ทวารวดี


http://wathuahin.com/

ทวารวดี วัฒนธรรมชนชาติมอญ

 

 

อชันตา  เหมือนถ้ำเขางู  ราชบุรี

 อชันตา

 อชันตา พระนอน เหมือนถ้ำเขางู  ราชบุรี

สถูปพระเจ้าอโศกมหาราช เมืองดุมหลี  รัฐโอริสสา  อินเดีย พ.ศ.311  ถ้ำสถูปอชันตา

 สถูปพระเจ้าอโศกมหาราช เมืองดุมหลี  รัฐโอริสสา  อินเดีย พ.ศ.311 

  

 สถูปสาญจี เมืองโบปาล อินเดีย พระเจ้าอโศกมหาราช   สร้าง พ.ศ.300

 

 ธงช้าง

 

พระศิลา 1000 ปี  ถ้ำเขางู ทวารวดี ราชบุรี

 

พระดีบุก 1000 ปี  วัดถ้ำรงค์ เนินพระ ทวารวดี  เพชรบุรี

 

 พระศิลา นครปฐมเจดีย์ พ.ศ.1100

 

  พระศิลา นครปฐมเจดีย์ พ.ศ.1100

 

 สถูปคูบัว พ.ศ.1100  ราชบุรี

 สถูปคูบัว พ.ศ.1100  ราชบุรี

 สถูปตักสิลา (ปากีสถาน)

 

สถูปเกสะริยา (บังคลาเทศ) 

สถูปคูบัว ราชบุรี

พระศิลา สถูปพระเมรุ(อยุธยาวัดพระเมรุ)ถนนเพชรเกษม เดิมอยู่นครปฐม พ.ศ.1100

 

สถูปคูบัว พ.ศ.1100 ราชบุรี

  

 พ.ศ.623-700

ธัมจักรศิลา สถูปทุ่งเศรษฐี  อ.ชะอำ  เพชรบุรี พ.ศ.1200

          การติดต่อแลกเปลี่ยนระหว่างชาวอินเดียและชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีมาตั่งแต่วัฒนธรรมหินใหม่หรือช่วงสังคมเกษตร หลักฐานทางโบราณคดีคือ พบขวานหินขัดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าและขวานหินแบบมีบ่าอายุในช่วง 4,000 – 2,000 ปี แพร่กระจายไปดินแดนที่ชนเผ่าที่พูดกลุ่มภาษาญวน มอญ เขมร อินโดนีเชีย จามอีกทั้งยังพบลูกปัดหิน ประเภทหินคาเนเลียน หินโอนิกซ์ หินอาเกต ลูกปัดแก้วสีต่าง ๆ ซึ่งมีแหล่งผลิตในอินเดีย ที่พบเช่นโบราณคดีคลองท่อม จ.กระบี่ และ เกาะคอเขา จ.พังงา

          แต่เดิม อินเดียซื้อทองคำในโรมันเป็นจำนวนมากจนทำให้เศรษฐกิจโรมันกระทบกระเทือนไม่อาจขายทองให้อินเดียได้อีก  อินเดียจึงเดินทางมาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อหาแหล่งที่ซื้อทองคำใหม่ และเรียกดินแดนแถบนี้ว่า “สุวรรณภูมิ”

          ชาวอินเดียที่เป็นพ่อค้าและนักบวช ที่เข้ามาตั่งถิ่นฐานตามแหล่งศูนย์กลางทางการค้า ได้นำเอาความเชื่อขนบธรรมเนียมประเพณีของตนเองเข้ามาด้วย ที่สำคัญคือวัฒนธรรมของชาวพุทธที่มี่ส่วนช่วยสร้างวัฒนธรรมทวารวดี

           “ทวารวดี” เป็นภาษาสันสกฤตหมายถึง “เมืองท่าค้าขายที่มีทางเข้าออกหลายทาง”  อยู่ใน ภาคกลางตอนล่างของประเทศไทยบริเวณ ล้ำน้ำแควน้อย แควใหญ่ ท่าจีน แม่กลอง ด้านตะวันออกของลุ่มแม่น้ำบางปะกง ภาคอิสาน และภาคใต้บางพื้นที่

          เนื่องจากมีแม่น้ำหลายสาย ทางออกทางทะเล และช่องเขาขาดสู่อิสาน ซึ่งใช้เป็นเส้นทางติดต่อค้าขายระหว่างจีนและอินเดีย เกิดการกระจายแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับต่างชุมชนได้อย่างรวดเร็ว  ทวารวดีจึงเจริญขึ้นเพราะสาเหตุดังกล่าว

 

หลักฐานการที่เกี่ยวกับอาณาจักรทวารวดี 

          หลักฐานลายลักษณ์อักษร เช่น

            - หลักฐานจดหมายเหตุจีนของหลวงจีนจี้อิง และ เหี้ยนจัง ราวพุทธศตวรรษที่ 13 ได้กล่าวถึง อาณาจักร “โถ-โล-โป-ตี”  ตั่งอยู่ระหว่างทิศตะวันออกของอาณาจักรศรีเกษตร(พม่า) และทิศตะวันตกของอาณาจักรอิศานปุระ(เจนละ) เป็นที่มาของชื่อ “ทวารวดี”

            - จารึกบนเหรียญกษาปณ์ 2 เหรียญ อักษรปัลลวะภาษาสันสฤต ศาสตราจารย์ ยอร์ส เซเดส์ อ่านได้ว่า “ศรีทวารวดี ศวรปุณยะ...” แปลว่า “บุญกุศลของพระราชาแห่งทวารวดี”

ร่องรอยอารยธรรมอินเดียที่ช่วงสร้างอารยธรรมทวารวดี 

            - การนับถือศาสนาพุทธ จาก คำภีร์มหาวงศ์ในลังกา กล่าวถึงการสังคยนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 3 ในช่วงพ.ศ.ว.ที่  3  พระเจ้าอโศกมหาราชได้ส่งสมณทูตมาเผยแพรพระพุทธศาสนาในดินแดน “สุวรรณภูมิ” สันนิฐานว่าศูนย์กลางของศาสนาพุทธในสมัยทวารวดีคือ จ.นครปฐม ศาสนาพุทธเป็นนิกายถรวาท หลักฐานเช่นจารึกภาษาบาลีคาถา  “เย ธมมา” ที่พบบน ธรรมจักร เจดีย์ ฯลฯ

            - สถูปเจดีย์ มักใช้อิฐในการก่อสร้างก่อสร้าง ฐานมักเป็นสี่เหลี่ยม เช่น เจดีย์จุลปะโทน จ. นครปฐม, เขาคลังนอก,เขาคลังใน จ.เพชรบูรณ์

            - พระพุทธรูป ลั มีลักษณะของอินเดียแบบคุปตะและหลังคุปตะ บางครั้งก็มีอิทธิพลของอมราวดีอยู่ด้วย ลักษณะเช่น เม็ดพระศกใหญ่ พระขโนงต่อกันคล้ายปีกา พระเนตรโปน พระโอฐแบะ ห่มจีวรบางคล้ายเปียกน้ำ เช่น พระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาทปางแสดงธรรม ในถ้ำเขางู จ.ราชบุรี

           - ธรรมจักรและกวางหมอบ ลวดลายแบบคุปตะ-หลังคุปตะ พบมากที่ จ.นครปฐม

           - การนับถือศาสนาพราหมณ์ เช่น เทวรูปรุ่นเก่า มักทำรูปพระนารายณ์ เช่นพบที่เมืองศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี, พระสุริยเทพ เมืองศรีเทพ จ.เพชรบุรี เป็นต้น

           - เครื่องมือเครื่องใช้ เช่นการใช้ตราประทับ เป็นสื่อกลางติดต่อสื่อสารระหว่างสถาบันกษัตริย์ ศาสนา การค้า เช่น เมืองโบราณจันเสน จ. นครสวรรค์

           - การจัดตั่งรัฐแบบอินเดีย  คติการสร้างเมือง เช่นระบบคูน้ำคันดิน เช่นแหล่งโบราณคดีซับจำปา จ.ลพบุรี

           - ภาษา เช่นภาษาสันสกฤตที่ใช้ในราชการ ภาษาบาลีในพระไตรปิฎกที่ใช้ในพระพุทธศาสนาในนิกายเถรวาท

           - ตัวอักษร เช่นตัวปัลลวะ ที่เป็นต้นแบบของ ตัวมอญโบราณ ตัวขอมโบราณ เป็นต้น

           - กีฬาบางประเภท เช่นการเล่นสกา พบอุปกรณ์การเล่นที่ เมืองโบราณคดีจันเสน จ. นครสวรรค์

แหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดีตามภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย 

            -  ภาคตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น  แหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร จ.กาญจนบุรี

            - ภาคตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น เมืองโบราณจันเสน จ.นครสวรรค์

            - ภาคเหนือ เช่น เมืองหริภุญชัย จ.ลำพูน

            - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น เมืองฟ้าแดดสงยาง จ.กาฬสินธุ์  

            - ภาคใต้ แหล่งโบราณคดีใน อ.ยะรัง จ.ปัตตานี

 

 ภาพสลักในนครศรียโสธรปุระ(นครวัด)  ชาวเสียมกุก  เสียมล้อก๊ก  สยาม พ.ศ.1656

 

 ภาพสลักในนครศรียโสธรปุระ(นครวัด)  ชาวเสียมกุก  เสียมล้อก๊ก  สยาม พ.ศ.1656

วัฒธรรมชาวมอญ  ทวารวดี อุโบสถ วัดปฐมเจดีย์ พ.ศ.1200

พระพุทธชินราช  สมเด็จพระบรมไตยโลกนาท ครองราช 40 ปี

สยาม  มอญ  ไตย จาม จีน จ้วง แขมร์ 

 

 พระศิลานิล สุโขทัย  วัดห้วยทรายใต้  ชะอำ   เพชรบุรี

 กุหลาบ

Sound.swf

 

หมายเลขบันทึก: 554521เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2013 14:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 เมษายน 2014 14:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ทวารวดี วัฒนธรรมชนชาติมอญ ... มีของดีดีมากมายเลยนะคะ ....

ขอบคุณบันทึกดีดีนี้ค่ะ ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท