ชยันโตโมเดล..นวัตกรรมและหลักบริหารจัดการโรงเรียนบ้านหนองผือ


จึงเป็นหัวใจของทุกสิ่งทุกอย่างในโรงเรียนขนาดเล็ก..กรณีบ้านหนองผือ ที่ยึดถือและบูรณาการสู่การสอน และบังเกิดผลเป็นรูปธรรมเป็นลำดับมาตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๔ จนถึงปัจจุบัน...ที่ยึดมั่น อย่าง เข้าใจ..เข้าถึง..และพัฒนา..อย่างพอเพียง

ผมกำลังศึกษาเรียนรู้Twins Model ของโรงเรียนชุมชนบ้านป่ามะม่วง คิดค้นโดย ท่านผอ.อัญชัญ ครุฑแก้ว เจ้าของรางวัลผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก บริหารจัดการยอดเยี่ยม(Obec Award) ..ตั้งใจว่าจะนำโมเดลนี้ไปใช้ในปีการศึกษา ๒๕๕๗ ด้วยเหตุผลที่เห็นว่า มีขั้นตอนที่ง่าย กระชับ ปฏิบัติได้ทันที ไม่มีอะไรยุ่งยาก ผลลัพธ์ข้างเคียง น่าจะได้ความสุขเพลิดเพลินตามมา เหมือนเจ้าของโมเดล..ก็อาจเป็นได้

 

ตอนนี้ขอใช้..ชยันโตโมเดล..ไปก่อน คิดและดำเนินการมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๔ ส่งผลดีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการจัดการในภาพรวม เกิดความคล่องตัวในองค์กร และประสานความร่วมมือร่วมใจ ให้เกิดความเข้มแข็งในการปฏิบัติงานของบุคลากร

 

ชยันโต..ก็ง่ายๆ มาจากชื่อผมเอง เป็นสิริมงคลดี สังเกตจากเวลารับปริญญา พระสงฆ์ก็จะสวดชยันโต..เวลาพระประพรมน้ำพระพุทธมนต์ คณะสงฆ์ก็จะสวดชยันโตโพธิญา... ช่วยเสริมพลังใจ ให้ก่อเกิดความสำเร็จในชีวิตและการงาน

 

ผมก็เลยใช้เป็นนวัตกรรมและหลักบริหารจัดการโรงเรียนบ้านหนองผือมาตลอดเกือบ ๒ ปี  ก็ไม่เห็นมีอะไรเสียหาย มีแต่เจริญก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ ..ชยันโต..โมเดล มีดังนี้

 

๑. ธุรการ ONE STOP SERVICE

๒. ผลสัมฤทธิ์เริ่มที่อนุบาล

๓. ประสานเครือข่ายชุมชน

๔. อดทน..อดกลั้น..อดออม

๕. น้อมนำปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

 

นับเป็นขั้นตอนการปฏิบัติงานบริหารที่ไม่มีอะไรซับซ้อนซ่อนเงื่อน กระบวนการก็พอจะจับต้องได้ บางข้อ..จะเป็นความรู้สึกนึกคิดอยู่บ้าง..ก็ต้องยอม เพราะเราต้องใส่ใจในการทำงาน จึงต้องใส่"หัวใจ"เอาไว้เป็นหลักการด้วย

 

ธุรการ..ONE STOP SERVICE

โดยใช้ห้องพักครูเป็นศูนย์กลางทุกอย่าง เป็นห้องทำงานของผอ.และห้องประชุม ทำข้อตกลงกับครูว่า งานเอกสารธุรการรับส่งโต้ตอบที่มาจากเขตฯ ผอ.จะดูเอง จากนั้นจะรีบแจ้งคณะครูรับทราบและปฏิบัติ ครูผู้สอนอยู่กับเด็ก ไม่ต้องทิ้งห้อง ไม่ต้องมาเสียเวลาเสนอสนองงานเอกสารผอ.ไม่ต้องมาขลุกอยู่กับงานกระดาษ..เป็นครึ่งค่อนวัน ลดขั้นตอน ลดความเครียด และลดเงื่อนไข ครูใส่ใจในหน้าที่ที่แท้จริง..ยกเว้นบางเรื่อง ที่สพฐ.(ชอบ)ให้กรอกข้อมูลที่มีโปรแกรมยุ่งยากเยอะแยะ อันนี้ครูต้องลงมาช่วยบ้าง โดยใช้เวลานอกพิเศษ

 

ผลสัมฤทธิ์เริ่มที่อนุบาล

จัดบรรยากาศห้องเรียนอนุบาลให้สะอาด สวยงาม สดใส ใส่ใจในการกำกับติดตามและนิเทศการสอน สนับสนุนวัสดุสื่อให้มีความพร้อม สิ่งแวดล้อมต้องเอื้อต่อการจัดประสบการณ์..ถ้าในระดับปฐมวัย ทำอย่างที่ผมกล่าวไม่ได้ อย่าไปคาดหวังอะไรในระดับประถมศึกษา เพราะมันจะไม่เกิดภาพความสำเร็จใดๆเลย ดังนั้น ณ วันนี้หลักการและทฤษฎีการสอนอนุบาล ต้องปรับเปลี่ยนให้ทันยุคทันสมัย อย่าให้เด็กปั้นแต่ดินน้ำมันอย่างเดียว ร้องเล่นเต้นรำ จำเป็นก็จริง แต่ก็ต้องเสริมภาษาขั้นพื้นฐานทั้งไทยและอังกฤษ ที่โรงเรียนใครจะว่าอะไรก็ช่าง(หัวมัน) เด็กอนุบาลอ่านได้ลายมือสวย ป้อนให้ครูป.๑ เตรียมความพร้อมได้อย่างสบายใจ

 

 

ประสานเครือข่ายชุมชน

หลายเรื่องราว เราทำไม่ได้ ทำไม่ไหว เพราะคนน้อย ภารโรงก็ไม่มี ก็ออกปากไหว้วานเทศบาลบ้าง ชุมชนในหมู่บ้านบ้าง ให้มาช่วยแบกช่วยหาม ตามกาละเทศะที่เหมาะสม แสวงหาความร่วมมือในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ถ้าเป็นงานวิชาการ ก็ติดต่อประสานงานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ในชุมชนจะไม่สิ้นคนดี มีคนมากมายที่ให้น้ำใจที่ใสซื่อ บางครั้งดูดีมีค่ากว่าเงินทองเสียอีก

 

อดทน..อดกลั้น..อดออม

๓ อ.แบบนี้ เป็นความรู้สึกจากใจล้วนๆ ไม่มีไม่ได้ ไม่นำมาใช้เลย งานก็ไม่สำเร็จ ต้องใช้ความอดทน ทุกเมื่อเชื่อวัน รอให้เป็น เย็นให้พอ อยากจะท้อ อยากจะถอย ก็ต้องกลั้นใจสู้ ยอมขมแล้วขมอีก จนกระทั่งยิ้มได้ไม่ต้องฝืน เมื่ออดทนเป็นส่วนหนึ่งของงานและชีวิต แทรกซึมอยู่ทุกอณูขุมขน จนเข้ากระดูกดำ ทำงานได้ในท่ามกลางความยากลำบากและขาดแคลน ส่วนอดออม ใครจะไปเชื่อว่า อดและออมไว้ เพื่อนำไปใช้ในงานราชการเท่านั้น และออมงบประมาณไว้บ้าง เพราะมันมีอยู่น้อยนิด จะรอให้เขาหยิบยื่นวัสดุครุภัณฑ์ จงอย่าได้หวัง เขาตั้งเกณฑ์ตั้งกาจไว้สูง ที่สุดแล้วจำนวนเด็กคุณน้อย..เราไม่สามารถให้คุณได้ นี่คือนโยบายการศึกษาไทย

 

น้อมนำปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

จึงเป็นหัวใจของทุกสิ่งทุกอย่างในโรงเรียนขนาดเล็ก..กรณีบ้านหนองผือ ที่ยึดถือและบูรณาการสู่การสอน และบังเกิดผลเป็นรูปธรรมเป็นลำดับมาตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๔ จนถึงปัจจุบัน...ที่ยึดมั่น อย่าง เข้าใจ..เข้าถึง..และพัฒนา..อย่างพอเพียง

 

 

                                                                      ชยันต์ เพชรศรีจันทร์

                                                                        ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๖

 

 

หมายเลขบันทึก: 556689เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2013 21:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 ธันวาคม 2013 21:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สา...ธุ ! สา...ธุ ! สา...ธุ...!


( เห็นทีจะต้องคิดค้น...มะเดื่อโมเดล..มาใช้บ้างแล้ว )

มาส่งกำลังใจให้คุณครูของชาติทุกๆ ท่านค่ะ

แต่ละท่านมีโมเดลการทำงานที่สุดยอดจริงๆ ค่ะ

เชียร์ และชื่นชมนะคะ

รอชมโมเดลคุณครูมะเดื่อนะคะ

เย็นนี้มิรับสายดิฉันค่ะ

เข้าทีครับ ท่าน ผอ. หินที่กลิ้งอยู่เสมอ ย่อมเกลี้ยงเกลาเป็นเงาวาว

ภาพน่ารัก....ของเหล่าเด็กๆผู้มีดนตรีในหัวใจ

ดีใจมากค่ะ ที่ท่านลงบันทึกนี้ ทำให้ได้รู้จัก "รูปแบบการบริหารโรงเรียนของท่านผอ." ที่อยากศึกษาแบบเต็มๆ มานานแล้ว

นอกจากศรัทธาในความเป็นผู้นำของท่าน ในบันทึกนี้ยังเพิ่มความศรัทธาในความเป็นผู้บริหารที่ไม่อยู่ในประภท "น้ำชาล้นถ้วย" ของท่านขึ้นมาอีกอย่าง...ตามที่ได้พบเห็น คนที่ได้รับการยกย่องในความรู้ความสามารถ มักจะไม่ศึกษาเรียนรู้จากความรู้ความสามารถของคนอื่น เพราะคิดว่าตนแน่แล้ว

ขอเรียนท่านว่า บันทึกที่ว่าด้วยการฬฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานของไอดินฯ ที่ท่านเคยติดตาม และได้เตรียมบันทึกตอนจบซึ่งเป็นตอนที่สำคัญที่สุดไว้นานมาก (เป็นตอนที่มีประเด็นด้านโรงเรียนและผู้บริหาร ซึ่งได้นำโรงเรียนท่านไปเป็นกรณีตัวอย่าง) แต่เนื่องจากเหตุการณ์บ้านเมืองเปลี่ยน เนื้อหาบางส่วนอาจจะใช้ไม่ได้ เลยไม่ได้ลงค่ะ และเนื่องจากมีหลายประเด็น จึงเปลี่ยนเป็นลงบันทึกประเด็นละเรื่อง เปลี่ยนเป็นบันทึกในชุดเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ...โชคดีอีกแล้วค่ะ ที่ท่านลงบันทึกนี้ ไอดินฯ จะได้นำสารสนเทศไปเพิ่มเติมในตอนยกโรงเรียนของท่านเป็นกรณีตัวอย่าง)

สำหรับ "ชยันโตโมเดล..นวัตกรรมและหลักบริหารจัดการโรงเรียนบ้านหนองผือ"ของท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "๒) ผลสัมฤทธิ์เริ่มที่อนุบาล ๓) ประสานเครือข่ายชุมชน ๔) อดทน..อดกลั้น..อดออม" ทำให้ไอดินฯ นึกถึงงานวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) กับครูที่สอนชั้นอนุบาลในชนบท เรื่อง “การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ” (โดยได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ) ที่ไอดินฯ ได้ดำเนินการด้วย “โครงการบ้าน-โรงเรียนร่วมใจ” เพื่อให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการพัฒนาบุตรหลานของตนคู่ขนานไปกับทางโรงเรียน โดยการอบรมเลี้ยงดู และจัดกิจกรรมสร้างเสริมพัฒนาการให้กับบุตรหลานในวันหยุดสุดสัปดาห์ ตามข้อเสนอแนะใน “สารโครงการบ้าน-โรงเรียนร่วมใจ” ที่คณะผู้วิจัยได้จัดทำขึ้นเป็นรายสัปดาห์ ซึ่งในสาร 10 ฉบับแรก จะมีความรู้สำหรับผู้ปกครองชุด “การสอนลูกให้เป็นคนเก่ง ดี และมีความสุข” ฉบับละตอน รวม 10 ตอน ได้แก่ 1) เริ่มต้นด้วยความรัก 2) ฟูมฟักพัฒนา 3) เจรจาให้สร้างสรรค์ 4) รู้เท่าทันไม่หลงทาง 5)เป็นแบบอย่างในสิ่งดี 6)ดูทีวีให้เกิดคุณ 7)เพิ่มพูนประสบการณ์ 8) เล่านิทานให้ลูกฟัง 9) ปลูกฝังคุณธรรม และ 10) ชี้นำให้ประหยัด

ไอดินฯ เขียนถึงงานวิจัยดังกล่าวในบันทึกล่าสุด (http://www.gotoknow.org/posts/556414) ค่ะ

โอ้โฮ...... ชยันโต..โมเดล.....อีเรียมทึ่งสสสส...มาก เลยคะ จ๊าบ สุดๆๆ ที่สำคัญผอ.ใช้แล้วประสบผลสำเร็จ เห็นภาพโรงเรียนบ้านหนองผือ ที่สวยงาม เป็นสัดเป็นส่วน นักเรียนและ คุณครู และผอ. ที่มีคุณภาพคับแก้ว( โค๊ก ) แล้ว .... มัน คือ คำตอบสุดท้าย จ้า อีเรียม ขอบอก มะ เร็วๆๆ เอาแบบประเมินมาให้ อีเรียม อีเรียมจะเช็คให้ 5 +++++

ชอบมาก เพราะ.....

๑ ธุรการ ONE STOP SERVICE

๒. ผลสัมฤทธิ์เริ่มที่อนุบาล

๓. ประสานเครือข่ายชุมชน

๔. อดทน..อดกลั้น..อดออม

๕. น้อมนำปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

หมายเหตุ อีเรียมพาเด็กมาแข่งขันทักษะทางวิชาการที่เพชรบูรณ์ ระหว่างทางก็เก็บเกี่ยวประสบการณ์ เด็กๆๆ ลัล ล๊า.... หนุกหนาน....และมีความสุขมั๊กๆๆๆ พอๆกะอีเรียม อิ อิ เก็บรูปมาฝาก จร้า



Model นี้เข้าท่า มากๆ นะคะ .... ท่านผอ.

เยี่ยมมมากครับผอ.น่าสนใจมาก

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท