นโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล


นโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล
ร่างนโยบายของรัฐบาลที่จะแถลงต่อสภานิติบัญญัติ โดยภาพรวมแล้วก็ดูดี นโยบายหัวข้อย่อยในห้าด้าน ล้วนมีความสำคัญ แต่เราก็เห็นว่า เนื่องจากรัฐบาลมีเวลาจำกัด จึงควรเน้นบางหัวข้อเป็นพิเศษ สำหรับนโยบายด้านเศรษฐกิจที่เราอยากให้เน้นคือ  นโยบายหัวข้อ 2 .1 ภาคเศรษฐกิจฐานราก เช่น หัวข้อ 2.1.3 แรงงานซึ่งเป็นรากฐานสำคัญอีกส่วนหนึ่งของภาคเศรษฐกิจฐานราก จะเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาคแรงงาน ภาคเอกชน และภาครัฐ ให้ครอบคลุมถึงการพัฒนาคุณภาพและฝีมือของแรงงานในระดับต่าง ๆ เพื่อให้สามารถมีผลผลิตและรายได้สูงขึ้นตามมาตรฐานฝีมือแรงงานตลอดจนมีหลักประกันความมั่นคง รวมทั้งสวัสดิการแรงงานอย่างทั่วถึงและเป็นธรรมยุครัฐบาลทักษิณนั้น น่าสังเกตว่า มีผลงานด้าน แรงงานน้อย   ทั้ง ๆ ที่ในด้านหนึ่งรัฐบาลก็ชูนโยบายขจัดความยากจน แต่กลับมิได้เน้นใส่ใจกับผู้ใช้แรงงานเท่าที่ควรอันที่จริงรัฐบาลเกือบทุกรัฐบาลก็มิได้เอาจริงเอาจังกับการช่วยเหลือผู้ใช้แรงงานนัก เพราะนักการเมืองทั้งหมดมาจากชนชั้นกลางและชนชั้นสูง แม้รัฐบาลนี้เองก็ตาม เราก็คงคาดหวังยากเช่นกัน แต่เมื่อรัฐบาล  เขียนเป็นนโยบายไว้แล้ว ก็จำเป็นต้องคอยทวงถามและติดตามตรวจสอบ นโยบายหัวข้อ “2.1.4 การขยายตัวทางเศรษฐกิจของภาคเศรษฐกิจฐานราก ตามแนวทางข้างต้น      จะดำเนินควบคู่กันไปกับการดุแลผู้ที่ไม่พร้อม หรือยังไม่สามารถจะปรับตัวได้ โดยการจัดสวัสดิการสงเคราะห์และบริการทางสังคมที่จำเป็นอย่างทั่วถึง และโดยการดูแลโอกาสในการเรียนรู้ การศึกษา ตลอดจนการฝึกอาชีพสำหรับคนเหล่านี้และลูกหลาน นอกจากนั้น การเติบโตทางเศรษฐกิจจะต้องได้รับการดูแลมิให้เกิดกระทบทางผลทางลบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีกด้วยจุดสำคัญสำหรับงานภาคเศรษฐกิจฐานรากนั้น อยู่ที่ย่อหน้าสุดท้ายที่ว่า เพื่อการนี้ จะปรับปรุงบทบาทของผู้ว่าราชการจังหวัด และหน่วยงานภูมิภาค โดยปรับปรุงระบบความสัมพันธ์ระหว่างภูมิภาค ท้องถิ่น ชุมชน และภาคประชาสังคมอย่างเหมาะสมรูปธรรมของการ เหมาะสมคืออย่างไรฝ่ายมหาดไทยจะเข้าใจบทบาทนี้อย่างไร ยังน่าเป็นห่วงอยู่  โดยหลักการแล้ว การดำเนินงานแบบผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการเป็นหลักการที่ดี เพียงแต่ในการนำไปปฏิบัติ ยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน นับตั้งแต่การไปเรียกชื่อว่า ผู้ว่า CEO” ก็ทำให้เกิดความเข้าใจไม่ถูกต้องเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดเสียแล้ว  การทำงานของผู้ว่าราชการจังหวัดในยุคนี้ จำเป็นอย่างยิ่ง   ที่จะต้องเข้าถึงชุมชน เข้าถึงคนมีความสามารถในชุมชน ร่วมมือกับภาคประชาสังคมไม่ใช่ทะเลาะกับ         ภาคประชาสังคม  การทำงาน ฐานรากให้มีการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้น แก่นหลักก็คือการปรับปรุงการทำงานของหน่วยราชการในจุดนี้สยามรัฐ (คอลัมน์บทบรรณาธิการ)  27  ต.ค.  49
คำสำคัญ (Tags): #นโยบายเศรษฐกิจ
หมายเลขบันทึก: 56051เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2006 15:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท