ครูนอกระบบ
นาง ณัฐนิธิ อารีย์ อักษรวิทย์

<เล่าสู่กันฟัง>โครงการจัดการศึกษาทางไกล หลักสูตรอาเซียนศึกษา เพื่อพัฒนาครู กศน. ตำบล ครู ศรช. และครูอาสาสมัคร กศน.


โครงการจัดการศึกษาทางไกล 

หลักสูตรอาเซียนศึกษา
เพื่อพัฒนาครู กศน. ตำบล ครู ศรช. และครูอาสาสมัคร กศน. 
ในการเตรียมความพร้อมประชาชน ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน 
ใน พ.ศ. 2558 หรือ ค.ศ. 2015

หลักสูตรอาเซียนศึกษา

๑. ความเป็นมา    

ปัจจุบัน ประชาชนโดยทั่วไปของประเทศสมาชิกอาเซียน     ซึ่งรวมถึงคนไทยที่ยังไม่ได้มีความรู้สึกถึงความเป็น "พลเมืองอาเซียน" จากรายงานผลการสำรวจข้อคิดเห็นเกี่ยวกับทัศนคติเกี่ยวกับการรับรู้เรื่องอาเซียน พบว่าประชาชนส่วนใหญ่มีความรู้สึกว่าตนเองเป็น "พลเมืองอาเซียน" ไม่ถึงร้อยละ ๖๕

ในฐานะที่ประเทศไทย   เป็นหนึ่งในสมาชิกก่อตั้งอาเซียน   รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญในการเตรียมความพร้อมของประเทศเพื่อร่วมผลักดันให้เกิดการสร้างประชาคมอาเซียนภายในปี ๒๕๕๘ ที่เน้นการปฏิบัติและเชื่อมโยงยิ่งขึ้น เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนในภูมิภาค ตามที่ปรากฎในปฏิญญาชะอำ หัวหิน ว่าด้วยแผนงานสำหรับประชาคมอาเซียน พ.ศ. ๒๕๕๒ – ๒๕๕๘   ซึ่งประเทศไทยมีข้อผูกพันร่วมกับสมาชิกอาเซียนที่จะส่งเสริมให้ประชาชนอาเซียนมีส่วนร่วมและได้รับประโยชน์จากการรวมตัวของอาเซียนและกระบวนการเป็นประชาคมอาเซียน นอกจากนี้ ในวาระที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน เมื่อปี   ๒๕๕๒    รัฐบาลไทยได้ผลักดันให้เกิดการบรรลุเป้าหมายกฎบัตรอาเซียน (Realizing the AseanChater) การเสริมสร้างประชาคมอาเซียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Revitalizing a people-centred ASEAN Community) และการเน้นย้ำความมั่นคงของประชาชนในภูมิภาค (Reinforcing humansecurity forall)เป็นต้น อันจะทำให้ประชาชนสามารถก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ได้อย่างบรรลุผลได้ภายในปี ๒๕๕๘

          รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำประเทศไทยไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนที่สมบูรณ์ เพื่อให้ประเทศไทยและคนไทยได้ประโยชน์สูงสุด   โดยสร้างความพร้อมและความเข้มแข็งในสามเสาหลัก คือ ๑) ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ ๒) ความร่วมมือทางการเมืองและความมั่นคง และ ๓) ความร่วมมือทางสังคม และวัฒนธรรม โดยที่ประชาคมอาเซียนทั้งสามเสาหลักมีความสำคัญเท่าเทียมกัน และต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องไปพร้อมๆ กัน การกำหนดการก้าวไปสู่ประชาคมเป็นวาระแห่งชาติ จึงควรครอบคลุมทั้งสามเสา เพื่อประกอบกันเป็นประชาคมอาเซียนที่ครบถ้วนสมบูรณ์ โดยมีคณะกรรมการอาเซียนแห่งชาติเป็นกลไกระดับประเทศในการประสานการดำเนินงาน   และติดตามความคืบหน้าในภาพรวม รวมทั้งผลักดันและสนับสนุนหน่วยงานราชการต่างๆ ในการดำเนินการเพื่อก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียน

ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการได้มีนโยบายพัฒนาการศึกษาของประเทศ เพื่อในการเตรียมความพร้อมของคนไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยกำหนดให้มีการจัดการเรียนการสอน “หลักสูตรอาเซียนศึกษา” ในระดับต่างๆ ซึ่งก็ยังมีการขับเคลื่อนตามศักยภาพและความสนใจของผู้บริหาร และครูผู้สอน   ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการขาดข้อมูล องค์ความรู้และแนวทางในการขับเคลื่อนกิจกรรมการเรียนการสอน  

สำนักงาน กศน. เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีบทบาทในการจัดส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับอาเซียนให้กับประชาชน เพื่อให้คนไทยเข้าใจอาเซียน   เข้าใจการอยู่ร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีวัฒนธรรมการกิน การอยู่ การดำเนินชีวิตที่คล้ายคลึงกัน จึงจำเป็นที่จะต้องทำความรู้จักประเทศเพื่อนบ้าน ภายใต้การรวมตัวเป็นประชาคมเดียวกันของคนจำนวนกว่า ๖๐๐ ล้านคน รวมทั้งตระหนักถึงผลกระทบที่อาจได้รับ อันเป็นผลจากการรวมตัวของ “ประชาคมอาเซียน”

ในปัจจุบัน สำนักงาน กศน. มีครูและบุคลาการทางการศึกษา รวม ๑๘,๓๗๕ คน ในจำนวนนี้ เป็นครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่ทำหน้าที่ในการบริหารและวางแผน      จำนวน ๓,๒๐๘    คน   และครู กศน. ตำบล ครูอาสาสมัคร และอื่นๆ จำนวน ๑๕,๑๖๗ คน ที่มีบทบาทหน้าที่ในการบริหารและจัดการความรู้ไปสู่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายในระดับพื้นที่ตำบลและหมู่บ้าน โดยไม่นับรวมถึงครูและบุคลกรทางการศึกษาในสังกัดอื่นที่มีอีกนับแสนคน    ดังนั้น หากบุคลากรเหล่านี้ได้รับการพัฒนาให้มีองค์ความรู้เกี่ยวกับ “อาเซียนศึกษา” ถูกต้อง เป็นระบบ เพียงพอ ก็จะช่วยให้สามารถขับเคลื่อนประเด็นเกี่ยวกับ อาเซียนศึกษา ไปสู่ประชาชน และนักเรียน   นักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการเตรียมความพร้อมของคนไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปีพุทธศักราช ๒๕๕๘

๒. จุดประสงค์

เพื่อให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา

(๑) รู้และเข้าใจเกี่ยวกับ “อาเซียน” และ “ประชาคมอาเซียน”

(๒)รู้และตระหนัก ถึงผลกระทบที่ประชาชนและประเทศไทยจะได้รับจากการเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียน

(๓)รู้แนวทางและสามารถนำความรู้ไปใช้ในการจัดกิจกรรมอาเซียนศึกษา ให้กับนักศึกษาและประชาชนได้อย่างเหมาะสม

๓. กลุ่มเป้าหมาย

              ครูและบุคลากรทางการศึกษา โดย มีครู กศน.ตำบลเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก

จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้และจำนวนหน่วยกิต

              (๑) จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้                       ๖๐ ชั่วโมง

                   โดยมีระยะเวลาเรียนรู้ประมาณ   ๒ เดือน

               (๒) จำนวนหน่วยกิต                              ๑.๕ หน่วยกิต

                    จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ ๔๐ ชั่วโมง เท่ากับ  ๑ หน่วยกิต

๔. โครงสร้างหลักสูตร

               ประกอบด้วย สาระการเรียนรู้ จำนวน ๔ หน่วยการเรียนรู้ และกิจกรรมสัมมนาเสริมสร้างประสบการณ์และประเมินผลก่อนจบหลักสูตร รวม ๖๐ ชั่วโมง โดยมีรายละเอียด ดังนี้

                ๑) สาระการเรียนรู้ จำนวน ๔ หน่วยการเรียนรู้ จำนวน ๕๐ ชั่วโมง

                   หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑      ปฐมบทแห่งอาเซียน

                   หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒      รู้จักประเทศสมาชิกอาเซียน

                   หน่วยการเรียนรู้ที่ ๓      ประเทศไทยกับอาเซียน

                   หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔      การจัดกิจกรรมอาเซียนศึกษา

                 ๒) สัมมนาเสริมสร้างประสบการณ์และประเมินผลก่อนจบหลักสูตร จำนวน ๑๐ ชั่วโมง

  

          ๕. สื่อการเรียนรู้

สื่อการเรียนรู้ตามหลักสูตรอาเซียนศึกษา ได้จัดทำในลักษณะชุดการเรียนสื่อประสม (Multimedia) ซึ่งจัดทำเนื้อหาโดยคณะทำงานซึ่งประกอบ ผู้เชี่ยวชาญด้านอาเซียน ด้านสื่อการเรียนการสอน และการวัดประเมินผล ซึ่งประกอบด้วยสื่อต่างๆ ดังนี้

               ๑) ชุดการเรียนทางไกล เป็นเอกสารที่ประกอบด้วย คำชี้แจงที่เกี่ยวข้อง และเนื้อหา จำนวน ๔ หน่วยการเรียนรู้ พร้อมด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ และกิจกรรมที่มอบหมาย 

               ๒)  คู่มือการเรียนทางไกล หลักสูตรเซียนศึกษา เป็นเอกสารที่จะสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการเรียนรู้หลักสูตร และให้ผู้เรียนใช้บันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ งานที่มอบหมาย เพื่อตรวจสอบความรู้ ความเข้าใจ จากการเรียนรู้ของตนเอง 

๓)  สื่อวีดิทัศน์ เสริมเติมเต็มเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับอาเซียน และประชาคมอาเซียน 

 

๖. การประเมินผล

การประเมินผลเพื่อการจบหลักสูตร ประเมินจากองค์ประกอบ และสัดส่วนของคะแนน ดังนี้

      ๑) แฟ้มสะสมผลงานจากการเรียนรู้ด้วยตนเอง                                    ๗๐ คะแนน

                - กิจกรรมการเรียนรู้                                                    ๓๐ คะแนน

               - กิจกรรมที่มอบหมาย                                                   ๔๐ คะแน

       ๒) การสอบภาคความรู้                                                           ๒๐ คะแนน

      ๓) การเข้าร่วมสัมมนาเสริมสร้างประสบการณ์และประเมินผลก่อนจบ              ๑๐ คะแนน

 

๗. การจบหลักสูตร

ผู้เรียนที่จะได้รับการพิจารณาให้จบหลักสูตร จะต้องผ่านการวัดผลและประเมินผลตามเกณฑ์ ดังนี้ 

 ๑) มีคะแนนการประเมินในแต่ละองค์ประกอบ                    ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ 

 ๒) มีคะแนนรวมทุกองค์ประกอบ                                  ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐

 

กระบวนการเรียนรู้

กระบวนการเรียนรู้ “หลักสูตรอาเซียนศึกษา” เป็นการเรียนรู้ตามกระบวนการศึกษาทางไกล โดยมีกระบวนการ ดังนี้

๑. รับการปฐมนิเทศ ผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์ กระทรวงศึกษาธิการ (ETV) ตามวัน เวลาที่กำหนด

๒. การศึกษาด้วยตนเอง จำนวน ๕๐ ชั่วโมง

ขั้นตอนที่ ๑ ศึกษาและทำความเข้าใจคู่มือการเรียนทางไกล หลักสูตรอาเซียนศึกษา ส่วนที่ ๑ เพื่อให้เข้าใจนโยบาย และกระบวนการเรียนรู้   รวมถึงรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร

ขั้นตอนที่ ๒ วางแผนการเรียนรู้สำหรับตนเอง โดยคำนึงถึงความสะดวก ความพร้อมของตนเอง เพื่อให้สามารถศึกษาเนื้อหาสาระ ทำกิจกรรมการเรียนรู้และกิจกรรมที่มอบหมาย ภายใต้ระยะเวลาที่กำหนด

ขั้นตอนที่ ๓ ศึกษา/เรียนรู้ด้วยตนเอง   จำนวน ๕๐ ชั่วโมง ภายในระยะเวลา ๒ เดือนโดยประมาณ

                          (๑) ทำแบบทดสอบก่อนเรียน เพื่อประเมินความรู้เบื้องต้นตรวจสอบกับเฉลยและบันทึกคะแนนไว้

                          (๒) ศึกษาเนื้อหาสาระจากชุดการเรียนทางไกล และสื่อประกอบ 

                          (๓) ทำกิจกรรมการเรียนรู้ท้ายหน่วยการเรียนรู้ ๑ – ๓ ลงในแบบบันทึกการเรียนรู้ที่กำหนด ในคู่มือการเรียนทางไกล หลักสูตรอาเซียนศึกษา ส่วนที่ ๒ โดยผู้เรียนสามารถตรวจสอบกับแนวคำตอบ ที่ให้ไว้ท้ายชุดการเรียนทางไกล   กรณีที่คลาดเคลื่อนแนวคำตอบที่ให้ไว้ ผู้เรียนควรย้อนกลับไปศึกษา ทบทวนเพื่อตรวจสอบความเข้าใจอีกครั้ง  

                          (๔) ทำกิจกรรมอาเซียนศึกษาที่มอบหมายที่มอบหมาย ท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ ๔ ตามใบงานที่กำหนด

                             ทั้งนี้ ผู้เรียนจะต้องส่งบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ในคู่มือการเรียนทางไกล (๓)  และผลงานจากกิจกรรมอาเซียนศึกษาที่มอบหมาย (๔)  รวมทั้งเอกสาร หลักฐานที่เกี่ยวข้อง ให้ครูที่ปรึกษาตรวจให้คะแนน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของคะแนนการประเมินผล 

                          (๕) ทำแบบทดสอบหลังเรียน เพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจที่ได้รับจากการเรียนรู้ ตรวจสอบกับเฉลย และนำคะแนนที่ได้ไปเปรียบเทียบกับคะแนนแบบทดสอบก่อนเรียน   กรณีที่ผู้เรียนได้รับคะแนนแบบทดสอบหลังเรียน น้อยกว่าหรือเท่ากับคะแนนแบบทดสอบก่อนเรียน ให้ถือว่าผู้เรียนยังไม่บรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้   ควรกลับไปศึกษาและทบทวนอีกครั้ง

                   ขั้นตอนที่ ๔ เข้ารับการสัมมนาเสริมสร้างประสบการณ์และประเมินผลก่อนจบหลักสูตร จำนวน ๑๐ ชั่วโมง

๓) สัมมนาเสริมสร้างประสบการณ์และประเมินผลก่อนจบหลักสูตร จำนวน ๑๐ ชั่วโมง

                   (๑) เสริม เติมเต็มความรู้จากวิทยากร

                   (๒) แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้เรียน จากผลงานการทำกิจกรรมที่มอบหมาย

          ๔) การทดสอบภาคความรู้ (ในช่วงที่เข้ารับการสัมมนาเสริมสร้างประสบการณ์และประเมินผลก่อนจบหลักสูตร)

 

 

หมายเลขบันทึก: 559848เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2014 22:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มกราคม 2014 22:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท