การได้มาซึ่งความรู้ : Learning


          เราได้ความรู้มาอย่างไร? 

          Pavlov (1849 - 1936) ชาวรัสเซีย  ได้สังเกตเห็นว่า  ถ้าเอาผงเนื้อใส่ปากสุนัข  สุนัขจะหลั่งน้ำลาย    ผงเนื้อเป็น "สิ่งเร้า"(Stimulus : S)  เพราะว่า มันมีอำนาจ "เร้า" ให้เกิด "การตอบสนอง"(Response : R)  ด้วยการหลั่งน้ำลายออกมา  เขียนเป็นรูป  Paradigm ได้ดังนี้

                    Stimulus(S) -------> Response(R)

หรือ                             S  -------->  R

แต่ S ดังกล่าว  "ทำให้สุนัขหลั่งน้ำลายโดยอัตโนมัติ"  เขาจึงเรียก  S นี้ว่า "สิ่งเร้าที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข"(Unconditioned Stimulus : US)  และเรียกการหลั่งน้ำลายว่า "การตอบสนองที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข" (Unconditioned Response : UR)

          เขาลองสั่นกระดิ่งให้สุนัขฟังเพื่อจะดูว่า "สุนัขหลั่งน้ำลายด้วย" หรือไม่?  พบว่า "สุนัขไม่หลั่งน้ำลาย"  เขาเรียกเสียงกระดิ่งว่า "สิ่งเร้าที่ต้องวางเงื่อนไข" (Conditoned Stimulus : CS)  เขาจึงคิดอยากทำให้ "เสียงกระดิ่ง"  "มีอำนาจเร้าให้สุนัขหลั่งน้ำลาย" ได้ด้วย และถ้ามันหลั่งน้ำลายได้  ก็เรียกการตอบสนองนี้ว่า "การตอบสนองที่ต้องวางเงื่อนไข" (Conditioned Response : CR)    โดยการทำดังนี้

     ครั้งแรกเขาเสนอ       CS (เสียงกระดิ่ง)------->  (ไม่หลั่งน้ำลาย)

     ---------------------------------------------------------------------------------

     ครั้งต่อมาเขาเสนอ   CS(เสียงกระดิ่ง)   ------> ?

     พร้อมกับเสนอ           US(ผงเนื้อ) --------------> UR(น้ำลาย)

     นำเช่นนี้ซ้ำๆกันหลายครั้ง

     ---------------------------------------------------------------------------------

     ต่อมาเขาเสนอแต่     CS(เสียงกระดิ่ง) ---------> CR(น้ำลายไหล) 

เขาพบว่า "เสียงกระดิ่ง" ที่ "ไม่เคยทำให้มันน้ำลายไหลได้"  นั้น  "ไหลได้"  เมื่อ "เข้าคู่"  กับผงเนื้อบ่อยๆ

      นั่นแสดงว่า สุนัขได้ "เรียนรู้" แล้ว  "สิ่งที่เรียนรู้"  ก็คือ "การโยงสัมพันธ์(Association)ระหว่าง CS - CR"   และ "ความรู้" ที่ได้ก็คือ "CS - CR" 

      "สุนัขได้ความรู้มาภายหลังการเกิด"  คือ  มันไม่ได้ความรู้เกี่ยวกับการหลั่งน้ำลายเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่งมา "โดยพันธุกรรม" !! 

       คือ "ได้ความรู้มาโดยการเรียนรู้"

       ผู้สอนก็คือ Ivan  P,Pavlov !  Physiologist  ชาวรัสเซีย

การทดลองอันลือลั่นนี้เรียกกันว่า CLASSICAL  CONDITIONING

    

          ครั้งแรกเขา

หมายเลขบันทึก: 55556เขียนเมื่อ 24 ตุลาคม 2006 18:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มีนาคม 2012 14:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

Thank you so much na ka!

It's really useful for my phychology class

Ps. I'm an exchange student in  High school,USA

That means you can read and talk Thai very well ! Hoping that you will be back with a lot of Thai friends. Thank you, na krub !
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท