คนกับป่า :วิถีพอเพียงกระเหรี่ยงสาละวิน


เส้นทางที่พะตี่พาพวกเราเดิน...รอบหมู่บ้านใช้เวลาเกือบ ๒ ชั่วโมง และในเวลาที่มีคุณค่าเหล่านี้ผมเห็นสิ่งดีๆ ที่เป็นวิถีของคนท้องถิ่นอย่างเต็มอิ่ม


หลังจากที่พวกเราเดินทางจากท่าเรือแม่สามแลบ จุดเริ่มย้อนแม่น้ำสาละวินขึ้นไปบ้านท่าตาฝั่งใช้เวลาชั่วโมงเต็มๆ ที่อยู่บนเรือล่องกลางสาละวิน

<p class="MsoNormal"><strong><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma">ความยิ่งใหญ่ของลำน้ำทำให้ผมรู้สึกของความอหังการ์ของธรรมชาติที่เราเป็นหนึ่งในบริบทนั้น ...ธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่สร้างสรรค์ </span></strong><strong><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma"></span></strong></p>    <p class="MsoNormal"><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma">เราเห็นคนโบกมือริมฝั่งน้ำสาละวิน เมื่อเรือเทียบท่าบ้านท่าตาฝั่ง <strong>พี่พะตี่ไพโรจน์ ส.อบต.ท่าตาฝั่ง</strong>ที่เป็นนักพัฒนาตัวยง และ<strong><span style="color: blue">พะตี่จะเป็นไกด์พาพวกเราชมกระบวนการท่องเที่ยวของชุมชนท่าตาฝั่ง ซึ่งเป็นเป้าหมายในการเก็บข้อมูลในทริปนี้</span></strong></span><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma; color: blue"></span></p>  <blockquote><blockquote> <p class="MsoNormal"><span style="font-size: 11.5pt; font-family: Tahoma"> <img src="http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/037/786/original_ttf5.JPG?1285464757" border="0" align="middle"></span></p> <p class="MsoNormal">    เส้นทางลัดเลาะที่พะตี่พาเราเดินทาง </p>

</blockquote></blockquote> <p class="MsoNormal">พะตี่พาพวกเราเดินลัดเลาะ บ้านพี่น้องชาวกระเหรี่ยงไปเรื่อยๆ และชี้ให้ดูโน้น ดูนี่ตลอดเวลา พะตี่สื่อความหมายได้ดี การอธิบายจากคำบอกเล่าของพะตี่ดูสนุกสนานและชวนให้ติดตามยิ่งนัก</p> <p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal">เราเดินทางไปยังบ้านของน้อง พอมีดา และคืนนี้พวกเราจะต้องพักแบบโฮมสเตย์ เรียนรู้วิถีชีวิตชาวกระเหรี่ยงอย่างใกล้ชิด นำสัมภาระเก็บแล้ว พะตี่บอกว่าจะพาพวกเราเดินชมหมู่บ้านโดยรอบ </p> <p class="MsoNormal">ภาพของหมู่บ้านเล็กๆในความรู้สึกผม ไม่ได้เล็กอย่างที่คิด เพราะการตั้งบ้านเรือนกระจายตัวกันตามชายป่า เดินขึ้นดอยลงดอย ลัดทุ่งนา ริมน้ำ เล่นเอาพวกเราคนเมืองหอบแฮกๆไปตามๆกัน</p> <p class="MsoNormal">การเดินลัดเลาะสัมผัสหมู่บ้านใกล้ชิดแบบนี้ ทำให้ผมได้เห็นวิถีการอยู่ การกิน ของพี่น้องกระเหรี่ยงได้เป็นอย่างดี </p> <p class="MsoNormal">บ้านท่าตาฝั่งเป็นหมู่บ้าน Food Bank ที่ได้รับการพัฒนาในเรื่องการปลูกผักเพื่อกิน เพื่ออยู่ แบบเศรษฐกิจพอเพียง บ้านหลังหนึ่งมีผักเกือบทุกชนิด ปลูกปนๆกันไป อยากกินอะไรก็เก็ยกินได้เลย ไม่มีสารพิษ…งานนี้น้องนู๋แหม่มผู้ช่วยนักวิจัยของผมเก็บผักสดๆตลอดเวลา เธอบอกว่าจะนำไป       จิ้ม มิซาโต๊ะ(แปลว่า = น้ำพริก)  ในมื้อเย็นนี้</p><blockquote><blockquote><p class="MsoNormal"> </p></blockquote></blockquote> <p class="MsoNormal">                          บ้านเรือนพี่น้องกระเหรี่ยงท่ามกลางความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ี่
</p><p class="MsoNormal">วิถีคนอยู่กับป่า วิถีที่เรียบง่ายพออยู่พอกินแบบนี้ เป็นวิถีที่น่าอิจฉานัก…ไม่มีเงินก็อยู่ได้ พืชผักในบริเวณบ้านสะพรั่งเก็บปรุงอาหารได้ บริเวณไหนที่เป็นที่ลาดชันเราก็เห็นการปลูกแฝกเพื่อรักษาหน้าดิน มีการตำข้าวกล้องเพื่อใช้กินภายในครอบครัว </p> <p class="MsoNormal">ตลอดที่เดินทางไป ก็ทักทายชาวบ้านที่หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส มิตรไมตรีที่ดีของคนท้องถิ่น เส้นทางที่พะตี่พาพวกเราเดิน…รอบหมู่บ้านใช้เวลาเกือบ ๒ ชั่วโมง และในเวลาที่มีคุณค่าเหล่านี้ผมเห็นสิ่งดีๆ ที่เป็นวิถีของคนท้องถิ่นอย่างเต็มอิ่ม</p> <p class="MsoNormal">คืนนี้เรามีนัดคุยกันกับ คณะกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชน ที่บ้าน พอมีดา กระบวนการท่องเที่ยวของบ้านกระเหรี่ยงเล็กๆ ฝั่งสาละวินจะเป็นอย่างไร? ติดตามบันทึกของผมต่อไปครับ หากเป็นประเด็น Community Based Tourism ติดตามที่ http://gotoknow.org/blog/cbt ครับ</p><hr width="100%" size="2"><p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal">เก็บข้อมูล : บ้านท่าตาฝั่ง ต.แม่ยวม อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน</p> <p class="MsoNormal">โครงการวิจัย การสังเคราะห์กระบวนการท่องเที่ยวโดยชุมชนแม่ฮ่องสอน</p> สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.)สำนักงานภาค

หมายเลขบันทึก: 55222เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2006 10:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ถึงแม้ว่าจะทำให้ทุกคนหอบแฮกๆๆๆไปตาม ๆ กัน..แต่ก็คุ้มจริง ๆ หายเหนื่อยใช่ไหมค่ะ..

น่าจะอยู่ที่นั่นนาน ๆ  นะค่ะ....

 ไม่ต้องใช้จ่ายเงิน คงประหยัดน่าดู...ได้กินผักปลอดสารพิษด้วย....

 

สวัสดีค่ะ  คุณจตุพร

ดำเนินชีวิตตรงตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเลยนะคะ  ได้อ่านแล้วทำให้นึกถึงชีวิตเมื่อตอนยังเด็กที่ยังเป็นสังคมเครือญาติกันมีอะไรแบ่งปันซึ่งกันและกัน  แต่ความมเจริญเข้ามา   ก็หาสังคมแบบเดิมแทบไม่เจอ  แต่ก่อนเคยมีสังคมแบบนี้แหละค่ะ  สังคมเครือญาติ  แต่พอความเจริยเข้มาสังคมก็เปลี่ยนไป  เฮ้อ  เศร้าจัง 

อ่านแล้วจินตนาการตาม สมัยก่อนตนเราก็อยู่อย่างเศรษฐกิจเพียงพอ เก็บผัก หาปลาทาน ไม่ต้องใช้เงิน ก็อยู่ได้อย่างอุดมสมบรูณ์ แต่ทำไมสมัยนี้ยิ่งมีเงิน ยิ่งจนนะ

วิถีชีวิตแบบธรรมชาติที่หมู่บ้านทำให้รู้สึกอิ่มใจไปด้วยจัง

^____^

อืม  ชีวิตคุณมันจริง ๆ คุณจตุพรในขณะที่ออตเหี่ยวอยู่กับงานเอกสาร อะนะชีวิต

ตามมาอ่านครับจะตามต่อไป

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาให้ข้อคิดเห็นครับ

ทุกคนเป็นกำลังใจที่ดีของผมครับ

..........................................

คุณ Chah

วิถีที่งดงามและเรียบง่าย ทำให้ผมอิ่มอกอิ่มใจครับ มีความสุขที่ได้สัมผัส

................................................... 

คุณเปีย

เราสามารถที่จะดำเนินตามรอยเศรษฐกิจพอเพียงได้ครับ ...ไม่สายเกินไปครับ 

เริ่มที่ตัวเองก่อนก็ได้ครับ พอเพียงทั้งสุขภาพและวิถีชีวิตตนเอง

................................................... 

คุณ IS

บรรยากาศที่เมืองนอกก็คงเป็นอีกแบบนะครับ...ผมโชคดีที่ได้ไปสัมผัส บรรยากาศในหมู่บ้านที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยของดีๆ

ให้กำลังใจครับ

................................................ 

คุณออต ครับ

ไม่ต้องห่อเหี่ยวครับ ทำใจให้สนุกกับการทำงานเอกสารนะครับ เสร็จแล้วก็ออกเดินทางต่อไงครับ

อยู่ที่ใจครับ ทำงานเอกสารก็มีความสุขได้

ขอบคุณสำหรับการติดตามต่อเนื่อง

ผมให้กำลังใจนะครับ :)

อ่านแล้ว ผนวกกับการดูภาพ ให้ความรู้สึกอบอุ่นดีนะคะ ถ้าหากเราทุกคนอยู่อย่างพอเพียงได้ ก็คงดี ดิฉันเคยไปประเมินโครงการ สระรวมน้ำ+ใจ ถวายในหลวง ในภาคเหนือ เห็นวิถีชิวิตชาวกะเหรี่ยงปัจจุบัน เปลี่ยนไปเยอะนะคะ เค้าหยุดการทำไร่เลื่อนลอย และเล่าแนวคิดต่างๆ ให้ฟัง ได้ไปฟังแนวคิด ได้ไปเห็น ก็รู้ได้ว่าเค้าพัฒนาไปไกล มีมุมมองความคิดที่ดี และหลากหลาย ที่คาดไม่ถึง จริงๆ แล้ว จ. แม่ฮ่องสอน คือจังหวัดเดียว ที่ดิฉันไม่เคยไปเลย

คุณกาเหว่า ครับ 

ยิ่งเราเข้าไปค้นหาและเรียนรู้วิถีชีวิตกับพี่น้องชาวปกาเกอญอ เราก็พบถึง ความพอเพียง ที่เป็นวิถีของพวกเขาอยู่แล้ว

ความสวยงามของการอยู่ เป็นวิถีที่เราควรศึกษาและเรียนรู้เพื่อยอมรับซึ่งกันและกัน

แม่ฮ่องสอน..."เมืองในฝัน สวรรค์บนดอย" อาจเป็นเมืองที่อยู่ไกลครับ  หากไม่ตั้งใจไปจริงๆ ก็ไม่ถึง

และหากตั้งใจให้ไปถึง  รับรองจะประทับใจครับ 

  • ขอบพระคุณมากครับที่บันทึกมาแบ่งปัน
  • สิ่งที่ "คนเมือง" มักจะประเมินชุมชนท้องถิ่นว่าด้อยการพัฒนาด้านนั้นด้านนี้ เพราะใช้เกณฑ์ของคนพื้นราบ  จึงเป็นที่มาของการพัฒนาแบบใช้สูตรสำเร็จเพียงสูตรเดียวเหมือนกันหมดในอดีต 
  • สิ่งที่ควรทำเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน ก่อนที่ชุมชนท้องถิ่นจะถูกกลืน-ทำลายทุกสิ่งทุกอย่าง ฯลฯ  ก็คือการสร้างความมั่นใจและให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้มีภูมิคุ้มกันสำหรับรักษาวิถีของชุมชนไว้ให้ยาวนานที่สุด
  • เป็นเพียงแนวคิดของผม ที่เคยใช้ชีวิตช่วงหนึ่งในการทำงานใกล้ชิดกับบทบันทึกนี้ อาจล้าสมัยไปบ้างเพราะเวลาผ่านไปเนิ่นนานแล้ว

ดีใจครับ..ที่พี่วีรยุทธกลับมาอีกครั้ง...หลังจากที่หายไปนานนะครับ

...............

จริงอยู่ครับพี่ว่า ความเจริญทางด้านวัตถุบนเขา อาจไม่เท่าในเมือง แต่ด้านจิตใจนี้ไม่แน่นะครับ เพราะที่ผมสัมผัสอัธยาศัยไมตรีดีมากครับ

.............

ข้อคิดเห็นที่ีพี่ให้มา เป็นวิธีคิดที่ทันสมัยเสมอครับ การสร้า้งภูมิคุ้มกัน ให้กับชุมชน ให้รู้เท่าทันและขณะเดัยวกันการพัฒนาศักยภาพชุมชนให้ "รู้ตัว" รู้และภูมิใจตนเอง เป็นสิ่งที่ดีมากครับ

ขอบคุณพี่มากครับ 

"เมืองในฝัน  สวรรค์บนดอย"

ปลูกทุกอย่างที่อยากจะกิน

เศรษฐกิจพอเพียง  ช่างเป็นชีวิตที่มีความสุขนะค่ะ

รักษาความเป็นวิถีของการใช้ชีวิตให้ได้ยาวนานที่สุดนะค่ะ

อย่าให้ความเป็นเมืองมาเปลี่ยนสิ่งดีงามที่มีอยู่

แม่ฮ่องสอน..."เมืองในฝัน สวรรค์บนดอย" อาจเป็นเมืองที่อยู่ไกลครับ หากไม่ตั้งใจไปจริงๆ ก็ไม่ถึง และหากตั้งใจให้ไปถึง รับรองจะประทับใจครับ คุณจตุพรค่ะ ไม่ไช่ไม่ตั้งใจไปนะคะ อยากไปมากๆ แต่การไปภาคเหนือแต่ละครั้ง คือการไปทำงาน เผอิญว่า งานที่ไปทำแต่ละครั้ง ไม่มีงานชิ้นใหนลงที่ จ. แม่ฮ่องสอนเลย สงสัยการไปแม่ฮอ่งสอน ต้องเป็นการตั้งใจไปจริงๆ แบบว่าไปเที่ยว ไม่ใช่การทำงานแล้วแอบแฝงการเที่ยวไว้ มีโอกาส จะรบกวน คุฯจตุพร นำเที่ยวนะคะ

คุณกัลปังหา

เมืองในฝันของผม คือ เมืองที่มีเศรษฐกิจพอเพียง และวิถีที่อิงแอบธรรมชาติครับ

.................................... 

คุณกาเหว่าครับ

หากมีโอกาสมาเที่ยวได้ครับ ที่นี่เรามีการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน  เที่ยวได้ทุกฤดู

ยินดีต้อนรับครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท