003: คณะแพทยศาสตร์ มข. ก็มี R2R


R2R คณะแพทยศาสตร์ มข.

เวลานี้รู้สึกว่า R2R เป็นคำที่ติดกระแสไปแล้ว ใครไม่รู้จักก็คงจะต้องรีบๆ หน่อย เดี๋ยวจะว่าเชย
ถ้าคิดดูดีๆ R2R มีประโยชน์ไม่น้อย เพราะเป็นการทำวิจัยเพื่อแก้ปัญหาหน่วยงานของท่านเอง
ไม่ได้ทำงานวิจัยเพื่อหวังว่าจะให้คนอื่นนำไปใช้... ผมไม่ได้ว่าใคร....เพราะแม้แต่ผมเองเมื่อก่อนนี้ก็เป็นเช่นนั้น...
มันเป็นวงเวียนชีวิตของอาจารย์ที่ต้องทำตาม KPI (มีอาจารย์ท่านหนึ่งตั้งใจออกเสียงว่า “กะปิ” ประชดหรือเปล่าก็ไม่ทราบ) ของทางมหาวิทยาลัย
ใครทำงานวิจัยได้เยอะก็ได้คะแนนเยอะ (บางคนได้เงินเยอะด้วย)
แต่เชื่อเถอะ...ขนาดคนทำวิจัยเองยังไม่นำผลงานวิจัยของตัวเองไปใช้ แล้วมนุษย์ที่ไหนจะนำผลงานของท่านไปใช้...(นี่ก็ไม่ได้ว่าใครเหมือนกัน)
ว่าแล้วคณะแพทยศาสตร์ มข. ก็ตัดสินใจทำ R2R
เพราะจากข้อมูลผลงานวิจัยที่ผ่านมานั้นมีงานวิจัยมากมายที่ทำแล้วไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์
(รายงานโดยคณะกรรมการ การนำผลงานไปใช้ประโยชน์ หรือ research result utilization, RRU โดยอาภาภรณ์ และคณะ ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารคุณภาพ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น 2547; 5: 40-8.) (ไม่มี online)
อีกสาเหตุหนึ่งที่ผลักดันให้ต้องทำ R2R ก็เพราะว่าทางมหาวิทยาลัย (เจ้าของทุน) เริ่มถามหา KPI (KPI อีกแล้ว) ว่าผู้รับทุนได้นำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์อะไรบ้าง
ซึ่งจากการทำ QA ในทุกปีจะได้คำตอบมากมาย (มากกว่าที่นำไปใช้จริงเสียอีก แต่ประเมินผลได้ไม่ชัดเจน จึงยกประโยชน์ให้จำเลยไป)
คณะแพทย์ เริ่มคิดทำ R2R ในปี 2548 แต่ใช้ชื่อว่า outcome research
แต่เมื่อประกาศให้ทุนไป กลับพบว่า proposal ที่ส่งมาขอทุนนั้นมีหลากหลายมากและไม่ค่อยตรงวัตถุประสงค์มากนัก แต่ในที่สุดคณะกรรมการก็ต้องพิจารณาให้ทุนไปตามเกณฑ์
ในปี 2549 ได้ปรับปรุงวิธีการให้ทุนใหม่ โดยตั้งคณะกรรมการ R2R ขึ้นมาก่อน (มีผมเป็นกรรมการด้วย) พร้อมทั้งปรับปรุงกฎระเบียบการให้ทุนด้วย
โดยให้แต่ละ clinical lead team (มี 12 CLT) เป็นผู้ส่งขอทุน โดยให้ CLT ละหนึ่งโครงการ (ส่งมากกว่าหนึ่งโครงการได้แต่ไม่ให้เกินวงเงินหนึ่งแสนบาท)
โดยคณะกรรมการจัดเวทีให้นำเสนอ concept paper ก่อน เมื่อผ่านการพิจารณาแล้วจึงไปปรับปรุงเป็น full proposal ต่อไป
ทั้งนี้ทางฝ่ายวิจัยของคณะฯ ได้จัดที่ปรึกษาในการเขียน proposal ให้ CLT ละหนึ่งคน (มีค่าที่ปรึกษาด้วย) ในครั้งแรกที่นำเสนอ concept paper นั้น มีส่งมาประมาณ 18 เรื่อง แต่ก็ค่อยๆ ลดจำนวนลงไปเรื่อยๆ เนื่องจากไม่ตรงกับเกณฑ์ที่กำหนด และกว่าจะได้เป็น full proposal ก็ต้องจัดเวทีพิจารณาหลายครั้งเหมือนกัน สุดท้ายเหลือที่ขอรับทุนไป 7 โครงการ (หนึ่งในนี้มีเรื่องการระงับปวดด้วย)
ในการพิจารณา concept paper นั้นมีเรื่องราวมากพอสมควร เช่น มีการต่อว่ากรรมการว่าไม่ตั้งใจสนับสนุนให้ทำวิจัยอย่างจริงจัง ทำให้บางโครงการต้องยกเลิกไป.....
แต่กรรมการก็ยืนยันในหลักการคือ งานวิจัยต้องนำไปใช้ในหน่วยงานหรือพัฒนาหน่วยงานได้จริง จึงจะเรียกว่า “R2R”
ซึ่งต้องติดตามดูต่อไป

 

คำสำคัญ (Tags): #วิสัญญี#r2r
หมายเลขบันทึก: 55532เขียนเมื่อ 24 ตุลาคม 2006 15:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 10:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
พยาบาลรักพัฒนาไม่อืดอาด
ดิฉันอ่านรายละเอียดแล้วก็ออกจะสงสัย ไม่ทราบว่าหลักการอะไรต่างๆของทุนวิจัยที่จัดทำขึ้นนั้นเอื้อประโยชน์ต่อองค์กรจริงหรือไม่ หรือเอื้อให้เฉพาะกลุ่มอาจารย์ ดูผลงานคุณพุ่มพวง ภาควิชาวิสัญญีที่อาจารย์เล่าซิ ไม่เห็นจะยุ่งยากอะไรเลย ทำง่ายๆกับงานประจำที่ทำ...แถมเกิดประโยชน์ อย่างยิ่งกับองค์กรซะอีก บุคคลภายนอกแม้แต่ อ.วิจารณ์ พานิช เจ้าพ่อคุณภาพมาอ่านโปสเตอร์(ในงานคุณภาพศรีนครินทร์ปีนี้)แป๊บเดียวยังปิ๊ง..ถ้าคุณพุ่มพวงทำเรื่องขอทุนวิจัย ต้องเขียนproposal ..ต้องนั่นต้องนี่...ยุ่งยาก...จะได้ผลงานที่รวดเร็ว กระชับ ใช้งานได้อย่างเป็นรูปธรรมขนาดนี้ไหม?..ดิฉันว่าถ้าอยากได้ผลงานstyleคุณพุ่มพวง ทางผู้มีเงินทุนสนับสนุนน่าจะยืดหยุ่นกันบ้าง อย่าเอาหลักการมากไป ทำให้พัฒนาได้ช้า...อืดอาด..มัวแต่ติดหลักการ..อยากให้เอื้อผู้ปฏิบัติงานจริงบ้างค่ะท่านผู้.......
  • ขอบคุณมากครับ
  • อ่านแล้วชอบหลาย ๆ ประเด็น ขอนำไปขยายต่อนะครับ
  • ประเด็นแรก ครับ เกณฑ์ของ R2R ไม่ได้เอื้อเฉพาะอาจารย์ เพราะ proposal ในปีนี้ มาจาก CLT ทั้งหมด และส่วนมากเป็นการทำวิจัยของทีมงานพยาบาล
  • ประเด็นที่สอง เป้าหมายสูงสุดของการให้ทุนนั้น (ผมไม่ใช่เจ้าของทุน....แต่คิดแทน..) นอกจากจะมีผลงานวิจัยเกิดขึ้นแล้ว (จริงอยู่ที่ R2R จะช่วยให้เราสามารถนำผลงานวิจัยไปใช้ให้ประโยชน์ในการบริการได้อย่างยั่งยืน) แต่เจ้าของทุนยังต้องการการนำผลงานวิจัยไปตีพิพม์ด้วย ยิ่งตีพิมพ์ในระดับ index Journal ด้วยยิ่งดี ทำให้คณะกรรมการต้องมีการพิจารณาและช่วยแก้ไข proposal ให้สามารถตอบโจทย์ทั้งสองประเด็นได้ ซึ่งจริงๆ แล้วก็ได้ผลดีต่อผู้วิจัยด้วย
  • สำหรับทุนอื่นๆ นอกเหนือจาก R2R อาจเป็นไปอย่างที่ท่านให้ความเห็น ซึ่งผมเห็นด้วยว่า อืดอาด และเป็นการแข่งขันกันในการขอรับทุน ใครมีความสามารถในการเขียนก็มักจะได้ไป ซึ่งก็หนีไม่พ้นคนที่เขาได้รับการเรียนรู้ทางด้านกระบวนการทำวิจัยมา
  • ในปีนี้ทางฝ่ายวิจัย (คิดแทนอีกแล้ว) จึงได้จัดทุนให้พยาบาลแยกออกไปต่างหาก ทำให้พยาบาลได้รับโอกาสมากขึ้น แต่อย่าลืมเรื่องคุณภาพด้วยนะครับ ขอบคุณทุกท่านที่ให้ความคิดเห็น ครับ
  • เข้ามาดูแลบันทึกเก่าๆ ทำให้ได้เห็นว่าวิธีการเขียนในครั้งแรกๆ นั้นยัง floor floor มาก ใช้สีขาว-ดำ ยาวพืดไปหมด
  • ก็เลยทำการปรับปรุงใหม่ให้ดูน่าอ่านขึ้น แต่เป็น content อันเดิม
  • ตั้งใจจะนำรายงานความก้าวหน้าของคณะกรรมการให้ทุนมาเล่าให้ฟัง
  • หลังจากที่ดำเนินการพิจารณาทุนไปเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทางคณะกรรมการได้ประชุมปรึกษากันถึงปัญหา-อุปสรรค ที่ผ่านมา เพื่อที่จะดำเนินการแก้ไขต่อไป ปัญหาที่พบ ได้แก่ 
  1. ระเบียบ ซึ่งใช้ระเบียบเดิมของ outcome research ควรจะต้องแก้ไขให้เป็นระเบียบของ R2R 
  2. facilitator (FA) ไม่เข้าใจบทบาทของตัวเอง ซึ่งจะต้องทำความเข้าใจหรือประสานงานเรื่องนี้ให้ชัดเจนขึ้น
  3. ระเบียบการเบิกจ่ายเงินทุนที่ต้องใช้ Lab ทางโรงพยาบาลยังไม่ชัดเจน
  4. แต่ละ CLT พยายามทำ proposal หลายเรื่องเพื่อให้ได้วงเงินครบหนึ่งแสน ทำให้มีปัญหาตามมาในเรื่องหา FA
  5. ยังมีปัญหาเล็กๆ น้อยๆ อีก บ้าง

ซึ่งเรื่องนี้ ท่านผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัย จะรับไปประสานงานต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท