ความรู้แบบซ่อนเร้น (tacit knowledge) ของคนฮีมาโต


ทำอย่างไรจึงจะดึงความรู้เหล่านี้ออกมาให้เป็นความรู้แบบชัดแจ้งให้ได้
     งานประจำที่เป็นงานหลักของหน่วยฮีมาโต  ก็คือการตรวจดูเซลล์เม็ดเลือดด้วยกล้องจุลทรรศน์   การดูเซลล์เม็ดเลือดต้องอาศัยประสบการณ์และความชำนาญ  บางคนใช้การสังเกตจากองค์ประกอบอื่นของสเมียร์นั้น แล้วทำนายได้ว่า น่าจะพบเชื้อมาเลเรีย ซึ่งก็พบจริงๆ แต่ไม่สามารถอธิบายแบบวิชาการได้ว่ามีหลักในการดูอย่างไร   ในการดูเซลล์ที่ผิดปกติก็เช่นกัน  ตอบกันได้แม่นยำ แต่ถ้าให้บอกหลักเกณฑ์ที่นำมาใช้  อ้ำอึ้งกันหมด บางคนบอกจำได้เพราะเคยเห็นมาก่อน บางคนบอกให้สังเกตตรงนั้น บางคนบอกให้สังเกตตรงนี้  แบบที่ไม่มีในหนังสือหรือตำรา แต่ผลลัพธ์สุดท้ายก็คือทุกคนสามารถแยกชนิดของเซลล์ได้อย่างถูกต้อง  นี่จัดเป็นความรู้ที่เกิดขึ้นอย่างไม่รู้ตัว ได้มาจากประสบการณ์ที่สะสมมายาวนาน บวกกับการสังเกต จดจำ จนเกิดเป็นความรู้แบบซ๋อนเร้น (tacit knowledge)
     คำถามก็คือ...ทำอย่างไรจึงจะดึงความรู้เหล่านี้ ออกมาทำให้เป็นความรู้แบบชัดแจ้ง (explicit knowledge) ให้ได้?
หมายเลขบันทึก: 5565เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2005 20:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท