เราควรใช้อะไรมาเป็น Hypothesis ?


        Research Problem : การอ่านดีกว่าการฟังหรือไม่ ?

                                  H1  : การอ่านดีกว่าการฟัง

             Implication ( I )    : กลุ่มตัวอย่างที่อ่านข้อความที่กำหนดให้จะตอบข้อสอบจากเรื่องที่อ่านนั้นได้มากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ฟังเสียงการอ่านข้อความเดียวกันจากเสียงของคนอื่นที่อ่านให้ฟัง 

                                  H2 (H+I) : ถ้าการอ่านดีกว่าการฟังแล้ว  เมื่อให้กลุ่มตัวอย่างอ่านข้อความที่กำหนดให้  จะตอบข้อสอบจากเรื่องที่อ่านนั้น ได้มากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ฟังเสียงการอ่านข้อความอย่างเดียวกันจากเสียงการอ่านข้อความเดียวกันจากเสียงของคนอื่นที่อ่านให้ฟัง

          ปัญหา : (๑) เราควรใช้  H1, หรือ  I,  หรือ  H2  มาเป็น Research Hypothesis ?

          คำตอบก็คือ  :  (๑) ใช้ได้ทั้ง  ๓  กรณี

                                  (๒) ถ้าใช้ H1  เราต้อง "นิยามเชิงปฏิบัติการ" ให้กับมโนทัศน์ "การอ่าน"  และ "การฟัง" ให้สามารถ "วัดได้"

                                  (๓) ถ้าใช้ " I " มาเป็น H  เสียเลยก็ได้  โดยไม่ต้องนิยามเพิ่มเติมอีก

                                  (๔) ถ้าใช้ H2(H+I)  ก็ได้

          ถ้าเราไปเปิดดูรายงานการวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์  จะเป็นวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (เคมี, ฟิสกส์,ชีววิทยา ฯลฯ)  หรือวิทยาศาสตร์สังคมในห้องสมุดตามมหาวิทยาลัยต่างๆ  เราจะพบ  H  ทั้ง ๓ แบบนี้  แต่ส่วนใหญ่จะพบมากที่สุดตามแบบ H1

          ข้อแนะนำของผมก็คือ  H1  ครับ   เพราะว่า  H ที่ทดสอบแล้วจะเป็น "กฎ"  คือ " Statistical Law"  หรือ  "Probabilistic Law"  ซึ่งข้อความในลักษณะของ  H1  นั้น มีลักษณะเป็นข้อความเชิงกฎอยู่แล้ว เพียงแต่ผู้วิจัยจะต้องให้คำนิยามเชิงปฏิบัติการ หรือ Operational Definition  ทุกมโนทัศน์ให้เป็นคำที่สามารถสังเกตได้  หรือวัดได้

คำสำคัญ (Tags): #operational#definition#statistical#laws
หมายเลขบันทึก: 55916เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2006 09:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 18:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท