“ตลาดนัดความรู้เกษตรธรรมชาติ” ที่พิจิตร


จุดแข็งของ KM ชุมชน – ท้องถิ่น จ.พิจิตร ก็คือคุณสุรเดช เดชคุ้มวงศ์ ผู้อำนวยการมูลนิธิพัฒนาพิจิตร มีความสามารถด้านการจัดการเครือข่ายสูงมาก และคิดยุทธศาสตร์การทำงานเก่งมาก

“ตลาดนัดความรู้เกษตรธรรมชาติ”  ที่พิจิตร


          งาน “รวมพลคนรักษ์สุขภาพ” จ.พิจิตร   วันสุดท้ายคือ 26 มิ.ย.48   เป็นเวทีตลาดนัดความรู้ด้านเกษตรธรรมชาติโดยเฉพาะ   โดยตั้งวงประชุมเป็น 6 วง   ได้แก่
          เกษตรผสมผสาน (ไร่นาสวนผสม)
          เกษตรประณีตบนพื้นที่ขนาดเล็ก (สวนผสมขนาดเล็ก)
          ข้าว/นา ปลอดสารพิษ
          เครือข่ายทายาทเกษตรกร
          ผักปลอดสารพิษ
          โรงสีชุมชน

“”         


          มีการนำเอา “ตารางแห่งอิสรภาพ” ที่เป็นหัวใจของการทำงานเกษตรปลอดสารพิษที่แกนนำเกษตรกร
ทั่วจังหวัดพิจิตรร่วมกันทำไว้ตอนจัดตลาดนัดความรู้ที่วัดวังจิก  อ.โพธิประทับช้าง   เมื่อเดือนธันวาคม 2547   เอามาดำเนินการต่อ   คราวนั้นชาวบ้านช่วยกันคิด
“แก่นความรู้” ของการทำงานเกษตรปลอดสารพิษ  ได้ 8 ตัว   คือ
1.      ผู้นำ/แกนนำ
2.      กระบวนการเรียนรู้
3.      การทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ
4.      การจัดการด้านการผลิต
5.      การจัดการด้านการตลาด
6.      การขยายเครือข่าย
7.      การขยายกิจกรรมและสมาชิก
8.      การทบทวนการทำงานที่ผ่านมา


         แต่ละวงประยุกต์ใช้เครื่องมือ “ธารปัญญา”   โดยมีการปรับใช้ตามความเหมาะสมในแต่ละวง   ความยากอยู่ที่มีสมาชิกใหม่ที่ไม่เคยผ่านกระบวนการ KM เข้ามาเพิ่ม   โดยไม่มีพื้น KM มาก่อน


          KM เพื่อการเกษตรปลอดสารพิษ จ.พิจิตร   ทำให้ชาวบ้านร่วมกันเลือก “ผู้นำแถว 2”   คือปราชญ์ชาวบ้านรุ่นที่ 2   ได้ 20 คน   มูลนิธิร่วมพัฒนาพิจิตรตัดเสื้อปราชญ์ชาวบ้านรุ่นที่ 2  สีฟ้า   และมอบเกียรติบัตรให้   โดยมีปราชญ์ชาวบ้าน จ.พิจิตร  รุ่นที่ 1 ไปแล้ว 10 คน   เสื้อสีแดงเลือดหมูมีลายสวยงาม


          จากการตั้งวงประชุมกลุ่ม   ทำให้แต่ละกลุ่มได้แผนดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกลุ่ม   โดยพบกันทุกเดือนสำหรับแต่ละกลุ่ม


          ตกเย็น   กลุ่ม “คุณอำนวย” และ “คุณลิขิต” ของกลุ่มก็มาประชุมทำ AAR กัน   มีการแจกงานกันไปดำเนินการ “เอื้ออำนวย” ต่อ


          จุดแข็งของ KM ชุมชน – ท้องถิ่น จ.พิจิตร   ก็คือคุณสุรเดช  เดชคุ้มวงศ์   ผู้อำนวยการมูลนิธิพัฒนาพิจิตร   มีความสามารถด้านการจัดการเครือข่ายสูงมาก   และคิดยุทธศาสตร์การทำงานเก่งมาก   ยุทธศาสตร์อย่างหนึ่งคือให้แกนนำชาวบ้านเป็นผู้เข้ามาเป็น “คุณอำนวย” แก่เพื่อนชาวบ้าน   แต่เนื่องจากชาวบ้านไม่สันทัดด้านการจดบันทึก   กลุ่ม “หมออนามัย” จึงเข้ามาหนุนเป็น “คุณลิขิต” ให้


          คุณสุรเดช  คอยย้ำอยู่เสมอว่า “หัวปลา” ต้องชัด   ว่าเป้าหมายสุดท้ายของการทำเกษตรปลอดสารพิษคืออะไร   เป้าหมายที่แท้จริงคือสุขภาพ   มิตรภาพ   ได้กินอาหารปลอดสารพิษ   ลดต้นทุน   ลดหนี้สิน


          “คุณอำนวย” คนหนึ่งเล่าว่า   ในวงหนึ่งมีการสรุปว่าเป้าหมายคือ   เพื่อความร่ำรวย   รวยปัญญา   มีปัญญาจากการใฝ่รู้   จากการคบบัณฑิต   รู้ธรรมชาติ   รู้สังคม
          ข้อเสนอในการดำเนินการเพิ่มเติม   ได้แก่
1)      การจัดตลาดนัดความรู้พัฒนาเมล็ดพันธุ์ผัก/พืช
2)      การหมุนเวียนสถานที่ประชุม “เพื่อนเยี่ยมเพื่อน”
3)      การถ่ายทอดความรู้จากผู้มีความสามารถพิเศษ   สู่ผู้สนใจในชุมชน   และทำวีดีโอ/บันทึกเป็นเอกสาร   เป็นความคิดของคุณป้าใจมา  มีบุญ
4)      การเชื่อมโยงนักวิชาการ/วิจัย/วิทยาศาสตร์   มาต่อยอดความรู้ที่ชาวบ้านพัฒนาขึ้นใช้
5)      การเชิญวิทยากรเฉพาะด้านที่เกษตรกรต้องการมาบรรยายให้ชาวบ้านฟังเป็นครั้งคราว


         ผมกลับมาจาก จ.พิจิตรด้วยหัวใจที่อิ่มเอม   แม้ร่างกายจะตรากตรำเกินไปสักหน่อย


                                                                             วิจารณ์  พานิช
                                                                               27 มิ.ย.48

หมายเลขบันทึก: 552เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2005 00:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 12:29 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ไคโตซาน สารมหัศจรรย์ ...ทางเลือกใหม่ของเกษตรกร รายละเอียด : ปูแดง ไคโตซาน เป็นสารอาหารเข้มข้นชนิดน้ำ เป็นสารไบโอโพลีเมอร์ชีวภาพ ที่สกัดมาจากธรรมชาติ 100%  ไร้สารเคมี เป็นสารปรับสภาพดินและน้ำ  ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืช เพิ่มผลผลิตพืชทุกชนิด ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของสัตว์เลี้ยง และสัตว์ทุกชนิด ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ หรือผู้บริโภค ไม่เป็นพิษตกค้าง และไม่เป็นอัตรายต่อสิ่งแวดล้อม เหมาะสำหรับ นาข้าว พืชไร่ พืชผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้น กล้วยไม้ ไม้ดอก ไม้ประดับ ฯลฯ และสัตว์ทุกชนิดปูแดงไคโตซานมีประโยชน์อย่างไร
  1. เป็นสารปรับสภาพดินและน้ำ
  2. ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์
  3. เป็นตัวช่วยให้พืชกินอาหาร กินปุ๋ยได้ดี ช่วยเร่งรากเร่งใบ เร่งลำต้น เร่งดอก เร่งผล ทำให้พืชและสัตว์โตเร็ว และแข็งแรง
  4. สร้างความต้านทานโรคและแมลงศัตรูพืชได้ดี
  5. ใช้เคลือบเมล็ดพันธ์
  6. ใช้ในการยืดอายุและรักษาคุณภาพผลผลิต
  7. ช่วยรักษาสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศน์
  8. ทำให้ผลผลิตสูงขึ้น มีคุณภาพดี ปลอดสารพิษ
  9. ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของสัตว์ และลดอาการท้องเสียของสัตว์ทุกชนิด เช่น ไก่ เป็ด หมู วัว ควาย ฯลฯ
   วิธีการใช้      พืชไร่ พืชผัก ไม้ผล ไม้ดอก ไม้ประดับ พืชผักทุกชนิด นาข้าว                                   -  ฉีดพ่นทางใบ อัตราส่วน 10-20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ 7 วัน                                   สัตว์ทุกชนิด                                    - ผสมรวมกับอาหาร หรือผสมกับน้ำ อัตราส่วน 10-20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ให้สัตว์กิน  ปูแดง ไคโตซาน  ผ่านการวิเคราะห์สารพิษตกค้างจากงานวิจัยสภาวะแวดล้อม ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนเพาะปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ผลการวิเคราะห์มีความปลอดภัยในการนำมาใช้กับพืช ผัก ผลไม้ และสัตว์ ฯลฯรายงานเลขที่ 246-12-47 วันทดสอบ 14-21 ธ.ค.47  สนใจสั่งซื้อหรือจัดจำหน่าย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คุณพิสิษฐ์  04-0278889    ยินดีให้คำปรึกษาครับผม *-*

ไคโตซาน มีหลายยี่ห้อครับ ประสิทธิภาพไม่แตกต่างกันมากนัก บางบริษัทผสมฮอร์โมนเข้าไปเพื่อผลที่รวดเร็ว บางบริษัทใช้เพียวๆ ความเข้มข้นก็แตกต่างกัน ที่แพงเพราะระบบการตลาด บางแบบเป็นขายตรง บางแบบขายผ่านตลาดธรรมดา ผู้ใช้ควรพิจารณาครับ จริงๆแล้ว ลิตรไม่กี่ร้อยครับ สนใจติดต่อได้ตามอีเมลครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท