พัฒนาตน พัฒนางาน องค์การก้าวหน้า


การพัฒนาบุคลากรใด ๆ ก็จะไม่ยั่งยืนเลย ตราบเท่าที่คนที่เราพัฒนาเขานั้น ไม่ได้มีการสั่งสมประสบการณ์ด้วยตัวเขาเอง แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่า คือเขาเหล่านั้นจะต้องมีความรัก ความเข้าใจ ความตั้งใจ และความจริงใจในการทำงาน

                            ในฐานะที่เคยได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบงานพัฒนาบุคลากรของหน่วยงาน และจากการที่ตนเองได้มีโอกาสได้พัฒนาตนเองจากการเข้ารับการอบรม ซึ่งจัดโดยหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย และจากการที่ได้มีโอกาสถูกหน่วยงานส่งเข้ารับการอบรมยังหน่วยงานภายนอก หลายครั้งสิ่งที่ได้รับกลับมาภายหลังจากการอบรมในแต่ละครั้ง ถึงแม้จะได้ถูกนำไปถ่ายทอดต่อให้คนอื่น ๆ ในหน่วยงาน ได้ร่วมรับรู้ แต่เนื่องจากสิ่งที่เราได้รับส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับงานในหน้าที่ ซึ่งคนอื่น ๆ ในองค์กร ที่ไม่ได้รับผิดชอบงานในหน้าที่เดียวกับเรา ก็ได้เพียงแต่ร่วมรับฟัง และร่วมรับรู้ ร่วมกัน ว่าเราได้รับรู้อะไรกลับมาเท่านั้น แต่ไม่สามารถนำเอาสิ่งเหล่านั้น กลับไปพัฒนาในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเนื้องานของเขาได้เลย

                          จนกระทั่งอยู่มาวันหนึ่งทางหน่วยงานที่ตัวเองอยู่ ได้มีการกำหนดคำขวัญไว้ว่า พัฒนาตน พัฒนางาน องค์การก้าวหน้า ในฐานะที่ยังรับผิดชอบงานด้านพัฒนาบุคลากรอยู่ ก็อดไม่ได้ที่จะส่งสัยว่า เราจะต้องจัดกิจกรรมพัฒนาบุคลากรเน้นในรูปแบบใด ถึงจะทำให้คนในองค์กร ได้มีการพัฒนาตน และส่งผลให้เกิดการพัฒนางาน และเมื่อได้มีการพัฒนางานแล้ว แน่นอนว่าย่อมส่งผลต่อการทำให้องค์กรก้าวหน้า สามคำนี้ เกี่ยวเนื่องกันอย่างไร 

                   จวบจนผู้เขียนได้มีโอกาสอ่านบทความเรื่อง การพัฒนาตน สู่พลังขององค์กร ซึ่งเขียนโดย อาจารย์ดารา พงษ์สมบูรณ์  อาจารย์ประจำสาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เมื่อผู้เขียนได้อ่านบทความดังกล่าวนี้แล้ว ทำให้เข้าใจถึงแก่นแท้ของคำขวัญดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น รวมถึงเข้าใจแนวคิดของผู้บริหารที่มุ่งอยากให้เห็นการพัฒนาบุคลากรอย่างยั่งยืน ดังนั้น จึงขอถือโอกาส นำเอาบทความดังกล่าว ถ่ายทอดให้ทุกท่านได้รับรู้ หวังว่า คงจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อย

                             การพัฒนาตน สู่พลังขององค์กรอาจารย์ดารา  พงษ์สมบูรณ์  ได้กล่าวไว้ว่า  "คน"  ถือว่าเป็นทรัพยากรมนุษย์ ที่เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ที่จะนำพาองค์กร ไปสู่ความเจริญก้าวหน้า และประสบกับความสำเร็จ ดังนั้น องค์กรจึงต้องพยายาม สรรหาคัดเลือกคนที่มีประสิทธิภาพ เข้าสู่องค์กรให้ได้จำนวนมากๆ เพื่อให้คนเป็นพลังขับเคลื่อนให้องค์กร พัฒนาและเติบโตต่อไปได้ด้วยดี และเมื่อคนได้ก้าวเข้าสู่องค์กรแล้ว ทุกคนจะต้องมีความรัก ความศรัทธา และความภาคภูมิใจในองค์กร ที่ได้เลือกตนเข้าร่วมทำงานด้วย ดังนั้นปัจจัยพื้นฐาน ที่ทุกคนควรคำนึงถึงก็คือ ทุกคนจะต้องมีความรัก ความเข้าใจ ความตั้งใจ และความจริงใจในการทำงาน ซึ่ง อาจารย์ดารา  ได้ให้นิยามสั้นๆ ของแต่ละหัวข้อ ไว้ดังนี้

ความรัก                คือ ต้องรักในงานอาชีพของตน ความเข้าใจ คือ ต้องศึกษาทำความเข้าใจในงานหน้าที่ที่ปฏิบัติ

ความตั้งใจ            คือ ตั้งใจทำงานให้เกิดผลและเป็นประโยชน์ตามเป้าหมายขององค์กร

ความใส่ใจ            คือ พยายามศึกษาค้นหาวิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นใน งานที่ปฏิบัติอยู่

ความจริงใจ          คือ มีความทุ่มเท เสียสละ อดทนซึ่งทำให้งานนั้นไม่เกิดข้อบกพร่องหรือ ข้อผิดพลาด และได้รับความสำเร็จ

                             จะเห็นได้ว่าในการทำงานในองค์กร ทุกคนย่อมมีความต้องการและความคาดหวังให้งานในหน้าที่ของตนดำเนินไปได้ด้วยดี และประสบกับความสำเร็จ ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในชีวิต ดังนั้นการทำงานทุกคนควรมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เพื่อให้เป็นคนที่มีศักยภาพและขีดความสามารถตามที่องค์กรต้องการ ซึ่ง อาจารย์ดารา ได้ให้ความหมายของคำว่า พัฒนา หรือ DEVELOP ไว้อย่างน่าสนใจทีเดียว  โดยท่านได้ให้ความหมายไว้ดังนี้

D = DEVELOPMENT  คือ การพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งหมายถึง  คนที่ทำงานจะประสบกับความสำเร็จในหน้าที่การงานได้นั้น จะต้องเป็นคนที่มีหัวใจในการพัฒนาอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรู้ในงานหน้าที่ของตนเองที่ทำอยู่ หรือความรอบรู้ในเรื่องข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานในหน้าที่ แม้แต่ขั้นตอน หรือวิธีการทำงานโดยจะต้องมีการสำรวจ และประเมินความสามารถของตนเอง อยู่ตลอดเวลา คอยตรวจสอบหรือ วิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน ว่ามีข้อบกพร่องอะไรบ้าง พยายามป้องกัน และแก้ไขจุดบกพร่องต่างๆ อยู่เสมอ ส่วนที่เป็นจุดแข็ง ก็จะต้องมีการพัฒนา ปรับปรุงให้ดีขึ้นอยู่เรื่อยๆ และไม่ควรยึดติดกับวิธีการ หรือขั้นตอนในการทำงานแบบเดิมๆ ต้องมีความเพียรพยายาม ที่จะไขว่คว้าหาเทคนิค และแนวทางใหม่ๆ เพื่อพัฒนา และปรับปรุงการทำงานของตนให้ดียิ่งขึ้นอยู่เสมอ

E = ENDURANCE คือ ความอดทนอดกลั้นหมายถึง  ชีวิตในการทำงานสิ่งหนึ่งที่ทุกคน จะต้องมีให้มาก ก็คือความอดทน ซึ่งจะต้องอดทน ทั้งในเรื่อง การพูด ความคิด การกระทำ และพฤติกรรมของคนที่ทำงาน อยู่ร่วมกัน ตลอดจน อดทนต่อความรับผิดชอบงานในหน้าที่ อดทนต่อปัญหาในการทำงาน หรือแม้แต่กับหัวหน้างาน ผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา และเพื่อนร่วมงาน สิ่งเหล่านี้ เป็นความอดทน ที่ทุกคนจะปฏิเสธไม่ได้ แต่อย่าลืมว่า ความอดทนก็จะเป็นพลังของความสำเร็จ เพราะมันจะช่วยให้เราเผชิญกับปัญหาต่างๆได้เป็นอย่างดี

V = VERSATILE คือ ความหลากหลายความสามารถหมายถึง  คนที่มีความรู้ความสามารถมากกว่าหนึ่งอย่างขึ้นไป ถือว่าเป็นสิ่งที่เจ้าขององค์กรต้องการมากที่สุด เพราะจะมีโอกาส เป็นพลังขับเคลื่อนให้องค์กร พัฒนาและก้าวหน้าได้ต่อไป ในอนาคต และก็มักจะเป็นคนที่ชอบรับอาสาทำงานนอกเหนือจากงานที่รับผิดชอบ หรืองานที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ หรือพฤติกรรมที่โดดเด่นของคนประเภทนี้อยู่แล้ว ซึ่งจะถูกนำไปเปรียบเทียบกับคนที่ไม่คิดไม่ทำอะไรเลย ซึ่งนับวันจะเป็นไม้ตายซากและถูก Layoff ไปในที่สุด

E = ENERGETIC คือ ความกระตือรือร้นอยู่เสมอหมายถึงความกระตือรือร้นในการทำงานเป็นสิ่งที่ดี ทุกคนที่ทำงานในองค์กรควรมีอยู่อย่างยิ่ง เพราะจะทำให้การทำงานมีชีวิตชีวา มีความสนุกกับการทำงาน คิดทำโน้นทำนี่อยู่ ตลอดเวลา มีความตื่นตัวที่จะแสวงหาความรู้ใหม่ๆ เพิ่มเติมอยู่เสมอ ชอบการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การคิดหาวิธีป้องกันและแก้ไขปัญหา หรืออุปสรรคนานาประการ เป็นคนชอบลองผิดลองถูก และมักจะทำงานให้เสร็จตรงตามระยะเวลาที่กำหนดไว้

L = LOVE คือ ความรักในงานที่ทำอยู่หมายถึง การทำงานถ้าได้งานที่เรารักก็จะทำให้เราทำงานอย่างมีความสุข แต่บางคนก็ไม่สามารถทำงานที่ตนเองรักได้ แต่เราก็สามารถที่จะเลือกรักงานที่เราทำอยู่ได้ เมื่อเราทำงานรับผิดชอบงานนั้นๆ แล้วเราจะต้องให้ใจกับงานนั้นๆ ด้วยการพยายามศึกษา และพิจารณาในส่วนที่ดีๆ ของเนื้องาน เพื่อจะเป็นแรงเสริมให้เรารักในงานนั้นๆ ได้ เราต้องให้ความสนใจ เอาใจใส่และให้เวลากับมันให้มาก ก็จะทำให้เราเข้าใจ และรักงานนั้นๆ ได้ในที่สุด

 O = ORGANIZING คือ การจัดการเป็นเลิศหมายถึง  ในการทำงานจะต้องมีการจัดการกับงานในหน้าที่ของตนเอง ให้เป็นระบบอย่างดี เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด หรือข้อบกพร่องในงานที่เรารับผิดชอบ ตั้งแต่การวางแผนงาน ว่าจะทำอะไรก่อนอะไรหลัง การบริหารเวลาให้เหมาะสม และการบริหารทรัพยากรต่างๆ ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย ตามที่องค์กรต้องการ ดังนั้นการทำงานที่ดี จะต้องมีการสำรวจตรวจสอบเตรียมความพร้อมของงาน มีการวางแผนงานให้อย่างรอบคอบ เพื่อให้งานมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุด 

P = POSITIVE THINKING คือ การคิดในทางบวกหมายถึง  การคิดในทางบวกเป็นสิ่งที่ทำให้เรามองโลกในแง่ดี เกิดกำลังใจในการทำงาน มีความสุข และสนุกกับงานที่ทำอย่างไม่ท้อถอย ไม่วิตกกังวลกับงานที่รับผิดชอบ ไม่หนีปัญหา ที่รุมเร้าที่เกิดขึ้น กับตนเอง เพราะมองเห็นว่าปัญหา เป็นสิ่งที่ท้าทาย น่าสัมผัส น่าทดลอง ถ้าสามารถแก้ไขปัญหาได้ ก็จะทำให้เกิดความภาคภูมิใจ และเป็นประสบการณ์ที่ดี นอกจากนี้ความคิดในทางบวก จะทำให้เกิดการแสวงหาโอกาส ที่จะทำงานในเชิงรุก และช่วยเหลือสนับสนุน ผู้ที่อยู่รอบๆ ตัวเราอยู่เสมอ ทำให้เกิดการยอมรับ จากคนรอบข้างมากยิ่งขึ้น และมักจะมีความคิดสร้างสรรค์แปลกๆ ใหม่ๆ อยู่เสมอ                         เมื่อผู้เขียนได้มีโอกาสได้อ่านบทความนี้แล้ว ทำให้เห็นสัจจธรรมได้ว่า การพัฒนาบุคลากรใด ๆ ก็จะไม่ยั่งยืนเลย ตราบเท่าที่คนที่เราพัฒนาเขานั้น ไม่ได้มีการสั่งสมประสบการณ์ด้วยตัวเขาเอง แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่า คือเขาเหล่านั้นจะต้องมีความรัก ความเข้าใจ ความตั้งใจ และความจริงใจในการทำงาน

                             จะเห็นได้ว่า ถ้าทุกคนสามารถพัฒนาตนได้ตามกรอบแนวคิดนี้ก็จะทำให้ประสบกับความสำเร็จในหน้าที่การงานได้โดยไม่ยาก และก็จะทำให้เป็นพลังสำคัญขององค์กร และเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรได้ในที่สุด ซึ่งคุณสามารถสร้างสิ่งเหล่านี้ให้เกิดได้ด้วยตัวคุณเอง  แล้วคุณล่ะ ? มีครบทุกข้อและพร้อมที่จะพัฒนาตนเองเพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนให้กับองค์กรของคุณแล้วหรือยัง  

หมายเลขบันทึก: 55351เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2006 16:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 00:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

 Love Letter เรียนท่านรัตติยา

 เป็นประโยชน์มากครับ

 ขอเติม "ความในใจ ในใจฅน" จะเป็นตัวดลบันดาลให้งานพัฒนา อยู่ยั้งยืนยงครับ





รู้สึกเป็นเกียรติมากเลยค่ะ ที่ อาจารย์หมอ JJ แวะมาให้ความเห็นในบันทึก ขอบคุณอาจารย์มากเลยนะคะ ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะที่ดีๆ  ค่ะ

  • ทำไมผมหาบันทึกนี้ไม่พบไม่ทราบ
  • สงสัยตอนนั้นอยู่ที่ชายแดน
  • มีหลายข้อแต่ไม่ครบทุกข้อครับผม

สวัสดีค่ะ  คุณรัตติยา  ครูอ้อยมาเยี่ยมค่ะ 

  • เป็นข้อความและบทความที่ดีมากค่ะคุณรัตติยา  ครูอ้อยจะขอเก็บไว้ในใจของครูอ้อยนะคะ

ขอบคุณมากสำหรับสิ่งที่ดีที่มอบให้ค่ะ

 มีคำถามอยากจะถามค่ะ

1.  จากบทความที่อ่านข้างต้น  การที่องค์กรจะพัฒนา  ต้องเริ่มจากบุคคลในองค์กร  แล้วเราควรจะใช้หลักการใดในการพัฒนาคะ  เพราะมันเป็นไปไม่ได้เลยที่จะพัฒนาทุกคน
2.  การที่คนเรามีความสามารถหลาย ๆ ด้าน ย่อมเป็นผลดีต่อการทำงาน  แต่มันจะไม่ดีกว่าหรือคะ หากเราจะเชี่ยวชาญในด้านใดด้านหนึ่งไปเลย  ควรจะส่งเสริมในด้านเดียวให้โดดเด่นหรือควรจะส่งเสริมในหลาย ๆ ด้านดีคะ

3.  มันเป็นไปได้ยากมากที่จะทำให้คนคนหนึ่งมีทั้งความรัก  ความเข้าใจ  ความตั้งใจ  และความจริงใจในการทำงาน  คิดว่าควรจะทำเช่นไรเพื่อให้คนคนนั้น มีทั้ง 4 ข้อดังกล่าว

สวัสดีครับ อาจารย์ดารา พงษ์สมบูรณ์ 

ผมชื่อภิชญุฒม์ ฌานภัทรวรวงศ์  รหัส 54010836

มีคำถาม จากบทความที่ได้อ่าน ครับ

1. การพัฒนาคนให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน และประสบความสำเร็จใจหน้าที่การงาน ส่งผลให้องค์กรเจริญก้าวหน้าทางธุรกิจ แบบนี้เราจะเรียกว่าประสบความสำเร็จแบบ win win ได้ไหมครับ

2. ปัจจัยพื้นฐาน ที่ทุกคนควรคำนึงถึง นั้น ถ้าคนทำงานแค่ ทำไปวัน ๆ ไม่ได้หวังผลตอบแทนหรือไม่หวังประสบความสำเร็จในชีวิตการงาน ปัจจัยนี้จะสามารถใช้ได้ผลไหมครับ ?

3. ในการพัฒนาคนที่กล่าวมานี้ ถ้ามองจากคนภายนอกองค์กรเช่นผม ผมคิดว่า มันเหมือนกับเราพัฒนาตัวเราเองเพื่อให้องค์กรก้าวหน้า และผมไม่เห็นองค์กรมีส่วนร่วมในการพัฒนาคนเลยนะครับ องค์กรน่าจะมีนโยบายที่ทำให้คนพัฒนามาจากจิตใจ ไม่ใช่ให้คนอยากพัฒนาด้วยตนเอง และส่วนน้อยมากที่จะอยากพัฒนาตัวเองเพื่อองค์กร ที่ไม่มีส่วนร่วมในการพัฒนา อาจารย์คิดว่ายังไงครับ

มีคำถามที่สงสัยครับ
1ในนิยามของ E = ENDURANCE ได้กล่าวไว้ว่าชีวิตในการทำงานสิ่งหนึ่งที่ทุกคน จะต้องมีให้มาก ก็คือความอดทน แต่ในความเป็นจริงนั้นมนุษย์ทุกคนล้วนมีความอดทนที่จำกัด และสภาพแวดล้อมในองค์กรที่แตกต่างและในความเป็นจริงที่ต้องยอมรับว่าในทุกองค์กรย่อมมีความเลื่อมล้ำทางสังคม เราจะมีหลักการใดที่ช่วยให้เราสามารถอดทนต่อสภาวะที่ยากต่อการอดทนได้อย่างไรครับ 

2.จากนิยามของO = ORGANIZING หากเราใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ควบคู่ด้วยกันจะเกิดผลอย่างไรครับ
3.จากนิยามของDEVELOP ในขั้นตอนการเริ่มต้นที่จะใช้หลักการนั้น สำหรับผู้ที่ไม่เคยปฏิบัติมาก่อนนั้นย่อมเป็นการยากที่จะกระทำการทุกอย่างที่นิยามไว้ได้พร้อมกันทั้งหมดตั้งแต่ครั้งแรก  ดังนั้นเราควรจะเริ่มต้นที่นิยามขอข้อใดก่อนครับ

นายธีระยุทธ์ แซ่แต้

นาย จักกฤษ อ้นเต่า 54040701

คำถามครับ

 1.ถ้าแค่รักในงานจริงๆแล้วข้ออื่นๆก็จะตามมารึปล่าวครับ 

 2.แล้วถ้าอยากให้เกิดขึ้นเป็นรูป ธรรมควรทำอย่างไรครับ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

 3. และจะทำอย่างไรให้การพัฒนาเหล่านี้มีผลระยะยาว  



ขอบคุณครับ อาจารย์

นาย จักรินทร์ เฉลิมโชคชัย

คำถาม..

- ถ้าอยากให้ทุกส่วนมีความสำคัญควรจะเริ่มตั้งแต่ตอนคัดหรือรับเข้่าทำงาน หรือควรมีการอบรม หรือปล่าวครับ

- แต่ละบุคคลก็มีลัษณะ นิสัยหรือรากฐานที่ไม่เหมือนกัน ควรจะทำอย่างไรเพื่อให้หลักการข้างต้นนี้เข้าถึงและสามารถนำไปใช้ได้จริงใน การทำงาน

- เราสามารถนำหลัก เหล่านี้ไปใช่ในสังคมหรือชีวิตประจำวันได้หรือไม่ อย่างไร

นางสาววราภรณ์ ครุฑธา 52017180

สวัสดีค่ะอาจารย์ดารา

1.ปัจจัยพื้นฐานที่อาจารย์ได้กล่าวไว้ สามารถนำไปใช้ได้จริงหรือไม่อย่างไร

2.คำว่า พัฒนา หรือDEVELOP เราจะเริ่มปฎิบัติจากข้อใดจึงจะง่ายที่สุด

3.จะทำอย่างไรให้บุคลากรปฏิบัติตามได้ทุกข้อ จะมีการเชิญชวนอย่างไร



สวัสดีครับ

ผมชื่อ นาย ธนกร พ่วงไทย รหัส 54010285 คณะ ดิจิตัลมีเดีย สาขาออกแบบกราฟฟิก

ผมมีคำถามจะถามครับ

คือ 1. องกรณ์หนึ่งองกรณ์นั้น บุลคลที่หลาย ความสามารถ แต่บุคคลเหล่านั้น เขาจะสามารถทำเต็มประสิทธิภาพที่องกรณ์นั้นได้ตั้งความหวังไว้ได้หรอ

      2. บุคคลที่มีความสามารถครบถ้วนทั้ง 4 ประการ นั้น เขาจะสามารถสื่อ หรือ ถ่ายทอดแก่เพื่อนร่วมงาน ให้เกิดผลดังเช่นตนเองได้ด้วยวิธีไหน และจะเกิดผลได้สูงสุดหรือไม่ 

      3. ถ้าเกิดว่า ทุกๆคนมีหลักการทำงานที่ครบถ้วนหมดนั้น จะไม่เกิดมีการแย่งงานกันมากขึ้นหรอ การแข่งขัยก็จะเพิ่มขึ้น คนจะตกงานกันมากหรือไม่ เพราะด้วยว่า ยิ่งคนเรามีความสามารถที่สูงขึ้น ต่างคน ต่างก็ย่อมมีความทนงตนกันเพิ่มขึ้นไป ซึ่งแต่ละคนนั้นไม่ ไม่เหมือนกันอยู่แล้ว บางคนอาจจะดี แต่คนก็อาจจะดีแต่แต่ดีแค่กับตน ไม่นึกถึงคนรอบข้างหรือเปล่า

น.ส. เบญจวรรณ พันธ์เสน 54003611

1. การที่เราจะทำให้บุคลากรมีครบทุกข้อนั้นยากมาก เราควรเริ่มจากจุดไหนอย่างไร

2. เราจะมีวิธีการอย่างไรที่จะชักจูงให้บุคลากร หันมาเห็นความสำคัญในด้านนี้

3. ถ้ามีปัญหาในการชักจูงบุคลาการจะแก้ปัญหาอย่างไร

54003604 อัษนัย สุขสำราญ

1.ถ้าเราได้งานที่เราไม่ได้รัก แต่ว่าจำเป็นที่จะต้องทำ และทำงานได้ไม่มีความสุข เพราะไม่งีทางเลือกที่จะหางาน ปัจจุบันนี้งานก็หายาก ควรจะต้องทำยังไงครับ 


2.  องค์กรจึงต้องพยายาม สรรหาคัดเลือกคนที่มีประสิทธิภาพ เข้าสู่องค์กรให้ได้จำนวนมากๆ ถ้าคนที่ไม่มีประสิทธิภาพจะสามารถเข้าองค์กรได้ไหม ถ้าเข้าได้จะสามารถทำงานได้ดีเท่าคนอื่นหรือป่าว
 3. พยายามป้องกัน และแก้ไขจุดบกพร่องต่างๆ อยู่เสมอ มีวิธีหาจุดบกพร่องอย่างไร
54017002 ภาสวัชร์ รัตรสาร

จากที่อ่านดูมีข้อสงสัย

1 หลักDEVELOPนี่คือปัจจัยที่เกิดจากภายในตัวเราที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ แต่ถ้าเกิดถูกขัดขวางจากภายนอกมากๆจนยากที่จะประสบความสำเร็จได้โดยอาศัยหลักการนั้น เช่นเจ้านายไม่เห็นคุณค่าเพราะมีพวกเอาหน้าแทนเรา ไม่ก็ถูกเป่าหูใส่ร้ายจนไปขวางกั้นหนทางก้าวหน้า แบบนั้น เราควรอดทนอยู่จริงหรือ

2 ถ้าเกิดเราอยากพัฒนาองค์กรโดยใช้คนเป็นทรัพยากรจริง เราควรมีกระบวนการอย่างไรที่จะทำให้คนพวกนั้นอยากจะทำงานกับเราจริงและเห็นคุณค่าของสิ่งที่เราทุ่มเทให้ไม่ใช่แค่สัญญาหลอกๆเพื่อความก้าวหน้าของบริษัท

3 การจะพัฒนาคนตามหลักDEVELOPผมว่าต้องมีแรงกระตุ้นพอดูที่จะทำขนาดนั้นได้ เพราะคนเราทุกวันนี้ติดสบาย การจะทำให้คนติดสบายรึพวกประเภทไม่มีแรงใจมาทำงานนั้นควรใช้วิธีการใด เพราะเราไม่สามารถไปพูดหลักเพียงเนื้อๆให้คนอยากทำตามได้แน่

54007313 นันทินี โตเศรษฐรัตน์

1.ทำไมเมื่อมีทฤษฎีการพัฒนาคนแล้ว องค์กรส่วนใหญ่ถึงยังไร้ประสิทธิภาพอยู่ 

2. จะทำอย่างไรให้ทุกคนทุกหน่วยงานหันมาทำตามทฤษฎีอย่างจริงจัง

3. จะทำอย่างไรให้ทฤษฎีที่เป็นนามธรรมกลายเป็นรูปธรรมได้ และจะทำอย่างไรเพื่อให้ผลเกิดขึ้นในระยะยาว 

1.จากที่อ่านมา D = DEVELOPMENT คือ การพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง เมื่อเราทำงานพัฒนาดีขึ้นๆ แล้วมีบุคคลภายในองค์กร อิจฉา หาทางแกล้งจนเกิดความกดดันมากๆ และไม่สามารหาทางออกได้ เราควรจะทำยังไงเพื่อผ่านปัญหานั้นให้ได้

2.จะจัดกิจกรรมยังไงเพื่อพัฒนาบุคคลในองค์กรให้มี E = ENERGETIC คือ ความกระตือรือร้นอยู่เสมอ เพราะบุคคลในองค์กรมักจะมีบุคคลที่มีความสามารถ ทำงานใช้ได้ แต่ไม่ได้รักในหน้าที่การงาน แค่ทำงานให้ผ่านๆไปในแต่ละวัน ประเภทชอบทำงานเช้าชามเย็นชามอยู่เสมอ 

3.เราสามารถทำวิธีใดได้บ้างเพื่อให้บุคคลในองค์กรมี L = LOVE คือ ความรักในงานที่ทำอยู่  จะปลูกฝังพนักงานอย่างไร พนักงานถึงจะมีความรักในหน้าที่การงาน



สวัสดีครับ อาจารย์ 

นายณฐกร เรืองสังข์ 52015368 มีข้อสงสัยมาถามอาจารย์ครับ


1.เราจะมีวิธีการพัฒนาบุคลากรของเราภายในองค์กรได้อย่างยั่งยืน มีวิธีการอย่างไรบ้างครับ 

2.หากว่าเราเกิดอุปสรรคจนไม่สามารถที่จะปฎิบัติได้ตามนี้ 

ความรัก  คือ ต้องรักในงานอาชีพของตน ความเข้าใจ คือ ต้องศึกษาทำความเข้าใจในงานหน้าที่ที่ปฏิบัติ

ความตั้งใจ คือ ตั้งใจทำงานให้เกิดผลและเป็นประโยชน์ตามเป้าหมายขององค์กร

ความใส่ใจ คือ พยายามศึกษาค้นหาวิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นใน งานที่ปฏิบัติอยู่

ความจริงใจ คือ มีความทุ่มเท เสียสละ อดทนซึ่งทำให้งานนั้นไม่เกิดข้อบกพร่องหรือ ข้อผิดพลาด และได้รับความสำเร็จ

เราพอจะมีวิธีแก้ไขตนเอง เพื่อให้เป็นแรงจูงใจในการทำงานบ้างครับ

3.P = POSITIVE THINKINGคือ การคิดในทางบวก แล้วหากเราเกิดการคิดในทางลบต่อสายการทำงาน เราควรดำเนินการตัวเองอย่างไรบ้างครับ ปรับปรุงตัวเอง เปลี่ยนงาน เราควรจะเลือกรูปแบบไหนดีครับ เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียแก่เรามากที่สุด

1.ถ้าเรามีความรัก ความเข้าใจ ความตั้งใจ และความจริงใจ ในการใช้ชีวิตจะมีผลดีกับด้วยอื่นด้วยหรือเปล่าค้ะ

2.ถ้าเราเจอสถานะการณ์กดดันมากๆ ในการทำงาน มีวิธีไหนที่จะช่วยให้เกิดความอดทนได้ดีบ้างค้ะ

3.มีวิธีค้นหาความสามารถที่หลากหลายของตนเองยังไงบ้างค้ะ

สวัสดีครับ อาจารย์ดารา พงษ์สมบูรณ์ ผมชื่อ รณกฤต มารยาทตร์ รหัส 52011457 เลขที่ 13

มีคำถามสงสัยจากบทความที่อ่านข้างต้นครับ

1.ถ้าเกิดผมอยากพัฒนาองค์กร โดยใช้มนุษย์เป็นทรัพยากรแบบจริง ผมจะทำอย่างไรเพื่อให้มนุษย์กลุ่มนี้นั้น ทำงานและพัฒนาตนเองจนก้าวไปอีกระดับหนึ่ง จนทำให้องค์กรพัฒนาไปด้วย ต้องมีหลังการอย่างไรครับ

2.การที่มนุษย์เรานั้นมีความสามารถมากมายหลายๆด้าน ย่อมเป็นผลดีต่อองกรค์ แต่มนุษย์เรานั้นไม่เคยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม พอมนุษย์คนไหนฉลาดหรือมีความรู้มากกว่าก็มักจะไม่บอกคนที่ด้อยกว่า ประเด็นนี้ควรใช้หลักการใดดีครับ

3.การพัฒนาคนหรือองค์กรนั้น ผมอยากทราบว่าหลักการหลายๆอย่างที่มีขึ้นมานั้น มนุษย์จะสนใจในหลักการเหล่านี้หรือไม่ครับ


ขอบคุณมากครับอาจารย์ดารา พงษ์สมบูรณ์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท