พลังแห่งการบันทึกของครูอ้อย : ข้อคิดและบทเรียนจากดอกไม้ของครูอ้อย


มุมมองที่แตกต่างจากบันทึก 1 เรื่อง

จากบันทึกธรรมดาๆของครูอ้อย เรื่อง ดอกไม้ดอกเล็กๆที่แสนสวยของครูอ้อย  เพื่อนหลายคนของนายบอนที่ได้อ่าน ได้ให้มุมมองที่หลากหลาย น่าสนใจทั้งนั้น จึงได้รวบรวมมาบันทึกไว้ในที่นี้

เสียดายที่เพื่อนๆไม่ได้เข้ามาเขียนแสดงข้อคิดเห็นเหล่านี้ไว้ ด้วยตัวของเขาเอง แต่สิ่งที่รวบรวมมานี้ คงให้อะไรได้หลายอย่างเช่นกัน

มุมมองต่อครูอ้อย
- ครูอ้อย ประชาสัมพันธ์เก่ง อยากให้ลูกสาวเข้าตากรรมการหลายคน
- กระตุ้นความสนใจในตัวของลูกสาว ลองดูผู้เป็นแม่บ้างว่า ทำไมถึงได้ติด gotoknow ยิ่งกว่าเด็กติดเกมออนไลน์
- อยากให้คนอื่นพูดถึงลูกสาวของตัวเองบ้าง จะได้เกิดความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น
 - อยากให้ลูกสาวรู้จักคนอื่นๆมากขึ้นใน gotoknow
-  อยากให้ลูกเก่งเหมือนแม่ ขวนขวายหาความรู้เหมือนแม่
- อยากให้มีคนเรียกชื่อลูกผิดเพี้ยนไป เหมือนผู้เป็นแม่ เช่น เรียกอ้อย เป็นน้อย!!!!

มุมมองต่อนายบอน
- อยากให้จับประเด็นมาเขียนในแบบเปรียบเทียบ ให้ข้อคิดในแบบใกล้ตัวในแบบนี้ บันทึกถึงคนกาฬสินธุ์ใน gotoknow แบบที่ครูอ้อยบันทึก ให้รู้สึกใกล้ชิดกับ gotoknow มากขึ้น
- อยากให้เขียนเรื่องที่ใกล้ตัวมากๆ อ่านรู้เรื่อง ใส่ข้อคิด ให้มุมมองใหม่ๆ
- อยากให้วิพากษ์ลูกสาวครูอ้อย เพื่อจะได้รู้ว่า ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้นจึงหรือไม่

ข้อสังเกตทั่วไป
- ผู้เป็นแม่เขียนบันทึก มีความสุขเผื่อแผ่คนอ่านอยู่ตลอด แล้วลูกสาวจะแสดงออกแบบนี้บ้าง
ไหม
- เมื่อผู้เป็นแม่บันทึก ผู้ลูกจะเข้ามาเสริม บันทึกขยายความสุขบ้างไหม เข้ามาเป็นแม่-ลูก ที่เขียนบันทึกแจกจ่ายความรู้สึกดีๆ คู่แรกของ gotoknow ได้หรือไม่
- ลูกสาว จะตามรอยเท้าผู้เป็นแม่ได้หรือเปล่า
- ลูกสาวจะสามารถแสดงออกถึงความมีชีวิตชีวา เหมือนผู้เป็นแม่ได้มากน้อยแค่ไหน
- ลูกสาวจะเป็นขวัญใจของคนอ่านบันทึก มีคนคอยติดตามอ่าน เหมือนผู้เป็นแม่ได้หรือเปล่า (ผู้เป็นแม่จะถ่ายทอดเคล็ดลับหรือไม่)



 

หมายเลขบันทึก: 55774เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2006 00:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 17:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีค่ะ คุณบอน

  • มุมมองแต่มุมตามความคิดของคุณบอนและถ่ายทอดออกมาไว้  เป็นลักษณะของการต่อยอดบันทึก
  • มีอะไรหลายอย่างในชีวิต ที่ไม่ได้ออกมาพูดหรือเล่าเพื่อเป็นอุทาหรณ์สอนใจคนรุ่นหลัง  นี่เป็นวัตถุประสงค์ใหญ่ของการจัดการความรู้ใน Gotoknow
  • พื้นฐานของความเข้าใจของผู้อ่านนั้นแตกต่างกัน  ปรับพื้นฐานเสียก่อน  ผู้อ่านจึงจะเข้ามาต่อยอดของความรู้นั้นได้
  • บันทึกเรื่องราวของครูอ้อย   ควรค่าแก่การมีคุณค่าหรือไม่  ก็ขึ้นอยู่กับสถิติการอ่านและต่อยอดความคิดความรู้สึกแบบคุณบอนนี่ล่ะค่ะ
  • อย่างไรก็ตาม ลักษณะแบบนี้จะมีใครเข้าใจว่าเป็นการประชาสัมพันธ์งานของครูอ้อยหรือเปล่า  จริงใจแล้วครูอ้อยต้องการเช่นนั้น  ถ้าไม่ต้องการก็คงไม่เขียนถ่ายทอดออกมา  ซึ่งต้องใช้พลังใจจากมิตรรักอย่างมากมาย
  • ขอบคุณค่ะ คุณบอนที่สะท้อนให้เห็นความงอกงามของเมล็ดพันธ์ที่ครูอ้อยได้ปลูกไว้ค่ะ

- ช่วงนี้มีงานกฐินครับ เวลานับยอดเงินทำบุญแล้ว โฆษกจะประกาศว่า ใครจะต่อยอดบ้าง นายบอนเลยติดใจ มาต่อยอดใน gotoknow อีกยก

- หลายอย่างในชีวิตที่ไม่ได้เล่าเพื่อสอนใจคนรุ่นหลัง งั้นก้เล่าสิครับ (อิอิ)

- ปรับพื้นฐานเสียก่อน นึกถึงการเทพื้นปูนซีเมนต์ ขนาดวัดมุมแล้ว ใช้เครื่องวัดอย่างดี พอเทพื้นแล้ว ยังดูเอียงๆยังไงชอบกล การจะปรับพื้นบ้าน ก็คงต้องขุด ไถ เกรดดินให้เรียบทั้งหมด  พื้นดินยังมีกรวด หิน ปนอยู่เยอะ นายบอนคิดว่า การปรับพื้นฐานความรู้ก็คงทำนองนั้นมั้งครับ 

- บันทึกหนึ่งมีคุณค่าหรือไม่ ไม่รู้ว่าจะตอบว่าอย่างไร แต่โจ๊ก ก๊วยจั๊บ ก๋วยเตี๋ยว ผัดหมี่ วางอยู่ในโต๊ะ เมื่อผู้ทาน ตักทานแล้ว ปริมาณที่ตักทานไม่สามารถที่จะบอกคุณค่านั้นได้นะครับ ้เพราะนายบอนทานโจ๊กไม่อิ่ม ต้องตักหลายชาม แต่ถ้าอาหารอย่างอื่น ทานไม่นาน อยู่ท้อง (คือ อิ่ม) ครับ

- บันทึกแบบนี้ เป็นการประชาสัมพันธ์ให้รึเปล่า เออ ทำไปแล้ว ได้ค่าโฆษณารึเปล่า? น้ำแก้วนึง ครูอ้อยยังไม่เคยเลี้ยงเลยครับ (รู้งี้คิดค่าโปรโมทให้ซะก็ดี อิอิอิ)

คุณบอน

  • ครูอ้อยเขียนบันทึกแล้ว  เมื่อผู้อ่านได้อ่านแล้ว  เขาจะยิ้ม  เหมือนที่ครูอ้อยอ่านบันทึกของคุณบอนหรือเปล่า
  • ครูอ้อยเขียนบันทึกลักษณะประชด  ลองอ่านซิคะ

เอาบันทึกประชดมาให้อ่าน หรือจะกระทุ้งสีข้างว่า นายบอนเขียนข้อความประชดครูอ้อยล่ะสิครับ

เขียนแบบนี้ เดี๋ยว Next Week เจออีก 1 Series หรอก


พลังแห่งการบันทึกของครูอ้อย คือ 1 Series

บันทึกแบบ Series เขียนประเด็นหนึ่ง แต่หลายแง่มุม
นายบอนมักจะชอบเขียน 1 Series ต่อ 4-6 บันทึกนะครับ

เวลานี้ยังไม่มีประเด็นที่จะเขียนเป็น series ได้ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท