แนวทางการบูรณาการงานส่งเสิรมการเกษตรกับวิสาหกิจชุมชน


แนวทางการบูรณาการ

แนวทางการบูรณาการงานส่งเสริมการเกษตรกับวิสาหกิจชุมชน  

                         ---------------
                แต่เดิม กรมส่งเสริมการเกษตร มีภารกิจสำคัญ  ได้แก่  การถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยีการเกษตร และส่งเสริมสถาบันเกษตรกร  หลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548  ทำให้นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรมีภาระเพิ่มขึ้นตามพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว  จึงมีปัญหาว่า นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร จะปฏิบัติตามภารกิจเดิมและเพิ่มขึ้นได้อย่างไร  การวิจัยแนวทางการบูรณาการงานส่งเสริมการเกษตรกับวิสาหกิจชุมชน  มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาแนวทางบูรณาการงานส่งเสริมการเกษตรกับวิสาหกิจชุมชน  โดยเป็นการวิจัยเอกสาร (documentary  research)  ระยะเวลาวิจัย  ระหว่างมกราคม ถึง สิงหาคม  2549               

           สรุปผลการวิจัย               

     1.  บทบาทนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร  ตามภารกิจส่งเสริมการเกษตรเดิม  ได้แก่                             

     1)   ศึกษา วิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่และชุมชน                               

          2)   ถ่ายทอดความรู้ด้านการจัดการผลิต และอื่นๆ                               

          3)   กระตุ้น  ชี้แนะ  ร่วมแก้ไขปัญหาเกษตรกร                               

          4)   ส่งเสริมและพัฒนาองค์กรเกษตรกร                               

           5)   ประสานงานหน่วยราชการเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหา                               

           6)   บริการให้คำปรึกษา  อำนวยความสะดวก  เพื่อแก้ไขปัญหา               

     2.  บทบาทนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน  ได้แก่                               

          1)   ส่งเสริมองค์กรเกษตรกรให้เข้มแข็ง  เพื่อจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน                               

          2)   ประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชน                               

          3)   ส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชน                               

          4)   ประสานงานหน่วยงานภาครัฐ  เอกชน  และกลุ่มองค์กรต่างๆ เพื่อสร้างเครือข่ายและแก้ไขปัญหา   

          5)   รวบรวมข้อมูลเสนอองค์การบริหารส่วนตำบล และหน่วยงานราชการ               

     3.  แนวทางการบูรณาการงานส่งเสริมการเกษตรกับวิสาหกิจชุมชน  มีขั้นตอน ดังนี้                               

          ขั้นที่ 1    ศึกษาวิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่และชุมชน  เพื่อจัดทำแผนแม่บทพัฒนาชุมชน  โดยจัดเวทีเรียนรู้ อย่างน้อย  5 ครั้ง  ได้แก่                                                 

               เวทีเรียนรู้ครั้งที่ 1   ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  ประวัติชุมชน  วิถีชีวิต  ผลกระทบของสังคม  เศรษฐกิจ  การเมือง และสิ่งแวดล้อมกับชุมชน                     

        เวทีเรียนรู้ครั้งที่ 2   ร่วมศึกษาข้อมูล  ปัญหาและความต้องการของชุมชน                                               

               เวทีเรียนรู้ครั้งที่ 3   วิเคราะห์ข้อมูล  แยกย่อยรายละเอียดข้อมูล                                               

                เวทีเรียนรู้ครั้งที่ 4   วิเคราะห์ข้อมูล ศักยภาพชุมชน                                               

               เวทีเรียนรู้ครั้งที่ 5   จัดทำแผนแม่บทชุมชน                               

     ขั้นที่ 2   การถ่ายทอดความรู้ด้านจัดการผลิตและอื่นๆ  แบ่งเป็น   

       ะดับบุคคล  เช่น  ส่งเสริมให้เกิดการสังเกตุ  ฟัง  แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เขียน วิจัย  เป็นต้น                                        

          ระดับกลุ่ม  เช่น  ฝึกอบรม  ทัศนศึกษา  กระบวนการกลุ่ม  การประชุมแบบมีส่วนร่วม เป็นต้น                                               

          ระดับชุมชน  เช่น  ฝึกอบรม  ทัศนศึกษา  ร่วมคิด  ร่วมทำ  ร่วมวางแผน  เป็นต้น                                               

          ระดับเครือข่าย  เช่น  ส่งเสริมการรวมกลุ่ม  จัดองค์กรเครือข่าย  สัมมนาร่วมกับองค์กรอื่นๆ  เป็นต้น                               

     ขั้นที่ 3   กระตุ้นให้เกิดกลุ่มหรือองค์กรเครือข่าย  มีขั้นตอน    

          1)  คัดเลือกผู้นำ                                               

          2)  ปลูกจิตสำนึก                                               

          3)  กระตุ้นผู้นำเพื่อรวบรวมสมาชิก                                               

          4)  สร้างกระบวนการเรียนรู้ให้สมาชิกเป็นกลุ่มเรียนรู้                               

     ขั้นที่ 4   ส่งเสริมและพัฒนากลุ่มหรือองค์กรเกษตรกรให้เข้มแข็ง  ได้แก่     

          1)  ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการองค์กรที่ดี                                               

          2)  ส่งเสริมและพัฒนากลุ่มหรือองค์กร  ดำเนินกิจกรรมตามแผนแม่บทชุมชน                               

      ขั้นที่ 5    ส่งเสริมการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน                    

  ขั้นที่ 6    ประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชน                               

      ขั้นที่ 7    ส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชนให้สอดคล้องกับระดับการพัฒนา  ได้แก่                                               

                    วิสาหกิจชุมชนปฐมภูมิ     ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้

                                                                   ส่งเสริมกิจกรรมและการบริหารจัดการที่ดี                                               

                     วิสาหกิจชุมชนก้าวหน้า     ส่งเสริมให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของวิสาหกิจชุมชนอื่นๆ                               

     ขั้นที่ 8    ประสานหน่วยงานภาครัฐ  เอกชน  และองค์กรต่างๆ เพื่อสร้างเครือข่าย  ร่วมแก้ไขปัญหา  ได้แก่  เครือข่ายระดับหมู่บ้าน/ตำบล  เครือข่ายระดับอำเภอ/จังหวัด/เขต/ประเทศ  การส่งเสริมและพัฒนาเครือข่าย มีดังนี้                     

          1)   เจ้าหน้าที่สำรวจวิสาหกิจชุมชน และองค์กรเกษตรกรในหมู่บ้าน/ตำบล                                               

           2)   เจ้าหน้าที่สำรวจปัญหาความต้องการของวิสาหกิจชุมชนและองค์กรเกษตรกร                                               

          3)   เจ้าหน้าที่ชี้แจงคณะกรรมการวิสาหกิจชุมชน  องค์กรเกษตรกร  ให้เห็นความสำคัญถึงความจำเป็นการจัดตั้งองค์กรเครือข่าย

          4)   เจ้าหน้าที่เชิญคณะกรรมการวิสาหกิจชุมชน และองค์กรเกษตรกร  ผู้นำหมู่บ้าน/ตำบล  ผู้ใหญ่บ้าน  กรรมการหมู่บ้าน  สมาชิกองค์กรบริหารส่วนตำบล  เพื่อคัดเลือกคณะกรรมการบริหารองค์กรเครือข่าย                                               

          5)   คณะกรรมการบริหารองค์กรเครือข่าย  จัดร่างระเบียบการบริหารองค์กร                                               

          6)   คณะกรรมการบริหารองค์กรเครือข่าย  ดำเนินกิจกรรมตามแผนแม่บทชุมชน                               

     ขั้นที่ 9    การให้บริการ  ให้คำปรึกษา  อำนวยความสะดวกแก่เกษตรกร  โดยส่งเสริมและพัฒนากลุ่มองค์กรวิสาหกิจชุมชน และเครือข่าย  เป็นศูนย์กลางดำเนินงานต่างๆ  ได้แก่                                               

          1)   ตอบสนองชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหา                                               

          2)   ตอบสนองนโยบายรัฐบาล  กระทรวง  กรม และจังหวัด                                              

          3)   เป็นศูนย์กลางบริการชุมชนต่างๆ  

-------------------------

หากสนใจ  หาอ่านได้  รายงานการวิจัย เรื่อง แนวทางการบูรณาการงานส่งเสริมการเกษตรกับวิสาหกิจชุมชน  สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5  จังหวัดสงขลา                                                                                
หมายเลขบันทึก: 55689เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2006 14:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤษภาคม 2012 11:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • เป็นประโยชน์มากคะ ขอบคุณมากที่บันทึกมาแบ่งปัน
  • ขอแสดงความยินดีที่คุณวสันต์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นเกษตรจังหวัดยะลา
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท