การออกกำลังกายต้านแรงของผู้สูงอายุ


อาจารย์หมอวัลลภได้เขียนบันทึกที่มีประโยชน์มากๆ เกี่ยวกับ การออกกำลังกายต้านแรงของผู้สูงอายุ ดิฉันต้องขออนุญาตนำมาใส่ไว้ในบล็อกพ่อกับการรักษาโรคเบาหวานค่ะ

ดิฉันสนใจบทความนี้ค่ะ เพราะการออกกำลังต้านแรงทำให้เส้นเลือดดีขึ้นและกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น (เหมือนพระเส้าหลิน ฝึกวิชาดัชนีด้วยการฝึกจิ้มนิ้วมือลงในถังทรายร้อนๆ ก็เป็นการฝึกให้นิ้วแข็งแรงค่ะ)

ตอนพ่อเป็นอัมพฤกต์ด้านซ้าย คุณหมอจะให้เน้นที่การออกกำลังกายเน้นการเคลื่อนไหวเพื่อไม่ให้ข้อติด

เมื่อแขนข้างซ้ายของพ่อดีขึ้นประมาณ 70% ดิฉันให้พ่อออกกำลังการแบบต้านแรงทั้งสองแขน  เพราะดิฉันคิดว่าจะทำให้แขนที่เป็นอัมพฤกษ์แข็งแรงขึ้น

พ่อยกลูกน้ำหนักลูกละ 1.5 กก. อยู่ประมาณสองเดือนค่ะ พ่อรู้สึกชอบค่ะ เพราะรู้สึกได้ว่าแขนทั้งสองแข็งแรงขึ้น แต่มาช่วงหลังพ่อรู้สึกปวดที่ข้อไหล่ซ้าย ก็เลยหยุดยกลูกน้ำหนัก

เมื่อมีโอกาสมาหาหมอ หมอสั่งห้ามการออกกำลังแบบต้านแรง เพราะไม่เหมาะกับผู้สูงอายุ ปัจจุบันพ่อหยุดยกลูกน้ำหนักแล้วค่ะ

ดิฉันถึงบอกว่าบทความที่อาจารย์หมอวัลลภเขียนนั้นน่าสนใจสำหรับดิฉันมากค่ะ เพราะดิฉันเชื่อว่าการออกกำลังกายต้านแรงช่วยทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น แต่สำหรับผู้ป่วยอัมพฤกษ์คงต้องอยู่ในการดูแลอย่างดีค่ะถ้าจะออกกำลังกายลักษณะนี้นะค่ะ โดยเฉพาะต้องดูเรื่องการหายใจด้วยค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 55498เขียนเมื่อ 24 ตุลาคม 2006 11:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 23:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอขอบคุณอาจารย์จันทวรรณ และท่านผู้อ่าน+ลปรร.ทุกท่าน...

  • การออกกำลังกายนี่... เรียนปรึกษาหมอ หมอฟัน(ถ้าโรคช่องปาก) พยาบาล จ.อนามัย จ.สาธารณสุข หรือบุคลากรสุขภาพที่ดูแลท่านเป็นประจำน่าจะดีที่สุดครับ

การออกกำลังกายของคนไข้ เช่น กายภาพบำบัด ฯลฯ แม้จะดูว่า เบาๆ สบายๆ (สำหรับคนที่แข็งแรง) ก็อาจจะหนักมากสำหรับคนไข้ได้

  • อ่านจากเรื่องของคนไข้ที่ทำกายภาพบำบัด... บางท่านหัดเดินใหม่ๆ เหงื่อแตกเลย เข้าใจว่า คงจะเหนื่อยมาก
  • เราๆ ท่านๆ ออกกำลังเสียตั้งแต่ตอนยังไม่ป่วยนี่ละดีที่สุดครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท