อันตรายจากคลับทางอินเทอร์เน็ต


อันตรายจากคลับทางอินเทอร์เน็ต

การเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด….เคยสงสัยว่าคลับทางอินเทอร์เน็ต เป็นอย่างไร คนส่วนใหญ่เป็นใคร มาจากไหน ทำอะไร….และมารวมกลุ่มเพื่ออะไร

จึงลองเข้าร่วมเป็นสมาชิกคลับแห่งหนึ่งทางอินเทอร์เน็ต….แรกๆ ก็ลองเข้าไปอ่านกระทู้    พอมีการจัดงานสังสรรค์หรือนัดพบปะพูดคุย     ก็ไปร่วมกิจกรรมกับเค้าด้วย

แรกๆ ไม่รู้จักใคร และไม่มีใครรู้จักเรา…พอไปร่วมกิจกรรมสักสองสามครั้ง สมาชิกหลายท่านเริ่มรู้จักเราและจำเราได้ ก็เริ่มพูดคุยกันมากขึ้น…..แต่ทุกครั้งที่มีกิจกรรม จะต้องมีการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่…ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่ชอบนัก…..และรู้สึกว่า “อันตราย” จากภัยในสังคมเหล่านี้ จะมาเมื่อไหร่   ไม่รู้     รู้แต่ว่า เราต้องระวังตัว เพราะไม่มีใครรู้จักกันมากนัก เป็นการรู้จักแบบผิวเผิน

กิจกรรมที่ชมรมหรือคลับจัดขึ้น ส่วนที่ดีคือชวนกันไปทำบุญ แต่มีส่วนน้อย…ส่วนใหญ่ จะเน้น “ดื่ม-กิน” มากกว่า…..เราจึงเข้าใจว่า ไม่ควรคาดหวังอะไรจากคลับ ที่ “เลื่อนลอย” เหล่านี้ ….ปัจจุบัน มีคลับลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นมากมาย……

และเมื่อเช้า26 ตุลาคม 2549  รายการผู้หญิงถึงผู้หญิง ก็นำเรื่องจริงที่ฝากเตือนภัยมาถึงผู้ชมว่าเรื่องการเข้าเป็นสมาชิกกับคลับทางอินเทอร์เน็ตนั้น ครั้งแรกๆ ก็ดูดี บรรยากาศดูปลอดภัย พอสมาชิกเริ่มตายใจ หรือสนิทกันมากขึ้น วางใจ ….ก็จะมีการมอมเหล้า…และพาไป “หลับนอน” โดยจะมีการ “บันทึกภาพไว้เบล็คเมล์” ซึ่งนี่เป็นประสบการณ์ที่มีคนเขียนมาเล่าให้ฟัง

เราจึงย้อนนึกถึงคลับที่เราไปร่วมเป็นสมาชิกด้วย….ว่าเรื่องราวดำเนินไปคล้ายคลึงกัน …เพียงแต่โชคดีที่เรา   ระวังตัวและไม่ชอบการดื่ม-กินด้วย จึง  “ไม่ตกเป็นเหยื่อ”    กับมิจฉาชีพที่แฝงตัวเข้ามา ….

จึงฝากเตือนมาถึงผู้อ่านทุกท่าน….ว่ายุคข้อมูลข่าวสารสมัยนี้มีทั้งดีและไม่ดีปนกัน ควรที่จะ “เลือกบริโภคข้อมูล บริโภคความรู้” ในสิ่งที่ปลอดภัยกับชีวิต….และทรัพย์สิน…

 

คำสำคัญ (Tags): #คลับ#ภัย
หมายเลขบันทึก: 55836เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2006 14:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

คำว่าอินเทอร์เน็ต ราชบัณฑิตยสถานได้ประกาศเป็นศัพท์มาตรฐานในปี ๒๕๓๙ และได้ตีิพิมพ์ไวในหนังสือศัพท์คอมพิวเตอร์ฉบับราชบัณฑิตยสถานพิมพ์ครั้งที่ ๕ ปี ๒๕๔๐ ครับ

คำว่าศัพท์มาตรฐานหมายความว่าการสะกดแบบอื่น เป็นการสะกดผิดแบบแผนภาษาไทยมาตรฐานนะครับ

เรื่องนี้เป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องช่วยกันเตือนแก้ไข และพบว่าแม้เรื่องนี้มีข้อสรุปไปเมื่อสิบปีที่แล้ว ก็ยังมีผู้สะกดผิดกันทั้งบ้านทั้งเมือง ผิดในตำราเรียน ผิดในหนังสือราชการ ผิดในการลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาซึ่งไม่น่าจะผิดเลย แถมยังมีพจนานุกรมซึ่งเอกชนพิมพ์เองอีกอย่างน้อยสองฉบับ ที่ตีพิมพ์แบบผิดๆ โดยไม่ยอมตรวจสอบกับราชบัณฑิตยสถานก่อนครับ

ภาษาไทยของเรา เราก็ต้องช่วยกันรักษาครับ

คำอธิบายเรื่องนี้ เป็นไปตามกฏการถ่ายโอนเสียงที่กล่าวไว้คร่าวๆว่า t ที่เป็นพยัญชนะต้น ใช้ ท แทน ter จึงเขียนเป็น เทอร์ ส่วน t ที่เป็นตัวสะกด จะใช้ ต net จึงเขียนว่า เน็ต

ราชบัณฑิตท่านที่ผมเรียนถามไม่ได้อธิบายว่าทำไมเน็ตจึงต้องใส่ไม้ไต่คู้ แต่เข้าใจเอาเองว่าเป็นทำให้เป็นเสียงสั้น (ซึ่งเมื่อ ต สะกด เป็นคำตาย ก็มีเสียงสั้นอยู่แล้ว) แต่อาจจะทำให้ชัดเจน เช่นคำว่า เป็ด อีกมุมหนึ่งก็คือพยางค์นี้เป็นสระเอะ เมื่อมีตัวสะกด จึงเปลี่ยนเป็น เ-็x ซึ่งคำอธิบายแบบหลังดูจะสมเหตุผลกว่า

ขออภัยหากล่วงเกินครับ

ขอบคุณค่ะที่อธิบาย เพราะไม่ทราบเลยว่าเขียนผิด
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท