ฮักนะเชียงยืน 26


เตรียมตัวสู่เกษตรปลอดภัย

เปิดละคร  เปิดประเด็น  เปิดใจ (บันไดขั้นเเรกก่อนถึงขั้นดำเนินงาน)

        จากการได้เตรียมตัวมาในช่วงระยะเวลาหนึ่งก็เดินมาถึงอีกงาน  งานนี้นับว่าเป็นงานสำคัญ เป็นงานปิดประเด็นเเล้วคุยกันในเเบบชาวบ้าน ซึ่งงานนี้ชื่อว่า "งานละครเปิดประเด็น" ที่มีความคาดหวังหลัก คือ การได้พูดคุยกับชาวบ้าน ชาวบ้านร่วมมือ กับเด็กๆ เเล้วพัฒนาที่ชาวบ้านกลุ่มเป้าหมายเล็กๆเสียก่อนค่อยๆไปขยายเป้าหมายให้ใหญ่ขึ้น ละครที่ซ้อมกันมา คอยปรับกันมาเป็นระยะเวลาพักใหญ่ต้องออกเร่อีกครั้งโดยครั้งนี้มีการปรับให้เข้ากับบริบทของชุมชน เเล้วหลังจากละครเสร็จเเล้วก็นำละครมาเชื่อมโยงสู่ประเด็นในการเสวนาพูดคุยเเลกเปลี่ยนกัน งานนี้จัดขึ้นในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2557 ซึ่งวันนี้ของปีนี้ก็นับว่าเป็นวันเตรียมการบุญเบิกฟ้าของชาวบ้านพอดี  ก่อนที่จะได้มาซึ่งงานในวันนี้มีการซ้อมละครเเละเตรียมการละครอยู่หลายรอบ ปรับเพื่อให้ผู้ชม "ดูไม่งง" เเล้วดูรู้เรื่อง มีพี่ๆ จาก มมส. มาคอยช่วยดูอีกเเรงหนึ่ง มีการเสริมบทอีกหลายคำ เเล้วซ้อมๆกันหลายรอบในเวลาว่างหลังเลิกเรียน นอกจากจะซ้อมละครเเล้วในการเตรียมการนั้นต้องมีการประสานงานเพิ่มขึ้นร่วมด้วยกัน มีการประสานงานกับคุณป้าเกษตรอำเภอ  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  หมอดินชุมชน  ครูก็พาไป "เเล้วทิ้งให้ประสานงานเอง" (เป็นเเนวคิดที่ดีของครู) หลังจากพอซ้อมละคร พอประสานงานเสร็จเเล้วตะวันเริ่มคล้อย ใกล้เข้ามาทุกขณะ มาถึงตอนเย็น(ค่ำ) ละครก็ถือว่าได้เเล้ว เเต่ต้องมาคุยสิ่งสำคัญที่สุด คือ เวทีเสวนา มาเตรียมพิธีกรเสวนาอีกครั้งในตอนดึก โดยเน้นย้ำว่า พีธีกรเสวนานั้น ต้องไม่ตอบคำถามเอง ต้องเป็นตัวเชื่อม ที่เหมือนกับน้ำ โดยที่ประเด็นนั้นอะไรก่อนหลังไม่สำคัญ สำคัญเพียง การเชื่อมโยงให้ตอบโจทย์ให้ได้ จำต้องคิดเป็นการใหญ่ คิดๆ เเล้วก็นอนเพื่อเตรียมตัวในวันรุ่งขึ้น

        เช้าวันงาน เริ่มออกเดินทางไปยังชุมชน เมื่อถึงชุมชนเเล้วมีการเตรียมงาน ขนของไปจัดเตรียม ฝ่ายบริการ ฝ่ายเตรียมสถานที่(ปูเสื่อ) ฝ่ายต้อนรับ ฝ่ายพิธีกร ฝ่ายละคร ทำงานร่วมด้วยกัน พอจัดเตรียมไปได้สักพัก ใกล้ถึงเวลาเเล้วชาวบ้านก็ยังไม่มา มีการพูดคุยว่าถ้าชาวบ้านไม่มาเเล้วเราจะทำอย่างไร สิ่งที่คิดๆได้มี 3 อย่างด้วยกัน คือ เดินออกประชาสัมพันธ์เหมือนเดิม  ให้ผู้ใหญ่บ้านประกาศอีกครั้ง เเละชาวบ้านมาเเค่ไหนก็เอาเเค่นั้น ผลที่ได้คือ ให้ผู้ใหญ่ประกาศอีกครั้ง หลังจากที่ผู้ใหญ่กำลังประกาศนั้นชาวบ้านหลายคนก็เดินทางมาถึง เเล้วก็มานั่งพูดคุยกัน ท่านอาจารย์จาก มหาวิทยาลัยมหาสารคามก็เดินทางมาถึง พี่ตุ้มเเละพี่เเบงค์ซึ่งพี่เขาทำเกษตรอินทรีย์อยู่ที่กาฬสินธ์เดินทางมาถึง(ด้วยรถจักรยานยนต์) ท่านคุณหมอก็มาถึง ชาวบ้านก็เริ่มทยอยมากัน ในช่วงเวลานี้ต้องซ้อมต้องวอมเสียง มีการซ้อมเล็กๆกันอีกรอบด้านหลังเวที เเล้ววอมเสียงกันอีกครั้ง...

        ระหว่างที่ใกล้เริ่มงานชาวบ้านก็เริ่มทยอยเเล้ว เมื่อชาวบ้านมานั่งก็มีการพูดคุยกันกับอีกหลายๆท่าน การพูดคุยนั้นยิ่งคุยก็ยิ่งเข้าประเด็นทำให้ก่อนเล่นละครมีการคุยกันอยู่พักหนึ่ง เมื่อที่เเบงค์เเละพี่ตุ้มได้พูดถึงเกษตรอินทรีย์ที่พี่เขาทำ ชาวบ้านก็รู้สึกสนใจ เเล้วพี่ๆก็พูดไปเรื่อยๆในเรื่องของอาหารของโลก  อุตสหกรรมการเกษตร เเล้วพูดถึงการฉีดสาร ขณะนั้นชาวบ้านคนหนึ่งก็พูดขึ้นมาว่า "ป้าดๆ คือ อ่านออกเเถะว่ะ" ในขณะนั้นพี่ตุ้มก็ได้พูดถึงเกษตรของตนเอง ชาวบ้านก็รู้สึกสนใจ หลังจากพูดจนพี่ตุ้มก็ถามชาวบ้านว่า ทำไมต้องใช้สารเคมี ชาวบ้านบอกว่า "มันทันใจ  ไม่ใช่ไม่มีกิน  เเล้วชาวบ้านก้ณู้ด้วยว่าเมล็ดนั้นที่เขาเอามาให้ถูกตัดเเต่งพันธุกรรมไปเรียบร้อยเเล้ว เเล้วชาวบ้านก็ไม่ได้เก็บเมล็ดพันธุ์ดั้งเดิมเอาไว้ เพราะว่าเมล็ดประป๋องนั้นหาซื้อได้ง่าย" ทันใดนั้น พี่ตุ้มบอกไว้ว่า ยา กับ เมล็ดนั้นเป็นของคู่กัน ชาวบ้านก็บอกว่า "รู้ดีอยู่เเล้ว" จากนั้นพี่ตุ้มก็พูดต่อไปอีกว่า ยุโรปเขาเป็นคนผลิตสารเคมีมา เเต่เขาไม่ใช่ เขาให้เรามาใช้เเทน" หลังจากชาวบ้านได้ยินดังขั้นก็หัวเราะขึ้น เเล้วมีชาวบ้านคนหนึ่งบอกไว้ว่า "ฮ่าๆ นี่เเหละ คนที่จะพาเราไปดูงาน" เเล้วชาวบ้านก็เริ่มสนใจเริ่มซักถามพี่ตุ้มเเละพี่เเบงค์เกษตรอินทรีย์ พอถามไปได้ช่วงเวลาเล็กๆ ก็ให้มาชมละครก่อน เพื่อเป็นเครื่องสื่อสารให้ชัดเจนขึ้น เเล้วละครของเด้กฮักนะเชียงยืนก็เริ่มต้นขึ้น

        ละครเรื่องวิถีอินทรีย์เริ่มต้นขึ้นในฉากเเรกที่ จ่อยซึ่งเป็นลูกบ่นกับพ่อ ว่าจะรีบไปผสมพันธุ์เเตง ชาวบ้านยิ้มเเละหัวเราะ ในขณะที่เเสดงอยู่นั้น ชาวบ้านคนหนึ่งพูดขึ้นมาว่า "เเสดงคือเเถะ" เมื่อฉากต่อมา เเบงงค์ทำท่าฉีดยา ชาวบ้านก็รู้ว่ากำลังฉีดยาอยู่  เเล้วชาวบ้านก็หัวเราะขึ้นมาอีกในเพลง บ้านของเราทำสวน ๆ ปลูกเเบบอินทรีย์ ส่วนครอบครัวทางนี้ ใส่เคมีทุกวี่ทุกวัน หัวเราะกิริยาท่าทางของผู้เเสดง หลังจากที่เร่ละครเสร็จ ชาวบ้านบอกว่า "คือเข้ากับเฮาเเท้" เมื่อตอนที่เเสดงสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ยายของเกมส์ร้องไห้ขึ้นมาอีกครั้ง เเล้วยายอีกหลายหคนก็น้ำตาซึมท่ามกลางเสียงหัวเราะ

จากนั้นพิธีกรถามชาวบ้านว่า : "มักตอนใด๋น้อ...ครับ เข้าใจบ่ครับ "

ชาวบ้านบอกว่า : มักตอนนายทุนเข้ามา เพราะว่ามันตรงกับเราดี เข้าใจอยู่ เปรียบเทียบกับเราได้ดี มันตรงกับชีวิตเรา 

ผู้ใหญ่บ้านบอกว่า : สารเคมีมันก็เป็นอันตราย ทีเเรกๆนั้นเราใช้เเบบอ่อนๆ เเต่พออ่อนๆ มันใช้ไม่อยู่ ก็ต้องเอาเเบบเเรงๆมาชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ค่อยป้องกันตนเอง จนทำให้เกิดสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย มีอาการผื่นคัน ผื่นเเดงๆ พอไปหาหมอ หมอก็บอกว่าเพราะสารเคมีเเน่นอนอาการของเราเริ่มต้นนั้นก็เหมือนกับละครที่มีอาการปวดหัว อาเจียน เหมือนๆกับละคร 

พิธีกรถามต่อไปว่า เมื่อสารเคมีมีผลในระยะสั้นเป็นอย่างนี้เเล้วผลระยะยาวจะส่งผลอย่างไรครับ คุณหมอ

คุณหมอ : ผลระยะยาวมีหลายอย่างที่น่ากลัวเพราะสารเคมีเข้าได้ 3 ทางด้วยกัน คือ ทางจมูก  ทางการกิน เเละทางการสัมผัส เเล้วทุกวันนี้ใครที่ลงหนองเเบกนั้น 80 เปอร์เซนต์จะเป็นโรคภูมิเเพ้ เเล้วทุกวันนี้อาหารมันก็ไม่เหมือนเดิม น่าเป็นหว่งที่ตำบลเรา 98 เปอร์เซนต์ที่อยู่ในช่วงอายุ 45 ปีขึ้นไปมักเป็นโรคมะเร็ง ซึ่งก็เป็นผลมาจากพฤติกรรมทางการกิน เเละชาวบ้านกลัวการมาหาหมอ

ชาวบ้าน : หมอพูดอย่างนั้นเราก็เชื่อเหมือนกัน เพราะคนใกล้ตัวเราก็เป็นเหมือนกัน

ครูเพ็ญศรี : เป็นไปได้ไหมที่คนที่คลุกคลีกับสารเคมีเยอะๆ จะทำให้ปอดหายไปข้างหนึ่งได้

คุณหมอ : ปอดหายไปข้างหนึ่งนั้นก็ต้องตายเท่านั้นล่ะ ขนาดปอดเเฟบยังหอบจวนจะตายเลย

อ.ฤทธิไกร : ที่บอกว่าใครเป็นอะไร เป็นมะเร็งอะไรช่วยเล่าให้ฟังหน่อย 

ชาวบ้าน : ยายกุล หมอตรวจพบว่าเป็นมะเร้งเต้านม ตอนนั้นน่าจะอายุ 45 ปี อาชีพโดยตรงของยาย คือ ปลูกผักส่งตลาด เป็นเเม่ค้าที่ตลาดมีการปลูกอย่างหมุนเวียนตลอด เมื่อตัดมะเร็งออกเเล้ว ยายก็ดำเนินชีวิตปรกติ เมื่อปรกติก็กลับมาทำใหม่ เเกใส่เสื้อ 3 ชั้น ทำมาอีก 2 ปี อาการก็กำเริบขึ้นอีกหมอบอกว่าได้รับสารเคมีมีเข้ามาทำให้อาการกำเริบขึ้นอีกครั้ง  ในครอบครัวเเกเป็นคนเดียวเเล้วญาติของเเกก็ไม่มีใครเป็นมะเร็ง

ผู้ใหญ่บ้าน : บริษัทเขาก็มีให้อยู่ เขามีกำหนดอยู่ชุดป้องกัน

ชาวบ้าน : ตอนเราทำ มือเราก็จับ เรามีการสูดดม เรามีการสัมผัส ถามว่าคุ้มไหม มันก็ไม่คุ้มหรอก เเล้วยายกุลก็ตายเเล้ว เเต่ลุกก็ปลูกแตงอยู่ *เเสดงให้รู้ว่าถึงเเม้ว่าคนครอบครัวจะตายลงไป การดำเนินชีวิตที่ถึงเเม้ว่าจะเห็นตัวอย่างที่เป็นยายของตนเองที่ตายไปเเล้ว ก็ยังทำอยู่ เพราะไม่ทำ ไม่มีกิน

พิธีกร : ตอนนี้ฟังเสียงผู้ใหญ่เเล้วก็ยอากฟังเสียงเด็กน้อย ด้วย เกมส์ลองพูดสิว่าเรารู้สึกยังไง 

เกมส์ : พ่อ เเม่ผมก็ทำเหมือนกัน ทำตั้งเเต่ผมเกิด (เกมส์ร้องไห้) ไม่ทำก็ไม่ได้ อยากให้พอ่เเม่เลิกใช้ หลังจากที่ชาวบ้านได้เห็นดังนั้นส่วนใหญ่เริ่มน้ำตาซึม เเล้วร้องไห้ไปพร้อมกับเด้ก ยิ่งเป็นยายของเกมส์เองยิ่งร้องไห้ เพราะความจำเป็น เพราะไม่ทำไม่ได้กิน 

เกษตรอำเภอ : สิ่งที่มีประโยชน์มันก็ต้องมีโทษเหมือนกัน ชาวบ้านตอบว่า "เเม่น..ถูกต้อง" เราเคยจำได้ไหมว่าเเต่ก่อนเราทำเกษตรเเบบไม่ใช้สารเเล้วทำไมเราอยู่ได้ เเล้วทำไมตอนนี้เราอยู่ไม่ได้ วันนี้ไม่ได้มาบอกให้เลิกเลย การเลิกใช้สารเลยนั้นมันเป็นไปไม่ได้ ค่อยเป็นค่อยไป เขาหวังเพียงการลด เพียงลดสารเคมีนั้นลง เพียงรู้จักปกกันให้มิดชิดมากยิ่งขึ้น 

ชาวบ้าน : (เริ่มกล้าพูด) การทำเกษตรเเบบนี้ก็ป้องกันอยู่ รู้ว่ามันอันตรรายอยู่ เเต่เพราะลูกจึงต้องทำ สมัยยนี้เราก็ไม่มีขี้วัวขี้ควายลงใส่นาของเราเหมือนเดิมเนอะ ตอนนี้ก็มีความคิดอยู่ ไม่ใช่ไม่คิดนะ เเต่คิดอยู่ ตอนนี้ ก็มีผลกระทบหลายอย่าง  หอยเชอรี่ก็กิน  สารชีวภาพก็กำจัดไม่ได้  สารชีวภาพกำจัดหญ้าไม่ได้  ปลูกเเตงไม่ใช้สารเคมีไม่ได้ผล  พอ่เเม่ต้องการหาเงินส่งลูก ต้องหาเงินจุนเจือครอบครัว

เกษตรอำเภอ : ลูกก็ต้องการให้พ่อเเม่ ไม่ให้ตายเร็ว  พ่อเเม่ก็ต้องการให้ลุกอยู่สุขสบาย วันนี้ไม่ได้มาบอกให้เลิกเเต่วันนี้มาบอกให้ลด เราไม่ใช้สารเคมีเพียงอย่างเดียวเราก็อยู่ได้  เด็กพวกนี้เขามีเเนวคิดใหม่ เขามีหัวพัฒนา จงภูมิใจไว้เถิด เราเป็นพ่อเป็นเเม่ เราก็ต้องช่วยเขา อาจเเบ่งที่ให้เขาทำเกษตรปลอดภัยก็ได้ 

พี่ตุ้ม : สิ่งที่ตุ้มทำอยู่บ้านในทุกๆวันนี้ก็ไม่ใช้สารเคมีนะ เเต่ตุ้มก็อยู่ได้  เพราะตุ้มมีความพอ ชาวบ้านเราก็พอได้  สวนของตุ้มอยากให้พ่อๆ เเม่ๆ ไปดูเหมือนกันว่ามันเป็นอย่างไร 

พิธีกร : พ่อๆ เเม่ๆ คนไหนที่อยากไปก็เชิญลงชื่อได้เลยนะครับ

เกษตรอำเภอ : เกษตรปลอดภัยนี่ก็ดีเหมือนกัน ลองดูๆ ถึงสนใจหรือไม่สนใจก็ลองไปดูก่อน

        หลังจากนั้นชาวบ้านก็ลงชื่อ เเล้วผู้ที่สนใจก็อยู่รอฟังพี่ตุ้มที่เป็นคนปลูกเกษตรอินทรีย์...หลังจากเสร็จงานเเล้วก็ถามน้องๆว่า เป็นอย่างไรบ้าง ส่วนหนึ่งบอกว่า ยังไม่เต็มที่ละครยังไม่เต็มที่ ยังเอื่อย อยู่เลย  คนหนึ่งบอกว่า คนเเก่สนใจเราอยู่นะ วันนี้ดูเหมือนคุณป้าเกษตรอำเภอ เเละ อ.ฤทธิไกรเชื่อมเเทนเรา กคนหนึ่งบอกว่า การที่จะบอกให้ชาวบ้านเชื่อได้ก็คือวุฒิภาวะ...

สิ่งที่ได้เห็น-ได้เรียนรู้

1.ชาวบ้านเริ่มพูดคุย เริ่มเปิดใจมากยิ่งขึ้น เเล้วมีเเนวโน้มที่จะให้ความร่วมมือมากยิ่งขึ้น

2.เมื่อเด็กร้องไห้ ทำให้ผู้ปกครองก็ห้องไห้ตามไปด้วย ทำให้รู้ว่าทุนของเราเองเเบบเด็กๆก็ไม่ควรมองข้าม อีกมุมหนึ่งบอกว่า เด้กทำให้ผู้ปกครองเปิดใจกล้าพูดมากยิ่งขึ้น

3.การพูดนั้นถ้าจะพูดให้น่าเชื่อถือจำต้องใช้เครื่องช่วย คือ ผู้รู้ โยนไปให้ผู้รู้นั่นเอง

4.การใช้ภาษาเเบบชาวบ้านเข้าถึงได้ง่ายกว่า การใช้ภาษาอ้อมค้อม...(เหมาะสำหรับผู้ใหญ่)..ส่วนเด็กใช้ภาษาที่ถ่อมตน...

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ฮักนะเชียงยืน 26
หมายเลขบันทึก: 561227เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2014 10:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2014 19:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท