คุณค่าที่ค้นหา (ตอนแรก)


“Tacit Knowledge ก็คือ ขุมทรัพย์ในตนนั่นเอง ซึ่งมีอยู่ในตัวตนของทุกคน ทุกคนมีคุณค่าแก่การค้นหา”

          วันนี้ (19 ตุลาคม 2549) เป็นวันหนึ่งที่มีคุณค่ามากๆ  ที่จ๊ะจ๋ามีโอกาสได้เรียนรู้ในหลากหลายแง่มุมจากบุคคลที่มีความสำคัญต่อประเทศชาติมากถึง 9 ท่าน ทุกท่านมาจากหลากหลายหน่วยงาน จากหลายภาคส่วน ทั้งภาคราชการ ภาคประชาสังคม ภาคการศึกษา  ซึ่งทุกท่านที่กล่าวถึงก็คือ ภาคีของ สคส.  และถือว่าเป็นภาคีที่มีความเป็นกัลยาณมิตรสูงมากในการมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทีมประเมิน สสส.   และสิ่งที่ถือว่าล้ำค่ามากคือการได้เรียนรู้แนวความคิด แนวทางการทำงาน การเดินทาง เคล็ดลับ/เทคนิค ความประทับใจต่างๆ ผ่านเรื่องเล่าของภาคีที่เป็นนักปฏิบัติในบริบทที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น

          พลังในการทำงานของแต่ละคนที่มาจากหลายภาคส่วน  มีการนำ KM เป็นเครื่องมือในการทำงานและปรับใช้ในแต่ละบริบท  หรือบางท่าน อาจจะเรียกได้ว่าเป็นเจ้ายุทธจักรก็ว่าได้ ด้วยการรับได้ทุกกระบวนท่า ในการใช้เครื่องมือการจัดการความรู้ไปปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของคน  เช่น การเปรียบผู้นำชุมชนเป็นนายกรัฐมนตรีที่เดิมทำงานเพียงคนเดียว ไม่มีทีม เป็นปรับเปลี่ยนมุมมองให้ชาวบ้านหันกลับมามองตนเอง มองชุมชนที่เค้าอาศัย ด้วยการนำ KM เป็นเครื่องมือในการทำงาน  ให้ชาวบ้านรู้ซึ้งและเข้าใจบทบาท  และเห็นคุณค่าของตน  บทบาทความสามารถของตนและเพื่อน การได้ลงมือปฏิบัติจริง  ซึ่งเป็นคำบอกเล่าของ คุณทรงพล  เจตนาวณิชย์ หัวหน้าโครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาสถาบันจัดการความรู้ของชุมชนท้องถิ่น

           เกิดความประทับใจระหว่างการนำเครื่องมือ KM ไปใช้ เห็นผลการเปลี่ยนแปลงขึ้น ทั้งที่เกิดขึ้นที่ตัวเองและรวมทั้งผู้ร่วมงาน ดังเช่น ดร. วัลลา  ตันตโยทัย ท่านเป็นผู้ประสานงานเครือข่ายเบาหวาน ท่านได้เล่าความประทับใจให้เราฟังว่า ได้นำเครื่องมือ Km บางตัวไปใช้ คือ การจัดตลาดนัดความรู้ และ  Peer Assist     ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของคนทำงาน เริ่มเห็นความสำคัญของกระบวนการ KM คนมีความเอื้อเฟื้อ ความเป็นกันเอง มีความเป็นกัลยาณมิตรเกิดขึ้น   นอกจากนี้ “ Peer assist มีผลเร้าอารมณ์คนได้ดีกว่าการดูงาน ไม่เพียงแต่จะได้เคล็ดลับ เทคนิคเท่านั้น   ยังได้ความรู้สึก เจตคติ และเกิดความคิดมากมาย เกิดพลังอย่างมาก

          หรือแม้แต่คนในแวดวงการศึกษาเช่น ดร. ปฐมพงศ์  ศุภเลิศ  รองผอ. ร.ร. จิระศาสตร์ วิทยา ที่กล่าวว่า การจัดการความรู้เกิดประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม   ด้วยการนำกิจกรรมที่สอดแทรกกระบวนการ KM ลงไปในงานประจำ และบางกิจกรรมเกิดความเชื่อมโยงที่ลงไปถึงชุมชน ชาวบ้าน เกิดการเสริมแรง เกิดความภาคภูมิใจ และเกิดความสัมพันธ์ที่ดี   เช่นเดียวกับ ผศ.ดร. เลขา ปิยะอัจฉริยะ ท่านเป็นผู้ที่อยู่ในแวดวงการศึกษามานาน และท่านก็เป็นผู้หนึ่งที่ลงมือปฏิบัติเองด้วยการทำหน้าที่เป็นคุณอำนวยในการนำกระบวนการ KM ถ่ายทอดให้กับ สพท. และครู ทั้ง 17 เขตพื้นที่การศึกษา ใน โครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรทางการศึกษาด้วยการจัดการความรู้ (Ed-KM)” เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากกับท่านและทีมงานโครงการในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ไม่คุ้นชิน เช่น เกิดการเรียนรู้ ทักษะการฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep listening) ทักษะการพูด การจดบันทึก  การวิเคราะห์ และสิ่งที่น่าสนใจในมุมมองของท่าน “Tacit Knowledge  ก็คือ ขุมทรัพย์ในตนนั่นเอง ซึ่งมีอยู่ในทุกคน ทุกคนมีคุณค่า

หมายเลขบันทึก: 55185เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2006 21:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

           ขอบคุณมากสำหรับความรู้ที่แบ่งปันให้

                                              ขอบใจจริง ๆ 

            

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท