Safety Factorควรใช่้ในภาวะไม่ปกติเท่านั้น


ถึงเค้าจะเผื่อ เราก็ต้องปฏิบัติตามคำเตือนปฏิบัติตามปกติ

Safety Factor ค่าความปลอดภัยที่ถูกออกแบบให้สิ่งปลูกสร้าง วัสดุ อุปกรณ์ ตลอดจนยานพาหนะ ยังรักษาสภาพไว้ได้ระดับหนึ่ง เพื่อกรณีไม่ปกติ ก็ยังมีเวลาที่จะทำอะไรต่างๆก่อนที่จะถึงจุดวิกฤตจุดแตกหัก จุดที่ยอมให้ทนได้ คือวัตถุประสงค์หลักของการเผื่อค่าความปลอดภัยนี้ครับ

การที่มีใครมาบอกว่า ทำได้ ทำได้มากกว่านั้นมากกว่านี้ เพราะเค้าออกแบบเผื่อไว้แล้ว คำว่าเผื่อของผู้ออกแบบ คือเผื่อกรณีมีตัวแปรอื่นๆที่ควบคุมไม่ได้มากระทบ เช่น แผ่นดินไหว ลมพายุ ไต้ฝุ่น มิได้หวังให้กระทำตรงจุดที่เผื่อในภาวะปกติ  ไม่อย่างนั้น พอทุกคนทำตรงจุดที่เผื่อ แล้วเกิดมีแผ่นดินไหว พายุ เกิดขึ้นเมื่อนั้นก็จะเกิดหายนะแน่นอนครับ ฉนั้นวิธีปฏิบัติที่ทำจนเป็นปกติ(Norm)ในชุมชนเล็กๆ เพราะทำมานานทำตามๆกันมาโดยไม่ทราบหรือละเลยวิธีการปฏิบัติที่ปลอดภัย ตามคู่มือการดำเนินงาน เกิดความเสี่ยงแน่ๆครับ เพราะมีตัวแปรหรือบริบทอื่นๆอาจเกิดขึ้นได้โดยไม่มีการเตือยล่วงหน้า แบบนี้จะคิดว่า เค้าเผื่อไว้แล้วจึงปฏิบัติ ณ จุดวิกฤตไม่ได้แล้วสิครับนะ

ยกตัวอย่างเคสการขับขี่รถในสนามแข่งดูนะครับ เพื่อให้เข้าใจเรื่องนี้ได้ง่ายขึ้น

Low visibility ....

cloud 8/8....

tempo rainy. ....

Wind??? ....

รูปแบบข่าวอากาศของอุตุนิยมวิทยาการบิน จะบอก???

... บอก...ทัศนวิสัยการมองเห็นถ้าเห็นต้นไม้สีเขียวเป็นสีน้ำตาลที่ระยะแค่ไหนแสดงว่าระยะการเห็นแค่นั้น

บอกความหนาแน่น่เมฆ 1/8 - 8/8 ....

บอกชนิดเมฆแผ่น เมฆก้อน เมฆก่อตัวแนวตั้ง ....

บอกการตกของฝน ตกtempoตกน้อยแต่นาน ....

บอกความเร็วลม Nm/h (Knot) บอกพายุฟ้าคนอง....

.....แต่ที่สำคัญบอกเพื่อให้นักบินหลบไม่ได้บอกให้นักฝ่าไป ....ฉันท์ใดก็ตาม .....การทาสีเครื่องหมายขาวแดง Mandatody. Surface marking เตือนนักขับบนพื้น คือระวัง "อย่าวิ่งทับเส้นนี้" แต่ถ้าพลาดแล้วทับก็ยังปลอดภัย มิได้ให้ "วิ่งทับได้" เพื่อหวังจะชิดเอเปคที่สุดแล้วถ้าพลาดก็ปีนขอบแทรคยางเสียหายเกิดอุบัติเหตุ การเผื่อระยะปลอดภัยsafety factorเผื่อให้กรณีฉุกเฉิน มิได้ให้ใช้ในกรณีปกติ. ซึ่งบางครั้งเป็นพฤติกรรมของหมู่นักขับNormแบบนี้ วิ่งทัยเส้นเครื่องหมายขาวแดงกันทุกคันแบบนี้ อันตรายทีเดียวครับ (ในรูปสังเกตุรอยยางที่ยางล้อรถได้เลยเส้นไปกระแทก) แบบนี้มักใช้การวิ่งทับในกรณีปกติ แบบนี้เสี่ยงอันตรายครับ

.....เรามาช่วยกันรนณรงค์การปฏิบัติตามกฏจราจร.... โดยไม่ขับขี่หรือวิ่งทับไปบนที่ๆได้ทาสีเครื่องหมายเตือนอันตราย ...สีขาว-แสลับสีแดง ...บนพื้นสนามกันนะครับ... เส้นนั้นให้เผื่อไว้ใช้ในกรณีไม่ปกติ... เท่านั้น...

...ขอยกตัวอย่างอีกสักกรณี....กรณีเกิดอัคคีภัยกับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก หรืออาคารเหล็ก...ซึ่งวิศวกรความปลอดภัย Safety Engineer จะร่วมกับวิศวกรโยธา Civil Engineer ในการหาค่าเผื่อที่ปลอดภัย กรณีอาคารถูกไฟไฟม้ซึ่งจะไม่พังลงมาง่ายๆจะมีเวลาๆหนึ่งอย่างน้อย 10 นาทีแล้วแต่การออกแบบเผื่อให้นักผจญเพลิงสามารถเข้าไปในอาคารและทำการกู้ภัย ช่วยเหลือผู้ที่อยู่ด้านน ....เป็นระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งจะต้องออกแบบให้อาคารคอนกรีต เหล็กภายใน ....หรืออาคารเหล็กสามารถทนไฟเผาได้นานระดับหนึ่งถึงจะเสียหายถึงโครงสร้างที่รับน้ำหนัก.... ส่วนอาคารพาณิชย์ที่เราเห็นว่าเวลาเกิดไฟไหม้แล้วพังทันทีนั้น ....เนื่องจากเจ้าของอาคารนำเครื่องยนต์เครื่องจักร...ไปวางไว้บนพื้นแต่ละชั้นเกินน้ำหนักที่กำหนด.... ทำให้เกิดการใช้งานการรับน้ำหนักที่ค่าเผื่อคือค่าวิกฤต.(Safety Factor)... ทันทีที่มีตัวแปรที่ควบคุมไม่ได้... คือ... อัคคีภัยนั่นเอง..... โครงสร้างที่ล้าจากการรับน้ำหนักที่เกินอยู่แล้ว ...เมื่อเถูกไฟเผาขึ้นอีก....จึงพังทลาย..ลงมาทันที... ไม่มีเวลาให้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงเข้าไปกู้ภัย ....ข้างในอาคารไปช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในอาคารได้เลย..... แบบนี้ทำให้ผู้เสียชีวิตมากครับ...เรื่องนี้โจทย์ของเรื่องนี้ ...ก็คือ.....การใช้อาคารผิดประเภทคือใช้อาคารพาณิชย์มาเก็บเครื่องจักรอุตสาหกรรม เป็นความผิดพลาดในครั้งนี้ครับ.....

ตัวอย่างแบบนี้หละครับ ที่จะทำให้พวกเราหันมาตระหนักในการ ช่วยกันรนณรงค์ เรื่องเราจะไม่ใช้สิ่งที่เผื่อ...ค่าที่เผื่อ ..Safety Factor...ในภาวะปกติ .....เพราะสิ่งที่เผื่อจะช่วยให้เราปลอดภัย... ณ... ภาวะไม่ปกติได้นั่นเอง... ค่าเผื่อที่ปลอดภัย.... จะช่วยเราและช่วยทุกคนได้นะครับ.... หากเราทำจนเป็นนิสัยแล้วครับครับ...อย่าลืมนะครับ ... อย่าพูดว่าเค้าเผื่อไว้แล้ว ...ให้พูดว่า.. ."ถึงเค้าจะเผื่อ ...เราก็ต้องปฏิบัติตามคำเตือน ...ปฏิบัติตามปกติ".... อย่าคิดว่า..เกินนิดไม่เป็นไรเพราเค้าออกแบบเผื่อให้เราแล้ว...นะครับ... เงื่อนไขอื่นๆมันเปลี่ยนตลอดเวลา .ไม่มีทางเลยที่เหมือนกันในทุกครั้งทุกการกระทำ.. อะไรต่างๆ..นะครับ......ด้วยความรักและความปรารถนาที่ดีดี.....ว่าที่ร้อยตรีโสตถิทัศน์  เอี่ยมลำเนา2556

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 551469เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2013 08:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 ตุลาคม 2013 11:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท