เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์


หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทำให้เราสามารถอยู่ในโลกยุคโลกาภิวัตน์ได้อย่างยั่งยืน

 

สวัสดีครับชาว Blog..

          วันนี้เป็นวันแรกที่สารคดีสั้น ชุด เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ จะแพร่ภาพออกอากาศทาง ช่อง 11 รายการนี้น่าสนใจเพราะไม่ได้พูดถึงแต่เพียงหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงของเราเท่านั้น แต่ได้เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของการใช้เศรษฐกิจพอเพียงกับการดำรงชีวิตในยุคโลกาภิวัตน์ว่าเป็นเครื่องช่วยให้เราอยู่รอดได้อย่างยั่งยืนในยุคโลกาภิวัตน์ สารคดีชุดนี้มีทั้งหมด 40 ตอน แบ่งเป็น 3 ชุด ประกอบด้วย

           1. ชุด รู้จริงเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 14 ตอน

           2. ชุด รู้ทันโลกาภิวัตน์ จำนวน 10 ตอน

           3. ชุด เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ จำนวน 16 ตอน

tv11

           รายการนี้จะออกอากาศเป็นประจำทุกวันจันทร์ ถึง ศุกร์ ทาง สทท. 11 เวลาประมาณ 22.40 -22.45 น. (อยู่ในรายการมุมใหม่ไทยแลนด์) โดยจะเริ่มออกอากาศครั้งแรกวันที่ 19 ตุลาคม 2549 เป็นต้นไป

           หวังว่าหลาย ๆ ท่านจะได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่หากติดตามชมรายการนี้อย่างต่อเนื่อง และหากจะกรุณาร่วมแสดงความคิดเห็นมาที่ Blog นี้ก็จะช่วยสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ร่วมกันขยายผลไปสู่สาธารณชนในวงกว้างต่อไป

           และวันนี้สำหรับ 10 ท่านแรกที่ร่วมแสดงความคิดเห็นที่นี่ ผมจะมอบหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ เวอร์ชั่น 2: 2 พลังความคิดชีวิตและงานของคุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์ และ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ให้เป็นรางวัลครับ

 ........................................................

 ภาพบรรยากาศการบันทึกเทปสัมภาษณ์สดเปิดตัวสารคดีฯ ทางรายการมุมใหม่ไทยแลนด์ ณ สทท.11 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม 2549 ได้รับเกียรติจาก ดร.จิรายุ  อิศรางกูร ณ อยุธยา ประธานอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง, ดร.ชัยวัฒน์  วิบูลย์สวัสดิ์ ประธานกรรมการบริหารธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน), ดร.ปรียานุช  พิบูลย์สราวุธ หัวหน้าโครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ร่วมเป็นแขกรับเชิญในรายการฯ      

 

 

หมายเลขบันทึก: 55165เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2006 17:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (62)
  • ผมดูเวลาออกอากาศ 22.40 -22.45 น แสดงว่า ออกอากาศตอนละ 5 นาทีถูกต้องไหมครับ
ยม "รายการวิทยุ คลื่น FM. 96.5 เวทีความคิด คลื่นความคิด Modern Radio 19 ต.ค. 2549
 

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน 

  

เมื่อคืนนี้ เวลาประมาณ 19.30 น. ผมได้ใช้คอมพิวเตอร์ที่บ้าน ใช้ Internet เข้าไปในเว็ป ของ สถานีวิทยุ 96.5 ฟังรายการวิทยุ คลื่น FM. 96.5   เวทีความคิด คลื่นความคิด Modern Radio  ฟังไปในขณะเดียวกันก็ใช้ คอมฯ บันทึกข้อมูลที่ ศ.ดร.จีระ สนทนาในรายการ

 

 

ได้ฟัง ศ.ดร.จีระ พูดในรายการ  ฟังดูแล้ว อาจารย์มีความคิดหลากหลาย มานำเสนอในรายการ เหมื่อนคลื่นในทะเล ไม่มีติดขัด สมกับใช้ชื่อว่า คลื่นความคิด ผมจดไม่ทันทุกประเด็น แต่คลื่นความคิดมา เล่าสู่ให้ท่านผู้อ่าน ได้ดังต่อไปนี้ครับ

  

อาจารย์พูดคุยถึงเรื่อง APEC  พูดถึง จีน ไม่รับไต้หวัน เป็นประเทศ จีนเท่านั้นที่เป็นประเทศในกลุ่ม APEC มีประมาณ 21 ประเทศ  ซึ่งใช้มหาสมุทรเข้ามาเป็นเกณฑ์ในการเอาประเทศต่าง ๆ เข้าร่วม โดยมีคณะทำงานด้านต่าง ๆ ในกลุ่ม APEC อาจารย์รับหน้าที่กลุ่ม HR ต้องเป็นผู้ประสานที่ดี วาระ 2 ปีครึ่ง สิ้นสุด สิ้นปีนี้

  

คุณวิสุทธ์ ผู้ดำเนินรายการ ถามว่า คนไทยได้ประโยชน์อะไร

 

 

อาจารย์ตอบว่า  จากการที่อาจารย์ ได้เป็นประธาน HR.APEC ได้ประโยชน์ในการพิจารณาอนุมัติและทำงานร่วมกับประเทศในกลุ่ม APEC การอนุมัติโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการ การเรียน คณิตศาสตร์ร่วมกับประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างเช่น ญี่ปุ่น อเมริกา ไทยร่วมมือกัน ขณะนี้อยู่ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

 

การเรียนการสอนเด็กในต่างประเทศเขาไม่สอนแบบเรา  เวลาเขาสอนเด็กนักเรียน เขาจะดึงเอาความเป็นเลิศของเด็กออกมา เน้นให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ โครงการนี้ได้เงินมาช่วย 4 ถึง 5 ล้านบาท การเรียนคณิตศาสตร์ ในไทย ได้นำความรู้การเรียนคณิตศาสตร์แบบใหม่ มาช่วยพัฒนาครูและนักเรียนในไทย

  โครงการต่อมา ด้านแรงงาน ได้โครงการพัฒนาภาษาอังกฤษ ให้กับธุรกิจ SMEs เข้ามา และทำร่วมกันกับประเทศในกลุ่มสมาชิก APEC  

คุณวิสุทธ์ ถามว่า การที่พาคณะครูโรงเรียนมัธยมฯ ไปดูงานต่างประเทศที่เกาหลี ได้อะไรบ้าง

  อาจารย์ตอบว่ารัฐบาลเกาหลี ได้ทำโครงการ Cyber education การเรียนโดยใช้ IT เข้ามาช่วย ซึ่งน่าสนใจ อาจารย์ได้พาคณะครูมัธยม ไปดูงานที่นั่น 32 ท่าน   การเรียนการสอนในบ้านเรายังใช้ชอร์คกับทอร์ค อยู่ ซึ่งล่าสมัยกว่าเขา ครูในเกาหลี ได้รับการพัฒนาด้าน IT อย่างทั่วถึง แต่บ้านเรา ได้รับการพัฒนาเฉพาะโรงเรียนในเมืองที่พัฒนาแล้ว  นโยบายต่างประเทศของเกาหลี นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาแล้ว เกาหลียังใช้นโยบายต่างประเทศให้เป็นประโยชน์ต่อการค้าระหว่างประเทศด้วย  40 ปีที่แล้ว เขาต้องพึ่งไทย เราเป็นพันธมิตรในสงครามเกาหลี  เราส่งข้าวไปช่วย  เขามองประเทศไทยวันนี้ ว่าเป็นประเทศที่เจริญเติบโต เป็นมิตรกับเขา    คุณวิสุทธ์ ถามว่า ถ้าเกาหลีพูดถึงไทย เขาจะพูดถึงเรื่องอะไร  อาจารย์ตอบว่า คนเกาหลีถ้าเขาพูดถึงประเทศไทยก็จะพูดถึงการท่องเที่ยว สองเมืองคือ ภูเก็ต สมุย นักกอล์ฟก็จะมาฝึกและเล่นกอล์ฟที่พัทยา หัวหิน  คนเล่นกอล์ฟใหม่ ๆ ในเกาหลี ก็นิยมมาฝึกและเล่นกอล์ฟในไทย   และยังนึกถึงเรื่องการลงทุนในไทย เช่น ซัมซุง ฯลฯ   การที่เรามีโอกาสแลกเปลี่ยนนักเรียนและครูในโรงเรียนของไทยและเกาหลี จึงเป็นสิ่งที่ดีคนไทยไปเกาหลี ชอบไปซื้อของปลอม  เกาหลีทำของปลอมได้เก่ง ที่สุดในโลก    คุณวิสุทธ์ ถามว่า เราได้เรียนรู้อะไรบ้าง จากเกาหลี  อาจารย์ตอบว่าคนเกาหลี ดี เป็นคนมีวินัย  สะอาด วัฒนธรรม การรักษาความสะอาด  เป็นสังคมที่มีระเบียบวินัย  เราเรียนรู้จากเขาได้ ในขณะเดียวกัน เกาหลีก็เรียนรู้จากเรา เรื่องความละเอียดอ่อน เรื่องของวัฒนธรรม  วัฒนธรรมขายได้   ในการพัฒนากิจการที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ และบ้านเมือง เกาหลีจะให้รัฐบาลนำก่อน  พอเข้มแข็งแล้ว ก็จะส่งให้เอกชนนำไปทำต่อ  เกาหลี ดึงเอาคนเก่ง ๆ มาจากต่างประเทศ มาจัดตั้งองค์กร และพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ   ครู อาจารย์ที่ไปดูงานมา จะได้ข้อคิดอะไรบ้างอาจารย์ตอบว่าครู อาจารย์ที่ไปดูงานมา น่าจะทำได้สามเรื่อง ·        เซ็นสัญญากันในการเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกัน·        ทำให้ครูมีโลกทัศน์กว้าง ·        โรงเรียนยุคใหม่ เหมือนทฤษฎียุคใหม่  พึงตนเอง มุ่งมั่น เอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ในระบบราชการ การไปดูงานครั้งนี้ครูพึ่งพาตนเอง ทฤษฏี Mind Set ต้อง set ใหม่ ครูยุคใหม่ ต้องทำงานเป็นทีม   

ข่วงที่สองของรายการ

 คุณวิสุทธ์ เล่าให้ฟังถึงเรื่อง การมีหนี้สิน การไม่ดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของข้าราชการบางคน จากผลการสำรวจข้าราชการมีหนีสินเฉลี่ย ครอบครัวละ สี่แสนเก้าหมื่นกว่าบาท  หนีจากการผ่อนรถ  หนีจากเรื่องการศึกษา หนี้จากโครงการใหญ่ ๆ ในกระทรวงต่าง ๆ   ในหลายกระทรวงกำลังทบทวนโครงการใหญ่ ๆ ว่ารายจ่ายแต่ละโครงการ มีโครงการใด ไม่อยู่ในแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง      จากนั้น คุณวิสุทธ์ได้กลับมาสนทนากับอาจารย์ในช่วงที่สอง   คุณวิสุทธ์ ถามว่า  อาจารย์ไปเกาหลี มีคนถามถึงเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่อาจารย์ตอบว่า คนส่วนใหญ่ อาจจะเข้าใจว่าเศรษฐกิจพอเพียง คือไม่เจริญ ที่จริงไม่ใช่  ความจริงแล้ว ประเทศไทยเราเป็นประเทศเศรษฐกิจทุนิยม มานาน แต่เราผิดพลาด ในหลวงจึงสอนให้คนไทยคิด ไม่ประมาท   เวลาเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงเร็ว ขอให้เราพึ่งตัวเอง เศรษฐกิจพอเพียง ไม่สกัดกั้นการเจริญเติบโต  ในอดีตเราพึงพาต่างประเทศมากเกินไปเราจึงมีปัญหา   เศรษฐกิจเรา เป็นการส่งออก แต่ควรเป็นการส่งออกแบบยั่งยืน เราต้องมีทุนทางปัญญา เราต้องมี R&D เศรษฐกิจพอเพียงจึงไม่ใช่แค่เรื่องการเกษตร เท่านั้น ถ้าเรารู้จักเชื่อมโยงกับโลกภายนอกอย่างค่อยเป็นค่อยไป อย่างยั่งยืน ก็จะเป็นประโยชน์   วันนี้ ที่ช่อง 11 เวลา สี่ทุ่ม 40 นาที เป็นรายการสด ปัญหาคือขณะนี้ คนเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง อย่างจริงจังมีน้อย    คุณวิสุทธ์ แจ้งว่า มี Message จากท่านผู้ฟังถามมาว่า โครงกรร Mega Project การทำถนน หนทาง เป็นเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่ อาจารย์ตอบว่า แน่นอน ถ้าเราทำโดยการไปกู้เขามา โดยไม่แน่ใจว่าจะบริหารการเงิน เงื่อนไข ความคุ้มทุน ก็ไม่ใช่เป็นเศรษฐกิจพอเพียง แต่ถ้าเลือกทำถนนสายที่คุ้มทุนที่สุด และมีการบริหารความเสี่ยง ใช้ทรัพยากรที่เรามีอยู่มาทำได้ นั้นถือว่าเขาหลักเศรษฐกิจพอเพียง    

เรื่องการท่องเที่ยว อย่างชาดหาดที่สวยงามมีการดูแลสิงแวดล้อมให้ดี ค่อย ๆ พัฒนาบนพื้นฐานของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดี   การพัฒนาชาดหาดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเต็มไปด้วยบาร์เบียร์ เป็นแถบอย่างนี่ไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียง เพราะจะไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำลายวัฒนธรรม ประเพณีที่ดีไป

 

 

ส่วนรายการ "เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัฒน์" ทางชอง 11 ที่ ศ.ดร.จีระ ออกรายการสดเมื่อคืนนี้ ก็น่าสนใจ เป็นรายการที่เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นำมาบูรณการใช้ในการดำเนินชีวิตในปัจจุบันและอนาคต

  รายการได้แบ่งออกเป็นสามช่วง/ตอน คือ ช่วงแรก เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง  ช่วงที่สอง จะเป็นช่วงให้ความรู้เกี่ยวกับโลกาภิวัตน์ ช่วงสุดท้ายเป็นช่วงที่จะผสมผสาน บูรณาการ เชื่อมโยงเศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์เข้าด้วยกัน เพื่อให้ผู้ชมได้เข้าใจ และนำไปใช้ได้  

การเปิดรายการเป็นครั้งแรก นำโดย ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา  และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์   เป็นการกล่าวนำ เปิดตัวรายการ ว่าจะเริ่มต้น อย่างไร ดำเนินอย่างไร และจะจบอย่างไร

  

ผมจับประเด็นที่ ดร.จิรายุ ให้แนวคิดไว้ว่า ใครก็ตาม จะทำอะไรก็ตามที่ให้สอดคล้องกับแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ต้องคิดคำนึงถึง 3 เรื่อง คือ

 

เรื่อง ทำแบบพอประมาณ ทำด้วยความระมัดระวัง  ประการต่อมา ต้องทำด้วยความรู้ รู้จริง ต้องแน่ใจว่า องค์ความรู้ที่จะนำมาใช้ปฏิบัตินั้น ปฏิบัติได้แน่ ได้ยั่งยืน ประการสุดท้าย  ต้องทำด้วยความมุ่งมั่น ขยัน อดทน ซื่อสัตย์ สุจริต เอื้ออาทร เพื่อให้มีความก้าวหน้า มั่นคงอย่างสมดุล ฯ

  ผมจับประเด็นที่ ศ.ดร.จีระพูดในรายการวันนี้ ว่า โลกาภิวัตน์มีทั้งโอกาส และภัยคุกคาม  ในยุคโลกาภิวัตน์ถ้าเราดำเนินชีวิตอย่างประมาท เราอาจจะพบกับภัยคุกคามมากกว่าโอกาส  การนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ จะทำให้เราพบกับโอกาส ก้าวหน้าอย่างมั่นคง และยั่งยืน ฯ  

ทางผู้ว่าการธนาคารกรุงไทย ได้พูดในรายการหลายประเด็นพอจับใจความได้ว่า การดำเนินชีวิต ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง มีทั้งขั้นพื้นฐาน และขั้นก้าวหน้า  ขั้นพื้นฐาน คือ ดำเนินชิวิตอยู่บนความพอใช้ พอดี อยู่ได้ มีภูมิคุ้นกัน ฯ  ส่วนขั้นกว้าหน้า คือ การพัฒนาชิวิต มาจากขั้นพื้นฐาน พัฒนากิจการ หรือกิจกรรม จนสามารถนำผลงาน ผลผลิต เข้าสู่ระบบตลาดได้ และค่อย ๆ ขยายไปสู่ตลาดโลก 

  โดยสรุป เศรษฐกิจพอเพียง ไม่ปฏิเสธ กระแสโลกาภิวัตน์ ไม่ปฏิเสธ ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง แต่เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต กิจกรรม ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งครัวเรือน สังคม ประเทศชาติ ที่ มีหลักการ ที่จะนำไปสู่ความสุข ความยั่งยืน การรักษาธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ความก้าวหน้าอย่างมั่นคงและสมดุล เป็นต้น  ข้อเสนอแนะในการจัดรายการนี้ ผมวิเคราะห์ดังนี้ครับ จุดแข็ง ของการจัดรายการนี้ 1.    มีการจัดการที่เป็นระบบ มีการวางแผนการออกเป็นช่วง ๆ สามช่วง 2.    มีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิมาร่วมดำเนินรายการ3.    มีการนำสารคดี ภาพมาประกอบ4.    วิทยากรพูดได้ดี มีสาร สั้นเข้าใจง่าย5.    เป็นรายการที่เป็นคุณประโยชน์ต่อคนทุกระดับ  จุดที่เป็นข้อสังเกต 1.    เวลาของการออกอากาศ รายการดี ๆ อย่างนี้ มีประโยชน์กับประชาชนโดยส่วนร่วม และสอดคล้องกับปัญหาของชาติอยู่ขณะนี้ ควรออกอากาศ ในช่วงเวลาที่ เยาวชนไทย สามารถชมได้สะดวก เช่น ก่อนข่าวภาคค่ำ หรือหลังข่าวสองทุ่ม เป็นต้น2.    สารคดีที่ใช้ เป็นภาพโลกาภิวัตน์  มีผู้คนใช้เทคโนโลยีทันสมัย ถ้าเป็นไปได้ ควรมีภาพนักเรียนมัธยม ครู ในโรงเรียนที่นำแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ มาเป็นภาพประกอบ  ไม่เน้นภาพคนทำนา  แต่เป็นภาพการดำเนินชีวิตบนแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ให้ผู้ชมได้เห็นภาพชัดยิ่งขึ้น ภาพต้องสอดคล้องกับคำบรรยาย ของวิทยากร ของผู้ดำเนินรายการ ผู้ร่วมอภิปรายให้มากขึ้น3.    การมีส่วนร่วมของผู้ชมรายการ ในการแสดงความคิดเห็น  ในจอทีวี ขึ้นว่า แสดงความคิดเห็นได้ที่ โทร. 02-7544225  อาจารย์ควรเพิ่มช่องทางการแสดงความคิดเห็น ได้จากทางโทรศัพท์ เบอร์อื่น ด้วยเพื่อสะดวกที่จะโทรเข้ามา  ให้แสดงความคิดเห็นผ่าน Blog Chira Acadamy หรือทาง Email Address และมีสิ่งจูงใจ ผู้ฟังที่ร่วมแสดงความคิดเห็นจะได้รับเสื้อนาโนสีเหลือง ฉลองพระชนม์มายุ 80 พรรษา หรือทรงครองราชย์ 60 ปี หรือได้รับหนังสือ ด้วยสำหรับ ผู้ชมรายการที่มีส่วนร่วม 10 ท่านแรก ในทุกช่องทางของสื่อที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม  อาจารย์จะได้วัดความสนใจของผู้ชมด้วยว่าถนัดที่จะมีส่วนร่วมโดยใช้สื่ออะไร  และสื่อทาง Blog ก็จะเป็นประโยชน์ สามารถนำข้อความมาศึกษา ได้ด้วย 4.    รูปแบบการจัดรายการ  ผมดูเพียงครั้งแรก มีข้อมูลไม่มากพอที่จะเสนอแนะได้เต็มที่ อย่างไรก็ตาม จากการดูรายการครั้งแรก เห็นว่า ทางรายการยังสามารถจัดให้ดีกว่านี้ได้  โดยการศึกษารายการเด่น ๆ ที่มีอยู่ในทีวีบ้านเรา  รายการที่มีผู้ชมสนใจ ว่ามีจุดแข็งอะไร  อาจจะนำมาบูรณาการประยุกต์ใช้พัฒนาทำรายการให้ดีขึ้น ครับ และศึกษาจุดอ่อนแต่ละรายการที่คล้าย ๆ กัน แล้วนำมาเป็นจุดแข็งในการรายการนี้ ก็จะเกิดประโยชน์สูงสุด 5.    รายการนี้ดี ควรทำเป็น VCD เผยแพร่ ใช้ประกอบการเรียนการสอน ในวิชาเศรษฐกิจพอเพียง  รัฐควรเข้ามาช่วยสนับสนุนรายการ ร่วมมือกัน เพื่อชาติของเรา ในช่วงเวลาที่จำกัด เช้านี้ ผมขอเสนอแนะเพียงเท่านี้ก่อน หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทางรายการ กับท่านผู้อ่านทุกท่าน สวัสดีครับยม 
ยม "รายการวิทยุ คลื่น FM. 96.5 เวทีความคิด คลื่นความคิด และ รายการเศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ ทางช่อง 11"

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน 

  

เมื่อคืนนี้ เวลาประมาณ 19.30 น. ผมได้ใช้คอมพิวเตอร์ที่บ้าน ใช้ Internet เข้าไปในเว็ป ของ สถานีวิทยุ 96.5 ฟังรายการวิทยุ คลื่น FM. 96.5   เวทีความคิด คลื่นความคิด Modern Radio  ฟังไปในขณะเดียวกันก็ใช้ คอมฯ บันทึกข้อมูลที่ ศ.ดร.จีระ สนทนาในรายการ

 

 

ได้ฟัง ศ.ดร.จีระ พูดในรายการ  ฟังดูแล้ว อาจารย์มีความคิดหลากหลาย มานำเสนอในรายการ เหมื่อนคลื่นในทะเล ไม่มีติดขัด สมกับใช้ชื่อว่า คลื่นความคิด ผมจดไม่ทันทุกประเด็น แต่คลื่นความคิดมา เล่าสู่ให้ท่านผู้อ่าน ได้ดังต่อไปนี้ครับ

  

อาจารย์พูดคุยถึงเรื่อง APEC  พูดถึง จีน ไม่รับไต้หวัน เป็นประเทศ จีนเท่านั้นที่เป็นประเทศในกลุ่ม APEC มีประมาณ 21 ประเทศ  ซึ่งใช้มหาสมุทรเข้ามาเป็นเกณฑ์ในการเอาประเทศต่าง ๆ เข้าร่วม โดยมีคณะทำงานด้านต่าง ๆ ในกลุ่ม APEC อาจารย์รับหน้าที่กลุ่ม HR ต้องเป็นผู้ประสานที่ดี วาระ 2 ปีครึ่ง สิ้นสุด สิ้นปีนี้

  

คุณวิสุทธ์ ผู้ดำเนินรายการ ถามว่า คนไทยได้ประโยชน์อะไร

 

อาจารย์ตอบว่า  จากการที่อาจารย์ ได้เป็นประธาน HR.APEC ได้ประโยชน์ในการพิจารณาอนุมัติและทำงานร่วมกับประเทศในกลุ่ม APEC การอนุมัติโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการ การเรียน คณิตศาสตร์ร่วมกับประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างเช่น ญี่ปุ่น อเมริกา ไทยร่วมมือกัน ขณะนี้อยู่ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

การเรียนการสอนเด็กในต่างประเทศเขาไม่สอนแบบเรา  เวลาเขาสอนเด็กนักเรียน เขาจะดึงเอาความเป็นเลิศของเด็กออกมา เน้นให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ โครงการนี้ได้เงินมาช่วย 4 ถึง 5 ล้านบาท การเรียนคณิตศาสตร์ ในไทย ได้นำความรู้การเรียนคณิตศาสตร์แบบใหม่ มาช่วยพัฒนาครูและนักเรียนในไทย

 

โครงการต่อมา ด้านแรงงาน ได้โครงการพัฒนาภาษาอังกฤษ ให้กับธุรกิจ SMEs เข้ามา และทำร่วมกันกับประเทศในกลุ่มสมาชิก APEC  

คุณวิสุทธ์ ถามว่า การที่พาคณะครูโรงเรียนมัธยมฯ ไปดูงานต่างประเทศที่เกาหลี ได้อะไรบ้าง

อาจารย์ตอบว่ารัฐบาลเกาหลี ได้ทำโครงการ Cyber education การเรียนโดยใช้ IT เข้ามาช่วย ซึ่งน่าสนใจ อาจารย์ได้พาคณะครูมัธยม ไปดูงานที่นั่น 32 ท่าน   การเรียนการสอนในบ้านเรายังใช้ชอร์คกับทอร์ค อยู่ ซึ่งล่าสมัยกว่าเขา ครูในเกาหลี ได้รับการพัฒนาด้าน IT อย่างทั่วถึง แต่บ้านเรา ได้รับการพัฒนาเฉพาะโรงเรียนในเมืองที่พัฒนาแล้ว  นโยบายต่างประเทศของเกาหลี นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาแล้ว เกาหลียังใช้นโยบายต่างประเทศให้เป็นประโยชน์ต่อการค้าระหว่างประเทศด้วย  40 ปีที่แล้ว เขาต้องพึ่งไทย เราเป็นพันธมิตรในสงครามเกาหลี  เราส่งข้าวไปช่วย  เขามองประเทศไทยวันนี้ ว่าเป็นประเทศที่เจริญเติบโต เป็นมิตรกับเขา
 คุณวิสุทธ์ ถามว่า ถ้าเกาหลีพูดถึงไทย เขาจะพูดถึงเรื่องอะไร  
อาจารย์ตอบว่า คนเกาหลีถ้าเขาพูดถึงประเทศไทยก็จะพูดถึงการท่องเที่ยว สองเมืองคือ ภูเก็ต สมุย นักกอล์ฟก็จะมาฝึกและเล่นกอล์ฟที่พัทยา หัวหิน  คนเล่นกอล์ฟใหม่ ๆ ในเกาหลี ก็นิยมมาฝึกและเล่นกอล์ฟในไทย   และยังนึกถึงเรื่องการลงทุนในไทย เช่น ซัมซุง ฯลฯ   การที่เรามีโอกาสแลกเปลี่ยนนักเรียนและครูในโรงเรียนของไทยและเกาหลี จึงเป็นสิ่งที่ดีคนไทยไปเกาหลี ชอบไปซื้อของปลอม  เกาหลีทำของปลอมได้เก่ง ที่สุดในโลก    
คุณวิสุทธ์ ถามว่า เราได้เรียนรู้อะไรบ้าง จากเกาหลี 
 อาจารย์ตอบว่าคนเกาหลี ดี เป็นคนมีวินัย  สะอาด วัฒนธรรม การรักษาความสะอาด  เป็นสังคมที่มีระเบียบวินัย  เราเรียนรู้จากเขาได้ ในขณะเดียวกัน เกาหลีก็เรียนรู้จากเรา เรื่องความละเอียดอ่อน เรื่องของวัฒนธรรม  วัฒนธรรมขายได้   ในการพัฒนากิจการที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ และบ้านเมือง เกาหลีจะให้รัฐบาลนำก่อน  พอเข้มแข็งแล้ว ก็จะส่งให้เอกชนนำไปทำต่อ  เกาหลี ดึงเอาคนเก่ง ๆ มาจากต่างประเทศ มาจัดตั้งองค์กร และพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ   ครู อาจารย์ที่ไปดูงานมา จะได้ข้อคิดอะไรบ้างอาจารย์ตอบว่าครู อาจารย์ที่ไปดูงานมา น่าจะทำได้สามเรื่อง
  • เซ็นสัญญากันในการเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกัน
  • ทำให้ครูมีโลกทัศน์กว้าง
  • โรงเรียนยุคใหม่ เหมือนทฤษฎียุคใหม่  พึงตนเอง มุ่งมั่น เอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ในระบบราชการ การไปดูงานครั้งนี้ครูพึ่งพาตนเอง ทฤษฏี Mind Set ต้อง set ใหม่ ครูยุคใหม่ ต้องทำงานเป็นทีม   

ข่วงที่สองของรายการ

 คุณวิสุทธ์ เล่าให้ฟังถึงเรื่อง การมีหนี้สิน การไม่ดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของข้าราชการบางคน จากผลการสำรวจข้าราชการมีหนีสินเฉลี่ย ครอบครัวละ สี่แสนเก้าหมื่นกว่าบาท  หนีจากการผ่อนรถ  หนีจากเรื่องการศึกษา หนี้จากโครงการใหญ่ ๆ ในกระทรวงต่าง ๆ   ในหลายกระทรวงกำลังทบทวนโครงการใหญ่ ๆ ว่ารายจ่ายแต่ละโครงการ มีโครงการใด ไม่อยู่ในแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง     
จากนั้น คุณวิสุทธ์ได้กลับมาสนทนากับอาจารย์ในช่วงที่สอง   
คุณวิสุทธ์ ถามว่า  อาจารย์ไปเกาหลี มีคนถามถึงเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่อาจารย์ตอบว่า คนส่วนใหญ่ อาจจะเข้าใจว่าเศรษฐกิจพอเพียง คือไม่เจริญ ที่จริงไม่ใช่  ความจริงแล้ว ประเทศไทยเราเป็นประเทศเศรษฐกิจทุนิยม มานาน แต่เราผิดพลาด ในหลวงจึงสอนให้คนไทยคิด ไม่ประมาท   เวลาเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงเร็ว ขอให้เราพึ่งตัวเอง เศรษฐกิจพอเพียง ไม่สกัดกั้นการเจริญเติบโต  ในอดีตเราพึงพาต่างประเทศมากเกินไปเราจึงมีปัญหา   เศรษฐกิจเรา เป็นการส่งออก แต่ควรเป็นการส่งออกแบบยั่งยืน เราต้องมีทุนทางปัญญา เราต้องมี R&D เศรษฐกิจพอเพียงจึงไม่ใช่แค่เรื่องการเกษตร เท่านั้น ถ้าเรารู้จักเชื่อมโยงกับโลกภายนอกอย่างค่อยเป็นค่อยไป อย่างยั่งยืน ก็จะเป็นประโยชน์ 
ส่วนคืนนี้รายการทีวีที่ช่อง 11 เวลา สี่ทุ่ม 40 นาที เป็นรายการสด อาจารย์จัดรายการให้ความรู้เรื่องนี้  เพราะปัญหาคือขณะนี้ คนเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง อย่างจริงจังมีน้อย 
คุณวิสุทธ์ แจ้งว่า มี Message จากท่านผู้ฟังถามมาว่า โครงกรร Mega Project การทำถนน หนทาง เป็นเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่ อาจารย์ตอบว่า แน่นอน ถ้าเราทำโดยการไปกู้เขามา โดยไม่แน่ใจว่าจะบริหารการเงิน เงื่อนไข ความคุ้มทุน ก็ไม่ใช่เป็นเศรษฐกิจพอเพียง แต่ถ้าเลือกทำถนนสายที่คุ้มทุนที่สุด และมีการบริหารความเสี่ยง ใช้ทรัพยากรที่เรามีอยู่มาทำได้ นั้นถือว่าเขาหลักเศรษฐกิจพอเพียง   

เรื่องการท่องเที่ยว อย่างชาดหาดที่สวยงามมีการดูแลสิงแวดล้อมให้ดี ค่อย ๆ พัฒนาบนพื้นฐานของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดี   การพัฒนาชาดหาดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเต็มไปด้วยบาร์เบียร์ เป็นแถบอย่างนี่ไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียง เพราะจะไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำลายวัฒนธรรม ประเพณีที่ดีไป

 

 

ส่วนรายการ "เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัฒน์" ทางชอง 11 ที่ ศ.ดร.จีระ ออกรายการสดเมื่อคืนนี้ ก็น่าสนใจ เป็นรายการที่เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นำมาบูรณการใช้ในการดำเนินชีวิตในปัจจุบันและอนาคต

  รายการได้แบ่งออกเป็นสามช่วง/ตอน คือ ช่วงแรก เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง  ช่วงที่สอง จะเป็นช่วงให้ความรู้เกี่ยวกับโลกาภิวัตน์ ช่วงสุดท้ายเป็นช่วงที่จะผสมผสาน บูรณาการ เชื่อมโยงเศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์เข้าด้วยกัน เพื่อให้ผู้ชมได้เข้าใจ และนำไปใช้ได้  

การเปิดรายการเป็นครั้งแรก นำโดย ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา  และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์   เป็นการกล่าวนำ เปิดตัวรายการ ว่าจะเริ่มต้น อย่างไร ดำเนินอย่างไร และจะจบอย่างไร

  

ผมจับประเด็นที่ ดร.จิรายุ ให้แนวคิดไว้ว่า ใครก็ตาม จะทำอะไรก็ตามที่ให้สอดคล้องกับแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ต้องคิดคำนึงถึง 3 เรื่อง คือ

เรื่อง ทำแบบพอประมาณ ทำด้วยความระมัดระวัง  ประการต่อมา ต้องทำด้วยความรู้ รู้จริง ต้องแน่ใจว่า องค์ความรู้ที่จะนำมาใช้ปฏิบัตินั้น ปฏิบัติได้แน่ ได้ยั่งยืน ประการสุดท้าย  ต้องทำด้วยความมุ่งมั่น ขยัน อดทน ซื่อสัตย์ สุจริต เอื้ออาทร เพื่อให้มีความก้าวหน้า มั่นคงอย่างสมดุล ฯ

  ผมจับประเด็นที่ ศ.ดร.จีระพูดในรายการวันนี้ ว่า โลกาภิวัตน์มีทั้งโอกาส และภัยคุกคาม  ในยุคโลกาภิวัตน์ถ้าเราดำเนินชีวิตอย่างประมาท เราอาจจะพบกับภัยคุกคามมากกว่าโอกาส  การนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ จะทำให้เราพบกับโอกาส ก้าวหน้าอย่างมั่นคง และยั่งยืน ฯ  

ทางผู้ว่าการธนาคารกรุงไทย ได้พูดในรายการหลายประเด็นพอจับใจความได้ว่า การดำเนินชีวิต ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง มีทั้งขั้นพื้นฐาน และขั้นก้าวหน้า  ขั้นพื้นฐาน คือ ดำเนินชิวิตอยู่บนความพอใช้ พอดี อยู่ได้ มีภูมิคุ้นกัน ฯ  ส่วนขั้นกว้าหน้า คือ การพัฒนาชิวิต มาจากขั้นพื้นฐาน พัฒนากิจการ หรือกิจกรรม จนสามารถนำผลงาน ผลผลิต เข้าสู่ระบบตลาดได้ และค่อย ๆ ขยายไปสู่ตลาดโลก 

  โดยสรุป เศรษฐกิจพอเพียง ไม่ปฏิเสธ กระแสโลกาภิวัตน์ ไม่ปฏิเสธ ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง แต่เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต กิจกรรม ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งครัวเรือน สังคม ประเทศชาติ ที่ มีหลักการ ที่จะนำไปสู่ความสุข ความยั่งยืน การรักษาธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ความก้าวหน้าอย่างมั่นคงและสมดุล เป็นต้น  
ข้อเสนอแนะในการจัดรายการนี้ ผมวิเคราะห์ดังนี้ครับ จุดแข็ง ของการจัดรายการนี้
1.    มีการจัดการที่เป็นระบบ มีการวางแผนการออกเป็นช่วง ๆ สามช่วง
2.    มีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิมาร่วมดำเนินรายการ
3.    มีการนำสารคดี ภาพมาประกอบ
4.    วิทยากรพูดได้ดี มีสาร สั้นเข้าใจง่าย
5.    เป็นรายการที่เป็นคุณประโยชน์ต่อคนทุกระดับ  
จุดที่เป็นข้อสังเกต
1.    เวลาของการออกอากาศ รายการดี ๆ อย่างนี้ มีประโยชน์กับประชาชนโดยส่วนร่วม และสอดคล้องกับปัญหาของชาติอยู่ขณะนี้ ควรออกอากาศ ในช่วงเวลาที่ เยาวชนไทย สามารถชมได้สะดวก เช่น ก่อนข่าวภาคค่ำ หรือหลังข่าวสองทุ่ม เป็นต้น
2.    สารคดีที่ใช้ เป็นภาพโลกาภิวัตน์  มีผู้คนใช้เทคโนโลยีทันสมัย ถ้าเป็นไปได้ ควรมีภาพนักเรียนมัธยม ครู ในโรงเรียนที่นำแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ มาเป็นภาพประกอบ  ไม่เน้นภาพคนทำนา  แต่เป็นภาพการดำเนินชีวิตบนแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ให้ผู้ชมได้เห็นภาพชัดยิ่งขึ้น ภาพต้องสอดคล้องกับคำบรรยาย ของวิทยากร ของผู้ดำเนินรายการ ผู้ร่วมอภิปรายให้มากขึ้น
3.   การมีส่วนร่วมของผู้ชมรายการ ในการแสดงความคิดเห็น  ในจอทีวี ขึ้นว่า แสดงความคิดเห็นได้ที่ โทร. 02-7544225  อาจารย์ควรเพิ่มช่องทางการแสดงความคิดเห็น ได้จากทางโทรศัพท์ เบอร์อื่น ด้วยเพื่อสะดวกที่จะโทรเข้ามา  ให้แสดงความคิดเห็นผ่าน Blog Chira Acadamy หรือทาง Email Address และมีสิ่งจูงใจ ผู้ฟังที่ร่วมแสดงความคิดเห็นจะได้รับเสื้อนาโนสีเหลือง ฉลองพระชนม์มายุ 80 พรรษา หรือทรงครองราชย์ 60 ปี หรือได้รับหนังสือ ด้วยสำหรับ ผู้ชมรายการที่มีส่วนร่วม 10 ท่านแรก ในทุกช่องทางของสื่อที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม  อาจารย์จะได้วัดความสนใจของผู้ชมด้วยว่าถนัดที่จะมีส่วนร่วมโดยใช้สื่ออะไร  และสื่อทาง Blog ก็จะเป็นประโยชน์ สามารถนำข้อความมาศึกษา ได้ด้วย
4.    รูปแบบการจัดรายการ  ผมดูเพียงครั้งแรก มีข้อมูลไม่มากพอที่จะเสนอแนะได้เต็มที่ อย่างไรก็ตาม จากการดูรายการครั้งแรก เห็นว่า ทางรายการยังสามารถจัดให้ดีกว่านี้ได้  โดยการศึกษารายการเด่น ๆ ที่มีอยู่ในทีวีบ้านเรา  รายการที่มีผู้ชมสนใจ ว่ามีจุดแข็งอะไร  อาจจะนำมาบูรณาการประยุกต์ใช้พัฒนาทำรายการให้ดีขึ้น ครับ และศึกษาจุดอ่อนแต่ละรายการที่คล้าย ๆ กัน แล้วนำมาเป็นจุดแข็งในการรายการนี้ ก็จะเกิดประโยชน์สูงสุด
5.    รายการนี้ดี ควรทำเป็น VCD เผยแพร่ ใช้ประกอบการเรียนการสอน ในวิชาเศรษฐกิจพอเพียง  รัฐควรเข้ามาช่วยสนับสนุนรายการ ร่วมมือกัน เพื่อชาติของเรา 
ในช่วงเวลาที่จำกัด เช้านี้ ผมขอเสนอแนะเพียงเท่านี้ก่อน หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทางรายการ กับท่านผู้อ่านทุกท่าน 
สวัสดีครับ
ยม 
เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร และมีอะไรบ้างคะ ยังไม่ค่อยเข้าใจค่ะ
ธชรพงศ์ วิญญูนันทกุล
ผมยังไม่ค่อยเข้าใจการนำเศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์มาใช้ด้วยกัน โชคดีที่มีรายการนี้จะได้เข้าใจได้มากขึ้น
อินจันทร์ กุลวงศ์
เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไรครับ สนใจ แต่ผมอยากให้รัฐบาลสนับสนุนเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน น้ำ ไฟฟ้า ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ประชาชนในชนบทสามารถมีเครื่องมือในการทำกินให้ทั่วถึงและสามารถมีชีวิตที่พอเพียงได้

หลักของเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร หากจะให้เกิดผลภาครัฐต้องเข้ามาสนับสนุนอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะการให้ประชาชนในชนบทได้เข้าใจ และเข้าไปดูแลความเป็นอยู่เรื่องปัจจัยพื้นฐานให้ทั่วถึง

เสนาะ แก้วสมบูรณ์

        จะนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิต อยากให้รายการเป็นแนวทางเพื่อการประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้อง

ประดิษฐ์ สาระเจริญ
        เศรษฐกิจพอเพียงทำให้ รู้จักใช้ รู้จัดคิด และรู้จักวางแผน

ได้ชมรายการแล้วค่ะ สารคดีสวยและน่าติดตามมาก แต่มีข้อสงสัยอย่างหนึ่งว่าเศรษฐกิจพอเพียงต้องมีคุณธรรมด้วยช่วยขยายความให้ได้ไหมค่ะ ขอบคุณมากคะ

เรียน ท่านอาจารย์จีระ

ผมได้ฟังวิทยุและดูรายการทีวีแล้วรู้สึกดีมาก ๆ และขอขอบพระคุณอาจารย์แทนคนไทยที่ทำให้หลาย ๆ ได้เข้าใจได้ลึกซึ้งมากขึ้น เนื่องจากทั้งสองเรื่องเป็นเรื่องที่ดีทั้งเรื่องการศึกษาและเศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัฒน์เป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งในยุคปัจจุบัน และหากได้ปลูกฝังเยาวชนคนรุ่นใหม่ให้เข้าใจและปฏิบัติตาม ก็ทำให้รากแก้วของประเทศชาติแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้นด้วย

ผมเองเห็นว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั้นสามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคนรวยคนจน เด็ก ผู่ใหญ่ ไม่ว่าประกอบอาชีพใด เพียงขอให้ยึดหลักสำคัญ 4 ประการคือ 1) รู้จักหามาอย่างสุจริต ด้วยคุณธรรม จริยธรรม 2) รูจักใช้ทรัพย์ที่หาได้มาเพื่อประโยชน์โดยแท้ 3) รู้จักเก็บออม/ประหยัด/คุณค่า และ 4) รู้จักแบ่งปัน

ดังนั้นเศรษฐกิจพอเพียงก็จะเพียงพอและแข่งขันกับนานาประเทศได้อย่างแน่นอน

ด้วยความเคารพยิ่ง

ประจวบ

ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ แค่ปรับ Mindset ก็พอ"
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน  
เช้านี้ วันเสาร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ผมหาความรู้ ทาง internet และค้นหาอ่านบทความบทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่องว่า ในบทความนี้ ศ.ดร. จีระ เขียนเรื่อง แค่ปรับ Mindset ก็พอ ได้เล่าเรื่องที่ท่านได้ทำและน่าสนใจ ผมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม โดยใช้ข้อความข้างล่างนี้ แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ    

 


สิ่งที่สำคัญมากในระดับประเทศที่อยากขอฝากรัฐบาลชุดใหม่คือ การปฏิรูปการศึกษา ในหลายเรื่องที่ต้องทำคือ การปรับ Mindset ทัศนคติของผู้บริหารให้มองการศึกษาเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเศรษฐกิจแบบยั่งยืน และอยู่ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างเร็วได้ คือ เน้น ทุนทางปัญญา ทุนทางสังคม (Networking) และเน้นทุนแห่งความยั่งยืน

 พูดถึงระบบการศึกษา ของประเทศเรา ยังไม่สามารถสร้างคนให้ทันโลกทันเหตุการณ์ มีทุนทางปัญญา เพียงพอกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทั้งในประเทศและต่างประเทศ  ถ้าเปรียบเสมือนรถ  ก็เปรียบเทียบได้ว่า ระบบส่งกำลังที่จะขับเคลื่อน ไปข้างหน้า มีปัญหา ถึงขั้นทำให้ไม่สามารถรักษาอันดับต้น ๆ ไว้ได้ แนวทางแก้ไขคือต้องฟิตเครื่องใหม่ หาเครื่องยนต์ใหม่ มาใส่  ในการบริหารเชิงกลยุทธ์  ปัญหาในองค์กรใหญ่เล็ก มักจะมีอยู่สองเรื่อง ใหญ่ ๆ  คือ 1 ปัญหาเรื่องระบบ  2 ปัญหาเรื่องคน  ซึ่งควรต้องแก้ไขพร้อมกันไป ทรัพยากรมนุษย์ เป็นตัวสร้าง บริหารระบบ ถึงแม้ว่าควรแก้ทั้งสองปัญหาไปพร้อม ๆ กัน แต่การแก้ปัญหาเรื่องคน ต้องให้ถูกจุด ตรงประเด็น ก็คือปรับทัศนคติ ความคิด เพิ่มองค์ความรู้ใหม่ ๆ เข้าไป เพื่อคนจะได้นำความรู้ ทัศนคติใหม่ ๆ ไปบริหารจัดการระบบ ได้ดี  การศึกษาในไทย จึงต้อง ปฏิรูป ปฏิวัติกันบ่อย  ๆ ทำทั้งแบบค่อยเป็นค่อยไป และบางเรื่อง ต้องทำทันที ต้องมีการบริหารการเปลี่ยนแปลงให้ดี


ผมเห็นว่า ตราบใดก็ตาม หากคนไทยใฝ่รู้ มี Lifelong Learning มากขึ้น อยากรู้อยากเห็นมากขึ้น ( Curiosity ) ตั้งคำถามที่น่าสนใจ และคิดนอกกรอบ แทนที่จะขยันในการหาคำตอบที่ตายตัวแบบที่เป็นอยู่ ประเทศคงอยู่รอดแน่นอน

 ในโรงเรียนประถม ส่วนใหญ่ สอนให้นักเรียนท่องจำ ขยันหาคำตอบให้ตรงกับที่ครู ตั้งไว้ล่วงหน้าแล้ว  เด็กไทยจึงเบื่อการเรียน และหันไปเสพสิ่งบันเทิงอื่น ๆ เป็นปัญหาสังคมอยู่ทุกวันนี้  ตราบใดถ้า Mind Set ของผู้บริหารการศึกษาในโรงเรียนบางแห่ง ครูรุ่นเก่า ๆ ไม่เปลี่ยน อนาคตทรัพยากรมนุษย์ของไทย คงสู้ต่างชาติไม่ได้    ที่จริงการระบบการศึกษาในญี่ปุ่น น่าสนใจ ทั้งครูและนักเรียนญี่ปุ่นมี Mind Set ที่ดีกว่าเรา ผมเคยไปอยู่ที่ญี่ปุ่น เห็นการสอนเด็กอนุบาล เด็กประถม ที่ญี่ปุ่น มองออกได้ว่า เขามีระบบการจัดการที่ดี ผสมผสาน บูรณาการ การเรียนการสอน ของชาติที่เจริญแล้ว มาเป็นแบบ ญี่ปุ่น ญี่ปุ่นจึงสามารถกู้สถานการณ์ของประเทศได้เร็ว ก็ด้วยทรัพยากรที่มีคุณภาพ จากวัยเด็กมาสู่ผู้ใหญ่ มาช่วยพัฒนาชาติ และยังสามารถช่วยเหลือประเทศที่ด้อยกว่าได้อีกด้วย 


ผมคิดว่าเศรษฐกิจพอเพียง มีจุดแข็งที่ว่า จะทำอะไร รู้ให้จริง มีความคิดสร้างสรรค์ มีเหตุมีผล และนำไปสร้างนวัตกรรม ( Innovation ) แต่ที่สำคัญคือ ต้องมีคุณธรรม จริยธรรม และอยู่อย่างยั่งยืน เรื่องแรกที่จะเล่าให้ฟังคือ ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม เป็นต้นไป ผม ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุธ จะนำเสนอสารคดีสั้น 5 นาทีเฉลิมพระเกียรติ เรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียงและโลกาภิวัตน์" ทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ติดต่อกัน ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 เวลา 22.40-22.45 น. เพื่อให้ผู้ชมได้รู้ว่า
- เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร
- โลกาภิวัตน์คืออะไร
- เศรษฐกิจพอเพียงจะช่วยคนไทยให้อยู่ในโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร
- และให้รู้ว่าเศรษฐกิจพอเพียงช่วยทุกส่วนของสังคมไทย ไม่ใช่แค่ภาคเกษตร และทำให้เราอยู่ในโลกาภิวัตน์ได้อย่างยั่งยืน

  รายการ เศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ที่ ศ.ดร.จีระ ออกอากาศทุกวันจันทร์ ถึง ศุกร์ เวลา 22.40-22.45 เป็นรายการที่ดี มีประโยชน์ สอดโครงกับนโยบายสาธารณะในรัฐบาลชุดนี้ และเป็นการนำแนวคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาต่อยอด ขยายผลอย่างเป็นรูปธรรม ในบทบาทของครูของชาติ  เมื่อทางรัฐบาล จะนำเอาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ไปทำเป็นหลักสูตรการเรียน การสอน ผมขอกราบเรียนทางภาครัฐ ผ่าน Blog นี้ว่า ขอให้ทำเรื่องง่ายให้เป็นเรืองง่ายยิ่งขึ้น ให้เป็นเรื่องที่น่าชวนติดตาม น่าโน้มนำไปปฏิบัติ รายการนี้ ที่จริงแล้ว เนื้อหาสาระ ที่ ศ.ดร.จีระ และทีมงานกำกับ นั้น ดี มีประโยชน์ สามารถนำไปเป็นสื่อการเรียนการสอนเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ได้ทั่วประเทศ 


แต่สิ่งสำคัญคือ เศรษฐกิจพอเพียงต้องเป็นสังคมการเรียนรู้ ใฝ่รู้ตลอดเวลา นอกจากมีคุณธรรมแล้ว ยังต้องคิดเป็น ทำเป็น มี Head Heart และ Hand อย่างที่คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์แนะนำไว้

 เศรษฐกิจพอเพียง ต้องเป็นสังคมการเรียนรู้ ใฝ่รู้ตลอดเวลา ตรงนี้สำคัญมาก การจัดให้ประชาชนได้มีการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง รัฐและเอกชน ควรร่วมมือกัน ทำไปอย่างมีทิศทางเดียวกัน  ขณะนี้ การโฆษณาทีวี เกี่ยวกับ เรื่อง  เศรษฐกิจพอเพียง มักจะเน้นที่การออมเงิน  การทำกินบนพื้นฐาน ประหยัด พอเพียง ผมว่า ยังไม่ไร้ทิศทาง ที่จริงควรโฆษณา ออกมาในแนวกระตุ้นให้คนไทยอยากรู้ อยากเห็น อยากทำ ร่วมกันในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง  โฆษณา ให้คนไทยตื่นตัวเรื่องการเรียนรู้ ใฝ่รู้ ทุกระดับ ส่งเสริมให้คิด ให้ทำ อย่างสร้างสรรค์ ไม่ใช่แค่อดออมอย่างที่เป็นอยู่ มิฉะนั้นจะเกิดปัญหา ถ้าทุกคนทั้งประเทศหันมาเก็บออม ระบบเศรษฐกิจ อาจจะมีปัญหาได้ เพราะการใช้จ่ายภาคครัวเรือน ชะลอตัวลง ภาคธุรกิจก็จะไม่คล่องตัว ภาครัฐจะเก็บภาษีได้น้อยลง 

  

สำคัญที่สุดและยังจำเป็นที่จะต้องมีความคิดที่นอกกรอบ เช่น Creativity ความคิดสร้างสรรค์ และนำ Creativity ไปสู่ Innovation นวัตกรรม แต่ต้องมีคุณธรรมและมีความรู้ที่แน่น ไม่ใช่พอเพียงแค่อยู่รอด หากรอดแล้ว ต้องไม่ประมาท หาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา การขยายตัวอย่างมั่นคงจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะมนุษย์ต้องการความก้าวหน้า ( Progress ) ที่ยั่งยืน

 ประโยคนี้ สามารถอธิบายแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้เข้าใจง่าย และประโยคนี้ สามารถที่จะนำไปทำรายการ ทำสื่อการเรียนการสอน เกี่ยวกับแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์  เพื่อสื่อให้ประชาชนคนไทย ได้มีความเข้าใจเรื่องยิ่งขึ้นได้

มีหนังสือเล่มล่าสุดของ John Naisbitt ซึ่งเคยเขียนเรื่อง Megatrends ที่ดังมากมาแล้ว บอกว่า การที่คนยุคใหม่จะประสบความสำเร็จได้ ต้องมีวิธีการคิด และวิธีการทำงานที่ใหม่เสมอ อย่ามีวิธีคิดแบบเดิม พร้อมจะเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ถ้ามีข้อมูลใหม่ ผมคิดว่า การที่จะเปลี่ยน mindset ได้ จะต้องหาความรู้ให้ทันโลกและสดใหม่อยู่เสมอ ข้ามศาสตร์ และวิเคราะห์แบบโป๊ะเชะ วิธีการหาความรู้ต้องเป็นวิธีที่ตัวเรามีส่วนร่วม ไม่ใช่ฟังข้างเดียว เราต้องวิเคราะห์เป็น และวิเคราะห์แบบทฤษฎี 2 R's คือ
- Reality มองความจริง
- และ Relevance ตรงประเด็น
  การที่คนยุคใหม่จะประสบความสำเร็จได้ ต้องมีวิธีการคิด และวิธีการทำงานที่ใหม่เสมอ อย่ามีวิธีคิดแบบเดิม พร้อมจะเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ถ้ามีข้อมูลใหม่  ประโยคนี้ เป็นจริงครับ  ในยุคที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ การทำงานแบบเดิม ๆ คิดแบบเดิม ๆ วิธีการเก่า ที่เคยทำสำเร็จในอดีต จะไม่สามารถรับรองความสำเร็จในปัจจุบันและอนาคตได้   มหาวิทยาลัยในประเทศเรา นับจากปี ค.ศ. 2000 วิชาการองค์ความรู้ต่าง ๆ ต้องปรับใหม่หมด ให้ทันโลกทันเหตุการณ์ วิธีการเรียนการสอน ต้องปรับใหม่  เรียกว่า ทุกมหาวิทยาลัย ต้องเริ่มใหม่ ใครคิดก่อน เปลี่ยนก่อน ได้เปรียบ    การทำงานยุคใหม่ นอกจากต้องคิดใหม่ ๆ เสมอ พร้อมเปลี่ยนแปลงแล้ว ต้องเร็ว มีประสิทธิภาพ เรียกว่า เร็วกว่า ดีกว่า ถูกว่า มีประสิทธิภาพกว่า


เมื่อเร็ว ๆ นี้ PMAT สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย กล้าไปจัดสัมมนาเรื่อง HRM ในภาคอิสาน ซึ่งผมได้รับเชิญด้วย เดิม PMAT อาจคิดว่ามีแต่คนในกรุงเทพฯ เท่านั้นที่สนใจ ปรากฏว่าคนในภาคอิสานตื่นตัวมาก เพราะได้แนวคิดใหม่ ๆ

คนอีสาน เป็นคนที่มีเอกลักษณ์ เป็นของตนเอง ทั้งโครงสร้างร่างกายและจิตใจ ประเพณีวัฒนธรรมอีสาน เป็นจุดเด่น แม้กระทั่งคนต่างชาติเริ่มเห็นจุดเด่นตรงนี้ และหันมาปักหลัก สร้างครอบครัวที่อีสานมากขึ้น  ในอีก 20 ปีข้างหน้า คนอีสานจะมีบุคลิกภาพใหม่ จมูกโด่ง สูง ยาว สมอง ปัญญาดี กว่าเก่า คนอีสานจะพัฒนาเร็วขึ้นและเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาสังคมมากยิ่งขึ้น 

 

 คนดี มีน้ำใจ ที่อีสานมีมากมาย เป็นสิ่งที่ผมศึกษามานาน เมื่อครั้งผมไปอยู่ที่อีสาน เพื่อทำวิจัย ในโครงการบัณฑิตอาสาสมัครมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ไปใช้ชีวิตกับคนอีสานเกือบสองปี  คนอีสานเป็นคนรวย   คนจะรวย รวยศีลทาน ใช่บ้านโต คนอีสานรักษ์ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม ที่ ม.ขอนแก่น ทำตรงนี้ได้ดี ขอชื่น ที่ ม.ขอนแก่น ก็เป็นตัวอย่างที่ดีของคนอีสาน  
คณะนี้ขอให้ผมในฐานะ Lead Shepherd ของ HRD Working Group ใน APEC ติดต่อไปดูงานระบบสารสนเทศกับการสอน ที่กรุงโซล ซึ่งผมรู้จักเกาหลีใต้ดี ได้เจรจาให้จนประสบความสำเร็จ และได้เซ็นสัญญากับโรงเรียนในเกาหลี ว่าจะแลกเปลี่ยนเรื่อง ICT กับการเรียนการสอน เพราะเกาหลีเขาเอาจริงเรื่อง ICT กับการสอน และการแลกเปลี่ยนนักเรียนและครูในอนาคตด้วย

สิ่งที่ ศ.ดร.จีระ ทำอยู่ ถือว่าเป็นประโยชน์กับสังคม ประเทศชาติอย่างมาก การเชื่อมโยง จุดแข็งของประเทศต่าง ๆ ที่เป็นพันธมิตร และมองประเทศไทยเป็นเพื่อนบ้านที่ดี  มาเสริมจุดอ่อนของชาติเรา ถือว่าเป็นยุทธศาสตร์การต่างประเทศ ยุทธศาสตร์การทูต ยุทธศาสตร์การปฏิรูประบบการศึกษาที่น่าสนใจ  นำไปเป็นแม่แบบ ในการกำหนดนโยบายสาธารณะ สำหรับรัฐบาลชุดนี้ และชุดต่อ ๆ ไป

 


ทัศนคติของผู้บริหารชุดนี้คือ ทำ ทำ และทำให้สำเร็จ พึ่งตัวเอง ทำจริง คิดนอกกรอบ นึกถึงลูกค้าคือนักเรียน

ระบบราชการของเรา อยู่ในระหว่างปฏิรูป  ขั้นตอนยังคงมีมาก รอไม่ได้ ต้องคิดถึงลูกค้าคือนักเรียน ตรงนี้ เป็นตัวอย่างที่ดี น่ายกย่อง น่าศึกษา หน่วยงานราชการอื่น ๆ ทีติดขัดปัญหา ก็น่าจะลองศึกษาวิทยายุทธ์ของครูอาจารย์ ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สมุทรปราการ ถ้าทั้งประเทศทำเช่นนี้ได้ ผมคิดว่าจะเกิดประโยชน์กับประเทศชาติ เป็นอย่างมาก

 

 

  ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์ช่อง 11 ชื่อรายการสู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และ รายการ เศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ทุกวันเวลา 22.40 น. 22.45 น.นอกจากนี้ ยังออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/  เชิญท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ       
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน               

ยม

นักศึกษาปริญญาเอก 

รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎบัณฑิต 

 

 [email protected]01-9370144
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ แค่ปรับ Mindset ก็พอ"
แค่ปรับ mindset ก็พอ[1]

ในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมเขียนแต่เรื่องการเมือง เนื่องจากการเมืองในประเทศไทยไม่ปกติ แต่เมื่อเริ่มเข้ารูปเข้าร่างแล้ว ก็จะเล่าถึงงานของผมต่อไป บทความของผมจะเน้นการเรียนรู้จากความจริง จากกิจกรรมต่าง ๆ ที่ผมได้ทำไป นำมาแบ่งปันกัน และสร้างมูลค่าเพิ่ม แต่ละเรื่องจะทำให้คนไทยมีวัฒนธรรมการเรียนรู้มากขึ้น คิดเป็น วิเคราะห์เป็น นำไปใช้เป็นประโยชน์
สิ่งที่สำคัญมากในระดับประเทศที่อยากขอฝากรัฐบาลชุดใหม่คือ การปฏิรูปการศึกษา ในหลายเรื่องที่ต้องทำคือ การปรับ mindset ทัศนคติของผู้บริหารให้มองการศึกษาเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเศรษฐกิจแบบยั่งยืน และอยู่ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างเร็วได้ คือ เน้น ทุนทางปัญญา ทุนทางสังคม ( Networking ) และเน้นทุนแห่งความยั่งยืน
ผมเห็นว่า ตราบใดก็ตาม หากคนไทยใฝ่รู้ มี Lifelong Learning มากขึ้น อยากรู้อยากเห็นมากขึ้น ( Curiosity ) ตั้งคำถามที่น่าสนใจ และคิดนอกกรอบ แทนที่จะขยันในการหาคำตอบที่ตายตัวแบบที่เป็นอยู่ ประเทศคงอยู่รอดแน่นอน
ผมคิดว่าเศรษฐกิจพอเพียง มีจุดแข็งที่ว่า จะทำอะไร รู้ให้จริง มีความคิดสร้างสรรค์ มีเหตุมีผล และนำไปสร้างนวัตกรรม ( Innovation ) แต่ที่สำคัญคือ ต้องมีคุณธรรม จริยธรรม และอยู่อย่างยั่งยืน เรื่องแรกที่จะเล่าให้ฟังคือ ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม เป็นต้นไป ผม ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุธ จะนำเสนอสารคดีสั้น 5 นาทีเฉลิมพระเกียรติ เรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียงและโลกาภิวัตน์" ทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ติดต่อกัน ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 เวลา 22.40-22.45 น. เพื่อให้ผู้ชมได้รู้ว่า
- เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร
- โลกาภิวัตน์คืออะไร
- เศรษฐกิจพอเพียงจะช่วยคนไทยให้อยู่ในโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร
- และให้รู้ว่าเศรษฐกิจพอเพียงช่วยทุกส่วนของสังคมไทย ไม่ใช่แค่ภาคเกษตร และทำให้เราอยู่ในโลกาภิวัตน์ได้อย่างยั่งยืน
เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์นี้ หากไม่มีรัฐบาลซึ่งมีพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี เรื่องนี้อาจจะถูกมองข้ามไปว่าไม่เกี่ยวกัน เพราะรัฐบาลชุดที่แล้ว มองโลกาภิวัตน์เพื่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การส่งออก และดึงเงินทุนจากต่างประเทศ ซึ่งไม่ผิด แต่ต้องพอดี และไม่เสี่ยงจนเกินไป แต่จะยั่งยืนหรือไม่นั้น หากการขยายตัวที่ไม่มีพื้นฐานที่ดี เหมือนการสร้างตึก โดยไม่ลงเสาเข็มนั้น คงทำได้ยากและไม่ยั่งยืน ผมคิดว่า อาจจะเป็นโชคของประเทศไทย ที่มีผู้นำแบบอดีตนายกฯ ทักษิณ มาแสดงความสามารถในนโยบายเชิงรุก ให้คนไทยได้เห็นถึงจุดอ่อน จุดแข็ง เพื่อจะได้มีโอกาสเปรียบเทียบกัน แต่สิ่งสำคัญคือ เศรษฐกิจพอเพียงต้องเป็นสังคมการเรียนรู้ ใฝ่รู้ตลอดเวลา นอกจากมีคุณธรรมแล้ว ยังต้องคิดเป็น ทำเป็น มี Head Heart และ Hand อย่างที่คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์แนะนำไว้ สำคัญที่สุดและยังจำเป็นที่จะต้องมีความคิดที่นอกกรอบ เช่น Creativity ความคิดสร้างสรรค์ และนำ Creativity ไปสู่ Innovation นวัตกรรม แต่ต้องมีคุณธรรมและมีความรู้ที่แน่น ไม่ใช่พอเพียงแค่อยู่รอด หากรอดแล้ว ต้องไม่ประมาท หาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา การขยายตัวอย่างมั่นคงจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะมนุษย์ต้องการความก้าวหน้า ( Progress ) ที่ยั่งยืน
ในเวลา 1 ปีกว่าจากนี้ รัฐบาลจะต้องวางรากฐานให้สังคมไทย คิดเป็น รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ จะต้องไม่ปฏิรูปเฉพาะโครงสร้างเท่านั้น แต่ต้องปฏิรูปพฤติกรรม ปฏิรูป mindset หรือวิธีการมองโลกของคนไทยให้ได้ เรื่อง mindset นี้มีหนังสือเล่มล่าสุดของ John Naisbitt ซึ่งเคยเขียนเรื่อง Megatrends ที่ดังมากมาแล้ว บอกว่า การที่คนยุคใหม่จะประสบความสำเร็จได้ ต้องมีวิธีการคิด และวิธีการทำงานที่ใหม่เสมอ อย่ามีวิธีคิดแบบเดิม พร้อมจะเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ถ้ามีข้อมูลใหม่ ผมคิดว่า การที่จะเปลี่ยน mindset ได้ จะต้องหาความรู้ให้ทันโลกและสดใหม่อยู่เสมอ ข้ามศาสตร์ และวิเคราะห์แบบโป๊ะเชะ วิธีการหาความรู้ต้องเป็นวิธีที่ตัวเรามีส่วนร่วม ไม่ใช่ฟังข้างเดียว เราต้องวิเคราะห์เป็น และวิเคราะห์แบบทฤษฎี 2 R's คือ
- Reality มองความจริง
- และ Relevance ตรงประเด็น
เช่น ยุคนายกฯสุรยุทธ์ หากจะแก้ปัญหาภาคใต้ คงต้องเปลี่ยนวิธีการคิด จากการที่จะฆ่ากันทุกครั้ง มาเป็นการคุยกันแบบเจรจาบนโต๊ะ มองมาเลเซียเป็นมิตร ไม่ใช่แบบฆ่าทิ้งเป็นว่าเล่นอย่างในอดีต
เมื่อเร็ว ๆ นี้ PMAT สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย กล้าไปจัดสัมมนาเรื่อง HRM ในภาคอิสาน ซึ่งผมได้รับเชิญด้วย เดิม PMAT อาจคิดว่ามีแต่คนในกรุงเทพฯ เท่านั้นที่สนใจ ปรากฏว่าคนในภาคอิสานตื่นตัวมาก เพราะได้แนวคิดใหม่ ๆ
ผมบอกได้ว่า อิสานเป็นสังคมการเรียนรู้ได้สบาย ถ้าท่านมองอิสานแบบใหม่ คือไม่ใช่จน โง่ รับจ้างแรงงานถูก ๆ ควรต้องยกย่อง มองการเกษตรเชื่อมโยงวัฒนธรรม สร้างองค์ความรู้ มองคุณค่าของคนอิสาน โดยเปิดโอกาสให้อิสานได้มีอิสรภาพทางความคิด ผมว่าคนอิสานก็คิดเป็น แต่บรรยากาศไม่เอื้ออำนวย ถ้าผมรู้จักคนอิสานมากขึ้น ผมจะเขียนหนังสือพาดหัวสวย ๆ เป็นภาษาอังกฤษว่า :
Isarn can also learn and think
ผมมีเรื่องกิจกรรมอีกเรื่องที่จะเล่าให้ฟัง
เมื่อวันที่ 16 - 18 ตุลาคม 2549 คณะครูจากจังหวัดสมุทรปราการ นำโดยโรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล ซึ่งเปลี่ยนชื่อมาเป็นโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สมุทรปราการ เดินทางไปดูงานด้านการศึกษาที่ประเทศเกาหลีใต้
การไปดูงานครั้งนี้ ได้ไปเยี่ยมเยียนเอกอัครราชทูตไทยประจำเกาหลี คุณวศิน ธีระเวชฌาน แลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน ผมได้เล่าถึงความเป็นมาของโครงการการศึกษาระหว่างไทย/เกาหลี และท่านทูตได้ให้ความรู้เกี่ยวกับเกาหลีใต้ในหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องการศึกษาที่รัฐบาลเกาหลีให้ความสำคัญมาก เพราะมองคนเป็นทรัพย์สิน asset ไม่ใช่ต้นทุน จึงทำให้ประชากรเกาหลีมีคุณภาพ และให้ความรู้เรื่องการเมืองระหว่างประเทศในกรณีเกาหลีเหนือทดลองอาวุธนิวเคลียร์ นับเป็นการเรียนรู้ข้ามศาสตร์ที่น่าสนใจสำหรับคณะครู ซึ่งทำงานต่อเนื่องในด้านการศึกษาร่วมกับผมมา 3 ปี และได้เดินทางไปดูงานต่างประเทศ 3 ครั้งแล้ว
สิ่งแรกที่คณะนี้ทำได้คือ ปรับ mindset ว่า ฉันทำได้ ฉันพึ่งตัวเอง ไม่รอให้กระทรวงส่งฉันไปดูงานต่างประเทศ
เรื่องที่สองคือ กลุ่มนี้สนใจ Networking มาก อะไรที่ดี ๆ จะแสวงหาและฉกฉวยให้ได้ ในอดีตเคยได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ปัจจุบันมีการสร้างแนวร่วมกับนายกเทศมนตรีสำโรงใต้ คุณสรรเกียรติ กุลเจริญ และธุรกิจต่าง ๆ รอบโรงเรียน ประการที่ 3 คือ ได้ทำต่อเนื่อง ไม่ใช่ทำครั้งเดียวแล้วสำเร็จ
คณะนี้ขอให้ผมในฐานะ Lead Shepherd ของ HRD Working Group ใน APEC ติดต่อไปดูงานระบบสารสนเทศกับการสอน ที่กรุงโซล ซึ่งผมรู้จักเกาหลีใต้ดี ได้เจรจาให้จนประสบความสำเร็จ และได้เซ็นสัญญากับโรงเรียนในเกาหลี ว่าจะแลกเปลี่ยนเรื่อง ICT กับการเรียนการสอน เพราะเกาหลีเขาเอาจริงเรื่อง ICT กับการสอน และการแลกเปลี่ยนนักเรียนและครูในอนาคตด้วย
ทัศนคติของผู้บริหารชุดนี้คือ ทำ ทำ และทำให้สำเร็จ พึ่งตัวเอง ทำจริง คิดนอกกรอบ นึกถึงลูกค้าคือนักเรียน ผมภูมิใจมากที่มีโอกาสได้นำอาจารย์ 32 คน ซึ่งออกเงินเอง ไม่แบมือขอใคร และสามารถใช้การทูตภาคประชาชน ทำประโยชน์ให้แก่นักเรียนและครู ผู้ปกครองของจังหวัดสมุทรปราการได้สำเร็จ เพราะปรับ mindset ที่ถูกต้องครับ

 

 จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181
 

เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ เป็นเรื่องที่น่าสนใจ และใครทำก็ได้ไม่จำเป็นเฉพาะเกษตรกรเท่านั้น และที่น่าสนใจ คือ เศรษฐกิจพอเพียง เกี่ยวข้องกับ โลกาภิวัตน์อย่างไร  และจะนำไปใช้อะไรได้บ้างครับ

ผมคิดว่าการทำเศรษฐกิจพอเพียงนั้นไม่ใช่แค่พูดอย่างเดียว ควรลงมือทำปฏิบัติให้อย่างจริงจังด้วยครับ เพราะคิดว่าเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ และควรให้แต่ละคนให้ความสนใจและเริ่มนำไปใช้มากขึ้นครับ

เทพพิทักษ์ วงศ์ละคร

ผมเห็นด้วยกับการทำสารคดีสั้นเศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ครับ เพราะ ประชาชนโดยทั่วไปจะได้มีความเข้าใจมากขึ้น

ชัยสิทธิ์ โคตรทูร

ผมทำธุรกิจประเภทบริการ เกี่ยวกับบริการ รถยนต์ เห็นด้วยครับกับการทำรายการฯ เพราะว่าผมก็คิดว่าเกี่ยวข้องกับธุรกิจของผมด้วยเหมือนกันครับ

บุตรสาว จ่าสิบเอกบุญรอด เต่าทองคำ

ที่บ้านได้นำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ประมาณ ปีกว่าแล้วค่ะ  คุณพ่อเป็นทหาร ได้นำไปใช้ที่ค่ายทหารค่ะ  รู้สึกว่าทำให้ที่บ้านมีฐานะ และความสุขดีขึ้นกว่าแต่ก่อนตอนยังไม่ร่วมโครงการฯ ค่ะเพราะว่า

1.      ทำให้ที่บ้านรู้จักการประหยัดมากขึ้น

2.      สามารถปลูกพืชผักทานเองได้ค่ะ

3.      ทำบัญชีรายรับและรายจ่ายในครัวเรือน

รุ่งอรุณ รักชีวงศ์

ผมติดตามอาจารย์จีระ ทางรายการวิทยุ FM.96.5 MHz เลยทราบว่ามีรายการฯ นี้ครับ และหลังจากที่ดูผมรู้สึกชอบมากครับสำหรับรายการฯ นี้ และคิดว่าจะเป็นประโยชน์มาก ถ้าได้มีการรวบรวม และเผยแพร่ จัดทำเป็น CD เทป หรือ หนังสือ  สำหรับคนทั่วไปได้ศึกษาด้วยครับ

สวัสดีครับชาว Blog

     วันนี้วันที่ 24 ตุลาคม 2549 เป็นวันที่ 3 แล้วนะครับที่ออก สารคดีสั้นชุดเศรษฐกิจพอเพียง กับโลกาภิวัตน์ ที่แพร่ภาพทางช่อง 11 ครับ ผมก็ขอให้ผู้ที่ติดตามรายการฯ ของผมอย่าลืมติดตามนะครับ  อยู่ในรายการ มุมใหม่..ไทยแลนด์ เวลา ประมาณ 4 ทุ่มครึ่งครับ  ถ้ามีอะไรอยากจะแสดงความคิดเห็น ก็ส่งผ่านมาได้ที่ Blog ของผมนะครับ

ชุดที่ 1 รู้จริงเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง (จำนวน 14 ตอน) 

ตอนที

ชื่อตอน แขกรับเชิญ/ผู้ทรงคุณวุฒิ วันที่ออกอากาศ
1 ทำไมต้องเป็นเศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ดำเนินรายการโดยดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ 19 – 10 - 49
2 เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร?ดำเนินรายการโดยดร. ปรียานุช  พิบูลสราวุธ  ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ (ตัดต่อจากเทปที่ท่านเคยแสดงปาฐกถาในงานสัมมนาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงฯ ที่จัดโดยมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ)  20 – 10 - 49
3 ก้าวที่กล้า..พึ่งตนเองตามรอยเท้าพ่อ  ดร.สุเมธ  ตันติเวชกุล (ตัดต่อจากเทปที่ท่านเคยแสดงปาฐกถาในงานสัมมนาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงฯ ที่จัดโดยมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ)  24 – 10 - 49
4 พลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงดำเนินรายการโดยดร.ปรียานุช  พิบูลสราวุธ  ศ.นพ.เกษม  วัฒนชัย องคมนตรี(ตัดต่อจากเทปที่ท่านเคยแสดงปาฐกถาในงานสัมมนาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงฯ ที่จัดโดยมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ)  25 – 10 - 49
5 การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงดำเนินรายการโดยดร.ปรียานุช  พิบูลสราวุธ  ดร. จิรายุ  อิศรางกูร ณ อยุธยาประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนฯ 26 – 10 - 49
6 ความพอเพียงระดับประเทศดำเนินรายการโดยดร.ปรียานุช  พิบูลสราวุธ คุณโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 27 – 10 - 49
7 ความพอเพียงระดับองค์กรดำเนินรายการโดยดร.ปรียานุช  พิบูลสราวุธ  ดร. อาชว์ เตาลานนท์ประธานกิตติมศักดิ์หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย 30 – 10 - 49
8 ความพอเพียงระดับชุมชนดำเนินรายการโดยดร.ปรียานุช  พิบูลสราวุธ คุณโชคชัย ลิ้มประดิษฐ์  ผู้ใหญ่บ้าน บ้านหนองกลางดง  จ. ประจวบคีรีขันธ์ 31 – 10 -49
9 ความพอเพียงระดับบุคคล / ครอบครัวดำเนินรายการโดยดร.ปรียานุช  พิบูลสราวุธ  คุณกาญจนาพร ปลอดภัยนักแสดงและพิธีกร 1– 11 – 49
10 ความพอเพียงในสถานศึกษาดำเนินรายการโดยดร.ปรียานุช  พิบูลสราวุธ  อ.ประทีป เมืองงามร.ร.จุฬาภรณราชวิทยาลัยจ.เพรชบุรี 2 – 11- 49
11 ความพอเพียงทางสังคมดำเนินรายการโดยดร.ปรียานุช  พิบูลสราวุธ  ดร. จุรี วิจิตรวาทการสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 3 – 11 -49
12 ความพอเพียงทางเศรษฐกิจ ดำเนินรายการโดยดร.ปรียานุช  พิบูลสราวุธ  ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล 6 – 11 - 49
13 ความพอเพียงทางวัฒนธรรมดำเนินรายการโดยดร.ปรียานุช  พิบูลสราวุธ  ดร.เสรี  วงษ์มณฑา 7 – 11 - 49
14 ความพอเพียงทางสิ่งแวดล้อมดำเนินรายการโดยดร.ปรียานุช  พิบูลสราวุธ  ดร.ธันวา จิตติสงวน 8 – 11 - 49

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ชุดที่ 2 รู้ทันโลกาภิวัตน์ (จำนวน 10 ตอน)

ชุดที่ 3  เศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ (จำนวน 16 ตอน)

ยม สาระเกี่ยวกับ เศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์(กลไกตลาดเสรี)
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

ใน Blog นี้ มีหลายท่านสนใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีครับ  และขอชื่นชมและยกย่องทุกท่านที่สนใจในเรื่องนี้ 

เราควรช่วยกันศึกษาเรื่องนี้ แล้วสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ช่วยกันปฏิบัติให้เป็นตัวอย่าง ช่วยกันเผยแพร่ ความรู้เหล่านี้แด่ผู้ที่ยังไม่เข้าใจ เท่ากับเราได้ชื่อว่า ช่วยชาติ ช่วยแผ่นดินของเรา    ผมพบบทความที่น่าจะเป็นประโยชน์ ต่อ ผู้สนใจเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ จึงคัดมาฝากครับ     

เศรษฐกิจพอเพียง ระบบตลาดที่ดีกว่ากลไกตลาดเสรี โดย ณัฏฐพงศ์ ทองภักดี ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์[1]



ในขณะนี้คงจะได้ยินกันทั่วว่า รัฐบาลจะใช้นโยบายตามเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมให้คนไทยใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง แล้วก็มีปฏิกิริยาตอบสนองต่างกัน บ้างก็ว่าพอได้ยินเช่นนี้ ประเทศไทยคงอยู่กันแบบเขียมๆ อย่างพอเพียง


บ้างก็ว่าราคาหุ้นถึงกับตกเลยพอรู้ข่าวนี้ การอธิบายเศรษฐกิจพอเพียงเป็นอย่างไรก็มีหลายแบบ คนจำนวนไม่น้อยที่คิดว่าพอเพียงคือพออยู่พอกิน ทำเองใช้เอง เขียมๆ


บางคนก็บอกว่าเศรษฐกิจพอเพียงไม่ขัดกับระบบตลาด ยังมีการค้าการลงทุนจากต่างประเทศ เพราะไม่บอกเช่นนี้หุ้นไม่เลิกตก


บางเสียงก็เสนอว่าเศรษฐกิจพอเพียงสามารถทำได้ควบคู่กับระบบตลาดเสรีหรือทุนนิยม

ฟังๆ ดูความคิดเหล่านี้แล้วราวกับว่า เศรษฐกิจพอเพียงกับระบบตลาดเป็นคนละเรื่องกันถ้าไม่ขัดกันเป็นข้อยกเว้นไม่ใช่เป็นกรณีทั่วไป


ใครจะตีความหมายไปอย่างไร ตามอัธยาศัยไม่น่าจะถือว่าเป็นเรื่องเสียหาย แต่ถ้าหากจะเข้าใจให้ตรงกันโดยเฉพาะผู้ที่ต้องดำเนินนโยบายสาธารณะ ก็ต้องบอกว่าหลักคืออะไร


ข้อเขียนนี้จะชี้ว่า หากใช้ความหมายของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ได้รับพระบรมราชานุญาตนำมาเป็นหลักในการทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 ตามข้อความข้างล่างนี้ นอกจากปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไม่ขัดกับระบบตลาดแล้ว ยังถือว่าเป็นเรื่องเดียวกัน โดยปรัชญาอยู่ที่สิ่งที่อยู่เหนือระบบตลาด


"เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของระชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จึงถึงระดับรัฐทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทสให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็น ที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน
  ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญาและความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี"



ตามข้อความข้างต้นที่คัดมาจาก แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 ชี้ว่าปรัชญาให้ใช้ประโยชน์จากกระแสโลกาภิวัตน์ โดย "ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวหน้าต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์"


การก้าวทันโลกาภิวัตน์คือให้มีการค้า การลงทุนระหว่างประเทศ อันเป็นการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ หากจะแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศได้ การแลกเปลี่ยนภายในคือระบบตลาดภายในประเทศก็ต้องมีเป็นธรรมดา นั่นคือเป็นเรื่องของการใช้กลไกตลาดนั่นเอง แต่ใช้ระบบกลไกตลาดในทางสายกลาง โดยรู้เท่าทัน "เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี"


ปรัชญาซึ่งเป็นหลักในการดำเนินชีวิตและตัดสินใจทั้งระดับบุคคล ครัวเรือน ชุมชน และประเทศ ไม่ได้ระบุว่าระบบการค้าและแลกเปลี่ยนจะมีรูปแบบอย่างไร แต่แน่นอนถ้าจะมีการค้า การแลกเปลี่ยนก็ต้องมีการผลิตสินค้า มีตลาด ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ และจริงๆ สิ่งที่เป็นอยู่โดยทั่วไปในประเทศต่างๆ ก็ชี้ว่า สิ่งที่เรียกว่าระบบตลาดเสรี หรือทุนนิยมเป็นระบบที่ทำให้การจัดสรรทรัพยากรมีประสิทธิภาพและปฏิบัติอยู่ทั่วไป

 


ดังนั้น ประเทศใดที่ใช้ระบบตลาด หากจะใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการกำหนดนโยบาย ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะต้องกลับลำจากระบบตลาดไปใช้ระบบอื่น

 


ไม่มีเหตุผลใดที่จะพูดถึงการปิดประเทศเลย เปรียบกับว่า เรากำลังเดินทางโดยขับรถไปเรียบร้อยพอสมควร ขลุกขลักบ้างบางครั้งแต่ยังไม่เสีย เราไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนพาหนะจากรถมาเป็นเกวียนหรือเดินไป

 


แต่สิ่งที่จะต้องพิจารณา คือเราขับรถเป็นอย่างไร เร็วไปช้าไปรึเปล่า ไปถูกทางหรือไม่ ขับไปแล้วดูแลให้คนที่อยู่ในรถมีความสุขดีหรือเปล่า


พอถึงตอนนี้ใครที่ชอบคิดข้ามช็อต อาจจะมองไปว่าข้อเขียนนี้บอกว่าตกลงก็ไม่ต้องเปลี่ยนอะไร จะทำอะไรก็ทำไป จะใช้ระบบตลาดก็ตัวใครตัวมันไป ไม่เห็นจะเป็นไร แล้วอย่างนี้ปรัชญามีประโยชน์อะไร

 


คำตอบคือปรัชญามีประโยชน์มหาศาล เพราะช่วยนี้แนะให้เรามีหลักทำให้เราดำเนินการอะไรด้วยความสมดุล พัฒนาอย่างยั่งยืน


เนื้อหาปรัชญาข้างต้นนี้ แสดงว่าความพอเพียง ประกอบด้วย

 


ก) ความพอประมาณ นั่นคือทางสายกลางไม่สุดโด่ง

 


ข) ความมีเหตุมีผล คือมีการวางแผน มองระยะยาว


และ ค) การมีภูมิคุ้มกันที่ดี คือนึกถึงความเสี่ยง มีอะไรป้องกันหรืออะไรรองรับความเสี่ยง ความไม่แน่นอนหรือไม่


มีสามอย่างนี้ยังไม่พอ ความพอเพียงจะเกิดไม่ได้ ถ้ามีความไม่ซื่อสัตย์ และถ้าเราขาดความรู้ก็จะไม่สามารถวางแผนหรือดำเนินการให้มีความพอเพียงได้ ดังนั้น เงื่อนไขของความพอเพียงจึงมีสองด้าน คือ คุณธรรมและความรู้ซึ่งมักจะเรียกว่า สามห่วง สองเงื่อนไข (ดูกราฟิก)


ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงใช้ระบบตลาดทั้งในและนอกประเทศ โดยทำให้ระบบตลาดดีขึ้นเป็นประโยชน์ เพราะทำการเตือนสติให้เรารู้ว่า ทำอะไรต้องไม่สุดขั้ว เช่นหากจะให้เศรษฐกิจโตเร็วมาก แต่อากาศเสียสิ่งแวดล้อมแย่ ความแตกต่างทางรายได้ห่างมาก ก็ไม่เรียกว่าพอประมาณ


แต่หากว่าจะไม่ขยายตัวเลยหรือน้อยมาก ต่ำกว่าศักยภาพที่ตัวเองทำได้ ก็สุดขั้วไปอีกด้าน คนจนก็จะมากขึ้นได้ ในระยะยาวการขยายตัวก็ไม่ดี คล้ายกับเรื่อยๆ ตอนนี้ไปลำบากตอนหน้า ก็ไม่ถูกเหมือนกัน


พูดอย่างรวมๆ คือ ระบบตลาดจะทำให้การพัฒนาพอประมาณก็ต้องทำให้เป้าหมายทางเศรษฐกิจทั้งด้านการขยายตัว เสถียรภาพ การกระจายรายได้สมดุลกัน ไม่ไปทางทางหนึ่ง



หากเราทำอะไรไม่วางแผน ไม่มองระยะยาว เช่นจะทำเมกะโปร์เจ็คต์ โดยไม่ได้ใช้หลักวิชาการวิเคราะห์ความคุ้มค่าของโครงการ ดูให้ชัดว่ามีประโยชน์สุทธิต่อสังคมจริงหรือไม่แล้วจึงลงมือทำ ก็แสดงว่าไม่ตรงหลักความมีเหตุมีผล ตัวอย่างอันขมขื่นของการขาดหลักการนี้คือการลงทุนอย่างไม่ลืมหูลืมตาของภาคเอกชนจนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540


ในเรื่องภูมิคุ้มกัน ก็คือ การมีสัมพันธ์กับภายนอกไม่ว่าระดับใด เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่คาดไม่ถึง เช่น ความผันผวนของราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน หรือความเข้มข้นของการแข่งขัน ทำให้เราต้องปรับเปลี่ยนกิจการหรืองานที่ทำ ต้องคิดว่าหากมีอะไรที่ร้ายๆ มา มีอะไรรองรับไหม ใช้หลักนี้ เราก็จะตัดสินใจโดยคำนึงถึงความเสี่ยง


ในแง่นโยบายตามหลักรัฐก็ต้องสร้างระบบที่เรียกกันว่า social safety net เป็นภูมิคุ้มกันช่วยในยามยากด้วย


นักเศรษฐศาสตร์รู้มานานแล้วว่า ระบบตลาดเป็นระบบที่มือที่มองไม่เห็นทำให้เกิดการผลิต การแลกเปลี่ยนมีประสิทธิภาพจัดระบบเศรษฐกิจในสังคมได้ดี หลักฐานพิสูจน์ว่าเป็นระบบที่ดีกว่าสังคมนิยมหรือเผด็จการทางเศรษฐกิจ


แต่เศรษฐศาสตร์ก็บอกด้วยว่าระบบตลาดมีความล้มเหลวที่ทำไม่ได้ตามวัตถุประสงค์ได้ และระบบตลาดก็ยังไม่ได้มองทุกมิติให้สังคม ที่จะทำให้การพัฒนาไม่ยั่งยืน ถ้าไม่มีกลไกมาจัดสรร ระบบตลาดเสรีจึงไม่เพียงพอที่จะเป็นหลักในการบริหารประเทศ


ปรัชญานี้จึงชี้นำให้จัดการระบบตลาดให้ดี คำนึงถึงทุกด้านของการพัฒนา ทั้งเศรษฐกิจ ชุมชน สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และนำไปสู่สังคมที่มีความสมดุล มีความเจริญอย่างแข็งแรง เป็นการก้าวไกลกว่าระบบตลาด หรือเกินกว่าทฤษฎีเศรษฐศาสตร์


แต่ไม่ได้หมายความแม้แต่น้อยว่า จะต้องเลือกระหว่างระบบตลาดหรือปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง


การทำธุรกิจตามหลักของปรัชญาก็ต้องมีการทำกำไรต่อไป เพราะถ้าไม่มีกำไรธุรกิจก็ไม่มีความพอเพียงที่จะทำธุรกิจอย่างยั่งยืน การทำกำไรก็คงต้องมีการลงทุน การกู้ยืม หลักความพอเพียงในการทำธุรกิจจึงชี้ว่าการกู้ยืมต่างๆ ทำได้


แต่การทำธุรกิจตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คงจะต่างกับแบบดั้งเดิม และดีกว่า เพราะให้ทำธุรกิจอย่างรอบคอบ มองระยะยาว นึกถึงความเสี่ยง ซึ่งกรอบนี้เหมาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน เพราะการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ เศรษฐกิจ สังคม เปลี่ยนแปลงเร็วกว่าในอดีตมาก จะทำอะไรบุ่มบ่ามอย่างในอดีต ที่กู้เงินเป็นกว่าสิบเท่าของทุน ลงทุนแบบผลตอบแทนสูงรับความเสี่ยงสูงมาก โอกาสที่วิกฤตจะถามหาเร็วขึ้นกว่าในอดีต


ปรัชญาบอกด้วยว่าธุรกิจจะใช้ประโยชน์จากโลกาภิวัตน์ ต้องมีคุณธรรม และความรู้ ดังนั้น จึงต้องการวางระเบียบและดำเนินการตามบรรษัทภิบาลที่ดี และต้องมีการจัดการความรู้จะใช้ประสบการณ์เดิมทำธุรกิจในสภาพที่สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไปไม่ได้


คงจะเห็นได้ว่า ปรัชญาช่วยนำให้ธุรกิจมีความเจริญที่มั่นคง และสมดุล มีการประเมินความเสี่ยงที่เหมาะสม เป็นประโยชน์ทั้งผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร พนักงาน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ธุรกิจสมัยใหม่ก็ให้ความสนใจเรื่อง การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) การจัดการความรู้ (Knowledge Management) ความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ดีในการสร้างความพอเพียงของธุรกิจ โดยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นองค์รวมที่ทำให้มีแนวทางที่เป็นองค์รวมในการพัฒนาที่ยั่งยืนและสมดุล


ดังนั้น ผู้ที่จะใช้ปรัชญาไม่ว่าจะในระดับตัวเอง ครัวเรือน องค์กร หรือนโยบาย จึงควรดูว่าการตัดสินใจหรือพฤติกรรมของตน เป็นไปตามสามห่วง สองเงื่อนไขของปรัชญาหรือไม่ แล้วก็ปรับตามสภาพที่มีให้มีความสมบูรณ์ ปรัชญานี้ประยุกต์ใช้ได้ในทุกระดับ โดยทุกคนหรือองค์กรไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน เพราะสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกอาจต่างกัน


โดยสิ่งที่เหมือนกันคือการพิจารณาในทุกเรื่องตามหลักสามห่วง สองเงื่อนไข เพื่อการพัฒนาที่สมดุล และยั่งยืน


   กราบเรียน ศ.ดร.จีระ และสวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน สารคดีสั้นชุดเศรษฐกิจพอเพียง กับโลกาภิวัตน์ ที่แพร่ภาพทางช่อง 11ในรายการ มุมใหม่..ไทยแลนด์ เวลา ประมาณ 4 ทุ่มครึ่งครับ เป็นรายการที่น่าสนใจและน่าติดตาม ซึ่งดิฉันจะติดตามเพื่อที่จะได้มี WISDOM ไปสอนหนังสือให้น.ศ.และแนะนำนักศึกษาได้ติดตาม ประกอบการเรียนในวิชาพฤติกรรมมนุษย์และการพัฒนาตนและวิชาการคิดและการตัดสินใจ ที่ดิฉันได้สอนใน ม.ราชภัฎ ซึ่งเป็นม. ของคนที่เป็นของพระราชาเพื่อให้เกิดTHINK + KNOWLEDGE รายการ TV ช่อง 11 19 – 10 – 49  ทำไมต้องเป็นเศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ดำเนินรายการโดยดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ดิฉันขอแสดงความคิดเห็นให้ศ.ดร.จีระ และสวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน ดังนึ้ค่ะ

 (ขั้นที่ 1) ครอบครัวพอเพียง

 (ขั้นที่ 2) ชุมชนพอเพียง  (ขั้นที่ 3) เศรษฐกิจของชาติพอเพียง  
เศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นรูปธรรมระดับภาพรวมในประเทศหรือระดับสากลอย่างยั่งยืน(โลกาภิวัตน์ และ Inovation)

สรุปเป็น 4  พ.ได้ ดังนี้

  1. พึ่งตนเอง (Self sufficiency)
  2. เพิ่มความรู้ ( knowledge)
  3. พอประมาณ (มัชชิมาปฎิปทา)
  4. พัฒนาอย่างยั่งยืน (Long life development)
ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 : ผลิตอาหารบริโภคเองเหลือขาย ทำให้มีกินอิ่ม ไม่ติดหนี้  มีเงินออม ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 2 : รวมตัวกันเป็นองค์กรชุมชน ทำเศรษฐกิจชุมชนในรูปแบบต่างๆ เช่น เกษตร หัตถกรรม อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ทำธุรกิจปั๊มน้ำมัน ขายอาหาร ขายสมุนไพร ตั้งศูนย์การแพทย์แผนไทย จัดการท่องเที่ยวชุมชน มีกองทุนชุมชนหรือธนาคารหมู่บ้าน ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 3 : เชื่อมโยงกับบริษัททำธุรกิจขนาดใหญ่ รวมทั้งการส่งออกสามขั้นตอนเป็นรูปธรรมที่สามารถเชื่อมโยงกับนามธรรมแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างสอดคล้องกลมกลืนคือ ครอบครัวพอเพียง 
              
            
กราบเรียน ศ.ดร.จีระ และสวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน สารคดีสั้นชุดเศรษฐกิจพอเพียง กับโลกาภิวัตน์ ที่แพร่ภาพทางช่อง 11ในรายการ มุมใหม่..ไทยแลนด์ เวลา ประมาณ 4 ทุ่มครึ่งครับ เป็นรายการที่น่าสนใจและน่าติดตาม ซึ่งดิฉันจะติดตามเพื่อที่จะได้มี WISDOM ไปสอนหนังสือให้น.ศ.ได้เกิดTHINK + KNOLEDGE ประกอบการเรียนในวิชาพฤติกรรมมนุษย์และการพัฒนาตนและวิชาการคิดและการตัดสินใจ ที่ดิฉันได้สอนใน ม.ราชภัฎ ซึ่งเป็นม. ของคนที่เป็นของพระราชา รายการ TV ช่อง 11 19 – 10 – 49  ทำไมต้องเป็นเศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ดำเนินรายการโดยดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ดิฉันขอแสดงความคิดเห็นให้ศ.ดร.จีระ และสวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน ดังนึ้ค่ะ ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 : ผลิตอาหารบริโภคเอง เหลือขาย ทำให้มีกินอิ่ม ไม่ติดหนี้  มีเงินออม  (ขั้นที่ 1) ครอบครัวพอเพียง  ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 2 : รวมตัวกันเป็นองค์กรชุมชน ทำเศรษฐกิจชุมชนในรูปแบบต่างๆ เช่น เกษตร หัตถกรรม อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ทำธุรกิจปั๊มน้ำมัน ขายอาหาร ขายสมุนไพร ตั้งศูนย์การแพทย์แผนไทย จัดการท่องเที่ยวชุมชน มีกองทุนชุมชนหรือธนาคารหมู่บ้าน (ขั้นที่ 2) ชุมชนพอเพียง  ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 3 : เชื่อมโยงกับบริษัททำธุรกิจขนาดใหญ่ รวมทั้งการส่งออกสามขั้นตอนเป็นรูปธรรมที่สามารถเชื่อมโยงกับนามธรรมแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างสอดคล้องกลมกลืนคือ ครอบครัวพอเพียง(ขั้นที่ 3) เศรษฐกิจของชาติพอเพียง สามารถสรุปเป็น 4  พ.ได้ ดังนี้1.       พึ่งตนเอง (Self sufficiency)2.       เพิ่มความรู้ ( knowledge)3.       พอประมาณ (มัชชิมาปฎิปทา)4.    พัฒนาอย่างยั่งยืน (Long life development เศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นรูปธรรมระดับภาพรวมในประเทศหรือระดับสากลซึ่งเป็นการนำไปสู่   การพัฒนาอย่างยั่งยืน (โลกาภิวัตน์ และ Innovation รวมถึงการเป็น  Coop –Petition ร่วมมือแข่งขันในยุค  net –work )   
กราบเรียน ศ.ดร.จีระ และสวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน

สารคดีสั้นชุดเศรษฐกิจพอเพียง กับโลกาภิวัตน์ ที่แพร่ภาพทางช่อง 11ในรายการ มุมใหม่..ไทยแลนด์ เวลา ประมาณ 4 ทุ่มครึ่งครับ เป็นรายการที่น่าสนใจและน่าติดตาม ซึ่งดิฉันจะติดตามเพื่อที่จะได้มี WISDOM ไปสอนหนังสือให้น.ศ.ได้เกิดTHINK + KNOLEDGE ประกอบการเรียนการสอนในวิชาพฤติกรรมมนุษย์และการพัฒนาตนและวิชาการคิดและการตัดสินใจ ที่ดิฉันได้สอนใน ม.ราชภัฎ ซึ่งเป็นม. ของคนที่เป็นของพระราชา รายการ TV ช่อง 11 19 – 10 – 49  ทำไมต้องเป็นเศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ดำเนินรายการโดยดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ดิฉันขอแสดงความคิดเห็นให้ศ.ดร.จีระ และสวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน ดังนึ้ค่ะ

 ทบ.ใหม่ + เศรฐกิจพอเพียง   สัมพันธ์กันดังนี้ ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 : ผลิตอาหารบริโภคเอง เหลือขาย ทำให้มีกินอิ่ม ไม่ติดหนี้  มีเงินออม  (ขั้นที่ 1) ครอบครัวพอเพียง  ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 2 : รวมตัวกันเป็นองค์กรชุมชน ทำเศรษฐกิจชุมชนในรูปแบบต่างๆ เช่น เกษตร หัตถกรรม อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ทำธุรกิจปั๊มน้ำมัน ขายอาหาร ขายสมุนไพร ตั้งศูนย์การแพทย์แผนไทย จัดการท่องเที่ยวชุมชน มีกองทุนชุมชนหรือธนาคารหมู่บ้าน (ขั้นที่ 2) ชุมชนพอเพียง  ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 3 : เชื่อมโยงกับบริษัททำธุรกิจขนาดใหญ่ รวมทั้งการส่งออก

สามขั้นตอนเป็นรูปธรรมที่สามารถเชื่อมโยงกับนามธรรมแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างสอดคล้องกลมกลืนคือ ครอบครัวพอเพียง

(ขั้นที่ 3) เศรษฐกิจของชาติพอเพียง สามารถสรุปเป็น 4  พ.ได้ ดังนี้1.       พึ่งตนเอง (Self sufficiency)2.       เพิ่มความรู้ ( knowledge)3.       พอประมาณ (มัชชิมาปฎิปทา)4.    พัฒนาอย่างยั่งยืน (Long life development 

เศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นรูปธรรมระดับภาพรวมในประเทศหรือระดับสากลซึ่งเป็นการนำไปสู่   การพัฒนาอย่างยั่งยืน (โลกาภิวัตน์ และ Innovation รวมถึงการเป็น  Coop –Petition ร่วมมือแข่งขันในยุค  net –work ) ก็จะนำความสุขมาสู่มวลมนุษยชาติต่อไปค่ะ

ด้วยความเคารพอย่างสูง

Lotus

นศ.ปริญญาเอก รปศ. รุ่น 3 ม.อุบลราชธานี

  
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง ควรรับฟังข้อคิดเห็นอดีตนายกฯชวน"

ควรรับฟังข้อคิดเห็นอดีตนายกฯชวน[1]

 

เวลาผ่านไปแล้ว 5 สัปดาห์ เหตุการณ์ต่าง ๆ ได้เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วและคาดไม่ถึง หลายอย่างดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็มีปัจจัยหรือมีข้อมูลใหม่ๆเพิ่มเติมเสมอ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี ต้องใช้นโยบาย
Listen and Learn
อย่างมาก และต้องมีความอดกลั้น ที่จะต้องรับฟัง หากมีประโยชน์จึงนำไปปฏิบัติ
ผมคิดว่า ความคิดและข้อเสนอแนะของอดีตนายกฯ ชวน หลีกภัยที่ติงการทำงานของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ น่าสนใจ คือจะต้องอธิบายจุดอันตรายของ "ระบบทักษิณ" ให้ประชาชนได้รับทราบและเข้าใจอย่างแท้จริง เพราะใน 5 ปีที่ผ่านมา ประชาชนที่ยากจนอาจจะคิดไม่ครบถ้วน และไม่เข้าใจ ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นจะต้องทำ ควรอธิบายด้วยข้อมูลและข้อเท็จจริง อาจจะต้องดึงเอาภาคประชาสังคมที่เป็นกลาง มาช่วยอธิบายเพื่อเสริมรัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเพื่อให้ทั่วถึง
ผมหวังว่า งานดังกล่าวจะก้าวไปด้วยดี และสร้างความเข้าใจได้ถูกต้อง
ระยะนี้ ยังมีข่าวความไม่สงบหรือคลื่นใต้น้ำอยู่ ซึ่งคงจะไม่ใช่ของแปลกอะไร เพราะมีผู้เสียผลประโยชน์มาก คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติจะต้องบริหารและจัดการสิ่งเหล่านี้อย่างรอบคอบ เหมาะสมและสมานฉันท์
ดูเหมือนว่า นายกฯสุรยุทธ์ จุลานนท์ ทำหน้าที่เหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ได้เชิญหัวหน้าพรรคการเมืองมามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นจุดที่สำคัญ การยกย่องให้เกียรติทุกกลุ่มในสังคมเป็นเรื่องที่ดีและเหมาะสม
ส่วนกลุ่มพันธมิตรก็เช่นกัน คงจะต้องอดทนและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเหมือนเดิม ขออย่าท้อใจ ถึงกับจะลาออกจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งไม่เป็นผลดี คงจะต้องช่วยกันตรวจสอบต่อไป
สำหรับผม ถึงแม้ว่าจะไม่เกี่ยวกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็จะทำหน้าที่ต่อไปในฐานะประชาชนคนหนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของการให้ความรู้ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในระยะนี้ ท่านผู้อ่านอาจจะใช้สื่อทางวิทยุมากขึ้น เพราะสื่อทางโทรทัศน์ยังไม่เปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก
ในขณะที่สื่อวิทยุ เช่น FM 96.5 MHz. ทั้ง 24 ชั่วโมง มีความคิดดี ๆ ออกมาจากผู้เชี่ยวชาญหลายด้าน ทันเหตุการณ์ ผมยังต้องติดตามใกล้ชิด
สัปดาห์ที่ผ่านมาผมมีงาน 3 เรื่องที่จะเล่าให้ฟัง
เรื่องแรก ซึ่งทำเป็นประจำทุกปี คือ ค่ายผู้นำเยาวชน Knowledge camping ให้แก่นักเรียนเทพศิรินทร์และโรงเรียนในเครือทั้ง 7 โรงเรียน จำนวน 120 คน ครั้งนี้เป็นปีที่ 8 แล้ว ในปีนี้เน้นในพระอัจฉริยภาพด้านต่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น ภาวะผู้นำ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น มีวิทยากรรับเชิญซึ่งเป็นนักเรียนเก่าที่มีชื่อเสียงหลายท่านมาร่วมแบ่งปันความรู้ เช่น
-
หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง เป็นองค์ประธานในพิธีและปาฐกถาพิเศษเรื่อง "โครงการหลวง"
-
ฯพณฯ พล.อ.ต.กำธน สินธวานนท์ บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านพลังงาน"
-
ดร.ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรีและกีฬา"
-
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ"
ค่าย Knowledge camping นี้เป็นค่ายที่สร้างและพัฒนาภาวะผู้นำให้กับนักเรียน ให้เด็กมีความคิดกว้างไกล คิดเป็น กล้าแสดงออก เด็กจะได้รับการพัฒนาความคิดจากโจทย์ "ประเทศไทยในอีก 20 ปีข้างหน้า" ซึ่งเป็นการเตรียมพร้อมที่จะเติบโตเป็นผู้นำของชาติในอนาคต
อีกงานหนึ่งเป็นงาน India-Thai Business Forum ซึ่งเป็นชมรมนักธุรกิจชั้นนำของอินเดียในประเทศไทย ผมภูมิใจที่เขาสนใจงาน HRD ของ APEC ของผม แต่แทนที่จะมองเฉพาะ APEC เขามองถึงความร่วมมือระหว่างอินเดียกับ APEC ในอนาคต
ผมคิดว่าเรื่อง HRD กับอินเดียน่าจะมี 3 เรื่อง
1.
การแลกเปลี่ยนครูทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และ IT โดยให้อินเดียส่งครูมาช่วย
2.
การส่งครูไทยไปสอนเรื่อง การบริการ Service sector และการท่องเที่ยว
3.
จัดให้เกิดธุรกิจร่วมกัน เช่น E-learning
ผมคิดว่ารัฐบาลของนายกฯสุรยุทธ์ ยังคงสนับสนุนแนวคิดการจัดตั้ง ACD HRD Center ขึ้น เพื่อให้เอเชีย ซึ่งมีอินเดีย จีน ญึ่ปุ่น ไทย และประเทศในตะวันออกกลางรวย ๆ เช่น โอมาน คูเวต มาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของคนเอเชียด้วยกัน แทนที่จะไปเรียนจากตะวันตก ซึ่งผมได้รับมอบหมายจากรัฐบาลชุดที่แล้วให้ดำเนินการ และได้รับการเห็นชอบในหลักการแล้ว
เอเชียต้องมีฐานความรู้ของตัวเอง ร่วมมือกับตะวันตกได้ โดยไม่ลอกความคิดของตะวันตกอย่างเดียว
นอกจากนี้ ผมได้รับเชิญจากมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ไปบรรยายเรื่อง คิดแบบ CEO ในยุคสมัยใหม่ ผมชอบหัวข้อที่เขาตั้ง เพราะ CEO ต้องคิดเป็นถึงจะสำเร็จ จึงแนะนำวิธีการคิดไป 3 วิธีคือ
-
ทฤษฎี 4 L's ของผม
- 5 Disciplines
ของ Peter Senge
-
และ 6 Thinking hats ของ Edward de Bono
เน้นว่าแต่ละแบบสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้โดยมองจากสถานการณ์ความจริงของแต่ละองค์กร มีจุดที่น่าสนใจคือ ยุคใหม่ CEO ต้องไม่เก่งคิดคนเดียว ต้องให้ผู้ร่วมงานคิดเป็นด้วย
คำถามคือ จะทำอย่างไร ในประเทศไทย เราเสียเปรียบตั้งแต่ระบบการศึกษา เพราะเราไม่มีการกระตุ้นให้นักเรียนสนใจที่จะแลกเปลี่ยนความรู้ เราให้นักเรียนลอกความคิดของอาจารย์
ผมโชคดีได้เปลี่ยนแนวการสอนมากว่า 10 ปีแล้ว ไม่ว่าจะสอนที่ไหน จะให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และสรุปร่วมกัน ทุกวันนี้มีคนสนใจเรื่องนี้มากขึ้น ล่าสุดองค์กรบริหารส่วนตำบล ซึ่งจะนำเศรษฐกิจพอเพียงไปให้เขาคิด เช่นเดียวกับข้าราชการระดับ C7 , C8 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของรองปลัดสุทธิพร จีระพันธุ ซึ่งเป็นผู้สนใจวิธีการเรียนแบบใหม่

 

 จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181  
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ ควรรับฟังข้อคิดเห็นอดีตนายกฯชวน "

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

  

เช้านี้ วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2549  ผมมีกิจกรรม สัมมนา ภาวะผู้นำโลก(Seminar on Global Leadership) ต้องออกเดินทางแต่เช้า จึงส่งข้อควานี้มาช้ากว่าปกติที่เคยทำ 

อย่างไรก็ตาม ผมหาความรู้ ทาง internet และค้นหาอ่านบทความบทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่องว่า ในบทความนี้ ศ.ดร. จีระ เขียนเรื่อง ควรรับฟังข้อคิดเห็นอดีตนายกฯชวน ผมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม โดยใช้ข้อความข้างล่างนี้ แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ  

  เวลาผ่านไปแล้ว 5 สัปดาห์ เหตุการณ์ต่าง ๆ ได้เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วและคาดไม่ถึง หลายอย่างดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็มีปัจจัยหรือมีข้อมูลใหม่ๆเพิ่มเติมเสมอ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี ต้องใช้นโยบาย
Listen and Learn
อย่างมาก และต้องมีความอดกลั้น ที่จะต้องรับฟัง หากมีประโยชน์จึงนำไปปฏิบัติ  
 เรื่องการ Listen and Learn ผมเห็นด้วยกับ ศ.ดร.จีระ อย่างมาก ผมคิดว่า Competency หรือ สมรรถนะของผู้นำยุคใหม่จะเกี่ยวข้องกับสมรรถนะในการ Link, Listen and Learn    ในอดีต การคัดเลือกผู้นำในองค์กร มักจะแสวงหาผู้นำที่มีความสามารถในการทำงาน ถือว่าเก่ง ครับ แต่ในยุคปัจจุบันและอนาคตแนวคิดนั้นได้เปลี่ยนมาแสวงหาผู้นำที่มีความสามารถในการ Link, Listen and Learn เพื่อต้องการหาผู้นำที่สามารถบริหารการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพการคิดแบบ CEO ที่เป็นเลิศ ก็ต้องคิดที่จะ Link, Listen และคิดที่จะ Learn (Long life learning)    
 
ผมคิดว่า ความคิดและข้อเสนอแนะของอดีตนายกฯ ชวน หลีกภัยที่ติงการทำงานของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ น่าสนใจ คือจะต้องอธิบายจุดอันตรายของ "ระบบทักษิณ" ให้ประชาชนได้รับทราบและเข้าใจอย่างแท้จริง เพราะใน 5 ปีที่ผ่านมา ประชาชนที่ยากจนอาจจะคิดไม่ครบถ้วน และไม่เข้าใจ ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นจะต้องทำ ควรอธิบายด้วยข้อมูลและข้อเท็จจริง อาจจะต้องดึงเอาภาคประชาสังคมที่เป็นกลาง มาช่วยอธิบายเพื่อเสริมรัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเพื่อให้ทั่วถึง ระยะนี้ ยังมีข่าวความไม่สงบหรือคลื่นใต้น้ำอยู่ ซึ่งคงจะไม่ใช่ของแปลกอะไร เพราะมีผู้เสียผลประโยชน์มาก คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติจะต้องบริหารและจัดการสิ่งเหล่านี้อย่างรอบคอบ เหมาะสมและสมานฉันท์  
ดูเหมือนว่า นายกฯสุรยุทธ์ จุลานนท์ ทำหน้าที่เหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ได้เชิญหัวหน้าพรรคการเมืองมามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นจุดที่สำคัญ การยกย่องให้เกียรติทุกกลุ่มในสังคมเป็นเรื่องที่ดีและเหมาะสม
ส่วนกลุ่มพันธมิตรก็เช่นกัน คงจะต้องอดทนและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเหมือนเดิม ขออย่าท้อใจ ถึงกับจะลาออกจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งไม่เป็นผลดี คงจะต้องช่วยกันตรวจสอบต่อไป   ในความเห็นส่วนตัว ในสายตาของประชาชน เข้าใจว่า คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน ฉะนั้นใครพูดอะไร คิดอะไร จะเกี่ยวข้องสัมพันธ์และมีผลกระทบต่อกัน   คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี เป็นบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิ โดยเฉพาะท่านนายกรัฐมนตรี เป็นรักและเคารพ อย่างสูง ของชาติ การที่ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี จะพูด จะทำอะไร จึงเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง และอาจจะมีผลกระทบกับภาพลักษณ์ ของท่านนายกรัฐมนตรีได้ การฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น การ Link, Listen and Learn เป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายควรทำ ทุกฝ่ายควร Know our situation!

Can we fix! Broken Government? Can we fix! The national disunity?

 

ประเทศไทยจะต้อง Compete international เพื่อที่จะลดความยกจนลง Economic growth ควรจะต้อง ได้ 6% GDP 

 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจน 60% จนที่สุดในประเทศ ทรัพยากรมนุษย์มีส่วนใหญ่ขาดคุณภาพไม่มีทางออกทะเล  ผลผลิตเกษตรต่อไร่ตกต่ำ การติดต่อค้าขายกับชายแดนต่ำ การใช้เงินภาคสาธารณะต่ำ Low Public spending 

 

 

ที่สำคัญที่สุดจะต้องแข่งขันกับโลกการศึกษาสำคัญที่สุดจะรีบเร่งการลงทุนภาคเอกชน ชะลอการลงทุนเกือบถึงขั้นหยุดชะงักมาหลายปี(Reluctance)  

 

แรงงานมีทักษะ ความรู้ต่ำ การปฏิรูปสถาบันการเงินยังมีขีดจำกัดในภาพรวมทางเศรษฐกิจ  การขาดแคลนแรงงานทีมีความสามารถเป็นข้อจำกัดในการลงทุน Skill Labor นอกจากนี้ จุดอ่อนของประเทศไทยคือ Staff นักบริหารอ่อน องค์ความรู้เพื่ออนาคต อ่อน IT  

 

การใช้แรงงาน เช่น โรงงานทอผ้า ธุรกิจ Garment รองเท้าฯ ได้สูญเสีย Competitive edge ให้แก่ประเทศจีนและเวียดนามไปแล้ว และ 2 ประเทศนี้ได้พัฒนาการศึกษา เทคโนโลยีอย่างรวดเร็วนำหน้าประเทศไทยไป  สิ่งเหล่านี้ เป็นเรื่องท้าทายรัฐบาลทุกยุคสมัย เป็นเรื่องท้าทายวิสัยทัศน์ ความคิด การกระทำของกลุ่มสมัชชาต่าง ๆ  

 

ประชาชนทุกส่วน ควรต้องสมานทฉันท์ ช่วยเหลือกันและกัน เพื่อชาติจริง ๆ ร่วมมือกันช่วยรัฐบาลในการพัฒนาประเทศให้สำเร็จ   ยุติความขัดแย้ง หันมาแก้ปัญหาประชาธิปไตยด้วยความสงบสุข เคารพในศักดิ์ศรี ในศักยภาพของคนทุกคน ต้องเชื่อว่าคนทุกคนมีคุณค่าทั้งสิ้น ไม่มองใครต่ำ ใครสูง 

 

 

คณะรัฐมนตรี ต้องเร่งบริหารประเทศให้พ้นภัย ให้บรรลุเป้าหมายสูงสุด ด้วยการทำงาน Fast, smart to meet highest Standard วิสัยทัศน์ของชาติต้องชัดเจน ไม่ทำลาย ไม่กล่าวร้ายใคร สนองแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง และแนวคิดขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของเรา   

 

รัฐบาลใด ชาติใดก็ตามถ้าเริ่มต้นบริหารชาติด้วนดี พลีอุดมการณ์ให้ชาติ เพื่อคนรุ่นหลัง  เพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่ชาติแล้วนั้น นั่นคืออนุสาวรีย์ที่ปักแน่นในจิตวิญญาณของคนทั้งประเทศ 
สำหรับผม ถึงแม้ว่าจะไม่เกี่ยวกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็จะทำหน้าที่ต่อไปในฐานะประชาชนคนหนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของการให้ความรู้ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง

 

ผมคิดว่า สิ่งที่ ศ.ดร.จีระ ทำอยู่ เป็นงานพัฒนาทรัยพากรมนุษย์ที่แท้จริงในทุกระดับ ทั้งในและต่างประเทศ   รัฐบาลและองค์กรพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระดับโลก ควรให้การสนับสนุน ทั้งทางตรงและทางอ้อม  นักศึกษา ลูกศิษย์ ของอาจารย์ หากมีโอกาส ก็ควรเข้ามาช่วยสนับสนุนอาจารย์ทำตรงนี้ ด้วยความมีอุดมการณ์ ความมีชาตินิยม และเรียนรู้วิถี แนวทางของ ศ.ดร.จีระ เพื่อต่อยอด เป็นแนวร่วมอุดมการณ์  
สัปดาห์ที่ผ่านมาผมมีงาน 3 เรื่องที่จะเล่าให้ฟัง
เรื่องแรก ซึ่งทำเป็นประจำทุกปี คือ ค่ายผู้นำเยาวชน Knowledge camping ให้แก่นักเรียนเทพศิรินทร์และโรงเรียนในเครือทั้ง 7 โรงเรียน จำนวน 120 คน ครั้งนี้เป็นปีที่ 8 แล้ว ในปีนี้เน้นในพระอัจฉริยภาพด้านต่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น ภาวะผู้นำ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น มีวิทยากรรับเชิญซึ่งเป็นนักเรียนเก่าที่มีชื่อเสียงหลายท่านมาร่วมแบ่งปันความรู้ เช่น
-
หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง เป็นองค์ประธานในพิธีและปาฐกถาพิเศษเรื่อง "โครงการหลวง"
-
ฯพณฯ พล.อ.ต.กำธน สินธวานนท์ บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านพลังงาน"
-
ดร.ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรีและกีฬา"
-
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ"
ค่าย Knowledge camping นี้เป็นค่ายที่สร้างและพัฒนาภาวะผู้นำให้กับนักเรียน ให้เด็กมีความคิดกว้างไกล คิดเป็น กล้าแสดงออก เด็กจะได้รับการพัฒนาความคิดจากโจทย์ "ประเทศไทยในอีก 20 ปีข้างหน้า" ซึ่งเป็นการเตรียมพร้อมที่จะเติบโตเป็นผู้นำของชาติในอนาคต

 

 

อาจารย์ทำ Knowledge camping เป็นประโยชน์ในการสร่างเยาวชน ให้เป็นผู้นำในอนาคต การปฏิรูปการศึกษาบ้านเรา ควรมีวิธีการเรียนรู้แบบนี้ สอดใส่เข้าไปในการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ระดับประถมฯ ถึง มหาวิทยาลัยถ้าทำได้ ผมเชื่อว่าเราจะมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพในอนาคต เป็นการสร้างคนไว้สร้างชาติไทยให้เข้มแข็ง ยั่งยืนยิ่งขึ้น

อีกงานหนึ่งเป็นงาน India-Thai Business Forum ซึ่งเป็นชมรมนักธุรกิจชั้นนำของอินเดียในประเทศไทย ผมภูมิใจที่เขาสนใจงาน HRD ของ APEC ของผม แต่แทนที่จะมองเฉพาะ APEC เขามองถึงความร่วมมือระหว่างอินเดียกับ APEC ในอนาคต
ผมคิดว่าเรื่อง HRD กับอินเดียน่าจะมี 3 เรื่อง
1.
การแลกเปลี่ยนครูทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และ IT โดยให้อินเดียส่งครูมาช่วย
2.
การส่งครูไทยไปสอนเรื่อง การบริการ Service sector และการท่องเที่ยว
3.
จัดให้เกิดธุรกิจร่วมกัน เช่น E-learning

ผมคิดว่ารัฐบาลของนายกฯสุรยุทธ์ ยังคงสนับสนุนแนวคิดการจัดตั้ง ACD HRD Center ขึ้น เพื่อให้เอเชีย ซึ่งมีอินเดีย จีน ญึ่ปุ่น ไทย และประเทศในตะวันออกกลางรวย ๆ เช่น โอมาน คูเวต มาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของคนเอเชียด้วยกัน แทนที่จะไปเรียนจากตะวันตก ซึ่งผมได้รับมอบหมายจากรัฐบาลชุดที่แล้วให้ดำเนินการ และได้รับการเห็นชอบในหลักการแล้ว 

 

ประเด็นนี้ ผมเสนอ ศ.ดร.จีระ เรื่อง การร่วมมือระหว่างอินเดียกับไทยและ APEC ในเรื่องการให้ความร่วมมือเรื่อง การพัฒนาความรู้ด้านภาษาอังกฤษ ให้แก่ครูและนักเรียนในชนบทยากจน ทำอย่างไรให้เด็กไทยพูดภาษาอังกฤษได้เหมือนเด็กอินเดีย  IT CITY ของอินเดีย เป็นตัวอย่างที่ดี และน่าสนใจร่วมมือกันในเรื่องการบริหาร Talent people การแลกเปลี่ยน นักศึกษา ป.โท ป.เอก ในด้านพลังงานเพื่ออนาคต การวิจัยปัญหาของโลก ปัญหาของ APEC เช่น ด้านการป้องกันภัยวิบัติของโลก Global warming เป็นต้น   
นอกจากนี้ ผมได้รับเชิญจากมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ไปบรรยายเรื่อง คิดแบบ CEO ในยุคสมัยใหม่ ผมชอบหัวข้อที่เขาตั้ง เพราะ CEO ต้องคิดเป็นถึงจะสำเร็จ จึงแนะนำวิธีการคิดไป 3 วิธีคือ
-
ทฤษฎี 4 L's ของผม
- 5 Disciplines
ของ Peter Senge
-
และ 6 Thinking hats ของ Edward de Bono
เน้นว่าแต่ละแบบสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้โดยมองจากสถานการณ์ความจริงของแต่ละองค์กร มีจุดที่น่าสนใจคือ ยุคใหม่ CEO ต้องไม่เก่งคิดคนเดียว ต้องให้ผู้ร่วมงานคิดเป็นด้วย

 

คิดแบบ CEO ที่เป็นเลิศ ควรต้องคิดโดยใช้สมองทั้งสองด้าน ทั้งซีกซ้ายและขวาด้วย คือต้องมองอะไรได้ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ ไม่มองแนวคิดตะวันตกดีเลิศ หรือมองแนวคิดตะวันออกแบบติดลบ ต้องคิดบูรณาการทั้งตะวันออก และตะวันตกเข้าด้วยกัน จะได้จุดแข็งทั้งสองซีกโลกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม เป็นต้น


 

คำถามคือ จะทำอย่างไร ในประเทศไทย เราเสียเปรียบตั้งแต่ระบบการศึกษา เพราะเราไม่มีการกระตุ้นให้นักเรียนสนใจที่จะแลกเปลี่ยนความรู้ เราให้นักเรียนลอกความคิดของอาจารย์

 

ผมคิดว่า เอาแนวคิดของ ศ.ดร.จีระ มาเป็นส่วนหนึ่งในการปฏิรูปการเรียนการสอน การศึกษาของบ้านเราโดยเร็ว ผมสังเกตเห็นอาจารย์ทำแล้วได้ผล อาจารย์สามารถขุดความสามารถของนักเรียน นักศึกษาได้ อาจารย์ทำให้คนที่ไม่ค่อยพูดซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนเก่ง ได้มีโอกาสได้เก่งขึ้น ได้แชร์ความรู้ ได้ปะทะกันทางปัญญา เหมือนพระสนทนาธรรม เหมือนจอมยุทธ์ได้ปะลองฝีมือ ฝีมือย่อมพัฒนาขึ้นได้แน่นอน

 

และที่สำคัญคือครู อาจารย์ CEO ทั้งหลายควรเรียนรู้วิธีการมองคน ของ ศ.ดร.จีระ ว่าท่านทำอย่างไรจึงมีสายตาที่เฉียบคม มองในสิ่งที่ CEO หรือผู้นำ บางคนมองไม่เห็น ครับ 

 

สุดท้ายฝากไว้Brain Power  “We live in the world where almost anything is a new possibility. The nature of work is changing. It is becoming increasingly brain intensive, value oriented, and unpredictable.   Skilled brain power is replacing disciplined muscle power. 

 

We want everyone to be seen as an achiever, an innovator, a seeker of the unknown to build a better world together.  The effective development of brain power within a nation will decide the prosperity of the country in the future.”   
ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์ช่อง 11 ชื่อรายการสู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และ รายการเศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ทุกวันเวลา 22.40 น. – 22.45 น.นอกจากนี้ ยังออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/  เชิญท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ        
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน                 
ยม  
นักศึกษาปริญญาเอก  
รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฏีบัณฑิต  
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ ควรรับฟังข้อคิดเห็นอดีตนายกฯชวน"(ปรับปรุงใหม่)
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน
  

วันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2549  ผมมีกิจกรรม สัมมนา ภาวะผู้นำโลก(Seminar on Global Leadership) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน ในหลักสูตร ป.เอก ผมออกเดินทางแต่เช้า เพื่อจะไปร่วม สภากาแฟก่อนมีการสัมมนา จึงส่งข้อควานี้มาช้ากว่าปกติที่เคยทำ หลังจากเขียนเสร็จแล้ว รู้สึกว่า บรรยากาศรอบตัวมีผลต่อการเขียนมาก ไม่ค่อยมีสมาธิเหมือนเขียนเงียบ ๆ ในมุมธรรมชาติ

 

อย่างไรก็ตาม ผมอ่านบทความบทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ” จาก Interent ซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่องว่า ในบทความนี้ ศ.ดร. จีระ เขียนเรื่อง ควรรับฟังข้อคิดเห็นอดีตนายกฯชวน ผมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม โดยใช้ข้อความข้างล่างนี้ แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ 

 

  เวลาผ่านไปแล้ว 5 สัปดาห์ เหตุการณ์ต่าง ๆ ได้เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วและคาดไม่ถึง หลายอย่างดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็มีปัจจัยหรือมีข้อมูลใหม่ๆเพิ่มเติมเสมอ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี ต้องใช้นโยบาย
Listen and Learn
อย่างมาก และต้องมีความอดกลั้น ที่จะต้องรับฟัง หากมีประโยชน์จึงนำไปปฏิบัติ  
ในความเห็นส่วนตัว ผมคิดว่าเรื่องการ Listen and Learn ที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวไว้ สำคัญต่อการเป็นผู้นำยุคใหม่อย่างมาก
ผมคิดว่า Competency หรือ สมรรถนะของผู้นำยุคใหม่จะเกี่ยวข้องกับสมรรถนะในการ  
  • Link หมายถึง ขีดความสามารถในการสร้างเครือข่าย ความสัมพันธ์ต่อทรัพยากรมนุษย์ โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อเนื่อง เชิงสร้างสรรค์
  • Listen หมายถึง ขีดความสามารถในการฟังผู้อื่น ไม่เอาแต่สังการ ควบคุม แต่ฝ่ายเดียว การฟัง ด้วยเหตุ ด้วยผล ด้วยสติปัญญา จะทำให้เกิดแนวคิดใหม่ ๆ ได้
  • Learn   หมายถึงขีดความสามารถในการเรียนรู้สรรพสิ่งทั้งหลาย เรียนรู้จากเหตุการณ์ สถานการณ์ที่เกิดขึ้น เรียนรู้ถึงความสำเร็จ ความล้มเหลว ในอดีต ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต เป็นต้น 

ในอดีต การสรรหา คัดเลือกผู้นำ CEO ในองค์กร มักจะแสวงหาผู้นำที่มีความสามารถในการทำงาน ถือว่าเก่ง ครับ แต่ในยุคปัจจุบันและอนาคตแนวคิดนั้นได้เปลี่ยนมาแสวงหาผู้นำที่มีความสามารถในการ Link, Listen and Learn เพื่อต้องการหาผู้นำที่สามารถบริหารการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผมคิดว่า ความคิดและข้อเสนอแนะของอดีตนายกฯ ชวน หลีกภัยที่ติงการทำงานของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ น่าสนใจ คือจะต้องอธิบายจุดอันตรายของ "ระบบทักษิณ" ให้ประชาชนได้รับทราบและเข้าใจอย่างแท้จริง เพราะใน 5 ปีที่ผ่านมา ประชาชนที่ยากจนอาจจะคิดไม่ครบถ้วน และไม่เข้าใจ ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นจะต้องทำ ควรอธิบายด้วยข้อมูลและข้อเท็จจริง อาจจะต้องดึงเอาภาคประชาสังคมที่เป็นกลาง มาช่วยอธิบายเพื่อเสริมรัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเพื่อให้ทั่วถึง ระยะนี้ ยังมีข่าวความไม่สงบหรือคลื่นใต้น้ำอยู่ ซึ่งคงจะไม่ใช่ของแปลกอะไร เพราะมีผู้เสียผลประโยชน์มาก คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติจะต้องบริหารและจัดการสิ่งเหล่านี้อย่างรอบคอบ เหมาะสมและสมานฉันท์  
ดูเหมือนว่า นายกฯสุรยุทธ์ จุลานนท์ ทำหน้าที่เหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ได้เชิญหัวหน้าพรรคการเมืองมามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นจุดที่สำคัญ การยกย่องให้เกียรติทุกกลุ่มในสังคมเป็นเรื่องที่ดีและเหมาะสม
ส่วนกลุ่มพันธมิตรก็เช่นกัน คงจะต้องอดทนและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเหมือนเดิม ขออย่าท้อใจ ถึงกับจะลาออกจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งไม่เป็นผลดี คงจะต้องช่วยกันตรวจสอบต่อไป   

ในความเห็นส่วนตัวของผมคิดว่า  ในสายตาของประชาชนคงเข้าใจว่า คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี เป็นบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิ โดยเฉพาะท่านนายกรัฐมนตรี เป็นที่รักและเคารพ อย่างสูง เป็นองคมนตรีของชาติ การที่ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี จะพูด จะทำอะไร จึงเป็นสิ่งที่อาจจะมีผลกระทบถึงตัวท่านนายกรัฐมนตรีได้
การฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น การ Link, Listen and Learn เป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายควรทำ ทุกฝ่ายควร Know our situation! และร่วมกันประกอบภารกิจด้วยความรอบคอบ ระมัดระวังกันทุกฝ่าย เหตุการณ์ภาคใต้ รุนแรงมากขึ้น เราจะสามารถกู้สถานการณ์ได้หรือไม่

Can we fix! Broken Government?

Can we fix! The national disunity?

เป็นสิ่งที่คนไทยจะต้องสมานฉันท์ ร่วมมือกัน ผมเชื่อว่า ปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นในบ้านของเรา ย่อมแก้ไขได้ด้วยคนในบ้านของเราเช่นกัน  

 

ประเทศไทยจะต้อง Compete international เพื่อที่จะลดความยกจนลง Economic growth ควรจะต้อง ได้ 6% GDP 

 

ขณะนี้ เราเผชิญปัญหาหลายอย่าง ผมในฐานะคนไทยด้วยกัน ขอแสดงความเห็นใจรัฐบาล และผู้รับอาสาเข้ามาบริหารบ้านเมือง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีคนจน 60% อีสานเป็นภาคที่จนที่สุดในประเทศ ทรัพยากรมนุษย์ส่วนใหญ่ขาดคุณภาพ ด้อยโอกาสทางการศึกษาและอาชีพ ทั้งที่เป็นคนดีมีน้ำใจ 
อีสานเป็นดินแดนไม่สมบูรณ์เหมือนภาคกลาง ไม่มีทางออกทะเล ดินฟ้าอากาศมีผลต่อการประกอบอาชีพ ผลผลิตเกษตรต่อไร่ตกต่ำ การติดต่อค้าขายกับชายแดนต่ำ การใช้เงินภาคสาธารณะต่ำ Low Public spending  อาชีวอนามัยแม่และเด็กยังคงมีปัญหา ส่งผลต่อสมองและความฉลาดของเด็กไทยในอีสาน

 

ที่สำคัญที่สุดเราหนีไม่พ้นที่จะต้องแข่งขันกับโลก  การศึกษาสำคัญที่สุดควรจะต้องรีบเร่งแก้ไขปรับปรุง

 

การลงทุนภาคเอกชน ชะลอการลงทุนเกือบถึงขั้นหยุดชะงักมาหลายปี(Reluctance) แนวโน้มจะมีมากขึ้นหรือน้อยลง ผมไม่แน่ใจ 

 

แรงงานมีทักษะ ความรู้ต่ำ แรงงานต่างด้าวคุณภาพต่ำเข้ามาผสมผสานมากขึ้นมีทั้งถูกต้องไม่ถูกต้อง
การปฏิรูปสถาบันการเงินยังมีขีดจำกัดในภาพรวมทางเศรษฐกิจ  การขาดแคลนแรงงานทีมีความสามารถเป็นข้อจำกัดในการลงทุน Skill Labor
นอกจากนี้ จุดอ่อนของประเทศไทยประการหนึ่งคือ Staff นักบริหารอ่อน องค์ความรู้เพื่ออนาคต อ่อน IT ควรต้องมีแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

 

จุดแข็งในการใช้แรงงานราคาถูกของไทย เช่น โรงงานทอผ้า ธุรกิจ Garment รองเท้าฯ ได้สูญเสีย Competitive edge ให้แก่ประเทศจีนและเวียดนามไปแล้ว และ 2 ประเทศนี้ได้พัฒนาการศึกษา เทคโนโลยีอย่างรวดเร็วนำหน้าประเทศไทยไป  
สิ่งเหล่านี้ เป็นเรื่องท้าทายรัฐบาลทุกยุคสมัย เป็นเรื่องท้าทายวิสัยทัศน์ ความคิด การกระทำของกลุ่มสมัชชา และความร่วมมือของคนไทยทั้งชาติ  

 

ประชาชนทุกส่วน ควรเพิ่มและส่งเสริมความสมานทฉันท์ ช่วยเหลือกันและกัน เพื่อชาติจริง ๆ ร่วมมือกันช่วยรัฐบาลในการพัฒนาประเทศให้สำเร็จ   ยุติความขัดแย้ง หันมาแก้ปัญหาประชาธิปไตยด้วยความสงบสุข เคารพในศักดิ์ศรี ในศักยภาพของคนทุกคน ต้องเชื่อว่าคนทุกคนมีคุณค่าทั้งสิ้น ไม่มองใครต่ำ ใครสูง 

 

 

คณะรัฐมนตรี ต้องเร่งบริหารประเทศให้พ้นภัย ให้บรรลุเป้าหมายสูงสุด ด้วยการทำงาน Fast, smart to meet highest Standard
วิสัยทัศน์ของชาติต้องชัดเจน และยั่งยืน เน้นความสงบสุขของบ้านเมือง และประโยชน์ของประชาชน ไม่ทำลาย ไม่กล่าวร้ายใคร อะไรก็ตามที่เป็นอุปสรรคสร้างและพัฒนาชาติควรขจัดออกไป ควรต้องสนองแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง และแนวคิดขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของเรา   ผสมผสานบูรณาการแนวคิดทางการบริหาร ทฤษฎีอื่น ๆ ทั้งแนวพุทธศาสตร์ อิสราม คริสต์ฯ มาพัฒนาชาติของเราให้เข้มแข็งโดยเร็ว

 

รัฐบาลใด ชาติใดก็ตามถ้าเริ่มต้นบริหารชาติด้วยดี พลีอุดมการณ์ให้ชาติ เพื่อคนรุ่นหลัง  เพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่ชาติแล้วนั้น นั่นคืออนุสาวรีย์ที่ปักแน่นในจิตวิญญาณของคนทั้งประเทศ 

สำหรับผม ถึงแม้ว่าจะไม่เกี่ยวกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็จะทำหน้าที่ต่อไปในฐานะประชาชนคนหนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของการให้ความรู้ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง

 

ผมคิดว่า สิ่งที่ ศ.ดร.จีระ ทำอยู่เป็นแบบอย่างที่ดีที่ผมประทับใจ อาจารย์เป็นกลาง มีคุณธรรม มีอุดมการณ์ มีเสียสละ เพื่อส่วนรวม อาจารย์ทำงานที่มีประโยชน์กับสังคม โดยหวังให้ผู้อื่นเป็นสุข หวังให้ชาติเจริญ เป็นงานพัฒนาทรัยพากรมนุษย์ที่แท้จริงในทุกระดับ ทั้งในและต่างประเทศ   สมกับเป็น HR สายพันธ์แท้  รัฐบาลและองค์กรพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทุกระดับ ควรให้การสนับสนุน ทั้งทางตรงและทางอ้อม  
นักศึกษา ลูกศิษย์ ของอาจารย์ หากมีโอกาส ก็ควรเข้ามาช่วยสนับสนุนอาจารย์ ทุกรูปแบบ ด้วยความมีอุดมการณ์ ความมีชาตินิยม และเรียนรู้วิถี แนวทางของ ศ.ดร.จีระ เพื่อต่อยอด เป็นแนวร่วมอุดมการณ์ ครับ

สัปดาห์ที่ผ่านมาผมมีงาน 3 เรื่องที่จะเล่าให้ฟัง
เรื่องแรก ซึ่งทำเป็นประจำทุกปี คือ ค่ายผู้นำเยาวชน Knowledge camping ให้แก่นักเรียนเทพศิรินทร์และโรงเรียนในเครือทั้ง 7 โรงเรียน จำนวน 120 คน ครั้งนี้เป็นปีที่ 8 แล้ว ในปีนี้เน้นในพระอัจฉริยภาพด้านต่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น ภาวะผู้นำ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น มีวิทยากรรับเชิญซึ่งเป็นนักเรียนเก่าที่มีชื่อเสียงหลายท่านมาร่วมแบ่งปันความรู้ เช่น
-
หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง เป็นองค์ประธานในพิธีและปาฐกถาพิเศษเรื่อง "โครงการหลวง"
-
ฯพณฯ พล.อ.ต.กำธน สินธวานนท์ บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านพลังงาน"
-
ดร.ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรีและกีฬา"
-
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ"
ค่าย Knowledge camping นี้เป็นค่ายที่สร้างและพัฒนาภาวะผู้นำให้กับนักเรียน ให้เด็กมีความคิดกว้างไกล คิดเป็น กล้าแสดงออก เด็กจะได้รับการพัฒนาความคิดจากโจทย์ "ประเทศไทยในอีก 20 ปีข้างหน้า" ซึ่งเป็นการเตรียมพร้อมที่จะเติบโตเป็นผู้นำของชาติในอนาคต

 

 

ที่ ศ.ดร.จีระ ทำ Knowledge camping นี้ ผมเห็นว่า เป็น Good Model ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อย่างมาก เป็นประโยชน์ในการสร่างเยาวชน ให้เป็นผู้นำในอนาคต
การปฏิรูปการศึกษาบ้านเรา ควรมีวิธีการเรียนรู้แบบนี้ สอดใส่เข้าไปในการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ระดับประถมฯ ถึง มหาวิทยาลัย และถ้าทุกสถานบันการศึกษาทำได้ ผมเชื่อว่าเราจะมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพในอนาคตมากพอ เป็นการสร้างคนเพื่อสร้างชาติไทยให้เข้มแข็ง ยั่งยืนยิ่งขึ้น

อีกงานหนึ่งเป็นงาน India-Thai Business Forum ซึ่งเป็นชมรมนักธุรกิจชั้นนำของอินเดียในประเทศไทย ผมภูมิใจที่เขาสนใจงาน HRD ของ APEC ของผม แต่แทนที่จะมองเฉพาะ APEC เขามองถึงความร่วมมือระหว่างอินเดียกับ APEC ในอนาคต
ผมคิดว่าเรื่อง HRD กับอินเดียน่าจะมี 3 เรื่อง
1.
การแลกเปลี่ยนครูทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และ IT โดยให้อินเดียส่งครูมาช่วย
2.
การส่งครูไทยไปสอนเรื่อง การบริการ Service sector และการท่องเที่ยว
3.
จัดให้เกิดธุรกิจร่วมกัน เช่น E-learning

ผมคิดว่ารัฐบาลของนายกฯสุรยุทธ์ ยังคงสนับสนุนแนวคิดการจัดตั้ง ACD HRD Center ขึ้น เพื่อให้เอเชีย ซึ่งมีอินเดีย จีน ญึ่ปุ่น ไทย และประเทศในตะวันออกกลางรวย ๆ เช่น โอมาน คูเวต มาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของคนเอเชียด้วยกัน แทนที่จะไปเรียนจากตะวันตก ซึ่งผมได้รับมอบหมายจากรัฐบาลชุดที่แล้วให้ดำเนินการ และได้รับการเห็นชอบในหลักการแล้ว 

 

ประเด็นนี้ ผมขอเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติมครับ สิ่งที่ ศ.ดร.จีระ ทำเรื่อง การร่วมมือระหว่างอินเดียกับไทยและ APEC เป็นสิ่งที่น่าสนใจ ไม่ธรรมดาเลย  ทำให้คนอินเดียประทับใจและทึ่งคนไทยไปอีกนานด้วยความสามารถของ ศ.ดร.จีระ
ผมเสนอเพิ่มเติมว่า การร่วมมือระหว่างอินเดียกับไทยและ APEC น่าจะมีอีกหลายเรื่องที่ทำได้และจะเป็นประโยชน์กับไทยมาก เช่น ในเรื่องการให้ความร่วมมือเรื่องการพัฒนาความรู้ด้านภาษาอังกฤษ ให้แก่ครูและนักเรียนในชนบทยากจน ทำอย่างไรให้เด็กไทยพูดภาษาอังกฤษได้เหมือนเด็กอินเดีย  
IT CITY ในรัฐบังกาลอร์ ของอินเดีย เป็นตัวอย่างที่ดี ในเรื่องการบริหาร Talent people การแลกเปลี่ยน นักศึกษา ป.โท ป.เอก ในด้านพลังงานเพื่ออนาคต การวิจัยปัญหาของโลก ปัญหาของ APEC เช่น ด้านการป้องกันภัยวิบัติของโลก Global warming การป้องกันการก่อการร้ายข้ามชาติ การอนุรักษ์วัฒนธรรม ไทย อินเดีย การส่งเสริมและปฏิบัติตามหลักศาสนา เป็นต้น ครับ

นอกจากนี้ ผมได้รับเชิญจากมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ไปบรรยายเรื่อง คิดแบบ CEO ในยุคสมัยใหม่ ผมชอบหัวข้อที่เขาตั้ง เพราะ CEO ต้องคิดเป็นถึงจะสำเร็จ จึงแนะนำวิธีการคิดไป 3 วิธีคือ
-
ทฤษฎี 4 L's ของผม
- 5 Disciplines
ของ Peter Senge
-
และ 6 Thinking hats ของ Edward de Bono
เน้นว่าแต่ละแบบสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้โดยมองจากสถานการณ์ความจริงของแต่ละองค์กร มีจุดที่น่าสนใจคือ ยุคใหม่ CEO ต้องไม่เก่งคิดคนเดียว ต้องให้ผู้ร่วมงานคิดเป็นด้วย

 

ผมขอเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติมที่อาจจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านว่า การคิดแบบ CEO ที่เป็นเลิศ ควรต้องคิดโดยใช้สมองทั้งสองด้าน ทั้งซีกซ้ายและขวาด้วย คือต้องมองอะไรได้ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ เช่น ไม่คิดว่าแนวคิดตะวันตกดีเลิศ มองแนวคิดตะวันออกแบบติดลบ ต้องคิดบูรณาการทั้งตะวันออก และตะวันตกเข้าด้วยกัน จะได้จุดแข็งทั้งสองซีกโลกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม เป็นต้น

 

คำถามคือ จะทำอย่างไร ในประเทศไทย เราเสียเปรียบตั้งแต่ระบบการศึกษา เพราะเราไม่มีการกระตุ้นให้นักเรียนสนใจที่จะแลกเปลี่ยนความรู้ เราให้นักเรียนลอกความคิดของอาจารย์

 

ผมคิดว่า การปฏิรูปการเรียนการสอน การศึกษาของบ้านเรา  น่าจะนำแนวคิด แนวปฏิบัติ ของ ศ.ดร.จีระ มาเป็นส่วนหนึ่งใน

ในการพัฒนาระบบการศึกษา

 

ผมสังเกตเห็นว่า อาจารย์ทำแล้วได้ผล อาจารย์สามารถขุดความสามารถของนักเรียน นักศึกษาได้ อาจารย์ทำให้นักเรียน นักศึกษาจำนวนมาก (ในเวลาที่จำกัด) ที่ไม่ค่อยพูดซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนเก่ง ได้มีโอกาสได้แสดงความเก่งขึ้นมาอย่างน่าทึ่ง ให้นักเรียน นักศึกษาได้แชร์ความรู้ ได้ปะทะกันทางปัญญา เหมือนพระสนทนาธรรม เหมือนจอมยุทธ์ได้ปะลองฝีมือ ปัญญาย่อมเกิด ฝีมือย่อมพัฒนาขึ้นได้แน่นอน

 

และที่สำคัญคือท่านที่สนใจวิธีการมองคนที่เป็นเลิศ ของ ศ.ดร.จีระ ว่าท่านทำอย่างไรจึงมีสายตาที่เฉียบคม มองเห็นในสิ่งที่ CEO ผู้นำ หรือคนอื่น มองไม่เห็น อาจารย์มีเทคนิคในการมองลูกศิษย์ทุกระดับ ได้เหมือนมีแว่นวิเศษ ครับ สุดท้ายก่อนจบการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นวันนี้ ผมฝากไว้เกี่ยวกับ  Brain Power 
 “We live in the world where almost anything is a new possibility. The nature of work is changing. It is becoming increasingly brain intensive, value oriented, and unpredictable.   Skilled brain power is replacing disciplined muscle power. 

 

We want everyone to be seen as an achiever, an innovator, a seeker of the unknown to build a better world together.  The effective development of brain power within a nation will decide the prosperity of the country in the future.”   
ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์ช่อง 11 ชื่อรายการสู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และ รายการเศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ทุกวันเวลา 22.40 น. – 22.45 น.นอกจากนี้ ยังออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/  เชิญท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ        
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน     
            
ยม  
นักศึกษาปริญญาเอก 
รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฏีบัณฑิต
สวัสดีครับ ศ. ดร. จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่านจากการที่ได้ติดตามรายการ โลกาภิวัฒน์กับเศรษฐกิจพอเพียง ทางช่อง 11 ที่เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2549 เป็นต้นมานั้น ซึ่งวาทะของแต่ละท่านที่ร่วมรายการมีประโยชน์อย่างยิ่ง ไม่ว่าจะวาทะของ ศ.ดร.จีระ หงษ์ลดารมย์ที่ว่า ความพอเพียงนั้นไม่ได้หมายความว่าไม่พัฒนาก็ดี หรือวาทะของท่านประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ก็ดี วาทะของท่าน ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล ผู้ที่คร่ำวอดและผู้รับสนองพระราชดำริเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงของเราก็ดี หรือแม้แต่ท่าน ศ.นพ. เกษม วัฒนชัย องคมนตรี รวมทั้งวาทะท่าน ดร. จิรายุ อิศรางกูรฯ และท่านโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัฐ ก็ดี ซึ่งแต่ละท่านล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างลึ้งซึ้ง หลักเศรษฐกิจพอเพียง” (Sufficiency Economy) เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดรวมถึงการพัฒนาและบริหารประเทศ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ ทางสายกลาง คำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ (ที่มา : www.sufficiencyeconomy.org)

ซึ่งแม้กระทั่งฝรั่งมังค่า อย่างมาร์ติน มีลเลอร์ ชาวอังกฤษที่มาลงหลักปักฐาน ลงมือนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้อย่างเอาจริงเอาจังในจังหวัดขอนแก่น ก็เข้าใจอย่างถ่องแท้กับระบบเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับโดยส่วนตัวผมมีความเห็นว่า หลักเศรษฐกิจพอเพียงนั้น หาใช่การแบ่งแยกระหว่าง คนจนกับ คนรวย ไม่ หาใช่การหยุดความเจริญก้าวหน้า การพัฒนา รวมทั้งการแข่งขันไม่ หากแต่ หลักเศรษฐกิจพอเพียง นั้น เป็นการนำหลักการบริหารที่เรา ๆ ท่าน ๆ ได้ยินอยู่เนือง ๆ และปฏิบัติเป็นประจำก็คือ P-D-C-A คือ

 P=Plan คือการวางแผนอย่างเป็นระบบ โดยวิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอกของตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศ ที่เราเรียกว่า “SWOT Analysis” หรือเป็นการตรวจสอบตนเองจน รู้เขา รู้เรา นั่นเอง แล้วจึงตัดสินใจเลือกเส้นทางการเดินของตนเองอย่างรอบคอบ ก็คือ D = Do การลงมือปฏิบัติให้เกิดเป็นรูปธรรมสำเร็จตามเป้าหมายที่ไม่เกินตัว ไม่ไกลเกินกว่าจะเอื้อมถึง หรืออาจจะเทียบได้กับภาษิตที่ว่า เห็นช้างขี้ อย่าขี้ตามช้าง นั่นเอง รวมทั้งหมั่นตรวจสอบผลการทำงานของตนเอง (C=Check) อยู่เสมอ ๆ โดยไม่ต้องให้ใครมาคอยติดตามตรวจสอบเพื่อให้สามารถประคองตนเองให้เข้มแข็ง อยู่รอดและเติบโตได้ภายใต้ความโปร่งใส มีคุณธรรม จริยธรรม (Good Governance) ในการอยู่ร่วมกัน และหากมีมื่อพบว่าสถานการณ์ใด ๆ เกิดการเปลี่ยนแปลง ทั้งทางการบริหารหรือการประกอบสัมมาอาชีพของตนเองไม่ว่าในภาคเกษตร ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาคมโลกก็ตาม เราก็สามารถปรับเปลี่ยนแผนการทำงาน โดยวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุหรือผลกระทบที่แท้จริง ถ้าใช้หลักวิชาการหน่อยก็อาจวิเคราะห์โดยใช้ผังก้างปลา (Fish Bone Diagram) ไม่ว่าเป็นก้าง 4 M คือ Man Machine Money หรือ Method หลักนี้ก็ยังใช้ได้อยู่ ถ้าเราเข้าใจและนำมาใช้อย่างจริงจัง เมื่อเรารู้ว่าสถานการณ์เป็นเช่นไร ตัวเราเป็นเช่นไรแล้ว และทิศทางต่อไปของเราเป็นเช่นไร เราก็สามารถดำเนินการ (A=Act) ต่อไปได้อย่างรอบคอบ และเราจะอยู่รวดและเติบโตได้อย่างมั่นคง ซึ่งผมแม้ว่าหลายท่านอาจไม่เห็นด้วยกับทัศนะของผม ท่านผู้ทุกท่านอาจกำหนดแนวคิด ทิศทางของตนเองขึ้นมาได้ภายใต้ความหมายของ ทางสายกลาง คำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ นั่นแหละคือสิ่งซึ่งเรานำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างสมบูรณ์

สุดท้ายขอเชิญชวนทุกท่านได้ติดตามเรื่องราว "เศรษฐกิจพอเพียงกับโกภิวัฒน์" ต่อไปและร่วมแบ่งปันความรู้ต่อไปด้วยครับด้วยความปราถนาดีและเคารพยิ่งประจวบ ไกรขาวนักศึกษาปริญญาเอก รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตโทร. 08 1390 2390
เรียน ท่าน ศ.ดร. จีระ และชุมชนชาว Blog ที่เคารพทุกท่านเมื่อคืนนี้ (30 ต.ค.49) แม้รายการดี ๆ อย่างรายการ "เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัฒน์" ผมก็ตั้งใจนั่งรอดูซึ่งครั้งนี้ผู้ร่วมรายการอย่างคุณโชคชัย ลิ้มประดิษฐ์ ผู้ใหญ่บ้าน บ้านหนองกลางดง จ. ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นผู้ที่เรียนรู้จากการนำหลักปรัชญา "เศรษฐกิจพอเพียง" ไปใช้รวมทั้งสนับสนุนให้ชาวบ้านยึกหลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นที่น่ายินดี อันจะเป็นภูมิคุ้มกันที่ดี ชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น น่าเสียดายที่ช่วงเวลาของรายการนี้ดึกไปหน่อย หากไม่ดึกมากนัก คนในครอบครัวพ่อ แม่ ลูก ๆ รวมทั้งปู่ย่า ตายาย จะได้นั่งดูด้วยกันและปลูกฝังเด็ก ๆ ลูก ๆ หลาน ๆ ให้มีความตระหนักรู้ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งก็จะติดตัวลูกหลานต่อไป และที่สำคัญเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ จะมีโอกาสได้ปรับเปลี่ยนตัวเองให้เข้าซึ่งกันและกันได้ดีทั้งในบริบทของลูก พ่อแม่และปู่ย่าตายาย“เศรษฐกิจพอเพียง” จะต้องคำนึงถึง การถ่ายทอด แบ่งปันความรู้ ให้แก่กันและกัน หรือที่เรียกกัน “การจัดการความรู้ (Knowledge Management)” ซึ่งคนไทยเรานิยมการเล่าสู่กันฟัง ในขณะที่ชาวตะวันตกมักใช้วิธีการบันทึก ข้อดีก็คือมีหลักฐานขั้นตอน การลองผิดลองถูก จนได้เป็นวิธีการที่ดี (Best Practice) แต่จะไม่สะท้อนอารมณ์ ความรู้สึก และเจตนารมย์ของคนเล่าเรื่องราว ยกเว้นมีการบันทึกภาพและบันทึกเสียง เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้เรียนรู้นวัตกรรมเหล่านั้นได้เข้าใจอย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ด้วยความเคารพ

ประจวบ ไกรขาว

นักศึกษาปริญญาเอก รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต

ยม "เสนอความคิดเห็นต่อรายการ "เศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์"

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ น้องประจวบ และท่านผู้อ่านทุกท่าน 

ผมมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการ เศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์  เพิ่มเติม ดังนี้ ครับ  

ภาพรวมของการเผยแพร่ความรู้ เศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ (Unit over View) : ควรเน้นการดำรงชีวิตของผู้คนในปัจจุบัน ทุกสาขาอาชีพ นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ให้มีความรู้ มีทัศนคติ มีความคิด มีความเข้าใจว่า ถ้าจะให้มีความสุข  ความยั่งยืน จำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนการปฏิบัติตนตามแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียง อย่างไร

  เศรษฐกิจพอเพียง เป็นกระบวนทัศน์ใหม่ของการพัฒนาที่คำนึงถึงทุกสิ่งทุกอย่าง และจะช่วยให้รอดพ้นวิกฤตในปัจจุบัน  คำถามที่อาจจะใช้เป็นแนวทางในการจัดรายการ

·        "เราจะดำรงชีวิตในโลกนี้ได้อย่างไรจึงมีความสุข ความยั่งยืน?"

 

·        อะไรเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต?

 

·        เศรษฐกิจพอเพียงมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตอย่างไร ?

 

·        เศรษฐกิจพอเพียงปลูกฝังให้คนไทยเรียนรู้ตั้งแต่ประถมศึกษา ใช่หรือไม่หรือ  ควรจะบรรจุหลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียงเฉพาะในมหาวิทยาลัยหรือไม่ เพราะอะไร ?

 

·        เห็นด้วยหรือไม่ว่าน่าจะสร้างหลักสูตร เศรษฐศาสตร์บัณฑิต( เศรษฐกิจพอเพียง) ?

 

·        เศรษฐกิจพอเพียง  เด็กไทยได้อะไร อย่างไร ?

 

·        รูปแบบการเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจ เศรษฐกิจพอเพียงให้เยาวชน คนไทย รูปแบบในบ้าน รูปแบบในโรงเรียน รูปแบบในสถานประกอบการ รูปแบบในชุมชน ใน กทม…..มีอย่างไร?

 

·        บทบาทของนักบริหารในการนำเศรษฐกิจพอเพียงไปเผยแพร่ให้ลูกจ้างได้เรียนรู้ ใช่หรือไม่ ผู้บริหารควรทำอย่างไร?

 

·        การปฏิรูปการศึกษา วัฒนธรรม  บนฐานรากปรัชญาพอเพียง ควรทำหรือไม่ อย่างไร

  แต่ละคำถาม เชิญผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีประสบการณ์หลากหลาย ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ร่วมเสวนากัน พร้อมกับใช้ภาพสารคดีที่เกี่ยวข้องประกอบให้มาก ๆ และเปิดโอกาสให้ผู้สนใจ แสดงความคิดเห็นมาที่รายการ และมาที่ blog นี้ ครับ สวัสดี ยม
เรียน ท่าน ศ.ดร. จีระ พี่ยมและชุมชนชาว Blog ที่เคารพทุกท่านผมได้ติดตามรายการ "เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัฒน์" ซึ่งเมื่อวันที่ 31 ต.ค. เป็นสาระจาก ดร. กอบศักดิ์ ภูตระกูล รับราชการอยู่ในการธนาคารแห่งประเทศ ได้กล่าวถึงมุมมองว่า เศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้หมายความว่าไม่พัฒนา แต่เป็นการสร้างความสมดุลย์ ดูท่ประโยชน์เป็นหลัก Mega Project ต่าง ก็ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ดู้เงินหรืองบประมาณที่จะนำไปใช้จ่ายที่พอเหมาะพอควร ไม่ใช่หยุดการพัฒนา แต่ก็ไม่โตเร็วเกินไป และเมื่อได้ฟังทัศนะของท่าน ศ.ดร.จีระ ผ่านทางรายการ เวทีความคิด เมื่อคืนวันที่ 1 พ.ย.ที่ผ่านมานี้ ซึ่งท่านจัดรายการสดจากงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ จังหวัดเชียงใหม่  ในพื้นที่กว่า 470 ไร่ มีประเทศที่เข้างาน 33 ประเทศ รวมประเทศไทยโดยท่านกล่าวว่า หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อีกประการหนึ่งที่น่าสนใจและผมเองเห็นด้วยอย่างยิ่งก็คือ ทำอย่างไรให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถ่ายทอด แบ่งปันความรู้ด้านการเกษตรให้แก่กันและกัน ซึ่งบ้านเรามีคนดีคนเก่งเยอะแยะ แต่จะทำอย่างไรให้คนหนุ่มสาวหันมาทำอาชีพด้านการเกษตรทฤษฎีใหม่ ไม่ใช่ส่งเสริมให้เข้าไปเป็นลูกจ้างในเมืองใหญ่ หรือปลูกฝังให้เป็น เจ้าคนนายคน โดยเป็นลูกจ้างเขา แต่เราสามารถสร้างความมั่งคั่งได้จากอาชีพที่เป็นกระดูกสันหลังของชาติอย่างแท้จริง สำหรับความเห็นของผมแล้ว ผมเห็นว่า หน่วยงานด้านการเกษตรของรัฐต้องลงมาช่วยเหลือสนันสนุนให้ประชาชนที่เป็นรากหญ้า รากแก้ว หรือจะรากฝอยก็ตามที ให้เข้ามาชมงานนี้ แต่ที่สำคัญกว่านั้นก็คือ หน่วยงานที่รับผิดชอบซึ่งอาจจะเป็นหลาย ๆ หน่วยงานงานที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมมือกัน ทำงานเป็นทีม และมีการประเมินผลงานกันเป็นทีม (Team Base Performance) ต้องความรู้จากการเยี่ยมชมงานนี้ ไปวางแผน ดำเนินงานตามแผน รวมทั้งคอยกำกับ ติดตาม ช่วยเหลือชุมชน ชาวบ้านให้เห็นผลอย่างแท้ คือต้องดู้ทั้งผลผลิตที่ได้ (Output) และผลลัพธ์สุดท้ายในการทำงาน (Result) หรือแม้กระทั่งการร่วมกันหาวิธีการที่จะทำอย่างไรให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขณะนี้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร ได้รับความรู้และในขณะเดียวกันเตรียมรับมือกับการฟื้นฟูพื้นที่นา ไร่ที่น้ำท่วมถึงให้กลับเข้าสู่สภาวะที่ชาวบ้านสามารถเลี้ยงดูตนเองและครอบครัวได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นการช่วยคลายความทุกข์ร้อนให้แก่ผู้ที่กำลังตกทุกข์ได้ยาก ไม่ใช่อีกฝั่งกำลังมีความสุขได้กับการเดินเยี่ยมชมงานศึกษาหาความรู้ แต่อีกด้านหนึ่งกลับเดือดเนื้อร้อนใจรวมทั้งการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ (New Theory Agriculture) ให้ครอบคลุมทั้งประเทศ โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ด้วยก็จะดี ซึ่งผมไม่ค่อยแน่ใจว่าปัจจุบัน วิชาเกษตร ที่พวกเราเคยได้เรียนเป็นวิชาบังคับ ยังคงมีเรียนอยู่หรือเปล่า ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องในกระทรวงควรมีการทบทวนก็จะดีไม่น้อย

ผมใคร่ขอเชิญชวนผู้อ่านทุกท่านติดตาม หาความรู้ เกี่ยวกับ "หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน และหากเราจะร่วมกันเดินทางเพื่อเสาะหาความรู้ความจริงเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวนี้ก็จะเป็นสิ่งที่ดีมากนะครับ ผมชอบ

ด้วยความเคารพประจวบ ไกรขาวนักศึกษาปริญญาเอก รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต
เรียน ท่าน ศ.ดร. จีระ และชุมชนชาว Blog ที่เคารพทุกท่าน

วันนี้ (6/11/06) ผมได้เดินทางไปถวายข้าวสารอาหารแห้งแด่พระสงฆ์ ที่วัดสุทธาวาส วิปัสสนา อ. ลาดบัวหลวง จ. ปทุมธานี ซึ่งประสบอุทกภัย ซึ่งน้ำท่วมสูงมาก ต้องจอดรถและนั่งเรือต่อไปยังวัดอีกประมาณ 4.5 กิโล ใช้เวลาประมาณ 25 นาที ซึ่งชาวบ้านประสบความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก หากสังเกตุจากภาวะแวดล้อมแล้ว คาดว่าชาวบ้านแถบนั้น อาจจะต้องทนทุกข์ไปอีกหลายสัปดาห์ และที่น่าเป็นห่วงก็คือ เราจะช่วยพวกเขาเหล่านั้น ฟื้นฟูสภาพความเป็นอยู่และการทำมาหากินหลังน้ำท่วมอย่างไร ให้เขากลับสู่สภาพเดิมให้เร็วที่สุด ร่วมด้วยช่วยกันนะครับ 

และเมื่อวันศุกร์-เสาร์ที่ผ่านมา (3-4 พ.ย.49) ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมวิชาการเฉลิมพระเกียรติฯ ณ ศูนย์การประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี ซึ่งจัดโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า สมศ. ในฐานะ ผู้ประเมินภายนอกซึ่งเนื้อหาวันแรกเป็นเรื่องเกี่ยวกับการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในวงการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหัวใจของหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งถ่ายทอดโดย ดร. จิรายุ อิศรางกูรฯ โดยกล่าวถึง 3 ห่วง 2 เงื่อน คือ ต้องมี 3 หลัก 2 เงื่อนไข หมายความถึงหลักการ 3 ประการคือ1)     ความพอประมาณ 2)     ความมีเหตุมีผล และ3)     มีภูมิคุ้มกันและเงื่อนไข 2 ประการคือ1)     ความรอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง2)  คุณธรรม จริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต ความเพียร การใช้สติปัญญา เพื่อให้ตนเองมั่นคงและแบ่งปัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน

ต่อจากนั้นก็เป็นการเสวนา เรื่องตามรอยพ่อ วิถีแห่งการพัฒนาชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นการประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการศึกษาในระดับประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษา โดย ดร. ปรียานุช พิบูลสราวุธ อาจารย์พริ้มพราย สุพโปฎก อาจารย์กรรณิการ์ มาบุญมี อาจารย์กัญพิมา เชื่อมชิต และดำเนินรายการโดยคุณศิริบูรณ์ ณัฐพันธ์ ซึ่งกล่าวถึงการจัดหลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียง การสร้างสรรผลงาน/นวัตกรรมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง การปูพื้นฐานความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาให้เด็กนักเรียนตั้งแต่วัยประถม/มัธยม

และที่สำคัญในช่วงบ่ายของวันศุกร์ที่ 3 มีการจัด Symposium นำเสนอผลงานวิจัยเกี่ยวกับพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พร้อม ๆ กับการเสวนา เรื่อง ตามรอยพ่อ วิถีแห่งการพัฒนาคน พัฒนาชาติ กล่าวถึงการนำเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้นั้น จะต้องร่วมมือกันของทุก ๆ ฝ่าย ไม่ใช่ใครคนใดคนหนึ่ง โดยแบ่งเป็น 8 กลุ่มด้วยกันคือ 1) กลุ่มผู้นำทางความคิด 2) นักวิชาการ 3) สถาบันทางการเมือง 4) สถาบันการศึกษา 5) สื่อมวลชน 6) ประชาสังคม ผู้นำชุมชน 7) องค์กรภาครัฐ และ 8) องค์กรภาคเอกชน ซึ่งถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ดีมากที่หน่วยงานทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมและนำปรัชญาไปใช้อย่างจริงจัง ที่สำคัญคือ ทำอย่างไรให้เกิดกระจายตัวสู้ชุมชนและท้องถิ่นชนบทให้เข้าใจและประยุกต์ใช้ได้อย่างแท้จริง

โดยส่วนตัวผมคิดว่า วิธีอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยเสริมได้ก็คือ อาจจะนำหลักการบริหารธุรกิจ MLM หรือธุรกิจลูกโซ่มาใช้ในการขับเคลื่อน โดยมีผู้คอยให้คำแนะนำติดตามช่วยเหลือจนปฏิบัติเป็นกิจวัตร ไม่ใช่แค่เพียงประชาสัมพันธ์ผ่านสื่ออย่างเดียว ในแต่ละท้องถิ่นอาจจะมีการคัดเลือก Role Model หรือแบบอย่างของการนำหลักปรัชญามาใช้ในระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัดและระดับประเทศ เป็นต้น หรือจัดให้อาสาสมัครที่เข้าไปร่วมขับเคลื่อนจากกลุ่มชมรมนักศึกษาตามมหาวิทยาลัย ชมรมอิสระต่าง ๆ ก็จะทำให้พลังขับเคลื่อนรุดหน้าไปได้รวดเร็วและยั่งยืนด้วยความเคารพประจวบ ไกรขาวนักศึกษาปริญญาเอก รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต
           สัมภาษณ์พิเศษจากเนชั่นสุดสัปดาห์ต้องรู้ให้ได้ว่าชีวิตพอเพียงมีประโยชน์อย่างไร  ชีวิตที่ไม่พอเพียงมีโทษอย่างไร

ดร.ปรียานุช  พิบูลสราวุธ

 

            ครั้งแรกๆ ที่คำว่า เศรษฐกิจพอเพียงปรากฏให้ได้ยินนั้น มาจากความห่วงใยขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ที่ทรงมีต่อพสกนิกร  ในวันที่ท้องฟ้าเมืองไทยมืดครึ้มไปด้วยพายุวิกฤตเศรษฐกิจ ปี 2540            มาปี  2549 ในวันที่ท้องฟ้าเมืองไทยเบาบางจากกลุ่มควันแห่งอำนาจและผลประโยชน์ของรัฐบาลชุดที่แล้ว  ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางอีกครั้งจากรัฐบาลใหม่  โดยการนำของ พล..สุรยุทธ์   จุลานนท์   นายกรัฐมนตรี ที่ประกาศก้องว่าจะใช้สิ่งนี้เป็นนโยบายสำคัญในการพัฒนาประเทศ              แต่กระนั้นก็ดี  นับจากวันนี้ เศรษฐกิจพอเพียงจะถูกนำมาใช้อย่างเป็นมรรคเป็นผลได้แค่ไหน  การเข้าใจความหมายถึงแก่นแท้ จึงเป็นเรื่องสำคัญ            สัมภาษณ์พิเศษฉบับนี้ มีอีกนิยามของคำว่าเศรษฐกิจพอเพียงมาบอกเล่าโดยผู้ที่คร่ำหวอดกับเรื่องนี้มายาวนาน นั่นคือ ดร.ปรียานุช  พิบูลสราวุธ  หัวหน้าโครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง  สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์              จากคนเมืองอุดรธานี  ไปสู่การเป็นนักเรียนทุนรัฐบาลไทยร่ำเรียนจนจบมัธยมศึกษาตอนปลาย  ปริญญาตรี และปริญญาโทสาขาเศรษฐศาสตร์ที่แดนปลาดิบ  ที่สุดก็ร่ำเรียนจนจบปริญญาเอก สาขาเศรษฐศาสตร์ ที่ Simon Fraser University, Burnaby B.C. ด้วยทุนรัฐบาลแคนาดา            ปี 2530  หลังจากเป็นเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน  กองวางแผนส่วนรวมสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)  ต่อมาเป็นผู้อำนวยการส่วนศึกษาวิจัยนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สำนักนโยบายความร่วมมือระหว่างประเทศ  สศช. และปี 2545  เป็นผู้อำนวยการส่วนเศรษฐกิจระหว่างประเทศ  สำนักเศรษฐกิจมหภาค สศช.  จนกระทั่งปี  2547  เป็นผู้อำนวยการกลุ่มงานเศรษฐกิจพอเพียง สศช.            และตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548 จนถึงปัจจุบัน  ปฏิบัติราชการในหน้าที่ หัวหน้าโครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง  สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และดำรงตำแหน่งของอนุกรรมการ  และผู้ช่วยเลขานุการคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง            ดั้งนั้นจึงเรียกได้ว่าบุคคลผู้นี้เป็นผู้ที่เข้าใจความหมาย ของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฐานะ ประธานคณะทำงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงด้านสถาบันการศึกษาและเยาวชนอันเป็นการประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเข้าสู่กระบวนการเรียนการสอน จึงมีส่วนสำคัญในการปลูกฝังปรัชญาดังกล่าวให้กับคนไทยชนิดจุดไฟให้โชคช่วงตั้งแต่ วัยต้น            ที่สุดบทสัมภาษณ์ต่อไปนี้ จึงเป็นการให้นิยามที่เข้าใจง่ายและ ใกล้ตัวมากที่สุดชิ้นหนึ่ง เพราะขนาดกิจกรรม วิ่งเปี้ยว  ของเด็กประถม ยังสามารถสอดแทรกปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเข้าไปได้ และหากการวิ่งเปี้ยวเปรียบเป็นโครงการอภิมหา เมกะ- โปรเจคของรัฐบาลชุดก่อน ที่หวังให้เมืองไทยเฉิดฉายในเวทีโลก  ปรัชญาต่อไปนี้ จึงน่าคิดน่าติดตาม             จะสอนวิ่งเปี้ยว  วิ่งเปี้ยวอย่างไรให้พอเพียง ก่อนอื่นก็ต้องบอกว่า นี่ หนู เธอจะวิ่งเธอก็ต้องวิ่งเต็มความสามารถนะ  แต่ก็ไม่ใช่วิ่งจนกระทั่งหกล้ม ก็ต้องระมัดระวังด้วยพอประมาณ  มีเหตุมีผล  เวลาวิ่งไปก็ต้องดูด้วยนะ  ว่าจะเจอก้อนหินหรือเปล่า            ดังนั้นเวลานี้  ก่อนที่บ้านเมืองจะพังครืน ชนิดเน่าลงไปถึงรากหญ้า  การหันกับมาให้ความสำคัญกับการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง  ในนิยามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานไว้  โดยมีหลายหน่วยงาน โดยเฉพาะโครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง  สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นหนึ่งในผู้ขับเคลื่อน   ก็หน้าจะเรียกสติของคนไทยให้กลับมาได้ทันท่วงที

            และตื่นขึ้นมาเห็นความเป็นจริงว่า  การใช้ชีวิตอย่างพอเพียงเป็นของ ยั่งยืน  สำหรับคนไทยมากกว่าลมพิษปรัชญานิยมที่ตอนพัดมาก็เย็นดี แต่เพียงวูบเดียวก็ปวดแสบปวดร้อนกันไปทั่ว

 -  ถึงตรงนี้ หลายคนก็ยังสับสนกับความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงเอาแบบง่ายๆ เลยนะคะ เวลาเราพูดคำว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั้น  เราหมายถึง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งได้รับพระราชทานมาจากองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว    เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2542  ทุกคนก็จะสงสัยว่ากระบวนการได้มาซึ่งคำนิยามมันเป็นอย่างไง  ก็อยากจะให้ทราบว่าจริง ๆ แล้ว พระองค์ท่านได้ทรงมีพระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงครั้งแรก ปี 2540 พอปี 2541 พระองค์ท่านก็ทรงมีพระราชดำรัสเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่ง  แต่พระองค์ท่านบอกว่าต้องมาพูดอีกเพราะไม่เข้าใจ

            จากนั้นพอปี 2542 ขณะที่ดิฉันอยู่ที่สภาพัฒน์  และตอนนั้นเราก็เพิ่งเจอวิกฤติเศรษฐกิจมา  เข้าสู่แผนฟื้นฟูของ ไอเอ็มเอฟ อยู่ เราก็บอกว่า เอ๊ะ เราน่าจะมานั่งศึกษาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกันไหม ว่าจริงๆแล้วมีความหมายว่าอะไร และจะสามารถทำมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศได้อย่างไร  ก็เลยได้มีการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายสาขาประมาณสิบกว่าท่าน  มาประชุมอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหกเดือน  ต่อมาหลังการประมวลพระราชดำรัสที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาต่างๆ มา ก็ออก มาเป็นนิยามของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จากนั้นก็เลยมีกระบวนการที่จะขอพระบรมราชานุญาต และพระบรมราชวินิจฉัยว่าถูกต้องหรือไม่ จะได้นำไปเผยแพร่ในสาธารณชนวงกว้างได้นำไปใช้ในการดำเนินชีวิต  ที่สุดก็ได้รับพระบรมราชานุญาตเมื่อ พฤศจิกายน  2542  ทีนี้เมื่อเราได้ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง  เราก็มาดูก่อนว่าเป้าหมายเพื่ออะไร เป้าหมายก็เพื่อให้เกิดการสมดุลและพร้อมรับต่อความเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ด้านไหนบ้าง  ด้านเศรษฐกิจ  ด้านสังคม  ด้านสิ่งแวดล้อม   ด้านวัฒนธรรม 

 -          ไม่ใช่เรื่องเศรษฐกิจอย่างเดียวใช่ค่ะ  และตรงนี้ถ้าเราสามารถสร้างความพอเพียงให้เกิดขึ้น ทำอะไรก็ทำอย่างพอเพียง  คิดอย่างพอเพียง  พูดอย่างพอเพียง  ตามพระราชดำรัส  จะทำให้ชีวิตเราสมดุล มันก็จะทำให้เราพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงทำไมต้องเน้นเรื่องความสมดุล  และพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงเรามาคิดภาพง่าย ๆ ว่า สมมุติมีอะไรมากระทบต่อระบบ เช่น เทปของคุณที่ตั้งอยู่นี่  มันสมดุลใช่ไหม ถ้าเกิดการเปลี่ยนเราไปกระทบมันขึ้นมา   มันก็ล้ม  เรื่องจริงเลย ทุกอย่างจะตั้งอยู่ได้มันต้องสมดุล  ชีวิตเราจะต้องสมดุลไหม  สมดุลระหว่างร่างกายและจิตใจ  สมดุลระหว่างชีวิติทำงานและครอบครัว  สมดุลระหว่างความเป็นตัวของเรา  กับตัวของเราในชุมชน  สมดุลระหว่างรายได้รายจ่าย  กับการใช้ชีวิตในสังคม สมดุลไหมในการใช้ชีวิตในบ้านของเรา  รักษาสิ่งแวดล้อม  สมดุลไหมระหว่างความเป็นคนไทยกับการอยู่ในกระแสโลกาภิวัฒน์   เห็นได้ว่าความสมดุลจะทำให้เราอยู่ได้

            ที่นี้ความสมดุลจะเสียเมื่อไร เราจะเสียศูนย์  เสียสมดุล ก็เมื่อมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น  มันสัมพันธ์กัน การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นที่พระองค์ท่านทรงพระราชทานคำนิยามมาก็คือว่า  เปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ  รายได้  รายจ่ายไม่สมดุลแล้ว  ทำยังไง  เราก็ใช้หลักพอเพียงเพื่อรักษาความสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง  เสียดุลด้านสังคม  เราอยู่ในครอบครัว  ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง  กลุ่มที่เราอยู่อาจจะเป็นกลุ่มแม่บ้าน  หรืออย่างบริษัท  ต่างๆ มีความสามัคคีกัน ความสันติสุขในสังคม  เสียสมดุลเมื่อไหร่เกิดปัญหาแตกสามัคคีขึ้นมาทันที  เพราะฉะนั้นหลักความพอเพียง  เพื่อจะทำให้ชีวิตของคนทุกระดับ  ระดับบุคคล  ระดับชุมชน  องค์กร  ระดับสังคมวงกว้าง  ระดับประเทศ  สามารถรักษาสมดุลได้อย่างยั่งยืน  ก็คือต้องพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ

 -          ฟังดูดีมาก  แต่จะนำไปใช้ได้ยังไงคะมีหลักง่ายๆ ว่าสามห่วงสองเงื่อนสามห่วงคือ  พอประมาณ  มีเหตุมีผล  ปละภูมิคุ้มกัน  เรื่องที่หนึ่งพอประมาณ   ยกตัวอย่างเช่น  ใช้จ่ายเงินพอประมาณกับรายได้ไหม  ใช้เกินไป  เป็นหนี้เป็นสินจนล้มละลายไหมทั้งระดับบุคคล  ชุมชน  กลุ่มองค์กร แม้แต่บริษัทธุรกิจใช้จ่ายเงินยังไงก็ต้องรักษาสมดุลให้ได้  ระดับประเทศก็เหมือนกัน  รายได้จากการส่งออก  การท่องเที่ยว  จากการที่คนไทยในต่างประเทศส่งเงินเข้ามาในประเทศ  รายจ่ายเกิดจากอะไร  สินค้านำเข้า  พลังงาน  อันนี้ปัญหาใหญ่เพราะฉะนั้นประเทศชาติเองก็ต้องรักษาสมดุลให้ได้  ถ้าขาดดุลไปต่อเนื่องมันก็มีปัญหา  เพราะฉะนั้นการใช้จ่ายอะไรคิดระดับตัวเองก่อนมันก็ต้องพอประมาณ             ข้อสอง   ต้องมีเหตุผล  เช่นใช้จ่ายสิ่งที่จำเป็นหรือเปล่า  ถ้าฟุ่มเฟือยไม่จำเป็นก็แสดงว่าไม่พอเพียงแล้ว เท่านั้นยังไม่พอยังมีหลักข้อที่สาม ก็คือต้องมีภูมิคุ้มกัน  คือต้องคำนึงถึงความเสี่ยงตลอดเวลา  พูดง่ายๆ  ระดับบุคคล  เราต้องมีประกันชีวิต   เราต้องมีประกันความเสี่ยง   เพราะอะไรคะ   เพราะถ้าเกิดป่วยขึ้นมา  เราได้เตรียมความพร้อมไว้สำหรับตรงนี้ไหม  ลูกหลานตอนเปิดเทอมเตรียมไว้เงินไว้สำหรับจ่ายค่าเทอมลูกหรือเปล่า  ไม่ใช่ทุกปีพอต้องจ่ายค่าเทอมลูก   ต้องเอาของในบ้านไปจำนำอันนี้พูดถึงชีวิตแบบคนทั่ว ๆ ไป เลยนะคะ ไม่ได้พูดถึงคนที่มีรายได้มากมายอะไรทุกคนก็ประสบปัญหาแบบนี้            เพราะฉะนั้นตรงนี้  ถ้าเราใช้ชีวิตอย่างนี้ไปต่อเนื่อง  มันก็จะพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง  เพราะเราจะคำนึงถึงอยู่ตลอดเวลาว่า  เอ๊ะ  มันอาจจะมีปัญหาอะไรไหมในครอบครัวของเรา   เราก็ต้องป้องกันเอาไว้ก่อน  เรื่องสิ่งแวดล้อมก็เหมือนกัน  ถ้าเราใช้ทรัพยากรพอประมาณ  ไม่มากเกินไป  โอเคไม่น้อยเกินไป  สมมุติว่าจะตัดไม้มาใช้ทั้งในการพัฒนาประเทศ  หรือในชุมชนก็ตามแต่ก็ตัดแต่พอประมาณ  ตามความจำเป็นและการมีเหตุมีผลก็ต้องคิดว่าตัดไม้นี้มาเพื่ออะไร  ไม่ใช่เพื่อตอบสนองความโลภพอมาถึงการสร้างภูมิคุ้มกันเราก็ต้องคำนึงด้วยว่าเอ๊ะ   เราต้องปลูกต้นไม้มาทดแทนหรือเปล่า  ถ้าเราทำอย่างนี้ไปอย่างต่อเนื่องสิ่งแวดล้อมก็สมดุลตลอดเวลา  มันก็ยั่งยืนใช่ไหมค่ะ            ด้านวัฒนธรรมอันนี้จำเป็นมากเลยวัฒนธรรมมันมีสองด้าน  คือ ด้านศิลปะประเพณี  กับด้านค่านิยมของไทย   คนไทยเราค่านิยมที่เรารู้สึกเลยว่าเป็นคนไทยก็คือมีน้ำใจ  เอื้อเฟ้อเผื่อแผ่  ตรงนี้จะรักษาสมดุลอย่างไร  เราอยู่ในโลกของโลกาภิวัฒน์มีค่านิยมต่าง ๆ เข้ามามากมาย  แต่เรามีประเพณีของเราเอง   เราจะรักษาสมดุลอย่างไร   เราก็ต้องดูแล้วว่ามันพอประมาณกับกาละเทศะไหม  มีเหตุมีผล  ทำไมเราต้องรักษาของไทย   ทำไมวันนี้เราจะต้องแต่งตัวสากล  มีภูมิคุ้มกัน  เราต้องมีจิตสำนึกสืบสานอนุรักษ์  สิ่งที่เป็นภูมิปัญญาไทยหรือเปล่า   เศรษฐกิจพอเพียงบอกว่าจำเป็นเพราะสมดุลในความเป็นไทยภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์    ถ้าไม่ทำ  เราจะมีชาติอยู่ไปเพื่ออะไร            แล้วที่คนเขาสงสัยว่า  โอ้โฮ  แล้วพอเพียงนะ  มันจะทำได้อย่างไร  บอกเลยว่าเงื่อนไขก็ 2 อย่าง  คือความรู้  กับ  คุณธรรม  เศรษฐกิจพอเพียงนี้เป็นเรื่องคุณธรรมนำความรู้เลย   เช่น  เมื่อเราพูดกันถึงวัฒนธรรม   เราต้องตั้งสติ   ต้องมีปัญญาว่า  เอ๊ะ  เราเป็นใครในโลกนี้  ไม่ใช่อะไรเข้ามาก็รับหมด  ตั้งสติว่า   เราเป็นคนไทยจะรับอะไรเข้ามา  เอามาต่อยอดภูมิปัญญาดั้งเดิมได้ไหม  จะรักษาสมดุลอย่างไร  ตั้งสติในการใช้จ่าย  ตั้งสติในการอยู่ในสังคม  ตั้งสติในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  เห็นไหมคะว่าคุณธรรมข้อตั้งสติก็สามารถรักษาสมดุลทั้งหมดได้แล้ว

            นอกจากนี้พระองค์ท่านยังบอกว่า  ใช้ปัญญาใช้ความรอบคอบในการใช้วิทยาการอันนี้สำคัญมาก  เพราะที่ผ่านมาในบางครั้งที่มีปัญหา  เพราะเราไปรับความรู้วิชาการต่างประเทศเข้ามาแต่เราใช้อย่างไม่รอบคอบ  เราไม่ดูก่อนว่ามันสอดคล้องหรือไม่กับประเทศไทย   อย่างการนำพืชบางอย่างมาปลูกโดยไม่คำนึงอย่างรอบคอบว่ามันจะทำลายพืชพันธ์เดิม  ทำลายความสมดุลทางสิ่งแวดล้อมหรือเปล่า  เพราะฉะนั้นจะใช้ความรู้ก็ต้องใช้อย่างรอบรู้รอบคอบระมัดระวัง   นอกจากนี้แล้วพระองค์ท่านบอกว่าต้องขยัน  หมั่นเพียร  อดทน

 -          ไม่ใช่แค่การพูดถึงเรื่องการประหยัดมัธยัสถ์  หรือทำแล้วจะจนอย่างที่หลายคนกังวนใช่ค่ะ  หลายคนบอกว่าการใช้ชีวิตพอเพียงเป็นการถอยหลังเข้าคลอง  ไม่ใช่เลยถามว่าถ้าคุณขยัน คุณอดทนในการทำมาหากิน  ตรงนี้มันก็จะไปได้  ดังนั้นตรงนี้แหละที่ทำให้เราต้องมีคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง  ซึ่ง ดร.จิรายุ  อิศรางกูร    อยุธยา  เป็นประธาน  เพราะว่าคนก็จะนิยามว่า  ประหยัดมัธยัสถ์ไม่ซื้อของต่างประเทศ  แต่มันไม่ใช่จากที่กล่าวมาความหมายมันกว้างกว่านั้น  ทุกเรื่องเลยแล้วถามว่าถ้าคุณตั้งสติใช้ชีวิตรักษาสมดุลในด้านต่างๆ อย่างที่กล่าวมา เรามีแต่จะก้าวหน้าไป  เป็นก้าวหน้าอย่างมั่นคงและก็ยั่งยืนด้วย            ประเทศชาติก็เหมือนกัน คนไทยเราต้องดูแลให้เกิดความสมดุลก่อน  หลังจากนั้นก็ค่อยก้าวหน้าไปทีละขั้นตอน เช่นเราบอกว่า จะเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาแล้วนะคนในชาติส่วนใหญ่พร้อมรับหรือยังเศรษฐกิจพอเพียงบอกว่า ทุกคนจะต้องค่อยก้าวไปข้างหน้าพร้อมๆกัน นั้นเพราะว่าคนกระจุกเดียวเท่านั้นที่พุ่งไปข้างหน้าเลย  แต่คนส่วนใหญ่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง  อันนี้มันก็เกิดความก้าวกระโดด  คนส่วนใหญ่ในประเทศเราต้องดูว่าเขาได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพหรือยัง  โครงสร้างพื้นฐานไปสู่คนส่วนใหญ่แล้วหรือยัง  และพอเพียงพอประมาณกับสถานภาพ  สิ่งแวดล้อมนั้นหรือไม่ เราไม่จำเป็นต้องเอา 8 เลน ไปทุกหมู่บ้านหรอก ขอแต่เพียงว่าทุกหมู่บ้านสามารถเชื่อมต่อกับตลาด  เชื่อมต่อกับหมู่บ้านอื่นๆ ได้ จะเป็นราดยางก็ได้ แต่ไม่ใช่ลูกรัง บางพื้นที่โอ้โฮ  เขามีถนน 10 เลน แต่บางแห่งตายแล้วยังไปไม่ถึงเลย  ซึ่งดิฉันคิดว่าตรงนี้เรามีการเขย่งกันอยู่ในสังคมสังคมมันก็ไปด้วยกันไม่ไว้            ดั้งนั้น  ตรงนี้เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องของการพัฒนาคนล้วนๆ เลยเพราะเป็นหลักคิดการใช้ชีวิตอย่างพอเพียงถึงบอกว่าการพัฒนาประเทศตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ต้องเริ่มต้นที่ไหน  ก็กลับไปว่ากันที่ต้องเริ่มต้นที่การพัฒนาคนทำอย่างไรให้คนมีจิตสำนึกพอเพียง  และเข้าใจว่าจะใช้ชีวิตพอเพียงอย่างไร  เช่นการทำบัญชีรายรับ รายจ่าย แต่ก่อนเขาบอกว่ารายรับลบรายจ่ายเป็นเงินออม  เดี๋ยวนี้เขาไม่ทำแล้ว  แต่เขาพลิกวิธีคิดเป็นรายรับลบเงินออมเป็นรายจ่าย เห็นไหมค่ะตรงนี้คนก็จะคิดว่า  เอ๊ะ  เราต้องออมเท่าไหร่  แล้วถึงจะไปจ่ายไม่อย่างนั้นเราไม่มีเงินออมเหลือเลยนะคะ
            - การที่รัฐบาลชุดที่แล้วหว่านประชานิคมสุดฤทธิ์จนถึงปัจจุบัน มันได้บั่นทอนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง  และสร้างความเสียหายขนาดไหนอย่างไร

            ดิฉันคิดว่า  สิ่งที่ผ่านไปเราก็ต้องยอมรับนะคะว่า  เราอยู่ในประชาธิปไตย  คนไทยเราเลือกรัฐบาลมา  เพราะฉะนั้นมีอะไรเกิดขึ้น  เศรษฐกิจพอเพียงบอกว่ากลับมาโทษตัวเอง  เราอาจจะหลงไปตามกระแส  เราอย่าโทษใคร  เราต้องโทษตัวเอง  แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ  เมื่อเราเห็นปัญหาจากความไม่พอเพียง  เราต้องกลับมาตั้งสติอย่างที่บอกไปแล้ว  ตอนนี้ล่ะเป็นช่วงเวลาที่เราต้องตั้งสติ  และสำรวจรอบตัวเราก่อนว่า  ที่ผ่านมาเราใช้ชีวิตไม่พอเพียงอย่างไรบ้างตรงนี้เราถึงจะแก้ปัญหาได้  อย่าไปบอกให้คนอื่นมาแก้ปัญหาให้เรา  เพราะเศรษฐกิจพอเพียงบอกว่า  คุณต้องพึ่งตัวเองได้ก่อน  ถ้าช่วงที่ผ่านมากระแสมันทำให้เราใช้บัตรเครดิตเกินตัว  ติดหนี้สินตั้งสติสิ  มาสำรวจดูว่าเราใช้ชีวิตไม่พอเพียงอย่างไร  มาแก้ที่ตัวเราเอง

 -          หมายความว่าอย่าไปโทษว่ารัฐบาลเก่าทำไม่ถูกค่ะ  เราอย่าไปโทษ  เพราะอะไร  เพราะเราเป็นคนเลือกเขามาตรงนี้ถึงจะเริ่มแก้ปัญหาได้นโยบายของรัฐ

บาลชุดเก่าถึงแม้ว่าจะเป็นประชานิยม  แต่จริงๆแล้ว มันอยู่ที่การนำมาใช้  คือเศรษฐกิจพอเพียง มันสร้างความเข็มแข็งให้กับบุคคล  เช่นถ้าเราสอนเด็กนักเรียนว่าใช้เงินต้องคำนึงถึงประโยชน์ของอาหารที่เด็กซื้อว่าพอประมาณไหม  จำเป็นไหม  แล้วก็มีภูมิคุ้มกันไหม   ทานแล้วทำลายสุขภาพหรือเปล่าอย่างน้ำอัดลมกินแล้วอ้วน  ฟันผุ  มันไม่ได้ผิดที่คนขายน้ำอัดลม  มันผิดที่เราต่างหากไม่ได้สอนเด็กให้รู้ว่าอะไรจำเป็นกับชีวิตเรา  อะไรเป็นประโยชน์กับตัวเรา  เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงต้องสร้างความรู้ให้ทันคน  ให้รู้ว่าชีวิตที่พอเพียงมีประโยชน์อย่างไรชีวิตที่ไม่พอเพียงมีโทษอย่างไร

 -          ถ้ารัฐบาลใหม่จะนำเอาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้จริงๆ  อาจารย์มองว่าจะเริ่มตรงไหนก็อย่างที่บอกว่าต้องรีบเร่งพัฒนาคนระดับผู้บริหารให้เห็นความสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง  แล้วเอาไปใช้ในการจัดการ  มันไม่เกี่ยวกับเรื่องงบประมาณบางคนบอกว่าเศรษฐกิจพอเพียงต้องมีงบประมาณมาให้   ไม่ใช่นะคะ  เป็นเรื่องปรับความคิดของคน  งบประมาณคุณมีเท่าเดิม  แต่ใช้งบประมาณอย่างไรที่จะสร้างความพอเพียงให้เกิดขึ้นในด้านต่างๆ ตามที่พูดมา  อย่างชุมชน อบต. เขาบอกว่า  เขาได้กองทุนหมู่บ้านละหนึ่งล้านบาทมา  ตั้งสติ  ถ้าคุณจะรับนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้  คุณต้องตั้งสติสำรวจดูว่าที่ผ่านมากองทุนหมู่บ้านของเรารั่วไหลไปบ้างหรือเปล่า  การให้กู้เป็นไปอย่างสุจริตไหม   แต่ละคนที่กู้ไปเอาเงินไปใช้อย่างพอเพียงหรือไม่  เราต้องแก้ปัญหาที่คนเพราะฉะนั้นสำรวจตัวเองก่อนแล้วดูว่ารัฐบาลที่ผ่านมา  เราหลงละเลย  และลืมไปบ้างหรือเปล่า  ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่เราเอามาใช้ต่อยอดสืบสานบ้างหรือเปล่าซึ่งตรงนี้ถ้าแต่ละคนรับนโยบายมา  แล้วร่วมกันสร้าง  ครอบครัวพอเพียง  สร้างหมู่บ้านพอเพียง  สร้างตำบลพอเพียง  สร้างชุมชนพอเพียง  อันนี้แหละเป็นการสนองนโยบายรับบาล             -  คนไทยโดยเฉพาะชนบทที่ผ่านมาอินกับประชานิยมโดยรัฐบาลชุดก่อนมากแล้วอยู่ ๆ รัฐบาลใหม่ประกาศใช้เศรษฐกิจพอเพียงเลย คนจะรับได้ขนาดไหน

            ดิฉันคิดว่าจริง ๆ นโยบายตรงนี้ เป็นนโยบายที่จะป้องกันวิกฤติไม่ให้เกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง  ถ้าในระดับรากหญ้าไม่ตระหนักถึง  โทษของการใช้ชีวิตที่ไม่พอเพียง  ดิฉัน คิดว่าวิกฤติมันก็อาจจะมาก็ได้ เพราะฉะนั้นตรงนี้เป็นเวลาที่เหมาะสมมากเลยที่ทุกคนในประเทศไทย  ทุกชุมชน ทุกตำบล ทุกอำเภอ  ต้องมาตั้งสติแล้ว ถ้าที่ผ่านมาคุณไม่มีปัญหา คุณพอเพียงอยู่แล้วก็ดี เราชื่นชมแต่ถ้าไม่พอเพียง  คุณต้องรู้ว่าคุณมีภูมิคุ้มกันหรือเปล่า  ถ้าบางแห่ง  เช่นในหมู่บ้าน  คนเป็นหนี้สินกันมาก  คุณอย่าป่อยให้ถึงจุดล้มละลายสิ  คุณมาตั้งสำรวจก่อนว่าที่ผ่านมาปัญหามันเกิดขึ้นตอนไหน

             -  ถึงจะเคยชินกับการถูกป้อนให้มาช่วงหนึ่งก็ยังทันการณ์ถ้าคิดจะเปลี่ยน

            ทันคะ  ทันคะ  เพราะอะไรคะ  เพราะว่าตอนที่ประชานิยมมา  ตอนที่เรายังไม่รู้จักประชานิยม  ทำไมเรารับเข้ามาได้ล่ะ(หัวเราะ) ใช่ไหมค่ะ ดิฉันคิดอย่างนี้  แต่ถ้าไม่ทำตอนนี้สิค่ะเรื่องใหญ่  เพราะฉะนั้นตรงนี้  เศรษฐกิจพอเพียงของรัฐบาลใหม่ที่เข้ามาตอนนี้  ดิฉันบอกได้เลยว่าจำเป็นมากเลย  จะเป็นอะไรที่มาป้องกันไม่ให้สังคมไทยเกิดวิกฤติที่ร้ายแรงเหมือนปี  2540

 -          แสดงว่าอาจารย์เห็นด้วยกับนโยบายนี้(ยิ้ม)  ดิฉันบอกได้เลยว่าเห็นด้วยเต็มที่ค่ะ  แล้วก็มีความศรัทธาอย่างมาก  เป็นคุณูปการอย่างยิ่งเลย 

สำหรับประเทศชาติไทย  เพราะอย่างที่เรียนให้ทราบว่านักเศรษฐศาสตร์หลายท่านออกมาเตือนแล้วว่าจะเกิดวิกฤติในระดับรากแก้ว  เพราะฉะนั้นเศรษฐกิจพอเพียงเท่านั้นที่จะแก้ไข  ไม่ใช่แก้ไขสิ  แต่ป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดขึ้นดิฉันไม่อยากให้เรามาเจ็บอีก  เจ็บคราวที่แล้ว(วิกฤติเศรษฐกิจปี 40) ็บระดับคนเมือง  เจ็บระดับสูง  ถ้าเจ็บคราวนี้จะเป็นระดับรากแก้ว  หมดเลย

 -          ส่วนตัวคิดว่ารัฐบาลชุดนี้จะผลักดันไปได้ขนาดไหนดิฉันตั้งความหวังค่ะ  และเชื่อว่าพลังศรัทธาของคนไทยที่มีต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทำให้

การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงของรัฐบาลลุล่วงไปได้ด้วยดี  คนไทยศรัทธาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอยู่มาก  เพราะฉะนั้นตรงนี้ประกาศออกมา  ทุกคนพร้อมรับ  แต่เพียงเขาอาจจะยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นยังไงเท่านั้นเอง

             -  แล้วด้วยพื้นฐานนิสัยคนไทยจะไปได้ไหมค่ะ            จริง ๆ เราอยู่อย่างพอเพียงมาตั้งนานแล้วแต่ที่ผ่านมาเอาเป็นว่าอาจจะหลงไปแป๊บหนึ่ง  เหมือนดูหนังแล้วคิดว่าหนังเป็นชีวิตของเรา  แต่ตอนนี้กลับสู่ชีวิตจริงจริงๆที่ผ่านมาดิฉันเชื่อว่าเขาไม่ได้มีความสุขที่แท้จริงหรอกในเมื่อใช้เงินไปมากๆ ถึงจุดหนึ่งจะรู้ว่าเงินไม่ใช่ทุกอย่างของชีวิตดิฉันคิดว่าคนเริ่มตระหนักแล้วถึงปัญหาความไม่พอเพียง  เพราะฉะนั้นเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ตอนนี้เหมาะเจาะที่สุดเลย

(ต่อ)

-  มีอะไรที่เป็นห่วงบ้าง            ที่ห่วงนิดเดียวก็คือว่าการบริหารการจัดการที่เกิดขึ้น  มันจะทำได้แค่ไหน เพราะถ้าคนยังไม่เข้าใจก็จะไม่สามารถเอาไปใช้ได้  ดิฉันจึงขอฝากว่าน่าจะมีการอบรมผู้บริหารระดับพื้นที่  ให้สามารถนำเศรษฐกิจพอเพียงประยุกต์ใช้ได้จริง  ตรงนี้ต้องรีบสร้าง  ต้องเริ่มตนที่พัฒนาคนและต้องเริ่มต้นที่ผู้บริหารในพื้นที่  นายอำเภอ  ผู้ใหญ่บ้าน  ครู  พวกนี้ต้องไปด้วยกันหมด  เพียงแต่ประกาศเป็นนโยบายไปถ้าคนไม่ทำก็ไม่ได้  มันก็ลอยๆ เพราะฉะนั้นในพื้นที่  ต้องอบรมเขาให้เข้าใจและสามารถนำไปใช้ได้จริงจึงจะสามารถขับเคลื่อนไปได้

            ถ้าเกิดนายอำเภอ  อบต.  ผู้นำ ทุกคนเลย  ผู้ใหญ่บ้าน  ครู  ข้าราชการ  มานั่งเรียนรู้ร่วมกันเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง  มาทำแผนการพัฒนาอำเภอตามเศรษฐกิจพอเพียงอันนี้ไปได้แน่นอน  ตรงนี้แหละที่อยากให้ลงไปถึง  เพราะเราไม่ได้พัฒนาลงแผ่นกระดาษ  ไม่ได้พัฒนาในทำเนียบ  แต่ต้องลงไปในพื้นที่ๆ คนไทยอยู่ตามตำบล  ตามหมู่บ้าน  ตามอำเภอ  แล้วที่กลัวคือครูก็ไปทำส่วนครู  พัฒนาชุมชนก็ทำแต่พัฒนาชุมชนสังคมสงเคราะห์ก็ทำแต่สังคมสงเคราะห์ต่างคนต่างทำ  มันเปลืองพลังนะ  ทำยังไงเราจะรวมพลังกันได้  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถึงมีพระราชดำริว่า  ต้องให้คนดีมาบริหาร  ตอนนี้เรามีคนดีมาแล้วนะในระดับพื้นที่  ดิฉันคิดว่าคนดียังมีอยู่เยอะแต่ยังไม่ได้รับโอกาสให้แสดง ศักยภาพ  เพราะฉะนั้นตรงนี้จะทำยังไงให้เกิดการขับเคลื่อนในพื้นที่ได้

             -  แต่พอผ่านหนึ่งปีไป มีการเลือกตั้งใหม่เข้ามา  น่ากลัวว่าประชานิยมจะกลับมาอีก

            มันอยู่ที่ความเข้มแข็งอย่าง  เอาง่ายๆ จากที่เล่ามา  คุณรู้สึกอยากนำเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ไหม  คุณรู้สึกว่ามันดีใช่ไหมเพราะฉะนั้นตรงนี้ถ้าเขาเข้าใจอย่างถูกต้องแล้วเขาทดลองใช้หนึ่งปี  คุณว่าเขาจะกลับไปเป็นแบบเดิมไหม  เพราะฉะนั้นหนึ่งปีนี้มีคุณค่ามากเลย  ทำยังไงจะให้ลงไปในระดับพื้นที่ได้  ให้เขาได้ลองมีการพัฒนาพื้นที่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงด้านๆ ถามว่าถ้าเขาทดลองใช้แล้ว เขาจะกลับไปเหมือนเดิมไหม  เพราะฉะนั้นดิฉันถึงย้ำว่าต้องรีบลงไปในระดับพื้นที่  แล้วถ้าเขาทำได้ไม่ว่านโยบายไหนเข้ามา  เขาก็พอเพียงหมดแหละ  เพราะว่าได้ปลูกฝังเอาไว้แล้ว  อย่างเราแปลงฟันหลังอาหาร มันดีต่อสุขภาพปากและฟัน  แล้วอยู่มาบอกให้เลิกแปลงฟัน  ใครจะเลิกคะ

             -  ฟังดูแล้วมันอุดมคติ  ไม่น่าเชื่อว่าจะทำได้

            แต่ทำได้ค่ะ  เพราะอะไรคะ ลองถามตัวเอง  เราจะทำได้ไหม  พยายามใช้เงินอย่างจำเป็นเท่านั้น   มีเงินออมบ้าง  แบ่งปันบ้าง  บริจาคบ้าง  ทำได้แต่ต้องมีวินัย  ต้องมีศรัทธา  และเห็นว่ามีประโยชน์จริง  ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือว่า  คนจะรอให้วิกฤติก่อน ล้มก่อน  ถึงจะนึกถึงความพอเพียง อันนี้ดิฉันกลัวมากเลย  เพราะฉะนั้นอยากให้คนเห็นประโยชน์ก่อน  แล้วก็เห็นโทษที่เคยเกิดขึ้นเหมือนเราสอนเด็ก  ทำไมเราต้องรอให้ลูกเราถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวกก่อน  ถึงจะบอกเขาว่าเห็นไหมอย่าไปเล่นน้ำร้อน

 -          ช่วยเล่าถึงส่วนที่อาจารย์ทำอยู่ปัจจุบันโอ้โฮ  ตรงนี้พอดีดิฉันอยู่กับการศึกษาล้วนๆ เลยกับประชาชน  และ กศน. (การศึกษานอกโรงเรียน) งานหลักก็คือว่า ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ  อย่างล่าสุดที่เพิ่มเสร็จกลับมาชลบุรี  ก็ไปช่วยกันพัฒนาหลักสูตร สาระเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนตั้งแต่ประถม  1  ถึงมัธยม. 6 อาชีวศึกษาและ กศน. ด้วย โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของครูบาอาจารย์จากทั่วประเทศมาช่วยกันคิดหลักสูตรจะสอนเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงให้กับเด็กเหล่านั้น สอนเป็นวิชาหลักแล้วก็บรูณาการ  ยกตัวอย่างเด็กประถม 2 ครูพละศึกษา  จะสอนวิ่งเปี้ยววิ่งเปี้ยวอย่างไรให้พอเพียง (ยิ้ม)โอ้โฮทำยังไง  ก่อนอื่นก็ต้องบอกว่านี่หนูเธอจะวิ่ง  เธอก็ต้องวิ่งเต็มความสามารถนะ แต่ก็ไม่ใช่วิ่งจนกระทั่งหกล้ม  ก็ต้องระมัดระวังด้วย   พอประมาณ  มีเหตุมีผล  เวลาวิ่งไปก็ต้องดูด้วยนะ  เจอก้อนหินหรือเปล่า  มีภูมิคุ้มกัน  ก่อนจะมาวิ่งเปี้ยว  ก็ต้องออกกำลังกายนิดหน่อย  เตรียมความพร้อมเท่านี้ยังไม่พอ  เสริมสร้างคุณธรรมด้วยเด็กบ้างคนพอไปแตะเพื่อนได้ ก็เอาผ้าตีๆๆ เพื่อน  เราก็สอนเขาว่า นี่ ครูเห็นแล้วเธอจับเพื่อนได้แล้วทำไมไม่ยื่นมือไปึงเพื่อนขึ้นมาล่ะ  เห็นไหมสอนเศรษฐกิจพอเพียงให้เด็ก ป. 2 ในวิชาวิ่งเปี้ยว  ต่อไปเราจะสอนแบบนี้

            เด็กม.ปลาย  เรียนเคมี เรียนชีวะ  ให้เขามีคุณธรรมนำวิชาการ  เธอจะเรียนชีววิทยาไป  เธอก็ต้องสนใจว่า เอ๊ะ  มันพอประมาณกับประเทศไทยหรือเปล่า  ศึกษาสมุนไพรไทยดีไหม อย่าไปศึกษาอะไรก็ไม่รู้ที่ประเทศไทยเราไม่มี  มีเหตุมีผล  ก็คิดถึงความจำเป็นว่าอันนี้เราจะพัฒนาไปใช้ยังไง  ทำผลิตภัณฑ์  ต่างๆได้ไหม มีภูมิคุ้มกันเช่น พืชอันนี้ เวลาเราไปตัดออกมา  เราจะปลูกทดแทนอย่างไร ทำยังไงที่จะรักษาให้เขาอยู่ได้อย่างยั่งยืน  มั่นคง มีคุณธรรมเธออย่าไปใช้ความรู้นี้ทำร้ายสังคม  อย่าไปทำลายสิ่งแวดล้อม  ต่อไปเด็กก็จะเรียนชีววิทยาอย่างมีคุณธรรมนำชีวะ  เพราะฉะนั้นตรงนี้จะปลูกฝังตั้งแต่เด็กประถมถึงมัธยมปลายคุณเห็นภาพไหมค่ะว่าต่อไปถ้าตรงนี้เข้าสู่หลักสูตรทั้งหมด  ประเทศไทยจะเปลี่ยนไป  เราต้องไปปลูกฝังตั้งแต่นั้นเลย

 

-  สอดแทรกเข้าไปในทุกวิชาได้เลยหรือคะ

 

            (ยิ้ม) อ้าว อย่างวิชาภาษาไทย ม. ปลายเขาเรียนขุนช้างขุนแผน  แล้วเศรษฐกิจพอเพียงจะเข้าไปสอดแทรกได้อย่างไร  ก็ต้องไปวิเคราะห์กันว่าขุนแผนใช้ชีวิตพอเพียงไหม  มีภรรยาพอประมาณหรือเปล่า  จำเป็นต้องมีภรรยา 5 คนไหม มีภูมิคุ้มกันไหม  หรือมีคุณธรรมไหมเนี่ย เป็นการวิเคราะห์แบบสอดแทรกความพอเพียงเข้าไป

             -  ได้บรรจุเข้าไปในหลักสูตรแล้วหรือยัง

            ยังค่ะ  ยัง อันนี้เพิ่งทำหลักสูตรเสร็จโดยกระบวนการการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน  โดยเทอมหน้าจะให้โรงเรียนต่างๆ ที่สนใจสมัครเข้ามาเป็นโรงเรียนอาสาสมัครเป็นเครือข่ายทดลองใช้  แล้วต้องมีการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม  คือบางครั้ง กทม. เขาอาจจะบอกว่ามันใช้อยากนะ สำหรับเด็ก ป. 4 มันยากเกินไป เราก็ต้องมีการทดลองใช้ก่อน  หลังจากนั้นเปิดเทอมปีหน้าถึงจะประกาศใช้  อันนี้ก็รวมถึง กศน. และอาชีวศึกษาด้วย  ซึ่งวิธีการเราไม่ได้สอนให้เด็กจำแล้วไปทำ  แต่เราสอนให้เด็กคิด  วิเคราะห์  แล้วเอาไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตจริง  อย่างนี้ เด็กไทยถึงจะเข้มแข็งสามารถอยู่ในโลกโลกาภิวัฒน์ได้ 

             -  เรียกว่าให้คำว่าพอเพียงฝังในหัวกันตั้งแต่เด็กเลย            ใช่  เพราะอะไรก็ตามที่เราสอนให้เด็กเขาคิดเขาเข้าใจ  มันจะอยู่กับเข้าตลอดไปอย่างเด็ก ป. 1 ฝึกให้เขาดูแลตัวเองได้  เช่นกินข้าวหมดจาน  จัดหนังสือใส่กระเป๋าได้ด้วยตนเอง  คุณคิดว่าดีไหมล่ะ ม.5 ก็จะมีสอนวิเคราะห์แผนการพัฒนาด้านต่างๆ ระดับประเทศ เด็กเขาอาจจะบอกว่า เออ เอาแผนการพัฒนาลุ่มน้ำมาวิเคราะห์ดูไหมว่ามันพอเพียงหรือเปล่าเพราะฉะนั้นถ้าทำได้  เด็กจบออกมา  เขาก็จะเข้าใจโลก  เขาจะวิเคราะห์เป็น  เขาจะรู้ว่า  เออ อันนี้พอเพียงไม่พอเพียง  เราก็เพิ่งเริ่มนะคะ  อีก 12 ปี เด็ก ป. 1 ปีหน้าก็จะเรียนจบออกมา  ตรงนี้เราจึงต้องปูพื้นแบบนี้ ประเทศชาติถึงจะอยู่ได้              -  ทราบว่าอาจารย์เป็นนักเรียนทุนด้วย

            ใช่  ก็ทั้งหมดที่ทำมาทุกวันนี้คือการใช้หนี้แผ่นดินนี่แหละ  แต่ความที่เป็นนักเรียนไปอยู่เมืองนอก  ครึ่งหนึ่งชีวิต  เรารู้เลยว่าเราจะอยู่ในโลกได้  ต้องมีเอกลักษณ์ จะคิดถึงเลยว่า  ความเป็นไทยคืออะไร  เพราะว่าเราอยู่กับเพื่อนต่างชาติ ฝรั่ง  จีน  มาเลย์  แล้วความเป็นไทยเราอยู่ต้องไหนเพราะฉะนั้นตรงนี้ดิฉันจึงเห็นคุณค่ามากเลยว่าเราจะอยู่ภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ ได้ เราต้องมีจุดยืน  จุดยืนนั้นก็คือความเป็นไทย  เพราะฉะนั้นความพอเพียงทางด้านวัฒนธรรม สำคัญมากเลย  เพราะฉะนั้นพัฒนาไป ๆ สุดท้ายความเป็นไทยคืออะไร  กินแม็คโดนัลด์มันอาจไม่มีปัญหาอะไรหรอก  แต่ความเป็นไทยมันต้องอยู่ในใจด้วย  เราถึงจะดำรงความเป็นชาติได้  ภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์  เศรษฐกิจพอเพียงจะช่วยเราได้ 

 -          เริ่มเห็นคุณค่าของเศรษฐกิจพอเพียงตั้งแต่ตอนไหนก็พอเริ่มศึกษาตั้งแต่ปี  2544  ก็เห็นคุณค่าเลย  แล้วเราปฏิบัติธรรมด้วยก็เลยรู้เพราะมันสอดคล้องกับหลักธรรมะ  คำสั่งสอนทุกอย่างเลย  ก็เลยไปด้วยกันได้           

 

สวัสดีค่ะ

         ดิฉันได้ชมรายการเศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์มาได้ 2-3 ตอนแล้วค่ะ มีความรู้สึกว่าเป็นรายการที่มีประโยชน์มากทำให้รู้ว่าเศรษฐกิจพอเพียงใช้ได้จริงในทุกๆส่วน โดยเฉพาะตอนความพอเพียงทางเศรษฐกิจที่มี ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล เป็นแขกรับเชิญ ทำให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นว่าเศรษฐกิจพอเพียงนำมาประยุกต์ใช้ได้ในการวางนโยบายระดับประเทศ ดิฉันจะติดตามรายการตอนต่อๆไปค่ะ          

กิจกรรมโครงการ เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ เมื่อวันพุธที่ 8 พฤศจิกายน 2549 ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และทีมงานChira Academy ได้เดินทางไปจัดกิจกรรมโครงการเศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ ณ  รร.เทพศิริทร์ นนทบุรี ซึ่งมีนักเรียนและอาจารย์เข้าร่วมฟังการบรรยายโดย ศ.ดร.จีระ และดู  VCD รายการสารคดีสั้นชุดเศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ ในตอนที่ 1-4 หลังจากนั้นเปิดอภิปรายเป็นกลุ่มๆ โดยมีการกำหนดหัวข้อคือ1.      เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร2.      การนำเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันนอกจากนี้ยังจัดกิจกรรมให้นักเรียนที่สนใจเขียนเรียงความเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ส่ง โดยกำหนดให้ภายใน  3 สัปดาห์อีกด้วย สรุปการอภิปรายของนักเรียน รร.เทพศิรินทร์ นนทบุรีสมาชิกในกลุ่มที่ 1 1.  นางสาวนิชนันท์     เอี่ยมศรีมานนท์        2.  นางสาวปริญาภา         เทียมระกิจ         3.  นางสาวภัทรลักษณ์      มีมา                         4.  นางสาวศิริวิมล            เอี่ยมโก๋          5.  นางสาวศุจินธร            สะใบหอม          

 

กลุ่มที่  1

           1.  เศรษฐกิจพอเพียงเป็ฯแนวทางที่ช่วยชี้นำให้คนตั้งตนอยู่บนความพอดีซึ่งเศรษฐกิจแบบพอเพียงนั้นเป็นหลักที่ผสมผสานระหว่างการใช้ชีวิตบนทางสายกลางกับการรู้จักสถานภาพของตนเองโดยคำนึงถึงความจำเป็นในการดำเนินชีวิต   ว่าสิ่งใดที่ทำแล้วเกิดประโยชน์สูงสุด แต่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด  ก็ย่อมเป็นผลดีกับทั้งตนเองและประเทศชาติซึ่งการตั้งตนอยู่บนเศรษฐกิจพอเพียงนั้น  ไม่ได้หมายความว่าเราจะหยุดอยู่กับที่ไม่มีการพัฒนา แต่เราต้องรู้จักนำปรัชญานี้มาใช้อย่างชาญฉลาด          ซึ่งในยุคโลกาภิวัฒน์นั้นเป็นยุคที่มีความแกร่งแย่ง  มากมาย ซึ่งมีวัตถุนิยมมาเป็นตัวจูงใจให้คนนั้นเกิดความฟุ่มเฟือย  แต่ไม่ใช้ว่าเราจะไม่พึงระบบวัตถุนิยมเพราะในบางโอกาสเราต้องใช้ประโยชน์จากตรงนี้   หากเรารู้จักประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงให้เหมาะสมกับยุคโลกาภิวัฒน์  ทั้งประชาชนและประเทศทั่วโลก  มีคุณภาพชีวิตที่ดี           2.  ผลกระทบต่อตนเองและครอบครัว  หากเรามีพื้นฐานเศรษฐกิจที่พอเพียงก็จะทำให้ตัวเราและครอบครัวมีความสุขอยู่กับความพอดี  ไม่มีหนี้สินแม้ว่าการใช้เศรษฐกิจในการดำเนินชีวิตอาจไม่ได้ทำให้ตนเองและครอบครัวร่ำรวยมั่งคั่งเหมือนครอบครัวอื่นๆ แต่เราและครอบครัวก็จะเป็นครอบครัวที่มีความสุขมากที่สุดในยุคโลกาภิวัฒน์

 

สมาชิกในกลุ่มที่ 2

          1.  นางสาวโรสริน        เส็กเจริญ                      2.  นางงสาวฤดีมาศ      จันทร์วิเมลือง                3.  นางสาวอัจฉรา       อิ่มสุวรรณฤทัย                4.  นางสางวีณา          เงินบุตรโคตร                  5.  นางสาวสุนันทา      แซ่ลิ้ม                

 

กลุ่มที่  2

          เศรษฐกิจพอเพียงคือ  การจัดการหรือการบริหารทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และมีคุณค่าในระยะยาว          1.  ประเด็นหลักที่มีความสำคัญกับเศรษฐกิจพอเพียง-          มีเป้าหมายในการพัฒนา-          เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม-          อยู่ในความพอดี และรู้จักตนเอง-          ต้องมีการพัฒนาอยู่เสมอ เพื่อความเสถียรยั่งยืน 2.  ผลกระทบต่อตัวเรา และครอบครัว    ผลกระทบต่อตัวเรา -   ทำให้เรารู้จักตนเอง  ว่าในขณะนี้เราเป็นใคร  มีสถานภาพแบบไหน สามารถดำเนินกิจกรรมใดได้บ้าง  และมีหน้าที่อย่างไร  เช่นในขณะที่เรามีเงินอยู่  100 บาท  เราต้องวางแผนการใช่จ่ายเงินนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด  และไม่เสียเปล่า  หรืออาจจะเหลือเก็บออมไว้ เพื่อประโยชน์ในวันข้างหน้า  เรื่องการแต่งกายก็ควรแต่งให้เหมาะสม ไม่ใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือยไปตามกระแสแฟชั่นเพราะเรายังอยู่ในวัยเรียน  ยังไม่มีรายได้ จึงควรใช้จ่ายอย่างประหยัด                 ผลกระทบต่อครอบครัว  -   ถ้าครอบครัวมีรากฐานที่ดี สมาชิกทุกคนในครอบครัวก็จะดีด้วย เช่น ปัจจุบันมีหลายครอบครัวที่นิยมใช้จ่ายเงินในระบบผ่อนจ่าย หรือใช้บัตรเครดิต เพราะความอยากได้อยากมี แต่ไม่ได้ประมาณตนเอง ทำให้เกิดหนี้สินขึ้นในครอบครัว

 

 

สมาชิกในกลุ่มที่  3

           1.  นายคณวัฒน์        พรสุริยโรจน์                2.  นางสาววิจิตรา      บัวบุญเลิศ                   3.  นางสาวอรชุมา      อาลัยผล                   4.  นางสาวช่อเพชร    บายศรี                        5.  นางสาวทิวาพร      เขาหนองบัว                 6.  นางสาวอารยา        อินโสม                      7.  นางสาวสุรินทิพย์    กิติทัศน์เศรษณี                

กลุ่มที่  3

          เศรษฐกิจพอเพียง  คือ  แนวทางพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ต้องการให้ประชาชนมีชีวิตที่ดี  ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของยุคโลกาภิวัฒน์   เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยได้รับวัฒนธรรมจากชาติตะวันตกเข้ามา  ทำให้เงินในประเทศไทยรั่วไหลไปอยู่กับต่างชาติมากขึ้น  และอาจส่งผลทำให้ประเทศชาติขาดความมั่นคง ดังนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงตั้งเศรษฐกิจขึ้นมา  เพื่อให้ประชาชนได้นำวัตถุดิบที่มีอยุ่ในประเทศเรามาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์  และนำความรู้  ความสามารถของตนเองออกมาใช้เอง  และนำผลิตภัณท์ที่คนไทยผลิตขึ้นมาส่งออกไปยังต่างประเทศเพื่อให้เกิดเงินหมุนเวียนทั้งภายในและภาบยนอกประเทศ  เพื่อต้องการให้เกิดผลให้ประเทศชาติมีความมั่นคง  มีรากฐานทางเศรษฐกิจให้ดีขึ้น  และปลูกฟังทำให้ประชาชนสามารถใช้ชีวิตอยู่เพื่อความอยู่รอดภายใต้โลกโลกาภิวัฒน์          ผลกระทบต่อตนเองและครอบครัวจากหลักเศรษฐกิจพอเพียง  จะช่วยทำให้เราสามารถตัดสินใจที่จะบริโภคในสิ่งที่ดี มีประโยชน์ และเหมาะสมกับฐานะของตนเอง  ไม่ใช่มัวแต่หลงไหลตามกระแสวัตถุนิยมของต่างประเทศเข้ามา เมื่อเห็นคนอื่นมีเราก็ต้องมี เนื่องจากความอยากที่เราคิดนั้นไม่ผิดหรอกที่จะคิด   แต่เราควรรู้จักคิดอย่างรอบคอบ  ใช้คุณธรรมในการตัดสินปัญหาที่เกิดขึ้น  ใช้หลักความพอดี  ความเหมาะสม  รู้จักความพอเพียงเพื่อเป็นการสร้างรากฐานของตนเองในอนาคต  

สมาชิกในกลุ่มที่  4

           1.  นางสาวเพ็ญษา     ภาคเสมา                  2.  นางสาวมลฤดี        พันเสาขวา                3.  นางสาวสุณัฐา        บางสร้อย                 4.  นางสาวธนาพรรณ  มีมะแม5.  นางสาวนิษฐา        ไชยพังยาง    

 

กลุ่มที่   4

           ความสำคัญต่อเศรษฐกิจพอเพียง          การมีเศรษฐกิจที่พอเพียงควบคู่ไปกับยุคโลกาภิวัฒน์  ในขณะที่โลกกำลังเปลี่ยนแปลงและก้าวหน้าสู่การพัฒนาไปมากขึ้นทั้งทางด้านเศรษฐกิจและด้านเทคโนโลยีต่างๆ แต่ในขณะเดียวกันโลกาภิวัฒน์ไม่ได้พัฒนาคุณภาพหรือความนึกคิดของมนุษย์ให้ดีขึ้นเลยดังนั้นพ่อหลวงของเราจึงประทานทฤษฎีที่จะทำให้มนุษย์อยู่ในโลกาภิวัฒน์ได้อย่างมั่นคงและชาญฉลาด  นั้นคือหลักทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งประคองไปด้วยการมีเหตุผล  พอประมาณและข้อที่สำคัญคือมีคุณธรรมหรือการเป็นคนดีไม่ประมาณ  มีการวางแผนชีวิตอย่างเป็นขั้นตอน  ไม่อยากมีอยากได้หรือเป็นมากเกินไป  ไม่หลงไหลในวัตถุนิยมและอยู่ในโลก โลกาภิวัฒน์ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน          คิดว่าจะกระทบกับตัวเราและครอบครัวอย่างไร          ถ้าเราสามารถนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้   เราอาจไม่จำเป็นจะต้องพอเพียงไปซะทุกเรื่องเพราะถ้าเราพอเพียงมากเกินไปจะกลายเป็นความชี้เหนี่ยว  เพราะฉะนั้นเราต้องใช้เศรษฐกิจพอเพียงควบคู่ไปกับสมอง  กับครอบครัวก็เช่นกัน ถ้าครอบครัวเข้าใจและให้การอบรมที่ถูกต้องจะทำให้ลูกหลานมีแนวทางในการใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้น  เปรียบเสมือนต้นไม้  ยิ่งต้นไม้มีขนาดใหญ่เท่าไร  รากก็จะยิ่งใหญ่มากขึ้น  ก็แสดงว่าทุกอย่างต้องเริ่มมาจากรากฐานที่มั่นคง  เมื่อรากฐานมั่นคงทุกอย่างก็จะสามารถเติบโต  และยั่งยืนในที่สุด ดิฉันเคยได้ดูรายการรายการหนึ่งซึ่งในหลวงตรัสกับข้าราชบริพารว่า   ท่านทรงใส่รองเท้าคู่ละไม่ถึง 500  บาท    แต่ข้าราชบริพารกลับใส่รองเท้าคู่ละ  3000  ซึ่งพระองค์ก็ตรัสต่อไปว่าท่านจะใส่รองเท้าคู่ละไม่ถึง 500  นี้ ไปจนกว่าที่ท่านจะใส่ไม่ได้  ตั้งแตต่ได้ดูรายการนั้นมาดิฉันก็ตั้งใจอย่างแน่วแน่เลยว่าจะนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวันอย่างแน่นอนค่ะ

 

สมาชิกในกลุ่มที่   5

           1.  นางสาวจิตติเศรษฐ์      จรูญโรจน์วงศ์               2.  นางสาวนุชรัตน์           เกื้อสกุล                      3.  นางสาวปพิชญา          กัลศักดิ์                       4.  นางสาวปวรรัตน์          คุ้มสิน                        5.  นางสาวรัชนีวรรณ        จันทเดช           

        6.นางสาวศิรประภา     สนามชัย  

   

     กลุ่มที่   5

          สรุปประเด็นหลักที่สำคัญต่อเศรษฐกิจพอเพียง          มุ่งเน้นความสมดุล          รอบคอบ                          ภายใต้ความเหมาะสมปลอดภัย                เป้าหมายคือความสุขในชีวิตยั่งยืน          ประโยชน์          แผนสำรอง          มีการป้องกัแก้ไขสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต           ผลกระทบ-          ทำให้เรารู้จักการนำทรัพยากรมาใช้ให้เป็นประโยชน์-          ถ้าเราปฏิบัติตามเศรษฐกิจพอเพียง จะทำให้เราดำเนินชีวิตได้อย่างไม่เดือดร้อน-          อันดับแรกเราต้องมองตัวเอง  มองสภาพความเป็นจริงของครอบครัว ให้ดำเนินชีวิตให้เหมาะสมไม่สูงโต่งเกินไปอยู่อย่างพอเพียง อยู่อย่างพอเหมาะ  และจะทำให้เรารู้จักการวางแผน  และพัฒนาให้เหมาะสมเพื่อให้เกิดความสุขและไม่เดือดร้อน  ถ้าเราทำให้ตนเองดีแล้วก็จะส่งผลต่อครอบครัวในทางที่ดีไม่เดือดร้อน

 

 

สมาชิในกลุ่มที่  6

          1.  นายกฤษดา        ยืนยัง             2.  นายภานุพงษ์      อุ่นทรัพย์วิไล               3.  นายวีรยุทธ         กลองมาลัย                      4.  นายวสันต์          สีนวลจันทร์                  5.  นางสาวนิรชา      คล้ายฉายา                       6.  นางสาวโสรยา     จำปาพันธ์                   7.  นางสาวมัญชุสา   พุ่มคุ้ม                             8.  นางสาวณัฏฐ์นรี   เตรียมเกิดทรัพย์       กลุ่มที่  6          สรุปประเด็นหลักของเศรษฐกิจพอเพียง          -  ประเทศไทยประสบปัญหาเศรษฐกิจ  เพราะมีการลัทธิบริโภคนิยมจากต่างชาติ  ดังนั้น  เศรษฐกิจพอเพียงจะเป็นแนวทางในการสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจให้มั่นคงและให้เจริญเติบโตอย่างช้า  โดยใช้หลักความไม่ประมาท          -  นำไปใช้การเรียนการศึกษา  ไม่ยึดติดกับสถาบันชื่อเสียงเราศึกษาไปเพื่อให้รู้เท่าทันโลกาภิวัฒน์และใช้ชีวิตอยู่ได้ และนำความรู้ไปพัฒนาสังคม           ผลกระทบต่อตัวเราและครอบครัว          -  ตัวเรา  เราอยู่ในวัยเรียนไม่ควรที่จะไปหลงไหลกับความฟุ่มเฟือยต่างๆ จนเกินตัวจะทำให้ไม่มีสมาธิในการเรียน เช่นโทรศัพท์  ควรใช้อย่างพอประมาณ  ใช้ในการลงทุน ไม่ใช้ในการบริโภค          -  ครอบครัว  ครอบครัวถือเป็นพื้นฐานอย่างแรกของสังคมไทยถ้าเศรษฐกิจพอเพียงสามารถเข้าไปอยู่ในทุกครอบครัวได้ประเทศของเราก็จะเป็นปึกแผ่นในด้านเศรษฐกิจ เหมือนต้นไม้ที่มีความสำคัญของเศรษฐกิจ   รากฐานที่แข็งแรง          เศรษฐกิจในประเทศไทยของเราในยุคสมัยนี้กำลังประสบกับปัญหาเศรษฐกิจเพราะว่าเรามีการลัทธิบริโภคจากต่างชาติเข้ามาทำให้คนในประเทศเริ่มจะมีแนวในด้านเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไป  โดยที่คนส่วนใหญ่มักจะมองข้ามความเจริญก้าวหน้าโดยใช้วิธีการข้ามกระโดดไปโดยไม่ไตร่ตรองและค่อยๆปรับเปลี่ยนไปที่ละช้า  ดังนั้น เศรษฐกิจจึงเป็นแนวทางการแก้ไขแนวทางหนึ่งในการสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจให้มั่นคง  และสามารถเจริญเติบโตขึ้นอย่างช้าๆ และมั่นคงโดยใช้หลักความไม่ประมาทและความพอประมาณ  มีการสร้างหลักการการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศให้เหมาะสมกับสภาวะและสถานภาพของประเทศ  ซึ่งจะทำให้เราสามารถอยู่ได้ภายในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง         
รายการเศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ชุดที่ 2 รู้ทันโลกาภิวัตน์ (จำนวน 9 ตอน) ตอนที่1 โลกาภิวัตน์คืออะไร โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อ. 14 – 11 -49 ตอนที่2 การเปิดเสรีทางการค้า โดย นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ พ. 15 – 11 - 49 ตอนที่3 การเปิดเสรีทางการเงิน โดยดร.ก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหาร บล.เอเชีย พลัส พฤ. 16 – 11 - 49 ตอนที่4 ยุคโลกาภิวัตน์....ยุคIT ดร.ครรชิต มาลัยวงศ์ ศ. 17 – 11 -49 ตอนที่5 โลกาภิวัตน์.. ความเสี่ยงและโอกาสของแรงงานไทย โดยผศ.ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร จ. 20 – 11 -49 ตอนที่6 การศึกษายุคโลกาภิวัตน์ คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา อ. 21– 11 - 49 ตอนที่7 วัฒนธรรมไทยในยุคโลกาภิวัตน์ โดยคุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พ. 22 – 11 - 49 ตอนที่8 พลังงานยุคโลกาภิวัตน์ คุณอนนต์ ศิริแสงทักษิณ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.(มหาชน)จำกัด พฤ. 23 – 11 -49 ตอนที่9 โลกาภิวัตน์..ประเทศไทยกับการสร้างศักยภาพทางการแข่งขัน ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ศ. 24 – 11 - 49
ลูกพระราชา ( สวนสุนันทา )

กราบเรียน อ. จีระ  พวกหนูมีความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวคิดที่ อาจารย์ได้กล่าวไว้ ดังนี้

หนูมีความเห็นเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงว่า  เป็นหลักที่ทุกๆคนสามรถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้  ไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่มีอายุเท่าไหร่หรือบุคคลที่ทำอาชีพอะไร  ก็สามารถที่จะนำหลักเศรษฐกิจมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันเช่นกัน  สำหรับตัวหนูเองที่เป็นนักศึกษาอยู่สามารถที่จะนำหลักปรัชญามาใช้ในชีวิตประจำวันได้คือ  การใช้เงิน  เงินที่ได้มาในแต่ละวันนั้นเราสามารถที่จะเก็บออมได้ไม่มากก็น้อยตามสัดส่วน   รู้จักที่จะประหยัดและใช้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด  หนูจะนำหลักปรัชญามาใช้กับทุกคนรวมทั้งคนในครอบครัวด้วย

 น.ส.อุมาวรรณ ศรีโรจน์นพคุณ 0879951748

ลูกศิษย์ อ. สุดาภรณ์  อรุณดี

หนูมีความคิดเห็นว่าการที่เรานำหลักปรัชญามาใช้ในชีวิต  สามารถทำให้เราอยู่ได้อย่างมีความสุข  ไม่เดือดร้อน  หนูได้ติดตามรายการของ อ. ทางช่อง 11 และอ่านหนังสือ  ตรงที่ อ. ได้เขียนเป็นคอลัมน์ไว้  หนูอ่านแล้วได้ความรู้มากมายเกี่ยวกับการดำรงชีวิตโดยมีหลักปรัชญาเศรษฐกิพอเพียงเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในสังคมไทย  และหนูก็จะปลูกฝังสิ่งที่ดีนี้ให้แก่บุคคลในครอบครัวด้วยค่ะ

น.ส.กฤติยาณี  เทียบแก้ว 0891049967

ลูกศิษย์ อ. สุดาภรณ์  อรุณดี

หนูมีความคิดว่าเศษฐกิจพอเพียงคือการนำมาปรับปรุงเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันและสามารถที่จะทำให้คนสามารถมัการดำเนินชีวิตอย่างไม่ประมาท  ทุกวันนี้มีการแข่งขัน  จะทำอะไรก็ต้องใฝ่ร้ใฝ่เรียนอยู่ตลอดเวลา  เพื่อให้กิดประโยชน์ต่อตัวเราเอง  ถ้าเราไม่พัฒนาตนเอง  จะทำให้เราเสียโอกาสที่ดี

น.ส.แสงเพรช  ผลจันทร์ 0847113173

ลูกศิษย์ อ. สุดาภรณ์  อรุณดี

ด้วยความเคารพอย่างสูง

กราบเรียน ศ.คร.จีระ หงษ์ลดารมณ์

ดิฉันนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา(ศูนย์การศึกษาดรุณพิทยา) สาขาบริหารธุรกิจ(การตลาด)หลักสูตร 4ปี

ดิฉันได้รู้จัก ดร.จีระ เนื่องจากอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยได้สอนวิชาการคิดและการตัดสินใจ ได้ให้ศึกษาประวัติของท่าน และให้ติดตามรายการทั้งโทรทัศน์ช่อง11 รายการวิทยุ96.5FM หนังสือพิมพ์แนวหน้า และก็ให้ศึกษาแนวความคิดของท่าน ซึ่งตอนที่อาจารย์สั่งงานให้ทำพวกดิฉันคิดว่าทำไมสั่งเยอะจังแล้วทำไมต้องเป็นของดร.จีระด้วย อาทิตย์แรกก็ทำส่งๆไป แต่พออาทิตย์ที่สองรู้สึกว่าน่าสนใจ พอศึกษามาอาจารย์ก็นำมาสอนด้วย ทั้งสอนทั้งยกตัวอย่างทำให้รู้สึกไม่เบื่อวิชาของอาจารย์คนนี้ และก็ได้ความรู้จากที่ศึกษาแล้วอาจารย์ยังยกตัวอย่างทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นด้วย ก่อนหน้านี้ดิฉันมีความคิดที่อยากจะมีเงินเก็บ แต่ทำยังไงก็เก็บไม่ได้ พอมาได้ศึกษาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง จึงทำให้ดิฉันมีความคิดและอยากนำมาปรับใช้บ้าง อะไรที่เหมาะสมก็จะซื้ออะไรที่ไม่เหมาะสมก็จะไม่ซื้อ เพราะเรายังเป็นวัยที่ศึกษายังหาเงินเองไม่ได้ยังต้องขอพ่อแม่ยิ่งเราไม่รู้จักว่าอะไรควรไม่ควรเรายิ่งทำให้พ่อแม่ลำบาก ต้องขอบคุณอาจารย์ที่สอนพวกดิฉันที่ทำให้ได้รู้จักกับ ดร.จีระ ทำให้ได้ความรู้และความคิดใหม่ๆนี้ขอบคุณค่ะ

ด้วยความเคารพอย่างสูง

นางสาว กฤติยา เภาสาลี 49473130114 (084-7855058)

นางสาว ภาวิณี กิตติอุดม 49473130142 (087-6955578)

ลูกศิษย์ อาจารย์ สุดาภรณ์ อรุณดี (Lotus)

ตลาด 01 4 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

กราบเรียน ศ.ดร.จีระ ที่เคารพค่ะ หลังจากที่พวกหนูได้ดูรายการเศรษฐกิจพอเพียงกับโลกภิวัฒน์พวกหนูอยากรู้รายละเอียดมากกว่านี้ค่ะว่าสองคำนี้ลงตัวกันได้อย่างไรค่ะและหลังจากที่พวกหนูได้ดูรายการที่ออกอาศทุกวันจันทร์-ศุกร์แล้วพวกหนูยังคอยติดตามข่าวไม่ว่าจะเป็น หนังสือพิมพ์แนวหน้า จากเมื่อก่อนที่พวกหนูไม่เคยรู้มาก่อนเพราะอ.สุดาภรณ์ เป็นคนสั่งงานที่เกี่ยวกับ ดร.จีระทั้งหมด อ.สุดาภรณ์บอกว่าอยากให้นักศึกษาใช้เศรษฐกิจพอเพียงให้เกิดประโยชน์และพวกหนูก็ยินดีที่จะทำตามทฤษฎีของดร.จีระค่ะ

ด้วยความเคารพอย่างสูง

น.ส.หนึ่งฤทัย      เกิดสวัสดิ์         0897635575

น.ส.อริยา           ชัยชาญ             0847592980

น.ส.พรทิพย์        ร่มเกษแก้ว        0865465876

ตลาด 01 4 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

กราบเรียน ศ.ดร.จีระที่เคารพค่ะ

        พวกหนูเป็นลูกศิษย์ของอ.สุดาภรณ์ เรียนวิชา การคิดและการตัดสินใจจากที่พวกหนูได้ดูรายการเศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัฒน์ พวกหนูสงสัยว่าเศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัฒน์เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันอย่างไร และเท่าที่พวกหนูได้ดูมาทำให้เข้าใจเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงหลังจากเมื่อก่อนก็ได้แค่ฟังพอผ่าน ๆ ไม่ได้สนใจความหมายเท่าไหร่และรายการของดร.จีระดีมากเลยค่ะให้ความรู้สอนให้รู้จัดคิดและตัดสินใจด้วยตนเองและสามารถนำเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นต้นแบบในการดำเนินชีวิตในการเป็นนักศึกษา

ด้วยความเคารพอย่างสูง

น.ส.วารีวรรณ            โฉมศรี          0860544945

น.ส.จรัสแสง              โคมเปือย     0858026051

น.ส.สุกลัยา                เชื้อทหาร     0840740079

กิจกรรมโครงการเศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์” เมื่อวันพุธที่ 15 พฤศจิกายน 2549 ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และทีมงานChira Academy ได้เดินทางไปจัดกิจกรรมโครงการเศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ ณ  รร.เทพศิรินทร์ ลาดหญ้า  ซึ่งมีนักเรียนและอาจารย์เข้าร่วมฟังการบรรยายโดย ศ.ดร.จีระ และดู  VCD สารคดีสั้นชุดเศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ในตอนที่ 1 : ทำไมต้องเป็นเศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ และ ตอนที่ 7 : ความพอเพียงระดับชุมชน หลังจากนั้นเปิดอภิปรายเป็นกลุ่มๆ โดยมีการกำหนดหัวข้อคือ1.      เศรษฐกิจพอเพียงกับระบอบทักษิณมีความแตกต่างกันอย่างไร 2.      เศรษฐกิจพอเพียงจะช่วยพัฒนา ชุมชน ครอบครัว  และโรงเรียน ได้อย่างไร   โดยในการรับฟังในวันนั้น ประกอบด้วย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 30 คน แบ่งเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 6 คน  และอาจารย์ประมาณ 10 ท่าน อีก 1 กลุ่มสรุปการอภิปรายของนักเรียน รร.เทพศิรินทร์ ลาดหญ้าเป็นดังนี้                                           สมาชิกในกลุ่ม                  1. นายบุญมี           ทองมล                    [email protected]                2. นางสาวปิยะพร                 นิ่มนวล                   [email protected]                3. นางสาวนวนิต  เกษมสินธุ์               [email protected]                4. นางสาวพิมลฑา  พิสูตร                   [email protected]                5. นางสาวอมรรัตน์  เหมือนจิตต์          [email protected]                6. นางสาวอนุสรา เปี่ยมชัย                  [email protected] 1.       เศรษฐกิจพอเพียงกับระบอบทักษิณแตกต่างกันอย่างไร-          ระบอบทักษิณเป็นระบอบที่เน้นวัตถุนิยมและประชานิยม เช่นการที่ทักษิณปล่อยระบบเงินกู้ให้กับประชาชนทำให้ประชาชนใช้เงินอย่างประมาท ฟุ้งเฟ้อทำให้ประชาชนอยู่ได้ในระยะสั้นเท่านั้นซึ่งแตกต่างกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงคือการอยู่อย่างยั่งยืนโดยการ ผลิตอาหารขึ้นมารับประทานเองได้ เช่น การปลูกพืชผัก หรือเลี้ยงสัตว์และรู้จักแบ่งปันซึ่งกันและกันในครอบครัวรวมทั้งชุมชนด้วย 2.       เศรษฐกิจพอเพียงจะช่วยชุมชน ครอบครัว และโรงเรียนได้อย่างไร-          เราต้องปลูกฝังและให้ความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงให้ประชากรได้เข้าใจก่อนและยกเหตุผลของผลที่จะตามมาให้ทุกคนได้ตระหนักเสียก่อนขณะที่เราให้เหตุผลจนเข้าใจแล้ว ประชาชนก็นำเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวันและต้องเกิดความร่วมมือของคนในชุมชนจึงจะเกิดผลดีตามมา  ตัวอย่างเช่น การเปิดธนาคารโรงสีข้าวในชุมชนคือ เวลาที่ประชาชนไม่มีเงินและต้องการเงินไปใช้ในสิ่งต่างๆ ก็สามารถนำผลิตผลทางเกษตรมาจำนำเพื่อนำเงินมาใช้จ่ายได้เมื่อมีเงินแล้วเราก็สามารถนำไปใช้คืน เพื่อนำผลิตผลออกมาโดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง หรือไม่ต้องจ่ายค่าดอกเบี้ยอย่างเงินกู้ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นตัวทำหลายประชาชนโดยตรง -          ส่วนประโยชน์ที่นำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้คือ การออมเงิน  การตั้งสหกรณ์  หรือธนาคารในโรงเรียน  ทำให้นักเรียนรู้จักการออมเงิน สมาชิกในกลุ่ม                1. นายอิทธิ                             วิริยาลัย                 [email protected]                2. นางสาวพรสวรรค์             ไชยเกิด                   [email protected]                3. นางสาวบุษบา   ปูสกุล                                     Eve_ [email protected]                4. นางสาวไพริน    เกษรบัว                                  oil [email protected]                5. นางสาวรจนา    สิงชมภู                                    Rot  [email protected]                6. นางสาวดวงฤดี แสวงดี                                    duangrudee  [email protected]  1.        เศรษฐกิจพอเพียงกับระบอบทักษิณแตกต่างกันอย่างไร-          ระบอบทักษิณจะเป็นทางด้านวัตถุนิยม จะมีการเปิดให้กู้ยืมเงิน  ทำหวยบนดิน หรืออาจมีการเปิดบ่อนคาร์ซิโนในประเทศไทย(ไม่แน่ใจเท่าที่ควร) จะเห็นว่าสิ่งเหล่านี้เป็นการเสริมกิเลส แต่เศรษฐกิจพอเพียงจะเน้นการเดินสายกลาง  และใช้หลักธรรมทางศาสนา อริยสัจ 4 และคำว่าภูมิคุ้มกันจะคอยป้องกันให้ชีวิตเราปลอดภัย  ห่างไกลจากกิเลส  แต่ระบอบทักษิณอาจจะไม่ใช่เสมอไป แต่อย่างไรก็ดีเศรษฐกิจพอเพียงจะมีส่วนดีอยู่มาก แต่ระบอบทักษิณก็มีทั้งข้อดีข้อเสีย แต่อย่าลืมว่าความฟุ่มเฟื่อยไม่ใช่สิ่งที่ดี  เช่นการซื้อของและเลือกซื้อสิ่งที่ดีที่แพงที่สุด  และมีความเหมาะใช้ให้เกิดประโยชน์ได้สูงสุดด้วย  2.       เศรษฐกิจพอเพียงจะช่วยชุมชน ครอบครัว และโรงเรียนได้อย่างไร-          สามารถช่วยให้ปลอดจากกิเลส  ทั้งชุมชนก็เป็นบุคคลครอบครัวก็เป็นบุคคลโรงเรียนจะเป็นแหล่งสร้างบุคคล  ทุกคนสามารถปฏิบัติและทุกคนมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจอย่างแท้จริงถ้าเป็นเช่นนั้นทุกคนจะปลอดภัย และห่างไกลจากกิเลส ทุกโรงเรียนสร้างเด็กให้มีคุณภาพในเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเด็กเข้าใจและเติบโตต่อไป เขาจะกลายเป็นผู้ใหญ่ที่ดี ไม่เห็นแก่ตัว มีน้ำใจ และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข                       สมาชิกในกลุ่ม                1. นายชัชวาล                        หวังดี                                      2. นางสาวรจนา                    ละอออู่                    Ytr[email protected]                3. นางสาวณัฐวดี  อินทุมณี  duedue[email protected]                4. นางสาวศศิวิมล                วิมูลชาติ                5. นางสาววิจิตรา  สุนจิรัตน์ [email protected]                6. นางสาวกัลยา                   ชะเมกอง                [email protected]   1.       เศรษฐกิจพอเพียงกับระบอบทักษิณแตกต่างกันอย่างไร-    ความพอเพียงนั้นเกิดจากการประมาณตนเอง  ไม่ฟุ่มเฟื่อย ระบอบทักษิณ ทำให้เราพึ่งพาผู้อื่น  ไม่ช่วยเหลือตัวเองเรากู้ยืมเขามาแต่ไม่สามารถใช้คืนได้เนื่องจากเราไม่ได้สอนให้เราเก็บ แต่สอนให้เราใช้  2.       เศรษฐกิจพอเพียงจะช่วยชุมชน ครอบครัว และโรงเรียนได้อย่างไร-          ทำให้ชาวบ้านพึ่งพาตัวเองได้โดยไม่เป็นหนี้ และทำให้เกิดรายได้ภายในชุมชนของตนเอง และสร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมา ชาวบ้านก็จะช่วยกันและรายได้ที่มาก็อยู่ในชุมชนด้วยฝีมือของชาวบ้าน ส่วนในโรงเรียนก็เช่นเกษตรก็ควรที่จะทำแปลงผักเมื่อโตก็นำมาขายได้  หรือไม่ก็นำผักที่ปลูกมาช่วยทำอะไรในโรงเรียนได้เหมือนกัน            สมาชิกในกลุ่ม                1. นายนิติพงษ์                                       พรมมาไวย                2. นางสาวรรินธร                  ยางงาม                3. นางสาวจงกลพัรตร์                          จันทราศรี                4. นางสาวธนวันต์                                 ผาดำ                5. นางสาวธนพร                                   พระคลังท่อ                6.นางสาวอังศุมาลิน                             สุวรรณ                                E-Mail  [email protected]  1.       เศรษฐกิจพอเพียงกับระบอบทักษิณแตกต่างกันอย่างไร-          สามารถทำให้คนอยู่อย่างพอมีพอกิน พอประมาณ หากแต่คนไทย อยู่แบบเศรษฐกิจพอเพียง ก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างไม่มีหนี้สินทำให้เราประหยัด ประกอบอาชีพสุจริต และมีความมานะอดทนส่วนระบอบทักษิณ เพียงแต่ปล่อยเงินให้ประชาชนได้กู้  โดยที่ประชาชนอาจนำไปใช้จ่ายโดยฟุ่มเฟื่อยได้  แต่บางคนก็สามารถใช้ในทางที่ดี  2.       เศรษฐกิจพอเพียงจะช่วยชุมชน ครอบครัว และโรงเรียนได้อย่างไร-          เศรษฐกิจพอเพียงในครอบครัวคือรู้จักประหยัดอดออม  ช่วยเหลือกันภายในครอบครัว  มีเวลาอยู่ร่วมกันทำกิจกรรมร่วมกัน  รู้จักใช้ไม่ฟุ่มเฟื่อย  เช่นปลูกผักกินเอง  ก็สามารถนำมาขายได้มีรายได้เข้าครอบครัว-          ด้านโรงเรียน มีธนาคารออมทรัพย์ภายในโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนฝากเงิน  หัดรู้จักออม เพื่อให้เราสามารถนำมาใช้ได้ในยามจำเป็นได้  สมาชิกในกลุ่ม                1. นางสาวจุฑาพร                                ยอดดอนไพร          [email protected]                2. นายปริญญา                     สามารถ                 [email protected]                3. นางสาวน้ำเพชร                                สุทธิ์สิงห์                 [email protected]                4. นางสาวแอนนา                                 เฉลิมธนะกิจโกศล [email protected]                5.นายวิลภ                             เหลืองทอง              [email protected]                6. นางสาวอิษฎา                   สุ่นหอม                   [email protected]                                                                                                [email protected]   1.        เศรษฐกิจพอเพียงกับระบอบทักษิณแตกต่างกันอย่างไร-          เราสามารถสรุปในระบอบของทักษิณเราไม่สามารถที่จะบอกได้ว่าระบอบทักษิณไม่ ดีเราไม่สามารถสรุปได้เพราะเงินที่ทักษิณให้มานั้นเขามิได้บ่งบอกว่าเงินเหล่านั้นต้องเอาไปซื้ออะไร ต้องเอาไปทำอะไรเพียงแต่ว่าพวกเรานำเงินเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ได้มาน้อยเพียงใดบางคนอาจนำเงินเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ แต่บางคนนำไปใช้แบบไม่มีประโยชน์ พอถึงเวลาต้องใช้หนี้เราไม่มีเงินใช้เราก็ต้องไปกู้ยืมมา ใช้อีกทางทำให้เราติดหนี้เพิ่มขึ้นอีกแต่ในด้านเศรษฐกิจพอเพียงนั้นเราเน้นให้นำทรัพย์สินปัญญามาใช้ให้เกิดประโยชน์เกิดความสมดุลให้มากที่สุด เศรษฐกิจพอเพียงสามารถช่วยพัฒนาชุมชน  พัฒนาครอบครัวและพัฒนาโรงเรียนได้มากอย่างเช่นการพัฒนาชุมชนคือประชาชน ในครอบครัวในชุมชนรวมตัวกันจัดตั้งโครงการมาซักหนึ่งอย่างโดยการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาช่วยคือการช่วยนำทุนทรัพย์ที่มีอยู่มาพัฒนาให้เกิดประโยชน์มากที่สุดโดยไม่ต้องมีการกู้ยืมให้ติดหนี้สินด้วย
พิพัฒน์ อัคฮาด (ม.สวนสุนันทา)

เรียนท่าน ดร.จีระ

เรื่องขอความคิดเห็นเกียวกับการใช้เศรษฐกิจพอเพียงนั้น สามารถใช้กับนักเรียนนักศึกษาได้อย่างไร เพราะว่าทุกวันนี้การที่เทคโนโลยีมีมาเยอะมาก เช่นโทรศัพท์มือถือ ซึ่งนักศึกษาคนไหนมีอำนาจซื้อจะซื้อโดยขาดการตัดสินใจและอีกอย่างการใช้ของเกินความจำเป็นของนักศึกษา จะนับจากทุกวันนี้เศรษฐกิจพอเพียงสามารถใช้ได้กับคนทุกกลุ่ม แต่กับนักศึกษาการใช้เศรษฐกิจพอเพียงยังเป็นเรื่องที่นักศึกษาไม่ค่อยให้ความสำคัญ แต่จะให้ความสำคัญกับความสะดวกกับตัวเองมากกว่า และส่วนมากกลุ่มนักศึกษาจะใช้จ่ายโดยความชอบและตามเพื่อน จะขอเรียนถามท่าน ดร.จีจะ ว่าจะทำยังไงให้นักศึกษาให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้นหนึ่งในนั้นก็คือผมที่ใช้ความคิดชอบมากกว่าเหตุผล ขอแสดงความนับถือครับ

นาย พิพัฒน์ อัคฮาด 49473130182

โทร 0841148229

.. เกวลี      สำราญฤกษ์   .3/9  เลขที่   16 
1.        โลกาภิวัตน์คืออะไร  จุดอ่อน  จุดแข็งคืออะไร โลกาภิวัตน์คือ  การเชื่อมโยงไปทุกที่ และกระจายไปทุกแห่ง        จุดอ่อน  คือ  เมื่อยุคโลกาภิวัตน์  เข้ามาภายในประเทศไทยแล้ว  ถ้าเราสามารถแยกว่าสิ่งใดมีประโยชน์ หรือสิ่งใดเป็นสิ่งฉาบฉวย โลกาภิวัตน์ก็จะค่อยๆ ทำลายทุกสิ่งต่อตัวเรา   ผู้อื่นและสังคม        จุดแข็ง  คือ  การที่เทคโนโลยี  สามารถไปถึงทุกหนทุกแห่ง และกล่าวนำสมัยไปในสิ่งต่างๆ 
2.        เศรษฐกิจพอเพียงช่วยพัฒนา  และรู้เท่าทันโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร หากเราและคนรอบข้างดำเนินชีวิตโดยมีหลักเศรษฐกิจเป็นที่ตั้งแล้ว  ยุคโลกาภิวัตน์หรืออะไรก็ตามก็ไม่สามารถทำให้ชีวิตเราและคนรอบข้างเปลี่ยนแปลงไป  เพราะหลักเศรษฐกิจพอเพียงทำให้เรารู้จักพอประมาณ  เดินสายกลาง  รู้เท่ารู้ทัน  รู้ถึงโทษถึงประโยชน์ของสิ่งต่างๆ ได้โดยมีสติ
 ..  แคทรียา  รอดคำ   . 3/9 เลขที่ 18 
1.        โลกาภิวัตน์คืออะไร  จุดอ่อน  จุดแข็งคืออะไร โลกาภิวัตน์คือการ เชื่อม  โยงไปทุกที่  และกระจายไปทุกแห่ง        จุดอ่อนคือ  เมื่อยุคโลกาภิวัตน์เข้ามาภายในประเทศแล้ว ถ้าเราสามารถแยกว่าสิ่งใดมีประโยชน์ หรือสิ่งใดเป็นสิ่งฉาบฉวย  โลกาภิวัตน์ก็จะค่อยๆ ทำลายทุกสิ่งต่อตัวเรา        จุดแข็ง คือ  การที่เทคโนโลยีสามารถไปถึงทุกหนทุกแห่ง  และกล่าวนำสมัย ไปในสิ่งต่าง ๆ 
2. เศรษฐกิจพอเพียงช่วยพัฒนา  และรู้เท่าทันโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร                หากเราและคนรอบข้างดำเนินชีวิตโดยมีหลักเศรษฐกิจเป็นที่ตั้งแล้ว  ยุคโลกาภิวัตน์หรืออะไรก็ตามก็ไม่สามารถทำให้ชีวิตเราและคนรอบข้างเปลี่ยนแปลงไป  เพราะหลักเศรษฐกิจพอเพียงทำให้เรารู้จักพอประมาณ  เดินสายกลาง  รู้เท่ารู้ทัน  รู้ถึงโทษถึงประโยชน์ของสิ่งต่างๆ ได้โดยมีสติ  
..  วนิดา   ประกฤตผล  . 3/9 เลขที่  36 
1.        โลกาภิวัตน์คืออะไร  จุดอ่อน  จุดแข็งคืออะไร โลกาภิวัตน์คือการ เชื่อม  โยงไปทุกที่  และกระจายไปทุกแห่ง        จุดอ่อนคือ  เมื่อยุคโลกาภิวัตน์เข้ามาภายในประเทศแล้ว ถ้าเราสามารถแยกว่าสิ่งใดมีประโยชน์ หรือสิ่งใดเป็นสิ่งฉาบฉวย  โลกาภิวัตน์ก็จะค่อยๆ ทำลายทุกสิ่งต่อตัวเรา        จุดแข็ง คือ  การที่เทคโนโลยีสามารถไปถึงทุกหนทุกแห่ง  และกล่าวนำสมัย ไปในสิ่งต่าง ๆ 
2. เศรษฐกิจพอเพียงช่วยพัฒนา  และรู้เท่าทันโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร                หากเราและคนรอบข้างดำเนินชีวิตโดยมีหลักเศรษฐกิจเป็นที่ตั้งแล้ว  ยุคโลกาภิวัตน์หรืออะไรก็ตามก็ไม่สามารถทำให้ชีวิตเราและคนรอบข้างเปลี่ยนแปลงไป  เพราะหลักเศรษฐกิจพอเพียงทำให้เรารู้จักพอประมาณ  เดินสายกลาง  รู้เท่ารู้ทัน  รู้ถึงโทษถึงประโยชน์ของสิ่งต่างๆ ได้โดยมีสติ    
.. อณัญญา  บุญเลิศ  . 3/9 เลขที่  40     [email protected] 
1.        โลกาภิวัตน์คืออะไร  จุดอ่อน  จุดแข็งคืออะไร เป็นการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลาอย่างรวดเร็วจุดอ่อน คือ   ทำให้คนในโลกาภิวัตน์ มีวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป  มีการใช้จ่ายฟุ่มเฟื่อยจุดแข็ง คือ   ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงวัตนธรรมซึ่งกันและกัน ,  ทำให้การศึกษาพัฒนาขึ้น, สามารถนำเทคโนโลยีมาปรับปรุงประยุกต์ใช้ได้ทุกระบบงาน 2.        เศรษฐกิจพอเพียงช่วยพัฒนา  และรู้เท่าทันโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร ทำให้รู้จักการบริหารเงิน และทำให้โลกมีความก้าวไกลทางเทคโนโลยี  รู้เท่ารู้ทัน  รู้จักประมาณ รู้จักคิด    
.. ธิดารัตน์    ฟักร้าง ม. 3/9 เลขที่  24
 1.         โลกาภิวัตน์คืออะไร  จุดอ่อน  จุดแข็งคืออะไร เป็นการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลาอย่างรวดเร็ว          จุดอ่อน คือ ทำให้คนในโลกโลกาภิวัตน์มีวัตนธรรมที่เปลี่ยนไปมีการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟื่อย         จุดแข็ง คือ  ทำให้มีการแลกเปลี่ยนแปลงวัตนธรรม ของกันและกัน สามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ทุกระบบงานทำให้การศึกษาพัฒนาขึ้น 2.         เศรษฐกิจพอเพียงช่วยพัฒนา  และรู้เท่าทันโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร -          ทำให้รู้จักการบริหารเงิน และการจัดการ และทำให้โลกมีความกว้างไกลทางเทคโนโลยี -          รู้เท่า รู้ทัน รู้จักพอประมาณ รู้จักเดินทางสายกลาง  และรู้จักค่านิยม  
.. อรพรรณ  ปรางทอง ม.3/9  เลขที่  41 
1.  โลกาภิวัตน์คืออะไร  จุดอ่อน จุดแข็งคืออะไร 

-          การเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วของโลกและการเปลี่ยนแปลงไปตามค่านิยมของสมัยนั้นๆ

 จุดอ่อน คือ    

 -  การใช่จ่ายที่ฟุ่มเฟื่อย

-          ทำให้ผู้คนมีวิจารณญาณในการดำรงชีวิต

-          ทำให้คนในโลกโลกาภิวัตน์มีวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป

จุดแข็ง  คือ

-          ทำให้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม  ซึ่งกันและกัน

     -          สามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ได้ทุกระบบงาน 2.เศรษฐกิจพอเพียงช่วยพัฒนา และช่วยโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร ทำให้รู้จักการบริหารเงิน และการจัดการและทำให้โลกมีความก้าวไกลตามเทคโนโลยี  รู้เท่า รู้ทัน รู้จักประมาณ รู้จักการเดินสายกลาง  และรู้จักค่านิยม 
.. พิกุลแก้ว  ยนทะสาด  .3/9  เลขที่  28 
1.  โลกาภิวัตน์คืออะไร  จุดอ่อน จุดแข็งคืออะไร การเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและเปลี่ยนแปลงไปตามค่านิยมสมัยนั้นๆจุดอ่อน คือ  การใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟื่อย ,  ทำให้ผู้คนไม่มีวิจารณญาณในการดำรงชีวิต,ทำให้ผู้คนลืมวัฒนธรรม  และมีวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจุดแข็ง  คือ  ทำให้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศ                        สามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ได้ทุกระบบงาน 2.  เศรษฐกิจพอเพียงช่วงพัฒนาและรู้เท่าทันโลกาภิวัตน์ได้อย่างไรทำให้รู้จักการบริหารเงินและการจัดการ  และทำให้โลกมีความก้าวไกลตามเทคโนโลยี  รู้เท่ารู้ทัน  รู้จักประมาณรู้จักการเดินสายกลาง  และรู้จักค่านิยม 
นายจงพัฒธรรม       อ่อนเทศ    .3/9    [email protected] 
1.  โลกาภิวัตน์คือ   จุดอ่อน จุดแข็งคืออะไร                โลกาภิวัตน์คือ

 -   สิ่งที่เปลี่ยน มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา

-          การเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

-          เป็นการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาอย่างรวดเร็ว

จุดอ่อน  คือ

-          ทำให้คนในโลกาภิวัตน์ลืมรากเง่าตัวเอ

-          ทำให้วัฒนธรรมของชาติเปลี่ยนไป

จุดแข็ง  คือ

-          ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมซึ่งกัน และกัน

-          ทำให้การศึกษาพัฒนาขึ้น

-          สามารถทำให้เทคโนโลยีมาใช้ได้ทุกระบบงาน

-          ทำให้การเดินทางสะดวก

2. เศรษฐกิจพอเพียงช่วงพัฒนาและรู้เท่าทันโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร

-          ทำให้รู้จักบริหารเงิน  และการจัดการ

          -        ทำให้สามารถรู้เท่าทันเหตุการณ์ 
นายเชิดศักดิ์       อินทร์กานา ม.3/9  เลขที่  5   chandsak[email protected]

1. โลกาภิวัตน์คือ   จุดอ่อน จุดแข็งคืออะไร

                 เป็นการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาอย่างรวดเร็ว                  จุดอ่อน  คือ ทำให้คนในโลกวัฒนธรรม ของชาติเปลี่ยนแปลงไป                จุดแข็ง  คือ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมซึ่งกัน และกัน                                      ทำให้การศึกษาพัฒนาเพิ่มขึ้น                                      สามารถนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ได้ทุกระบบงาน

2. เศรษฐกิจพอเพียงช่วงพัฒนาและรู้เท่าทันโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร

 -          ทำให้รู้จักการบริหารเงิน  และการจัดการ และทำให้มีความก้าวไกลตามเทคโนโลยี 

..  จินดาหรา  มูลเฟื่อง  ชั้น ม. 3/9 เลขที่ 19

 1.        โลกาภิวัตน์คืออะไร  จุดอ่อน จุดแข็งคือ ตอบ เป็นการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาอย่างรวดเร็ว                จุดอ่อน คือ ทำให้คนในโลกโลกาภิวัตน์มีวัฒนธรรมเปลี่ยนแปลง มีการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟื่อย                จุดแข็ง คือ ทำให้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน                                    ทำให้การศึกษาพัฒนาขึ้น

                                    สามารถ นำเทคโนโลยีมาใช้ได้ทุกระบบงาน

 2.        เศรษฐกิจพอเพียงช่วยพัฒนา เเละเท่าทันโลกาภิวัตน์ได้อย่างไรตอบ  ทำให้รู้จักบริหารเงินและการจัดการอย่างเป็นระบบ และทำให้โลกมีความก้าวไกลทางเทคโนโลยีในด้านการศึกษาสื่อสาร  และรู้เท่าทัน รู้ทัน รู้จักการเดินสายกลาง  และค่านิยม 
 ..ยุวดี  กาญจนกังวาฬกุล  .3/9 เลขที่ 34  [email protected]
1.         โลกาภิวัตน์คืออะไร  จุดอ่อน จุดแข็งคือ ตอบ เป็นการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาอย่างรวดเร็ว                จุดอ่อน คือ ทำให้คนในโลกโลกาภิวัตน์มีวัฒนธรรมเปลี่ยนแปลง มีการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟื่อย                จุดแข็ง คือ ทำให้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน                                    ทำให้การศึกษาพัฒนาขึ้น

                                    สามารถ นำเทคโนโลยีมาใช้ได้ทุกระบบงาน

2.        เศรษฐกิจพอเพียงช่วยพัฒนา เเละเท่าทันโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร

ตอบ  ทำให้รู้จักบริหารเงินและการจัดการอย่างเป็นระบบ และทำให้โลกมีความก้าวไกลทางเทคโนโลยีในด้านการศึกษาสื่อสาร  และรู้เท่าทัน รู้ทัน รู้จักการเดินสายกลาง  และค่านิยม

นายสุบิณ    บัวศรี   . 3/9 เลขที่  11

 1.  โลกาภิวัตน์คืออะไร  จุดอ่อน จุดแข็งคือ                การเปลี่ยนแปลงทางค่านิยมในสมัยนั้นๆ และโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว                จุดอ่อน คือ การใช้จ่าย ฟุ่มเฟื่อย    ทำให้ผู้คนไม่มีวิจารณญาณในการดำรงชีวิต    ทำให้ผู้คนมีวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไป

                จุดแข็ง  คือ  ทำให้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ซึ่งกันและกัน  สามารถนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ได้ทุกระบบงาน

2. เศรษฐกิจพอเพียงช่วยพัฒนา เเละเท่าทันโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร

                 ทำให้รู้จักการบริหารและการจัดการ    ทำให้โลกมีความก้าวไกล  รู้เท่า รู้ทัน รู้จักประมาณ รู้จักสายกลาง  และรู้จักค่านิยม 

.. อรวรรณ    ชาญเวช ม. 3/9 เลขที่  42

1.   โลกาภิวัตน์คืออะไร  จุดอ่อน จุดแข็งคือ

                 โลกที่เปลี่ยนแปลงค่านิยมในสมัยนั้น ๆ และโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว                 จุดอ่อน คือ การใช้จ่าย ฟุ่มเฟื่อย    ทำให้ผู้คนไม่มีวิจารณญาณในการดำรงชีวิต    ทำให้ผู้คนมีวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไป

                จุดแข็ง  คือ  ทำให้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ซึ่งกันและกัน  สามารถนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ได้ทุกระบบงาน

 2. เศรษฐกิจพอเพียงช่วยพัฒนา เเละเท่าทันโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร                ทำให้รู้จักการบริหารและการจัดการ    ทำให้โลกมีความก้าวไกลตามเทคโนโลยี  รู้เท่า รู้ทัน รู้จักประมาณ รู้จักสายกลาง  และรู้จักค่านิยม 
.. อลิษา  โพธิ์ใบ  .3/9  เลขที่  43 
1.   โลกาภิวัตน์คืออะไร  จุดอ่อน จุดแข็งคือ                โลกที่เปลี่ยนแปลงค่านิยมในสมัยนั้น ๆ และโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว                 จุดอ่อน คือ การใช้จ่าย ฟุ่มเฟื่อย    ทำให้ผู้คนไม่มีวิจารณญาณในการดำรงชีวิต    ทำให้ผู้คนมีวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไป

                จุดแข็ง  คือ  ทำให้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ซึ่งกันและกัน  สามารถนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ได้ทุกระบบงาน

 2. เศรษฐกิจพอเพียงช่วยพัฒนา เเละเท่าทันโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร

                ทำให้รู้จักการบริหารและการจัดการ    ทำให้โลกมีความก้าวไกลตามเทคโนโลยี  รู้เท่า รู้ทัน รู้จักประมาณ รู้จักสายกลาง  และรู้จักค่านิยม

.. อนุชา  เจมกุล ม.3/9 เลขที่  14

 1.   โลกาภิวัตน์คืออะไร  จุดอ่อน จุดแข็งคือ                โลกที่เปลี่ยนแปลงค่านิยมในสมัยนั้น ๆ และโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว                 จุดอ่อน คือ การใช้จ่าย ฟุ่มเฟื่อย    ทำให้ผู้คนไม่มีวิจารณญาณในการดำรงชีวิต    ทำให้ผู้คนมีวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไป

                จุดแข็ง  คือ  ทำให้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ซึ่งกันและกัน  สามารถนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ได้ทุกระบบงาน

 2. เศรษฐกิจพอเพียงช่วยพัฒนา เเละเท่าทันโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร                ทำให้รู้จักการบริหารและการจัดการ    ทำให้โลกมีความก้าวไกลตามเทคโนโลยี  รู้เท่า รู้ทัน รู้จักประมาณ รู้จักสายกลาง  และรู้จักค่านิยม 

นายวิริยะ  คงวน  .3/9  เลขที่ 10  [email protected]

 1.   โลกาภิวัตน์คืออะไร  จุดอ่อน จุดแข็งคือ                โลกที่เปลี่ยนแปลงค่านิยมในสมัยนั้น ๆ และโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว                 จุดอ่อน คือ การใช้จ่าย ฟุ่มเฟื่อย    ทำให้ผู้คนไม่มีวิจารณญาณในการดำรงชีวิต    ทำให้ผู้คนมีวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไป

                จุดแข็ง  คือ  ทำให้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ซึ่งกันและกัน  สามารถนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ได้ทุกระบบงาน

 2. เศรษฐกิจพอเพียงช่วยพัฒนา เเละเท่าทันโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร
ทำให้รู้จักการบริหารและการจัดการ    และทำให้ค่านิยมที่ถูกต้อง รู้จักประมาณ รู้จักสายกลาง  และรู้จักค่านิยม

(ต่อ)

.. นิตยา  ดอนเจดีย์  .3/9  เลขที่ 25

 1.   โลกาภิวัตน์คืออะไร  จุดอ่อน จุดแข็งคือ                การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เศรษฐกิจ วัฒนธรรม  ค่านิยม  การดำเนินชีวิต  การเปิดการเชื่อมโยงของประเทศต่าง ๆในโลก                จุดอ่อน คือ ทำให้ประเทศที่กำลังพัฒนาแล้วในการส่งออกเมือ่เปิดเขตการค้าเสรีทำให้สินค้าจากต่างประเทศที่มีพัฒนาแล้ว ทะลักเข้าสู่ประเทศที่กำลังพัฒนาเมื่อไม่มีภาษี

                จุดแข็ง  คือ  ทำให้โลกมีความก้าวหน้าขึ้น ทำให้มีเทคโนโลยีใหม่  เข้ามาใช้ในโลกและทำให้การติกต่อเชื่อมโยง  ข่าวสาร ต่าง ๆได้รวดเร็ว

 2. เศรษฐกิจพอเพียงช่วยพัฒนา เเละเท่าทันโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร                คือการรู้จักใช้อย่างพอเพียงด้วยการไม่อยาก และการรู้จักคิดว่าสิ่งไหนที่เป็นความสำคัญที่แท้จริงในการใช้จ่ายสิ่งต่างๆ ควรจะใช้ไปกับสิ่งไหนก่อนทำให้โลกาภิวัตน์ไม่สามารถจะครอบงำเขาได้    

.. อุษา   บุญแก้ว เลขที่  45   . 3/9

1.   โลกาภิวัตน์คืออะไร  จุดอ่อน จุดแข็งคือ

                 โลกาภิวัตน์ คือการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเศรษฐกิจ  วัฒนธรรม ค่านิยม  การดำเนินชีวิต  การเปิดการเชื่อมโยงของประเทศต่างๆ  ในโลก                จุดอ่อน คือ  ทำให้ประเทศที่กำลังพัฒนาที่มีกำลังส่งออกน้อยไม่สามารถที่จะสู้ประเทศที่พัฒนาแล้วในการส่งออก  เมื่อเปิดเขตการค้าเสรี  ทำให้สินค้าจากประเทศที่พัฒนาแล้ว  ทะลักเข้าสู่ประเทศที่กำลังพัฒนาเมื่อไม่มีภาษี

                จุดแข็ง คือ  ทำให้โลกมีความก้าวหน้าขึ้น ทำให้มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาในโลก และทำให้การติดต่อเชื่อมโยงข่าวสารต่างๆ ได้รวดเร็ว

 2. เศรษฐกิจพอเพียงช่วยพัฒนา เเละเท่าทันโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร                คือ การรู้จักใช้ปัจจัยต่างๆ โดยเพียงพอ ด้วยความไม่อยากและเกิดการรู้จักคิดว่าสิ่งไหน เป็นความสำคัญที่แท้จริง ในการใช้จ่ายสิ่งต่างๆ ควรจะใช้สิ่งไหนก่อน ทำให้โลกาภิวัตน์ไม่สามารถจะครอบงำเขาได้      

นายธิติ   ครองระวน  .3/9  เลขที่  6

 1.   โลกาภิวัตน์คืออะไร  จุดอ่อน จุดแข็งคือ                โลกที่เปลี่ยนแปลงค่านิยมในสมัยนั้น ๆ และโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว                 จุดอ่อน คือ การใช้จ่าย ฟุ่มเฟื่อย    ทำให้ผู้คนไม่มีวิจารณญาณในการดำรงชีวิต    ทำให้ผู้คนมีวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไป

                จุดแข็ง  คือ  ทำให้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ซึ่งกันและกัน  สามารถนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ได้ทุกระบบงาน

 2. เศรษฐกิจพอเพียงช่วยพัฒนา เเละเท่าทันโลกาภิวัตน์ได้อย่างไรทำให้รู้จักการบริหารและการจัดการ    และทำให้ค่านิยมที่ถูกต้อง รู้จักประมาณ รู้จักสายกลาง  และรู้จักค่านิยม   

..เกียรติศักดา  พาลานนท์   . 3/9 เลขที่ 2  [email protected]

 1.   โลกาภิวัตน์คืออะไร  จุดอ่อน จุดแข็งคือ                โลกาภิวัตน์ คือการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเศรษฐกิจ  วัฒนธรรม ค่านิยม  การดำเนินชีวิต  การเปิดการเชื่อมโยงของประเทศต่างๆ  ในโลก                จุดอ่อน คือ  ทำให้ประเทศที่กำลังพัฒนาที่มีกำลังส่งออกน้อยไม่สามารถที่จะสู้ประเทศที่พัฒนาแล้วในการส่งออก  เมื่อเปิดเขตการค้าเสรี  ที่กำลังพัฒนาเมื่อไม่มีภาษี

                จุดแข็ง คือ  ทำให้โลกมีความก้าวหน้าขึ้น ทำให้มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาในโลก และทำให้การติดต่อเชื่อมโยงข่าวสารต่างๆ ได้รวดเร็ว

 2. เศรษฐกิจพอเพียงช่วยพัฒนา เเละเท่าทันโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร                คือ การรู้จักใช้ปัจจัยต่างๆ โดยเพียงพอ ด้วยความไม่อยากและเกิดการรู้จักคิดว่าสิ่งไหน เป็นความสำคัญที่แท้จริง ในการใช้จ่ายสิ่งต่างๆ ควรจะใช้สิ่งไหนก่อน ทำให้โลกาภิวัตน์ไม่สามารถจะครอบงำเขาได้          

นายฉัตรชัย  เชื้อดี  . 3/9 เลขที่ 4

 1.   โลกาภิวัตน์คืออะไร  จุดอ่อน จุดแข็งคือ                โลกาภิวัตน์ คือการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเศรษฐกิจ  วัฒนธรรม ค่านิยม  การดำเนินชีวิต  การเปิดการเชื่อมโยงของประเทศต่างๆ  ในโลก                จุดอ่อน คือ  ทำให้ประเทศที่กำลังพัฒนาที่มีกำลังส่งออกน้อยไม่สามารถที่จะสู้ประเทศที่พัฒนาแล้วในการส่งออก  เมื่อเปิดเขตการค้าเสรี  ที่กำลังพัฒนาเมื่อไม่มีภาษี

                จุดแข็ง คือ  ทำให้โลกมีความก้าวหน้าขึ้น ทำให้มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาในโลก และทำให้การติดต่อเชื่อมโยงข่าวสารต่างๆ ได้รวดเร็ว

 2. เศรษฐกิจพอเพียงช่วยพัฒนา เเละเท่าทันโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร                คือ การรู้จักใช้ปัจจัยต่างๆ โดยเพียงพอ ด้วยความไม่อยากและเกิดการรู้จักคิดว่าสิ่งไหน เป็นความสำคัญที่แท้จริง ในการใช้จ่ายสิ่งต่างๆ ควรจะใช้สิ่งไหนก่อน ทำให้โลกาภิวัตน์ไม่สามารถจะครอบงำเขาได้    

..อานนท์   เยียวยา  .3/9 เลขที่  13  [email protected]

 1.   โลกาภิวัตน์คืออะไร  จุดอ่อน จุดแข็งคือ                โลกาภิวัตน์ คือการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเศรษฐกิจ  วัฒนธรรม ค่านิยม  การดำเนินชีวิต  การเปิดการเชื่อมโยงของประเทศต่างๆ  ในโลกแบบไร้ขอบเขต                จุดอ่อน คือ  ทำให้ประเทศที่กำลังพัฒนาที่มีกำลังส่งออกน้อยไม่สามารถที่จะสู้ประเทศที่พัฒนาแล้วในการส่งออก  เมื่อเปิดเขตการค้าเสรีทำให้สินค้าจากประเทศที่พัฒนาแล้วทะลักเข้าสู่ประเทศ ที่กำลังพัฒนาเมื่อไม่มีภาษี

                จุดแข็ง คือ  ทำให้โลกมีความก้าวหน้าขึ้น ทำให้มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาในโลก และทำให้การติดต่อเชื่อมโยงข่าวสารต่างๆ ได้รวดเร็ว

 2. เศรษฐกิจพอเพียงช่วยพัฒนา เเละเท่าทันโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร                คือ การรู้จักใช้ปัจจัยต่างๆ โดยเพียงพอ ด้วยความไม่อยากและเกิดการรู้จักคิดว่าสิ่งไหน เป็นความสำคัญที่แท้จริง ในการใช้จ่ายสิ่งต่างๆ ควรจะใช้สิ่งไหนก่อน ทำให้โลกาภิวัตน์ไม่สามารถจะครอบงำเขาได้     

นายปิยวิทย์   พงคะเชน  .3/9 เลขที่  8

 1.   โลกาภิวัตน์คืออะไร  จุดอ่อน จุดแข็งคือ                โลกาภิวัตน์ คือการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเศรษฐกิจ  วัฒนธรรม ค่านิยม  การดำเนินชีวิต  การเปิดการเชื่อมโยงของประเทศต่างๆ  ในโลก                จุดอ่อน คือ  ทำให้ประเทศที่กำลังพัฒนาที่มีกำลังส่งออกน้อยไม่สามารถที่จะสู้ประเทศที่พัฒนาแล้วในการส่งออก  เมื่อเปิดเขตการค้าเสรี ทำให้สินค้าจากประเทศที่พัฒนาแล้วทะลักเข้าสู่ประเทศ  ที่กำลังพัฒนาเมื่อไม่มีภาษี

                จุดแข็ง คือ  ทำให้โลกมีความก้าวหน้าขึ้น ทำให้มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาในโลก และทำให้การติดต่อเชื่อมโยงข่าวสารต่างๆ ได้รวดเร็ว

 2. เศรษฐกิจพอเพียงช่วยพัฒนา เเละเท่าทันโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร                คือ การรู้จักใช้ปัจจัยต่างๆ โดยเพียงพอ ด้วยความไม่อยากและเกิดการรู้จักคิดว่าสิ่งไหน เป็นความสำคัญที่แท้จริง ในการใช้จ่ายสิ่งต่างๆ ควรจะใช้สิ่งไหนก่อน ทำให้โลกาภิวัตน์ไม่สามารถจะครอบงำเขาได้   

..ภัสสร  พรหมมา ม.3/9 เลขที่  31

 1.   โลกาภิวัตน์คืออะไร  จุดอ่อน จุดแข็งคือ                โลกาภิวัตน์ คือการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเศรษฐกิจ  วัฒนธรรม ค่านิยม  การดำเนินชีวิต  การเปิดการเชื่อมโยงของประเทศต่างๆ  ในโลก                จุดอ่อน คือ  ทำให้ประเทศที่กำลังพัฒนาที่มีกำลังส่งออกน้อยไม่สามารถที่จะสู้ประเทศที่พัฒนาแล้วในการส่งออก  เมื่อเปิดเขตการค้าเสรีทำให้สินค้าจากประเทศที่พัฒนาแล้วทะลักเข้าสู่ประเทศ   ที่กำลังพัฒนาเมื่อไม่มีภาษี

                จุดแข็ง คือ  ทำให้โลกมีความก้าวหน้าขึ้น ทำให้มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาในโลก และทำให้การติดต่อเชื่อมโยงข่าวสารต่างๆ ได้รวดเร็ว

 2. เศรษฐกิจพอเพียงช่วยพัฒนา เเละเท่าทันโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร                คือ การรู้จักใช้ปัจจัยต่างๆ โดยเพียงพอ ด้วยความไม่อยากและเกิดการรู้จักคิดว่าสิ่งไหน เป็นความสำคัญที่แท้จริง ในการใช้จ่ายสิ่งต่างๆ ควรจะใช้สิ่งไหนก่อน ทำให้โลกาภิวัตน์ไม่สามารถจะครอบงำเขาได้    
..ขวัญชนก  กาญจนสาธิต  .3/9  เลขที่ 17   [email protected] 
1.   โลกาภิวัตน์คืออะไร  จุดอ่อน จุดแข็งคือ                โลกาภิวัตน์ คือการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเศรษฐกิจ  วัฒนธรรม ค่านิยม  การดำเนินชีวิต  การเปิดการเชื่อมโยงของประเทศต่างๆ  ในโลก                จุดอ่อน คือ  ทำให้ประเทศที่กำลังพัฒนาที่มีกำลังส่งออกน้อยไม่สามารถที่จะสู้ประเทศที่พัฒนาแล้วในการส่งออก  เมื่อเปิดเขตการค้าเสรีทำให้สินค้าจากประเทศที่พัฒนาแล้วทะลักเข้าสู่ประเทศ   ที่กำลังพัฒนาเมื่อไม่มีภาษี

                จุดแข็ง คือ  ทำให้โลกมีความก้าวหน้าขึ้น ทำให้มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาในโลก และทำให้การติดต่อเชื่อมโยงข่าวสารต่างๆ ได้รวดเร็ว

 2. เศรษฐกิจพอเพียงช่วยพัฒนา เเละเท่าทันโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร                คือ การรู้จักใช้โดยเพียงพอ ด้วยความไม่อยากและเกิดการรู้จักคิดว่าสิ่งไหน เป็นความสำคัญที่แท้จริง ในการใช้จ่ายสิ่งต่างๆ ควรจะใช้สิ่งไหนก่อน ทำให้โลกาภิวัตน์ไม่สามารถจะครอบงำเขาได้    

..นิภาพร  สมงาม ม.3/9  เลขที่  26

 1.   โลกาภิวัตน์คืออะไร  จุดอ่อน จุดแข็งคือ                โลกาภิวัตน์ คือการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเศรษฐกิจ  วัฒนธรรม ค่านิยม  การดำเนินชีวิต  การเปิดการเชื่อมโยงของประเทศต่างๆ  ในโลก                จุดอ่อน คือ  ทำให้ประเทศที่กำลังพัฒนาที่มีกำลังส่งออกน้อยไม่สามารถที่จะสู้ประเทศที่พัฒนาแล้วในการส่งออก  เมื่อเปิดเขตการค้าเสรีทำให้สินค้าจากประเทศที่พัฒนาแล้วทะลักเข้าสู่ประเทศ   ที่กำลังพัฒนาเมื่อไม่มีภาษี

                จุดแข็ง คือ  ทำให้โลกมีความก้าวหน้าขึ้น ทำให้มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาในโลก และทำให้การติดต่อเชื่อมโยงข่าวสารต่างๆ ได้รวดเร็ว

 2. เศรษฐกิจพอเพียงช่วยพัฒนา เเละเท่าทันโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร                คือ การรู้จักใช้ โดยเพียงพอ ด้วยความไม่อยากและเกิดการรู้จักคิดว่าสิ่งไหน เป็นความสำคัญที่แท้จริง ในการใช้จ่ายสิ่งต่างๆ ควรจะใช้สิ่งไหนก่อน ทำให้โลกาภิวัตน์ไม่สามารถจะครอบงำเขาได้    

นายวรวิทย์   ประยูรมหิศร  .3/9  เลขที่ 9

 1.   โลกาภิวัตน์คืออะไร  จุดอ่อน จุดแข็งคือ                โลกาภิวัตน์ คือการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเศรษฐกิจ  วัฒนธรรม ค่านิยม  การดำเนินชีวิต  การเปิดการเชื่อมโยงของประเทศต่างๆ  ในโลก                จุดอ่อน คือ  ทำให้ประเทศที่กำลังพัฒนาที่มีกำลังส่งออกน้อยไม่สามารถที่จะสู้ประเทศที่พัฒนาแล้วในการส่งออก  เมื่อเปิดเขตการค้าเสรีทำให้สินค้าจากประเทศที่พัฒนาแล้วทะลักเข้าสู่ประเทศ   ที่กำลังพัฒนาเมื่อไม่มีภาษี

                จุดแข็ง คือ  ทำให้โลกมีความก้าวหน้าขึ้น ทำให้มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาในโลก และทำให้การติดต่อเชื่อมโยงข่าวสารต่างๆ ได้รวดเร็ว

 2. เศรษฐกิจพอเพียงช่วยพัฒนา เเละเท่าทันโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร                คือ การรู้จักใช้ปัจจัยต่างๆ โดยเพียงพอ ด้วยความไม่อยากและเกิดการรู้จักคิดว่าสิ่งไหน เป็นความสำคัญที่แท้จริง ในการใช้จ่ายสิ่งต่างๆ ควรจะใช้สิ่งไหนก่อน ทำให้โลกาภิวัตน์ไม่สามารถจะครอบงำเขาได้    

..วันดี   ประนอมศิลป์  . 3/9 เลขที 38

 1.   โลกาภิวัตน์คืออะไร  จุดอ่อน จุดแข็งคือ                โลกาภิวัตน์ คือการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเศรษฐกิจ  วัฒนธรรม ค่านิยม  การดำเนินชีวิต  การเปิดการเชื่อมโยงของประเทศต่างๆ  ในโลก                จุดอ่อน คือ  ทำให้ประเทศที่กำลังพัฒนาที่มีกำลังส่งออกน้อยไม่สามารถที่จะสู้ประเทศที่พัฒนาแล้วในการส่งออก  เมื่อเปิดเขตการค้าเสรีสามารถจะสู่ประเทศ   ที่กำลังพัฒนาเมื่อไม่มีภาษี

                จุดแข็ง คือ  ทำให้โลกมีความก้าวหน้าขึ้น ทำให้มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาในโลก และทำให้การติดต่อเชื่อมโยงข่าวสารต่างๆ ได้รวดเร็ว

 2. เศรษฐกิจพอเพียงช่วยพัฒนา เเละเท่าทันโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร                คือ การรู้จักโดยเพียงพอ ด้วยความไม่อยากและเกิดการรู้จักคิดว่าสิ่งไหน เป็นความสำคัญที่แท้จริง ในการใช้จ่ายสิ่งต่างๆ ควรจะใช้สิ่งไหนก่อน ทำให้โลกาภิวัตน์ไม่สามารถจะครอบงำเขาได้   
 ..ทิพวรรณ  คุ้มภัยพาล  .3/9  เลขที่ 23 
1.   โลกาภิวัตน์คืออะไร  จุดอ่อน จุดแข็งคือ                โลกาภิวัตน์ คือการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเศรษฐกิจ  วัฒนธรรม ค่านิยม  การดำเนินชีวิต  การเปิดการเชื่อมโยงของประเทศต่างๆ  ในโลก                จุดอ่อน คือ  ทำให้ประเทศที่กำลังพัฒนาแล้วในการส่งออก  เมื่อเปิดเขตการค้าเสรีทำให้สินค้าจากประเทศที่พัฒนาแล้วทะลักเข้าสู่ประเทศ   ที่กำลังพัฒนาเมื่อไม่มีภาษี

                จุดแข็ง คือ  ทำให้โลกมีความก้าวหน้าขึ้น ทำให้มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาในโลก และทำให้การติดต่อเชื่อมโยงข่าวสารต่างๆ ได้รวดเร็ว

 2. เศรษฐกิจพอเพียงช่วยพัฒนา เเละเท่าทันโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร                คือ การรู้จักใช้ โดยเพียงพอ ด้วยความไม่อยากและการรู้จักคิดว่าสิ่งไหน เป็นความสำคัญที่แท้จริง ในการใช้จ่ายสิ่งต่างๆ ควรจะใช้สิ่งไหนก่อน ทำให้โลกาภิวัตน์ไม่สามารถจะครอบงำเขาได้   

..ชุติมา   จานแก้ว  .3/9  เลขที่ 21

 1.   โลกาภิวัตน์คืออะไร  จุดอ่อน จุดแข็งคือ                โลกาภิวัตน์ คือการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเศรษฐกิจ  วัฒนธรรม ค่านิยม  การดำเนินชีวิต  การเปิดการเชื่อมโยงของประเทศต่างๆ  ในโลก                จุดอ่อน คือ  ทำให้ประเทศที่กำลังพัฒนาแล้วในการส่งออก  เมื่อเปิดเขตการค้าเสรีสามารถจะสู่ประเทศ   ที่กำลังพัฒนาเมื่อไม่มีภาษี

                จุดแข็ง คือ  ทำให้โลกมีความก้าวหน้าขึ้น ทำให้มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาในโลก และทำให้การติดต่อเชื่อมโยงข่าวสารต่างๆ ได้รวดเร็ว

 2. เศรษฐกิจพอเพียงช่วยพัฒนา เเละเท่าทันโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร                คือ การรู้จักใช้โดยเพียงพอ ด้วยการไม่อยากและการรู้จักคิดว่าสิ่งไหน เป็นความสำคัญที่แท้จริง ในการใช้จ่ายสิ่งต่างๆ ควรจะใช้สิ่งไหนก่อน ทำให้โลกาภิวัตน์ไม่สามารถจะครอบงำเขาได้    
..เบญจรัตน์    เชื้อวู้หลิม  .3/9 เลขที่  27 
1.        โลกาภิวัตน์คืออะไร  จุดอ่อน  จุดแข็งคืออะไรโลกาภิวัตน์คือ    การเชื่อมโยงไปทุกที่  และกระจายไปทุกแห่ง        จุดอ่อนคือ  เมื่อยุคโลกาภิวัตน์เข้ามาภายในประเทศแล้ว ถ้าเราสามารถแยกว่าสิ่งใดมีประโยชน์ หรือสิ่งใดเป็นสิ่งฉาบฉวย  โลกาภิวัตน์ก็จะค่อยๆ ทำลายทุกสิ่งต่อตัวเรา  ผู้อื่นในสังคม

        จุดแข็ง คือ  การที่เทคโนโลยีสามารถไปถึงทุกที่และก้าวนำสมัย ไปในสิ่งต่าง ๆ

 2. เศรษฐกิจพอเพียงช่วยพัฒนา  และรู้เท่าทันโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร                หากเราและคนรอบข้างดำเนินชีวิตโดยมีหลักเศรษฐกิจเป็นที่ตั้งแล้ว  ยุคโลกาภิวัตน์หรืออะไรก็ตามก็ไม่สามารถทำให้ชีวิตเราและคนรอบข้างเปลี่ยนแปลงไป  เพราะหลักเศรษฐกิจพอเพียงทำให้เรารู้จักพอประมาณ  เดินสายกลาง ตามยุคโลกาภิวัตน์นั้น รู้เท่ารู้ทัน  รู้ถึงโทษถึงประโยชน์ของสิ่งต่างๆ ได้โดยมีสติ 

 

..สิริลักษณ์  พุทธสุวรรณ   .3/9  เลขที่  39

 1.        โลกาภิวัตน์คืออะไร  จุดอ่อน  จุดแข็งคืออะไรโลกาภิวัตน์คือ    การเชื่อมโยงไปทุกที่  และกระจายไปทุกแห่ง        จุดอ่อนคือ  เมื่อยุคโลกาภิวัตน์เข้ามาภายในประเทศแล้ว ถ้าเราไม่สามารถแยกได้ว่าสิ่งใดมีประโยชน์ หรือสิ่งใดเป็นสิ่งฉาบฉวย  โลกาภิวัตน์ก็จะค่อยๆ ทำลายทุกสิ่งต่อตัวเรา  ผู้อื่นในสังคม

        จุดแข็ง คือ  การที่เทคโนโลยีสามารถไปถึงทุกที่และก้าวนำสมัย ไปในสิ่งต่าง ๆ

 2. เศรษฐกิจพอเพียงช่วยพัฒนา  และรู้เท่าทันโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร                หากเราและคนรอบข้างดำเนินชีวิตโดยมีหลักเศรษฐกิจเป็นที่ตั้งแล้ว  ยุคโลกาภิวัตน์หรืออะไรก็ตามก็ไม่สามารถทำให้ชีวิตเราและคนรอบข้างเปลี่ยนแปลงไป  เพราะหลักเศรษฐกิจพอเพียงทำให้เรารู้จักพอประมาณ ตน เดินสายกลาง  รู้เท่ารู้ทัน  รู้ถึงโทษถึงประโยชน์ของสิ่งต่างๆ ได้โดยมีสติ  
(ต่อ)

..ทัศนีย์  เซียงฉี  .3/9  เลขที่ 22

 1.        โลกาภิวัตน์คืออะไร  จุดอ่อน  จุดแข็งคืออะไรโลกาภิวัตน์คือ    การเชื่อมโยงไปทุกที่  และกระจายไปทุกแห่ง        จุดอ่อนคือ  เมื่อยุคโลกาภิวัตน์เข้ามาภายในประเทศแล้ว ถ้าเราสามารถแยกว่าสิ่งใดมีประโยชน์ หรือสิ่งใดเป็นสิ่งฉาบฉวย  โลกาภิวัตน์ก็จะค่อยๆ ทำลายทุกสิ่งต่อตัวเรา  ผู้อื่นในสังคม

        จุดแข็ง คือ  การที่เทคโนโลยีสามารถไปถึงทุกที่และก้าวนำสมัย ไปในสิ่งต่าง ๆ

 2. เศรษฐกิจพอเพียงช่วยพัฒนา  และรู้เท่าทันโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร                หากเราและคนรอบข้างดำเนินชีวิตโดยมีหลักเศรษฐกิจเป็นที่ตั้งแล้ว  ยุคโลกาภิวัตน์หรืออะไรก็ตามก็ไม่สามารถทำให้ชีวิตเราและคนรอบข้างเปลี่ยนแปลงไป  เพราะหลักเศรษฐกิจพอเพียงทำให้เรารู้จักพอประมาณ  เดินสายกลาง  รู้เท่ารู้ทัน  รู้ถึงโทษถึงประโยชน์ของสิ่งต่างๆ ได้โดยมีสติ  

..มุกดา  ฐิตะสิริรัชต ม.3/9  เลขที่  33

 1.        โลกาภิวัตน์คืออะไร  จุดอ่อน  จุดแข็งคืออะไรโลกาภิวัตน์คือ    การเชื่อมโยงไปทุกที่  และกระจายไปทุกแห่ง        จุดอ่อนคือ  เมื่อยุคโลกาภิวัตน์เข้ามาภายในประเทศแล้ว ถ้าเราสามารถแยกว่าสิ่งใดมีประโยชน์ หรือสิ่งใดเป็นสิ่งฉาบฉวย  โลกาภิวัตน์ก็จะค่อยๆ ทำลายทุกสิ่งต่อตัวเรา  ผู้อื่นในสังคม

        จุดแข็ง คือ  การที่เทคโนโลยีสามารถไปถึงทุกหนทุกแห่งและก้าวนำสมัย ไปในสิ่งต่าง ๆ

 

 2. เศรษฐกิจพอเพียงช่วยพัฒนา  และรู้เท่าทันโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร                หากเราและคนรอบข้างดำเนินชีวิตโดยมีหลักเศรษฐกิจเป็นที่ตั้งแล้ว  ยุคโลกาภิวัตน์หรืออะไรก็ตามก็ไม่สามารถทำให้ชีวิตเราและคนรอบข้างเปลี่ยนแปลงไป  เพราะหลักเศรษฐกิจพอเพียงทำให้เรารู้จักพอประมาณ  เดินสายกลาง   รู้เท่ารู้ทัน  รู้ถึงโทษถึงประโยชน์ของสิ่งต่างๆ ได้โดยมีสติ  
 ..วนิดา  เพียรหอม  .3/9  เลขที่37 
1.        โลกาภิวัตน์คืออะไร  จุดอ่อน  จุดแข็งคืออะไรโลกาภิวัตน์คือ    การเชื่อมโยงไปทุกที่  และกระจายไปทุกแห่ง        จุดอ่อนคือ  เมื่อยุคโลกาภิวัตน์เข้ามาภายในประเทศแล้ว ถ้าเราสามารถแยกว่าสิ่งใดมีประโยชน์ หรือสิ่งใดเป็นสิ่งฉาบฉวย  โลกาภิวัตน์ก็จะค่อยๆ ทำลายทุกสิ่งต่อตัวเรา  ผู้อื่นในสังคม

        จุดแข็ง คือ  การที่เทคโนโลยีสามารถไปถึงทุกที่และก้าวนำสมัย ไปในสิ่งต่าง ๆ

 

 2. เศรษฐกิจพอเพียงช่วยพัฒนา  และรู้เท่าทันโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร                หากเราและคนรอบข้างดำเนินชีวิตโดยมีหลักเศรษฐกิจเป็นที่ตั้งแล้ว  ยุคโลกาภิวัตน์หรืออะไรก็ตามก็ไม่สามารถทำให้ชีวิตเราและคนรอบข้างเปลี่ยนแปลงไป  เพราะหลักเศรษฐกิจพอเพียงทำให้เรารู้จักพอประมาณ  เดินสายกลาง  รู้เท่ารู้ทัน  รู้ถึงโทษถึงประโยชน์ของสิ่งต่างๆ ได้โดยมีสติ  

..ชลธิชา   กาญจนไพสิฐ  .3/9  เลขที่ 20

 1.        โลกาภิวัตน์คืออะไร  จุดอ่อน  จุดแข็งคืออะไรโลกาภิวัตน์คือ    การเชื่อมโยงไปทุกที่  และกระจายไปทุกแห่ง        จุดอ่อนคือ  เมื่อยุคโลกาภิวัตน์เข้ามาภายในประเทศแล้ว ถ้าเราไม่สามารถแยกว่าสิ่งใดมีประโยชน์ หรือสิ่งใดเป็นสิ่งฉาบฉวย  โลกาภิวัตน์ก็จะค่อยๆ ทำลายทุกสิ่งต่อตัวเรา  ผู้อื่นในสังคม

        จุดแข็ง คือ  การที่เทคโนโลยีสามารถไปถึงทุกที่และก้าวนำสมัย ไปในสิ่งต่าง ๆ

 

 2. เศรษฐกิจพอเพียงช่วยพัฒนา  และรู้เท่าทันโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร                หากเราและคนรอบข้างดำเนินชีวิตโดยมีหลักเศรษฐกิจเป็นที่ตั้งแล้ว  ยุคโลกาภิวัตน์หรืออะไรก็ตามก็ไม่สามารถทำให้ชีวิตเราและคนรอบข้างเปลี่ยนแปลงไป  เพราะหลักเศรษฐกิจพอเพียงทำให้เรารู้จักพอประมาณ ตน เดินสายกลาง ตามยุคโลกาภิวัตน์นั้น รู้เท่ารู้ทัน  รู้ถึงโทษถึงประโยชน์ของสิ่งต่างๆ ได้โดยมีสติ   

..เพชรรินทร์     วงศ์ประเสริฐ  .3/9   เลขที่  29

 1.        โลกาภิวัตน์คืออะไร  จุดอ่อน  จุดแข็งคืออะไรโลกาภิวัตน์คือ    การเชื่อมโยงไปทุกที่  และกระจายไปทุกแห่ง        จุดอ่อนคือ  เมื่อยุคโลกาภิวัตน์เข้ามาภายในประเทศแล้ว ถ้าเราไม่สามารถแยกว่าสิ่งใดมีประโยชน์ หรือสิ่งใดเป็นสิ่งฉาบฉวย  โลกาภิวัตน์ก็จะค่อยๆ ทำลายทุกสิ่งต่อตัวเรา  ผู้อื่นในสังคม

        จุดแข็ง คือ  การที่เทคโนโลยีสามารถไปถึงทุกที่และก้าวนำสมัย ไปในสิ่งต่าง ๆ

 

 2. เศรษฐกิจพอเพียงช่วยพัฒนา  และรู้เท่าทันโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร                หากเราและคนรอบข้างดำเนินชีวิตโดยมีหลักเศรษฐกิจเป็นที่ตั้งแล้ว  ยุคโลกาภิวัตน์หรืออะไรก็ตามก็ไม่สามารถทำให้ชีวิตเราและคนรอบข้างเปลี่ยนแปลงไป  เพราะหลักเศรษฐกิจพอเพียงทำให้เรารู้จักประมาณตน  เดินสายกลาง   รู้เท่า  รู้ทัน  รู้ถึงโทษ  รู้ถึงประโยชน์ของสิ่งต่างๆ ได้โดยมีสติ  

..อัญชนก   เขียวดารา  .3/9  เลขที่  44

 1.        โลกาภิวัตน์คืออะไร  จุดอ่อน  จุดแข็งคืออะไรโลกาภิวัตน์คือ    การเชื่อมโยงไปทุกที่  และกระจายไปทุกแห่ง        จุดอ่อนคือ  เมื่อยุคโลกาภิวัตน์เข้ามาภายในประเทศแล้ว ถ้าเราไม่สามารถแยกว่าสิ่งใดมีประโยชน์ หรือสิ่งใดเป็นสิ่งฉาบฉวย  โลกาภิวัตน์ก็จะค่อยๆ ทำลายทุกสิ่งต่อตัวเรา  ผู้อื่นในสังคม

        จุดแข็ง คือ  การที่เทคโนโลยีสามารถไปถึงทุกที่และก้าวนำสมัย ไปในสิ่งต่าง ๆ

 

 2. เศรษฐกิจพอเพียงช่วยพัฒนา  และรู้เท่าทันโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร                หากเราและคนรอบข้างดำเนินชีวิตโดยมีหลักเศรษฐกิจเป็นที่ตั้งแล้ว  ยุคโลกาภิวัตน์หรืออะไรก็ตามก็ไม่สามารถทำให้ชีวิตเราและคนรอบข้างเปลี่ยนแปลงไป  เพราะหลักเศรษฐกิจพอเพียงทำให้เรารู้จักประมาณตน  เดินสายกลาง   รู้เท่า  รู้ทัน  รู้ถึงโทษ  รู้ถึงประโยชน์ของสิ่งต่างๆ ได้โดยมีสติ   
..ภาวินี     บุญแต่ง   .3/9  เลขที่  32  
1.        โลกาภิวัตน์คืออะไร  จุดอ่อน  จุดแข็งคืออะไรโลกาภิวัตน์คือ    การเชื่อมโยงไปทุกที่  และกระจายไปทุกแห่ง        จุดอ่อนคือ  เมื่อยุคโลกาภิวัตน์เข้ามาภายในประเทศแล้ว ถ้าเราไม่สามารถแยกว่าสิ่งใดมีประโยชน์ หรือสิ่งใดเป็นสิ่งฉาบฉวย  โลกาภิวัตน์ก็จะค่อยๆ ทำลายทุกสิ่งต่อตัวเรา  ผู้อื่นในสังคม

        จุดแข็ง คือ  การที่เทคโนโลยีสามารถไปถึงทุกที่และก้าวนำสมัย ไปในสิ่งต่าง ๆ

 

 2. เศรษฐกิจพอเพียงช่วยพัฒนา  และรู้เท่าทันโลกาภิวัตน์ได้อย่างไรหากเราและคนรอบข้างดำเนินชีวิตโดยมีหลักเศรษฐกิจเป็นที่ตั้งแล้ว  ยุคโลกาภิวัตน์หรืออะไรก็ตามก็ไม่สามารถทำให้ชีวิตเราและคนรอบข้างเปลี่ยนแปลงไป  เพราะหลักเศรษฐกิจพอเพียงทำให้เรารู้จักประมาณตน  เดินสายกลาง   ซื้อสิ่งของต่างๆ โดยมีสติตามยุคโลกาภิวัตน์นั้น    รู้เท่า  รู้ทัน  รู้ถึงโทษ  รู้ถึงประโยชน์ด้วย  
.. รัตนากร   คูหามณีโชติ  . 3/9  เลขที่  35 
1.        โลกาภิวัตน์คืออะไร  จุดอ่อน  จุดแข็งคืออะไรโลกาภิวัตน์คือ    การเชื่อมโยงไปทุกที่  และกระจายไปทุกแห่ง        จุดอ่อนคือ  เมื่อยุคโลกาภิวัตน์เข้ามาภายในประเทศแล้ว ถ้าเราไม่สามารถแยกว่าสิ่งใดมีประโยชน์ หรือสิ่งใดเป็นสิ่งฉาบฉวย  โลกาภิวัตน์ก็จะค่อยๆ ทำลายทุกสิ่งต่อตัวเรา  ผู้อื่นในสังคม

        จุดแข็ง คือ  การที่เทคโนโลยีสามารถไปถึงทุกที่และก้าวนำสมัย ไปในสิ่งต่าง ๆ

 

 2. เศรษฐกิจพอเพียงช่วยพัฒนา  และรู้เท่าทันโลกาภิวัตน์ได้อย่างไรหากเราและคนรอบข้างดำเนินชีวิตโดยมีหลักเศรษฐกิจเป็นที่ตั้งแล้ว  ยุคโลกาภิวัตน์หรืออะไรก็ตามก็ไม่สามารถทำให้ชีวิตเราและคนรอบข้างเปลี่ยนแปลงไป  เพราะหลักเศรษฐกิจพอเพียงทำให้เรารู้จักประมาณตน  เดินสายกลาง   ซื้อสิ่งของต่างๆ โดยมีสติตามยุคโลกาภิวัตน์นั้น    รู้เท่า  รู้ทัน  รู้ถึงโทษ  รู้ถึงประโยชน์ด้ว 
 ..เพ็ญพร   จิตต์สนอง ม.3/9   เลขที่  30 
1.        โลกาภิวัตน์คืออะไร  จุดอ่อน  จุดแข็งคืออะไรโลกาภิวัตน์คือ    การเชื่อมโยงไปทุกที่  และกระจายไปทุกแห่ง        จุดอ่อนคือ  เมื่อยุคโลกาภิวัตน์เข้ามาภายในประเทศแล้ว ถ้าเราไม่สามารถแยกว่าสิ่งใดมีประโยชน์ หรือสิ่งใดเป็นสิ่งฉาบฉวย  โลกาภิวัตน์ก็จะค่อยๆ ทำลายทุกสิ่งต่อตัวเรา  ผู้อื่นในสังคม

        จุดแข็ง คือ  การที่เทคโนโลยีสามารถไปถึงทุกที่และก้าวนำสมัย ไปในสิ่งต่าง ๆ

 

 2. เศรษฐกิจพอเพียงช่วยพัฒนา  และรู้เท่าทันโลกาภิวัตน์ได้อย่างไรหากเราและคนรอบข้างดำเนินชีวิตโดยมีหลักเศรษฐกิจเป็นที่ตั้งแล้ว  ยุคโลกาภิวัตน์หรืออะไรก็ตามก็ไม่สามารถทำให้ชีวิตเราและคนรอบข้างเปลี่ยนแปลงไป  เพราะหลักเศรษฐกิจพอเพียงทำให้เรารู้จักประมาณตน  เดินสายกลาง   ซื้อสิ่งของต่างๆ โดยมีสติตามยุคโลกาภิวัตน์นั้น    รู้เท่า  รู้ทัน  รู้ถึงโทษ  รู้ถึงประโยชน์ด้วย   
..เกริกชัย    ปลาดาจง   . 3/9    
1.        โลกาภิวัตน์คืออะไร  จุดอ่อน  จุดแข็งคืออะไรการเปลี่ยนแปลงของค่านิยมในยุคสมัยนั้นๆ อย่างไร้พรมแดนจุดอ่อน   คือ  ค่าใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟื่อย   ทำให้ผู้คนไม่มีวิจารณญาณในการดำรงชีวิต   ทำให้ผู้คนมีวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป  ทำให้คนลืมรากเง่าของตนเอง

        จุดแข็ง   คือ  ทำให้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศ   สามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ได้ทุกระบบงาน

 

 2. เศรษฐกิจพอเพียงช่วยพัฒนา  และรู้เท่าทันโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร                ทำให้รู้จัก การบริหารเงินและการจัดการ  และทำให้มีการก้าวไกล ตามเทคโนโลยี  รู้เท่า  รู้ทัน  รู้จักประมาณ  รู้จักการเดินสายกลาง  และรู้จักค่านิยม             
ไม่มีชื่อ 
1.        โลกาภิวัตน์คืออะไร  จุดอ่อน  จุดแข็งคืออะไรความไร้พรมแดน  โลกที่ไร้พรมแดน เป็นการเปลี่ยนแปลงของโลก  ที่เชื่อมโยงทุกสิ่งทุกอย่างมาเป็นเวลาช้านาน การไม่ประมาท  การใฝ่รุ้  การมีคุณธรรม ทำให้มีโลกทัศน์กว้าง  มีทั้งข้อดีและข้อเสียสามารถทำให้โลกเปลี่ยนแปลงในด้านที่ดีและไม่ดีจุดอ่อน คือ ทำให้วัฒนธรรมประเพณีที่มีมาดั้งเดิมเสื่อมหายไป  เพราะไม่มีผู้ใด มาสืบสานวัฒนธรรมนั้นต่อ

จุดแข็ง  คือ  เป็นสิ่งที่มนุษย์เปิดกว้างกับโลกมาขึ้น  ทำให้มนุษย์มีศักยภาพในด้านต่าง ๆ  

 

 2. เศรษฐกิจพอเพียงช่วยพัฒนา  และรู้เท่าทันโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร                การดำรงชีวิตอยู่อย่าง  ที่มีการปฏิบัติตนในครอบครัว  การเดินทางสายกลาง คือไม่ยึดติด แต่ก็ยังสนใจในเทคโนโลยีใหม่ๆ  

ไม่มีชื่อ

 1. โลกาภิวัตน์คืออะไร  จุดอ่อน  จุดแข็งคืออะไร                โลกาภิวัตน์ คือ การพัฒนา  การเปลี่ยนแปลงของโลกทำให้มนุษย์มีศักยภาพในด้านต่าง ๆ                 จุดอ่อน คือ  การแต่งตัว ขนบธรรมเนียมประเพณีของคนไทยในปัจจุบัน ค่านิยมของแบรนด์เนม

                จุดแข็ง  คือ  ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารพัฒนาขึ้น สามารถทำให้เราสื่อสารกับคนต่างชาติได้

 

 2. เศรษฐกิจพอเพียงช่วยพัฒนา  และรู้เท่าทันโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร                เศรษฐกิจพอเพียงช่วยเป็นแนวทางในการดำรงชีวิต และการปฏิบัติตน  ของคนทุกระดับ ตั้งแต่ครอบครัว  ชุมชน  จนถึงรัฐ โดยเฉพาะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันโลกยุคโลกาภิวัตน์คนเราควรอยู่อย่างพอประมาณไม่ โลภมาก  อยู่อย่างพอกินพอใช้  มีมากใช้น้อย ประหยัดอดออม  ทำอะไรให้พอเพียงมีเหตุมีผล 

ไม่มีชื่อ

 1. โลกาภิวัตน์คืออะไร  จุดอ่อน  จุดแข็งคืออะไร                โลกาภิวัตน์คือ การพัฒนา  การเปลี่ยนแปลงของโลกทำให้มนุษย์มีประสิทธภาพมากขึ้น                จุดอ่อน คือ  ทำให้วัฒนธรรมประเพณี ที่มีมาดั้งเดิมเสื่อมหายไป  เพราะไม่มีคนมาสืบต่อ และถ้าสนใจโลกาภิวัตน์มากเกินไป จนเกิดการมุ่งมั่นหรือโดนครอบงำอาจทำให้มนุษย์ ใช้จ่ายฟุ่มเฟื่อยเพราะยึดติดมากเกินไป                จุดแข็ง  คือ  การทำให้โลกมีศักยภาพสูงขึ้น  เป็นสิ่งที่ทำให้โลกเปิดกว้างมากขึ้น และมีประสิทธิภาพ

เจริญพรคุณโยมอาจารย์ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกคน

      อาตมภาพเริ่มสนใจที่จะศึกษาในเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงมาระยะหนึ่งแล้ว  มีความรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจและคงต้องทำความเข้าใจกันในสังคมไทยของเรา  ก่อนอื่นก็ต้องขอขอบใจคุณโยมอาจารย์ โลตัส ที่กรุณาให้คำแนะนำในเรื่องของเวบไซด์นี้ ซึ่งเป็นเวบไซด์ที่ดีมากในแง่ของเวทีที่แสดงความคิดเห็นของผู้ที่สนใจ   โดยเฉพาะในเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นเรื่องที่พวกเราหลายคนยังมีความสับสนกันอยู่ ถึงความหมายและแนววิธีในการปฏิบัติ โดยเฉพาะในสังคมของโลกาภิวัฒน์นี้

     ความจริงแล้วในส่วนของการอธิบายเชิงวิชาการนั้นอาตมภาพไม่มีความถนัด แต่ก็อยากจะแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้  โดยเฉพาะคำว่า " พอเพียง" นั้นเป็นคำที่มีความหมายมาก เพราะคนคงไม่สามารถที่จะมีความสุขได้ ถ้าไม่มีความพอเพียงอยู่ในใจ ความจริงตามหลักของพุทธศาสนาก็ได้กล่าวในเรื่องของหลักธรรมที่เกี่ยวกับความพอเพียงไว้ในหลายหลักธรรมด้วยกัน ซึ่งบางครั้งก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่พวกเรานั้นไม่ค่อยได้นึกถึงกัน

     ในทัศนะของอาตมภาพ เชื่อว่าการพยายามทำให้สังคมเราเข้าใจและเกิดความรู้ในเรื่องของความพอเพียงนั้น คงต้องมีการรณรงค์ และอาศัยกำลังของทุก ๆ ฝ่ายคอยเชื่อเหลือกัน ซึ่งคำว่า " ทุก ๆ ฝ่าย" ในทีนี้หมายถึง ทั้งข้าราชการบ้านเมือง สถาบันการศึกษา พระสงฆ์ ซึ่งเป็นเหมือนผู้นำในชุมชน ในชนบท ต้องร่วมมือกัน  โดยอาศัยวิธีการหลาย ๆ วิธีช่วยกันเผยแผ่แนวความคิดในเรื่องของการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง เช่น  การรณรงค์   การปลุกจิตสำนึก การใช้กฏหมายด้านภาษีบังคับใช้ควบคุมพฤติกรรมของกลุ่มบุคคลในสังคม  โดยเริ่มจาก สถาบันการศึกษา โรงเรียน และเกี่ยวโยงไปถึงชุมชน โดยขั้นแรก คงต้อง ช่วยกัน ปลุกจิตสำนึกให้เกิความรู้ในเรื่องของสิ่งที่จำเป็น และไม่จำเป็น  คุณ หรือโทษ แล้วนำไปสู่กระบวนการในการดำเนินชีวิตอย่างผู้ที่รู้จักพอ  และเห็นคุณค่าของความสุขทางใจมากกว่าความสุขทางวัตถุ

      โดยเฉพาะปัจจุบันนี้ เด็กไทยของเราในยุคโลกาภิวัฒน์ อยู่ในลักษณะของการเรียนรู้ที่ขาดลอยจากความเป็นจริง ผู้เรียนและผู้สอนไม่ค่อยเห็นความหมายของการเรียนรู้ ในการที่จะนำไปพัฒนาตนเองและสังคม ดังนั้นผู้เรียนจึงไปแสวงหาความจากภายนอก และถูกกระแสโลกาภิวัฒน์เข้าครอบงำจิตสำนึกโดยไม่รู้ตัว  สร้างค่านิยมที่ไม่ถูกต้องขึ้นมาในใจ ความรู้สึกของการพอเพียงนั้น จึงได้ถูกต้านขึ้นมาโดยที่ไม่รู้ตัว ดังนั้นถ้าเราจะทำให้สังคมของวัยรุ่นรู้จักความพอเพียง คงต้องเร่งสร้างจากจิตสำนึกของเด็กก่อน ซึ่งอาตมภาพเชื่อว่าคงสามารถที่จะทำได้ ถ้าทุกฝ่ายร่วมมือกัน

 

 

เศรษฐกิจพอเพียง เกิดขึ้นได้จากความตั้งใจ  ระมัดระวังใจตนเอง ให้คิดถูกทำถูก รู้จักลด ละ วาง สิ่งที่ไม่ดีของตนเองลงบ้าง  จะเกิดจากความรักในความดีเป็นภูมิคุ้มกันก่อน เมื่อรู้จักตนเองว่า เป็นอย่างไร  มีแค่ไหน  ต้องการอะไร  ให้ใฝ่เรียน ใฝ่รู้  ตั้งใจอดออม

อดทน  อดกลั้นไม่อยากได้เกินสถานภาพที่มีอยู่  และมีความพากเพียรในการทำงานหาเลี้ยงชีพอย่างถูกต้องแล้ว  จะได้รับผลดี  มีความก้าวหน้าในชีวิต ขึ้นเอง  เหมือนมีพระเจ้าช่วย  สาเหตุเพราะมีความตั้งใจทำความดี  ความงาม เป็นหลักมั่นคง  สม่ำเสมอ  และต้องหาความรู้ตลอดเวลา  ตลอดชีวิต  คิดอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจทำ   

wow gold portal site showing which gold sellers have the cheap wow gold price. Compare and save next time you buy world of warcraft gold to our loyal and reliable customers.

<a href="http://www.wowgold3000.com">wow gold</a> cheap <a href="http://www.wowgold.hk">wow gold</a>world of warcraft gold to our loyal reliable customers.

นางสาวสุรเชษฐ์ คล้ายแก้ว

ได้ดูแล้วสนุกมากเลยคะ

จากน้องซิลดี้

บ้านค้อ

หนองสิม

รักพี่บีทมากเลยคะ

ฉันรักเขามากเลยคะ

This is the cheapest wow gold website, and the server is excellent!

[url=http://www.world-warcraft-gold.org]World of Warcraft Gold[/url]

[url=http://www.buywowgold.org.cn]WOW Gold[/url]

[url=http://www.bankofwow.com]Cheap WOW Gold[/url]

[url=http://www.gameusd.com]WOW Gold[/url]

[url=http://www.buywowgold.org.cn]Buy WOW Gold[/url]

[url=http://www.xcelwebdesign.com]Logo Design[/url]

This is the cheapest wow gold website, and the server is excellent!

<a href="http://www.world-warcraft-gold.org">World of Warcraft Gold</a><a href="http://www.buywowgold.org.cn">WOW Gold</a><a href="http://www.bankofwow.com">cheapest wow gold</a><a href="http://www.gameusd.com">WOW Gold</a><a href="http://www.buywowgold.org.cn">Buy WOW Gold</a><a href="http://www.xcelwebdesign.com">Logo Design</a>

<a href="http://www.wowgold.hk">cheap wow gold</a> store provide cheap wow gold welcome you.

เศรษกิจพอเพียงนั้นดีจิงๆนะคับ

แต่อยู่ที่ว่าใครจะสามารถทำได้ ถ้าทำได้ก็มีความสุข

อาจารย์ครับ

ผมอยากรู้เเนวคิดที่ว่า

ปรัชญาเศรษฐกิจแบบพอเพียงจะมาประยุกต์ใชในการจัดแผนการศึกษาอย่างไรบ้างครับ...

นับว่าเป็นข้อมูลที่ดีมากเลยทีเดียว จะน้อมนำเอาไปปฏิบัติได้จริงๆ และทำให้ชีวิตครอบครับมีความสุขอย่างยั่งยืน และทุกคนๆ ในประเทศไทยของเราจะได้อยู่กันอย่างพอเพียงและเพียงพอค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท