ชลิต13*


ฝึกงานได้12วันเเล้วค๊าบ

27/10/49 

วันนี้มาถึงที่สถาบันเวลา 6.50น

- เริ่มงานด้วยการทำสติ๊กเกอร์ติดแผ่นCD  ต่อจากเมื่อวานที่ทำค้างไว้  เเล้วจากนั้นมีการทำเเบบเพิ่มขึ้นมาอีก 1 เเบบโดยผมออกเเบบขึ้นมาเอง

- รับประทานอาหารเวลา 12.00น

- ช่วงบ่ายอ่านเเบบฝึกหัดทบทวนเรื่อง

ทบทวนบทเรียน*
องค์ประกอบของเสียงในภาพยนตร์1. Dialog หรือ บทสนทนา เป็นส่วนที่มีความสำคัญที่สุดที่ใช้ในการบอกเล่าเรื่องราวและเนื้อหาของหนัง ส่วนมากจะบันทึกสดในขณะถ่ายทำเพราะจะสื่ออารมณ์ได้ดีกว่าการนำมาพากย์ใหม่ แต่จะเสียค่าใช้จ่ายสูง ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการอัดและใช้เครื่องบันทึกเสียงคือ Production Mixer โดยมี Boom Man เป็นผู้ช่วยในการถือและวางตำแหน่งของไมโครโฟนที่ใช้อัด หากช่วงไหนเสียงที่บันทึกมาคุณภาพไม่ดีเช่น มีเสียงรบกวนเยอะ เสียงเบาไป เสียงแตก หรือ เราต้องการเปลี่ยนบทสนทนา เราก็จะพากย์ใหม่ซึ่งเรียกว่าการทำ Looping หรือ ADR (Automated Dialog Replacement) คนที่ดูแลส่วนนี้ก็คือ ADR Recordist มักจะไปบันทึกกันที่ห้องอัด ADR Editor ก็คือผู้ที่นำเสียงที่มาขยับให้ตรงกับปากของนักแสดงหรือวางในตำแหน่งที่ต้องการ สิ่งที่สำคัญในการพากย์ใหม่ก็คือน้ำเสียงและอารมณ์ของนักแสดงควรให้ใกล้เคียงกับของเดิมมากที่สุดเพื่อไม่ให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกสะดุดในขณะชมภาพยนตร์ได้ ซึ่งอาจจะมีการใช้ effect ตกแต่งเสียงเช่นการ EQ หรือการใส่ Reverb เข้าช่วยบ้าง2. Sound Effect คือเสียงต่างๆที่เกิดขึ้นรอบๆนักแสดงซึ่งจะมีส่วนช่วยเสริมให้คนดูเชื่อในสิ่งที่เห็นบนจอ เราแบ่งเป็น 3 กลุ่มได้ดังนี้ 2.1 Foley คือการทำเสียงเท้าเดินหรือวิ่ง ส่วนมากจะทำขึ้นมาใหม่เพราะเป็นการยากที่จะอัดได้อย่างชัดเจนในขณะถ่ายทำ และรวมไปถึงเสียงเสื้อผ้าที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของตัวละคร หรือเสียงการหยิบ จับ วางของ ปิดเปิดประตู ซึ่ง Foley Artist ก็คือคนที่ทำเสียงเหล่านี้ขึ้นมาใหม่ให้สมจริงที่สุด  2.2 Sound Design คือเสียงบางอย่างที่ไม่ได้เกิดขึ้นในชีวิตจริงแต่ไปเสริมความรู้สึกให้กับภาพได้ เช่นเสียงฮัมต่ำ ๆ ก็อาจใช้แทนความรู้สึกถึงอันตรายที่กำลังจะเกิดขึ้น หรืออาจจะเป็นเสียงที่ทำขึ้นเองเช่นเสียงไฟที่กำลังลุกไหม้ในภาพยนตร์เรื่อง Backdraft หรือเสียงดาบเลเซอร์ในภาพยนตร์เรื่อง Starwars เป็นต้น 2.3 Ambience คือเสียงบรรยากาศในสถานที่ต่าง ๆ เช่นในป่าตอนกลางคืนก็จะต้องมีเสียงจิ้งหรีดเรไร หรือเสียงความวุ่นวายของสภาพการจราจรในเมือง หรือเสียงของกลุ่มคน ( Walla Group )ในงานเลี้ยง,งานแต่งงาน,ภัตตาคาร,ร้านอาหาร ก็จะมีเสียงต่างกัน หรือเสียงสภาพบรรยากาศของห้อง ( Room Tone ) แต่ละห้องก็จะไม่เหมือนกัน 3. Music หรือดนตรีประกอบ ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ใช้สร้างอารมณ์ของหนังให้สมบูรณ์ขึ้น ดังที่เราเคยได้ยินจากภาพยนตร์หลาย ๆ เรื่อง ผู้ที่ทำหน้าที่ตรงนี้ก็คือ Music Composer

อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญที่สุดก็คือความพอดีในการใช้เสียงต่าง ๆ เช่นการไม่จงใจใช้ดนตรีหรือ effect ต่าง ๆที่ขับเน้นอารมณ์มากเกินไป หรือ มีเสียงน้อยหรือโล่งและรกจนเกิดความรู้สึกอึดอัด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็อยู่ที่ดุลย์พินิจของคนทำแต่ละคน

- ตอนก่อนกลับอ.ดุสิตให้พูดอัดเสียงเพื่อนำเสนองานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ ในวันที่21-26 พฤศจิกายน 2549 อ.ดุสิต เลือกเสียงนายวีระพงษ์เนื่องจากน้ำเสียงใช้ได้ เเละเหมาะสม

- กลับบ้านเวลา 18.00น

คำสำคัญ (Tags): #ฝึก-12
หมายเลขบันทึก: 56073เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2006 17:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท