บันทึกประสบการณ์การดูเซลล์เม็ดเลือด ; Explicit knowledge ในอนาคตของคนฮีมาโต


คนที่เข้าปฏิบัติงานใหม่ก็ไม่ต้องรอสะสมประสบการณ์อีก 10-20 ปีแล้ว
   แล้วจากคำถามที่ค้างไว้จากบันทึกที่แล้ว "ว่าทำอย่างไรจึงจะดึงเอาความรู้ซ่อนเร้นของคนฮีมาโตออกมาทำให้เป็นความรู้ชัดแจ้งให้ได้?"...พี่เม่ยจึงมีความคิดว่าจะจัดทำบันทึกประสบการณ์ (โดยเฉพาะการดูเซลล์ด้วยกล้องจุลทรรศน์)  โดยจะทำไปพร้อมๆกับงานประจำ ทำแบบธรรมชาติ คือในระหว่างปฏิบัติงานถ้าใครพบปัญหาในการดูเซลล์ หรือเห็นเรื่องใดเป็นเรื่องที่ตนเองคิดว่ามีประสบการณ์อยากจะบอกต่อ..ก็ตั้งเป็นประเด็นขึ้นมา (เป็นสิ่งเร้า) หลังจากนั้นก็ให้ผู้ปฏิบัติงานคนอื่นได้เข้ามาสนทนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ (dialogue : สุนทรียสนทนา?) เราก็มีหน้าที่จดบันทึกแล้วนำมาสรุปถ่ายทอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร (knowledge engineer : วิศวกรความรู้) จัดทำเป็นบันทึกประสบการณ์ ในเรื่องการดูเซลล์ และถ่ายรูปเซลล์นั้นๆลงในบันทึกด้วยเลย 
   บันทึกประสบการณ์นี้ก็จะกลายเป็น explicit knowledge ด้านการดูเซลล์ได้ (หรือไม่?)นอกเหนือจากตำรา คู่มือที่ใช้ประกอบการปฏิบัติงาน ซึ่งจะเกิดประโยชน์แก่หน่วยงานก็คือ ในอนาคตกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่มากประสบการณ์เหล่านี้ก็ต้องเกษียณอายุไป คนที่เข้ามาปฏิบัติงานใหม่ก็ไม่ต้องรอสะสมประสบการณ์อีก 10-20 ปีแล้ว สามารถศึกษาจากบันทึกประสบการณ์นี้ บวกกับความรู้พื้นฐานที่ได้จากการเรียนในหลักสูตรก็สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีคุณภาพพอสมควรได้
หมายเลขบันทึก: 5567เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2005 14:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นความคิดที่ดีมากๆ เลย อยากให้พี่เม่ยขยายโครงการนี้ไปในหน่วยงานอื่น อาจเป็น pilot สัก 2-3 หน่วย หรือมากกว่านั้น

ยินดีให้หน่วยงานอื่นนำไอเดียไปประยุกต์ใช้ค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท