การจัดการความรู้ กับ เศรษฐกิจพอเพียง


เมื่อวานนี้ในการพูดคุยประจำสัปดาห์ของ  สคส.    มีเรื่องหนึ่งคือ  AAR  เวทีเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียน - การสอน     ทำให้เกิดคำถามกับตัวเองว่า    "KM  กับ เศรษฐกิจพอเพียง  นั้น   มีความสัมพันธ์กันในมิติใดได้บ้าง?"

paradigm  เปิดกะบาลทัศน์

พอมามองหาจุดที่คล้ายกัน   น่าจะเป็นเรื่อง   วิธีคิด  ระบบคิด  กระบวนทัศน์    เพราะว่า  ทั้ง 2 อย่างนั้น   มีความเชื่อลึกๆเป็นฐานคิด   เช่น   เชื่อในความรู้ที่อยู่ในตัวตนของคน   เชื่อในเรื่องการควบคุมกิเลศภายในตน   เชื่อว่าความพอเพียงนั้นผูกติดอยู่กับใจ ไม่ใช่รูปแบบวิธีการ   เหล่านี้เป็นต้น        ดังนั้น   ผมเลยติต่าง (ณ เวลานี้) เอาว่า  หากจะปฏิบัติไม่ว่าจะเป็น KM หรือ  เศรษฐกิจพอเพียง    จะต้องมีกลไกอย่างหนึ่งที่ไปกระทบต่อวิธีคิดของคนด้วย  มันจึงจะออกฤทธิ์ได้ดี

Learn from Act   ทำ นำ คิด  

ทั้ง KM และ เศรษฐกิจ    โดยส่วนตัวผมเชื่อว่าเป็น  tacit มากๆ   พูดแบบรวบรัดก็คือ  "ถ้าไม่ลงมือทำ ไม่มีวันเข้าใจมันจริงๆ" 

Charm of Difference  สวยงามที่ความต่าง

ทั้ง KM และ เศรษฐกิจพอเพียง   มีหลากหลายรูปแบบ  วิธีการปฏิบัติ   ซึ่งทั้งหมดแตกต่างกันไปตามสภาพเงื่อนไขทางธรรมชาติที่เป็นตัวกำหนด      ที่สำคัญยิ่งยวด    คือการได้มาซึ่งวิธีการปฏิบัติที่ลงตัว  ฟิตเปรี๊ยะกับบริบทเฉพาะนั้นๆ    ผมเชื่อว่านี่คือ  ผลพวงจากการเกิดพัฒนาการเรียนรู้ของคน    ซึ่งน่าสนใจมาก  เพราะผมเห็นว่าเป็นความรู้ที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่   ไม่ใช่ความรู้ที่เสพมาจากที่อื่น 

ส่วนมิติอื่นๆ  หากท่านใดมองเห็นก็อย่าลืม  แบ่งปัน  เล่าความคิดให้ฟังบ้างนะครับ  

 

 

หมายเลขบันทึก: 55815เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2006 10:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท