การปฏิบัติของคนจีนเกี่ยวกับเรื่องการจดทะเบียนการเกิดเมื่อ ๗๐ ปีก่อน


ารปฏิบัติของคนจีนเกี่ยวกับเรื่องการจดทะเบียนการเกิดเมื่อ ๗๐ ปีก่อน

หลังจากได้อ่านงานที่พี่ด๋าวเขียน

เรื่อง"โออิชิ..จุดเริ่มต้นของการบ้าน"

http://gotoknow.org/blog/birth-registration/50603

เกี่ยวกับ "พระราชบัญญัติสำหรับทำบัญชีคนในพระราชอาณาจักร ร.ศ.128" รัตน์ก็ลองมาทบทวนดูว่าอาม่าเคยเล่าอะไรที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้บ้างไม๊

ทบทวนดูแล้วก็มีอยู่บ้างเหมือนกันเลยนำมาแบ่งปันประสบการณ์ด้วยกันนะ

อาม่ารัตน์ เกิดในประเทศไทย จากเหล่าม่า (คุณทวด) อพยพมาจากประเทศจีน ในสมัยปลายรัชกาลที่ ๗ เมื่อเข้ามาก็มาอยู่แถวท่าเรือหวั่งหลี (ท่าเรือเมล์จีน) ซึ่งในปัจจุบันนี้คือห้องแถวที่ติดกับวัดยานนาวา ถนนเจริญกรุง ๕๒ และญาติก็ยังอาศัยอยู่ แต่ทางวัดกำลังจะรื้อทิ้งเพื่อนำที่ไปสร้างเป็นอาคารพาณิชย์ใหม่

ในสมัยนั้น ตรงนั้นเป็นท่าเรือขนส่งทั้งคนโดยสาร และสินค้า ที่หากใครต้องการจะเดินทางไปยังเมืองจีนแล้วจะต้องไปลงเรือสำเภา ณ บริเวณนั้นทุกคนจึงเป็นที่ที่รุ่งเรืองมาก คุณทวด เหล่ากง อพยพเข้ามามีแค่เสื่อผืน หมอนใบ เหมือนเรื่องอยู่กับก๋ง เข้ามาทำงานเป็นกุลี รับจ้างแบกหาม พอตั้งตัวได้ มีกิจการ จึงเรียกให้คุณทวด เหล่าม้า อพยพเข้ามาอยู่ที่ประเทศไทยด้วยกัน

ทั้งสองคนอยู่ด้วยกันจนมีลูก เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๓ ซึ่งพระราชบัญญัติ ฉบับดังกล่าวใช้บังคับเรียบร้อยแล้ว อย่างที่เกริ่นเอาไว้ ท่านทั้งสองพูดและเขียนภาษาไทยยังไม่ได้ แล้วใครจะเป็นคนไปแจ้งเกิดที่ละ??

อีกอย่างก็คือหากต้องไปติดต่อกับทางราชการแล้ว ไม่ค่อยมีคนจีนที่ไหนอยากจะไปซักเท่าไหร่

ดังนั้นก็ต้องไหว้วานคนที่สามารถพูดภาษาไทย และภาษาจีนได้เป็นคนช่วยดำเนินเรื่องให้ ซึ่งท่านเล่าให้ฟังว่า คน ๆ นี้ จะมาที่บริเวณนี้ประมาณเดือนละ ๒ ครั้ง โดยการเคาะประตูบ้านแต่ละหลังคล้ายๆ กับพวกขายตรง กับเผื่อบ้านไหนมีธุระปะปังจะให้ติดต่อกับทางราชการเขาจะเป็นคนทำให้ทั้งหมด ตั้งแต่การแจ้งเกิด แจ้งตาย แจ้งย้ายเข้า ย้ายออก โดยเขาจะเก็บค่าธรรมเนียมเพื่อที่เขาจะสามารถยังชีพได้

อาม่าเล่าให้ฟังว่า เมื่อฝากบอกคนนี้ไป เขาจะไปแจ้งให้กับทางอำเภอรึเปล่าก็ไม่มีใครรู้ เพราะไม่มีหลักฐานอะไรกลับมาให้กับทางครอบครัวของอาม่าเลย

ดังนั้นด้วยผลของกฎหมายฉบับนี้ อาม่าจึงได้รับแจ้งเกิด ว่าเกิดในประเทศไทย มีใครเป็นพ่อแม่ อาศัยอยู่ที่ไหนเป็นหลักฐานในทางราชการ แต่ราชการไม่มีเอกสารอะไรออกเพื่อเป็นคู่ฉบับให้กับชาวบ้านเลย

หมายเลขบันทึก: 56110เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2006 23:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ตามมาอ่านตามคำชวนจ้า

 อื้อ ขอบคุณมากๆๆ นะจ๊ะ สำหรับการแบ่งปันเรื่องราว อ่านแล้วนึกถึงอาม่า(ของพี่)จัง

เท่าที่อ่านๆ กฎหมายฉบับนี้ ไม่มีการกำหนดให้ต้องออกหนังสือคู่ฉบับหรือสำเนาให้กับผู้แจ้งด้วยค่ะ รวมถึงไม่มีการกำหนดให้สามารถไปคัดถ่ายสำเนาได้ เหมือนที่กฎหมายบางฉบับบอกเอาไว้ ด้วยจ้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท