คู่แข่ง และแรงบันดาลใจ


.....หากขาดแรงบันดาลใจ เราก็คงจะมาไม่ได้ไกลถึงเพียงนี้ “ภาวะผู้นำ” อย่างที่ สคส. มีอยู่นั้น ถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้พวกเรามีแรงบันดาลใจ มีความใฝ่ฝันร่วมกัน จะเรียกว่า “Shared Vision” จะเรียกว่า “ฉันทะ” หรืออะไรก็ตามแต่.....

          ในการประชุมให้ข้อมูลแก่คณะกรรมการประเมิน สคส. เมื่อวันที่ 19-20 ต.ค. ที่ผ่านมา ทำให้ผมได้เรียนรู้ว่า... มุมมอง ความคิด ในเชิงธุรกิจกับเชิงสังคมนั้น มันช่างแตกต่างกันจริงๆ ตัวอย่างเช่น ตอนที่ถูกถามเรื่อง “Competitive Alliance” ในทำนองที่ว่า... สคส. เห็นว่ามีใคร (หน่วยงานใด) ที่มีภารกิจคล้ายกับ สคส. บ้าง หรือถ้าพูดภาษาธุรกิจก็คือ เห็นผู้ที่เป็น คู่แข่ง บ้างไหม ว่ามีใครบ้าง  โดยท่านกรรมการได้อธิบายเสริมว่า.... ที่พูดว่า คู่แข่ง นี้  คงไม่ได้หมายถึงการแข่งขันกันแบบเอาเป็นเอาตาย  เพราะแม้แต่ในธุรกิจก็ยังมีการ จับมือ เป็นพันธมิตร (Alliance) กัน (เช่น สายการบินมีการตั้ง “Star Alliance” เป็นต้น ..... อันนี้เป็นตัวอย่างที่ผมยกขึ้นมาเองในข้อเขียนนี้)

          เพื่อที่จะตอบคำถามนี้ ผมได้ยกตัวอย่างให้คณะกรรมการประเมินฟังว่า.... อย่างกรณีของสถาบันเพิ่มผลผลิตฯ หากมองจากมุมมองของสถาบันเพิ่มผลผลิตฯ แล้วอาจจะมองว่า สคส. เป็น “Competitor” ของเขา เพราะเขาจะต้องอยู่รอด จะต้อง เลี้ยงตัวเองให้ได้ และในบริการหรือ ผลิตภัณฑ์ (Product)” หนึ่งที่เขามี ก็ตรงกับที่ สคส. ให้บริการซึ่งก็คือเรื่อง KM (แต่ก็เป็นเพียง Product หนึ่งในหลายๆ ตัวที่เขามีอยู่) แต่ถ้ามองจากมุมมองของ สคส. แล้ว ผมเชื่อว่าเราไม่เคยคิดเลยว่าสถาบันเพิ่มฯ เป็น คู่แข่ง ของเรา ในเรื่อง KM นี้ เราไม่เคยมีคำว่า คู่แข่ง อยู่ในหัวของเราเลย กรรมการท่านหนึ่งได้ขยายความต่อไปว่า....  ต้องอย่ามองเรื่องคู่แข่ง หรือการแข่งขันว่าเป็นเรื่องที่ไม่ดี เพราะการที่เรามีคู่แข่ง  จะทำให้เราหันมาปรับปรุงเครื่องมือ (KM Tools) ที่ใช้อยู่นี้ให้ดียิ่งขึ้น…..

          ในประเด็นนี้ผมได้สะท้อนกลับไปว่า...... ในการส่งเสริมเรื่อง KM ของ สคส. นั้น เรามองว่าภาคี หรือหน่วยงานต่างๆ ที่เราเข้าไปเกี่ยวข้องนั้นเป็นเสมือน ลูกค้า ของเรา เราต้องการจะทำให้ลูกค้าของเราพึงพอใจและจะต้องได้รับประโยชน์จาก KM นี้มากที่สุด ในกรณีที่เราเห็นว่าเครื่องมือตัวไหนไม่เหมาะกับเขา เราก็ไม่ได้ไปฝืนเขา เรามักจะพูดกันอยู่เสมอว่า ถ้าจะให้ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่จะต้องกล้าที่จะพัฒนาและปรับปรุงเครื่องมือ การเรียนรู้ที่จะประยุกต์ใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับบริบทนั้นถือว่าเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญ และเป็นหัวใจของการทำ KM เลยทีเดียว

          ผมเชื่อว่าสายตาของพวกเรา (สคส.) นั้นจับจ้องอยู่ที่ ลูกค้า ของเราตลอดเวลา  เราพยายามหาทางที่จะปรับปรุง เครื่องมือ   ปรับปรุง กระบวนการ ปรับปรุงการดำเนินการต่างๆ อยู่ตลอดเวลา...   สำหรับเราแล้ว ไม่ได้หมายความว่า ต้องมีคู่แข่ง เราจึงจะขมีขะหมัน จึงจะขยันขันแข็ง....... ที่พวกเรามีแรง มีพลังในการทำงานส่งเสริมเรื่อง KM นี้ ผมว่าน่าจะมาจากสิ่งที่เรียกว่า แรงบันดาลใจ ครับ หากขาดแรงบันดาลใจ เราก็คงจะมาไม่ได้ไกลถึงเพียงนี้ ภาวะผู้นำ อย่างที่ สคส. มีอยู่นั้น ถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้พวกเรามีแรงบันดาลใจ มีความใฝ่ฝันร่วมกัน จะเรียกว่า “Shared Vision” จะเรียกว่า ฉันทะ หรืออะไรก็ตามแต่.....

          พูดแล้วก็อดแปลกใจไม่ได้ ที่ในการประเมินครั้งนี้ ไม่ค่อยได้มีการพูดถึงเรื่องของภาวะผู้นำ Shared Vision และแรงบันดาลใจที่มีอยู่ในทีมงานทั้งสิบคนของ สคส. เลย …. สงสัยเป็นเพราะว่าสิ่งที่กล่าวมานี้เป็นสิ่งที่วัดได้ยากนะครับ!!

หมายเลขบันทึก: 55476เขียนเมื่อ 24 ตุลาคม 2006 10:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ดร.ประพนธ์ค่ะ ในประเทศเรามีสถาบันด้านการจัดการความรู้ที่นอกเหนือจาก สคส. เช่น TKC และ สถาบันคลังสมองแห่งชาติ เป็นต้น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างองค์กรด้าน KM ของไทยคงช่วยให้แต่ละฝ่ายได้ประโยชน์ค่ะ มองเขาเป็นลูกค้าอย่างที่อาจารย์ว่านี่แหละค่ะเยี่ยมที่สุด เพราะเขาก็ได้เรียนรู้และได้รับสิ่งที่ดีๆ จากเราไป และเราก็ได้รู้สิ่งที่ ."ลูกค้า" ต้องการจะได้นำมาปรับปรุงสินค้าของเราค่ะ

แรงบันดาลใจคงเป็นฉันทะทำให้เราไม่ท้อถอยที่จะทำให้สำเร็จ     แต่คู่แข่งน่าจะทำให้เราได้พัฒนาและเปรียบเทียบและทำให้ดียิ่งขึ้น     ถ้าไม่มีคู่แข่งเราอาจจะมองไม่เห็นมิติอื่นๆที่เรานึกไม่ถึงค่ะ

กราบเรียนท่านอาจารย์ ดร.ประพนธ์ ธุรกิจ สังคม และ การกุศล บางครั้งเสมือประหนึ่งอยู่คนละโลกครับ อยากให้ สคส มอง ภาคี หน่วยต่างๆเป็น เครือข่ายร่วมแรง มากกว่าลูกค้าครับ พ่อค้า ลูกค้า ต่างมองกันละด้าน เป็นภาคี เป็นเครือข่าย เกื้อกูล เกื้อหนุน ฟังแล้ว ความรู้สึก หัวใจสีชมพู ครับ
ผมเห็นด้วยกับอาจารย์หมอ JJ นะครับ ว่า
  • การมองเป็นภาคี เป็นเครือข่าย ฟังแล้ว ให้ความรู้สึกว่า เราเสมอกัน ช่วยเหลือกัน เกื้อกูลกัน เป็นพันธมิตรกัน
  • การมองเป็นลูกค้า เหมือนสคส มีหน้าที่ต้องบริการ เพื่อหวังรายได้จากการให้บริการ
  • การมองหน่วยงานอื่นว่าเป็นคู่แข่ง ให้ความรู้สึกของการกระตุ้นเตือนให้หน่วยงานเราก้าวไปข้างหน้า ไม่ให้หยุดนิ่งอยู่กับที่
     จะด้วยมุมมองใดก็ตาม ไม่สำคัญเท่ากับ สคสปฏิบัติอย่างไรกับภาคีหน่วยงานที่เข้าไปร่วม ตราบใดที่ภาคีหน่วยงานต่างๆเหล่านี้มีความรู้สึก พึงพอใจ และ สคส มีแนวทางให้ภาคีหน่วยงานต่างๆเหล่านี้พึงพอใจสูงขึ้น ในขณะที่ไม่มีหน่วยงานอื่นใดที่ให้บริการลักษณะเดียวกันกับสคส สร้างความพึงพอใจต่อภาดีหน่วยงานได้เทียบเท่า สคส ก็น่าจะเพียงพอแล้วครับกับแนวทางการพัฒนา
     หาก สคส มีแนวทางที่สามารถ ทำได้ดีกว่าคำว่าพึงพอใจ อาจจะไปถึงขั้นความประทับใจ ก็ถือว่าเป็นคุณภาพที่เพิ่มขึ้นของการเกื้อกูลกันครับ

เรียนอาจารย์ ดร.ประพนธ์

               เนื่องจากทางสถาบันจะจัดงานตลาดนัดKMโดยมีน้องๆช่วยกันคิดโดยที่เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่จะยังไม่ได้อบรมเรื่องKM     ดิฉันคิดว่าจะใช้เวทีนี้เป็นเครื่องมือเพื่อให้มีการลปรรและนำสิ่งดีๆของแต่ละหน่วยงานมาคุยกันโดยจะให้KMเนียนไปกับงานค่ะ     ทราบว่าอาจารย์ยุ่งมากเลยไม่กล้ารบกวนอาจารย์ค่ะ     หากอาจารย์พอมีเวลาจะมาเยี่ยมก็จะเป็นพระคุณอย่างสูงค่ะ

                  ให้ความเห็นในblogแล้วลืมใส่ชื่อค่ะ

                                                  เคารพ

                                                   อัจฉรา   เชาวะวณิช 

เรียน ท่านอ.ดร.ประพนธ์ ค่ะ - ภาษาที่ท่านใช้คุยกันนั้นค่อนข้างยากสำหรับดิฉันที่จะเข้าใจเนื่องจากดิฉันมิได้อยู่ในวงการ...ทำให้ดิฉันต้องอ่านทวน4-5 รอบจึงเริ่มเข้าใจบ้าง(บางส่วน) - ดิฉันคิดว่าสิ่งที่อาจารย์พูดว่า "แรงบรรดาลใจ" มันก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ซ่อนอยู่ของ process ของ สคส.เท่านั้น...สิ่งที่กรรมการ สคส.ทำเป้าหมาย(ดิฉันไม่ทราบว่าท่านทำอะไรกันบ้าง)เชื่อว่ามากกว่านั้นมาก...ท่าน(สคส.)อยากให้องค์กร หน่วยงาน สถาบันหรือบุคคลต่างๆได้ใช้ KM ให้ได้ผลงานที่เกิดประโยชน์สูงสุดตามที่เขาต้องการมากกว่า - ดังนั้นไม่มีความจำเป็นที่สคส.จะต้องแข่งกับใคร...เพราะสิ่งที่สคส.ทำคือ...พรรคพวกเราที่ทำ KM ต้องทำให้ได้ตามเป้าของตน (การพัฒนามันก็ตามมาเอง) - เข้าใจว่าที่คณะกรรมการประเมิน สคส.พูดเรื่องคู่แข่ง...ก็เพียงหวังเห็นว่าเราไม่หยุดนิ่ง... - ก็พอๆกับเราที่ถึงไม่มีคู่แข่งเราก็มิได้แปลว่าเราจะหยุดนิ่ง .....เพราะเราแข่งกับตัวเราเอง..... ทั้งกรรมการประเมิน สคส.และ สคส.เป้าหมายเดียวกันนั่นแหละค่ะ...แต่ใช้ภาษาคนละอย่างเท่านั้นเอง (ถ้าอ่านแล้วดิฉันเข้าใจอะไร สคส.ผิดไป แล้วบังอาจวิเคราะห์ก็ต้องกราบขอโทษค่ะ..ก็อย่างที่บอก...อ่านแล้วมันยากที่จะเข้าใจน่ะค่ะ )
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท