ประสบการณ์การจัดการความรู้ สำนักงานเกษตรจังหวัดนครพนม


การจัดการความรู้ คือ เครื่องมือในการพัฒนาองค์กร

การจัดการองค์ความรู้  นับว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับงานส่งเสริมการเกษตร  เนื่องจากเป้าหมายสุดท้ายของงานส่งเสริมการเกษตร  คือ  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเกษตรกรให้เกิดการเรียนรู้  มีความชำนาญ  และมีทัศนคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพ  โดยมีนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรทำหน้าที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง

%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%aa%e0%b8%9a%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%93%e0%b9%8c6

จังหวัดนครพนม  ได้ดำเนินการการจัดการองค์ความรู้  โดยมีเป้าประสงค์"เพื่อพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปสู่เกษตรกร  โดยใช้ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล  เป็นกลไกหลักในการดำเนินการ"  รูปแบบวิธีการดำเนินงานได้มีการแต่งตั้งคณะทำงาน  กำหนดผู้ประสานงานหลักของจังหวัด  บุคคลเป้าหมายได้แก่  เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรทุกคนในจังหวัดนครพนม  ซึ่งได้สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการองค์ความรู้ว่ามีความสำคัญอย่างไร  มีประโยชน์ต่อองค์กรอย่างไร  โดยมีการชี้แจงสร้างความเข้าใจทุก  2  เดือน  ในการสัมมนาเชิงปฏิบัติในปี 2548  ประเด็นหลักในการดำเนินการการจัดการองค์ความรู้  จังหวัดนครพนมได้ดำเนินการในโครงการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล  5  ประเด็นหลัก  ดังนี้
1.  การรวบรวมข้อมูลและความต้องการ
2.  การจัดทำเวทีชุมชน
3.  การวางแผนถ่ายทอดความรู้
4.  การดำเนินการถ่ายทอดความรู้
5.  การเชื่อมโยงเครือข่ายการถ่ายทอดความรู้

เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการ
    
-ใช้รูปแบบตารางอิสระภาพ
    
-การแลกเปลี่ยนความรู้  ผู้พร้อมให้กับผู้ใฝ่รู้  โดยใช้เวทีสัมมนาเชิงปฏิบัติการ  (DW)
    
-บันทึกเรื่องเล่า 

ในปี 2549  เมื่อรู้ว่าการจัดการความรู้  เป็นการนำความรู้ที่มีอยู่ในองค์กรและนอกองค์กร  เน้นความรู้จากการปฏิบัติมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  พัฒนา  และยกระดับความรู้เพื่อให้สามารถพัฒนางานที่ปฏิบัติหรือองค์กรสามารถดำเนินงานได้บรรลุเป้าหมายที่กำหนด  กรมส่งเสริมการเกษตรได้เล็งเห็นความสำคัญของการจัดการความรู้เพื่อเป็นการพัฒนาคน  พัฒนาองค์กร  และนำไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้  จึงได้นำ  KM  ไปดำเนินการในโครงการพัฒนาสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและได้มาตราฐาน (food safety )  ซึ่งจังหวัดนครพนมก็ได้ดำเนินการการจัดการความรู้กับโครงการดังกล่าวลงไปถึงระดับเกษตรกร

%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%aa%e0%b8%9a%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%93%e0%b9%8c9 %e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%aa%e0%b8%9a%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%93%e0%b9%8c3

แนวทางการดำเนินงาน
ในการดำเนินงานในปีที่ 2 ได้เน้นความสำคัญกับการกำหนดเป้าหมายและแผนการดำเนินงานมากขึ้นโดยมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้
1.  สร้างความเข้าใจคณะทำงาน  KM  และคณะกรรมการ  Food  Safety  ทั้งระดับอำเภอ  ระดับจังหวัด
2.  ชี้แจงทำความเข้าใจแก่นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรทุกคน
3.  กำหนดเป้าหมาย/กิจกรรม
    
3.1  ระดับเจ้าหน้าที่ทำ KM  ทุกกิจกรรม ดังนี้
            
-จำแนกพื้นที่
            
-บูรณาการแผน
            
-ถ่ายทอดเทคโนโลยี
            
-สร้างเครือข่าย
            
-พัฒนาการตลาด
            
-สนับสนุนการทำงาน
            
-ประเมินผลโครงการ

%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%aa%e0%b8%9a%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%93%e0%b9%8c8 %e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%aa%e0%b8%9a%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%93%e0%b9%8c1

     3.2  ระดับเกษตรกร
            
-กิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยี

4.  จัดทำแผนการดำเนินงาน  KM  ให้ชัดเจนทุกระดับทั้งเจ้าหน้าที่และเกษตรกร
5.  ดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้

ประเด็นแห่งความสำเร็จ
1.  ผู้นำต้องให้ความสำคัญ
    
-เกษตรจังหวัด  ให้ความสำคัญกับการใช้ KM  เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน
    
-เกษตรอำเภอ  เข้าใจและเห็นความสำคัญของ KM  ว่าเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน
    
-การทำ KM  ช่วยพัฒนาองค์กร  ซึ่งทุกคนในองค์กรมีเป้าหมายร่วมกัน
2.  ได้มีโอกาสแสดงความสามารถและศักยภาพให้ปรากฎ
    
-นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรมีเทคนิคการทำงานร่วมกับชุมชนมานานบางอย่างบางเรื่องดีมาก  เช่น  การโน้มน้าวให้เกษตรกรมีส่วนร่วม  แต่ไม่มีโอกาสแสดงเมื่อมีการดำเนินงาน  KM    จึงได้มีโอกาสแสดงศักยภาพ
     -หลายคนมีความเชี่ยวชาญด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ
  จะได้มีโอกาสแสดงศักยภาพให้ปรากฏ  แล้วเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
3.  บุคลากรได้รับการพัฒนาหลายด้าน  เช่น 
     
-การทำงานแบบมีส่วนร่วม  ไม่รีบตัดสินใจด้วยตนเองให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมแล้ววิเคราะห์ประเด็นจึงสรุป
    
-เทคนิคการประชุมกับชาวบ้านต้องเน้นการมีส่วนร่วม
    
-เทคนิคการนำเสนอ  ต้องมีการเตรียมการ เตรียมสื่อประกอบ
    
-ได้ศึกษาคลังความรู้จากบันทึกเรื่องเล่า
4.  ได้พัฒนากระบวนการ (Process)
     
-เดิม  เสนอปัญหาและแนวทางแก้ไขแล้วก็จบไป  ไม่มีการทบทวนกระบวนการ  ซึ่งปัจจุบันมีการทบทวนบทเรียนร่วมกัน ทำให้งานผิดพลาดน้อย
5.  ได้ความรู้สึกที่ดีต่องาน
    
-มีทีมงานช่วย  ไม่เดียวดาย  ใครเก่งเรื่องใดก็ไปช่วยกัน
    
-ต้องการช่วยตามความสามารถ  ความถนัด

%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%aa%e0%b8%9a%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%93%e0%b9%8c5 %e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%aa%e0%b8%9a%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%93%e0%b9%8c4

ข้อคิดเห็นในการจัดการความรู้ให้ประสบความสำเร็จ
1.  ต้องให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้าใจ  เจ้าหน้าที่ทุกคนต้องเข้าใจ  มิฉะนั้นจะถูกต่อต้านว่าเป็นการเพิ่มภาระงาน
2.  ในการทำเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KS)  หากไม่มีการเตรียมแผนการสอน กระบวนการดำเนินการจะเกิดการเบื่อหน่าย  จะไม่ยอมรับซึ่งกันและกัน  (คุณอำนวย  ต้องวางแผนและเตรียมการ)
3.  การบันทึกเรื่องเล่า  เทคนิคการปฏิบัติงานที่ประสบผลสำเร็จต้องนำมาบันทึกเป็นเรื่องเล่า ซึ่งเรื่องเล่าและบันทึกแนวทางปฏิบัติจะต้องนำมาเป็นคลังความรู้ต่อไป
4.  แนวทางในการปรับปรุงการดำเนินงาน ควรให้ความสำคัญในสิ่งเหล่านี้
    
4.1  กำหนดแผนและขั้นตอนการปฏิบัติให้อำเภอรู้และเข้าใจตามขั้นตอนในการปฏิบัติงาน
    
4.2  ให้เจ้าหน้าที่บันทึกเรื่องเล่า  วิธีการปฏิบัติ  แล้วนำมารวบรวม  วิเคราะห์  ประมวลผล  เป็นคลังความรู้
    
4.3  ต้องพูดคุย  ประชุม  ทำความเข้าใจบ่อย ๆ เพื่อให้เกิดการรับรู้  และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
    
4.4  ควรอบรมเทคนิคการสรุปประเด็นสำคัญในการบันทึกเรื่องเล่า  เพราะเจ้าหน้าที่มักจะขาดประสบการณ์ในการจดบันทึก  ทำให้การบันทึกไม่ตรงกับประเด็นสำคัญที่ปฏิบัติ

%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%aa%e0%b8%9a%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%93%e0%b9%8c2


บทสรุป
จาการปฏิบัติงานการจัดการความรู้ (KM)  ทำให้เราได้รู้ว่า  การนำ KM  สวมลงไปในงานส่งเสริมการเกษตรที่เราปฏิบัติอยู่แล้ว  ก่อนที่เราจะทำ KM  เราต้องตอบให้ได้ว่า"เราจะทำ KM  เพื่ออะไร"  ต้องมองหาเครื่องมือที่ชัดเจน  เมื่อมีการปฏิบัติจริง (Action)  แล้วเราถึงจะเข้าใจว่า  การกำหนดเป้าหมาย  วิสัยทัศน์  หรือทิศทางของการจัดความรู้  ขององค์กรจะไปทิศทางไหน  ถ้าหากจะให้การจัดการความรู้บรรลุเป้าหมายขององค์กรจะต้องมีบุคลากรที่เกี่ยวข้อง  ประกอบด้วย  คุณเอื้อ  คุณอำนวย  คุณลิขิต  คุณสังเกตุ  เกิดการทำงานเป็นทีมมองเป้าหมายขององค์กรเป็นเรื่องเดียวกัน  ไม่คิดแยกส่วน  ไม่มอง KM เป็นโครงการ  ต้องหา  Best  practice  งานส่งเสริมการเกษตร  ต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน  นักส่งเสริมการเกษตรต้องพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เราจะทำ  KM  เพื่อพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรให้บรรลุเป้าหมาย "เป้าหมายในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเกษตร"  ซึ่งนักส่งเสริมการเกษตรในระดับพื้นที่จะได้นั่งในหัวใจพี่น้องเกษตรกรต่อไป

ทวี  มาสขาว 
หัวหน้าฝ่ายยุทธศาสตร์และสารสนเทศ
สำนักงานเกษตรจังหวัดนครพนม 

คำสำคัญ (Tags): #km
หมายเลขบันทึก: 55500เขียนเมื่อ 24 ตุลาคม 2006 11:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2012 10:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • นับว่าจ.นครพนมมีขีดความสามารถในการใช้KM  เป็นเครื่องมือในการพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร ได้เป็นอย่างดียิ่ง
  • ขอบคุณคะที่บันทึกมาแบ่งปัน
  • บทสรุปที่เข้าใจง่าย
  • แต่การนำไปใช้ในแต่ละพื้นที่คงต้องออกแรงกันหน่อยเพราะการทำงานของพี่น้อง นักส่งเสริมฯในพื้นที่ บางครั้งระยะเวลา เป็นการสั่งสมประสบการณ์ แต่สำหรับบางคนเป็นความอ่อนล้าของกำลัง กาย-สมอง
  • ถ้า km เข้าถูก จังหวะ เวลา ก็คงไปได้ดีครับ

ขอขอบคุณท่าน  ผอ.ธุวนันท์  และคุณเพชรตาปี  ที่เป็นกำลังใจให้

 นายทวี  มาสขาว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท