ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กับ กฏไตรลักษณ์


ระบบหรือโครงการ​ยิ่งใหญ่ ยิ่งต้องใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของ​  พ่อหลวงของเรา

ความเห็นผมว่าสอดคล้องกับ
กฏไตรลักษณ์ คือ

เกิดขึ้น = มีเหตุผล =ทำกิจการใดดี ลงทุนอะไรดี 

ตั้งอยู่ = พอประมาณ = ขนาดโครงการพอดีไม่​เกินกำลัง คุ้มค่าเหมาะสม

ดับไป = มีภูมิคุ้มกัน = การ​จัดการ​ความเสี่ยง ถ้าตลาดไม่เป็นอย่างที่เราคิด หรือมีเหตุภายนอกมากระทบ

โดย​การ​ปฏิบัติ ต้องมี

ความรู้+ คุณธรรม

จึง​เห็นว่า​
ระบบหรือโครงการ​ยิ่งใหญ่
ยิ่งต้องใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง

ขอความเห็นเพิ่มเติม ด้วยครับ :)

ภก.สันติ ศุภนันธร

 

หมายเลขบันทึก: 555962เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2013 22:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2013 23:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

น่าจะสอดคล้องกับปรัชญากตัญญูสูงสุดของอิสลามมากๆ

เพราะ ในคัมภีร์ อัล-กุรอาน กล่าวเรื่องพอเพียง เป็นร้อยๆที่เลยทีเดียว

ไม่ต้องคาดเดาเอาเอง หาอ่านได้เอง เพียรได้เองไม่ลำบาก และ หลักฐานนั้นก็เป็นปัจจุบันที่สุดในบรรดาคัมภีร์

และที่สำคัญน่าสนใจ ตือว่า ผู้ที่กล่าวเรื่องปรัชญา "พอเพียง"นั้น คือ ผู้ที่สนับสนุนเงินเพื่อนำมาแปล กุรอาน เป็นภาษาไทย ก้อนแรกของโลกซะด้วยซิ เราว่านะ เมื่องานแปลฯ เสร็จสิ้นลง พิมพ์เสร็จเมื่อใด ผู้ออกทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ น่าจะได่รับไปหลายเล่มอย่างแน่นอน

ไปดูที่ประวัติศาสตร์ เพียง50ปี ที่แล้วก่อน อย่าเพิ่งคาดเดาเอาเอง พยากรณ์ เปล่าๆ

พอเพียง คือชีวี มีสติ
เปี่ยมปิติ ทุกกาล ทุกสถาน
ต่อตนเอง ผู้อื่น ด้วยชื่นบาน
ปฏิบัติ รับ-เจือจาน อย่างสมควร

แต่อย่า อย่าลืม เหล่าเพื่อนผอง
จมทุกข์กอง ห่างเพียงพอ ชีพผันผวน
เจ็บ-จน จึง หวังใจ เพี่อนทั้งมวล
รีบรีบด่วน รักแบ่งปัน กันและกัน

น่าสนใจครับ เพราะมีเหตุจึงเกิดผล เพราะพอประมาณกับตนจึงตั้งอยู่ และเพราะมีความรู้หลักวิชา มีคุณธรรมและปัญญา จึงสำเร็จเสร็จสิ้นได้.....

มีภูมิคุ้มกัน = ไม่ประมาท มีแนวทางแก้ไข ควบคุมความเสี่ยง จึงดำรงค์อยู่ได้อย่าง ยั่งยืน (ไม่ดับไป)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท