ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เน้นสร้างกำไรแบบพอเพียง


เพื่อเป็นการช่วยเหลือประชาชนมิให้ได้รับความเดือนร้อนจากสภาวะผันผวนทางเศรษฐกิจของประเทศ รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังจึงได้มอบหมายนโยบายให้ ธอส. ตรึงอัตราดอเบี้ยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยไว้ให้นานที่สุด และธนาคารให้ประชาชนกู้เงินในอัตราดอกเบี้ยคงที่ระยะยาวมากขึ้น อาทิ อัตราดอกเบี้ยคงที่ระยะยาว 5 ปี และ 10 ปี เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับลูกค้าที่ต้องการทราบเงินงวดผ่อนชำระที่แน่นอน
พร้อมเคียงข้างผู้อยากมีบ้านทุกสถานการณ์ ในปี 2549 แนวโน้มสภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังเผชิญอยู่ ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของสินเชื่อที่อยู่อาศัยทำให้เกิดการชะลอตัวอย่างต่อเนื่องรวมถึงแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่มีทิศทางปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ทำให้สินเชื่อปล่อยใหม่ในรอบ 7 เดือนแรก (ม.ค. – ก.ค.) ที่ผ่านมาของธนาคาร มีสัดส่วนลดลงร้อยละ 11.64% (เมื่อเปรียบเทียบในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2548) โดย ณ สิ้นเดือน ก.ค. ธนาคารมียอดสินเชื่อคงค้างรวมทั้งสิ้น 507,535 ล้านบาท เป็นสินเชื่อปล่อยใหม่ 101,008 ราย เป็นเงิน 64,621 ล้านบาท ในส่วนของเงินฝากธนาคารมียอดเงินฝากร่วมทั้งสิ้น 458,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.49% จากสิ้นปี 2548 ทั้งนี้เนื่องมาจากการแข่งขันที่รุนแรงจากการระดมเงินฝากของตลาดเงิน ทำให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือประชาชนมิให้ได้รับความเดือนร้อนจากสภาวะผันผวนทางเศรษฐกิจของประเทศ รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังจึงได้มอบหมายนโยบายให้ ธอส. ตรึงอัตราดอเบี้ยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยไว้ให้นานที่สุด และธนาคารให้ประชาชนกู้เงินในอัตราดอกเบี้ยคงที่ระยะยาวมากขึ้น อาทิ อัตราดอกเบี้ยคงที่ระยะยาว 5 ปี และ 10 ปี เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับลูกค้าที่ต้องการทราบเงินงวดผ่อนชำระที่แน่นอน นอกจากนั้น ธนาคารได้พิจารณาเห็นว่า ปัจจัยเชิงลบและความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ ธนาคารจึงได้สร้างสรรค์ 6 มาตรการให้ความช่วยเหลือเพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในส่วนของการชำระค่างวดรายเดือน ด้วยการปรับเงินงวดให้เป็นกรณีพิเศษสำหรับลุกค้าที่กำลังเริ่มประสบปัญหา และลูกค้าที่ค้างชำระหนี้มานาน โดยลูกค้าที่เดือนร้อนสามารถติดต่อกับธนาคารได้ทันที ทั้งนี้ธนาคารหวังเป็นเพียงที่พึ่งในยามยากของลูกค้ารายย่อย เพื่อความมั่นคงในการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองต่อไป สำหรับการดำเนินงานในครึ่งหลังของปี 2549 นี้ ธนาคารยังคงเน้นการปล่อยสินเชื่อให้ได้ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้ารายย่อย ธนาคารได้เริ่มให้บริการสินเชื่อเกี่ยวกับ “อุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวเนื่องเพื่อประโยชน์ในการอยู่อาศัย” โดยคิดอัตราดอกเบี้ย MRR (7.75% ในปัจจุบัน) ซึ่งถือว่าเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับสินเชื่อที่มีลักษณะเดียวกันของแหล่งเงินกู้นอกระบบ ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค.49 เป็นต้นไป ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ในฐานะสถาบันการเงินของรัฐ ยังคงมีความมุ่งมั่นในเจตนารมณ์ที่จะร่วมสรรค์สร้างความสุขให้กับประชาชนชาวไทย และเพื่อให้คนไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยการสนับสนุนสินเชื่อที่อยู่อาศัยให้กับประชาชนทุกระดับรายได้ ได้มีที่อยู่อาศัยเป็นกรรมสิทธิ์ของตัวเอง ดังวิสัยทัศน์ของธนาคารที่ว่า “ธนาคารทันสมัย เพื่อที่อยู่อาศัยครบวงจร” (The State-of-the-Art Housing Bank) ฉัตรชัย วีระเมธีกุล กรรมการธนาคาร และรักษาการในตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ ที่มา : วารสารธนาคารอาคารสงเคราะห์
หมายเลขบันทึก: 55235เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2006 11:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท