.การผลิต

5.ความเป็นอัตโนมัติ

- ในอนาคต อาจเป็นสังคมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา (The Renaissance Society) สังคมสีเขียว (The Green Society) หรือสังคมเสี่ยง (The Risk Society) หรืออาจแตกต่างจากที่กล่าวไว้ในหนังสือ เราไม่สามารถตอบได้ แต่แนวโน้มชี้ให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญรออยู่ข้างหน้า ซึ่งขึ้นอยู่กับตัวเรามากกว่าเวลาที่ผ่านมาแล้วในอดีต

3.นำเอาหัวข้อสำคัญมาประยุกต์กับการทำงานของ กฟผ.

3.1CSR ปัจจุบัน นวัตกรรมด้าน CSR ของ กฟผ. ประกอบด้วย

- รวมแผน แยกปฏิบัติ

- CSR ภายใน

- CSR / PR

- ประเมินผล / Audit

- ปรับปรุง

CSR เริ่มจากภายในสู่ภายนอก โดยแบ่งเป็น

- CSR ในองค์กร

- CSR สังคมใกล้

- CSR สังคมไกล

การนำหัวข้อสำคัญในหนังสือมาประยุกต์ใช้เป็นการปรับปรุงพัฒนาต่อยอดให้ CSR ของ กฟผ. สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

1)สื่อสารให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ รับรู้ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เกี่ยวกับ CSR หรือประเด็นที่สังคมกำลังสนใจจับตามอง กฟผ. ให้ แก่พนักงาน ครอบคลุมทั้งองค์กร มีการเผยแพร่ข่าวสารภายในองค์กรที่โปร่งใสและเป็นจริง จะช่วยให้ทุกคนในองค์กรทลายกำแพงเข้ามาร่วมกันทำงาน CSR ได้เต็มประสิทธิภาพและทำหน้าที่ PR ให้ กฟผ. ได้ทุกคน

2)ในการที่ทำ PR ผ่านสื่อต้องทำโครงการ CSR ขององค์กรให้ชัด ต้องการให้สื่อนำเสนออะไร เกี่ยวกับองค์กร ควรบอกให้ชัด เรื่องดี ๆ ที่มีมากมายควรสื่อสาร Story ให้สังคมรับรู้อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

3)สร้างชุมชนเสมือนขึ้น สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน (Virtual Communities) โดยรวมตัวกันผ่านช่องทาง Social Medias เป็นกลุ่มต่าง ๆ ด้านพลังงาน ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านธรรมชาติ ฯลฯ เพื่อรับทราบความต้องการของลูกค้า ชุมชน มีการแชร์ความคิดเห็น และความรู้ทั่วประเทศและทั่วโลก ทำให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ และนวัตกรรม โดยเสียค่าใช้จ่ายน้อย แต่มีประสิทธิภาพและคุณค่าสูง

4)มีการสร้างเครือข่ายที่เป็นหน่วยงานรัฐ เอกชน และประชาชน มีการบริหารจัดการแฟนคลับ โดยจัดกิจกรรมร่วมกับท้องถิ่น ให้ท้องถิ่นเป็นเจ้าภาพร่วม เช่น จัดการท่องเที่ยว กีฬา บริเวณเขื่อนต่าง ๆ สร้างรายได้ให้จังหวัด เพื่อให้แฟนคลับทำหน้าที่โฆษณาประชาสัมพันธ์ให้แก่ครอบครัว เพื่อนฝูง ชุมชนต่อไป

5)มีการนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการดำเนินงานของ กฟผ. ความรู้ ความเข้าใจ ด้านพลังงาน ประโยชน์ที่ประเทศและสังคมโดยรวมจะได้รับจากการสร้างโรงไฟฟ้า เขื่อน ระบบส่งไฟฟ้า โดยใช้วิทยาการเสมือนบนโลกความเป็นจริง((Augmented reality) สร้างเป็น EGAT Learning Center (ศูนย์การเรียนรู้ ด้านพลังงานล้ำสมัย) มีจัดแสดงนิทรรศการและให้ความรู้ขึ้นที่สำนักงานกลาง กฟผ. และเขื่อนต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้เยาวชนและประชาชนตระหนักถึงความจำเป็นของพลังงานไฟฟ้าและมีความรู้ ความเข้าใจในการผลิตไฟฟ้า อันจะส่งผลให้เกิดความร่วมมืออันดีระหว่าง กฟผ.กับประชาชนให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การประหยัดพลังงาน รวมทั้งการสร้าง โรงไฟฟ้าในอนาคต

6)สร้างความมั่นใจเรื่องสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยในชุมชนรอบโรงไฟฟ้า เพราะในอนาคตคนจะคิดถึงความเสี่ยง ความปลอดภัย สุขภาพอนามัย และธรรมชาติมากขึ้น โดยกำหนดมาตรการ หน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง มีการพบปะประชาชนอย่างใกล้ชิด มีการ Audit โดยองค์กรหรือหน่วยงานระดับสากล

3.2Value Creation และ Value Diversity

1) Value Creation

องค์กรต้องสร้างภาพลักษณ์เป็นองค์กรหลักในการพัฒนาประเทศด้านพลังงานไฟฟ้า โดยเป็นมิตรกับสังคมและสิ่งแวดล้อม มีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้สื่อสารข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ทั้งจากบนลงล่าง และล่างขึ้นบน รวมทั้งในระนาบเดียวกันได้อย่างทั่วถึงและเหมาะสม สร้างให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ สนับสนุนให้เกิดนวัตกรรม มีการปรับปรุงกระบวการทำงานให้สอดประสานกันทั้งองค์กร เพื่อความแข็งแกร่งพร้อมรับโอกาสที่จะเข้ามาในอนาคต

กฟผ. ต้องเปลี่ยนจากวัตถุ (Material) มาเป็นคุณค่า (value) ทำให้ไฟฟ้า (Products) เป็นเพียงแค่สิ่งที่เกิดร่วม (by-Product) ที่มีคุณค่าเป็นความสุข ความภาคภูมิใจ รู้สึกถึงการมีส่วนร่วม สร้างความเจริญให้แก่ประเทศชาติ เมื่อมีแนวคิด บวก มีทัศนะคติที่ดีต่อ กฟผ. ก็จะเกิดความร่วมมือ ไม่ต่อต้านหรือขัดขวางเมื่อ กฟผ. มีโครงการใหม่ นวัตกรรมใหม่ ที่ได้จากการร่วมมือร่วมใจกันระหว่าง กฟผ. และชุมชนก็จะเกิดขึ้นได้ เช่น การนำลูกถ้วยที่หมดอายุใช้งานแล้วไปทำประโยชน์ทิ้งลงทะเลเพื่อสร้างแนวประการังเทียมเป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์ทะเล ช่วยให้ธรรมชาติที่ดีกลับคืนมา เป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งรายได้ของชุมชน หรือ การจัดโครงการให้สถาบันศึกษาประกวดออกแบบอุปกรณ์ไฟฟ้าประหยัดพลังงาน ซึ่งผู้ชนะก็จะภาคภูมิใจ มีความรู้สึกร่วมเป็นส่วนหนึ่งในเรื่องพลังงานไฟฟ้าด้วย

2)Value Diversity

ในอนาคตมีการบริหารข้ามศาสตร์ควรมีคนที่หลากหลายเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ มีการบริหารจัดการให้ทำงานร่วมกันอย่างประสบความสำเร็จสามารถดึงศักยภาพของทุกคนมาใช้ได้อย่างเต็มที่ โดยทำให้โครงสร้าง Flat ลงกว่าเดิม มีการใช้ทีมงานหรือคณะต่าง ๆ ทำงานมากขึ้น ไม่ยึดติดกนกับวิชาชีพใดวิชาชีพหนึ่ง โดยเน้นการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง เปิดโอกาส/สร้างบรรยากาศให้ปัจเจกชนอยากเสนอความคิดสร้างสรรค์และความเป็นตัวตนได้อย่างอิสระ มีความสุขกับการทำงาน ฯลฯ

นอกจากนี้ควรส่งคนไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหน่วยงานอื่นทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้เกิดทางเลือกด้านพลังงานที่หลากหลาย เกิดมุมมองใหม่ ๆ ด้านการทำธุรกิจเพิ่มทางเลือกในการลงทุนและการแข่งขัน ขยายธุรกิจไปในเอเชียและประเทศที่ยังมีความต้องการพัฒนาด้าน Inflastructure

3.3อุปสรรค์ที่เกิดขึ้นในการทำงานที่ไม่ประสบความสำเร็จ

1)ในยุคที่โลกไร้พรมแดนเต็มไปด้วยการแข่งขันและการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ทำให้มีคนลงแข่งขันในธุรกิจไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ประกอบกับที่ผ่านมา กฟผ.มีการดำเนินงานแบบรัฐวิสาหกิจทำให้ กฟผ. ประสบปัญหาในการสร้างผู้นำที่มีประสบการณ์ด้านธุรกิจเอกชน ที่มีภาวะผู้นำที่จะวางแผน กำหนดวิสัยทัศน์ นโยบาย เป้าหมายได้อย่างแม่นยำ ที่จะทำให้องค์กรได้เปรียบคู่แข่งขัน รัษาส่วนแบ่งตลาด/ได้ส่วนแบ่งตลาดเพิ่ม ซึ่งต้องใช้เวลาสร้างหลายปี

2)การดำเนินกิจการภายใต้การกำกับของรัฐบาล ทำให้ต้องปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ ระเบียบ คำสั่ง ที่รฐบาลกำหนด อีกทั้งมีอำนาจการตัดสินใจ ได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายและรัฐบาลกำหนด ทำให้ไม่คล่องตัว ไม่มีอิสระ เท่ากับเอกชน จึงไม่สามารถแข่งขันกับเอกชนทั้งในและนอกประเทศได้อย่างเต็มที่ หากไม่ได้รับการแก้ไขผ่อนปรนกฎระเบียบ และข้อำหนดต่าง ๆ จากรัฐบาล

3)โครงสายบังคับบัญชาแบบ ที่มีช่วงชั้นบังคับบัญชายาว ทำให้เกิดความล่าช้าในกระบวนการอนุมัติ ตัดสินใจหรือดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ควรแก้ไขปรับปรุงโครงสร้างให้กระทัดรัด และคล่องตัวขึ้น

4)ขนาดองค์กรที่ใหญ่ จำนวนคนที่มาก ทำให้บางครั้งเกิดปัญหาในการสื่อสารไม่ทั่วถึง และใช้เวลา ดังนั้นจึงควรพัฒนาเทคโลยีให้มีการสื่อสารกันอย่างฉับพลันทันทีเพื่อเพิ่มศักยภาพให้แก่องค์กร

5)สถานที่ทำงานมีกระจายอยู่ทั่วประเทศ บางแห่งที่มีพื้นที่มาก เช่น เขื่อนต่าง ๆ และเกิดค่าใช้จ่ายจากสินทรัพย์เหล่านี้ ดังนั้นต้องบริหารจัดการให้มีค่าใช้จ่ายน้อยและพยายามบริหารสินทรัพย์ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

6)การขาดช่วงการรับพนักงานใหม่ ตามนโยบายรัฐบาลเป็นเวลานาน จึงทำให้เกิดปัญหาการขาดช่วงการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาย Core Business (วิศวกรหรือช่าง) จึงต้องเร่งสร้างระบบถ่ายทอดและจัดเก็บองค์ความรู้ โดยพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการทางด้านฝึกอบรม โดยวิธี On The Job Training หรือ Coaching เข้ามาช่วยเร่งรัดให้พนักงานใหม่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสร้างคนที่รับเข้าใหม่เป็น Talent เตรียมรับอนาคตอีกด้วย

7)ในอนาคต 10ปีข้างหน้า กฟผ. มีโครงการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าและระบบส่งตามแผนพัฒนาพลังไฟฟ้า จำนวนมาก ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนแต่ละปีเป็นหลักแสนล้านบาท แต่มีข้อจำกัดเรื่องกรอบวงเงินที่รัฐบาลค้ำประกันเงินกู้ให้น้อยกว่ามาก ทำให้ต้องเร่งศึกษาหาแนวทางบริหารจัดการหาแหล่งเงินทุนให้เพียงพอใช้งานได้ตามแผน

8)กฟผ. มีวัฒนธรรมในการทำงานที่ดีที่ยืดถือสืบทอดกันมา เช่น การทำงานเป็นทีม การทำงานด้วยความโปร่งใส การเอื้ออาทร เคารพผู้อาวุโสกว่า แต่ระยะหลังได้ขาดช่วงไป ทำให้บางครั้งเกิดปัญหาระหว่างคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ จึงควรเร่งสร้างวัฒนธรรมที่ดีงามให้กลับคืนมา เพื่อเป็นพลังให้เกิดความร่วมแรงร่วมใจให้เกิดผลสำเร็จ พร้อมทั้งสร้างวัฒนธรรมใหม่ในการชอบคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ควบคู่กันไปด้วยกัน

…………………………………………………

อัจฉรี เด่นสิริมงคล

ขออนุญาตส่งงานรวบยอดเลยนคะ

กรณีศึกษา Microsoft จากอดีต ถึง ปัจจุบัน กับภาวะผู้นำ ของ CEO

1 Bill Gate

ผู้นำยุคบุกเบิก เริ่มกอตั้งและพัฒนาอยู่สม่ำเสมอไปสู่จุดที่ตนพอใจและเป็นการท้าทายตนเอง มีควา มมานะอดทนไม่ย่อท้อเพื่อความสำเร็จขององค์กร ต้องฝ่าฟันอุปสรรคให้ได้ สิ่งที่เป็นลักษณะหลักคือเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล นำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จมองหากลยุทธ์ใหม่อยู่เสมอ

2. Steve Ballmer

ผู้นำยุคที่อยู่ตัว เข้าที่แล้วไม่ได้มีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ เน้นความมีมนุษยสัมพันธ์กับเพื่อน รับฟังความคิดเห็นจากพนักงาน เน้นการสื่อสารที่เป็นปัญหาในองค์กรมาโดยตลอด

3. Satya Nadella

ผู้นำยุคใหม่ทีจะสร้างนวัตกรรมทางด้านซอฟแวร์ใหม่ หลังจากทำงานกับไมโครซอฟมากว่ายี่สิบปี เป็นผู้นำที่สร้าง Trust ให้กับบริษัท เป็นคนที่มีนิสัยอ่อนน้อม เข้าได้กับทุกคน ปรัชญการทำงานคือ กระตือรือร้นและกระหายที่จะเรียนรู้

การประยุกต์ใช้กับกฟผ.

กฟผ.ผ่านยุคของผู้นำ มาหลายยุค เช่นเดียวกัน ตั้งแต่ยุคบุกเบิก ยุคที่ทรงตัว ยุคที่ต้องปรับตัวให้ทันเปลี่ยนแปลงไปสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลง โดยผู้ว่าการคนปัจจุบันกำลังอยู่ในช่วงของการสร้าง Trust ให้ กฟผ. ทั้งด้านความมั่นคงของการผลิตไฟฟ้า ระบบส่งไฟฟ้า การจัดหาพลังงานทดแทน ความรับผิดชอบต่อสังคม การให้ความสำคัญของคุณค่าของทรัพยากรมนุษย์ โดยมองอนาคตขององค์กร กำหนดทิศทางทำธุรกิจรับงานภายนอก ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจในเครือมากขึ้นเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งขององค์กรในอีกทางหนึ่ง

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2557

กิจกรรมรักษ์กาย ณ ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี

ธรรมชาติบำบัด ปรับชีวิต เปลี่ยนอาหาร หลักการแพทย์พอเพียง

นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล ได้บรรยายลักษณะและเกณฑ์วัด ดัชนีมวลกาย ปัญหาของความอ้วน และอันตรายของความอ้วน การลดน้ำหนักด้วยวิธีธรรมชาติ กินเนื้อ กินผัก ออกกำลังกายให้มาก แล้วพูดถึงตัวช่วยในการลดไขมัน และลดน้ำหนัก การป้องกันโรค หวัด ภูมิแพ้ หอบหืด และควรมีตู้สมุนไพรประจำบ้าน ซึ่งเรื่องนี้ทราบดีอยู่แล้ว

พญ. ลลิตา ธีระสิริ อธิบายเรื่อง วารีบำบัดแห่งน้ำ ว่ามีหลายวิธีที่นิยม มีทีมาจากต่างประเทศ และภูมิปัญยาของคนไทย ในการนำประโยชน์จากสมุนไพรมาใช้ รักษาโรคต่างๆ และส่งเสริมสุขภาพ

ได้มีการแบ่งกลุ่มทำกิจกรรมเพื่อสุขภาพ ได้แก่ Mat Exercises , Hydro aerobics , ซาวน่า , อบสมุนไพร ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ประโชน์ คือสดชื่น ได้เรียนรู้ที่จะนำไปดำเนินการต่อไป

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557 ภาคเช้า ที่เขื่อนศรีนครินทร์

Networking Capital

หัวข้อนี้เป็นการให้ความสำคัญของทุนทางด้านเครือข่าย จึงมีวิทยากรหลากหลายอาชีพที่คัดสรรมาแล้วโดยเฉพาะ

  1. ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี ได้อธิบายถึงมุมมองภาพใหญ่ด้านยุทธศาสตร์ การบริหารจัดการของจังหวัดกาญจนบุรี และโครงการที่น่าสนใจ เกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน / พลังงาน /การบริหารจัดการภัยพิบัติ และภัยธรรมชาติ การเตรียมพร้อมสู่อาเซียน

อ.จีระ อยากให้มองภาพกว้าง การเมือง เศรษฐกิจและสังคม รวมทั้ง Logistic

2.คุณสหัสนัย แนะนำกฟผ. เรื่อง CSR การมีส่วนร่วมกับชุมชน ผสานโครงการกับการท่องเที่ยว การสร้างแพทีพัก การเข้าถึงแหล่งเงินทุน SME bank ไม่ให้กู้เงินเพราะบอกว่าแพเป็นสังหาริมทรัพย์ อ.จีระ ให้ความเห็นว่า กฟผ. มี ไอเดียดี แต่ติดที่ระบบ

3.คุณประณต ให้ประเด็นที่พลังงานจังหวัดเกี่ยวข้องกับ กฟผ. และอยากให้กฟผ.ไปหาชุมชนล่วงหน้า 3 ปี

เพื่อหาข้อมูลแผนชุมชนเชื่อมโยงกับการประหยัดพลังงาน

อ. จีระฝากให้ทีมงานไปติดตามผล / ข้อเสนอแนะจากการสัมนา เสนอให้ กฟผ.ทำวิจัยต่อเนื่อง เรื่องกองทุนพัฒนา

ไฟฟ้า นำไปใช้ได้อย่างไร

4.คุณยุทธการ เอ็นจีโอ ระดับพรีเมี่ยม แนะนำว่ากฟผ. ต้องเข้าใจ บทบาทของการไฟฟ้า ภาพพจน์ นอกจากนี้

ขอเสนอแนวคิดให้มี เครือข่ายผู้ผลิตไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตขนาดเล็ก โซลาเซล เป็นต้น

อ.จีระ : Turn action to execution เอาชนะอุปสรรค

5.คุณคเชนทร์ ตัวแทนภาคธุรกิจ อยู่ SCG paper แนวคิดสร้างทุนทางเครือข่าย เน้นการลงทุนระยะยาว

ซึ่งต้องใช้เว ลนานมาก ให้คนยอมรับ เชื่อมั่นศรัทธา ปฏิบัติกับชุมชนต้องสมดุล อุดมการณ์ คือ ต้องเชื่อมั่นใน

ความ รับผิดชอบต่อสังคม ทรัพยากรมีจำกัดต้องใช้อย่างคุ้มค่า นโยบาย One manager One Community

“ เอาชุมชน เป็นตัวตั้ง “

อ.จีระ : ขอให้ทำในเชิง Value added และ Value Creation ให้ได้ การสร้างทรัพยากรมนุษย์ต้องอาศัยปรัชญาและ ความเชื่อ แต่ Fact ของ กฟผ.คือHR Department เป็นไซโล Function งานดี Non Hrมีผลประกอบการดี

แต่อนาคต ต้องมี ผลประกอบการและความสุข ดังนั้น HR Function ต้องเปลี่ยน Role

ต้องให้ StakeHolder อื่นๆ มาCo-creation

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557 ภาคบ่าย

HR for non HR และการปรับใช้กับ งาน CSR ของกฟผ.

อ.จีระได้ให้ข้อคิดว่า ทรัพยากรสำคัญที่สุดในปัจจุบันไม่ใช่เงิน สิ่งของ หรือเครื่องจักร แต่เป็นคน ที่ต้องพัฒนาไม่มีวันหยุด เป็นการพัฒนาระยะยาวทั้งชีวิต

การมองภาพทรัพยากรมนุษย์ จาก Macro สู่ Micro ถ้าไม่มีการพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงเท่ากับว่าเราได้ตาย และเราต้องเปลี่ยนแปลง ก่อนจะถูกบังคับให้เปลี่ยน

มีการเปรียบเทียบ Old HR กับ New HR สรุปว่า HR สมัยใหม่ จะต้องมีการกำหนดStrategic , Change Management และต้องทำให้เกิด Respect & Dignity และเป็น Strategic Partnership ในด้านของคุณค่าจะต้องเป็น Value added ก่อให้เกิดความกระหายที่จะเรียนรู้

พื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

1.Human Capital ทุนมนุษย์

2.Intellectual ทุนทางปัญญา

3.Ethical ทุนทางจริยธรรม

ทฤษฎีทุนใหม่ 5 k’s เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

-Creative Capital

-Knowledge Capital

-Innovation

-Emotional

-Cultural

ทฤษฎี HRDS เพื่อสร้างทุนแห่งความสุข การทำงานร่วมกับบุคคลอื่น และการบริหารทุนมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล โดยแบ่งเป็นทุนที่มองเห็นและมองไม่เห็น ผู้นำจะต้องเริ่มให้มี Aware และExecution คือการลงทุนให้สำเร็จ CEO + HR + Non HR ที่มีบทบาทร่วมมี Visionไปด้วยกัน เจาะไซโลแต่ละสายงาน กำหนดนโยบายองค์กร ดำเนินการด้าน HR สำหรับ Non HR จะต้องดูแลทรัพยากรบุคคลากรตัวเอง โดยให้มี Diversity และ Networking

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557 ภาคเช้า

การนำเสนออย่างทรงพลังและประทับใจ อ.จิตสุมาลย์ อมาตยกุล

มีการทำกิจกรรมหลายกิจกรรมที่เหมาะสมกับเวลา เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และให้ เทคนิค Presentation ให้รู้จักแก้ปัญหาเฉพาะหน้า พร้อมเสมอและมีศิลปะในการพูด

สิ่งที่ได้รับ คือ ความสนุกควบคู่กับความรู้ เทคนิคการนำเสนอ ต้องฝึกภาษากายให้มากๆ เน้นน้ำเสียงที่เชิญชวนสำหรับผู้ฟัง ให้เกิด Brand sense และเข้าสู่ Champion Zone ซึ่งเป็นเลิศด้านเนื้อหา และผู้นำเสนอ

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557 ภาคบ่าย

นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน ( Social Innovation กับการทำงานของ กฟผ.

ดร. จีระเดช เป็นผู้ดำเนินรายการ

หัวข้อนี้ฟังสนุก ได้ฟัง เรื่องราวด้าน CSR ของกฟผ. จาก ชคส. ประสบการณืจากครูบาสุทธินันท์ ทำอย่างไรให้ชุมชนเข้มแข็ง อยากรู้ ใฝ่รู้ คุณสุทธิเดชได้เล่าเรื่องราวนวัตกรรมเชิงสังคมของ กฟภ.ว่า เป็นเรื่องใหม่ เป็นเรื่องสร้างสรรค์ และต้องสร้างองค์ความรู้ตลอดจนคำวิพากษ์ของผู้เข้าอบรมในเรื่อง CSR ที่ดำเนินการแล้วของ กฟผ. จำเป็นต้องมีความต่อเนื่องและหาพันธมิตรร่วมมือกับ กฟภ.ที่ดูเหมือนจะใกล้ชิดชุมชนมากกว่า

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557 ภาคเย็น

อ. กิตติ ชยางคกุล ได้มาแนะนำ เกี่ยวกับหัวข้อโครงการวิจัยในแต่ละกลุ่ม เพื่อจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัย

- การชี้ชัดปัญหาและการจัดทำปัญหาการวิจัย โดยหัวข้อที่จะทำเป็นปัญหาที่สามารถเห็นผลได้ ภายใน 1-3 ปี และมีความเป็นไปได้ที่จะแก้ปัญหานั้น หรือเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหา

สิ่งที่ได้จากอาจารย์คือ ความเอาใจใส่ พยายามที่จะตั้งคำถามเค้นปัญหา ออกมา เพื่อให้มีการทำวิจัยในเรื่องที่เหมาะสม อาจารย์น่ารักมากค่ะ

อ.พิชญ์ภูรี แนะนำ การเขียน Paper และ การ Presentation

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557 ภาคเช้า

กิจกรรมดูงาน ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม จ. กาญจนบุรี

ผู้นำศูนย์ได้เล่าเรื่องการแนะแนวการสิกรรม ให้กับชุมชนเห็นประโยชน์ของการพึ่งพาตนเอง เป็นหน้าที่ของทุกภาคส่วนที่ต้องปฏิรูปประเทศ เพราะทุกคนเป็นหน่วยหนึ่งของสังคม ได้อธิบายประโยชน์ของพืชผักสมุนไพรธรรมชาติที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย สามารถนำไปแปรรูปและใช้ประโชน์ได้หลายรูปแบบ

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557 ภาคบ่าย

กิจกรรมดูงาน ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีการเกษตร และพลังงานทางเลือก จ. กาญจนบุรี

คุณยุทธการ ได้บรรยายประสบการณ์ การวิจัยพลังงานทางเลือกประเภทต่างๆ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม แก๊สชีวมวลเป็นต้น ได้ดูตัวอย่างการประดิษฐ์เตาแก๊สที่ใช้ใบไม้เป็นเชื้อเพลิง อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือเทคนิคในการชักชวนให้ชาวบ้านนำไปใช้ ต้องตอบคำถามชาวบ้านให้ได้ว่าเกิดประโยชน์อย่างไร

งานกลุ่มที่ 5

The Renaissance Society ของ Rolf Jansen

1.อ่านหนังสือเล่มนี้

หนังสือเล่มนี้ให้ภาพรวมเกี่ยวกับ ตลาดและโอกาส เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้อ่านได้คิดวิสัยทัศน์และกลยุทธ รับอนาคตที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างยิ่งใหญ่และจะมี Innovation ขึ้นภายในองค์กร โดยองค์กรจะต้องตั้งคำถามว่าควรทำอะไรตั้งแต่ตอนนี้

2.สรุปประเด็นที่เป็นประโยชน์

โลกมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นต้องศึกษาอนาคตมากขึ้น วิธีที่ดีที่สุดในการรู้อนาคตคือ การเริ่มขยายจากปัจจุบัน (Extended Now) โดยดูว่ามีแนวโน้มอะไรที่ยังมองไม่เห็นในระยะสั้น ซึ่งจะทำให้องค์กรได้รับโอกาสและแนวคิดใหม่ ๆ

บริษัทในอนาคตที่ไม่หวังกำไร แต่ดำเนินการให้อยู่รอดได้เท่านั้น จะเน้นที่การใช้ Ideas

(A Nonmaterial Company) โดยกำไรส่วนใหญ่จะนำไปใช้เพื่อสังคม เช่น การกุศล ปกป้องสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ ฯลฯ

โลกจะเปลี่ยนแปลงจากวัตถุ (Material) มาเป็นคุณค่า (Value) ตัวสินค้า (Products) จะเป็นเพียงแค่สิ่งที่เกิดร่วม (by-Product) ส่วนคุณค่า (Value) จะกลายเป็นสินค้าจริง จึงต้องหาให้ได้ว่าอะไรเป็นคุณค่า (Value) ของเรา

ตลาดยุคจิตนิยม (Post materialist Marketplace) เป็นการซื้อด้วยใจเราอาจจะพบคู่แข่งทางธุรกิจใหม่ ๆ ที่ไม่คาดฝัน ผู้ชนะ คือ ผู้ที่สามารถเสนอความเย้ายวนทางอารมณ์ และความรู้สึกในการซื้อสินค้าของผู้บริโภคหรือลูกค้าได้มากที่สุด

ในอนาคต (10 ปีข้างหน้า) จะมีชุมชนเสมือน (Virtual Communities) คือรวมตัวกันผ่าน Social Medias มากมายหลายกลุ่มทั่วโลก ตามแต่ละวัตถุประสงค์ อาจเป็นกลุ่มด้านธุรกิจ ด้านการศึกษา ด้านสังคม ด้านธรรมชาติ ด้านการเมือง ฯลฯ องค์กรที่ฉลาดควรจะต้องอาศัยช่องทาง Social Medias เช่น Website Facebook ในการสร้างชุมชนเสมือน เพื่อธุรกิจทั้งในด้านความต้องการของลูกค้า การออกแบบ การผลิต การโฆษณา ซึ่งมีการแชร์ความคิดเห็นและความรู้ทั่วโลกจะเกิดสิ่งใหม่ ๆ อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เสียค่าใช้จ่ายน้อยแต่มีประสิทธิภาพและคุณภาพสูง

ประเทศที่พัฒนาแล้ว ประชาชนมีรายได้สูง ธุรกิจที่น่าจับตา คือ การท่องเที่ยว กีฬา ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ การตกแต่งอาคารบ้านเรือน สำนักงานในแนวธรรมชาติ

ยุคของการไขว่คว้า ไล่ล่าความสุข (The Pursuit of Happiness) ตลาดทางด้านอารมณ์ความรู้สึก (Emotional Market) มีโอกาสทางการตลาดสูงมาก

ในอนาคตงานบริการ จะถูกจ้างงานสูงมาก แรงงานที่มีทักษะน้อยจะถูกพัฒนาไปสู่การเป็นแรงงานที่มีทักษะสูง มีความเชี่ยวชาญเพิ่มขึ้น และห่วงโซ่คุณค่าของโลกจะยาวเพิ่มขึ้น และซับซ้อนตามไปด้วย

คนจะบริโภคตามใจตัวเอง เพื่อตอบสนองต่ออารมณ์ไม่ใช่ความหิว ในอนาคตไลฟ์สไตล์ของคนอาจเป็นการซื้อสินค้าโดยใช้อารมณ์ตัดสิน 99 % และใช้เหตุผลเพียง 1 % ผู้ซื้อต้องการสินค้าที่บ่งบอกตัวตน รสนิยม (Personal Products) และยอมจ่ายเงินเพิ่มอีกเล็กน้อยเพื่อซื้อสินค้าที่บ่งบอกลักษณะเฉพาะของบุคคลอีกด้วย

การต้องการแสดงเอกลัษณ์เป็นกุญแจสำคัญ สำหรับการตลาดในทุกที่ในโลกตราบเท่าที่ผู้บริโภคต้องการทางเลือกของตนเอง

การพัฒนาคุณภาพของระบบวิทยาการเสมือนบนโลกความเป็นจริง (Augmented reality) คือ ความสามารถในการเชื่อมต่อข้อมูล กับสิ่งของหรือสถานที่แบบทันที (real-time) ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นตัวเปลี่ยนแปลงแนวทางในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเราและเมื่อมันได้แทรกซึมเข้าสู่ตลาดแล้วจะเป็นตัวเปลี่ยนการใช้ชีวิต การเรียนรู้ การทำงานของเราในอนาคต

การบริหารจัดการแฟนคลับ หรือศาสตร์การสร้าง และบริหารกลุ่มของแฟนของบริษัท หรือสินค้าเป็นสิ่งจำเป็น เพราะในอนาคตลูกค้าจะไม่เชื่อโฆษณา ลูกค้าจะเชื่อใจครอบครัว เพื่อน และกลุ่มของเขา ทางเดียวที่จะมีความสัมพันธ์แบบตัวต่อตัว คือ สังคมแบบมีคุณค่า

โลกยุคใหม่ให้ความสำคัญกับ “real-time” จะเห็นว่าบริษัทมุ่งเน้นพิจารณาเป็นรายไตรมาส หรืออีกนัยหนึ่ง พวกเขาสร้างปัจจุบันที่มีระยะสั้น การขยายมุมมองของภาพปัจจุบันให้ยาวขึ้น จะช่วยให้เราสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไม่แน่นอน

โลกแห่งข้อมูล เราไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดได้ จำเป็นต้องเลือกข้อมูลบางอย่างมาใช้ และต้องเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และเหมาะสมในบริษัทนั้น ๆ มากที่สุด เพื่อให้ตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

ควรให้มีคนหลาย ๆ คนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ โดยหาวิธีที่ทำให้คนเข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เช่น การทำวิจัย จะมีการเปิดโอกาสให้ห้องทดลองอื่น ๆ ทั่วโลกเข้ามามีส่วนพัฒนาและทดลอง

วิถีชีวิตจะเปลี่ยนไปเป็นวิถีชีวิตแบบใหม่ ๆ ที่ทุกคนต้องมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า “e-bag” ติดตัวอยู่ตลอดเวลา

โลกถูกกำหนดใหม่ด้วยข้อมูลข่าวสารที่สื่อสารกันอย่างทันควัน การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารอย่างฉับพลันทันทีมีชัยเหนือการแลกเปลี่ยนแบบ real-space

การลดขนาดเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งมีเหตุผล 2 ประการ

1.เรียนรู้เพื่อจะได้ทำได้มากขึ้นด้วยคนที่น้อยลง ซึ่งหมายถึงปรับปรุงองค์กร

2.เรียนเพื่อที่จะได้รู้ว่าจะดำรงชีวิตด้วยปัจจัยที่ลดลง

เราต้องมองภาพใหญ่ เหมือนกับการมองโลกคล้ายมีระบบของหลาย ๆ ระบบที่ทุกระบบมีผลกระทบต่อกันและกัน โดยประเมินผลการกระทำของมนุษย์ว่ามีผลกระทบกับโลกอย่างไร

การบริหารจัดการ ไม่มีทฤษฎีที่แน่นอน และไม่มีทฤษฎีที่ดีที่สุด ในชีวิตจริงการบริหารจัดการมีความซับซ้อน และไม่แน่นอนอยู่เสมอ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสถานการณ์

โครงการ CSR ของบริษัทต้องชัด ต้องการให้สื่อนำเสนออะไร เกี่ยวกับบริษัทควรบอกไม่เช่นนั้น สื่อจะคิดเอง และเกิดความผิดผลาดได้ ข่าวนั้นยิ่งดังยิ่งดี ไม่ควรปิดข่าว พนักงานชอบนโยบายที่โปร่งใส เพราะพนักงานก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคม และถ้าบริษัทจะเป็นส่วนหนึ่งของสังคมก็ต้องดูแลพนักงานด้วย

การกระจายอำนาจดีที่สุด องค์กรที่ Flat จะช่วยกระตุ้นให้เกิดความคล่องตัวและเกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ

ผู้นำในอนาคตต้องพบเจอกับความขัดแย้งไม่ลงรอยกันของทฤษฎีบริหารจัดการต่าง ๆ CEO ในอุดมคติ ต้องมีน้ำใจ เข้าใจความรู้สึกผู้อื่น ตัดสินใจได้ มีวิสัยทัศน์ ดู Cash Flow เป็นต้องสามารถทำให้องค์กรปรับตัวเข้ากับอนาคตได้ จะต้องสื่อสารกับบอร์ด พนักงาน ลูกค้า และทุกคนที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังต้องมีชีวิตครอบครัวที่ดี มีความสุขด้วย

ความท้าท้าย สำหรับโลกตะวันตกแตกต่างจากความท้าทายสำหรับโลกตะวันออก ดังนี้

โลกตะวันตก

1.มีผลทางด้านอารมณ์ สินค้าต้องดึงดูดอารมณ์

2.มีผลทางด้านความเป็นส่วนตัว

3.มีผลทางด้านกระจายศูนย์

4.มีผลด้านการสร้างสรรค์สิ่งใหม่

5.มีผลด้านความเสมอภาค

โลกตะวันออก

1.เตรียมพร้อมสำหรับยุคถัดไป

2.โครงสร้างพื้นฐาน

3.การศึกษา

4.การผลิต

5.ความเป็นอัตโนมัติ

ในอนาคต อาจเป็นสังคมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา (The Renaissance Society) สังคมสีเขียว (The Green Society) หรือสังคมเสี่ยง (The Risk Society) หรืออาจแตกต่างจากที่กล่าวไว้ในหนังสือ เราไม่สามารถตอบได้ แต่แนวโน้มชี้ให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญรออยู่ข้างหน้า ซึ่งขึ้นอยู่กับตัวเรามากกว่าเวลาที่ผ่านมาแล้วในอดีต

3.นำเอาหัวข้อสำคัญมาประยุกต์กับการทำงานของ กฟผ.

3.1CSR

ปัจจุบัน นวัตกรรมด้าน CSR ของ กฟผ. ประกอบด้วย

-รวมแผน แยกปฏิบัติ

-CSR ภายใน

-CSR / PR

-ประเมินผล / Audit

-ปรับปรุง

CSR เริ่มจากภายในสู่ภายนอก โดยแบ่งเป็น

-CSR ในองค์กร

-CSR สังคมใกล้

-CSR สังคมไกล

การนำหัวข้อสำคัญในหนังสือมาประยุกต์ใช้เป็นการปรับปรุงพัฒนาต่อยอดให้ CSR ของ กฟผ. สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

1)สื่อสารให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ รับรู้ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เกี่ยวกับ CSR หรือประเด็นที่สังคมกำลังสนใจจับตามอง กฟผ. ให้ แก่พนักงาน ครอบคลุมทั้งองค์กร มีการเผยแพร่ข่าวสารภายในองค์กรที่โปร่งใสและเป็นจริง จะช่วยให้ทุกคนในองค์กรทลายกำแพงเข้ามาร่วมกันทำงาน CSR ได้เต็มประสิทธิภาพและทำหน้าที่ PR ให้ กฟผ. ได้ทุกคน

2)ในการที่ทำ PR ผ่านสื่อต้องทำโครงการ CSR ขององค์กรให้ชัด ต้องการให้สื่อนำเสนออะไร เกี่ยวกับองค์กร ควรบอกให้ชัด เรื่องดี ๆ ที่มีมากมายควรสื่อสาร Story ให้สังคมรับรู้อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

3)สร้างชุมชนเสมือนขึ้น สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน (Virtual Communities) โดยรวมตัวกันผ่านช่องทาง Social Medias เป็นกลุ่มต่าง ๆ ด้านพลังงาน ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านธรรมชาติ ฯลฯ เพื่อรับทราบความต้องการของลูกค้า ชุมชน มีการแชร์ความคิดเห็น และความรู้ทั่วประเทศและทั่วโลก ทำให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ และนวัตกรรม โดยเสียค่าใช้จ่ายน้อย แต่มีประสิทธิภาพและคุณค่าสูง

4)มีการสร้างเครือข่ายที่เป็นหน่วยงานรัฐ เอกชน และประชาชน มีการบริหารจัดการแฟนคลับ โดยจัดกิจกรรมร่วมกับท้องถิ่น ให้ท้องถิ่นเป็นเจ้าภาพร่วม เช่น จัดการท่องเที่ยว กีฬา บริเวณเขื่อนต่าง ๆ สร้างรายได้ให้จังหวัด เพื่อให้แฟนคลับทำหน้าที่โฆษณาประชาสัมพันธ์ให้แก่ครอบครัว เพื่อนฝูง ชุมชนต่อไป

5)มีการนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการดำเนินงานของ กฟผ. ความรู้ ความเข้าใจ ด้านพลังงาน ประโยชน์ที่ประเทศและสังคมโดยรวมจะได้รับจากการสร้างโรงไฟฟ้า เขื่อน ระบบส่งไฟฟ้า โดยใช้วิทยาการเสมือนบนโลกความเป็นจริง((Augmented reality) สร้างเป็น EGAT Learning Center (ศูนย์การเรียนรู้ ด้านพลังงานล้ำสมัย) มีจัดแสดงนิทรรศการและให้ความรู้ขึ้นที่สำนักงานกลาง กฟผ. และเขื่อนต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้เยาวชนและประชาชนตระหนักถึงความจำเป็นของพลังงานไฟฟ้าและมีความรู้ ความเข้าใจในการผลิตไฟฟ้า อันจะส่งผลให้เกิดความร่วมมืออันดีระหว่าง กฟผ.กับประชาชนให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การประหยัดพลังงาน รวมทั้งการสร้าง โรงไฟฟ้าในอนาคต

6)สร้างความมั่นใจเรื่องสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยในชุมชนรอบโรงไฟฟ้า เพราะในอนาคตคนจะคิดถึงความเสี่ยง ความปลอดภัย สุขภาพอนามัย และธรรมชาติมากขึ้น โดยกำหนดมาตรการ หน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง มีการพบปะประชาชนอย่างใกล้ชิด มีการ Audit โดยองค์กรหรือหน่วยงานระดับสากล

3.2Value Creation และ Value Diversity

1) Value Creation

องค์กรต้องสร้างภาพลักษณ์เป็นองค์กรหลักในการพัฒนาประเทศด้านพลังงานไฟฟ้า โดยเป็นมิตรกับสังคมและสิ่งแวดล้อม มีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้สื่อสารข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ทั้งจากบนลงล่าง และล่างขึ้นบน รวมทั้งในระนาบเดียวกันได้อย่างทั่วถึงและเหมาะสม สร้างให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ สนับสนุนให้เกิดนวัตกรรม มีการปรับปรุงกระบวการทำงานให้สอดประสานกันทั้งองค์กร เพื่อความแข็งแกร่งพร้อมรับโอกาสที่จะเข้ามาในอนาคต

กฟผ. ต้องเปลี่ยนจากวัตถุ (Material) มาเป็นคุณค่า (value) ทำให้ไฟฟ้า (Products) เป็นเพียงแค่สิ่งที่เกิดร่วม (by-Product) ที่มีคุณค่าเป็นความสุข ความภาคภูมิใจ รู้สึกถึงการมีส่วนร่วม สร้างความเจริญให้แก่ประเทศชาติ เมื่อมีแนวคิด บวก มีทัศนะคติที่ดีต่อ กฟผ. ก็จะเกิดความร่วมมือ ไม่ต่อต้านหรือขัดขวางเมื่อ กฟผ. มีโครงการใหม่ นวัตกรรมใหม่ ที่ได้จากการร่วมมือร่วมใจกันระหว่าง กฟผ. และชุมชนก็จะเกิดขึ้นได้ เช่น การนำลูกถ้วยที่หมดอายุใช้งานแล้วไปทำประโยชน์ทิ้งลงทะเลเพื่อสร้างแนวประการังเทียมเป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์ทะเล ช่วยให้ธรรมชาติที่ดีกลับคืนมา เป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งรายได้ของชุมชน หรือ การจัดโครงการให้สถาบันศึกษาประกวดออกแบบอุปกรณ์ไฟฟ้าประหยัดพลังงาน ซึ่งผู้ชนะก็จะภาคภูมิใจ มีความรู้สึกร่วมเป็นส่วนหนึ่งในเรื่องพลังงานไฟฟ้าด้วย

2)Value Diversity

ในอนาคตมีการบริหารข้ามศาสตร์ควรมีคนที่หลากหลายเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ มีการบริหารจัดการให้ทำงานร่วมกันอย่างประสบความสำเร็จสามารถดึงศักยภาพของทุกคนมาใช้ได้อย่างเต็มที่ โดยทำให้โครงสร้าง Flat ลงกว่าเดิม มีการใช้ทีมงานหรือคณะต่าง ๆ ทำงานมากขึ้น ไม่ยึดติดกนกับวิชาชีพใดวิชาชีพหนึ่ง โดยเน้นการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง เปิดโอกาส/สร้างบรรยากาศให้ปัจเจกชนอยากเสนอความคิดสร้างสรรค์และความเป็นตัวตนได้อย่างอิสระ มีความสุขกับการทำงาน ฯลฯ

นอกจากนี้ควรส่งคนไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหน่วยงานอื่นทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้เกิดทางเลือกด้านพลังงานที่หลากหลาย เกิดมุมมองใหม่ ๆ ด้านการทำธุรกิจเพิ่มทางเลือกในการลงทุนและการแข่งขัน ขยายธุรกิจไปในเอเชียและประเทศที่ยังมีความต้องการพัฒนาด้าน Inflastructure

3.3อุปสรรค์ที่เกิดขึ้นในการทำงานที่ไม่ประสบความสำเร็จ

1)ในยุคที่โลกไร้พรมแดนเต็มไปด้วยการแข่งขันและการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ทำให้มีคนลงแข่งขันในธุรกิจไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ประกอบกับที่ผ่านมา กฟผ.มีการดำเนินงานแบบรัฐวิสาหกิจทำให้ กฟผ. ประสบปัญหาในการสร้างผู้นำที่มีประสบการณ์ด้านธุรกิจเอกชน ที่มีภาวะผู้นำที่จะวางแผน กำหนดวิสัยทัศน์ นโยบาย เป้าหมายได้อย่างแม่นยำ ที่จะทำให้องค์กรได้เปรียบคู่แข่งขัน รัษาส่วนแบ่งตลาด/ได้ส่วนแบ่งตลาดเพิ่ม ซึ่งต้องใช้เวลาสร้างหลายปี

2)การดำเนินกิจการภายใต้การกำกับของรัฐบาล ทำให้ต้องปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ ระเบียบ คำสั่ง ที่รฐบาลกำหนด อีกทั้งมีอำนาจการตัดสินใจ ได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายและรัฐบาลกำหนด ทำให้ไม่คล่องตัว ไม่มีอิสระ เท่ากับเอกชน จึงไม่สามารถแข่งขันกับเอกชนทั้งในและนอกประเทศได้อย่างเต็มที่ หากไม่ได้รับการแก้ไขผ่อนปรนกฎระเบียบ และข้อำหนดต่าง ๆ จากรัฐบาล

3)โครงสายบังคับบัญชาแบบ ที่มีช่วงชั้นบังคับบัญชายาว ทำให้เกิดความล่าช้าในกระบวนการอนุมัติ ตัดสินใจหรือดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ควรแก้ไขปรับปรุงโครงสร้างให้กระทัดรัด และคล่องตัวขึ้น

4)ขนาดองค์กรที่ใหญ่ จำนวนคนที่มาก ทำให้บางครั้งเกิดปัญหาในการสื่อสารไม่ทั่วถึง และใช้เวลา ดังนั้นจึงควรพัฒนาเทคโลยีให้มีการสื่อสารกันอย่างฉับพลันทันทีเพื่อเพิ่มศักยภาพให้แก่องค์กร

5)สถานที่ทำงานมีกระจายอยู่ทั่วประเทศ บางแห่งที่มีพื้นที่มาก เช่น เขื่อนต่าง ๆ และเกิดค่าใช้จ่ายจากสินทรัพย์เหล่านี้ ดังนั้นต้องบริหารจัดการให้มีค่าใช้จ่ายน้อยและพยายามบริหารสินทรัพย์ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

6)การขาดช่วงการรับพนักงานใหม่ ตามนโยบายรัฐบาลเป็นเวลานาน จึงทำให้เกิดปัญหาการขาดช่วงการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาย Core Business (วิศวกรหรือช่าง) จึงต้องเร่งสร้างระบบถ่ายทอดและจัดเก็บองค์ความรู้ โดยพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการทางด้านฝึกอบรม โดยวิธี On The Job Training หรือ Coaching เข้ามาช่วยเร่งรัดให้พนักงานใหม่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสร้างคนที่รับเข้าใหม่เป็น Talent เตรียมรับอนาคตอีกด้วย

7)ในอนาคต 10ปีข้างหน้า กฟผ. มีโครงการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าและระบบส่งตามแผนพัฒนาพลังไฟฟ้า จำนวนมาก ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนแต่ละปีเป็นหลักแสนล้านบาท แต่มีข้อจำกัดเรื่องกรอบวงเงินที่รัฐบาลค้ำประกันเงินกู้ให้น้อยกว่ามาก ทำให้ต้องเร่งศึกษาหาแนวทางบริหารจัดการหาแหล่งเงินทุนให้เพียงพอใช้งานได้ตามแผน

8)กฟผ. มีวัฒนธรรมในการทำงานที่ดีที่ยืดถือสืบทอดกันมา เช่น การทำงานเป็นทีม การทำงานด้วยความโปร่งใส การเอื้ออาทร เคารพผู้อาวุโสกว่า แต่ระยะหลังได้ขาดช่วงไป ทำให้บางครั้งเกิดปัญหาระหว่างคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ จึงควรเร่งสร้างวัฒนธรรมที่ดีงามให้กลับคืนมา เพื่อเป็นพลังให้เกิดความร่วมแรงร่วมใจให้เกิดผลสำเร็จ พร้อมทั้งสร้างวัฒนธรรมใหม่ในการชอบคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ควบคู่กันไปด้วยกัน

…………………………………………………

งานกลุ่มที่ 5

The Renaissance Society ของ Rolf Jansen

1.อ่านหนังสือเล่มนี้

  • หนังสือเล่มนี้ให้ภาพรวมเกี่ยวกับ ตลาดและโอกาส เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้อ่านได้คิดวิสัยทัศน์และกลยุทธ รับอนาคตที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างยิ่งใหญ่และจะมี Innovation ขึ้นภายในองค์กร โดยองค์กรจะต้องตั้งคำถามว่าควรทำอะไรตั้งแต่ตอนนี้
  • 2.สรุปประเด็นที่เป็นประโยชน์

  • โลกมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นต้องศึกษาอนาคตมากขึ้น วิธีที่ดีที่สุดในการรู้อนาคตคือ การเริ่มขยายจากปัจจุบัน (Extended Now) โดยดูว่ามีแนวโน้มอะไรที่ยังมองไม่เห็นในระยะสั้น ซึ่งจะทำให้องค์กรได้รับโอกาสและแนวคิดใหม่ ๆ
  • บริษัทในอนาคตที่ไม่หวังกำไร แต่ดำเนินการให้อยู่รอดได้เท่านั้น จะเน้นที่การใช้ Ideas
  • (A Nonmaterial Company) โดยกำไรส่วนใหญ่จะนำไปใช้เพื่อสังคม เช่น การกุศล ปกป้องสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ ฯลฯ

  • โลกจะเปลี่ยนแปลงจากวัตถุ (Material) มาเป็นคุณค่า (Value) ตัวสินค้า (Products) จะเป็นเพียงแค่สิ่งที่เกิดร่วม (by-Product) ส่วนคุณค่า (Value) จะกลายเป็นสินค้าจริง จึงต้องหาให้ได้ว่าอะไรเป็นคุณค่า (Value) ของเรา
  • ตลาดยุคจิตนิยม (Post materialist Marketplace) เป็นการซื้อด้วยใจเราอาจจะพบคู่แข่งทางธุรกิจใหม่ ๆ ที่ไม่คาดฝัน ผู้ชนะ คือ ผู้ที่สามารถเสนอความเย้ายวนทางอารมณ์ และความรู้สึกในการซื้อสินค้าของผู้บริโภคหรือลูกค้าได้มากที่สุด
  • ในอนาคต (10 ปีข้างหน้า) จะมีชุมชนเสมือน (Virtual Communities) คือรวมตัวกันผ่าน Social Medias มากมายหลายกลุ่มทั่วโลก ตามแต่ละวัตถุประสงค์ อาจเป็นกลุ่มด้านธุรกิจ ด้านการศึกษา ด้านสังคม ด้านธรรมชาติ ด้านการเมือง ฯลฯ องค์กรที่ฉลาดควรจะต้องอาศัยช่องทาง Social Medias เช่น Website Facebook ในการสร้างชุมชนเสมือน เพื่อธุรกิจทั้งในด้านความต้องการของลูกค้า การออกแบบ การผลิต การโฆษณา ซึ่งมีการแชร์ความคิดเห็นและความรู้ทั่วโลกจะเกิดสิ่งใหม่ ๆ อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เสียค่าใช้จ่ายน้อยแต่มีประสิทธิภาพและคุณภาพสูง
  • ประเทศที่พัฒนาแล้ว ประชาชนมีรายได้สูง ธุรกิจที่น่าจับตา คือ การท่องเที่ยว กีฬา ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ การตกแต่งอาคารบ้านเรือน สำนักงานในแนวธรรมชาติ
  • ยุคของการไขว่คว้า ไล่ล่าความสุข (The Pursuit of Happiness) ตลาดทางด้านอารมณ์ความรู้สึก (Emotional Market) มีโอกาสทางการตลาดสูงมาก
  • ในอนาคตงานบริการ จะถูกจ้างงานสูงมาก แรงงานที่มีทักษะน้อยจะถูกพัฒนาไปสู่การเป็นแรงงานที่มีทักษะสูง มีความเชี่ยวชาญเพิ่มขึ้น และห่วงโซ่คุณค่าของโลกจะยาวเพิ่มขึ้น และซับซ้อนตามไปด้วย
  • คนจะบริโภคตามใจตัวเอง เพื่อตอบสนองต่ออารมณ์ไม่ใช่ความหิว ในอนาคตไลฟ์สไตล์ของคนอาจเป็นการซื้อสินค้าโดยใช้อารมณ์ตัดสิน 99 % และใช้เหตุผลเพียง 1 % ผู้ซื้อต้องการสินค้าที่บ่งบอกตัวตน รสนิยม (Personal Products) และยอมจ่ายเงินเพิ่มอีกเล็กน้อยเพื่อซื้อสินค้าที่บ่งบอกลักษณะเฉพาะของบุคคลอีกด้วย
  • การต้องการแสดงเอกลัษณ์เป็นกุญแจสำคัญ สำหรับการตลาดในทุกที่ในโลกตราบเท่าที่ผู้บริโภคต้องการทางเลือกของตนเอง
  • การพัฒนาคุณภาพของระบบวิทยาการเสมือนบนโลกความเป็นจริง (Augmented reality) คือ ความสามารถในการเชื่อมต่อข้อมูล กับสิ่งของหรือสถานที่แบบทันที (real-time) ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นตัวเปลี่ยนแปลงแนวทางในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเราและเมื่อมันได้แทรกซึมเข้าสู่ตลาดแล้วจะเป็นตัวเปลี่ยนการใช้ชีวิต การเรียนรู้ การทำงานของเราในอนาคต
  • การบริหารจัดการแฟนคลับ หรือศาสตร์การสร้าง และบริหารกลุ่มของแฟนของบริษัท หรือสินค้าเป็นสิ่งจำเป็น เพราะในอนาคตลูกค้าจะไม่เชื่อโฆษณา ลูกค้าจะเชื่อใจครอบครัว เพื่อน และกลุ่มของเขา ทางเดียวที่จะมีความสัมพันธ์แบบตัวต่อตัว คือ สังคมแบบมีคุณค่า
  • โลกยุคใหม่ให้ความสำคัญกับ “real-time” จะเห็นว่าบริษัทมุ่งเน้นพิจารณาเป็นรายไตรมาส หรืออีกนัยหนึ่ง พวกเขาสร้างปัจจุบันที่มีระยะสั้น การขยายมุมมองของภาพปัจจุบันให้ยาวขึ้น จะช่วยให้เราสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไม่แน่นอน
  • โลกแห่งข้อมูล เราไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดได้ จำเป็นต้องเลือกข้อมูลบางอย่างมาใช้ และต้องเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และเหมาะสมในบริษัทนั้น ๆ มากที่สุด เพื่อให้ตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
  • ควรให้มีคนหลาย ๆ คนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ โดยหาวิธีที่ทำให้คนเข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เช่น การทำวิจัย จะมีการเปิดโอกาสให้ห้องทดลองอื่น ๆ ทั่วโลกเข้ามามีส่วนพัฒนาและทดลอง
  • วิถีชีวิตจะเปลี่ยนไปเป็นวิถีชีวิตแบบใหม่ ๆ ที่ทุกคนต้องมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า “e-bag” ติดตัวอยู่ตลอดเวลา
  • โลกถูกกำหนดใหม่ด้วยข้อมูลข่าวสารที่สื่อสารกันอย่างทันควัน การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารอย่างฉับพลันทันทีมีชัยเหนือการแลกเปลี่ยนแบบ real-space
  • การลดขนาดเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งมีเหตุผล 2 ประการ
  • 1.เรียนรู้เพื่อจะได้ทำได้มากขึ้นด้วยคนที่น้อยลง ซึ่งหมายถึงปรับปรุงองค์กร

    2.เรียนเพื่อที่จะได้รู้ว่าจะดำรงชีวิตด้วยปัจจัยที่ลดลง

  • เราต้องมองภาพใหญ่ เหมือนกับการมองโลกคล้ายมีระบบของหลาย ๆ ระบบที่ทุกระบบมีผลกระทบต่อกันและกัน โดยประเมินผลการกระทำของมนุษย์ว่ามีผลกระทบกับโลกอย่างไร
  • การบริหารจัดการ ไม่มีทฤษฎีที่แน่นอน และไม่มีทฤษฎีที่ดีที่สุด ในชีวิตจริงการบริหารจัดการมีความซับซ้อน และไม่แน่นอนอยู่เสมอ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสถานการณ์
  • โครงการ CSR ของบริษัทต้องชัด ต้องการให้สื่อนำเสนออะไร เกี่ยวกับบริษัทควรบอกไม่เช่นนั้น สื่อจะคิดเอง และเกิดความผิดผลาดได้ ข่าวนั้นยิ่งดังยิ่งดี ไม่ควรปิดข่าว พนักงานชอบนโยบายที่โปร่งใส เพราะพนักงานก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคม และถ้าบริษัทจะเป็นส่วนหนึ่งของสังคมก็ต้องดูแลพนักงานด้วย
  • การกระจายอำนาจดีที่สุด องค์กรที่ Flat จะช่วยกระตุ้นให้เกิดความคล่องตัวและเกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ
  • ผู้นำในอนาคตต้องพบเจอกับความขัดแย้งไม่ลงรอยกันของทฤษฎีบริหารจัดการต่าง ๆ CEO ในอุดมคติ ต้องมีน้ำใจ เข้าใจความรู้สึกผู้อื่น ตัดสินใจได้ มีวิสัยทัศน์ ดู Cash Flow เป็นต้องสามารถทำให้องค์กรปรับตัวเข้ากับอนาคตได้ จะต้องสื่อสารกับบอร์ด พนักงาน ลูกค้า และทุกคนที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังต้องมีชีวิตครอบครัวที่ดี มีความสุขด้วย
  • ความท้าท้าย สำหรับโลกตะวันตกแตกต่างจากความท้าทายสำหรับโลกตะวันออก ดังนี้
  • โลกตะวันตก

    1.มีผลทางด้านอารมณ์ สินค้าต้องดึงดูดอารมณ์

    2.มีผลทางด้านความเป็นส่วนตัว

    3.มีผลทางด้านกระจายศูนย์

    4.มีผลด้านการสร้างสรรค์สิ่งใหม่

    5.มีผลด้านความเสมอภาค

    โลกตะวันออก

    1.เตรียมพร้อมสำหรับยุคถัดไป

    2.โครงสร้างพื้นฐาน

    3.การศึกษา

    4.การผลิต

    5.ความเป็นอัตโนมัติ

  • ในอนาคต อาจเป็นสังคมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา (The Renaissance Society) สังคมสีเขียว (The Green Society) หรือสังคมเสี่ยง (The Risk Society) หรืออาจแตกต่างจากที่กล่าวไว้ในหนังสือ เราไม่สามารถตอบได้ แต่แนวโน้มชี้ให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญรออยู่ข้างหน้า ซึ่งขึ้นอยู่กับตัวเรามากกว่าเวลาที่ผ่านมาแล้วในอดีต
  • 3.นำเอาหัวข้อสำคัญมาประยุกต์กับการทำงานของ กฟผ.

    3.1CSR

    ปัจจุบัน นวัตกรรมด้าน CSR ของ กฟผ. ประกอบด้วย

    -รวมแผน แยกปฏิบัติ

    -CSR ภายใน

    -CSR / PR

    -ประเมินผล / Audit

    -ปรับปรุง

    CSR เริ่มจากภายในสู่ภายนอก โดยแบ่งเป็น

    -CSR ในองค์กร

    -CSR สังคมใกล้

    -CSR สังคมไกล

    การนำหัวข้อสำคัญในหนังสือมาประยุกต์ใช้เป็นการปรับปรุงพัฒนาต่อยอดให้ CSR ของ กฟผ. สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

    1)สื่อสารให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ รับรู้ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เกี่ยวกับ CSR หรือประเด็นที่สังคมกำลังสนใจจับตามอง กฟผ. ให้ แก่พนักงาน ครอบคลุมทั้งองค์กร มีการเผยแพร่ข่าวสารภายในองค์กรที่โปร่งใสและเป็นจริง จะช่วยให้ทุกคนในองค์กรทลายกำแพงเข้ามาร่วมกันทำงาน CSR ได้เต็มประสิทธิภาพและทำหน้าที่ PR ให้ กฟผ. ได้ทุกคน

    2)ในการที่ทำ PR ผ่านสื่อต้องทำโครงการ CSR ขององค์กรให้ชัด ต้องการให้สื่อนำเสนออะไร เกี่ยวกับองค์กร ควรบอกให้ชัด เรื่องดี ๆ ที่มีมากมายควรสื่อสาร Story ให้สังคมรับรู้อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

    3)สร้างชุมชนเสมือนขึ้น สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน (Virtual Communities) โดยรวมตัวกันผ่านช่องทาง Social Medias เป็นกลุ่มต่าง ๆ ด้านพลังงาน ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านธรรมชาติ ฯลฯ เพื่อรับทราบความต้องการของลูกค้า ชุมชน มีการแชร์ความคิดเห็น และความรู้ทั่วประเทศและทั่วโลก ทำให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ และนวัตกรรม โดยเสียค่าใช้จ่ายน้อย แต่มีประสิทธิภาพและคุณค่าสูง

    4)มีการสร้างเครือข่ายที่เป็นหน่วยงานรัฐ เอกชน และประชาชน มีการบริหารจัดการแฟนคลับ โดยจัดกิจกรรมร่วมกับท้องถิ่น ให้ท้องถิ่นเป็นเจ้าภาพร่วม เช่น จัดการท่องเที่ยว กีฬา บริเวณเขื่อนต่าง ๆ สร้างรายได้ให้จังหวัด เพื่อให้แฟนคลับทำหน้าที่โฆษณาประชาสัมพันธ์ให้แก่ครอบครัว เพื่อนฝูง ชุมชนต่อไป

    5)มีการนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการดำเนินงานของ กฟผ. ความรู้ ความเข้าใจ ด้านพลังงาน ประโยชน์ที่ประเทศและสังคมโดยรวมจะได้รับจากการสร้างโรงไฟฟ้า เขื่อน ระบบส่งไฟฟ้า โดยใช้วิทยาการเสมือนบนโลกความเป็นจริง((Augmented reality) สร้างเป็น EGAT Learning Center (ศูนย์การเรียนรู้ ด้านพลังงานล้ำสมัย) มีจัดแสดงนิทรรศการและให้ความรู้ขึ้นที่สำนักงานกลาง กฟผ. และเขื่อนต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้เยาวชนและประชาชนตระหนักถึงความจำเป็นของพลังงานไฟฟ้าและมีความรู้ ความเข้าใจในการผลิตไฟฟ้า อันจะส่งผลให้เกิดความร่วมมืออันดีระหว่าง กฟผ.กับประชาชนให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การประหยัดพลังงาน รวมทั้งการสร้าง โรงไฟฟ้าในอนาคต

    6)สร้างความมั่นใจเรื่องสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยในชุมชนรอบโรงไฟฟ้า เพราะในอนาคตคนจะคิดถึงความเสี่ยง ความปลอดภัย สุขภาพอนามัย และธรรมชาติมากขึ้น โดยกำหนดมาตรการ หน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง มีการพบปะประชาชนอย่างใกล้ชิด มีการ Audit โดยองค์กรหรือหน่วยงานระดับสากล

    3.2Value Creation และ Value Diversity

    1) Value Creation

    องค์กรต้องสร้างภาพลักษณ์เป็นองค์กรหลักในการพัฒนาประเทศด้านพลังงานไฟฟ้า โดยเป็นมิตรกับสังคมและสิ่งแวดล้อม มีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้สื่อสารข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ทั้งจากบนลงล่าง และล่างขึ้นบน รวมทั้งในระนาบเดียวกันได้อย่างทั่วถึงและเหมาะสม สร้างให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ สนับสนุนให้เกิดนวัตกรรม มีการปรับปรุงกระบวการทำงานให้สอดประสานกันทั้งองค์กร เพื่อความแข็งแกร่งพร้อมรับโอกาสที่จะเข้ามาในอนาคต

    กฟผ. ต้องเปลี่ยนจากวัตถุ (Material) มาเป็นคุณค่า (value) ทำให้ไฟฟ้า (Products) เป็นเพียงแค่สิ่งที่เกิดร่วม (by-Product) ที่มีคุณค่าเป็นความสุข ความภาคภูมิใจ รู้สึกถึงการมีส่วนร่วม สร้างความเจริญให้แก่ประเทศชาติ เมื่อมีแนวคิด บวก มีทัศนะคติที่ดีต่อ กฟผ. ก็จะเกิดความร่วมมือ ไม่ต่อต้านหรือขัดขวางเมื่อ กฟผ. มีโครงการใหม่ นวัตกรรมใหม่ ที่ได้จากการร่วมมือร่วมใจกันระหว่าง กฟผ. และชุมชนก็จะเกิดขึ้นได้ เช่น การนำลูกถ้วยที่หมดอายุใช้งานแล้วไปทำประโยชน์ทิ้งลงทะเลเพื่อสร้างแนวประการังเทียมเป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์ทะเล ช่วยให้ธรรมชาติที่ดีกลับคืนมา เป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งรายได้ของชุมชน หรือ การจัดโครงการให้สถาบันศึกษาประกวดออกแบบอุปกรณ์ไฟฟ้าประหยัดพลังงาน ซึ่งผู้ชนะก็จะภาคภูมิใจ มีความรู้สึกร่วมเป็นส่วนหนึ่งในเรื่องพลังงานไฟฟ้าด้วย

    2)Value Diversity

    ในอนาคตมีการบริหารข้ามศาสตร์ควรมีคนที่หลากหลายเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ มีการบริหารจัดการให้ทำงานร่วมกันอย่างประสบความสำเร็จสามารถดึงศักยภาพของทุกคนมาใช้ได้อย่างเต็มที่ โดยทำให้โครงสร้าง Flat ลงกว่าเดิม มีการใช้ทีมงานหรือคณะต่าง ๆ ทำงานมากขึ้น ไม่ยึดติดกนกับวิชาชีพใดวิชาชีพหนึ่ง โดยเน้นการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง เปิดโอกาส/สร้างบรรยากาศให้ปัจเจกชนอยากเสนอความคิดสร้างสรรค์และความเป็นตัวตนได้อย่างอิสระ มีความสุขกับการทำงาน ฯลฯ

    นอกจากนี้ควรส่งคนไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหน่วยงานอื่นทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้เกิดทางเลือกด้านพลังงานที่หลากหลาย เกิดมุมมองใหม่ ๆ ด้านการทำธุรกิจเพิ่มทางเลือกในการลงทุนและการแข่งขัน ขยายธุรกิจไปในเอเชียและประเทศที่ยังมีความต้องการพัฒนาด้าน Inflastructure

    3.3อุปสรรค์ที่เกิดขึ้นในการทำงานที่ไม่ประสบความสำเร็จ

    1)ในยุคที่โลกไร้พรมแดนเต็มไปด้วยการแข่งขันและการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ทำให้มีคนลงแข่งขันในธุรกิจไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ประกอบกับที่ผ่านมา กฟผ.มีการดำเนินงานแบบรัฐวิสาหกิจทำให้ กฟผ. ประสบปัญหาในการสร้างผู้นำที่มีประสบการณ์ด้านธุรกิจเอกชน ที่มีภาวะผู้นำที่จะวางแผน กำหนดวิสัยทัศน์ นโยบาย เป้าหมายได้อย่างแม่นยำ ที่จะทำให้องค์กรได้เปรียบคู่แข่งขัน รัษาส่วนแบ่งตลาด/ได้ส่วนแบ่งตลาดเพิ่ม ซึ่งต้องใช้เวลาสร้างหลายปี

    2)การดำเนินกิจการภายใต้การกำกับของรัฐบาล ทำให้ต้องปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ ระเบียบ คำสั่ง ที่รฐบาลกำหนด อีกทั้งมีอำนาจการตัดสินใจ ได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายและรัฐบาลกำหนด ทำให้ไม่คล่องตัว ไม่มีอิสระ เท่ากับเอกชน จึงไม่สามารถแข่งขันกับเอกชนทั้งในและนอกประเทศได้อย่างเต็มที่ หากไม่ได้รับการแก้ไขผ่อนปรนกฎระเบียบ และข้อำหนดต่าง ๆ จากรัฐบาล

    3)โครงสายบังคับบัญชาแบบ ที่มีช่วงชั้นบังคับบัญชายาว ทำให้เกิดความล่าช้าในกระบวนการอนุมัติ ตัดสินใจหรือดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ควรแก้ไขปรับปรุงโครงสร้างให้กระทัดรัด และคล่องตัวขึ้น

    4)ขนาดองค์กรที่ใหญ่ จำนวนคนที่มาก ทำให้บางครั้งเกิดปัญหาในการสื่อสารไม่ทั่วถึง และใช้เวลา ดังนั้นจึงควรพัฒนาเทคโลยีให้มีการสื่อสารกันอย่างฉับพลันทันทีเพื่อเพิ่มศักยภาพให้แก่องค์กร

    5)สถานที่ทำงานมีกระจายอยู่ทั่วประเทศ บางแห่งที่มีพื้นที่มาก เช่น เขื่อนต่าง ๆ และเกิดค่าใช้จ่ายจากสินทรัพย์เหล่านี้ ดังนั้นต้องบริหารจัดการให้มีค่าใช้จ่ายน้อยและพยายามบริหารสินทรัพย์ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

    6)การขาดช่วงการรับพนักงานใหม่ ตามนโยบายรัฐบาลเป็นเวลานาน จึงทำให้เกิดปัญหาการขาดช่วงการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาย Core Business (วิศวกรหรือช่าง) จึงต้องเร่งสร้างระบบถ่ายทอดและจัดเก็บองค์ความรู้ โดยพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการทางด้านฝึกอบรม โดยวิธี On The Job Training หรือ Coaching เข้ามาช่วยเร่งรัดให้พนักงานใหม่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสร้างคนที่รับเข้าใหม่เป็น Talent เตรียมรับอนาคตอีกด้วย

    7)ในอนาคต 10ปีข้างหน้า กฟผ. มีโครงการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าและระบบส่งตามแผนพัฒนาพลังไฟฟ้า จำนวนมาก ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนแต่ละปีเป็นหลักแสนล้านบาท แต่มีข้อจำกัดเรื่องกรอบวงเงินที่รัฐบาลค้ำประกันเงินกู้ให้น้อยกว่ามาก ทำให้ต้องเร่งศึกษาหาแนวทางบริหารจัดการหาแหล่งเงินทุนให้เพียงพอใช้งานได้ตามแผน

    8)กฟผ. มีวัฒนธรรมในการทำงานที่ดีที่ยืดถือสืบทอดกันมา เช่น การทำงานเป็นทีม การทำงานด้วยความโปร่งใส การเอื้ออาทร เคารพผู้อาวุโสกว่า แต่ระยะหลังได้ขาดช่วงไป ทำให้บางครั้งเกิดปัญหาระหว่างคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ จึงควรเร่งสร้างวัฒนธรรมที่ดีงามให้กลับคืนมา เพื่อเป็นพลังให้เกิดความร่วมแรงร่วมใจให้เกิดผลสำเร็จ พร้อมทั้งสร้างวัฒนธรรมใหม่ในการชอบคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ควบคู่กันไปด้วยกัน

    …………………………………………………

    งานกลุ่มที่ 5

    The Renaissance Society ของ Rolf Jansen

    1.อ่านหนังสือเล่มนี้

    หนังสือเล่มนี้ให้ภาพรวมเกี่ยวกับ ตลาดและโอกาส เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้อ่านได้คิดวิสัยทัศน์และกลยุทธ รับอนาคตที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างยิ่งใหญ่และจะมี Innovation ขึ้นภายในองค์กร โดยองค์กรจะต้องตั้งคำถามว่าควรทำอะไรตั้งแต่ตอนนี้

    2.สรุปประเด็นที่เป็นประโยชน์

    โลกมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นต้องศึกษาอนาคตมากขึ้น วิธีที่ดีที่สุดในการรู้อนาคตคือ การเริ่มขยายจากปัจจุบัน (Extended Now) โดยดูว่ามีแนวโน้มอะไรที่ยังมองไม่เห็นในระยะสั้น ซึ่งจะทำให้องค์กรได้รับโอกาสและแนวคิดใหม่ ๆ

    บริษัทในอนาคตที่ไม่หวังกำไร แต่ดำเนินการให้อยู่รอดได้เท่านั้น จะเน้นที่การใช้ Ideas

    (A Nonmaterial Company) โดยกำไรส่วนใหญ่จะนำไปใช้เพื่อสังคม เช่น การกุศล ปกป้องสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ ฯลฯ

    โลกจะเปลี่ยนแปลงจากวัตถุ (Material) มาเป็นคุณค่า (Value) ตัวสินค้า (Products) จะเป็นเพียงแค่สิ่งที่เกิดร่วม (by-Product) ส่วนคุณค่า (Value) จะกลายเป็นสินค้าจริง จึงต้องหาให้ได้ว่าอะไรเป็นคุณค่า (Value) ของเรา

    ตลาดยุคจิตนิยม (Post materialist Marketplace) เป็นการซื้อด้วยใจเราอาจจะพบคู่แข่งทางธุรกิจใหม่ ๆ ที่ไม่คาดฝัน ผู้ชนะ คือ ผู้ที่สามารถเสนอความเย้ายวนทางอารมณ์ และความรู้สึกในการซื้อสินค้าของผู้บริโภคหรือลูกค้าได้มากที่สุด

    ในอนาคต (10 ปีข้างหน้า) จะมีชุมชนเสมือน (Virtual Communities) คือรวมตัวกันผ่าน Social Medias มากมายหลายกลุ่มทั่วโลก ตามแต่ละวัตถุประสงค์ อาจเป็นกลุ่มด้านธุรกิจ ด้านการศึกษา ด้านสังคม ด้านธรรมชาติ ด้านการเมือง ฯลฯ องค์กรที่ฉลาดควรจะต้องอาศัยช่องทาง Social Medias เช่น Website Facebook ในการสร้างชุมชนเสมือน เพื่อธุรกิจทั้งในด้านความต้องการของลูกค้า การออกแบบ การผลิต การโฆษณา ซึ่งมีการแชร์ความคิดเห็นและความรู้ทั่วโลกจะเกิดสิ่งใหม่ ๆ อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เสียค่าใช้จ่ายน้อยแต่มีประสิทธิภาพและคุณภาพสูง

    ประเทศที่พัฒนาแล้ว ประชาชนมีรายได้สูง ธุรกิจที่น่าจับตา คือ การท่องเที่ยว กีฬา ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ การตกแต่งอาคารบ้านเรือน สำนักงานในแนวธรรมชาติ

    ยุคของการไขว่คว้า ไล่ล่าความสุข (The Pursuit of Happiness) ตลาดทางด้านอารมณ์ความรู้สึก (Emotional Market) มีโอกาสทางการตลาดสูงมาก

    ในอนาคตงานบริการ จะถูกจ้างงานสูงมาก แรงงานที่มีทักษะน้อยจะถูกพัฒนาไปสู่การเป็นแรงงานที่มีทักษะสูง มีความเชี่ยวชาญเพิ่มขึ้น และห่วงโซ่คุณค่าของโลกจะยาวเพิ่มขึ้น และซับซ้อนตามไปด้วย

    คนจะบริโภคตามใจตัวเอง เพื่อตอบสนองต่ออารมณ์ไม่ใช่ความหิว ในอนาคตไลฟ์สไตล์ของคนอาจเป็นการซื้อสินค้าโดยใช้อารมณ์ตัดสิน 99 % และใช้เหตุผลเพียง 1 % ผู้ซื้อต้องการสินค้าที่บ่งบอกตัวตน รสนิยม (Personal Products) และยอมจ่ายเงินเพิ่มอีกเล็กน้อยเพื่อซื้อสินค้าที่บ่งบอกลักษณะเฉพาะของบุคคลอีกด้วย

    การต้องการแสดงเอกลัษณ์เป็นกุญแจสำคัญ สำหรับการตลาดในทุกที่ในโลกตราบเท่าที่ผู้บริโภคต้องการทางเลือกของตนเอง

    การพัฒนาคุณภาพของระบบวิทยาการเสมือนบนโลกความเป็นจริง (Augmented reality) คือ ความสามารถในการเชื่อมต่อข้อมูล กับสิ่งของหรือสถานที่แบบทันที (real-time) ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นตัวเปลี่ยนแปลงแนวทางในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเราและเมื่อมันได้แทรกซึมเข้าสู่ตลาดแล้วจะเป็นตัวเปลี่ยนการใช้ชีวิต การเรียนรู้ การทำงานของเราในอนาคต

    การบริหารจัดการแฟนคลับ หรือศาสตร์การสร้าง และบริหารกลุ่มของแฟนของบริษัท หรือสินค้าเป็นสิ่งจำเป็น เพราะในอนาคตลูกค้าจะไม่เชื่อโฆษณา ลูกค้าจะเชื่อใจครอบครัว เพื่อน และกลุ่มของเขา ทางเดียวที่จะมีความสัมพันธ์แบบตัวต่อตัว คือ สังคมแบบมีคุณค่า

    โลกยุคใหม่ให้ความสำคัญกับ “real-time” จะเห็นว่าบริษัทมุ่งเน้นพิจารณาเป็นรายไตรมาส หรืออีกนัยหนึ่ง พวกเขาสร้างปัจจุบันที่มีระยะสั้น การขยายมุมมองของภาพปัจจุบันให้ยาวขึ้น จะช่วยให้เราสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไม่แน่นอน

    โลกแห่งข้อมูล เราไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดได้ จำเป็นต้องเลือกข้อมูลบางอย่างมาใช้ และต้องเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และเหมาะสมในบริษัทนั้น ๆ มากที่สุด เพื่อให้ตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

    ควรให้มีคนหลาย ๆ คนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ โดยหาวิธีที่ทำให้คนเข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เช่น การทำวิจัย จะมีการเปิดโอกาสให้ห้องทดลองอื่น ๆ ทั่วโลกเข้ามามีส่วนพัฒนาและทดลอง

    วิถีชีวิตจะเปลี่ยนไปเป็นวิถีชีวิตแบบใหม่ ๆ ที่ทุกคนต้องมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า “e-bag” ติดตัวอยู่ตลอดเวลา

    โลกถูกกำหนดใหม่ด้วยข้อมูลข่าวสารที่สื่อสารกันอย่างทันควัน การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารอย่างฉับพลันทันทีมีชัยเหนือการแลกเปลี่ยนแบบ real-space

    การลดขนาดเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งมีเหตุผล 2 ประการ

    1.เรียนรู้เพื่อจะได้ทำได้มากขึ้นด้วยคนที่น้อยลง ซึ่งหมายถึงปรับปรุงองค์กร

    2.เรียนเพื่อที่จะได้รู้ว่าจะดำรงชีวิตด้วยปัจจัยที่ลดลง

    เราต้องมองภาพใหญ่ เหมือนกับการมองโลกคล้ายมีระบบของหลาย ๆ ระบบที่ทุกระบบมีผลกระทบต่อกันและกัน โดยประเมินผลการกระทำของมนุษย์ว่ามีผลกระทบกับโลกอย่างไร

    การบริหารจัดการ ไม่มีทฤษฎีที่แน่นอน และไม่มีทฤษฎีที่ดีที่สุด ในชีวิตจริงการบริหารจัดการมีความซับซ้อน และไม่แน่นอนอยู่เสมอ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสถานการณ์

    โครงการ CSR ของบริษัทต้องชัด ต้องการให้สื่อนำเสนออะไร เกี่ยวกับบริษัทควรบอกไม่เช่นนั้น สื่อจะคิดเอง และเกิดความผิดผลาดได้ ข่าวนั้นยิ่งดังยิ่งดี ไม่ควรปิดข่าว พนักงานชอบนโยบายที่โปร่งใส เพราะพนักงานก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคม และถ้าบริษัทจะเป็นส่วนหนึ่งของสังคมก็ต้องดูแลพนักงานด้วย

    การกระจายอำนาจดีที่สุด องค์กรที่ Flat จะช่วยกระตุ้นให้เกิดความคล่องตัวและเกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ

    ผู้นำในอนาคตต้องพบเจอกับความขัดแย้งไม่ลงรอยกันของทฤษฎีบริหารจัดการต่าง ๆ CEO ในอุดมคติ ต้องมีน้ำใจ เข้าใจความรู้สึกผู้อื่น ตัดสินใจได้ มีวิสัยทัศน์ ดู Cash Flow เป็นต้องสามารถทำให้องค์กรปรับตัวเข้ากับอนาคตได้ จะต้องสื่อสารกับบอร์ด พนักงาน ลูกค้า และทุกคนที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังต้องมีชีวิตครอบครัวที่ดี มีความสุขด้วย

    ความท้าท้าย สำหรับโลกตะวันตกแตกต่างจากความท้าทายสำหรับโลกตะวันออก ดังนี้

    โลกตะวันตก

    1.มีผลทางด้านอารมณ์ สินค้าต้องดึงดูดอารมณ์

    2.มีผลทางด้านความเป็นส่วนตัว

    3.มีผลทางด้านกระจายศูนย์

    4.มีผลด้านการสร้างสรรค์สิ่งใหม่

    5.มีผลด้านความเสมอภาค

    โลกตะวันออก

    1.เตรียมพร้อมสำหรับยุคถัดไป

    2.โครงสร้างพื้นฐาน

    3.การศึกษา

    4.การผลิต

    5.ความเป็นอัตโนมัติ

    ในอนาคต อาจเป็นสังคมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา (The Renaissance Society) สังคมสีเขียว (The Green Society) หรือสังคมเสี่ยง (The Risk Society) หรืออาจแตกต่างจากที่กล่าวไว้ในหนังสือ เราไม่สามารถตอบได้ แต่แนวโน้มชี้ให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญรออยู่ข้างหน้า ซึ่งขึ้นอยู่กับตัวเรามากกว่าเวลาที่ผ่านมาแล้วในอดีต

    3.นำเอาหัวข้อสำคัญมาประยุกต์กับการทำงานของ กฟผ.

    3.1CSR

    ปัจจุบัน นวัตกรรมด้าน CSR ของ กฟผ. ประกอบด้วย

    -รวมแผน แยกปฏิบัติ

    -CSR ภายใน

    -CSR / PR

    -ประเมินผล / Audit

    -ปรับปรุง

    CSR เริ่มจากภายในสู่ภายนอก โดยแบ่งเป็น

    -CSR ในองค์กร

    -CSR สังคมใกล้

    -CSR สังคมไกล

    การนำหัวข้อสำคัญในหนังสือมาประยุกต์ใช้เป็นการปรับปรุงพัฒนาต่อยอดให้ CSR ของ กฟผ. สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

    1)สื่อสารให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ รับรู้ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เกี่ยวกับ CSR หรือประเด็นที่สังคมกำลังสนใจจับตามอง กฟผ. ให้ แก่พนักงาน ครอบคลุมทั้งองค์กร มีการเผยแพร่ข่าวสารภายในองค์กรที่โปร่งใสและเป็นจริง จะช่วยให้ทุกคนในองค์กรทลายกำแพงเข้ามาร่วมกันทำงาน CSR ได้เต็มประสิทธิภาพและทำหน้าที่ PR ให้ กฟผ. ได้ทุกคน

    2)ในการที่ทำ PR ผ่านสื่อต้องทำโครงการ CSR ขององค์กรให้ชัด ต้องการให้สื่อนำเสนออะไร เกี่ยวกับองค์กร ควรบอกให้ชัด เรื่องดี ๆ ที่มีมากมายควรสื่อสาร Story ให้สังคมรับรู้อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

    3)สร้างชุมชนเสมือนขึ้น สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน (Virtual Communities) โดยรวมตัวกันผ่านช่องทาง Social Medias เป็นกลุ่มต่าง ๆ ด้านพลังงาน ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านธรรมชาติ ฯลฯ เพื่อรับทราบความต้องการของลูกค้า ชุมชน มีการแชร์ความคิดเห็น และความรู้ทั่วประเทศและทั่วโลก ทำให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ และนวัตกรรม โดยเสียค่าใช้จ่ายน้อย แต่มีประสิทธิภาพและคุณค่าสูง

    4)มีการสร้างเครือข่ายที่เป็นหน่วยงานรัฐ เอกชน และประชาชน มีการบริหารจัดการแฟนคลับ โดยจัดกิจกรรมร่วมกับท้องถิ่น ให้ท้องถิ่นเป็นเจ้าภาพร่วม เช่น จัดการท่องเที่ยว กีฬา บริเวณเขื่อนต่าง ๆ สร้างรายได้ให้จังหวัด เพื่อให้แฟนคลับทำหน้าที่โฆษณาประชาสัมพันธ์ให้แก่ครอบครัว เพื่อนฝูง ชุมชนต่อไป

    5)มีการนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการดำเนินงานของ กฟผ. ความรู้ ความเข้าใจ ด้านพลังงาน ประโยชน์ที่ประเทศและสังคมโดยรวมจะได้รับจากการสร้างโรงไฟฟ้า เขื่อน ระบบส่งไฟฟ้า โดยใช้วิทยาการเสมือนบนโลกความเป็นจริง((Augmented reality) สร้างเป็น EGAT Learning Center (ศูนย์การเรียนรู้ ด้านพลังงานล้ำสมัย) มีจัดแสดงนิทรรศการและให้ความรู้ขึ้นที่สำนักงานกลาง กฟผ. และเขื่อนต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้เยาวชนและประชาชนตระหนักถึงความจำเป็นของพลังงานไฟฟ้าและมีความรู้ ความเข้าใจในการผลิตไฟฟ้า อันจะส่งผลให้เกิดความร่วมมืออันดีระหว่าง กฟผ.กับประชาชนให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การประหยัดพลังงาน รวมทั้งการสร้าง โรงไฟฟ้าในอนาคต

    6)สร้างความมั่นใจเรื่องสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยในชุมชนรอบโรงไฟฟ้า เพราะในอนาคตคนจะคิดถึงความเสี่ยง ความปลอดภัย สุขภาพอนามัย และธรรมชาติมากขึ้น โดยกำหนดมาตรการ หน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง มีการพบปะประชาชนอย่างใกล้ชิด มีการ Audit โดยองค์กรหรือหน่วยงานระดับสากล

    3.2Value Creation และ Value Diversity

    1) Value Creation

    องค์กรต้องสร้างภาพลักษณ์เป็นองค์กรหลักในการพัฒนาประเทศด้านพลังงานไฟฟ้า โดยเป็นมิตรกับสังคมและสิ่งแวดล้อม มีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้สื่อสารข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ทั้งจากบนลงล่าง และล่างขึ้นบน รวมทั้งในระนาบเดียวกันได้อย่างทั่วถึงและเหมาะสม สร้างให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ สนับสนุนให้เกิดนวัตกรรม มีการปรับปรุงกระบวการทำงานให้สอดประสานกันทั้งองค์กร เพื่อความแข็งแกร่งพร้อมรับโอกาสที่จะเข้ามาในอนาคต

    กฟผ. ต้องเปลี่ยนจากวัตถุ (Material) มาเป็นคุณค่า (value) ทำให้ไฟฟ้า (Products) เป็นเพียงแค่สิ่งที่เกิดร่วม (by-Product) ที่มีคุณค่าเป็นความสุข ความภาคภูมิใจ รู้สึกถึงการมีส่วนร่วม สร้างความเจริญให้แก่ประเทศชาติ เมื่อมีแนวคิด บวก มีทัศนะคติที่ดีต่อ กฟผ. ก็จะเกิดความร่วมมือ ไม่ต่อต้านหรือขัดขวางเมื่อ กฟผ. มีโครงการใหม่ นวัตกรรมใหม่ ที่ได้จากการร่วมมือร่วมใจกันระหว่าง กฟผ. และชุมชนก็จะเกิดขึ้นได้ เช่น การนำลูกถ้วยที่หมดอายุใช้งานแล้วไปทำประโยชน์ทิ้งลงทะเลเพื่อสร้างแนวประการังเทียมเป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์ทะเล ช่วยให้ธรรมชาติที่ดีกลับคืนมา เป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งรายได้ของชุมชน หรือ การจัดโครงการให้สถาบันศึกษาประกวดออกแบบอุปกรณ์ไฟฟ้าประหยัดพลังงาน ซึ่งผู้ชนะก็จะภาคภูมิใจ มีความรู้สึกร่วมเป็นส่วนหนึ่งในเรื่องพลังงานไฟฟ้าด้วย

    2)Value Diversity

    ในอนาคตมีการบริหารข้ามศาสตร์ควรมีคนที่หลากหลายเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ มีการบริหารจัดการให้ทำงานร่วมกันอย่างประสบความสำเร็จสามารถดึงศักยภาพของทุกคนมาใช้ได้อย่างเต็มที่ โดยทำให้โครงสร้าง Flat ลงกว่าเดิม มีการใช้ทีมงานหรือคณะต่าง ๆ ทำงานมากขึ้น ไม่ยึดติดกนกับวิชาชีพใดวิชาชีพหนึ่ง โดยเน้นการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง เปิดโอกาส/สร้างบรรยากาศให้ปัจเจกชนอยากเสนอความคิดสร้างสรรค์และความเป็นตัวตนได้อย่างอิสระ มีความสุขกับการทำงาน ฯลฯ

    นอกจากนี้ควรส่งคนไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหน่วยงานอื่นทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้เกิดทางเลือกด้านพลังงานที่หลากหลาย เกิดมุมมองใหม่ ๆ ด้านการทำธุรกิจเพิ่มทางเลือกในการลงทุนและการแข่งขัน ขยายธุรกิจไปในเอเชียและประเทศที่ยังมีความต้องการพัฒนาด้าน Inflastructure

    3.3อุปสรรค์ที่เกิดขึ้นในการทำงานที่ไม่ประสบความสำเร็จ

    1)ในยุคที่โลกไร้พรมแดนเต็มไปด้วยการแข่งขันและการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ทำให้มีคนลงแข่งขันในธุรกิจไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ประกอบกับที่ผ่านมา กฟผ.มีการดำเนินงานแบบรัฐวิสาหกิจทำให้ กฟผ. ประสบปัญหาในการสร้างผู้นำที่มีประสบการณ์ด้านธุรกิจเอกชน ที่มีภาวะผู้นำที่จะวางแผน กำหนดวิสัยทัศน์ นโยบาย เป้าหมายได้อย่างแม่นยำ ที่จะทำให้องค์กรได้เปรียบคู่แข่งขัน รัษาส่วนแบ่งตลาด/ได้ส่วนแบ่งตลาดเพิ่ม ซึ่งต้องใช้เวลาสร้างหลายปี

    2)การดำเนินกิจการภายใต้การกำกับของรัฐบาล ทำให้ต้องปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ ระเบียบ คำสั่ง ที่รฐบาลกำหนด อีกทั้งมีอำนาจการตัดสินใจ ได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายและรัฐบาลกำหนด ทำให้ไม่คล่องตัว ไม่มีอิสระ เท่ากับเอกชน จึงไม่สามารถแข่งขันกับเอกชนทั้งในและนอกประเทศได้อย่างเต็มที่ หากไม่ได้รับการแก้ไขผ่อนปรนกฎระเบียบ และข้อำหนดต่าง ๆ จากรัฐบาล

    3)โครงสายบังคับบัญชาแบบ ที่มีช่วงชั้นบังคับบัญชายาว ทำให้เกิดความล่าช้าในกระบวนการอนุมัติ ตัดสินใจหรือดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ควรแก้ไขปรับปรุงโครงสร้างให้กระทัดรัด และคล่องตัวขึ้น

    4)ขนาดองค์กรที่ใหญ่ จำนวนคนที่มาก ทำให้บางครั้งเกิดปัญหาในการสื่อสารไม่ทั่วถึง และใช้เวลา ดังนั้นจึงควรพัฒนาเทคโลยีให้มีการสื่อสารกันอย่างฉับพลันทันทีเพื่อเพิ่มศักยภาพให้แก่องค์กร

    5)สถานที่ทำงานมีกระจายอยู่ทั่วประเทศ บางแห่งที่มีพื้นที่มาก เช่น เขื่อนต่าง ๆ และเกิดค่าใช้จ่ายจากสินทรัพย์เหล่านี้ ดังนั้นต้องบริหารจัดการให้มีค่าใช้จ่ายน้อยและพยายามบริหารสินทรัพย์ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

    6)การขาดช่วงการรับพนักงานใหม่ ตามนโยบายรัฐบาลเป็นเวลานาน จึงทำให้เกิดปัญหาการขาดช่วงการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาย Core Business (วิศวกรหรือช่าง) จึงต้องเร่งสร้างระบบถ่ายทอดและจัดเก็บองค์ความรู้ โดยพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการทางด้านฝึกอบรม โดยวิธี On The Job Training หรือ Coaching เข้ามาช่วยเร่งรัดให้พนักงานใหม่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสร้างคนที่รับเข้าใหม่เป็น Talent เตรียมรับอนาคตอีกด้วย

    7)ในอนาคต 10ปีข้างหน้า กฟผ. มีโครงการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าและระบบส่งตามแผนพัฒนาพลังไฟฟ้า จำนวนมาก ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนแต่ละปีเป็นหลักแสนล้านบาท แต่มีข้อจำกัดเรื่องกรอบวงเงินที่รัฐบาลค้ำประกันเงินกู้ให้น้อยกว่ามาก ทำให้ต้องเร่งศึกษาหาแนวทางบริหารจัดการหาแหล่งเงินทุนให้เพียงพอใช้งานได้ตามแผน

    8)กฟผ. มีวัฒนธรรมในการทำงานที่ดีที่ยืดถือสืบทอดกันมา เช่น การทำงานเป็นทีม การทำงานด้วยความโปร่งใส การเอื้ออาทร เคารพผู้อาวุโสกว่า แต่ระยะหลังได้ขาดช่วงไป ทำให้บางครั้งเกิดปัญหาระหว่างคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ จึงควรเร่งสร้างวัฒนธรรมที่ดีงามให้กลับคืนมา เพื่อเป็นพลังให้เกิดความร่วมแรงร่วมใจให้เกิดผลสำเร็จ พร้อมทั้งสร้างวัฒนธรรมใหม่ในการชอบคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ควบคู่กันไปด้วยกัน

    …………………………………………

    เปรียบเทียบภาวะผู้นำของ CEO บริษัท Microsoft

    Bill Gates (2518-2542)

    • -มีวิสัยทัศน์กว้าง มองการไกล สามารคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้ดี
    • -มีความมานะ อดทน ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค เชื่อมั่นในตัวเองสูง
    • -มีกลยุทธ์ในการทำธุรกิจที่ชัดเจน มุ่งสร้างบริษัทให้เป็นองค์กรแห่งปัญญา
    • -ทำงานเป็นทีม รู้จักใช้จังหวะและความรวดเร็วในการตัดสินใจ
    • -เน้นการให้บริการที่ดีต่อลูกค้า ไม่หวังทำกำไรอย่างเดียว
    • -มีมนุษยธรรม ชอบช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน

    Steve Ballmer (2543-2557)

    • -เป็นผู้อาวุโสที่ร่วมงานกับ Bill Gates มาตั้งแต่เริ่มตั้งบริษัท
    • -มีภาวะผู้นำเรื่องการสื่อสารข้อมูลสำคัญภายในองค์กร
    • -เปิดโอกาสรับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น
    • -ทำงานแบบแยกส่วน ไม่มองภาพรวมขององค์กร
    • -ตัดสินใจช้า ไม่ทันเหตุการณ์
    • -ขาดภาวะผู้นำในการจูงใจผู้บริหารให้ยอมรับการเปลี่ยนแปลง
    • -มีความคิดที่จะปรับปรุงโครงสร้างของบริษัท “คิดใหม่ทำใหม่” แต่ทำไม่สำเร็จ

    Satya Nadella (ก.พ.57 เป็นต้นไป)

    • -มีความเป็นผู้นำสูงมาก มีทักษะด้านวิศวกรรมและเทคนิค
    • -มีวิสัยทัศน์และมุมมองทางธุรกิจ และนำเทคโนโลยีมาใช้
    • -คาดการณ์ตลาดในอนาคตและโอกาสทางธุรกิจเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง
    • -กระตุ้น ส่งเสริมทีมงานให้เป็นเลิศ
    • -มุ่งดำเนินการไปอย่างรวดเร็ว แก้ไขปัญหาอุปสรรคของการเติบโต
    • -ออกแบบผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมใหม่ ตามความต้องการของลูกค้า

    ธุรกิจของ Microsoft แบ่งเป็น 3 ช่วง

    • -ช่วงแรก ยุค Bill Gates เป็นช่วงตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท และสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่นิยมของลูกค้าโดยธุรกิจ Soft Ware และได้มีการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุนการผลิต
    • -ช่วงที่ 2 เป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่ไกลเกินกว่า พีซี เป็นช่วงที่มีการแข่งขันเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีสูง
    • -ช่วงที่3 เป็นช่วงที่มีการปฏิวัติโลกด้วยเทคโนโลยี การแข่งขันเพื่อหาโอกาสทางธุรกิจ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่นำนวัตกรรมใหม่ๆมาให้กับลูกค้าได้เร็วที่สุด

    กรณีตัวอย่างธุรกิจของบริษัท Microsoft สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับ กฟผ. ในเรื่องการคาดการณ์อนาคตและโอกาสในการดำเนินงานของ กฟผ. ซึ่งจำเป็นต้องมีผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำสูง มีวิสัยทัศน์ มีความยืดหยุ่น สามารถนำพาองค์กรให้ฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ เช่น ปัญหาสัดส่วนการผลิต การขยายแหล่งผลิตไฟฟ้าในพื้นที่ใหม่ การแข่งขันกับเอกชน การต่อต้านโรงไฟฟ้า เป็นต้น

    งานกลุ่มที่ 5

    The Renaissance Society ของ Rolf Jansen

    • 1.อ่านหนังสือเล่มนี้
    • หนังสือเล่มนี้ให้ภาพรวมเกี่ยวกับ ตลาดและโอกาส เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้อ่านได้คิดวิสัยทัศน์และกลยุทธ รับอนาคตที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างยิ่งใหญ่และจะมี Innovation ขึ้นภายในองค์กร โดยองค์กรจะต้องตั้งคำถามว่าควรทำอะไรตั้งแต่ตอนนี้

    2.สรุปประเด็นที่เป็นประโยชน์

    • โลกมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นต้องศึกษาอนาคตมากขึ้น วิธีที่ดีที่สุดในการรู้อนาคตคือ การเริ่มขยายจากปัจจุบัน (Extended Now) โดยดูว่ามีแนวโน้มอะไรที่ยังมองไม่เห็นในระยะสั้น ซึ่งจะทำให้องค์กรได้รับโอกาสและแนวคิดใหม่ ๆ
    • บริษัทในอนาคตที่ไม่หวังกำไร แต่ดำเนินการให้อยู่รอดได้เท่านั้น จะเน้นที่การใช้ Ideas

    (A Nonmaterial Company) โดยกำไรส่วนใหญ่จะนำไปใช้เพื่อสังคม เช่น การกุศล ปกป้องสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ ฯลฯ

    • โลกจะเปลี่ยนแปลงจากวัตถุ (Material) มาเป็นคุณค่า (Value) ตัวสินค้า (Products) จะเป็นเพียงแค่สิ่งที่เกิดร่วม (by-Product) ส่วนคุณค่า (Value) จะกลายเป็นสินค้าจริง จึงต้องหาให้ได้ว่าอะไรเป็นคุณค่า (Value) ของเรา
    • ตลาดยุคจิตนิยม (Post materialist Marketplace) เป็นการซื้อด้วยใจเราอาจจะพบคู่แข่งทางธุรกิจใหม่ ๆ ที่ไม่คาดฝัน ผู้ชนะ คือ ผู้ที่สามารถเสนอความเย้ายวนทางอารมณ์ และความรู้สึกในการซื้อสินค้าของผู้บริโภคหรือลูกค้าได้มากที่สุด
    • ในอนาคต (10 ปีข้างหน้า) จะมีชุมชนเสมือน (Virtual Communities) คือรวมตัวกันผ่าน Social Medias มากมายหลายกลุ่มทั่วโลก ตามแต่ละวัตถุประสงค์ อาจเป็นกลุ่มด้านธุรกิจ ด้านการศึกษา ด้านสังคม ด้านธรรมชาติ ด้านการเมือง ฯลฯ องค์กรที่ฉลาดควรจะต้องอาศัยช่องทาง Social Medias เช่น Website Facebook ในการสร้างชุมชนเสมือน เพื่อธุรกิจทั้งในด้านความต้องการของลูกค้า การออกแบบ การผลิต การโฆษณา ซึ่งมีการแชร์ความคิดเห็นและความรู้ทั่วโลกจะเกิดสิ่งใหม่ ๆ อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เสียค่าใช้จ่ายน้อยแต่มีประสิทธิภาพและคุณภาพสูง
    • ประเทศที่พัฒนาแล้ว ประชาชนมีรายได้สูง ธุรกิจที่น่าจับตา คือ การท่องเที่ยว กีฬา ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ การตกแต่งอาคารบ้านเรือน สำนักงานในแนวธรรมชาติ
    • ยุคของการไขว่คว้า ไล่ล่าความสุข (The Pursuit of Happiness) ตลาดทางด้านอารมณ์ความรู้สึก (Emotional Market) มีโอกาสทางการตลาดสูงมาก
    • ในอนาคตงานบริการ จะถูกจ้างงานสูงมาก แรงงานที่มีทักษะน้อยจะถูกพัฒนาไปสู่การเป็นแรงงานที่มีทักษะสูง มีความเชี่ยวชาญเพิ่มขึ้น และห่วงโซ่คุณค่าของโลกจะยาวเพิ่มขึ้น และซับซ้อนตามไปด้วย
    • คนจะบริโภคตามใจตัวเอง เพื่อตอบสนองต่ออารมณ์ไม่ใช่ความหิว ในอนาคตไลฟ์สไตล์ของคนอาจเป็นการซื้อสินค้าโดยใช้อารมณ์ตัดสิน 99 % และใช้เหตุผลเพียง 1 % ผู้ซื้อต้องการสินค้าที่บ่งบอกตัวตน รสนิยม (Personal Products) และยอมจ่ายเงินเพิ่มอีกเล็กน้อยเพื่อซื้อสินค้าที่บ่งบอกลักษณะเฉพาะของบุคคลอีกด้วย
    • การต้องการแสดงเอกลัษณ์เป็นกุญแจสำคัญ สำหรับการตลาดในทุกที่ในโลกตราบเท่าที่ผู้บริโภคต้องการทางเลือกของตนเอง
    • การพัฒนาคุณภาพของระบบวิทยาการเสมือนบนโลกความเป็นจริง (Augmented reality) คือ ความสามารถในการเชื่อมต่อข้อมูล กับสิ่งของหรือสถานที่แบบทันที (real-time) ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นตัวเปลี่ยนแปลงแนวทางในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเราและเมื่อมันได้แทรกซึมเข้าสู่ตลาดแล้วจะเป็นตัวเปลี่ยนการใช้ชีวิต การเรียนรู้ การทำงานของเราในอนาคต
    • การบริหารจัดการแฟนคลับ หรือศาสตร์การสร้าง และบริหารกลุ่มของแฟนของบริษัท หรือสินค้าเป็นสิ่งจำเป็น เพราะในอนาคตลูกค้าจะไม่เชื่อโฆษณา ลูกค้าจะเชื่อใจครอบครัว เพื่อน และกลุ่มของเขา ทางเดียวที่จะมีความสัมพันธ์แบบตัวต่อตัว คือ สังคมแบบมีคุณค่า
    • โลกยุคใหม่ให้ความสำคัญกับ “real-time” จะเห็นว่าบริษัทมุ่งเน้นพิจารณาเป็นรายไตรมาส หรืออีกนัยหนึ่ง พวกเขาสร้างปัจจุบันที่มีระยะสั้น การขยายมุมมองของภาพปัจจุบันให้ยาวขึ้น จะช่วยให้เราสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไม่แน่นอน
    • โลกแห่งข้อมูล เราไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดได้ จำเป็นต้องเลือกข้อมูลบางอย่างมาใช้ และต้องเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และเหมาะสมในบริษัทนั้น ๆ มากที่สุด เพื่อให้ตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
    • ควรให้มีคนหลาย ๆ คนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ โดยหาวิธีที่ทำให้คนเข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เช่น การทำวิจัย จะมีการเปิดโอกาสให้ห้องทดลองอื่น ๆ ทั่วโลกเข้ามามีส่วนพัฒนาและทดลอง
    • วิถีชีวิตจะเปลี่ยนไปเป็นวิถีชีวิตแบบใหม่ ๆ ที่ทุกคนต้องมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า “e-bag” ติดตัวอยู่ตลอดเวลา
    • โลกถูกกำหนดใหม่ด้วยข้อมูลข่าวสารที่สื่อสารกันอย่างทันควัน การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารอย่างฉับพลันทันทีมีชัยเหนือการแลกเปลี่ยนแบบ real-space
    • การลดขนาดเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งมีเหตุผล 2 ประการ
    • 1.เรียนรู้เพื่อจะได้ทำได้มากขึ้นด้วยคนที่น้อยลง ซึ่งหมายถึงปรับปรุงองค์กร
    • 2.เรียนเพื่อที่จะได้รู้ว่าจะดำรงชีวิตด้วยปัจจัยที่ลดลง
    • เราต้องมองภาพใหญ่ เหมือนกับการมองโลกคล้ายมีระบบของหลาย ๆ ระบบที่ทุกระบบมีผลกระทบต่อกันและกัน โดยประเมินผลการกระทำของมนุษย์ว่ามีผลกระทบกับโลกอย่างไร
    • การบริหารจัดการ ไม่มีทฤษฎีที่แน่นอน และไม่มีทฤษฎีที่ดีที่สุด ในชีวิตจริงการบริหารจัดการมีความซับซ้อน และไม่แน่นอนอยู่เสมอ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสถานการณ์
    • โครงการ CSR ของบริษัทต้องชัด ต้องการให้สื่อนำเสนออะไร เกี่ยวกับบริษัทควรบอกไม่เช่นนั้น สื่อจะคิดเอง และเกิดความผิดผลาดได้ ข่าวนั้นยิ่งดังยิ่งดี ไม่ควรปิดข่าว พนักงานชอบนโยบายที่โปร่งใส เพราะพนักงานก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคม และถ้าบริษัทจะเป็นส่วนหนึ่งของสังคมก็ต้องดูแลพนักงานด้วย
    • การกระจายอำนาจดีที่สุด องค์กรที่ Flat จะช่วยกระตุ้นให้เกิดความคล่องตัวและเกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ
    • ผู้นำในอนาคตต้องพบเจอกับความขัดแย้งไม่ลงรอยกันของทฤษฎีบริหารจัดการต่าง ๆ CEO ในอุดมคติ ต้องมีน้ำใจ เข้าใจความรู้สึกผู้อื่น ตัดสินใจได้ มีวิสัยทัศน์ ดู Cash Flow เป็นต้องสามารถทำให้องค์กรปรับตัวเข้ากับอนาคตได้ จะต้องสื่อสารกับบอร์ด พนักงาน ลูกค้า และทุกคนที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังต้องมีชีวิตครอบครัวที่ดี มีความสุขด้วย
    • ความท้าท้าย สำหรับโลกตะวันตกแตกต่างจากความท้าทายสำหรับโลกตะวันออก ดังนี้
    • โลกตะวันตก
    • 1.มีผลทางด้านอารมณ์ สินค้าต้องดึงดูดอารมณ์
    • 2.มีผลทางด้านความเป็นส่วนตัว
    • 3.มีผลทางด้านกระจายศูนย์
    • 4.มีผลด้านการสร้างสรรค์สิ่งใหม่
    • 5.มีผลด้านความเสมอภาค

    โลกตะวันออก

    • 1.เตรียมพร้อมสำหรับยุคถัดไป
    • 2.โครงสร้างพื้นฐาน
    • 3.การศึกษา
    • 4.การผลิต
    • 5.ความเป็นอัตโนมัติ
    • ในอนาคต อาจเป็นสังคมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา (The Renaissance Society) สังคมสีเขียว (The Green Society) หรือสังคมเสี่ยง (The Risk Society) หรืออาจแตกต่างจากที่กล่าวไว้ในหนังสือ เราไม่สามารถตอบได้ แต่แนวโน้มชี้ให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญรออยู่ข้างหน้า ซึ่งขึ้นอยู่กับตัวเรามากกว่าเวลาที่ผ่านมาแล้วในอดีต

    3.นำเอาหัวข้อสำคัญมาประยุกต์กับการทำงานของ กฟผ.

    • 3.1CSR

    ปัจจุบัน นวัตกรรมด้าน CSR ของ กฟผ. ประกอบด้วย

    • -รวมแผน แยกปฏิบัติ
    • -CSR ภายใน
    • -CSR / PR
    • -ประเมินผล / Audit
    • -ปรับปรุง

    CSR เริ่มจากภายในสู่ภายนอก โดยแบ่งเป็น

    • -CSR ในองค์กร
    • -CSR สังคมใกล้
    • -CSR สังคมไกล

    การนำหัวข้อสำคัญในหนังสือมาประยุกต์ใช้เป็นการปรับปรุงพัฒนาต่อยอดให้ CSR ของ กฟผ. สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

    • 1)สื่อสารให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ รับรู้ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เกี่ยวกับ CSR หรือประเด็นที่สังคมกำลังสนใจจับตามอง กฟผ. ให้ แก่พนักงาน ครอบคลุมทั้งองค์กร มีการเผยแพร่ข่าวสารภายในองค์กรที่โปร่งใสและเป็นจริง จะช่วยให้ทุกคนในองค์กรทลายกำแพงเข้ามาร่วมกันทำงาน CSR ได้เต็มประสิทธิภาพและทำหน้าที่ PR ให้ กฟผ. ได้ทุกคน
    • 2)ในการที่ทำ PR ผ่านสื่อต้องทำโครงการ CSR ขององค์กรให้ชัด ต้องการให้สื่อนำเสนออะไร เกี่ยวกับองค์กร ควรบอกให้ชัด เรื่องดี ๆ ที่มีมากมายควรสื่อสาร Story ให้สังคมรับรู้อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
    • 3)สร้างชุมชนเสมือนขึ้น สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน (Virtual Communities) โดยรวมตัวกันผ่านช่องทาง Social Medias เป็นกลุ่มต่าง ๆ ด้านพลังงาน ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านธรรมชาติ ฯลฯ เพื่อรับทราบความต้องการของลูกค้า ชุมชน มีการแชร์ความคิดเห็น และความรู้ทั่วประเทศและทั่วโลก ทำให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ และนวัตกรรม โดยเสียค่าใช้จ่ายน้อย แต่มีประสิทธิภาพและคุณค่าสูง
    • 4)มีการสร้างเครือข่ายที่เป็นหน่วยงานรัฐ เอกชน และประชาชน มีการบริหารจัดการแฟนคลับ โดยจัดกิจกรรมร่วมกับท้องถิ่น ให้ท้องถิ่นเป็นเจ้าภาพร่วม เช่น จัดการท่องเที่ยว กีฬา บริเวณเขื่อนต่าง ๆ สร้างรายได้ให้จังหวัด เพื่อให้แฟนคลับทำหน้าที่โฆษณาประชาสัมพันธ์ให้แก่ครอบครัว เพื่อนฝูง ชุมชนต่อไป
    • 5)มีการนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการดำเนินงานของ กฟผ. ความรู้ ความเข้าใจ ด้านพลังงาน ประโยชน์ที่ประเทศและสังคมโดยรวมจะได้รับจากการสร้างโรงไฟฟ้า เขื่อน ระบบส่งไฟฟ้า โดยใช้วิทยาการเสมือนบนโลกความเป็นจริง((Augmented reality) สร้างเป็น EGAT Learning Center (ศูนย์การเรียนรู้ ด้านพลังงานล้ำสมัย) มีจัดแสดงนิทรรศการและให้ความรู้ขึ้นที่สำนักงานกลาง กฟผ. และเขื่อนต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้เยาวชนและประชาชนตระหนักถึงความจำเป็นของพลังงานไฟฟ้าและมีความรู้ ความเข้าใจในการผลิตไฟฟ้า อันจะส่งผลให้เกิดความร่วมมืออันดีระหว่าง กฟผ.กับประชาชนให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การประหยัดพลังงาน รวมทั้งการสร้าง โรงไฟฟ้าในอนาคต
    • 6)สร้างความมั่นใจเรื่องสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยในชุมชนรอบโรงไฟฟ้า เพราะในอนาคตคนจะคิดถึงความเสี่ยง ความปลอดภัย สุขภาพอนามัย และธรรมชาติมากขึ้น โดยกำหนดมาตรการ หน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง มีการพบปะประชาชนอย่างใกล้ชิด มีการ Audit โดยองค์กรหรือหน่วยงานระดับสากล
    • 3.2Value Creation และ Value Diversity
    • 1) Value Creation
    • องค์กรต้องสร้างภาพลักษณ์เป็นองค์กรหลักในการพัฒนาประเทศด้านพลังงานไฟฟ้า โดยเป็นมิตรกับสังคมและสิ่งแวดล้อม มีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้สื่อสารข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ทั้งจากบนลงล่าง และล่างขึ้นบน รวมทั้งในระนาบเดียวกันได้อย่างทั่วถึงและเหมาะสม สร้างให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ สนับสนุนให้เกิดนวัตกรรม มีการปรับปรุงกระบวการทำงานให้สอดประสานกันทั้งองค์กร เพื่อความแข็งแกร่งพร้อมรับโอกาสที่จะเข้ามาในอนาคต
    • กฟผ. ต้องเปลี่ยนจากวัตถุ (Material) มาเป็นคุณค่า (value) ทำให้ไฟฟ้า (Products) เป็นเพียงแค่สิ่งที่เกิดร่วม (by-Product) ที่มีคุณค่าเป็นความสุข ความภาคภูมิใจ รู้สึกถึงการมีส่วนร่วม สร้างความเจริญให้แก่ประเทศชาติ เมื่อมีแนวคิด บวก มีทัศนะคติที่ดีต่อ กฟผ. ก็จะเกิดความร่วมมือ ไม่ต่อต้านหรือขัดขวางเมื่อ กฟผ. มีโครงการใหม่ นวัตกรรมใหม่ ที่ได้จากการร่วมมือร่วมใจกันระหว่าง กฟผ. และชุมชนก็จะเกิดขึ้นได้ เช่น การนำลูกถ้วยที่หมดอายุใช้งานแล้วไปทำประโยชน์ทิ้งลงทะเลเพื่อสร้างแนวประการังเทียมเป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์ทะเล ช่วยให้ธรรมชาติที่ดีกลับคืนมา เป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งรายได้ของชุมชน หรือ การจัดโครงการให้สถาบันศึกษาประกวดออกแบบอุปกรณ์ไฟฟ้าประหยัดพลังงาน ซึ่งผู้ชนะก็จะภาคภูมิใจ มีความรู้สึกร่วมเป็นส่วนหนึ่งในเรื่องพลังงานไฟฟ้าด้วย
    • 2)Value Diversity
    • ในอนาคตมีการบริหารข้ามศาสตร์ควรมีคนที่หลากหลายเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ มีการบริหารจัดการให้ทำงานร่วมกันอย่างประสบความสำเร็จสามารถดึงศักยภาพของทุกคนมาใช้ได้อย่างเต็มที่ โดยทำให้โครงสร้าง Flat ลงกว่าเดิม มีการใช้ทีมงานหรือคณะต่าง ๆ ทำงานมากขึ้น ไม่ยึดติดกนกับวิชาชีพใดวิชาชีพหนึ่ง โดยเน้นการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง เปิดโอกาส/สร้างบรรยากาศให้ปัจเจกชนอยากเสนอความคิดสร้างสรรค์และความเป็นตัวตนได้อย่างอิสระ มีความสุขกับการทำงาน ฯลฯ
    • นอกจากนี้ควรส่งคนไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหน่วยงานอื่นทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้เกิดทางเลือกด้านพลังงานที่หลากหลาย เกิดมุมมองใหม่ ๆ ด้านการทำธุรกิจเพิ่มทางเลือกในการลงทุนและการแข่งขัน ขยายธุรกิจไปในเอเชียและประเทศที่ยังมีความต้องการพัฒนาด้าน Inflastructure
    • 3.3อุปสรรค์ที่เกิดขึ้นในการทำงานที่ไม่ประสบความสำเร็จ
    • 1)ในยุคที่โลกไร้พรมแดนเต็มไปด้วยการแข่งขันและการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ทำให้มีคนลงแข่งขันในธุรกิจไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ประกอบกับที่ผ่านมา กฟผ.มีการดำเนินงานแบบรัฐวิสาหกิจทำให้ กฟผ. ประสบปัญหาในการสร้างผู้นำที่มีประสบการณ์ด้านธุรกิจเอกชน ที่มีภาวะผู้นำที่จะวางแผน กำหนดวิสัยทัศน์ นโยบาย เป้าหมายได้อย่างแม่นยำ ที่จะทำให้องค์กรได้เปรียบคู่แข่งขัน รัษาส่วนแบ่งตลาด/ได้ส่วนแบ่งตลาดเพิ่ม ซึ่งต้องใช้เวลาสร้างหลายปี
    • 2)การดำเนินกิจการภายใต้การกำกับของรัฐบาล ทำให้ต้องปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ ระเบียบ คำสั่ง ที่รฐบาลกำหนด อีกทั้งมีอำนาจการตัดสินใจ ได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายและรัฐบาลกำหนด ทำให้ไม่คล่องตัว ไม่มีอิสระ เท่ากับเอกชน จึงไม่สามารถแข่งขันกับเอกชนทั้งในและนอกประเทศได้อย่างเต็มที่ หากไม่ได้รับการแก้ไขผ่อนปรนกฎระเบียบ และข้อำหนดต่าง ๆ จากรัฐบาล
    • 3)โครงสายบังคับบัญชาแบบ ที่มีช่วงชั้นบังคับบัญชายาว ทำให้เกิดความล่าช้าในกระบวนการอนุมัติ ตัดสินใจหรือดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ควรแก้ไขปรับปรุงโครงสร้างให้กระทัดรัด และคล่องตัวขึ้น
    • 4)ขนาดองค์กรที่ใหญ่ จำนวนคนที่มาก ทำให้บางครั้งเกิดปัญหาในการสื่อสารไม่ทั่วถึง และใช้เวลา ดังนั้นจึงควรพัฒนาเทคโลยีให้มีการสื่อสารกันอย่างฉับพลันทันทีเพื่อเพิ่มศักยภาพให้แก่องค์กร
    • 5)สถานที่ทำงานมีกระจายอยู่ทั่วประเทศ บางแห่งที่มีพื้นที่มาก เช่น เขื่อนต่าง ๆ และเกิดค่าใช้จ่ายจากสินทรัพย์เหล่านี้ ดังนั้นต้องบริหารจัดการให้มีค่าใช้จ่ายน้อยและพยายามบริหารสินทรัพย์ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
    • 6)การขาดช่วงการรับพนักงานใหม่ ตามนโยบายรัฐบาลเป็นเวลานาน จึงทำให้เกิดปัญหาการขาดช่วงการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาย Core Business (วิศวกรหรือช่าง) จึงต้องเร่งสร้างระบบถ่ายทอดและจัดเก็บองค์ความรู้ โดยพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการทางด้านฝึกอบรม โดยวิธี On The Job Training หรือ Coaching เข้ามาช่วยเร่งรัดให้พนักงานใหม่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสร้างคนที่รับเข้าใหม่เป็น Talent เตรียมรับอนาคตอีกด้วย
    • 7)ในอนาคต 10ปีข้างหน้า กฟผ. มีโครงการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าและระบบส่งตามแผนพัฒนาพลังไฟฟ้า จำนวนมาก ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนแต่ละปีเป็นหลักแสนล้านบาท แต่มีข้อจำกัดเรื่องกรอบวงเงินที่รัฐบาลค้ำประกันเงินกู้ให้น้อยกว่ามาก ทำให้ต้องเร่งศึกษาหาแนวทางบริหารจัดการหาแหล่งเงินทุนให้เพียงพอใช้งานได้ตามแผน
    • 8)กฟผ. มีวัฒนธรรมในการทำงานที่ดีที่ยืดถือสืบทอดกันมา เช่น การทำงานเป็นทีม การทำงานด้วยความโปร่งใส การเอื้ออาทร เคารพผู้อาวุโสกว่า แต่ระยะหลังได้ขาดช่วงไป ทำให้บางครั้งเกิดปัญหาระหว่างคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ จึงควรเร่งสร้างวัฒนธรรมที่ดีงามให้กลับคืนมา เพื่อเป็นพลังให้เกิดความร่วมแรงร่วมใจให้เกิดผลสำเร็จ พร้อมทั้งสร้างวัฒนธรรมใหม่ในการชอบคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ควบคู่กันไปด้วยกัน
    • …………………………………………………

    The Renaissance Society กับ กฟผ.

    โลกทุกยุคทุกสมัยผ่านภาวะรุ่งเรือง แล้วตกต่ำ มาไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้ง และทุกครั้งที่พบพานภาวะวิกฤต ก็จะผ่านภาวะวิกฤตมาได้อย่างสวยงามทุกครั้งไป และทุกวันนี้ โลกของเราก็ยังคงเวียนว่ายอยู่ในวงจรเดิม เมื่อเราประสบภาวะวิกฤต เราะก็จะหาหนทางเพื่อคลายวิกฤต หรือนำวิกฤตมาเป็นโอกาสต่อไป

    โลกอนาคตก็จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างแน่นอน ซึ่งชาวตะวันออกยอมรับความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นเสมือนพิมพ์เขียวอยู่ในใจ ในกาย ของทุกคน เป็นธรรมดาโลกที่ย่อมเปลี่ยนแปลง ในขณะที่ชาวตะวันตกกลับเสาะหาแต่สิ่งที่เป็นอมตะ และเป็นสิ่งที่ชาวตะวันตกเสาะหากันมานานหลายศตวรรษ

    ดังนั้นการมองโลกของตะวันตก จึงแตกต่างกับการมองโลก และการรับรุ้ Perception ของชาวตะวันออกโดยสิ้นเชิง หนังสือเล่มนี้ได้บอกการมองโลกอนาคตที่จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก และได้คาดการณ์จากการวิเคราะห์ในหลาย ๆ บริบทเพื่อการเตรียมตัวไปสู่การเปลี่ยนแปลง ทีพยายามมอง รวบรวม วิเคราะห์ และให้แนวโน้ม ให้ความคิดเพื่อการเตรียมตัวสู่โลกอนาคต โลกของความใสสะอาด โลกแห่งความยั่งยืน และโลกแห่งผลประโยชน์

    ในขณะที่ชาวตะวันตกยังคงไม่ยอมรับสภาพการเปลี่ยนแปลง แต่กลับมองหาวิธีการเอาชนะความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ นานา ชาวตะวันออกกลับมอง และยอมรับการเปลี่ยนแปลง ที่เป็นธรรมดาของโลก และหมุน กลมกลืนไปกับความเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นอย่างกลมกลืนมาทุกยค ทุกสมัย โดยปราศจากการกล่าวอ้าง การยกทฤษฎีหลากหลาย การนำเสนอกระบวนการมากมาย

    และเมื่อชาวตะวันตกนำความคิดเข้าสู่ระบบ (System Thinking) กระบวนการ ทฤษฎี มาสู่ชาวตะวันออก ที่พร้อมจะยอมรับทั้งความเปลี่ยนแปลงชองโลก และการเตรียมตัวเพื่อไม่ให้ความเปลี่ยนแปลงกระทบต่อชีวิต ของชาวตะวันตก ชาวตะวันออก ก็เรียนรู้ทฤษฎีต่าง ๆ เหล่านั้น เพื่อหมุนไปกับโลกในมุมมองของตนเอง และหมุนไปพร้อม ๆ กับโลกในมุมมองของชาวตะวันตกในเวลาเดียวกัน

    โลกปัจจุบันเป็นยุควัตถุครองใจ ยุคเงินเท่านั้นที่ครองโลก แต่เป็นโลกที่ก่อให้เกิดความแตกต่างระหว่างชนชั้นร่ำรวย และชนชั้นยากจนที่เห็นได้อย่างเด่นชัด โลกไร้พรมแดน โลกไร้ขีดจำกัด แต่เงิน วัตถุ สิ่งของไม่ใช่สิ่งจำเป็นที่สุดสำหรับการดำรงอยู่ มนุษย์จะต้องมองหา ค้นคว้า สิ่งตรงข้ามกับวัตถุ สิ่งตรงข้ามกับเงิน มนุษย์ต้องมองหาคุณค่าของการเป็นมนุษย์ มองหารากเหง้าของคน (วัฒนธรรมต่าง ) ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้ตลาดโลกเปลี่ยนสภาพไป ผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งหากให้เปรียบเทียบ มันก็คือ การเปลี่ยนแปลงอันเป็นธรรมชาติของโลก ที่เกิดขึ้น มีอยู่ และดับไป (เกิดระบบการค้าขายแบบนายทุน เจริญเติบโตถึงขีดสุด คนเป็น material ในทุกลมหายใจ และได้เวลาเสื่อมลงไป) ความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลง ทำให้ผู้ผลิตต้องปรับมุมมอง ปรับกระบวนการ มุ่งไปสู่การกระทำที่มีคุณธรรมมากขึ้น มุ่งสู่การเป็นคนดีของสังคม มุ่งสู่ความยั่งยืนของสังคม (ของธุรกิจของตนเอง) โดยที่คนที่เป็นตัวจักรสำคัญในทุก ๆ สรรพสิ่งต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายของคุณธรรม กับ กำไร ความโปร่งใส กับ รายได้ ผู้นำ ที่ต้องตัดสินระหว่างความดี กับความดีน้อย และ ความเลวมาก กับความเลวมากกว่า ซึ่งผู้เขียนมองว่า มันเป็นสิ่งที่ยากเย็นมาก สำหรับผู้นำในโลกของเขา ในขณะที่ผู้อ่านมองว่า มันจะยากตรงไหนกัน กับการเลือกในสิ่งที่ดี และถูกต้อง (หิริ โอตัปปะ) หากเรายึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้อง และสิ่งที่ดี เราก็จะสามารถเป็นผู้นำที่นำพาครอบครัว องค์กร สังคม ประเทศชาติไปในทางที่ดี มั่นคง พอเพียง และยั่งยืนได้

    โลกไม่เคยแคบลง โลกไม่เคยย้ายที่อยู่ แต่คนเท่านั้นที่ทำให้โลกไร้พรมแดน โลกกลายเป็นลูกกลม ๆ ที่บินข้ามฝั่งได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง คนที่อยู่ในโลกสองฝั่งมีธรรมชาติรอบตัวที่แตกต่างกัน ที่สะสมกลายเป็น perceptions ที่ไม่เหมือนกัน และก่อให้เกิดวัฒนธรรม และรากเหง้าของการประพฤติ ปฏิบัติที่ไม่เหมือนกันโดยสิ้นเชิง ช่องว่างระหว่างกัน ไม่เคยแคบลง แต่เป็นเพียงมุมมอง และความเข้าใจฝั่งตรงข้ามที่มากขึ้น

    โลกที่ผ่านมาหลายยุค หลายสมัย เป็นโลกที่หมุนวนอยู่ตลอดเวลา เหมือนประวัติศาสตร์เวียนซ้ำรอยเดิมของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นยุคของการเปลี่ยนแปลงจาก Middle Age มาสู่ยุค Renaissance ในยุโรป หรือยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรม ยุคของประเทศทวีปใหม่ หรือยุคของทวีปเอเชีย ที่จะหมุนวนเป็นวัฏจักรอยู่อย่างนี้ หนังสือเล่มนี้ได้ให้มุมมองของการเปลี่ยนแปลงย่อมเป็นไปตามธรรมชาติ ซึ่งชาวพุทธได้รับรู้ และยอมรับการเปลี่ยนแปลงเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต แต่การยอมรับของชาวตะวันออก และการยอมจำนนของชาวตะวันตกแตกต่างกันไป ตามความเชื่อ และวัฒนธรรม

    อย่างไรก็ดี การอ่านหนังสือเล่มนี้ทำให้ได้เห็นมุมมองของโลกตะวันตก ที่อย่างไร ก็ยังคงมองที่ Benefit เป็นสำคัญ และถึงแม้ว่าในโลกที่ผ่านมาตะวันตกได้ใช้ทรัพยากรในโลกสร้างความร่ำรวยให้ตนเองโดยไม่คำนึงถึงความสมดุลย์ และเมื่อตะวันตกได้มาถึงเป้าหมายในระยะหนึ่งแล้ว เป้าหมายถัดไปจึงได้หันกลับมาคิดถึงความสมดุลย์ ในขณะที่ตะวันออกยังไม่เข้าสู่เป้าหมายระยะแรก และยังมองไม่ทะลุถึงเป้าหมายถัดไป ซึ่งเป็นความไม่ยุติธรรมต่อตะวันออกที่ยังไม่ทันได้ใช้ทรัพยากร ก็โดนสั่งห้ามใช้เสียแล้ว

    แต่ตะวันออก ก็ คือ ตะวันออก ย่อมไม่สามารถเอามาตรฐานตะวันตกมาวัด มาเปรียบ หากเปลี่ยนเป็นการตัดเสื้อ ขนาดของคน ๆ หนึ่ง ย่อมแตกต่างไปจากคนอีกคนหนึ่งในทุก ๆ มาตรา ตะวันออกจะมีชีวิตอยู่กับรากเหง้าของตนเอง ในขณะที่ตะวันตกมีชีวิตอยู่กับคุณค่าในสังคม

    ในการสร้างคุณค่าให้กับองค์กร Value creation ผู้อ่านมองว่า การเห็นคุณค่าในสิ่งที่คนทุกคนมี ย่อมจะสามารถสร้างคุณค่าใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นได้ แต่พื้นฐานคนทุกคนต้องรู้จักที่จะมี appreciation ในสิ่งที่ตนเองมีอยู่เป็นที่ตั้ง เมื่อคนเรียนรู้ทีจะ appreciate สิ่งที่ตนมีอยู่แล้ว และผู้คนรอบด้านให้การยอมรับ คนเหล่านั้นก็พร้อมที่จะสร้าง creation ให้เกิดนวัตกรรมให้แก่องค์กรของตนเองได้ ลองมองเปรียบเทียบประเทศสหรัฐอเมริกาที่พยายามสร้าง value creation จากสิ่งที่ผู้คนของตนเองยังมองไม่เห็นคุณค่าใด ๆ ในตัวเอง สหรัฐอเมริการสร้างธุรกิจใหญ่โต กระจายออกไปมากมาย และในที่สุด เป็นการไปสร้างให้ผู้อื่นร่ำรวย ในขณะที่ประชาชนในชาติกลับประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกัน ประเทศอิตาลี ผู้คนมีพื้นฐานในงานด้านแฟชั่น งานฝีมือ ถึงแม้ประเทศจะไม่ร่ำรวย แต่คนอิตาลีกลับไม่ยากจน เพราะสามารถนำ value ทีมีอยู่ในตัวตนมาสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นได้ เช่นเดียวกับประเทศฝรั่งเศสที่รู้จักคุณค่าของตนเอง และสร้างให้เกิดนวัตกรรมได้ตลอดเวลา

    และเมื่อมาอยู่ในโลกไร้พรมแดน โลกยุค 4 G ความหลากหลายที่กระโจนเข้ามา กระแทกเข้ามาเหมือนคลื่น ในทะเลที่ไม่เคยหยุดยั้ง กลายเป็นเรื่องปกติ ธรรมดา ที่ความหลากหลายเหล่านั้น จะเข้ามาอยู่ในครอบครัว ในสถานทีทำงานอย่างแน่นอน ดังนั้นการเตรียมตัว เตรียมใจที่จะต้องทำงานร่วมกันกับความแตกต่าง จึงเป็นเรื่องที่ไม่ห่างไกล และเป็นเรื่องที่ควรนิยมใฝ่ฝันถึง เพราะการได้ร่วมงานกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และแตกต่างจะทำให้เราได้เรียนรู้มากขึ้น ในทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำงานในกลุ่มของ AEC

    ประสบการณ์ของคนที่แตกต่างกัน มาตลอดเส้นทางชี่วิต จะให้มุมมองที่แตกต่าง กระบวนการในการวิเคราะห์ และตัดสินใจที่ไม่เหมือนกัน จะทำให้เราได้เรียนรู้ ตระหนัก และรู้จักที่จะรู้เขา รู้เรา รู้จักที่จะเอาใจเขามาใส่ใจเรา และหากว่าเราสามารถทำได้ เราจะสามารถสร้าง Valuediversity ให้กับลูกค้าได้อย่างเหนือความคาดหมาย (not only satisfaction but also delighted level)

    ในสังคมที่แคบลงมา คือในองค์กร กฟผ. ก็หลีกไม่พ้นกับการที่ต้องเปลี่ยนแปลง ซึ่ง กฟผ. ก็ประสบการเปลี่ยนแปลงมาทุกระยะ ไม่ว่าจะเป็นยุคก่อร่างสร้างตัวของ กฟผ. ที่ผู้บริหารทุกคน สมาชิกทุกคนทำงานหนัก โดยไม่คำนึงถึงผลตอบแทน ทุกคนมุ่งหวังความสำเร็จเพื่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติ และผ่านมาเรื่อย ๆ ยุคสร้างบ้านสร้างเมือง ที่ไฟฟ้าเป็นปัจจัยหลักที่จะก่อให้เกิดการสร้างงาน การพัฒนาประเทศเพื่อยกระดับประเทศขึ้นมาจากประเทศโลกที่สาม เข้าสู่การเป็นประเทศโลกที่สอง จนเข้าสู่ยุคที่ผู้คนถามหาความสมดุลย์ของธรรมชาติ สังคมถามหาความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งท้าทายที่ผู้บริหาร กฟผ. ต้องเผชิญ ระหว่างพลังงานไฟฟ้าที่ประเทศต้องการ กับพลังงานไฟฟ้าที่สะอาดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทีประเทศต้องการ (เหมือนสิ่งท้าทายของผู้บริหารในบทที่ 6) ผู้บริหาร และคน กฟผ. ก็ต้องปรับบทบาท เปลี่ยนมุมมอง ต้องหัดใส่แว่นตาของคนอื่นบ้าง ไม่ใช่มองผ่านเลนส์ของตนเองแต่เพียงฝ่ายเดียว

    โลกอนาคตของ กฟผ อีก 30 ปี ข้างหน้า ก็น่าที่จะมีการวางแผนสร้างฝันให้แตกต่างออกไป เราอาจจะไม่ใช่หน่วยงานที่ผลิตไฟฟ้าแต่เพียงอย่างเดียว เราอาจจะผันตัวไปเป็นผู้ผลิตโรงไฟฟ้าขนาดจิ๋ว เหมาะสำหรับหมู่บ้านจัดสรร เหมาะสำหรับชุมชน หรือ office ซึ่งสถานที่เราอาจใช้เพียงแค่ ตึกแถว 3 คูหา 5 ชั้น

    หากจะมีคำถามว่าทำไมต้องคิดแต่เรื่องผลิตไฟฟ้าอย่างเดียว ก็เพราะว่าเราเป็น expertise ทางด้านนี้ เราเรียนรู้ value ของเรา ทำไมเราจะไม่ใช้ value พิเศษนี้ของเรามาสร้างสรรนวัตกรรมให้เกิดขึ้น และทรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์กรคือ ทรัพยากรมนุษย์ ซึ่ง กฟผ มีอยู่อย่างเหลือเฟือ เพียงแต่ว่า ในการทำงานต่าง ๆ ของเรา ยังคงขาดการรวมความแตกต่าง (Diversity) ภายในของเราไม่ได้ เรายังทำงานเป็น Silo อยู่ อย่างไรก็ตาม ความพยายามที่จะทอน Silo เหล่านั้นให้ลดต่ำลง เป็นสิ่งที่ต้องอาศัยเวลา และตะวันออกยังคงความเป็นตะวันออกที่มองใน Long Term และหวังผลในระยะยาว (คนตะวันออกมีความอดทนสูง)

    มาถึง ณ จุดนี้ ตะวันออกยังคงให้คุณค่าของ Value และจิตใจ เหนือกว่าผลประโยชน์ และmaterials ยังคงมองคนเป็นคน ในขณะที่ ตะวันตกมองที่ผลประโยชน์ และกำไร เหนือกว่าคุณค่า และความเป็นมนุษย์มาตลอดทุกยุคทุกสมัย และในสิ่งที่ผู้แต่งว่าโลกของตะวันตกและตะวันออกเป็นโลกของผู้ชาย และเป็นสิ่งเดียวที่ทั้งสองฝั่งมีเหมือนกัน ผู้อ่านกลับมองตรงกันข้าม สังคมตะวันออกเป็นพหุสังคม เป็นสังคมของครอบครัวใหญ่ ในอดีตตะวันออกมีการทำสงคราม ผู้ที่ออกไปทำสงครามคือผู้ชาย และผู้ที่อยู่ในบ้านคือผู้หญิง ดังนั้นการบริหารจัดการทุกอย่างอยู่ในมือผู้หญิงมาช้านาน แต่การให้เกียรติแก่ผู้ที่กลับจากการไปทำสงคราม หรือ การไปรับใช้ชาติด้วยการเป็นทหาร เมื่อพ้นเกณฑ์ออกมา ผู้หญิงจะให้เกียรติที่ไปเหนื่อยยาก ลำบาก และรอดชีวิตกลับมา ดังนั้น เมื่อกลับมาจึงไม่ได้ทำอะไร และที่ถูกคือ ไม่ได้รับมอบหมายให้ทำอะไรในบ้าน (ซึ่งอาจจะหมายถึง ที่นาหลายร้อยไร่ ข้าทาสบริวารหลายสิบชีวิต ปากท้องของลูกบ้านหลายร้อยปาก) ผู้หญิงตะวันออกเรียนรู้ที่จะควบคุม บริหาร และกุมบังเหียนอยู่เบื้องหลัง เป็นผู้ชักเชิดหุ่นอยู่ในฉาก ดังนั้นผู้หญิงตะวันออกจึงไม่ต้องเรียกร้องที่จะเอาสิทธิเท่าเทียม เพราะนั่นเท่ากับต้องสูญเสียอภิสิทธิ์ที่เคยมีให้ฝ่ายชาย

    ในขณะที่สังคมตะวันตก สังคมก็ผ่านการสงครามเช่นกัน แต่ผู้หญิงตะวันตกไม่ได้เข้มแข็งอดทนในแบบตะวันออก เพราะ value ที่ยึดถือ คือ ตนเองเป็นสำคัญ ดังนั้น เมื่อผู้ชายกลับจากเกณฑ์ทหาร หรือ รอดชีวิตจากสงคราม ผู้หญิงตะวันตกยังคงเรียกร้องเพื่อตัวเอง และเมื่อธุรกิจเจริญขึ้น ผู้หญิงเข้าไปบริหารมากขึ้น เธอก็เรียกร้องมากขึ้น เพื่อให้ได้สิทธิเท่าเทียมกับผู้ชาย

    ผู้เขียนอาจจะมองว่า ทั้งตะวันตก และตะวันออก เป็นโลกของผู้ชาย แต่อำนาจและสิทธิเป็นของผู้หญิงตะวันออกมาช้านาน และเมื่อใดที่ผู้หญิงตะวันออกก้าวออกมาสู่โลกภายนอก เธอจะไม่มาเพียงแค่บทบาทระดับเล็ก ๆ แต่เธอสามารถทำให้โลกทั้งใบจับตามอง

    ศุภนนาฏ ล้ำเลิศ

    กลุ่ม 6 EADP รุ่น 10

    ขออนุญาตส่งงานรวบยอดเลยนคะ

    กรณีศึกษา Microsoft จากอดีต ถึง ปัจจุบัน กับภาวะผู้นำ ของ CEO

    1 Bill Gate

    ผู้นำยุคบุกเบิก เริ่มกอตั้งและพัฒนาอยู่สม่ำเสมอไปสู่จุดที่ตนพอใจและเป็นการท้าทายตนเอง มีควา มมานะอดทนไม่ย่อท้อเพื่อความสำเร็จขององค์กร ต้องฝ่าฟันอุปสรรคให้ได้ สิ่งที่เป็นลักษณะหลักคือเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล นำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จมองหากลยุทธ์ใหม่อยู่เสมอ

    2. Steve Ballmer

    ผู้นำยุคที่อยู่ตัว เข้าที่แล้วไม่ได้มีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ เน้นความมีมนุษยสัมพันธ์กับเพื่อน รับฟังความคิดเห็นจากพนักงาน เน้นการสื่อสารที่เป็นปัญหาในองค์กรมาโดยตลอด

    3. Satya Nadella

    ผู้นำยุคใหม่ทีจะสร้างนวัตกรรมทางด้านซอฟแวร์ใหม่ หลังจากทำงานกับไมโครซอฟมากว่ายี่สิบปี เป็นผู้นำที่สร้าง Trust ให้กับบริษัท เป็นคนที่มีนิสัยอ่อนน้อม เข้าได้กับทุกคน ปรัชญการทำงานคือ กระตือรือร้นและกระหายที่จะเรียนรู้

    การประยุกต์ใช้กับกฟผ.

    กฟผ.ผ่านยุคของผู้นำ มาหลายยุค เช่นเดียวกัน ตั้งแต่ยุคบุกเบิก ยุคที่ทรงตัว ยุคที่ต้องปรับตัวให้ทันเปลี่ยนแปลงไปสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลง โดยผู้ว้าการคนปัจจุบันกำลังอยู่ในช่วงของการสร้าง Trust ให้ กฟผ. ทั้งด้านความมั่นคงของการผลิตไฟฟ้า ระบบส่งไฟฟ้า การจัดหาพลังงานทดแทน ความรับผิดชอบต่อสังคม การให้ความสำคัญของคุณค่าของทรัพยากรมนุษย์ โดยมองอนาคตขององค์กร กำหนดทิศทางทำธุรกิจรับงานภายนอก ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจในเครือมากขึ้นเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งขององค์กรในอีกทางหนึ่ง

    วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2557

    กิจกรรมรักษ์กาย ณ ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี

    ธรรมชาติบำบัด ปรับชีวิต เปลี่ยนอาหาร หลักการแพทย์พอเพียง

    นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล ได้บรรยายลักษณะและเกณฑ์วัด ดัชนีมวลกาย ปัญหาของความอ้วน และอันตรายของความอ้วน การลดน้ำหนักด้วยวิธีธรรมชาติ กินเนื้อ กินผัก ออกกำลังกายให้มาก แล้วพูดถึงตัวช่วยในการลดไขมัน และลดน้ำหนัก การป้องกันโรค หวัด ภูมิแพ้ หอบหืด และควรมีตู้สมุนไพรประจำบ้าน ซึ่งเรื่องนี้ทราบดีอยู่แล้ว

    พญ. ลลิตา ธีระสิริ อธิบายเรื่อง วารีบำบัดแห่งน้ำ ว่ามีหลายวิธีที่นิยม มีทีมาจากต่างประเทศ และภูมิปัญยาของคนไทย ในการนำประโยชน์จากสมุนไพรมาใช้ รักษาโรคต่างๆ และส่งเสริมสุขภาพ

    ได้มีการแบ่งกลุ่มทำกิจกรรมเพื่อสุขภาพ ได้แก่ Mat Exercises , Hydro aerobics , ซาวน่า , อบสมุนไพร ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ประโชน์ คือสดชื่น ได้เรียนรู้ที่จะนำไปดำเนินการต่อไป

    วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557 ภาคเช้า ที่เขื่อนศรีนครินทร์

    Networking Capital

    หัวข้อนี้เป็นการให้ความสำคัญของทุนทางด้านเครือข่าย จึงมีวิทยากรหลากหลายอาชีพที่คัดสรรมาแล้วโดยเฉพาะ

    1. ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี ได้อธิบายถึงมุมมองภาพใหญ่ด้านยุทธศาสตร์ การบริหารจัดการของจังหวัดกาญจนบุรี และโครงการที่น่าสนใจ เกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน / พลังงาน /การบริหารจัดการภัยพิบัติ และภัยธรรมชาติ การเตรียมพร้อมสู่อาเซียน

    อ.จีระ อยากให้มองภาพกว้าง การเมือง เศรษฐกิจและสังคม รวมทั้ง Logistic

    1. คุณสหัสนัย แนะนำกฟผ. เรื่อง CSR การมีส่วนร่วมกับชุมชน ผสานโครงการกับการท่องเที่ยว การสร้างแพทีพัก การเข้าถึงแหล่งเงินทุน SME bank ไม่ให้กู้เงินเพราะบอกว่าแพเป็นสังหาริมทรัพย์ อ.จีระ ให้ความเห็นว่า กฟผ. มีไอเดียดี แต่ติดที่ระบบ
    2. คุณประณต ให้ประเด็นที่พลังงานจังหวัดเกี่ยวข้องกับ กฟผ. และอยากให้กฟผ.ไปหาชุมชนล่วงหน้า 3 ปี เพื่อหาข้อมูลแผนชุมชนเชื่อมโยงกับการประหยัดพลังงาน

    อ. จีระฝากให้ทีมงานไปติดตามผล / ข้อเสนอแนะจากการสัมนา เสนอให้ กฟผ.ทำวิจัยต่อเนื่อง เรื่องกองทุนพัฒนาไฟฟ้า นำไปใช้ได้อย่างไร

    1. คุณยุทธการ เอ็นจีโอ ระดับพรีเมี่ยม แนะนำว่ากฟผ. ต้องเข้าใจ บทบาทของการไฟฟ้า ภาพพจน์ นอกจากนี้ ขอเสนอแนวคิดให้มี เครือข่ายผู้ผลิตไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตขนาดเล็ก โซลาเซล เป็นต้น

    อ.จีระ : Turn action to execution เอาชนะอุปสรรค

    1. คุณคเชนทร์ ตัวแทนภาคธุรกิจ อยู่ SCG paper แนวคิดสร้างทุนทางเครือข่าย เน้นการลงทุนระยะยาว ซึ่งต้องใช้เวลนานมาก ให้คนยอมรับ เชื่อมั่นศรัทธา ปฏิบัติกับชุมชนต้องสมดุล อุดมการณ์ คือ ต้องเชื่อมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม ทรัพยากรมีจำกัดต้องใช้อย่างคุ้มค่า นโยบาย One manager One Community “ เอาชุมชน เป็นตัวตั้ง “

    อ.จีระ : ขอให้ทำในเชิง Value added และ Value Creation ให้ได้

    การสร้างทรัพยากรมนุษย์ต้องอาศัยปรัชญาและความเชื่อ แต่ Fact ของ กฟผ.คือ

    HR Department เป็นไซโล Function งานดี Non Hrมีผลประกอบการดี แต่อนาคต ต้องมี

    ผลประกอบการและความสุข ดังนั้น HR Function ต้องเปลี่ยน Role ต้องให้ StakeHolder อื่นๆ มา

    Co-creation

    วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557 ภาคบ่าย

    HR for non HR และการปรับใช้กับ งาน CSR ของกฟผ.

    อ.จีระได้ให้ข้อคิดว่า ทรัพยากรสำคัญที่สุดในปัจจุบันไม่ใช่เงิน สิ่งของ หรือเครื่องจักร แต่เป็นคน ที่ต้องพัฒนาไม่มีวันหยุด เป็นการพัฒนาระยะยาวทั้งชีวิต

    การมองภาพทรัพยากรมนุษย์ จาก Macro สู่ Micro ถ้าไม่มีการพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงเท่ากับว่าเราได้ตาย และเราต้องเปลี่ยนแปลง ก่อนจะถูกบังคับให้เปลี่ยน

    มีการเปรียบเทียบ Old HR กับ New HR สรุปว่า HR สมัยใหม่ จะต้องมีการกำหนดStrategic , Change Management และต้องทำให้เกิด Respect & Dignity และเป็น Strategic Partnership ในด้านของคุณค่าจะต้องเป็น Value added ก่อให้เกิดความกระหายที่จะเรียนรู้

    พื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

    1.Human Capital ทุนมนุษย์

    2.Intellectual ทุนทางปัญญา

    3.Ethical ทุนทางจริยธรรม

    ทฤษฎีทุนใหม่ 5 k’s เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

    -Creative Capital

    -Knowledge Capital

    -Innovation

    -Emotional

    -Cultural

    ทฤษฎี HRDS เพื่อสร้างทุนแห่งความสุข การทำงานร่วมกับบุคคลอื่น และการบริหารทุนมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล โดยแบ่งเป็นทุนที่มองเห็นและมองไม่เห็น ผู้นำจะต้องเริ่มให้มี Aware และExecution คือการลงทุนให้สำเร็จ CEO + HR + Non HR ที่มีบทบาทร่วมมี Visionไปด้วยกัน เจาะไซโลแต่ละสายงาน กำหนดนโยบายองค์กร ดำเนินการด้าน HR สำหรับ Non HR จะต้องดูแลทรัพยากรบุคคลากรตัวเอง โดยให้มี Diversity และ Networking

    วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557 ภาคเช้า

    อ.จิตสุมาลย์ อมาตยกุล การนำเสนออย่างทรงพลังและประทับใจ

    มีการทำกิจกรรมหลายกิจกรรมที่เหมาะสมกับเวลา เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และให้ เทคนิค Presentation ให้รู้จักแก้ปัญหาเฉพาะหน้า พร้อมเสมอและมีศิลปะในการพูด

    สิ่งที่ได้รับ คือ ความสนุกควบคู่กับความรู้ เทคนิคการนำเสนอ ต้องฝึกภาษากายให้มากๆ เน้นน้ำเสียงที่เชิญชวนสำหรับผู้ฟัง ให้เกิด Brand sense และเข้าสู่ Champion Zone ซึ่งเป็นเลิศด้านเนื้อหา และผู้นำเสนอ

    วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557 ภาคบ่าย

    นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน ( Social Innovation กับการทำงานของ กฟผ.

    ดร. จีระเดช เป็นผู้ดำเนินรายการ

    หัวข้อนี้ฟังสนุก ได้ฟัง เรื่องราวด้าน CSR ของกฟผ. จาก ชคส. ประสบการณืจากครูบาสุทธินันท์ ทำอย่างไรให้ชุมชนเข้มแข็ง อยากรู้ ใฝ่รู้ คุณสุทธิเดชได้เล่าเรื่องราวนวัตกรรมเชิงสังคมของ กฟภ.ว่า เป็นเรื่องใหม่ เป็นเรื่องสร้างสรรค์ และต้องสร้างองค์ความรู้ตลอดจนคำวิพากษ์ของผู้เข้าอบรมในเรื่อง CSR ที่ดำเนินการแล้วของ กฟผ. จำเป็นต้องมีความต่อเนื่องและหาพันธมิตรร่วมมือกับ กฟภ.ที่ดูเหมือนจะใกล้ชิดชุมชนมากกว่า

    วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557 ภาคเย็น

    อ. กิตติ ชยางคกุล ได้มาแนะนำ เกี่ยวกับหัวข้อโครงการวิจัยในแต่ละกลุ่ม เพื่อจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัย

    - การชี้ชัดปัญหาและการจัดทำปัญหาการวิจัย โดยหัวข้อที่จะทำเป็นปัญหาที่สามารถเห็นผลได้ ภายใน 1-3 ปี และมีความเป็นไปได้ที่จะแก้ปัญหานั้น หรือเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหา

    สิ่งที่ได้จากอาจารย์คือ ความเอาใจใส่ พยายามที่จะตั้งคำถามเค้นปัญหา ออกมา เพื่อให้มีการทำวิจัยในเรื่องที่เหมาะสม อาจารย์น่ารักมาก

    อ.พิชญ์ภูรี แนะนำ การเขียน Paper และ การ Presentation

    วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557 ภาคเช้า

    กิจกรรมดูงาน ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม จ. กาญจนบุรี

    ผู้นำศูนย์ได้เล่าเรื่องการแนะแนวการสิกรรม ให้กับชุมชนเห็นประโยชน์ของการพึ่งพาตนเอง เป็นหน้าที่ของทุกภาคส่วนที่ต้องปฏิรูปประเทศ เพราะทุกคนเป็นหน่วยหนึ่งของสังคม นอกจากนี้ยังได้บรรยายสรรพคุณของพืชผักธรรมชาติ เช่น ฟักข้าวที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย สามารถนำไปแปรรูปเป็นอาหารหลายรูปแบบได้

    วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557 ภาคบ่าย

    กิจกรรมดูงาน ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีการเกษตร และพลังงานทางเลือก จ. กาญจนบุรี

    คุณยุทธการ ได้บรรยายประสบการณ์ การวิจัยพลังงานทางเลือกประเภทต่างๆ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม แก๊สชีวมวลเป็นต้น ได้ดูตัวอย่างการประดิษฐ์เตาแก๊สที่ใช้เศษใบไม้เป็นเชื้อเพลิง อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือเทคนิคในการชักชวนให้ชาวบ้านนำไปใช้ ต้องตอบคำถามชาวบ้านให้ได้ว่าเกิดประโยชน์อย่างไร

    สุขาวดี ศิริจันทร์เพ็ญ

    การบ้านกลุ่ม 7

    สรุปประโยชน์ประเด็นหลักจากการอ่าน
    THE RENAISSANCE SOCIETY

    (Rolf Jensen เขียนเมื่อประมาณปี 2012-2013)

    - วิสัยทัศน์และกลยุทธ์ที่ประสบความสำเร็จ มาจากความสามารถในการเข้าถึงได้ว่าตลาดจะพัฒนาไปในรูปแบบใด ทั้งในระยะสั้นและยาว หนังสือเล่มนี้จะให้ภาพรวมเกี่ยวกับตลาดและโอกาส ทั้งในอเมริกาและประเทศอื่นๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อ่านได้คิดอย่างมีวิสัยทัศน์ และวางกลยุทธ์ต่อไป ด้วยความเชื่อที่ว่า การเปลี่ยนแปลงอย่างยิ่งใหญ่ นวัตกรรม หรือวิธีการใหม่ๆ ภายในองค์กร จะเริ่มต้นด้วยอนาคต เพาะอนาคตคือที่มาของแรงบันดาลใจ ที่จะเป็นจุดเริ่มต้นในการวางกลยุทธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาของภาวะวิกฤตและการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เรื่องราวในหนังสือ จะทำให้เห็นถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับบริษัทและองค์กรใน USA และได้ให้ความสำคัญกับคำถาม เช่น ถ้าคุณจะต้อนรับอนาคตอย่างเพื่อนที่ดี (ไม่ใช่ศัตรู) คุณหรือองค์กรของคุณควรทำอะไรตั้งแต่ตอนนี้สรุปประเด็นหลักได้ดังนี้

    1.จำเป็นต้องเรียนรู้อนาคต เพื่อปรับปรุงวิสัยทัศน์ และจัดวางกลยุทธ์ เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

    2.การเรียนรู้อนาคตควรใช้วิธีที่เรียกว่า Extended now คือการยืดปัจจุบันออกไป 10 – 15 ปี จะค้นพบแนวโน้มที่สำคัญ ที่จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจ

    3.ภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน (ประมาณปี 2012): แบ่งเป็น 2 ภูมิภาค คือ

    3.1ภาวะเศรษฐกิจประเทศทางตะวันตก (หมายถึง USA และประเทศที่พัฒนาแล้ว)

    - ตอนนี้กำลังเจอกับวิกฤตเศรษฐกิจ และ GDP เติบโตช้ามาหลายปีแล้ว

    - ความฝันทางด้านวัตถุนิยมของคนส่วนใหญ่ได้รับการเติมเต็มแล้ว (มีความฝันเบาบาง)

    - การเติบโตทางเศรษฐกิจไม่ได้เกิดจากรัฐบาลแต่เกิดจากประชาชนทุกคนในระบบเศรษฐกิจ

    - อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูง ยังมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้น ภายใต้เงื่อนไขว่าพวกเขาได้ค้นพบความฝันใหม่ ที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับคนส่วนใหญ่

    - ความฝันนั้นจะเป็นอะไร? มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดเป็น Second Renaissance ที่คนมีอิสระทางความคิดและนวัตกรรม เหมือนกับที่เกิดในยุโรปเมื่อ 600 ปีที่แล้ว เกิดจากความต้องการของแต่ละคน แล้วหลอมรวมกันเป็นความต้องการและความฝันของสังคม ก่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคม “Renaissance หมายถึงการเกิดใหม่”

    3.2ประเทศตะวันออกหมายถึงตลาดเกิดใหม่

    - เติบโตเร็วมาก เป็น 2 เท่า มากขึ้นเรื่อยๆ และจะเป็นเช่นนี้ไปอีกหลายปี

    - มีความฝันไปทางวัตถุนิยม เช่น รถยนต์ การท่องเที่ยว แฟชั่น ที่อยู่อาศัย คนธรรมดาจะทำงานหนักเพื่อเติมเต็มความฝัน

    - เชื่อมั่นในรัฐบาล (ตัวอย่างประเทศจีน)

    4.แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจในอนาคต (ประเทศทางตะวันตก)

    - จะเผชิญกับภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจในปี 2018 โดยเกิดเฉลี่ยทุกๆ 6 ปี ดังนั้นถ้าเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้นในช่วง 2012 – 2013 ภาวะเศรษฐกิจถดถอยรอบต่อไปจะเกิดในราวปี 2018

    - จะเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3 ในอีก 10 ปีข้างหน้า (2012-2013+10 = 2022 - 2023)

    - จะมีการใช้นาโนเทคโนโลยี และ 3D Printer เพื่อสร้าง “ One of kind products or limited number of copies” (มีหนึ่งเดียว หรือจำนวนจำกัด) ทำให้ได้ของที่ไม่เหมือนใคร เหมาะกับยุคสมัยที่ผู้คนมีความเป็นตัวของตัวเอง

    - จะจ้างคนน้อยลง มีการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น มีความเป็นไปได้จะมีการประกอบธุรกิจในลักษณะผู้ประกอบการรายย่อยโดยคนรุ่นใหม่มากขึ้น

    - ประมาณปี 2021 75% ของ GDP มาจากภาคบริการ อีก 25% มาจากภาคอุตสาหกรรม ผลิต และเกษตร, ภาคบริการอาจไปถึง 95% จะเกิดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่โดยอัตโนมัติ เป็นธุรกิจด้านสุขภาพ และการศึกษา

    - ธุรกิจด้านสุขภาพ (ทั้งภาครัฐและเอกชน) แต่ในที่สุดแล้วภาครัฐจะถูกแปรรูปเป็นเอกชน

    - ส่วนการศึกษา ส่วนมากจะเป็นภาครัฐ แต่ก็จะเริ่มมีภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม เช่นให้เอกชนทำ games,
    software ที่ช่วยในการเรียนการสอนในโรงเรียน และมหาวิทยาลัย ให้มากขึ้น และเร็วขึ้น

    - มีการปฏิวัติการเรียนรู้ อาจเป็น Disney Learning และ Pixar Learning ช่วยทำก็ได้ เพื่อใช้ในส่วนที่สำคัญ เพื่อให้เรียนรู้อย่างสนุกสนาน และให้ประสบการณ์ในการเรียนรู้ อาจมีการแข่งขันระหว่างประเทศด้านการทำ software แต่การแข่งขันนี้ไม่เกิดขึ้นเร็วเพราะยังมีปัญหาด้านภาษาที่แต่ละปะเทศใช้ไม่เหมือนกัน

    5.แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจในอนาคต (ประเทศทางตะวันออก)

    - เติบโตเร็วมาก เป็น 2 เท่า มากขึ้นเรื่อยๆ และจะเป็นเช่นนี้ไปอีกหลายปี

    6.พฤติกรรม (ปัจจุบัน) ของคนในประเทศตะวันตก

    - ไม่มีความฝันไปทางวัตถุนิยมแล้วเพราะถูกเติมเต็มแล้ว

    - 60% ไม่พอใจรัฐบาลในเรื่องของทิศทางของประเทศ

    - 55% ไม่ชอบนักที่คนหนุ่มสาวจะมีชีวิตที่ดีกว่าพ่อแม่

    7.พฤติกรรม (ปัจจุบัน) ของคนในประเทศตะวันออก

    - มีความฝันไปทางวัตถุนิยม เช่น รถยนต์ การท่องเที่ยว แฟชั่น ที่อยู่อาศัย คนธรรมดาจะทำงานหนักเพื่อเติมเต็มความฝัน

    - เชื่อมั่นในรัฐบาล (ตัวอย่างประเทศจีน)

    8.แนวโน้มพฤติกรรม (ในอนาคต) ของคนในประเทศตะวันตก

    - เป็นตัวของตัวเอง

    - แยกตัวจากกลุ่ม

    - มีความคิดเป็นของตัวเอง, ออกแนว Art, มีความหลากหลาย

    - ใช้ของไม่เหมือนคนอื่น

    - มีความอิสระในการทำงานมากขึ้น

    - คนอาจลาออกจากงานประจำมาทำธุรกิจส่วนตัวไม่เป็นลูกจ้างใคร

    - มีการศึกษาดี

    - รวยขึ้น

    - รู้สึกได้ถึงอำนาจของตัวเอง

    - เป็นคนเมือง 50 – 70%

    - ใช้ Social Media

    - ซื้อและขายของออนไลน์

    - ป่วยทางจิต (ประมาณ 10 -15 ปี)

    9.แนวโน้มพฤติกรรม (ในอนาคต) ของคนในประเทศตะวันออก

    - มีความฝันไปทางวัตถุนิยม เช่น รถยนต์ การท่องเที่ยว แฟชั่น ที่อยู่อาศัย คนธรรมดาจะทำงานหนักเพื่อเติมเต็มความฝัน

    - คนจีนในอนาคตจะมีกำลังซื้อสูงพอที่จะซื้อ Healthcare, travel, shopping, learning, insurance และจะมีบ้าน รถ เป็นของตัวเอง

    - เชื่อมั่นในรัฐบาล (ตัวอย่างประเทศจีน)

    - คนต้องการความสุข

    10.แนวโน้มของธุรกิจในอนาคต

    - เป็นธุรกิจบริการด้านสุขภาพ และการศึกษา

    - ธุรกิจด้านสุขภาพ จะมีทั้งภาครัฐ และเอกชน แต่ในที่สุดแล้วจะกลายเป็นเอกชน

    - ที่ปรึกษาทางจิต ในอีกประมาณ 10 -15 ปี

    - ธุรกิจด้านการศึกษา ส่วนใหญ่จะเป็นภาครัฐ แต่จะให้เอกชนเข้ามาช่วยเรื่องสื่อการเรียนการสอน เพื่อให้การเรียนรู้ในโรงเรียน และมหาวิทยาลัยทำได้มากขึ้น และเร็วขึ้น

    - ธุรกิจที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์

    - ธุรกิจด้านศิลปะ ออกแบบของใช้ สไตล์ลิส เช่น รับออกแบบเปลี่ยนแปลงคาแร็กเตอร์

    - สินค้ามีชิ้นเดียว หลากหลาย ไม่เหมือนใคร

    - Social Media, IT … media

    - ธุรกิจออนไลน์ ซื้อขายออนไลน์

    - เป็นธุรกิจรายย่อยโดยคนรุ่นใหม่เกิดขึ้นมาก

    11.สภาวะปัจจุบันในเอเชียและโลก

    11.1 เกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economics Community) หรือ AEC คือการรวมตัวของชนชาติใน
    Asean 10 ประเทศ เพื่อที่จะให้มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน มีอำนาจต่อรองต่างๆ กับคู่ค้าได้มากขึ้น จะมีผลเป็นรูปธรรม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 โดยมีแนวทางคือ

    - การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน

    - การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง

    - การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน

    - การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก

    11.2 แต่ละประเทศใน AEC ให้มีจุดเด่นต่างๆ ดังนี้

    - พม่า : สาขาเกษตรและประมง

    - มาเลเซีย : สาขาผลิตภัณฑ์ยาง และสาขาสิ่งทอ

    - อินโดนีเซีย : สาขาภาพยนต์และสาขาผลิตภัณฑ์ไม้

    - ฟิลิปปินส์ : สาขาอิเล็กทรอนิกส์

    - สิงคโปร์ : สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาสุขภาพ

    - ไทย : สาขาการท่องเที่ยว และสาขาการบิน (ประเทศไทยอยู่ตรงกลาง ASEAN) การบริการด้านการแพทย์และสุขภาพจะเติบโตอย่างมาก เพราะค่าบริการจะถูกกว่าเมื่อเทียบกับชาติอื่น แต่ไทยจะได้รับผลกระทบจากอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงาน เช่น ภาคการเกษตร, ก่อสร้าง, อุตสาหกรรรมสิ่งทอ เนื่องจากฐานการผลิตอาจย้ายไปประเทศที่ผลิตสินค้าทดแทนได้ เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ ผู้ลงทุนอาจย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีค่าแรงถูกกว่า

    - การแข่งขันและกีดกันทางการค้า

    - สภาวะโลกร้อน

    - เป็นสังคมเมืองมากขึ้น ต้องสร้าง Infrastructure มากขึ้น ทำให้ทำลายธรรมชาติ (ต้องสร้างธรรมชาติทดแทน)

    - หลายประเทศจะไม่เน้นการเติบโตของ GDP แต่จะเน้นดัชนีชี้วัดความสุข

    การประยุกต์ใช้แนวโน้มดังกล่าวกับการทำงานของ กฟผ. ด้าน CSR

    1.คนเข้ามาอยู่ในเมืองมากขึ้น ตัวเมืองขยาย ต้องสร้างสาธารณูพื้นฐาน (Infrastructure) เพิ่มขึ้น สิ่งเหล่านี้ ทำลายธรรมชาติ จึงต้องสร้างธรรมชาติขึ้นมาทดแทน (กฟผ. สนับสนุนการปลูกป่า)

    2.เนื่องจากคนทำงานหนัก ต้องการความสุข และมีกำลังซื้อ: กฟผ. มีเขื่อน มีอ่างเก็บน้ำ มีบ้านพักรับรอง มีร้านอาหาร ใกล้แหล่งอาหาร ใกล้แหล่งท่องเที่ยว สามารถพัฒนาเป็นธุรกิจท่องเที่ยวแบบครบวงจรได้ และยังเป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ ให้กับชุมชนในท้องถิ่นด้วย

    3.เนื่องจากคนทำงานหนัก คนเสียสุขภาพจิต และมีกำลังซื้อ: กฟผ. มีเขื่อน มีอ่างเก็บน้ำ มีบ้านพักรับรอง มีร้านอาหาร สถานพยาบาล ใกล้วัดในต่างจังหวัด ควรพัฒนาสถานพยาบาลเป็นสถานที่พักฟื้นทางด้านจิตใจ มีเจ้าหน้าดูแลให้คำปรึกษา เป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ ให้กับชุมชนในท้องถิ่นด้วยเช่นกัน

    4.สถานพยาบาลของ กฟผ. มักอยู่ใกล้กับชุมชน ควรเปิดสถานพยาบาลให้ชาวบ้านหรือชุมชนใกล้เคียงมาใช้บริการในการรักษาพยาบาล จะเกิดความใกล้ชิด และเข้าถึงจิตใจชาวบ้านอย่างแนบเนียน เขาจะรู้สึกว่า กฟผ. พึ่งได้ยามมีทุกข์ (ดีกว่าการโฆษณาทางสื่อเยอะเลย “เพื่อความสุขของคนไทย” แพง แต่เลื่อนลอย จับต้องไม่ได้)

    5.กฟผ. มีโรงเรียนอนุบาล เกือบทุกที่ที่มีเขื่อน ควรเปิดการเรียนการสอนเพิ่มให้ครอบคลุมการศึกษาภาคบังคับ
    ทำหลักสูตรให้มีมาตรฐานครบทั้งด้านวิชาการ ประสบการณ์ และจริยธรรม สร้างสภาวะแวดล้อมแห่งการเรียนรู้
    ใช้สื่อการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยี่ที่ทันสมัย สไตล์เอนิเมชั่น สนุกสนาน และเข้าใจง่าย เพื่อชักจูงให้นักเรียนอยากเรียนรู้ อยากทดลอง คิดเป็น และให้ชุมชนบริเวณนั้นส่งลูกหลานเข้ามาเรียน นอกจากได้มีโอกาสเข้าถึงผู้ปกครองแล้ว ยังสามารถสร้างพื้นฐานอนาคตของชาติ ให้เป็นคนมีคุณภาพ สามารถกล่อมเกลาจิตใจ สร้างความเข้าใจ และเกิดการยอมรับได้อย่างสนิทใจ

    6.ให้ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนรอบๆ โรงไฟฟ้า

    การประยุกต์ใช้แนวโน้มดังกล่าวกับการทำงานของกฟผ. ด้าน Value Creation และ ValueDiversity

    1.ด้านธุรกิจ/Product

    - เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางด้านพลังงาน AEC ต้องการการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าอย่างทั่วถึง ประเทศไทยอยู่ตรงกลางในภูมิภาคนี้ สามารถเป็น Hub ในการส่งผ่านพลังงานได้ กฟผ. ควรเปิดธุรกิจซื้อขายพลังงานไฟฟ้าระหว่างประเทศ

    - ผลจาก AEC กฟผ. ควรพัฒนาธุรกิจสื่อสารจาก Fiber Optic ที่มีอยู่แล้วบนระบบส่งพลังงานไฟฟ้า ซึ่งมีความมั่นคง และเป็น Hub ทางการสื่อสารในภูมิภาคนี้ได้เช่นกัน

    - กฟผ. มีโรงไฟฟ้าหลายรูปแบบ ทั้งพลังน้ำ พลังความร้อน มีความเชี่ยวชาญทั้งทางด้าน Construction,
    Operation and Maintenance ควรเปิด International Training Center เกี่ยวกับ Operation and Maintenance และเปิดบริษัทที่ปรึกษาทางด้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้า

    - ธุรกิจท่องเที่ยวแบบครบวงจรที่โรงไฟฟ้าและเขื่อน

    - ธุรกิจสถานพักฟื้นทางด้านจิตใจ (เป็นสิ่งที่ต้องการในอีก 10-15 ปี ข้างหน้า)

    - ต่อไปคนเราจะเปิดธุรกิจส่วนตัวมากขึ้น และแยกตัวออกจากกลุ่ม ดังนั้นเขาน่าจะต้องการ Facilities ที่เป็นของส่วนตัว ไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับระบบกลางมากนัก ประเมินว่าคนรุ่นต่อไปน่าจะต้องการ Portable Power Supply, เครื่องผลิตไฟ, เครื่องผลิตน้ำ ที่เป็นของส่วนตัว

    2.พัฒนาคนให้สอดคล้องกับธุรกิจ และการบริหารจัดการคน

    - พัฒนาทางด้านภาษาอังกฤษ เนื่องจากเราต้องใช้ในโลกออนไลน์ และการสื่อสารกับคนทั่วโลก

    - พัฒนาทางด้านภาษาจีน เนื่องจากคนจีนมีจำนวนมาก และมีกำลังซื้อสูงในอนาคต

    - ศึกษาภาษาท้องถิ่น เช่น พม่า ลาว เขมร และภาษามลายู เพราะต่อไปเราจะเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคนี้ จำเป็นต้องสื่อสารได้เพื่อประกอบธุรกิจ

    - สนับสนุนให้วิศวกรมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และจดทะเบียนเป็นวิศวกร AEC

    - พัฒนาทางด้าน Service Mind ใส่ใจบริการ และมนุษยสัมพันธ์

    - ส่งเสริมการวิจัยทางด้านพลังงานให้มากขึ้น เนื่องจากโลกร้อน ประชาชนจะคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าที่มีมลภาวะ ดังนั้นจึงต้องมีทางเลือกทางด้านพลังงาน

    - ส่งเสริมการวิจัยเพื่อออกแบบหลักสูตรการอบรมให้สอดคล้องกับธุรกิจ

    - การพัฒนาทีม CSR ให้เป็นมืออาชีพ

    - ให้อิสระทางความคิด และความคิดสร้างสรรค์ แก่ผู้ปฏิบัติงาน ให้เขามีส่วนร่วมในการปรับปรุงพัฒนางาน

    อุปสรรคที่เกิดขึ้นในการทำงานที่ไม่ประสบความสำเร็จ

    1.ปัญหาข้อกฏหมายในการสร้างสายส่งข้ามเขตแดนระหว่างประเทศ

    2.พรบ. กฟผ. ที่กำหนดภาระกิจ กฟผ. ไม่ครอบคลุมถึงธุรกิจอื่นที่ กฟผ. ควรจะทำได้

    3.การแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง

    4.ในอนาคตคนเรามีความรู้สูง และเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ง่ายขึ้น มีความคิดหลากหลาย การทำความเข้าใจในเรื่องราวต่างๆ อาจไม่ง่ายนัก เพราะการพัฒนาต่างๆ ถึงแม้จะทำให้ภาพรวมเจริญขึ้นก็จริง แต่ก็จะมีอีกหลายๆ ส่วน ได้รับผลกระทบ จึงต้องมั่นใจว่าเราได้วางแผนจัดการกับผลกระทบครบถ้วนหรือยัง ....................

    ชัยวัฒน์ มานะพันธุ์พงศ์

    Learning Log

    Author’s Name :ชัยวัฒน์ มานะพันธุ์พงศ์

    Log Date : 19/01/57

    Topic : TQM/SEPA: ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟผ.
    โดย คุณปิติ ศรีสุขสมบัติ

    อาจารย์สัญญา เศรษฐพิทยากุล

    คุณโชติรส เสวกวัฒนา

    TQM/SEPA การบริหารจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กรนี้ กฟผ.ได้นำมาใช้หลายปีแล้ว โดยมอบหมายให้แต่ละโรงไฟฟ้าไปดำเนินการของตัวเอง แต่การบริหารงานของ กฟผ.นั้นงานบางส่วนยังมีการบริหารแบบรวมศูนย์อยู่ที่สำนักงานใหญ่ เช่น ในหมวด ๑ การนำองค์กร วิสัยทัศน์ และยุทธศาสตร์ ก็เป็นการถ่ายทอดไปจากสายงาน หมวด ๒ การวางแผนกลยุทธ ก็เช่นกัน สำหรับหมวด ๕ การมุ่งเน้นบุคลากรนั้น ทั้ง HRM และ HRD รวมศูนย์ที่ส่วนกลางโดยสิ้นเชิง แม้การวิเคราะห์ระบบการบริหารงานจะเป็นเช่นไร ก็ไม่สามารถปรับปรุงกระบวนการใดๆได้ทั้งสิ้น เป็นผลให้หมวด ๒ และ หมวด ๕ โรงไฟฟ้าทำคะแนนได้ไม่ดีนัก กระทั่งปี ๒๕๕๖ กฟผ.จึงประกาศ นโยบายการบริหารจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์การ และมีการจัดตั้ง EGAT TQM Office คาดว่าน่าจะเป็นสัญญาณที่ดีที่จะพัฒนาให้กระบวนการ และการบริหารจัดการดีขึ้น

    ประเด็นที่น่าสนใจในเรื่อง การมุ่งเน้นลูกค้าและตลาด ที่ กฟผ.เข้าใจแบบนั้นมาตลอดเป็นการมองแบบ Inside-Out หรือเปล่า แท้จริงต้องเป็น Outside-In ทำให้เกิดมีประเด็นที่สะดุดใจก็คือว่า กฟผ.คิดเสมอว่า ต้องส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าที่มีคุณภาพ เพียงพอ และมีความมั่นคง ในราคาที่เป็นธรรม แท้จริงแล้วหากมีการทำการสำรวจตลาด(Market Survey)กันจริงๆ อาจพบคำตอบที่ต้องอึ้งก็ได้ โดยทัศนะส่วนตัวเห็นว่า พลังงานไฟฟ้าที่มีคุณภาพ เพียงพอ มั่นคง และราคาเป็นธรรม อาจตอบโจทย์กับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม แต่ภาคครัวเรือน โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท ลูกค้าอาจต้องการไฟฟ้าราคาถูก คุณภาพและความมั่นคงเป็นเรื่องลองลงมาก็เป็นได้ อุปมาว่าพลังงานไฟฟ้าเป็นกาแฟ ก็เปรียบเหมือนกับ กฟผ.ขายกาแฟเกรดพรีเมี่ยมขวดละ200 บาท ให้ลูกค้าทั้งประเทศ ทั้งที่ลูกค้าครัวเรือนในชนบท เขาแค่ต้องการกาแฟธรรมดาราคาขวดละ 80 บาทเท่านั้น หากเป็นเช่นนั้นจริง กระบวนการธุรกิจทั้งในส่วนของ กฟผ.และ กฟภ. อาจเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง (แต่จะเป็นเรื่องซับซ้อนมาก หากลูกค้าต้องการไฟฟ้าคุณภาพแตกต่างกัน แต่อยู่ในสายไฟฟ้าระบบจำหน่ายเดียวกัน)

    ชัยวัฒน์ มานะพันธุ์พงศ์

    Learning Log

    Author’s Name :ชัยวัฒน์ มานะพันธุ์พงศ์

    Log Date : 18/03/57

    Topic :หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา

    การได้ฟังการบรรยายของ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เป็นอะไรที่วิเศษมาก เวลาชั่วโมงครึ่งผ่านไปอย่างรวดเร็ว ตลอดการบรรยายมีประเด็นที่น่าสนใจต่างๆมากมาย ไม่อาจนำมาถ่ายทอดตรงนี้ได้หมด ขอยกมาบางประเด็นเช่น

    • Cosmic Calendar เป็นที่ยอมรับในวงการวิทยาศาสตร์ว่า โลกเรานี้ก่อกำเนิดมา 4,600 ล้านปี Cosmic Calendar เป็นการเทียบตั้งแต่กำเนิดโลกจนถึงปัจจุบันเป็นปฏิทิน 1 ปี โดนให้กำเนิดโลกเมื่อ 4,600 ล้านปีเป็นวันที่ 1 มกราคม ปัจจุบันคือ 24.00 น.วันที่ 31 ธันวาคม พบว่าตั้งแต่กำเนิดโลกมามีการล้างโลก (Mass Extinction) มาแล้ว 5 ครั้ง ครั้งสุดท้ายเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้วซึ่งเป็นเหตุของการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ เทียบได้กับวันที่ 27 ธันวาคม ท่านอาจารย์ให้ข้อคิดว่าเมื่อมีเหตุล้างโลกมาแล้ว 5 ครั้ง จะมีครั้งที่ 6 หรือไม่ ด้วยตรรกะแบบนี้คำตอบคือ มีแน่ ปัญหาคือเมื่อไรเท่านั้นเอง
    • ปัญหาของโลกเกิดจากการบริโภคที่เกินพอดี ปัจจุบันสังคมแบบบริโภคนิยมแผ่ขยายไปทั่วโลก ที่น่าตกใจคือในอดีตประเทศสังคมนิยมเช่นรัสเซีย และจีน มีการขยายตัวที่รุนแรง (มีคำกล่าวว่าหากคนทั้งโลกกินอยู่แบบคนอเมริกัน โลกจะต้องการอาหารเพิ่มอีก 4 เท่า) มีการคาดการณ์ว่าในปี 2573 และ 2593 การบริโภคจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 และ 2.8 เท่าของโลก ซึ่งหมายความว่า เราต้องมีโลก 2-3 ใบ จึงจะพอเพียง
    • KPM – GCKจากอดีตถึงปัจจุบันมนุษย์พัฒนาแบบ KPM(Knowledge, Power, Money) เน้น GDP(Gross Domestic Product), ระบบทุนนิยม, การแข่งขัน การแก่งแย่ง, การใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย(นำมาซึ่งภัยพิบัติ มลภาวะ ปัญหาสังคม)
      อนาคตข้างหน้าเราต้องพัฒนาแบบ GCK(Goodness, Culture, Knowledge) เน้น GDH(Gross Domestic Happiness), ระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเอง, เน้นการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น, เน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรฯ, ส่งเสริมหลักธรรมาภิบาล
    ชัยวัฒน์ มานะพันธุ์พงศ์

    Learning Log

    Author’s Name :ชัยวัฒน์ มานะพันธุ์พงศ์

    Log Date : 20/03/57

    Topic :นวัตกรรมของบริษัท ซีพีออลล์ จำกัด(มหาชน)
    โดย คุณไพรวัลย์ ไทยนิยม

    ซีพีออลล์ เป็นกลุ่มบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับร้าน 7-11 ซึ่งปัจจุบันมีถึง 7,634 สาขา โดยเป็นร้านสาขาของบริษัทฯ 49% และอีก 51% เป็นสาขาที่เป็นแฟรนไชส์ เป็นที่ทราบกันดีว่า 7-11 นั้นเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมในกิจการค้าปลีกมากมาย มีระบบการขาย POS และระบบบริหารสินค้าคงคลัง Inventory ที่มีประสิทธิภาพ มีการจัดการด้าน Supply-Chain และ Logistic ระดับแนวหน้าเป็น Case Study ให้กิจการอื่นๆใช้เป็นต้นแบบ การศึกษาดูงานวันนี้ทำให้ทราบว่าแท้จริงแล้ว ซีพีออลล์มีการส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมในทุกๆส่วนงานในกระบวนธุรกิจ ไม่ใช่จะมีเฉพาะในส่วนของโปรดักชั่นเท่านั้น แท้จริงแล้วในทุกโปรเซสสามารถมีนวัตกรรมใหม่ๆได้เสมอ

    ปัจจัยความสำเร็จของนวัตกรรมที่สำคัญที่สุด คือ ผู้นำ เมื่อนึกถึงร้าน 7-11 ทุกคนต้องคิดว่าเป็นร้านขายของจิปาถะ รวมทั้งของขบเคี้ยวและเครื่องดื่ม การประกาศนโยบายถึงพนักงานทุกคนว่าบริษัท “ขายความสะดวก(Convenience) ผ่านรูปแบบสินค้า และบริการ” ย่อมเปลี่ยนมุมมองของพนักงานทุกคนว่าสิ่งที่ต้องส่งมอบให้ลูกค้า ไม่ใช่เฉพาะตัวสินค้าเท่านั้น แต่ต้องเป็นความสะดวก(พึงพอใจ)ด้วย ประเด็นนี้สำคัญมากสำหรับ กฟผ. หากต้องการ “ผลิตไฟฟ้าเพื่อความสุขของคนไทย” คงต้องมอง Product เปลี่ยนไปจากเดิม อาจไม่ใช่พลังงานไฟฟ้าที่มีคุณภาพเท่านั้น ขบวนการให้ได้มา จนถึงการส่งถึงมือผู้ใช้ไฟฟ้า น่าจะต้องเพิ่ม”ความสุข”ของชุมชน ของสังคมเข้าไปด้วย หากมองความสุขของชุมชน สังคมเป็นส่วนหนึ่งของ Product เงินและทรัพยากรที่ใช้เพื่อการนี้ก็เป็น”ต้นทุน”ของสินค้า ไม่ใช่”ค่าใช้จ่าย” เป็นสิ่งที่ต้องจ่าย เพื่อให้ได้มาซึ่งไฟฟ้าที่นำความสุขมาสู่สังคมไทย.

    ชัยวัฒน์ มานะพันธุ์พงศ์

    Log Date : 21/03/57

    Topic :เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย ประชาคมอาเซียน AEC กับผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.
    โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

    ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล

    อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ

    ดำเนินการอภิปราย โดย อาจารย์ทำนอง ดาศรี

    เศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัว หลังจากที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นซบเซามานาน และวิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์ในอเมริกาส่งผลกระทบไปทั่วทุกภูมิภาคในโลก โดยเฉพาะยุโรปก็พลอยเกิดปัญหาไปด้วย ปีนี้(2557) เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัว โดยยุโรปทั้งในกลุ่มสหภาพยุโรป และนอกกลุ่มอย่างสหราชอาณาจักรอังกฤษ มีการฟื้นตัวเร็วมาก ฝั่งอเมริกา กำลังจะเป็นปกติ ประชาชนมีกำลังจับจ่ายและมีสภาพการจ้างงานดีขึ้น แต่ทั้งนี้ในช่วงปีนี้มาตรการอัดฉีดต่างๆที่ดำเนินการไว้จะต้องยกเลิก หรือลดระดับลงเพื่อกลับเข้าสู่สภาวะปกติ อาจทำให้มีอาการแกว่งได้ เปรียบเหมือนคนไข้ที่มีสายระโยงระยางโด๊ปยาและสารอาหารต่างๆไว้ เมื่อร่างกายฟื้นตัว ก็ต้องเริ่มถอดสายยางต่างๆ ซึ่งต้องกระทำอย่างระมัดระวัง ไม่ให้คนไข้เกิดอาการช็อก แต่อย่างไรก็ตามถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีของฝั่งอเมริกันซึ่งจะมีผลชี้นำกับเศรษฐกิจโลกโดยรวม ด้านประเทศญี่ปุ่นนั้นหลังจากที่เศรษฐกิจซบเซาเนื่องจากปัญหาค่าเงินที่แข็งมาก ทำให้กระทบต่อการส่งออกมาเป็นระยะเวลายาวนาน จึงทำให้ปัจจุบันค่าเงินอ่อนตัวลงไปมาก ทำให้ญี่ปุ่นเองก็กำลังเริ่มฟื้นตัว

    ที่น่าเป็นห่วงและอาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อกลุ่มอาเซียนรวมทั้งประเทศไทย ก็คือภาพรวมเศรษฐกิจของจีน จากเดิมที่มีการขยายตัวมากกว่า 10% ทุกปี ทำให้เศรษฐกิจจีนร้อนแรงมาก หลายปีที่ผ่านมามีการลงทุนเกินความจำเป็น Over Investment มากมาย โครงการขนาดใหญ่จำนวนมากเป็นโครงการร้าง มีโครงการหรือหนี้ที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รัฐบาลกลางของจีนรับรู้ได้ถึงสัญญาณอันตราย เริ่มมีการออกมาตรการต่างๆมาควบคุม และลดระดับความร้อนแรง เช่น เริ่มมีการควบคุม Shadow Banking (เราอาจเรียกพวก Non-Bank กล่าวคือด้วยเงินทุนที่ไหลเข้า และรายได้ที่มีมหาศาล ทำให้มีเงินมากมายในระบบ เกิดกลุ่มธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ แต่ทำธุรกรรมทางการเงินเหมือนธนาคาร โดยกู้เงินจากธนาคารมาปล่อยให้ประชาชน พวกนี้เป็นหนี้เป็นโครงการที่มีความเสี่ยงสูง) จึงคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจจีนในปีนี้จะลดระดับความร้อนแรงลงที่การขยายตัวประมาณ 7.5%

    เมื่อดูภาพรวมเศรษฐกิจโลกทั้งหมด และวิกฤติการเมืองในบ้านเราขณะนี้ที่ยังไม่มีรัฐบาลมาบริหารงาน ทำให้การลงทุนภาครัฐในครึ่งปีแรกยังไม่มีการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม คาดการณ์เศรษฐกิจไทยปีนี้จะมีการขยายตัวที่ 2.5-3 % ยกเว้นกรณีที่จีนมีปัญหาทำให้จีนมีการขยายตัวต่ำกว่า 7% จะส่งผลกระทบถึงอาเซียนและไทยแน่นอน ยิ่งหากรัฐบาลจีนไม่สามารถรับมือกับปัญหาหนี้เสีย NPL (ปัจจุบันจีนมีหนี้สูงถึง 220%ของ GDP) มีปัญหาลุกลามกระทบความเชื่อมั่น ทำให้การขยายตัวต่ำกว่า 6% ผลกระทบต่อภูมิภาคอาเซียนยิ่งจะรุนแรงขึ้น ประเทศไทยที่มีการขยายตัวต่ำติดต่อกันหลายปีอยู่แล้วเห็นท่าจะแย่

    ส่วนผลกระทบต่อ กฟผ.นั้น เมื่อพิจารณาเฉพาะส่วนการขยายตัวภายในประเทศที่อยู่ในอัตราค่อนข้างต่ำ กลับส่งผลเชิงบวกต่ออุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าโดยภาพรวม เนื่องจากปัจจุบัน ด้วยข้อจำกัดทางกฎหมายและมาตรการร้อยแปดจากหลายๆกระทรวง มีผลกระทบให้การพัฒนาโรงไฟฟ้า และระบบส่งและสายส่งไฟฟ้าเพื่อรองรับการขยายตัวของประเทศ ล่าช้ากว่าแผนงานประมาณ 2-3 ปี แม้จะแก้ปัญหาแหล่งผลิตด้วยการซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ ก็ยังมีปัญหาระบบส่งและสายส่งเต็มพิกัดไม่สามารถส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นได้(เหมือนมีคอขวด) เพราะฉะนั้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ต่ำกว่าแผน PDP ก็จะลดระดับความรุนแรงของปัญหาพลังงานไฟฟ้าไม่พอเพียงไปได้ แต่ทั้งนี้ กฟผ.ยังคงมุ่งมั่นในการพัฒนาเพื่อจัดหาพลังงานไฟฟ้าที่พอเพียง มีความมั่นคง ในราคาที่เป็นธรรม อย่างเต็มความสามารถมิได้ชะลอลงตามสภาพเศรษฐกิจ ให้สมดังคำที่ว่า “ผลิตไฟฟ้าเพื่อความสุขของคนไทย”

    “The Renaissance” กลุ่ม 3 (สุดารัตน์/ชวัล/ประสิทธิ์/ศานิต นิ/เทพรัตน์)

    สรุปการเรียนรู้ “The Renaissance”ของ กลุ่ม 3 (สุดารัตน์/ชวัล/ประสิทธิ์/ศานิต นิ/เทพรัตน์)

    ประเทศฝั่งตะวันออกจะมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูง โดยคาดว่าในทศวรรษ 2040 เศรษฐกิจโลกจะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบ ความแตกต่างทางเศรษฐกิจระหว่างตะวันออกกับตะวันตกจะลดลง จะมีบริษัทจำนวนมากเติบโตอย่างรวดเร็ว และ แรงผลักดันอาจไม่ได้มาจากรัฐบาลเท่านั้นแต่จะถูกขับเคลื่อนโดยประชาชน การค้าระหว่างประเทศจะเพิ่มขึ้น กุญแจสำคัญของการทำธุรกิจในอนาคตคือการเข้าใจในการแข่งขัน และ ความร่วมมือระหว่างประเทศจะมากขึ้น ประเทศฝั่งตะวันตกจะยังคงความมั่งคั่งทางวัตถุและยังคงมองหาฝันอย่างอื่นๆต่อไป สำหรับประเทศฝั่งตะวันออกต้องการมีรายได้ที่สูงขึ้นและใช้วัตถุนิยมมากขึ้น จากนั้นทิศทางการพัฒนาในอนาคตจะมุ่งพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยี จะมีการเปลี่ยนผ่านจากระบบเศรษฐกิจแบบวัตถุนิยมเต็มรูปแบบ (Mature Materialistic Economies) ไปเป็นระบบเศรษฐกิจแบบจิตนิยม (Materialistic Economics) มากขึ้น จะมีการวัดด้านความสุข และความพอใจในชีวิต แทน GDP รวมทั้ง แต่ละบริษัทในอนาคตไม่เพียงดำเนินกิจการให้อยู่รอดเท่านั้น แต่จะเน้นการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไป “ผลกำไรเคยที่มาก่อนคุณค่า” จะเปลี่ยนไปเป็น “คุณค่าต้องมาก่อนผลกำไร” ความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) จะสำคัญมากยิ่งขึ้นและและกลายเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ของบริษัท

    ทางกลุ่ม 3 ได้พิจารณาแล้วพบว่า เนื้อหาในหนังสือนับว่าเป็นประโยชน์ทำให้เราสามารถเห็นภาพอนาคตได้ชัดเจนยิ่งขึ้น อาทิ ความต้องการองค์ความรู้ และ นวัตกรรม ที่ตอบสนองต่อความต้องการทางด้านอารมณ์และความสุขมนุษย์ ควบคู่ไปกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นโจทย์สำคัญที่จะมีผลต่อความยั่งยืนขององค์กร นั่นหมายถึงทุกองค์กรจำเป็นต้องพิจารณา ปัจจัยเหล่านี้เพื่อมากำหนดวิสัยทัศน์องค์กรให้ชัดเจนและมุ่งมั่นให้สำเร็จอย่างแท้จริง

    ทั้งนี้อดีต ผู้บริหาร กฟผ. ก็ได้มีวิสัยทัศน์ในเรื่องนี้ไว้ ซึ่งจะเห็นได้จาก Slogan ของกฟผ.ที่กำหนดไว้ว่า “ผลิตไฟฟ้าเพื่อความสุขของคนไทย” นั่น หมายถึง กฟผ.ได้ให้ความสำคัญต่อคุณค่าต่อสังคมมากกว่าผลกำไร แต่ในทางปฏิบัติหรือผลสำเร็จอาจยังคงมีปัญหาเนื่องจาก กฟผ.เป็นหน่วยงานใหญ่ และอาจเน้นเรื่องการสนองตอบต่อภารกิจของ กฟผ. มากเกินไป ซึ่งจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ เพื่อเน้นให้การตอบสนองต่อความต้องการหรือความสุขของชุมชนเป็นหลักต่อไป โดยต้องร่วมกันพิจารณาปรับยุทธสาสตร์ ให้เหมาะสม เช่น

    การดำเนินการด้าน CRS โดยใช้แนวทาง Value Creation และ Value Diversity

    • จึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการคิดพัฒนา กำหนดทิศทาง ความต้องการ หรือออกแบบ ชุมชนเอง เพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยให้มีการพัฒนาควบคู่กับการอนุรักษ์ โดย กฟผ.สามารถสนับสนุนได้ในหลายๆ ด้าน เช่นการพัฒนาอาชีพ การส่งเสริมด้านการตลาด การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ของชุมชน การสนับสนุนเทคโนโลยี่ที่จำเป็น สนับสนุนการเรียนรู้จากหลากหลายแหล่งความรู้ การสนับสนุนงานวิจัยเพื่อต่อยอดองค์ความรู้ให้ได้นวัตกรรม ที่ประโยชน์เพื่อสร้างความความแข็งให้กับชุมชน
    • รวมถึงชุมชนต้องมีส่วนร่วมในการคิดการออกแบบและพัฒนารูปแบบการผลิตไฟฟ้าที่สะอาด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ตามมาตรฐาน และต้องเป็นที่ยอมรับของชุมชน เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้ในชุมชนเองและเหลือจำหน่ายออกภายนอก ตามแนวเศฐษกิจพอเพียง และเพื่อให้ชุมชนจะได้ประโยชน์สูงสุดสามารถกำหนดให้ชุมชนมีส่วนเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้า ให้โอกาสในการแสดงความเห็นและกำหนดรูปแบบ ซึ่งแน่นอนชุมชนควรต้องได้รับสิทธิประโยชน์ในการใช้ไฟฟ้า เช่น ราคาไฟฟ้าที่ถูกกว่าชุมชนอื่น ที่ไม่ได้มีโรงไฟฟ้าเป็นต้น

    ปัญหาอุปสรรค

    ประเทศไทยยังขาดผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ ที่จะมากำหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศที่เป็นเอกภาพ แบบองค์รวม ทำให้องค์กรต่างๆ ไม่สามารถปฏิบัติงานสนับสนุนซึ่งกันและกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งระดับประเทศแล้วการพัฒนาจำเป็นต้องบูรณาการร่วมกันหลายๆหน่วยงาน ให้ไปทิศทางเดียวกัน อาทิเช่น เรื่องการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบเพื่อให้ความรู้และเพิ่มศักยภาพคนไทยให้สามารถแข่งขันได้ทั้งด้านคุณธรรมจริยธรรมควบคู่กับความรู้ทางวิชาการ องค์กรต่างๆต้องมุ่งมั่นเดินหน้าบูรณาการสนับสนุนซึ่งกันและกัน หรือ การพัฒนาด้านพลังงานของประเทศ ควรกำหนดแนวทางให้ชัดเจนเพื่อให้ทุกองค์กรดินไปในทิศทางเดียวกัน

    ประสิทธิ์ เลาหวิรภาพ

    ขอส่งสรุปความรู้ที่ได้รับในช่วงวันที่ 10 - 13 กุมภาพันธ์ 2557 (*** ส่งอีกครั้ง เนื่องจากคราวก่อนไปเพิ่มข้อความไว้ในช่วง 28 - 30 มกราคม 2557 ***)

    วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2557 08:00 – 17:00

    กิจกรรมรักษ์กาย

    วิทยากร: นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล

    พญ.ลลิตา ธีระสิริ

    ธรรมชาติบำบัดคือการการรักษาแบบไม่ได้ใช้ยา ใช้การปรับพฤติกรรมแล้วโรคภัยหายเอง

    โรคความเสื่อมไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ปัจจุบันที่พบเช่น โรคอ้วน เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ไตวาย มะเร็ง เป็นต้น

    โรคอ้วนสามารถแก้ได้โดยการปรับพฤติกรรมการกิน ศัตรูตัวร้ายของความอ้วนคือ แป้ง จึงต้องลดอาหารประเภทแป้งและให้กินโปรตีนและผักแทน ผลไม้ก็ไม่ควรกินมากเพราะอาจทำให้ได้รับน้ำตาลมากเกินไป การดูว่าเข้าสู่ภาวะอ้วนหรือยังให้ดูค่า BMI คือน้ำหนักเป็นกิโลกรัมหารด้วยส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง หากมากกว่า 25 ถือว่าเริ่มอ้วน

    อัตราส่วนระหว่างพุงกับสะโพกต้องควบคุมไม่ให้พุงใหญ่กว่าสะโพก

    การที่มีไขมันมากเกินไปจะทำให้ร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนที่จำเป็นหลายๆตัว เช่นฮอร์โมนสำหรับทำให้อิ่ม ฮอร์โมนกำจัดมะเร็ง ฮอร์โมนที่ทำให้อ่อนเยาว์

    ยาลดไขมันมีอันตรายมากเนื่องจากจะไปดักจับไขมันในเลือดและเก็บไว้ที่ตับ นานไปจะทำให้ตับมีปัญหาได้

    การบำบัดโรคด้วยน้ำมีใช้ในหลายๆ ที่ในโลก เช่น จีน อินเดี ฟินแลนด์ ไทย

    เม็ดเลือดขาวจะทำหน้าที่ได้ดีเมื่ออุณหภูมิในร่างกายสูงกว่า 37C การซาวน่าคือการกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวโดยการใช้อุณหภูมิ เช่นเดียวกับการอบสมุนไพร

    วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557 10:30 – 12:00

    นวัตกรรมเพื่อสังคมและการสร้างศรัทธาจากมหาชน

    วิทยากร: นายชัยวัฒน์ ลิมป์วรรณธะ

    นายธนรัชต์ ภุมมะกสิกร

    นายทรงวุฒิ ศีลแดนจันทร์

    นายปณต สังข์สมบูรณ์

    นายยุทธการ มากพันธุ์

    อาจารย์จรัญ เสือผู้

    นายคเชนทร์ พูนจันทร์

    กาญจนบุรีเป็นจังหวัดที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ พื้นที่ 2 ใน 3 เป็นพื้นที่อนุรักษ์ มีจุดต่อท่อกาซธรรมชาติจากพม่าที่บ้านอีต่อง เป้นแหล่งต้นน้ำ

    ยุทธศาสตร์ของจังหวัดคือ

    • 1.การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
    • 2.การเกษตรอุตสาหกรรม
    • 3.การค้าระหว่างประเทศ

    โดยจะมีการปรับผังเมืองเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาตร์ คือ

    โซน 1 เมืองเก่า (ถนนแสงชูโต) อนุรักษ์ไว้เป็นแหล่งท่องเที่ยว

    โซน 2 เมืองใหม่ (ถนนบายพาส) สำหรับการพัฒนา

    โซน 3 เขตเศรษฐกิจ (มอเตอร์เวย์) สำหรับการขนส่งสินค้า

    โครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก กฟผ

    • 1.ชีวะวิถี ทำให้คนได้กลับท้องถิ่น และเป็นแหล่งศึกษาดูงาน
    • 2.ฝายชะลอน้ำ ส่งเสริมการท่องเที่ยว อนุรักษ์น้ำ ปัจจุบันชุมชนได้มีส่วนร่วมในการทำฝาย
    • 3.ปล่อยปลาหน้าเขื่อน ได้รับความสนใจจากนักตกปลา
    • 4.คืนรักบนสันเขื่อน เพื่อประชาสัมพันธ์และแก้ข่าวลือเรื่องความแข็งแรงของสันเขื่อน

    เครือข่ายชุมชนต้องมีการพัฒนาร่วมกันจากทุกภาคส่วน ทั้ง กฟผ รัฐ ธนาคาร และชุมชน การสร้างเครือข่ายชุมชนเป็นการลงทุนระยะยาว วัดผลค่อนข้างยาก ผู้ปฏิบัติต้องมีความเชื่อมั่น อดทน ยึดมั่นต่อความรับผิดชอบต่อสังคม ที่จะสร้างรายได้ ให้ชุมชน เน้นให้การศึกษา และต้องกระทบสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด มีการติดตามประเมินผล เพื่อดูว่าตอบโจทย์และเป็นที่ต้องการของชุมชนจริงๆ มุ่งสร้างประโยชน์ จริงใจ มีมิตรภาพ โปร่งใส และเปิดเผยข้อมูล

    วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557 13:30 – 17:00

    HR for Non HR และการปรับใช้งาน CSR ของ กฟผ

    วิทยากร: ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

    “New CEO – Microsoft: Curiosity and thirst for learning”

    “Comparative advantage of countries / economics depend on the quality of the human resource”

    “Change before you are forced to change”

    การบริหารทุนมนุษย์เป็นเรื่องสำคัญและจำเป็น ต้องมองจาก Macro สู่ Micro ปัจจุบัน Line Manager (Non H/R) ต้องมีหน้าที่และมีบทบาทในด้านนี้มากขึ้น

    H/R Comparison

    Old New
    Routine

    H/R Department

    Training

    Expense

    Static

    Information

    Stand Alone

    Efficiency

    Value

    Command / Control

    Micro

    Red Ocean

    Liability

    Strategic

    CEO + Other Department

    Learning

    Investment

    Change Management

    Knowledge

    Partnership

    Effectiveness

    Value Added

    Respect / Dignity

    Macro to Micro

    Blue Ocean

    Asset

    การบริหารทุนมนุษย์ให้ประสบผลสำเร็จประด้วย การปลูก การเก็บเกี่ยว และการลงมือปฏิบัติ ในการจัดการเรื่องคนต้องมีความละเอียดอ่อน ปัจจุบันเรื่องทุนมนุษย์ได้ถูกมองว่าเป็น Asset จากเดิมที่มองว่าเป็นค่าใช้จ่าย ผู้บังคับบัญชาถือว่าต้องดูเรื่อง HR ด้วยแต่ต้องไม่ให้ทับซ้อนกับ HR Department

    เรื่อง Non HR HR
    Policy

    การบริหารพนักงาน

    HR Service

    Partner

    Owner

    Customer

    Partner

    Support

    Service

    CEO คือกัปตันเรือที่คอยกำหนดทิสทางอย่างมีวิสัยทัศน์ มีความเป็นผู้นำและที่เชื่อถือของพนักงาน ที่สำคัญต้องมีเครือข่ายซึ่งจะช่วยให้องค์กรได้เปรียบคู่แข่ง

    HR มีหน้าที่ต้องทำให้ความต้องการของพนักงงานสอดคล้องกับนโยบายขององค์กร

    วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557 09:00 – 12:00

    Art & Feeling Presentation

    วิทยากร: อาจารย์

    สิ่งที่เราจินตนาการในวัยเด็ก จะส่งผลถึงสิ่งที่เราทำอยู่ในปัจจุบัน จินตนาการจากสมองซีกขวา ช่วยให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

    • §Expert จะคิดไตร่ตรองตามหลักและเหตุผลก่อนลงมือปฏิบัติ
    • §Beginner Mind จะทดลองลงมือทำเลย

    สิ่งที่สามารถดึงดูดผู้ฟังในการสื่อสารได้นั้นแบ่งเป็น ภาษากาย 55% ภาพูด(เนื้อหา) 7% และน้ำเสียง 38%

    ผู้นำเวลาจะสื่อสารออกไปต้องทำตัวให้เหมือนดาวฤกษ์เจิดจรัส การที่ต้องแสดงออกในที่สาธารณะคือการออกจาก Comfort Zone มาที่ Champion Zone สิ่งที่สำคัญในการนำเสนอประกอบด้วย Content และ Presenter

    วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557 13:30 – 17:00

    นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน (Social Innovation)

    วิทยากร: ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์

    นายรังสรรค์ อัฐมโนลาภ

    นายสุทธิเดช สุทธิสมณ์

    นโยบายหรือแนวคิดในการดำเนินงานด้าน CSR ของ กฟผ ต้องคำนึงถึงสังคม เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน และสามารถป้องกันบรรเทาภัยหรือผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยเริ่มจากการวิเคราะห์หาความต้องการที่แท้จริงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จากนั้นจึงมากำหนดแนวทางในการปฏิบัติดังนี้

    • §รวมแผนแล้วแยกปฏิบัติ
    • §CSR จากภายในสู่ภายนอก (ผู้ปฏิบัติต้องมีจิตเป็น CRS ก่อน)
    • §ประชาสัมพันธ์
    • §ประเมินผล
    • §ปรับปรุง

    การเข้าหาชุมชนเป็นเรื่องสำคัญ โครงการควรเห็นผลสำเร็จในเวลาอันสั้น เช่นสอนปลูกเห็นก่อนจึงค่อนสอนเพาะเชื้อ อาจไม่จำเป็นต้องเป็นการเรียกประชุม แต่ใช้การพบปะพูดคุยกับชาวบ้าน การพัฒนาคนที่ไม่อยากพัฒนาจะเป็นเรื่องยากในการปฏิบัติ หัวใจของการพัฒนาชุมชนคือการทำให้ชุมชนเป็นสังคมแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    Social Innovation คือสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วเป็นประโยชน์และเป็นที่ต้องการของชุมชน ต้องเป็นเรื่องใหม่หรือเป็นความรู้ใหม่ที่ตรงกับปัญหาและสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน (Creativity + Knowledge => Turn into Action)

    วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557 08:00 – 15:00

    CSR: ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม

    กระบวนการในการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงประกอบไปด้วย

    • §กล้าตั้งเป้าหมายการเปลี่ยนแปลง
    • §หาข้อมูลเพื่อใช้ในการเปลี่ยนแปลง
    • §วางแผน
    • §ลงมือทำ
    • §หาความรู้เพิ่มเติม
    • §พัฒนาอย่างต่อเนื่อง

    การลดรายจ่ายเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นสำหรับในการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ โดยต้องเริ่มจากการหาปัญหาหรือทุกข์ของตัวเองให้เจอก่อน

    การยกระดับความเชื่อมั่นในใจตัวเองและเห็นคุณค่าของตัวเอง ต้องไม่ประเมินตัวเองจากวัตถุภายนอก ก็จะช่วยให้เกิดความมั่นใจในการดำเนินการต่างๆ

    ในการบริหารจะต้องเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ก็จะทำให้ได้ข้อมูลครบและช่วยให้สามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง

    วิเคราะภาวะผู้นำ CEO ของ Microsoft

    Bill Gates มีความเป็นผู้นำมาก มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีวิสัยทัศน์ทางธุรกิจที่ชัดเจน ตั้งใจอดทนแน่วแน่ในสิ่งที่ทำ มีการทำงานเป็นทีม ตัดสินใจรวดเร็วและกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง

    Steve Ballmer กล้าที่จะเปิดเผยข้อมูล มีใจเปิดกว้างที่จะรับฟังการวิพากวิจารณ์ภายในองค์กร เพื่อให้ได้รับข้อมูลครบทุกด้านและกล้าที่จะตัดสินใจเปลี่ยนแปลงเพื่อประโยชน์ขององค์กร

    Satya Nadella มีความกระตือรือร้นและกระหายที่จะเรียนรู้ เพื่อการพัฒนา กล้าเปลี่ยนแปลง มีความเป็นผู้นำที่คนในองค์กรให้การยอมรับ

    ธุรกิจทั้ง 3 ช่วงของ Microsoft

    ช่วงที่1 เริ่มก่อตั้งบริษัทจึงเน้นไปการสร้างนวัตกรรมคือระบบปฏบัติการและ Software ต่างๆ ซึ่งก็สามารถประสบความสำเร็จได้อย่างมากในยุคนี้

    ช่วงที่2 รักษาความสำเร็จที่ผ่านมาให้ดำเนินต่อไปได้ไม่ให้ตกต่ำลง ต้องการรักษาส่วนแบ่งตลาด ต้องปรับระบบการบริหารองค์กรใหม่

    ช่วงที่3 ปรับเปลี่ยนเพื่อให้ทันกับสถานะการณ์ของตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป ต้องการผู้นำที่จะมาเปลี่ยนแปลงพัฒนาและหานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินต่อไปได้

    หากนำมาประยุกต์กับ กฟผ แล้วจะเห็นว่าเป็นวงจรทางธุรกิจที่คล้ายกันคือ ช่วงที่1 เริ่มก่อตั้งองค์กรมีการพัฒนาทั้งด้านบุคคลากรและผลงานด้านต่างๆ ต่อมาก็ถึงช่วงที่ 2 ซึ่งเป็นสถานะการณ์ในปัจจุบันที่การเจริญเติบโตเริ่มคงที่ ทำให้ต้องหันมาให้ความสนใจกับการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างยั่งยืนต่อไป

    กลุ่มที่ 1 สรุปหนังสือ Renaissance

    การอ่านหนังสือ The Renaissance Society ของ Rolf Jensen -กลุ่มที่ 1

    สรุปประเด็นหลักและประโยชน์

    บทที่ 1 โลกวัตถุนิยม

    เป็นการเสนอภาพความมั่งคั่งของประชากรโลก โดยดูจาก GDP ซึ่งเป็นตัววัดบอกกำลังซื้อและบ่งชี้เศรษฐกิจ มีการแบ่งกลุ่มเป็นประเทศมีความร่ำรวย ปานกลาง และยากจน ตามค่า GDP

    มีการมองภาพไปข้างหน้าในปี 2040 เราจะมีฐานะเป็นอย่างไรในอนาคต โดยพิจารณาประเด็นเรื่องโลกที่สะอาด ใช้พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ รวมเข้ากับเรื่อง GDP เศรษฐกิจโลกจะปรับเปลี่ยนรูปแบบอย่างมาก ช่องว่างทางเศรษฐกิจ ระหว่างตะวันออกและตะวันตกจะหายไป จะมีความร่ำรวยเกือบเท่ากัน ไม่มีความจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายการผลิตสินค้าจากยุโรปมาจีนอีกแล้ว เนื่องจากค่าจ้างแรงงานอยู่ในระดับเดียวกัน

    จะมีการเติบโตเกิดขึ้นในเมือง เครื่องจักรเข้ามาทำงานแทนคนในฟาร์ม งานใหม่เกิดขึ้นในเมือง คนจึงเข้าเมืองเพื่อทำงานหาเงิน ดังนั้นในเมือง GDP ต่อคนจะสูงกว่าชนบท คนจะเคลื่อนย้ายไปยังที่ที่มีเงิน และการศึกษาสูง ๆ มีอยู่ในเมือง รูปแบบการใช้ชีวิตใหม่ ตื่นตัวและเร่งเร้า เหมาะสำหรับการเปลี่ยนแปลง และมีความคิดสร้างสรรค์ เมืองมีสภาพแวดล้อมที่ไม่อยู่นิ่ง เมืองจะเต็มไปด้วยปัญหาการจราจรแออัด อาคารสูง แท้จริงแล้วธุรกิจใหญ่ ๆ ตั้งอยู่ตามชานเมือง เมืองไม่ได้เป็นชนชั้นสร้างสรรค์ เราทุกคนสามารถเป็นนักสร้างสรรค์ได้

    ความคิดใหม่เหมือนการตกแต่งด้วยเศษผ้า มันไม่ได้ดูเหมือนมากในช่วงเริ่มต้น ชนชั้นกลางในประเทศที่มีเศรษฐกิจเกิดใหม่เป็นหนึ่งในพวกวัตถุนิยม จะไปจับจ่าย จะครองเศรษฐกิจโลกและการเมือง คนชั้นกลางย้ายไปอยู่ชานเมือง ต้องการบ้านสำหรับครอบครัว

    เส้นทางการสื่อสารในประเทศที่ทันสมัยถูกคุกคาม หลายประเทศเข้าไปควบคุมการสื่อสารของพลเมืองและบริษัทบนอินเตอร์เน็ต

    บทที่ 2 บทนี้พูดถึงสิ่งที่ไม่ใช่วัตถุ เป็นเรื่องของอารมณ์

    มนุษย์แบ่งเป็น 2 ประเภท

    • 1.อวดความมั่งคั่งและความสำเร็จ ประเภทวัตถุนิยม
    • 2.อวดคุณค่า ประเภทจิตนิยม

    สินค้าที่มีขายในตลาดมี 2 อย่าง คือ

    • 1.ตลาดเชิงวัตถุ
    • 2.ตลาดเชิงอารมณ์ ความรู้สึก

    จะต้องให้ความตระหนักว่าอารมณ์ ความรู้สึกลูกค้าเป็นอย่างไร เพื่อป้องกันความล้มเหลว

    วิธีวัดความสุขได้ง่าย คือ การถาม มีระดับความเป็นอยู่ 3 อย่าง คือ สุขสบาย , ดิ้นรน , ยากลำบาก

    ในแง่ธุรกิจ “ ทำอย่างไรสินค้าของเราจึงจะเพิ่มความสุขให้ลูกค้า ”

    ประเด็นสำคัญที่สุด สินค้าของคุณมีความเย้ายวนอารมณ์ให้ลูกค้าซื้อได้มากแค่ไหน

    ยุคนี้เป็นยุคของการไขว่คว้า ไล่ล่าความสุข

    บทที่ 3 ความสัมพันธ์ในการผลิตและบริโภค

    ในอดีตมนุษย์จะบริโภคสิ่งที่ตัวเองผลิตขึ้นมา มีอัตราการบริโภคประมาณร้อยละ 50% ไปกับอาหารและเครื่องดื่ม ปัจจุบันลดเหลือประมาณ 15% เราดำเนินชีวิตในสังคมที่บริโภคตามใจตัวเอง ตอบสนองกับอารมณ์ ไม่ใช่ความหิว ในอดีตมนุษย์จะตอบเพียงแค่ชื่อเมื่อถูกถาม ปัจจุบันเราจะตอบว่าทำอะไรอยู่เพื่อดำรงชีวิต และในอนาคตจะตอบไลฟ์สไตล์ของตัวเอง การซื้อสินค้าใช้เหตุผล 50% จากความเหมาะสม และอีก 50% มาจากการแสดงตัวตนของผู้ใช้

    เมื่อใดก็ตามที่คนได้ก้าวถึงความต้องการลำดับสุดท้ายของมาร์ชสโลว์ จะเกิดแรงขับเคลื่อนที่จะทำในสิ่งที่ตนเองรัก โดยไม่นึกถึงผลกำไร

    คนได้เปลี่ยนการจับจ่ายสินค้าซื้อขายทางอินเตอร์เน็ต ทำให้ร้านค้าต่างทยอยปิดตัวลง สำหรับร้านค้าที่มีจะกลายเป็นสถานบันเทิงไปในร้าน เช่น ร้านหนังสือที่มีคาเฟ่

    การพัฒนาอุตสาหกรรมเริ่มต้นจากอังกฤษและสก๊อตแลนด์ โรงงานได้ถูกสร้างขึ้นที่นั่น ถัดมามีการพัฒนาการผลิตแบบประกอบขึ้นที่สหรัฐ การพัฒนาขั้นที่ 3 เกิดจาก 4 สาเหตุ คือ

    1.อินเตอร์เน็ต ทำให้ผู้ผลิตขนาดเล็กสามารถร่วมงานกันได้ด้วยตัวเอง

    2.โปรแกรมออกแบบ 3D ทำให้ออกแบบสินค้า แล้วเอาไปสอบถามหาค่าใช้จ่ายจากผู้รับจ้างผลิต

    ได้

    3.เครื่องพิมพ์ 3D ในอีกไม่กี่ปี ทุกบ้านสามารถมีไว้ 1 เครื่อง สามารถออกแบบสิ่งที่ต้องการได้

    4.นาโนเทคโนโลยี มันเป็นเทคโนโลยีใหม่เกี่ยวกับวัสดุในระดับโมเลกุล

    คนที่ต้องการบางสิ่งที่แสดงลักษณะตัวเอง และสามารถผลิตได้ด้วยอุปกรณ์ข้างต้น มันเป็น

    ตัวกระตุ้น ให้เราอยากซื้อเครื่องพิมพ์ 3D

    การบริหารจัดการแฟนคลับหรือศาสตร์การสร้างและบริหารกลุ่มของแฟนคลับของบริษัทหรือสินค้า มันเป็นสิ่งที่จำเป็น ยากที่จะใช้โฆษณาชวนเชื่อ ทางเดียว คือ สร้างความสัมพันธ์ตัวต่อตัว เช่น บริษัทแอปเปิ้ล

    บทที่ 4 เราจะเรียนรู้อย่างไร

    ในบทนี้เรียนรู้ ข้อจำกัดของความรู้ การตระหนักว่า บางครั้ง คนเราก็ได้เรียนรู้อะไรมากขึ้นเมื่อเราทำผิดพลาด

    เราควรแสวงหาหลักการ วิธีการ ตัวอย่างใหม่ ๆ ที่สามารถรับมือกับสิ่งที่ไม่รู้ สิ่งที่ไม่แน่นอน อย่ามองว่าอนาคต คือ สิ่งที่เกิดต่อเนื่องจากปัจจุบัน

    ในสายเทคโนโลยีและการสื่อสาร เรียกข้อผิดพลาดว่า “bugs” แต่เมื่อกำจัดแมลงออกจากระบบนิเวศน์ คุณจะสังเกตได้ว่า คุณได้สูญเสีย ดอกไม้ ต้นไม้ นก และสัตว์อื่น ๆ ที่ใหญ่กว่าไปด้วย

    Kathryn Schulz บอกว่า เราควรอยู่กับข้อผิดพลาด ปรับทัศนคติที่เป็นบวกกับค่า ERROR เหล่านี้ อย่ามองว่า ความผิดพลาดเป็นเรื่องน่าอาย แต่การทำผิด มีบางอย่างที่ถูกสร้างขึ้น

    ผู้ประสบความสำเร็จในชีวิตหลายคน เริ่มต้นจากความผิดพลาด

    มนุษย์มีความเชื่อว่าความรู้มาจาก 3 แหล่ง

    1.ผู้มีอำนาจ

    2.ประสบการณ์

    3.การเปิดเผยความจริงทางศาสนา

    แต่ผู้เขียนมองว่าโลกปัจจุบัน ถูกหรือผิด ขึ้นอยู่กับ การรับรู้ของคน

    มนุษย์ประมวลผลข้อมูลและตัดสินใจ โดยอ้างอิงจากประสบการณ์ในอดีต ไม่ว่าจะเป็นความสำเร็จ

    หรือล้มเหลว ความทรงจำเป็นสิ่งสำคัญ ทุกประสบการณ์จะทิ้งร่องรอยแห่งความทรงจำไว้

    โรงเรียนเป็นสถาบันสำคัญของสังคม โรงเรียนควรให้พื้นที่กับเด็กในการเป็นตัวของตัวเอง ที่แตกต่างจากคนอื่น เรียนในสิ่งที่อยากเรียนแตกต่างจากคนอื่น นักเรียนควรเข้าใจวิธีการและจัดการการเรียนรู้ของตัวเอง และเข้าถึงข้อมูล มีทักษะการวิเคราะห์และประยุกต์ใช้ข้อมูลได้

    การเลือกใช้ชุมชน แหล่งความรู้แบบเปิด (Open-Source) ที่มีกลุ่มคนมาช่วยกันให้ความเห็นที่หลากหลาย แต่ก็ต้องระวังสิ่งที่เป็นเท็จจะกลายเป็นจริง หรือเรื่องจริงจะทำให้กลายเป็นเท็จได้

    ทุกวันนี้ชีวิตเราเข้าสู่การมี e-bag แล้ว มือถือทำหน้าที่หลายอย่าง เราสามารถติดต่อใคร เวลาไหน ที่ไหนก็ได้ คุณมีเพื่อนมาก แต่ปฏิสัมพันธ์น้อยลง

    การเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้ 2 ทาง

    1.เมื่อเราเปลี่ยนแปลงระบบความคิด ( Mindset)

    2.เมื่อเราพบและปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น เป็นการเปิดโลกทัศน์

    ผลการตอบรับทางอารมณ์ที่เราได้รับจากบุคคลอื่น ไม่ว่าจะบวกหรือลบ ก็มีส่วนสำคัญเข้ามามี

    อิทธิพลกับชีวิตของเรา

    มีวิธีการพัฒนาให้สามารถเก็บข้อมูลประมวลผลให้เร็วขึ้น มีการเสนอ 2 วิธี

    1.ใช้ยา (Drug) ยังมีการถกเถียงกันอยู่ กินยาก็เหมือนกับการออกกำลังกาย กินอาหารตาม

    โภชนาการและนอนหลับเพื่อสุขภาพ

    2.การหาวิธีการใหม่หรือที่ดีกว่า ในการประมวลข้อมูล อาจเป็นทักษะการเป็นผู้นำการสื่อสาร

    การแก้ปัญหา การตัดสินใจ การจัดการเวลา และการจัดการกับความเครียด

    ผู้เขียนมองสมองเป็นอินเตอร์เน็ต เป็นเครือข่าย ระบบประสาทที่เชื่อมโยงกัน การทำงานของสมองจะขึ้นอยู่กับว่าส่วนต่าง ๆ มีการเชื่อมโยงกันดีแค่ไหน

    บทที่ 5 ความคิดเกี่ยวกับระบบ

    บทนี้จะทำให้มองเห็นภาพใหญ่ ให้มองโลกคล้ายกับระบบของหลายระบบ ที่ทุกระบบกระทบต่อกันและกัน ประเมินผลการกระทำของมนุษย์ว่ามีผลกระทบกับโลกอย่างไร พบเรื่องสังคมที่ใหญ่ ระบบเศรษฐกิจใหม่ และค้นพบตลาดใหม่

    ระบบของระบบองค์สากล หน่วยงานยุทธศาสตร์ทางทหาร องค์กรข้ามชาติต่างคุ้นเคยกับคำเหล่านี้ คำเหล่านี้เข้ามาสู่แนวคิดหลัก จากเหตุผล 2 ประการ

    1.วิกฤตการเงิน ทำให้เราตระหนักถึงความเชื่อมโยงของโลกใบนี้และเกิดภาพที่ชัดเจน สำหรับ

    ถึงความไม่พร้อมของเราที่จะจัดการกับความเสี่ยงในเรื่องนี้

    2.การใช้ Internet และเชื่อมต่อข้อมูลกว่าล้านข้อมูล ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน ที่มีทั้งระบบ

    ตรวจสอบ ระบบคอมพิวเตอร์ที่ทรงพลังและรวดเร็ว ประมวลผลที่มีความซับซ้อน

    มีการเรียกระบบเหล่านี้ว่า ระบบที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน แต่ละระบบ มีความเป็นเอกเทศ เรามีการเปลี่ยนวิธีคิดที่สนับสนุนโดยการเปลี่ยนในคุณค่า ทัศนคติ และการมองภาพรวม

    สิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวทุกวันนี้ บางสิ่งอยู่ใกล้ตัวกลับรู้สึกแปลก ไม่รู้จัก และสิ่งที่อยู่ห่างไกล กลับรู้สึกเหมือนใกล้ชิดเป็นเพื่อนบ้าน โลกใบนี้ ถูกกำหนดใหม่ด้วยข้อมูลข่าวสาร

    นวัตกรรมเป็นสิ่งที่มีราคา ใช้เวลาและยากที่จะสำเร็จได้โดยง่าย ต้องมีวิธีการเพื่อบรรลุผล โดยไม่กระทบกับลิขสิทธิ์ของผู้อื่น โดยนวัตกรรมมีทั้งเวลาและสถานที่

    บริการแบบฟรีเข้าสู่ชีวิตเราทีละเล็กละน้อย เช่น ที่พักโรงแรม ร้านอาหาร เราเลือกสถานที่ที่มี WIFI ฟรี และใช้โทรศัพท์ผ่านโปรแกรม LINE ฟรี มีนวนิยายตรรกะ 4 แบบที่เป็นที่รู้จัก

    1.Direct Cross – Subsidies เป็นรูปแบบส่งเสริมการขาย ชิ้นแรกฟรี จ่ายชิ้นที่ 2

    2.Three – party Market ผู้ผลิตให้บริการฟรี ผู้โฆษณาจ่ายเงินให้ผู้ผลิต

    3.Freemium พื้นฐานของการให้บริการ คือ ฟรี แต่มีเพิ่มในกรณีที่จะทำอะไรมากกว่านั้น เช่น

    มีเพลงฟรี 100 เพลง , แต่รับสมาชิกฟังเพลงบนสมาร์ทโฟนจ่ายเพิ่ม

    4.Nonmonetary Market เป็นการแบ่งปันและมีส่วนในการให้ ด้วยเหตุผลต่าง ๆ เช่น ใน

    Wikipedia

    เกิดเหตุการณ์ เกิดเหตุช๊อค ในดรรชนีตลาดหุ้นดาวน์โจน เมื่อพฤษภาคม ทำให้มีการพัฒนาชุดโปรแกรมคำสั่ง โดยนักคณิตศาสตร์ที่สามารถตรวจจับ Spot Trends ซึ่งพบโอกาสดีในเสี้ยววินาที การค้าแบบนี้ เรียกว่า การค้าแบบ Black – box เป็นการค้าแบบชุดคำสั่ง จะตัดสินใจทันเวลา ราคา และจำนวนหุ้นที่สั่งซื้อขาย บริษัทจะได้ประโยชน์จากเวลาที่แตกต่างกันเพียงเล็กน้อย มันกระทบระบบเศรษฐกิจของเราและหุ่นยนต์ (I,Robot) ใกล้เข้ามาแล้ว

    บทที่ 6 วิกฤตความเป็นผู้นำ

    วิกฤตความภักดี จริงใจ มาจากเดิม CEO จะได้รับความภักดีจากลูกน้องและพนักงานในบริษัท เมื่อลูกจ้างในบริษัทมีการศึกษาและความรู้มากขึ้น ความภักดีของลูกจ้างต่อ CEO ก็น้อยลง CEO และบอร์ดต้องฟังพนักงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มากขึ้น ความจริงใจก็กระจายออกไป

    องค์กรมีการกระจายอำนาจอยู่ 2 แบบ คือ ให้ผู้บริหารระดับสูง และการกระจายอำนาจที่เป็นองค์กรที่ Flat ช่วยกระตุ้นให้เกิดพลังงาน และ Innovation มีหลายหัวช่วยกันคิด ในสภาพแวดล้อมธุรกิจที่เปลี่ยนไป ให้พนักงานได้ร่วมตัดสินใจ เพราะเขาทำงานจริง รู้จริง และทำให้พนักงานรู้สึกมีแรงจูงใจ แผนผังโครงสร้างองค์กรใหม่ ให้ลูกค้าอยู่ด้านบนสุด ตามด้วยคนติดต่อกับลูกค้า ซึ่งมีข้อมูลมากที่สุดและ CEO อยู่ล่างสุด

    การสร้างมูลค่าให้กับตัวพนักงาน บริษัท มีเครื่องมือที่สร้างความกระตือรือร้นของพนักงาน เช่น มอบหมายงานที่ท้าทาย หรือ ให้ค่าตอบแทนที่สูง หากมากไป จะทำให้พนักงานไม่เห็นคุณค่า และหวังให้มีการขึ้นเงินอีก และองค์กรต้องมีอะไรที่วัดและควบคุมได้ว่า พนักงานคนใด ใครทำงานได้ดีกว่า ไม่ใช่วัดแค่ชั่วโมงที่นั่งทำงาน จะทำให้พนักงานไม่มีแรงบันดาลใจ

    CEO ควรใช้ศาสตร์และศิลป์ในการทำงาน ดังนั้นจะต้องมีความสามารถในการเล่าเรื่อง พูดชักจูง ให้กำลังใจ มีหลักดังนี้

    1.เชื่อในสิ่งที่พูด

    2.ต้องมีความท้าทาย และปัญหาให้ข้ามผ่าน

    3.เล่าเรื่องที่เป็นรูปธรรม ให้ความจริงใจ

    บริษัทเหมือนโรงละคร ผู้ชม คือ คนเขียนบท พนักงานคือ นักแสดง

    การลงทุนในต่างประเทศ มีความจำเป็นในการขยายตลาด มีหลายบริษัทที่ประสบความสำเร็จ เช่น

    รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ แต่การเข้าถึงวัฒนธรรมยังคงเป็นปัญหาใหญ่ วัฒนธรรมองค์กรในแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน กระแสการนิยมสินค้าของประเทศตัวเอง ลูกค้ามีความต้องการหลากหลาย

    บริษัทเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ดังนั้นโครงการ CSR ของบริษัทต้องชัด อยากจะให้สื่อนำเสนออะไรเกี่ยวกับบริษัท บอกไปเลย พนักงานชอบนโยบายที่โปร่งใส เพราะพนักงานเป็นคนหนึ่งในสังคม และถ้าบริษัทเป็นส่วนหนึ่งของสังคมก็ต้องดูแลพนักงานด้วย

    ผู้นำในอุดมคติต้องมีความเป็นคน แสดงความมีน้ำใจ เข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น ตัดสินใจได้ มีวิสัยทัศน์ ดูกระแสเงินสดได้ พาองค์กรให้ปรับตัวไปกับอนาคต สื่อสารกับพนักงาน คู่ค้า ลูกค้า ทุก ๆ คนที่เกี่ยวข้อง ต้องมีชีวิตครอบครัวที่ดี มีเวลาที่ไปทำอะไรที่อยากทำ

    สรุปประเด็นเพื่อรองรับ กฟผ. 3 หัวข้อ ดังนี้

    1.The Extended Now

    เนื่องจากโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจึงจำเป็นต้องศึกษาอนาคต โดยมองจากปัจจุบัน สำหรับ กฟผ. มองว่าขณะนี้มีสัดส่วนตลาดกำลังผลิตประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ ในอนาคต การคาดการณ์GDP ที่บอกกำลังซื้อ การบริโภคเติบโตขึ้น ปีละ 3-5 เปอร์เซ็นต์ กฟผ.จึงวางแผนสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ โดยระยะแรก จะสร้างที่บริเวณโรงไฟฟ้าเดิม อย่างไรก็ตามกฟผ.ต้องปรับแผนการดำเนินการให้สอดคล้องกับแผน PDP ฉบับใหม่ ที่มุ่งเน้นการใช้พลังงานทดแทน และพลังงานทางเลือก เพิ่มเป็น 25 เปอร์เซ็นต์ ในระยะ 10 ปี โดยกฟผ.จะปรับเปลี่ยนนโยบายด้านพลังงานทดแทน จากบทบาท ผู้ผลิต มาเป็นผู้คิดค้น และสร้างต้นแบบการผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทน

    2.The Flat Society

    สังคมแบนราบ แนวโน้มระยะยาว คนจะไม่เชื่อในระบบการสั่งการหรือการรวมอำนาจ กรณีอุตสาหกรรมไฟฟ้า ในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ซึ่งเป็นกลุ่มพลังงานหมุนเวียน เนื่องจาก ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม มีเชื้อเพลิงที่เป็นชีวมวลกระจายอยู่ทั่วประเทศ เป็นวัสดุเหลือใช้ในชุมชน และมีราคาถูก ความเป็นไปได้ที่ของการพัฒนาผลิตพลังงานใช้ในชุมชน และบางส่วนเหลือขายเข้าระบบของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ทิศทางของ กฟภ. และ กฟผ. ในบทบาทของผู้ให้บริการด้านระบบส่ง ระบบจำหน่ายแก่แหล่งพลังงานชุมชนที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ เป็นบทบาทที่ต้องพัฒนาต่อไป ด้วยโมเดลพลังงานชุมชนขนาดเล็กเหล่านี้ สามารถทดแทนโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ในรูปแบบเดิมๆได้ ความจำเป็นแหล่งผลิตขนาดใหญ่ลดลง ขณะเดียวกัน สาบส่งและระบบไฟฟ้าก็จะลดความแออัด ลดความจำเป็นในการขยายระบบส่งได้

    3.Measure Happiness not GDP

    เป็นโลกที่ไม่ใช่วัตถุ (Nonmaterial World) แต่เป็นจิตนิยม หาให้ได้ว่า อะไรเป็นคุณค่าในสินค้าของกิจการ ทำอย่างไร สินค้าของเราจึงจะเพิ่มความสุขให้ลูกค้า กรณี กฟผ.มุ่งการผลิตไฟฟ้าเพื่อความสุขของคนไทย ให้มีไฟฟ้าใช้ให้เพียงพอ และมีความมั่นคง โดยหาแหล่งพลังงานที่ใช้ในการผลิตให้มีต้นทุนต่ำ ส่งเสริมและสร้างคุณค่าให้กับสังคม โดยมุ่งเป็นองค์กร Green สร้างนวัตกรรมเชิงสังคมให้เกิดขึ้น และส่งเสริมมการประหยัดพลังงาน

    ประเด็นเพิ่มเติมที่ หนังสือ Renaissance ไม่ได้กล่าวไว้ คือ Networking capital หรือทุนทางเครือข่าย กับชุมชน ผู้มีส่วนได้เสียในระยะยาว ที่มีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันและจะยิ่งมากขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ ไม่ได้กล่าวถึงเรื่อง Social Innovation นวัตกรรมเพื่อสังคม ก็เป็นสิ่งที่จะสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาจากสังคมและชุมชนได้

    ปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำงานไม่ประสบความสำเร็จ ในกฟผ.

    ด้าน CSR

    -ไม่มีหน่วยงาน CSR โดยเฉพาะ เพื่อสร้างเครือข่ายชุมชน

    -การดำเนินงานด้าน CSR ไม่ต่อเนื่อง เนื่องจากมีการโยกย้ายผู้ปฏิบัติงานทั้งในระดับผู้บังคับบัญชาที่กำหนดนโยบาย

    และผู้ลงพื้นที่ที่ยังไม่คุ้นเคยกับการทำCSR ในพื้นที่นั้นๆ

    -บางครั้ง มีแนวความคิด CSR ที่ดี แต่ติดด้านระบบ แบบไซโล

    - ชาวบ้านมองเป็นละชนชั้น มีช่องว่างกับชาวบ้าน

    ด้าน Value Creation & Value Diversity

    - กฟผ. ทำในเชิง Value added ได้ โดยดำเนินการตามภาระหน้าที่ ในด้านการผลิตไฟฟ้า ระบบส่ง การมีส่วนร่วมในชุมชนและสังคม แต่ยังขาด Value Creation ในอดีตที่ผ่านมา กฟผ. ทำงานได้ดี แต่ในอนาคตต้องมีการขยายกำลังการผลิตเพื่อให้มีผลประกอบการที่ดี โดยพนักงานต้องมีความสุขด้วย

    - กฟผ. ยังไม่สามารถสร้างบรรยากาศของความคิดสร้างสรรค์ เพื่อก่อให้เกิดความคิดนอกกรอบหรือ คร่อมกรอบ กฟผ ยัง ไม่Openness เปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียได้หมด เนื่องจากเป็นองค์กรของรัฐที่ถูกควบคุมให้ปฏิบัติตามนโยบายของรัฐเสียมากกว่า อย่างไรก็ตาม กฟผ.ควรทำ Value creation ด้านกระบวนการ เช่น CSR เพื่อสังคมและประเทศชาติ ให้ไปสู่องค์กรที่Green ตามเจตนารมณ์ของคณะกรรมการ กฟผ.

    -กฟผ. เป็นองค์กรใหญ่ที่อุ้ยอ้าย อยู่ภายใต้กฎระเบียบของรัฐ ทำให้ไม่คล่องตัวในการบริหารงาน มีลักษณะไซโล จึงไม่สามารถก่อให้เกิด Value Diversity ในส่วนของผลิตภัณฑ์หลักได้ อย่างไรก็ตาม

    กฟผ.อาจส่งเสริมการท่องเที่ยวที่เขื่อนและบริเวณโรงไฟฟ้าต่างๆ ให้เกิดเป็นรูปธรรมเชิงธุรกิจ สำหรับพลังงานทดแทน เนื่องจากมีปัญหาการแหล่งก่อสร้างโรงไฟฟ้า ดังนั้น กฟผ.จึงปรับกลยุทธ์ไปสู่การพัฒนาต้นแบบโรงไฟฟ้า ขายนวัตกรรมให้ IPP SPP แทนการสร้างโรงไฟฟ้าแข่งกับเอกชน หรือ กฟผ.อาจลงทุน ในบริษัทในเครือ หรือร่วมทุนกับเอกชนในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า

    อัจฉรี เด่นสิริมงคล

    ขออนุญาตส่งงานรวบยอดเลยนคะ

    กรณีศึกษา Microsoft จากอดีต ถึง ปัจจุบัน กับภาวะผู้นำ ของ CEO

    1 Bill Gate

    ผู้นำยุคบุกเบิก เริ่มกอตั้งและพัฒนาอยู่สม่ำเสมอไปสู่จุดที่ตนพอใจและเป็นการท้าทายตนเอง มีควา มมานะอดทนไม่ย่อท้อเพื่อความสำเร็จขององค์กร ต้องฝ่าฟันอุปสรรคให้ได้ สิ่งที่เป็นลักษณะหลักคือเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล นำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จมองหากลยุทธ์ใหม่อยู่เสมอ

    2. Steve Ballmer

    ผู้นำยุคที่อยู่ตัว เข้าที่แล้วไม่ได้มีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ เน้นความมีมนุษยสัมพันธ์กับเพื่อน รับฟังความคิดเห็นจากพนักงาน เน้นการสื่อสารที่เป็นปัญหาในองค์กรมาโดยตลอด

    3. Satya Nadella

    ผู้นำยุคใหม่ทีจะสร้างนวัตกรรมทางด้านซอฟแวร์ใหม่ หลังจากทำงานกับไมโครซอฟมากว่ายี่สิบปี เป็นผู้นำที่สร้าง Trust ให้กับบริษัท เป็นคนที่มีนิสัยอ่อนน้อม เข้าได้กับทุกคน ปรัชญการทำงานคือ กระตือรือร้นและกระหายที่จะเรียนรู้

    การประยุกต์ใช้กับกฟผ.

    กฟผ.ผ่านยุคของผู้นำ มาหลายยุค เช่นเดียวกัน ตั้งแต่ยุคบุกเบิก ยุคที่ทรงตัว ยุคที่ต้องปรับตัวให้ทันเปลี่ยนแปลงไปสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลง โดยผู้ว้าการคนปัจจุบันกำลังอยู่ในช่วงของการสร้าง Trust ให้ กฟผ. ทั้งด้านความมั่นคงของการผลิตไฟฟ้า ระบบส่งไฟฟ้า การจัดหาพลังงานทดแทน ความรับผิดชอบต่อสังคม การให้ความสำคัญของคุณค่าของทรัพยากรมนุษย์ โดยมองอนาคตขององค์กร กำหนดทิศทางทำธุรกิจรับงานภายนอก ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจในเครือมากขึ้นเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งขององค์กรในอีกทางหนึ่ง

    วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2557

    กิจกรรมรักษ์กาย ณ ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี

    ธรรมชาติบำบัด ปรับชีวิต เปลี่ยนอาหาร หลักการแพทย์พอเพียง

    นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล ได้บรรยายลักษณะและเกณฑ์วัด ดัชนีมวลกาย ปัญหาของความอ้วน และอันตรายของความอ้วน การลดน้ำหนักด้วยวิธีธรรมชาติ กินเนื้อ กินผัก ออกกำลังกายให้มาก แล้วพูดถึงตัวช่วยในการลดไขมัน และลดน้ำหนัก การป้องกันโรค หวัด ภูมิแพ้ หอบหืด และควรมีตู้สมุนไพรประจำบ้าน ซึ่งเรื่องนี้ทราบดีอยู่แล้ว

    พญ. ลลิตา ธีระสิริ อธิบายเรื่อง วารีบำบัดแห่งน้ำ ว่ามีหลายวิธีที่นิยม มีทีมาจากต่างประเทศ และภูมิปัญยาของคนไทย ในการนำประโยชน์จากสมุนไพรมาใช้ รักษาโรคต่างๆ และส่งเสริมสุขภาพ

    ได้มีการแบ่งกลุ่มทำกิจกรรมเพื่อสุขภาพ ได้แก่ Mat Exercises , Hydro aerobics , ซาวน่า , อบสมุนไพร ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ประโชน์ คือสดชื่น ได้เรียนรู้ที่จะนำไปดำเนินการต่อไป

    วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557 ภาคเช้า ที่เขื่อนศรีนครินทร์

    Networking Capital

    หัวข้อนี้เป็นการให้ความสำคัญของทุนทางด้านเครือข่าย จึงมีวิทยากรหลากหลายอาชีพที่คัดสรรมาแล้วโดยเฉพาะ

    1. ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี ได้อธิบายถึงมุมมองภาพใหญ่ด้านยุทธศาสตร์ การบริหารจัดการของจังหวัดกาญจนบุรี และโครงการที่น่าสนใจ เกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน / พลังงาน /การบริหารจัดการภัยพิบัติ และภัยธรรมชาติ การเตรียมพร้อมสู่อาเซียน

    อ.จีระ อยากให้มองภาพกว้าง การเมือง เศรษฐกิจและสังคม รวมทั้ง Logistic

    1. คุณสหัสนัย แนะนำกฟผ. เรื่อง CSR การมีส่วนร่วมกับชุมชน ผสานโครงการกับการท่องเที่ยว การสร้างแพทีพัก การเข้าถึงแหล่งเงินทุน SME bank ไม่ให้กู้เงินเพราะบอกว่าแพเป็นสังหาริมทรัพย์ อ.จีระ ให้ความเห็นว่า กฟผ. มีไอเดียดี แต่ติดที่ระบบ
    2. คุณประณต ให้ประเด็นที่พลังงานจังหวัดเกี่ยวข้องกับ กฟผ. และอยากให้กฟผ.ไปหาชุมชนล่วงหน้า 3 ปี เพื่อหาข้อมูลแผนชุมชนเชื่อมโยงกับการประหยัดพลังงาน

    อ. จีระฝากให้ทีมงานไปติดตามผล / ข้อเสนอแนะจากการสัมนา เสนอให้ กฟผ.ทำวิจัยต่อเนื่อง เรื่องกองทุนพัฒนาไฟฟ้า นำไปใช้ได้อย่างไร

    1. คุณยุทธการ เอ็นจีโอ ระดับพรีเมี่ยม แนะนำว่ากฟผ. ต้องเข้าใจ บทบาทของการไฟฟ้า ภาพพจน์ นอกจากนี้ ขอเสนอแนวคิดให้มี เครือข่ายผู้ผลิตไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตขนาดเล็ก โซลาเซล เป็นต้น

    อ.จีระ : Turn action to execution เอาชนะอุปสรรค

    1. คุณคเชนทร์ ตัวแทนภาคธุรกิจ อยู่ SCG paper แนวคิดสร้างทุนทางเครือข่าย เน้นการลงทุนระยะยาว ซึ่งต้องใช้เวลนานมาก ให้คนยอมรับ เชื่อมั่นศรัทธา ปฏิบัติกับชุมชนต้องสมดุล อุดมการณ์ คือ ต้องเชื่อมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม ทรัพยากรมีจำกัดต้องใช้อย่างคุ้มค่า นโยบาย One manager One Community “ เอาชุมชน เป็นตัวตั้ง “

    อ.จีระ : ขอให้ทำในเชิง Value added และ Value Creation ให้ได้

    การสร้างทรัพยากรมนุษย์ต้องอาศัยปรัชญาและความเชื่อ แต่ Fact ของ กฟผ.คือ

    HR Department เป็นไซโล Function งานดี Non Hrมีผลประกอบการดี แต่อนาคต ต้องมี

    ผลประกอบการและความสุข ดังนั้น HR Function ต้องเปลี่ยน Role ต้องให้ StakeHolder อื่นๆ มา

    Co-creation

    วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557 ภาคบ่าย

    HR for non HR และการปรับใช้กับ งาน CSR ของกฟผ.

    อ.จีระได้ให้ข้อคิดว่า ทรัพยากรสำคัญที่สุดในปัจจุบันไม่ใช่เงิน สิ่งของ หรือเครื่องจักร แต่เป็นคน ที่ต้องพัฒนาไม่มีวันหยุด เป็นการพัฒนาระยะยาวทั้งชีวิต

    การมองภาพทรัพยากรมนุษย์ จาก Macro สู่ Micro ถ้าไม่มีการพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงเท่ากับว่าเราได้ตาย และเราต้องเปลี่ยนแปลง ก่อนจะถูกบังคับให้เปลี่ยน

    มีการเปรียบเทียบ Old HR กับ New HR สรุปว่า HR สมัยใหม่ จะต้องมีการกำหนดStrategic , Change Management และต้องทำให้เกิด Respect & Dignity และเป็น Strategic Partnership ในด้านของคุณค่าจะต้องเป็น Value added ก่อให้เกิดความกระหายที่จะเรียนรู้

    พื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

    1.Human Capital ทุนมนุษย์

    2.Intellectual ทุนทางปัญญา

    3.Ethical ทุนทางจริยธรรม

    ทฤษฎีทุนใหม่ 5 k’s เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

    -Creative Capital

    -Knowledge Capital

    -Innovation

    -Emotional

    -Cultural

    ทฤษฎี HRDS เพื่อสร้างทุนแห่งความสุข การทำงานร่วมกับบุคคลอื่น และการบริหารทุนมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล โดยแบ่งเป็นทุนที่มองเห็นและมองไม่เห็น ผู้นำจะต้องเริ่มให้มี Aware และExecution คือการลงทุนให้สำเร็จ CEO + HR + Non HR ที่มีบทบาทร่วมมี Visionไปด้วยกัน เจาะไซโลแต่ละสายงาน กำหนดนโยบายองค์กร ดำเนินการด้าน HR สำหรับ Non HR จะต้องดูแลทรัพยากรบุคคลากรตัวเอง โดยให้มี Diversity และ Networking

    วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557 ภาคเช้า

    อ.จิตสุมาลย์ อมาตยกุล การนำเสนออย่างทรงพลังและประทับใจ

    มีการทำกิจกรรมหลายกิจกรรมที่เหมาะสมกับเวลา เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และให้ เทคนิค Presentation ให้รู้จักแก้ปัญหาเฉพาะหน้า พร้อมเสมอและมีศิลปะในการพูด

    สิ่งที่ได้รับ คือ ความสนุกควบคู่กับความรู้ เทคนิคการนำเสนอ ต้องฝึกภาษากายให้มากๆ เน้นน้ำเสียงที่เชิญชวนสำหรับผู้ฟัง ให้เกิด Brand sense และเข้าสู่ Champion Zone ซึ่งเป็นเลิศด้านเนื้อหา และผู้นำเสนอ

    วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557 ภาคบ่าย

    นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน ( Social Innovation กับการทำงานของ กฟผ.

    ดร. จีระเดช เป็นผู้ดำเนินรายการ

    หัวข้อนี้ฟังสนุก ได้ฟัง เรื่องราวด้าน CSR ของกฟผ. จาก ชคส. ประสบการณืจากครูบาสุทธินันท์ ทำอย่างไรให้ชุมชนเข้มแข็ง อยากรู้ ใฝ่รู้ คุณสุทธิเดชได้เล่าเรื่องราวนวัตกรรมเชิงสังคมของ กฟภ.ว่า เป็นเรื่องใหม่ เป็นเรื่องสร้างสรรค์ และต้องสร้างองค์ความรู้ตลอดจนคำวิพากษ์ของผู้เข้าอบรมในเรื่อง CSR ที่ดำเนินการแล้วของ กฟผ. จำเป็นต้องมีความต่อเนื่องและหาพันธมิตรร่วมมือกับ กฟภ.ที่ดูเหมือนจะใกล้ชิดชุมชนมากกว่า

    วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557 ภาคเย็น

    อ. กิตติ ชยางคกุล ได้มาแนะนำ เกี่ยวกับหัวข้อโครงการวิจัยในแต่ละกลุ่ม เพื่อจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัย

    - การชี้ชัดปัญหาและการจัดทำปัญหาการวิจัย โดยหัวข้อที่จะทำเป็นปัญหาที่สามารถเห็นผลได้ ภายใน 1-3 ปี และมีความเป็นไปได้ที่จะแก้ปัญหานั้น หรือเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหา

    สิ่งที่ได้จากอาจารย์คือ ความเอาใจใส่ พยายามที่จะตั้งคำถามเค้นปัญหา ออกมา เพื่อให้มีการทำวิจัยในเรื่องที่เหมาะสม อาจารย์น่ารักมาก

    อ.พิชญ์ภูรี แนะนำ การเขียน Paper และ การ Presentation

    วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557 ภาคเช้า

    กิจกรรมดูงาน ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม จ. กาญจนบุรี

    ผู้นำศูนย์ได้เล่าเรื่องการแนะแนวการสิกรรม ให้กับชุมชนเห็นประโยชน์ของการพึ่งพาตนเอง เป็นหน้าที่ของทุกภาคส่วนที่ต้องปฏิรูปประเทศ เพราะทุกคนเป็นหน่วยหนึ่งของสังคม นอกจากนี้ยังได้บรรยายสรรพคุณของพืชผักธรรมชาติ เช่น ฟักข้าวที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย สามารถนำไปแปรรูปเป็นอาหารหลายรูปแบบได้

    วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557 ภาคบ่าย

    กิจกรรมดูงาน ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีการเกษตร และพลังงานทางเลือก จ. กาญจนบุรี

    คุณยุทธการ ได้บรรยายประสบการณ์ การวิจัยพลังงานทางเลือกประเภทต่างๆ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม แก๊สชีวมวลเป็นต้น ได้ดูตัวอย่างการประดิษฐ์เตาแก๊สที่ใช้เศษใบไม้เป็นเชื้อเพลิง อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือเทคนิคในการชักชวนให้ชาวบ้านนำไปใช้ ต้องตอบคำถามชาวบ้านให้ได้ว่าเกิดประโยชน์อย่างไร

    ภูริวรรณ ซุ่ยรักษา

    สิ่งที่ได้จากการเรียนวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557

    หัวข้อ “Networking Capital กับการพัฒนาเพื่อประชาชน”

    • ทำให้ทราบถึงความสำคัญ (ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยว) ของ จ.กาญจนบุรี
    • ได้เรียนรู้ถึงยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานของ จ.กาญจนบุรี ซึ่งประกอบด้วย ยุทธศาสตร์เชิงอนุรักษ์ และยุทธศาสตร์เกษตรอุตสาหกรรม รวมถึงการค้าผ่านชายแดน โดยในการพัฒนา จ.กาญจนบุรี ควรมีการทบทวนในเรื่องของผังเมืองในการแบ่งโซนของจังหวัด เช่น โซนที่มุ่งเน้นการอนุรักษ์เพื่อการท่องเที่ยว (เมืองเก่า) โซนที่ควรพัฒนาเป็นเมืองโดยการขยายถนนหรือ By Pass (เมืองใหม่) และโซนที่มุ่งเน้นด้านการขนส่งโดยการพัฒนาระบบ Logistics (Motorway) ซึ่งจะทำให้ จ.กาญจนบุรี ไปสู่การเป็นเมืองเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของประเทศ กล่าวคือ การพัฒนา จ.กาญจนบุรี จะต้องทำความเข้าใจในทุกมิติของพื้นที่ นอกเหนือจากสภาพภูมิประเทศและประวัติศาสตร์ของ จ.กาญจนบุรี
    • ได้เรียนรู้ถึงประโยชน์หรือข้อดีของการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการในพื้นที่ หรือการดำเนินการที่ให้ความรู้แก่ชุมชน เช่น โครงการชีววิถี อ.ศรีสวัสดิ์ เป็นโครงการที่สร้างงาน สร้างอาชีพและรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง ยังเป็นศูนย์การเรียนรู้ที่มีคนมาขอศึกษาดูงาน ซึ่งสามารถนำมาเป็นจุดขายเพื่อสร้างความเจริญให้กับชุมชน/ชาวบ้านในพื้นที่
    • ได้รับทราบและเรียนรู้ถึงสิ่งที่ชุมชนต้องการความช่วยเหลือจาก กฟผ. รวมถึงสิ่งที่ กฟผ. ควรดำเนินการ (ในมุมมองของชุมชน) เช่น กรณีมีข่าวความมั่นคงของเขื่อนศรีนครินทร์ (เขื่อนแตก) ซึ่งส่งผลกระทบทางจิตใจและความเป็นอยู่ของชุมชนนั้น กฟผ. ควรดำเนินการในการประชาสัมพันธ์ รวมถึงจัดทำพิพิธภัณฑ์ การจัดการแสดง เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ชุมชนในพื้นที่ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวได้อีกทางหนึ่ง กรณีชาวบ้านในชุมชนระดับล่างยังขาดความรู้และทักษะในการประกอบธุรกิจ รวมถึงการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และกรณีการสร้างเครือข่ายผู้ผลิตไฟฟ้าในชุมชน
    • ในการทำงานกับชุมชนในพื้นที่ต้องทำงานเชิงรุก อย่ารอให้เกิดปัญหาก่อน โดยกรณีของ SCG มีการออกไปพบกับชุมชนและเผยแพร่หรือประชาสัมพันธ์การทำกิจกรรมให้ชุมชนทราบ
    • การสร้างทุนทางเครือข่ายเป็นการลงทุนระยะยาว ไม่เป็นตัวเงิน โดยคนทีมีจิตใจพร้อมที่จะทุ่มเท และวัดผลยาก เปรียบเหมือนการทำความดีที่ต้องใช้เวลาในการสะสมนานและต้องทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ จึงเกิดการยอมรับ

    หัวข้อ “HR for NonHR และการปรับใช้งาน CSR ของ กฟผ.”

    • ทราบถึงความสำคัญในการ Change การปรับเปลี่ยน Paradigm Shift และ Mindset เพื่ดความอยู่รอดขององค์กร เนื่องจากธุรกิจของ กฟผ. ในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งในการดำเนินธุรกิจจะต้องผสมผสานระหว่าง Science และ Social Science
    • HR เกี่ยวข้องกับ Leadership 2 ประเด็นคือ HR ต้องเป็น Leader และ HR มีหน้าที่ในการสร้าง Leader
    • “คน” เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร ซึ่งเดิมทรัพยากรมนุษย์ถูกมองว่าเป็น ”ค่าใช้จ่าย” แต่ปัจจุบันมองเป็น “ทรัพย์สิน”
    • หลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้ประสบความสำเร็จสู่ความเป็นเลิศ ประกอบด้วย การปลูก (เป็นหน้าที่ของ HRD) การเก็บเกี่ยว (เป็นหน้าที่ของ HRM) และการนำไปใช้ให้เกิดขึ้นจริง ซึ่งในการดำเนินการจะต้องมีการมอบหมายงานให้สอดคล้องกับภารกิจขององค์กรและตรงกับบทบาทของคนนั้นๆ
    • HR กับ Non HR ต้องทำงานเป็น Partner กัน
    • HRD จะต้องปรับบาทของ HR ไปสู่ Non HR หรือ Line Manager ให้มากขึ้น
    • CEO และ Non HRM ต้องมีส่วนร่วมในการบริหารทุนมนุษย์ร่วมกับ HRD (ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ HRD อย่างเดียว)

    สิ่งที่ได้จากการเรียนวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557

    หัวข้อ “เทคนิคการนำเสนออย่างทรงพลังและประทับใจ (Art and Feeling)”

    • ได้ฝึกการทำงานร่วมกันเป็นทีมและการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
    • กระตุ้นให้ผู้เรียนกล้าคิดนอกกรอบและกล้าแสดงออก โดยใช้จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ซึ่งเป็นการใช้สมองซีกขวา
    • ได้เรียนรู้พัฒนาการในการความคิด อารมณ์และการแสดงออกของตัวเองที่เปลี่ยนแปลงไปโดยอัตโนมัติจากสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปหรือที่เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น เมื่อย้อนกลับไปในอดีต เราสามารถคิด/ทำอะไรได้มากกว่าเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ เนื่องจากไม่ต้องคอยห่วงหรือกังวลเรื่องภาพลักษณ์
    • ได้เรียนรู้เทคนิคในการนำเสนอ โดยการใช้ภาษาทางทางเข้ามาช่วย ซึ่งจะทำให้ผู้ฟังจดจำในสิ่งที่เรานำเสนอได้ดี

    หัวข้อ “นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน (Social Innovation) กับการทำงานของ กฟผ.”

    • การทำ CSR ไม่ใช่การบริจาค โดยในการดำเนินการด้าน CSR จะต้องมีการวิเคราะห์ Stakeholder รวมถึงความต้องการ จากนั้นจึงบูรณาการทำงานร่วมกันทั้งองค์กร (การรวมแผน แต่แยกปฏิบัติ) แล้วดำเนินการจากภายในองค์กร (สังคมใกล้) สู่ภายนอกองค์กร (สังคมไกล)
    • หัวใจของการพัฒนาชุมชน/ชาวบ้นในชุมชนคือการสร้างความอยากเรียนรู้ให้ชุมชน/ชาวบ้านโดยในการสร้างความอยากเรียนรู้/ให้ความรู้ควรให้ชาวบ้านเรียนรู้จากการปฏิบัติ เรียนรู้ด้วยตัวเอง โดยการยุให้ชาวบ้านค้นความรู้หรือคิดในสิ่งที่จะทำในชุมชน รวมถึงการใช้เทคโนโลยี/การสื่อสารเข้ามาช่วย เช่น การถาม-ตอบปัญหาและแบ่งปันความรู้ใน fb เพื่อสร้างกระบวนการเครือข่ายให้มีคนเข้ามาเรียนหรือให้ความรู้ผ่านประสบการณ์ของตนเอง
    • Social Innovation มีผลกระทบต่อ 2 ระดับคือ มีผลกระทบต่อสังคมของประเทศโดยรวม (กว้าง แรง และนาน) และมีผลกระทบต่อองค์กรอย่างรุนแรง ทั้งนี้ Social Innovation จะต้องไม่เป็นเพียงแค่ Value เท่านั้น แต่ควรเป็น Value Creation

    หัวข้อ “การสร้างเครื่องมือและการสุ่มตัวอย่างและสถิติเบื้องต้นสำหรัรบการทำวิจัย”

    • เกิดการระดมความคิดในการแก้ไขปัญหาของ กฟผ. เพื่อวิเคราะห์อนาคต กฟผ. ในปี 2020 โดยในส่วนของกลุ่ม 6 ดำเนินการวิจัยในหัวข้อ “การพัฒนาศักยภาพ EGAT Group เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขัน อ.กิตติ ติดตามการพิจารณาปัญหาและเสนอหัวข้องานวิจัยจากแต่ละกลุ่ม โดย อ.กิตติ ได้มีการติดตามงานให้แต่ละกลุ่มมีการดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนและไม่หลงประเด็น สามารถตอบโจทย์หัวข้อที่ตั้งขึ้นและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ตรงประเด็น

    สิ่งที่ได้จากการเรียนวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557

    หัวข้อ “เกษตรกรทางเลือกและเครือข่ายชุมชน”

    • ได้เรียนรู้วิถีชาวบ้านในการพึ่งพาตัวเองและอยู่อย่างพอเพียงโดยเน้นภูมิปัญญาชาวบ้าน การสร้างความเข้มแข็งและสร้างเครือข่ายของชุมชนโดยมีการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ฯ เพื่อสร้างความเข้าใจในการดำเนินการร่วมกับชาวบ้านและเพื่อให้ความรู้และช่วยเหลือชาวช้านในด้านต่างๆ มีการสอนเรื่องการลดค่าใช้จ่ายโดยชี้ให้เห็นว่า หนี้ของตัวเองเกิดจากอะไร รวมถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาหรือลดหนี้ การสอนให้ชาวบ้านดึงศักยภาพ คุณค่าและรู้จักบทบาทของตนเอง การสร้างกำลังใจ การสอนให้ชาวบ้านรู้ถึงประโยชน์ของการปลูกผักทานเอง การปลูกพืชสมุนไพร การแปรรูปอาหารซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวและชุมชน มีการคิดค้นเครื่องมือต่างๆ ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในชุมชนที่จะช่วยให้ชาวบ้านมีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

    หัวข้อ “พลังงานทางเลือกและการจัดการพลังงาน”

    • ได้เรียนรู้เกี่ยวกับพลังงานทางเลือกที่มีในไทย เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานชีวมวล พลังงานน้ำ ก๊าซชีวภาพ รวมถึงวิธีการจัดการพลังงานทางเลือกดังกล่าว
    • มีการส่งเสริมให้ชาวบ้านในชุมชนใช้พลังงานทางเลือกอื่นทดแทนในการดำรงชีวิตซึ่งจะช่วยในการประหยัดพลังงานของประเทศและลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน

    -----------------------------------------------------

    ภูริวรรณ ซุ่ยรักษา

    บริษัท Microsoft นั้นอดีตจนถึงปัจจุบันได้เปลี่ยน CEO มาแล้ว 3 คน

    ๑. Bill Gates

    ๒. Steve Ballmer

    ๓. Satya Nadella

    ข้อ ๑ แต่ละท่านมีภาวะผู้นำต่างกันอย่างไร

                                                 

    Bill GatesSteve BallmerSatya Nadella

    ๑. Bill Gates (บิล เกตส์) หนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัท Microsoftปัจจุบัน คณะกรรมการบริหารบริษัท Microsoft ในฐานะที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยี

    ๒. Steve Ballmer (สตีฟ บัลเมอร์) เป็นเพื่อนในรั้วมหาวิทยาลัยเดียวกับเกตส์ที่ฮาร์วาร์ด ทั้งยังเป็นพนักงาน 30 คนแรกของบริษัท Microsoft

    ๓. Satya Nadella (สัตยา นาเดลลา) อดีตรองประธานบริหารธุรกิจกลุ่มคลาวด์ แอนด์ เอ็นเตอร์ไพรส์ กรุ๊ป

            CEOภาวะผู้นำ Bill Gates Steve Ballmer Satya Nadella
    • ๑.มีวิสัยทัศน์
    มีวิสัยทัศน์ทางด้านเทคโนยีสร้างสรรค์โปรแกรม-ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ   ช่วยให้คนใช้คอมพิวเตอร์ทำงานง่ายขึ้น   เช่น วินโดวส์ออฟฟิศ มีเดียเพลเยอร์ เอ็มเอสเอ็น ไออี และเอ็กซ์บ็อกซ์ เป็นต้น   ด้วยความเชื่อว่า “ต่อไปในอนาคตคอมพิวเตอร์จะเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญต่อการใช้ชีวิตของมนุษย์   และเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับทุกบ้าน” นอกจากนี้   เกตส์ยังมีวิสัยทัศน์ทางด้านธุรกิจ เนื่องจากภายใต้การบริหารของเกตส์ บริษัท Microsoft   ได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง   และเป็นการพัฒนาในลักษณะนำตลาดอยู่เสมอในด้านของเทคโนโลยี ซึ่งทำให้บริษัท Microsoft ยังคงสามารถรักษาฐานการตลาดไว้ได้อย่างต่อเนื่อง มีวิสัยทัศน์ทางด้านธุรกิจและการบริหาร   เช่นเซิร์ฟเวอร์ เอกสาร ฐานข้อมูลยุคบัลเมอร์เป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงที่ไกลเกินกว่าเทคโนโลยีพีซีด้วยวิธีแบ่งแผนกของพนักงานตามกลุ่มทักษะความสามารถนอกจากบริษัท Microsoft   จะทำเงินจากช่องทางหลักอย่างธุรกิจระบบปฏิบัติการณ์วินโดวส์และชุด   Microsoft Office แล้ว บัลเมอร์ยังได้แตกแขนงธุรกิจใหม่ๆ   ได้แก่ แผนกศูนย์ข้อมูล แผนกอุปกรณ์และความบันเทิง Xbox ซึ่งเป็นอุปกรณ์เกมคอนโซล   เป็นต้น มีวิสัยทัศน์ทางด้านเทคโนโลยี เป็นเป็นผู้นำการริเริ่มตลาดคลาวด์   หรือการให้บริการซอฟต์แวร์ผ่านอินเทอร์เน็ตที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ของบัลเมอร์   และมีแนวคิดว่า โอกาสของMicrosoft ข้างหน้ามีมากมาย แต่การที่จะได้มาซึ่งโอกาสนี้   จะต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน ต้องพัฒนาและปรับตัวอย่างต่อเนื่อง งานของผมคือทำให้พนักงานทุกคนนำความสามารถของตัวเองออกมาใช้ให้ได้เร็วยิ่งขึ้น   เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นนวัตกรรมส่งถึงมือผู้บริโภคได้เร็วมากขึ้น นอกจากนี้   นาเดลลามองว่า โอกาสใหม่ๆ ที่รออยู่ข้างหน้าบังคับให้ Microsoft ต้อง “reimagine” หรือกลับมานึกภาพใหม่ทั้งหมดว่าอนาคตที่เน้นไปที่โลกของอุปกรณ์พกพา   (mobile) และ cloud บริษัทจะทำอะไรใหม่ๆ   บ้าง
    • ๒.ให้ความสำคัญกับทรัพยากรบุคคล
    จากแนวคิดของเกตส์ว่า   “คนฉลาดควรมีอำนาจขับเคลื่อนความคิดรีเริ่ม” เกตส์จึงมุ่งสร้างบริษัท Microsoft ให้เป็นองค์กรแห่งปัญญา โดยการเปิดโอกาสให้พนักงานเข้าถึงข้อมูลของบริษัทได้อย่างทั่วถึง   ให้ได้รับการฝึกให้รู้จักวิเคราะห์ ตีความ และนำข้อมูลไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นพนักงานบริษัท   Microsoft ยังมีช่องทางในการเสนอความคิดเห็นโดยตรงต่อผู้บริหารทุกระดับ เกตส์มองว่าในภาวะเช่นนั้น   ทุกส่วนขององค์กรจะทำงานร่วมกัน เป็นปึกแผ่นเสมือนมันสมองก้อนใหญ่อันชาญฉลาด   และปราดเปรียวเกตส์ทำตัวเป็นตัวอย่าง โดยการเปิดโอกาสให้พนักงานของบริษัททุกคนส่งข่าว และความคิดเห็นไปถึงเกตส์ทางอีเมลล์ได้ตลอดเวลาไม่ว่า   ข่าวร้ายหรือความคิดใหม่ๆ จูงใจพนักงานด้วยการแทนที่โครงการแจกหุ้นของบริษัทด้วยสต็อกออปชั่น   ซึ่งเป็นสิทธิที่เปิดโอกาสให้พนักงานบริษัท Microsoft ซื้อหุ้นบริษัทตามราคาที่กำหนดไว้ จากแนวคิดของนาเดลลาที่ว่า โอกาสของ   Microsoft   ข้างหน้ามีมากมาย แต่การที่จะได้มาซึ่งโอกาสนี้ จะต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน ต้องพัฒนาและปรับตัวอย่างต่อเนื่อง   นำมาซึ่งการให้ความสำคัญกับบุคลากร ดังที่นาเดลลากล่าวว่า งานของผมคือทำให้พนักงานทุกคนนำความสามารถของตัวเองออกมาใช้ให้ได้เร็วยิ่งขึ้น   เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นนวัตกรรมส่งถึงมือผู้บริโภคได้เร็วมากขึ้น
    • ๓.มีคุณธรรมและจริยธรรม
    เกตส์ตระหนักถึงความสำคัญของครอบครัว   เป็นตัวอย่างของสามีและแฟมิลี่แมนที่ดี นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการตอบแทนสังคม   โดยการจัดตั้งมูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์ในการให้ความช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทั่วโลก   และเป็นตัวอย่างในการบริจาคเพื่อการกุศลและและกิจกรรมเพื่อสังคม บัลเมอร์มีความรับผิดชอบต่อองค์กรและการตัดสินใจของตนเอง   ดังจะเห็นได้จากแนวคิดของบัลเมอร์ที่มองการบริหารบริษัท Microsoft ที่เคยใช้งานได้มาตลอดนั้นไม่เหมาะสมกับยุคปัจจุบัน และเขาต้อง "คิดใหม่ทำใหม่" ทั้งหมด บัลเมอร์ร่างแผนโครงสร้างองค์กรใหม่   และเริ่มปรับวิธีการทำงานทันที แต่เดิมที่ใช้วิธีประชุมกับผู้บริหารแต่ละฝ่ายของ   Microsoft เป็นรายคน และสั่งงานตามที่ต้องการ   เปลี่ยนเป็นการนัดผู้บริหารหลายๆ   ฝ่ายมาประชุมร่วมกันเพื่อสร้างบรรยากาศของการทำงานร่วมกันอย่างไรก็ดี   การปรับตัวของผู้บริหารก็ไม่เกิดขึ้นง่าย   เพราะคุ้นเคยกับระบบการทำงานแบบเก่าที่บัลเมอร์ใช้มา 30 ปี   เมื่อเจอกับอุปสรรคเหล่านี้ บัลเมอร์เข้าใจว่าเขาฝึกผู้บริหารของ   Microsoft ให้ทำงานแบบแยกส่วน   ดูเฉพาะงานของตัวเองและไม่เห็นภาพรวมของทั้งบริษัท   ทำให้ทีมผู้บริหารไม่เข้าใจถึงความพยายามเปลี่ยนแปลงของเขาเท่าที่ควร จนในที่สุดบัลเมอร์ตัดสินใจว่า   บางทีเขาอาจเป็นสัญลักษณ์ของ Microsoft ยุคเก่า   และถึงเวลาที่เขาต้องไปสักที (Maybe I'm an emblem of an old era, and I   have to move on)

    หากวิเคราะห์คุณลักษณะของผู้นำทั้ง ๓ คน สามารถสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

    • ๑.ทั้ง เกตส์ บัลเมอร์ และนาเดลลา ต่างผูกพันกับบริษัท Microsoft และเป็นผู้นำที่เติบโตมาพร้อมๆ กับ บริษัท Microsoftทั้งสิ้น ดังจะเห็นได้จาก เกตส์และบัลเมอร์ ในฐานะผู้ก่อตั้งและพนักงานรุ่นแรกของ บริษัท Microsoft ตามลำดับ รวมทั้ง นาเดลลาในขณะที่อายุ ๒๕ ปี (ปัจจุบันอายุ ๔๖ ปี) ก็ได้เข้าทำงานกับ บริษัท Microsoftดังนั้น จากความผูกพันและจงรักภักดีต่อองค์กร ผู้นำทั้ง ๓ คน น่าจะมีมุมมองและความตั้งใจที่จะพัฒนาบริษัทไปในทิศทางที่ดีที่สุด เพื่อให้องค์กรยังคงความเป็นผู้นำตลาดอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน นอกจากนี้ ผู้นำทั้ง ๓ คน น่าจะมีแนวคิดต่อวัฒนธรรมองค์กรที่คล้ายคลึงกัน เนื่องจากความผูกพันที่มีต่อองค์กรอย่างยาวนาน
    • ๒.ถึงแม้ว่าทั้ง เกตส์ บัลเมอร์ และนาเดลลา จะมีความคล้ายคลึงกันในแง่ของความผูกพันและจงรักภักดีต่อองค์กร อย่างไรก็ดี ผู้นำแต่ละคนก็มีความสามารถในการนำองค์กรและทิศทางในการบริหารองค์กรที่แตกต่างกัน เช่น ในขณะที่ภายใต้การนำของเกตส์ ที่ควบทั้งงานบริหารและงานเทคโนโลยี เกตส์ให้บัลเมอร์ช่วยดูแลงานในด้านธุรกิจ จนเรียกได้ว่า บริษัท Microsoft ในยุคแรกๆ ถ้าไม่มีบัลเมอร์ มีแต่เกตส์ บริษัท Microsoft อาจมาไม่ได้ไกลขนาดนี้ อย่างไรก็ดี เมื่อบัลเมอร์ต้องนำบริษัท Microsoft ด้วยตัวเอง โดยไม่มีผู้นำด้านเทคโนโลยีอย่างเกตส์เป็นแนวร่วมเหมือนเดิม ประกอบกับอุตสาหกรรมไอทีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก เทคโนโลยีด้านพีซีที่ บริษัท Microsoft เคยครองตลาดอยู่เริ่มไม่สำคัญเท่าเดิม ทำให้ บริษัท Microsoft ในยุคบัลเมอร์เริ่มแสดงความอ่อนแอให้เห็น ทั้งนี้ สำหรับนาเดลลาน่าจะมีจุดแข็งที่จะมาตอบโจทย์การเป็นผู้นำ Microsoft ได้ดีกว่า บัลเมอร์ เนื่องจาก บัลเมอร์ไม่ได้มีพื้นฐานทางด้านวิศวกรรม ทำให้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในยุคหลังๆ ของ Microsoft มีปัญหาค่อนข้างมาก ซึ่งนาเดลลาที่เติบโตมาทางด้านวิศวกรรมน่าจะมาปิดจุดอ่อนตรงนี้ได้ดีกว่า

    ข้อ ๒. ธุรกิจของ Microsoft ที่แบ่งเป็น 3 ช่วงนั้น มีความแตกต่างอย่างไร และสามารถนำมาประยุกต์กับ กฟผ. ได้อย่างไร

    เมื่อพิจารณาธุรกิจของ Microsoft ที่แบ่งเป็น 3 ช่วง ตามแนวทางการนำองค์กรของผู้นำทั้ง ๓ คน นั้น พบว่า

    ในยุคการนำของเกตส์ และในฐานะผู้ก่อตั้งบริษัท Microsoft จากธุรกิจเล็กๆ จนกลายเป็นธุรกิจใหญ่ระดับโลก เป็นยุคของความเจริญรุ่งเรือง และมีผลิตภัณฑ์ใหม่ต่างๆ ออกมามากมาย เริ่มจากการพัฒนาและออกจำหน่ายตัวแปลภาษาเบสิก สำหรับเครื่องแอทแอร์ 8800 หลังจากนั้น Microsoft เริ่มมีอิทธิพลต่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์ภายในบ้าน โดยการออกระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ดอส ในสายการผลิตของไมโครซอฟท์ วินโดวส์ โดยได้รับความนิยมจากผู้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี Microsoft ได้เริ่มครอบงำตลาดซอฟต์แวร์อื่นๆ โดยMicrosoft มีกิจการอื่นๆ ของตัวเองเช่น MSNBC (ดำเนินธุรกิจเคเบิลทีวี) เอ็มเอสเอ็น (ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต) และเอ็นคาร์ทาร์ (ดำเนินธุรกิจสารานุกรมออนไลน์) บริษัทยังดำเนินกิจการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์อีกด้วย เช่น เมาส์ และอุปกรณ์ความบันเทิงต่าง ๆ เช่น XboxXbox 360ซูน และเอ็มเอสเอ็น ทีวี บริษัทได้นำหุ้นเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ โดยราคาหุ้นของไมโครซอฟท์อยู่ในภาวะมั่นคง

    อย่างไรก็ดี ตั้งแต่บัลเมอร์รับตำแหน่งซีอีโอของไมโครซอฟท์ต่อจากเกตส์ในปี 2000 เทคโนโลยีเริ่มเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคอินเตอร์เน็ตเบส (www) ส่งผลให้มีการแข่งขันในธุรกิจดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างมาก การก้าวเข้ามามีบทบาทของอินเทอร์เน็ต ส่งผลให้ต้นทุนการให้บริการต่ำลง รวมถึงการเข้าถึงผู้บริโภคง่ายขึ้นอย่างมาก ซึ่งย่อมส่งผลกระทบโดยตรงกับบริษัท Microsoft ดังนั้น Microsoft จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงแนวทางการทำธุรกิจจาก passive เป็น active อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนแปลงลักษณะดังกล่าวไม่สามารถทำสำเร็จได้ในช่วงข้ามคืน ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา Microsoft จึงถูกมองว่าเป็นยักษ์หลับ เช่นเดียวกับ บริษัทยักษ์ใหญ่อื่น ๆ เช่น Nokia เป็นต้น

    ทั้งนี้ เนื่องจากบัลเมอร์เป็นผู้นำที่เน้นด้านการบริหารมากกว่าเทคโนโลยี จึงดูเสมือนว่าแทนที่ Microsoft จะได้ใช้เวลาไปกับการพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อย่างเต็มที่ บัลเมอร์กลับออกกฎระเบียบใหม่ๆ จำนวนมาก ที่คิดว่าจะช่วยให้สามารถบริหารองค์การที่โตขึ้นได้ดีกว่าเดิม แต่มาตรการดังกล่าวกลับทำให้การทำงาน Microsoft ช้าลงมาก ลักษณะการบริการงานของบัลเมอร์คล้ายกับระบบราชการมากกว่าระบบงานขององค์การชั้นนำด้านไอทีMicrosoft ได้ฝากอนาคตทั้งหมดไว้กับรายได้จาก Windows ที่เป็นผลิตภัณฑ์ของทศวรรษที่แล้ว กล่าวคือ ยอดขายถึง 80% และกำไรถึง 140% ของบริษัทมาจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อย่างเครื่องเล่นวิดีโอเกมส์ Xbox บริการอินเทอร์เน็ต MSN และซอฟท์แวร์สำหรับโทรศัพท์มือถือและองค์การขนาดเล็กกลับมียอดขาดทุนสะสม Microsoft ได้สูญเสียผู้จัดการ นักการตลาด และนักพัฒนาซอฟท์แวร์ชั้นยอดจำนวนมากให้กับคู่แข่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Googleจนในที่สุดบัลเมอร์ก็ตระหนักว่าองค์กรของ Microsoft ที่เคยใช้งานได้มาตลอดนั้นไม่เหมาะสมกับยุคปัจจุบัน และเขาต้อง "คิดใหม่ทำใหม่" ทั้งหมด อย่างไรก็ตาม การปรับตัวของผู้บริหารก็ไม่เกิดขึ้นง่าย เพราะคุ้นเคยกับระบบการทำงานแบบเก่าที่บัลเมอร์ใช้มา 30 ปี เมื่อเจอกับอุปสรรคเหล่านี้ บัลเมอร์ก็เริ่มเข้าใจว่าเขาฝึกผู้บริหารของไมโครซอฟท์ให้ทำงานแบบแยกส่วน ดูเฉพาะงานของตัวเองและไม่เห็นภาพรวมของทั้งบริษัท ทำให้ทีมผู้บริหารไม่เข้าใจถึงความพยายามเปลี่ยนแปลงของเขาเท่าที่ควร

    สำหรับนาเดลลานั้นถือเป็นผู้บริหารที่สร้างสรรค์หนึ่งในจุดแข็งของ Microsoft นั่นคือ คลาวด์ คอมพิวติ้ง หรือการให้บริการซอฟต์แวร์ผ่านอินเทอร์เน็ตที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ของบัลเมอร์ ซีอีโอคนก่อน ซึ่งเป็นข้อดีอย่างหนึ่ง เพราะการมีความเข้าใจต่อระบบคลาวด์ก็จะส่งผลให้พัฒนาบริการต่างๆ ออกมาดีขึ้น ที่ต้องยอมรับคือทุกวันนี้ ระบบปฏิบัติการวินโดว์สและออฟฟิศซึ่งเป็นตัวสร้างรายได้หลักให้ Microsoft กำลังเดินสู่ขาลง แต่ทั้งนี้อีกมุมหนึ่งแม้ตลาดหดตัวแต่ในฐานะที่ผูกขาดตลาดมานานหากจับทางได้ถูกอาจเป็นไปได้ที่จะดึงจุดแข็งดังกล่าวมาสร้างกำไรได้อีกมหาศาล Microsoft จึงควรมีผู้นำคนใหม่ที่จะนำพาบริษัทเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคโมบาย พร้อมแข่งขันกับคู่แข่งตัวฉกาจอย่างแอ๊ปเปิ้ล อิงค์ และกูเกิลอิงค์ ดังนั้น มรดกที่นาเดลลาไม่อาจเลี่ยงได้คือแรงกดดันที่จะต้องนำพาบริษัทโดดเด่นให้ได้ในตลาดโมบาย ในขณะที่อุตสาหกรรมพีซีเริ่มถดถอยลง รวมถึงติดอาวุธให้ธุรกิจจากบรรดากิจการที่ซื้อเข้ามา โดยเฉพาะธุรกิจมือถือจากโนเกียที่นับเป็นความหวังใหม่ช่วยฟื้นการเติบโตให้ Microsoft ยุคที่สมาร์ทโฟนแย่งซีนพีซี ทั้งนี้ หากพิจารณาจากวิสัยทัศน์ของนาเดลลาที่จะเน้นไปยังเรื่องของอุปกรณ์พกพาว่า “ก่อนหน้านี้ จุดมุ่งหมายของ Microsoft คือการเข้าถึง PC ทุกเครื่องในที่ทำงานและที่บ้าน ซึ่งบริษัทได้ประสบความสำเร็จแล้วในประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ในวันนี้ จุดมุ่งหมายของบริษัทคืออุปกรณ์ที่กว้างขึ้นมาก ซึ่ง Microsoft ยินดีต้อนรับ Nokia เข้ามาอยู่ในครอบครัว โดย Nokia จะมาพร้อมกับอุปกรณ์ บริการ และความสามารถทาง mobile ใหม่ๆ โอกาสใหม่ๆ ที่รออยู่ข้างหน้าบังคับให้ Microsoft ต้อง “reimagine” หรือกลับมานึกภาพใหม่ทั้งหมดว่าอนาคตที่เน้นไปที่โลกของอุปกรณ์พกพา (mobile) และ cloud บริษัทจะทำอะไรใหม่ๆ บ้าง” แล้วคาดว่า คงจะได้เห็น Microsoft ที่รุกตลาดของ mobile และ cloud อย่างจริงจังมากขึ้น เพราะนาเดลลาได้พูดถึงกลยุทธ์ที่จะผลักดัน “mobile-first และ cloud-first” ในทุกๆ สิ่งที่ Microsoft จะทำหลังจากนี้ อย่างไรก็ดี นาเดลลาอาจต้องการผู้สนับสนุนที่เก่งด้านการบริหารองค์กรมาช่วยด้วย เนื่องจาก ดูเหมือนว่านาเดลลายังไม่มีประสบการณ์ด้านการบริหารองค์กรขนาดใหญ่มาก่อน

    ประเด็นที่ กฟผ. สามารถเรียนรู้ได้จากบริษัท Microsoft สามารถสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

    • ๑.วิสัยทัศน์ขององค์กร ในการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งปัจจัยภายในและภายนอกองค์กร และปรับปรุงองค์กรให้สามารถสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นได้อย่างยั่งยืน ยกตัวอย่างเช่น ถึงแม้ว่า Microsoft จะยังคงครองตลาดระบบปฏิบัติการของพีซีกว่า ๘๐% อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคจากการใช้งานพีซีไปสู่ Mobile devices มากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้จำนวนผู้ใช้พีซีน้อยลงโดยเฉพาะในตลาด consumer ประกอบกับ Microsoft ไม่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคได้อย่างทันท่วงที ส่วนแบ่งตลาด Mobile devices น้อยกว่าที่ควรจะเป็นหากเปรียบเทียบกับพีซี ส่งผลให้ผลประกอบการลดลง เช่นเดียวกับสถานการณ์ของ กฟผ. ในปัจจุบันที่กำลังเสียส่วนแบ่งด้านการผลิตไฟฟ้าให้กับเอกชน ถึงแม้ว่าจะเป็นนโยบายรัฐบาลก็ตาม ประกอบกับการที่ประชาชนในปัจจุบันสามารถเข้าถึงสื่อได้อย่างรวดเร็วและตระหนักถึงความปลอดภัยของสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ส่งผลให้ กฟผ. ไม่สามารถสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ๆ ได้ หรือการสร้างดำเนินการไปด้วยความล่าช้า นอกจากนี้ ในปี 2015 AEC จะเริ่มดำเนินการ ส่งผลให้ กฟผ. จะมีทั้งโอกาสและอุปสรรคในการดำเนินการในขณะเดียวกัน ดังนั้น กฟผ. จะต้องคาดการณ์สภาวการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นให้แม่นยำ และวางแผนปรับปรุงองค์กรหรือบริหารองค์กรให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น เพื่อให้ กฟผ. ยังคงเป็นหนึ่งในด้านการผลิตไฟฟ้า และคงอยู่คู่กับคนไทยอย่างยั่งยืนต่อไป
    • ๒.การกำหนดยุทธศาสตร์ ให้สอดรับกับความต้องการของลูกค้า พฤติกรรมการใช้พลังงานของผู้บริโภคและแหล่งพลังงานที่ขาดแคลนและต้นทุนสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น กฟผ. ในฐานะรัฐวิสาหกิจจะต้องบริหารงานด้วยความตระหนักถึงประเทศชาติและประชาชนอย่างแท้จริง รวมถึงการบริหารต้นทุนให้มีประสิทธิภาพสูงสุดอย่างแท้จริง และสร้างความตระหนักถึงให้กับประชาชนด้วย
    • ๓.การพัฒนาบุคลากรและรักษาบุคลากรให้คงอยู่กับองค์กร การกำหนดวิสัยทัศน์ การกำหนดยุทธศาสตร์ และการปรับปรุงองค์กรที่กล่าวข้างต้นจะเกิดขึ้นอย่างสัมฤทธิ์ผลทั่วทั้งองค์กรไม่ได้ หากบุคลากร กฟผ. ไม่ให้ความร่วมมือ และไม่พร้อมที่จะรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ดังจะเห็นได้จากกรณี Microsoft สมัยบัลเมอร์ที่ต้องการปรับปรุงองค์กร แต่บุคลากรยังไม่พร้อมที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งมีบุคลากรที่เป็นหัวกะทิหลายรายลาออกและไปอยู่กับบริษัทคู่แข่ง เป็นต้น

    ดังนั้น ถึงแม้ว่า กฟผ. จะเป็น Market dominant ในปัจจุบัน แต่หาก กฟผ. ไม่ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจ กฟผ. อาจต้องเผชิญปัญหาเช่นเดียวกับบริษัท Microsoft กฟผ. จึงควรเตรียมพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อไป

    ---------------------------------------------------------------------

    เทพรัตน์ เทพพิทักษ์ กลุ่ม 3

    งานตกค้าง 1วัน

    13 กุมภาพันธ์ 2557ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม

    หัวข้อ เกษตรทางเลือกและเรื่องเครือข่ายชุมชน โดย อ.ทิวาพร ศรีวรกุล

    เป็นลักษณะศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน ให้ผู้สนใจเข้ามาเยี่ยมชม ทั้งที่เป็นเกษตรกรและคนทั่วไป

    เป้าหมายเพื่อให้ความรู้และต้องการดึงศักยภาพของเกษตรกรออกมา สร้างความเชื่อมั่นและต้องเป็นกลไกหนึ่งในสังคม

    ประชากรในโลกมี 7,000 ล้านคน ในอนาคตอาหารเป็นเรื่องสำคัญ วิกฤติอาหารประเทศไทยเกิดแน่ ๆ เพราะพฤติกรรม และการสั่งสอน ไม่ได้สอนเกี่ยวกับ พืชพรรณ ธัญญาหาร

    มองว่าทำอย่างไรจะสามารถยกระดับฝีมือ เพิ่มทักษะที่มีคุณภาพ

    หลักการจัดการความรู้ การมีส่วนร่วม การบริหารชุมชนระดับชาติ เช่น หลักเกณฑ์ในการเวนคืนที่ดินยังไม่เป็นธรรม จัดที่ให้แล้วก็นำไปขายเพราะไม่พอกิน ไม่มีหนทางทำกิน จึงต้องคิดหาหนทางให้ชาวบ้านมีรายได้และสร้างความเข้าใจร่วมกัน บางครั้งรุ่นพ่อ รุ่นแม่เข้าใจ แต่รุ่นลูกก็ไม่เข้าใจ

    ต้องปรับปรุงแนวคิดและทัศนคติ การปฏิรูปประเทศเป็นหน้าที่ของทุกภาคส่วนที่ควรหันมามองร่วมกันว่าจะทำอย่างไร

    สมุนไพร

    ฟักข้าว ใบใช้ทำยาเขียว เนื้อในเมล็ดใช้รักษาวัณโรคในปอด แผล ฝี หนอง ได้ฉายาว่าผลไม้สวรรค์กินแล้วหนุ่มสาว ใช้บำรุงสายตา มีสารเบตาแคโรทีนมากกว่าแครอท 10 เท่า มีไลโคปินสารต้านมะเร็ง

    สาบเสือ–น้ำหวานในดอกสาบเสือเป็นยา น้ำผึ้งดอกสาบเสือจึงขายแพงกว่าน้ำผึ้งปกติ

    สบู่ดำ–น้ำมันในเมล็ดไปทำพลังงาน ใช้ยางแต้มปากนกกระจอก กิ่งสบู่ดำใช้ป้องกันแมลง ใช้เสริมภูมิแพ้คนเป็นเอดส์ สะเดา –ใช้ไล่แมลง

    น้อยหน่า – ใบ เมล็ดเอามาไล่แมลง

    หางไหล– ป้องกันแมลง

    ใบหนาด–สกัดน้ำมันหอมระเหย อโรม่า

    แมงลักคา– ค่าเชื้อแบคทีเรียในคน ใช้ไล่แมลงได้

    กัญชาป่า–ลดเบาหวาน แก้นอนไม่หลับ แก้ไข้ ใช้กับคนเป็นเอดส์

    หัวข้อ พลังงานทางเลือกและการจัดการพลังงาน อ.ยุทธการ มากพันธ์

    สิ่งที่ต้องคือน้ำมันและพลังงานทดแทน ของเสียจากอุตสาหกรรมสามารถผลิตเป็นพลังงานคืนได้ เช่นพลาสติกสามารถเป็นน้ำมันได้ 90% ถ้ามีการปรับจูนที่ดี

    ผลเสียจากการเผาถ่านหิน การย่อยสลายที่นาน มีสารประกอบบางชนิดทีไม่สามารถย่อยสลายได้

    พลังงานทดแทน

    - แสงอาทิตย์สำคัญที่สุด เป็นพลังงานสะอาด ไทย มีโอกาสมากเนื่องจากมีแสงแดดยาวนาน เป็นพลังงานที่มีศักยภาพสูง แต่ต้องดูว่ามีพื้นที่ไหนเหมาะสมที่สุด

    - พลังงานลม ไทยไม่ค่อยมีศักยภาพ ขึ้นกับควรใช้แบบใดกับบ้านเรา

    - ชีวมวล ปัญหาที่พบคือเรื่องความชื้น

    - เทคโนโลยี Gasification มีศักยภาพสูง แต่ไม่ได้พัฒนาเท่าที่ควร เช่น ถ้าได้ค่าความร้อนต่ำ ก็อาจเอาน้ำมันเชื้อเพลิงมาผสมก็จะได้พลังงานมากขึ้น

    -น้ำ ถ้าวางแผนการผันน้ำให้ดี จะช่วยให้ได้พลังงานสูงขึ้น

    นอกจากนี้ยังได้ดูภูมิปัญญาชาวบ้านในการใช้พลังานนอย่างคุ้มค่าในรูปแบบต่างๆ

    จิราพร ศิริคำ ฝ่ายวางแผนระบบไฟฟ้า

    ภาวะผู้นำของ CEO บริษัท Microsoft

    1.Bill Gates: มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีความสามารถพิเศษในการมองอนาคตของธุรกิจต่างๆ ที่เขาสนใจได้ชัดเจน และ เห็นภาพก่อนที่มันจะเกิดขึ้น บุคลิกที่โดดเด่น ประกอบด้วย ความกล้า ความท้าทาย อดทนไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก มีภาวะผู้นำโดยธรรมชาติ ทำธุรกิจด้วยความรัก และความชอบ มีเป้าหมายของธุรกิจที่ชัดเจน นำเสนอสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้า

    จุดเด่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว ก็คือ เป็นคนมีมนุษยธรรม มีปรัชญาการดำเนินชีวิตที่ดีงาม เป็นมหาเศรษฐีที่รู้จักพอเพียง

    2.Steve Ballmer: มีภาวะผู้นำเรื่องการมีมนุษยสัมพันธ์ สื่อสารข้อมูลที่สำคัญให้แก่พนักงานได้รับรู้ และเข้าใจ เปิดโอกาสให้พนักงานวิพากวิจารณ์ มีความกล้าหาญและเชื่อมั่น มีการบริหารแบบแยกส่วน ต้องการเปลี่ยนแปลงเพื่อความสำเร็จในทุกด้าน

    3.Satya Nadella: มีวิสัยทัศน์ด้านธุรกิจ และเทคโนโลยีมีความสามารถทำให้ทุกคนร่วมมือกันได้ มุ่งที่การพัฒนานวัตกรรม และเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่แก่ลูกค้า

    ธุรกิจของ Microsoft แบ่งเป็น 3 ช่วง

    1.ช่วงก่อตั้งจนถึงรุ่งเรือง

    ปีค.ศ. 1975 Bill Gates และ Paul Allen ได้ร่วมกันก่อตั้ง Microsoft โดยนำภาษาเบสิกมาพัฒนาขึ้นเองวางตลาด ชื่อ ไมโครซอฟต์เบสิก กลายมาเป็นรากฐานให้แก่ธุรกิจลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ซึ่งถูกผนวกเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ในบ้านและเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลส่วนใหญ่ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 70 และ 80 พวกเขาเผยโฉม ซอฟต์แวร์ใหม่ภายใต้แนวความคิด “real-time collaboration solution” เน้นให้ธุรกิจหันมาใช้ ซอฟต์แวร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง รองรับเศรษฐกิจยุคน้ำมันราคาแพง แนวคิด r-t-c-s คือการประยุกต์ใช้ความสามารถที่มีอยู่ในรูปแบบเรียลไทม์ทั้งหมด ได้แก่ การประชุมผ่านเว็บ บริการส่งข้อความทันใจ และเทคโนโลยี VoIP(Voice over IP)เข้าด้วยกันเพื่อใช้ในการจัดประชุมเสมือนจริง มีการพัฒนาระบบปฏิบัติการ MS-Dos ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์ โปรแกรม อินเทอร์เน็ต เอกซ์พลอเรอร์ทำให้ Microsoft กลายเป็นองค์กรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก

    ในฐานะสถาปนิกซอฟต์แวร์ ได้เพิ่มความหลากหลายของประเภทสินค้าไปอย่างกว้างขวาง และเมื่อสินค้านั้นครองตำแหน่งสินค้ายอดนิยมในบรรดาประเภทเดียวกันแล้ว ก็จะพยายามทุกวิถีทางเพื่อป้องกันตำแหน่งนั้นไว้ ทำให้หน่วยงานของรัฐที่ควบคุมการแข่งขันทางการตลาดจับตามอง และในบางกรณีถูกวินิจฉัยว่าทำผิดกฎหมาย เช่น Microsoft ถูกฟ้องในข้อหาผูกขาดทางการตลาดจากการรวมเอาอินเทอร์เน็ต เอกซ์พลอเรอร์ ไว้ในระบบปฏิบัติการวินโดวส์

    2.ช่วงอิ่มตัวสู่การถดถอย

    Steve Ballmer ร่วมงานกับ Microsoft ตั้งแต่เดือน มิถุนายน ค.ศ. 1980 เป็นหนึ่งในบุคคลที่ได้รับความไว้วางใจสูงสุดจาก Bill Gates เขาได้รับการผลักดันให้ก้าวขึ้นเป็น CEO อย่างเต็มตัวตั้งแต่ เดือนมกราคม ค.ศ. 2000 ถือเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสร้างความเจริญเติบโตให้ Microsoft ตั้งแต่เขาเป็น CEO รายได้ต่อปีของ Microsoft พุ่งขึ้นจากระดับ 25,000 ล้านดอลลาร์ เป็นกว่า 70,000 ล้านดอลลาร์ ขณะที่รายได้สุทธิของบริษัทก็ปรับเพิ่มขึ้นถึง “ 215 เปอร์เซ็นต์” เป็นกว่า 23,000 ล้านดอลลาร์

    ในเวลาต่อมาขณะที่ความต้องการของผู้บริโภคไม่มีที่สิ้นสุดและบุคลากรด้านซอฟต์แวร์ของบริษัทต้องการทำในสิ่งที่ใหม่ที่ท้าทาย แต่บริษัทกลับยึดยุทธศาสตร์ที่ว่า จะใช้ประโยชน์จาก Windows และOffice ในการผูกขาดตลาด ทำให้บริษัทต้องเผชิญวิกฤติที่สำคัญนั่นคือ การเสียโอกาสในการนำเสนอ นวัตกรรมใหม่ๆสู่ตลาด บริษัทจึงต้องสูญเสียคนเก่งที่มีความเป็นเลิศด้านซอฟต์แวร์ไปเป็นจำนวนมาก อีกทั้งการอาศัยWindows และ Office เป็นหลักไม่มีการสร้างนวัตกรรมใหม่ ทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ ผลประกอบการเริ่มลดลงเรื่อยๆ เกิดผลกระทบทั้งภายในและภายนอกองค์กร จึงเป็นช่วงถดถอย ซึ่งเป็นปัญหา และวิกฤติที่หนักมากที่ CEO ต้องแก้ไขและนำพาองค์กรให้ข้ามพ้นไปให้ได้

    3.ช่วงปรับเปลี่ยนเพื่อความอยู่รอดและกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง

    Satya Nadella เป็นผู้นำการริเริ่มตลาดคลาวด์ หรือการให้บริการซอฟต์แวร์ผ่าน อินเตอร์เน็ต มาร่วมงานกับ Microsoft เมื่อปี ค.ศ. 1992 และเลื่อนขั้นอย่างรวดเร็วด้วยบทบาทผู้นำในการพัฒนาโปรแกรม ออฟฟิศ และระบบค้นหาข้อมูลบิง จนกระทั่งได้ตำแหน่งให้เป็นผู้นำแผนกเซิร์ฟเวอร์ในปีค.ศ. 2011 เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็น CEO ต่อจาก Steve Ballmer ในปี ค.ศ.2014 ซึ่งเป็นช่วงที่ Microsoft กำลังเผชิญกับสภาวะถดถอยของอุตสาหกรรมพีซี และจำเป็นต้องดำเนินการบางอย่างเพื่อท้าทายแอปเปิล อิงค์และกูเกิลอิงค์ ในอาณาจักรใหม่ของคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ ซึ่งเขามีวิสัยทัศน์ในการพัฒนานวัตกรรม และเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ให้แก่ลูกค้า

    การปรับเปลี่ยนตำแหน่งผู้บริหาร ใน Microsoft ได้รับการขานรับอย่างดีจากผู้เชี่ยวชาญ โดยบางคนชื่นชมว่า ทำให้ Microsoft มีภาพลักษณ์ใหม่ที่สร้างสรรค์ และกระฉับกระเฉงเหมือนแอปเปิลมากขึ้น และลดความเป็นไอบีเอ็มลง ดังนั้นในยุคของ Satya Nadella ถือเป็นช่วงที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนที่สำคัญเกิดขึ้นอย่างมากมาย เป็นที่คาดหวังของ Stakeholder ในการแย่งส่วนแบ่งตลาดกลับคืนมาเป็นของบริษัทให้ได้ รวมทั้งคาดหวังให้ Microsoft กลับมาผงาดเป็นองค์กรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกได้อีกครั้ง

    การนำมาประยุกต์ใช้กับ กฟผ.

    กฟผ. และ Microsoft เป็นองค์กรขนาดใหญ่ ที่มีประสบการณ์ที่ผ่านในแต่ละช่วงคล้ายๆกัน เพียงแต่ว่าแตกต่างกันบ้างในด้านที่Microsoft เป็นองค์กรเอกชนต้องเผชิญกับสภาวะการแข่งขันที่เข้มข้น รุนแรงมาโดยตลอดทุกช่วงเวลา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการมีภาวะผู้นำที่ยอดเยี่ยมของผู้บริหารว่าเป็นพลังขับเคลื่อนองค์กรให้อยู่รอดและยิ่งใหญ่ได้ ในขณะที่ กฟผ.เป็นหน่วยงานของรัฐ ต้องดำเนินธุรกิจในกรอบที่พรบ. กำหนดในยุคแรกๆ นโยบายรัฐให้กฟผ.เป็นผู้ผลิตกระแสไฟฟ้า 100 % เมื่อประกอบกับภาวะผู้นำที่ดีของผู้บริหารจึงทำให้ประสบความสำเร็จ ผ่านช่วงบุกเบิก และรุ่งเรืองมาได้ไม่ยากนัก

    ต่อมาเริ่มเข้าสู่ช่วงถดถอย เนื่องจากนโยบายของรัฐบาล ทำให้ส่วนแบ่งตลาดลดลง มีคู่แข่งมากขึ้นแต่ต้องดำเนินการในกรอบที่ พรบ. กำหนด และปัจจุบันมาถึงช่วงที่ 3 คือ ช่วงที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง เนื่องจาก สภาวะการณ์ของโลกเปลี่ยนแปลงไปทุกเวลา พลังงานของโลกกำลังจะหมด การเจริญเติบโต จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ความต้องการใช้ไฟที่เพิ่มขึ้น นโยบายของรัฐบาลที่เปลี่ยนไป คู่แข่งมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นขณะที่ส่วนแบ่งตลาดมีแนวโน้มลดลง ฯลฯล้วน มีผลโดยตรงต่อการดำเนินการของกฟผ.ทั้งสิ้น

    การเรียนรู้จาก Case Study บริษัท Microsoft สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างดียิ่งในเรื่องการตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงทุกองคาพยบของ กฟผ. โดยที่ ผู้นำของกฟผ.ต้องมีความแม่นยำในการคาดการณ์ ต้องกล้าตัดสินใจทำในสิ่งที่ท้าทาย กำหนดทิศทาง วางแผน สร้างนวัตกรรมใหม่ให้มีขึ้น ปรับเปลี่ยนกระบวนการ พัฒนาให้พนักงานมีศักยภาพ สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิผล ปรับเปลี่ยน Mindset ฯลฯ เพื่อที่จะนำพาพนักงานและองค์กรให้อยู่รอด และเติบโตได้อย่างยั่งยืนไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ทั้งยังต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่ประเทศชาติ ประชาชน และ Stateholders จะได้รับควบคู่กันไปด้วย

    ทั้งนี้ การปรับเปลี่ยนเพื่อการเปลี่ยนแปลงสู่การกลับมาเป็นองค์กรที่ยิ่งใหญ่ได้อีกครั้งหนึ่งนั้นต้องอาศัยผู้นำ และความร่วมมือร่วมใจของทุกคนในองค์กร

    ชัยวัฒน์ มานะพันธุ์พงศ์

    Learning Log

    Author’s Name :ชัยวัฒน์ มานะพันธุ์พงศ์

    Log Date :21/03/57

    Topic :Mind Mapping สำหรับผู้บริหาร และการวางแผนงานวิจัยและโครงการเชิงนวัตกรรม
    โดย อาจารย์ดำเกิง ไรวา

    Mind Map เป็นเครื่องมือช่วยในการเขียนแผนผังความคิด ได้อย่างอิสระสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะใช้ในด้านการเรียน การทำงาน การบริหาร ฯลฯ

    การเขียน Mind Map ใช้กระดาษเปล่าๆ 1 ใบ ไม่มีเส้นจะดีที่สุด ขนาดอย่างน้อยเท่า A4 ปากกาหลากสี หรือสีดินสอ ปากกาสี หลายๆสียิ่งดี การเขียนจะใช้ข้อความที่เป็นคีย์เวิร์ด มีการใช้สีสันที่หลากหลายเพื่อสร้างจินตนาการ มีการวาดรูปประกอบ เพื่อเพิ่มความจำ และทำให้น่าสนใจ

    7 ขั้นตอนวิธีในการเขียน Mind Map

    • เริ่มวาดที่จุด "กึ่งกลาง" ของกระดาษก่อน ทำไมละ? . Why?
      ก็เพราะว่าการเริ่มต้นที่จุดกึ่งกลางจะทำให้สมองของเราเป็นอิสระ พร้อมที่แตกหน่อความคิดออกไปยังทุกทิศทาง
    • ใช้รูปภาพหรือวาดรูปประกอบไอเดียที่คุณเพิ่งจะเขียนไปตรงจุดกึ่งกลางตะกี้ ทำไมละ?
      ก็เพราะว่ารูปภาพมีความหมายนับล้านคำไงละครับ และยังช่วยให้เราได้ใช้จินตนาการไปในตัวด้วย
      ภาพที่อยู่ตรงกึ่งกลางจะดูน่าสนใจเพิ่มขึ้นทำให้เรามีจุดโฟกัสที่แน่นอน ดึงดูดความสนใจ และทำให้รอยหยักในสมองได้เพิ่มขึ้นด้วย!!
    • ใช้สีหลากสีสัน ทำไม? ก็เพราะว่าสีจะทำให้สมองได้ตื่นตัว ตื่นเต้น สีสันจะทำให้แม็พของพวกเราดูมีชีวิตชีวาน่าอ่านมากยิ่งขึ้น แถมการนั่งวาดภาพระบายสีมันก็ได้ฝึกความคิดสร้างสรรค์ด้วย
    • วาด "กิ่ง" ออกมาจากภาพตรงกลางแล้วแตกกิ่งก้านสาขาออกมาตามที่สมองเราจะคิดได้
      ต้องให้เส้นเชื่อมต่อกันนะครับ เหตุผลก็เพราะว่าสมองของมนุษย์ทำงานแบบเชื่อมโยงเข้าหากัน มันไม่ได้ทำงานแบบโดดเดี่ยวเอกา แต่ทำงานแบบจอยกับอย่างอื่นด้วย
    • วาดเส้นกิ่งให้ "โค้ง" ดีกว่าวาดแบบ "เส้นตรง" เพราะเส้นตรงๆ แข็งทื่อดูน่าเบื่อไป
    • ใช้เพียงแค่ "คีย์เวิร์ด" เท่านั้น สำหรับเส้นกิ่งแต่ละเส้นและคีย์เวิร์ดต้องอยู่บนเส้น ไม่ใช่อยู่ด้านล่างเส้น เหตุผลที่เขียนเฉพาะคีย์เวิร์ดก็เพราะว่า คีย์เวิร์ดแบบโดดๆจะทำให้แม็พของคุณดูมีพลังและยืดหยุ่นได้

    (ข้อมูลการเขียน Mind Map จากบล็อกโอเคเนชั่น)

    ชัยวัฒน์ มานะพันธุ์พงศ์

    Learning Log

    Author’s Name :ชัยวัฒน์ มานะพันธุ์พงศ์

    Log Date :12/02/57

    Topic :นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน (Social Innovation) กับการทำงานของกฟผ.

    โดยครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์
    คุณรังสรรค์ อัฐมโนลาภ
    คุณสุทธเดช สุทธิสมณ์

    โรงไฟฟ้าของ กฟผ. โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ มีการทำงานด้านสังคมชุมชนมาก การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนรอบโรงไฟฟ้า เป็นงานที่โรงไฟฟ้า และเขื่อนให้ความสำคัญ มีการทำอย่างต่อเนื่อง แต่อาจจะมีการประชาสัมพันธ์น้อยเกินไป ไม่เกิดการรับรู้ของสังคมในวงกว้าง มีเพียงชุมชนในพื้นที่ หน่วยงานท้องถิ่น และส่วนราชการในจังหวัดเท่านั้นที่รับรู้ ผลสำเร็จของงานพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนเกิดกลุ่มอาชีพเสริมต่างๆ และกลุ่มเกษตรอินทรีย์ แต่ก็น่าจะนับว่าได้ผลน้อยกว่าที่ลงแรงไปพอสมควร

    แนวคิดการพัฒนาชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงที่ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ ได้ดำเนินการเป็นผลสำเร็จและนำมาแบ่งปันนั้นน่าทึ่งทีเดียว ครูบาเล่าว่า การนำเสนอหรือนำงานต่างๆลงพื้นที่กับชาวบ้านนั้น ต้องเริ่มต้นจากง่ายๆไม่ต้องทุ่มเทแรงกายแรงใจมากนัก แต่ให้มีผลสำเร็จที่จับต้องได้ ชาวบ้านจึงจะสนใจ ท่านยกตัวอย่างเช่นการเพาะเห็ด เริ่มต้นด้วยก้อนเชื้อสำเร็จ สอนชาวบ้านแต่เพียงว่าจะต้องดูแลอย่างไร เมื่อเห็ดออกดอกชาวบ้านได้กินแล้ว เขาจึงจะสนใจทีจะศึกษาและพัฒนาอย่างจริงจัง ปัจจุบันท่านได้ขยายผลถึงพืชอาหาร พืชผักพื้นบ้านต่างๆ ท่านเป็นปราชญ์ชาวบ้านที่พัฒนาชุมชน ช่วยเหลือชาวบ้านมากมายหลายหมู่บ้าน หลายตำบล หลายจังหวัดทีเดียว ท่านสรุปให้ฟังว่า “การทำงานกับชาวบ้าน ต้องเริ่มแบบง่ายๆไม่ต้องวุ่นวาย ให้ได้ผลสำเร็จง่ายๆก่อน แล้วจึงพัฒนาต่อไป” เพราะหากเริ่มต้นยุ่งยากวุ่นวายแล้ว ชาวบ้านจะไม่สนใจตั้งแต่เริ่มเลย

    นอกจากการทำหน้าที่วิทยากร และนักพัฒนาในพื้นที่ต่างๆแล้ว ครูบาท่านยังทำงานเผยแพร่ และให้คำปรึกษาผ่านทางเฟสบุ๊กด้วย ติดตามผลงาน หรือขอคำปรึกษาได้ที่ www.facebook.com/sutthinun.pratchayapruet

    สุขาวดี ศิริจันทร์เพ็ญ

    วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557 (บ่าย)

    บรรยายเรื่อง การสร้างเครื่องมือและการสุ่มตัวอย่างและสถิติเบื้องต้นสำหรับการทำวิจัย

    โดย โดย อาจารย์กิตติ ชยางคกุล และคุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

    1. แผนงาน ในตัวโครงการมีแผนแม่บทอะไร (รวมแผน), แผนย่อยแยกปฏิบัติ ( งบประมาณ /กำลังคน/ Network /ระยะเวลา ฯลฯ)

    2. CSR จากภายในสู่ภายนอก

    3. CSR /PR สำคัญต้องมีเรื่องราวที่น่าสนใจ

    4. การประเมินผลจะประเมินกี่ปีด้วยวิธีอะไร

    5. การปรับปรุง

    สรุป จากการจัดทำโครงการเชิงวิจัยภายใต้แนวคิดหลัก“วิเคราะห์อนาคต กฟผ.ในปี 2020 กับแผนการเตรียมความพร้อม”

    • -จะ Focus เรื่องอะไร ไม่ต้องทำทั้ง โปรเจค ในวันสุดท้ายที่นำเสนอ ให้นำเสนอว่าจะทำโปรเจคอะไรเพื่อพัฒนาองค์กร เช่น ทุกวันนี้มันเป็นปัญหาแบบนี้ แล้วทำไมต้องแก้อย่างนี้ ติองมองว่าเป็นปัญหาจริงๆ แล้วตั้งคำถามว่าเป็นปัญหาจริงหรือไม่ งานที่ทุกกลุ่มต้องกลับไปทำคือ เรารู้ได้อย่างไร อะไรเป็นหลักฐานที่คิดจริง ๆ เช่น ต่อต้านเพราะอะไร ทัศนคติ หรือใครต่อต้าน Background หรือองค์ความรู้ไม่เท่ากันของแต่ละบุคคล มองตัวอื่นได้อะไร มีลักษณะพิเศษมากขึ้น คนต่อต้านเพราะอะไร เมื่อคิดว่าสิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาต้องมีการยืนยันหลักฐานว่าเพราะอะไร ทำไมถึงเกิด เกิดเพราอะไร แก้อย่างไร ถึงนำไปใช้
    สุขาวดี ศิริจันทร์เพ็ญ

    วันที่ 12 กุมภาพัน์ 2557 (ช่วงเช้า)

    Learning Forum & Practice หัวข้อ เทคนิคการนำเสนออย่างทรงพลัง และประทับใจ (Art & Feeling)

    โดย อาจารย์จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล

    • 1.การย้อนกลับไปในวัยเด็ก บอกว่าตัวเองเป็นตัวอะไร ทำไมถึงอยากเป็นตัวนั้น ให้ทำท่าของสิ่งที่ตัวเองอยากเป็น ให้ร้อยเรียงเรื่องราวของสิ่งที่ตัวเองอยากเป็นเพื่อส่งต่อให้เพื่อน เพื่อสร้างจินตนาการนอกขอบเขต
    • 2.จินตนาการและเรียงความ ให้ดูรูปภาพ และเขียนความรู้สึกที่นึกถึงรูปภาพนั้นเป็นคำๆ ให้แต่ละกลุ่มนำคำทั้งหมดแต่งเป็นเรียงความจนกระทั่งได้ 1เรื่อง
    • 3.การใช้ท่าทางในการสื่อสาร ใช้เวลา 30 วินาที แล้วแสดงท่าตามคำที่บอก
    • 4.การนำเสนอกับการจินตนาการ
    • -ให้คนหนึ่งให้คำ แล้วอีกคนบรรยายคำนั้นเป็นเวลา 1 นาที
    • -ให้คนหนึ่งให้คำ แล้วอีกคนบรรยายคำนั้นเป็นเวลา 1 นาที สลับกับภาษาจิบบริ้ท (ภาษาที่คิดขึ้นมาเอง)แล้วสลับกับบรรยายภาษาไทย
    • 5.กิจกรรม Reflection ให้เขียนว่าเราได้อะไรบ้างจากการทำกิจกรรม
    • -กรรมแรก เหมือนให้เรานึกถึงตอนเด็ก ๆ ว่าเป็นอะไรอยากเป็นอย่างนั้น
    • -กรรมที่สอง เน้นความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ ให้คิดนอกกรอบ นอกจากที่คิดคุ้นเคย ให้คิดเชื่อมโยง เชื่อมต่อกัน
    • -กรรมที่สาม ฝึกการทำงานเป็นทีม แก้ปัญหาเฉพาะหน้า ฝึกการสร้างสรรค์ร่วมกัน ให้ผู้สัมมนาเห็นด้วยว่าเราจะทำอะไร
    • -กรรมที่สี่ สิ่งที่ได้เรียนรู้คือเราต้องมีความพร้อมในการพูดเสมอ ต้องมีลูกล่อลูกชน ว่าจะพูดอะไร มีความรอบรู้ และต้องพูดเก่ง
    • 6.รวมเรื่อง Creativity กับ Presentation Technique
    • -ทำให้เรียนรู้ว่าเรารู้สึกอะไร อาจเริ่มจากการอึดอัด แล้วต้องฝึกตัวเองว่าเป็นอย่างไร เช่นการย้อนกลับไปในวัยเด็ก ชอบอะไร มีความคิดสร้างสรรค์ เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย ได้หัวเราะ ไม่เครียด
    • -การย้อนไปในอดีตคือ ไม่ต้องอยู่ในกรอบสามารถคิดอะไรได้มากมาย ทำให้เราตื่นตัว Alert ตลอดเวลา และเมื่อเป็นผู้ใหญ่ต้องระมัดระวังในการพูดหรือ Alert คือต้องมีประสบการณ์ ต้องดูภาพลักษณ์ ระวัง ฝึกการสื่อสารแบบใหม่ ๆ
    • -สามารถเห็นตัวตนในสิ่งที่ไม่เคยทำ แต่ทำได้ด้วย Synergy ของ EGAT Group ได้เห็น Teamwork ในส่วนที่ไม่ได้นัดหมาย
    • -ได้เรียนรู้ว่าการมีชีวิตอยู่รอดได้ ต้องทำอะไร มีการเตรียมตัว มีการ Planning ทำให้เพื่อนเราสามารถทำงานได้อย่างเรียบร้อย และทุกคนต้องเรียนรู้ในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า มีการใช้ภาษากาย ใช้มือ ในการขอความช่วยเหลือ และทำให้เห็นว่ามนุษย์มีความแตกต่างกันมากมาย ต้องบริหารเราตลอดเวลา
    • -แบบที่ 1 ภาษากายของการสื่อสาร และการกดดัน ไม่ได้บอกว่าจริง ๆ จะมาทำอะไรกับเรา สิ่งที่ทำเป็นการละลายพฤติกรรมได้เรียนรู้และเห็นตนเองมากขึ้น เพราะหลายท่านมาจากความแตกต่างทางวัฒนธรรม สิ่งที่ดีคือได้สื่อสารกัน และแต่ละคนมีพลังในตนเอง แต่ไม่รู้ พยายามคิดที่จะต่อยอด
    • -แบบที่ 3 เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่าง ว่าเลือกแบบนี้เพราะอะไร บางครั้งอาจเกิดการขาดความมั่นใจบ้าง แต่ต้องเรียนรู้ในสิ่งที่จะทำ บางครั้งรู้สึกเครียด ต้องเรียนรู้ที่จะผ่อนคลาย มีการฝึกสมาธิ
    • -แบบที่ 4 รู้สึกมีความกดดัน ตื่นเต้น มีความเครียด รู้สึกความกดดันมาจากทั้งภายในและภายนอก เป็นการกดดันในระยะเวลาที่จำกัดและไม่รู้ล่วงหน้า ไม่ทราบหัวข้อล่วงหน้า ต้องมีการเตรียมตัว ส่วนความกดดันภายในแต่ละคนตื่นตัวและตื่นเต้นเพราะเราต้องเตรียมพร้อม ประโยชน์ได้จากการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ได้ทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ รู้สึกสนุกสนาน ได้ใช้ความรู้รอบ ๆ ตัว ทำให้เรียนรู้ว่าเราต้องมีความพร้อมเสมอ บางครั้งคิดว่าเป็นเรื่องไร้สาระ จริง ๆ เป็นเรื่องมีสาระ
    • -แบบที่ 5 เป็นหลักสูตรแรกที่ได้เห็นตัวตนที่แท้จริงของเพื่อน สบายใจที่ได้เรียนรู้เพื่อนๆ การที่ไม่รู้อะไรล่วงหน้า บางครั้งตื่นเต้น และรู้สึกว่าเราจะทำอะไรได้บ้าง ตอนแรกรู้สึกกดดันที่ออกมาข้างหน้า แต่ทุกคนอยู่ในสถานการณ์เดียวกัน ต้องแก้สถานการณ์เฉพาะหน้า มีการสื่อสารกันในกลุ่มว่าถ้ามีเวลาจำกัดจะช่วยกลุ่มอย่างไร ทำให้กล้าแสดงออก และมีการเอาตัวรอด เรารู้สึกว่าทุกคนมีความเท่าเทียมกัน แล้วได้เห็นพลังของแต่ละคน
    • -แบบที่ 7 เนื่องจากทั้งทีมเป็น Engineer จะใช้สมองซีกขวาในการสร้างสรรค์ มีไหวพริบ จินตนาการ แก้ปัญหาเฉพาะหน้า และในการนำเสนอต้องมีท่าทางประกอบจะสร้างความเข้าใจกับผู้คนได้ดี และสร้างความสนุกสนานได้

    อาจารย์จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล สรุปว่า

    • -การใช้สมองซีกขวาแสดงถึงความน่ารัก คิคุ และเห็นอะไรที่เป็นสีสัน ดึงความเป็นศิลปินในตัวออกมา Expert Smile ต่างกับ Beginner Smile (อะไรก็ได้ที่นอกกรอบ และน่ารัก) ซึ่งเรียกว่าจิตประภัสสร เป็นอะไรที่สะพรั่งอยู่ในตัวเองแต่ลืมใช้ สังเกตได้จากระดับผู้นำของแต่ละประเทศ บางครั้งก็ใช้สมองซีกขวากัน ซึ่งน่ารักมาก แล้วจะทราบว่า การเอาตัว Creative Thinking ไปใช้ในบทบาทของผู้นำและประเทศแล้วสนุกสนานได้อย่างไร
    • -จิบบริด เป็นอะไรที่ดึง Creativity สูงมาก เป็นการใช้ภาษาท่าทาง ซึ่งเป็นจุดเด่นของทฤษฎีการนำเสนอ ภาษากายสามารถดึงดูดใจคนได้ถึง 55 % แต่เราไปติดอยู่ในโหมด Verbal 7% เสียง 38%

    การเตรียมความพร้อม ต้องใช้ภาษาท่าทางร่วมด้วย การApply การนำไปประยุกต์ใช้

    • -ในธุรกิจ ใช้ Brand Senses นำเสนอบุคลิกภาพของตัวนั้น รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อะไรทำให้เราจำได้ จากการวิจัยพบว่าสิ่งที่เราจำได้ตัวที่1 คือ รูป ตัวที่ 2 คือ กลิ่น
    • -สิ่งสำคัญที่สุดคือ Content กับ Presentation เราจะเอา Content มาดัดแปลงอะไรให้เกิดกิจกรรมร่วมกับ Presentation ขึ้นอยู่กับ How to
    สุขาวดี ศิริจันทร์เพ็ญ

    วันที่ 12 กุมภาพัน์ 2557 (ช่วงบ่าย)

    Panel Discussion หัวข้อนวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน (Social Innovation) กับการทำงานของ กฟผ.

    โดย คุณรังสรรค์ อัฐมโนลาภ ผู้ช่วยผู้ว่าการกิจการสังคม กฟผ. (นวัตกรรม กฟผ.)

    คุณสุทธิเดช สุทธิสมณ์ อดีตผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กรณีศึกษาของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค)

    ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญาพฤทธิ์ (นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชนกับการทำงานของกฟผ.)

        -คุณรังสรรค์ อัฐมโนลาภ ......นวัตกรรม กฟผ. มี 2 แนวคิด 
    • 1.การดำเนินการกิจกรรมทางสังคมก็เป็นนวัตกรรม กร Implement ก็เป็นนวัตกรรม
    • 2.EGAT CSR คำนึงถึงสังคม เน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน บรรเทาผลกระทบ แก้ไข เยียวยา สิ่งที่ กฟผ. ทำต้องดีกว่ามาตรฐาน สร้างวัฒนธรรมรับผิดชอบต่อมวลชน ต้องร่วมกันทำอย่างไร
    • 3.กฟผ. ต้องทำลายกรอบที่เป็น Silo ทั้ง 10 ต้องสร้างการยอมรับให้ชุมชนมอง กฟผ. เป็นเพื่อน เป็นญาติ กฟผ.วิเคราะห์ Stakeholder วิเคราะห์ Niche Stakeholder เพื่อทราบความต้องการและความคาดหวังชุมชน ต้องทำงานบูรณาการทั้งองค์กร เรียกว่ารวมแผนแล้วแยกปฏิบัติ
    • 4.การทำ CSR ไม่ใช่การบริจาค เมื่อ PR แล้วต้องมีการประเมิน ตรวจสอบ ระยะแรกคนภายในประเมิน ระยะต่อมาเป็น Third Party ทำการตรวจสอบ แล้วนำมาปรับปรุงต่อยอด ทำ CSR ให้ยั่งยืน
    • 5.นวัตกรรมต้องเริ่มจากภายในก่อน มีจิตวิญญาณ มี CSR in process ถ้าเราทำสิ่งไม่ดี ชุมชนจะยอมรับหรือไม่ หลังจากทำ CSR ภายในองค์กรแล้ว สังคมจะต้องอยู่ได้ อยู่อย่างพอกินมีสุข มั่งมีศรีสุข ต้องให้เขายอมรับเรา
    • 6.ต่อยอดนวัตกรรม ทำอย่างไรให้ชุมชนเข้มแข็ง เช่น โรงไฟฟ้าชุมชนบ้านคลองเรือ โครงการชีววิถีที่ต่อยอด ปุ๋ยหมัก น้ำหมัก ถือเป็นนวัตกรรม เอา Knowledge เป็นชุมชนต้นแบบ
    • 7.จัดการเรียนรู้ บรรยาย ตรวจเยี่ยมชาวบ้านเรื่อยๆ

    - ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์……หัวใจของชุมชนคือการสร้างความอยากเรียนรู้ให้ชุมชน กฟผ. อย่าท้อถอยเพราะการทำเพื่อสังคมจะช่วยแก้ปัญหาในระยะยาวได้ บางครั้งการบริหารงานเกิดข้อขัดข้องเนื่องจากโครงสร้างของประเทศ

    1. จะพัฒนาชุมชน ชาวบ้าน วัฒนธรรมชุมชน วิถีชุมชน หัวใจอยู่ที่ทำให้ชุมชนเป็นผู้เรียน อยากรู้ อยากเห็น อยากทดสอบ ไม่ใช่พัฒนาให้ชุมชนแบมือขอ

    2. มนุษย์มีเครื่องมือที่น่าสนใจ ต้องเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ภาพที่เห็นเป็นเปลือกนอก โจทย์จริงๆ น่ากลัว เราต้องรู้ จะเผชิญหน้ากับปัญหาอย่างไร มีโครงการใหม่เยอะแยะเลย แต่ต้องมีแก่นที่ทำให้เขารู้ว่ามีทางเลือกอะไร ทำไมต้องทำเรื่องนี้ ทำเรื่องนี้แล้วได้อะไร มีเครื่องมือสื่อสาร ในฐานะพัฒนาต้องเรียนรู้ที่จะใช้เครื่องมือให้เป็นประโยชน์

    3. การพัฒนาต้องทำย้อนสอน ถ้าเลี้ยงไก่แบบ ซี.พี.ทำอย่างไร แบบอื่นทำอย่างไร เอาความรู้มาปะติดปะต่อ โจทย์การพึ่งตนเองทำได้ไม่ยาก ทุกอย่างสามารถทำรวมกันได้หมด ความรู้ในชุมชนมีมากมายแต่โดนทิ้งไป เราควรอนุรักษ์ไว้ อย่าพูดเฉย ๆ ให้เตรียมล่วงหน้า

    4. เราอยู่ในยุคข้อมูลข่าวสาร เรามานั่งคิดเองจะคิดได้เท่าไหร่ การเป็นผู้เรียนต้องเป็นคนสังเกตที่ดี สิ่งที่ชาวบ้านสนใจอีกเรื่องคือปัญหาของเขา ถ้ามีอะไร เราส่งข้อมูลคุยกับเขา เช่นปลูกยางพาราหมดก็มีที่ไปเลี้ยงวัว เรามีเครือข่ายทั่วโลก มีคนทุกสาขาอาชีพในเครือข่าย 5 ปีที่แล้วมีการประกวด IT พัฒนาชุมชนของธนาคารโลก ครูบาส่งเข้าประกวดชนะเลิศ โดยแนะนำให้ชาวบ้านมีเครื่องรับ IT ได้ด้วยเพื่อติดต่อสื่อสาร ให้ชาวบ้านได้เรียนรู้ และพัฒนาอย่างแท้จริง

    5 เราจะใช้โจทย์แค่ไหนอย่างไรให้ดูปัญหา สภาพแวดล้อม หลักการพื้นฐานจริงๆ ว่าจะพัฒนาคนซึ่งไม่อยากพัฒนา แต่พัฒนาได้อย่างไร ต้องให้ชาวบ้านเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง อยู่ได้ด้วยตนเอง ในอดีตเขาสร้างบ้านด้วยตนเอง มีปัญหาเขาสามารถแก้ได้หมด แต่มายุคนี้พยายามให้ชาวบ้านพึ่งรัฐบาล

    6 สังคมทุกวันนี้น่ากลัวกว่าเมื่อก่อนเยอะ ความเป็นพี่เป็นน้องหายไป สิ่งที่ควรทำคือการสร้างกระบวนการเครือข่าย มีคนเข้ามาเรียน ให้ความรู้ ทำให้ชีวิตนี้มีชีวา เพราะชีวิตนี้เกิดจากการเรียนผ่านประสบการณ์ ต้นไม้ทุกต้น สรรพสิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้ถ้าไม่มีต้นไม้จะเอาร่มเงาจากไหน เอาความชุ่มชื้นจากไหน

    -คุณสุทธิเดช สุทธิสมณ์ อดีตผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กรณีศึกษาของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค)

       
    • 1.Social Innovation สิ่งที่ได้ทำคือ Rural Elective Innovation มีมิเตอร์วัดไฟเพิ่มปีละ100,000ราย เรื่องการพัฒนาคนใช้เรื่องของความรู้ พัฒนาเรื่องการเรียนรู้ มีการปรับปรุงคนในองค์กร
    • 2.ผู้บริหารต้องมีความกล้าในการตัดสินใจสร้าง Infrastructure ให้กับชุมชน เพราะเป็นพื้นฐานในการพัฒนา ที่จะสร้างความเจริญมั่นคงทางเศรษฐกิจ เข้าถึงเทคโนโลยี การเรียนรู้ของประชาชน สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ สื่อสารได้อย่างทั่วถึง
    • 3.เทคโนโลยีเอาคนมาผนวกกับไฟฟ้าที่เป็นฮาร์ดแวร์เรียกระบบนี้ว่า Smart grid ทำให้การเรียนรู้ขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ smart grid ระบบไฟฟ้าช่วยการผลิต จ่าย ดูแลเรื่องไฟฟ้าที่ขัดข้อง ให้เอามาใช้ประโยชน์ได้ มีพัทยาเป็นเมืองนำร่อง
    • 4.ส่วน Innovation ของ กฟภ. มีผลต่อประชาชน และชุมชน เนื่องจากองค์กรสร้างวิสัยทัศน์ต่อองค์กร และผู้ร่วมงานร่วมกันถึงจะไปรอด อย่างไรก็ตามต้องยึดวิสัยทัศน์ใหญ่เป็นหลัก สิ่งที่เกิดขึ้นคิดแค่ Thailand ไม่ได้ต้องคิดอาเซียน
    สุขาวดี ศิริจันทร์เพ็ญ

    วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557

    กิจกรรม CSR: ศึกษาดูงานศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม: ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีการเกษตร

    โดย อาจารย์ทิวาพร ศรีวรกุล ผู้อำนวยการศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม

    ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม ส่งเสริมการเรียนรู้ของเกษตรกร มีการเรียนรู้แบ่งเป็นฐาน 2 ฐาน คือ

    ฐานที่1 เศรษฐกิจพอเพียง

    ฐานที่ 2 หมูหลุม การเลี้ยงหมูหลุมมีข้อดีคือ ไม่มีกลิ่น

    เรื่องที่สอนเป็นสิ่งที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น เรื่องลดรายจ่าย เป็นหลักการสำคัญที่สามารถบริหารจัดการตัวเองได้

    มีเกษตรจังหวัด เกษตรตำบล และเกษตรกรในพื้นที่เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จึงเกิดแนวคิดชาวบ้านสามารถบอกชาวบ้านได้เรียกว่าศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน

    เป้าหมายที่เกษตรกรมาอบรม คือเกษตรกรที่เข้าโครงการพักชำระหนี้

    วันแรก เป็นเวทีค้นหาทุกข์ทำอะไรให้รู้จักตัวตนของเขาเอง เข้าหลักพุทธศาสนาคือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ต้องดึงให้เกษตรกรเห็นปัญหา แล้วจะแก้ไขปัญหาได้อย่างไร

    วันต่อมา เน้นเรื่องการดึงศักยภาพของเกษตรกรออกมาให้ได้ ต้องให้เขาเข้าใจสถานะและยกระดับจิตใจให้ได้ว่าเกษตรกรสำคัญที่สุด สร้างความเชื่อมั่น เพราะคุณค่าของเกษตรกรเป็นเรื่องใหญ่ สังคมที่ดีต้องสร้างความเข้าใจ และเห็นอกเห็นใจ และเป็นธรรม มีคุณค่าเป็นหน่วยสังคมชีวิต มนุษย์ไม่ควรถูกบั่นทอนลดคุณค่าเป็นเครื่องมือรับใช้เศรษฐกิจอย่างเช่นปัจจุบัน ที่นำโครงสร้างอำนาจ งบประมาณ วัตถุนิยมมาครอบครอง

    นักวิทยาศาสตร์พยากรณ์ไว้ว่าประชากรในโลกมี7,000 ล้านคน อาหารในอนาคตจะขาดแคลน เราต้องเน้นภูมิปัญญา เพราะเล็งเห็นว่าในอนาคตอาหารเป็นเรื่องสำคัญ วิกฤติอาหารประเทศไทยเกิดแน่ เพราะพฤติกรรม ที่พ่อแม่ไม่ได้สั่งสอน เรื่องพืชพรรณ ธัญญาหาร

    หลักเกณฑ์ในการเวนคืนที่ดินยังไม่เป็นธรรม ทั้งชุมชน และเขื่อนขาดความเข้าใจ ทำไมจัดที่ให้เสร็จแล้วทำไมชุมชนขายที่ ไปสาเหตุ คือเพราะไม่พอกิน เนื่องจากเวลาตีราคาที่ดิน ตีค่าแค่ บ้านที่ดิน แต่ไม่ได้ตีเรื่องการจัดสรรที่ดินสำหรับทำกินไม่ได้ตีราคาให้ด้วย ทำให้ไม่มีหนทางทำกิน เงินที่ได้มารีบเอาไปด้วยแนวคิดเน้นวัตถุนิยม ยกเว้นเงินที่มีทุนเดิมดี แต่ใครจะไปชี้แจงชุมชน ชี้แจง NGOs ในวันนี้ถ้ามีการเวนคืนที่ดินให้คิดค่าเสียหายในการปลูกต้นไม้เล็กทดแทนด้วย ต้องคิดถึงหาหนทางให้ชาวบ้านมีรายได้ด้วย เป็นบทเรียนของทั้งสองฝ่ายที่ต้องสร้างความเข้าใจร่วมกัน ต้องคิดค่าเสียเวลาด้วย ถึงว่าจะยุติธรรม

    อีกเรื่องหนึ่งที่เขื่อนจะตื้นเขินได้ ที่เหนือเขื่อนต้องไม่มีเกษตรกรรม ต้องไม่ให้มีการพังทลายของหน้าดิน เพราะโดยธรรมชาติฝนต้องพังทลายหน้าดินอยู่แล้ว อย่าให้มีการบุกเบิกที่เหนือเขื่อนมาก ๆ อายุการสะสมน้ำ การใช้งาน ไม่ได้เป็นตามเป้าหมาย มีการจัดการสมดุลหรือไม่

    สมุนไพร

    ฟักข้าว– เป็นผักพื้นบ้านตระกูลแตง กินยอดอ่อน ลูกอ่อนนำมาแกงส้ม แกงเลียง โบราณใช้ใบฟักข้าว ยาเขียว เนื้อในเมล็ดฟังข้าวใช้รักษาวัณโรคในปอด แผล ฝี หนอง เวียดนามใช้ในเรื่องการบำรุงสายตา เนื่องจากมีสารเบตาแคโรทีนมากกว่าแครอท 10 เท่า มีไลโคปินสารต้านมะเร็ง

    สาบเสือ– เป็นวัชพืช เป็นยา น้ำหวานในดอกสาบเสือเป็นยาของผึ้ง น้ำผึ้งดอกสาบเสือขายดีมาก แพงกว่าน้ำผึ้งปกติ

    สบู่ดำ– เพื่อเอาน้ำมันในเมล็ดไปทำพลังงาน ใช้ยางแต้มปากเวลาปากเปื่อยหรือปากนกกระจอก กิ่งสบู่ดำใช้ป้องกันแมลง ใช้เสริมภูมิแพ้คนเป็นเอดส์ แต่นักวิชาการสนใจเฉพาะปริญญา

    สะเดา– ใช้ดีมากเรื่องหมัดกระโดดในวัชพืช เมล็ดใช้ไล่แมลงได้

    น้อยหน่า– ใบน้อยหน่าพอกไข่เหา เมล็ดเอามาโคลกแช่น้ำไล่แมลง

    หางไหล– ป้องกันแมลง

    ใบหนาด– ประเทศจีนปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ ดองศพไม่ให้เน่ากว่า 2,000 ปีแล้ว เพื่อสกัดน้ำมันหอมระเหยของอโรม่า

    แมงลักคา– ขึ้นทั่วไป กรมวิชาการสกัดสาระสำคัญค่าเชื้อแบคทีเรียในคน สามารถใช้ไล่แมลงได้

    กัญชาป่า– สรรพคุณ ลดเบาหวานดีมาก ที่ได้ชื่อว่ากัญชาป่าถ้านอนไม่หลับแล้วทานจะดีมาก มีรสขม และจะหวาน แก้ไข้ แก้สมุนไพร ทดลองใช้กับคนเป็นเอดส์ เพราะไม่มีแรง

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท