วิตกกังวล...จนฟื้นพลังชีวิต


ขอบคุณกรณีศึกษาท่านนี้ที่เคยพบดร.ป๊อป เมื่อ 5 ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นโรควิตกกังวลจากเรื่องความรัก และทำกิจกรรมบำบัด (ดูบันทึกก่อนหน้านี้ + ทานยาจากจิตแพทย์) ก็ดีขึ้นจนทำงานได้ปกติ

และ 2 เดือนที่ผ่านมาได้เกิดโรควิตกกังวลซ้ำจากเรื่องการเปลี่ยนตำแหน่งในที่ทำงาน ซึ่งจริงๆ มีตำแหน่งดีขึ้น เงินดีขึ้น แต่กรณีศึกษาคิดมุมลบว่า "กลัวจะทำไม่ได้ กลัวจะไม่มีลูกน้องเชื่อฟัง กลัวหัวหน้าที่บังคับให้ทำ ฯลฯ"

ผมได้เคยนัดมาประเมินทางกิจกรรมบำบัดจิตสังคม 1 ครั้ง ครั้งนั้นเป็นการใช้เทคนิคการบำบัดความคิดความเข้าใจให้กรณีศึกษาเห็นผลดีผลเสียของการเปลี่ยนตำแหน่งงานและการทำงานที่ตนเองฝันไว้ จนกรณีศึกษากล้าที่จะบอกหัวหน้ายอมรับตำแหน่งงานใหม่ แต่พอเริ่มงานก็มีภาวะเครียดในการปรับตัวจากงานเก่าและงานใหม่ ช่วงที่ดร.ป๊อป ป่วย จึงไม่ได้นัดหมาย แต่กรณีศึกษาได้รับยานอนหลับ+จิตบำบัดซาเทียร์จากจิตแพทย์คนแรก และเปลี่ยนมาได้รับยานอนหลับ+ยาคลายกังวลจากจิตแพทย์ตนที่สอง พร้อมนัดหมายทำสะกดจิตบำบัดจากนักบำบัดทางเลือก

ผมจึงนัดมาออกแบบสื่อกิจกรรมบำบัดพร้อมสาธิตเป็นครูให้นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 ในวันสุดท้ายของการเรียนวิชา "กิจกรรมบำบัดเพื่อสุขภาพจิต 1" ดังนี้

กิจกรรมบำบัด สื่อตัวแรก (15 นาที): การเขียนประเมินความสุขของตนเองได้ 5/10 พร้อมระบุความต้องการพัฒนาตนเองในปัจจุบันได้ 7 รายการ ดร.ป๊อปจึงนำข้อมูลเป้าหมายการพัฒนาตนเองตอนแรกนี้คือ การวางแผนชีวิตในปัจจุบันขณะ (ตอนนี้หรือ 2-3 วันข้างหน้า) พร้อมเลือกหนึ่งกิจกรรมที่สะท้อนเหตุผลของการวางแผนชีวิตข้างต้น แล้วสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวตามที่กรณีศึกษาอยากได้ด้วย มีกิจกรรมปั้นดินน้ำมัน กิจกรรมระบายสีในภาพลายเส้นที่กำหนด และกิจกรรมตัดกระดาษปะติด ... กรณีศึกษาเลือกปั้นดินน้ำมันแบบลายนูนเป็นรูปธรรมชาติที่ตั้งใจไปกับครอบครัวพรุ่งนี้ แต่ตนเองไม่ได้คิดเอง และไม่ได้ปั้นสมาชิกในครอบครัว

การกระตุ้นจากนักกิจกรรมบำบัด คือ คุณต้องคิดถึงตัวเองให้พร้อมมีพลังชีวิต จึงต้องปั้นตัวเองตามด้วยสมาชิกครอบครัวที่ไปด้วยทั้งหมด แล้วลองฝึกเป็นการบ้านในการคิดหากิจกรรมครอบครัวแบบนี้สักอาทิตย์ละครั้ง แล้วบันทึกในไดอารี่ในการนัดเดือนหน้า

กิจกรรมบำบัด สื่อตัวสอง (20 นาที): การฝึกบทบาทสมมติที่อยากรับโทรศัพท์อย่างมีความสุข เริ่มจากให้กรณีศึกษาเป็นผู้กำกับการแสดง มีนศ. 2 คน ให้ผู้กำกับสร้างบทให้น้อง 2 คน สนทนาในประเด็นใดๆที่มีความสุขแล้วแสดงให้ดูจริงว่ามีความสุข ... จากนั้นดร.ป๊อป เชิญอาจารย์กิจกรรมบำบัดเชี่ยวชาญทางจิตอีกท่านมาเป็นหัวหน้างานเพื่อสั่งงานทางโทรศัพท์กับกรณีศึกษา ... ลองแสดงครั้งแรก (ไม่ใช้โทรศัพท์ เจอหน้ากัน) ก็ให้กรณีศึกษาสะท้อนตนเอง พบว่า มีการใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล ... ลองแสดงครั้งที่สอง (ไม่ใช้โทรศัพท์ เจอหน้ากัน) ก็ให้กรณีศึกษาสะท้อนตนเอง พบว่า ยังคงใช้อารมณ์อยู่แต่พูดได้ราบรื่นถึงการแก้ไขปัญหามากขึ้น ... ลองแสดงจริง (ไม่เจอหน้ากัน คุยทางโทรศัพท์จริง) พบว่า ไม่ใช้อารมณ์และแก้ไขปัญหาได้ดีขึ้น

การกระตุ้นจากนักกิจกรรมบำบัด คือ เวลาที่เราเครียด ก็มักจะบอกคู่ทางโทรศัพท์ว่า "อย่าเครียด" และเตือนตนเองว่า ประโยคบอกเล่าไม่ควรทำให้เป็นคำถาม ซึ่งจะไม่ได้ตัดบทและต่อยอดเป็นวงจรสนทนาไม่รู้จบ เช่น "ผมไปไม่ได้จริงๆ ต้องไปพักผ่อนกับครอบครัว ไม่ทำงานนี้ได้ไหมอะ"

กิจกรรมบำบัด สื่อสุดท้าย (15 นาที): การฝึกบทบาทสมมติพบเพื่อนใหม่แล้วออกแบบกิจกรรมจาก "ช่วยกันคิดช่วยกันทำ" สู่ "ร่วมมือร่วมใจ" เริ่มจากการทักทาย และเดาใจเพื่อนว่าชอบอะไรที่เหมือนเรา 5 อย่าง ให้นศ.อาสาสมัครมาร่วมกลุ่ม 2 คน จากนั้นมีกระดาษหลากสี 5 แผ่น มีกาว 1 แท่ง และมีกรรไกร 1 อัน ให้ใช้เวลาเพียง 5 นาที ทำให้กระดาษนี้ "รักกัน" ... กรณีศึกษากับเพื่อนอีก 2 คน นำกระดาษมาทำเป็น "โซ่คล้องใจ" ได้สำเร็จและสะท้อนความรู้สึกดีๆซึ่งกันและกันได้ดี

การกระตุ้นจากนักกิจกรรมบำบัด คือ ปล่อยให้กลุ่มทำเองโดยธรรมชาติ เนื่องจากทุกคนมีความคิดความเข้าใจปกติและมีวุฒิภาวะ และแนะนำให้สร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนที่ทำงานด้วยความคิดบวกว่า "เรามีอารมณ์ขันและมีความคิดสร้างสรรค์ที่จะดึงดูดเพื่อนได้" เริ่มจากเพื่อนสนิทไปเที่ยว ไปดูหนัง ไปกินข้าว ไปทำบุญ ฯลฯ สัก 1-2 ครั้งในเดือนนี้

การประเมินซ้ำก่อนนัดหมายในเดือนหน้า (10 นาที): กรณีศึกษาได้สะท้อนความหมายและคุณค่าที่ได้รับจากการทำกิจกรรมทั้ง 3 สื่อบำบัด แล้วจะนำไปใช้โดยสร้างความสัมพันธ์กับครอบครัวผ่านการคิดกิจกรรมสัก 1 อาทิตย์ ใน 1 เดือนนี้ และกับเพื่อนสนิทก่อน 1-2 ครั้งในเดือนนี้ ส่วนกิจกรรมบำบัดที่บ้านเดิมให้พับนก ปั้นดิน อ่านหนังสือ ออกกำลังกาย และทำกับข้าว ตัวคนเดียว ก็ให้เปลี่ยนมีเพื่อนทำกิจกรรมร่วมด้วย แล้วอย่าลืมประเมินความรู้สึกแล้วบันทึกในไดอารี่อย่างน้อยใน 1 ครั้งต่ออาทิตย์ ... กรณีศึกษาประเมินความสุขของตนเองหลังทำกิจกรรมได้ 7/10

หลังจากนั้นสัก 30 นาที หลังเลิกเรียน กรณีศึกษาก็คุยกับผมต่อทางการส่งข้อความมือถือ

กรณีศึกษา: กิจกรรมที่ใกล้เคียงกับงานที่ทำ คิดไม่ออกอะครับ พี่ป๊อปช่วยแนะนำหน่อยครับพี่ ขอบคุณครับ

ดร.ป๊อป: พาเพื่อนไปทำบุญ ทานข้าวนอกบ้าน ไปเที่ยว ไปห้าง ไปต่างจังหวัด จ่ายตลาดทำอาหาร ลองคิดอื่นๆ ดู ขอบคุณมากครับที่มาสาธิตให้นศ.ดูครับ

กรณีศึกษา: ยินดีครับพี่ป๊อป ขอถามอีก 1 คำถามครับ เหมือนตอนนี้กังวลในเรื่องการใช้เงินอะครับ เพราะกลัวตกงานแล้วไม่มีตังค์จ่ายค่ายา ใช้จ่ายต่างๆอะครับพี่ป๊อป ขอคำแนะนำหน่อยครับ ขอบคุณครับ

ดร.ป๊อป: เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ต้องวางแผนยาวๆ ไว้ม.ค.ต้องนัดฝึกวางแผนเรื่องนี้ ช่วง 3-6 เดือนนี้จำเป็นที่ต้องอดทนทำงาน แม้ว่าจะเบื่อ ไม่ชอบ และไม่สนุก ทุกความรู้สึกทางลบจากโรควิตกกังวล ซึ่งใช้เวลาในการปรับลดความกังวลนั้น

กรณีศึกษา: ขอบคุณครับพี่ป๊อป

หลังจากนั้นสัก 39 ชม. แล้วก็มีการส่งข้อความมือถือต่อ

กรณีศึกษา: วันนี้จะไปเที่ยวโคราชแล้วนะครับ แต่อารมณ์ยังไม่ได้เลยครับพี่ป๊อป อารมณ์ไม่ได้รู้สึกสนุกเลยอะครับ สรุปผมเป็นโรควิตกกังวลไม่ใช่ซึมเศร้าใช่ไหมครับพี่ป๊อป ขอบคุณครับ

ดร.ป๊อป: พยายามปล่อยวางและรับรู้ความสุขกับครอบครัว ถ้ากังวลมากๆจะกลายเป็นซึมเศร้า ไม่ต้องคิดลบเรื่องโรคมากนัก คิดบวกว่าเราจะดีขึ้นๆๆๆ

กรณีศึกษา: ขอบคุณนะครับพี่ป๊อป ช่วงนี้กวนบ่อยเลยอะครับ

หลังจากนั้นสัก 4 วันต่อมา แล้วก็มีการส่งข้อความมือถือต่อ

กรณีศึกษา: พี่ป๊อปครับ ตอนนี้เปลี่ยนกลับไปหาหมอคนเดิมแล้วนะครับ คุณหมอปรับให้กินยาเป็นอีกพวกนึงเป็นแก้กังวลมากขึ้นอะครับ กินมา 2 วันและผมก็พยายามอดทนกับมันอยู่อะครับพี่ป๊อป ขอบคุณนะครับ

ดร.ป๊อป: สู้ๆหายเร็วๆนะครับ

กรณีศึกษา: ขอบคุณครับ เวลาจะรักษาใจเราเองครับพี่ป๊อป

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 555629เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2013 11:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 ธันวาคม 2013 17:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

เมื่อวานสนุกมากค่ะ ^ ^ พักผ่อนเยอะๆค่ะจารป๊อป สุขสันต์วัหยุดค่า

ขอบคุณกำลังใจจากน้องสริตาและน้องญานิศา

วิตกกังวล เป็นเรื่องปกติครับ แต่ วิตกจริต นี่ซิ น่ากลัว ครับ

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ ขอบพระคุณมากครับท่านอาจารย์ JJ

จากการดูกรณีศึกษาทำให้หนูเข้าใจกระบวนการรักษาทางกิจกรรมบำบัดมาขึ้นตั้งแต่เริ่มแรก ก็คือ มีสัมภาษณ์ข้อมูลของผู้รับบริการ จากนั้นจึงเริ่มการประเมิน และอีกอย่างคือในการรักษาผู้รับบริการเราจะต้องสามารถคิดกิจกรรมการรักษาให้รวดเร็วและตรงกับปัญหาที่ผู้รับบริการต้องการแก้ หรือปัญหาหลักๆที่สำคัญที่ควรแก้เป็นอันดับแรก จากวิธีการรักษาของอาจารย์ป๊อป ทำให้หนูได้เห็นตัวอย่างจริงๆซึ่งทำให้สามารถนำไปปรับใช้เมื่อไปฝึกงานและทำงานจริงๆได้ และสุดท้ายเมื่อเสร็จกิจกรรมการรักษา จะต้องมีการประเมินซ้ำ เพื่อดูผลว่ากิจกรรมที่ใช้ประสบผลสำเร็จหรือไม่ ซึ่งหลังจากการบำบัดผู้รับบริการก็มีระดับความสุขที่เพิ่มมากขึ้น

ขอบคุณมากๆครับคุณหมอป.และน้อง Yanisa

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท