เอามะพร้าวมาขายสวน : จรรยาบรรณนักวิจัย


นักวิจัยพึงมีความซื่อสัตย์ นักวิจัยพึงมีความรับผิดชอบ นักวิจัยพึงใจกว้าง นักวิจัยพึงมีความยุติธรรม และนักวิจัยพึงมีความรับผิดชอบต่อการเผยแพร่ผลงานของตน

          จรรยาบรรณนักวิจัยที่ผมค้างไว้ว่าจะเขียนถึง เพื่อให้ทีมงานฯ ไตรภาคีฯ ได้ตระหนักตั้งแต่ต้น ๆ เพื่อการเริ่มดำเนินงานได้อย่างที่ควรจะเป็น ก่อนที่ผมจะได้เขียนถึงก็ไปพบจาก รายงานการประชุมโต๊ะกลมเรื่องจรรยาบรรณของนักวิจัย ฝ่ายวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เห็นว่ามีประโยชน์มาก และทันการณ์ในขณะนี้ จึงขออนุญาตนำมาลงไว้ด้วย ดังนี้ (หากเมื่อได้เขียนขึ้นโดยได้ปรับให้เข้ากับสิ่งที่ทีมงานไตรภาคีฯ จะต้องไปพบ ไปเจอแล้ว ก็จะขอ Update ไว้ที่หน้านี้ครับ)

     จรรยาบรรณนักวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
     1. นักวิจัยพึงมีความซื่อสัตย์ โดย
          - ไม่แอบอ้างความคิดของผู้อื่นมาเป็นของตน มีการอ้างอิงทุกครั้งที่กล่าวถึงผลงาน หรือความคิดของผู้อื่น
          - การขอรับทุนวิจัย ไม่ขอทุนซ้ำซ้อน แจ้งความจริง ไม่ปิดบังวัตถุระสงค์
          - ซื่อสัตย์ต่อสิ่งที่ตนศึกษา ยึดมั่นในวัตถุประสงค์
     2. นักวิจัยพึงมีความรับผิดชอบ โดย
          - ทำงานได้สำเร็จตามแผน ตามกำหนดเวลา ตรงตามเป้าหมาย
          - เก็บรักษาความลับของข้อมูลที่ไม่ควรเปิดเผย
          - คำนึงถึงผลเสียต่อผู้อื่น ต่อสังคมและต่อประเทศชาติ ทั้งด้านจิตใจและวัฒนธรรม เคารพในสิทธิส่วนบุคคล
          - ไม่เป็นเครื่องมือในการแสวงหาประโยชน์ของผู้อื่น
          - คำนึงถึงผลกระทบต่อกลุ่มทดลอง
     3. นักวิจัยพึงใจกว้าง
          - รับฟังความคิดเห็นและคำติชมของผู้อื่น
          - ให้ความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ โดยสุจริตและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
     4. นักวิจัยพึงมีความยุติธรรม
          - ในการแบ่งค่าใช้จ่าย
          - ในการแบ่งค่าตอบแทน
          - ในการให้เครดิตหน่วยงาน หรือผู้ร่วมงาน
     5. นักวิจัยพึงมีความรับผิดชอบต่อการเผยแพร่ผลงานของตน
          - คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคม
 
     ตัวอย่างพฤติกรรมการผิดจรรยาบรรณทางวิชาการ 
     1. การแก้ไข ดัดแปลง หรือบิดเบือนข้อมูล ผลงานวิจัย หรือหลักวิชาการ เพื่อประโยชน์หรือโทษทางการเมือง หรือการบริหารในทุกระดับ
     2. การเสนอแอบอ้างผลงานที่ตนเองไม่ได้เป็นผู้ทำ เพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ ไม่ว่าผู้ทำงานจะยินยอมพร้อมใจด้วยฉันทาคติ หรือโดยอามิสสินจ้างก็ตาม
     3. การที่ผู้มีหน้าที่รวบรวมข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ในโครงการของหน่วยงาน ลักลอบทำสำเนาใส่เทป หรือดิสเกตต์เก็บไว้ส่วนตัว เพื่อใช้ในเชิงธุรกิจ ไม่ว่าจะได้ลบข้อมูลในคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานด้วยหรือไม่ก็ตาม
     4. การใช้ผลงานวิจัยชิ้นเดียวส่งเป็นรายงานให้เจ้าของทุนมากกว่า 1 แหล่ง โดยเปลี่ยนชื่องานให้ดูแตกต่างกัน และปิดบังไม่ให้เจ้าของทุนทราบความจริง
     5. การลอกเลียนข้อเสนอรับทุนวิจัยของผู้อื่น
     6. การนำเสนอโดยแอบอ้างเป็นผู้สร้างหลักการหรือหลักเกณฑ์นั้น ทั้งที่ได้ความคิดหลักจากวารสารต่างประเทศ โดยปิดบังที่มาของความคิดนั้น
     7. การลอกเลียนความคิดของผู้อื่นไปเขียนขึ้นใหม่
     8. การใส่ชื่อตนเองแต่ผู้เดียวในผลงานที่ทำร่วมกันหลายคน
     9. การทำรายงานวิจัยเสนอผู้ว่าจ้างหรือแหล่งทุน ในฐานะหัวหน้าโครงการ โดยไม่ผ่านการรับรู้หรือเห็นชอบของผู้ร่วมงานวิจัย
     10. การลอบนำผลงานของผู้อื่นหรือผู้ร่วมงานที่กำลังทำอยู่แต่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ไปเสนอก่อน
     11. การนำข้อมูลของผลงานที่ทำร่วมกันหลายคนไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับความเห็นชอบของผู้ที่ร่วมทำ
     12. การที่ผู้สอนใหม่นำเอกสารประกอบการสอนชุดเดิมที่ผู้อื่นจัดทำไว้ หรือชุดที่ดัดแปลงหรือแปลไปเป็นเอกสารประกอบการสอนในการขอตำแหน่งวิชาการ เมื่อมีการเปลี่ยนตัวผู้สอนในวิชาเดียวกัน
     13. การที่นิสิตนำผลงานของอาจารย์ไปเขียนเป็นวิทยานิพนธ์โดยไม่ได้รับอนุญาต ทั้งนี้จะระบุอ้างอิงไว้ในบรรณานุกรมหรือไม่ก็ตาม
     14. การที่นิสิตนำเอกสารประกอบการสอนอันเป็นผลงานของอาจารย์ไปเขียนเป็นตำรา ทั้งในระหว่างที่เป็นนิสิตหรือเมื่อสำเร็จการศึกษาไปแล้ว

          ที่มา: ส่วนส่งเสริมและพัฒนาวิจัย สำนักบริหารวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
 
     เรื่องทั้งหมดที่เขียนเป็นตอน ๆ คือ [บทนำ ขั้นตอนการทำวิจัย] [การเลือกเรื่อง เลือกปัญหา และการกำหนดปัญหาการวิจัย] [การทบทวนเอกสาร วรรณกรรม และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง] [การกำหนดกรอบแนวคิดหรือทฤษฎี] [การตั้งสมมติฐาน] [การกำหนดตัวแปรและการวัด] [การกำหนดหรือวางรูปแบบการวิจัย] [การเตรียมและพัฒนาเครื่องมือในการวิจัย] [การกำหนดกลุ่มประชากร และการเลือกกลุ่มตัวอย่าง] [การเก็บรวบรวมข้อมูล] [การเตรียมข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์] [การวิเคราะห์ข้อมูล] [การแปลผลจากการวิเคราะห์ข้อมูล] [การเขียนรายงานวิจัย] [ความคลาดเคลื่อนหรือผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้จากการวิจัย] [จรรยาบรรณนักวิจัย] [คุณสมบัติของนักวิจัยที่ดี]
     หมายเหตุ: หากยังไม่ link หมายถึงยังไม่ตีพิมพ์ไว้ครับ

หมายเลขบันทึก: 5563เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2005 18:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
แว๊บผ่านมาอีกรอบ ในบรรดาจรรยาบรรณของนักวิจัยที่พึงมี ไม่ว่าจะเป็น นักวิจัยที่ไหนก็ตาม ต้องเน้นย้ำ จรรยาบรรณ ในข้อที่ 2 เป็นอย่างมาก เนื่องด้วยเกี่ยวเนื่อง/ เป็นประเด็นที่เกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่า research ethic/ ethical issue ในงานวิจัย สำหรับบางหน่วยงานได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เป็นอย่างมาก โดยกำหนดให้งานวิจัยทุกงานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับมนุษญ์ ไม่ว่าจะเป็น การ review chart/ medical records, interview, intervention/ treatment, take sample (eg. blood)  หรืออะไรก็ตามที่มี "คน" เข้าไปเกี่ยวข้องกับการทดลอง การวิจัย งานวิจัยนั้นต้องผ่าน ethic committee หรือคณะกรรมการจริยธรรม ประจำหน่วยงานนั้น หรือในบางกรณีบางสำนักพิมพ์อาจจะไม่พิจารณา รับตีพิมพ์ ถ้าไม่ผ่านการรับรอง (approve) จากคณะกรรมการจริยธรรม ของต้นสังกัดผู้วิจัย โดยเฉพาะสำนักพิมพ์ต่างประเทศ (อาจจะไม่ทุกสำนักพิมพ์/ วารสาร) และเขาจะเขียนไว้ในตัวงานวิจัยที่ตีพิมพ์ด้วย  และวารสารของไทยบางฉบับ หรือแม้แต่บางหน่วยงาน ไม่รับพิจารณาเป็นผลงานทางวิชาการ หากงานวิจัยนั้น ไม่ผ่านการพิจารณาจาก คณะกรรมการจริยธรรม

การเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการจริยธรรมเพื่อลด/ ไม่ให้เกิด ผลกระทบ ในจรรยาบรรณของนักวิจัย โดยเฉพาะข้อ 2 แต่ว่าไม่ใช่ว่าจะใช่ทั้งหมด อันนี้ก็ขึ้นกับ ethical mind ของคณะกรรมการจริยธรรมด้วย (คณะกรรมการนี้เขาประกอบด้วย บุคคลจาก สหสาขา) ว่าจะเบี่ยงเบนไปทางไหน อย่างไร

อันนี้บางครั้งยัง controversy ยังถกเถียง ยังขัดขวาง ในบางกรณี เช่น กรณีการทำงานวิจัยย่อยๆ ของนักศึกษา ที่มีเวลาการทำวิจัย ไม่นานนัก เช่น 1-2 เดือน (ทำตั้งแต่ขั้นตอนแรก จนสุดท้ายของการวิจัย) ทำให้เวลา เป็นเครื่องจำกัด เนื่องจาก คณะกรรมการจริยธรรม จะประชุมกัน ไม่ค่อยบ่อยนัก หรือเป็นวาระๆ ไป เช่น 1 เดือนครั้ง เป็นต้น ทำให้งานวิจัยของนักศึกษาบางเรื่อง ไม่สารมารถ ดำเนินการต่อ (โดยนักศึกษา) ในเรื่องการ publication ได้ เพราะติดขัดในเรื่องนี้

หรือแม้กระทั่งเรื่องงานวิจัยที่เป็นวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา ที่อาจารย์ที่ปรึกษา (มักจะมีสิทธิ์/ อ้างสิทธิ์/ ความชอบธรรม) ที่จะนำไป public ต่อ เนื่องด้วยเหตุผลของการเป็นผู้ควบคุม การวิจัยทั้งหมด นี้ก็เป็นกรณีที่น่าจะ นำมาพิจารณา ในเรื่องของจรรยาบรรณ หรือ ethical issue เหมือนกัน อันนี้ต่างฝ่ายต่างมีเหตุผล ( เข้าข้าง) ของตนเองเสมอ
ผมมีความเห็นเรื่องจรรยาบรรณ เพิ่มเติมแค่นี้ครับ เอ ... แล้วผมเข้าทางไหนบ้างนี่
8-)>
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท