ตะลุงน้อย


อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น และศิลปกรรมพื้นบ้าน เน้นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม

คุณหมออาภาพรรณี เครือข่ายของที่ จ. ตรัง เล่าเรื่อง ประสบการณ์ดีๆที่ได้ทำงานร่วมกับโรงเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน ผ่านเรื่องเล่าที่เธอรวบรวมจากการทำงาน

หนังตะลุง

เมื่อพูดถึงศิลปะพื้นบ้านทางใต้ คงไม่มีใครไม่รู้จัก หนังตะลุง การเล่นหนังตะลุงเป็นการเล่นแบบแสดงเงา แพร่หลายทั้งในประเทศยุโรป ตะวันออกกลกางและเอเชียอาคเนย์
ในประเทศไทยนักวิชาการเชื่อว่าเกิดในปลายรัชกาลที่ 2 โดยหนังจากภาคใต้เข้ามาเล่นในกรุงเทพ ครั้งแรกสมัยรัชกาลที่ 3            โดยพระยาพัทลุง(เผือก)  นำไปเล่นที่แถวนางเลิ้ง คนกรุงเทพฯจึงเรียกหนัง "พัทลุง" ต่อมาเสียงเพียงเพี้ยนเป็นหนังตะลุง หนังตะลุงจะมีขนาดเล็กกว่า"หนังใหญ่" ทำหนังวัวหรือหนังควาย ประดิษฐ์เป็นรูปต่างๆทำสีสวยงาม ชักให้เคลื่อนไหว ตามบทพากย์และเสียงดนตรี ใช้แสงไไฟส่องผ่านตัวหนังมาจาเบื้องหลังโรงให้เงาปรากฏบนจอเครื่องดนตรี
ใช้ประกอบการเล่น ได้แก่ ปี่ โหม่ง ทับ ฉิ่งกลอง

ตะลุงน้อย

โรงเรียนวัดไทรงาม  อ.เมือง จ.ตรัง เป็นโรงเรียนหนึ่งที่ได้เข้าร่วมในโครงการเรียนรู้คู่วิจัย ตอน "อาหารกับฟันผุ" คณะครูในโรงเรียนได้ได้นำเอาความรู้กระบวนการวิจัยผนวกกับสาระการเรียนรู้ โดยมี อาจารย์เบญจวรรณ  สุวรรณเวลาเป็นอาจารย์ผู้ดูแลถ่ายทอดความรู้แก่เด็กผ่านบทกลอนและบทสนทนาที่สอดแทรกสาระความรู้ มีทีมงานนักเรียน 5 คนที่ได้รับการฝึกฝนให้ชำนาญ ประกอบด้วยนักเรียนที่แสดงเป็นตัวหนัง 2 คนและขับเพลงพูดบทสนทนา  พร้อมเล่นดนตรี 3 คน โดยผ฿แสดงแต่งตัวเป็นหนังตะลุงทาสีดำ นุ่งผ้าโสร่ง


อาจารย์ อุดม ขวัญทอง ผู้บริหารโรงเรียน"มีความรู้สึกภาคภูมิใจมาก เพราะทั้งคณะครูและนักเรียนมีความตั้งใจในการทำงาน เสียสละเวลาในการฝึกซ้อม ทำให้ผลงานในการนำเสนอแต่ละครั้งประสบผลสำเร็จ และโครงการนี้เป็นโครงการที่สนองต่อนโยบายการปฏิรูปการศึกษาเน้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมและเรียนรู้อย่างมีความสุข  และทางโรงเรีบนได้จัดทำเป็นหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น และศิลปกรรมพื้นบ้าน เน้นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม
และส่งเสริมให้นักเรียนมีความตระหนัก รัก และหวงแหนในศิลปะพื้นบ้านและเรียนรู้ลักษณะของตัวหนังตะลุงแต่ละตัว สามารถพัฒนาสู่อาชีพ
ทางโรงเรียนได้เชิญนายอุทัย  ชูจันทน์ ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาร่วมให้ความรู้และปฏิบัติจริงตามหลักสูตรสถานศึกษา  ทำให้นักเรียนสามารถขับหนังตะลุงและเล่นเครื่องดนตรีได้ นักเรียนนำความรู้ที่ได้ไปหารายได้เสริมระหว่างเรียน ช่วยแบ่งเบาภาระครอบครัวได้ระดับหนึ่ง"

 จากการสอบถามอาจารย์เบญจวรรณ สุวรรณเวลา  ถึงเรื่องแรงบันดาลใจในการเลือกหนังตะลุงมาใช้ในกิจกรรม ได้คำตอบว่า "สืบเนื่องจากการปฏิรูปการศึกษา โรงเรียนได้จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา อีกทั้งโรงเรียนมีแนวคิดในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น และศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านดังนั้นโรงเรียนจึงได้ทำหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อปลูก
ฝังคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โดยสอดแทรกผ่านการแสดงหนังตะลุง ดัดแปลงตัวนักเรียนแทนตัวหนังตะลุง สอดคล้องกับกิจกรรมที่โรงเรียนได้ร่วมโครงการเรียนรู้คู่วิจัย ตอนอาหารกับฟันผุ จึงได้นำเสนอผลงานของนักเรียนเป็นเวทีแรก"
 แนวคิดที่ให้นักเรียนมาเป็นตัวหนังตะลุง
 1. เพื่อให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการแสดง และกล้าแสดงออก
 2. เพื่อให้นักเรียนเป็นสื่อจริงในการแสดง โดยเลียนแบบท่าทางจากรูปหนังตะลุงเป็นสื่อในการเรียนการสอน
 3. เพื่อให้นักเรียนรู้จักการทำงานเป็นทีม เกิดความรักสามัคคี
 4. เพื่อให้นักเรียนที่ไม่รู้จักหนังตะลุง สามารถได้เรียนรู้และศึกษาลักษณะท่าทางของตัวหนังตะลุง ได้จากการแต่งตัวหนังตะลุงคน
 5. เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกให้นักเรียนรู้จักหวงแหนศิลปวัฒนธรรมของชาวใต้และคำถามสุดท้าย ทำไมจึงเลือกตัวหนัง 2 ตัว คือ อ้ายเท่ง และหนูนุ้ย แล้วนำมาแต่งตัวนุ่งโสร่งทาตัวสีดำ ใส่หัวเป็นรูปตัวหนัง ได้รับคำตอบจากอาจารย์เบญวรรณ
สุวรรณเวลา ว่า "เนื่องจากตัวหนัง 2 ตัวนี้เป็นตัวหนังตะลุงที่คนทั่วไปรู้จักดี เมื่อนำมาเป็นสื่อในการเรียนรู้ของนักเรียน ทำให้เกิดความสนุกสนานและเข้าใจได้ดี ไม่เบื่อในการเรียนรู้ ทำให้นักเรียนที่ได้เรียนรู้ในเรื่องต่างๆ ที่ถ่ายทอดโดยการใช้ตัวหนังตะลุงคนเป็นสื่อนั้นจะจำได้นาน และเกิดองค์ความรู้ได้ยั่งยืน"

คำสำคัญ (Tags): #ตะลุงน้อย
หมายเลขบันทึก: 55263เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2006 15:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 เมษายน 2012 01:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
แบบนี้ก็เข้าข่าย ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทยได้เลยเน๊าะ ... อยากเห็นรูปด้วยจังค่ะ
 พยายามใส่รูอยู่ค่ะ แต่มือใหม่ ยังวางรูปไม่สำเร็จเลยค่ะ

ขอข้อมูลเกี่ยวกับประวัติหนังตะลุง และหนังตะลุงคน วิธีการแสดง เพื่อใช้ประกอบในการจัดทำวิทยานิพนธ์

ติดต่อคุณหมออาภาพรรณี ที่จ.ตรัง นะคะ e-mail: [email protected], [email protected] นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท