beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

ลปรร.เรื่อง ครูอาจารย์ไทยกับคำว่า "รู้จำ ไม่รู้จริง"


อาจารย์ส่วนมากสนใจสอนแต่เนื้อหาและรายละเอียด แต่ลืมบอกถึงที่มาของความรู้และวิธีการนำไปประยุกต์ใช้

    ผมจำไม่ได้แล้วว่า ใครเคยเล่าให้ผมฟังว่า คนญี่ปุ่นปรามาส (อ่านว่า ปรามาด) ครูและอาจารย์ไทยว่า เป็นพวก "รู้จำ ไม่รู้จริง" เขามีเหตุผลดังนี้ครับ (พูดเฉพาะคำว่าอาจารย์) เขาบอกว่า คนจะมาเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ควรผ่านการทำงานในลักษณะที่ได้ ไปลองใช้ความรู้ความสามารถ สร้างสมประสบการณ์มาอย่างน้อยสัก 5 ปี เพื่อจะมาถ่ายทอดให้ลูกศิษย์ได้ รวมทั้งมีเครือข่ายในการส่งนิสิตไปทำงานหรือฝึกงานในสายวิชาชีพที่ตนได้เคยไปทำงานมา

    ตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา ผมได้พบว่ากว่า 80 เปอร์เซนต์ ของอาจารย์มหาวิทยาลัย เป็นพวกที่เรียนจบปริญญาตรี ต่อปริญญาโทแล้วก็มาสอน ต่อมาก็เรียนจนกระทั่งจบปริญญาเอกแล้วก็มาสอน ส่วนที่สอนก็มาจากตำราต่างประเทศ หรือแม้เป็นตำราไทยก็เป็นของคนอื่น แม้มีตำราของตัวเองแล้วแต่ก็ยังใช้ของคนอื่นอยู่

     การสอนก็เป็นไปในทำนองสอนในตำรา เวลายกตัวอย่างจะยกตัวอย่างแบบไทยก็หาตัวอย่างยากเลยยกตัวอย่างของต่างชาติ

     เคยมีศาสตราจารย์ท่านหนึ่งกล่าวว่า เวลาสอนทฤษฎีเป็นของต่างประเทศไม่ว่ากัน แต่ถ้ายกตัวอย่างต้องเป็นตัวอย่างของไทย

      อาจารย์ส่วนมากมักจะเน้นสอนในรายละเอียดมากกว่า จะสอนถึงวิธีคิด เวลาออกข้อสอบ ข้อสอบมักจะมีคำตอบอยู่เรียบร้อยแล้ว ใครตอบเหมือนอาจารย์มีสิทธิ์ได้ A มีนักปรัชญาการศึกษาท่านหนึ่งกล่าวว่า "ข้อสอบไม่มีถูกหรือผิด มีแต่ว่าคิดอย่างไรจึงได้คำตอบนั้น หรือ ถูกผิดไม่สำคัญเท่าวิธีคิด"

     อาจารย์ส่วนมากสนใจสอนแต่เนื้อหาและรายละเอียด แต่ลืมบอกถึงที่มาของความรู้และวิธีการนำไปประยุกต์ใช้

     กว่าอาจารย์จะสอนเก่งและมีตัวอย่างดี ๆ มาเล่าให้ลูกศิษย์ของตัวเองฟังได้ เวลาก็ผ่านไปเป็นสิบปี อาจารย์ส่วนมากจึงมักเป็นนักวิชาการ ซึ่งไม่เคยได้ทำงานจริง เพราะในมหาวิทยาลัยมีแต่ห้องทดลอง บริษัทจำลอง .........นี่ผมคิดมากไป (negative) หรือเปล่าครับ

หมายเลขบันทึก: 5517เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2005 00:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2013 15:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ ในฐานะที่เป็นนิสิตที่จะไปเป็นครูในอนาคตคิดว่าคนจะเป็นครู้นั้นไม่ยาก แค่มีความรู้ หรือเรียนครูก็ได้ช่อว่าครูแล้ว แต่การเป็นครูที่ดีนั้น นอกจากความรู้ที่มีและจิตใจของผู้เสียสละ ประสบการณ์ที่ผ่านมาก็จะเป็นประโยชน์แก่นักเรียนอย่างมาก เพราะประสบการณืก็เหมือนการทดสอบทฤษฎีที่ด้เรียนรู้มาแล้ว ทฎษฎีอาจผิดพลาดได้ ไม่มีความรู้ใดที่แน่นอน เราเคยเชื่อว่าโลกแบนแต่ในวันนี้ไม่ใช่แล้ว ในหนึ่งปีมีเด็กที่ผ่านมือครูหนึ่งคนอย่างตำก็ครื่งร้อย อย่างมากเป็นพันๆคน ถ้าครูมีคุณภาพ เด็กก็จะมีคุณภาพ ประเทศชาตอของเราก็จะมีความหวัง ก็คิดดูแล้วกันว่าในแต่ละปีมีเด็กผ่านมือครูกี่คน และครู้ท้งหม่ดได้สร้างคนขึ้นมากี่คนตลอดช่างชีวิต คง จะไม่มากเกินไปหากจะพูดว่าครู้คื่อวิศวกรของประเทศ ครูคือสถาปนิก ครูคือผู้เยียวยารักษาและในขณะเดียวกัน ครุก็อาจจะเป็นผู้ทำลาย

ขอบคุณ สำหรับข้อคิดเห็น ครับ

ผมเห็นด้วยอย่างมากครับ คนที่สอนในมหาวิทยาลัยที่ผลิตบัญฑิตออกมานั้น ส่วนมากจบ ป.โท ป.เอก และผมก็เห็นด้วยในเรื่องนี้  แต่ไม่เห็นด้วยในเรื่องประสบการณื คนที่จะสอน บุคคลที่จะออกมารับใช้สังคมต้องเป็นคนที่มีประสบการณ์มากเพียงพอเป็นที่ยอมรับในระดับหนึ่ง  แต่ของไทยเราเมื่อจบ ป.โท ป.เอก มาแล้วจะได้การรับรองอย่างดี  สอนในระดับที่น่าจะใช้ประสบการณ์มากมาสอนครับ

 

    การสอนของอาจารย์ไทย เหมาะสำหรับให้ไปเป็นอาจารย์ต่อ หรือไปเป็นข้าราชการ แต่ไม่เหมาะสำหรับไปทำงานเอกชน (หลายแห่ง) ส่วนมากเขาต้องไปฝึกใหม่ครับ หรือเดี๋ยวนี้เขาก็ตั้องเป็นศูนย์ฝึกอบรมของเขาเอง (ได้สิทธิเรื่องภาษี)  ถ้ามีความร่วมมือระหว่างภาคเอกชน กับภาคการผลิตบัณฑิตนี้ก็จะดีครับ

   ที่ม.นเรศวร มีการเรียน MBA ภาคพิเศษ (เรียน เสาร์-อาทิตย์) เขาจะเชิญพวกที่มีประสบการณ์การทำงานมาสอน เช่น เชิญผู้จัดการที่มีความรู้ทาง E-maketing มาสอนครับ

   ผมคิดว่าในการเรียนปริญญาไหนก็ตามในภาคปกติ (เรียนจันทร์-ศุกร์) น่าจะมีการเชิญผู้มีประสบการณ์มาสอนบ้าง (คนที่เชิญมาสอนไม่จำเป็นต้องมีปริญญาก็ได้) มาถ่ายทอดประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องนั้น ๆ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท