ภาคสาม บทที่ ๑ ปัญหาหลักของมนุษย์เรา คือ เราหลงทาง แต่เราไม่รู้ ว่าหลงทาง


ความสุขและทุกข์พื้นฐาน ของเราทุกคน จึงเท่าเทียมกัน ไม่ต่างกันเลย
 ที่มาที่ไปของเหตุและผล มนุษย์เรานั้น ไม่ว่ายากดีมีจน เชื้อชาติ ศาสนา ยุคใด สมัยใด ก็ตามมักจะประสบ ปัญหาพื้นฐาน หรือความทุกข์ อันเดียวกันเสมอ เป็นเพราะเหตุใดกันแน่ มนุษย์เรานั้น มาจากแม่คนเดียวกัน และกลับสู่แม่ คนเดียวกันเสมอนั่นก็คือ ธรรมชาติ เป็นดังมารดา ของทุกสิ่ง คอยโอบกอดทุกสิ่งไว้ นั่นเอง ความเชื่อ ศรัทธา ศาสนา เชื้อชาติ ยากดีมีจน นั้นเป็นเพียงการมอง การรับรู้ การแปล ผ่านแว่นที่ต่างกัน และเกิดขึ้นมา ทีหลังทั้งสิ้นหากถอดแว่นของเราออก ก็ย่อมจะมองเห็น ทุกสิ่ง เหมือนกัน ตามความเป็นจริง จะเห็นว่า มนุษย์เรานั้น มีความเป็นคน เท่าเทียมกัน ทุกคน ตั้งแต่เกิดจึงไม่ควรแบ่งแยกกันโดย ความเชื่อ ศรัทธา ศาสนา เชื้อชาติ ยากดีมีจน ทั้งปวงหากถอดแว่นของเราออก ก็ย่อมจะมองเห็น ความเป็นจริง ความเท่าเทียมกัน เพราะเรามาจากแม่ และกลับสู่จากแม่ คนเดียวกันเราทุกคนจึงมีความเป็นคน เท่าเทียมกัน เราได้รับสิ่งต่างๆ จากแม่ เท่าเทียมกัน ภายนอกนั้น ด้านกาย เรามีสุขและทุกข์จาก การเกิด แก่ เจ็บ ตาย เท่าเทียมกันภายในนั้น ด้านใจ เรามีสุขและทุกข์จาก ความกลัว ความอยาก ความโกรธ เท่าเทียมกัน ดังนั้น ความสุขและทุกข์พื้นฐาน ของเราทุกคน จึงเท่าเทียมกัน ไม่ต่างกันเลย การเกิดมาในฐานะมนุษย์เรานั้น ย่อมพอใจ เป็นสุขยิ่ง เมื่อความอยากต่างๆ ได้รับการตอบสนองการเกิดมาในฐานะมนุษย์เรานั้น ย่อมไม่พอใจ เป็นทุกข์ยิ่ง เมื่อความสุข มีอุปสรรค จืดจาง หมดสิ้นไป ความพอใจ และความสุขนั้น ย่อมเกิดขึ้นมา จากมูลเหตุ ความอยากต่างๆ ตามเงื่อนไขความไม่พอใจ และความทุกข์นั้น จึงเกิดขึ้น จากการสิ้นสุดของ ความพอใจ และความสุข นั่นเอง มนุษย์เรานั้น มักจะหัวเราะ เมื่อมีความพอใจ ในความสุข เิกิดขึ้นแต่มนุษย์เรานั้น กลับต้องร้องให้ เมื่อความพอใจ ในความสุขนั้น ได้สิ้นสุดลง ความทุกข์และความสุข ของมนุษย์เรา มีขึ้น มีลง มีเกิด มีสิ้นสุด ไปเรื่อยๆเป็นดุจคลื่นความสุข ความทุกข์ ในทะลอันไร้ฝั่ง ไม่มีสิ้นสุด ดังนั้นใน ความสุขและทุกข์อันไม่สิ้นสุดนี้ จึงกลายเป็น ปัญหาหลัก ของมนุษย์เราทุกคน จุดมุ่งหมาย ในการเกิดมาเป็น มนุษย์ เพื่อให้เราทุกคน ได้รับประโยชน์สูงสุด จากการเกิดมาเป็น มนุษย์สัตว์โลกเผ่าพันธุื์อื่นนั้น มีวงจรชีวิต แค่ กิน ขี้ ปี้ นอน เท่านั้นแต่มนุษย์เรา เป็นสัตว์โลก ที่ต่างออกไป ไม่จำเป็นต้อง กิน ขี้ ปี้ นอน อย่างเดียวสามารถฝึก พัฒนา เพื่อเป็นผู้มีจิตใจสูง เื่พื่ิอได้รับประโยชน์สูงสุด จากการเกิดมาเป็น มนุษย์ได้ มนุษย์เราทุกคน ย่อมเกิดมากับ พรสวรรค์โดยกำเนิด ของเผ่าพันธุ์มนุษย์จิตใจของมนุษย์เรา เป็นดุจกล่องที่คอยเก็บ พรสวรรค์ ทั้งปวงนั้นแต่มนุษย์เราทุกคน มักไม่รู้ มักโดนปิดกั้น โดนปิดล็อก ตามมูลเหตุ เงื่อนไข ต่างๆกันไป เช่นความกลัว ความอยาก ความโกรธ ความเชื่อ ศรัทธา ความงมงาย และปมในใจ ต่างๆกันออกไป  เมื่อใจเราโดนล็อก มีปมในใจ มีเงื่อนไข ต่างๆกันออกไป การปลดล็อก ย่อมต่างกัน ตามมูลเหตุ ตามเงื่อนไขแต่ละคนย่อมต้องค้นหา ชุดกุญแจ อันเฉพาะของตนเอง เพื่อปลดล็อก ปมในใจ ที่ต่างกันออกไป หากเราดื้อดึง ใช้กุจแจชุดเดียวกัน เพื่อปลดล็อก ใจคนทุกคนย่อมไม่ตรงตามมูลเหตุ ตามเงื่อนไข ตามความเป็นจริง และย่อมเกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา มากมาย ชุดกุญแจพื้นฐาน เพื่อเบิกทางแก่ กุญแจชุดอื่นๆ เพื่อให้เราพิจารณาและปฎิบัติจริง ต่อไปอย่าง สั้น กระชับ เข้าใจง่าย เชื่อมโยงง่ายใช้งานง่าย ตรวจสอบง่าย ถ่ายทอดง่าย เราต้องมี ชุดกุญแจพื้นฐาน ก่อน สติปัญญา กล้าหาญ ซื่อตรง กาย วาจา ใจ  ที่ดี เข้มแข็ง บริบรูณ์นั้นย่อมเป็น ชุดกุญแจพื้นฐาน เื่พื่อเบิกทาง แก่กุญแจชุดอื่นๆเพื่อช่วย ส่องสว่าง นำทิศทาง ที่ถูกต้อง ตามจริง เพื่อใช้ไขความลับ เบื้องต้น ของสิ่งต่างๆ เคล็ดประจำตัว  เพื่อใช้ไขความลับ เบื้องหน้า ของสิ่งต่างๆ ว่า ความคิด ความรู้ ภูมิปัญญา ความเชื่อ ศรัทธาใด และสิ่งใดๆที่เป็นของจริงแท้ ย่อมทน ย่อมเต็มใจ ย่อมเปิดกว้าง ต่อการพิสูจน์ โต้แย้ง ไม่ขึ้นกับสถานที่ บุคคล ยุคสมัยและกาลเวลา 
 ภาคสาม บทที่ ๑ ปัญหาหลักของมนุษย์เรา คือ เราหลงทาง แต่เราไม่รู้ ว่าหลงทาง อันดับแรก มูลเหตุของปัญหาหลัก ต่อจากปัญหา ความสุขและทุกข์อันไม่สิ้นสุด ข้างต้น เราจะลองพิจารณาต่อไปว่าสัตว์โลกเผ่าพันธุ์อื่น มีปัญหาแบบเดียวกับเผ่าพันธุ์มนุษย์ หรือไม่จะเห็นว่า มีแค่มนุษย์เราเท่านั้น ที่ประสบปัญหานี้ขณะที่ สัตว์โลกเผ่าพันธุ์อื่น จะประสบแค่ปัญหาพื้นฐาน ด้านอาหารและแหล่งที่อยู่อาศัยเท่านั้น ลองพิจารณาดูด้วย สติ ปัญญา กล้าหาญ ซื่อตรง จะเห็นว่า ตัวทำให้เกิดปัญหา ก็คือมนุษย์เรานี่เองลองพิจารณาดูด้วย สติ ปัญญา กล้าหาญ ซื่อตรง จะเห็นว่า ตัวสาเหตุ ก็น่าจะซ่อนอยู่ในตัวมนุษย์เรานี่เอง จะเห็นว่า ในจิตใจมนุษย์เรา ประกอบด้วย พรสรรค์ต่างๆ ซึ่งเป็นดังผู้สร้างสรรค์ เป็นดุจพระเจ้าผู้สร้าง มีคุณมากมาย ไม่สิ้นสุดจะเห็นว่า ในจิตใจมนุษย์เรา ประกอบด้วย แรงต้านทานต่างๆ ซึ่งเป็นดังผู้คอยสลายสิ่งต่างๆ เป็นดุจพระเจ้าผู้คอยทำลาย ซึ่งมีโทษมากมาย เช่นกัน หากลองพิจารณาว่า ทุกอย่างย่อมมีอย่างน้อยสองด้าน มีมืด ย่อมมีสว่าง มีเกิดขึ้น ย่อมมีสิ้นสุดลงจะเห็นว่า เป็นกลไก ตามธรรมชาติ เพื่อสร้าง เพื่อสลาย เพื่อดึงดูด ทุกอย่าง เข้าสู่สมดุลจะเห็นว่า พรสวรรค์สร้าง สิ่งต่างๆขึ้นมา และมีแรงต้าน เพื่อคอยสลาย เพื่อถ่วงดุล เพื่อดึงดูด ทุกอย่าง สู่สมดุลย์ หาก พรสวรรค์ เบื้องต้น มีคุณมากมาย อันได้แก่ สติปัญญา กล้าหาญ ซื่อตรง กาย วาจา ใจ แล้วแรงต้านทาน เบื้องต้น ที่มีโทษมากมาย ของมนุษย์นั้น คือ อะไร กันแน่ จากภาคแรก จะเห็นว่า มนุษย์เราย่อม ประกอบด้วย ความกลัว เป็นพื้นฐานสุดเป็นมูลเหตุให้เิกิด ความเชื่อ ศรัทธา ความงมงาย การนับถือ การบูชา และศาสนาในระดับต่างๆกัน ขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อ ความกลัวตั้งแต่ระดับแรก ถึงระดับสูงได้ ต่อไป เราจะพิจารณาต่อ ขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง อย่างแรก จะเห็นว่า มนุษย์เรานั้น ย่อมพอใจ เป็นสุขยิ่ง เมื่อความอยากต่างๆ ได้รับการตอบสนองความอยาก ต่อความพอใจทั้งปวง จึงเป็นมูลเหตุ ก่อให้เิกิด ๓ ก กิน กาม เกียรติ ต่างๆกันไปเพื่อตอบสนอง ความอยาก ความต้องการ ตั้งแต่ระดับต้น ไประดับสูงได้ อย่างสอง จะเห็นว่า มนุษย์เรานั้น ย่อมไม่พอใจ เป็นทุกข์ยิ่ง เมื่อความสุข มีอุปสรรค จืดจาง หมดสิ้นไปความโกรธ เมื่อความพอใจ ความสุข มีอุปสรรค จืดจาง หมดสิ้นไปจึงเป็นมูลเหตุ ก่อให้เิกิด ทุกข์ อย่างยิ่งหากพอใจหรือสุขน้อย เมื่อความพอใจ หรือสุขนั้น สิ้นสุดลง ย่อมทุกข์ ไม่มากหากพอใจหรือสุขมาก เมื่อความพอใจ หรือสุขนั้น สิ้นสุดลง ย่อมทุกข์ มาก เช่นกัน เป็นเหมือนความสูงของคลื่น ความสุขและทุกข์อันไม่สิ้นสุด ยิ่งคลื่นความสุข ขาขึ้นไปมากเท่าใด คลื่นความทุกข์ ขาลงย่อมมากเท่านั้น อันดับสอง จุดหมายปลายทาง เมื่อเรารู้ปัญหาแล้ว ว่าเราหลงทาง รู้มูลเหตุ ความเป็นไปต่างๆ แล้วเราจะเริ่ม ตั้งจุดมุ่งหมายในใจ ว่าเราต้องการ จะไปยังจุดหมายปลางทางที่ใดท่ามกลาง คลื่นความสุข ความทุกข์ ในทะลอันไร้ฝั่ง ไม่มีสิ้นสุด ของมนุษย์เรานี้ เราจะลองพิจารณา เป็นขั้นๆ ดังนี้๑ หากเรา ตั้งจุดมุ่งหมายในใจ เพื่อมุ่งหน้าไปสู่เกาะแห่งความเปี่ยมสุข จะเป็นเช่นไรจะเห็นว่า เราทุกคนย่อมเปี่ยมไปด้วยความความพอใจยิ่งเราสุข สบายดี ไม่เดือดร้อนอะไร ขณะที่ความสุข ยังอยู่กับเราแต่เมื่อพบความจริงว่า ความเปี่ยมสุขนั้น ได้สิ้นสุดลง เราทุกคนย่อมเปี่ยมไปด้วยความทุกข์ จากมูลเหตุที่ความสุข จากเราไปความสุขต่างๆ ที่เรามุ่งหมาย เป็นปลายทาง ที่ยั่งยืนหรือไม่ ๒ หากเรา ตั้งจุดมุ่งหมายในใจ เพื่อมุ่งหน้าไปสู่เกาะแห่งสันติภาพ ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม จะเป็นเช่นไรจะเห็นว่า เราทุกคนย่อมเปี่ยมไปด้วยสันติภาพ ความปลอดภัย ทุกคนไม่เบียดเบียน ซึ่งกันและกันแต่เมื่อพบความจริงว่า ความอยาก และความโกรธ ยังบีบคั้นจิตใจเราทุกคนอยู่ ทุกวินาทีพบว่าแรงต้านทาน ตามธรรมชาติ นั้น ไม่อาจจะกำจัดอีกไปได้ง่ายดาย แบบพลิกฝ่ามือพบว่าการเอาชนะ แรงต้านทาน ตามธรรมชาติ นั้น ต้องอาศัย การฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง เพื่อมีภูมิคุ้มกันที่ดีเราทุกคนนั้น จะได้พบกับ สันติภาพ ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ที่ยั่งยืน หรือไม่เราทุกคนนั้น จะได้พบกับ สันติภาพ ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ที่มีภูมิคุ้ม กันที่ดีหรือไม่ ๓ หากเรา ตั้งจุดมุ่งหมายในใจ เพื่อมุ่งหน้าไปสู่เกาะแห่งสมดุลย์ และเป็นทางสายกลาง จะเป็นช่นไรจะเห็นว่า เราทุกคน ที่เกิดมาเป็นมนุษย์ สามารถไปยังจุดนี้ได้ คือ มีสุข มีทุกพอประมาณ มีอย่างสมดุลย์สามารถอยู่อย่างรู้ทัน เข้าใจ ในธรรมชาติของความอยาก ความโกรธ ความสุขและความทุกข์ไม่สุดโต่ง ไปด้านใด ด้านหนึ่ง มากเกินไปเข้าใจและใช้ชีวิต ได้อย่างสมดุลย์ช่วยรักษา สันติภาพ ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ให้ยั่งยืนให้มีภูมิคุ้มกันโดย การรักษา ความสมดุลย์ ของ ความสุข ความทุกข์ให้มีภูมิคุ้มกันโดย การรักษา ความสมดุลย์ ของ ความกลัว ความอยาก ความโกรธไม่บีบคั้น ไม่สุดโต่ง ต่อธรรมชาติ ของมนุษย์ เราจะสามารถ ได้รับประโยชน์สูงสุด จากการเกิดเป็นมนุษย์ หรือไม่เราจะสามารถ ได้รับประโยชน์สูงสุด จากศิลปะการดำรงชีวิต ในฐานะมนุษย์ หรือไม่ เป็นคำตอบ ที่เราทุกคนต้อง พิจารณา และหาคำตอบ ที่เหมาะกับตัวเราเอง อันดับสาม ศัตรูที่ร้ายกาจที่สุด ของมนุษย์ ที่คอยดึงให้เราหลงทาง หากเราได้ พิจารณาปัญหา มูลเหตุ จุดมุ่งหมาย มาถึงจุดนี้ แล้วจะเห็นว่าไม่ได้ลึกลับ ซับซ้อน เกินกว่ามนุษย์ ธรรมดาอย่างเรา จะเข้าใจได้แต่เหตุใด เราทุกคนจึงหลงทางอยู่ หรือกลับไปหลงทางอีกครั้ง จากมูลเหตุ ความกลัว ความอยาก ความโกรธ นั้นเป็นแรงต้านตามธรรมชาติ ในตัวมนุษย์เราทุกคนหากเราไม่รู้ทัน สติปัญญา กล้าหาญ ซื่อตรง กาย วาจา ใจ ไม่ฝึกฝนต่อเนื่องนานพอเราย่อมไม่แข็งแรงพอ ไม่ภูมิคุ้มกันที่ดีพอเราย่อมโดนแรงนี้ ดึงดูดกลับไป ได้โดยง่าย และพลัดทางได้ง่ายดาย หากรวบรวมในใจความเดียว นั้น จะได้ว่าเกิดจาก ความหมกมุ่น มัวเมา เสพติด ในความกลัว ความอยาก ความโกรธ นั่นเอง โดยธรรมชาติของมนุษย์เราทุกคน ความหมกมุ่น มัวเมา เสพติดนี้สามารถเกิดขึ้นได้ ในทุกวินาที ที่เราหายใจ เลยทีเดียว ขอให้ทุกท่านดำรงอยู่ด้วยความไม่ประมาท และพร้อมด้วย สติ สมาธิ ปัญญา อันบริบรูณ์ ขอให้ทุกท่าน จงมีกำลังกาย กำลังใจที่ดี ในการทั้งปวงขอจงโชคดี จากนั้น ในภาคสาม บทที่ ๒ เราจะลองพิจารณา สถานะการณ์ของประเทศ เช่น การปฎิรูปชุมชน เศรษฐกิจพอเพียง ความยุติธรรม และปัญหาภาคใต้ดู แสดงความคิดเห็นและดูทั้งหมด ๑๙ บทความ ได้ที่http://www.tpa.or.th/writer/author_des.php?passTo=e7c730f5848300fc6f352f248796df86&authorID=63และhttp://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cxoasia&group=1  
หมายเลขบันทึก: 55166เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2006 18:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท