KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 184. องค์ประกอบที่ ๓ ของปัญญาเชิงสังคม - เข้าใจความคิด ความรู้สึก ความต้องการ ของคู่สนทนา


        ปัญญาข้อนี้ ลึกเข้าไปในระดับ "อ่านใจออก"  ในประสบการณ์ของผม  ในเบื้องต้นของการสนทนา     การอ่านใจอยู่ในระดับคำถาม     ผมจะถามตนเองว่า คู่สนทนาจะต้องการอะไร     เขาจะคุยกับเราด้วย "หมวกความคิด" สีไหน (โปรดอ่าน The Six Thinking Hats โดย Edward de Bono)  หรือว่า เขาจะคุยกับเรา ด้วยกระบวนทัศน์ (paradigm) / แว่นใจ (mental model) ใด    พอเรามีโจทย์แบบนี้    เราจะมี attunement หรือฟังอย่างลึก (องค์ประกอบที่ ๒) โดยอัตโนมัติ 

        ดังนั้น จริงๆ แล้ว ในเบื้องต้น เรายังอ่านใจของคู่สนทนาไม่ออก    แต่พอสนทนาไปเรื่อยๆ เราก็จะค่อยๆ ได้คำตอบมากขึ้น ลึกขึ้น ชัดเจนขึ้น

        Goleman ผู้เขียนหนังสือ Social Intelligence ใช้คำว่า empathic accuracy    เขาอธิบายว่ากลไกในสมองจะเข้าไปอยู่ที่สมองส่วนความคิด ที่เรียกว่า neocortex    คือเลยระดับการใช้อารมณ์ สูงขึ้นไปสู่การใช้เหตุผล   

        ที่จริงเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับสังคมไทย     เรามีคติเตือนใจว่า "ให้เอาใจเขามาใส่ใจเรา"    หรือในคำบาลีว่า อตฺตานํ  อุปมํ  กเร  เป็นหัวใจของความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนทุกรูปแบบ    รวมทั้งต่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

วิจารณ์ พานิช
๑๓ ตค. ๔๙

หมายเลขบันทึก: 55099เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2006 09:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
เห็นด้วยกับคำพูดของอาจารย์ที่บอกว่า"ให้เอาใจเขามาใส่ใจเรา" หรือ"อตฺตานํ อุปมํ กเร"เป็นหัวใจของความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนทุกรูปแบบ เพราะถ้าทุกคนทำได้ก็จะเป็นพลังสมานฉันท์ที่ยิ่งใหญ่และวิเศษสุดเลยทีเดียว

ได้ความรู้มากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท