ฉุกคิด..จากการทำงานของ..จุลินทรีย์


คุณเดชา ได้เล่าให้ฟังว่า..จุลินทรีย์ของเรามีประสิทธิภาพ..เพราะ..เราใช้จุลิทรีย์ทั้งหมดที่มีอยู่ในธรรมชาติมาใช้งาน..ไม่ได้เลือกเฉพาะจุลินทรีย์ที่ดีที่สุดออกมา.

             ชื่อเรื่อง....อาจทำให้สงสัยเล็กน้อย...ดิฉันได้เรื่องนี้จากการ ประเมิน สคส. วันที่ ๑๙ ต.ค.๔๙ ที่เดอะไทด์ รีสอร์ท บางแสน ชลบุรี ......ที่มีภาคีเครือข่ายของ สคส. เข้าร่วมการให้ปากคำ..อุ๊ยไม่ใช่คะ..ต้องใช้คำว่าการให้ข้อมูลกับทีมประเมินถึงจะถูก.....ภาคีที่เข้าร่วมมีจำนวน ๙ ภาคี  ซึ่งหลายท่านคงทราบแล้วว่ามีภาคีใดบ้างถ้าได้อ่าน blog ของ พี่ธวัช คือ http://gotoknow.org/blog/learn-together......
 

             การประเมินครั้งนี้..ช่างไม่เหมือนการประเมินเลย......ซึ่งก็เป็นเพราะภาคีทั้ง ๙ ที่มาในวันนี้…ความประทับใจเริ่มขึ้นที่ห้องรับรอง (ระหว่างที่ทุกคนต้องรอการให้ปากคำ..ทีละสองคน..เป็นคู่ duo) ...…วันนี้เป็นเหมือนวันรวบรวมผู้กล้าการทำ KM แห่ง สคส. …..เพราะแต่ละท่านมีเรื่องราวที่ประทับใจและมีพลังมากมายเป็นเอกลักษณ์ตามบริบทของตน.......แต่พอแต่ละท่านได้ทบทวนความหลังเมื่อครั้งแรกรุ่น ที่ได้รู้จัก สคส. กลับมีประสบการณ์ที่ฝังใจกับ สคส. แทบจะเหมือนกันเลย....คือ สคส.ไม่ยอมมาบรรยาย  ช่วยจัด workshop ได้ก็แค่ครั้งแรกครั้งเดียว  แล้วชอบปล่อยให้ทำเอง ...แต่เมื่อเห็นความพยายามจริงๆ แล้วจึงค่อยให้ความช่วยเหลืออยู่ห่างๆ ......ทำให้แต่ละภาคีค่อยๆ ได้ฝึกฝนและเรียนรู้หลักการของ KM เองจนในที่สุดก็สามารถปรับและประยุกต์กับบริบทของตนเองได้อย่างแนบเนียนเป็นธรรมชาติ...............
 

               การที่ดิฉันได้เข้าร่วมฟังเหล่าภาคีต่างๆ เล่าเรื่องราวเหล่านั้น..ถือเป็นโอกาสที่ใช่ว่าจะหาได้ง่ายๆ ...และประทับใจกับทุกเรื่องเล่าที่ฟัง.........ในครั้งนี้จะขอเล่าความประทับใจหนึ่งที่ได้ฟัง คุณเดชา ศิริภัทร จากมูลนิธิข้าวขวัญ ที่ได้เล่าถึงเรื่องการค้นหาดินที่ดีที่สุดของชาวนาให้ฟัง.....ดินที่ดีที่สุดก็คือดินที่มีจุลินทรีย์ ที่ดีที่สุด  ...โดยเริ่มจากคำถามง่ายๆ พื้นๆ คือ

จุลินทรีย์ที่มีคุณภาพดีที่สุดในดินอยู่ที่ไหน?......อยู่ในดิน
ดินที่ดีที่สุดอยู่ที่ไหน?.......อยู่ในป่า
ป่าที่ดีที่สุดอยู่ที่ไหน?..........อยู่ที่ห้วยขาแข้ง..เพราะไม่ค่อยมีใครเข้าไปยุ่งเกี่ยว

        และจากนั้นเหล่าชาวนาก็ไปเก็บดินที่ดีที่สุดที่ห้วยขาแข้งกัน...ด้วยวิธีการต่างๆ ของเค้าเอง เช่น ดูสี ดมกลิ่น ชิมรส......ทำทุกรูปแบบตามแต่เทคนิคเฉพาะตัวของชาวนาแต่ละคน.....ในที่สุดก็นำดินจากห้วยขาแข้งนี้ไปทดสอบคุณสมบัติแล้วก็พบว่าเป็นดินที่ดีมีคุณภาพมาก....เป็นดินที่มีจุลินทรีย์หลากหลายสายพันธุ์อยู่ร่วมกัน.....ซึ่งก็ได้นำไปใช้กันอยู่ในปัจจุบัน.........มีหน่วยงานต่างๆ มากมายแวะเวียนดูงาน...และได้ทดลองนำ จุลินทรีย์ เหล่านั้นไปบำบัดน้ำเสียซึ่งก็พบว่าได้ผลดีกว่า EM (Effective Microorganisms) ที่เค้าบอกว่าคัดเลือกสายพันธุ์ที่ดีที่สุดมาแล้วด้วย......

            ในฐานะที่ดิฉันก็เรียนสายวิทย์และอยู่ในแวดวงนักวิจัยมาพอสมควร.....นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่จะเพียรพยายามคิดค้น แสะหา และแบ่งแยก   สาร หรือ สิ่งที่คิดว่าดีที่สุด ที่ให้ผลผลิตมากที่สุด ออกมาใช้ประโยชน์สำหรับการทำงานต่างๆ โดยเฉพาะ....ด้วยคิดว่าสิ่งที่ดีที่สุดย่อมทำงานให้เกิดผลได้เร็วและดีที่สุด.....ดังนั้นการคัดเลือกจุลินทรีย์ที่ดีที่สุดออกมาใช้งานย่อมได้ผลดีกว่าการนำกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีในธรรมชาติมาใช้งานเลยโดยไม่คัดแยกก่อน......คนส่วนใหญ่ก็มักคิดเช่นนี้.......แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกลับตรงกันข้าม..กับความรู้จากการปฏิบัติของชาวนาที่ คุณเดชา ได้เล่าให้ฟัง..คือ..จุลินทรีย์ของเรามีประสิทธิภาพ..เพราะ..เราใช้จุลิทรีย์ทั้งหมดที่มีอยู่ในธรรมชาติมาใช้งาน..ไม่ได้เลือกเฉพาะจุลินทรีย์ที่ดีที่สุดออกมา.........นี่คือสิ่งที่ทำให้ดิฉันฉุกคิดขึ้นได้ว่า..ก็คงเหมือนการทำงาน..คนที่มีความเก่งในด้านเดียวกันเมื่ออยู่ร่วมกันก็ย่อมทำงานนั้นๆ ได้ผลดี...ในระดับหนึ่ง..เพราะมีวิธีการและแนวคิดที่คล้ายกัน  และมีความสามารถเพียงด้านเดียว........ในขณะที่ถ้ามีคนเก่งในหลายๆ ด้านมาอยู่ร่วมกันย่อมมีมุมมอง วิธีการ และเกิดการทำงานเป็นทีมขึ้น..เพราะใครเก่งด้านใดก็ทำงานด้านนั้น..ส่วนงานอีกอย่างที่ไม่ถนัดก็ให้คนที่มีทักษะด้านนั้นทำต่อไป..และเกิดการทำงานเป็นทีมขึ้น....งานมีการพัฒนาอยู่เสมอ.....ผลงานที่ได้จากการทำงานของกลุ่มนี้จึงดีกว่ากลุ่มคนทำงานที่เก่งเพียงด้านเดียว.......เปรียบเหมือนกับกลุ่มจุลินทรีย์ในธรรมชาติจากห้วยขาแข้ง..ย่อมมีความสามารถในการทำงานดีกว่ากลุ่มจุลินทรีย์อัจฉริยะเฉพาะด้าน..ที่นักวิทยาศาสตร์คัดเลือกออกมาแล้ว........

 

หมายเลขบันทึก: 55312เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2006 23:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 12:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

บันทึกนี้สุดยอดเลยครับ

วิจารณ์

โชคดีที่ได้อ่านบันทึกนี้ของอุ  กระทุ้งใจดีเหมือนกัน  นับวันยิ่งเห็นความชัดเจนของอุมากขึ้น ดีใจด้วยค่ะ

ขอบคุณมากคะ.....ตอนที่เขียนบันทึกนี้ก็เขียนตามที่ปิ๊งแวบขึ้นมา....ดีใจมากเลยคะ...ที่มีคนสะท้อนกลับมา....โดยเฉพาะ อ.วิจารณ์ คะ...และขอบคุณคะพี่แกบ

และนี่น่าจะเป็นเหตุผลว่าทำไม สคส. จึงเปิดรับคนเข้ามาทำงานโดยไม่จำกัดสาขาวิชาค่ะ

หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งคือ "ความงามของความหลากหลาย" ที่ส่งผลให้เกิด "พลังของความหลากหลาย"

จริงๆ แล้ว ก็ทำให้เราได้ฝึกสติไปด้วยนะคะ ต้องเจอคนหลากหลาย พฤติกรรมก็หลายหลาก ฝึกทั้งกายฝึกทั้งใจไปพร้อมๆ กันทีเดียว

อ้อม สคส.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท